PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

เปิดเส้นทางเคลื่อนกำลังพลเข้ากรุง สวนสนามวันกองทัพไทย 18 ม.ค.

เมื่อวันที่ 7 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างวันที่ 7-10 ม.ค.นี้ จะมีการเคลื่อนยุทโธปกรณ์และกำลังพลเข้ามาร่วมพิธีสวนสนาม เนื่องในวันกองทัพไทยวันที่ 18 ม.ค. นี้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ วันที่ 7 ม.ค.ที่ผ่านมา หน่วยร.31 พัน 3 รอ. เคลื่อนยานพาหนะ จำนวน 2 คัน กำลังพล จำนวน171 นาย จากจ.ลพบุรี ผ่านจ.สระบุรี เข้าเส้นสะพานใหม่ ถึงร.11 รอ หน่วยร.31 พัน.2 รอ. เคลื่อนยานพาหนะ 3 คันกำลังพล จำนวน 31 นาย ใช้เส้นทางจ.ลพบุรี ผ่านจ.สระบุรี เข้าสู่สะพานใหม่มาร.11 รอ หน่วยร.31 พัน 1 รอ จำนวน 3 คัน กำลังพล 3 นาย ผ่านจ.ลพบุรี จ.สระบุรีเข้าสะพานใหม่ถึงร.11 รอ หน่วยพัน.จจ. ยานพาหนะจำนวน 1 คัน กำลังพล 3 นาย ผ่านจ.ลพบุรี จ.สระบุรี เข้าเส้นรังสิต-บชร.1 สย. หน่วยพัน.รพศ ศสพ. ยานพาหนะ 10 คัน ผ่าน จ.ลพบุรี-สระบุรี-รังสิต-ปตอ.พัน.5 หน่วยร.2 รอ. จำนวน 22 คันกำลังพล 178 นาย ผ่านจ.ปราจีนบุรีใช้เส้นทางรังสิตมาร.11 รอ. หน่วยร.21 รอ. จำนวน 10 คัน กำลังพล 23นาย จากจ.ชลบุรี ใช้เส้นทางถ.สุวินทวงศ์มาร.11 รอ.

สำหรับวันที่ 8 ม.ค. ศูนย์การทหารม้า จะใช้รถจำนวน 19 คัน นำกำลังพล 179 นาย ผ่านจ.สระบุรี ใช้เส้นทางดอนเมืองมาร.11 รอ. ศูนย์การทหารปืนใช้ยานพาหนะ จำนวน 16 คัน ผ่านจ.ลพบุรี เส้นทางดอนเมืองมา ร.11 รอ. ศม. ใช้รถจำนวน 5 คัน กำลังพล179 นาย ใช้เส้นทางจ.สระบุรีผ่านดอนเมืองมาร.11 รอ. ส่วนวันที่ 9 ม.ค. ศูนย์การทหารม้า ใช้รถ 14 คัน กำลังพลจำนวน 179 นาย ใช้เส้นทางจ.สระบุรี เข้าดอนเมืองมาร.11 รอ. หน่วยร.31 พัน.3 รอ. ใช้รถจำนวน 9 คัน กำลังพล 171 นาย ผ่านจ.ลพบุรี จ.สระบุรี มาทางเส้นสะพานใหม่มาร.11 รอ หน่วยพัน.จจ. ใช้รถจำนวน 12 คัน กำลังพล 218 นาย มาทางจ.ลพบุรี จ.สระบุรี เข้าสู่เส้นรังสิตมาทางชร.1 สย.

หน่วยร.2รอ.ใช้รถจำนวน 6 คัน กำลังพล 73 นาย ใช้เส้นทางจ.ปราจีนบุรี เข้าเส้นทางรังสิตมาร.11 รอ. หน่วยร.12 รอ. ใช้รถจำนวน 6 คัน กำลังพล 178 นาย ใช้เส้นทางจ. สระแก้ว จ.ฉะเชิงเทรา เข้าเส้นมอเตอร์เวย์มาร.11รอ. หน่วยร.31 พัน.2 รอ. ใช้รถ 11 คัน กำลังพล 191นาย ผ่านเส้นทางจ.ลพบุรี จ.สระบุรี เข้าสู่เส้นสะพานใหม่มาร.11 รอ หน่วยป.2 รอ. 25 คัน 233 นาย ผ่านจ.ปราจีนบุรี เข้าเส้นรังสิตมาร.11 รอ. หน่วยร.21 รอ. ใช้รถจำนวน 79 คัน กำลังพล 247 นาย ผ่านจ.ชลบุรีเข้าสู่เส้นสุวินทวงศ์มาร.11 รอ. หน่วยร.21 รอ. ใช้รถ 14 คัน กำลังพล160 นาย ผ่านเส้นทางจ. ชลบุรี-สุวินทวงศ์-ร.11 รอ. หน่วยบก.พล.ร.2รอ. ยานพาหนะจำนวน 7 คัน กำลังพล 287 นาย ใช้เส้นทางจ.ปราจีนบุรี เข้าสู่เส้นรังสิตมาร.11 รอ. ช พัน.2 รอ. ใช้รถจำนวน 5 คัน กำลังพล13 นาย ผ่านจ.ฉะเชิงเทรา เข้าสู่เส้นหลักสี่เพื่อมาร.11 รอ. หน่วยร.31 พัน.1รอ.ใช้ยานพาหนะจำนวน 9 คัน ผ่านจ.ลพบุรี จ.สระบุรี เข้าเส้นสะพานใหม่มาร.11 รอ

ขณะที่วันที่ 10 ม.ค. หน่วยส.พัน.12 ยานพาหนะ จำนวน 7 คัน ใช้เส้นทางถ.พหลโยธิน เข้าถ.วิภาวดีผ่านแยกหลักสี่เพื่อมาร.11 รอ หน่วยส.พัน.21 ยานพาหนะ จำนวน 12 คันกำลังพล 175 นาย ผ่านแยกหลักสี่มาร.11 รอ. หน่วยม.พัน.1รอยานพาหนะ จำนวน 13 คัน กำลังพล จำนวน 200 นาย ผ่านทางถ.วิภาวดี ถ.แจ้งวัฒนะ ผ่านอนุสาวรีย์บางเขนมาร.11 รอ.

หน่วยม.พัน.3 รอ. ใช้ยานพาหนะ จำนวน 10 คัน กำลังพล 229 นาย ผ่านประดิพัทธ์ ผ่านหมอชิตและทางด่วนมาร.11รอ.

หน่วยม.พัน.4 รอ. ใช้ยานพาหนะ จำนวน 9 คัน ผ่านถ.เกียกกาย ถ.ประดิพัทธ์ ถ.กำแพงเพรชมาทางโทลล์เวย์ดอนเมืองเข้าถ.แจ้งวัฒนะ มาร.11 รอ. หน่วยม.พัน.29 รอ ใช้ยานพาหนะ จำนวน 10 คัน ใช้เส้นทางถ.พหลโยธิน ถ.วิภาวดี ถ.แจ้งวัฒนะผ่านแยกหลักสี่มาร.11 รอ. หน่วยปตอ.พัน.5 ใช้ยานพาหนะ 14 คัน กำลังพล 226 นาย ใช้เส้นทางถ.แจ้งวัฒนะ ผ่านหลักสี่มาร.11รอ. หน่วยปตอ.พัน.6 ยานพาหนะ14 คัน กำลังพล 221 นาย ใช้เส้นทางถ.แจ้งวัฒนะ ผ่านหลักสี่มาร.๑๑ รอ.หน่วยปตอ.พัน.7 ยานพาหนะ 12 คัน กำลังพล 195 นาย ใช้เส้นทางเดชะตุงคะมาทางด่วนศรีสมานเข้าสู่ถ.แจ้งวัฒนะ มาร.11 รอ.

ทั้งนี้พิธีการสวนสนามยานยนต์จะมีการจัดรูปขบวนเป็น 3 หมวดหมู่ แบ่งเป็นทหารราบ ทหารม้าและทหารปืนใหญ่ โดยทหารราบจะใช้ยุทโธปกรณ์จะจัดมาจากกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) จ.ปราจีนบุรี ประกอบด้วยรถยานเกราะล้อยางบีทีอาร์ 3อี 1 จำนวน 14คัน และรถฮัมวี่จำนวน 3 คัน

ส่วนทหารม้าจะจัดกำลังจากหน่วยทหารม้าในกทม.และปริมณฑล โดยมีรถถังเข้าร่วม 15 คัน ประกอบด้วย เอ็ม-60 เอ 1, เอ็ม-60 เอ3, เอ็ม-48 เอ5,สกอร์เปี่ยน ,สตริงเรย์ ในส่วนของทหารปืนใหญ่จัดรถบรรทุกปืนใหญ่ทั้งหมด 16 คัน โดยมีปืนใหญ่เข้าร่วมการสวนสนามได้แก่ ปืนใหญ่เอ็ม 198 ปืนใหญ่จีเอสเอ็น ขนาด155 มม. ปืนใหญ่ซีซ่าร์ ปืนใหญ่อัตราจร ติดรถสานพานลำเลียงพลเอ็ม 109 เอ 5 จรวดหลายลำกล้องเอสอาร์-4 ซึ่งเพิ่งดำเนินการจัดซื้อจากประเทศจีนและบรรจุเข้าประจำการที่กองทัพบก ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานวัลแคน อย่างไรก็ตามเดิมรถถังออฟล็อตจากประเทศยูเครนจะเข้าร่วมการสวนสนามฯด้วย แต่เนื่องจากว่าส่งมอบไม่ทันตามที่นัดหมายคือวันที่ 5 ม.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากยังมีปัญหาการประท้วงที่ประเทศยูเครน

ปฏิวัติประชาชน และผลลัพธ์..ในตัวอย่าง


การปฏิวัติโดยประชาชน "ฝรั่งเศส"
กิโยติน สับเข้าก้านคอ หลุยส์ที่ 16 ตาย
ปฏิวัติโดยประชาชนฝรั่งเศส
มีการจับฝ่ายตรงข้ามมาไต่สวนฆ่ากันตาย
และฆ่ากันเพราะขัดแย้ง
ระหว่างพวกเดียวกันเองอีกหลายพัน

ปฏิวัติโดยประชาชน "รัสเซีย"
พระเจ้าซาร์นิโคลัส
โดนบอลเชวิก ยิงตายทั้งราชวงศ์
ปฏิวัติรัสเซีย หลังพระเจ้าซาร์ตาย
มีการกวาดล้างฆ่นชั้นกลางและฆ่ากันเอง
เพื่อแย่งอำนาจอีกมากมายนับไม่ถ้วน

ปฏิวัติโดยประชาชน "จีน"
พระจักรพรรดิ์ปูยีถูกถอดยศ ตายอย่างสามัญ

ปฏิวัติโดยประชาชน "อเมริกา"
ปฏิวัติประเทศอเมริกาให้ปกครองตนเอง
แและแยกออกจากการปกครองของอังกฤษ

ปฏิวัติประชาชน โดยเขมรแดงในเขมร (กัมพูชา)
ชนชั้นกลาง ชนชั้นที่มีการศึกษา
ถูกฆ่าตายไปสองล้านคน

ปฏิวัติ โดยประชาชน
คุณเข้าใจกันแบบไหน

การปฏิวัติ โดยมวลมหาประชาชน
ที่น่ากลัวคือผลที่จะตามมาหลังการปฏิวัติแล้วละครับ
ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง จะมีการตายกันอีกเท่าไหร่

กปปส. คิดแบบไหนกันนะ ? 

การเมืองไทยตั้งแต่ 2475 ถึงวันนี้ มี 1 ปฏิวัติ 8 รัฐประหาร 12 กบฏ


ประมวล เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองของไทย (ล้มล้างรัฐบาล)
หลังพ.ศ. 2475 – ก่อนคณะปฏิรูป

1. กบฏบวรเดช (2476)
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช และพระยาศรีสิทธิสงคราม (ถิ่นท่าราบ)
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยและนำประเทศกลับสู่การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกครั้ง
ผลของการเปลี่ยนแปลง คือ ปฏิวัติครั้งนี้ล้มเหลว พวกกบฏถูกฝ่ายรัฐบาลปราบปรามได้สำเร็จ

2. การรัฐประหาร พ.ศ. 2490
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ พันเอกหลวงกาจสงครามและพลโทผิน ชุณหะวัน
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง กรณีสวรรคตของ รัชกาลที่ 8 และปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง
ผลของการเปลี่ยนแปลง ทำให้จอมพลป.พิบูลย์สงครามกลับมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง และกลุ่มซอยราชครูมีบทบาทสำคัญทางการเมืองมากขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาแน่นแฟ้นมาก

3. การรัฐประหาร พ.ศ. 2501
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง อ้างสาเหตุจาก ภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์
ผลของการเปลี่ยนแปลง ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบอบเผด็จการอำนาจนิยม

4.วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ ประชาชน นิสิต นักศึกษา
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง เพื่อต่อต้านเผด็จการทหารที่ครอบงำและลิดรอนสิทธิ์เสรีภาพทาง การเมืองของประชาชน
ผลของการเปลี่ยนแปลง ประเทศไทยเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองอย่างกว้างขวาง และมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 (ที่ถือว่ามีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่ง)

5. เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง อ้างว่านิสิตนักศึกษาที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใน วันที่ 14 ต.ค. 2516 ได้รับการสนับสนุนจากคอมมิวนิสต์
ผลของการเปลี่ยนแปลง ระบอบประชาธิปไตยถูกล้มล้างและกลับไปสู่การปกครองแบบเผด็จการอำนาจนิยมอีกครั้ง สภาพการเมืองขาดเสถียรภาพและเกิดความแตกแยกอย่างรุนแรง

6. การรัฐประหาร พ.ศ. 2520
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง การคัดค้านนโยบายแบบขวาจัดของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร(เผด็จ การโดยพลเรือน)
ผลของการเปลี่ยนแปลง มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2521 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อมา

7. การรัฐประหาร พ.ศ. 2534 (รสช.)
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ พลเอกสุนทร คงสมพงษ์, พลเอกสุจินดา คราประยูร, พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง การฉ้อราษฎร์บังหลวงของคณะรัฐบาลที่มีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณเป็นนายกรัฐมนตรี
ผลของการเปลี่ยนแปลง นายอานันท์ ปันยารชุน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี

8. เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ (17-19 พ.ค. 2535)
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ ประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง นักศึกษา ประชาชน และนักการเมืองบางกลุ่ม ร่วมกันต่อต้านการเข้าดำรง ตำแหน่งผู้นำของพลเอกสุจินดา คราประยูร
ผลของการเปลี่ยนแปลง เกิดเหตุการณ์นองเลือดอีกครั้ง และนายอานันท์ ปันยารชุนกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกฯอีกวาระหนึ่ง

สรุปความจาก Road to University (สังคม ศึกษา)

กบฏ 12 ครั้ง-ปฏิวัติ 1 ครั้ง - รัฐประหาร 8 ครั้ง

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนรัฐบาลหรือคณะผู้ปกครองหรือการเปลี่ยนกติกาการปกครองหรือรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในทุกประเทศปกติรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศ ย่อมกำหนดวิธีการเปลี่ยนแปลงไว้ เช่น ให้มีการเลือกตั้งทั่วไปทุก 4 ปี หรือ 5 ปี หรือ เลือกประธานาธิบดีทุก 4 ปี หรือ 6 ปี เพื่อให้โอกาสประชาชนติดสินใจว่า จะให้บุคคลใดหรือกลุ่มพรรคการเมืองใดได้เป็นผู้ปกครอง และกำหนดวิธีการเปลี่ยนแปลงหลักการหรือสาระของรัฐธรรมนูญหรือแม้กระทั่ง สร้างรัฐธรรมนูญใหม่แทนฉบับเดิม

การเปลี่ยนแปลงตามกระบวนการดังกล่าวข้างต้นถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยสันติวิธี และเป็นวิถีทางที่ถูกต้องตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงอีกวิธีหนึ่งที่ถือว่าเป็นวิธีการรุนแรงและไม่ถูกต้องตาม กฎหมาย นั่นก็คือการใช้กำลังเข้าข่มขู่ เช่น ใช้กองกำลังติดอาวุธเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลเดิมไล่คณะรัฐมนตรีออกไป และตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ โดยกลุ่มของคนที่ยึดอำนาจเข้ามาแทนที่ หรือยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิมแล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ วางกฎและกติกาตามที่กลุ่มผู้มีอำนาจปรารถนา โดยปกติคณะหรือกลุ่มบุคคลที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีนี้จะต้องมีกอง กำลังติดอาวุธเข้าปฏิบัติการ มิฉะนั้นแล้ว ก็ยากที่จะสำเร็จ และถึงมีกำลังก็ไม่อาจไม่สำเร็จเสมอไป เพราะมีองค์ประกอบการสนับสนุนหรือต่อต้านจากประชาชนเข้ามาเป็นปัจจัยประกอบ ด้วย

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศที่ไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองก็คือว่า การเปลี่ยนรัฐบาลหรือผู้ปกครองประเทศมักไม่เป็นไปตามกติกา หรือระเบียบแบบแผนโดยสันติวิธี ตรงกันข้ามมักเกิดการแย่งชิงอำนาจด้วยการใช้กำลังอยู่เนือง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไปในรูปของการจลาจลกบฏ ปฏิวัติหรือรัฐประหารความหมายของคำเหล่านี้เหมือนกันในแง่ที่ว่าเป็นการใช้ กำลังอาวุธยึดอำนาจทางการเมืองแต่มีความหมายต่างกันในด้านผลของการใช้กำลัง ความรุนแรงนั้น หากทำการไม่สำเร็จจะถูกเรียกว่า กบฏ จลาจล (rebellion) ถ้าการยึดอำนาจนั้นสัมฤทธิผล และเปลี่ยนเพียงรัฐบาลเรียกว่า รัฐประหาร (coupd etat) แต่ถ้ารัฐบาลใหม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงมูลฐานระบอบการปกครอง ก็นับว่าเป็น การปฏิวัติ

การปฏิวัติครั้งสำคัญๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ได้แก่ การปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส ค.ศ.1789 การปฏิวัติในรัสเซีย ค.ศ.1917 การปฏิวัติของจีนในปี ค.ศ.1949 การปฏิวัติในคิวบา ค.ศ.1952 เป็นต้น

ในการเมืองไทยคำว่า ปฏิวัติ กับ รัฐประหาร มักใช้ปะปนกัน แล้วแต่ผู้ยึดอำนาจได้นั้นจะเรียกตัวเองว่าอะไร เท่าที่ผ่านมามักนิยมใช้คำว่า ปฏิวัติ เพราะเป็นคำที่ดูขึงขังน่าเกรงขามเพื่อความสะดวกในการธำรงไว้ซึ่งอำนาจที่ ได้มานั้น ทั้งที่โดยเนื้อแท้แล้ว นับแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติที่แท้จริงครั้งเดียวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การยึดอำนาจโดยวิธีการใช้กำลังครั้งต่อๆ มาในทางรัฐศาสตร์ถือว่าเป็นเพียงการรัฐประหารเท่านั้น เพราะผู้ยึดอำนาจได้นั้นไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงหลักการมูลฐานของระบอบการ ปกครองเลย

ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมทางการเมืองและมิให้สับสนกับการใช้ชื่อเรียกตัว เองของคณะที่ทำการยึดอำนาจทั้งหลาย อาจสรุปความหมายแคบๆ โดยเฉพาะเจาะจงสำหรับคำว่าปฏิวัติ และรัฐประหารในบรรยากาศการเมืองไทยเป็นดังนี้คือ

"ปฏิวัติ" หมายถึงการยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ อาจมีหรือไม่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และรัฐบาลใหม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงมูลฐานระบอบการปกครอง เช่นเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย หรือ คอมมิวนิสต์ ฯลฯ

ส่วน "รัฐประหาร" หมายถึงการยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ แต่ยังคงใช้รัฐธรรมนูญฉบับเก่าต่อไป หรือประกาศใช้รัฐธรรมฉบับใหม่ เพื่อให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่นานนัก

ในประเทศไทย ถือได้ว่ามี การปฏิวัติ เกิดขึ้นครั้งแรกและครั้งเดียวคือ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2547 โดยคณะราษฎร จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย และมีการกบฏเกิดขึ้น 12 ครั้ง และรัฐประหาร 8 ครั้ง ดังนี้

กบฏ 12 ครั้ง

1. กบฏ ร.ศ.130

2. กบฏบวรเดช (11 ตุลาคม 2476)

3. กบฏนายสิบ (3 สิงหาคม 2478)

4. กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือกบฏ 18 ศพ (29 มกราคม 2482)

5. กบฏเสนาธิการ (1 ตุลาคม 2491)

6. กบฏแบ่งแยกดินแดน (พฤศจิกายน 2491)

7. กบฏวังหลวง (26 กุมภาพันธ์2492)

8. กบฏแมนฮัตตัน (29 มิถุนายน 2494)

9. กบฏสันติภาพ (8 พฤศจิกายน 2497)

10. กบฏ 26 มีนาคม 2520

11. กบฏยังเติร์ก (1-3 เมษายน 2524)

12. กบฏทหารนอกราชการ (9 กันยายน 2528)

รัฐประหาร 8 ครั้ง

1. พ.อ.พระยาพหลฯ ทำการรัฐประหาร (20 มิถุนายน 2476)

2. พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และคณะนายทหารบก ทำการรัฐประหาร (8 พฤศจิกายน 2490)

3. จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำการรัฐประหาร (29 พฤศจิกายน 2494)

4. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหาร (16 กันยายน 2500)

5. จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร (20 ตุลาคม 2501)

6. จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร (17 พฤศจิกายน 2514)

7. พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ทำการรัฐประหาร (20 ตุลาคม 2520)

8. พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ทำการรัฐประหาร (23 กุมภาพันธ์ 2534)

9. คณะผู้บัญชาการเหล่าทัพ และ ผบ.ตร. ทำการรัฐประหาร (19 กันยายน 2549)

ขัตติยา:สวัสดิผล-ปฏิวัติรัฐประหาร


ช่วงนี้ ข่าวปฏิวัติรัฐประหารหนาหูเหลือเกินนะคะ ถ้าเป็นเมื่อก่อนเดียร์คงไม่รู้สึกอะไร คิดว่ามันคงไม่เกี่ยวกับตัวเรา และคุณพ่อคงบอกให้ใช้ชีวิตตามปกติ แต่พอมาครั้งนี้ซิคะ (ที่อาจจะเกิดหรือไม่เกิดก็ได้) มันดูใกล้ตัวยังไงไม่รู้ นึกไปนึกมา เราก็เป็นหนึ่งในผู้ที่จะได้รับผลกระทบด้วยนี่หน่ะ

เพราะเราก็เป็นคนไทยคนหนึ่งที่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย และยิ่งเข้ามาเป็นนักการเมืองด้วยแล้ว การรักษาความเป็นประชาธิปไตยของประเทศก็ถือเป็นหน้าที่สำคัญอีกอย่างนึงที่ต้องทำ

เดียร์หลงดีใจว่า การปฏิวัติรัฐประหารจะไม่เกิดขึ้นกับประเทศไทยเราแล้วเสียอีก เพราะที่ผ่านมา เราเห็นอยู่แล้วว่าการปฏิวัติรัฐประหารไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น นอกจากเศรษฐกิจจะพังแล้ว ยังเป็นที่ประนามจากประเทศทั่วโลก ว่าประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแต่กลับไม่รักษาประชาธิปไตยเอาไว้อย่างหวงแหน ความเลวร้ายและความผิดพลาดจากการทำรัฐประหารยังเป็นที่จดจำของใครบางคนอยู่ ที่สำคัญที่สุด บทเรียนเกือบ 8 ปีที่ผ่านมาน่าจะสอนให้รู้ว่า การทำรัฐประหารยิ่งเป็นการโหมไฟให้กองเพลิงแห่งความเกลียดชังมันลุกแรงขึ้น

บทเรียนในชีวิตของเดียร์ที่ผ่านมา ยิ่งในชีวิตที่ไม่มีทั้งคุณพ่อและคุณแม่คอยอยู่ข้างๆ แล้วด้วย ทำให้เดียร์ต้องพึงระลึกอยู่เสมอว่า จะตัดสินใจทำอะไรในวันนี้ ให้นึกถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนเรามาเยอะ เดียร์จึงอยากสื่อไปถึงกลุ่มผู้ที่อาจจะกำลังเตรียมตัวทำการปฏิวัติรัฐประหารว่า ท่านอย่าโยนเชื้อเพลิงเข้ากองไฟเลย สิ่งที่ท่านควรทำคือดับไฟ หรือคอยดูแลไม่ให้เพลิงมันลามไปมากกว่านี้ นั่นถึงจะเรียกว่าเป็นที่พึ่งที่แท้จริงในยามเดือดร้อนและคับขัน และท่านก็สามารถดูเป็นวีรบุรุษได้เหมือนกันค่ะ

หากจะมีการทำรัฐประหารจริง ท่านได้ถามใจกำลังพลของท่านที่มาจากทั่วภูมิภาคของประเทศรึยัง ว่าเค้าเหล่านั้นต้องการหันปากกระบอกปืนไปที่พ่อแม่หรือญาติพี่น้องเค้ารึเปล่า อย่าให้เค้าต้องกลายเป็นเหยื่อเองเลยค่ะ

สุดท้ายนี้ ปล่อยให้ประชาธิปไตยมันเดินไปตามระบบ เมื่อมีการยุบสภาก็ต้องมีการเลือกตั้งเพื่อคงไว้ซึ่งประชาธิปไตยที่แท้จริง พระสยามเทวาธิราชคุ้มครอง กลุ่มที่คิดไม่ดีก็จะแพ้ภัยตัวเองไป

ดังนั้น ณ ตอนนี้ ท่านจะโยนเชื้อเพลิงเข้ากองไฟให้มันโหมหนักขึ้นจริงหรอคะ???
85

สภาทนายความ ออกแถลงการณ์ หนุน ชุมนุมขับไล่รัฐบาลคอร์รัปชัน

สภาทนายความ ออกแถลงการณ์ หนุน ชุมนุมขับไล่รัฐบาลคอร์รัปชัน จี้ เคารพมติศาลรธน.วินิจฉัย กปปส.ชุมนุมตามกรอบกฎหมาย... 

วันที่ 7 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สภาทนายความได้ออกแถลงการณ์เรื่องการใช้สิทธิต่อต้านรัฐบาล ที่ไม่เคารพต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีเนื้อหาดังนี้

การคอร์รัปชัน ไม่ว่า จะเป็นการคอร์รัปชันเชิงอำนาจ นโยบายหรือเป็นการกวาดเอาทรัพย์สินเงินทองให้เป็นของตนเอง และพรรคพวก เป็นสิ่งที่เลวและชั่วร้ายที่สุด และไม่เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของคนดีในทุกสังคมในทุกรัฐบาล ซึ่งแม้กระทั่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้มีมติรับรองอนุสัญญาขององค์การสหประชาชาติเพื่อการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 (UNCAC 2003) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2548 โดยรัฐบาลไทย ได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2554 แต่รัฐบาลไทยซึ่งต้องจัดให้มีมาตรการทางกฎหมาย และทางบริหารที่จำเป็นเพื่อให้มีการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน อย่างเป็นรูปธรรม อย่างจริงจัง และน่าเชื่อถือนั้น แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม แม้ สหประชาชาติ จะสนับสนุนให้ทุกประเทศสมาชิกปฏิบัติการต่อต้านการคอร์รัปชันในทุกประเทศทั่วโลก แต่ประเทศไทยโชคร้าย เพราะการจัดอันดับของการที่มีคอร์รัปชันตกต่ำ มากในรอบปีที่ผ่านมา จากอันดับที่ 88 ในปี 2555 ปัจจุบันปี 2556 ตกลงไปอยู่ในอันดับที่ 102

แสดงให้เห็นว่ารัฐบาล ไม่ได้ใช้นโยบายการปราบปรามทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นจริงเป็นจัง ในทางตรงกันข้ามเป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางว่า ในประเทศไทยมีการอุปถัมภ์ คอร์รัปชันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ฉะนั้น เมื่อประชาชนเห็นด้วยกับแนวทางการต่อต้านและการขับไล่รัฐบาลที่มีพฤติกรรมในทางการใช้อำนาจบริหารเพื่อผลประโยชน์ของตนและพวกพ้อง การไม่เคารพต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ อันเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ประชาชนจึงมีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะรวมตัวกันตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในการต่อต้านการขับไล่รัฐบาลตามธรรมเนียมการปฏิบัติของประชาคมทั่วโลก ในการแสดงออกของประชาชนนั้นเป็นสิ่งที่รับรองไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญ และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ รวมทั้งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง และในประเทศไทยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยเป็น บรรทัดฐานในการแสดงออกทางด้านการเมือง โดยได้รับรองการใช้สิทธิของประชาชนไว้โดยถูกต้องตามที่มีผู้ขอให้ศาล รัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามเรื่องพิจารณาที่ 66/2556

ซึ่งโดยสรุป ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ และเป็นการกระทำในนามประชาชนที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้ ส่วนการยึดสถานที่ราชการก็ไม่เกิดขึ้นแล้ว... จึงยังไม่มีมูลกรณีที่เป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย...”

ดังนั้นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ไม่มีการยึดสถานที่ราชการ จึงเป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้รัฐบาลอาจจะกล่าวหา แกนนำและเลขาธิการ กปปส. ในเรื่องการกระทำผิดหลายข้อหาหลายกระทง แต่การบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลนั้น รัฐบาลต้องทราบว่า เป็นกรณีต่างกรรมต่างวาระ การกระทำความผิดในข้อหากบฏที่ได้มีการกล่าวหาแล้วนั้นก็เป็นเรื่องของการกระทำที่ศาลรับฟังข้อเท็จจริงในขณะที่รัฐบาลได้ขอให้ศาลวินิจฉัย เท่านั้น ซึ่งก็เป็นไปตามข้อเท็จจริงวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามข้อเท็จจริงเป็นการ เฉพาะในสำนวนนั้นเท่านั้น และเป็นการเสนอข้อเท็จจริงของรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว แม้จะมีหมายจับออกมาจากศาลตามคำร้องของรัฐบาลนั่น ก็เป็นหมายจับตัวบุคคลตาม ข้อเท็จจริงเดิม ที่กล่าวหาว่า กระทำความผิด ซึ่งเป็นคนละกรณี

รัฐบาลจึงไม่อาจนำหมายจับดังกล่าวมารวมเหมาเข่งถือว่า การที่ประชาชนที่ออกมา เดินขบวนต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน กับขอให้มีการเลื่อนการเลือกตั้งที่ดูว่าไม่สุจริตยุติธรรมต่อรัฐธรรมนูญ นั้นมาถือว่า เป็นการสนับสนุนหรือเป็นตัวการในคดีข้อหากบฏทั้งหมดได้ เพราะความผิดตามกรรมเดิมนั้นได้จบไปตามพยานหลักฐานในชั้นนั้นแล้ว

หากจะมี การกล่าวหาประชาชนว่าเป็นกบฏสนับสนุนการกบฏ รัฐบาลต้องสรุปพฤติกรรมของประชาชนให้เห็นชัดเจนและต้องนำข้อเท็จจริงนั้นไป เสนอต่อศาลให้ครบองค์ประกอบความผิด จะกล่าวหาอย่างกว้าง ๆ เพื่อปรามประชาชนไม่ให้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการแปลความที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญที่ประชาชนสามารถใช้สิทธิ์รวมตัวกัน เพื่อแสดงออกซึ่งความเห็นและต่อสู้ความไม่เป็นธรรมได้โดยชอบตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาดมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลและองค์กรอื่นของรัฐ ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่อย่างสำคัญในการที่ต้องเคารพต่อคำวินิจฉัยของศาล รัฐธรรมนูญข้างต้น ไม่พึงแสดงออกถึงการไม่เคารพศาลรัฐธรรมนูญเป็นครั้งที่ 2

เพราะที่ผ่านมารัฐบาลก็ยังไม่มาชี้แจงแสดงเหตุผลให้ชัดเจนว่าการไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญนั้นมีอยู่อย่างไร หากรัฐบาลยังดื้อดึงดำเนินการกล่าวหาประชาชนที่ใช้สิทธิโดยสุจริตภายในกรอบของรัฐธรรมนูญแล้ว รัฐบาลเองจะเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระด้างกระเดื่องต่อรัฐธรรมนูญโดยชัดแจ้ง

ทั้งต้องไม่ลืมว่ารัฐบาลก็ยังไม่เคยตอบประชาชนในเรื่องของความซื่อสัตย์ สุจริต เรื่องของการไม่เคารพศาลรัฐธรรมนูญแล้วอีกมากมายหลายกรณี เช่น การออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรม การที่พรรคร่วมรัฐบาลใช้สิทธิออกเสียงแทนกัน การปลอมแปลงเอกสาร เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอย่างชัดแจ้ง ความจริงรัฐบาลควรจะออกคำชี้แจงแสดงเหตุผลตอบข้อสงสัยของประชาชนในประเด็นต่างๆ ให้ครบถ้วน เมื่อรัฐบาลไม่ทำประชาชนจึงมีสิทธิที่จะออกมารวมตัวกัน เพื่อแสดงพลังต่อต้านความไม่สุจริตไม่ซื่อสัตย์ของรัฐบาล โดยเฉพาะการไม่เคารพคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญของบรรดาผู้บริหารประเทศ

ดังนั้นจึงไม่มีกรณีใดที่จะมีกฎหมายให้อำนาจรัฐบาลจะมาแถลงการณ์ข่มขู่ประชาชนที่มาใช้สิทธิประท้วงขับไล่โดยปราศจากอาวุธว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการสมคบกับผู้ก่อการกบฏ การใช้สิทธิของประชาชนดังกล่าวจึงชอบด้วยรัฐธรรมนูญและหลักกฎหมายสากล

โดย: ไทยรัฐออนไลน์ 7 มกราคม 2557, 20:00 น.



สารแสดงความเสียใจต่อคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อภาวะผู้นำ

Tue, 2014-01-07 20:30

จากกรณีที่มีชายผู้หนึ่งที่ได้ไปร่วมงานที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพ ได้ลุกขึ้นจากเก้าอี้ที่นั่งอยู่กลางห้องประชุม พร้อมเป่านกหวีด 1 ครั้ง และ ชูแผ่นกระดาษหันไปทางนายอภิสิทธิ์ มีข้อความว่า "RESPECT MY VOTE" พร้อมตะโกนด้วยเสียงอันดังว่า “ถ้าคุณยังปฏิรูปตัวเองไม่ได้แล้วจะมาปฏิรูปประเทศได้อย่างไร” ซึ่งนายอภิสิทธิ์ ได้กล่าวว่า “ขอบคุณครับ ๆ”
ต่อมา ชายคนดังกล่าวยังคงตะโกนต่อเนื่องว่า “ตอนคุณเป็นรัฐบาลทำไมไม่ทำ หยุดวาทะกรรมการโกงได้แล้ว คุณข่มขู่คุกคามคนอื่นได้ แต่คนอื่นข่มขู่คุกคามคุณไม่ได้หรืออย่างไร” นายอภิสิทธิ์ จึงตอบกลับว่า “นี่คือตัวอย่างที่ต้องปฏิรูป นี่คือรูปแบบของคู่แข่งพรรคประชาธิปัตย์” ทำให้ชายคนนี้ตะโกนกลับว่า "ผมไม่ใช่คู่แข่ง ผมคือประชาชน” จากนั้นได้มีเจ้าหน้าที่เข้ามาพาตัวชายคนดังกล่าวออกจากห้องประชุมไป โดยนายอภิสิทธิ์ ได้กล่าวตามหลังไปว่า “จะเห็นได้ว่าการทำกิจกรรมของเราสามารถแสดงความเห็นได้ แต่การทำกิจกรรมของเราถูกรบกวนมาโดยตลอด มาสร้างปัญหาให้กับเวทีของเรา นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราถึงบอกว่าการเลือกตั้งเป็นธรรมไม่ได้ เพราะมีขบวนการแบบนี้ และสิ่งที่เกิดขึ้นนี้คือไม่ใช่การจัดฉาก”( http://prachatai.com/journal/2014/01/50982)
ถ้าเราเทียบกับกรณีของคุณยิ่งลักษณ์ที่ได้มีผู้หญิงได้เข้ามาเป่านกหวีดใส่นายกรัฐมนตรีชนิดประชิดตัว แต่คุณยิ่งลักษณ์ได้เดินเข้าไปหาผู้หญิงคนดังกล่าว และเมื่อเผชิญหน้ากันผู้หญิงคนดังกล่าวก็กล่าวท้าทายเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า "จะจับมั้ยๆ" คุณยิ่งลักษณ์กล่าวว่า "ไม่ค่ะ ไม่มีการจับ เชิญตามสบาย ขอบคุณนะคะ ไม่เป็นไร อยากเป่าก็เป่าเลยค่ะ ขอจับมือหน่อยนะคะ" แต่ผู้หญิงท่านี้ไม่ยอมให้จับมือ
จากนั้น ผู้หญิงท่านนี้กล่าวว่า “ขอคุยหน่อยได้หรือไม่” น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า “ยินดี” โดยผู้หญิงท่านนี้ พยายามสอบถามมาทำอะไร มาเที่ยวหรือ? แล้วจะกลับกรุงเทพฯวันไหน นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า “มาทำงาน ตรวจติดตามงานตามนโยบาย ซึ่งมาได้ 2 วันแล้ว พรุ่งนี้ก็จะเดินทางกลับ” ผู้หญิงคนดังกล่าวพยายามถามย้ำอีกว่า จะกลับกรุงเทพฯวันไหน น.ส.ยิ่งลักษณ์จึงย้อนถามกลับว่า “ถามทำไมหรือ” จากนั้น ได้ถามกลับว่า “เป็นคนที่เพชรบูรณ์หรือคนกรุงเทพฯ” ก็ได้รับคำตอบว่าเป็นคนกรุงเทพฯ แต่มาทำงานที่เขาค้อ และก่อนจากลากัน ก็ได้มีการหันมาเป่านกหวีดใส่อีกครั้ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีระบุว่า “ไม่ตกใจอะไร ถือเป็นการแสดงตามสิทธิ จากนั้น ได้เดินทักทายชาวบ้านต่อ โดยชาวบ้านได้ออกมาให้กำลังใจและให้ต่อสู้ โดยระบุว่า “การเป่านกหวีดดังกล่าวเป็นเพียงคนคนเดียว”
ดิฉันจะไม่ขอกล่าวถึงการแสดงออกของประชาชนว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม เพราะ เป็นสิทธิของบุคคลที่จะแสดงออกและจะวิพากษ์วิจารณ์ประชาชนด้วยกันเอง แต่ในฐานะผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งทั้ง 2 ท่าน ในส่วนตรงนี้ดิฉันขอกล่าวถึงวุฒิภาวะการเป็นผู้นำ คุณอภิสิทธิ์ยังคงมองฝั่งตรงข้ามว่าคือ “คู่แข่ง” การมองเช่นนี้ มันสะท้อนภาพว่าคุณต้องการเอาชนะเขา เพราะ การแข่งขัน ย่อมมีแพ้มีชนะ การปฏิรูประเทศเราต้องพูดถึงความสามัคคีของชาติมากกว่าการแข่งขัน เขากล่าวว่ากิจกรรมของเขาแสดงความเป็นต่างได้ แต่เป็นความเห็นต่างที่ต้องถูกใจคุณอภิสิทธิ์ เพราะ คุณได้กล่าวว่าเป็นการรบกวนและสร้างปัญหาให้เวทีของเราสะดุด การกล่าวว่ารับความเห็นต่างได้จึงไม่น่าเชื่อถือเสียเลย และ คุณจะปฏิรูปประเทศบนพื้นฐานความคิดเช่นนี้ ก็คงปฏิรูปแค่ให้ตัวเองอยู่รอดไม่ใช่ประเทศชาติ ปฏิรูปกับพวกเดียวกันที่คิดเหมือนกัน คนอื่นคิดต่างต้องกำจัดเสียเพราะทำให้เกิดการรบกวนและสะดุด
การกล่าวว่าการเลือกตั้งจะไม่เป็นธรรมจากการกระทำของผู้ชายท่านนี้ ไม่มีความสมเหตุสมผลเสียเลย การแสดงออกนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งที่จะไม่เป็นธรรมเสียเลย เพราะ การเลือกตั้งกับการแสดงความเห็นเชิงสัญลักษณ์ดั่งที่ชายคนนี้กระทำ ถือเป็นคนละประเด็นกัน คุณอภิสิทธิ์ได้สร้างเงื่อนไขที่จะไม่ให้นำไปสู่การเลือกตั้งผ่านแค่ว่าคนคิดต่างการเลือกตั้งจะไม่เป็นธรรม การเลือกตั้งมันคือวิธีการที่ให้คนเห็นต่างอยู่ร่วมกันได้ผ่านการตัดสินใจร่วมกัน แต่การพยายามสร้างเงื่อนไขหลีกหนีการเลือกตั้งของกลุ่มกปปส. นี้คือ สิ่งที่น่าอายกว่าการกระทำของชายผู้นี้เสียอีก เพราะ คุณขัดเจตนารมณ์ของคนทั้งชาติ
แต่ผิดกับการแสดงออกของคุณยิ่งลักษณ์ที่มีทีท่าไม่มองว่าผู้หญิงท่านนั้น คือ คู่แข่งหรือคู่ตรงข้าม และไม่มีการสั่งให้จับกุมหรือแสดงทีท่ากีดกันความเห็นต่างและพร้อมที่จะพูดคุย ไม่เอาความเห็นต่างมาสร้างความชอบธรรมให้ตนเอง พร้อมอยู่กับความเห็นต่าง เป็นภาพลักษณ์ผู้นำที่สังคมต้องการในสังคมที่จะต้องร่วมกันปฏิรูป ในสังคมชายเป็นใหญ่มักมองว่าผู้ชายเข้มแข็ง อดทน และมองว่าผู้หญิงอ่อนแอ ไม่อดทน แต่เหตุการณ์นี้ก็แสดงให้เป็นว่า “มายาคติเช่นนี้” ไม่เป็นความจริง
ความเข้มแข็งของคุณอภิสิทธิ์ถ้าใช้ไม่เหมาะสมก็จะมองเป็นความบ้าบิ่น ในส่วนของความอ่อนโยนของคุณยิ่งลักษณ์ถ้าใช้ไม่เหมาะสมก็จะมองว่าเธออ่อนแอ ผู้นำที่ดีต้องรู้ว่าเวลาใดคุณต้องเล่นบทใด การตีบทผู้นำที่ประชาชนพึงปรารถนาไม่แตก ก็อย่าหวังได้ไปนั่งอยู่ในใจประชาชน ระบอบประชาธิปไตยคือระบอบโดยประชาชนเพื่อประชาชน ไม่ใช่โดยประชาธิปัตย์เพื่อประชาธิปัตย์ตามที่คุณอภิสิทธิ์ต้องการ

ว่าด้วย ผลการไต่สวนปปช.คดี 308ส.ส./สว.แก้รธน.ที่มาสว.

Chuchart Srisaeng · ผู้ติดตาม 9,179 คน
2 ชั่วโมงที่แล้ว · 
  • .....วันนี้ที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๗ ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ โฆษกคณะกรรมการ ป.ป.ช. และนายประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการ ป.ป.ช. ได้แถลงถึงผลการไต่สวนข้อเท็จจริง กรณีมีกล่าวหาผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองว่า กระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ และกรณีร้องขอให้ถอดถอนออกจากตําแหน่ง กรณีเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .....ในประเด็นเกี่ยวกับ ที่มาของสมาชิกวุฒิสภาในส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาที่เหลือ จํานวน ๓๘๑ ราย ( นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และนายนิคม ไวยรัชพานิช แจ้งข้อกล่าวหาไปแล้ว )

  • .....คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์คณะในการไต่สวนข้อเท็จจริง ได้พิจารณาจากเอกสาร หลักฐานซึ่งได้รับจากสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญและจากการตรวจสอบเอกสารซึ่งได้รับจากรัฐสภาได้แก่ เอกสารเกี่ยวกับการลงชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไข เพิ่มเติมมาตรา ๑๑๑ มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ วรรคสอง มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๑๘ มาตรา ๑๒๐ และมาตรา๒๔๑ วรรคหนึ่ง และยกเลิกมาตรา ๑๑๓ และมาตรา ๑๑๔) และเอกสารหลักฐานจากศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรรายงานการประชุมร่วมกันของรัฐสภา รวมถึงถ้อยคําของผู้กล่าวหาและ พยานบุคคล รวม ๗ ปาก และเอกสารที่สนับสนุนคําร้องขอให้ถอดถอนแล้ว
  • .....คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์คณะในการไต่สวนข้อเท็จจริง ได้มีมติเอกฉันท์ว่า กลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาซึ่งร่วมเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๑๑ มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ วรรคสอง มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๑๘ มาตรา ๑๒๐ และมาตรา ๒๔๑ วรรคหนึ่ง และยกเลิกมาตรา ๑๑๓ และมาตรา ๑๑๔) และ ร่วมประชุมพิจารณาและลงมติให้ความเห็นชอบในวาระที่ ๑ วาระที่ ๒ และวาระที่ ๓ จํานวน ๒๙๓ คน ได้กระทําอันมีมูลความผิด
  • .....และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์คณะในการไต่สวนข้อเท็จจริง ได้มีมติเอกฉันท์ เห็นว่า กลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาซึ่งร่วมเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๑๑ มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ วรรคสอง มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๑๘ มาตรา ๑๒๐ และมาตรา ๒๔๑ วรรคหนึ่ง และยกเลิกมาตรา ๑๑๓ และมาตรา ๑๑๔) และ ร่วมประชุมพิจารณาและลงมติให้ความเห็นชอบในวาระที่ ๑ หรือวาระที่ ๒ หรือวาระที่ ๓ จํานวน ๑๕ ได้ กระทําอันมีมูลความผิด
  • .....รวม ส.ส.และ ส.ว. ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติว่า มีมูลความผิดรวม ๓๐๘ คน
  • .....ที่มีการแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม เนื่องจากกลุ่มแรกได้ร่วมพิจารณาและลงมติทุกนัด ส่วนกลุ่มหลังไม่ได้ร่วมประชุมทุกนัด
  • .....โดยเห็นควรเชิญผู้ถูกกล่าวหามาพบและแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบและให้โอกาส
    ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวและนําสืบแก้ข้อกล่าวหาภายในเวลาอันสมควร ตามความนัยมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒

    .....ขั้นตอนต่อไปเมื่อแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ผู้ได้รับแจ้งข้อกล่าวหาก็ต้องยื่นคำให้การแก้ข้อกล่าวหาภายในเวลาที่สมควร หากไม่ยื่นภายในที่กำหนดก็ให้ถือว่า ไม่ติดใจยื่น คณะกรรมการ ป.ป.ช.ก็ต้องทำการไต่สวนแล้ว ก็จะชี้มูลว่า มีมูลความผิดหรือไม่
  • .....ถ้า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลว่า ผู้ใดมีความผิด บุคคลนั้นก็ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่
  • .....คณะกรรมการ ป.ป.ช.ก็ต้องส่งสำนวนการไต่สวนให้อัยการสูงสุดฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
  • .....ถ้าอัยการสูงสุดไม่ฟ้องคดีภายในเวลาที่กำหนด คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้

    .....เรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้วว่า มีการกระทำโดยทุจริต ซึ่งมีผลผูกพันทุกองค์กรไม่ว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. อัยการสูงสุด และศาล ที่จะต้องฟังว่า มีการทุจริตจริง ครับ

จากกรณี ศาลยกฟ้องคดี'ธรรมรักษ์'ช่วยพรรคเล็กลต.ปี49 สู่การย้อนรอยคดีจ้างพรรคเล็ก ปม ยุบพรรคไทยรักไทย..


ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ยกฟ้อง 'พล.อ.ธรรมรักษ์' อดีต รองหน.ทรท. ไม่ผิดร่วมพรรคเล็ก จ้าง จนท.กกต.แก้ข้อมูลช่วยพรรคเล็กลงเลือกตั้งแข่งปี 49
                          7 ม.ค. 57  เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ห้องพิจารณา 913 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก  ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีหมายเลขดำ อ.961/2553 ที่พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 5 เป็นโจทก์ฟ้อง พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อายุ 75 ปี อดีตรมว.กลาโหมและกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย นายอมรวิทย์ สุวรรณผล อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบบริหารฐานข้อมูลพรรคการเมือง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายชวการ หรือ กรกฤต โตสวัสดิ์ อดีตสมาชิกพรรคพัฒนาชาติไทย นายสุขสันต์ หรือ จตุชัย ชัยเทศ อดีตผอ.การเลือกตั้งพรรคพัฒนาชาติไทย และนายบุญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ อดีตหัวหน้าพรรคพัฒนาชาติไทย เป็นจำเลยที่ 1-5 ตามลำดับ ในความผิดฐานกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 6,11                         โจทก์ฟ้องสรุปว่า จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันกระทำผิด เมื่อระหว่างวันที่ 2-7 มี.ค. 2549 ต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 3 จ้างวานให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต โดยมอบเงินค่าตอบแทนให้จำเลยที่ 2 จำนวน 30,000 บาท ให้ดำเนินการตัดต่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายชื่อ ข้อมูลสมาชิกของพรรคพัฒนาชาติไทยที่ไม่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากเป็นสมาชิกพรรคพัฒนาชาติไทยไม่ครบ 90 วัน ตามที่กฎหมายกำหนด เหตุเกิดที่แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง, แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร และแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กทม. เกี่ยวพันกัน

                         ซึ่งคดีนี้ศาลชั้นต้นคำพิพากษา เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2555 ว่า จำเลยที่ 1, 3, 4, 5 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 ให้จำคุกคนละ 3 ปี 4 เดือน ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ กกต.มีความผิดตาม พ.ร.บ.เดียวกัน มาตรา 6 ให้จำคุก 5 ปี โดยไม่รอลงอาญาทั้งหมด และให้ริบเงินสดของกลางจำนวน 30,000 บาท ต่อมาจำเลยที่ 1- 5 ยื่นอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องหรือให้ลงโทษสถานเบา                         ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษากันแล้วเห็นว่า ในส่วนของ นายอมรวิทย์ จำเลยที่ 2 โจทก์มีผู้อำนวยการสำนักงานกิจการพรรคการเมืองของ กกต.และผู้อำนวยการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลพรรคการเมืองของ กกต.และพนักงานของ กกต.เบิกความสอดคล้องกันว่า เมื่อประมาณ ต้นเดือนมี.ค.2549 มีข่าวเผยแพร่ทำนองว่า มีการว่าจ้างจากพรรคการเมืองใหญ่ให้พรรคการเมืองเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง กกต.จึงได้มีการเรียกประชุม ซึ่งรวมถึง จำเลยที่ 2 ด้วย เพื่อให้ระมัดระวังและตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วนในการจัดการเลือกตั้ง ขณะที่ในการจัดทำบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกพรรคการเมือง จะมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับผิดชอบและเป็นบุคคลเดียวที่มีรหัสผ่านระบบคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกข้อมูล                         ขณะที่เมื่อได้มีการตรวจสอบเปรียบเทียบฐานข้อมูลสมาชิกของพรรคพัฒนาชาติไทย ที่เคยแจ้งกับกกต.ไว้ตามลำดับ ขั้นตอนของกฎหมายเพียงครั้งเดียว เมื่อปี 2548 กับข้อมูลที่มีการบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ ปรากฏว่า แม้ตัวเลขที่กำกับลำดับที่ของข้อมูลสมาชิกพรรคจะตรงกัน แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อ โดยผลจากการตรวจสอบคอมพิวเตอร์ มีการบันทึกข้อมูลสมาชิกพรรคอีกครั้งในวันที่ 7 มี.ค.2549 เวลา 09.30 น.และโอนถ่ายข้อมูลเสร็จสิ้น ในเวลา 10.44 น.ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าเป็นผู้บันทึกข้อมูลดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 2 อ้างว่า ได้มีการปรึกษาเพื่อนร่วมงานแล้ว จึงไม่คิดว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นความผิด ส่วนเงิน 30,000 บาท ที่จำเลยที่ 5 มอบให้เป็นเพียงการอำนวยความสะดวกนั้นเห็นว่า จำเลยที่ 2 ได้ปฏิบัติหน้าที่มานานกว่า 2 ปีเศษ ย่อมที่จะเข้าใจว่าการดำเนินการมีขั้นตอนที่จะต้องปฏิบัติคือ การนำข้อมูลมาลงบันทึกเลขสารบรรณก่อน แล้วจึงเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นเพื่อพิจารณาก่อนการบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ แต่เมื่อพบว่าจำเลยที่ 2 ได้เดินทางไปรับข้อมูลสมาชิกพรรคพัฒนาชาติไทยจาก นายบุญทวีศักดิ์ จำเลยที่ 5 ที่แยกลำสาลีในเวลา 21.00 น.-22 .00 น.ซึ่งเป็นยามวิกาล ถือว่าผิดวิสัยและผิดปกติ อีกทั้งยังปรากฏว่าเมื่อได้รับข้อมูลแล้ว มีการรีบเร่งบันทึกข้อมูลในวันรุ่งขึ้น ตั้งแต่ช่วงเช้า เมื่อสำนักงานกกต.ได้เปิดเวลาทำการ โดยจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการตามขั้นตอนบันทึกเลขสารบรรณและเสนอผู้บังคับบัญชาก่อน ซึ่งพยานโจทก์ดังกล่าว เป็นเพื่อนร่วมงานของจำเลยที่ 2 ไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน จึงเชื่อว่าเบิกความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนจำเลยที่ 3-5 ที่เป็นสมาชิกและผู้บริหารพรรคพัฒนาชาติไทยนั้น ปรากฏว่าช่วงเกิดเหตุได้มีการประชุมพรรคดังนั้นน่าเชื่อว่าจะได้ร่วมรู้เห็นเรื่องที่จำเลยที่ 5 นำเงิน 30,000 บาท มอบให้จำเลยที่ 2 เพื่อสนับสนุนการกระทำดังกล่าว                         ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบา และรอลงอาญานั้นเห็นว่าความผิดที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ตามพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 6 นั้น กฎหมายดังกล่าวกำหนดอัตราโทษจำคุก ตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยที่ 2 เป็นเวลา 5 ปีในอัตราโทษต่ำสุดแล้ว จึงไม่อาจกำหนดโทษให้ต่ำกว่านี้ได้อีก และไม่อาจรอลงอาญาเพราะอัตราโทษจำคุกเกิน 3 ปีตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่คำให้การของจำเลยที่ 2 เป็นประโยชน์อยู่บ้างต่อการพิจารณา ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกเป็นเวลา 3 ปี 4 เดือน                         ส่วนความผิดของจำเลยที่ 3-5 ตามพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรรัฐฯ มาตรา 11 กำหนดอัตราโทษจำคุก 1-10 ปี ซึ่งศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยคน 3 ปี 4 เดือน นั้นเนื่องจากเป็นการกระทำที่ทำลายระบอบประชาธิปไตย แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าหนักเกินไป เห็นควรแก้โทษจำคุกคนละ 2 ปี แต่ไม่รอลงอาญา                         สำหรับพล.อ.ธรรมรักษ์ จำเลยที่ 1 เห็นว่าแม้โจทก์จะมีหลักฐานเป็นภาพจากกล้องวงจรปิดที่ได้จากศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม ที่พวกจำเลยเดินอยู่บนระเบียง โดยภาพช่วงที่เข้าไปยังกระทรวงกลาโหมและออกจากกระทรวงกลาโหมแตกต่างกันตรงที่ปรากฏซองสีขาวในมือ ของบุคคลที่ปรากฏในภาพวงจรปิด แต่โจทก์ก็ไม่มีประจักษ์พยานเบิกความยืนยัน ว่าพวกจำเลยได้เข้าไปพบจำเลยที่ 1 ภายในห้องรับรองและจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้มอบซองที่อาจจะมีการบรรจุเงินในซองดังกล่าวให้กับจำเลยที่ 3 เพื่อไปมอบต่อให้กับจำเลยที่ 4 และ 5 นำไปให้จำเลยที่ 2 จริงหรือไม่ขณะที่จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธมาโดยตลอด คงมีเพียงคำให้การของจำเลยที่ 3 และ 4 ในชั้นสอบสวนเท่านั้นว่าไปพบจำเลยที่ 1 ซึ่งคำให้การดังกล่าวเสมือนเป็นคำซัดทอด ของผู้ต้องหาด้วยกัน จึงต้องรับฟังด้วยความระมัดระวังเพราะคดีมีอัตราโทษจำคุกสูงถึง 10 ปี ซึ่งในชั้นสืบพยานจำเลยที่ 3 และ 4 ก็ไม่ได้เบิกความยืนยันตามคำให้การชั้นสอบสวน พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา ยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 3-5 สนับสนุนจำเลยที่ 2 กระทำผิด จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัย ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 พิพากษาแก้ให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 1                         ภายหลัง พล.อ.ธรรมรักษ์ กล่าวว่า ขอบคุณศาลที่ให้ความยุติธรรม เหตุการณ์นี้ถ้าตนเป็นคนทำจริง คงไม่เหลือร่องรอยหรือหลักฐานไว้แล้ว ตอนนี้ความจริงก็ได้ปรากฏตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้แล้ว                         ผู้สื่อรายงานว่าในวันนี้มีบุคคลใกล้ชิดและผู้ติดตามมาให้กำลังใจจำนวนมากจนแน่นห้องพิจารณาคดี ซึ่งภายหลังจากที่ศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้องพล.อ.ธรรมรักษ์ก็มีใบหน้ายิ้มแย้ม สดใสขึ้น

///////////

มีความน่าสนใจ ว่า คดีจ้างพรรคเล็ก ที่ เป็นสาเหตุรัฐประหาร เป็นสาเหตุยุบพรรคไทยรักไทย โดยมีการกล่าวหาจากฝ่ายเสื้อแดง ว่า ตุลาการรัฐธรรมนูญใช้ประกาศคณะรัฐประหารเป็นกฎหมายย้อนหลัง ตัดสิทธิ 111 กรรมการบริหารพรรค ทั้งที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องรู้เห็นการจ้างพรรคเล็ก แต่ถูกห้ามเกี่ยวข้องการเมือง 5 ปี

แต่ ท้ายที่สุด กระบวนการทางศาลกลับพิสูจน์ว่า พล.อ.ธรรมรักษ์ไม่ผิด(๗ม.ค.๕๗)

น่าสนใจ ว่า เมื่อ ผู้"ถูกกล่าวหา"เป็น"ตัวการ"(พล.อ.ธรรมรักษ์) ผ่านการพิสูจน์ในกระบวนการยุติธรรม ไม่มีความผิด แต่ตัวพรรค(ไทยรักไทย)ถูกยุบไปแล้ว กรรมการบริหารถูกตัดสิทธิไปแล้ว โดยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกา 

น่าสนใจว่า กรณีดังกล่าวเริ่มมีเสียงถามจาก"เสื้อแดง"ถึงข้อครหา การใช้อำนาจตุลาการเป็น"เครื่องมือทางการเมือง"หรือไม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านี้ ศาลฎีกา ยกฟ้อง 3 กกต.(ชุด วาสนา เพิ่มลาภ) ซึ่งในช่วงปี 2549 ที่สถานการณ์การเมืองกำลังเข้มข้น ศาลชั้นต้นไม่ให้ประกัน ต้องลาออก ถึงได้ประกันตัว

////

ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง คดีจ้างพรรคเล็ก 


ย้อนรอยคดีประวัติศาสตร์ “ยุบ 2 พรรคใหญ่”

พรรคไทยรักไทย

24 ก.พ. 49 - พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภาฯ และกำหนดให้มีการเลือกตั้ง 2 เม.ย. 49 โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดให้มีการเปิดรับสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อวันที่ 2-3 มี.ค. และส.ส.ในระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 4-8 มี.ค.

27 ก.พ. 49 - พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย เชิญประชุมหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรคที่อาคารวุฒิสภา โดยมีหัวหน้าพรรคการเมืองขนาดเล็ก 15 พรรคฯเข้าร่วมประชุม

12 มี.ค. 49 - นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ นำนางรัชนู ต่างสี นายสุวิทย์ อบอุ่น นางนิภา จันทรโพธิ์ ที่ถูกนายทักษนัย กี้สุน พาไปสมัครลงรับเลือกตั้งส.ส. ในนามพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า มาแถลงข่าวที่พรรคประชาธิปัตย์ว่า ถูกนายทักษนัย หลอกพาไปสมัครทั้งที่ไม่มีคุณสมบัติ

16 มี.ค. 49 - นายสุเทพ แถลงข่าวเปิดโปงขบวนการจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งโดยระบุว่า พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ได้ให้คนสนิท และพล.ต.ไตรรงค์ อินทรทัต พล.ท.ผดุงศักดิ์ กลั่นเสนาะ และผู้อื่น ประสานไปยัง นายชวการ โตสวัสดิ์ นายสุขสันต์ ชัยเทศ และนายพงษ์ศรี ศิวาโมกข์ เพื่อให้ติดต่อไปยังผู้บริหารพรรคเล็กคือพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า แผ่นดินไทย พัฒนาชาติไทย ให้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งในพื้นที่ต่างๆ โดยมีการจ่ายเงินให้หัวละ 1 แสน ถึง3 ล้านบาท

19 มี.ค. 49 - นายสุเทพ พาพยาน 3 คน คือ นายชวการ นายสุขสันต์ น.ส.มณทิรา พิมพ์จันทร์ ผู้ช่วยนายสุขสันต์ มาแถลงข่าวโดยทั้ง 3 คนยืนยันว่า ได้รับการติดต่อจากคนใกล้ชิดของผู้บริหารพรรคไทยรักไทยให้จัดหาผู้สมัครพรรค เล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง และช่วงวันที่ 2-9 มี.ค.มีการใช้โรงแรมย่านสะพานควายเป็นสถานที่ในการปลอมแปลงเอกสารการลงสมัคร

21 มี.ค. 49 - นายสุเทพ พร้อมคณะ เข้าให้ข้อมูลและร้องเรียนต่อ กกต.ว่ามีการจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งโดยมีเจ้าหน้าที่กกต.ให้ความ ร่วมมือในการแก้ไขฐานข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพื่อจะได้มีการ คุณสมบัติครบถ้วนในการลงสมัคร โดย กกต.ตั้ง นายนาม ยิ้มแย้ม รองประธานศาลฎีกา เป็นประธานอนุกรรมการสอบสวน

22 มี.ค. 49 - นายสุเทพ พาพยาน อาทิ นายชวการ นายสุขสันต์ นางฐัติมา ภาวะลี ผู้สมัครส.ส.ระบบบัญชีจากพรรคแผ่นดินไทย ไปพักที่บ้าน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี โดยอ้างว่า เกรงไม่ปลอดภัย

2 เม.ย. 49 - มีการเลือกตั้งทั่วไป ปรากฎว่า หลายเขตเลือกตั้งที่ผู้สมัครพรรคไทยรักไทย เป็นผู้สมัครคนเดียวของเขตเนื่องจากศาลฎีกาสั่งเพิกถอนสิทธิการเป็นผู้สมัคร ของผู้สมัครพรรคเล็ก ได้รับเลือกตั้งมาด้วยคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นๆ ทำให้ต้องมีการสั่งเลือกตั้งใหม่ 39 เขต โดย กกต.กำหนดให้มีการเปิดรับสมัครใหม่ 8-9 เม.ย.

21 เม.ย. 49 - กกต.มีมติเสนอให้มีการยุบพรรคพรรคพัฒนาชาติไทย

8 พ.ค. 49 - อนุกรรมการสอบข้อเท็จจริงชุด นายนาม ยิ้มแย้ม เสนอผลสรุประบุความผิด ผู้บริหาพรรคไทยรักไทยเกี่ยวข้องกับการว่าจ้างพรรคเล็กลงสมัคร และเสนอให้ กกต.แจ้งข้อกล่าวหาต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรค

29 พ.ค. 49 - นายสุเทพ เปิดภาพวงจรปิด กระทรวงกลาโหมที่ นายชวการ นายสุขสันต์ อ้างว่าเป็นวันที่ พล.อ.ธรรมรักษ์ นัดให้ไปรับเงิน

19 มิ.ย. 49 - กกต. ส่งคำร้องพร้อมหลักฐานให้อัยการพิจารณาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สั่งยุบพรรคไทยรักไทย เนื่องจากกระทำผิดมาตมาตรา 66(12) และ( 3 ) ของพ.ร.บ. พรรคการเมือง ในข้อหาจ้างพรรคการเมืองเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อหนีเกณฑ์ต้องได้คะแนนร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น

6 ก.ค. 49 - อัยการสูงสุดเสนอคำร้องยุบ 5 พรรคการเมือง ประกอบด้วย พรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคแผ่นดินไทย พรรคชีวิตที่ดีกว่า ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสั่งยุบพรรค

19 ก.ย. 49 - เกิดปฏิวัติรัฐประหาร มีการล้มรัฐธรรมนูญ 40 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ (คปค) สั่งตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน

30 พ.ย. 49 - คณะตุลาการรัฐธรรมนูญนัดอัยการสูงสุด และผู้แทน 5 พรรคการเมือง ฟังการกำหนดวิธีพิจารณาคดียุบพรรค โดยคณะตุลาการฯกำหนดให้มีการไต่สวนคดียุบพรรคโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคดี โดย พรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย อยู่ในกลุ่มคดีที่ 1ซึ่งเปิดโอกาสให้คู่กรณีนำพยานเข้าสืบรวม

16 ม.ค. 50 - ไต่สวนนัดแรก

12 เม.ย. 50 - ไต่สวนครั้งสุดท้าย

30 พ.ค. 50 - นัดฟังคำวินิจฉัยเวลา 14.30 น.


พรรคประชาธิปัตย์

24 ก.พ. 49 - พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภาฯ และกำหนดให้มีการเลือกตั้ง 2 เม.ย. 49 โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดให้มีการเปิดรับสมัครส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ วันที่ 2-3 มี.ค. และส.ส.ในระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 4-8 มี.ค.

27 ก.พ. 49 - พรรคประชาธิปัตย์-ชาติไทย-มหาชน ประกาศบอยคอต ไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง และประกาศรณรงค์ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยกากบาทในช่อง ไม่ประสงค์ลงคะแนน

15 มี.ค. 49 - ร.ต.ฉลาด วรฉัตร พร้อมพวก 100 คน บุกร้องกกต. สอบพรรคประชาธิปัตย์-ชาติไทย-มหาชน ระบุการรณรงค์ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปใช้สิทธิกากบาทในช่องไม่ประสงค์ลง คะแนน เป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย ถือเป็นความผิดตามมาตรา 66 พ.ร.บ.พรรคการเมือง

19 มี.ค. 49 - นายบุญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ หัวหน้าพรรคพัฒนาชาติไทย แจ้งความที่ สภอ. นครราชสีมา ให้ดำเนินคดีกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กับพวก ฐานหมิ่นประมาท เพราะกล่าวหาว่ารับเงินจาก พล.อ.ธรรมรักษ์ เป็นค่าจ้างในการส่งผู้สมัครและปลอมแปลงเอกสาร และระบุว่า นายสุเทพได้เดินทางไปหาที่บ้านพักย่านมีนบุรี เมื่อวันที่ 15 มี.ค พร้อมนายชวการ นายสุขสันต์ เพื่อให้ใส่ความพรรคไทยรักไทยว่าจ้างลงสมัครโดยแลกกับเงิน 15 ล้านบาท

20 มี.ค. 49 - นายวีระ มุสิกพงศ์ กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย แฉกลับพรรคประชาธิปัตย์จัดฉาก จัดหาผู้สมัครพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ลงสมัครที่จ.ตรัง แล้วป้ายผิดให้พรรคไทยรักไทย เพราะนายทักษนัย กี่สุ้น ที่เป็นผู้พาผู้ไม่มีสิทธิสมัครไปสมัครนั้นเป็นผู้ช่วย ส.ส.ของนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์

21 และ 22 มี.ค. 49 - นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ให้ทนายยื่นฟ้องนายสุเทพ ฐานหมิ่นประมาทเนื่องจากกล่าวหาว่าเข้าไปมีส่วนในการจ้างพรรคเล็กลงสมัคร

24 และ 25 มี.ค. 49 - พ.ต.อ.ศุภชัย ฟื้นพานิช ผกก.5 กองปราบปรามพร้อมตร. นำกำลังไปรับตัวนางฐัติมาที่บ้านพักของนายสุเทพ ที่ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ฯ และนางฐัติมา ได้แจ้งความดำเนินคดีนายสุเทพ ฐานกักขัง หน่วงเหนี่ยว และจ้างให้ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทยว่าว่าจ้างพรรคแผ่นดินไทยให้ส่งผู้สมัคร โดยแลกกับเงิน 1 ล้านบาท ซึ่งได้รับเงินจากนายสุเทพเบื้องต้นแล้ว 3 แสนบาท

24 มี.ค. 49 - พรรคประชาธิปัตย์ ปราศรัยใหญ่ที่ท้องสนามหลวง เสนอขอนายกพระราชทานตามาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ 2540 และถูกโจมตีจากพรรคไทยรักไทยว่า ข้อเสนอดังกล่าวถือเป็นกบฎต่อรัฐธรรมนูญ

2 เม.ย. 49 - มีการเลือกตั้งทั่วไป ปรากฎว่าหลายเขตเลือกตั้งที่ผู้สมัครพรรคไทยรักไทยเป็นผู้สมัครคนเดียวของ เขตเนื่องจากศาลฎีกาสั่งเพิกถอนสิทธิการเป็นผู้สมัครของผู้สมัครพรรคเล็ก ได้รับเลือกตั้งมาด้วยคะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นๆ ทำให้ต้องมีการสั่งเลือกตั้งใหม่ โดยกกต.กำหนดให้มีการเปิดรับสมัครใหม่

8-9 เม.ย. 49 - ในการเปิดรับสมัครใหม่ นายชาลี นพวงศ์ แกนนำกลุ่มคนรักษ์สงขลา พร้อมชาวสงขลา ชุมนุมบริเวณอาคารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตภาคใต้ ซึ่งเป็นศูนย์อำนวยการรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประจำ จ.สงขลา ทำให้ผู้สมัครพรรคการเมืองเล็กร้องว่ามีการขัดขวางการสมัคร

12 เม.ย. 49 - กกต.มีมติ สั่งดำเนินคดีอาญา นายทักษนัย กี่สุ้น และผู้สมัครพรรคประชาธิปัตยก้าวหน้า จ.ตรัง ที่ไม่สิทธิสมัครแต่ยังไปลงสมัครและเสนออัยการสูงสุดเพื่อให้พิจารณายื่นคำ ร้องยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า

9 พ.ค. 49 - นายวรรธวริทธิ์ ตันติภิรมย์ หัวหน้าพรรคชีวิตที่ดีกว่าเข้าร้องเรียน กกต.ว่า นายไทกร พลสุวรรณ แกนนำอีสานกู้ชาติไปติดต่อให้ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทยว่าจ้างลงสมัคร โดยมีหลักฐานเป็นซีดีการพูดคุยของตนเองกับนายไทกร

22 พ.ค. 49 - นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล และทีมกฎหมายพรรคไทยรักไทย เข้ายื่นหนังสือร้องต่อ กกต.ให้สอบพรรคประชาธิปัตย์กระทำผิดฐานยุบพรรค กกต.ได้ตั้งอนุกรรมการที่มีนายสุริยา ทรงวิทย์ รองอัยการจังหวัดเป็นประธานสอบสวน

14 มิ.ย. 49 - ผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ เข้าชี้แจงข้อกล่าวหาต่ออนุกรรมการสืบสวนของ กกต.ที่มีนายสุริยา ทรงวิทย์ เป็นประธาน

26 มิ.ย. 49 - กกต.ส่งคำร้องพร้อมหลักฐานเสนอไปยังอัยการสูงสุดเพื่อให้ยื่นต่อศาลรัฐ ธรรมนูญสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยชี้มูลว่ากระทำผิดมาตรา 66( 2) และ (3) ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง รวม 6 ข้อกล่าวหา 1.ร่วมมือกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยล้มล้างรัฐบาล 2.ขอนายกฯ พระราชทานตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญปี 40 40 3. บอยคอตไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง 4.รณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยลงคะแนนในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน (โนโหวต) 5.ขัดขวางการลงสมัครที่จ.สงขลา 6.จ้างพรรคการเมืองเล็กคือ พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคชีวิตที่ดีกว่า พรรคพัฒนาชาติไทยให้ลงสมัครแล้วใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย ว่าเป็นผู้จ้างให้ลงสมัคร กีดขวางการสมัครรับเลือกตั้งที่จ.สงขลา

6 ก.ค. 49 - อัยการสูงสุดเสนอคำร้องยุบ 5 พรรคการเมืองประกอบด้วย พรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคแผ่นดินไทย พรรคชีวิตที่ดีกว่า ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสั่งยุบพรรค

19 ก.ย. 49 - เกิดปฏิวัติรัฐประหาร มีการล้มรัฐธรรมนูญ 40 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ (คปค.) สั่งตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน

30 พ.ย. 49 - คณะตุลาการรัฐธรรมนูญนัดอัยการสูงสุด และผู้แทน 5 พรรคการเมือง ฟังการกำหนดวิธีพิจารณาคดียุบพรรค โดยคณะตุลาการฯกำหนดให้มีการไต่สวนคดียุบพรรคโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคดี โดย พรรคประชาธิปัตย์และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าอยู่ในกลุ่มที่ 2 ซึ่งเปิดโอกาสให้คู่กรณีนำพยานเข้าสืบรวม

18 ม.ค. 50 - ไต่สวนครั้งแรก

5 เม.ย. 50 - ไต่สวนนัดสุดท้าย

30 พ.ค. 50 - นัดฟังคำวินิจฉัย เวลา 13.30 น.

โดย ผู้จัดการ

--------------------------------------------------

ทรท.ช็อกถูกยุบ ปชป.รอด-แบนพรรคเล็ก

ปชป.โล่ง-วิ่งแก้บนม็อบเหี่ยวรวบกองเชียร์ทรท. ข้อหาปี๊บคลุมหัวล้อทหาร"ฅนวันเสาร์"โวยถูกบล็อก

ม็อบ-กอง เชียร์พรรคการเมืองในวันชี้ชะตายุบ 2 พรรคการเมืองใหญ่ไม่มากอย่างที่คิด ส่วนใหญ่จับกลุ่มรวมตัวกันอยู่ในที่ทำการพรรค บรรยากาศที่ประชาธิปัตย์คึกคักตั้งแต่เช้า มีสมาชิกพรรคมาร่วมลุ้นประมาณ 200 คน พากันเฮลั่นหลังรอดตัว ขณะที่กองเชียร์ไทยรักไทยแห่กันมากว่า 300 คน ท่ามกลางตำรวจ-ทหาร-เทศกิจตรึงกำลังเกือบ 200 นาย ปักหลักรอฟังคำวินิจฉัยจนถึงนาทีสุดท้าย หวิดวุ่น มีผู้ชายเอาปี๊บคลุมหัวเขียนข้อความด่าเผด็จการไปร่วมเชียร์ ตำรวจต้องกันตัวออกไปก่อนจะบานปลาย ส่วนการชุมนุมที่สนามหลวงของกลุ่มคนวันเสาร์ฯ มีประปราย ส่วนใหญ่ไปรอรับจตุคามฯ รุ่น 1 บาท ปราบกบฏ

-ตร.-ทหารตรึงศาลรธน.ตั้งแต่ตี 5

เมื่อ วันที่ 30 พ.ค.วันประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่ตุลาการรัฐธรรมนูญจะมีคำพิพากษาคดียุบพรรคการเมืองขนาดใหญ่คือพรรคไทยรัก ไทย พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคขนาดเล็กประกอบด้วย พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าในช่วงบ่ายวันเดียวกันนี้

ผู้ สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญว่า ตั้งแต่เวลา 05.00 น.เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลและตำรวจสรรพาวุธกว่า 300 นาย กระจายกำลังเข้ารักษาความปลอดภัยภายในพื้นที่สำนักงานศาลฯ ติดตั้งเครื่องตรวจวัตถุระเบิดจำนวน 2 เครื่องในจุดผ่านเข้า-ออก รวมทั้งมีสุนัขตำรวจเดินตรวจวัตถุระเบิดภายในสำนักงาน ส่วนบริเวณรอบศาลที่เป็นทางเดินของตุลาการ ได้ประกาศเป็นเขตหวงห้าม ปิดกั้นไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องผ่านเด็ดขาด โดยมีสื่อมวลชนไทยและต่างประเทศนับร้อยคนมาปักหลักรอทำข่าว ซึ่งได้จัดบัตรอนุญาตให้ผู้เกี่ยวข้องและสื่อมวลชนที่ลงทะเบียนเข้ามาภายใน สำนักงานได้เพียง 700 คนเท่านั้น

สำหรับภายนอกสำนักงานศาลฯ มีเจ้าหน้าที่สนธิกำลังระหว่างตำรวจและทหาร ทั้งในและนอกเครื่องแบบคอยดูแลความปลอดภัย โดยเจ้าหน้าที่ตั้งรั้วเหล็กกันบริเวณถนนทั้ง 2 ด้านไม่ให้ประชาชนเดินข้ามไปมาและเปิดเครื่องกระจายเสียงประชาสัมพันธ์ของบ ช.น. ขอให้ประชาชนทุกคนอยู่ในความสงบและรับฟังคำวินิจฉัยของคณะตุลาการฯ และยังตรวจค้นประชาชนที่เดินสัญจรไปมาอย่างเข้มงวด ส่วนหน่วยข่าวนอกเครื่องแบบได้ติดริบบิ้นเหลืองบนอกเสื้อด้านขวาเพื่อ ป้องกันความสับสน และเจ้าหน้าที่วางกำลังเสริมส่วนหนึ่งไว้ที่การไฟฟ้าวัดเลียบ บริเวณใต้สะพานพุทธ และวัดซิกซ์ ส่วนทหารวางกำลังเสริมไว้ที่วัดบพิตรภิมุข และกรมการข่าว ถนนพระอาทิตย์

-น.ศ.รามมอบเทียนไขตุลาการ

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ยังได้วางกำลังตำรวจ ทหารไว้โดยรอบตามแยกต่างๆ ตั้งแต่แยกบ้านหม้อ เชิงสะพานพระปกเกล้า บริเวณหน้าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จนถึงบริเวณหน้าสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตบพิตรภิมุข เพื่อป้องกันกลุ่มมวลชนที่ไม่เกี่ยวข้องเดินทางมายังศาลรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันบริเวณท่าเรือสะพานพุทธ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีเรือตำรวจน้ำ 1 ลำ พร้อมเรือยางขนาดเล็กอีก 1 ลำ ลอยลำอยู่เพื่อรอรับเหตุฉุกเฉินจะได้นำคณะตุลาการรัฐธรรมนูญออกจากสำนักงาน ศาล

เมื่อเวลา 06.30 น. ที่หน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ มีตัวแทนกลุ่มแสงสว่างเพื่อประชาธิปไตย นำโดยนายสมคิด หอมเนตร นายอภิวัฒน์ บุญชาติ นายเจษฎา เทพเลื่อน ตัวแทนภาคประชาชนจากจังหวัดภาคใต้ และนายอุทัย ยอดมณี เลขานุการกลุ่มนักศึกษารามคำแหง กว่า 20 คน นำเทียนไขมายื่นให้ตุลาการรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ขอให้พิจารณาคดียุบพรรคตามเหตุผลและข้อเท็จจริง ที่สามารถชี้แจงต่อประชาชนได้อย่างชัดเจน ปราศจากการชี้นำจากคณะบุคคลหรือฝ่ายการเมือง

-ผบช.น.สั่งอารักขาจุดล่อแหลม

จาก นั้นเวลา 08.30 น. คณะตุลาการรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ได้เดินทางจากศาลฎีกามายังศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยรถตู้จำนวน 6 คัน พร้อมรถนำของตำรวจนครบาล โดยมีพล.ต.ท.อดิศร นนทรีย์ ผบช.น.ร่วมคณะมาด้วย ซึ่งรถของคณะตุลาการได้วิ่งเข้าไปเทียบบริเวณจุดหวงห้ามทันที

พล.ต.ท .อดิศร กล่าวว่า ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลได้วางกำลังตรวจตราในพื้นที่ที่ล่อแหลม ไม่ว่าจะเป็นบริเวณรอบศาล สนามหลวง บ้านพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ รอบพระบรมมหาราชวัง และที่ทำการพรรคทั้ง 2 พรรค โดยตั้งด่านตรวจซึ่งถึงขณะนี้ทุกอย่างยังอยู่ในเหตุการณ์ปกติ สำหรับคำวินิจฉัยคดียุบพรรคนี้ หากมีคำวินิจฉัยยุบพรรคจริง ทางบช.น.คงต้องปรับแผนรักษาความปลอดภัยกันอีกในช่วงเย็นนี้ตามสถานการณ์ หากไม่มีการยุบพรรคก็จะรักษาสถานการณ์อีกเพียง 2-3 วันเท่านั้น

-ม็อบรอแจกจตุคามรุ่นปราบกบฏ

เมื่อ เวลา 11.00 น. บรรยากาศที่ท้องสนามหลวงฝั่งพระบรมมหาราชวัง มีประชาชนจำนวน 500 คนมายืนรอกลุ่มฅนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ ซึ่งนัดจะแจกจตุคามรามเทพ รุ่น 1 บาทปราบกบฏ ส่วนใหญ่มีบัตรคิวที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค. แต่มีประชาชนอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่มีบัตรคิวแต่มารอรับด้วยเช่นกัน ส่วนมากเป็นคนที่ทำงานอยู่ในกทม. มีเพียงบางส่วนที่มาจากต่างจังหวัด โดยบอกว่าเมื่อได้รับจตุคามฯ แล้วจะกลับบ้านทันที เพราะเกรงจะเกิดเหตุการณ์รุนแรง

แกนนำกลุ่มฅนวันเสาร์ฯ กล่าวว่า เดิมกำหนดแจกจตุคามฯ ในเวลา 11.00 น. แต่อาจต้องเลื่อนออกไป เนื่องจากเวลา 06.00 น. มีทหารจำนวนหนึ่งได้บุกเข้าไปปิดกั้นบ้านพักในซอยบางบอน 66/7 ซึ่งเป็นสถานที่ผลิตและเก็บจตุคามฯ ไม่ให้นำออกมาแจกตามกำหนดเดิม บ้านหลังดังกล่าวมีแนวร่วมของกลุ่มฅนวันเสาร์ฯ พยายามเจรจากับกลุ่มทหารอยู่ หากเหตุการณ์เลยมาถึงเวลา 14.00 น. ทหารไม่ปล่อยรถบรรทุกจตุคามฯออกมา แนวร่วมที่อยู่สนามหลวงจะเคลื่อนขบวนประชาชนที่มารอรับไปที่บ้านพักที่ถูก ทหารปิดทันที

-แจกจตุคามไป-ด่าคมช.ไปด้วย

ต่อมาเวลา 14.00 น. กลุ่มฅนวันเสาร์ฯ ได้เปิดให้ประชาชนที่มารอรับจตุคามฯประมาณ 1,000 คนเข้ารับจตุคามฯโดยให้เฉพาะที่มีใบจองเท่านั้น โดยให้เข้าแถวรับครั้งละ 200 คน และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยตรวจอาวุธอย่างเข้มงวด โดยเมื่อผ่านรั้วกั้นเข้ามาแล้วจะเข้าไปรับริมรั้วชั้นที่ 2 ซึ่งห่างกันประมาณ 500 เมตร โดยตั้งจุดแจกจตุคามฯ 3 จุด โดย 2 จุดแรกสำหรับผู้มีใบจองและจุดที่ 3 สำหรับผู้จองทางอินเตอร์เน็ต โดยรับได้เพียง 1 องค์ต่อ 1 คน ใครมีใบจองเกิน 1 ใบให้มารับใหม่ในวันต่อไป นอกจากนี้ยังตั้งกล่องรับบริจาคเงินเช่าจตุคามฯ ขั้นต่ำไว้ที่องค์ละ 1 บาท และเมื่อผู้มีใบจองรับเรียบร้อยแล้วได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้ารับจตุคามฯ ได้ คาดว่าจะเสร็จเวลา 18.00 น. ทั้งนี้ กลุ่มฅนวันเสาร์ฯ ได้เรียกร้องให้นำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาใช้ในการเลือกตั้งและย้ำว่าการชุมนุมครั้งนี้เพื่อต่อต้านเผด็จการเท่า นั้น ไม่เกี่ยวกับการกดดันการพิจารณาคดียุบพรรค ซึ่งระหว่างการแจกจตุคามฯ แกนนำกลุ่มฅนวันเสาร์ได้ผลัดเปลี่ยนกันปราศรัยโจมตีคมช.

เวลา 17.20 น.กลุ่มฅนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ นำรถกระจายเสียงตั้งเวทีแจกจตุคามรามเทพองค์ละ 1 บาท รุ่นปราบกบฏ โดยมีกลุ่มฅนวันเสาร์ได้จัดระเบียบให้กับประชาชนที่ทยอยกันเข้ามารับแจก โดยการให้นำบัตรประชาชนมายื่นแสดงก่อนรับบัตรคิวเพื่อเดินทางแถวเข้าใน เต็นท์รับจตุคามฯ ซึ่งมีประชาชนประมาณ 500 คน แห่ต่อแถวรับแจกพระจตุคามฯด้านใน โดยกลุ่มฅนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการได้กล่าวโจมตีการทำงานของรัฐบาลและคมช .อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีประชาชนให้ความสนใจนั่งฟังประมาณ 100 คน บางส่วนที่ได้รับจตุคามฯแล้วก็เดินออกไปเลย ส่วนโดยรอบสนามหลวงมีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกว่า 300 นายคอยตรวจตรารักษาความปลอดภัยซึ่งรอบๆสนามหลวงได้มีวัดต่างๆ ทั่วประเทศจัดงานวันวิสาขบูชา

-ตัดสัญญาณมือถือตั้งแต่เที่ยง

เมื่อ เวลา 11.00 น. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้ตรวจสอบการทำงานของเครื่องตรวจจับโลหะบริเวณ ทางขึ้นบันไดไปสู่ห้องพิจารณาคดี ซึ่งปรากฏว่าไม่ทำงาน จึงประสานขอเครื่องสำรองจากบริษัทให้นำเครื่องมาเปลี่ยน เพราะถือเป็นจุดสำคัญที่จะต้องตรวจหาอาวุธเป็นขั้นสุดท้ายก่อนเข้าสู่ห้อง อ่านคำวินิจฉัย และได้เครื่องใหม่มาติดตั้งได้ทันก่อนที่แกนนำพรรค 5 พรรค จะเดินทางมาถึงสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

กระทั่งเวลา 12.00 น. แกนนำพรรคที่คณะตุลาการจะมีคำวินิจฉัยต่างก็ทยอยเดินทางมา เริ่มจากนายบุญญาบารมีพล ชินราช หัวหน้าพรรคแผ่นดินไทยและคณะ, พรรคประชาธิปัตย์ ได้แก่นายชวน หลีกภัย หัวหน้าทีมต่อสู้คดียุบพรรค นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค นายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองประธานสภาที่ปรึกษาพรรค นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน รองหัวหน้าพรรค นายถาวร เสนเนียม นายเจือ ราชสีห์ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ สมาชิกพรรค, พรรคไทยรักไทย ได้แก่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรค นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล และทีมงาน 30 คน และนายบุญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ หัวหน้าพรรคพัฒนาชาติไทย และคณะ ส่วนพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าไม่ได้เดินทางมาร่วมฟังคำวินิจฉัย ขณะที่อัยการสูงสุดเดินทางมาถึงด้วยเช่นกัน นำโดยนายอรรถพล ใหญ่สว่าง โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ในฐานะหัวหน้าทีมคดียุบพรรค ในฐานะผู้ร้อง ทั้งนี้ ทางสำนักงานกำหนดให้รถยนต์ของคู่กรณีเข้ามาบริเวณถนนหน้าสำนักงานเท่านั้น โดยคู่กรณีจะต้องเดินเข้ามาภายในสำนักงาน และผ่านเครื่องตรวจระเบิดตามปกติ ขณะเดียวกันทางสำนักงานได้เริ่มมีการตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือแล้ว

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณด้านหน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีประชาชนที่สนใจทยอยมายืนสังเกตการณ์อยู่บริเวณ ถ.จักรเพชร ทั้ง 2 ฝั่ง อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ได้ปิดประตูรั้วด้านหน้าหลังที่คู่กรณีเดินทางเข้ามายังสำนักงาน เรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาภายในบริเวณสำนักงาน

-"แอ้ด"เดินสายเยี่ยมหน่วยข่าว

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.สุรยุทธ์ ได้ใช้เวลาในช่วงบ่ายนั่งฟังคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญที่ห้องทำงาน บนตึกไทยคู่ฟ้า เพียงลำพัง ส่วนด้านนอกห้อง มีเจ้าหน้าที่คอยดูจอมอนิเตอร์ความเคลื่อนไหวจากทุกจุด เวลา 15.30 น. พล.อ.สุรยุทธ์เดินทางไปตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรอง แห่งชาติ (สนข.) โดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า และยังตรวจดูความเคลื่อนไหวต่างๆ จากเจ้าหน้าที่ที่มอนิเตอร์ โดยใช้เวลา 15 นาที ก่อนเดินทางมายังสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เพื่อตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่เช่นกัน โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที เวลา 17.00 น. จึงเดินทางไปพักผ่อนที่บ้านพระราม 6

พล.อ.สุรยุทธ์ เปิดเผยว่า ตนได้ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำงานตรากตรำ ขณะนี้ไม่มีความเคลื่อนไหวอะไรที่จะทำให้เกิดปัญหา ทุกคนยังอยู่ในสถานที่ที่เหมาะที่ควร แต่เจ้าหน้าที่ทั้งสมช. และสนข.ก็ต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด สำหรับตนและประธานคมช.คงยังไม่มีการหารือกันในช่วงนี้

เมื่อถามว่าจน ถึงขณะนี้วางใจได้หรือไม่ว่าจะไม่เกิดเหตุรุนแรง นายกฯ กล่าวว่า เท่าที่ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ทั้ง 2 หน่วยงาน คิดว่าไม่น่าจะมีอะไรรุนแรง ในต่างจังหวัดเองตนก็ได้พูดคุยกับผู้ว่าฯ ทางภาคเหนือและอีสาน ผ่านระบบเทเลคอนเฟอเรนซ์พบว่าไม่มีเหตุการณ์อะไร ทุกจังหวัดได้ติดตามสถานการณ์กันอยู่ไม่มีความเคลื่อนไหวอะไรที่จะทำให้เกิด ปัญหาขึ้น

ทางด้านนายประกิจ ประจนปัจจนึก เลขาธิการสมช. กล่าวว่า เท่าที่ติดตามและประเมินสถานการณ์คิดว่า ไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นทั้งในวันที่ 30 และ 31 พ.ค. ส่วนในต่างจังหวัดบรรยากาศส่วนใหญ่ก็เงียบ ตนอยากเรียกร้องให้ทุกคนพิจารณาตามครรลองและกฎกติกาของสังคมและใช้สติ การแสดงออกหลังคำวินิจฉัยนั้นสามารถทำได้แต่ต้องไม่ใช้ความรุนแรง ในส่วนของสมช.เจ้าหน้าที่คงต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง จนถึงวันที่ 31 พ.ค.

-ทรท.-ปชป.สักการะ"พระรูปร.7"

เมื่อ เวลา 08.00 น. ที่รัฐสภา กระทรวง ทบวง กรม สถานศึกษาและหน่วยงานต่างๆ นำพวงมาลามาสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในโอกาสครบรอบวันสวรรคต ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค และนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค พรรคไทยรักไทย นำโดยนายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ทีมกฎหมายของพรรค ที่รอผลการพิจารณายุบพรรคในวันเดียวกันนี้ เป็นตัวแทนพรรคมาร่วมวางพวงมาลา ส่วนพรรคชาติไทยนำโดยนายนิกร จำนง ผอ.พรรค และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ รองเลขาธิการพรรค ทั้งคู่ได้เข้าไปอวยพรแกนนำทั้ง 2 พรรคใหญ่ว่า ขอให้โชคดีกับการตัดสินคดียุบพรรค

สำหรับบรรยากาศ ณ ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ช่วงเช้าเป็นไปอย่างคึกคัก สมาชิกพรรคทยอยมาตั้งแต่ 06.00 น. เพื่อเตรียมความพร้อมด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส นายอภิสิทธิ์ ถึงที่ทำการพรรคในเวลา 07.30 น. ก่อนนำทีมไปสักการะพระบรมอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 7 และเดินทางกลับเข้าพรรค ขณะที่แกนนำพรรคได้สลับกันพูดคุยกับอดีตส.ส.พรรค เพื่อให้กำลังใจและเชื่อมั่นว่าพรรคจะไม่ถูกยุบและขอให้ทุกคนอย่าทำอะไรที่ ก่อให้เกิดความรุนแรง ก่อนที่นายอภิสิทธิ์ จะทำทีมเดินทางไปยังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเพื่อฟังคำวินิจฉัยในเวลา 12.00 น.

ขณะที่สื่อมวลชนทุกแขนงยังคงปักหลักรายงานความเคลื่อนไหว มีเจ้าหน้าที่ตำรวจของสน.บางซื่อ และเทศกิจ มาคอยดูแลความสงบเรียบร้อย พรรคได้เตรียมจัดสถานที่มีการติดตั้งจอโปรเจ็กเตอร์ขนาด 200 นิ้ว ไว้ให้ประชาชนและผู้ที่มาร่วมติดตามสถานการณ์ดูการถ่ายทอดคำวินิจฉัยในคดี ยุบพรรค พร้อมติดตั้งทีวีพาสม่า 4 เครื่อง ด้านหน้าพระแม่ธรณีบีบมวยผมเพื่อติดตามการรายงานของคดีจากทุกช่อง

ส่วน การรักษาความปลอดภัย มีตำรวจ-ทหาร มาคอยรักษาความปลอดภัยกว่า 100 คน มีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจล 150 คน ไว้รองรับสถานการณ์รุนแรง โดยเตรียมพร้อมอยู่ที่กระทรวงการคลัง ซึ่งสามารถเดินทางมายังพรรคประชาธิปัตย์ได้ภายใน 5 นาที

-สมาชิกปชป.แห่มาลุ้น-เฮลั่นไม่ยุบ

บรรยากาศ ในช่วงบ่าย ตั้งแต่เวลา 13.30 น. ที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้เริ่มอ่านคำวินิจฉัย มีกรรมการบริหารพรรค อดีตส.ส. และสมาชิกพรรค 200 กว่าคน มารวมตัวกันที่บริเวณลานพระแม่ธรณีบีบมวยผม เพื่อรับฟังการอ่านคำวินิจฉัยผ่านจอโปรเจ็กเตอร์ขนาดใหญ่และโทรทัศน์จอแอลซี ดีที่พรรคจัดเตรียมไว้ โดยหลายคนมีสีหน้าเคร่งเครียดอย่างเห็นได้ชัดในการลุ้นผลการวินิจฉัยคดีนี้ และระหว่างการรับฟังการอ่านคำวินิจฉัยคดีเมื่อมีประโยคใดถูกใจ สมาชิกพรรคก็จะส่งเสียงเฮและปรบมือแสดงความดีใจเป็นระยะๆ ส่วนบุคคลที่เดินทางผ่านไปมาด้านหน้าที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความสนใจรับฟังคดีด้วยเช่นกัน

เวลา 17.30 น. เมื่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ถูกยุบพรรค สมาชิกพรรคที่มาติดตามผลการตัดสินคดีได้ส่งเสียงเฮและปรบมือ แต่ไม่แสดงอาการดีใจจนออกนอกหน้า เนื่องจากนายอภิสิทธิ์กำชับว่า ไม่ให้แสดงอาการดีใจมากเกินเหตุ และเมื่อตุลาการรัฐธรรมนูญได้อ่านสรุปคำวินิจฉัยในแต่ละข้อ บรรดาสมาชิกพรรคและผู้สนับสนุนพรรคต่างชูมือโห่ร้องแสดงความยินดี พร้อมกับตะโกนว่า "ไม่ยุบแล้ว" และ "ประชาธิปัตย์สู้ๆ" และหลังตุลาการรัฐธรรมนูญประกาศยกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้มีผู้สนับสนุนทยอยเข้ามาจำนวนมาก

-"เติ้ง"เตรียมส่งสารยินดีกับปชป.

เมื่อ เวลา 13.00 น. นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยเดินทางเข้าที่ทำการพรรค เพื่อติดตามชมการถ่ายทอดสดการพิจารณาวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญทางสถานี โทรทัศน์ โดยมีแกนนำของพรรคเดินทางเข้ามาร่วมชมด้วย อาทิ นายวีรศักดิ์ โควสุรัตน์ นายนิกร จำนง นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล นายอนุรักษ์ จุรีมาศ นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ น.ส.จณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ นางปวีณา หงสกุล นายวราวุธ ศิลปอาชา

เวลา 17.45 น. นายบรรหารให้สัมภาษณ์หลังตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยไม่ยุบพรรคประชาธิ ปัตย์ว่า ตนฟังคำวินิจฉัยมาด้วยใจตุ๊มๆ ต่อมๆ หวาดหวั่นแทนพรรคประชาธิปัตย์ และเมื่อฟังแล้วทราบว่า พรรคประชาธิปัตย์หลุดทั้ง 4 ข้อกล่าวหาแล้วก็รู้สึกยินดีด้วย ถือว่าได้ทำการบ้านมาเป็นอย่างดี สามารถหักล้างข้อกล่าวหาได้ทั้งหมด ขณะที่ตุลาการัฐธรรมนูญก็วินิจฉัยด้วยความยุติธรรมและเป็นกลาง พรรคชาติไทยในฐานะพรรคการเมืองด้วยกันก็ขอแสดงความยินดีกับหัวหน้าพรรคประชา ธิปัตย์และกรรมการบริหารพรรค

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบรรยากาศพรรคชาติไทยในระหว่างที่รอฟังคำวินิจฉัยคดีของพรรคไทยรักไทย นายบรรหารได้สั่งโต๊ะจีนจากร้านอาหารสมบูรณ์โภชนา ย่านเจริญผล มาเลี้ยงบรรดาลูกพรรค ถึงที่ทำการ จำนวน 6 โต๊ะ โดยก่อนหน้านี้นายบรรหารได้นัดแนะกับลูกพรรคเพื่อไปร่วมกันรับประทานอาหาร เย็นที่ร้านอาหารสมบูรณ์โภชนาอยู่ก่อนแล้ว จองไว้ 2 โต๊ะ แต่เมื่อการวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญใช้เกินกว่าที่คาดไว้ จึงเปลี่ยนจากการไปนั่งรับประทานที่ร้านมาเป็นที่ทำการพรรคชาติไทยแทน

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่านายบรรหารได้สั่งให้แกนนำพรรคชาติไทยร่างหนังสืออย่างเป็น ทางการในนามพรรคชาติไทย เพื่อแสดงความยินดีกับพรรคประชาธิปัตย์ และเตรียมจัดส่งพร้อมช่อดอกไม้ โดยมอบให้นายสมศักดิ์และนายนิกรเป็นผู้นำไปมอบในวันที่ 1 มิ.ย. นี้

-คมช.รายงานแผน-รับมือม็อบ

สำหรับ ความเคลื่อนไหวของคมช. กองทัพได้ส่งกรมยุทธการทหารบก เจ้าหน้าที่ฝ่ายตำรวจ ฝ่ายความมั่นคง เข้ารายงานสถานการณ์และขั้นตอนการปฏิบัติตามแผนพิทักษ์ 1 ต่อพล.อ.สุรยุทธ์ เพื่อประเมินสถานการณ์ ทุกฝ่ายประเมินตรงกันว่าสถานการณ์ไม่น่ามีความรุนแรง และสามารถควบคุมได้ เพราะฝ่ายความมั่นคงได้สกัดกลุ่มมวลชนจากภูมิภาคที่จะเดินทางเข้ามาชุมนุมใน พื้นที่กทม.ได้อย่างได้ผล หากสถานการณ์ลุกลามจนควบคุมไม่ได้ ก็มีความพร้อมประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉินพ.ศ.2548 ทันที ซึ่งเป็นอำนาจของนายกฯ

ภายหลังรายงาน สถานการณ์ต่อพล.อ.สุรยุทธ์แล้ว ช่วงบ่ายพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. และประธานคมช. เดินทางกลับเข้ากองบัญชาการกองทัพบก(บก.ทบ.) เพื่อติดตามสถานการณ์จากศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านข่าวและยุทธการ ทำหน้าที่รับข้อมูลจากฝ่ายต่างๆ และประเมินสถานการณ์เป็นประจำทุกวัน

-สั่งจับตาวันชุมนุมใหญ่ม็อบพีทีวี

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า คมช.ประเมินสถานการณ์ว่าควรต้องจับตาเป็นพิเศษในช่วง 1-2 วันนี้ เพราะมีความต่อเนื่องคือในวันที่ 31 พ.ค. จะมีการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพีทีวีซึ่งต่อเนื่องจากวันที่มีการตัดสินคดียุบ พรรค อาจมีฝ่ายไม่หวังดีออกมาผสมโรง โดยอ้างว่าได้รับรายงานขณะนี้มีกลุ่มคนบางกลุ่มได้รับการจัดตั้งมา 200-300 คน แตกต่างจากประชาชนที่ชุมนุมโดยทั่วไป คนเหล่านี้มีจุดประสงค์ชัดเจนต้องการยั่วยุให้เกิดความรุนแรง เรียกว่า "กลุ่มฮาร์ดคอร์" ฝ่ายความมั่นคงกังวลว่าคนเหล่านี้จะออกเคลื่อนไหวสร้างความวุ่นวายตามที่ ต่างๆ อาทิ ลอบวางเพลิง วางระเบิด ทำลายสถานที่สำคัญ อาทิ หน่วยราชการ เพื่อปลุกกระแสความรุนแรงให้เกิดขึ้น ให้เจ้าหน้าที่เข้าระงับเหตุเหมือนเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

นอกจากนี้ ยังพบว่ากลุ่มคนดังกล่าวจะเข้าแฝงไปกับผู้ชุมนุม โดยจะทำหน้าที่นำการด่าทอด้วยถ้อยคำรุนแรงเพื่อให้สถานการณ์ร้อนแรงยิ่งขึ้น ก่อนหน้านี้ทางการข่าวทราบมาว่า กลุ่มดังกล่าวได้หารือกันอย่างลับๆ ที่โรงแรมแห่งหนึ่งย่านประดิพัทธ์ โดยมีผู้มีอำนาจในอดีตคอยสนับสนุน ขณะนี้ฝ่ายความมั่นคงกำลังติดตามคนเหล่านี้อย่างใกล้ชิด

รายงาน ข่าวจากกอ.รมน. เปิดเผยว่า กอ.รมน.ได้ตั้งวอร์รูมเพื่อประเมินติดตามสถานการณ์โดยเฉพาะ โดยจัดให้มีการประชุมประเมินสถานการณ์เป็นประจำทุกวัน ในเวลา 09.00 น. โดยวันที่ 30 พ.ค. พล.อ.มนตรี สังขทรัพย์ เสนาธิการทหารบก ในฐานะเลขาธิการกอ.รมน. เป็นประธานการประชุมประเมินสถานการณ์

-ผบ.ทร.มั่นใจไม่มีเหตุรุนแรง

ที่ กองทัพเรือ พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผบ.ทร.และสมาชิกคมช. ให้สัมภาษณ์ถึงการดูแลความสงบเรียบร้อย ว่าอยากบอกประชาชน ถ้าอยากให้เกิดความสมานฉันท์ในประเทศตามที่ทุกคนพูดกัน จะต้องปฏิบัติด้วยโดยเคารพกฎกติกา การตัดสินของตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นระบบที่ถูกต้องที่สุดและมีกฎหมายบังคับ ทุกอย่าง ฉะนั้นทุกคนต้องเคารพตรงนี้ ทุกคนต้องปฏิบัติก็คืออยู่ในสถานที่ตัวเองปฏิบัติงานหรืออยู่ในบ้านพักของ ตัวเอง อย่าออกมาทำอะไรที่ไม่สมควร หรือเปิดโอกาสให้บุคคลที่ไม่หวังดีสวมรอยได้

เมื่อถามว่าหลังจาก ตัดสินคดียุบพรรคแล้วคมช.จะหารือเพื่อเตรียมมาตรการรองรับอย่างไรบ้างหาก เกิดเหตุการณ์รุนแรง พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ กล่าวว่า เราพูดคุยกันแล้ว ประชาชนมีความเข้าใจว่าประเทศชาติต้องการอะไร ฉะนั้นเราเชื่อว่าไม่น่าจะมีเหตุการณ์รุนแรง จากนี้ไปถ้าทุกคนต้องการความรัก ความสามัคคีและความสมานฉันท์ก็ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามจังหวะที่เขากำหนด ไว้ คือมีรัฐธรรมนูญและกำหนดวันเลือกตั้ง

เมื่อถามว่ากังวลหรือไม่ หากมีเหตุการณ์รุนแรงจะทำให้การเลือกตั้งถอยหลังออกไป พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ กล่าวว่า เราไม่มองตรงนั้น เพราะเรามองว่าเหตุการณ์ไม่น่าจะรุนแรง การออกมาชุมนุมต่อต้านหรือประท้วงมันไม่ได้เกิดประโยชน์ เมื่อถามว่าคมช.สามารถควบคุมสถานการณ์ที่เป็นอยู่ได้หรือไม่ พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ กล่าวว่า ได้ เพราะถึงเชื่อว่าไม่มีเหตุการณ์รุนแรง แต่เราก็ระวังเตรียมการอยู่แล้ว

-"สพรั่ง"ไม่ยืนยันไม่มีปฏิวัติซ้อน

ด้าน พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ผช.ผบ.ทบ.และผช.เลขาธิการคมช. ให้สัมภาษณ์ว่า คมช.ไม่ได้หนักใจ เป็นการเตรียมการในระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องปรามไม่ให้คู่ต่อสู้รู้สึกลำพองใจคิดว่าฝ่ายเราปล่อยปละละเลยไม่ สนใจในกิจกรรมของการบ่อนทำลาย ให้รู้ว่าอดทนมาหลายเดือนแล้วประชาชนทั่วประเทศก็รำคาญฝ่ายโน้นมาก และยังมารำคาญฝ่ายเราอีก ขอให้รู้ไว้ว่าต้องชัดเจน เราไม่ได้หมายความว่าต้องใช้การคุกคาม แต่เขายั่วยุพยายามสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นกับกลุ่มของเขา เช่น กลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ หรือกลุ่มอื่นๆ ที่มีชื่อหลากหลาย แต่ความจริงเป็นกลุ่มเดียวกัน ตั้งชื่อให้มากกลุ่มมากพวก แต่มาจากกลุ่มเดียวกัน

เมื่อถามว่าเมื่อวันที่ 29 พ.ค.มีข่าวลือมากเรื่องปฏิวัติ พล.อ.สพรั่ง กล่าวว่า ข่าวลือก็คือข่าวลือ เมื่อถามว่ายืนยันได้หรือไม่ว่าจะไม่มีการปฏิวัติเกิดขึ้น พล.อ.สพรั่ง ย้อนถามว่า ยืนยันแบบไหน ยืนยันไม่ใช่การให้คำมั่นสัญญา ยืนยันก็คือไม่มี เมื่อถามว่าดูการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมที่จะไปยังศาลรัฐธรรมนูญ มีจำนวนมากขนาดไหน พล.อ.สพรั่ง กล่าวว่า จำนวนคนไม่ใช่สาระสำคัญ สำคัญคือเจตนาคนไทยหรือคนที่มีความสนใจรักพวกรักพ้องคนไปดูได้ในพื้นที่จัด เตรียมเอาไว้ให้ คิดว่าการจัดคนไปให้กำลังใจกัน เขาคงจัดคนที่ไปสะดวกมาสะดวก และพื้นที่รองรับไม่ได้มาก อย่าไปสนใจเรื่องจำนวน แต่เรื่องการเคลื่อนไหว ถ้ามีเบื้องหลังนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เราอย่าเพิ่งไปตื่นตูม

เมื่อ ถามว่าในวันนี้จะมีการปะทะกันหรือไม่ พล.อ.สพรั่ง กล่าวว่า ถ้าตนทำนายได้สงสัยคงไม่ต้องมาเป็นทหารแล้ว เมื่อถามว่าจะมีการยุบพรรคหรือไม่ พล.อ.สพรั่ง กล่าวว่า "โอ้โฮ...ในใจคิดอะไรไว้ก็ลองดู ถ้าทายแม่นทุกครั้งจะลาออกแล้วไปเป็นหมอดู"

-ทรท.คึกคัก-ทัพตร.ทหารตรึง

ผู้ สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของพรรคไทยรักไทย อาคารนวสร ถ.พระราม 3 ช่วงเช้าบรรยากาศคึกคักเช่นกัน โดยแกนนำพรรค คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย อดีตรัฐมนตรี รวมถึงอดีตส.ส.ของพรรคทั้งในกทม.และต่างจังหวัด อาทิ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา นายปองพล อดิเรกสาร นายสุธรรม แสงประทุม นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี และนายวิชิต ปลั่งศรีสกุล เดินทางมายังที่ทำการพรรคโดยพร้อมเพรียง พรรคได้จัดเตรียมสถานที่พร้อมอาหารน้ำดื่มไว้รองรับผู้มาให้กำลังใจ รวมถึงตั้งเวทีปราศรัยขนาดเล็กและจอมอนิเตอร์ไว้รอบตัวอาคาร เพื่อร่วมรับชมการรายงานข่าวความคืบหน้าในคดียุบพรรค สมาชิกพรรคกว่า 300 คนทยอยมาที่พรรคอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสื่อมวลชนจำนวนมาก เดินทางมารายงานสถานการณ์จนต้องปิดเส้นทางการจราจร 1 ช่องทาง เพื่อรองรับรถถ่ายทอดสดของสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง และรถข่าวของสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ

เรียกคน - ประชาชน แห่ไปรับจตุคามรามเทพ รุ่นปราบกบฏ ซึ่งกลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ มาตั้งเวทีขายให้ราคาองค์ละแค่ 1 บาท พร้อมกับตั้งเวทีปราศรัยโจมตีรัฐบาลและคมช.อย่างต่อเนื่อง ที่สนามหลวง เมื่อ 30 พ.ค.

การรักษา ความปลอดภัย มีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสน.วัดพระยาไกร 150 นาย ทหารจากพล.ม.2 จำนวน 20 นาย และเจ้าหน้าที่เทศกิจ 50 นาย ประจำใน 3 จุด คือ บริเวณหน้าปั๊มน้ำมันฝั่งตรงข้ามที่ทำการพรรค บริเวณหน้าลุมพินี เพลส และบริเวณด้านหน้าพรรคไทยรักไทยตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 06.00 น. พร้อมทั้งเตรียมกำลังเสริมกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทั้งตำรวจและเทศกิจอีกกว่า 200 นาย กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติการพิเศษ กองกำกับการเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิดคอยตรวจตราวัตถุต้องสงสัยและ ดูแลความปลอดภัยในพรรค

ด้านหน้าที่ทำการพรรคมีการตั้งเวทีปราศรัยให้ อดีตส.ส.สลับกันขึ้นปราศรัยบนเวที อาทิ นายสุธรรม แสงประทุม ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง นายอดิศร เพียงเกษ ส่วนใหญ่โจมตีการทำงานของคมช.และโชว์ผลงานประชานิยมของพรรคไทยรักไทยตลอด 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีประชาชนทั้งวินมอเตอร์ไซค์และชาวบ้านที่อยู่ใกล้พรรคเดินทางมานั่งฟัง และให้กำลังใจ

-"อ๋อย"พร้อมทำตามวิถีทางปชต.

เมื่อเวลา 10.00 น. นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรค เดินทางมาถึงที่ทำการพรรคโดยมีกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคกว่า 300 คน รอต้อนรับพร้อมนำช่อดอกไม้ให้กำลังใจ

นางนาตยา ไทยสุริโย อายุ 73 ปี ชาวบ้านจากจ.สมุทรปราการ นำจตุคามรามเทพรุ่นมงคลมหาเศรษฐี รวยรวยรวยไม่มีวันจน หลวงพ่อจำเนียร วัดถ้ำเสือ จ.กระบี่ มามอบให้พร้อมอวยพรไม่ให้แพ้คดี น่าสังเกตว่าอดีตส.ส.ของพรรคหลายคนแขวนจตุคามฯมาด้วย นายธีระชัย แสนแก้ว อดีตส.ส.อุดรธานี โชว์จตุคามฯที่แขวนคอพร้อมกล่าวว่า วันนี้หวังพึ่งจาตุรนต์ แต่ถ้าพึ่งไม่ได้ก็ต้องพึ่งจตุคามฯแล้ว จากนั้นนายจาตุรนต์เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในตัวอาคาร ก่อนจะร่วมหารือกับอดีตส.ส.และแกนนำพรรค

นายจาตุรนต์ให้สัมภาษณ์ ว่า พร้อมไปฟังคำตัดสินด้วยความรู้สึกสบายใจและมั่นใจในข้อเท็จจริงข้อกฎหมายที่ ได้สู้คดีมา ทั้งที่ยังไม่ได้ทราบผลตัดสิน ไม่ว่าผลของคดีจะออกมาอย่างไรพรรคมีทางออกที่จะดำเนินตามวิถีทางการเมืองใน ระบบรัฐสภาโดยสันติวิธีต่อไป ที่สบายใจเพราะช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมาได้เตรียมรับกับสถานการณ์ในวันตัดสินพร้อมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทำความเข้าใจสมาชิกหรือประชาชนว่าพรรคไม่ต้องการให้ประท้วง คัดค้านคำตัดสินหรือให้เกิดความวุ่นวาย และวิเคราะห์เผื่อไว้หมดแล้วว่าผลจะออกมาอย่างไรจะไม่ทำอะไรที่นำไปสู่การ เผชิญหน้าความวุ่นวายหรือความขัดแย้ง เชื่อว่าประชาชนจะรับได้ เมื่อเรามีแนวทางที่ดีแล้วผู้ที่สนับสนุนพรรคจะทำงานร่วมกันและมีส่วนร่วม แก้ไขปัญหาประชาธิปไตย

-"หน่อย"ชี้ยุบพรรคไม่ใช่เรื่องใหญ่

นาย พงศ์เทพ เทพกาญจนา รักษาการรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทยกล่าวว่า ทราบจากอดีตส.ส.ของพรรคว่าจะมีแท็กซี่ที่ได้รับค่าจ้าง 5 พันบาทใส่เสื้อแดงมาชุมนุมที่พรรค 3 วัน แต่จากการตรวจสอบข่าวพบว่าไม่เป็นความจริง พรรคยืนยันว่าจะไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ และขอให้ประชาชนที่สนับสนุนพรรคไม่ออกมาชุมนุมและรอฟังผลจากทีวีที่บ้าน

เวลา 12.00 น. นายจาตุรนต์เดินทางออกจากพรรคด้วยรถตู้โฟล์ก สีบรอนซ์ตะกั่ว ทะเบียน อห 4939 ไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ภายหลังนายจาตุรนต์เดินทางออกจากพรรค แกนนำและอดีตส.ส.ของพรรค นำโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นายสุธรรม แสงประทุม นายอดิศร เพียงเกษ ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นเวทีปราศรัยท่ามกลางสมาชิกที่เดินทางมาชุมนุมแน่นขนัด หน้าเวที โดยเน้นย้ำให้ทุกคนอยู่ในความสงบ น้อมรับคำตัดสินของศาล และขอให้สนับสนุนพรรคและพ.ต.ท.ทักษิณต่อไป โดยการปราศรัยแกนนำพรรคต่างยืนยันว่าอดีตส.ส.ของพรรค จะอยู่กับพรรคไทยรักไทยต่อไปโดยไม่ย้ายไปไหน โดยรายงานความคืบหน้ามีอดีตส.ส.ที่มาลงชื่อกับพรรคตลอดเวลา ขณะที่บรรดากองเชียร์ต่างตะโกนว่า "ทักษิณ..กลับมาๆๆ" เป็นระยะๆ

คุณ หญิงสุดารัตน์กล่าวว่า ผลของคดีจะเป็นเช่นไร ไม่ใช่เรื่องใหญ่ หากยึดหลักประชาธิปไตยและอุดมการณ์ของพรรคเชื่อว่าจะสามารถขับเคลื่อนนโยบาย ต่างๆ ต่อไปได้ พรรคไม่มีปัญหา พร้อมน้อมรับคำวินิจฉัยเพื่อให้เกิดความสงบสุขมากที่สุด ไม่ก่อม็อบสร้างความวุ่นวายแน่ เพราะเราอยากให้มีการเลือกตั้ง แต่พวกที่ไม่อยากให้มีการเลือกตั้งก็พยายามให้เกิดความวุ่นวาย จึงขอเรียกร้องให้ช่วยกันจับตาคนกลุ่มนี้ ฝากถึงคมช. รัฐบาล และพรรคการเมือง ควรร่วมกันหารือวางแนวทางคืนอำนาจสู่ประชาชนโดยเร็ว จัดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด

-"บิ๊กแอ๊ด"เก็บตัวในเซฟเฮาส์

ก่อน หน้าที่ตุลาการรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัย ผู้สื่อข่าวได้โทรศัพท์สัมภาษณ์พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรมว.กลาโหม และอดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย แต่พล.อ.ธรรมรักษ์ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็น โดยกล่าวว่าเวลานี้ยังไม่อยากแสดงความคิดเห็นใดๆ แม้ตุลาการรัฐธรรมนูญยังไม่มีการตัดสินก็ตาม หรือจะมีการตัดสินแล้ว วันนี้ตนก็ยังไม่อยากจะพูดอะไรทั้งนั้น

เมื่อถามว่าจะเฝ้าติดตาม สถานการณ์และผลการตัดสินคดียุบพรรคที่บ้านพักย่านเมืองเอกหรือไม่ พล.อ.ธรรมรักษ์ กล่าวว่า "ไม่อยู่ ผมจะไปอยู่ที่เซฟเฮาส์แห่งหนึ่ง" เมื่อถามว่าหลังจากมีการตัดสินคดียุบพรรคแล้ว แกนนำพรรคไทยรักไทยอาจจะมารวมตัวกันที่บ้าน พล.อ.ธรรมรักษ์ กล่าวว่า คงไม่ได้ เพราะอาจทำให้เกิดความวุ่นวาย เนื่องจากมีคนเยอะและเป็นปัญหาได้ เมื่อถามว่าหากศาลตัดสินในเรื่องของความผิดรายบุคคล ท่านเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในข่ายจะเปิดแถลงข่าวหรือไม่ พล.อ.ธรรมรักษ์ กล่าวว่า ไม่เปิด

เมื่อเวลา 11.00 น. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ อดีตส.ส.พรรคไทยรักไทยได้เดินทางมาบริเวณด้านหน้าสำนักงาน โดยกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ได้นัดเจอกับน.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ และนายดนุพร ปุณณกันต์ อดีตส.ส.ไทยรักไทย ให้มาพบกันที่หน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญในเวลา 12.00 น. เพื่อมาสังเกตการณ์ว่าจะมีสมาชิกพรรค หรือผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยเดินทางมาชุมนุมที่หน้าสำนักงานหรือไม่ หากมีการเดินทางก็จะสอบถามและให้แสดงตัวความเป็นสมาชิก และก็จะได้ขอความร่วมมือให้ยุติการเคลื่อนไหว และติดตามรับฟังคำวินิจฉัยคดีสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์ดีกว่า

-ทรท.ยินดีปชป.หลังไม่โดนยุบ

เมื่อ เวลา 16.45 น. ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรคไทยรักไทยว่า ขณะที่คณะตุลาการฯ อ่านคำวินิจฉัยกลุ่มแรกเรื่องคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์นานกว่า 4 ชั่วโมง และยังไม่มีทีท่าว่าจะแล้วเสร็จ บรรดาอดีตส.ส.พรรคไทยรักไทยได้ขึ้นเวทีปราศรัยอีกครั้ง โดยร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกคณะทำงานบริหารจัดการพรรคไทยรักไทย ขึ้นกล่าวกับผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยว่า ศาลมีคำวินิจฉัยที่ละเอียดมาก โดยเฉพาะคำชี้แจงของพรรคประชาธิปัตย์ที่ระบุถึงระบอบทักษิณ แต่พวกเราอย่าตื่นตกใจหรือเชื่อกับสิ่งที่พูดถึงระบอบทักษิณ เพราะนายนิพนธ์ วิศิษฐ์ยุทธศาสตร์ อดีตส.ว.อ่างทอง ที่เป็นพยานของพรรคประชาธิปัตย์ในประเด็นนี้เป็นเพื่อนของนายชวน หลีกภัย ดังนั้นไม่ต้องตกใจ เชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์คงไม่ถูกยุบ ขอให้พวกเราร่วมแสดงความยินดีกับประชาธิปัตย์ล่วงหน้า แต่แม้จะไม่ถูกยุบหากประชาชนไม่เลือกสุดท้ายก็โดนยุบไปเอง

กระทั่ง ศาลมีคำวินิจฉัยไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ร.ท.กุเทพได้ให้สมาชิกที่มาฟังร่วมแสดงความยินดีกับพรรคประชาธิปัตย์ จากนั้นทุกคนเริ่มต้นฟังคำวินิจฉัยของพรรคไทยรักไทย โดยร้องตะโกนพร้อมกัน "ไทยรักไทยสู้ๆ"

-รวบวุ่น-ปี๊บคลุมหัวด่าเผด็จการ

เมื่อเวลา 13.30 น. ระหว่างที่ตุลาการรัฐธรรมนูญอ่านคำวินจฉัยยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า และพรรคประชาธิปัตย์ มีชายอายุ 40 ปี เดินถือปี๊บคลุมหัวมีข้อความ "ตายเสียดีกว่า อยู่ใต้อำนาจเผด็จการทหารไทย อายเหลือเกินต้องเอาปี๊บคลุมหัว" เดินเข้ามาบริเวณพรรคไทยรักไทย เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเข้าสกัดตัวไม่ให้เข้าไปในที่ทำการพรรค หวั่นจะเกิดความวุ่นวาย ต่อมาทราบชื่อนายธีระธนัชณฤทธา เสาวภาคโชติรส อดีตพนักงานสินเชื่อที่ต้องการประท้วงต่อต้านระบอบเผด็จการทหาร เจ้าหน้าที่จึงนำตัวไปสอบสวนต่อ

จากนั้นได้เกิดเหตุชุลมุนขึ้นอีก ครั้ง เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างปากซอยสวนอ้อย 3-4 คน ยืนจับกลุ่มฟังคำวินิจฉัยบริเวณหน้าที่ทำการพรรค จึงเข้าไปเจรจาขอให้ถอดเสื้อกั๊กวินมอเตอร์ไซค์ออกหากต้องการฟังคำวินิจฉัย ต่อ ทำให้วินมอเตอร์ไซค์หลายคนไม่พอใจเข้าไปไล่เจ้าหน้าที่ตำรวจจนเกือบเกิดเหตุ ปะทะกัน แกนนำพรรคไทยรักไทยจึงต้องส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปเคลียร์ โดยให้วินมอเตอร์ไซค์ถอดเสื้อกั๊กออกแล้วเข้ามาฟังคำวินิจฉัยบริเวณหน้าพรรค ได้

-แกนนำทรท.เครียด-ยุบพรรคเล็ก

เมื่อเวลา 18.00 น. ที่พรรคไทยรักไทย เมื่อตุลาการฯ เริ่มต้นอ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคไทยรักไทย บรรยากาศที่หน้าเวทีปราศรัยคึกคักอีกรอบ อดีตส.ส.และกองเชียร์ที่มาให้กำลังใจ ร่วมกันร้องเพลงหมอลำที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพ.ต.ท.ทักษิณ โดยมีนายอดิศร เพียงเกษ เป่าแคน จากนั้นอดีตส.ส.อีสานร่วมกันผลัดเปลี่ยนขึ้นปราศรัยระบุว่า วันนี้เป็นแค่หน้าแรกของการต่อสู้ การตัดสินที่แท้จริงคือวันเลือกตั้ง พรรคจะไปเช็กบิลวันนั้น โดยที่ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินพรรคการเมืองเอง และขอร้องประชาชนอย่าก่อเหตุวุ่นวาย เพราะจะมีการโยนบาปให้พ.ต.ท.ทักษิณ และยังขอให้ทุกคนส่งกำลังใจไปให้พ.ต.ท.ทักษิณที่ประเทศอังกฤษด้วย ขณะที่ผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยปรบมือส่งเสียงเชียร์เป็นระยะ

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังตุลาการฯ มีคำวินิจฉัยไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ แต่ยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าและตัดสิทธิทางการเมืองคณะกรรมการบริหารพรรค แกนนำและอดีตส.ส.ของพรรคไทยรักไทยได้จับกลุ่มคุยกัน ก่อนจะมีสีหน้าไม่สู้ดี เพราะคาดเดากันว่าศาลจะใช้มาตรฐานเดียวกับกรณีพรรคเล็กมาตัดสินพรรคไทยรัก ไทย ทำให้แกนนำหลายคนต่างเริ่มถอดใจว่า แนวโน้มสูงที่จะถูกยุบพรรค รวมถึงกรรมการบริหารพรรคทั้ง 119 คน จะถูกเพิกถอนสิทธิ์ด้วย

-"สงค์-ประพันธ์"ปิดห้องเกาะติด

ผู้ สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภา ตลอดทั้งวันสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ข้าราชการ ต่างให้ความสนใจกับการตัดสินคดียุบพรรค โดยต่างจับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์ และติดตามการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ รวมทั้ง น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้นัดประชุมเพียงครึ่งวัน และติดตามคำตัดสินคดีอยู่ที่ห้องทำงานส่วนตัวที่รัฐสภาร่วมกับนายประพันธ์ คูณมี สมาชิกสนช.

เวลา 18.15 น. ภายหลังรับทราบคำตัดสินกรณีไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ แต่ยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า และประกาศคปค.ฉบับ 27 มีผลย้อนหลังทำให้กรรมการบริหารพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าถูกเพิกถอนสิทธิ เลือกตั้ง 5 ปี น.ต.ประสงค์กล่าวสั้นๆ ก่อนกลับบ้านเพียงว่า ตอนนี้ยังไม่อยากจะพูดอะไร ต้องรอให้ศาลตัดสินพรรคไทยรักไทยก่อน ไม่เช่นนั้นจะเหมือนพูดให้พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งไม่เหมาะสมด้วยสถานภาพตอนนี้ และไม่เป็นธรรมกับพรรคไทยรักไทย

-ปชป.แถลงขอบคุณตุลาการรธน.

เวลา 18.10 น. นายอภิสิทธิ์ นายชวน และแกนนำเดินทางกลับมาถึงที่พรรคประชาธิปัตย์ โดยมีประชาชนผู้สนับสนุนเข้ามอบดอกไม้แสดงความยินดีและให้กำลังใจเป็นจำนวน มาก จากนั้นได้เข้าถวายพวงมาลัยสักการะพระแม่ธรณีบีบมวยผมเป็นอย่างแรก และขึ้นไปพูดคุยกับนายชวน บนห้องทำงานชั้น 3 ตึกมูลนิธิควง อภัยวงศ์

นาย อภิสิทธิ์ และนายชวน ได้ลงมาแถลงข่าวท่ามกลางแกนนำพรรค ทีมกฎหมายต่อสู้คดียุบพรรค ส.ส.พรรคและสมาชิกพรรค โดยนายอภิสิทธิ์กล่าวว่า สิ่งแรกที่อยากเรียนในนามพรรคประชาธิปัตย์คือขอน้อมรับคำวินิจฉัยของตุลาการ รัฐธรรมนูญอย่างที่ได้ประกาศไว้มาตั้งแต่ต้น และขอขอบคุณตุลาการรัฐธรรมนูญที่ได้ให้ความเป็นธรรมต่อพรรคประชาธิปัตย์ นอกจากนั้น ยังต้องขอขอบคุณอีกหลายท่านที่ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ชาวพรรคประชาธิปัตย์วิตกกังวลพอสมควร

นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การทำงานที่ทำให้พวกเราผ่านพ้นทุกอย่างไปได้เพราะการทำงานหนักที่ไม่เคยเห็น มาก่อนในการประชุมกันทุกวันของทีมกฎหมาย ต้องขอบคุณนายชวน อดีตหัวหน้าพรรค นายบัญญัติ ผู้เตรียมคดีรวมทั้งขอบคุณคนที่ทำงานให้โดยไม่คิดค่าตอบแทนคือนายบัณฑิต ศิริพันธ์ จากสำนักงานทนายความม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และนายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง จากสำนักงานกฎหมายคนึง ฤาชัย ขอขอบคุณในความทุ่มเทตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา

-ปิดฉากความเครียดเรื่องยุบพรรค

นาย อภิสิทธิ์กล่าวว่า วันนี้เป็นวันที่พวกเราหลายคนรอคอยและอยากให้วันนี้เหมือนเป็นการปิดฉาก เรื่องราวที่ทำให้สังคมตรึงเครียดและวิตกกังวลในกรณียุบพรรค ต่อจากนี้ไปเราจะมีหน้าที่อันยิ่งใหญ่ ต้องประคับประคองบ้านเมืองให้กลับมาสู่ประชาธิปไตยโดยเร็ว และจะเข้าสู่การเลือกตั้งตามที่นายกฯ ประกาศว่า จะมีขึ้นในปลายเดือนธ.ค. ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่พวกเราจะต้องช่วยกัน เพราะไม่มีใครแก้ไขปัญหาประชาชนได้ดีกว่าประชาชนเอง โดยผ่านกระบวนการเลือกตั้งทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความยากจน ปัญหาทั้งหมดนี้เราในฐานะพรรคการเมืองต้องนำพาไปสู่ความก้าวหน้าหลังจากคดี ยุบพรรคผ่านไปแล้ว เราอยากให้ผู้มีอำนาจที่คดีผ่านพ้นไปแล้วเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองทำ งานอย่างสร้างสรรค์ อยากบอกว่าพรรคประชาธิปัตย์ทุกคนจะทำให้ชัยชนะของเราในคดีวันนี้เป็นชัยชนะ ของประชาชนและของประเทศไทย

เมื่อแถลงข่าวเสร็จ สมาชิกพรรคและผู้สนับสนุนพรรคมาร่วมแสดงความยินดีมาขอถ่ายรูปและสวมกอดโห่ ร้องไชโยกันลั่น จากนั้น บรรดาแกนนำพรรคได้ไปรวมตัวกันที่ห้องประชุมชั้น 3 ตึกมูลนิธิควง อภัยวงศ์ เพื่อดูการอ่านคำวินิจฉัยในส่วนของพรรคไทยรักไทย และมีผู้สนับสนุนพรรคบางส่วนยังติดตามการพิจารณาวินิจฉัยคดียุบพรรคไทยรัก ไทยอยู่

-"สุวะโรช"เตรียมวิ่งแก้บน-พ้นยุบ

ผู้สื่อข่าว รายงานว่าในเวลา 10.00 น. ในวันที่ 31 พ.ค. นายสุวโรช พะลัง กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จะวิ่งแก้บนคดียุบพรรค กรณีที่ชาวชุมพรได้บนต่ออนุสาวรีย์พล.ร.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้า อาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ภายในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร ที่ตั้งอยู่ข้างทำเนียบรัฐบาล ไม่ให้พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ โดยนายสุวโรชจะวิ่งจากศาลรัฐธรรมนูญมายังอนุสาวรีย์ดังกล่าว

เมื่อ เวลา 20.10 น. ที่หน้าพรรคไทยรักไทย ขณะที่สมาชิกและประชาชนรอฟังการพิจารณาตัดสินยุบพรรคไทยรักไทยอยู่นั้น นางกรระวี ตันตระกูล อายุ 50 ปี นำจตุคามฯรุ่น 1 บาทปราบกบฏ มาเดินแจกทำให้ประชาชนจำนวนหนึ่งลุกฮือเข้าไปรับแจกจนเกิดความวุ่นวาย ร.ท.กุเทพต้องประกาศผ่านไมโครโฟนขอให้ยุติการแจกและให้ประชาชนกลับมาสนใจการ ฟังคำวินิจฉัยต่อ โดยให้เจ้าหน้าที่พาตัวนางกรระวีออกไปจากบริเวณดังกล่าวทันที

นาง กรระวีกล่าวว่า มีอดีต.ส.ส.อุบลราชธานี พาผู้ชายพร้อมด้วยจตุคามฯจำนวนหนึ่ง โดยบอกว่าให้นำไปแจกเพียงองค์ละบาทเดียว แล้วแต่ใครจะศรัทธาทำบุญ ไม่ได้นำมาขาย

-ม็อบหน้าศาลรธน.เหลือ50คน

สำหรับบรรยากาศการ ชุมนุมของกลุ่มฅนวันเสาร์ฯดำเนินต่อเนื่องไปจนถึงช่วงเย็น มีประชาชนทยอยเข้าคิวรับจตุคามฯ ขณะที่แกนนำกลุ่มตนวันเสาร์ฯเปิดปราศรัยบนรถขยายเสียงอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับนำเสียงสัมภาษณ์พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ให้สัมภาษณ์ในรายการกลุ่มตนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการมาเปิดผ่านเครื่องขยาย เสียงด้วย

เวลา 20.30 น. ที่หน้าศาลรัฐธรรมนูญ ยังคงมีประชาชนฟังการพิจารณาอยู่ด้านหน้าศาลรัฐธรรมนูญกว่า 50 คน บางส่วนนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาดื่ม พร้อมส่งเสียงตะโกน เจ้าหน้าที่ต้องออกมาปรามและนำตัวไปสงบสติอารมณ์ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 100 นายตรึงกำลังอยู่ด้านหน้า

ผู้สื่อ ข่าวรายงานจากพรรคไทยรักไทยสำนักงานใหญ่ ถนนลอยเคราะห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ว่าบรรยากาศช่วงเช้าเป็นไปอย่างเงียบเหงาไม่มีการเปิดสำนักงาน มีเพียงข้อความป้ายผ้าที่เขียนไว้"ยึดมันในสันติวิธี ขอขอบคุณทุกๆกำลังใจ" มีชาวเชียงใหม่บางส่วนนั่งฟังการแถลงคำวินิจฉัยยุบพรรคจากทีวีตามห้างสรรพ สินค้า แต่บรรยากาศโดยทั่วไปมีประชาชนสนใจติดตามข่าวบ้าง แต่ไม่มากนัก

-ตรังอยากให้ชวนคืนหัวหน้าพรรค

ที่ จ.ตรัง บรรยากาศก่อนศาลอ่านคำวินิจฉัย ที่บ้านพักของนายชวน หลีกภัย เลขที่ 183 บนถนนวิเศษกุล ตำบลทับเที่ยง ในเขตเทศบาลนครตรัง เป็นไปด้วยความเงียบเหงา ไม่มีการเคลื่อนไหวหรือจัดเตรียมสถานที่ไว้รองรับผู้สนับสนุนแต่อย่างใด เนื่องจากนายชวนต้องมาฟังคำพิพากษาที่กรุงเทพฯ ส่วนนางถ้วน หลีกภัย มารดาป่วยและเข้าพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช

ผู้สื่อข่าว รายงานว่า มีกระแสข่าวสะพัดว่าฐานเสียงส่วนใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์ในจ.ตรัง ต้องการให้ตุลาการรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค เนื่องจากต้องการให้มีการล้างไพ่ เพราะจะทำให้นายชวนมีโอกาสกลับขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นนายกฯสมัยที่ 3 ส่วนมาตรการรักษาความปลอดภัยกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตรัง ได้สั่งการให้ชุดควบคุมฝูงชนเตรียมความพร้อมในฐานที่ตั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ไม่หวังดีเข้ามาก่อกวนหรือสร้างความไม่สงบ

ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทหารจากศูนย์การทหารราบค่ายธนะรัชต์ กองพันที่ 2 ร่วมกับตำรวจภูธรอำเภอสามร้อยยอด ตั้งด่านตรวจเข้มบนถนนเพชรเกษม หลักกิโลเมตรที่ 272 หน้าที่ว่าการอำเภอสามร้อยยอด เพื่อตรวจสอบรถที่เดินทางมาจาก 14 จังหวัดภาคใต้

-กองเชียร์ทรท.พากันน้ำตาซึม

เมื่อ เวลา 21.30 น. บรรยากาศระหว่างการฟังคำวินิจฉัยยุบพรรคไทยรักไทยช่วงท้าย ทั้งแกนนำพรรคและสมาชิกที่รอฟังผลที่พรรคไทยรักไทย เริ่มครียดและวิตกกังวลต่อผลการวินิจฉัย โดยเฉพาะนายสุธรรม และร.ท.กุเทพ โดยร.ท.กุเทพนั่งฟังคำวินิจฉัยด้วยอาการซึม ใช้มือกุมขมับหลายครั้ง พร้อมทั้งเดินเข้าไปพูดคุยและต่างจับมือให้กำลังใจกับเพื่อนสมาชิกหลายครั้ง ส่วนประชาชนที่สนับสนุนพรรคช่วงดึกเริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น บางคนถึงกับปาดน้ำตาที่ไหลซึมระหว่างการฟังคำวินิจฉัย พร้อมทั้งจับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์ผลตัดสิน เนื่องจากชาวบ้านได้รับกระแสข่าวว่าพรรคไทยรักไทยจะถูกยุบตั้งแต่ช่วงบ่าย ภายหลังการตัดสินไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยประชาชนที่มาร่วมฟังการวินิจฉัยที่พรรคไทยรักไทยส่วนใหญ่เป็นคนกทม. จากการสอบถามหลายรายค่อนข้างแน่ใจว่าพรรคจะถูกยุบ เพราะข่าวออกมาตลอดว่าไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์แต่จะยุบพรรคไทยรักไทย แต่ก็จะขอยอมรับผลการตัดสิน ไม่ออกไปชุมนุมเคลื่อนไหวต่อต้านผลการตัดสิน แต่จะคอยให้กำลังใจคนในพรรคต่อไป

-ตร.เชียงใหม่สั่งด่วนสกัดม็อบ

ด้าน นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำม็อบพีทีวี กล่าวว่า วันที่ 31 พ.ค. เวลา 16.30 น. พีทีวียังจะชุมนุม แต่จะไม่มีการเคลื่อนขบวนเพื่อก่อความวุ่นวาย ส่วนกรณียุบพรรคไทยรักไทยพีทีวีไม่เกี่ยวข้อง ถือเป็นหน้าที่ผู้บริหารพรรคไทยรักไทย ส่วนจะมาร่วมกับเวทีเราหรือไม่ ตนยังตอบไม่ได้ แต่ถ้ามาร่วมก็ได้ขึ้นอยู่กับแกนนำ เราจะชุมนุมกันอย่างสงบ เนื้อหาการปราศรัยเป็นการโจมตีการบริหารประเทศของรัฐบาลใต้อำนาจเผด็จการ

ที่ พรรคประชาธิปัตย์ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าทางพรรคไม่อนุญาตให้นายสุวโรช วิ่งแก้บน เนื่องจากเกรงว่าจะถูกมองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการซ้ำเติมพรรคไทยรักไทย ที่ถูกคำสั่งยุบพรรค หากจะวิ่งแก้บน ให้กลับไปวิ่งที่จ.ชุมพรแทน และควรปล่อยเวลาให้เนิ่นนานออกไปก่อน

เมื่อเวลา 23.30 น.วันเดียวกัน พ.ต.อ.ชำนาญ รวดเร็ว รอง ผบก.เชียงใหม่ ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลเกี่ยวกับความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้แจ้งไปยังนายตำรวจระดับผู้กำกับและหัวหน้าสถานีตำรวจทั้งหมดในจังหวัด เชียงใหม่ ให้ท้องที่แต่ละท้องที่เตรียมพร้อม กับเหตุการณ์ต่างๆในพื้นที่ หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญประกาศยุบพรรคไทยรักไทย และให้แต่ละท้องที่รายงานและออกหาข่าวความเคลื่อนไหวของกลุ่มหัวคะแนนต่างๆ ในเขตพื้นที่ว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไร เพื่อเตรียมรับสถานการณ์เป็นการด่วน รวมทั้งกลุ่มที่คิดจะก่อความวุ่นวายทุกอย่าง โดยเน้นให้ตำรวจเตรียมความพร้อมรับมือเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างเต็มที่

(กรอบบ่าย)

-13.30น.เริ่มนาทีประวัติศาสตร์

ใน ที่สุดคดีประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ประชาชนทั้งประเทศใจจดจ่อรอคอยก็มาถึง วันที่ 30 พ.ค. วันที่ตุลาการรัฐธรรมนูญนัดพิพากษาคดียุบพรรค 5 พรรคการเมือง ประกอบด้วยพรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สถานที่ที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำพิพากษาคดีประวัติศาสตร์การเมือง ไทยครั้งนี้ว่า เมื่อเวลา 13.30 น. คณะตุลาการรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ประกอบด้วยนายปัญญา ถนอมรอด ประธานศาลฎีกา ทำหน้าที่ประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ, นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด ในฐานะรองประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ, ม.ล.ไกรฤกษ์ เกษมสันต์, นายสมชาย พงษธา, นายกิติศักดิ์ กิติคุณไพโรจน์, นายธานิศ เกศวพิทักษ์, นายนุรักษ์ มาประณีต, นายจรัญ หัตถกรรม และนายวิชัย ชื่นชมพูนุท ออกนั่งบัลลังก์ในห้องพิจารณาคดีเพื่ออ่านคำวินิจฉัยคดี

ก่อน การอ่านคำวินิจฉัย นายปัญญา ถนอมรอด แจ้งต่อคู่กรณีว่า คณะตุลาการฯได้วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดซึ่งอาจจะครบถ้วนบ้างหรือไม่ครบถ้วน บ้าง ทั้งนี้เชื่อว่าทุกคนทำไปด้วยความสุจริต การวินิจฉัยครั้งนี้มีผลสำคัญกับประเทศของเรามาก ตุลาการทุกคนตระหนักถึงความรับผิดชอบและทราบว่าผลของคำวินิจฉัยจะกระทบต่อ ทุกฝ่ายมาก แต่ก็ดำเนินการไปด้วยการรับฟังทุกฝ่าย และดำเนินตามกฎหมายและความสุขุมรอบคอบ ปราศจากอคติ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง โดยทุกอย่างจะดำเนินการไปตามกฎหมายทุกประการ ดังนั้นการกระทำใดๆที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเมือง ประชาชนทุกคนจะต้องมีหน้าที่ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย และขอให้ทุกฝ่ายรับฟังคำวินิจฉัย และเคารพกฎหมายของบ้านเมืองเพื่อความสงบเรียบร้อยและความสุขของประเทศ

-3ตุลาการอ่านคำวินิจฉัยประชาธิปัตย์

จาก นั้นคณะตุลาการฯนั่งอ่านคำวินิจฉัยในกรณียุบพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า โดยมีนายจรัญ หัตถกรรม นายนุรักษ์ มาประณีต และนายสมชาย พงษธา ผลัดกันอ่านคำวินิจฉัยเนื่องจากมีเนื้อหาจำนวนมาก โดยนายจรัญ ระบุถึงมูลคำร้องของสำนักงานอัยการสูงสุดคดีที่ 19/2549 กรณีสำนักงานอัยการสูงสุดขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคประชาธิปไตยก้าว หน้า และคำร้องที่ 23/2549 ที่สำนักงานอัยการสูงสุดขอให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยช่วงต้นสรุปสำนวนของคดีตั้งแต่สำนวนอยู่ในการดูแลของคณะกรรมการการเลือก ตั้ง(กกต.) และคำฟ้องของสำนักงานอัยการสูงสุด รวมทั้งการแก้ข้อกล่าวหาของพรรคทั้ง 2 โดยสรุปว่า พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้ากระทำผิดตามมาตรา 66(2)(3) กรณีพรรครับรองผู้สมัครของพรรค 3 คน ประกอบด้วยน.ส.นิภา จันโพธิ์ นางรัชนู ต่างสี และนายสุวิทย์ อบอุ่น เป็นสมาชิกพรรคติดต่อกันเกิน 90 วัน และส่งทั้ง 3 ลงสมัครในจังหวัดตรัง ทั้งที่บุคคลทั้ง 3 เป็นสมาชิกพรรคเพียง 1 วันก่อนการสมัครเท่านั้น ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 107 และพ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 66(2)และ(3)

ยังปึ้ก - พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคมช. พร้อมด้วยพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี แถลงข่าวด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม หลังเรียกประชุมแผนรักษาความสงบ"พิทักษ์ 1" ก่อนตุลาการรัฐธรรมนูญจะอ่านคำพิพากษาคดียุบพรรค ตามข่าว

สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ สำนักงานอัยการสูงสุด ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรค เนื่องจากกระทำผิดตามมาตรา 66 (2)และ(3) ใน 4 กรณี คือ 1.การกล่าวหาระบอบทักษิณ อันเป็นการกระทำเพื่อจูงใจให้ประชาชนคิดว่าประเทศไทยใช้การปกครองระบอบอื่น ที่ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย 2. กรณีรู้เห็นเป็นใจและสนับสนุนให้พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าส่งผู้สมัครทั้งที่ รู้ว่าไม่มีสิทธิเพื่อใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย 3.กรณีใช้ให้นายไทกร พลสุวรรณ แกนนำกลุ่มอีสานกู้ชาติจ้างนายวรรธวริทธิ์ ตันติภิรมย์ หัวหน้าพรรคชีวิตที่ดีกว่าใส่ร้ายนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ผู้บริหารพรรคไทยรักไทย และจ้างให้ลงสมัครเพื่อใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย และ4. การขัดขวางไม่ให้ผู้สมัครพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดสงขลา ทั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา

(อ่านรายละเอียดคำวินิจฉัยได้ที่หน้า 2 )

-ประชาธิปัตย์รอดหลังลุ้นระทึก 4 ช.ม.

สำหรับ บรรยากาศภายในห้องพิจารณาคดีนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค นายบัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรค นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค พร้อมคณะผู้บริหารพรรค เข้าไปนั่งรอในห้องพิจารณาคดีตั้งแต่เวลา 12.30 น. โดยระหว่างรอฟังการพิจารณา นายอภิสิทธิ์พูดคุยกับนายชวนและนายบัญญัติอย่างอารมณ์ดี และมีสีหน้ายิ้มแย้ม ขณะที่สำนักงานอัยการสูงสุด มีนายอรรถพล ใหญ่สว่าง โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด และหัวหน้าคณะทำงานด้านกฎหมายเกี่ยวกับคดียุบพรรค มาร่วมรับฟังด้วย ทั้งนี้ตัวแทนพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าไม่ได้เดินทางมาร่วมฟังคำวินิจฉัย

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ตุลาการบรรยายคำร้องและอ่านคำพิพากษาทีละประเด็นจนถึงเวลา 17.45 น. จากนั้นมีคำตัดสินยุบพรรคประชาธิปัตย์ก้าวหน้า พร้อมกับตัดสิทธิ์ทางการเมืองคณะกรรมการบริหารพรรค 5 ปี ส่วนพรรคประชาธิปัตย์มีคำพิพากษาให้ยกคำร้อง รวมเวลาอ่านคำพิพากษาคดีนี้นานกว่า 4 ช.ม. ตั้งแต่เวลา 13.30-17.45 น.

-ชวน-มาร์ค-เทือกรีบกลับพรรคทันที

ทันที ที่ตุลาการฯมีคำสั่งพิพากษา บรรดาแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ นำโดยนายชวน นายอภิสิทธิ์ นายบัญญัติ นายสุเทพต่างเข้าแสดงความยินดีกันและกัน ท่ามกลางความดีใจของกลุ่มผู้ติดตามและกองเชียร์

เวลา 17.55 น. มีนายตำรวจเข้าไปตรวจความเรียบร้อยของห้องสมุดศาลรัฐธรรมนูญ บริเวณชั้น 1 ของสำนักงานศาล จากนั้นแกนนำของพรรคประชาธิปัตย์ทยอยเข้าไปห้องสมุด ซึ่งมีประตูเล็กอยู่ด้านหลัง เพื่อออกไปขึ้นรถยนต์กลับที่ทำการพรรค ถ.เศรษฐศิริ โดยไม่ได้เดินผ่านกลุ่มสื่อมวลชนจำนวนมากที่รอดักสัมภาษณ์และถ่ายภาพบริเวณ ด้านหน้าของสำนักงานศาล ส่งผลให้เกิดเหตุชุลมุนขึ้น เนื่องจากสื่อมวลชนวิ่งตามไปด้านหลัง จนเกิดการกระทบกระทั่งกันกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่จับมือกันกั้น ไม่ให้เข้าถึงตัวคณะผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งตำรวจกันช่างภาพจนช่างภาพบางคนล้มและตกเก้าอี้เกือบเกิดเหตุการณ์เหยียบ กัน แต่ที่สุดนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่สั่งการให้หน่วยคอมมานโดเข้าไปดึงตัวนายชวน และนายอภิสิทธิ์ ออกไปขึ้นรถได้สำเร็จ โดยทั้งนายอภิสิทธิ์ และนายชวน ปฏิเสธให้สัมภาษณ์ โดยกล่าวเพียงว่าไปเจอกันที่พรรค

-"มาร์ค"ตั้งแต่พรุ่งนี้มีภาระหน้าที่ยิ่งใหญ่

เมื่อ เดินทางไปถึงที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์กล่าวด้วยสีหน้าแจ่มใสกับอดีตส.ส.และสมาชิกพรรคที่ปักหลักรอ อยู่ตั้งแต่เช้าว่า พรรคประชาธิปัตย์ขอน้อมรับในคำวินิจฉัย และขอบคุณทุกฝ่ายที่ให้กำลังใจ ตลอดจนคณะทำงานที่ร่วมมือร่วมใจในการฝ่าฟันวิกฤตครั้งนี้ ขอยืนยันต่อประชาชนและสมาชิกประชาธิปัตย์ โดยอ้างอิงคำวินิจฉัยในช่วงท้ายของคณะตุลาการฯที่กล่าวถึงบทบาทของพรรคการ เมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เกี่ยวกับความสำคัญและความรับผิดชอบของพรรคการเมืองในระบบรัฐสภาว่า พรรคประชาธิปัตย์ดำรงอยู่ เพื่อปฏิบัติหน้าที่และแบกรับความรับผิดชอบตามอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในระบอบ ประชาธิปไตยและความซื่อสัตย์สุจริต

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวอีก ว่า วันนี้เป็นวันที่หลายคนรอคอย ตนอยากให้เป็นวันปิดฉากเรื่องราวในอดีตที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลและความตึง เครียดในสังคมเกี่ยวกับคดียุบพรรค ตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไปจะมีภาระหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่กว่ามาก คือต้องประคับประคองบ้านเมืองให้กลับสู่ประชาธิปไตยโดยเร็ว เข้าสู่การเลือกตั้งตามที่พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกฯระบุว่าจะมีขึ้นช่วงเดือนธ.ค.2550 ภายใต้รัฐธรรมนูญที่ทุกคนต้องช่วยกันให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เพราะการแก้ปัญหาไม่มีใครแก้ได้ดีกว่าประชาชนด้วยกันเอง เมื่อเลือกตั้งเสร็จแล้วจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้ทั้งในเรื่องปากท้อง ความยากจน ตลอดจนพี่น้องใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังอยู่ในความหวาดกลัว ทั้งหมดคือภาระของประชาธิปัตย์ ในฐานะพรรคการเมืองหนึ่งที่จะต้องนำพาประเทศไปเบื้องหน้า

-ถึงเวลาผู้มีอำนาจเลิกควบคุมพรรค

นาย อภิสิทธิ์กล่าวต่อว่า ก่อนที่จะมีคำวินิจฉัย ตนไม่กล้าคาดเดาอะไรมาก เพราะการที่ได้ต่อสู้คดีมา ทราบดีว่าการวิเคราะห์วิจารณ์ในสังคมก็มีมาก จึงได้แต่รอคอยวันนี้ว่าจะเป็นอย่างไร นั่งฟัง 4 ชั่วโมงด้วยความสนใจ เพราะคณะตุลาการฯอธิบายคำวินิจฉัยได้ละเอียดมาก ส่วนความคิดเห็นคดีที่เหลืออยู่อีก 3 พรรคนั้น ยังคงอยู่ระหว่างการฟังคำวินิจฉัย จึงไม่ขอแสดงความคิดเห็นใดๆ

"อยาก ให้ผู้มีอำนาจ หลังจากคดียุบพรรคต่างๆผ่านพ้นไปแล้ว ก็เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองได้ทำงานอย่างสร้างสรรค์ เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาของประเทศ" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว

-"ชวน"ชมคำวินิจฉัยละเอียดรอบคอบ

ส่วน นายชวน ในฐานะผู้ว่าคดียุบพรรคให้สัมภาษณ์ด้วยสีหน้ายิ้มแย้มว่า วินาทีแรกที่ได้ยินคำวินิจฉัยของศาลก็รู้สึกดีใจ เพราะทำงานมาหลายเดือน คำวินิจฉัยของศาลมีความละเอียดรอบคอบ

ผู้สื่อข่าวถามว่าคิดว่าคำ วินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคไทยรักไทยจะออกมาเป็นอย่างไร นายชวนกล่าวว่า ไม่วิพากษ์วิจารณ์ เพราะไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร

-"เทือก"ที่ผ่านมาทำตัวทำใจยาก

ด้าน นายสุเทพกล่าวว่า ช่วงการรวบรวมหลักฐานเพื่อต่อสู้คดียุบพรรค เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากสำหรับตน เพราะทำตัวยากและทำใจยาก เนื่องจากเป็นถึงเลขาธิการพรรคและเป็นตัวตั้งตัวตีการตรวจสอบพฤติกรรมของ พรรคไทยรักไทยและรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เกี่ยวกับการทุจริตการเลือกตั้ง กระบวนการตรวจสอบข้อมูลได้ทำอย่างรอบคอบ มีการบันทึกเทปมาโดยตลอดเพื่อป้องกันการบิดพลิ้วจนนำไปสู่การร้องเรียนต่อกก ต. แต่กกต. รัฐบาลขณะนั้น และอัยการบางคน กลับร่วมมือกันกลั่นแกล้งเล่นงานพรรคประชาธิปัตย์

นายสุเทพกล่าวอีก ว่า ขอยืนยันไม่เคยไปกล่าวหาหรือใส่ร้ายใคร และการฟ้องร้องไม่ได้เกิดจากเหตุโกรธแค้นหรือโกรธเคืองส่วนตัว แต่เป็นการทำเพื่อประชาธิปไตยและชาติ ยอมรับว่าระหว่างสอบพยาน พรรคประชาธิปัตย์ถูกกดดันมาก ต้องทำงานด้วยความลำบากและอดทนมาจนถึงทุกวันนี้ การวินิจฉัยออกมาเช่นนี้ถือเป็นคดีประวัติศาสตร์ให้ประชาชนได้ลุกขึ้นมาตรวจ สอบการเลือกตั้งและสังคมไม่ยอมให้มีการทุจริตการเลือกตั้งเกิดขึ้นอีก ถือเป็นบทเรียนสำคัญกับระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์เที่ยงธรรม

นายสุเทพกล่าวว่า หลังจากนี้พรรคจะเริ่มต้นทำงานทางการเมืองเพื่อเดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง และแก้ไขปัญหาของประชาชน เพราะขณะนี้ประเทศชาติวิกฤต ในฐานะพรรคการเมืองจึงต้องเข้ามาแก้ไขปัญหา หลังจากนี้พรรคจะไม่เป็นศัตรูกับใครทั้งสิ้น เราจะเป็นตัวเป็นแกนหลักในการแสวงหาแนวร่วมภาคสังคมและภาคประชาชน เข้ามาแก้ไขวิกฤตของชาติ ก่อนที่ศาลจะมีคำวินิจฉัยมีลูกหลานของคนรุ่นใหม่ลังเลที่จะตัดสินใจเข้ามาทำ งานทางการเมืองกับพรรค แต่หลังจากศาลยกคำร้องแล้วคนเหล่านั้นก็พร้อมที่จะเข้ามาทำงานกับพรรค ดังนั้นขอเชิญชวนทุกคนที่สนใจให้ข้ามาทำงานทางการเมืองกับพรรค

-เติ้ง-เหนาะ-มัชฌิมาโทร.ยินดี

นาย สุเทพกล่าวต่อว่า หลังจากศาลอ่านคำวินิจฉัยเสร็จมีบุคคลทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช นายสมศักดิ์ เทพสุทิน หัวหน้ากลุ่มมัชฌิมา โทรศัพท์เข้ามาหาตนเพื่อแสดงความยินดี

ผู้สื่อข่าวถามว่าจะเปิดรับ สมาชิกจากพรรคไทยรักไทยหรือไม่ นายสุเทพกล่าวว่า ต้องพิจารณาเป็นรายบุคคล เพราะบางคนก็ดีจริงแต่บางคนก็ผิดจริงจะรับมาทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ จึงต้องพิจารณากันอย่างรอบคอบ เอาเฉพาะคนดีที่อยากทำงานกับเราเท่านั้น ส่วนพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ หัวหน้าพรรคมหาชน จะกลับเข้าพรรคประชาธิปัตย์อีกหรือไม่นั้น ยังไม่ได้หารือกัน

-เผยมติ 9 ต่อ 0 ไม่ยุบประชาธิปัตย์

รายงาน ข่าวจากตุลาการรัฐธรรมนูญแจ้งว่า คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 มีความเห็นไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ เพราะข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ทำความผิด หรือฝ่าฝืนพ.ร.บ.พรรคการเมือง

ส่วนพรรค ประชาธิปไตยก้าวหน้า คณะตุลาการฯ มีมติ 6 ต่อ 3 ให้ยุบพรรค โดยเสียงข้างน้อยความเห็นว่า แม้พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าจะมีความผิดถึงขั้นยุบพรรค แต่ไม่เห็นด้วยที่จะนำประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(คปค.) ฉบับที่ 27 มาย้อนหลังใช้บังคับเพื่อกำหนดโทษ เพิกถอนสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค 5 ปี ขณะที่เสียงข้างมาก 6 เสียง เห็นว่าเมื่อมีความผิดถึงขั้นยุบพรรค ก็ควรกำหนดโทษกับผู้บริหารพรรคที่กระทำผิด ในฐานะเป็นตัวแทนพรรค ตามประกาศคปค. ฉบับที่ 27

-ไทยรักไทยไม่มั่นใจผลคดีพรรค

ร.ท.กุ เทพ ใสกระจ่าง หนึ่งในทีมทนายความต่อสู้คดีพรรคไทยรักไทยกล่าวว่า เท่าที่ติดตามฟังคำตัดสินกรณีพรรคประชาธิปัตย์พบว่า ศาลยกข้อกฎหมายที่พรรคประชาธิปัตย์นำไปต่อสู้ออกหมด ทำให้เข้าใจว่าศาลน่าจะดูที่ข้อเท็จจริงเป็นหลัก ขณะที่การต่อสู้คดีนี้พรรคไทยรักไทยยกข้อกฎหมายต่อสู้มากกว่าพรรคประชาธิปัต ย์ จึงเริ่มไม่มั่นใจคดีแล้ว ประเด็นที่ตนสนใจคือ ไม่เข้าใจว่าทำไมศาลจึงนำประกาศคปค. ฉบับที่ 27 มาใช้ ทั้งที่เป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นหลังจากคดีเข้าสู่กระบวนการพิจารณาแล้ว การที่ศาลอ้างว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดทางอาญา แต่เป็นความผิดทางการเมือง ตนเห็นว่าบทลงโทษนั้นหนักกว่าคดีอาญาด้วยซ้ำ เพราะตัดสิทธิ์ทางการเมืองของประชาชน และอีกกรณีคือ คำพิพากษาของตุลาการฯ ชุดนี้ ไม่มีคำว่าเป็นที่สุดและไม่มีผลผูกพันกับองค์กรอื่นนั้น ก็อาจเป็นช่องทางให้บางพรรคซึ่งโดนลงโทษนำไปต่อสู้คดีในศาลอื่นๆ ได้

-ธรรมาธิปไตยนัดชุมนุมก่อนวงแตก

สำหรับ ความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองต่างๆ นั้น มีรายงานข่าวว่าอดีตส.ส.กลุ่มบ้านริมน้ำ ซึ่งประกอบด้วย นายสุชาติ ตันเจริญ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม และนายวราเทพ รัตนากร ได้ไปรวมตัวกันที่บ้านนายสุชาติ ที่จ.นนทบุรี เพื่อร่วมกันรับฟังผลการตัดสิน และเมื่อตุลาการฯ วินิจฉัยว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ถูกยุบ ขณะที่พรรคเล็กถูกยุบ ทำให้แกนนำกลุ่มเริ่มมีความหวังน้อยลง เหลือแค่ 50-50

ส่วนกลุ่ม ธรรมาธิปไตย ไปชุมนุมกันที่โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล ราชประสงค์ ก่อนแยกย้ายกลับบ้านทันทีหลังจากตุลาการฯตัดสินคดีของพรรคประชาธิปัตย์เสร็จ สิ้น โดยส่วนใหญ่ต่างไม่มั่นใจในอนาคตของพรรคไทยรักไทยเหมือนช่วงแรกๆ

-"อ้อ"หอบลูกไปหา"แม้ว"ที่อังกฤษ

รายงาน ข่าวจากคนใกล้ชิดคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาพ.ต.ท.ทักษิณ เปิดเผยว่า คุณหญิงพจมานพร้อมด้วยบุตรชายบุตรสาวทั้ง 3 คน เดินทางไปพบพ.ต.ท.ทักษิณที่ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค. เนื่องจากคุณหญิงพจมานไม่ไว้ใจสถานการณ์การเมืองภายในประเทศ ประกอบกับเป็นความต้องการของพ.ต.ท.ทักษิณที่เป็นห่วงครอบครัว เพราะมีกระแสข่าวความไม่สงบในประเทศเกิดขึ้นหนาหู จากนั้นครอบครัวชินวัตรทั้งหมดจะเดินทางไปที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นให้เป็นอาจารย์พิเศษช่วง ต้นเดือนก.ค.

-"เพ้ง"เฝ้าบ้านลุ้นผลยุบไทยรักไทย

เมื่อเวลา 19.30 น.นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รักษาการรองเลขาธิการพรรคไทยรักไทย ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการจ้างพรรคเล็กลงเลือกตั้งประกบพรรคไทยรักไทยจน กลายเป็นคดีประวัติศาสตร์ครั้งนี้ ให้สัมภาษณ์ระหว่างฟังคำตัดสินที่บ้านพักภายในหมู่บ้านเกศินีวิลล์ ย่านห้วยขวาง ว่า ได้รับโทรศัพท์ให้กำลังใจโดยตลอด และมีสมาชิกพรรคไทยรักไทยจะมาร่วมรับฟังผลที่บ้านด้วย แต่ตนขอให้ไปรวมตัวให้กำลังใจที่พรรคมากกว่าเพราะพรรคสำคัญที่สุด หากมีคำวินิจฉัยตัดสินไม่ยุบพรรคไทยรักไทย ตนคงต้องประชุมหารือร่วมกับส.ส.ของพรรคว่าจะมีแนวคิดและกำหนดทิศทางของพรรค อย่างไร ยืนยันสนับสนุนพรรคไทยรักไทยต่อไป โดยจะมองหาและสนับสนุนคนรุ่นใหม่ให้ทำงานการเมือง พร้อมดูบทเรียนวิกฤตทางการเมืองที่ผ่านมาเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ และปรับปรุงการทำงานของพรรคให้มีความเข้มแข็ง เพื่อผลักดันให้เป็นสถาบันทางการเมือง

นายพงษ์ศักดิ์กล่าวอีกว่า สำหรับตนจะวางมือทางการเมืองหรือไม่นั้น ต้องดูองค์ประกอบหลายๆ อย่าง จู่ๆจะละทิ้งนักการเมืองที่เคยร่วมอุดมการณ์เดียวกันมาคงไม่ได้ ขณะนี้คงเร็วเกินไปที่จะตัดสินว่าจะวางมือทางการเมืองหรือไม่ คงต้องรอให้การตัดสินคดียุบพรรคผ่านไปแล้ว 1 เดือน พร้อมทั้งดูเงื่อนไขของร่างรัฐธรรมนูญใหม่ นำมาประกอบการตัดสินใจอีกครั้งหนึ่ง

-ไม่ได้ทำผิดแต่น้อมรับคำตัดสิน

นาย พงษ์ศักดิ์กล่าวต่อว่า ยืนยันว่าไม่ว่าคำพิพากษาจะออกมาอย่างไรก็พร้อมน้อมรับ แต่มั่นใจว่าไม่ได้ทำความผิดพลาดเหมือนอย่างที่ถูกกล่าวหาและได้พยายามชี้ แจงอย่างเต็มที่แล้ว มั่นใจว่าไม่ได้ทำผิดอะไร แต่เมื่อศาลตัดสินแล้วต้องยอมรับเพื่อความสงบสุข ถ้าถูกพิพากษาเว้นวรรคทางการเมืองก็จะมาเป็นที่ปรึกษาให้กับนักการเมืองรุ่น น้อง ทำงานอยู่เบื้องหลัง คิดว่าไม่จำเป็นต้องทำงานอยู่แถวหน้าเสมอไป จากนั้นคงหันไปทำในสิ่งที่ชอบและเน้นเป็นที่ปรึกษาเนื่องจากอายุมากแล้ว ส่วนตัวไม่ได้รู้สึกเครียดหรือกดดันอะไร และไม่ได้เป็นห่วงอนาคตการทำงานของพรรคมากนัก เพราะเชื่อว่ามีคณะกรรมการบริหารพรรคที่มีศักยภาพในการบริหารอีกมาก

"หาก พรรคไทยรักไทยถูกตัดสินให้ยุบพรรค เท่าที่พูดคุยกับส.ส.หลายคนในพื้นที่ ยืนยันจะสนับสนุนให้ทำงานการเมืองภายใต้กลุ่มเดิมอยู่ ถึงแม้จะเป็นพรรคใหม่ก็จะนำนโยบายของไทยรักไทยมาสานต่อ เพราะพรรคมุ่งสร้างนโยบายที่คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นหลัก หากมีการตั้งพรรคใหม่ด้วยวัตถุประสงค์อื่นผมคงจะไม่ทำ" นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว

-ควรเลือกตั้งโดยเร็ว-เลิกแก้แค้นกัน

นาย พงษ์ศักดิ์กล่าวด้วยว่า อยากเรียกร้องให้เร่งจัดการเลือกตั้งโดยเร็ว เพราะจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและสร้างความเชื่อมั่นในสายตา ชาวโลกด้วย และอยากให้ทุกฝ่ายทุกพรรคการเมืองลืมอดีต เลิกคิดแก้แค้นกันแม้ว่าผลการตัดสินคดียุบพรรคจะออกมาอย่างไร ขอให้ทุกฝ่ายหันมาสมานฉันท์และมีความปรองดองกันอย่างแท้จริง จากนั้นหันมาทำงานการเมืองอย่างตรงไปตรงมาให้ผลการเลือกตั้งตามความต้องการ ของประชาชนเป็นตัวตัดสิน หากทำได้อย่างนี้จะสร้างความเชื่อมั่นได้ดี คนก็จะหันมาจับจ่ายใช้สอยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศได้

"นอกจากนี้อยาก ให้รัฐบาลและคมช. เร่งทำนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจไปถึงประชาชนให้มากที่สุด เช่น การมีโครงการใหม่ๆ อัดฉีดเม็ดเงินฟื้นฟูเศรษฐกิจขึ้นมา ไม่อย่างนั้นหากรอให้มีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ระบบเศรษฐกิจจะยิ่งแย่ไปกว่านี้" นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว

-ไทยรักไทยเช็กยอดส.ส.มา 289 คน

ขณะ ที่ที่ทำการพรรคไทยรักไทย ตลอดทั้งวันอดีตส.ส.ของพรรคทั้งระบบเขตและระบบปาร์ตี้ลิสต์ เมื่อมาถึงพรรคต้องลงชื่อในหนังสือแสดงเจตจำนงยืนหยัดอยู่กับพรรค ไม่ว่าพรรคจะถูกยุบหรือไม่ หากไม่ถูกยุบยืนยันอยู่กับพรรคไทยรักไทยต่อไป แต่หากถูกยุบแล้วมีการยื่นขอจดทะเบียนพรรคใหม่ ก็จะอยู่กับพรรคที่ตั้งขึ้นใหม่ กระทั่งถึงช่วงค่ำวันเดียวกัน ฝ่ายทะเบียนพรรครวบรวมยอดอดีตส.ส.ที่มารายงานตัวได้ทั้งสิ้น 289 คน แยกเป็นผู้บริหารและอดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ 45 คน อดีตส.ส.เขตปี 48 รวม 188 คน และอดีตผู้สมัครส.ส.เขตปี 49 แต่ไม่ได้รับการประกาศให้เป็นส.ส. เพราะศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะอีก 56 คน

ทั้งนี้ อดีตส.ส.พรรคไทยรักไทยที่ก่อนหน้านี้ไปอยู่กับกลุ่มมัชฌิมาของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน แต่ได้สมัครกลับเข้าพรรคไทยรักไทย วันเดียวกันนี้เดินทางมาแสดงตัวที่พรรคอย่างชัดเจน อาทิ นายระวี หิรัญโชติ น.พ.วัลลภ ยังตรง นายประชา ประสพดี นายพินิจ จันทรสุรินทร์ นายสถาพร มณีรัตน์ เป็นต้น ขณะที่อดีตส.ส.บางคนในกลุ่มมัชฌิมาพยายามติดต่อขอกลับพรรคไทยรักไทย แต่ติดปัญหาภายในพรรค อาทิ นายบัวสอน ประชามอญ อดีตส.ส.เชียงราย คนสนิทของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน พยายามขอกลับไทยรักไทย ผ่านนายอิทธิเดช แก้วหลวง อดีตส.ส.เชียงราย กลุ่มวังบัวบาน แต่เมื่อนายอิทธิเดชนำเรื่องไปหารือกับอดีตส.ส.เชียงรายอีก 7 คน ส่วนใหญ่รับไม่ได้ที่นายบัวสอนทิ้งเพื่อนๆและพรรคไปในช่วงประสบมรสุม

-"อ๋อย"นำลูกพรรคมาศาลตั้งแต่เที่ยง

ผู้ สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญว่า สำหรับแกนนำพรรคไทยรักไทย นำโดยนายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรค นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และทีมงานประมาณ 30 คน เดินทางมายังสำนักงานศาลฯตั้งแต่ช่วงเวลาประมาณ 12.00 น. ไล่เลี่ยกับคณะของพรรคประชาธิปัตย์ และนายบุญญาบารมีพล ชินราช หัวหน้าพรรคแผ่นดินไทย นายบุญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ หัวหน้าพรรคพัฒนาชาติไทย ส่วนพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ไม่มีตัวแทนเดินทางมาร่วมฟังคำวินิจฉัยแต่อย่างใด

-นั่งฟังจนเกือบ 6 โมงเย็นก่อนถึงคิว

ผู้ สื่อข่าวรายงานอีกว่า ระหว่างที่ตุลาการฯอ่านคำวินิจฉัยคดีพรรคประชาธิปัตย์ บรรดาแกนนำพรรคไทยรักไทยต่างนั่งฟังด้วยความผ่อนคลาย และเข้าๆออกๆห้องเป็นระยะๆ เนื่องจากการอ่านคำวินิจฉัยใช้เวลานานหลายช.ม. จนกระทั่งถึงเวลา 17.45 น.คณะตุลาการฯจึงมีคำวินิจฉัยยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า และยกคำร้องพรรคประชาธิปัตย์ โดยใช้เวลาอ่านคำวินิจฉัยนานกว่า 4 ช.ม.

จาก นั้นตุลาการสั่งพักประมาณ 10 นาที ก่อนเริ่มอ่านคำวินิจฉัยกรณีของพรรคไทยรักไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคพัฒนาชาติไทย เพื่อเปิดโอกาสให้ตัวแทนพรรคไทยรักไทยและพรรคที่ถูกร้องเข้ามานั่งแถวด้าน หน้าใกล้กับบัลลังก์พิจารณาคดีแทนที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งยกคณะเดินทางออกจากสำนักงานศาลฯทันทีที่ทราบคำวินิจฉัย

-ไทยรักไทยสีหน้าไม่สู้ดีทั้งคณะ

จาก นั้นเวลา 18.15 น. คณะตุลาการฯ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยคำร้องที่อัยการสูงสุดขอให้คณะตุลาการฯ มีคำสั่งยุบพรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย โดยพรรคไทยรักไทย มีนายจาตุรนต์ รักษาการหัวหน้าพรรค นายพงศ์เทพ หัวหน้าคณะสู้คดียุบพรรค นายสมศักดิ์ โตรักษา ทนายผู้รับมอบอำนาจ มารับฟังในฐานะผู้ถูกร้องที่ 1 รวมทั้งกรรมการบริหารพรรค และสมาชิกพรรคที่มาร่วมรับฟังคำวินิจฉัยด้วยสีหน้าไม่ดี หลังจากคณะตุลาการฯ มีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าและตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค แม้ว่าหัวหน้าพรรคจะลาออกไปหน้านี้แล้วก็ตาม

ขณะที่พรรคพัฒนาชาติ ไทย มีนายสุรชัย ชินชัย ทนายความนายบุญทวีศักดิ์ หัวหน้าพรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย มีนายบุญญาบารมีพล หัวหน้าพรรค มารับฟังคำวินิจฉัย

-ระทึก 18.15 น. เริ่มอ่านคำวินิจฉัย

การ อ่านคำวินิจฉัยครั้งนี้ดำเนินการโดยนายวิชัย ชื่นชมพูนุท นายธานิศ เกศวพิทักษ์ และม.ล.ไกรฤกษ์ เกษมสันต์ ตุลาการรัฐธรรมนูญ นายวิชัยอ่านคำวินิจฉัยระบุคำร้องของอัยการสูงสุดขอให้ยุบพรรคทั้ง 3 เนื่องจากพรรคไทยรักไทยว่าจ้าง 2 พรรคเล็กลงสมัคร เพื่อให้แข่งขันกับพรรคไทยรักไทย หลีกเลี่ยงเกณฑ์คะแนน 20 เปอร์เซ็นต์ หากมีผู้สมัครลงเพียงคนเดียว รวมทั้งเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลสมาชิกพรรคพัฒนาชาติไทยในฐานข้อมูลของกกต. เพื่อให้สมาชิกมีคุณสมบัติสังกัดพรรคการเมือง 90 วัน ซึ่งเป็นการกระทำให้ได้มาเพื่ออำนาจการปกครองประเทศ นอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และมีการกระทำที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงต่อประเทศ ขัดต่อหลักกฎหมาย ความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดี ตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 66 (1)และ(3)

ม.ล.ไกรฤกษ์กล่าวว่า ประเด็นที่ต้องพิจารณาในคำกล่าวอ้างของพรรคไทยรักไทยว่า 1.คณะตุลาการมีอำนาจพิจารณาคำร้องหรือไม่ พิจารณาแล้วว่าคณะตุลาการมีอำนาจพิจารณาคำร้องเพราะรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2549 มาตรา 35 วรรค 1 ให้มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมา และวรรค 4 ให้โอนอรรถคดีที่ค้างในศาลรัฐธรรมนูญให้อยู่ในการพิจารณาของคณะตุลาการ แม้การกล่าวอ้างของพรรคไทยรักไทยว่าคณะตุลาการไม่มีสิทธิพิจารณาคดี เพราะไม่ใช่ศาลและขัดกับหลักนิติรัฐ มาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดให้คณะตุลาการมาจากผู้พิพากษาศาลฎีกาและตุลาการ ศาลปกครอง ซึ่งทำหน้าที่ตุลาการในพระปรมาภิไธยมาโดยตลอด อีกทั้งกระบวนการพิจารณากระทำอย่างเปิดเผยให้โอกาสผู้ถูกร้องชี้แจงในทุก ประเด็น การที่ตุลาการพิจารณาคดีดังกล่าวจึงไม่ขัดกับหลักนิติรัฐ ข้อกล่าวอ้างจึงฟังไม่ขึ้น

2.ข้อกล่าวอ้างว่านายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้ร้องต่อกกต.ไม่ใช่ผู้เสียหาย มาตรา 67 พ.ร.บ.พรรคการเมือง ให้อำนาจนายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นเรื่องให้อัยการสูงสุดส่งให้ศาลรัฐ ธรรมนูญสั่งยุบพรรค ในกรณีที่รู้ว่าคณะกรรมการบริหารพรรคดำเนินการผิดมาตรา 66 ของพ.ร.บ.ฉบับเดียวกัน การที่ผู้ร้องเรียนเป็นผู้เสียหายหรือไม่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ข้อกล่าวอ้างนี้จึงฟังไม่ขึ้น

3.ข้อกล่าวอ้างว่าการยื่นเรื่องให้ อัยการสูงสุดของพล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ไม่ถูกต้อง เพราะไม่ผ่านมติของกกต.อันขัดกับพ.ร.บ.กกต. พิจารณาแล้วเห็นว่าการยื่นเรื่องให้อัยการสูงสุดเพื่อเสนอให้ยุบพรรค เป็นอำนาจของนายทะเบียนพรรคการเมืองตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 67 ซึ่งผู้ถูกร้องสามารถแก้ข้อกล่าวหาได้ ผิดกับการที่กกต.มีมติเกี่ยวกับการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งให้ใบเหลืองใบ แดง ซึ่งไม่สามารถอุทธรณ์ได้ การยื่นยุบพรรคจึงไม่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของพ.ร.บ.กกต. ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวจึงฟังไม่ขึ้น และการทำงานของอนุกรรมการสอบสวนฯ กกต.ก็ดำเนินการตามคำสั่งของนายทะเบียนพรรคการเมือง จึงไม่อยู่ภายใต้ระเบียบการสืบสวนสอบสวนของกกต. การอ้างว่าอนุฯกกต.ไม่ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงจึงฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

-พ.ร.บ.พรรคการเมืองยังไม่สิ้นสุด

4. ข้อกล่าวอ้างว่าประกาศคปค.ฉบับที่ 3 ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี"40 ทำให้พ.ร.บ.พรรคการเมือง และพ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส.และส.ว. สิ้นสุดลงความผิดตามพ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับจึงนำมากล่าวอ้างไม่ได้ คณะตุลาการฯพิจารณาแล้วว่าสภาพพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญของไทย มีลักษณะเป็นพ.ร.บ.ทั่วไป จึงไม่สิ้นสุดตามรัฐธรรมนูญ การจะยกเลิกมีได้ 2 อย่างคือการออกพ.ร.บ.ใหม่ หรือการประกาศยกเลิก คปค.ยึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 ก.ย. คปค.ไม่มีคำสั่งยกเลิกหรือออกกฎหมายใหม่มาแทนพ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับ แต่มีประกาศคปค.ฉบับที่ 3 ให้ศาลทั้งหลายนอกจากศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิพากษาอรรถคดีตามหลักกฎหมาย หลักกฎหมายทั้งปวงที่มีใช้ก่อนการรัฐประหารย่อมมีผลบังคับใช้ต่อไป การอ้างคำชี้แจงของสำนักเลขาฯ คปค.ว่าพ.ร.บ.ทุกฉบับยกเลิก เป็นเพียงความเห็นของสำนักเลขาฯ ไม่ใช่คำสั่งคปค.จึงไม่มีสภาพบังคับทางกฎหมาย ข้อกล่าวอ้างจึงฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

นายวิชัย กล่าวว่า 5.ข้อกล่าวอ้างว่ามาตรา 66 ในพ.ร.บ.พรรคการเมืองขัดต่อรัฐธรรมนูญปี"40 มาตรา 29 เนื่องจากเป็นการเพิ่มสาเหตุยุบพรรคขึ้นเพิ่มเติมโดยไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ พิจารณาแล้วเห็นว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 29 ระบุว่า การละเมิดสิทธิเสรีภาพกระทำไม่ได้นั้น เมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญ 40 มาตรา 320 ที่ไม่ให้ถือการไม่ส่งผู้สมัครลงสมัครเป็นเหตุยุบพรรค แสดงว่ารัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถตรากฎหมายลงโทษพรรคการ เมืองได้ แต่ไม่ให้นำเหตุการณ์ไม่ส่งผู้สมัครมาเป็นสาเหตุ ไม่ใช่ห้ามตรากฎหมายลงโทษแม้ว่าจะมีการกระทำผิดร้ายแรง อย่างไรก็ตาม มาตรา 66 ของพ.ร.บ.พรรคการเมือง จึงไม่ใช่การจำกัดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และไม่เกินกว่าความเป็นจริง มาตราดังกล่าว จึงไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ข้อกล่าวอ้างจึงฟังไม่ขึ้น

6.ข้อกล่าวอ้างว่า มาตรา 67 ของพ.ร.บ.พรรคการเมือง ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมาตรา 63 หรือไม่ ทั้ง 2 ส่วนเป็นคนละกรณีกัน ซึ่งตามวรรค 2 และ 3 ในมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญปี"40 ก็ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคได้อยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งเตือนให้หยุดการกระทำก่อน ดังนั้นข้อกล่าวอ้างดังกล่าวฟังไม่ขึ้น 7.ข้อกล่าวอ้างว่าการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 49 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญตามคำสั่งของศาลปกครองนั้น จะไม่สามารถนำเหตุการณ์กระทำผิดในครั้งนั้นมาร้องได้นั้น พิจารณาแล้วว่าการเลือกตั้งไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญกับการกระทำผิดตามพ .ร.บ.พรรคการเมืองเป็นคนละส่วนกัน ข้อกล่าวอ้างจึงฟังไม่ขึ้น

-"เพ้ง"-คนสนิทธรรมรักษ์อยู่ด้วย

นาย วิชัย กล่าวว่า 8.ผู้ถูกร้องทำตามข้อกล่าวหาหรือไม่ พิจารณาจากข้อเท็จจริงเห็นว่านายอมรวิทย์ สุวรรณผา เจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ กกต. รับสารภาพว่า เป็นผู้แก้ไขข้อมูลฐานสมาชิกพรรคพัฒนาชาติไทยในฐานข้อมูลของกกต. และฟังได้ว่านายบุญทวีศักดิ์ร่วมมือกับนายสุขสันต์ ชัยเทศ และนายอมรวิทย์ แก้ไขฐานข้อมูลสมาชิกพรรคพัฒนาชาติไทยในฐานข้อมูลกกต.

ส่วนเกี่ยว ข้องกับพรรคไทยรักไทยหรือไม่นั้น พิจารณาแล้วเห็นว่ามีการติดต่อจากนายพงษ์ศรี ศิวาโมกข์ คนสนิทกับพล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ให้พบกับนายสุขสันต์ ในวันที่ 2 มี.ค. 49 ที่พรรคไทยรักไทย โดยมีนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล อยู่ด้วย และมีการเจรจาให้หาผู้สมัครลงในพื้นที่หลายแห่งรวมถึงการกำหนดวิธีการ เปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลสมาชิกพรรค จากนั้นนายสุขสันต์และนายชวการ ก็ไปดำเนินการหาผู้สมัคร จำนวน 33 คน รวมทั้งใช้วิธีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลสมาชิกโดยลงในพื้นที่ภาคใต้ถึง 25 คน ซึ่งเจือสมกับคำให้การนายชวการ รวมทั้งแผนผังในห้องประชุมที่เจอกับพล.อ.ธรรมรักษ์ ก็ถูกต้องเกินกว่าที่นายชวการจะสร้างเรื่องขึ้นได้

นายวิชัยกล่าวว่า การเข้าพบพล.อ.ธรรมรักษ์ เพื่อรับเงินที่ห้องทำงานในกระทรวงกลาโหม ฟังได้ว่านายชวการ นายสุขสันต์ และนายทวี สามารถเข้าไปรอพบพล.อ.ธรรมรักษ์ ที่หน้าห้องได้โดยไม่ต้องแลกบัตร พล.อ.ธรรมรักษ์เองก็ยอมรับว่ารู้จักนายทวีซึ่งมาให้ข้อมูลเรื่องภาคใต้บ่อย จึงเชื่อได้ว่าก่อนที่นายทวีพานายชวการไปพบที่ห้องทำงานมีการนัดพบกันก่อน แล้ว ส่วนการอ้างว่าพล.อ.ธรรมรักษ์ ไม่ได้พบเพราะมีธุระนั้นจากคำเบิกความทราบว่าพยานที่อยู่กับพล.อ.ธรรมรักษ์ ทุกคนมาด้วยกิจเล็กน้อย ไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่จะไม่ให้นายทวีเข้าพบได้

-ฟังไม่ขึ้นร่วมมือใส่ร้ายไทยรักไทย

คำ ให้การว่ามีการนับเงินที่ใส่ซองจำนวน 38 ซอง ซองละ 2 หมื่นบาท รวมเป็นเงิน 7 แสน 6 หมื่นบาท ที่โรงแรมกานต์มณี ประกอบกับที่นายบุญทวีศักดิ์ก็ระบุว่าพรรคพัฒนาชาติไทยไม่มีเงิน อีกทั้งเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินจำนวนมาก จึงเชื่อได้ว่าเป็นเงินจากนายทวีที่ได้รับมอบหมายให้มาทำงานของพล.อ.ธรรม รักษ์ในการจัดหาผู้สมัคร และยังมีหลักฐานการโอนเงินจำนวน 1.4 แสนบาทเข้าบัญชีของนายสุขสันต์ที่จ.นครพนมจริง

สำหรับข้ออ้างของพรรค ไทยรักไทยว่านายชวการเป็นคนสุราษฎร์ธานี บ้านเดียวกับนายสุเทพ พิจารณาว่าการกระทำของนายชวการ เป็นการกระทำที่รุนแรงมีความผิดทางอาญา ไม่น่าจะสารภาพว่าเป็นผู้กระทำโดยมีเหตุผลเพียงว่าเป็นคนบ้านเดียวกับนายสุ เทพ ส่วนกรณีที่นายสุขสันต์ เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์นั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่านายสุขสันต์เคยลงสมัครในนามพรรคอื่นอีก จึงไม่น่าจะมีความผูกพันกับพรรคประชาธิปัตย์นัก จึงฟังไม่ขึ้นว่าทั้ง 2 ร่วมมือกันเพื่อใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย

-ฟังได้เพ้ง-ธรรมรักษ์ทำเพื่อพรรค

ตุลาการฯ อ่านคำพิพากษาต่อว่า สำหรับกรณีนางฐัติมา อ้างว่าถูกกักขังที่บ้านของนายสุเทพที่อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี นางฐัติมาเคยให้ปากคำที่สภ.อ.พุนพิน ว่าสมัครใจไปอยู่บ้านนายสุเทพ เพราะเกรงจะไม่ปลอดภัยเนื่องจากเป็นพยานในคดีจ้างพรรคเล็กลงสมัคร หากรู้สึกว่าที่เคยให้การเป็นการปรักปรำพรรคไทยรักไทยก็ควรจะรู้สึกแต่แรก ส่วนการจ่ายเงินของพล.ท.ผดุงศักดิ์ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าพล.อ.ไตรรงค์ และพล.ท.ผดุงศักดิ์ ให้เงินนายบุญญาบารมีพล และนางฐัติมา ในฐานะตัวแทนของพล.อ.ธรรมรักษ์ และเป็นเงินของพรรคไทยรักไทยที่ได้ประโยชน์จากการลงส่งผู้สมัครของพรรคพัฒนา ชาติไทย

ประเด็นที่นายบุญญาบารมีพล ส่งผู้สมัครในนามพรรคแผ่นดินไทย ทราบหรือไม่ว่ามีสมาชิกที่ไม่มีคุณสมบัติลงสมัคร พยานปากอื่นที่เป็นผู้สมัครของพรรคแผ่นดินไทยล้วนเบิกความว่ารู้แต่ต้นว่า ไม่มีสิทธิลงสมัคร แต่ได้รับการชักชวนจากนายบุญญาบารมีพล และนางฐัติมา และการออกหนังสือรับรองสมาชิกพรรคอื่นๆ ทั้งที่ทราบว่าเป็นสมาชิกพรรคไม่ถึง 90 วัน จึงเห็นว่านายบุญญาบารมีพลทราบตลอดว่าออกใบรับรองโดยที่ผู้ถูกรับรองไม่มี คุณสมบัติสังกัดพรรคเกิน 90 วันเพื่อลงเลือกตั้ง

9. ข้อกล่าวอ้างว่าการกระทำของพล.อ.ธรรมรักษ์ และนายพงษ์ศักดิ์ ไม่ได้รับมติพรรคหรือมอบหมายจากพ.ต.ท.ทักษิณ ให้ดำเนินการในนามพรรค และพล.อ.ธรรมรักษ์และนายพงษ์ศักดิ์ ไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งจ่ายเงินพรรค พิจารณาว่า การกระทำที่ไม่เปิดเผยและผิดกฎหมายนั้น เป็นไปไม่ได้ที่หัวหน้าพรรคมีหนังสือมอบหมายจากหัวหน้าพรรคและได้รับมติพรรค หากเป็นเช่นนี้มาตรา 67 ของพ.ร.บ.พรรคการเมืองย่อมใช้ไม่ได้ และไม่สามารถดำเนินการกับผู้กระทำผิดกฎหมาย ดังนั้นหากฟังได้ว่ามีการกระทำเพื่อประโยชน์ของพรรคก็ฟังได้เพียงพอ

-เป็นรมว.ใหญ่ต้องแสดงความสำคัญ

ช่วง เวลา 23.00 น. ม.ล.ไกรฤกษ์กล่าวว่า เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองในขณะนั้น แม้ว่าพรรคไทยรักไทยจะมีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวในการเลือกตั้ง 2 เม.ย. 49 แต่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้คะแนนเกินร้อยละ 20 กรณีส่งผู้สมัครเพียงคนเดียว ซึ่งมีถึง 37 เขต ที่ผู้สมัครไทยรักไทยลงสมัครเพียงคนเดียว คาดหมายได้ว่าโอกาสที่จะได้คะแนนเกินร้อยละ 20 เป็นไปได้ยากแล้วจะเกิดปัญหาต่อเนื่องตามมา ในเรื่องของการเปิดสมัยประชุมสภาและจะส่งผลให้การเข้าเป็นนายกฯของพ .ต.ท.ทักษิณและการตั้งครม.ล่าช้าออกไป

"สิ่งเหล่านี้กรรมการบริหาร พรรคไทยรักไทย รวมทั้งพล.อ.ธรรมรักษ์ และนายพงษ์ศักดิ์จะปล่อยให้เกิดขึ้นไม่ได้ การแก้ปัญหาคือต้องหาผู้สมัครพรรคเล็กลงสมัครแข่งขันด้วย แต่การหาผู้สมัครพรรคเล็กก็ยาก เพ


http://news.bluegy.com/5730/ทรทช็อกถูกยุบ--ปชปรอด-แบนพรรคเล็ก.htm