PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559

นายกฯ ฮึ่ม!! รับไม่ได้ พวกนักวิชาการ ไปเสวนาที่เยอรมัน ทำให้ประเทศเสียหาย



นายกฯ ฮึ่ม!! รับไม่ได้ พวกนักวิชาการ ไปเสวนาที่เยอรมัน ทำให้ประเทศเสียหาย เผยถ้าพูดข้อเท็จจริง ผมรับได้ แต่พูดที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง รับไม่ได้ ไล่สื่อไปดูมีใครบ้าง แฉ อดีตสส.ภาคเหนือบางพรรค บางคน ไปพูดกับชาวบ้านว่า ถ้าร่วมมือกับรัฐบาลในทุกเรื่อง จะถูกตัดสิทธิ์ 15 ปีในโครงการ30 บาทรักษาทุกโรค มันใช่ที่ไหนต้องฟังรัฐบาล ฟังผมพูดบ้าง สื่อชอบให้พื้นที่พวกนี้พูด เล่นงานผมข้างเดียว
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์ โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาสำนักนายกรัฐมนตรีครบรอบปีที่ 84 โดยมีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และข้าราชการเข้าร่วมงาน
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้เป็นการทำบุญครั้งใหญ่ และปีนี้ก็เป็นปีมหามงคล ขอขอบคุณข้าราชการทุกคนที่ช่วยกันทำงานในห้วงที่ผ่านมา ทั้งในอดีตจนถึง84 ปี และในปีที่ 85 ซึ่งเป็นอนาคตของประเทศต้องช่วยกันทำปีที่ 85 ให้เป็นไปอีกยาวนาน ทุกอย่างต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพราะต้องมีการปฏิรูปตั้งแต่ตนเอง ข้าราชการ ต้องจัดระเบียบกฎหมาย การบริหารราชการใหม่ทั้งหมด
ผมกำลังเร่งรัดการดำเนินการเหล่านี้ ผมได้พูดคุยกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งจะต้องมีการปรับระบบการทำงานบ้างในช่วงปีที่ 2ไปแล้ว ตั้งแต่ประกาศนโยบายครั้งแรกของรัฐบาล ต้องทำงานให้มีประสิทธิภาพ ไม่ให้มีการทุจริตคอรัปชั่น และมีการบูรณาการกับทุกหน่วยงาน ปิดช่องว่างที่จะทำให้เกิดการทุจริต มีใครที่ไหนเคยทำไหม นี่คือสิ่งที่อยากไม่ได้ง่ายนักหรอกฃ
หลายอย่างไม่ได้ทำวันเดียวเสร็จ เป็นมากี่ปีแล้วตรงนี้คือสิ่งที่ต้องปฏิรูป ถ้าทุกคนไม่ต้องการปฏิรูปก็ไม่เป็นไร ปล่อยให้เป็นต่อไป ประเทศชาติก็อยู่ที่เดิม
“หลายคนหลายพวกไปพูดจาที่ต่างประเทศ ทำให้ประเทศเสียหายทถ้าพูดข้อเท็จจริงผมรับได้ แต่พูดที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงรับไม่ได้ "
"อย่างที่มีคนไปพูดที่ประเทศเยอรมัน เคยเปิดดูไหม เขาพูดว่าอย่างไร ไม่สนใจ เปิดซะบ้างว่าคนเหล่านี้ไปทำอะไรมาบ้าง พอให้เปิดก็มาเล่นผมข้างเดียว เขาทำอะไรบ้างไปดูสิ จะได้มาอธิบาย ช่วยผมบ้างไปเปิดดูซะ มีใครไปจัด นักวิชาการอาจารย์ที่ไหนไปดูมา
อันที่สองคือการไปพูดจา วันนี้ผมให้ติดตามดูอยู่ว่าผิดกฎหมายหรือเปล่า พอเอากฎหมายว่าก็ไม่ยอมอีก ไม่ได้อีก มีเรื่องสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตยก็ไปเขียนให้เขาทุกวัน มันผิดกฎหมาย
"ภาคเหนือตอนนี้มีชื่ออดีตส.ส.บางพรรค บางคนผมไม่อยากเอยชื่อ ไปพูดกับชาวบ้านบอกว่า ถ้าร่วมมือกับรัฐบาลในทุกเรื่อง จะถูกตัดสิทธิ์ 15 ปีในโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือเรียก 30 บาทรักษาทุกโรค มันใช่ที่ไหน
อย่างนั้นประชาชนต้องฟังรัฐบาล ฟังผมพูดบ้าง ปล่อยให้คนพวกนี้พูดอยู่ได้ ไม่ขยายออกไป สนใจแต่ความขัดแย้งอย่างเดียว” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

ไม่ปรี๊ด

ดีนะ.....ที่ วันนี้ นายกฯสวดมนต์ มา....ไม่งั้น อาจปรี๊ด เมื่อสื่อถาม เรื่องนปช.ให้ยึดแบบนายกฯอังกฤษ ลาออกหากร่างรธน.ไม่ผ่านประชามติ
"วันนี้สวดมนต์ไปแล้ว ใจเย็นเพราะได้สวดมนต์" นายกฯประยุทธ์ กล่าว
พร้อม ลั่น ลั่น ไม่ลาออก แม้ร่างรธน. ไม่ผ่านประชามติ ยันเทียบกันไม่ได้ นายกฯไทย-อังกฤษ มันเป็นคนละเรื่องกัน ทำไมจะให้ผมลาออกหรือ ผมไม่ออกหรอก ผมเป็นคนกำหนดกติกาของผม เขาไม่ได้มาแบบผม บ้านเมืองเขาไม่มีปัญหาแบบบ้านเรา
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์ โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช. กล่าวถึง ที่ มีการเทียบเคียงนายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ กับพล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรีของไทย ให้ลาออก หาก ร่างรธน.ไม่ผ่านประชามติ นั้น
"เทียบกันยังไง มันเป็นคนละเรื่องกัน ทำไมจะให้ผมลาออกใช้หรือไม่ ผมไม่ออกหรอก ผมเป็นคนกำหนดกติกาของผม เขาไม่ได้มาแบบผม บ้านเมืองเขาไม่มีปัญหาแบบบ้านเรา"
"แล้วจะไม่รับผิดชอบกันเลยหรือ ทุกคนจะไม่ร่วมรับผิดชอบอะไรกับผมเลยหรือ
สำหรับผมรับผิดชอบอยู่แล้วที่เข้ามาทำงานครั้งนี้ แล้วคนอื่นไม่รับผิดชอบอนาคตประเทศไทยเลยหรืออย่างไร ทำไมอนาคตประเทศอยู่ที่ผมคนเดียวหรืออย่างไร ทำไมถึงไม่ช่วยกันบ้าง

นายกฯ เผย ได้เตือน"สุเทพ-จตุพร"แล้วว่าจะผิดกม.FB Live รับ-ไม่รับ ร่างรธน.



นายกฯ เผย ได้เตือน"สุเทพ-จตุพร"แล้วว่าจะผิดกม.FB Live รับ-ไม่รับ ร่างรธน.จะผิดกม. ทั้งส่งคนเตือนและเตือนผ่านสื่อ ฝากคนโน้นคนนี้ไปเตือน เตือนทั้ง2คน ถ้าผิดก็ผิดทั้งคู่. แต่จะหยุดหรือไม่ ไม่รู้. แต่ต้องยึดกฏหมาย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์ โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช. กล่าว เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าได้ติดตามความเคลื่อนไหวของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มปท.) ที่FB Live หรือไม่ นั่น
นายกฯ กล่าวว่า ได้เตือนไปแล้วว่าจะผิดกฎหมาย ทั้งส่งคนเตือนและเตือนผ่านสื่อ ฝากคนโน้นคนนี้ไปเตือน เตือนทั้งสองคน ถ้าผิดกฎหมายก็ผิดทั้งคู่ และคิดว่าคงจะเข้าใจ
เมื่อถามว่าจะขอร้องให้ทั้งนายสุเทพ และนายจตุพร หยุดหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า แล้วแต่ท่าน ผมว่าด้วยข้อกฎหมายเท่านั้น ต้องไปดูว่ามันเป็นอย่างไร สาเหตุมาจากอะไร และใครผิดใครถูก ที่ผ่านมาถ้าผิดก็ผิดทั้งหมด ย้อนไปตั้งแต่ต้น ใครผิดบ้าง ผิดมากผิดน้อยก็ว่ามา มันก็ผิด แล้วจะมีปัญหาไหม และในต่างประเทศจะช่วยอธิบายให้ผมไหม คงไม่หรอก
เมื่อถามว่าเป็นห่วงหรือไม่ที่ร่างรัฐธรรมนูญยังไม่ถึงมือประชาชนขณะที่วันลงประชามตินั้นใกล้เข้ามาแล้ว นายกฯ กล่าวว่า ไม่ห่วง แต่อยากจะถามว่ามีคนสักที่คนที่ศึกษารัฐธรรมนูญ แล้วสื่ออ่านหรือยัง อ่านสรุปย่อ แล้วฉบับเต็มอ่านหรือยัง
นายกฯ กล่าวว่า ถ้าอ่านแล้วก็ต้องช่วยอธิบายว่ามีที่ไม่ดีตรงไหน ตอบมา สิทธิอันไหนหายไป สิทธิมนุษยชน การศึกษา สาธารณสุข หายไปหรือไม่ อะไรที่มีผลกระทบกับประชาชน ดูตรงนั้นว่าทำเพื่อใคร มีเหตุมีผลหรือเปล่า
ส่วนเรื่องหลักการต่างๆก็มีเหมือนทุกรัฐธรรมนูญ เข้าใจกันบ้าง ว่ารัฐธรรมนูญคือหลักการของประเทศที่ฝ่ายบริหารจะนำไปใช้ แต่สิ่งสำคัญจะต้องมีกฎหมายลูก สิ่งที่พูดมาจะทำอย่างไร ซึ่งตอนนี้กฎหมายลูกยังไม่เสร็จ พอทำกฎหมายลูกก็ทะเลาะกันเรื่องกฎหมายลูกอีก แล้วจะให้ตนทำอย่างไร ไม่ต้องการอะไรเปลี่ยนแปลงกันเลยใช่ไหม สื่อต้องการให้บ้านเมืองเป็นอย่างนี้ใช่ไหม ก็เอา
เมื่อถามว่าในส่วนของโพลต่างๆที่สำรวจความเห็นประชาชนเรื่องการลงประชามติ ซึ่งมีผลว่าประชาชนส่วนหนึ่งรับและไม่รับนั้นจะเป็นการชี้นำหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ต้องดูว่าประชาชนเข้าใจหรือไม่เข้าใจ ซึ่งเขามีโพลก่อนหน้านี้ กี่เปอร์เซ็นต์ที่ไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
ส่วนจะรับไม่รับไม่เกี่ยวอะไรกับผม จะเดือดร้อนอะไรกับผม หากเห็นว่าเป็นการชี้นำก็แจ้งความสำนักโพลล์ มาก็จะจับให้ ทุกอย่างต้องมีการร้องทุกข์กล่าวโทษ ซึ่งร้องทุกข์มาแล้วยังจับไม่ได้เลย ไปเป็นปากเป็นเสียงเขาอยู่นั่น แล้วจะเอาอะไรกับผม
“ผมมีกฎหมายทุกตัว บอกมาจะให้ผมทำอะไรจับใครบอกมา ใช้กฎหมายก็ไม่ได้ พูดก็ไม่ได้ ก็อยู่กันแบบนี้แหล่ะ” นายกฯ กล่าว

นายกฯ ลั่น "อย่าเอาเรื่องเล็กมาพูด ทีทหารทำความดี กลับไม่พูด"



"นายกฯ” เชื่อ "ร้อยเอก"ไม่มีเจตนาลงโทษ จน"สิบโท"ตาย ชี้มีปัญหาทางร่างกาย วอนอย่าเอาเริ่องเล็กมาพูด ถามว่าวันนี้ทหารทำอะไรให้บ้าง ทำไมชอบเอาเรื่องเล็กมาพูด แต่เรื่องที่ทำความดีกลับไม่พูด ชี้ทหาร ลูกหลานคนไทยทั้งนั้น ทหารไม่ใช่ใครอื่น ไม่ใช่ต่างชาติ ต้องดูแลเขาให้ดีที่สุด แต่อาจมีหลงลืมไปบ้าง เผย จบนายร้อยมา ก็ไม่ได้สบาย ก๋ผ่านมาหมด ก็ไม่เห็นตาย สั่ง กห. ทบทวนระเบียบทหาร
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวถึงกรณี ส.ท.ปัญญา เงินเหรียญ ถูกผู้บังคับบัญชาสั่งทำโทษจนเสียชีวิตด้วยโรคฮีทสโตรกว่า ได้สั่งการให้สอบสวนแล้ว
"ถามว่าจะมีวิธีการใดอีกไหมนอกจากสอบสวนแล้วลงโทษ ต้องรู้ว่าประเทศชาติ โลก อยู่กันอย่างไร เมื่อเกิดเหตุขึ้นจึงสอบสวน เพื่อลงโทษทางวินัย และเชื่อว่าผู้บังคับบัญชาไม่มีเจตนาต้องการให้เกิดการเสียชีวิตขึ้น"

เมื่อถามว่า ขณะนี้ในระเบียบของทหารมีปัญหาอย่างไรบ้าง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่มี ถ้ามีคงอยู่กันไม่ได้ คนตั้ง 4-5 แสนคน ไม่เห็นจะเดือดร้อน
"ถามว่าวันนี้ทหารทำอะไรให้บ้าง ทำไมชอบเอาเรื่องเล็กมาพูด แต่เรื่องที่ทำความดีกลับไม่พูด
ส่วนที่ดีควรจะชมเชยบ้าง ให้กำลังใจกัน เพราะลูกหลานคนไทยทั้งนั้น ทหารไม่ใช่ใครอื่น ไม่ใช่ต่างชาติ ต้องดูแลเขาให้ดีที่สุด
วันนี้ดีขึ้นมีเบี้ยเลี้ยงมากขึ้น เมื่อก่อนเบี้ยเลี้ยงวันละ 15 บาท ไม่ใช่ว่าเอาทหารมาฝึกแล้วสนุก ทำให้เขาเจ็บป่วย ตายสนุกหรือไง
วันนี้ผู้บังคับบัญชาต้องดูว่า ทหารแข็งแรงดีหรือไม่ มีโรคภัยไข้เจ็บอย่างไร นี่คือสิ่งที่ยังขาด แต่บางครั้งก็หลงลืม
ทั้งนี้ได้ให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการอยู่ขณะนี้ วันนี้คนแข็งแรงพอหรือไม่ ในระบบการศึกษาโรงเรียน ผมก็เคยโดนแบบนี้ เป็นนักเรียนนายร้อย ไม่ได้สบาย ผ่านมาทั้งหมดไม่เห็นตาย แต่เขาอาจจะไม่แข็งแรง มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง”

ได้เวลา อาชีวะฯเข้าค่าย....

ได้เวลา อาชีวะฯเข้าค่าย....
145 นักเรียนอาชีวะ 6 สถาบัน เข้าค่ายทหารเรือ ละลายพฤติกรรม ปลูกฝังระเบียบวินัย ลดปัญหาตีกัน
6 สถาบัน คือ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกสมุทรปราการ วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ วิทยาลัยการอาชีพพระสมุทรเจดีย์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสมุทรปราการ และวิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงเทพ
ที่ รร.ชุมพลทหารเรือ สัตหีบ....
ด.ร.ชาญเวช บุญประเดิม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา เป็นประธานเปิดโครงการเตรียมความพร้อมอาชีวศึกษา (Pre.Voc.Ed) รุ่นที่ 3 เพื่อเสริมสร้างระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และทักษะชีวิตแก่นักเรียนอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐ และเอกชน
โดยมี ผู้การไก่ น.อ.วิรัตน์ สมจิตร ผู้บังคับการโรงเรียนชุมพลทหารเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ให้การต้อนรับ พร้อมรับมอบการปกครองบังคับบัญชา
อันเป็นโครงการนำร่องตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่หวังจะแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทในกลุ่มนักเรียนอาชีวะ
โดยการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมกับกองทัพเรือ จัดขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และเพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนอาชีวศึกษา ให้มีพฤติกรรมอังพึงประสงค์ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ
โดยการฝึกอบรมปรับทัศนคติและวิธีปฏิบัติของนักศึกษาอาชีวศึกษาให้มีค่านิยมต่อการเรียนสายวิชาชีพ ให้มีความภาคภูมิใจ เพราะกำลังคนด้านอาชีวะถือเป็นกำลังคนที่มีความสำคัญในการพัฒนาประเทศ
ทั้งนี้ การฝึกทักษะชีวิตการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสร้างสรรค์ ปลูกฝังระเบียบวินัย ความสมานสามัคคี เสริมสร้างความภาคภูมิใจ แรงบันดาลใจ และยกระดับคุณภาพนักเรียนอาชีวศึกษาให้สังคมยอมรับ
โดยจะดำเนินการใน 4 ขั้นตอน คือ การปรับทัศนคติและสลายพฤติกรรม การปลูกฝังระเบียบวินัยและความรู้รักสามัคคี การฝึกทักษะชีวิตการอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์และจิตอาสา และการเสริมสร้างคุณค่าและความภาคภูมิใจ
ในครั้งนี้ มีนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 จำนวน 145 คน จาก 6 สถาบัน ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกสมุทรปราการ วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ วิทยาลัยการอาชีพพระสมุทรเจดีย์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสมุทรปราการ และวิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงเทพ โดยจะอยู่ร่วมกัน ตั้งแต่ วันที่ 27 มิ.ย. - 10 ก.ค.59 รวมทั้งสิ้น 14 วัน

ตลาดการเงินโลกจะเป็นอย่างไร หลังเหตุการณ์ Brexit


21083

brexit-1478082_1280

ใช้เหตุผลหรือไม่ใช้เหตุผล ?

ผลการลงประชามติของประชาชนอังกฤษที่เสียงข้างมากสนับสนุนให้อังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปหรือที่ในวงการสื่อสารมวลชนต่างประเทศเรียกผลการโหวตนี้ว่า Brexit  ที่ทราบผลเมื่อวันที่ศุกร์ที่ 24 มิ.ย.ที่ผ่านมาสร้างความตระหนกให้กับตลาดการเงินโลกเป็นอย่างมาก เพราะแม้ว่าสถาบันการลงทุนชั้นนำของโลกจะตระหนักถึงความเสี่ยงของผลการลงประชามติดังกล่าว (ดูภาพที่ 1) แต่วงการลงทุนทั่วโลกและผู้สังเกตการณ์ด้านเศรษฐกิจทั่วโลกยังประเมินว่า ผลการลงประชามติจะไม่ออกมาในรูป Brexit เพราะเมื่อพิจารณาผลสำรวจหยั่งเสียงก่อนหน้านั้น เสียงการลงประชามติน่าจะออกมาว่าคนอังกฤษส่วนมากเลือกจะอยู่ต่อในสหภาพยุโรป (วงการสื่อมวลชนเรียกผลที่ออกมาแบบนี้ว่า Bremain) และแม้ว่าผลหยั่งเสียง Bremain จะเหนือกว่า Brexit ไม่มาก แต่คะแนนเสียงของคนที่ยังไม่ตัดสินใจนั้นมีจำนวนมากพอดู
brexit1
ภาพที่ 1 การสำรวจผู้จัดการกองทุนชั้นนำทั่วโลกโดยประเมินว่า…อะไรคือความเสี่ยงต่อการลงทุนในลักษณะที่สร้างความเสียหายต่อการลงทุนมากที่สุด (Biggest tail risk) ซึ่งผลสำรวจในเดือนมิ.ย.เทียบกับเดือนก่อนบ่งชี้ว่านักลงทุนสถาบันชั้นนำของโลกส่วนใหญ่ประเมินว่า ความเสี่ยงของการลงประชามติของอังกฤษเป็น Brexit คือความเสี่ยงที่สร้างความเสียหายต่อการลงทุนมากที่สุด ขณะที่ความเสี่ยงอันดับรองลงมาคือความล้มเหลวของนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเชิงประมาณว่าไม่สามารถฟื้นเศรษฐกิจได้จริง (Quantitative failure)
เมื่อคำนึงถึงการโหมประโคมกระพือถึงชะตากรรมอันโศกสลดของอังกฤษที่จะต้องเผชิญเมื่อออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป โดยผู้ร่วมกระพือชะตากรรมที่จะต้องเผชิญถ้าเลือก Brexit จำนวนมากมิใช่ประชาชนอังกฤษผู้ถือเอกสิทธิในการลงประชามติเพียงอย่างเดียวหากแต่มีผู้นำต่างประเทศ องค์กรโลกบาลที่บริหารจัดการเศรษฐกิจโลก เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) หรือกลุ่มประเทศ OECD เป็นต้นที่ร่วมกันมีบทบาทในการโน้มนำ หว่านล้อม ชักจูง ประชาชนอังกฤษผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงให้เลือก Bremain
สื่อมวลชนชั้นนำด้านเศรษฐกิจและการเงินโลกที่มีฐานที่มั่นในอังกฤษอย่าง The Economist (ภาพที่ 2) ยังลงหน้าปกก่อนวันลงประชามติหนึ่งสัปดาห์เพื่อเตือนใจว่าการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปจะนำสหราชอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ และสหภาพยุโรปอันเกรียงไกรให้ล้มลงไปด้วยกัน
ภาพที่2 : ปกนิตยสาร The Economist ที่ตีพิมพ์หนึ่งสัปดาห์ก่อนวันลงประชามติ....โดยภาพหน้าปกแสดงถึงการผูกพันกันอย่างลึกซี้งระหว่างอังกฤษและสหภาพยุโรป และคำโปรยหน้าปกยังระบุเป็นนัยว่า การแยกออกจากกันจะนำพาซึ่งการตกต่ำร่วมกันของทั้งอังกฤษและสหภาพยุโรป
ภาพที่2 : ปกนิตยสาร The Economist ที่ตีพิมพ์หนึ่งสัปดาห์ก่อนวันลงประชามติ….โดยภาพหน้าปกแสดงถึงการผูกพันกันอย่างลึกซี้งระหว่างอังกฤษและสหภาพยุโรป และคำโปรยหน้าปกยังระบุเป็นนัยว่า การแยกออกจากกันจะนำพาซึ่งการตกต่ำร่วมกันของทั้งอังกฤษและสหภาพยุโรป
ด้วยแรงโหมกระพือถึงชะตากรรมอันน่าโศกสลดของเศรษฐกิจอังกฤษที่จะต้องเผชิญนี้ เหล่าผู้ที่มีเหตุผลในการคาดการณ์พากันคาดว่า ผู้ที่ยังมิได้ตัดสินใจในการเลือกว่าจะ Bremain หรือ Brexit เมื่อเผชิญกับการโหมกระพือเช่นนี้ ถ้าเป็นผู้ที่มีเหตุผลในการตัดสินใจน่าที่จะเลือกการลงมติเป็น Bremain และนำพาให้ผลการลงประชามติท้ายที่สุดเป็น Bremain หรืออังกฤษจะอยู่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อไป ..
แต่ผลของการลงประชามติดังที่ทราบกันว่าแตกต่างจากการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญและนำพาเหตุการณ์ลงประชามติครั้งประวัติศาสตร์นี้เป็นบทเรียนของการสำรวจมติมหาชนและการประเมินจิตวิทยาของมหาชนด้วย แม้ว่าหลายเสียงจะประเมินว่าผลการมตินี้เป็นการลงมติของคนที่ไม่มีเหตุผล บางเสียงก็บอกว่าเป็นการลงมติของผู้ที่มีเหตุผล ซึ่งในมุมมองของผมล้วนเป็นไปได้ทั้ง 2 ประการ กล่าวคือ
ในมุมมองของผู้ที่มีเหตุมีผลในการประชามติ การโหมกระพือถึงชะตากรรมของเศรษฐกิจอังกฤษที่จะตกต่ำลืมความเป็นจริงในข้อหนึ่งว่า ความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจอังกฤษที่จะอยู่ต่อในสหภาพยุโรปก็ดีหรือความตกต่ำของอังกฤษที่ออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปก็ดี เป็นการให้ภาพนามธรรมกว้างๆ หรือ “พหูพจน์”  (ผมยืมคำนี้จาก อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล) ที่ไม่มีตัวตนที่ชัดเจนว่าใครกันแน่ที่ได้ประโยชน์จากการลงประชามตินี้ให้อยู่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อไป เพราะผู้ได้ประโยชน์จาก Bremain อาจจะเป็นบรรษัทข้ามชาติ สถาบันการเงินระหว่างประเทศที่อาศัยสถานะกรุงลอนดอนเป็นศูนย์กลางการเงินโลกและสิทธิพิเศษจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในการเข้าถึงตลาดการเงินยุโรป  หรือกลุ่มชนชั้นนำในระบบเศรษฐกิจอังกฤษ
แต่สำหรับผู้ลงคะแนนเสียง โลกของเขาคือการตัดสินใจในเชิงปัจเจกบุคคลหรือ “เอกพจน์”  ที่คุณภาพชีวิตของประชาชนอังกฤษในรายบุคคลส่วนใหญ่นั้นลดลงและอำนาจในการกำหนดชะตากรรมของตนเองและเงินภาษีของตนเองได้หลุดลอยออกจากมือของตนไปอยู่ที่ศูนย์กลางบริหารยุโรปที่ บรัสเซลล์ เบลเยี่ยมทำให้ในการลงประชามติครั้งนี้…เป็นเรื่องชอบธรรมที่ผู้ที่คิดและรู้สึกอย่างนี้จะต้องลงมติให้อังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเพื่อให้คุณภาพชีวิตและอำนาจการกำหนดชะตากรรมของตนในฐานะปัจเจกบุคคลกลับมาตามเดิม  ในแง่นี้ ผู้ลงมติ Brexit ใช้เหตุผลในการลงมติ
ในมุมมองของผู้ที่ไม่มีเหตุผลในการลงประชามติ พบว่าการปลุกเร้าว่าจะไม่มีผู้อพยพมาคุกคามสวัสดิภาพชีวิตของคนอังกฤษอีกต่อไป รวมทั้งแรงปลุกเร้าผู้มีสิทธิลงคะแนนให้นึกถึงวันคืนยิ่งใหญ่ของอังกฤษในฐานะอาณาจักรที่ไม่เคยมีตะวันตกดิน ล้วนเป็นแรงเร้าอารมณ์ในการลงประชามติเป็น Brexit นี้เช่นกัน  ในแง่นี้ ผู้ลงมติ Brexit ไม่ใช้เหตุผลในการลงมติ
ผมไม่ทราบว่าสัดส่วนของคนที่ใช้เหตุผลหรือไม่ใช่เหตุผลในการลงประชามติครั้งนี้ ฝ่ายใดมีจำนวนมากกว่าฝ่ายใด…สิ่งหนึ่งที่ผมทราบแน่นอน…คือจากนี้ไป อังกฤษหลังวันลงประชามติจะไม่เหมือนช่วง 40 ปีก่อนหน้านี้แน่นอน

ผลลงประชามติกระทบต่อตลาดการเงินโลกทันทีทันใด

ทันทีที่ผลลงประชามติออกมาเป็น Brexit ซึ่งสร้างความประหลาดใจอย่างมากต่อวงการเงินและการลงทุนทั่วโลก ผลคือ ราคาสินทรัพย์ทางการเงินปรับตัวลงตอบสนองต่อผลประชามตินี้แบบฉับพลัน  ดัชนีตลาดหุ้นเอเชียปรับลดลงอย่างแรงโดยดัชนีตลาดหุ้นญี่ปุ่น ดัชนีนิกเคอิ ปรับลงประมาณ เกือบ 8 % และดัชนีตลาดหุ้นขนาดใหญ่ในเอเชียปรับลงในกรอบ -2 % ถึง -3 % ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นยุโรปปรับลงแรงมากเช่นกันโดยลดลงมากกว่า -8 %  (ดูภาพที่ 3)
ขณะที่ดัชนีหุ้นอังกฤษ ประเทศต้นเหตุ กลับลดลงเพียง -3 % (ดัชนี FTSE) แต่ค่าเงินอังกฤษ โดยค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงค์ลดลงมากกว่า -7 % เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ (GBP/USD) ในวันเดียว (ดูภาพที่ 4)   ราคาสินทรัพย์ปลอดภัยทั้งราคาพันธบัตรรัฐบาลและราคาทองคำรวมทั้งดอลลาร์สหรัฐ พากันขึ้นทะยานมากจากเหตุการณ์นี้
หนังสือพิมพ์ชั้นนำของโลกการเงินอย่าง หนังสือพิมพ์ Financial Times ประเมินว่ามูลค่าตลาดหุ้นทั่วโลกหายไปวันศุกร์ 24 มิ.ย.วันเดียวมากถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ  70 ล้านล้านบาทซึ่งมากกว่ามูลค่าเศรษฐกิจไทยตลอดทั้งปีถึง 5 เท่าถือเป็นภาวะเลวร้ายที่สุดของตลาดหุ้นนับจากวิกฤตการเงินโลกในปีพ.ศ.  2551 จากการล้มละลายของบริษัทเลห์แมนบราเธอร์ (ดูข่าวตาม Link นี้ http://www.ft.com/cms/s/0/bec97fc6-3a5a-11e6-a780-b48ed7b6126f.html#axzz4ChFT5VoK)
ภาพที่3 : ดัชนีหุ้นตลาดสำคัญทั่วโลกปรับลงมากในวันที่ 24 มิ.ย. โดยดัชนีตลาดหุ้นกลุ่มประเทศผู้ใช้เงินยูโร (Euro Area) แสดงโดยเส้นสีเขียวปรับลงมากชนิดทั้งดิ่งลงมา
ภาพที่3 : ดัชนีหุ้นตลาดสำคัญทั่วโลกปรับลงมากในวันที่ 24 มิ.ย. โดยดัชนีตลาดหุ้นกลุ่มประเทศผู้ใช้เงินยูโร (Euro Area) แสดงโดยเส้นสีเขียวปรับลงมากชนิดทั้งดิ่งลงมา
 
brexit4
ภาพที่ 4: การเคลื่อนไหวของค่าเงินและราคาทองคำ (ถือเป็นสกุลเงินได้) โดยในวันที่ 24 มิ.ย. 59 ราคาทองคำ ค่าเงินเยน และดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่าที่ทะยานขึ้นมากจากการที่นักลงทุนมองเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย

จากนี้ไป…ตลาดการเงินโลกจะเป็นอย่างไร

แม้ว่าผลการลงประชามติ Brexit  นี้กว่าจะเกิดผลให้อังกฤษแยกตัวอย่างเป็นทางการออกจากสหภาพยุโรปจะต้องใช้เวลาถึง 2 ปีขึ้นไปจากวันลงประชามติ (ดูภาพที่ 5) แต่ผลลงประชามตินี้สร้างความไม่แน่นอนต่อตลาดการเงินโลกและสร้างความไม่แน่นอนทางการเมืองไม่ใช่แต่เฉพาะการเมืองในอังกฤษหากแต่ส่งผลต่อการเมืองในยุโรปด้วย ว่าจะมีท่าทีต่อการแยกตัวของอังกฤษนี้อย่างไร  และประเทศใดที่จะเปิดให้มีการลงประชามติและให้ผลลัพธ์เป็นเช่นเดียวกับผลลงประชามติอังกฤษ
ภาพที่ 5: กระบวนและกลไกการเจรจาของอังกฤษในการที่แยกตัวออกจากสหภาพยุโรป ซึ่งน่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี
ภาพที่ 5: กระบวนและกลไกการเจรจาของอังกฤษในการที่แยกตัวออกจากสหภาพยุโรป ซึ่งน่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี
ความไม่แน่นอนทั้งจากตลาดการเงินโลกและการเมืองอังกฤษและสหภาพยุโรปโดยเฉพาะหลังการลาออกของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ นายเดวิด คาเมรอนเพื่อรับผิดชอบต่อผลการลงประชามตินี้ต่างส่งผลย้อนกลับไปกลับมา (Feedback Loop) และการส่งผลกลับไปกลับมานั้นยิ่งเพิ่มความไม่แน่นอนให้กันและกันมากขึ้น
โดยในส่วนยุโรป ความไม่แน่นอนจากตลาดการเงินโลกส่งผลให้ผู้นำยุโรปจะต้องมีท่าทีที่ชัดเจนกับประเทศที่แยกตัวออกไปจากสหภาพยุโรป เพราะถ้าผู้นำยุโรปกังวลต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจและไม่มีท่าทีเด็ดขาดหรือล่าช้าในการแสดงบทลงโทษเพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประเทศสมาชิกอื่นๆในสหภาพยุโรปด้วยการเร่งตัดอังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปให้เร็วที่สุดใน 2 ปีนี้ตามมาตรา 50 ของสนธิสัญญาลิสบอน     นักการเมืองประเทศอื่นๆอาจจะดำเนินตามรอยอังกฤษคือประกาศหาเสียงว่าถ้าชนะเลือกตั้งจะเปิดโอกาสให้ลงประชามติเพราะแม้ว่าผลประชามติจะออกมาเป็นแยกตัวแต่ยังสามารถรักษาประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้คือส่งออกสินค้าและบริการสู่ตลาดของประเทศสมาชิกอื่นๆของสหภาพยุโรปต่อไปโดยไม่ต้องสนับสนุนงบประมาณประจำปีให้สหภาพยุโรป  ไม่ต้องปฏิบัติตามนโยบายของสหภาพยุโรป  ถึงตอนนั้นสหภาพยุโรปจะล่มสลายแน่นอน
ถ้าผู้นำยุโรปมีท่าทีเด็ดขาดและเร่งให้อังกฤษดำเนินการตามกระบวนการมาตรา 50 ของสนธิสัญญาลิสบอนอย่างเร็วที่สุดเพื่อเอาอังกฤษออกจากสหภาพยุโรปให้ได้ในเวลา 2 ปี   ผลคือกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นการค้าและการลงทุนทั้งอังกฤษและยุโรปที่มีอังกฤษอยู่ในห่วงโซ่อุปทานการผลิตจะต้องหยุดชะงักลงเพื่อปรับกระบวนการผลิตใหม่ให้สอดคล้องกับการหายไปของสิทธิพิเศษทางการค้าที่อังกฤษเคยได้จากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป
การปรับอังกฤษออกจากห่วงโซ่อุปทานการผลิตจะสร้างความเสียหายต่ออังกฤษและสหภาพยุโรปเอง ดังที่ในวันศุกร์ที่ผ่านมา หุ้นสถาบันการเงินระดับโลกปรับลงเป็นจำนวนมากจากการที่นักลงทุนประเมินว่า สถาบันการเงินเหล่านี้มีสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานตัวแทนในกรุงลอนดอนและยุโรปเองนั้นจะเผชิญกับการธุรกิจการเงินที่ยากกว่าเดิมในอนาคตจากการแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป ด้วยเหตุนี้  วันศุกร์ที่ 24 มิ.ย.ที่ผ่านมา ราคาหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินชั้นนำของโลกในอังกฤษ ยุโรป และญี่ปุ่น ลดลงที่ -10 % -18 % และ -8 % ตามลำดับ
ดังนั้น  ท่าทีของการเมืองยุโรปไม่ว่าผลจะออกมาเป็นเช่นไรล้วนจะส่งผลในทางเพิ่มความไม่แน่นอนของตลาด เพราะความเด็ดขาดหรือไม่เด็ดขาดล้วนแต่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อแนวโน้มทางเศรษฐกิจของอังกฤษและยุโรปที่ต่างพึ่งพิงกันและกันมาก โดยเฉพาะอังกฤษที่ส่งออกสินค้าและบริการไปยังยุโรปมากกว่า 50 % ของ GDP อังกฤษในแต่ละปี   ขณะที่ห่วงโซ่อุปทานการผลิตจำนวนมากในยุโรปล้วนพึ่งพิงฐานการผลิตในอังกฤษเช่นกัน
สำหรับอังกฤษเองนั้น แม้ว่าดัชนีหุ้นอังกฤษจะปรับตัวลงน้อยกว่ายุโรปมากในวันที่ 24 มิ.ย.ที่ผ่านมา แต่อย่างน้อยในระยะสั้น ภาคเศรษฐกิจจริงของอังกฤษเองคือผู้แพ้ที่สุดและแพ้มากกว่าสหภาพยุโรปจากผลประชามตินี้
ในระยะสั้น อังกฤษจะเผชิญกับผลของความไม่แน่นอนทั้งต่อตลาดการเงินและการเมือง เพราะกิจกรรมการลงทุนในภาคเศรษฐกิจจริงโดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDIs) เพื่อหวังอังกฤษเป็นฐานการผลิตในการเจาะตลาดยุโรปจะต้องลดลงเพราะความไม่แน่นอนที่ก่อตัวขึ้น โดยที่ธรรมชาติของตลาดและนักลงทุนไม่ชอบความไม่แน่นอน เพราะความไม่แน่นอนจะสร้างความเสี่ยงสูงมากในการตัดสินใจทำธุรกิจและลงทุน
เมื่อคำนึงถึงการขาดดุลแฝด (Twin Deficit)  ที่อังกฤษเผชิญอยู่ในปัจจุบันทั้งการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (ซึ่งในไตรมาส 4 ปีที่แล้วสูงถึง 7 % ต่อ GDP ) และการขาดดุลการคลังในปีที่แล้วที่มากกว่า 4 % ต่อ GDP  ผมคิดว่าค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงค์ของอังกฤษยังสามารถที่จะอ่อนค่าลงไปได้อีก เมื่อคำนึงว่าตอนอังกฤษถอนตัวออกจากระบบอัตราแลกเปลี่ยน ERM ของยุโรปในปีค.ศ. 1992 ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงค์อ่อนค่าลงไปถึง 20 % การแยกตัวออกจากยุโรปปีค.ศ. 2016 นี้  แม้จะไม่ให้ผลรุนแรงเท่ากับปี ค.ศ. 1992 แต่การอ่อนค่าลงไปอีกของปอนด์สเตอร์ลิงค์จากวันศุกร์ที่ผ่านมาอีก  5-10  % ย่อมอยู่ในวิสัยที่เป็นไปได้และนี่จะกดดันไม่ใช่เฉพาะต่อเศรษฐกิจอังกฤษเท่านั้นหากแต่คู่ค้าของประเทศอังกฤษทั้งในภาคเศรษฐกิจจริงและภาคการเงินจะได้รับแรงกดดันไม่ว่าจะบวกหรือลบจากการอ่อนค่าอย่างมากของค่าเงินปอนด์เช่นกัน
การคาดคะเนถึงการอ่อนค่าของเงินปอนดสเตอร์ลิงในอนาคตจะกดดันให้เงินทุนจำนวนมากจะไหลออกจากอังกฤษเพื่อรักษาอำนาจซื้อของเงินไม่ให้ลดลงจากการอ่อนค่าของปอนด์สเตอร์ลิงค์ด้วยการเปลี่ยนจากการถืออปอนด์สเตอร์ลิงค์ไปเป็นเงินสกุลอื่นๆที่รักษาค่าของเงินได้มากกว่าและนี่จะกดดันให้สภาพคล่องของอังกฤษเองในระยะสั้นอาจจะเผชิญปัญหาความตึงตัวของสินเชื่อและสภาพคล่องในระบบขึ้นมาได้
แต่ข่าวดีคือ ก่อนหน้านี้อังกฤษเองได้มีการใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing: QE)   อัดฉีดสภาพคล่องมหาศาลไว้ในระบบการเงิน    การไหลออกของเงินทุนจากอังกฤษจะไม่ส่งผลลบอย่างรุนแรงมากนักจนเป็นเหตุให้เกิดวิกฤติของสถาบันการเงินอังกฤษเพราะสภาพคล่องจากนโยบาย QE จะช่วยลดทอนผลลบจากปริมาณเงินทุนที่ไหลออกจากอังกฤษ
แต่ในแง่ของเงินเฟ้อนั้น การอ่อนค่าของเงินปอนด์สเตอร์ลิงค์ในระดับนี้จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นและธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะสูญเสียการใช้ดอกเบี้ยนโยบายและ QE เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจ    แต่จะได้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือในการลดทอนการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะกลางแทน

ยังมีข่าวดีอะไรบ้าง

นี่ไม่ใช่สถานการณ์วิกฤตแบบการล้มละลายของบริษัทเลห์แมนบราเธอร์และผลที่ตามมาหลังจากนั้นในปีพ.ศ. 2551  (Lehman Moment)  เพราะวิกฤตการณ์เงินในครั้งนั้นมาจากการหดตัวอย่างฉับพลันของปริมาณเงินมหาศาลอันเกิดจากเร่งลดหนี้สิน (Deleveraging) ของสถาบันการเงินชั้นนำของโลก การตัดขาดทุนจากการลงทุนในสินทรัพย์การเงินในรูป MBS และ CDOs จำนวนมหาศาลจนทำให้สถาบันการเงินชั้นนำของโลกในสหรัฐอเมริกา อังกฤษและยุโรปแทบล้มละลาย จากการที่เงินทุนและสภาพคล่องไม่เพียงพอ
แต่ กรณี Brexit ในปีนี้จะสร้างผลกระทบผ่านความไม่แน่นอนทางตลาดการเงินและการเมืองทำให้เกิดการปรับลงของราคาสินทรัพย์เสี่ยงในอังกฤษ ยุโรปและค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงค์ตลอดจนยูโรอ่อนค่าแต่สภาพคล่องในระบบการเงินโลกโดยเฉพาะในอังกฤษและสหภาพยุโรปยังมีจำนวนมากจากผลของนโยบาย  QE ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ดำเนินอยู่และน่าที่จะลดทอนปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินจากความไม่แน่นอนและการอ่อนค่าทั้งของปอนด์สเตอร์ลิงค์และยูโรได้
นอกจากนี้แล้ว Brexit ยังเป็นโอกาสที่หาได้ยากของธนาคารกลางชั้นนำของโลกในการเข้ามาดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีกครั้งหลังจากที่ก่อนหน้านี้ ด้วยการดำเนินนโยบายการเงินด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นลบ (เพราะไม่อยากจะเพิ่มวงเงินในการดำเนินนโยบาย QE) ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) สร้างผลลบต่อเศรษฐกิจและได้รับคำวิจารณ์ในเชิงลบจำนวนมาก
Brexit นั้นให้โอกาสที่ดีมากและความชอบธรรมแก่ ECB และBoJ ในการจะเข้ามาดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินที่จะถึงนี้   นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อาจจะเลื่อนการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายออกไป อย่างน้อยในไตรมาส 3 ปีนี้ยังไม่น่าจะเห็นการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกา ซึ่งนี่จะช่วยเสริมความเชื่อมั่นของตลาดและนักลงทุนให้ดีขึ้นบ้าง

โอกาสการลงทุน

ผมประเมินว่าจากนี้ไป ตลาดหุ้นโดยเฉพาะตลาดหุ้นอังกฤษ และยุโรป ยังคงมีโอกาสที่จะปรับลงต่อไปได้อีกจากความไม่แน่นอนของ  Brexit และจะดึงให้ดัชนีตลาดหุ้นประเทศอื่นๆจะต้องปรับลงตามแต่ผมคาดการณ์ถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของ ECB และ BoJ ที่จะต้องมีในการประชุมนโยบายการเงินที่จะถึงในเดือนหน้านี้   รวมทั้งการเลื่อนการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ออกไปอีก   จะช่วยให้ตลาดหุ้นในหลายตลาดโดยเฉพาะเอเชียที่มีผลกระทบในระดับต่ำจาก Brexit และดัชนีปรับลงมากพอในช่วงก่อนหน้า จะเป็นโอกาสการลงทุนในลักษณะเก็งกำไรเล่นรอบสั้นๆได้
ขณะที่ภาพในระยะยาว ผลพวงของ Brexit และความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เกิดขึ้นและการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ปลายวัฏจักรเศรษฐกิจแล้ว หรืออีกนัยหนึ่งคือเศรษฐกิจสหรัฐฯ ใกล้จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเชิงเทคนิคใน 12 เดือนข้างหน้าจากนี้ไป และการอ่อนแรงของเศรษฐกิจจีนอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่เดือน พ.ค.ปีนี้เป็นต้นมา  ทำให้การเพิ่มการลงทุนในตราสารหนี้หรือสินทรัพย์ปลอดภัยเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากจากนี้ไป
ก่อนวันทราบผลประชามติ ผมคิดว่ามีโอกาสไม่ถึง 10 % ที่เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย   คือ GDP โลกขยายตัวต่ำกว่า 2 % แต่หลังทราบผลประชามติเป็น Brexit  เมื่อคำนึงถึงขนาดของ GDP ยุโรปและอังกฤษรวมกันมีขนาดมากถึงหนึ่งในห้าของเศรษฐกิจโลก หรือใกล้เคียงกับสหรัฐอเมริกา ทำให้ความน่าจะเป็นดังกล่าวในมุมมองผมเพิ่มขึ้นมาเป็น 30 % และทำให้จากนี้ไป กลยุทธการลงทุนจะต้องระมัดระวังและคำนึงถึงความเสี่ยงให้มากกว่าเดิม
ข้อมูลอ้างอิง
  • ภาพที่1 : BofA  Merrill Lynch Global Fund Manager Survey, June 14,2016
  • ภาพที่ 2 : The Economist, June 18 2016
  • ภาพที่ 3 และ 4 : IIF Dispatch: Brexit Friday—Counting the Costs ,June 24 2016
  • ภาพที่ 5 :CS Playbook Brexit: The End of Globalisation, June 24 2016
ติดตามข่าวสารของเว็บไซต์ Brand Inside ได้จาก Facebook Fanpage