PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ว่าด้วยผบ.ทบ.คนที่39และความเป็นไปของบูรพาพยัคฆและวงศ์เทวัญในกองทัพ

///////////
นักวิชาการมองโผทหาร.. 'ธีรชัย' ผงาดผบ.ทบ.
โดย : ศักรินทร์ เข็มทอง
วันที่ 05 สิงหาคม 2558, 10:54
อ่านแล้ว 6,243 ครั้ง
"เชื่อว่าพล.อ.ธีรชัย มีโอกาสมากกว่า เพราะครบเครื่องทั้งการคุมกำลัง และมีความรู้ในเรื่องจังหวัดชายแดนใต้"

ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านของผู้บัญชาการเหล่าทัพในเดือน ต.ค.2558 นี้ ยกเว้นผู้บัญชาการทหารอากาศ ในยุคทหารบริหารประเทศ ตำแหน่งที่เป็นที่จับตามองเป็นพิเศษ คงนี้ไม่พ้น ผู้บัญชาการ

ทหารบก (ผบ.ทบ.) ซึ่ง พล.อ. อุดมเดช สีตบุตร ผบ.ทบ.คนปัจจุบัน จะเกษียณอายุราชการในเดือนก.ย.นี้ จึงเป็นที่จับตามองว่าใครเสนอชื่อใคร เพื่อขึ้นนั่งตำแหน่งแม่ทัพบกคนที่ 39 แห่งกองทัพบก

ไทย

อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีโผทหารของสื่อมวลชนหลายสำนักคาดการณ์กันไป แต่สุดท้ายแล้ว คงต้องจับตากันจนถึงนาทีสุดท้าย อย่างลีเด็ดที่ว่า “สงครามยังไม่จบอย่าเพิ่งนับศพทหาร”

นายวันวิชิต บุญโปร่ง รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และผู้เชี่ยวชาญสายทหาร วิเคราะห์ว่า สถานการณ์ขณะนี้แคนดิเดทที่จะมีโอกาสขึ้นในตำแหน่ง ผบ.ทบ.

คนที่ 39 มี พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้ช่วย ผบ.ทบ.คนที่ 1 และ พล.อ. ปรีชา จันทร์โอชา ผู้ช่วย ผบ.ทบ. คนที่ 2

ทั้งนี้ หากนับตามรุ่นนักเรียนเตรียมทหารนั้น พล.อ. ธีรชัย เป็นนรต. รุ่น 14 อาวุโสกว่า พล.อ.ปรีชา หนึ่งรุ่น แต่เกษียณอายุราชการพร้อมกัน วันที่ 30 ก.ย.2559 โฟกัสสำคัญของสื่อมวลชนในหลาย

เดือนที่ผ่านมานั้น แม้จะมีการโยนหินถามทาง หรือยั้งเสียงใครๆ ก็ตาม น้ำหนักก็สามารถไปได้ทุกฝ่าย แต่ถ้าวิเคราะห์ตามความเป็นจริงของเหตุการณ์นั้น พล.อ.ธีรชัย มีโอกาสอย่างมากที่จะเป็น

ผบ.ทบ.คนต่อไป ต่อจาก พล.อ. อุดมเดช มากกว่า พล.อ.ปรีชา

“ถามว่าสามารถวิเคราะห์จากจุดไหนได้บ้างอันดับแรก ความอาวุโส ต่อมาในเรื่องสายการทำงานของการรับราชการ ตั้งแต่ ร้อยตรี จนถึงอัตราจอมพลยศพลเอก นั้น ตำแหน่งสำคัญๆ พล.อ.ธีรชัย

ดำรงตำแหน่งมา สวยงามกว่า พล.อ.ปรีชา โดยเฉพาะ พล.อ.ธีรชัย คุมกำลังสายกำลังรบ และเคยเป็นผู้บังคับกองพัน ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 ถือว่าโตมาในหน่วยของสายบูรพาพยัคฆ์ ส่วน

พล.อ.ปรีชา ไม่เคยเติบโตในสายกำลังรบ แต่เดินมาตามทางสายบำรุงกำลัง จึงมีความต่างกันตรงจุดนี้

ที่สำคัญที่ว่า พล.อ.ธีรชัย ได้เปรียบอะไรกว่า มองที่การติดยศ พล.ท. ท่านครองในจำนวนปีที่นานกว่า แม้จะติด พล.อ. พร้อมกัน มองได้ในเรื่องการชัดเจนในการดำรงตำแหน่ง ประเด็นต่อมา ความ

ครบเครื่องมีมากกว่า พล.อ.ปรีชา ในเรื่องที่ว่า ตอนที่ท่านเป็นเสนาธิการกองทัพน้อยที่ 1 ในยศ พล.ต. ท่านเคยเป็นผู้บัญชาการเฉพาะกิจกำลังนราธิวาส ในการดูแลพื้นที่ที่นั่นถึง 3 ปี ดังนั้น พล.อ.

ปรีชา จะขาดความรอบรู้ในด้านปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ไป ซึ่งทำให้เห็นน้ำหนักในความแตกต่าง และในขณะเดียวกัน”

ส่วนความเห็นในอีกแง่ หากสถานการณ์พลิกกลับ พล.อ.ปรีชา ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ.นั้น นายวันวิชิตมอว่าก็อาจจะเป็นการเปิดมิติมุมมองในกองทัพ ในการที่มีทหารสายอำนวยการ หรือฝ่าย

เสนาธิการ เติบโตขึ้นมามีตำแหน่งแห่งหนในกองทัพได้ หมายความว่า สายอำนวยการจะต้องมีงานสัมพันธ์ มีปฏิสัมพันธ์ติดต่อกับประชาชน หรือภาคสาธารณชนมากกว่า ซึ่งภาพลักษณ์ตรงนี้ จะ

นำไปสู่การเป็นทหารอาชีพ ทั้งนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกา จะเป็นในลักษณะข้างต้นที่กล่าว ที่ทหารจะสายอำนวยการ เติบโตเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของเหล่าทัพได้ ซึ่งจะเป็นการลบล้างค่านิยมเดิมๆ

ในยุคเก่าลงได้ ที่เชื่อว่า ทหารจะต้องคุมกำลังหลัก กำลังรบ ถึงจะเป็นเบอร์หนึ่งของกองทัพได้

“ขณะเดียวกัน นั่นคือจุดดีจุดเดียวของพล.อ.ปรีชา มองกลับมาที่ พล.อ.ธีรชัย ท่านก็เคยเป็นรองเสนาธิการทหารบก่อนจะกลับมาเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 นั่นหมายความว่าท่านก็เคยเติบโตในสายอำนวย

การเช่นกัน พูดง่ายๆ ว่า พล.อ.ธีรชัย มีความรอบรู้ ครบถ้วนมากกว่า ที่สำคัญการเติบโตในสายกองทัพภาคที่ 1 ย่อมจะมีเครือข่ายสายสัมพันธ์ มีแรงสนับสนุนมากอยู่แล้ว ในขณะที่ กองทัพภาคที่ 3

อยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกล แต่กองทัพภาคที่ 1 ถือเป็นกำลังหลัก เป็นขุมกำลังปฏิวัติ หรือการป้องกันยับยั้งสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ การเมืองได้ ”

ในการวิเคราะห์สถานการณ์กลุ่มทหารบรูพาพยัคฆ์กับวงศ์เทวัญนั้น นายวันวิชิต กล่าวว่า มีความเชื่อมั่นว่าขณะนี้ “สายบูรพาพยัคฆ์” มีความพยายามเปลี่ยนแปลงตนเอง คือการผสมกลมกลืนเข้ากับ

“กลุ่มวงศ์เทวัญ” หรือหน่วยอื่นๆ ในกองทัพบก เพราะในหลายปีที่ผ่านมานั้น นายทหารสายบูรพาพยัคฆ์ ถูกส่งไปเติบโตในหน่วยงานต่างๆ ตั้งแต่สมัยเป็นผู้พัน ผู้บังคับกองพัน ผู้บังคับการกรม และ

ใช้ระยะเวลาบ่มเพาะ ไปเติบโตในหน่วยงานนั้นๆ จนได้รับการยอมรับ

เช่น กองพลทหารราบที่ 9 (ค่ายสุรสีห์) มีทหารหลายคนมาจากสายบูรพาพยัคฆ์ หรือในสมัยตั้งแต่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็น ผบ.ทบ. เป็นแม่ทัพภาคที่ 1 ก็เคยเอา ลูกน้อง ทส. มาเป็นผู้บังคับกอง

พันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ฯ (ร.1 พัน.1 รอ.) ในหน่วยของฝ่ายวงศ์เทวัญ นั่นแสดงว่า หลายๆหน่วยของกองทัพบก ทั้ง 2 สายมีการหลอมรวม การกระจาย การเติบ

โต การแผ่กิ่งก้าน ซึ่งสมัยก่อนจะมีการส่งคนฝ่ายตนไปคุมในระดับหัวๆ ของหน่วยงานนั้นๆ และวางทายาทมารับช่วงต่อ

แต่นับจากนี้จะเห็นได้ว่า สายบูรพาพยัคฆ์จะใช้วิธีส่งคนในสายไปแทรกในนายทหารระดับกลาง เพื่อให้เรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรในหน่วยนั้นๆ เพื่อให้เกิดการยอมรับการหลอมรวม ทั้งนี้ เชื่อว่า

บูรพาพยัคฆ์ต้องมองสถานการณ์ไว้แล้ว หากฝ่ายตนถือครองอำนาจยาวนาน ย่อมมีโอกาสที่จะเจอยุทธการเอาคืนแน่ ทางเดียวที่จะสยบปัญหาคือ การสร้างเอกภาพขึ้นในกองทัพ

“เราจะเห็นบทบาทของสายวงศ์เทวัญ อย่าง พล.ต.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ รองแม่ทัพภาคที่ 1 มีบทบาทในการตอบสนองรัฐบาลอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการรับบทบาทในการจัดระเบียบสังคม การดูแล

เรื่องปัญหาสลากกินแบ่งรัฐบาล จะเห็นว่านายทหารวงศ์เทวัญ ก็มีบทบาทมาก หรืออย่าง พล.ท.พิสิษฐ์ สิทธิสาร รองเสนาธิการทหารบก (สายงานยุทธการ) ที่จะถูกวางตัวในตำแหน่งสำคัญของกอง

ทัพ ก็เป็นผลผลิตในการหลอมรวม เพราะท่านเคยเป็น ทั้งวงศ์เทวัญ และ บูรพาพยัคฆ์” นายวันวิชิต ระบุ
/////////////
ดัชนีโผทหาร ดัชนีความเครียด ของ "บิ๊กตู่" กับ แผนต้อนรับ "ทักษิณ" กลับ และ 3 เสธ. 3 สี แห่งโผเมษาฯ
วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555 เวลา 19:00:00 น.

รายงานพิเศษ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 23-29 มีนาคม 2555

การแต่งตั้งโยกย้ายกลางปี 127 ตำแหน่ง ดูเหมือนจะราบรื่นหวานชื่น ไม่ปรากฏความขัดแย้งระหว่างการเมืองกับกองทัพ ไม่ปรากฏเรื่องการล้วงลูก ระหว่างบิ๊กโอ๋ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.

กลาโหม กับ ผบ.เหล่าทัพ ตกลงกันได้ด้วยดี

แต่ทว่า กลับมีเค้าลางแห่งปัญหาปรากฏให้เห็น เป็นการอุ่นเครื่องรอการโยกย้ายปลายปีในเดือนกันยายนปีนี้

ก่อนที่โผจะคลอด ก็ต้องมีทั้งข่าวลือ ข่าวลวง และเรื่องจริง โดยเฉพาะกระแสสะพัดที่ว่า มีการจัดทำ 2 โผ

โผหนึ่ง เป็นของกองทัพ ของ ผบ.เหล่าทัพ ที่บิ๊กเจี๊ยบ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.สส. รวบรวมจาก ผบ.สามเหล่าทัพ ส่งให้ รมว.กลาโหม

กับอีกโผหนึ่ง เป็นโผที่ พล.อ.อ.สุกำพล ร่วมกับ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกลาโหม ทำขึ้นเอง โดยใช้โผที่กองทัพส่งมา แต่มีการปรับแก้ในบางตำแหน่งให้เหมาะสม

และให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร



รํ่าลือกันแรงว่า จะขยับเยอะ เพราะในเบื้องแรกบิ๊กต่าย พล.อ.ภุชงค์ รัตนวรรณ จเรทหารทั่วไป แกนนำ ตท.10 จะลาออกก่อนเกษียณ เพื่อไปเป็นประธานสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สปท.)

ของสำนักปลัดกลาโหม ทำให้เก้าอี้จเรทหารทั่วไปก็จะว่างลง

ถ้าจะให้จบง่ายๆ ก็แค่ให้บิ๊กอ๊อด พล.อ.คณิต สาพิทักษ์ ประธานที่ปรึกษา รมว.กลาโหม ย้ายมาเป็นจเรทหารทั่วไป เพื่อปิดอัตรานี้เลย ก็ได้แต่กลับมีแนวคิดที่จะดัน พล.อ.โปฎก บุนนาค จาก ผช.

ผบ.ทบ. ไปครองอัตราจอมพล นั่งจเรทหารทั่วไปนี้ เพื่อเปิดช่องให้ห้าเสือ ทบ. ว่างลง

บิ๊กตู่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. สบช่องเพราะอยากจะเปลี่ยนเสนาธิการทหารบก คู่ใจ เลยไม่อยากรอถึงการโยกย้ายปลายปี เพราะ เสธ.บี้ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ไม่เข้าขาไม่เข้าตา และไม่

ค่อยถูกโฉลกกับ ตท.12 โดยเฉพาะบิ๊กหนุ่ย พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รอง ผบ.ทบ. เพื่อนรักบิ๊กตู่ จากเรื่องการดูแล กอ.รมน. ที่ พล.อ.ศิริชัย ในฐานะเลขาธิการ กอ.รมน. เดินคนละแนวกับเมื่อครั้งที่

พล.อ.ดาว์พงษ์ คุมอยู่ จนมีความพยายามที่จะเสนอเพิ่มให้ พล.อ.ดาว์พงษ์ เข้ามาเป็น บอร์ด กอ.รมน. แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.รมน. ยังไม่อนุมัติ

พล.อ.ประยุทธ์ นั้น อยากได้บิ๊กนมชง พล.ท.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รอง เสธ.ทบ. หรือบิ๊กยอด พล.ท.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ผบ.นปอ. เพื่อนรัก ตท.12 ขึ้นเป็น เสธ.ทบ.

แต่ทว่า มีพลังพิเศษบางอย่างและเพื่อความไม่ประมาท จึงต้องดันบิ๊กโด่ง พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร แม่ทัพภาค 1 ขึ้นพลเอก ห้าเสือ ทบ. เลย เพื่อจ่อเป็น ผบ.ทบ. คนต่อไป เพื่อไว้เป็น "ผบ.ทบ.อะไหล่"

หาก พล.อ.ประยุทธ์ เกิดอุบัติเหตุทางการเมือง

มีการจับตามองว่า คดี 91 ศพคนเสื้อแดง ได้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลแล้ว เมื่อ 12 มีนาคม ที่ผ่านมา จะมีการไต่สวนกันในเดือนมิถุนายนเรื่อยไป จนคาดกันว่าอาจจะมีการตัดสินกันในช่วงการโยก

ย้ายทหารปลายปี เดือนสิงหาคม-กันยายน พอดี และเล็งไปที่เก้าอี้ ผบ.ทบ. ของ พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งเมื่อครั้งปราบเสื้อแดง ดำรงตำแหน่ง รอง ผบ.ทบ. แต่ทว่ามีบทบาทยิ่งกว่าบิ๊กป๊อก พล.อ.อนุพงษ์

เผ่าจินดา ผบ.ทบ.เสียอีก

ประมาณว่า จะมีการสร้างแรงกดดันให้ พล.อ.ประยุทธ์ แสดงสปิริต แอ่นอกรับผิดชอบแทนทหารลูกน้อง ต่อข้อหาทำรุนแรงเกินกว่าเหตุ มีการใช้กระสุนจริงปราบปรามคนเสื้อแดง โดยที่ในสำนวน

มีบางศพที่ถูกทหารยิงจากด้านหลัง หรือมือเปล่า ไม่ได้มีอาวุธต่อสู้

หากเป็นไปเช่นนั้น ก็ต้องมีการย้าย พล.อ.ประยุทธ์ จาก ผบ.ทบ. ไปเป็นปลัดกลาโหม ซึ่งจะว่างลงเพราะ พล.อ.เสถียร เกษียณราชการพอดี เมื่อนั้น พล.ท.อุดมเดช ก็จะขึ้นเป็น ผบ.ทบ. แทน



แม้ว่า พล.ท.อุดมเดช จะถือเป็นทายาทอำนาจของบูรพาพยัคฆ์และทหารเสือราชินี อยู่แล้วก็ตาม แต่หากสถานการณ์ปกติ พรรคเพื่อไทยไม่แตะต้อง พล.อ.ประยุทธ์ ไม่มีเรื่องคดีเสื้อแดง หรือรอดพ้น

คดีนี้ไปได้ พล.อ.ประยุทธ์ จะนั่งเป็น ผบ.ทบ. ยาวจนเกษียณกันยายน 2557 เมื่อนั้น พล.ท.อุดมเดช จะได้เป็น ผบ.ทบ. แค่ปีเดียว เพราะเขาจะเกษียณ 2558

รู้กันดีว่า พล.ท.อุดมเดช เป็นที่ถูกชะตากับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลพรรคเพื่อไทย เพราะเป็นทหารเสือราชินีระดับหัวแถว และมีท่าทีที่ดีต่อรัฐบาล และเป็นทหารอาชีพที่เป็นกลไก

ของรัฐบาล ที่คนใน ทบ. ยอมรับ จึงหนุนให้เป็น ผบ.ทบ.

จะว่าไปแล้ว พล.อ.ประยุทธ์ ก็ไม่มั่นใจนักว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลพรรคเพื่อไทย จะเอาอย่างไรกับคดีปราบคนเสื้อแดงแน่ และกลัวว่าจะไม่ทันการ หากมีการตัดสินคดีในช่วงปลายปี จึงดัน

พล.ท.อุดมเดช ทายาท ขึ้นห้าเสือ ทบ. ไว้ก่อน เพราะถ้ารอปลายปีตามแผนเดิมจะขึ้น ผบ.ทบ. ไม่ได้

รวมทั้งการจะดันบิ๊กอู๊ด พล.ต.วลิต โรจนภักดี รองแม่ทัพภาค 1 ขึ้นพรวดเป็นแม่ทัพภาค 1 ไว้เลยแบบฟ้าแลบ เพราะเกรงถูกคนเสื้อแดงต่อต้าน เพราะ พล.ต.วลิต ก็เป็นนายทหารที่อยู่ในแบล๊กลิสต์

ของคนเสื้อแดง ที่ตอนนั้นบิ๊กต๊อก พล.ต.ไพบูลย์ คุ้มฉายา เพื่อน ตท.14 รองแม่ทัพ 1 ก็อาจได้ลุ้น หลังจากที่มีข่าวอดีตบิ๊ก รสช. ต่อสายตรงถึงดูไบกรุยทางให้

นี่เป็นเหตุที่ พล.ต.ไพบูลย์ จะขอสู้ชิงเก้าอี้แม่ทัพภาค 1 ต่อ แม้จะไม่อาจข้ามไปเป็น พลโท ผบ.รร.นายร้อย จปร. ได้ เพราะ พล.ต.พอพล มณีรินทร์ นั้นแรงทั้งความชอบธรรมจากการเป็น รอง ผบ.รร.

จปร.มา 4 ปีครึ่ง และเคยเป็น ผบ.กรม นร.นายร้อย จปร. และ ผบ.รร.เตรียมทหาร แถมยังเป็นน้องรักของบิ๊กจิ๋ว พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อีกด้วย แถมเป็น ตท.16 ที่มีอายุราชการถึงปี 2559 ก็อาจแทรก

ขึ้นมาเป็นแคนดิเดต ผบ.ทบ. คนต่อไปได้ โดยเฉพาะหากเป็นรัฐบาลพรรคเพื่อไทยนี้ต่อไป

แต่ที่สุดแล้ว พล.อ.ภุชงค์ ก็ถูกขอร้องยังไม่ให้ลาออก เพราะจะเกิดแรงกระเพื่อม เนื่องจากแผนของทาง พล.อ.อ.สุกำพล นั้น จะจัดกองทัพในการโยกย้ายปลายปีเอาแบบไม่ให้ทาง พล.อ.ประยุทธ์ ตั้ง

ตัวติด ทั้งหมดจึงเป็นแค่ความฝันที่ต้องรอโยกย้ายเดือนกันยายน

แต่เพื่อความไม่ประมาท บิ๊กเจี๊ยบ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.สส. จึงต้องให้ ผบ.3 เหล่าทัพ ลงลายมือชื่อหรือลายเซ็น ท้ายบัญชีรายชื่อโยกย้ายที่ส่งขึ้นไปทุกหน้า เพื่อป้องกันการสอดไส้หรือ

แก้ไข โดยที่ ผบ.เหล่าทัพ ไม่ยินยอม

อันเป็นดัชนีหนึ่ง ที่ชี้วัดได้ว่ามีความหวาดระแวงระหว่าง ผบ.เหล่าทัพ กับ รมว.กลาโหม ว่าจะล้วงโผเกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นรูปแบบเดียวกับที่ ผบ.เหล่าทัพ เคยทำในการโยกย้ายเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว

ในรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่มีบิ๊กอ๊อด พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เป็น รมว.กลาโหม เพื่อป้องกันการแก้โผ เนื่องจากตอนนั้นเพิ่งเปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยน รมว.กลาโหม ใหม่ๆ

แต่ครั้งนั้นแรงกว่า เพราะมีการปล่อยให้โผโยกย้ายที่ปรากฏลายเซ็น ผบ.เหล่าทัพ นั้นหลุดออกมาทั้งฉบับ

เพื่อตีกันไม่ให้ฝ่ายการเมืองแก้โผ อีกด้วย



แต่สีสันของโผนี้ น่าจะไปอยู่ที่ 3 พันเอก 3 เสธ.สามสี ที่จับตากันว่าใครจะเป็น นายพลใหม่ ติดยศพลตรี

ที่ฮือฮาคือ เสธ.หมู ทหารสีแดงแป๊ด พ.อ.สุเมธ พรหมตรุษ ผอ.กองข่าว หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา บก.กองทัพไทย และ นายทหารทีม รปภ. ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ติดยศพลตรี แม้ว่าจะเป็น ตท.28

ที่รุ่นพี่ๆ ยังเป็นพันโท พันเอก กันอยู่ แต่เพราะเขาเป็น Fast Track กรณีพิเศษ เพราะดูแลตระกูลชินวัตรมาตลอด ตั้งแต่ยุค พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี จนมายุค นายสมัคร สุนทรเวช

มีข่าวว่างานนี้ "ปูขอมา" เพื่อให้พี่ชาย ที่เป็นเพื่อนและที่ปรึกษาส่วนตัวคนนี้ ได้เป็นนายพลเสียที โดยกระซิบทาง พล.อ.เสถียร ปลัดกลาโหม ซึ่งสนิทสนมซี้ปึ้กกับนายกรัฐมนตรีและเพื่อไทยอยู่แล้ว

ให้มาเอาตำแหน่งที่สำนักงานปลัดกลาโหม

ความจริง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ต้องขอก็ได้ เพราะ พล.อ.เสถียร นั้น สนิทสนมใกล้ชิดกับ พ.อ.สุเมธ อยู่แล้วตั้งแต่อยู่หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา และเป็นแรงหนุนสำคัญที่ช่วยให้ พล.อ.เสถียร ได้เป็น

ปลัดกลาโหม จึงเหมือนเป็นการดูแลตอบแทนน้องรักไปด้วยในตัว หากแต่รุ่นเขายังเด็กอยู่เท่านั้น

แต่โผนี้ บรรดาทหารแตงโม และคนเสื้อแดงก็เช็กข่าวกันให้วุ่น เมื่อมีข่าวว่า เสธ.แดง แต่เป็น เสธ.สีเขียว ที่มีความเป็นทหารเต็มตัว พ.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ รอง ผบ.พล.1 รอ. และอดีต ผบ.ร.11 รอ. ที่

เคยร่วมทีมปราบเสื้อแดงนั้น ได้เป็นนายพล

แต่ทว่า พล.อ.ประยุทธ์ รู้ดีว่ากระแสแรง จึงให้นั่งที่เดิมและเก็บตัวเงียบๆ ไปก่อน เพราะเขาถูกวางตัวให้เป็น ว่าที่ ผบ.พล.1 รอ. ในอนาคต แม้จะเป็น ตท.20 ที่ติดนายพลได้แล้วก็ตามที เพราะเขา

สามารถไปเป็น พลตรี ในตำแหน่งอื่นก่อน เช่น ผบ.มทบ. หรือ ผบ.พล. แล้วค่อยย้ายระนาบกลับมาเป็น ผบ.พล.1 รอ. ทีหลังก็ได้

แต่เส้นทางของ พ.อ.อภิรัชต์ ก็ไม่ง่ายนัก หากยังเป็นรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และคนเสื้อแดงยังจ้องตาไม่กะพริบอยู่แบบนี้ แต่ก็ต้องอยู่ที่ความกล้าหาญและความแข็งของ พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ดา

ว์พงษ์ ที่จะต้องดูแล ปกป้อง พ.อ.อภิรัชต์ ซึ่งทำงานเพื่อกองทัพ ยอมเป็นหนังหน้าไฟมาตลอด จนกลายเป็นหนึ่งในนายทหารสายอำมาตย์ ที่คนเสื้อแดงหมายหัว

ส่วน เสธ.ไก่อู พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ทบ. ที่แม้เมื่อก่อน ตอนเป็นโฆษก ศอฉ. จะเป็นศัตรูหมายเลขต้นๆ ของคนเสื้อแดง และเป็นเซเล็บขวัญใจคนเสื้อเหลืองและสลิ่ม และกลายเป็น

ทหารสีเหลืองก็ตาม แต่มาตอนนี้ หลังจากที่เขาถูกมองว่า "เปลี่ยนไป" จากการให้ปากคำในคดีเสื้อแดง และผังล้มเจ้าที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายคนเสื้อแดง และโยนไปที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แห่งพรรคประชาธิปัตย์ แล้ว เขาก็กลับมาได้ใจคนเสื้อแดง

รวมทั้งการเป็นน้องรักของ เสธ.ไอซ์ พล.อ.ไตรรงค์ อินทรทัต นายทหารผู้กว้างขวางเพื่อนซี้ ตท.10 ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และบิ๊กโอ๋ พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต หัวหน้าฝ่าย เสธ.ประจำ รมว.กลาโหม ก็

ทำให้ถูกมองว่าจะได้เป็น พลตรี หรือยัง เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ ก็ไม่ยอมแต่งตั้ง ทั้งๆ ที่ พ.อ.สรรเสริญ เสียสละตัวเองทำงานเพื่อกองทัพมาเต็มที่ ทั้งในฐานะโฆษก ศอฉ. โฆษก ทบ. และตำแหน่งปกติ

ผอ.กองปฏิบัติการจิตวิทยา กรมกิจการพลเรือน ทบ.

แต่ก็ไม่มีข่าวว่า พ.อ.สรรเสริญ จะได้เป็นนายพล ในโผโยกย้ายนี้ แม้ว่าการเป็น ตท.23 จะไม่เด็กเกินไปที่จะเป็น พลตรี ก็ตาม ที่ก็ทำให้ พ.อ.สรรเสริญ น้อยใจไม่น้อย แต่ก็ถือว่าเสียว่า กำลัง Lucky in

love กับสาวสวยแห่งวงการจิวเวลลี่ หลังจากที่เป็นโสดมาไม่กี่ปี ก็เลยจะไม่โชคดีในเรื่องการงาน

แต่ก็กลายเป็น เสธ.สีชมพู เพราะแดงเรื่อๆ แถมมีความรัก จนใบหน้าเป็นสีชมพู



ในระยะนี้มีการตั้งข้อสังเกตและซุบซิบกันใน ทบ. แล้ว ว่าทำไม พล.อ.ประยุทธ์ จึงกลับมาเครียด และมีอารมณ์ฉุนเฉียวอีกครั้ง หลังจากที่ควบคุมอารมณ์และรักษาภาพพจน์มาได้ดีตลอด ทั้งๆ ที่

ความสัมพันธ์ของเขากับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นั้นสุดแสนหวานชื่น

แต่ข่าววงในระบุว่า เรื่องหนึ่งคือ การที่เขาไม่สามารถดันบิ๊กติ๊ก พล.ต.ปรีชา จันทร์โอชา รองแม่ทัพภาค 3 น้องชายแท้ๆ ขึ้นพลโท ในตำแหน่ง แม่ทัพน้อยที่ 3 ได้ เพราะยังไม่ได้อาวุโส แต่ต้องยอมให้

พล.ต.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รองแม่ทัพภาค 3 (ตท.14) ที่อาวุโสกว่า เพราะเป็นรองแม่ทัพภาค 3 ก่อน ขึ้นเป็นแม่ทัพน้อย 3 ไปก่อน

ที่แรงกว่านั้นคือ พล.ต.สุรเชษฐ์ นั้น อาจถึงขั้นฟ้องศาลปกครอง หาก พล.อ.ประยุทธ์ ตั้ง พล.ต.ปรีชา ข้ามหัวขึ้นเป็นแม่ทัพน้อย 3 เพราะ พล.ต.สุรเชษฐ์ นั้น ถือว่าเป็นขวัญใจของคนเสื้อแดงในพื้นที่

และมีสายสัมพันธ์กับนายทหารแตงโม ที่ใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณ อีกทั้ง พล.อ.อ.สุกำพล ก็ท้วงติงตำแหน่งนี้มาด้วย

พล.อ.ประยุทธ์ เองก็กลัวว่า พล.ต.ปรีชา จะถูกโจมตีและอยู่ในกองทัพภาค 3 จะมีปัญหา เพราะเกิดความแตกแยกแบ่งขั้วแบ่งฝ่าย แบ่งรุ่นกันแล้ว จนเคยคิดจะย้ายให้น้องชายมาเป็นพลโท อยู่ บก.

ทบ. ใกล้ๆ กัน ในตำแหน่ง ผช.เสธ.ทบ.ฝ่ายกำลังพล เลยทีเดียว แต่ก็ขยับไม่ออก



อีกเรื่องที่ทำให้บิ๊กตู่ อารมณ์ไม่สู้ดี ก็เรื่องคดีเสื้อแดง 16 ศพจาก 91 ศพ ที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลแล้ว ที่ทำให้ต้องมีการเตรียมทีมกฎหมายต่อสู้ในชั้นศาล ที่ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ เริ่มไม่มั่นใจว่า

พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลพรรคเพื่อไทย จะเอายังไงกับกองทัพแน่ จากที่เคยส่งสัญญาณมาว่า จะไม่ยุ่งเกี่ยวแทรกแซงกัน แต่ก็อาจเป็นแค่เกม "กดดัน" และต่อรองให้กองทัพยอมรับแผนปรองดอง

และการนิรโทษกรรมด้วย

เพราะอีกเรื่องเครียดก็คือ การรุกทางการเมืองในการนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และการประกาศจะกลับประเทศภายในปีนี้ของ พ.ต.ท.ทักษิณ เอง

แม้ว่าในใจลึกๆ พล.อ.ประยุทธ์ จะไม่เชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะกลับ หรือการเคลียร์เรื่องคดีต่างๆ ไม่น่าจะง่ายนักก็ตาม แต่เขาก็ไม่อาจหยั่งรู้กลเกมเบื้องหลังที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินอยู่ โดยเฉพาะการ "

เคลียร์" กับบุคคลสำคัญๆ ในฝั่งอำมาตย์

แต่ทหารแตงโมใน ทบ. ก็เม้าธ์กันสนั่นว่า ไม่ว่าจะกลับหรือไม่ แต่กองทัพบกก็เตรียมพร้อมที่จะ "ต้อนรับ" พ.ต.ท.ทักษิณ แล้ว

ยิ่งเมื่อมีคำสั่งให้มีการฝึกหน่วยทหารขนาดเล็กอย่างหนัก โดยเฉพาะการใช้อาวุธ ที่ถูกมองว่าไม่น่าจะมีเป้าหมายที่สถานการณ์ชายแดน แต่น่าจะเป็นหน่วยพร้อมรบเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย

คล้ายๆ หน่วย รส. แถมหน่วยรบพิเศษที่มี พล.ท.ศุภรัตน์ พัฒนาวิสุทธิ์ ผบ.นสศ. เพื่อน ตท.12 ของ ผบ.ทบ. คุมอยู่ ก็ถูกจับตามอง เช่นเมื่อครั้งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เคยขอให้ พล.อ.อนุพงษ์ เพื่อน ตท.10

ผบ.ทบ. ในเวลานั้น ช่วยรับรองความปลอดภัยให้ก่อนกลับประเทศมาแล้ว

แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้นรู้ดีว่า ในปีนี้ยังไม่ใช่เวลาที่เขาจะกลับประเทศ เพราะแม้ดูว่ารัฐบาลกับกองทัพ นายกรัฐมนตรี น้องสาวจะหวานชื่นกับ พล.อ.ประยุทธ์ และป๋าเปรม พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ แต่ก็เป็นแค่การแสดงละคร อีกทั้ง อาจมีมือที่สาม มือที่สี่ ที่ต้องการฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์

เพราะ พล.อ.อ.สุกำพล เอง ก็ยังพูดว่า "ถ้ากลับมาแล้วตาย จะกลับมาทำไม" เพราะหวั่นว่าจะมีการลอบสังหาร พ.ต.ท.ทักษิณ หลังจากที่มีรายงานว่าฝ่ายตรงข้าม พูดกันสนุกปากว่า "มาก็ตาย

คาสนามบิน" หรือ "จะให้เหยียบแผ่นดินไทย อย่างมีลมหายใจ ไม่เกิน 24 ช.ม."

แต่ก็ยิ่งท้าทาย พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เขาและทีมงานก็ต้องวางแผนอย่างรอบคอบ ไม่ว่าจะกลับมาในปีหน้าอีก 2 ปีข้างหน้าก็ตาม โดยมีชีวิตของเขาเองเป็นเดิมพัน ถึงขั้นที่ว่า ถ้าจะกลับไทย เครื่องบินเจ็ต

ส่วนตัวจะไม่ลงจอดที่สุวรรณภูมิ เพราะรู้ว่าฝ่ายตรงข้าม และมือที่สาม มีแผนต้อนรับเอาไว้

เป้าหมายเขาจึงจะไปลงจอดที่สนามบินเชียงใหม่ บ้านเกิด เพราะเป็นพื้นที่เสื้อแดง ที่น่าจะปลอดภัยมากกว่าสุวรรณภูมิ และมีคนเสื้อแดงที่จะวางกำลังพร้อมปกป้อง และถือเป็นการกลับบ้านอย่าง

แท้จริง เพื่อที่จะได้กราบแผ่นดินบ้านเกิด แก้เคล็ด กราบแผ่นซีเมนต์ที่สุวรรณภูมิ ที่กลับประเทศเมื่อปี 2551 แต่ก็ต้องลี้ภัยอีก

ความเครียดของ พล.อ.ประยุทธ์ จึงกลายเป็นดัชนีบ่งบอกความร้อนแรงของการเมืองและอุณหภูมิที่สูงขึ้นในกองทัพได้เป็นอย่างดี

ท่ามกลางความเชื่อว่า มีบางคนมีความคิดที่อยากจะปฏิวัติอยู่ในสมอง ต่อให้เสี่ยงต่อการนองเลือดหรือเป็นกบฏก็ตาม
//////////////////////////////
เมื่อ “บูรพาพยัคฆ์”โยนหินถามทางผ่าน “อุดมเดช” ถึง “บิ๊กเยิ้ม

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน  
18 กรกฎาคม 2558 06:18 น.

ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -จู่ๆ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ก็จุดเทียนกลางสายฝน ให้จัดตั้ง “รัฐบาลแห่งชาติ” ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง โดยเชิญทุกพรรคการเมืองเข้าร่วมสังฆกรรมด้วย ทั้งที่รู้ว่า

ท่ามกลางความขัดแย้ง ไม่มีพรรคการเมืองใดอยากร่วมสังฆกรรมกับฝ่ายตรงข้าม เพราะต่างฝ่ายต่างกลัวเสียมวลชน และเสียแต้มทางการเมือง จึงวัดใจบรรดาบิ๊กทหารว่า จะเอาบ้าจี้เอาด้วยหรือไม่
     
       เพราะหากดูตามไทม์ไลน์การเมืองแล้ว เมื่อ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องลาโรงจากคานอำนาจ จะไม่มีอะไรการันตี

ฐานอำนาจของทหารว่า จะยังแข็งแกร่งเหมือนหรือไม่ โดยเฉพาะทหารสาย “บูรพาพยัคฆ์”
     
       มองข้ามช็อต อ่านเกมในใจของ “นายใหญ่” พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หากชนะการเลือกตั้ง กลับมามีอำนาจ สิ่งแรกที่ “นายใหญ่” ต้องสังคายนาเพื่อกำจัด “เสี้ยนหนาม” คือ

การล้างบางทหารสาย “บูรพาพยัคฆ์” ออกจากขั้วอำนาจกองทัพ เพราะไม่มีทางทื่ “นายใหญ่” จะไว้ใจให้นายทหารสาย “บูรพาพยัคฆ์” อยู่ในฐานอำนาจอีกต่อไป เพราะมีบทเรียนจาก “บิ๊กตู่” ที่รับ

ปากอย่างดี ตีบทเนียนว่า จะไม่ทำรัฐประหาร แต่เมื่อเจอ “ม็อบ กปปส.” ที่นำโดย “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ซึ่งมีสายสัมพันธ์อันดีกันตั้งแต่สมัยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาเร้าสถานการณ์ สุดท้ายก็มิวายลาก

รถถังออกมายึดอำนาจจากอกรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
     
       “นายใหญ่” จำขึ้นใจแล้วว่า ตราบใดที่ยังให้นายทหารสาย “บูรพาพยัคฆ์” อยู่ในแผงอำนาจของกองทัพ โอกาสที่ตัวเองจะถูกยึดอำนาจสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้น เมื่อไม่ไว้ใจและมีบทเรียน

ทางเดียวของ “นายใหญ่” คือ ล้างบางและตอนไม่ให้นายทหาร “สายบูรพาพยัคฆ์” ผงาดขึ้นมาอีก
     
       ส่วนขั้วทหารสายอื่นๆ ที่จะเลือกขึ้นมาก็จะต้องเป็นประเภทที่ “ไว้ใจ” และสามารถ “คอนโทรล” ได้ หมดยุคเชื่อ หลงคำสัญญา “ลมปาก” หรือ “ประนีประนอม” กับทหารสาย “บูรพาพยัคฆ์”

แล้ว
     
       ขณะที่ “บิ๊กตู่” และ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เจตนาเดียวที่จะรับข้อเสนอ “รัฐบาลแห่งชาติ” คือ ต้องการจะสืบทอดอำนาจต่อไปเท่านั้น และ

เป็นการเปิดทางที่เนียนตามากที่สุด
     
       ซึ่งหากในภายภาคหน้าที่จะมีการเลือกตั้ง ปรากฏว่า เกิดความวุ่นวายขึ้น ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังเลือกตั้ง และไม่ว่าจะเป็นฝีมือของคนกลุ่มใด “รัฐบาลแห่งชาติ” จะถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อเป็น “

ประตูหนีไฟ” ของประเทศทันที เพราะไม่มีทางที่ “บิ๊กตู่” จะลากอำนาจของตัวเองออกไปได้อีกแล้ว
     
       หาก “รัฐบาลแห่งชาติ” เกิดขึ้นจริง แม้จะเขียนสวยหรูให้พรรคการเมืองเข้ามาร่วม แต่ไม่ได้ระบุว่า สเปก “คนกลาง” ว่า ใครบ้างที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ และไม่มีทางที่จะให้ “นักการเมือง”

มาเป็นผู้นำรัฐบาลแน่นอน เพราะจะยิ่งทำให้สถานการณ์บานปลายกว่าเดิม ควบคุมไม่ได้ ดังนั้น ขั้วอำนาจที่เหมาะสมและตอบโจทย์สถานการณ์ในขณะนั้นได้มากที่สุด ย่อมหนีไม่พ้น “บิ๊กทหาร”

อีกเช่นเคย
     
       ชื่อที่โดดเด่นที่สุดที่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เนื่องจากมี “กำลัง - บารมี” เป็นที่นับถือของน้องๆ ในกองทัพ และพรรคการเมืองบางซีกการเมืองที่มีดีลการเมือง และดีลธุรกิจกันตลอดเวลา

อีกทั้งสายสัมพันธ์กับผู้นำมวลชน โดยเฉพาะ “กปปส.” ยังอยู่ในขั้น “แนบชิด” ขณะที่สายสัมพันธ์กับ “พรรคสีฟ้า” ก็ไม่ได้ถือว่า เป็นศัตรูกัน เพราะครั้งหนึ่งเคยร่วมหัวจมท้าย สู้ศึกค้ำยันอำนาจ “เด

อะมาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มาแล้วก็คือ “บิ๊กป้อม”
     
       แม้ว่าชื่อของ “บิ๊กป้อม” จะขายยาก เพราะไม่เป็นที่ยอมรับจากสังคม เพราะชื่อเสียงหนักไปทางสีดำมากกว่าสีขาว แถมมีบุคลิกมึงมาพาโวย จนยากที่ปันใจให้มานั่งในตำแหน่งผู้นำประเทศได้

แต่ชื่อนี้ก็ปรากฏตามหน้าสื่อทุกครั้งที่มีสถานการณ์พิเศษ
     
       และมีการพูดถึง “นายกฯคนกลาง” แม้ภาพลักษณ์จะสู้บรรดาแคนดิเดตคนอื่นๆ เช่น “อานันท์ ปันยารชุน” อดีตนายกรัฐมนตรี “พลากร สุวรรณรัฐ” องคมนตรี ไม่ได้ แต่ด้วยบารมีที่สั่งสมบวก

กับคอนเนกชั่นการเมือง ชื่อของ “บิ๊กป้อม” โดดเด่นกว่าทุกคน
     
       ที่สำคัญ อย่าลืมว่า ความฝันสูงสุดของ “บิ๊กป้อม” ก็คือ การเดินตามรอยเท้าผู้มากบารมีแห่ง “บ้านน้อยเสา” ดังนั้น ฐานแรกที่จะปูทางให้ “พี่ใหญ่” ได้ก็คือ การก้าวมาเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยตัว

เองเพื่อสั่งสมบารมี สร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้หลักผู้ใหญ่ ไต่บันไดขึ้นไปได้อย่างใจหวัง
     
       เรื่องการก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในวันใดวันหนึ่งของ “บิ๊กป้อม” ไม่ได้เป็นสิ่งที่มีการมโนกันขึ้นมา หากแต่เจ้าตัวมีการเตรียมพร้อมมาเสมอ หลังเคยถูก “โหรชื่อดัง” ทำนายทายทักว่า จะก้าว

ขึ้นสู่เก้าอี้เบอร์หนึ่งในรัฐบาล แต่ต้องถือเคล็ดบางอย่าง ตามที่มีการซุบซิบว่า ห้าม “แต่งเมีย” เด็ดขาด
     
       แต่อีกชื่อที่มาแรง แต่ยังไม่แซงทางโค้ง นั่นคือ “บิ๊กโด่ง” พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ที่ต้องยอมรับว่า ยังรอวันเป็น ”ดาวฤกษ์” มีแสงในตัวเองเพื่อ

เฉิดฉายขึ้นมา เพราะปัจจุบันแม้เป็นถึง ผบ.ทบ.คุมกำลังพลอย่างเบ็ดเสร็จ แต่ก็ยอมเป็น “เด็กดี” อยู่ภายใต้ร่มเงาของ “บิ๊กตู่” ด้วยความอยู่ในโอวาทนี้เองที่ทำให้ถูกมองว่าเป็น “หมาก” ที่อาจถูกหยิบ

ขึ้นมาเดินเมื่อไรก็ได้
     
       ตามโปรไฟล์แล้ว “บิ๊กโด่ง” แทบจะไม่มีมลทินให้ขั้วตรงข้ามมาโจมตีได้ ขณะเดียวกัน ยังเป็นนายทหารที่มีอากัปกิริยา “สุขุมนุ่มลึก” ไม่โผงผางเหมือน “บิ๊กตู่ - บิ๊กป้อม” ที่สำคัญ บทจะโหดก็

โหดได้ สั่งเฉียบ เป็นพวก “น้ำนิ่งไหลลึก”
     
       อย่างกรณี 14 นักศึกษาที่ออกมาเคลื่อนไหว แม้จะเป็นการแก้เกมฝ่ายตรงที่พลาดของรัฐบาล แต่ “บิ๊กโด่ง” ก็เป็นคนที่เห็นดีเห็นงามกับมาตรการดังกล่าว กับ “บิ๊กป้อม” ที่ให้ยกระดับการบังคับ

ใช้กฎหมาย จนนำมาสู่การออกหมายจับ เรื่อง “เฮี๊ยบ” จึงหายห่วง
     
       ผู้บังคับบัญชาคนใดสั่งพร้อม “เซย์เยส” ตลอดเวลา แถมพ่วงด้วยผลการปฏิบัติงานที่เกินร้อยเปอร์เซ็นต์เสมอ นอกจากนี้ ยังเป็นน้องที่ดีของ “บิ๊กตู่ - บิ๊กป้อม” ทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับพี่ๆ เสมอ

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด
     
       ดังนั้น ตัวเลือกที่จะก้าวเข้าสู่อำนาจใน “รัฐบาลแห่งชาติ” ที่ใครบางคนวางเกมเอาไว้ล่วงหน้า จึงหนีไม่พ้น “บิ๊กป้อม” หรือ “บิ๊กโด่ง”
     
       และก็ไม่แปลกที่ “บิ๊กโด่ง” จะออกมาปฏิเสธสยบข่าวทันควันแบบนิ่มๆตามสไตล์ว่า ส่วนตัวไม่เคยคิดที่จะเป็นนายกฯคนกลางอย่างที่เป็นข่าว ทุกวันนี้ตั้งใจทำงานเต็มที่ ขณะนี้ขอยืนยันว่า จะ

ร่วมแก้ปัญหากับนายกฯให้เต็มที่ เมื่อนายกฯใช้อะไรสั่งการอะไรมา
     
       แต่คำปฏิเสธของ “บิ๊กโด่ง” ก็ไม่ต่างกับเรื่อง “รัฐบาลแห่งชาติ” ที่มีการปล่อยออกมา เหมือนกับมีคนเขียนบทเอาไว้แล้ว รอแต่ประเมินสถานการณ์ว่า จำเป็นมากพอหรือไม่ หรือจะงัดมาใช้ใน

ช่วงเวลาใด ซึ่งหากดูตามความเชื่อมโยง เริ่มมีกระบวนการปล่อยข่าวในลักษณะ “โยนหินถามทาง” มากขึ้นเรื่อยๆ
     
       ไม่ว่าจะเป็น กรณี “บิ๊กป๊อก” พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ในฐานะ “พี่รอง” แห่งบูรพาพยัคฆ์ กล่าวกับกำนัน - ผู้ใหญ่บ้านตอนหนึ่งโดยระบุในทำนองว่า หากเกิดความขัดแย้งกันอีก

จะวิกฤตถึงขั้นจับอาวุธมาสู้กันแน่ เหมือนเป็นการส่งสัญญาณว่า ขณะนี้สถานการณ์ยังไม่นิ่ง ทุกอย่างที่สงบเป็นแค่ภาพลวงตา สถานการณ์จริงยังมีการปลุกปั่นมวลชนของตัวเอง ฝั่งหนึ่งมีทหารใน

ราชการ แต่อีกฝั่งมีทหารนอกราชการ โดยเฉพาะ “ทหารพราน” ที่เป็นเครื่องมือในการแย่งอำนาจ
     
       เหมือนกำลังจะถามต่อสังคมว่า จำเป็นที่จะต้องใช้ คสช.ซุกปัญหาไว้ใต้พรม กดไม่ให้กลุ่มอำนาจเก่าขึ้นมาสร้างความวุ่นวายกันอีก แต่เมื่อใดที่ คสช.วางมือปัญหาความขัดแย้งจะกลับมาแน่ คำ

พูดของ “บิ๊กป๊อก” เหมือนกำลังจะสื่อว่า ประเทศไทยในวันที่ไม่มี คสช.ความรุนแรงจะกลับมาทันที
     
       ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็มีการปรากฏตัวของ “บิ๊กเยิ้ม” พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร สมาชิก สปช. เพื่อนรักนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 (ตท.12) ของ “บิ๊กตู่” ออกมาปูดข่าวว่า ขณะนี้มี 2 พรรคการ

เมือง จับมือลงขันเพื่อโค่นล้ม “รัฐบาลบิ๊กตู่” โดยสร้างสถานการณ์ความวุ่นวายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้คนด้ามขวานเป็นกองหน้าและกองหลัง และมีคนภาคเหนือและอีสานเป็นกองกลาง
     
       แม้จะดูฟุ้งเฟ้อ โอเวอร์เกินจริง แต่ในเชิงยุทธศาสตร์การข่าวแล้วถือว่า ประสบความสำเร็จ เพราะสามารถวาดภาพให้ประชาชนเห็นได้ว่า “ขั้วตรงข้าม” ยังไม่หยุด และมีการแบ่งกลุ่มมวลชนที่

สามารถปลุกปั่นมาโค่นล้มรัฐบาลได้ การออกมาพูดในลักษณะนี้ของ “บิ๊กเยิ้ม” คงไม่ใช่แค่เพียงการพูดเล่น เพื่อให้คนถอนหงอก เพราะรู้ดีว่า หากพูดเกินจริงไปผลเสียจะตกอยู่ที่รัฐบาล
     
       ซึ่งหากผลเสียตกกับเพื่อนรัก “บิ๊กเยิ้ม” คงไม่ทำแน่
     
       หากย้อนไปดูแบ็กกราวด์ของ “บิ๊กเยิ้ม” สมัยเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 ได้รับการมอบหมายจาก “บิ๊กตู่” ให้เป็น “นายด่าน” เฝ้าประตูภาคอีสานในช่วงการเลือกตั้งปี 2554 ซึ่งเคยออกมาให้สัมภาษณ์หยาม

“ทักษิณ” ว่า ไม่มีทางเอาชนะการเลือกตั้งในพื้นที่ภาคอีสานได้ทั้งหมด
     
       “บิ๊กเยิ้ม” ลงทุนเดินเกมลงสำรวจสำมะโนครัวเกือบทุกบ้านถึงเปอร์เซ็นต์ในเลือกตั้ง แล้วกลับมารายงานให้ “บิ๊กตู่” ทราบ แต่ก็ไม่สามารถสกัดกั้นความร้อนแรงในภาคอีสานของ “ทักษิณ” ได้
     
       ที่ผ่านมาจะเห็นว่า ความพยายามในการต่อทอดอำนาจมีหลายครั้ง แต่รูปแบบจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เหมือนการ “โยนหินถามทาง” ว่า กระแสสังคมจะตอบรับหรือไม่ หากไม่ตอบรับข้อเสนอก็จะ “

ถอย” เพื่อชงข้อเสนอใหม่ๆ ออกมา โดยใช้ “ตัวแสดงแทน” สลับกันเล่นไปเรื่อยๆ
     
       ตั้งแต่ครั้งที่ “ไพบูลย์ นิติตะวัน” สมาชิกสปช. และกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ออกมา “จุดพลุ” ให้เพิ่มคำถามในการทำประชามติว่า เห็นด้วยหรือไม่กับการปฏิรูปประเทศก่อน 2 ปี แล้วค่อยมีการ

เลือกตั้ง จนมีทั้งกระแส “ขานรับ” และ “ต่อต้าน”
     
       แม้กระทั่งตัว “บิ๊กตู่” ช่วงแรกยังเล่นบทแบ่งรับแบ่งสู้บอกว่า ให้ไปทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมอธิบายให้ต่างชาติเข้าใจ
     
       ซึ่งผลของการ “ถามทาง” ของ “ไพบูลย์” นำมาซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 เปิดช่องให้ทำประชามติ และสามารถสอบถามความเห็นของประชาชนในเรื่องอื่นได้ ซึ่งอาจจะ

เป็นการเปิดช่องให้สอบถามเกี่ยวกับการให้ “บิ๊กตู่” และ “ขุนทหาร” ได้ไปต่อก็ได้
     
       หรือแม้กระทั่ง “วารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ” หรือ “โหร คสช.” ที่ “บิ๊กตู่” และ “ขุนทหาร” เคารพนับถือ ยังออกมาทำนายทายทักว่า “บิ๊กตู่” จะได้อยู่ในอำนาจต่ออีกอย่างน้อย 2 ปี เพื่อแก้ปัญหาให้

ประชาชน แม้จะออกมาแก้ข่าวเพื่อสยบข่าวลือในภายหลัง แต่การที่ “โหรวารินทร์” เป็นคนวงในระดับอินไซด์ของทหาร ข้อมูลความเป็นไปได้บวกกับเรื่อง “โชคชะตา” ก็ควรจะต้องฟังหูไว้หู

เหมือนกัน เพราะเรื่องอำนาจไม่เข้าใครออกใคร
     
       จนกระทั่งมาถึงคิวของ “บิ๊กเยิ้ม” ที่ออกมาปูดข่าวลงขัน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ตัวละครและห้วงเวลาที่ออกมา มีความเชื่อมโยงอย่างผิดสังเกต จากนี้ต้องติดตาม “หิน” ที่โยนออกจากคนใกล้ชิด “บิ๊ก

ทหาร” หรือคนวงในของ คสช. เพราะทุกย่างก้าวสื่อนัยสำคัญไว้เสมอ และอาจเปลี่ยนเกมได้ตามสถานการณ์เมื่อไหร่ก็ได้
     
       “หิน” นับร้อยที่โยนมาให้สังคมวิพากษ์วิจารณ์ ต้องมีสักประเด็นที่เหมาะสมและมีแรงต้านน้อยที่สุดในการสืบทอดอำนาจของ คสช. ซึ่งเกมที่ คสช.วางไว้ต้องดูระยะยาว เพราะฝั่งตรงข้ามเองก็

เตรียมแคมเปญไว้แก้เกมเสมอ อยู่ที่ไทม์มิ่งเท่านั้นว่า จะเข้าทางใครมากกว่า
     
       แต่ที่น่าจับตามากที่สุดคือ ความฝันของ “บิ๊กป้อม” ที่ไม่ใช่ความฝันลมๆ แล้งๆ อีกต่อไป ยิ่งมีการออกมาพูดรัฐบาลแห่งชาติมากเท่าไหร่ โอกาสของคน “ตัวเล็ก” ที่จะมีโอกาสได้ “ตัวโต” ก็จะ

มากขึ้นเท่านั้น
     
       เพราะพรรคการเมืองไม่ได้รับประโยชน์จาก “รัฐบาลแห่งชาติ” เลย!!!
       2222222222222222222222
รายงานพิเศษ

แผนเหนือเมฆ
ตอกลิ่มบูรพาพยัคฆ์
เล็งแซะ "บิ๊กตู่-บิ๊กป้อม"
สยบกระแส "ป๋าป้อม-สี่เสาฯ"
เปิดใจ "พี่ป้อม" ถึง "น้องตู่"


กลยุทธ์หนึ่งในการทำลายความแข็งแกร่งของคู่ต่อสู้ที่มีอำนาจมหาศาล ก็คือ การให้เกิดความขัดแย้งในขั้วอำนาจนั้นกันเอง

ณ เวลานี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กำลังเผชิญกับกลยุทธ์นี้

โดยเป้าหมายอยู่ที่ บิ๊กตู่ กับ บิ๊กป้อม

ในฐานะที่ บิ๊กตู่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นหัวหน้า คสช. ที่มีอำนาจสูงสุด

และในฐานะที่ บิ๊กป้อม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ก็เป็นพี่ใหญ่ ที่มีทั้งอำนาจและบารมี แบบที่เรียกว่า ก่อนที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะนำรัฐประหาร แล้วขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น เขาก็เคยอยู่ภายใต้ปีก

ของ พล.อ.ประวิตร นั่นเอง

ในฐานะน้องรักคนหนึ่ง ที่อยู่ในแผงอำนาจที่เรียกกันติดปากว่า "บูรพาพยัคฆ์" ทั้ง 3 ป.บูรพาพยัคฆ์ และสามทหารเสือราชินี

โดยมี บิ๊กป๊อก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นสมาชิกระดับบนของแผงอำนาจนี้

รัฐบาลหลังการรัฐประหารของ คสช. นี้ จึงเป็นรัฐบาลของ 3 ป. แห่งบูรพาพยัคฆ์ "ป้อม-ป๊อก-ประยุทธ์"

จนเกิดคำถามขึ้นว่า ระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ กับ พล.อ.ประวิตร ใครเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด

หากยึดตามกฎหมายแล้ว พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ย่อมมีอำนาจมากที่สุด แถมมีอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว อีกด้วย

แต่สำหรับ พล.อ.ประวิตร อาจเรียกได้ว่า เป็นผู้มีบารมีสูงสุดในยุคนี้ก็ว่าได้

ในฐานะที่เป็นพี่ใหญ่แห่งบูรพาพยัคฆ์ ในฐานะพี่ชายที่ พล.อ.ประยุทธ์ ให้ความรักและเคารพมายาวนาน ด้วยความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่น

ยิ่ง พล.อ.ประยุทธ์ มีอำนาจมากขึ้นเท่าใด พล.อ.ประวิตร ก็ยิ่งเปี่ยมบารมีมากขึ้นเท่านั้น

การตัดสินใจก่อการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ของ พล.อ.ประยุทธ์ ถูกมองว่า ย่อมอยู่ในการรับรู้และวางแผนร่วมกันของพี่น้องบูรพาพยัคฆ์ ป้อมและป๊อก ด้วย

ชื่อของพี่ใหญ่และพี่รอง จึงถูกวางในตำแหน่ง รมว.กลาโหม และ รมว.มหาดไทย ไว้ตั้งแต่ต้น



พล.อ.ประยุทธ์ นั้นให้เกียรติ พล.อ.ประวิตร ด้วยการตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี สร.2 ที่ดูแลด้านความมั่นคง อีกตำแหน่งหนึ่ง

นอกเหนือจากการตั้งเป็นรองหัวหน้า คสช. ด้วย ชนิดที่ว่า ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ ไปต่างประเทศ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็จะให้ พล.อ.ประวิตร ทำการแทน ทั้งตำแหน่ง สร.1 นายกรัฐมนตรี

และ คสช.1 หัวหน้า คสช. ด้วย

ท่ามกลางการถูกจับตามองว่า ในอนาคต พล.อ.ประยุทธ์ จะกลายเป็นพี่ใหญ่แห่งบูรพาพยัคฆ์ แทน พล.อ.ประวิตร ได้หรือไม่

คำตอบก็คือ หาก พล.อ.ประวิตร ยังคงมีชีวิตอยู่ เขาก็จะยังคงรั้งตำแหน่งพี่ใหญ่นี้ตลอดไป เนื่องจากไม่ใช่ตำแหน่งแห่งยศศักดิ์ใดๆ แต่ทว่า เป็นตำแหน่งที่ตั้งขึ้นมาเองจากการได้รับการยอมรับจาก

เพื่อนๆ และน้องๆ

ในฐานะที่ พล.อ.ประวิตร นั้นดูแลเพื่อนและน้องๆ ทุกคนมาตลอดทั้งชีวิต จึงทำให้เขาเป็นทั้งประธานเตรียมทหารรุ่น 6 แบบตลอดชีวิต และมาเป็นประธานมูลนิธิป่ารอยต่อ 5 จังหวัดในพระบรม

ราชินูปถัมภ์ ที่ใครๆ ก็อยากเข้าสังกัด

เพราะถึงอย่างไร พล.อ.ประวิตร ก็ยังคงเป็นพี่ชาย และรุ่นพี่ของ พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งเป็นเตรียมทหาร 12 และ พล.อ.ประยุทธ์ ก็ยังคงเป็นน้องเล็ก อยู่นั่นเอง



แต่ทว่า ในแผงอำนาจบูรพาพยัคฆ์ ก็คงจะมีทั้ง พล.อ.ประวิตร และ พล.อ.ประยุทธ์ ที่เป็นหัวขบวน จากที่มี พล.อ.ประวิตร เป็นพี่ใหญ่โดดเด่นอยู่คนเดียว

เพราะทั้ง 3 ป.บูรพาพยัคฆ์ นั้น เคยเป็นทั้ง ผบ.พล.ร.2 รอ. และเป็น ผบ.ทบ. มาเหมือนกัน แต่ พล.อ.ประวิตร นั้นเป็น รมว.กลาโหม ในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์มาก่อน

แต่มาวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ นำหน้า เพราะเป็นนายกรัฐมนตรี และก็จะมีคำว่า อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้า คสช. ไปจนตลอดชีวิต

ในสถานการณ์ที่ พล.อ.ประยุทธ์ ยังคงเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่นี่ ทำให้เขาต้องคอยหลบเลี่ยงงานที่ พล.อ.ประวิตร เป็นประธาน ด้วยการไม่มาร่วมงาน

เช่น งานของมูลนิธิป่ารอยต่อฯ ที่ พล.อ.ประวิตร เป็นประธาน พล.อ.ประยุทธ์ ก็ไม่อาจมาร่วมงานได้ ทั้งๆ ที่เคยมาร่วมทุกๆ ปี

แต่งานหนึ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะต้องมาร่วม แม้จะเป็นนายกรัฐมนตรี ก็คือ งานคาวบอย ไนท์ งานเลี้ยงวันปีใหม่ ที่บ้าน พล.อ.ประวิตร ที่จัดมาต่อเนื่องทุกๆ ปี

เรียกได้ว่า ไม่มีอะไรที่จะมาทำให้พี่น้องคู่นี้หมางใจกันได้

แต่โบราณว่าเอาไว้ว่า อำนาจ เงินตรา นารี เป็นเหตุในการทำลายทุกความสัมพันธ์ได้เสมอ

นี่จึงทำให้มีการจับตามองว่า เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ ขึ้นมาเป็นใหญ่ขนาดนี้ ในฐานะน้องเล็กแห่งบูรพาพยัคฆ์นั้น เขาเปลี่ยนไปหรือไม่

แต่ที่แน่ๆ คือ พล.อ.ประวิตร ไม่สามารถเรียก "ไอ้ตู่" แบบพี่ๆ น้องๆ เช่นแต่ก่อนได้อีกแล้ว แต่จะต้องเรียก "นายกฯ" ให้ติดปาก ทั้งต่อหน้าสาธารณชน หรือส่วนตัว

แต่ข่าวว่า เวลาคุยกันส่วนตัว พล.อ.ประวิตร ก็จะเรียกแค่ "ตู่" ส่วน พล.อ.ประยุทธ์ จะเรียก "พี่ป้อม" เหมือนเดิม



เมื่อแผงอำนาจบูรพาพยัคฆ์ ดูเหมือนจะมี 2 หัว คือ พล.อ.ประวิตร และ พล.อ.ประยุทธ์ จึงเป็นจุดที่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามพยายามตอกลิ่ม ให้เกิดความขัดแย้งขึ้น

จน พล.อ.ประวิตร ต้องเอ่ยปากยอมรับว่า มีความพยายามจะทำให้ตนเองกับ พล.อ.ประยุทธ์ ผิดใจกัน ขัดแย้งกัน

ทั้งการปล่อยข่าวว่า พล.อ.ประวิตร มักสอดไส้วาระการประชุม ครม. เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่อยู่ โดย พล.อ.ประวิตร สร.2 ทำหน้าที่รักษาการนายกฯ ประธานประชุม ครม. เสมอๆ

"ไม่มี บ้า สื่อไปเขียนข่าวแบบนั้น มันเสียหาย ไปตรวจสอบดูได้ว่า ไม่เคยทำอะไรแบบนั้น" บิ๊กป้อม โวย

รวมทั้งการปล่อยข่าวลือว่า พล.อ.ประวิตร ได้เสนอชื่อ น้องตั๊น ปิยาภัสร์ กฤษดากร แกนนำ กปปส. มาเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แต่ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ยอมอนุมัติ เพราะเกรงว่าจะ

กระทบต่อภาพพจน์ของรัฐบาล ในเรื่องความเป็นกลาง

โดยก่อนหน้านี้ ก็มีการปล่อยข่าวว่า จะมีการตั้งผู้ประกาศข่าวหญิงของ ททบ.5 มาเป็นรองโฆษกรัฐบาล อีกด้วย

แต่ พล.อ.ประวิตร ยืนยันเสียงแข็งว่า ไม่เป็นความจริง ไม่เคยเสนอ และไม่เคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องการตั้งทีมงานโฆษกรัฐบาล

ทั้งนี้ อาจเพราะในระยะหลัง น้องตั้น ปิยาภัสร์ ร่วมคณะของ พล.อ.ประวิตร ไปงานทำบุญที่ปัตตานี อีกทั้ง ผู้หมวดต่อย ร้อยตรีณัยนพ ภิรมย์ภักดี น้องชายคนเล็ก ก็มาติดยศเป็นทหารสังกัดสำนัก

ปลัดกระทรวงกลาโหม และมีข่าวว่าจะขอย้ายไปลง ร.21 รอ. รวมทั้งการที่น้องตั๊น ลงภาพใน IG ไปที่ ร.21 รอ. บ่อยๆ ด้วยนั่นเอง

"ทำไมมันชอบเขียนข่าวแบบมโนไปเองนะ แย่มาก เขียนแบบนี้ ผมไม่เคยไปยุ่ง" พล.อ.ประวิตร แก้ข่าว

ก่อนที่จะยืนยันว่า ตนเองกับ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่เคยมีเรื่องขัดแย้งอะไรกัน แต่คงมีคนพยายามจะทำให้เข้าใจผิดกัน

"ไม่มีทาง ผมกับนายกฯ ตู่ ไม่มีทางหรอก ผมกับท่านนายกฯ ตู่ คุยกันทุกวัน ไม่มีอะไร เพราะคุยกันได้ทุกเรื่อง" บิ๊กป้อม ย้ำ



อย่าลืมว่า ทั้ง พล.อ.ประวิตร พล.อ.อนุพงษ์ และ พล.อ.ประยุทธ์ นั้น รับราชการด้วยกันมาตั้งแต่อยู่ ร.21 รอ. ตั้งแต่เป็นร้อยโท ร้อยเอก ด้วยกัน กินนอนอยู่บ้านหลังเดียวกันในค่าย

อีกทั้งเมื่อเติบโตมา พล.อ.ประวิตร ก็คอยสนับสนุนน้องๆ ให้ได้เติบโตในตำแหน่งสำคัญมาตลอด

พล.อ.ประวิตร ย้ำเสมอว่า ที่มารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ครั้งนี้ เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ ขอให้มาช่วย ไม่ใช่เพราะอยากมีอำนาจหรือจะมาเล่นการเมือง

"แล้วไม่เคยคิดที่อยากจะเป็นนายกรัฐมนตรีเลย ไม่ว่าที่ผ่านมา หรือในอนาคต" พล.อ.ประวิตร กล่าว

ดังนั้น ที่มีการปล่อยข่าวว่าตนเอง หรือ คสช. ไปแอบตั้งพรรคทหาร หรือไปหนุนพรรคใดพรรคหนึ่งนั้น ไม่มี แต่ใครจะอ้างชื่อหรือเปล่า ไม่รู้ แต่ก็ขอว่าอย่าอ้าง

"แค่นี้ก็เหนื่อยกันมากแล้ว จะรีบแก้ปัญหาต่างๆ ให้เป็นไปตามโรดแม็ป ทำทุกอย่างให้ดี วางรากฐานทุกอย่างให้มั่นคง แล้วเราก็จะไปแล้ว เหนื่อย" บิ๊กป้อม กล่าว

แต่ที่สังเกตเห็นได้ชัดคือ พล.อ.ประวิตร จะระมัดระวัง คือ ไม่ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ รู้สึกว่าเขาเองจะเลื่อยขาเก้าอี้

เมื่อครั้งที่ พล.อ.ประยุทธ์ ไปต่างประเทศ พล.อ.ประวิตร ก็จะทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรี แต่เมื่อนักข่าวแซวว่า "ท่านนายกฯ" พล.อ.ประวิตร จะไม่พอใจ

"อย่า อย่าเรียกแบบนี้ ผมไม่ใช่นายกฯ เดี๋ยวท่านนายกฯ เล่นงานเอา ไม่เอาๆ เรียกแบบนี้เสียหาย" บิ๊กป้อม กล่าว

พล.อ.ประวิตร นั้น มักจะพูดให้กำลังใจ พล.อ.ประยุทธ์ เสมอๆ

"ท่านนายกฯ ท่านเหนื่อยมากนะ เสียสละ มาดูแลแก้ปัญหาให้ชาติบ้านเมือง เราต้องช่วยกันให้กำลังใจท่าน" บิ๊กป้อม กล่าว

ที่ยิ่งกว่านั้น บิ๊กป้อม ชื่นชมในความสามารถของ พล.อ.ประยุทธ์ ในการนำรัฐประหาร ที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับ และสนับสนุน คสช. สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ ในการแก้ปัญหา จะเห็นได้

ว่า ผลสำรวจโพลออกมา ประชาชนก็ยังพอใจรัฐบาลและ คสช. อยู่

แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประยุทธ์ เคยพูดว่า "มีคนเตือนผมว่า จะพังเพราะพี่ หรือไม่ก็พังเพราะเพื่อน แต่ผมไม่กลัวหรอก"

ก่อนที่จะยืนยันว่า ถ้าใครที่ทำอะไรไม่ถูกต้อง หรืออ้างชื่อ คสช. ไปเรียกรับผลประโยชน์ใดๆ ผมไม่ยอมให้เกิดขึ้นแน่นอน



แต่กลยุทธ์ตอกลิ่ม ไม่ได้จบแค่ที่ตัว พล.อ.ประยุทธ์ กับ พล.อ.ประวิตร ทว่า ยังมีการจับประเด็นที่ความสัมพันธ์ที่ห่างเหินของแผงอำนาจบูรพาพยัคฆ์ กับแผงอำนาจลูกป๋า

ต้องยอมรับว่า ทั้ง 3 ป. ป้อม-ป๊อก-ประยุทธ์ นี้ เป็นขั้วอำนาจเดียวกับสายของ ป๋าเปรม พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ หากมองในแง่ว่า มี "ระบอบทักษิณ" เป็นศัตรูร่วมกัน

แต่ทว่า เส้นทางการรับราชการของทั้ง 3 ป. ก็ไม่ได้ทำงานใกล้ชิดสนิทสนมใดๆ กับ พล.อ.เปรม นอกเสียจากในการติดตามเสด็จฯ ในฐานะทหารเสือราชินี โดยที่ พล.อ.เปรม ก็ติดตามเสด็จฯ ตลอด

เท่านั้น

ทั้ง ป้อม-ป๊อก-ประยุทธ์ จึงไม่ได้จัดอยู่ในประเภท "ลูกป๋า" แต่ทว่า ก็เป็นทหารที่ให้ความเคารพต่อ พล.อ.เปรม ในฐานะปูชนียบุคคลของกองทัพ

แต่เพราะเหตุที่การรัฐประหารครั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ได้ไปปรึกษาหารือหรือวางแผนร่วมกับทีมลูกป๋า หรือปรึกษา พล.อ.เปรม ก่อน และบทบาทของป๋าเปรม ก็ลดน้อยลงในยุค คสช. จึงทำให้ถูก

มองว่า เกิดรอยร้าวขึ้นหรือไม่

หลังการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แผงอำนาจบูรพาพยัคฆ์ กลายเป็นแผงอำนาจที่ใหญ่ที่สุด เรืองอำนาจสูงสุด จนบดบังบารมีของบ้านสี่เสาเทเวศร์ไปไม่น้อย

อีกทั้งมีการย้อนอดีตไปเมื่อครั้งที่ บิ๊กแอ้ด พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ซึ่งเป็นลูกป๋าคนโต กับ พล.อ.ประวิตร ก็ยิ่งทำให้ประเด็นนี้เป็นที่จับตามอง เพราะตอนที่ พล.อ.สุรยุทธ์ เป็น ผบ.ทบ. นั้น

เขาเคยย้าย พล.อ.ประวิตร เข้ากรุประจำ ทบ. และย้าย บิ๊กกี่ พล.อ.นพดล อินทปัญญา เพื่อนรักของ พล.อ.ประวิตร จากตำแหน่ง ผบ.พล.1 รอ. คุมกำลังสำคัญ เข้ากรุประจำ ด้วยข้อหาที่ไปต่าง

ประเทศโดยไม่ลา

ในเวลานั้น พล.อ.ประวิตร เป็นดาวรุ่งของ ทบ. คนหนึ่ง ที่จะขึ้นแม่ทัพภาคที่ 1 แต่ก็ถูกเตะเข้ากรุ ทำให้ต้องไปเดินทางเบี่ยงอยู่หลายปี กว่าที่จะกลับเข้าไลน์ และมาเป็น ผบ.ทบ. ในยุคที่ พ.ต.ท.

ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ยิ่งทำให้ทั้งสองคนนี้ถูกจัดวางไว้ให้อยู่คนละขั้วเลยทีเดียว เพราะในเวลานั้น พล.อ.สุรยุทธ์ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ไม่ลงรอยกันนัก

แต่อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ ได้สยบข่าวความขัดแย้งกับขั้วป๋าเปรม ด้วยการนำ ครม.ทหารเข้าพบ พล.อ.เปรม เพื่อขอคำแนะนำแล้ว เช่นเดียวกับ พล.อ.ประวิตร ก็นำ ผบ.เหล่าทัพชุดใหม่ เข้าพบ

พล.อ.เปรม ด้วยเช่นกัน



อีกทั้งในเทศกาลปีใหม่นี้ พล.อ.ประวิตร ก็ทำตามประเพณี ในการนำ ผบ.เหล่าทัพ เข้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ อวยพรปีใหม่ พล.อ.เปรม 29 ธันวาคมนี้ด้วย

เพื่อที่จะสยบข่าวลือต่างๆ เพราะกับ พล.อ.เปรม เอง กับ พล.อ.ประวิตร ก็ไม่ได้มีความขัดแย้งใดๆ ป๋าเปรมยังเรียก พล.อ.ประวิตร เสมอว่า "รัฐมนตรีป้อม"

หากเพียงแต่ในแง่ของบารมีแล้ว มีการเปรียบเทียบกันว่า หาก พล.อ.เปรม เป็นป๋าของบรรดาทหารม้า ก่อนที่จะกลายมาเป็นป๋าของทหารในกองทัพ จนถึงในหมู่ประชาชน พลเรือนด้วยแล้ว

มีการมองว่า พล.อ.ประวิตร ก็กำลังจะเป็น ป๋าป้อม เป็นเสมือน ป๋า ของบรรดาทหารเสือฯ และบูรพาพยัคฆ์ ที่เป็นที่เคารพรัก และเป็นที่พึ่งของเพื่อนๆ น้องๆ

"พี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์ นี่ ไม่ใช่พรรคการเมือง หรือนักการเมืองนะ พวกเราเป็นทหาร เป็นนักการทหาร รู้จัก ทำงานด้วยกันมา อยู่กันแบบพี่น้อง ไม่มีการเมือง" พล.อ.ประวิตร กล่าวถึงฉายาที่ถูกเรียกว่า

พี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์

"แต่ผมไม่ใช่ป๋า ไม่ต้องมาเรียกป๋า" บิ๊กป้อม สยบข่าวการถูกชูเป็น ป๋าป้อม

เพราะเป็น "พี่ป้อม" ของน้องๆ ไปอย่างนี้ดีที่สุดแล้ว

เรียกได้ว่า กลยุทธ์ตอกลิ่ม สร้างความแตกแยกใดๆ ก็ไม่อาจทำให้พี่ป้อม กับ น้องตู่ เป็นอื่นไปได้ เพราะบิ๊กป้อม ยัน แน่นปึ้ก...


(ที่มา:มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 26 ธ.ค. - 1 มกราคม 2558

นักวิชาการมองโผทหาร.. 'ธีรชัย' ผงาดผบ.ทบ.

นักวิชาการมองโผทหาร.. 'ธีรชัย' ผงาดผบ.ทบ.
โดย : ศักรินทร์ เข็มทอง
วันที่ 05 สิงหาคม 2558, 10:54
อ่านแล้ว 6,243 ครั้ง
"เชื่อว่าพล.อ.ธีรชัย มีโอกาสมากกว่า เพราะครบเครื่องทั้งการคุมกำลัง และมีความรู้ในเรื่องจังหวัดชายแดนใต้"

ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านของผู้บัญชาการเหล่าทัพในเดือน ต.ค.2558 นี้ ยกเว้นผู้บัญชาการทหารอากาศ ในยุคทหารบริหารประเทศ ตำแหน่งที่เป็นที่จับตามองเป็นพิเศษ คงนี้ไม่พ้น ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ซึ่ง พล.อ. อุดมเดช สีตบุตร ผบ.ทบ.คนปัจจุบัน จะเกษียณอายุราชการในเดือนก.ย.นี้ จึงเป็นที่จับตามองว่าใครเสนอชื่อใคร เพื่อขึ้นนั่งตำแหน่งแม่ทัพบกคนที่ 39 แห่งกองทัพบกไทย

อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีโผทหารของสื่อมวลชนหลายสำนักคาดการณ์กันไป แต่สุดท้ายแล้ว คงต้องจับตากันจนถึงนาทีสุดท้าย อย่างลีเด็ดที่ว่า “สงครามยังไม่จบอย่าเพิ่งนับศพทหาร”

นายวันวิชิต บุญโปร่ง รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และผู้เชี่ยวชาญสายทหาร วิเคราะห์ว่า สถานการณ์ขณะนี้แคนดิเดทที่จะมีโอกาสขึ้นในตำแหน่ง ผบ.ทบ. คนที่ 39 มี พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้ช่วย ผบ.ทบ.คนที่ 1 และ พล.อ. ปรีชา จันทร์โอชา ผู้ช่วย ผบ.ทบ. คนที่ 2

ทั้งนี้ หากนับตามรุ่นนักเรียนเตรียมทหารนั้น พล.อ. ธีรชัย เป็นนรต. รุ่น 14 อาวุโสกว่า พล.อ.ปรีชา หนึ่งรุ่น แต่เกษียณอายุราชการพร้อมกัน วันที่ 30 ก.ย.2559 โฟกัสสำคัญของสื่อมวลชนในหลายเดือนที่ผ่านมานั้น แม้จะมีการโยนหินถามทาง หรือยั้งเสียงใครๆ ก็ตาม น้ำหนักก็สามารถไปได้ทุกฝ่าย แต่ถ้าวิเคราะห์ตามความเป็นจริงของเหตุการณ์นั้น พล.อ.ธีรชัย มีโอกาสอย่างมากที่จะเป็น ผบ.ทบ.คนต่อไป ต่อจาก พล.อ. อุดมเดช มากกว่า พล.อ.ปรีชา

“ถามว่าสามารถวิเคราะห์จากจุดไหนได้บ้างอันดับแรก ความอาวุโส ต่อมาในเรื่องสายการทำงานของการรับราชการ ตั้งแต่ ร้อยตรี จนถึงอัตราจอมพลยศพลเอก นั้น ตำแหน่งสำคัญๆ พล.อ.ธีรชัย ดำรงตำแหน่งมา สวยงามกว่า พล.อ.ปรีชา โดยเฉพาะ พล.อ.ธีรชัย คุมกำลังสายกำลังรบ และเคยเป็นผู้บังคับกองพัน ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 ถือว่าโตมาในหน่วยของสายบูรพาพยัคฆ์ ส่วนพล.อ.ปรีชา ไม่เคยเติบโตในสายกำลังรบ แต่เดินมาตามทางสายบำรุงกำลัง จึงมีความต่างกันตรงจุดนี้

ที่สำคัญที่ว่า พล.อ.ธีรชัย ได้เปรียบอะไรกว่า มองที่การติดยศ พล.ท. ท่านครองในจำนวนปีที่นานกว่า แม้จะติด พล.อ. พร้อมกัน มองได้ในเรื่องการชัดเจนในการดำรงตำแหน่ง ประเด็นต่อมา ความครบเครื่องมีมากกว่า พล.อ.ปรีชา ในเรื่องที่ว่า ตอนที่ท่านเป็นเสนาธิการกองทัพน้อยที่ 1 ในยศ พล.ต. ท่านเคยเป็นผู้บัญชาการเฉพาะกิจกำลังนราธิวาส ในการดูแลพื้นที่ที่นั่นถึง 3 ปี ดังนั้น พล.อ.ปรีชา จะขาดความรอบรู้ในด้านปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ไป ซึ่งทำให้เห็นน้ำหนักในความแตกต่าง และในขณะเดียวกัน”

ส่วนความเห็นในอีกแง่ หากสถานการณ์พลิกกลับ พล.อ.ปรีชา ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ.นั้น นายวันวิชิตมอว่าก็อาจจะเป็นการเปิดมิติมุมมองในกองทัพ ในการที่มีทหารสายอำนวยการ หรือฝ่ายเสนาธิการ เติบโตขึ้นมามีตำแหน่งแห่งหนในกองทัพได้ หมายความว่า สายอำนวยการจะต้องมีงานสัมพันธ์ มีปฏิสัมพันธ์ติดต่อกับประชาชน หรือภาคสาธารณชนมากกว่า ซึ่งภาพลักษณ์ตรงนี้ จะนำไปสู่การเป็นทหารอาชีพ ทั้งนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกา จะเป็นในลักษณะข้างต้นที่กล่าว ที่ทหารจะสายอำนวยการ เติบโตเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของเหล่าทัพได้ ซึ่งจะเป็นการลบล้างค่านิยมเดิมๆ ในยุคเก่าลงได้ ที่เชื่อว่า ทหารจะต้องคุมกำลังหลัก กำลังรบ ถึงจะเป็นเบอร์หนึ่งของกองทัพได้

“ขณะเดียวกัน นั่นคือจุดดีจุดเดียวของพล.อ.ปรีชา มองกลับมาที่ พล.อ.ธีรชัย ท่านก็เคยเป็นรองเสนาธิการทหารบก่อนจะกลับมาเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 นั่นหมายความว่าท่านก็เคยเติบโตในสายอำนวยการเช่นกัน พูดง่ายๆ ว่า พล.อ.ธีรชัย มีความรอบรู้ ครบถ้วนมากกว่า ที่สำคัญการเติบโตในสายกองทัพภาคที่ 1 ย่อมจะมีเครือข่ายสายสัมพันธ์ มีแรงสนับสนุนมากอยู่แล้ว ในขณะที่ กองทัพภาคที่ 3 อยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกล แต่กองทัพภาคที่ 1 ถือเป็นกำลังหลัก เป็นขุมกำลังปฏิวัติ หรือการป้องกันยับยั้งสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ การเมืองได้ ”

ในการวิเคราะห์สถานการณ์กลุ่มทหารบูรพาพยัคฆ์กับวงศ์เทวัญนั้น นายวันวิชิต กล่าวว่า มีความเชื่อมั่นว่าขณะนี้ “สายบูรพาพยัคฆ์” มีความพยายามเปลี่ยนแปลงตนเอง คือการผสมกลมกลืนเข้ากับ “กลุ่มวงศ์เทวัญ” หรือหน่วยอื่นๆ ในกองทัพบก เพราะในหลายปีที่ผ่านมานั้น นายทหารสายบูรพาพยัคฆ์ ถูกส่งไปเติบโตในหน่วยงานต่างๆ ตั้งแต่สมัยเป็นผู้พัน ผู้บังคับกองพัน ผู้บังคับการกรม และใช้ระยะเวลาบ่มเพาะ ไปเติบโตในหน่วยงานนั้นๆ จนได้รับการยอมรับ

เช่น กองพลทหารราบที่ 9 (ค่ายสุรสีห์) มีทหารหลายคนมาจากสายบูรพาพยัคฆ์ หรือในสมัยตั้งแต่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็น ผบ.ทบ. เป็นแม่ทัพภาคที่ 1 ก็เคยเอา ลูกน้อง ทส. มาเป็นผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ฯ (ร.1 พัน.1 รอ.) ในหน่วยของฝ่ายวงศ์เทวัญ นั่นแสดงว่า หลายๆหน่วยของกองทัพบก ทั้ง 2 สายมีการหลอมรวม การกระจาย การเติบโต การแผ่กิ่งก้าน ซึ่งสมัยก่อนจะมีการส่งคนฝ่ายตนไปคุมในระดับหัวๆ ของหน่วยงานนั้นๆ และวางทายาทมารับช่วงต่อ

แต่นับจากนี้จะเห็นได้ว่า สายบูรพาพยัคฆ์จะใช้วิธีส่งคนในสายไปแทรกในนายทหารระดับกลาง เพื่อให้เรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรในหน่วยนั้นๆ เพื่อให้เกิดการยอมรับการหลอมรวม ทั้งนี้ เชื่อว่าบูรพาพยัคฆ์ต้องมองสถานการณ์ไว้แล้ว หากฝ่ายตนถือครองอำนาจยาวนาน ย่อมมีโอกาสที่จะเจอยุทธการเอาคืนแน่ ทางเดียวที่จะสยบปัญหาคือ การสร้างเอกภาพขึ้นในกองทัพ

“เราจะเห็นบทบาทของสายวงศ์เทวัญ อย่าง พล.ต.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ รองแม่ทัพภาคที่ 1 มีบทบาทในการตอบสนองรัฐบาลอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการรับบทบาทในการจัดระเบียบสังคม การดูแลเรื่องปัญหาสลากกินแบ่งรัฐบาล จะเห็นว่านายทหารวงศ์เทวัญ ก็มีบทบาทมาก หรืออย่าง พล.ท.พิสิษฐ์ สิทธิสาร รองเสนาธิการทหารบก (สายงานยุทธการ) ที่จะถูกวางตัวในตำแหน่งสำคัญของกองทัพ ก็เป็นผลผลิตในการหลอมรวม เพราะท่านเคยเป็น ทั้งวงศ์เทวัญ และ บูรพาพยัคฆ์” นายวันวิชิต ระบุ

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ

โผทหารปี58คาด"ปรีชา"ผงาดทบ.เบียดเด็ก"บิ๊กป้อม"นั่งปลัดกลาโหม

วันอาทิตย์ ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558, 23.30 น.


14 มิ.ย. 58 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ 422/2558 เรื่องให้นายทหารออกจากราชการ เนื่องจากครบเกษียณอายุราชการ ในวันที่ 30 ก.ย. 2558 จำนวน 446 โดยคำสั่งตั้งแต่วันที่ 2 มิ.ย. ที่ผ่านมา อาทิ พล.อ.หญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ พล.อ.วิชิต ศรีประเสริฐ พล.ร.อ.ชุมนุม อาจวงษ์ พล.อ.อ.ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์​ รองปลัดกระทรวงกลาโหม
สำหรับในส่วนของกองบัญชาการกองทัพไทย ประกอบด้วย พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.วุฒินันท์ ลีลายุทธ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา พล.ร.อ.ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ พล.อ.อ.พลเทพ โหมดสุวรรณ​ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
นอกจากนี้ในส่วนของกองทัพบก มี พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข เสนาธิการทหารบก พล.อ.อักษรา เกิดผล ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก ในฐานะหัวหน้าพูดคุยสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ส่วนกองทัพเรือ มี พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิช ผู้บัญชการทหารเรือ พล.ร.อ.พจนา เผือกผ่อง รองผู้บัญชาการทหารเรือ พล.ร.อ.อภิชัย อมตยากุล ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ พล.ร.อ.ชัยณรงค์ เจริญรักษ์​ หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา พล.ร.อ.อธิคมน์ ภมรสูต ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ พล.ร.อ.พิจารณ์ ธีรเนตร ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ขณะที่กองทัพอากาศ มี พล.อ.อ.อานนท์ จารยะพันธุ์ รองผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร โฆษกกองทัพอากาศ
ทั้งนี้มีนายทหารที่เกษียณอายุราชการ แต่ยังคงทำหน้าที่ตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาล ของ พล.อ.ประยุทธ์ อาทิ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ พล.อ.สุรเชษฐ์​ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้นัด ผบ.เหล่าทัพ หารือในการจัดทำบัญชีโยกย้ายนายทหารประจำปี 2558 ในเดือน ก.ค.นี้ เนื่องจากในปีนี้มีนายทหารที่จะเกษียณอายุราชการในตำแหน่งหลักหลายตำแหน่ง อาทิ ตำแหน่ง ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก และ ผู้บัญชาการทหารเรือ จึงจำเป็นจะต้องมีการหารือในส่วนผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่ง ผบ.เหล่าทัพ ก่อนที่จะมีการพิจารณาในระดับไลน์ 5 เสือของแต่ละเหล่าทัพ ก่อนที่จะไปสู่ตำแหน่งกองทัพภาค
สำหรับตำแหน่งที่มีการจับตามองมากที่สุดในครั้งนี้ คือตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกคนที่ 39 ต่อจาก พล.อ.อุมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และ ผูู้บัญชาการทหารบก ที่จะต้องเกษียณอายุราชการในเดือน ก.ย.นี้ โดยเฉพาะเต็งหนึ่งอย่าง พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งเป็นน้องชายสายเลือดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และมี พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก น้องเลิฟของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ​ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่จะเข้ามาชิงในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก คนที 39 ด้วยเช่นกัน แต่ว่าหากคนใดคนหนึ่งได้ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกแล้ว คาดว่าอีกคนหนึ่งจะต้องไปดำรงแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม แต่ทั้งนี้คาดว่าคนที่จะมาดำรงตำแหน่งคงหนีไม่พ้น พล.อ.ปรีชา น้องชายของ พล.อ.ประยุทธ์
สำหรับในส่วนของกองบัญชาการกองทัพไทย คาดว่า พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้มีการผลักดันให้ พล.อ.สมหมาย เกาฎีระ เสนาธิการทหาร ขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ขณะที่กองทัพเรือ คาดว่า พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ จะเสนอชื่อให้ พล.ร.อ.ณรงค์พล ณ บางช้าง ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ ขึ้นมาดำรงจำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ เนื่องจาก พล.ร.อ.ไกรสร ได้มอบหมายให้ดูงานสำคัญในกองทัพเรือหลายอย่าง ที่สำคัญคือโครงการจัดซื้อจัดหาเรือดำน้ำ ซึ่งขณะนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.ไปแล้ว เหลือเพียงการส่งข้อมูลรายละเอียดเสนอให้กับ พล.อ.ประวิตร อีกครั้ง 

แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการลิขสิทธิ์

ราชกิจจานุเบกษา เปิดเผย (5ส.ค.) ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการลิขสิทธิ์ 

ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๖ และ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๖) อนุมัติให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการลิขสิทธิ์ รวมจํานวน ๑๒ คน และได้มีประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ และลงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๖ ตามลําดับ นั้น 

บัดนี้ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการลิขสิทธิ์ดังกล่าว ได้ดํารงตําแหน่งครบกําหนดสองปีตามวาระแล้ว เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘ อนุมัติให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการลิขสิทธิ์ จํานวน ๑๒ คน ดังนี้ 

๑. นายสมพร มณีรัตนะกูล ผู้แทนสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย 
๒. นายสุพล สิทธิธรรมพิชัย ผู้แทนสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ 
๓. นายบูรพา อารัมภีร ผู้แทนสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย 
๔. นางชาลินี ฮิราโน ผู้แทนสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย 
๕. นายจรัญ หอมเทยนทอง ี ผู้แทนสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จําหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย 
๖. นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร ผู้แทนสมาคมโรงแรมไทย 
๗. นายวิรัช อยู่ถาวร ผู้ทรงคุณวุฒิ 
๘. นางสาวอรพรรณ พนัสพัฒนา ผู้ทรงคุณวุฒิ 
๙. นายสุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล ผู้ทรงคุณวุฒิ 
๑๐. นายเศรษฐา ศิระฉายา ผู้ทรงคุณวุฒิ 
๑๑. นายพิเศษ จียาศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ 
๑๒. นางมรกต กุลธรรมโยธิน ผู้ทรงคุณวุฒิ 

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป 
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ 
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล 
รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี

นับถอยหลังสู่การปฏิรูปประเทศ

นับถอยหลังสู่การปฏิรูปประเทศ

การปฏิรูปในจีน เริ่มต้นจากการปฏิวัติวัฒนธรรมในจีน เมื่อ ค.ศ.1911 นำโดยเหมา เจอตง เพื่อขับไล่ราชวงศ์ชิง มีการทำสงครามกันยาวนานกว่า 10 ปี มีคนล้มตายกว่า 10 ล้านคน ฝ่ายภักดีต่อฮ่องเต้ และราชวงศ์ถูกกวาดล้าง ประหาร จนสิ้น ประชาชนที่สนับสนุน ถูกองค์กรเรดการ์ด ทำร้าย ต่อต้าน ประจาน ขับไล่ สังหาร ที่มีหลักคิดนำมาใช้ ในฮังการี่ บาวาเรียรัสเซีย จีน รวมทั้งไทย

ส่วนไทยบริบทการปฏิรูป โครงสร้าง องค์ประกอบ หลักคิด การปกครอง พื้นฐานความเป็นอยู่ ทั้ง พฤติกรรม ประเพณี สีผิว ชาติพันธ์ ศาสนาต่างกัน แม้จะมีคนจีนมาอยู่อาศัยในไทย แต่เป็นคนจีนที่หนีภัยสงคราม หนีการถูกกวาดล้างจากกลุ่มเรดการ์ด ส่วนใหญ่เป็นจีนที่จงรักภักดีในราชวงศ์ชิงในสมัยนั้น หนีขึ้นเรือสำเภามาขึ้นบกที่ภูเก็ต ถูกเรียกว่าชาวจีนโพ้นทะเล

การปฏิรูปในจีนเริ่มต้นจากการกวาดล้าง ขนานใหญ่ โดยมีหลักคิดใหญ่คือการโค่นล้มการปกครองระบอบกษัตริย์ของจีน ที่มีอายุยาวนานกว่า 5000 ปี แล้วเปลี่ยนแปลงเป็นคอมมิวนิสต์ จึงต่างกับไทย ต้นเหตุการปฏิวัติในจีนมาจากสภาพเศรษฐกิจ ความแร้นแค้น ยากจน ข้าวของแพง ความตกต่ำถดถอยทางเศรษฐกิจ การสนับสนุนจากยุโรป เป็นสำคัญ

ปฏิรูป หรือ Reform มีความหมายตามหลักพจนานุกรม อันมีความหมายเดียวกับคำว่าปฏิวัติ คือ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข

หลักคิดปฏิรูปจีนจึงต่างกับไทย และไทยก็ต่างกับจีน การปฏิรูปในไทย จะใช้เวลา ไม่เกิน 15 ปี จีนใช้เวลา 30 ปี ที่ไทยแล้วเสร็จไวกว่าจีน เพราะยังคงมีโครงสร้างการปกครองเดิมอยู่ มิได้เปลี่ยนแปลงเหมือนดั่งจีน การปฏิรูปในไทยเคยมีความพยายามจะเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี 2535 สมัยยุคพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช.ทำการยึดอำนาจ แต่ไม่สำเร็จ จนเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ขับไล่พลเอกสุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรี ที่ตั้งพรรคสามัคคีธรรม เลือกตั้งเพื่อให้ตนเองเป็นนายก โดยมีวาทกรรมที่เกี่ยวข้องคือ "เสียสัตย์เพื่อชาติ" กล่าวหาสส.ในสภาว่าเป็นสภาเปรซิเดียม

ต่อมาเกิดรัฐธรรมนูญ ปฏิรูปการเมือง ในปี 2540 ในยุคบรรหาร ถูกเรียกเป็น 2 ชื่อว่ารัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมือง หรือรัฐธรรมนูญฉบับบรรหาร ที่มี นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกในสมัยนั้น อันเป็นต้นเหตุวุ่นวายในปัจจุบัน ที่ให้เอกชน นายทุน เข้าครอบครองเป็นเจ้าของสื่อ โดยอ้างการถูกปิดกั้นข่าวสารของผู้ชุมนุม ที่เผาสถานที่ราชการ อย่างกรมประชาสัมพันธ์เป็นต้น อันเป็นต้นเหตุในการยึดอำนาจใน 19 กันยายน 2549 เวลา 18.30น.ภพโจโรฤกษ์

โดยมีนักการทหารอาชีพ เข้าควบคุมการปกครองในยุคของพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน แล้วให้พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี มาเป็นนายกรัฐมนตรี จนมาเป็นรัฐบาลสมัคร สมชาย อภิสิทธิ์ ยิ่งลักษณ์ ตามลำดับ ที่เป็นข่าวโด่งดังคือ บ้านบริเวณเขายายเที่ยง ของพลเอกสุรยุทธ์ ถูกรื้อ หลังจากพ้นจากตำแหน่ง และคำสั่ง คำประกาศ อันใดที่คณะรัฐประหารทั้ง 2 คณะออกคำสั่ง ถูกหักล้าง ลบทิ้งด้วยรัฐบาลแต่ละคณะ จนแทบมิเหลือซากเลยในปัจจุบัน

การปฏิรูปประเทศเกิดความพยายามในครั้งที่ 2 สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลังจากที่ผมได้มีโอกาสนำเอกสาร หลักคิดการปฏิรูปประเทศ และรัฐบาลแห่งชาติ มอบให้คุณอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ และคุณชวน หลีกภัย อันเป็นบทความของท่านไกรสร ตันติพงศ์ ที่พรรคประชาธิปัติย์ ตั้งแต่ต้นปี 2553 ได้พบหารือกับนายศิริโชค โสภา คนสนิทนายกรัฐมนตรี โดยเตือนว่าหากไม่ทำจะเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงต่อต้านจากฝ่ายตรงข้ามตามมา แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ก็ทำเพียงการตั้งคณะกรรมการปฏิรูป 2 คณะ มีนายอานันท์ ปันยารชุน และ นพ.ประเวศ วะสี เป็นหัวหน้าคนละคณะ ใช้งบประมาณแผ่นดินกว่า 200 ล้านบาท ในการทำงาน แต่ก็ไม่สามารถทำการปฏิรูปประเทศได้

จนเกิดเหตุการณ์ พฤษภาทะเลเพลิงในเดือนพฤษภาคม ที่เริ่มต้นจากเดือนมีนาคมยาวถึงเดือนพฤษภาคม จนมีประชาชน ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร ล้มตาย บาดเจ็บจำนวนมาก จนเป็นคดีความในปัจจุบัน

การรัฐประหารใน 22 พฤษภาคม ปี 2557 เวลา 16.30น. ภพฉัตรมงคลนั้น คณะรัฐประหาร ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้แถลงการณ์ออกสื่อต่างๆทั้งในและต่างประเทศว่าจะเข้าทำการปฏิรูปประเทศ โดยอ้างความขัดแย้งของคนในชาติ และได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเองควบอีกตำแหน่ง นำคณะนายทหารที่ร่วมรัฐประหาร นายทุน เจ้า เข้าเป็นรัฐบาล โดยมีวาทกรรม " ยึดแล้วต้องเป็นเอง เสียของ " โดยจะยึดอำนาจถึง 1 กันยายน 2558 มีการเชิญทูตประเทศต่างๆ ภาคเอกชน รัฐ เข้าชี้แจง ทูตสหรัฐอเมริกา ขอเข้าพบยืนยันถึง 2 ครั้ง 2 คน เป็นสำคัญ

ผมเขียนบทความหลายฉบับ เริ่มตั้งแต่ 27 พฤษภาคม 2557 หลังการรัฐประหารเพียง 5 วัน ก่อนคณะรักษาความสงบเรียบร้อย จะตัดสินใจเข้าทำเนียบประกาศตั้งรัฐบาลประยุทธ์ และเตือนด้วยวาจาว่า หากรัฐประหารแล้ว นักการทหารเป็นรัฐบาลเป็นนายกฯ ประเทศจะเผชิญกับ สภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ การแบ่งแยกประเทศ ภัยจากสงครามจากภายนอก การก่อการร้าย การบริหารจัดการที่ล้มเหลว ต่างชาติจะเล่นงาน บอยคอต จนเกิดการชุมนุมขับไล่ในที่สุด และจะใหญ่กว่ายุคกปปส.หลายร้อย หลายพันเท่า ทุกสีจะรวมกัน ที่สำคัญการปฏิรูปจะไม่สำเร็จ

โดยยกเหตุผลมาจากหลักคิดการรัฐประหารของไทยตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 ยามย่ำรุ่ง อันเป็นหลักคิด ทฤษฎี การรัฐประหารฝรั่งเศส เมื่อ 230 ปีก่อน โดยนักปรัชญาชื่อ..... ใช้มาในไทยทั้งหมดราว 15 ครั้งที่ทำสำเร็จ ไม่สำเร็จราว10ครั้ง เฉลี่ยรัฐบาลรัฐประหารจะมีอายุไม่เกิน 1.4 ปี ไม่ล้มด้วยตัวเอง ก็จะถูกขับไล่ ทุกครั้งจะมีสภาพเช่นปัจจุบันทุกครั้ง ทุกคราไป แตกต่างกันเพียงสถานการณ์ แต่มีผลลัพธ์ที่เหมือนกัน คือความล้มเหลวในการปกครองในทุกด้าน จะแก้ได้เพียงสถานการณ์เล็กๆน้อยๆรายวันเท่านั้น จนทั่วโลกต่อต้านการรัฐประหาร โดยเฉพาะสหภาพยุโรป เพราะนักการทหารมีความชำนาญด้านความมั่นคง มากกว่าการบริหาร

ปัจจุบันเข้าสู่ปีที่ 2 แล้ว คงมีการพิสูจน์แล้วว่า เหตุการณ์ต่างๆนั้น จริงหรือเท็จเพียงใด เพราะ เวลากำหนดสถานการณ์เสมอ จึงไม่ต้องแปลกใจ ที่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงมิแตกต่างจากในอดีต มากมายนัก แม้จะมีความพยายาม ทำตามแบบอย่างผู้นำที่ดี อย่างพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และ พลเอกสฤษดิ์ ธนรัชต์ ก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถที่จะทำได้ ความเสื่อมถอยในศรัทธา ทั้งที่มีกำลังใจจากมวลมหาประชาชนนับสิบล้านคน ถดถอยลงตามกาลเวลา ตามหลักธรรมชาติของทฤษฎีการรัฐประหารของฝรั่งเศส

ทางออกของนักการทหารในเวลานี้ ที่ดีที่สุดจึงมีทางเดียวคือ "ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง" ให้พลเรือนที่เชี่ยวชาญ ชำนาญการบริหาร การปฏิรูป เข้ามาช่วยเหลือสนับสนุน ยังคงสภาพของคณะรักษาความสงบเรียบร้อย คสช.ต่อไป นำชาติเข้าสู่การปฏิรูปอย่างแท้จริง ก่อนที่สหภาพยุโรปจะทำการบอยคอตประเทศไทยในทุกด้าน ก่อน 3 ตุลาคม 2558 ในการซ้อมรบของนาโต้ 30 ประเทศ เพื่อข่มขู่จีน อันเป็นหลักการคว่ำบาตรเหมือนที่ทำกับรัสเซีย พม่า ในปัจจุบัน ที่จะซ้ำเติมเศรษฐกิจไทย ที่เกิดจากการสะสมการทุจริต และเศรษฐกิจโลกในระลอกแรก อันยากจะแก้ไข

หลักรัฐบาลพลเรือนควบคู่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยนั้น เป็นหลักที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในไทย ยุค มีนายธานินทร์ ไกรวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี แต่กลับถูกรัฐประหารโดย พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ต่อมาพลเอกเกรียงศักดิ์ ก็ต้องลาออกกลางสภาเพราะนายทหารรุ่นยังเติร์ก ที่มีพลเรือนเป็นประธานคณะก่อการ จะปฏิวัติซ้อนตบเท้าดาหน้าให้ลาออกจนพ้นจากตำแหน่ง ต่อมาเกิดการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัติย์ได้เสียงข้างมาก จึงร่วมกับทุกพรรคเชิญ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีนายไกรสร ตันติพงศ์ สส.7สมัย รัฐมนตรี 4 สมัย เป็นรัฐมนตรีร่วมคณะ เป็นประธานสส.คอยประสานงาน ควบคุมในสภาให้เกิดความเรียบร้อย เพราะเชี่ยวชาญ ชำนาญยุทธศาสตร์การเมือง เป็นที่เคารพของหัวหน้า นักการเมืองจากทุกพรรค ทำให้รัฐบาลพลเอกเปรมบริหารยาวนานถึง 8 ปี ประเทศมั่นคง แก้ไขปัญหาสารพัด โดยเฉพาะภัยจากคอมมิวนิสต์ สภาพเศรษฐกิจดีมาก ได้รับการยอมรับจากนอกและในประเทศ จนได้รับการยกย่องโปรดเกล้าให้เป็นรัฐบุรุษ และประธานองคมนตรี จนถึงปัจจุบัน

ในยุคพลเอกสุจินดา คราประยูร ก็เลียนแบบหลักคิดการให้ทุกพรรคมาขอเป็นนายกบ้าง ตั้งพรรคสามัคคีธรรม หรือพรรคทหารขึ้นเพื่อสนับสนุนตนเอง ทั้งที่ถูกห้ามปรามจากผู้ใหญ่อย่างท่านไกรสร ตันติพงศ์ ว่าจะไม่ได้รับการยอมรับ จนเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในยุคพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ก็เช่นกันจัดตั้งพรรคมาตุภูมิ สุดท้ายก็ได้รับการเลือกตั้งเพียง 1 เสียง พ่ายแพ้ เสียของถูกตำหนิจนถึงปัจจุบัน

สิ่งเหล่านี้คือประวัติศาสตร์ ทางออกของชาติพอสังเขป การปฏิรูปในไทยนั้น มีหลักคิดที่แตกต่างจากชาติอื่นๆโดยสิ้นเชิง อันเป็นการหักล้างทฤษฎีความล้มเหลวของการปกครอง ตลอด 83 ปีของไทย โดยมีกระบวนการทางความคิด ยุทธการ ยุทธวิธี เชิงการบริหารชั้นสูงควบคู่การทหาร เอาการเมืองควบคู่การทหาร ระยะเวลาปฏิรูปแล้วเสร็จจะไม่เกิน 15 ปี เพราะยังมีระบอบการปกครองเดิม แม้จะต้องปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข ตามหลักการปฏิรูปก็ตาม

การที่นักโกงเมือง นักเผาเมือง ดิ้นเป็นไส้เดือนถูกเสียบ เพราะพวกเขาได้ทะยอยเข้าคุกไปแล้วหลายคน อีก 243 คนกำลังจะถูกถอดถอน ดำเนินคดีอาญา ตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต ฐานกระทำผิดรธน.และปลอมแปลงเอกสารสภาในการทูลเกล้า จึงเป็นธรรมชาติที่ต้องพูด ดิ้น เพื่อหวังจะเอาชีวิตรอด จึงเร่งให้เลือกตั้งให้เร็วที่สุด ย่ำขอให้นักการทหารทำตามโรปแมปเดิม หวังกลับมาอยู่เหนือข้าราชการ เอาคืนนักการทหาร ทุจริตเพื่อกลบเกลื่อนการกระทำความผิด แก้ไขกฎหมายเพื่อให้ตนเองพรรคพวกพ้นผิด เหมือนนักเลือกตั้งก็เรียกร้องเช่นกัน เพราะตกงานมานานแล้ว จึงกระสันอยากลงเลือกตั้งไม่สนว่าชาติบ้านเมืองจะเสียหายเพียงใด

นักการทหารจึงควรแม่นยำในยุทธศาสตร์ ไม่วอกแวก มั่นคง แม่นยำ อดทน ในระหว่างนี้ จะเกิดอุปสรรคมากมาย มากขึ้นกว่า 1 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 22 กรกฎาคมเป็นต้นมา เพราะเป็นปลายยกของหลักการทฤษฎีรัฐประหาร เกมส์จะถูกบีบจากทุกด้าน การต่อต้านจากนอกและในประเทศจะหนักขึ้น ปัญหาภาคใต้แก้ที่มาเลเซียถูกต้องแล้ว ประมงควรผ่อนปรน ค้ามนุษย์ทำได้ดีแล้ว วันเฉลิม 12 สิงหาคม จะช่วยกลบสถานการณ์การเมืองให้เบาบางลง จึงต้องอดทน เดินไปให้ถึงเป้าหมาย ปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง ให้แล้วเสร็จ ตามยุทธศาสตร์ของชาติไทย อันเป็นความหวังของทุกคนภายในชาติ

"การทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้น ที่จะให้เป็นไปโดยราบรื่น ปราศจากปัญหาข้อขัดแย้ง ย่อมเป็นไปได้ยาก เพราะคนจำนวนมากย่อมมีความคิดความต้องการที่แตกต่างกันไป มากบ้างน้อยบ้าง ท่านจะต้องรู้จักอดทนและอดกลั้น ใช้ปัญญา ไม่ใช้อารมณ์ ปรึกษากัน และโอนอ่อนผ่อนตามกันด้วยเหตุผล โดยถือว่าความคิดที่แตกต่างกันนั้น มิใช่เหตุที่จะทำให้เป็นข้อขัดแย้ง โต้เถียง เพื่อเอาแพ้เอาชนะกัน แต่เป็นเหตุสำคัญที่จะช่วยให้เกิดความกระจ่างแจ้ง ทั้งในวิถีทางและวิธีการปฏิบัติงาน "

พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
(ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น วันพฤหัสบดี 17 ธ.ค.2541)
เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา
6 สิงหาคม 2557
ข้อมูลอ้างอิง
- ข้อบรรณาในรัฐธรรมนูญ 2557 ฉบับชั่วคราว
- ข่าวนายกยันปฏิรูปต้องใช้เวลา ยกปฎิรูปจีนยาวถึง 30 ปี

มาแล้ว! ครม. อนุมัติร่าง 'พ.ร.บ.พลังงานนิวเคลียร์' ตั้ง 'คกก.นิวเคลียร์' ให้นายกนั่งประธาน

มาแล้ว! ครม. อนุมัติร่าง 'พ.ร.บ.พลังงานนิวเคลียร์' ตั้ง 'คกก.นิวเคลียร์' ให้นายกนั่งประธาน
Administrator 04 สิงหาคม 2558

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. ....ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป สาระสำคัญให้ตั้งคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ

4 ส.ค. 2558 ในการประชุมวันนี้ (4 ส.ค.) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. ....ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

โดยสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติมีดังต่อไปนี้

1. กำหนดให้ยกเลิกพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. 2504 และพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2508
2. กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัตินี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้บังคับแก่การดำเนินการเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์และรังสีในทางสันติ และไม่ใช้บังคับแก่ยานพาหนะทางทหารของต่างประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร
3. กำหนดให้มีคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่งจำนวนเก้าคน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินหกคน และเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเป็นกรรมการและเลขานุการ
4. กำหนดให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ กำกับดูแลทางนิวเคลียร์และรังสี ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง วางระเบียบควบคุมและดำเนินกิจการให้เป็นไปตามข้อกำหนดหรือเงื่อนไขในใบอนุญาต ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยจากพลังงานนิวเคลียร์ กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ อันพึงใช้โดยเฉพาะเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์ รวมทั้งกำหนดแผนเพื่อรับมือกับเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี
5. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการควบคุมวัสดุกัมมันตรังสีและเครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ สถานประกอบการนิวเคลียร์ กากกัมมันตรังสี และเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้แล้ว
6. กำหนดมาตรการความปลอดภัย ความมั่นคงปลอดภัย และการพิทักษ์ความปลอดภัย
7. กำหนดให้ผู้ครอบครองวัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ กากกัมมันตรังสี เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ หรือเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้แล้ว ซึ่งประสงค์ทำการขนส่งวัสดุดังกล่าว มีหน้าที่ต้องแจ้งต่อเลขาธิการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และผู้นั้นรวมถึงผู้รับขนส่งต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนด
8. กำหนดมาตรการกรณีมีเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี กรณีที่เกิดอันตรายหรือความเสียหายอันเกิดจากการประกอบกิจการตามใบอนุญาต ให้ผู้รับอนุญาตมีหน้าที่ระงับเหตุในเบื้องต้นตามแผนป้องกันอันตรายจากรังสี และต้องบอกแจ้งเหตุนั้นให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบทันที ส่วนกรณีอันตรายหรือความเสียหายที่มีลักษณะหรือขยายขอบเขตเป็นความเสียหายสาธารณะ รวมทั้งกรณีอันตรายหรือความเสียหายอันเกิดจากนิวเคลียร์หรือรังสีที่เกิดขึ้นในต่างประเทศซึ่งผลกระทบต่อประเทศไทย ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีอำนาจเข้าระงับเหตุแห่งความเสียหายสาธารณะนั้นได้ทันที
9. กำหนดให้เลขาธิการมีอำนาจสั่งให้ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืน แก้ไขปรับปรุง หรือปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด รวมทั้งมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ กรณีที่ผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงหรือประกาศหรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้
10. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานประกอบการยานพาหนะ ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ สถานที่ก่อสร้างสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ หรือสถานที่ให้บริการกากกัมมันตรังสี เพื่อตรวจสอบการทดสอบระบบเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ การบรรจุวัสดุนิวเคลียร์ และการเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ รวมทั้ง การตรวจ ค้น กัก ยึด อายัด หรือนำไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ เป็นต้น
11. กำหนดให้ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ต้องรับโทษอาญา
12. กำหนดบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับคณะกรรมการประกอบด้วยประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการโดยตำแหน่งตามมาตรา 9 (1) (2) และ (3) ปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 9 (4) ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 สิงหาคม 2558--

Cr  http://www.tcijthai.com/tcijthainews/view.php?ids=5720

คีย์แมนเตรียมทหาร20-จปร.31.....ยังเติร์ก แห่งทบ.




คีย์แมนเตรียมทหาร20-จปร.31.....ยังเติร์ก แห่งทบ.
เจอ 3เพื่อนรัก คีย์แมนของรุ่น ยืนกันเป็นแผงแบบนี้ เลยต้อง Selfie กันสักหน่อย พี่ๆ ทั้งน้านนน รู้จักกันมาตั้งแต่เป็น พันโท จนวันนี้ จ่อ เป็นบิ๊กกันหมดแล้ว ทั้ง พี่แดง พลตรีอภิรัชต์ คงสมพงษ์ รองแม่ทัพภาค1 ดาวรุ่ง วงศ์เทวัญ น้องรักที่ พลเอกประยุทธ์ ไว้วางใจมาก และให้เป็นประธานบอร์ด กองสลากฯ ส่วน พี่ณัฐ พลตรีณัฐ อินทรเจริญ ผบ.พล.ร.9 เป็นทหารเสือราชินี แต่ไปโตในหน่วย ทหารเสือพระสุรสีห์ น้องรัก พลเอกประวิตร และ พี่ตู่ พลตรีกู้เกียรติ ศรีนาคา รองแม่ทัพ1 สายบูรพาพยัคฆ์ น้องรักทั้ง พลเอกประยุทธ์ และ พลเอก ประวิตร เลยเชียว แม้อายุราชการจะไล่เลี่ยกัน แต่ไม่กระทบต่อความเป็นเพื่อนรัก เพราะเรื่องตำแหน่ง ในอนาคตอันใกล้ และอันไกล เป็นเรื่องของ พี่ๆ นายๆ ผู้บังคับบัญชา....แต่ว่ากันว่า จับตา รุ่นนี้ ให้ดีๆ เพราะอาจจะเติบโตมาดูแล กองทัพ ในช่วงเปลี่ยนผ่าน พอดี
cr วาสนา นาน่วม 

ดึงงบ สสส.กลับระบบราชการ ทำรัฐเก็บภาษีบาปน้อยลง เชื่อ “เหล้า-บุหรี่” จ้องล้ม


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
4 สิงหาคม 2558 14:55 น. (แก้ไขล่าสุด 4 สิงหาคม 2558 19:12 น.)
        สสส. แจงงบภาษีบาป 2% เป็นภาษีส่วนที่เก็บเพิ่มจากปกติ ชี้ดึงเงินกลับสู่ระบบราชการ ทำรัฐเสียประโยชน์ เหตุเก็บภาษีส่วนพิเศษเพิ่มไม่ได้ หวั่นงบประมาณไม่ยืดหยุ่นคล่องตัวแบบเดิม ส่งผลประสิทธิภาพการทำงานลดลง กระทบการสนับสนุนเครือข่ายกว่าล้านคน เชื่อเชื่อมโยงธุรกิจเหล้า บุหรี่ จ้องล้มองค์กร
ดึงงบ สสส.กลับระบบราชการ ทำรัฐเก็บภาษีบาปน้อยลง เชื่อ “เหล้า-บุหรี่” จ้องล้ม
        จากกรณีกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ. ยกร่างฯ) ได้ปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับการคลัง และงบประมาณ โดยแก้ไขไม่ให้มีการตรากฎหมายให้หน่วยงานรัฐจัดเก็บภาษีและจัดสรรเงินจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร และจะมีผลบังคับใช้กับหน่วยงานที่จัดเก็บภาษีและจัดสรรเงินดังกล่าวอีก 4 ปี หลังประกาศใช้ เพื่อป้องกันการกู้นอกระบบงบประมาณ ตามที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือถึง นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ. ยกร่างฯ ซึ่งเท่ากับว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และองค์กรสนับสนุนการกีฬาฯ ที่เพิ่งผ่านมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งได้รับงบประมาณจากภาษีบาป คือ เหล้าและบุหรี่ จะได้รับผลกระทบในเรื่องนี้ด้วย
      
       วันนี้ (4 ส.ค.) ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า เรื่องนี้น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดในระบบการเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (Earmarked Tax) ซึ่ง กมธ. ยกร่างฯ และประชาชนทั่วไปอาจยังไม่เข้าใจ เพราะคิดว่าภาษีที่เก็บจากธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ 100% นั้น จัดสรรให้ สสส. นำไปใช้ 2% และไทยพีบีเอส อีก 1.5% แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะเป็นการเก็บพิเศษเพิ่มจากภาษีปกติที่ต้องจ่าย ดังนั้น การดึงเงินกลับไปสู่ระบบงบประมาณที่ต้องผ่านรัฐสภา ก็จะทำให้รัฐบาลเก็บภาษีได้น้อยลง เพราะธุรกิจดังกล่าวไม่ต้องจ่ายภาษีส่วนพิเศษตรงนี้เพิ่ม แต่รัฐบาลกลับต้องนำภาษีปกติมาจัดสรรให้ สสส. ไทยพีบีเอส และองค์กรสนับสนุนการกีฬาฯ แทน กลุ่มธุรกิจดังกล่าวจึงได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้ และการที่ไม่ต้องจ่ายภาษีเพิ่มก็อาจทำให้ธุรกิจกลุ่มนี้นำเงินดังกล่าวไปใช้ส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด ทำให้พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ มองว่าการกลับไปสู่ระบบงบประมาณก็ทำให้มีโอกาสถูกการเมืองแทรกแซงได้
      
       ทพ.กฤษดา กล่าวว่า สสส. กำลังสรุปเรื่องดังกล่าวให้แก่คณะกรรมการ สสส. โดยเร็วที่สุด เพื่อให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป แต่เบื้องต้นคาดว่าคงต้องส่งหนังสือชี้แจงไปยัง กมธ. ยกร่างฯ เพื่อทำความเข้าใจต่อกรณี Earmarked Tax ว่า การดึงงบกลับไปสู่ระบบงบประมาณปกติไม่เกิดประโยชน์ต่อรัฐบาล และทำให้การดำเนินงานของ สสส. ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมือนที่ผ่านมา เนื่องจากการบริหารจัดการงบประมาณไม่คล่องตัว และไม่มีความยืดหยุ่น เพราะทุกอย่างกลับไปสู่ระบบงบประมาณ ซึ่งบางครั้งต้องตั้งงบประมาณล่วงหน้าถึง 3 ปี แต่การทำงานด้านสุขภาพทำเช่นนั้นไม่ได้ ซึ่งในต่างประเทศการเก็บภาษีแบบ Earmarked Tax มักจะใช้กับเรื่องสำคัญ ๆ เช่น สุขภาพ สื่อ และกีฬา
      
       “หากดูงบประมาณด้านการรณรงค์ จัดแคมเปญ และประชาสัมพันธ์ สสส. ใช้เพียงประมาณ 200 ล้านบาทเท่านั้น แต่ผลการดำเนินงานดีเทียบเท่าหน่วยงานรัฐในระบบราชการที่ใช้งบประมาณมากกว่า 1,000 ล้านบาท เห็นได้จากช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยลดลงกว่า 1.2 ล้านคน คนดื่มเหล้าลดลง ช่วยประหยัดงบประมาณไปมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท หรืออย่างเรื่องอุบัติเหตุก็ช่วยลดปัญหาลงได้ถึง 48% ช่วยลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นไปกว่าแสนล้านบาท ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวคงเกิดขึ้นไม่ได้ หากอยู่ในระบบราชการ เพราะความสำเร็จที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจาก สสส. แต่เกิดจากการทำงานลงไปสนับสนุนเครือข่าย ภาคประชาสังคม และชุมชนต่าง ๆ ในการขับเคลื่อน ซึ่งมีมากกว่า 10,000 องค์กร คนทำงานขับเคลื่อนมากกว่า 1 ล้านคน ซึ่งหากดึงงบประมาณกลับไปสู่ระบบราชการปกติก็จะกระทบกับเครือข่ายเหล่านี้ได้ เพราะอย่าลืมว่าองค์กรเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ไม่ได้มีระบบบัญชีที่เหมือนแบบภาครัฐ” ผู้จัดการ สสส. กล่าว
      
       ผู้สื่อข่าวถามว่า มีกระแสว่าอาจเป็นความพยายามในการล้ม สสส. ทพ.กฤษดา กล่าวว่า อาจมีความเชื่อมโยง เพราะการดำเนินงาน สสส. เชื่อมโยงกับธุรกิจเหล้าและบุหรี่ ทำให้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวเสียประโยชน์ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ อย่างในต่างประเทศก็พบว่าบริษัทบุหรี่ก็จะเข้ามาเล่นการเมืองในลักษณะนี้ เช่น สหรัฐอเมริกา องค์กรลักษณะแบบ สสส. ก็ถูกยุบไปหลายองค์กรแล้ว ส่วนที่คนมองว่า สสส. รณรงค์ทำงานไม่ได้ผล ขอถามว่าหาก สสส. ทำงานไม่ได้ผลจริง เหตุใดกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ถึงจ้องเล่นงาน เพราะการทำงานของ สสส. ไปก่อให้เกิดผลกระทบ
      
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 5 ส.ค. เวลา 12.00 น. เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ จะเดินทางไปยังรัฐสภา เพื่อยื่นหนังสือต่อ นายบวรศักดิ์ ถึงกรณีดังกล่าวด้วย