PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ดร.ปรีดี พนมยงค์

ศาสตราจารย์[1]ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 — 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) เป็นผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของ

สยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และเป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย[2] เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ของประเทศไทย 3 สมัย[3] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ อีกหลายสมัย เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การเพียงคนเดียวของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง[4] และเป็นผู้ก่อตั้ง

ธนาคารชาติไทย (ปัจจุบัน คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย)[5]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปรีดีเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นผู้แพ้สงคราม[6][7][8] นอกจากนี้เขายังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จ

ราชการแทนพระองค์ ในรัชกาลที่ 8[9] และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะ "รัฐบุรุษอาวุโส"[10]

ปรีดีต้องยุติบทบาททางการเมืองหลังเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลสวรรคต โดยถูกกล่าวหาจากพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว[11]

ต่อมาเกิดการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เป็นเหตุให้เขาต้องลี้ภัยการเมืองไปยังประเทศจีนและฝรั่งเศสรวมระยะเวลากว่า 30 ปี และไม่ได้กลับสู่ประเทศไทยอีกเลยจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม[12]เมื่อวันที่

2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526[13][14][15]

ระหว่างที่ลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ ปรีดีได้ดำเนินการฟ้องร้องผู้ใส่ความหมิ่นประมาทต่อศาลยุติธรรม ผลปรากฏว่าศาลตัดสินให้ชนะทุกคดี และยังได้รับความรับรองจากทางราชการตลอดจนเงิน

บำนาญและหนังสือเดินทางของไทย[16][17]

ในปี พ.ศ. 2542 ที่ประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 30 ขององค์การยูเนสโก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้มีมติประกาศให้ ปรีดี พนมยงค์ เป็น "บุคคลสำคัญของโลก" และได้ร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบ

รอบ 100 ปี ชาตกาลของเขา ระหว่าง พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2544[18] นอกจากนี้นิตยสารเอเชียวีกยังได้เสนอชื่อของเขาเข้าชิงตำแหน่ง "Asian Of The Century" อีกด้วย[19]

ประวัติ[แก้]
ปรีดี พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 ณ เรือนแพหน้าวัดพนมยงค์ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในครอบครัวชาวนาไทย เป็นบุตรคนที่ 2 จากจำนวนพี่น้อง

6 คน ของนายเสียง และนางลูกจันทน์ พนมยงค์[20]

บรรพบุรุษของปรีดีตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้วัดพนมยงค์มาเป็นเวลาช้านาน โดยที่บรรพบุรุษข้างบิดานั้นสืบเชื้อสายมาจากพระนมในสมัยอาณาจักรอยุธยา ชื่อ "ประยงค์"[21] พระนมประยงค์เป็นผู้สร้างวัด

ในที่สวนของตัวเอง โดยตั้งชื่อวัดตามผู้สร้างว่า วัดพระนมยงค์ หรือ วัดพนมยงค์ กาลเวลาล่วงเลยมาจนเมื่อมีการประกาศพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456 ทายาทจึงได้ใช้นามสกุลว่า "

พนมยงค์"[22] และได้อุปถัมภ์วัดนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน[23]

บรรพบุรุษรุ่นปู่-ย่าของปรีดีประกอบกิจการค้าขายมีฐานะเป็นคหบดีใหญ่[24][25] แต่นายเสียงบิดาของปรีดีเป็นคนชอบชีวิตอิสระไม่ชอบประกอบอาชีพค้าขายเจริญรอยตามบรรพบุรุษ จึงหันไปยึด

อาชีพกสิกรรม เริ่มต้นด้วยการทำป่าไม้ และต่อมาได้ไปบุกเบิกถางพงร้างเพื่อจับจองที่ทำนาบริเวณทุ่งหลวง อำเภอวังน้อย[26] แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาภัยธรรมชาติ โขลงช้างป่า และแมลงที่

มารบกวนทำลายต้นข้าวทำให้ผลผลิตออกมาไม่ดี ไม่สามารถขายข้าวได้ ซ้ำร้ายรัฐบาลได้ให้สัมปทานบริษัทขุดคลองแห่งหนึ่งขุดคลองผ่านที่ดินของนายเสียงและยังเรียกเก็บค่าขุดคลอง (ดูประวัติ

คลองรังสิต)[27] ซึ่งบิดาของปรีดีต้องกู้เงินมาจ่ายเป็นค่ากรอกนาในอัตราไร่ละ 4 บาท แลกกับการได้ครอบครองที่ดินที่จับจองไว้จำนวน 200 ไร่ ทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวย่ำแย่ลงไป

อีก ต้องอดทนเป็นหนี้สินอยู่หลายปี[28] เหตุการณ์ครั้งนั้นยังทำให้ราษฎรผู้บุกเบิกจับจองที่ดินมาก่อนต้องสูญเสียที่ดินไปเป็นจำนวนมากและกลายเป็นชาวนาผู้เช่าที่ในที่สุด[29][30]

จากการเติบโตในครอบครัวชาวนานี้เอง ปรีดีจึงได้สัมผัสรับรู้เป็นอย่างดีถึงสภาพความเป็นอยู่และความทุกข์ยากของชนชั้นชาวนาทั้งหลายที่ฝากชีวิตไว้กับความไม่แน่นอนของดินฟ้าอากาศ ราคา

พืชผลในตลาด และดอกเบี้ยของนายทุน นอกจากนี้ยังต้องพบกับการถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าที่ดินศักดินาที่กระทำผ่านการเก็บภาษีและการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน ประสบการณ์เหล่านี้เป็น

แรงกระตุ้นให้ปรีดีคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศในเวลาต่อมา[31]

ปรีดีเมื่อครั้งเยาว์วัยเป็นเด็กหัวดี ช่างคิด ช่างสังเกตวิเคราะห์ และเริ่มมีความสนใจทางการเมืองมาตั้งแต่อายุเพียง 11 ปี จากเหตุการณ์ปฏิวัติในประเทศจีนที่นำโดย ซุน ยัตเซ็น และเหตุการณ์กบฏ ร.ศ.

130 ในสยาม ซึ่งปรีดีได้แสดงความเห็นอกเห็นใจอย่างมากต่อผู้ที่ถูกลงโทษในครั้งนั้น[32]

ถึงแม้ว่าปรีดีจะเกิดในครอบครัวชาวนา แต่บิดาของเขาก็เป็นผู้ใฝ่รู้และเล็งเห็นประโยชน์ของการศึกษา จึงสนับสนุนให้บุตรได้รับการศึกษาที่ดีมาโดยตลอด[33] เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ซึ่งเป็น

ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายภรรยาปรีดี ได้เคยกล่าวถึงนายเสียง พนมยงค์ ว่า


เป็นผู้สนใจในกสิกรรม และที่สนใจที่สุดคือการทำนา ดูเหมือนว่าพบกันกับข้าพเจ้าครั้งไรที่จะไม่พูดกันถึงเรื่องทำนาเป็นไม่มี แต่ถึงว่าจะฝักใฝ่ในการทำนาอยู่มากก็จริง นายเสียง พนมยงค์ มิได้

ละเลยที่จะสงเคราะห์ และให้การศึกษาแก่บุตรเลย พยายามส่งบุตรเข้าศึกษาเล่าเรียน...[34]


การศึกษา[แก้]
ปรีดีเริ่มเรียนหนังสือที่บ้านครูแสง[35] ตำบลท่าวาสุกรี และสำเร็จการศึกษาในระดับประถมที่โรงเรียนวัดศาลาปูน[36] อำเภอกรุงเก่า จากนั้นไปศึกษาชั้นมัธยมเตรียมที่โรงเรียนมัธยมวัดเบญจม

บพิตร[37] แล้วย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่า (ปัจจุบันคือ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย)[38] จนสอบไล่ได้ชั้นมัธยม 6 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดสำหรับหัวเมือง แล้วไปศึกษาต่อที่

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย[39]

ในปี พ.ศ. 2460 เข้าศึกษาที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม และศึกษาภาษาฝรั่งเศสที่เนติบัณฑิตยสภา กับอาจารย์เลเดแกร์ (E.Ladeker) ที่ปรึกษาศาลต่างประเทศกระทรวงยุติธรรม[40] ต่อ

มาสอบไล่วิชากฎหมายชั้นเนติบัณฑิตได้ในขณะมีอายุ 19 ปี แต่ตามข้อบังคับสมัยนั้นยังเป็นเนติบัณฑิตไม่ได้เพราะอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ต้องรอจนอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงได้เป็นสมาชิก

สามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา[41]

ต่อมาได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงยุติธรรมให้ทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2463[42] โดยเข้าศึกษาวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยกอง (Université de Caen) จนสอบไล่ได้ปริญญารัฐ

เป็น "บาเชอลิเอร์" กฎหมาย (Bachelier en Droit) และได้ปริญญารัฐเป็น "ลิซองซิเอ" กฎหมาย (Licencié en Droit) ตามลำดับ[43][44]

ปรีดีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขานิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยปารีส ในปี พ.ศ. 2469 ด้วยคะแนนเกียรตินิยมดีมาก (Trés Bien) นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ปริญญาเอกแห่งรัฐ (Doctorat d'État)

เป็น "ดุษฎีบัณฑิตกฎหมาย" (Docteur en Droit) ฝ่ายนิติศาสตร์ (Sciences Juridiques)[45] นอกจากนี้เขายังสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในสาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง (Diplôme d'Etudes

Supérieures d'Economie Politique) อีกด้วย[46]

การสมรสและครอบครัว[แก้]
ปรีดีสมรสกับ พูนศุข ณ ป้อมเพชร์ ธิดา มหาอำมาตย์ตรี พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร) กับ คุณหญิงเพ็ง ชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (สุวรรณศร) เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471

[47] มีบุตร-ธิดาด้วยกันทั้งหมด 6 คน คือ

นางสาวลลิตา พนมยงค์ ป่วยเป็นโรคประสาทและศาลแพ่งประกาศให้เป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถขณะที่นายปรีดีและภริยาพำนักอยู่ในประเทศฝรั่งเศส[48]
นายปาล พนมยงค์ สมรสกับ นางเลิศศรี พนมยงค์ (จตุรพฤกษ์)
นางสาวสุดา พนมยงค์
นายศุขปรีดา พนมยงค์ สมรสกับ นางจีรวรรณ พนมยงค์ (วรดิลก)
นางดุษฎี พนมยงค์ บุญทัศนกุล สมรสกับ นายชาญ บุญทัศนกุล
นางวาณี พนมยงค์ สายประดิษฐ์ สมรสกับ นายสุรพันธ์ สายประดิษฐ์
หน้าที่การงานก่อนเข้าสู่การเมือง[แก้]
เมื่อกลับถึงกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2470 ปรีดีเริ่มทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาประจำกระทรวงยุติธรรม ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย (ปัจจุบันคือสำนักงานคณะ

กรรมการกฤษฎีกา) และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงประดิษฐ์มนูธรรม"[49]เมื่อ พ.ศ. 2471 ขณะมีอายุ 28 ปี ต่อมาใน พ.ศ. 2475 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการกรมร่างกฎหมาย[50] (ต่อมา

ได้ลาออกจากบรรดาศักดิ์พร้อมกับคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 ใน พ.ศ. 2485 และกลับไปใช้ชื่อเดิมคือ นายปรีดี พนมยงค์[51])

ในช่วงที่รับราชการในกระทรวงยุติธรรมนี้ ปรีดีได้รวบรวมกฎหมายไทยตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ในสภาพกระจัดกระจายให้มารวมเป็นเล่มเดียว ใช้ชื่อว่า “ประชุมกฎหมายไทย” และได้รับ

การตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2473 ที่โรงพิมพ์นิติสาสน์ซึ่งเป็นกิจการส่วนตัวของเขาเอง หนังสือเล่มนี้ได้รับความนิยมและสร้างรายได้ให้กับปรีดีเป็นอย่างมาก[52]

นอกจากงานที่กรมร่างกฎหมายแล้ว ปรีดียังเป็นอาจารย์ผู้สอนที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม ในชั้นแรกได้สอนวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ว่าด้วยลักษณะหุ้นส่วน บริษัทและ

สมาคม ต่อมาได้สอนวิชากฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล ลูกศิษย์ของเขาในช่วงดังกล่าวนี้ได้แก่ สัญญา ธรรมศักดิ์ จิตติ ติงศภัทิย์ ดิเรก ชัยนาม เสริม วินิจฉัยกุล เสวต เปี่ยมพงศ์สานต์

ไพโรจน์ ชัยนาม จินดา ชัยรัตน์ โชติ สุวรรณโพธิ์ศรี และศิริ สันตะบุตร

ในปี พ.ศ. 2474 ปรีดีเป็นคนแรกที่เริ่มสอนวิชากฎหมายปกครอง (Droit Administratif)[52] กล่าวกันว่าวิชากฎหมายปกครองนี้ เป็นวิชาที่สร้างชื่อเสียงแก่ปรีดีเป็นอย่างมาก เพราะสาระของวิชานี้

เป็นส่วนหนึ่งของวิชากฎหมายมหาชน ซึ่งอธิบายถึงหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยอันเป็นหัวใจของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในขณะที่ประเทศไทยยังคงปกครองอยู่ในระบอบ

สมบูรณาญาสิทธิราชย์[53] ในขณะเดียวกัน ก็ได้อาศัยการสอนที่โรงเรียนดังกล่าว ปลุกจิตสำนึกนักศึกษาให้สนใจเป็นขั้น ๆ ถึงความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนระบบการปกครองจากระบบเดิมให้เป็น

ระบบราชาธิปไตยภายใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังได้เปิดอบรมทบทวนวิชากฎหมายที่บ้านถนนสีลมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์กับนักศึกษาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จึงมี

ลูกศิษย์ลูกหาเข้าร่วมเป็นสมาชิกและผู้สนับสนุนคณะราษฎรในเวลาต่อมาหลายคน[54][55]

บทบาททางการเมืองก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง[แก้]

หมุดคณะราษฎร ซึ่งฝังอยู่บนลานพระบรมรูปทรงม้า ฝั่งสนามเสือป่า
ในขณะที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส ปรีดี พนมยงค์ ได้ร่วมกับเพื่อนอีก 6 คน ประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกเพื่อก่อตั้ง "คณะราษฎร" เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ณ หอพักแห่งหนึ่งย่าน "Rue Du

Sommerard" กรุงปารีส ผู้ร่วมประชุมประกอบด้วย ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี, ร.ท.แปลก ขิตตะสังคะ, ร.ต.ทัศนัย มิตรภักดี, ภก.ตั้ว ลพานุกรม, หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี), นายแนบ พหลโยธิน

โดยมีวัตถุประสงค์คือ เปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[56] และการดำเนินเพื่อให้สยามบรรลุหลัก 6 ประการ คือ

จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่
จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น
จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ปรีดีร่วมกับสมาชิกคณะราษฎรที่ประกอบด้วยกลุ่มทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อ

เปลี่ยนแปลงการปกครองได้สำเร็จโดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ หลังจากนั้นคณะราษฎรโดยปรีดี พนมยงค์ ได้จัดให้มีการประชุมระหว่างคณะราษฎร และเสนาบดี ปลัดทูลฉลอง ขึ้น ณ พระที่นั่ง

อนันตสมาคม เพื่อชี้แจงจุดประสงค์ หลักการระบอบใหม่ กฎหมายพระธรรมนูญการปกครองแผ่นดินโดยย่อ และขอความร่วมมือในการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป[57][58][59][55]

การวางรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย[แก้]
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปรีดี พนมยงค์ ถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดวางรูปแบบการปกครองในระบอบใหม่ เป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศ โดยเป็นผู้ร่างพระ

ราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475[60] ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พร้อมกันนั้นยังมีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม

พ.ศ. 2475 อันเป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของสยาม[61] ที่ใช้เป็นบรรทัดฐานของการปกครองในระบอบใหม่

ในขณะเดียวกัน ปรีดีก็ได้รับแต่งตั้งจากสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นเลขาธิการคนแรกของสภาผู้แทนราษฎรสยาม ด้วยตำแหน่งดังกล่าว ทำให้เขามีบทบาทด้านนิติบัญญัติในการวางหลักสิทธิ เสรีภาพ

และความเสมอภาคให้แก่ราษฎร โดยเป็นผู้ยกร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งฉบับแรก และเป็นผู้ริเริ่มให้สตรีมีสิทธิ์ในการออกเสียงเลือกตั้งและสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนราษฎรได้เช่นเดียวกับเพศ

ชาย[62] และจากการที่ได้ไปศึกษาในประเทศฝรั่งเศส ปรีดีจึงสนับสนุนแนวคิดเรื่องศาลปกครอง และก็เป็นผู้นำเอาวิชา "กฎหมายปกครอง" (Droit Administratif) มาสอนเป็นคนแรก ณ โรงเรียน

กฎหมายกระทรวงยุติธรรม แนวคิดดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความต้องการให้ราษฎรสามารถตรวจสอบฝ่ายปกครองได้ และมีสิทธิในทางการเมืองเท่าเทียมกับข้าราชการอย่างแท้จริง

เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วเขาจึงผลักดันให้รัฐบาลยกฐานะกรมร่างกฎหมายและสถาปนาขึ้นเป็น "คณะกรรมการกฤษฎีกา"[63] ทำหน้าที่ยกร่างกฎหมายและเป็นที่ปรึกษากฎหมายของแผ่น

ดิน ทั้งยังพยายามผลักดันให้คณะกรรมการกฤษฎีกาทำหน้าที่ศาลปกครองอีกด้วย แต่ก็ทำไม่สำเร็จ เนื่องจากวัฒนธรรมในทางอำนาจนิยมของรัฐไทยยังมีอยู่หนาแน่น ความพยายามในการตั้งศาล

ปกครองของปรีดีจึงประสบอุปสรรคมาโดยตลอด[64]

ในปี พ.ศ. 2476 ได้เสนอเค้าโครงการเศรษฐกิจ หรือที่เรียกกันว่า "สมุดปกเหลือง" ต่อรัฐบาลเพื่อใช้เป็นนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ[65][66] ตามหลัก 6 ประการของคณะราษฎร โดยดำเนิน

เศรษฐกิจแบบสหกรณ์ แต่ไม่ทำลายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชน ซึ่งเขาได้ชี้แจงไว้ว่า


การคิดที่จะบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรนี้ ข้าพเจ้าได้เพ่งเล็งถึงสภาพอันแท้จริง ตลอดจนนิสสัยใจคอของราษฎรส่วนมากว่า การที่จะส่งเสริมให้ราษฎรได้มีความสุขสมบูรณ์นั้น ก็มีอยู่ทางเดียว

ซึ่งรัฐบาลจะต้องเป็นผู้จัดการเศรษฐกิจเสียเอง โดยแบ่งการเศรษฐกิจนั้นออกเป็นสหกรณ์ต่าง ๆ ความคิดที่ข้าพเจ้าได้มีอยู่เช่นนี้ ไม่ใช่เป็นด้วยข้าพเจ้าได้มีอุปาทานผูกมั่นอยู่ในลัทธิใด ๆ ข้าพเจ้าได้

หยิบเอาส่วนที่ดีของลัทธิต่าง ๆ ที่เห็นว่าเหมาะสมแก่ประเทศสยามแล้ว จึงได้ปรับปรุงยกขึ้นเป็นเค้าโครงการ"[67]


ปรีดียังได้วางหลักการประกันสังคม คือ ให้การประกันแก่ราษฎรทั้งหลายตั้งแต่เกิดจนตาย ที่จะได้รับความอุปการะจากรัฐบาล หากไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งระบุไว้อย่างชัดเจนในหมวดที่ 3 แห่ง

เค้าโครงการเศรษฐกิจ ในชื่อร่าง "พระราชบัญญัติว่าด้วยการประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎร"[68] แต่แนวความคิดดังกล่าวถูกมองว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และถูกคัดค้านอย่างหนักจากกลุ่ม

อนุรักษนิยม[66][55][69]

การกระจายอำนาจการปกครอง[แก้]
ปรีดีเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการร่างพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 เพื่อให้รูปแบบและระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

และมีการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น

เมื่อเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2478) ก็ได้ริเริ่มให้มีการจัดตั้ง "เทศบาล" ทั่วราชอาณาจักรสยาม ตาม พระราชบัญญัติเทศบาล โดยมุ่งหวังให้การปก

ครองทัองถิ่นเป็นรากฐานสำคัญของระบอบประชาธิปไตย และได้กวดขันให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านและกำนันตาม พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ และจัดตั้งกรมโยธาเทศบาลเพื่อสอดคล้องกับ

การปกครองเทศบาลและสร้างทางท้องที่หลายจังหวัด นอกจากนี้เขายังได้สร้างโรงพยาบาลหลายแห่ง รวมทั้งจัดให้มีเรือพยาบาลตามลำน้ำโขงโดยใช้สลากกินแบ่งของท้องที่ สร้างฝายและพนัง

หลายแห่งเพื่อช่วยชาวนาและเกษตรกร สร้างทัณฑนิคมเพื่อให้ผู้พ้นโทษแล้วมีที่ดินของตน ฯลฯ[70][71]

ด้านการศึกษา[แก้]

สัญลักษณ์ของ "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" (มธก.)
ในขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปรีดี พนมยงค์ ได้สถาปนา "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" (มธก.) ขึ้นเมื่อ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 และได้รับแต่งตั้งเป็น "ผู้

ประศาสน์การ"[72] (พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2490) คนแรกและคนเดียวของมหาวิทยาลัย เพื่อสนองเจตนารมณ์ของคณะราษฎรที่ว่า "จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร" ด้วยเห็นว่าในขณะนั้น

สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มีอยู่มิได้เปิดกว้างเพื่อชนส่วนใหญ่ ดังนั้นมหาวิทยาลัยใหม่ตามแนวความคิดของเขา จึงเป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดกว้างเพื่อราษฎร เป็นตลาดวิชา ทุกคนมีสิทธิ

เสรีภาพในการศึกษาเล่าเรียนเท่าเทียมกัน[73] ปรีดีกล่าวไว้ในวันสถาปนามหาวิทยาลัยว่า


มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้อันเป็นสิทธิและโอกาสที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักแห่งเสรีภาพในการศึกษา รัฐบาลและสภาผู้แทน

ราษฎรเห็นความจำเป็นในข้อนี้ จึงได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น[74]


มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในระยะแรกมิได้ใช้งบประมาณแผ่นดิน หากอาศัยเงินที่มาจากค่าสมัครเข้าเรียนของนักศึกษาทั่วราชอาณาจักรและดอกผลที่ได้มาจากธนาคารแห่งเอเชีย

เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม ซึ่งปรีดีเป็นผู้ก่อตั้ง โดยให้มหาวิทยาลัยถือหุ้นถึง 80%[75] นอกจากนี้ปรีดียังได้ยกกิจการโรงพิมพ์นิติสาส์นของเขาให้แก่มหาวิทยาลัยเพื่อพิมพ์เอกสารตำราคำ

สอนแก่นักศึกษา[76] นับว่าเป็นสถาบันที่มีเสรีภาพทางวิชาการและเป็นอิสระจากการควบคุมของรัฐอย่างแท้จริง[ต้องการอ้างอิง] มหาวิทยาลัยดังกล่าวได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาระบอบ

ประชาธิปไตยของไทย ยิ่งไปกว่านั้นยังมีบทบาทสำคัญในการต่อต้านสงครามและต่อสู้เพื่อสันติภาพ โดยมหาวิทยาลัยเป็นที่ตั้งศูนย์บัญชาการใหญ่ของขบวนการเสรีไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่

สอง[ต้องการอ้างอิง]

ภายหลังจากที่ปรีดีต้องลี้ภัยทางการเมือง รัฐบาลได้เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัย โดยตัดคำว่า "วิชา" และ "การเมือง" ออก เหลือเพียงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อไม่ให้นักศึกษายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ทั้ง

ยังทำการขายหุ้นทั้งหมดของมหาวิทยาลัย จนไม่มีความสามารถที่จะเลี้ยงตัวเองได้ กลายเป็นมหาวิทยาลัยปิดที่ต้องอาศัยงบประมาณจากรัฐบาล[77][78]

ด้านการต่างประเทศ[แก้]
เมื่อภารกิจด้านการปกครองในกระทรวงมหาดไทยเข้ารูปเข้ารอยแล้ว ปรีดี พนมยงค์ ได้ก้าวเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (พ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2481)[79][80] ในเวลานั้น

สยามยังอยู่ภายใต้บังคับของสนธิสัญญาระหว่างประเทศอันไม่เป็นธรรม ที่รัฐบาลสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ถูกบังคับให้ทำไว้กับประเทศต่าง ๆ 13 ประเทศ ในนามของ "สนธิสัญญาทางไมตรี

พาณิชย์และการเดินเรือ"

ในปี พ.ศ. 2478 หลังจากได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแล้ว รัฐบาลเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ควรจะหาทางยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาค และทวงอำนาจอธิปไตยของประเทศกลับคืนมา โดยยึดหลัก

เอกราชทั้งในทางการเมือง การศาล และเศรษฐกิจ ตลอดจนหาทางลดอัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินที่รัฐบาลเก่าได้ทำสัญญาไว้ ปรีดี พนมยงค์ และคณะจึงออกเดินทางไปพบปะเจรจากับผู้นำ

ประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ ในยุโรป อเมริกา และเอเชีย อาทิ เบนิโต มุสโสลินี ผู้นำฟาสซิสต์แห่งอิตาลี ปีแอร์ ลาวาล นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส ฮจาล์ มาร์ ซาคท์ตัวแทนของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำนาซี

เยอรมัน เซอร์ แซมมวล ฮอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ คอร์เดล ฮัลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา จักรพรรดิฮิโรฮิโตแห่งญี่ปุ่น และบุคคลสำคัญอื่น

ๆ ในหลายประเทศ[81]

ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ดำรงตำแหน่ง ปรีดีได้ใช้ความพยายามทางการทูตเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาไม่เสมอภาคที่สยามได้ทำไว้กับประเทศมหาอำนาจ 13 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เน

เธอร์แลนด์ อังกฤษ สเปน โปรตุเกส เดนมาร์ก สวีเดน อิตาลี เบลเยียม และนอร์เวย์ ตามลำดับ ซึ่งประเด็นหลักในการแก้ไขสนธิสัญญาไม่เสมอภาคมีอยู่ 2 ประเด็น คือ

สิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือคนในบังคับของต่างประเทศไม่ต้องขึ้นต่อศาลสยาม ทำให้สยามสูญเสียเอกราชในทางศาล
ภาษีร้อยชักสาม คือรัฐบาลสยามสามารถเรียกเก็บภาษีศุลกากรขาเข้าได้เพียงไม่เกินร้อยละ 3 ทำให้สยามขาดรายได้เข้าประเทศเท่าที่ควรจะได้ นับเป็นการสูญเสียเอกราชในทางเศรษฐกิจ[82]
โดยใช้ยุทธวิธีบอกเลิกสนธิสัญญาไม่เสมอภาคกับประเทศคู่สัญญาเหล่านั้น และได้ยื่นร่างสนธิสัญญาฉบับใหม่โดยอาศัยหลัก "ดุลยภาพแห่งอำนาจ" จนสามารถยกเลิกสนธิสัญญาดังกล่าวเป็นผล

สำเร็จ ทำให้สยามได้เอกราชทางศาลและเอกราชทางเศรษฐกิจกลับคืนมา และมีสิทธิเสมอภาคกับนานาประเทศทุกประการ[83][84][85]

หนังสือพิมพ์สเตรตไทม์ของสิงคโปร์ กล่าวยกย่องปรีดีไว้ในบทบรรณาธิการว่า "ดอกเตอร์ปรีดี พนมยงค์ เสมือนหนึ่งเป็น แอนโทนี อีเดน" ผู้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศคนสำคัญของรัฐบาลอังกฤษ[57]

ด้านการคลัง[แก้]
เมื่อปรีดีเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2484) ได้ตั้งปณิธานที่จะใช้เครื่องมือทางการคลังสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติ สร้างความเป็นธรรมและความสุขสมบูรณ์แก่ราษฎร[65]

โดยแถลงต่อรัฐสภาว่าจะปรับปรุงระบบการเก็บภาษีให้เป็นธรรมแก่สังคม และได้บรรลุภารกิจในด้านการจัดเก็บภาษีอากรที่สำคัญ ดังนี้

ช่วยเหลือราษฎรที่ต้องแบกรับภาษีที่ไม่เป็นธรรม ด้วยการยกเลิกเงินภาษีรัชชูปการ และอากรค่านา (เงินส่วย) ซึ่งชาวนาต้องเสียแก่เจ้าศักดินา เป็นต้น
จัดระบบเก็บภาษีอากรที่เป็นธรรมในระบอบประชาธิปไตยโดนสถาปนา "ประมวลรัษฎากร" เป็นแบบฉบับครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งรวมบทบัญญัติเกี่ยวกับภาษีอากรทางตรง
ออก พรบ.ภาษีเงินได้ ซึ่งเป็นภาษีก้าวหน้า กล่าวคือผู้ใดมีรายได้มากก็เสียภาษีมากหากมีรายได้น้อยก็เสียภาษีน้อย และผู้ใดบริโภคเครื่องบริโภคที่ไม่จำเป็นแก่การดำรงชีพก็ต้องเสียภาษีอากรมาก

ตามลำดับ[86][87]
ในด้านการสร้างเสถียรภาพทางการเงินและการคลังของประเทศ ปรีดีคาดการณ์ว่าอาจเกิดสงครามโลกครั้งที่สองขึ้นในไม่ช้า เงินปอนด์สเตอร์ลิงซึ่งสยามประเทศใช้เป็นทุนสำรองเงินตราอาจจะลด

ค่าลงได้ เขาพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วเห็นว่าภายใต้สถานการณ์ของโลกที่มีความไม่แน่นอนนั้น การเก็บรักษาทุนสำรองของชาติเอาไว้เป็นทองคำแท่งน่าจะเป็นนโยบายที่เหมาะสม และเห็นว่า

อังกฤษซึ่งอยู่ในสถานะสงครามกับเยอรมนีในยุโรปแล้วตั้งแต่ปี 2482 มีแนวโน้มว่าจะต้องเผชิญหน้ากับญี่ปุ่นในเอเชียแปซิฟิกด้วยในอนาคตอันใกล้ อันจะมีผลกระทบต่อสถานภาพของเงินปอนด์

สเตอร์ลิงอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น จึงได้จัดการเอาเงินปอนด์ที่เป็นเงินทุนสำรองเงินตราจำนวนหนึ่งซื้อทองคำแท่งหนัก 1 ล้าน ออนซ์ ในราคาออนซ์ละ 35 ดอลลาร์สหรัฐ นำมาเก็บไว้ในห้องนิรภัย

กระทรวงการคลัง นอกจากนี้ยังได้โอนเงินปอนด์เพื่อแลกซื้อเงินดอลลาร์และทองคำแท่งเก็บไว้ที่สหรัฐอเมริกาอีกส่วนหนึ่ง ทำให้เสถียรภาพของค่าเงินบาทในเวลานั้นมั่นคงที่สุดแม้ว่าเป็นระยะ

ใกล้จะเกิดสงครามเต็มทีแล้ว ทองคำแท่งจำนวนดังกล่าวยังคงเก็บรักษาไว้เป็นทุนสำรองเงินบาทอยู่จนทุกวันนี้[88][89]

เมื่อได้ปรับปรุงระบบภาษีอากรให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคมขึ้นในระดับหนึ่งแล้ว อีกทั้งระบบการเงินของประเทศก็มีความมั่นคงด้วยทุนสำรองเงินตราอันประกอบด้วยทองคำและเงินตราต่าง

ประเทศในสกุลที่ทั่วโลกยอมรับ ปรีดีในฐานะผู้รับผิดชอบบริหารนโยบายการเงินการคลังของประเทศ ก็ได้รื้อฟื้นเรื่องการจัดตั้งธนาคารกลางหรือธนาคารแห่งชาติ ซึ่งได้เคยปรารภไว้แล้วในเค้า

โครงการเศรษฐกิจมาพิจารณาดำเนินการอย่างจริงจัง โดยจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทยขึ้นก่อน และเร่งฝึกพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ให้พร้อมในการบริหารธนาคารชาติ ต่อมาจึงได้จัดตั้ง "ธนาคาร

ชาติไทย" ขึ้น ในปี พ.ศ. 2483 ปัจจุบันคือ "ธนาคารแห่งประเทศไทย"[90][91] เพื่อทำหน้าที่เป็นธนาคารชาติของรัฐโดยสมบูรณ์

บทบาทในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]
ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะอุบัติขึ้น ปรีดี พนมยงค์ เล็งเห็นว่าลัทธิเผด็จการทหารกำลังจะจุดชนวนให้เกิดสงครามโลก จึงอำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง "พระเจ้าช้างเผือก"[92] เพื่อสื่อทัศนะ

สันติภาพและคัดค้านการทำสงครามผ่านไปยังนานาประเทศ โดยแสดงจุดยืนอย่างแจ่มชัดด้วยพุทธภาษิตที่ปรากฏในภาพยนตร์ที่ว่า "นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ" (ไม่มีสุขใดเสมอด้วยความสงบสันติ) ยิ่งไป

กว่านั้นเขายังสื่อให้เห็นว่าชาวสยามพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อต่อด้านสงครามรุกรานอย่างมีศักดิ์ศรี[93][94]

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[แก้]

ธงประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สำหรับใช้เป็นเกียรติยศของผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484 สภาผู้แทนราษฎรมีมติแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นใหม่ แทนเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ซึ่งถึงแก่

อสัญกรรมเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และปรีดี พนมยงค์[95] ต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ทรงลาออก

จากตำแหน่ง สภาผู้แทนราษฎรจึงมีมติแต่งตั้งปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่ผู้เดียว (1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 - 20 กันยายน พ.ศ. 2488)[9] และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการ

แทนพระองค์ต่อไปอีก เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไม่สามารถเสด็จนิวัติประเทศไทยได้[96]

หัวหน้าขบวนการเสรีไทย[แก้]
ปลายปี พ.ศ. 2484 สงครามมหาเอเชียบูรพาปะทุขึ้นเมื่อกองทัพญี่ปุ่นเปิดฉากโจมตีฐานทัพเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์ของสหรัฐอเมริกา และรวมไปถึงดินแดนในครอบครองของอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ใน

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมา เช้ามืดวันที่ 8 ธันวาคม ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกตามแนวชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย และส่งกองกำลังภาคพื้นดินบุกเข้าประเทศไทยทางอินโดจีนฝรั่งเศส รัฐบาลจอมพล ป.

พิบูลสงคราม ได้ตกลงทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นเพื่อให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านแผ่นดินไทย ในที่สุดก็ร่วมวงไพบูลย์กับญี่ปุ่น และประกาศสงครามต่อฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเป็นทางการ เมื่อ

วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 อันเป็นการละเมิดต่อประกาศพระบรมราชโองการให้ปฏิบัติตามความเป็นกลาง พ.ศ. 2482[97][98][99]

ปรีดี พนมยงค์ ไม่เห็นด้วยกับการให้ญี่ปุ่นละเมิดอธิปไตยและแสดงจุดยืนให้ปรากฏโดยเป็นผู้นำในการจัดตั้งองค์การต่อต้านญี่ปุ่น หรือต่อมาเรียกว่า "ขบวนการเสรีไทย" ประกอบด้วยคนไทยทุก

ชั้นวรรณะ ทั้งที่อยู่ในประเทศและอยู่ต่างประเทศ เขาไม่ยอมลงนามในประกาศสงครามนั้นด้วยเหตุผลสำคัญที่ว่า หากลงนามไปแล้วก็ยากที่จะให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเชื่อถือการปฏิบัติการของขบวน

การเสรีไทย[100][98][101]

กระแสความไม่พอใจต่อการตัดสินใจของรัฐบาลจอมพล ป. ได้พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในหมู่ชนทุกเหล่า แต่รัฐบาลถือว่าตนเองมีความชอบธรรมในการปราบปรามผู้ที่ไม่เห็นด้วย อีกทั้งกองทัพญี่ปุ่นที่

เข้ามาประจำการในประเทศ ก็ใช้ท่าทีที่แข็งกร้าวต่อผู้ที่ต้องสงสัยว่าดำเนินกิจกรรมต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น ดังนั้นปฏิบัติการต่อต้านรัฐบาลและญี่ปุ่นผู้รุกรานจึงต้องเป็นงาน "ใต้ดิน" ที่ปิดลับ[102]

ปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทยในรหัสนามว่า "รู้ธ" (Ruth) ทำงานในสองบทบาทตลอดสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยถือความลับสุดยอดเป็น

หัวใจของการปฏิบัติงาน[103][104] ทั้งนี้ก็เพื่อให้ภารกิจของเสรีไทยบรรลุเป้าหมายให้ได้ คือ[ต้องการอ้างอิง]

ต่อสู้กับญี่ปุ่นผู้รุกราน
ปฏิบัติการให้ฝ่ายสัมพันธมิตรรับรองเจตนารมณ์ที่แท้จริงของราษฎรไทย
ให้สัมพันธมิตรรับรองว่าประเทศไทยไม่ตกเป็นฝ่ายแพ้สงครามร่วมกับญี่ปุ่น
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2488 ปรีดีแจ้งให้สัมพันธมิตรทราบว่า เสรีไทยจำนวน 8 หมื่นคนทั่วประเทศพร้อมที่จะลุกฮือขึ้นเพื่อทำสงครามกับทหารญี่ปุ่นอย่างเปิดเผย แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ร้องขอให้

ชะลอแผนนี้ไว้ก่อน ด้วยเหตุผลทางแผนยุทธศาสตร์ของฝ่ายสัมพันธมิตร[105] ในที่สุดฝ่ายญี่ปุ่นก็ยอมแพ้สงครามอย่างไม่มีเงื่อนไขเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488

เมื่อญี่ปุ่นได้ยอมจำนน ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงได้แจ้งให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งเป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยว่า สัมพันธมิตรไม่ถือว่าประเทศไทยเป็นผู้แพ้สงคราม ประเทศไทยไม่ต้องถูกยึด

ครอง รัฐบาลไทยไม่ต้องยอมจำนน กองทัพไทยไม่ต้องวางอาวุธ และให้รีบออกแถลงการณ์ปฏิเสธการประกาศสงครามระหว่างไทยกับสัมพันธมิตร เพื่อลบล้างข้อผูกพันทั้งหลายที่รัฐบาลจอมพล ป.

พิบูลสงคราม ได้ทำไว้กับญี่ปุ่น[98][106][107]

ประกาศสันติภาพ[แก้]
วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ออกประกาศสันติภาพในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล[108] ว่าการประกาศ

สงครามต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 เป็น "โมฆะ" ไม่ผูกพันประชาชนชาวไทย และประเทศไทยพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับสหประชาชาติในการสถาปนา

สันติภาพในโลกนี้ ต่อมารัฐบาลได้ประกาศให้วันที่ 16 สิงหาคม ของทุกปีเป็น "วันสันติภาพไทย"[109][110]

ภายหลังจากการประกาศสันติภาพ ตัวแทนพลพรรคเสรีไทยจากทั่วประเทศกว่า 8,000 นาย ได้เดินสวนสนามผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน โดยมีปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทน

พระองค์และหัวหน้าขบวนการเสรีไทยเป็นประธาน เมื่อสิ้นสุดภารกิจลงแล้ว เขาได้ประกาศยกเลิกขบวนการเสรีไทย[6] โดยมีสุนทรพจน์บางตอนว่า


...ในโอกาสนี้ ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะแสดงเปิดเผยในนามของสหายทั้งหลายถึงเจตนาอันบริสุทธิ์ซึ่งเราทั้งหลายได้ถือเป็นหลักในการรับใช้ชาติครั้งนี้ว่า เรามุ่งจะทำหน้าที่ในฐานะที่เราเกิดมาเป็นคน

ไทย ซึ่งจะต้องสนองคุณชาติ เราทั้งหลายไม่ได้มุ่งหวังทวงเอาตำแหน่งในราชการมาเป็นรางวัลตอบแทน การกระทำทั้งหลายไม่ใช่ทำเพื่อประโยชน์ของบุคคลหรือหมู่คณะใด แต่ได้ทำไปเพื่อ

ประโยชน์ของคนไทยทั้งมวล...

...วัตถุประสงค์ของเราที่ทำงานคราวนี้มีจำกัดดังกล่าวแล้ว และมีเงื่อนเวลาสุดสิ้น กล่าวคือเมื่อสภาพการเรียบร้อยลงแล้ว องค์การเหล่านี้ก็จะเลิก และสิ่งซึ่งจะเหลืออยู่ในความทรงจำของเราทั้งหลาย

ก็คือมิตรภาพอันดีในทางส่วนตัวที่เราได้ร่วมรับใช้ชาติด้วยกันมา โดยปราศจากความคิดที่จะเปลี่ยนสภาพองค์การเหล่านี้ให้เป็นคณะหรือพรรคการเมือง...ผู้ที่ได้ร่วมงานกับข้าพเจ้าคราวนี้ ถือว่าทำ

หน้าที่เป็นผู้รับใช้ชาติ มิได้ถือว่าเป็นผู้กู้ชาติ การกู้ชาติเป็นการกระทำของคนไทยทั้งปวง ซึ่งแม้ผู้ไม่ได้ร่วมในองค์การนี้โดยตรง ก็ยังมีอีกประมาณ 17 ล้านคนที่ได้กระทำโดยอิสระในการต่อต้าน

ด้วยวิถีทางที่เขาเหล่านั้นสามารถจะทำได้ หรือเอากำลังใจช่วยขับไล่ให้ญี่ปุ่นพ้นไปจากประเทศไทยโดยเร็วก็มี[111]


เมื่อบ้านเมืองสงบเรียบร้อยดีแล้วปรีดี พนมยงค์ จึงขออัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัติประเทศไทยเพื่อทรงบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองต่อไป โดยได้เสด็จกลับถึง

พระนครวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบปรีดีที่ไปเฝ้ารับเสด็จดังนี้


ท่านปรีดี พนมยงค์

ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้กลับมาสู่พระนคร เพื่อบำเพ็ญพระกรณียกิจตามหน้าที่ของข้าพเจ้าต่อประชาชนและประเทศชาติ ข้าพเจ้าขอขอบใจท่านเป็นอันมากที่ได้ปฏิบัติกรณียกิจแทนข้าพเจ้า ด้วย

ความซื่อสัตย์สุจริตต่อข้าพเจ้าและประเทศชาติ ข้าพเจ้าขอถือโอกาสนี้ แสดงไมตรีจิตในคุณงามความดีของท่าน ที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติ และช่วยบำรุงรักษาความเป็นเอกราช

ของชาติไว้[112]


บทบาททางการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]
รัฐบุรุษอาวุโส[แก้]
ด้วยคุณูปการที่เป็นผู้นำในการกอบกู้บ้านเมืองในยามคับขัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องปรีดี พนมยงค์ ไว้ในฐานะ "รัฐบุรุษอาวุโส" ซึ่ง

ถือได้ว่าเป็นตำแหน่งทางการเมืองอันทรงเกียรติสูงสุด ดังที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ความว่า


สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่ทรงพระราชดำริเห็นว่า นายปรีดี พนมยงค์ ได้เคยรับหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในตำแหน่งสำคัญ ๆ มาแล้วหลายตำแหน่ง จนในที่สุดได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรง

ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และปรากฏว่า ตลอดเวลาที่ นายปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งเหล่านี้ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและด้วยความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหา

กษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ ทั้งได้แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ในความปรีชาสามารถ บำเพ็ญคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นเอนกประการ

จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมยกย่อง นายปรีดี พนมยงค์ ไว้ในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส และให้มีหน้าที่รับปรึกษากิจราชการแผ่นดิน เพื่อความวัฒนาถาวรของชาติสืบไป ทั้งนี้

ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป[10]


ในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่สามัญ

ชนพึงได้รับพระราชทาน[113][114] แก่รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2488[115]

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[แก้]
ปรีดี พนมยงค์ ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[3] เขาได้ใช้ความรู้ความสามารถเจรจาต่อรองกับฝ่ายสัมพันธมิตรในปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงข้อ

ตกลงกับอังกฤษ เรื่องสัญญาสมบูรณ์แบบ และการเจรจาให้รัฐบาลสหรัฐยกเลิกคำสั่งเพิกถอนเงินซึ่งได้ถูกกักกันไว้ในสหรัฐ ให้ประเทศไทยสามารถแก้ไขสถานะผู้แพ้สงครามได้สำเร็จอย่างละมุน

ละม่อม สามารถเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติลำดับที่ 55[116]

วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต รัฐบาลปรีดีที่เพิ่งชนะเลือกตั้งหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 จึงขอความเห็นชอบต่อรัฐสภาให้

อัญเชิญพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อไป[117][118] เมื่อสภามีมติเห็นชอบแล้ว ปรีดีก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489

ทั้งที่เพิ่งได้รับโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2489[119] แต่สภาผู้แทนราษฎรก็สนับสนุนให้ปรีดีดำรงตำแหน่งตามเดิม[120][121]

กรณีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ทำให้ศัตรูทางการเมืองของปรีดี ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มทหารสาย จอมพล ป. พิบูลสงครามที่สูญเสียอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

พรรคการเมืองฝ่ายค้านนำโดย พรรคประชาธิปัตย์[122] และกลุ่มอำนาจเก่า[123] ฉวยโอกาสนำมาใช้ทำลายปรีดีทางการเมือง โดยการกระจายข่าวไปตามหนังสือพิมพ์ ร้านกาแฟ และสถานที่ต่าง ๆ

รวมทั้งส่งคนไปตะโกนในศาลาเฉลิมกรุงว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง"[124][125] และนำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเขาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 โดยหลังจากนั้น หลวงธำรงนาวา

สวัสดิ์ ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มปรีดี ให้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน[126]

ต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2489 ภายหลังจากที่ปรีดีลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ก็ได้รับเชิญจากรัฐบาลหลายประเทศให้ไปเยือนประเทศเหล่านั้น รัฐบาลไทยจึงมอบหมายให้เขาเป็นหัว

หน้าคณะทูตสันถวไมตรีเดินทางรอบโลกเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีและพบปะกับผู้นำนานาประเทศ โดยได้ไปเยือนประเทศจีนเป็นแห่งแรก จากนั้นก็ไปฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส

สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน และนอร์เวย์ รวมทั้งสิ้นเก้าประเทศ และกลับมาถึงกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 รวมเวลาที่ออกไปปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ 3 เดือน

เต็ม[127][128]

ลี้ภัยรัฐประหาร[แก้]
ต่อมาในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหาร ประกอบด้วย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พ.อ.กาจ กาจสงคราม พ.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.อ.ถนอม กิตติขจร พ.ท.ประภาส จารุ

เสถียร และ ร.อ.สมบูรณ์ (ชาติชาย) ชุณหะวัณ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จากรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ด้วยสาเหตุที่รัฐบาลไม่สามารถคลี่คลายคดีสวรรคตลงได้ ประกอบกับการ

ลดบทบาทของกองทัพ และปัญหาทางเศรษฐกิจ[129] หลังจากยึดอำนาจสำเร็จ คณะรัฐประหารได้นำกำลังทหารพร้อมรถถังบุกยิงทำเนียบท่าช้างวังหน้าซึ่งปรีดีและครอบครัวอาศัยอยู่ แล้วพยายาม

จะจับกุมตัวปรีดี แต่เขาก็หลบหนีไปได้ภายใต้การอารักขาของทหารเรือและได้อาศัยฐานทัพเรือสัตหีบเป็นที่หลบภัยอยู่ชั่วระยะหนึ่ง เมื่อพิจารณาเห็นว่ายังไม่พร้อมที่จะต่อต้านคณะรัฐประหาร จึง

ได้ลี้ภัยการเมืองไปยังประเทศสิงคโปร์ จนถึงปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2491 จึงออกเดินทางต่อไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน[130]

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2492 ปรีดี พนมยงค์ กลับมาประเทศไทยเพื่อทำการยึดอำนาจคืนจากรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในเหตุการณ์ "ขบวนการประชาธิปไตย 26 กุมภาพันธ์" เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์

พ.ศ. 2492 แต่กระทำการไม่สำเร็จ (เรียกกันว่า "กบฏวังหลวง")[131] จึงต้องลี้ภัยไปต่างประเทศและไม่ได้กลับประเทศไทยอีกเลย[ต้องการอ้างอิง]

ปัจฉิมวัย[แก้]
หลายปีที่ปรีดีลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ ยังมีการกล่าวหาว่าปรีดีสมคบการปลงพระชนม์ในหลวงอยู่เป็นระยะ ๆ เขาจึงต้องดำเนินการฟ้องร้องผู้ใส่ความหมิ่นประมาทต่อศาลยุติธรรม[132]

[133][134][135] ผลปรากฏว่าศาลตัดสินให้ชนะทุกคดี นอกจากนี้ โดยคำพิพากษาของศาลในกรณีฟ้องร้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีสกับพวก

ในข้อหาร่วมกันละเมิดสิทธิของโจทก์[136] ปรีดีจึงได้รับความรับรองจากทางราชการในฐานะคนไทยโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายทุกประการ และได้รับเงินบำนาญตลอดจนได้รับหนังสือเดินทาง

ของไทย[137][138][139][140][141]

ขณะพำนักอยู่ในประเทศจีน ปรีดีได้มีโอกาสพบปะสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำพรรคและรัฐบาลจีนไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดีเหมา เจ๋อตง นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล จอมพลเฉินยี่ เติ้ง

เสี่ยวผิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน นอกจากนี้ยังได้พบปะสนทนากับผู้นำกอบกู้เอกราชของชาติในอินโดจีน อาทิ ประธานาธิบดีโฮจิมินห์และนายกรัฐมนตรีฝ่ามวันดง แห่งเวียดนาม เจ้าสุภานุ

วงศ์ ประธานประเทศลาว เจ้าสุวรรณภูมา และพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ กษัตริย์แห่งกัมพูชา โดยเฉพาะมิตรภาพระหว่างปรีดีกับประธานโฮจิมินห์นั้น ยืนยาวมาตั้งแต่สมัยที่เขาผู้นี้ต่อสู้กับ

ฝรั่งเศส[141]

ต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2513 โจวเอินไหลได้อำนวยความสะดวกให้ปรีดีเดินทางจากประเทศจีนไปยังกรุงปารีส ด้วยความช่วยเหลือจากนายกีโยม จอร์จ-ปีโก (Guillaume Georges- Picot) มิตรเก่า

ที่มีตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูตถาวรของประเทศฝรั่งเศส และโดยได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดี ชาร์ลส์ เดอ โกลล์[142] ปรีดีจึงได้พำนักอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศส ในช่วงปลายชีวิตอย่างสันติ

สุข ท่านเป็นผู้สนใจสนใจในพุทธศาสนา[143] โดยเฉพาะหนังสือเรื่อง "กฎบัตรของพุทธบริษัท" ที่พุทธทาสภิกขุส่งไปให้นั้น ปรีดีจะพกในกระเป๋าเสื้อนอกติดตัวอยู่ตลอดเวลาตราบจนวาระสุดท้าย

ของชีวิต[144]

เวลา 11 นาฬิกาเศษ ของวันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ณ บ้านอองโตนี ชานกรุงปารีส ปรีดี พนมยงค์ สิ้นใจด้วยอาการหัวใจวายขณะกำลังเขียนหนังสืออยู่ที่โต๊ะทำงาน[14]

งานเขียน[แก้]
ปรีดีเป็นผู้ใฝ่หาความรู้ทางด้านวิทยาการต่าง ๆ ทั้งสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์[ต้องการอ้างอิง][ใครกล่าว?] ขณะพำนักอยู่ในประเทศจีน ได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อรู้แจ้งเห็นจริงทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ

รวมทั้งผลงานของเมธีทางด้านปรัชญาและสังคมศาสตร์ เช่น มาร์กซ์ เองเงิลส์ เลนิน สตาลิน และเหมา เจ๋อตุง ในเชิงเปรียบเทียบสภาพสังคมไทยทุกแง่ทุกมุม[ต้องการอ้างอิง] อาทิ ระบอบเศรษฐกิจ

การเมือง ทัศนะสังคม ประวัติศาสตร์ ชนชาติ ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี แล้วได้เรียบเรียงเป็นบทความ[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งได้ตีพิมพ์ในโอกาสต่อมา[ต้องการอ้างอิง]

งานเขียนชิ้นสำคัญของเขาที่นำพุทธปรัชญามาวิเคราะห์วิวัฒนาการของมนุษยสังคมคือ "ความเป็นอนิจจังของสังคม" ซึ่งได้รับการตีพิมพ์หลายครั้งและเป็นที่สนใจของผู้ที่ต้องการศึกษาอยู่ตลอดมา

เพราะข้อความที่เขียนอันเป็นสัจจะอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทุกยุคทุกสมัย[14]


สิ่งทั้งหลายในโลกนี้เป็นอนิจจัง ไม่มีสิ่งใดนิ่งคงอยู่กับที่ ทุกสิ่งที่มีอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดยั้ง…พืชพันธุ์ รุกขชาติ และสัตวชาติทั้งปวง รวมทั้งมนุษยชาติที่มีชีวิตนั้น เมื่อได้

เกิดมาแล้วก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงโดยเจริญเติบโตขึ้นตามลำดับ จนถึงขีดที่ไม่อาจเติบโตได้อีกต่อไป แล้วก็ดำเนินสู่ความเสื่อมและสลายในที่สุด


ผลงานงานเขียนบางส่วนของปรีดี ได้แก่[145]

บันทึกข้อเสนอเรื่อง ขุดคอคอดกระ, กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501
ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้าและ 21 ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน (Ma vie mouvementee et mes 21 ans d' exil en Chine Populaire)
ความเป็นมาของชื่อ “ประเทศสยาม” กับ “ประเทศไทย”
จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของวีรชน 14 ตุลาคม
ประชาธิปไตย เบื้องต้นสำหรับสามัญชน
ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญเบื้องต้นกับการร่างรัฐธรรมนูญ
ปรัชญาคืออะไร
“ความเป็นไปบางประการในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” ใน บางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์…
บางเรื่องเกี่ยวกับการก่อตั้งคณะราษฎรและระบบประชาธิปไตย
ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับเอกภาพของชาติและประชาธิปไตย
ความเป็นเอกภาพกับปัญหาสามจังหวัดภาคใต้, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาชาวปักษ์ใต้แห่งประเทศไทย, 2517
อนาคตของเมืองไทยกับสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้าน, ประจักษ์การพิมพ์, 2518

พุทธอิสระ : ขอกระชากหน้ากากห้างเลข ๗ อีกที

ขอกระชากหน้ากากห้างเลข ๗ อีกที
๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗
เห็นข่าวท่านดอกเตอร์ อดีตแกนนำเวที ออกมาพยายามอธิบายความว่า การกระทำของห้างเลข ๗ และบริษัทในเครือ ถือว่าเป็นการบูรณาการธุรกิจของกลุ่มบริษัทเลข ๗ มิได้มีการผูกขาดตัดตอนธุรกิจอย่างแน่นอน แถมยังอธิบายความเข้าข้างห้างเลข ๗ ด้วยว่า
“อยากให้เข้าใจว่า แนวโน้มการทำธุรกิจเป็นอย่างไร ถ้าสมมติว่าเขาทำแล้วขาดจริยธรรม เอาเปรียบ หรือจะกีดกัน หรืออะไรต่างๆ อันนั้นค่อยว่ากัน แต่ถ้าทำตามครรลองของธุรกิจ แล้วกระทบใคร คนที่ถูกกระทบต้องรู้จักเตรียมตัว หรือปรับตัว ไม่จำเป็นต้องตาย ถ้าปรับตัวอยู่ได้ แต่ต้องรู้ว่าจะปรับอย่างไร” ดร.เสรี ยืนยันสำหรับคำถามที่ว่า ซีพีเหมือนเจ้าใหญ่ที่รังแกชาวบ้าน ทำให้ร้านโชว์ห่วยตายหมดทั่วประเทศ”
ที่จริงฉันเคยเดินทางไปยื่นหนังสือให้คุณเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช.และคุณพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. และเคยเขียนหนังสือร้องเรียนไปยัง คสช.รัฐบาล คุณประยุทธ์ ถึงเรื่องนี้ เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
“โดยมีข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้บางส่วนในการปฏิรูปและแนวทางการออกกฎหมายของหลวงปู่พุทธะอิสระ ในด้านการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่ต้องไม่โดนกลุ่มทุนริดรอนเอาเปรียบ ฉันจึงขอเสนอให้ออกกฎหมายสงวนอาชีพเพื่อป้องกันเศรษฐีละโมบมาแย่งอาชีพคนยากคนจน ถึงเวลาแล้วที่จะออกกฎหมายมาป้องกันอาชีพดังต่อไปนี้
๑. ข้าวราดแกง
๒. ข้าวมันไก่
๓. ข้าวหมกไก่
๔. ข้าวผัดกระเพราไข่ดาว
๕. ก๋วยเตี๋ยวทุกชนิด
๖. ผัดไทย – หอยทอด
๗. ราดหน้า
๘. ผัดซีอิ๊ว
๙. เกี๊ยวหมู กุ้ง ไก่
๑๐. ขนมจีบ ซาลาเปา
๑๑. โอเลี้ยง ชาดำเย็น
๑๒. กาแฟเย็น
๑๓. ลูกชิ้นปิ้ง
๑๔. หมูปิ้ง
๑๕. ข้าวเย็น
๑๖. ข้าวผัด
๑๗. ร้านโชห่วยขายสินค้าเบ็ดเตล็ด
๑๘. งานฝีมือ
๑๙. ศิลปวัฒนธรรมที่สามารถประกอบเป็นอาชีพ
๒๐. สิ่งทอมือจักรสาร
เหล่านี้ ควรสงวนเอาไว้ให้เป็นอาชีพของผู้มีรายได้น้อยหรือคนไทยเท่านั้น ไม่อย่างนั้นพวกเศรษฐีละโมบและกลุ่มทุนต่างชาติจะมาแย่งคนยากจนหากินเช่นปัจจุบันนี้ จนเส้นทางหากินของคนมีรายได้น้อย คับแคบ ตีบตัน หมดทางหากินเช่นทุกวันนี้”
และยังเขียนบทความลงเฟสเรื่อง “ขอกระตุกขนหน้าแข้งมหาเศรษฐีอันดับ ๑ ของประเทศอีกที” เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ความว่า
“ไข่ต้มไหมจ๊ะ ไข่ต้ม รับไข่ต้มไหมจ๊ะ
กาแฟ ไข่ลวกไหมครับ
ข้าวโพดต้มไหมจ๊ะ
ขนมจีบซาลาเปาเอาไหมครับ ร้อนๆ
ข้าวมันไก่จ๊ะ ข้าวมันไก่ เนื้อขาวนุ่ม น้ำจิ้มรสแซ่บ
ข้าวราดแกงมาแล้วจ๊ะ
กะเพราไข่ดาวทานกับข้าวสวยร้อนๆ จ้า
โอเลี้ยง ชาเย็น กาแฟเย็น หวานมัน เย็นๆ จ๊ะ
อาหารและเครื่องดื่มสินค้าพื้นบ้านเหล่านี้เป็นอาชีพค้าขายเพื่อความอยู่รอดของคนยากคนจนมาแต่อดีต ขอเพียงแค่กำไรเล็กๆน้อยๆพอเลี้ยงปากเลี้ยงท้องตนและคนในครอบครัว เพื่อให้มีชีวิตรอดและส่งลูกหลานให้ได้เล่าเรียนพอมีความรู้
วิธีค้าขาย บางคนก็มีแผงขายอยู่หน้าบ้าน บางคนก็ขายตามทางเท้า บางคนนำใส่กระจาดเดินหาบขายส่งเสียงร้องเชิญชวนลูกค้าให้มาซื้อไข่ต้ม ถั่วต้ม ข้าวโพดต้ม สดๆ ร้อนๆ จ้า บางคนนำหม้อข้าวหม้อแกง ขนม ใส่รถเข็นเดินเข็นไปขายตามที่ชุมชน ส่งเสียงเจื้อยแจ้ว ข้าวแกงอร่อยๆ มาแล้วจ้า บางที่ชาวบ้านจะได้ยินเสียงเคาะกะลาหรือเคาะไม้ เคาะกระบอกไม้ไผ่ ดัง ป๊อกๆ เกี๊ยวหมู กุ้ง ไก่ ขนมจีบ ซาลาเปา อร่อยๆ ร้อนๆ มาแล้วจ้า
นี่คือภาพความทรงจำในอดีต
แต่เวลานี้ ภาพเส้นสายลายชีวิต ปากกัดตีนถีบเพื่อความอยู่รอดของคนยากคนจนที่ฉันเคยเห็นเคยได้ยิน ไม่รู้ว่าหายไปไหน ฉันเคยพูดคุยกับพ่อค้าขายเกี๊ยวรถสามล้อถีบ ถามเขาว่า วันนี้ทำไมไม่ขายเกี๊ยวแล้วหรือ เขาตอบฉันว่าเลิกขายมาหลายเดือนแล้ว ตั้งแต่มีร้านสะดวกซื้อมาตั้งอยู่ในชุมชน ผู้คนก็แห่กันไปอุดหนุนที่ร้านสะดวกซื้อที่เปิด ๒๔ ชั่วโมง เขาขายทุกอย่างตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันกางเกงใน ผ้าอนามัย ไม้เว้นแม้แต่เกี๊ยว ข้าวราดแกง ข้าวมันไก่ ไข่ต้ม กะเพราไข่ดาว กาแฟ โอเลี้ยง ชาเย็น แถมมีแอร์เย็นอีกต่างหาก
แล้วคนหาเช้ากินค่ำ ชาวบ้านที่ปากกัดตีนถีบ ทุนน้อยอย่างพวกผม จะไปแข่งกับเขาได้อย่างไร จำเป็นต้องเลิกขายไปโดยปริยาย ถึงพยายามจะขาย สุดท้ายก็สู้เขาไม่ได้ ผมเคยขี่รถ ๓ ล้อถีบ เพื่อขายเกี๊ยว ขายข้าวมันไก่ กะว่าจะตระเวนไปขายตามหมู่บ้านที่มีคนพลุกพล่าน แต่พอไปขายดูพบว่าร้านสะดวกซื้อมันเข้าไปตั้งร้านขายทุกอย่างหมดเกือบทุกหมู่บ้านแล้ว แล้วพวกเราชาวบ้านตาดำๆจะทำยังไง เลยต้องหยุดค้าขายสิ่งที่เราถนัด ออกไปไล่เก็บเศษกระดาษ เศษพลาสติกตามถังขยะมาขาย เพื่อความอยู่รอด
นี่ลูกชายคนโตที่เรียนอยู่ปี ๑ ก็ต้องออกจากมหาลัยเพราะผมไม่มีเงินส่ง มันก็ต้องไปเป็นเซลล์ขายเครื่องกรองน้ำได้เดือนหนึ่ง ๕ – ๖ พัน เพื่อนำเงินมาจุนเจือทางบ้าน เดือนหนึ่งมันถึงจะกลับมาบ้านที แต่ก็ส่งเงินทุกเดือน ลูกผมคนเล็กก็ยังเรียนอยู่เลยครับ ไม่รู้ว่าจะมีปัญญาส่งมันเรียนจบไหม
ฉันถามเขากลับไปว่า หากมีผู้ให้ยืมเงินลงทุนค้าขายอีกครั้งจะพอมีช่องทางขายได้ไหม เขาหันมาถามฉันว่า หลวงปู่จะให้ผมขายอะไร สิ่งที่ครอบครัวผมทำได้ชำนาญก็มีแต่เกี๊ยว ข้าวมันไก่ ขนมจีบ ซาลาเปา ผมสู้อุตส่าห์เสียเงินไปเรียนมาเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว เสียเงินไปก็หลายตังค์ หากจะให้ผมกลับไปขาย จะให้ผมขายที่ไหน เพราะทุกที่ที่มีคน มันก็มีร้านสะดวกซื้อเต็มไปหมด คนยากจนอย่างพวกเรามีแต่ตายกับตาย ไปขายสู้เขาไม่ได้
สิ่งที่คนอย่างพวกเราทำได้ตอนนี้คือเก็บขยะ ขายแรงงาน เป็นลูกจ้างนายทุน ไอ้ที่จะสร้างเนื้อสร้างตัวด้วยการค้าขายเล็กๆน้อยๆน่ะไม่มีแล้วในเวลานี้ เวลานี้เป็นเวลาของคนรวยครองเมือง คนจนเป็นขี้ข้า ไม่มีปัญญาจะไปสู้รบปรบมือแข่งกับเขาได้เลย พวกเขามันทุนหนา พวกเรามันทุนน้อยก็ต้องคอยเป็นขี้ข้าต่อไป
ฟังดูแล้วเป็นยังไงคุณประยุทธ์ คุณเห็นความคับแค้น คับแคบตีบตันในทางเดินของคนยากจนที่โดนมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของประเทศเอาเปรียบมั่งหรือเปล่า ยิ่งตอนนี้ภาครัฐมีนโยบายจัดระเบียบทางเท้า พื้นผิวการจราจร เส้นทางการทำมาหากินของประชาชนคนยากจนยิ่งดูประหนึ่งว่าจะคับแคบตีบตันมากยิ่งขึ้น ในอีกแง่มุมหนึ่งดูเหมือนว่า จะเป็นผลดีแก่ร้านสะดวกซื้อยิ่งขึ้นเสียด้วยซ้ำ เมื่อไม่มีพ่อค้าแม่ค้ารายเล็กรายน้อยมาแย่งลูกค้า บรรดาร้านสะดวกซื้อทั้งหลายดูจะซื้อง่ายขายคล่องได้มากขึ้น นักลงทุนก็คือผู้หวังผลตอบแทนที่มากกว่า การลงทุน ไม่มีนักลงทุนที่ไหนในเมืองไทยที่จะคิดถึงหัวอกหัวใจของผู้บริโภคหรือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
เรื่องราวเหล่านี้มิใช่เพิ่งเกิดในยุค คสช. แต่เกิดมาหลายรัฐบาล หลายยุค หลายสมัยแล้ว ไม่มีรัฐบาลไหนกล้าไปแตะร้านสะดวกซื้อ ซึ่งมีเศรษฐีอันดับหนึ่งของประเทศไทยเป็นเจ้าของ ต่างเกรงกลัวบารมี เพราะแค่เศษเงินหรือขนหน้าแข้งเล็กๆน้อยๆของเขา อาจสร้างปัญหาให้เกิดกับรัฐบาลขึ้นได้ ยิ่งมีนักเคลื่อนไหวรับจ้างที่สามารถทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ มือปืนรับจ้างพวกนี้ยิ่งพร้อมจะออกมาขับเคลื่อนเพื่อก่อให้เกิดกระแสกดดันแก่รัฐบาลได้
ดูอย่างนายทักษิณเป็นต้น ขนาดยังไม่ได้ขึ้นแท่นเศรษฐีอันดับหนึ่งของไทย แค่โยนเศษเงินเล็กน้อยลงมาในกลุ่มชนคนต้องการประชาธิปไตยบางกลุ่มที่รับจ้างเคลื่อนไหว ยังสามารถทำให้บ้านเมืองวุ่นวายได้ สร้างความแตกแยกได้ สาอะไรกับเจ้าของร้านสะดวกซื้อทั้งหลายที่ครอบงำการค้าปลีกของบ้านเมือง ทั้งขยายสาขาไปทั่วแผ่นดินทุกซอกทุกมุมของสังคม ล้วนแต่มีร้านสะดวกซื้อเต็มไปหมด
มองในมุมของผู้ใช้บริการ ก็ถือว่าเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ
มองในมุมของการจ้างงาน ถือว่าใช้ได้ เหตุเพราะมีการจ่ายเงินจ้างงานเป็นหลายหมื่นคน
แต่ถ้ามองในมุมของประชาชนคนยากจน คนหาเช้ากินค่ำ การทำอาชีพค้าขายเล็กๆน้อยๆ อยู่กับบ้านอยู่กับครอบครัว อยู่กันพร้อมหน้าพ่อแม่ลูกอบอุ่นนัก แถมด้วยช่วยลดปัญหาทางสังคมได้อีกตะหาก ตามด้วยการหยุดยั้งการโยกย้ายถิ่นที่ทำกินมากองรวมกันอยู่แต่ในตัวเมือง ซึ่งเกิดปัญหาสารพัดตามมาด้วย เพราะแต่ละถิ่นกำเนิดของมนุษย์ ล้วนมีสังคมที่มีทั้งขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อกำกับดูแลพฤติกรรมของผู้คนในท้องถิ่นของตนให้อยู่กันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ยอมรับให้เกียรติซึ่งกันและกัน ต่างมีความเกรงอกเกรงใจ ผู้คนในชนบทต้องโดนกำกับควบคุมพฤติกรรมโดยขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นนั้นๆไปโดยปริยาย สังคมในชนบทนั้นๆ จะมีการควบคุมกันเอง สงบเย็นไปโดยปริยาย ไม่ค่อยจะเกิดปัญหาวุ่นวายรุนแรงใดๆ เหตุเพราะภาคประชาสังคมควบคุมกันได้เอง เรียกว่าใครใคร่ค้าค้า ใครใคร่ขายขาย ไม่มีเศรษฐีหน้าเลือดที่ไหนมาเอาเปรียบพวกเขา เขาก็มิต้องดิ้นรนออกไปนอกกรอบของสังคมที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น
งานนี้หากคุณประยุทธ์ต้องการจะคืนความสุขให้ชาติประชาชนอย่างจริงจัง ควรจะต้องพูดคุยกับเศรษฐีหน้าเลือด ชอบเอาเปรียบคนยากจน ให้คืนอาชีพแก่คนยากคนจนไปเถิด เพราะเขาก็ร่ำรวยล้นฟ้ามากแล้ว ทำไมยังมาแย่งอาชีพของชาวบ้านตาดำๆอีก หากรัฐบาลคุณประยุทธ์ทำได้ ฉันว่าคุณคือสุดยอดฮีโร่เลยล่ะ
ที่จริงบริษัทนี้ ตอนที่พวกเขายังไม่ได้ทำการค้าแบบตะกรุมตะกรามตะกละ เคยนิมนต์ฉันไปแสดงธรรมบ่อยมาก ถึงกับผู้บริหารพาลูกชายมาขอเรียนหมากล้อมกับฉัน แต่ฉันปฏิเสธเพราะเห็นแววเอาเปรียบสังคม และหลังจากธุรกิจของพวกเขาเข้าครอบงำการค้าขายเล็กๆน้อยๆของคนจน ฉันไม่เคยไปแสดงธรรมให้แก่บริษัทนี้อีกเลย ทั้งที่เขาพยายามนิมนต์ คนพวกนี้อยู่ใกล้แล้วจะรู้ว่า มือถือสาก ปากถือศีล ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ เจตนาเอาพระเอาธรรมมาเป็นเครื่องโฆษณาชวนให้เชื่อ เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์และผลประโยชน์โดยตรงแก่บริษัท แต่ในเวลาเดียวกันก็แย่งอาชีพคนยากคนจนแบบชนิดไม่รู้สึกละอายชั่วกลัวบาปเลย นี่แหละสันดานนักลงทุนล่ะ”
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ฉันได้เคยออกไปเรียกร้องขอให้ผู้มีอำนาจในเวลานี้ ได้ช่วยออกมาปกป้องอาชีพภูมิปัญญาบรรพบุรุษไทยไม่ให้ถูกครอบงำโดยกลุ่มทุนและพวกเศรษฐีละโมบทั้งหลาย
โดยเฉพาะปีหน้านี้จะมีการเปิดเสรีการค้า เปิดประเทศในกลุ่ม AEC จะมีทั้งทุน ทั้งคน ทั้งอาชีพ ทั้งวัฒนธรรม หลั่งไหลเข้ามาและออกไป สิ่งที่คนไทยทั้งประเทศควรตระหนัก ต้องระมัดระวังถนอมรักษา นั่นคือรากเหง้าและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ที่จะต้องดำรงให้คงอยู่เพื่อส่งมอบเอาไว้ให้ลูกหลานชั้นหลังๆ สืบไป
วันนี้หากคนไทยยังทำทองไม่รู้ร้อน ยินยอมให้กลุ่มทุนและเศรษฐีผู้ละโมบมาเอาเปรียบ วันข้างหน้าพวกเราจะหลงเหลืออะไรเอาไว้ส่งมอบให้เป็นมรดกแก่ลูกหลาน
แล้วพวกเราจะยังหายใจอยู่อย่างภาคภูมิใจได้อีกกระนั้นหรือ
พุทธะอิสระ

ยิ่งลักษณ์ โดนเรื่องการ “ละเว้นปฏิบัติหน้าที่” เพราะ“จงใจปล่อยปละละเลย

โกงชาวนา!! ยิ่งลักษณ์ โดนเรื่องการ “ละเว้นปฏิบัติหน้าที่” เพราะ“จงใจปล่อยปละละเลยให้ลูกน้องโกง” โดยมีหลักฐานมัดตัวชัดว่า มีเอกสารจดหมายเตือนยิ่งลักษณ์แล้วจากหน่วยงานรัฐอย่างน้อย 5 หน่วยงาน จดหมายอย่างน้อย 10 กว่าฉบับ ว่ามีการโกงอยู่ ให้ระงับ ให้ทบทวน ให้ตรวจสอบให้รัดกุม แต่...ยิ่งลักษณ์ก็ย้ำอีกครั้งครับ “จงใจปล่อยปละละเลยให้ลูกน้องโกง” !!
และนี่คือโทษที่ยิ่งลักษณ์กำลังจะได้รับ
ล่าสุดคือ ป.ป.ช.ได้ส่งหนังสือถึงกระทรวงการคลัง ให้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากยิ่งลักษณ์ตามตัวเลขที่คณะอนุกรรมการปิดบัญชีจำนำข้าว โดยปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน สรุปไว้ 6 แสนล้านบาท และให้ตั้งกรรมการรับผิดทางแพ่ง เรียกชดใช้ค่าเสียหาย โดยมีอธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นประธาน 6 แสนล้านบาท ประเด็นคือตอนนี้ ถ้าเป็นกฎหมายเก่าอายุความจะ 2 ปี หมดอายุ 2560 เอาใจช่วยให้ 1.เอาเงินคืนมาจากตระกูลชินวัตรโดยไวให้ทันอายุความ หรือ 2.รัฐธรรมนูญใหม่เขียนให้ ลักษณะคดีแบบนี้ไม่มีอายุความในระดับแพ่งด้วย
ยิ่งลักษณ์ถูกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ลงมติท่วมท้น 190 ต่อ 18 เสียง ให้ถอดถอนจากคดีโกงจำนำข้าว เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2558 (อันนี้คุกทางการเมืองคือห้ามทำงานการเมือง 5 ปี)
ถัดมาคณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ศาลเดียวกับพี่ชายที่ต้องบินหนี) มีคำสั่งรับฟ้องคดี และนัดให้ยิ่งลักษณ์มารับการพิจารณาคดีครั้งแรก ฤกษ์ดี 19 พฤษภาคมนี้..อันนี้อาญาแผ่นดิน
เอาเงินคืนต้องฟ้อง!! คือ คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ ก็ยังมีมติมอบให้กระทรวงการคลังเป็นโจทก์ตรงฟ้องแพ่ง ยิ่งลักษณ์ รวมไปถึง บุญทรงและพวกอีก 21 คน อีกรอบ
รวมๆ สรุปว่า น่วม อ่วม กันทีเดียว กับการชดใช้กรรมหนักที่ก่อไว้กับประเทศชาติ โกงภาษีคนไทยไปกว่า 6 แสนล้านบาท หักหลังชาวนาไทย 12 ล้านคน 4 ล้านครัวเรือน ที่ได้มอบความไว้วางใจมาแก้ปัญหาความยากจนให้ชาวนา แต่แล้วก็กลับกลายเป็นเข้ามาควักเนื้อเหยียบสันหลังชาวนา เข้ามาตักตวงผลประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง เข้าเส้นทางความชั่วร้ายเดียวกับอดีตนายกฯ ทักษิณ ที่หนีคดีไปเพราะใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี หาประโยชน์ให้ตัวเอง โกงชาติ ซุกหุ้นเลี่ยงภาษี ตักตวงผลประโยชน์จากแผ่นดินเกิดไม่มีผิด
@NochPH: แนวหน้า - โกงจำนำข้าว เพื่อไทยใช้กรรมhttps://t.co/xxrT8xat4p via @sharethis แนวหน้า - โกงจำนำข้าว เพื่อไทยใช้กรรม: http://www.naewna.com/politic/columnist/18378…


ค้นเกาะส่วนตัว “เจ้าพ่อหลีเป๊ะ” พบหลุมศพเพียบ ทหารเร่งล่าตัวการใหญ่ค้า “โรฮีนจา”

ค้นเกาะส่วนตัว “เจ้าพ่อหลีเป๊ะ” พบหลุมศพเพียบ ทหารเร่งล่าตัวการใหญ่ค้า “โรฮีนจา”

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
11 พฤษภาคม 2558 10:32 น. (แก้ไขล่าสุด 11 พฤษภาคม 2558 11:03 น.)
ค้นเกาะส่วนตัว “เจ้าพ่อหลีเป๊ะ” พบหลุมศพเพียบ ทหารเร่งล่าตัวการใหญ่ค้า “โรฮีนจา”
        สตูล - ทหารลุยค้นเกาะส่วนตัวของ “เจ้าพ่อหลีเป๊ะ” ที่ได้ชื่อว่าตัวการใหญ่ขบวนการค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจา พบหลุมฝังศพเกือบ 20 หลุม บนเกาะแรดใหญ่ใกล้ฮวงซุ้ยตระกูล “อังโชติพันธ์” แต่กลับไม่มีป้ายระบุว่าเป็นศพใคร เจ้าหน้าที่สงสัยเป็นหลุมศพผู้อพยพเตรียมตรวจสอบละเอียด ขณะเดียวกัน ยังพบที่พักถูกทิ้งร้างบนเกาะปาหนัน ด้านการข่าวเผย “โกโต้ง” เดินทางไปเกาะลังกาวี ยังไม่รู้ว่าหลบหนี หรือไปธุระ 
        
ค้นเกาะส่วนตัว “เจ้าพ่อหลีเป๊ะ” พบหลุมศพเพียบ ทหารเร่งล่าตัวการใหญ่ค้า “โรฮีนจา”
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเมื่อวานที่ผ่านมาได้มีคำสั่งจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้โยกย้ายนายตำรวจระดับรอง ผกก.ไปจนถึงรองสารวัตรยกโรงพักสถานีตำรวจภูธรควนโดน อ.ควนโดน จ.สตูล เนื่องจากพบความบกพร่องต่อการทำหน้าที่ในการป้องกัน และปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์
        
ค้นเกาะส่วนตัว “เจ้าพ่อหลีเป๊ะ” พบหลุมศพเพียบ ทหารเร่งล่าตัวการใหญ่ค้า “โรฮีนจา”
       
       ล่าสุด วันนี้ (11 พ.ค.) เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งที่ 452 ได้นำกำลังลงตรวจตามเกาะแก่งต่างๆ ที่เชื่อว่าจะเป็นแหล่งพักพิง และซุกซ่อนของชนกลุ่มน้อยโรฮีนจา ซึ่งปฏิบัติการในครั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจค้นบนเกาะส่วนตัวของนายปัจจุบัน อังโชติพันธ์ หรือ “โกโต้ง” อดีตนายก อบจ.สตูล ประกอบด้วย 3 เกาะ ได้แก่ เกาะแรดใหญ่ เกาะปาหนัน และเกาะเลตง ซึ่งเป็นเกาะสัมปทานรังนกในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา
        
ค้นเกาะส่วนตัว “เจ้าพ่อหลีเป๊ะ” พบหลุมศพเพียบ ทหารเร่งล่าตัวการใหญ่ค้า “โรฮีนจา”
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกหารตรวจสอบของเจ้าหน้าที่พบสิ่งผิดปกติที่เกาะแรดใหญ่ ซึ่งพบว่าเป็นเกาะส่วนตัว โดยทางคนงานผู้เฝ้าเกาะอ้างว่า เป็นเกาะที่มีเอกสารสิทธิที่ดินเนื้อที่ประมาณ 100 กว่าไร่ ไม่มีชาวบ้าน หรือชาวเลอาศัยอยู่บนเกาะนี้แต่อย่างใด นอกจากนี้ บนเกาะยังพบหลุมฝังศพบรรพบุรุษของตระกูลอังโชติพันธุ์ และบริเวณไม่ห่างกันมากนักยังพบหลุมฝังศพ ประมาณ 9 หลุม และห่างออกไปอีกนับสิบหลุม ซึ่งเป็นหลุมฝังศพที่ไม่มีสัญลักษณ์ใดๆ ระบุบนหลุม ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ทหารเห็นว่า มีความผิดปกติ โดยทางคนงานผู้เฝ้าเกาะดังกล่าวอ้างว่า เป็นศพของลูกหลานตระกูลอังโชติพันธุ์ นอกจากนี้ บนเกาะดังกล่าวยังพบว่า มีการเลี้ยงกวางจำนวนกว่า 20 ตัวรวมถึงสัตว์เลี้ยงอื่นๆ เช่น แพะ และวัวอีกเป็นจำนวนมาก แต่ไม่พบตัวนายปัจจุบัน อังโชติพันธ์ หรือโกโต้ง เจ้าของเกาะแต่อย่างใด
        
ค้นเกาะส่วนตัว “เจ้าพ่อหลีเป๊ะ” พบหลุมศพเพียบ ทหารเร่งล่าตัวการใหญ่ค้า “โรฮีนจา”
       
       นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังพบสิ่งผิดปกติบนเกาะปาหนัน ซึ่งพบว่า มีที่พักร้าง พร้อมทั้งปี๊บบรรจุขนมปัง และซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทิ้งกระจัดกระจายในเพิงที่พัก คาดว่ามีการทิ้งไว้นานแล้ว พร้อมกันนี้ บนเกาะปาหนัน ยังมีเส้นทางขึ้นไปยังพื้นที่สูงเพื่อสังเกตการณ์ และไม่พบว่ามีผู้ใดอาศัยอยู่บนเกาะดังกล่าว ส่วนเกาะเลตง ซึ่งเป็นเกาะสัมปทานรังนกของนายปัจจุบัน ไม่พบสิ่งผิดปกติแต่อย่างใด
        
ค้นเกาะส่วนตัว “เจ้าพ่อหลีเป๊ะ” พบหลุมศพเพียบ ทหารเร่งล่าตัวการใหญ่ค้า “โรฮีนจา”
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลการข่าวของเจ้าหน้าที่ทหารสืบทราบว่า นายปัจจุบัน อังโชติพันธ์ หรือ “โกโต้ง” ได้เดินทางไปยังเกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย ประมาณ 3 วันมาแล้ว ซึ่งขณะนี้ทางด่วนตรวจคนเข้าเมืองได้ตรวจสอบว่า เป็นการเดินทางเพื่อไปทำธุระส่วนตัว หรือเพื่อหลบหนีความผิด
        
ค้นเกาะส่วนตัว “เจ้าพ่อหลีเป๊ะ” พบหลุมศพเพียบ ทหารเร่งล่าตัวการใหญ่ค้า “โรฮีนจา”
       
       สำหรับ นายปัจจุบัน อังโชติพันธ์ หรือ “โกโต้ง” อดีตนายก อบจ.สตูล ซึ่งมีฉายาว่าเจ้าพ่อเกาะหลีเป๊ะ หลังจากที่ถูกออกหมายจับ ได้หลบหนีจากประเทศไทยไปอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านเป็นการชั่วคราว โดยรายงานข่าวแจ้งว่า “โกโต้ง” รู้ตัวล่วงหน้าว่าจะถูกออกหมายจับ เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับนายตำรวจระดับสูง เพราะโกโต้ง เป็นผู้ให้การต้อนรับเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่เดินทางมาผักผ่อนที่เกาะหลีเป๊ะ โดยมีเรือยอชต์ให้บริการ รับ-ส่ง และมีรีสอร์ตที่เกาะหลีเป๊ะไว้บริการทุกสุดสัปดาห์
        
        
ค้นเกาะส่วนตัว “เจ้าพ่อหลีเป๊ะ” พบหลุมศพเพียบ ทหารเร่งล่าตัวการใหญ่ค้า “โรฮีนจา”
       
ค้นเกาะส่วนตัว “เจ้าพ่อหลีเป๊ะ” พบหลุมศพเพียบ ทหารเร่งล่าตัวการใหญ่ค้า “โรฮีนจา”
       
ค้นเกาะส่วนตัว “เจ้าพ่อหลีเป๊ะ” พบหลุมศพเพียบ ทหารเร่งล่าตัวการใหญ่ค้า “โรฮีนจา”
         

รสนา โพสFBเจอหมายเรียกตกเป็นผู้ต้องหาคดีปตท.ฟ้อง

"ถึงเวลาต้องปฏิรูปวงการตำรวจอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้กระบวนการสอบสวนเป็นเครื่องมือผู้มีอำนาจ"
เมื่อวันพฤหัสบดีที่7พฤษภาคม 2558 ตำรวจจากสภอ.โพธิ์แก้ว จ.นครปฐม ได้เอาหมายผู้ต้องหามาหาดิฉันที่บ้าน เพื่อให้เซ็นรับการเป็นผู้ต้องหาตามหมายเรียกของสน.ชนะสงคราม ที่บ้านก็ตกอกตกใจกันว่าเกิดอะไรขึ้น
สาเหตุของเรื่องหมายเรียกผู้ต้องหาของสน.ชนะสงครามมาจากบริษัทปตท.แจ้งความว่าดิฉันหมิ่นประมาทบริษัทปตท. จากการพูดให้ข้อมูลของดิฉันในงานเสวนาเรื่อง ปฏิรูปพลังงาน ครั้งที่ ๒ หัวข้อ “น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติของประชาชน ใครปล้นไป เมื่อ 2มีนาคม2557 ที่อนุสรณ์สถาน14ตุลา ในตอนท้ายรายการพิธีกรได้เชิญดิฉัน ที่เป็นผู้ฟังให้แสดงความเห็น ดิฉันเพิ่งกลับจากดูงานบริษัทปิโตรนัสที่มาเลเซีย เลยเล่าข้อมูลให้ที่ประชุมฟังเรื่องที่ได้ ฟังจากอดีตประธานปิโตรนัสว่าบริษัทปิโตรนัสของมาเลเซียเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติที่มีรัฐเป็นเจ้าของ100% ทำให้การส่งรายได้ให้รัฐเท่ากับ 40% ของงบประมาณแผ่นดิน ข้อความที่ปตท.หาว่าหมิ่นประมาทเขาให้ถูกเกลียดชังคือข้อความต่อไปนี้
"ส่วนบมจ.ปตท.หลังแปรรูปแล้วส่งเงินปันผลน้อยลง อย่างปี 2555 ปตท.ส่งเงินเข้ารัฐ เป็นเงินส่วนที่เราเรียกว่า ส่วนแบ่งกำไร ปันผลจากเงินกำไร แค่ 17,000ล้าน ในขณะที่ กฟผ.ส่งให้ 22,000บาทนะคะ แล้วจะเห็นได้เลยว่า ปตท.ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา ส่งเงินเข้าหลวงน้อยลงเรื่อย ๆ คือ กำไร 170,000ล้านบาทนะคะ แต่ส่งเงินเข้ารัฐแค่ 17,000ล้าน คือประมาณ 10%”
ปตท.จำกัด(มหาชน) ไปแจ้งความที่สน.ชนะสงครามว่าดิฉันหมิ่นประมาทบริษัทปตท.ด้วยข้อความดังกล่าว
เมื่อได้หมายเรียกผู้ต้องหา ดิฉันให้ทนายติดต่อทางพนักงานสอบสวนจนได้ทราบข้อมูลว่า บริษัท ปตท. แจ้งความข้อหาหมิ่นประมาทในข้อความดังกล่าว ดิฉันได้ทำหนังสือแจ้งไปที่พนักงานสอบสวนว่าข้อมูลที่ดิฉันพูดมาจากข้อมูลเงินนำส่งรายได้แผ่นดินของรัฐวิสาหกิจฯ ประจำปี 2551-2555 มาจาก เว็บไซต์ ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ชื่อ http://www.sepo.go.th/design/category/333-2551-2555.htm และ แบบ ๕๖-๑ สิ้นสุด ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หน้า 302 ส่วนกำไรก่อนภาษีเงินได้ ปี ๒๕๕๕ (ตรวจสอบ) เป็นเงิน ๑๗๒,๑๓๒.๓๓ ล้านบาท จาก เว็บไซต์ ชื่อ http://ptt.listedcompany.com/…/20130330-PTT-Form561-2012-TH… ซึ่งเป็นเอกสารที่เผยแพร่และบุคคลทั่วไปก็สามารถดูได้ และขอให้พนักงานสอบสวนยกเลิกข้อกล่าวหาดิฉันเสียเพราะประเด็นที่ บมจ.ปตท.กล่าวหาดิฉันหมิ่นประมาทนั้น ดิฉันได้พูดให้ข้อมูลจากแหล่งที่มาที่แน่นอน และไม่เป็นกระทำความผิดต่อบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) แต่อย่างใด
แต่พนักงานสอบสวนท่านนั้นยังคงส่งหมายเรียกครั้งที่ 2, 3 มาให้ดิฉันไปรับทราบข้อกล่าวหาไม่หยุดหย่อน ดิฉันจึงทำหนังสือร้องเรียนไปที่บชน.เมื่อวันที่27 เมษายนที่ผ่านมาว่า การกระทำของพนักงานสอบสวนดังกล่าวเป็นการจงใจกลั่นแกล้งดำเนินคดีอาญากับดิฉันด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๑ ซึ่งมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ และขอให้โปรดสอบสวนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม และมีคำสั่งยกเลิกการตั้งข้อกล่าวหากับดิฉัน
แต่ยังไม่ทันจะได้รับคำตอบจากบชน. ดิฉันก็ได้หมายเรียกครั้งที่4 จากพนักงานสอบสวนคนเดิมให้ไปพบในวันศุกร์ที่8 พฤษภาคม ดิฉันให้ทนายโทรไปหาพนักงานสอบสวนท่านนั้นและแจ้งว่า ได้ส่งเรื่องร้องเรียนไปที่บชน.แล้ว และจะรอผลการพิจารณาของบชน.ก่อน โดยจะไม่ไปพบในวันศุกร์ที่8 พฤษภาคม เพราะวันนั้นดิฉันมีนัดหมายไปพบผู้ว่าสตง.เพื่อส่งหลักฐานเพิ่มเติมคือคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดินเรื่องการคืนท่อก๊าซไม่ครบถ้วน
แม้จะโทรชี้แจงเหตุผลกับพนักงานสอบสวนแล้ว แต่แทนที่พนักงานสอบสวนจะรอการพิจารณาจากบชน.ก่อน ปรากฎว่าวันรุ่งขึ้นวันที่7พฤษภาคม พนักงานสอบสวนสน.ชนะสงครามก็ส่งตำรวจจากสภอ.โพธิ์แก้วบุกไปหาดิฉันที่บ้าน เพื่อให้ดิฉันหรือคนในบ้านเซ็นรับหมายเรียกผู้ต้องหา
นี่เป็นการคุกคามดิฉันโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่?
พนักงานสอบสวนเป็นต้นทางของระบบยุติธรรม แต่พฤติกรรมดังกล่าวทำให้เกิดคำถามว่า พนักงานสอบสวนยอมเป็นเครื่องมือของนักการเมืองหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งที่มีอิทธิพล ที่จะใช้พนักงานสอบสวนเป็นเครื่องมือคุกคามประชาชนที่วิจารณ์หรือตรวจสอบนักการเมือง และองค์กรเหล่านั้นใช่หรือไม่?
เห็นได้จากการที่พนักงานสอบสวนไม่ได้ใช้วิจารณญานที่เป็นอิสระในการพิจารณาว่าข้อกล่าวหาใดต่อบุคคลใดเป็นกรณีที่เข้าข่ายการหมิ่นประมาทหรือไม่? สมควรออกหมายเรียกบุคคลนั้นเป็นผู้ต้องหาหรือไม่?
ขอให้เพื่อนมิตรลองเปรียบเทียบกรณีการร้องทุกข์กล่าวโทษที่ดิฉันเคยร้องเรียนผ่านพนักงานสอบสวนเมื่อปี2547 กรณีอดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาจำคุก15ปีจากการรับสินบนบริษัทยาบริษัทหนึ่ง ในคดีนั้้นศาลฎีกานักการเมืองไม่สามารถเอาบริษัทยามาลงโทษพร้อมกับนักการเมือง แต่คำพิพากษามีความชัดเจนที่ตำรวจสามารถดำเนินการสั่งเรื่องฟ้องได้ ดิฉันได้ร้องทุกข์กล่าวโทษทั้งรัฐมนตรีที่ไม่ดำเนินคดีกับบริษัทยา และบริษัทยาที่ให้สินบนอดีตรัฐมนตรีต่อพนักงานสอบสวน แต่จากปี2547 จนถึงปัจจุบัน ไม่ปรากฎว่าพนักงานสอบสวนได้ดำเนินการอย่างกระตือรือร้นที่จะแจ้งข้อกล่าวหาต่อทั้งรัฐมนตรีที่ละเว้น และบริษัทยาอย่างเอาจริงเอาจังเหมือนที่กำลังปฏิบัติต่อดิฉัน
ผ่านมาแล้ว 11ปี คดีที่ดิฉันร้องทุกข์กล่าวโทษในฐานะประชาชนที่ไม่มีอำนาจทุนและอำนาจทางการเมืองหนุนหลังอยู่ ไม่ได้รับติดตามอย่างกระตือรือร้นจากพนักงานสอบสวนในการนำผู้กระทำผิดมารับผิดแต่ประการใด
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะมีการปฏิรูปกระบวนการสอบสวนของตำรวจให้ปลอดพ้นจากการครอบงำของผู้มีอำนาจรัฐและอำนาจทุน เพื่อให้กระบวนการสอบสวนของตำรวจเป็นต้นทางของระบบยุติธรรมอย่างแท้จริง


เปลว สีเงิน: แอนตี้ 7-11 ต้นเหตุมาจากไหน?

    แอนตี้ 7-11 ต้นเหตุมาจากไหน?

  • Byadmin
    In
    May 11, 2015
    0 Comments
    ตลอดสัปดาห์ที่ผ่าน กระแสหนึ่งร้อนแรงในสังคมโซเชียลมีเดีย คือกระแส "แอนตี้ 7-11" และสินค้า CP ข้ามมาสัปดาห์นี้ ก็ดูยังจะร้อนแรงอยู่!
    ขอถาม "ทวนกระแส" กับชนชาวสังคมให้ชัดลงไปเลยว่า แอนตี้ 7-11 แอนตี้สินค้า CP หรือ.......
    เกลียด "นายธนินท์ เจียรวนนท์" ผู้เป็นเจ้าของ?
    ถ้าบอกว่า ทั้งนายธนินท์ 7-11 และ CP คือ "หนึ่งเดียวกัน" ก็ขอถามต่อว่า ตรงจุดไหนที่ทำให้เกลียด ทำให้แอนตี้ในการเข้าร้านและการบริโภคสินค้า CP?
    คงมีคำตอบหลากหลาย บางคนอาจสะดุดเพื่อคิด (อีกที) ก็ได้ว่า...เอ๊ะ..ก็นั่นน่ะซี การเกลียดนายธนินท์ เหมือนเด็กที่โตมาด้วยกัน คลุกคลีมาด้วยกันแต่เล็ก
    ครั้นต่างโตเป็นหนุ่ม-เป็นสาว เกิดคำถามเชิงฉงน ก็ไม่เคยคิดอะไร แต่ทำไมจู่ๆ ถึงวันหนึ่ง รู้สึกรัก-รู้สึกเกลียด ชนิด "เข้ากระดูก" ขึ้นมาเฉยๆ
    รักและเกลียดนั้น บ่มเพาะมาแต่หนไหน?
    7-11 และ สินค้า CP ก็เหมือนกัน แอนตี้เพราะอะไร จะบอกว่า เขาเอาเปรียบ ผูกขาด ทำให้โชห่วยตามชุมชนเจ๊ง และจะบอกว่า สินค้า CP ไม่ดี มันไม่ใช่
    ก็เพราะอะไรล่ะ จึงแอนตี้กันครึกโครมถล่มเมือง?
    ผมก็ไม่ใช่นักวิจัย อีกอย่าง 7-11 และสินค้า CP ก็ไม่ใช่เจ้ากรรม-นายเวรที่ต้องผูกติดชีวิตผม
    เคยเข้าเซเว่นฯ มั้ย...เข้าบ้าง เคยบริโภคสินค้า CP มั้ย...เคยบ้าง!
    เข้าบ้าง หมายถึง ๑ ปี ไม่ถึง ๑๐ ครั้ง ที่เข้าน้อย ไม่ได้แอนตี้ หากแต่ 7-11 ลองไปสำรวจดูให้ดีเถอะ ประเภทสินค้า ไม่มีคุณค่าอะไรสำคัญเร่งด่วนต่อความจำเป็นที่ต้อง "เข้าทุกวัน" เหมือนเข้าห้องน้ำ
    และทุกชนิด "แพงกว่า" ร้านทั่วไปทั้งสิ้น!
    คนที่เข้าประจำบอกว่า "สะดวกดี" มีให้ซื้อตลอด ๒๔ ชั่วโมง ถามว่า ที่ "สะดวกดี" นั่นน่ะ ไปซื้ออะไร?
    มีสบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ยาสระผม ถุงยางอนามัย กระดาษชำระ น้ำดื่ม อาหารแช่แข็ง แมกกาซีนบันเทิง น้ำแข็ง ยาอม หมากฝรั่ง กาแฟ สุรา และ ฯลฯ
    สินค้าพวกนี้น่ะนะ ต้องซื้อหากัน ๒๔ ชั่วโมง?
    อยากบอกว่า ถ้าต้องการแอนตี้ 7-11 ไม่ใช่รณรงค์ไม่ให้คนเข้าร้าน ต้องปฏิวัติด้วยการรณรงค์ให้ชาวบ้านรู้จัก "วางแผนการใช้ชีวิตประจำวัน"
    ถ้าคนรู้จักวางแผนชีวิต ทั้งเดือนไม่เข้าเซเว่นฯ ก็ไม่เห็นมีปัญหา เพราะแต่ละสัปดาห์ซื้อไว้ครบแล้ว
    คนเข้าเซเว่นฯ ทุกวันเพราะ ๑.เสพติดนีออน ๒.เสพติดแอร์ ๓.สะเปะ-สะปะมา!
    พวกเสพติดเซเว่นฯ เหมือนแมลงเม่า ถ้าไม่มีแสงนีออนก็ไม่มาตอม ส่วนเรื่องแอร์ ไม่ใช่คน...แต่เป็นหมา
    เราจะเห็นหมาชอบไปนอนตากแอร์หน้าประตูเลื่อนเซเว่นฯ เกลื่อนทุกแห่ง!
    การค้า ๒๔ ชั่วโมง ทั่วประเทศอย่างเซเว่นฯ ทำให้คุณภาพชีวิตคนไทยเสีย บ่มเพาะสังคมคนเคยตัว และขาดวินัยชีวิต
    ของจำเป็นที่ต้องใช้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง...ไม่มีที่เซเว่นฯ เพราะเซเว่นฯ เท่าที่ดูแนวคิด-แนวค้า "เอา" อย่างเดียว ไม่มีคำว่า "ให้" เป็นปลาใหญ่ แค่อ้าปากไว้ สัตว์เล็ก-สัตว์น้อยที่ไร้แรงต้าน
    ไหลเข้าปากหมด!
    คือมุ่ง "กำไร" ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ขนาดพื้นที่รัศมีแสงนีออนร้านสาดถึง ใครจะมาพึ่งใบบุญ...ยังต้องจ่าย!
    แนวคิด-แนวบริหารเซเว่นฯ ในคติ "เอา" อย่างเดียว ดังนั้น จะเห็นเซเว่นฯ ทุกแห่งในประเทศไทย
    ไม่ยอมให้มีห้องน้ำ!
    โฆษณา "หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา" สะท้อนแนวคิด "เอา" อย่างเดียวชัดเจน เพราะไม่ปรากฏว่า ในขณะที่เอาคนกิน ๒๔ ชั่วโมง จะคำนึงถึงมุม "ให้" ลูกค้าบ้าง ด้วยโฆษณา
    "ปวดเมื่อไหร่ก็แวะมา" ด้วยเลย!
    สรุปแล้ว การที่เกิดกระแสแอนตี้ 7-11 และสินค้า CP ต้นรากมาจากตัว "นายธนินท์ เจียรวนนท์" นั่นแหละ
    เซเว่นฯ-ซีพี พูดไม่ได้ ดังนั้น ที่นายธนินท์พูด จึงเท่ากับเซเว่นฯ และซีพีพูด
    พูดไปทางไหน...?
    ทางทำธุรกิจมุ่งกำไร ไม่เอื้อเฟื้อ-แยแสสังคม ประจบอำนาจ แทงหวย "การเมือง" เป็นสรณะ นั่นแหละเป็นต้นเหตุ
    บนสุด เจ้านายยโส.........
    ล่างสุด ลูกน้องพลอยโอหัง!
    เป็นภาพดำบ่มเพาะมานาน จนระเบิดผ่านการแอนตี้ตัวธุรกิจของนายธนินท์ คือ 7-11 และ CP ในความหมายว่า CP ของนายธนินท์ ทำมาหากินบนแผ่นดินไทย จากในดินไทย ในน้ำไทย จากชีวิตคนไทย
    แต่รวยแล้ว นายธนินท์กลับแห้งแล้งน้ำใจต่อภาคสังคม อะไรที่กล้องไม่จ่อเอาภาพไปออกจอว่าบริจาค ยากเห็นจากนายธนินท์
    และแต่ละครั้งที่ออกมาเสนอแนวคิดเศรษฐกิจ...........
    ๒ สูงบ้าง ปลูกยางทั้งประเทศบ้าง ค่าแรงต้องวันละ ๕๐๐ บ้าง สินค้าเกษตรราคาต้องแพงบ้าง จำนำข้าวเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ ยังน้อยไป มีเท่าไหร่รับซื้อหมดบ้าง
    โหย...ระดับสมประโยชน์ตบมือกันใหญ่ แต่ประชาสังคมต่าง "หมายหัว" ที่เจ้าสัวพูดเอาแต่ได้ ประชาชนส่วนใหญ่มีแต่เสีย
    ธุรกิจการเกษตรทุกชนิด สังคมเพ่งมองว่า ทุกหัวระแหงที่ CP เข้าไป แรกๆ ทำเป็นอุ้มคนพื้นที่ ลงท้ายทุบทำลายเขาตายหมด
    กระทั่งภูเขาเป็นลูกๆ จากป่าไม้ถาวร กลายเป็นเขียวกำไร จากพืชไร่ล้มลุกหมุนเวียน!
    การทำธุรกิจไม่มีใครว่า ในเมื่อกฎหมายไม่ห้าม และพูดกันแฟร์ๆ คนทำธุรกิจร่ำรวยในเมืองไทยระดับนายธนินท์ก็มีหลายคน
    แต่สังคมไม่รังเกียจ เหมือนที่รังเกียจนายธนินท์ ถึงขนาดแอนตี้ธุรกิจ CP นั่นเพราะอะไร?
    ผมเคยถาม "คน CP" เหมือนกันว่า...."ทำไมสังคมจึงรังเกียจเจ้านายคุณมาก?"
    ไม่มีคำตอบ ได้แต่ยิ้มเจื่อนๆ แล้วเปลี่ยนเรื่องคุย นี่ก็ร่วม ๒๐ ปีมาแล้ว ไม่ใช่เดี๋ยวนี้
    อย่างกรณีกระแสแอนตี้เซเว่นฯ-ซีพี ในโซเชียล มีเดีย แทนที่ระดับบริหารซีพีหรือนายธนินท์จะได้คิดอะไรทางสำนึก
    แต่ผมกลับเห็นแนวเสนอข่าวจากโทรทัศน์เครือข่ายนายธนินท์เมื่อวันอาทิตย์ในลักษณะ "ยโส-โอหัง" ข้าไม่แคร์ลูกค้าเหมือนเดิม
    ธุรกิจนายธนินท์ ไม่มีอะไรที่ไม่ถูกต้อง ผมไม่แอนตี้ มันเป็นเรื่องของจิตสำนึกของแต่ละคนพึงมีต่อสังคม
    นายธนินท์เป็นเศรษฐีระดับโลก ยาเม็ดละล้านหากินแก้แก่ได้ ฉะนั้น ย่อมคิดได้ว่า การทำธุรกิจแล้วมีภาพลักษณ์เป็นปฏิปักษ์กับสังคม นั้น
    บัญชีเงิน กำไรก็จริง......
    แต่บัญชีชีวิต ขาดทุนลงเรื่อยๆ!
    ไม่ต้องพูดลึกซึ้ง เอาที่เห็นๆ ชาวบ้านเคยได้ดู "ถ่ายทอดสด" ไม่ว่ากีฬา การแสดง ด้วยเซเว่นฯ-ซีพี อันหมายถึงนายธนินท์เอื้อเฟื้อบ้างมั้ย?
    ตรงกันข้าม ไม่ว่าฟุตบอล มวย เทนนิส วอลเลย์บอล มีให้ประชาชนได้ดูฟรีถึงบ้าน
    มีแต่ ช้าง...ช้าง..ช้าง ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เป็นผู้ให้!
    น้อยครั้ง แทบไม่เห็นเลยจากกล้องจ่อถ่ายออกจอว่านายเจริญบริจาคโน่นนี่ แต่ใครที่ไปดูตามโบราณสถาน อยุธยา อ่างทอง เชียงใหม่ เป็นต้น ชื่อนายเจริญ กับคุณหญิง เป็นผู้บูรณปฏิสังขรณ์เกือบทุกแห่ง
    อย่างโรงพยาบาลสถาบันโรคไต สำหรับดูแลรักษาผู้ป่วยทางไตครบวงจร ทุกวันนี้ ก็น้อยคนจะรู้ว่า นายเจริญกับภรรยาของเขา ออกเงินสร้างถวายเองทั้งหมด
    เป็นพันๆ ล้าน แต่เขาไม่เคยเอาหน้า-เอาตากับสังคมเลย!
    นี่ตัวอย่าง ร่ำรวยกับสังคม รวยแล้วก็เจียดกำไรคืนให้สังคมเขาบ้าง ไม่ยโส-โอหัง กับสังคม ใครจะกระแนะ-กระแหน "พ่อค้าน้ำเมา" บ้างก็ แค่นั้น
    นายเจริญภาพลักษณ์จึงไม่เป็นลบ ถึงขนาดสังคมแอนตี้อย่างที่เกิดกับกิจการเครือข่ายนายธนินท์วันนี้ นั่นเพราะ.....
    ไม่เอาอย่างเดียว คืนให้สังคมเหมือนปิดทองหลังพระ แล้วทองที่ปิดค่อยๆ ล้นออกมาข้างหน้าพระ จนสังคมเห็นเอง
    เจ้าสัวธนินท์ หัด "ปิดทองหลังพระ" บ้างนะ!