PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

รัฐประหาร l สอบตก “โกง”

รัฐประหาร l สอบตก “โกง”


ไม่ถูกที่ ไม่ถูกเวลา เอาเสียเลย
สำหรับองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ
ที่เลี้ยงส่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จากนักการทหาร ไปสู่นักการเมือง
ด้วยคำประกาศผลอันดับการจัดทำดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นประจำปี 2018
ที่ปรากฏว่าปีนี้ไทยมีคะแนนแย่ลงกว่าปีที่แล้ว
และยัง “สอบตก” ได้ 36 จากคะแนนเต็ม 100
หล่นมาอยู่อันดับ 99 จาก 180 ประเทศ
ยิ่งกว่านั้น เมื่อพิจารณาย้อนหลังไป 5 ปี
ปี 2560 เคยได้ 37 คะแนน (อันดับ 96)
ปี 2559 ได้ 35 คะแนน (อันดับ 101)
ปี 2558 ได้ 38 คะแนน (อันดับ 76)
ปี 2557 ได้ 38 คะแนน (อันดับ 85)
ปี 2556 ได้ 35 คะแนน (อันดับ 102)
จะพบว่า ในห้วงที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยึดอำนาจ และตั้งตนเองเป็นรัฐบาลบริหารประเทศมาตั้งแต่ปี 2557 นั้น
อันดับการจัดทำดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นไม่ได้ดีขึ้น
อย่างที่ทุกคนคาดหวัง
ต้องไม่ลืมว่า เหตุผลหลักของการยึดอำนาจคือ การทุจริตคอร์รัปชั่น
ถึงขนาดมีการประกาศร่างรัฐธรรมนูญฉบับโกงขึ้นมา
มีการเพิ่มมาตราเหล็กต่างๆ มากมาย
มีการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด มาตรา 44 อย่างไม่ยั้ง
มีการโยกย้ายข้าราชการประจำ และข้าราชการการเมืองหลายร้อยคน
แต่เอาผิดใครอย่างเป็นเนื้อเป็นหนังไม่ได้
มิหนำซ้ำยังมีกรณีอื้อฉาวนาฬิกาแพง การรั่วไหลของเงินที่ผ่านโครงการประชารัฐมากมาย
ขณะที่หน่วยงานที่ทำงานด้านการปราบโกง ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก
ในแง่เข้มงวดกับฝ่ายตรงข้าม แต่เอื้ออาทรกับฝ่ายตัวเอง
นี่จึงทำให้ดัชนีการคอร์รัปชั่นไม่ไปไหน
นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ข้อมูลว่า
องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ให้คะแนนและจัดอันดับไทย โดยพิจารณาข้อมูลจากแหล่งข้อมูล 9 แหล่งข้อมูล
ไทยได้คะแนนเท่าเดิม 6 แหล่ง
คะแนนลดลง 3 แหล่ง คือ
1. ด้านพัฒนาการจัดการสถาบันระหว่างประเทศ
2. ด้านการให้คำปรึกษาความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจ
และ 3. ด้านความหลากหลายของโครงการประชาธิปไตย ซึ่งพิจารณาจากการถ่วงดุลของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ตลอดจนการทุจริตของเจ้าหน้าที่ในฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ
ทั้งนี้ ที่คะแนนลดลง น่าจะเป็นเพราะปีที่ผ่านมาสังคมโลกมองว่าไทยยังขาดความชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
มีข้อจำกัดเรื่องสิทธิเสรีภาพบางประการเพื่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ
ทำให้การถ่วงดุลของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และกระบวนการยุติธรรมยังไม่ชัดเจน
ในข้อ 3 นี้ อ่านอย่างไรก็ไม่อาจปฏิเสธว่า แท้ที่จริง “รัฐประหาร” คือตัวถ่วงในการปราบโกง
ดังนั้น ข้ออ้างที่ว่าต้องรัฐประหารเพื่อปราบโกง ใช้ไม่ได้ผลแล้ว-เสียของแล้ว
ดังนั้น ใครจะอวยไส้แตก ทำนองว่า
…จึงถูกต้องแล้ว ที่ผู้นำรัฐประหารจะเขยิบเข้าไปสู่การเป็นนักการเมือง เพราะรัฐประหารไม่ใช่คำตอบการปราบโกงแล้ว
ก็ไม่สงวนลิขสิทธิ์
แต่หายาแดงมาทาสีข้าง ที่ถลอกปอกเบิกเอาเอง!

วิเคราะห์การเมือง : สแกนชื่อชิงนายกฯ แต่ละพรรค จุดแข็ง-จุดขาย เลือกตั้ง 24 มี.ค.

วิเคราะห์การเมือง : สแกนชื่อชิงนายกฯ แต่ละพรรค จุดแข็ง-จุดขาย เลือกตั้ง 24 มี.ค.

ที่มา : มติชนสุดฯ
ระฆังเลือกตั้งดังขึ้น ถึงเวลาที่พรรคการเมืองต้องออกมาขยับ ยืดเส้นยืดสาย หลังจากที่ต้องนั่งขดอยู่ข้างสนาม เป็นผู้ชมมาเกือบ 5 ปี
เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดให้วันที่ 24 มีนาคม เป็นวันเลือกตั้งประเทศไทย บรรยากาศการเมืองจึงคึกคักขึ้นมาทันที โดยพรรคการเมืองต่างๆ ขานรับด้วยความปีติยินดี เพราะเป็นการรอคอยการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 8 ปี นับจากการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2554 ไม่นับการเลือกตั้งปี 2557 ที่เป็นโมฆะไป
เป็นที่คาดกันว่าหลังเลือกตั้งครั้งนี้ ประเทศไทยจะได้รัฐบาลผสม ที่มาจากหลายพรรคการเมือง
ไม่มีทางที่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งจะได้คะแนนเสียงท่วมท้นจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ตามลำพัง เนื่องด้วยรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่เขียนโดยปรมาจารย์นักกฎหมายอย่าง “นายมีชัย ฤชุพันธุ์” อดีตประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้ออกแบบนวัตกรรมระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ เรียกว่า “จัดสรรปันส่วนผสม” ที่เฉลี่ยคะแนนให้อย่างทั่วถึงทุกพรรค
นายมีชัยและพวกยังบัญญัติรัฐธรรมนูญแบบพิสดารอีกประเด็นคือ ในส่วนของการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีนั้น ให้แต่ละพรรคการเมืองเสนอชื่อนายกฯ ได้ไม่เกิน 3 คน โดยทั้ง 3 คน ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส.หรือสมาชิกพรรค
ประเด็นนี้ถูกด่าตั้งแต่ต้นแล้วว่าเป็นการปูทางให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นมามีอำนาจในฐานะนายกฯ หลังการเลือกตั้งอีกครั้ง เพราะไม่ง่ายที่คนอย่าง “บิ๊กตู่” จะเข้าสังกัดพรรคการเมือง หรือลง ส.ส.
ฉะนั้น วิธีนี้จึงเป็นทางออก หากไม่อยากให้ทุกอย่างเสียของ
เรื่องร้อนที่ต้องจับตาในการเลือกตั้งครั้งนี้ จึงเป็นอนาคตทางการเมืองของ “บิ๊กตู่” ที่ต้องฝากความหวังไว้กับพรรคการเมืองหน้าใหม่แต่ไฟแรงอย่างพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ว่าจะสามารถไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่
พรรค พปชร.เกิดขึ้นจากการรวมตัวของคนหลายกลุ่ม แต่จุดประสงค์เดียวคือ การสานต่องานของรัฐบาล “บิ๊กตู่” ซึ่งตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมา ต่างได้รับความชื่นชมและเสียงวิจารณ์ เรียกว่ามีทั้งคนชอบและคนเกลียด
พรรค พปชร.เสนอ 3 ชื่อในบัญชีนายกฯ โดยมี “พล.อ.ประยุทธ์” เป็นชื่ออันดับ 1 ตามด้วยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และนายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค
กระนั้นก็ตาม แม้จะเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่อลังการในช่วงแรก แต่หลังๆ มานี้พรรค พปชร.เกิดความไม่มั่นใจสูงว่าจะสามารถกำชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ได้หรือไม่ เพราะถนนการเมืองการเลือกตั้งนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด และต้องยอมรับว่า ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ไม่ได้สร้างความประทับใจให้ประชาชนเท่าที่ควร
จึงไม่แปลกที่จะปรากฏชื่อนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ในบัญชีรายชื่อนายกฯ ของพรรค เพราะเป็นการประเมินแล้วว่า แค่ชื่อ “บิ๊กตู่” คงไม่สามารถขายได้
มีเสียงซุบซิบด้วยว่า อดีต ส.ส.ที่ย้ายจากพรรคอื่นไปอยู่พรรค พปชร.บางคนยังไม่กล้าบอกกับประชาชนว่าตัวเองย้ายพรรค
ขณะที่บางคนไม่กล้าใส่เสื้อพรรค โดยเฉพาะทางอีสาน ที่ผู้สมัครต้องพยายามโปรโมตชื่อตัวเอง มากกว่าจะบอกว่าอยู่พรรคใด
นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้มีชื่อ “นายสมคิด” โผล่ขึ้นมา เพราะนายสมคิดถือเป็นนักการเมืองภาพลักษณ์ดี มีภูมิความรู้ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะสามารถช่วยพรรคได้ไม่มากก็น้อย
พรรค พปชร.มีกองหนุนประกอบด้วย พรรครวมพลังประชาชาติไทย นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ พรรคประชาชนปฏิรูป นำโดยนายไพบูลย์ นิติตะวัน โดยทั้งสองพรรคมีมติไม่ส่งรายชื่อนายกรัฐมนตรี หากแต่จะคอยยกมือสนับสนุน “บิ๊กตู่” ในสภา
พรรคคู่แข่งสำคัญของ พปชร.คือพรรคการเมืองอันดับหนึ่งอย่างพรรคเพื่อไทย (พท.) พรรคเพื่อไทย (พท.) ชูว่าที่นายกฯ 3 คน ซึ่งมีพลังที่แตกต่างกัน 1.คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 2.นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ 3.นายชัยเกษม นิติสิริ
มี 3 ตัวเลือก ย่อมดีกว่าตัวเลือกเดียว เพราะในขณะที่คุณหญิงหน่อยซึ่งเป็นนักการเมืองรุ่นเก๋า มีประสบการณ์ท่วมท้น โชกโชนจากสนามการเลือกตั้งหลากหลาย อีกทั้งยังมีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับผู้คนมากมายหลายวงการ ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติที่ดีของคนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีเมืองไทย
ขณะเดียวกันก็ต้องมีตัวเลือกที่แตกต่าง โดยนายชัชชาติเป็นผู้ที่มาตอบโจทย์นั้น เพราะเขาเป็นตัวแทนของนักการเมืองรุ่นใหม่ ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ไมสาดโคลนทางการเมือง สร้างตัวตนจนมีกระแสอย่างสูงในสังคมออนไลน์ ยิ่งบวกกับการที่มีภูมิความรู้ด้านเศรษฐกิจ ยิ่งทำให้นายชัชชาติน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น
ส่วนพรรคแนวร่วมของพรรคเพื่อไทย อย่างพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) ชื่อย่อก็บอกแล้วว่า “ทักษิณ ชินวัตร” ไม่งั้นคงใช้ชื่อย่อ “ทรช.” ไปแล้ว
“ไทยรักษาชาติ” ที่ว่ากันว่าเป็นพรรคตัวแทนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะมีอดีตคนใกล้ชิด “เจ๊ปู” ร่วมทีมคับคั่ง พรรคนี้มาในคอนเซ็ปต์เดียวกับพรรคเพื่อไทย (พท.)
ที่สำคัญได้ชูหัวหน้าพรรค ซึ่งเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่อย่าง “ป๋อม” ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช และมีนักการเมืองรุ่นเก๋ามากประสบการณ์อย่าง “อ๋อย” นายจาตุรนต์ ฉายแสง ที่มีภาพของการเป็นนักการเมืองที่ยึดหลักประชาธิปไตยชัดเจน อาจจะอยู่ในบัญชีนายกฯ เพื่อหวังฐานเสียงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งจะใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งครั้งแรก และคนรุ่นเก่าที่ติดตามการเมืองมายาวนาน
ซึ่งนับเป็นอีกวิธีคิดที่ชาญฉลาด
ส่วนพรรคขนาดกลางๆ เช่น พรรคภูมิใจไทย (ภท.) ยังคงชูหัวหน้าพรรคอย่าง “เสี่ยหนู” นายอนุทิน ชาญวีรกูล แบเบอร์มาคนเดียว เพื่อง่ายแก่การบริหารจัดการ
ขณะที่พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) เมื่อ “มังกรเติ้ง” คุณพ่อบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทยจากไป ก็มีลูกสาวอย่าง “หนูนา” กัญจนา ศิลปอาชา ขึ้นมาเป็นผู้นำทัพแทน
ส่วนพรรคการเมืองใหญ่ที่มีบทบาทสำคัญอย่างพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ยังคงเหนียวแน่น โดยยืนหยัดชู “หัวหน้ามาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพียงชื่อเดียวในบัญชีนายกฯ เพราะนาทีนี้ไม่มีใครจะเทียบรัศมีของ “หัวหน้ามาร์ค” ได้อีกแล้วเมื่อชนะศึกได้กลับมานั่งเป็นหัวหน้าพรรค ปชป.อีกสมัย
สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เลือกตั้งครั้งนี้มั่นใจว่าจะต้องได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล หลังจากที่พรรคไม่เคยชนะเลือกตั้งเลย นับแต่หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ก็ปาเข้าไปเกือบ 30 ปีแล้ว
เลือกตั้งครั้งนี้ ยังจะเป็นเครื่องมือวัดศักยภาพของหัวหน้าพรรคได้เป็นอย่างดี เพราะหากพรรคชนะการเลือกตั้ง ได้จัดตั้งรัฐบาล ทุกอย่างก็จะจบลงอย่างสวยงาม แต่หากแพ้เลือกตั้ง หัวหน้าพรรคจะต้องรับผิดชอบด้วยการลาออกจากหัวหน้าพรรค เปิดทางให้คนอื่นๆ ได้เข้ามาทำหน้าที่นี้แทน
เพราะภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ ถ้าแพ้เลือกตั้งครั้งนี้ก็เท่ากับว่าแพ้ครั้งที่ 3 โดยครั้งแรกคือปี 2550 และปี 2554 ที่แพ้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
แต่คาดกันว่า นายอภิสิทธิ์จะลาออกทันทีเมื่อพรรคประชาธิปัตย์แพ้เลือกตั้งหนนี้ เพื่อเปิดทางให้หัวหน้าพรรคคนใหม่นำ ปชป.ร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) สนับสนุนให้ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ เพราะถึงอย่างไร การได้เป็นรัฐบาลก็ยังเป็นประโยชน์อยู่กับพรรค ปชป.
ส่วนชื่อไหนจะเข้าป้ายได้นั่งเป็นนายกฯ หลังกาบัตรวันที่ 24 มีนาคม จะได้รู้กัน

09.00 INDEX: ภาพลักษณ์ ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ รอยด่าง ใน “พลังประชารัฐ”

09.00 INDEX: ภาพลักษณ์ ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ รอยด่าง ใน “พลังประชารัฐ”



สภาพที่รายชื่อกลุ่มของ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ จากพรรคประชาธิปัตย์ กลายเป็นยักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก ต่ออันดับในบัญชีรายชื่อของพรรคพลังประชารัฐ

มากด้วยความละเอียดอ่อน และแหลมคม

ละเอียดอ่อนและแหลมคมไม่ยิ่งหย่อนไปจากกรณีของ นายวิรัช รัตนเศรษฐ ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่ม “พลังโคราช” ตัวจริง

เหตุผลเพราะมี “คดี” ความติดหลังมาด้วย

กลุ่มของ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ เป็นคดีเพราะว่าเข้าไปมี ส่วนร่วมกับการเคลื่อนไหวของกปปส. ขณะที่ นายวิรัช รัตนเศรษฐ เป็นคดีอยู่ใน ป.ป.ช.เกี่ยวกับการก่อสร้างสนามฟุตซอล

นี่ย่อมเป็นผลสะเทือนจากที่พยายามดึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มาเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีโดยแท้

ถามว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไว้วางใจกลุ่มของ นายพุทธิ พงษ์ ปุณณกันต์ หรือไม่

ตอบได้เลยว่า ไว้วางใจ

หากไม่ไว้วางใจ ก็คงไม่แต่งตั้งให้เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง หากไม่ไว้วางใจก็คงไม่แต่งตั้งให้เป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

และคงไม่ให้รับผิดชอบ “เพจ” ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ว่าเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม


เช่นเดียวกับความไว้วางใจต่อ นายวิรัช รัตนเศรษฐ

เพราะหากไม่ไว้วางใจคงไม่มอบ 14 เขตของจังหวัดนครราชสีมาให้อยู่ในความรับผิดชอบ ภายใต้การกำกับอีกทอดหนึ่งโดย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน

กระนั้น กรณีคดีความอันกลุ่ม นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ และ นายวิรัช รัตนเศรษฐ มีอยู่ ก็เป็นเรื่องที่อาจกระทบต่อพรรคพลังประชารัฐ

กระทบต่อภาพลักษณ์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

จำเป็นต้องยอมรับว่า การส่งเทียบเชิญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มิได้เป็นรายรับของพรรคพลังประชารัฐอย่างด้านเดียว หากแต่ยังมีรายจ่ายรวมอยู่ด้วย

และ “รายจ่าย” ก็เริ่มสำแดงตัวออกมาอย่างเด่นชัด

กรณีกลุ่มของ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ กรณีของ นายวิรัช รัตนเศรษฐ นั่นก็คือรายจ่ายอย่างสำคัญ

เป็นปัญหาที่พรรคพลังประชารัฐจักต้องตัดสินใจ

ปชป.ยุติเกาเหลาเขต 3 สงขลา'วิรัตน์'เดินขึ้นบันไดสมัครส.ส.



5 ก.พ.62 -   นายจุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรค ในฐานะกรรมการสรรหา กล่าวภายหลังการพิจารณาผู้สมัครส.ส.เขต 3 จังหวัดสงขลา ว่า เมื่อวันที่ 1 ก.พ. ที่คณะกรรมการบริหารพรรค(กก.บห.) มีมติเปลี่ยนตัวผู้สมัครในเขต 3   นั้น เนื่องจากนายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีตส.ส.สงขลา มาประชุมด้วยร่างกายที่ไม่แข็งแรงและอ่อนแอมาก เดินได้ไม่เท่าไหร่ก็ต้องนั่ง ดังนั้น ที่ประชุมจึงได้มอบให้นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรค ดูแลภาคใต้ ไปสอบถามแพทย์และประเมินว่านายวิรัตน์พร้อมลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ ซึ่งวันนั้นทุกคนเห็นว่าสภาพของนายวิรัตน์ไม่พร้อม จึงมีมติให้รับสมัครใหม่ ซึ่งเมื่อรับสมัครใหม่อีกครั้ง ปรากฏว่าก็ยังมีผู้สมัครเพียงคนเดียว และวันนี้นายวิรัตน์ก็ได้มาชี้แจงต่อคณะกรรมการสรรหา โดยขึ้นบันไดมาเองได้และเดินคล่องแคล้ว ในขณะที่วันที่ 1 ก.พ. ต้องขึ้นลิฟต์
“คุณวิรัตน์มายืนยันว่าทำงานได้เต็มที่ และขอเวลาสองอาทิตย์ที่จะพึ่งไม้เท้า หลังจากนั้นจะไม่ใช้ไม้เท้าและเดินหน้าหาเสียง ซึ่งทางกรรมการสรรหาพิสูจน์แล้วว่าคุณวิรัตน์มาด้วยตัวเอง เข้มแข็งจริง และหลังจากที่พูดคุยซักถามแล้วทางกรรมการสรรหาก็พอใจ"
เขากล่าวว่า ขั้นตอนต่อจากนี้คือประกาศรับฟังความคิดเห็น ซึ่งคาดว่ากรรมการสรรหาจะส่งเรื่องให้กก.บห.ได้ในวันพรุ่งนี้ (6 ก.พ.) ส่วนพล.ต.ท.สาคร ทองมุณี อดีตผู้บัญชาการท่องเที่ยว ที่มีข่าวว่าจะลงส.ส.เขตดังกล่าวนั้น ไม่ได้สมัคร.

“บรรยง” วิเคราะห์ “บิ๊กตู่” ไม่ควรรับเป็นนายก ไม่สง่างาม ทำประเทศติดล็อก แนะถอยดีกว่า



ภายในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 62 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. และนายกรัฐมนตรี จะต้องตอบรับหรือปฏิเสธ เป็นนายกรัฐมนตรี ในบัญชีรายชื่อของพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)

ไม่ว่า พลเอกประยุทธ์ จะรับหรือปฏิเสธ ล้วนเป็นจุดเปลี่ยนของการเมืองในโค้งเลือกตั้ง และส่งผลทิศทางการจัดรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง

นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) และอดีตคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือซูเปอร์บอร์ด แสดงความเห็นกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงกรณีนี้ว่า พลเอกประยุทธ์ไม่ควรรับข้อเสนอเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี เพราะโอกาสจะเป็นนายกฯอย่างสง่างามนั้นแทบไม่มี
นายบรรยงวิเคราะห์ว่า “ถ้าพลเอกประยุทธ์ตอบรับข้อเสนอ การที่พลเอกประยุทธ์จะเป็นนายกได้อย่างสง่างามที่สุดคือ พรรคพลังประชารัฐได้คะแนนเสียงอันดับ 1 ซึ่งจากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายบอกว่าเป็นไปไม่ได้เลย ยกเว้นจะต้องโกงมโหฬาร เหมือนการเลือกตั้งปี 2500 ที่จอมพลป.โกงจนนำไปสู่การปฏิวัติ”
สมมติฐานที่ 2 ถ้าพรรคพลังประชารัฐได้คะแนนอันดับ 2 หรือ 3 ซึ่งมีคนวิเคราะห์ว่ายากที่จะได้ที่ 2 และถ้าพรรคพลังประชารัฐได้คะแนนอันดับที่ 3 พลเอกประยุทธ์ จะไม่สามารถเป็นนายกฯได้อย่างสง่างาม เนื่องจากประชาชนเลือกคนอื่น 6 คน จาก 2 พรรค
“ถ้าคะแนนมาที่ 3 ท่านจะเป็นนายกฯอย่างสง่างามได้ยังไง ประชาชนเลือกคนอื่น 6 คนก่อนหน้าท่าน และอีกอย่างสมมติว่าพรรคพลังประชารัฐได้คะแนน 100 เสียง จะเป็นนายกฯได้ยังไงในเมื่อประชาชนเลือกท่าน 20 เปอร์เซ็นต์ นายกรัฐมนตรีที่เริ่มรับตำแหน่งด้วย approval rate แค่ 20 เปอร์เซ็นต์มันแทบจะไม่มีในโลก ประชาชนเขาเลือกคนอื่น 80 เปอร์เซ็นต์ มันเป็นรัฐธรรมนูญที่เขียนผิดฝาผิดตัว เอาเจตนามามั่วกันไปหมด ผมงงมากว่าเนติบริกรเขียนอย่างนั้นไปได้ไง แต่มันเขียนไปแล้วก็ต้องใช้”
สมมติฐานที่ 3 สมมติว่าสามารถจะใช้อำนาจของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) จำนวน 250 เสียง ไปต่อรองจนพรรคอื่นเข้ามาร่วม ก็ไม่มีทางที่จะมีเสียงในสภาผู้แทนราษฎรเกิน 250 เสียง ยกเว้นว่า หนึ่งในสองขั้วใหญ่มาร่วมรัฐบาล คือขั้วเพื่อไทย ที่มีอยู่ 3 พรรค กับขั้วประชาธิปัตย์ ถ้า 2 ขั้วนี้ไม่มาร่วม รัฐบาลของพรรคพลังประชารัฐไม่มีทางได้ 250 เสียง ซึ่งโอกาสที่ขั้วเพื่อไทยจะมาร่วมนั้นแทบไม่มี ส่วนขั้วพรรคประชาธิปัตย์จะมาร่วมได้ในกรณีเดียวที่พอจะดูดีคือ พรรคพลังประชารัฐได้คะแนนที่ 1 หรืออย่างน้อยได้คะแนนที่ 2 แต่ถ้าพรรคประชาธิปัตย์มีคะแนนเสียงมากกว่าพรรคพลังประชารัฐ แล้วพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาลโดยยอมให้บิ๊กตู่เป็นนายก จะเป็นผลเสียต่อพรรคประชาธิปัตย์อย่างมาก
“ถ้าประชาธิปัตย์ใหญ่กว่า แล้วประชาธิปัตย์ยังยอมลดตัวไปร่วมด้วยและยอมให้บิ๊กตู่เป็นนายก ประชาธิปัตย์จบ พรรคที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองไทยก็จะกลายเป็นพรรคต่ำสิบในการเลือกตั้งครั้งหน้า เพราะมันไม่มีทางที่จะตอบกับผู้ที่เลือกตัวเองได้เลย ดังนั้นก็อาจจะต้องให้ประชาธิปัตย์เป็นนายกฯ ซึ่งถ้าทำอย่างนั้น พลเอกประยุทธ์ ก็เสียหน้ามโหฬาร สมมติว่ากล้ำกลืนอยู่เป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยในสภาล่าง ก็บริหารประเทศไม่ได้ เพราะว่าแป๊บเดียวก็ผ่านกฎหมายสำคัญไม่ได้ ก็อยู่ไม่ได้ ต้องปฏิวัติหรือยุบสภาเลือกตั้งใหม่ ก็จะออกอีหรอบเดิม เพราะว่าเลือกตั้งใหม่ คะแนนของพลังประชารัฐยิ่งจะแย่กว่าเดิม เพราะว่าเป็นรัฐบาลแล้วทำอะไรไม่ได้ ทำประเทศติดล็อก”
นายบรรยง วิเคราะห์อีกว่า หากสมมติฐานกลับกัน ถ้าประชาธิปัตย์เข้าร่วมและยอมให้บิ๊กตู่เป็นนายกฯ ตั้งรัฐบาลเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากในสภาล่าง ถ้าออกกรณีนั้น ผมจะบอกว่าโดยนิสัย โดยคุณสมบัติ โดยความเคยชินของพลเอกประยุทธ์ก็จะบริหารงานไม่ได้ เพราะว่าทุกวันนี้มีอำนาจล้นอยู่ในมือ มีขุนพลอยพยักรอบข้าง ก็ยังหงุดหงิดเกรี้ยวกราดทุกวัน ถ้าเกิดมีนักการเมืองเข้าไปอีก 3-4 พรรค คงสติแตก ทำงานไม่ได้”
“ทั้งหมดผมวิเคราะห์เพื่อจะบอกว่า พลเอกประยุทธ์ไม่มีเหตุผลที่จะรับเสนอชื่อ เพราะไม่มีอะไรดีสำหรับพลเอกประยุทธ์เลย ถอยตอนนี้ก็ยังมีคนชื่นชมว่า 5 ปีที่ผ่านมาขยันทำงาน จะได้ผลหรือไม่ได้ผลก็อีกเรื่องหนึ่ง”  
นอกจากนั้นนายบรรยงวิเคราะห์ผลดีที่จะเกิดกับประเทศ ในกรณีที่พลเอกประยุทธ์ไม่รับการเสนอชื่อว่า ถ้าพลเอกประยุทธ์ไม่รับจะมีทางทำอะไรให้ดีได้อีกหลายอย่าง เช่น 1.การตั้งสว.จะทำได้อย่างมีอิสระมากขึ้น สามารถเลือกคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เพราะไม่จำเป็นต้องตั้งสว.เพื่อจะเลือกตัวเอง 2.ถ้าพลเอกประยุทธ์ไม่รับเท่ากับคืนอำนาจให้ประชาชน ปล่อยให้รัฐบาลใหม่บริหารประเทศ ปลดล็อก เลิกแผนยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งถ้าพลเอกประยุทธ์อยู่มันเลิกไม่ได้
“ยุทธศาสตร์ชาติจะเป็นมรดกที่ฉุดประเทศ ทั้ง ๆ ที่มันเกิดขึ้นมาจากความตั้งใจดี แต่เป็นความตั้งใจดีที่ไม่ได้คิดให้รอบคอบ มันเป็นเรื่องผิดฝาผิดตัวที่คุณเอาเรื่องแผนยุทธศาสตร์ที่ต้องการความยืดหยุ่นที่สุดมาปนกับกฎหมายที่ต้องชัดเจนและห้ามยืดหยุ่น ยุทธศาสตร์เป็นสิ่งที่ควรมี แต่ยุทธศาสตร์ที่เป็นกฎหมายที่บังคับทุกคนต้องทำตาม มันไม่มีที่ไหนในโลกนี้มี คุณเอาสองเรื่องที่ธรรมชาติตรงข้ามกันมารววมกัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้”
นายบรรยงมองว่า ถ้าพลเอกประยุทธ์ไม่รับการเสนอชื่อ คนที่ได้รับผลเสียคือพรรคพลังประชารัฐและเครือข่ายที่บิ๊กตู่เคยรับปากไว้
“คนที่พังคือพรรคพลังประชารัฐ คุณ (พลเอกประยุทธ์) ปฏิวัติเพราะคุณบอกว่าการเมืองแบบเก่ามันเหลวแหลก นักการเมืองแบบเก่ามันห่วย แต่พอตั้งพรรคพลังประชารัฐ คุณกลับไปรวบรวมคนเหล่านั้นมา แต่ก็มีคนดีเข้าไปด้วย แต่ผมถามว่า ถ้าคุณไม่ลง ใครพัง ก็คือคนพวกนั้นที่คุณอยากให้เขาพังตั้งแต่ตอนปฏิวัติ เขาจะได้พังซะที นี่เป็นยุทธศาสตร์ที่ยิ่งกว่าโจโฉแตกทับเรืออีก ส่วน 3 ดร. กับสนธิรัตน์ คุณก็กลับไปทำอย่างอื่น กลับมาเป็นนักวิชาการดีกว่าเยอะ แต่ถ้าคุณเดินต่อ คุณจะเริ่มมีแผลเต็มไปหมด”
ทั้งนี้ นายบรรยงบอกว่า ตนวิเคราะห์ในมุมของพลเอกประยุทธ์ว่าไม่ควรรับ ลอยตัวไปดีกว่า ส่วนเจ้าตัวพลเอกประยุทธ์จะรับหรือไม่นั้นตนไม่ทราบ

เผื่อใจ อาจไม่ได้เป็นนายกฯ!!

เผื่อใจ อาจไม่ได้เป็นนายกฯ!!
“ บิ๊กตู่” เผื่อใจอาจไม่ได้ เป็นนายกฯ เปรย อะไรที่ประชาชนคาดหวัง ผมก็อยากทำให้มันดีที่สุด ผมพร้อมสำหรับทุกอย่าง แต่อยู่ที่ประชาชน ยันไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับปาร์ตี้ลิสต์พรรคพลังประชารัฐ ผมยังไม่เห็น ก็แล้วแต่เขาเป็นเรื่องของพรรคที่จะทำ ผมยังไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยวกับพรรคการเมืองเลยเขาก็มีคณะกรรมการของเขา ทำไมผมจะต้องไปเกี่ยวข้องกับเขาด้วยล่ะ

“ผมยังไม่เห็น ไม่เกี่ยวกับผมเป็นเรื่องของพรรคเขาก็ทำไปสิ ที่ผมจะไปร่วมกับเขาคือจะไปเป็นนายกฯ สมมุติว่าผมรับแล้ว ผมได้เป็นนายกฯ ขึ้นมาอะไรที่ทำก็ต้องทำให้มันชัดเจน มีคนมาร่วมรัฐบาลมีรัฐบาลในอนาคตผมจะให้ทุกคนทำหน้าที่ให้ดีที่สุด”

ตอนนี้สนใจแต่ว่าทำอย่างไรให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยการเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม

มีการพูดเรื่องปฏิรูปการเมือง เรื่องความปรองดอง ไม่ใช่ต่อยตีกันตลอดเวลามันก็ไปไม่ได้ ยันใช้รัฐศาสตร์ นำนิติศาสตร์ เผย มีเรื่อง 108 ที่ต้องสนใจและต้องทำไม่ได้ให้ความสำคัญแต่เรื่องการตัดสินใจว่าจะรับเป็นนายกฯของ พรรคพลังประชารัฐ หรือไม่

โดยเฉพาะการขับเคลื่อนงานของรัฐบาล ประชาชนยังต้องการความช่วยเหลือดูแล ไม่ใช่ทำเรื่องนี้อย่างเดียวไม่ใช่แต่ต้องทำหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน

ไม่ยุ่ง. จัดปาร์ตี้ลิสต์ “พรรคพลังประชารัฐ”

ไม่ยุ่ง. จัดปาร์ตี้ลิสต์ “พรรคพลังประชารัฐ”

“ บิ๊กตู่” ยันไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับปาร์ตี้ลิสต์พรรคพลังประชารัฐ ผมยังไม่เห็น ก็แล้วแต่เขาเป็นเรื่องของพรรคที่จะทำ ผมยังไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยวกับพรรคการเมืองเลยเขาก็มีคณะกรรมการของเขา ทำไมผมจะต้องไปเกี่ยวข้องกับเขาด้วยล่ะ เผื่อใจอาจไม่ได้ เป็นนายกฯ เปรย อะไรที่ประชาชนคาดหวัง ผมก็อยากทำให้มันดีที่สุด ผมพร้อมสำหรับทุกอย่าง แต่อยู่ที่ประชาชน

“ผมยังไม่เห็น ไม่เกี่ยวกับผมเป็นเรื่องของพรรคเขาก็ทำไปสิ ที่ผมจะไปร่วมกับเขาคือจะไปเป็นนายกฯ สมมุติว่าผมรับแล้วผมได้เป็นนายกฯ ขึ้นมาอะไรที่ทำก็ต้องทำให้มันชัดเจน มีคนมาร่วมรัฐบาลมีรัฐบาลในอนาคตผมจะให้ทุกคนทำหน้าที่ให้ดีที่สุด”

ตอนนี้สนใจแต่ว่าทำอย่างไรให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยการเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม

มีการพูดเรื่องปฏิรูปการเมือง เรื่องความปรองดอง ไม่ใช่ต่อยตีกันตลอดเวลามันก็ไปไม่ได้ ยันใช้รัฐศาสตร์ นำนิติศาสตร์ เผย มีเรื่อง 108 ที่ต้องสนใจและต้องทำไม่ได้ให้ความสำคัญแต่เรื่องการตัดสินใจว่าจะรับเป็นนายกฯของ พรรคพลังประชารัฐ หรือไม่

โดยเฉพาะการขับเคลื่อนงานของรัฐบาล ประชาชนยังต้องการความช่วยเหลือดูแล ไม่ใช่ทำเรื่องนี้อย่างเดียวไม่ใช่แต่ต้องทำหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน

“นายกฯลุงตู่” ถาม เด็กอนุบาล Cheer me up? แต่ เด็กไม่ตอบ ....อิอิ!!

“นายกฯลุงตู่” ถาม เด็กอนุบาล Cheer me up? แต่ เด็กไม่ตอบ ....อิอิ!!
พล.อ.ประยุทธ์ พบปะนักเรียนในโครงการเด็กไทยพูดอังกฤษได้ (English for All)
โดย ด.ช.จิรพัฒน์ ใบกระเบา “น้องแชมป์” นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดเสาธงเก่า อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นไกด์เยาวชนนำเที่ยววัดธรรมิกาวาส ช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ได้แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวใน จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นภาษาอังกฤษให้นายกฯ ฟัง
จากนั้น ด.ญ.ณัฐรินีย์ พรมส้มซ่า “น้องนิชา” นักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนสะพานที่ 3 อ.เมือง จ.พิษณุโลก ได้แนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษ
นายกฯ ได้ถามน้องนิชา เป็นภาษาอังกฤษ ว่า "มีคำถามอะไรหรือไม่"
โดยน้องนิชา ถามว่า "Are you thai ?" โดยนายกฯ กล่าวตอบเป็นภาษาอังกฤษ ว่า "A little bit thai ?"
จากนั้น นายกฯ ได้ถามกลับ "Cheer me up ?" ซึ่งแปลว่า "เชียร์นายกฯ หรือไม่" แต่น้องนิชา ไม่ได้ตอบคำถาม
นายกฯ ได้หันไปถามน้องแชมป์ ว่า "มีความสุขหรือไม่ แล้วโตขึ้นอยากเป็นอะไร"
แต่ น้องนิชาได้ตอบแทรกขึ้นว่า "อยากเป็นหมอ"
จากนั้น นายกฯ ได้ย้อนกลับไปถามน้องแชมป์ ว่า "โตขึ้นอยากเป็นอะไร" ซึ่งน้องแชมป์ ตอบว่า "ไม่รู้"
นายกฯ จึงถามต่อทันที ว่า "Prime minister ok ?" ซึ่งน้องแชมป์ได้พยักหน้าตอบรับ
นายกฯ กล่าวว่า หลายคนก็ใจร้อน เรื่องนี้ไม่ได้แก้ง่ายๆ ในการพูดภาษาที่ 2 ที่ 3 ถ้าไปจับผิดกันมากๆ ก็ไปทำอะไรไม่ได้ ต้องช่วยกันและใช้เวลา
ช่วงหนึ่งนายกฯ ได้หันไปสอบถาม นายธีระเกียรติ รมว.ศึกษาฯ ว่าโครงการนี้ สอนให้เด็กคิดและพูดเป็นภาษาเลยโดยไม่ต้องแปลใช่หรือไม่
โดย นายธีระเกียรติ กล่าวว่า ใช่ การพูดของเด็กจึงเป็นธรรมชาติมาก
นายกฯ กล่าวอีกว่า การเรียนภาษาอังกฤษ ส่วนใหญ่คิดเป็นภาษาไทยแล้วค่อยแปล บางทีก็ไม่ง่ายนัก ต้องคิดอัตโนมัติออกมา ภรรยาเราก็สอนแบบนี้ เห็นอะไรก็พูดไปเลย ไม่ต้องมาแปลสิ่งนั้น ให้พูดเป็นอังกฤษ เลย

6 ข้อปฏิบัติของ ข้าราชการ ช่วงเลือกตั้ง

6 ข้อปฏิบัติของ ข้าราชการ ช่วงเลือกตั้ง ......

ครม. ให้วางตัวเป็นกลาง และสนับสนุน การเลือกตั้ง/ บิ๊กตู่ ให้ระวังการให้สัมภาษณ์

พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบแนวทางปฏิบัติในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้หารือร่วมกับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี

โดยให้ยกเลิกมติ ครม.ที่เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติของข้าราชการเมื่อวันที่ 17 ต.ค.43, 9 ต.ค.50 และ 12 ก.พ.51

โดยให้ยึดแนวทางใหม่ 6 ข้อ ประกอบด้วย 

1.ให้ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่และลูกจ้างในสังกัดของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ และสนับสนุนการดำเนินการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อได้รับการร้องขอจาก กกต. ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง
2.ให้ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างในสังกัดทุกประเภท ทุกระดับทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นวางตัวเป็นกลางทางการเมือง
3.นับแต่มี พ.ร.ฎ.ให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. จนถึงวันเลือกตั้ง การแต่งตั้ง โยกย้าย ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทุกประเภทและทุกระดับ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นให้พิจารณาเท่าที่จำเป็นเพื่อไม่ให้กระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ในการเลือกตั้ง
4.ให้ข้าราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานของรัฐ ให้การสนับสนุนสถานที่เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการจัดการเลือกตั้ง ส.ส. รวมทั้งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
5.ให้หน่วยงานทุกฝ่ายตามข้อ 4 สนับสนุนเกี่ยวกับสถานที่ ปิดประกาศ และที่ติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้เพียงพอและเท่าเทียมกัน
6.ให้มีการสนธิกำลังระหว่างทหาร ตำรวจ พลเรือน และอาสาสมัครด้านความปลอดภัยเพื่อให้การคุ้มครองประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และเจ้าหน้าที่จัดการเลือกตั้งได้รับความปลอดภัย โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ทั้งนี้ในที่ประชุม ครม. บรรดารัฐมนตรีได้สอบถามเกี่ยวกับการให้สัมภาษณ์ช่วงเลือกตั้ง

โดยนายกฯเน้นย้ำให้ระมัดระวังในการวางตัว และไม่ควรพูดโจมตีนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ

เหลือ3โรงเรียนปิดต่อเลี่ยงฝุ่นพิษ แนะเช็ครถผู้ปกครอง-วัดค่าPM 2.5วันละ 4 ช่วงเวลา

5 ก.พ.62 ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ว่า ขณะนี้สถานการณ์ฝุ่นละอองในหลายพื้นที่ดีขึ้น ไม่มีปริมาณเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งตั้งแต่วานนี้(4 ก.พ.62) โรงเรียนสังกัด สพฐ.ทั้งในกรุงเทพมหานคร และ 5 จังหวัดปริมณฑล คือ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และ นครปฐม แจ้งปิดเรียนสอนเพียง 11 แห่ง จากโรงเรียนในการดูแลทั้งหมด 1,280 โรง
ล่าสุดในวันนี้ได้รับรายงานโรงเรียนทยอยเปิดเรียนจนเกือบครบแล้ว ยกเว้นเพียง 3 โรงเรียนใน 3 จังหวัดที่ยังคงปิดเรียนอยู่ โดยมีนักเรียนได้รับผลกระทบ 2,843 คน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร โรงเรียนบางบัว ปิดเรียน 4-5 ก.พ. , สมุทรปราการ โรงเรียนหนามแดง (เขียวอุทิศ) และนครปฐม โรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ระหว่างวันที่ 4-6 ก.พ. ส่วนสาเหตุที่ยังปิดต่อเพื่อล้างทำความสะอาดอาคาร สถานที่ต่างๆภายในโรงเรียน เพื่อไม่ให้มีฝุ่นฟุ้งขึ้นมา
ทั้งนี้ การเปิด-ปิดโรงเรียนต่อ ทาง สพฐ.ให้อำนาจผู้อำนวยการโรงเรียนใช้อำนาจ ใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจหากเห็นว่าไม่ปลอดภัยก็สามารถสั่งปิดได้ไม่เกิน 7 วัน ซึ่งตั้งแต่มีปิดเรียนชั่วคราว 31 ม.ค.-1 ก.พ.ที่ผ่านมา น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น แต่ระยะยาวก็ต้องช่วยกันดูแล ที่ผ่านมาได้หารือร่วมกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการโรงเรียนฯ ได้ขอความร่วมมือช่วยกันดูแล รณรงค์ตั้งแต่การสำรวจยานพาหนะของผู้ปกครอง การวัดค่าปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 วันละ 4 ช่วงเวลา และนำข้อมูลมาวางแผนร่วมกับคณะกรรมการการสถานศึกษา ผู้ปกครองร่วมกันแก้ไขปัญหา
“นอกจากนี้ สพฐ.เตรียมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างนวัตกรรมวัดปริมาณฝุ่นละอองด้วยบอร์ดสมองกลฝังตัว KidBright ให้กับครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 86 คน ใน 43 โรงเรียนกทม.และปริมณฑล ในวันที่ ในวันที่ 15 ก.พ.นี้ที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นการต่อยอดการเรียนรู้จากสิ่งที่ได้เรียนวิทยาการคำนวณ เด็กจะได้ฝึกการเขียนโปรแกรม (Coding) การวัดตรวจวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ของโรงเรียนตนเอง” ดร.บุญรักษ์ กล่าว

'บิ๊กตู่'บุกอีสาน!มอบสมุดที่ดินทำกินชาวบ้าน'ยโสธร-มุกดาหาร'พรุ่งนี้

5 ก.พ.62 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีกำหนดการตรวจราชการ จ.ยโสธร และ จ.มุกดาหาร ในวันพรุ่งนี้ (6 ก.พ.) เพื่อติดตามโครงการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ การพัฒนามาตรฐานการผลิตสินค้าปศุสัตว์ และการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน โดยเริ่มจากเดินทางไปที่ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถียโสธร อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร เพื่อตรวจเยี่ยมการขับเคลื่อนเมืองเกษตรอินทรีย์ต้นแบบ พร้อมเป็นสักขีพยานมอบสมุดประจำตัวผู้ได้รับการคัดเลือกให้ทำกินในชุมชน ตามนโยบายรัฐบาลในลักษณะแปลงรวมให้แก่ผู้แทนประชาชน

จากนั้นช่วงบ่าย พล.อ.ประยุทธ์ และคณะ จะเดินทางไปสหกรณ์การเกษตรโคขุนหนองสูง อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร เพื่อตรวจเยี่ยมสหกรณ์การเกษตรโคขุนหนองสูง ตามโครงการยกระดับคุณภาพการผลิตโคเนื้อคุณภาพเข้าสู่ระบบมาตรฐาน พร้อมเป็นสักขีพยานมอบสมุดประจำตัวผู้ได้รับการคัดเลือกให้ทำกินในชุมชน ก่อนจะไปศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านภู อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร เพื่อเยี่ยมชุมชนท่องเที่ยวบ้านภู ผลิตภัณฑ์ OTOP บ้านภู ชมการสาธิตการผลิตของชุมชนวัฒนธรรม 8 เผ่ามุกดาหาร และการส่งเสริมการท่องเที่ยว "เมือง 3 ธรรม" (ธรรมะ ธรรมชาติ วัฒนธรรม) และเดินทางกลับ กทม.

ชัชชาติ ไม่ติดบช.รายชื่อส.ส.เพื่อไทย

ภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทยเผย ส่งส.ส.บัญชีรายชื่อ 97 คน และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี 3 คน คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์,นานชัชชาติ สิทธิพันธ์,นายชัยเกษม นิติสิริ ยื่นต่อ กกต.วันนี้

ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ 97 คน เรียงตามลำดับ
พรรคเพื่อไทย
1.พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ หัวหน้าพรรค (ชื่อแรกตามกฏหมาย)
2.คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์
3.นายชัยเกษม นิติสิริ 
ส่วนคนอื่นๆ จะเรียงตามลำดับที่จะได้ส.ส.เช่น นายภูมิธรรม เวชยชัย ,ชูศักดิ์ ศิรินิล,พงษ์เทพ เทพกาญจนา,เสนาะ เทียนทอง,ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง,พงษ์เทพ เทพกาญจนา,นดล ปัทมะ,กิตติรัตน์ ณ.ระนอง,พงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล,อดิศร ยย

ไม่มีชื่อนายชัชชาติ สิทธิพันธ์ เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ เพราะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ส่วนส.ส.เขต สมัคร 250 เขต

ชัชชาติ ยอมรับ ไม่ได้เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ เพราะไม่ถนัดงานในสภา จะทำงานบริหารอื่นในอนาคต เช่น ผู้ว่า กทม.ก็น่าสนใจ

แนะ พปชร.อย่ารีบยื่นบัญชีนายกฯก่อนขึ้นรูป "บิ๊กตู่"

กกต.แนะ พปชร.ใจเย็นยื่นบัญชีนายกฯก่อนขึ้นรูปคู่ผู้สมัคร. ย้ำเสนอชื่อ"บิ๊กตู่"เป็นนายกฯไม่กระทบการปฏิบัติหน้าที่ปกติ แต่หากมีผลกระทบภายหลังกกต.จะเป็นผู้วินิจฉัย


            สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) -5 ก.พ. 62-“รองเลขาฯกกต.” แนะ พปชร.ใจเย็น ยื่นบัญชีนายกฯก่อนขึ้นรูปคู่ผู้สมัคร. ย้ำ เสนอชื่อ”บิ๊กตู่”เป็นนายกฯไม่กระทบการปฏิบัติหน้าที่ปกติ แต่หากมีผลกระทบภายหลังกกต.จะเป็นผู้วินิจฉัย ส่วนปมเปลี่ยนชื่อ “ทักษิณ- ยิ่งลักษณ์” แค่สีสันเลือกตั้ง ไม่ผิดกฎหมาย แต่อาจไม่ช่วยเพิ่มคะแนน
            นายณัฏฐ์ เล่าสีห์สวกุล รองเลขาธิการ กกต. กล่าวถึงกรณีที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เตรียมจะขึ้นรูป พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คู่กับผู้สมัครบนป้ายหาเสียงทันทีที่พล.อ.ประยุทธ์ ตอบรับเป็นบัญชีนายกฯ พรรค ว่า ระเบียบของกกต. ว่าด้วยเรื่องของป้ายหาเสียง บุคคลที่สามารถนำรูปขึ้นป้ายได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกพรรค หรือเป็นบัญชีนายกฯ ของพรรคที่จะต้องมีการเสนอภายในวันที่ 8 ก.พ. นี้ ซึ่งพรรคการเมืองควรจะเสนอบัญชีนายกฯ ของพรรคก่อนที่จะดำเนินการนำรูปของบุคคลนั้นไปขึ้นป้ายเพื่อหาเสียง

เมื่อถามว่าระเบียบของกกต.มีการลักลั่นหรือไม่ เพราะพรรคพปชร.เสนอชื่อพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ขณะที่พล.อ.ประยุทธ์ ก็ยังอยู่ในตำแหน่ง จึงอาจใช้ผลงานหาเสียง อีกทั้งโครงการต่างๆของรัฐบาลก็สอดคล้องกับนโยบายของพรรคพปชร. นายณัฏฐ์ กล่าวว่า เรื่องของความรู้สึกกับกฎหมายต้องแยกแยะออกจากกัน

ซึ่งเท่าที่ตรวจสอบดูยังไม่มีอะไรเข้าข่ายผิดกฎหมาย แต่หากในภายหลังมีผู้ร้องเรียนเข้ามากกต.ทั้ง 7 คน จะเป็นผู้พิจารณา ส่วนตัวมองว่าเราวิตกกังวลกันเกินไปหรือไม่ ขณะนี้ประชาชนสนใจการเมืองพอสมควร ทุกอย่างจะไปตัดสินใจกันในวันเลือกตั้งวันที่ 24 มี.ค. ทั้งนี้ กกต.จะไม่พิจารณาประเด็นที่มาจากสื่อ เพราะข่าวก็คือข่าว ข้อเท็จจริงก็คือข้อเท็จจริง

           เมื่อถามว่าหากพล.อ.ประยุทธ์ ตอบรับเป็นแคนดิเดตนายกฯของ พปชร.จะต้องยกเลิกการจัดรายการทุกวันศุกร์ และการลงพื้นที่ครม.สัญจรด้วยหรือไม่ นายณัฏฐ์ กล่าวว่า ในเรื่องจัดรายการไม่สามารถตอบได้ เนื่องจากตนไม่ได้อยู่ในวิสัยของผู้วินิจฉัย ส่วนการลงพื้นที่ครม.สัญจรได้หรือไม่นั้น ถ้าดูกฎหมายดีๆจะพบว่าการที่บุคคลใดถูกทาบทาม โดยหลักแล้วการที่บุคคลใดถูกทาบทามให้อยู่ในบัญชีแคนดิเดตนายกฯของพรรคใดไม่บังคับให้เป็นสมาชิกพรรค และต้องไม่กระทบกระเทือนต่อวิชาชีพของเขา เคยประกอบอาชีพใด เคยทำตัวอย่างไรก็ยังสามารถทำได้ ส่วนที่ทำไปแล้วจะมีผลกระทบอย่างไรก็เป็นข้อเท็จจริงของผลกระทบ ต้องว่าเป็นกรณีไป ถ้าบอกว่าเมื่อนาย ก. ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกฯแล้วจะประกอบสัมมาอาชีพปกติไม่ได้ คงไม่ใช่เจตนารมณ์ของกฎหมาย หากมีผู้ที่คิดว่าได้รับผลกระทบมายื่นคำร้องกกต.จะรับไว้เพื่อวินิจฉัย 

         รองเลขาธิการ กกต. กล่าวถึงกรณีที่สมาชิกพรรคการเมืองเปลี่ยนชื่อเป็นทักษิณ หรือยิ่งลักษณ์ จะเข้าข่ายการสร้างแรงจูงใจหรือไม่ ว่า การเปลี่ยนชื่อเป็นสิทธิที่คนไทยพึงมีพึงได้ไม่กระทบกับใคร นายทะเบียนที่รับจดเปลี่ยนชื่อก็คงพิจารณาแล้ว ไม่ใช่ว่าชื่อนี้จะเป็นชื่อที่ต้องห้าม หากเป็นเช่นนั้นก็จะต้องบังคับห้ามเปลี่ยนกันทั้งประเทศ เชื่อว่าประเด็นดังกล่าวประชาชนจะเป็นผู้พิจารณา ว่าทำไปแล้วจะได้หรือเสียคะแนน ไม่ใช่ว่าเปลี่ยนชื่อแล้วจะมีคะแนนขึ้นมา ตนมองเป็นสีสันของการเลือกตั้งที่มีคนคิดไปในเชิงสร้างสรรค์ แต่ผลจะออกมาอย่างไรขึ้นอยู่กับประชาชน
         เมื่อถามย้ำว่า มีพรรคการเมืองบางพรรคส่งผู้สมัครไม่ครบทุกเขตเช่นพรรคหนึ่งส่ง 22 เขต อีกพรรคหนึ่งส่ง 8 เขต จะเข้าข่ายสมยอมกันหรือไม่. รองเลขาธิการ กกค.กล่าวว่า ต้องดูกลยุทธ์ของแต่ละพรรค.โดยพรรคการเมืองมีความเป็นนิติบุคคลแยกขาดจากกัน การที่เราไปมองข้อเท็จจริงแล้วเอาเหตุผลส่วนตัวใส่เข้าไปว่าเป็นการสมยอม. จริงๆแล้วกลยุทธ์ของเขาอาจมองว่าพื้นที่นี้เขาไม่ได้แล้วจะส่งไปทำไม

'พุทธิพงษ์' แถลงลาออกพ้น 'โฆษกรัฐบาล'



5 ก.พ.62 - นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ แถลงลาออกจากตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ว่า 4-5 เดือน ที่ผ่านมาตนได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีในการทำงานกับสื่อมวลชน แม้เป็นเวลาที่ไม่นานมาก แต่ความตั้งใจที่เคยพูดไว้ก่อนเข้ามารับตำแหน่ง ได้ทำแล้วหลายเรื่อง และสำเร็จระดับหนึ่ง ทั้งการสร้างความรับรู้เรื่องการทำงานของรัฐบาลให้กับประชาชน การสร้างความรับรู้ในโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นมิติเชิงรุก ตนได้เรียนให้นายกฯ ทราบแล้วว่าจะข้อยุติบทบาทการทำหน้าที่รองเลขาธิการนายกฯ และโฆษกประจำสำนักนายกฯ ซึ่งการลาออกครั้งนี้ไม่ได้เป็นเรื่องเกี่ยวกฎหมาย เพราะแม้ตนจะมีบทบาทในพรรคการเมือง แต่กฎหมายไม่ได้บังคับ เพียงแต่ส่วนตัวรู้สึกว่าเมื่อตัดสินใจเป็นผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) การทำงานทั้งสองด้านพร้อมกัน อาจไม่เหมาะสม และเกิดความสับสน การลาออกไปทำงานการเมืองน่าจะเหมาะสมกว่า และสามารถทำงานการเมืองได้เต็มเวลา ส่วนผู้ที่จะรับหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกฯแทนนั้น นายกฯคงมอบหมายวันนี้
นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าการสรรหา ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรค พปชร.นั้น กรรมการบริหารพรรค และกรรมการสรรหาผู้สมัคร คงปรับตามความเหมาะสมและสรุปกันอีกครั้ง ก่อนจะไปยื่นกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ภายในวันที่ 8 ก.พ. และตนยังไม่รู้ว่าตัวเองได้อยู่ลำดับที่เท่าไร ส่วน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่พรรค พปชร.เชิญให้มาอยู่ในบัญชีรายชื่อผู้ที่พรรคจะสนับสนุนให้เป็นนายกฯนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้ให้คำตอบ แต่ทุกอย่างจะได้ข้อสรุปภายในวันที่ 8 ก.พ.
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ลาออกเพราะมีคดีชุมนุม กปปส.ติดตัวหรือไม่ นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่หา  ไม่เกี่ยวกับคดีติดตัว เพราะปัจจุบันตนได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการสอบพยาน ทุกอย่างไม่ได้มีอะไรแปลก ขณะที่ทุกวันนี้ตนยังทำทุกอย่างได้ปกติ และตลอด 4-5 เดือนที่ผ่านมาในตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกฯ เรื่องดังกล่าวก็ไม่ได้สร้างผลกระทบแต่อย่างใด.

ผู้สมัครสส.'พปชร.'เขต13แจ้งความ มือมืดเผาป้ายหาเสียง

5 ก.พ.62 น.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ ผู้สมัคร ส.ส.กทม.เขต 13 บางกะปิ-วังทองหลาง พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เดินทางไปยัง สน.ลาดพร้าว เพื่อแจ้งความลงบันทึกประจำวัน หลังถูกมือดีเผาป้ายหาเสียง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถนนเสรีไทย ซอย 1 ด้านหน้าธนาคารกสิกรไทย
น.ส.ฐิติภัสร์ ระบุว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นช่วงประมาณ 02.00 น.วันที่ 5 ก.พ.62 โดยมีพลเมืองดีที่เห็นเหตุการณ์แจ้งเจ้าหน้าที่เข้ามาดับไฟที่กำลังลุกไหม้ จนทำให้ป้ายเสียหายแค่บางส่วน รวมถึงไม่เกิดอันตรายกับประชาชน เพราะอยู่กับเสาไฟและสายเคเบิ้ล ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าเป็นความเห็นต่างทางการเมือง หรือความคึกคะนอง แต่ขอให้หยุดการกระทำดังกล่าว เพราะป้ายหาเสียงทำใหม่ได้ แต่สิ่งที่เป็นห่วง คือ อาจไปสร้างความเดือดร้อนกับประชาชนทั่วไป สิ่งเหล่านี้ไม่ควรเกิดขึ้น และการมาแจ้งความวันนี้เพื่อป้องปรามผู้ที่ไม่หวังดี
อย่างไรก็ตาม หากเกี่ยวข้องกับการเมือง ยอมรับว่า รู้สึกกังวล เพราะที่ผ่านมา 4 - 5 ปี บ้านเมืองสงบ ไม่มีความรุนแรง แต่พอเริ่มหาเสียงเลือกตั้งก็มีเหตุการณ์ลักษณะนี้ ดังนั้นอยากฝากทุกฝ่ายให้ทำการเมืองอย่างสร้างสรรค์ หยุดสร้างวาทกรรมที่ปลุกปั่นสร้างความขัดแย้ง ส่วนคนที่เห็นต่างก็สามารถใช้สิทธิ์พร้อมกันในการการเลือกตั้งวันที่ 24 มี.ค.นี้
สำหรับขั้นตอนทางคดี จากนี้ ตำรวจจะไปตรวจสอบกล้องวงจรปิดบริเวณใกล้เคียง เพื่อหาตัวผู้ที่ก่อเหตุ พร้อมกำชับทีมงานในพื้นที่ช่วยกันดูแลป้ายหาเสียงให้มากขึ้น

ถ้าได้นั่ง'นายกฯ'! 'บิ๊กตู่'พูดแล้ว อยากทำรัฐบาลอนาคตออกมาดีที่สุด

ถ้าได้นั่ง'นายกฯ'! 'บิ๊กตู่'พูดแล้ว อยากทำรัฐบาลอนาคตออกมาดีที่สุด

"บิ๊กตู่"โยน"พปชร."จัดทัพส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์เอง เผยอ่านนโยบายพรรคไปเยอะพบหลายเรื่องทำไปแล้ว จ่อถามจะต่อยอดให้ดีกว่าของเดิมอย่างไร ลั่นวันนี้ใช้รัฐศาสตร์นำนิติศาสตร์ ฟุ้งถ้าได้นั่งนายกฯต่อจะให้ครม.ทำดีที่สุด แต่ก็เผื่อใจหากไม่เป็นต่อ

5 ก.พ.62 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงการพิจารณานโยบายพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ว่า ตนกำลังดูอยู่ นำนโยบายมาศึกษา ก็อ่านไปได้เยอะแล้ว หลายๆ อย่างก็ทำกันแล้ว ส่วนเขาจะทำให้ดีต่อไปอย่างไรก็ไปดูอีกครั้ง ก็ต้องถามเขาอีกทีว่าจะทำอย่างไร ซึ่งตนจะพิจารณาไม่เกินวันที่ 8 ก.พ.ขอให้เวลาตนบ้าง เพราะตนก็ทำงานอย่างอื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้สนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ ไม่อย่างนั้นก็ไม่ต้องทำอะไร นั่งดูเรื่องนี้เรื่องเดียว มีร้อยแปดพันเรื่องที่ต้องทำในการเป็นนายกฯ และรัฐบาล ในเวลานี้ประชาชนต้องการดูแลการขับเคลื่อนประเทศ รัฐบาลก็ทำการอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่หยุดอันนี้เพื่อไปทำอะไรอย่างเดียว มันไม่ใช่ ต้องทำหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน
เมื่อถามถึงกระแสข่าวที่ไม่พอใจรายชื่อปาร์ตี้ลิสต์ของพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) โดยเฉพาะนักการเมืองที่มีคดีความติดตัวอยู่ในลำดับต้นๆ จะเป็นเงื่อนไจในการตอบรับเป็นนายกฯ ในบัญชีพรรคหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เรื่องรายชื่อปาร์ตี้ลิสต์ ผมยังไม่เห็น ก็แล้วแต่พรรคเขาทำ ไม่เกี่ยวกับผม เพราะผมยังไม่ยุ่งเกี่ยวกับพรรคการเมืองเลย เขามีกำหนดการส่งรายชื่อของเขาอยู่แล้ว ทำไมผมจะต้องไปเกี่ยวกับเขาด้วยหล่ะ ประชาชนก็ช่วยกันดูแลหน่อยแล้วกันว่าจะทำอย่างไรให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย การเลือกตั้งเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม เราต้องคิดถึงเรื่องการปฏิรูปเรื่องการเมือง การปรองดองสมานฉันท์ เราก็ต้องดูว่าคนที่เข้ามาทำงานการเมืองวันนี้ มีใครบ้างที่ปรองดองสมานฉันท์ ไม่ใช่ต่อยตีกันตลอดเวลาก็ไปไม่ได้หมด วันหน้าการเลือกตั้งถึงจะได้รัฐบาลมา จะได้ความเชื่อมั่นหรือไม่ถ้าเรากันเองไม่เชื่อมั่นกันตรงนี้ ทุกคนต้องนึกถึงประเทศชาติเป็นหลัก
นายกฯ กล่าวว่า วันนี้ตนใช้รัฐศาสตร์นำนิติศาสตร์ทุกอย่าง ไม่ใช้นิติศาสตร์นำรัฐศาสตร์อยู่แล้ว เราเอากฎหมายมาเป็นตัวตั้ง แต่เราก็ต้องพิจารณาหาทางออก จะทำอย่างไรไม่ผิดกฎหมายและปฏิบัติได้ อย่าคิดว่าออกกฎหมายแล้วกฎหมายจะปฏิบัติได้ ถ้าปฏิบัติไม่ได้กฎหมายที่ออกมาก็ล้มเหลว กฎหมายบางตัวที่ออกมาใหม่เพื่อวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาแต่ละจุด แต่การจะแก้ทีเดียวทั้งระบบอาจจะต้องลดลงบ้าง เอาประเด็นหลักมาก่อน แล้วประเด็นอื่นๆ ก็มีการแก้กฎหมายได้ทุกรัฐบาลเพื่อให้ดีขึ้น ไม่ใช่เขียนกฎหมายฉบับนี้แล้วจะให้เป็นประวัติศาสตร์ไปเลยคงไม่ใช่ กฎหมายทุกตัวต้องพัฒนาให้ดีขึ้น สร้างผลกระทบให้น้อยที่สุดไม่ใช่เป็นห่วงว่าอำนาจรัฐจะลดน้อยลง แต่ตนเกรงว่าการออกกฎหมายมาเพื่อหวังดีกับคนนี้ รวมถึงมีมาตรการลงโทษต่างๆ แต่มันจะมีผลกระทบกับผู้ที่มีรายได้น้อยไปด้วย ตนคิดละเอียดทุกอัน ไม่คิดเอาง่าย
เมื่อถามย้ำว่า การพิจารณาตอบรับเป็นนายกฯ ในบัญชีพรรคพลังประชารัฐ ได้มีการพิจารณาผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรค ซึ่งมีกระแสข่าวว่านายกฯ ไม่พอใจใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตนยังไม่เห็น เมื่อถามอีกว่า จะต้องนำรายชื่อ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ของพรรคมาพิจาณาด้วยหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกับตน เป็นเรื่องของพรรค ก็ทำไปสิ ส่วนเรื่องของตน คือ จะไปร่วมให้เขาเสนอชื่อเป็นนายกฯ ในบัญชีหรือไม่ สมมุติถ้าตนตอบรับให้พรรคเสนอชื่อ แล้วเป็นนายกฯ ขึ้นมา อะไรที่ต้องทำก็ต้องทำให้เกิดความชัดเจน ถึงตอนนั้นก็มีคนมาร่วมรัฐบาลก็คือรัฐบาลอนาคต ถ้าตนได้อยู่ตรงนั้นก็จะทำให้ทุกคนทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด อะไรที่ไม่ดีก็ขอร้องว่าอย่าทำกันอีกเลย ต้องสอนคนแบบนี้
เมื่อถามว่า พล.อ.ประยุทธ์ เผื่อใจไว้สำหรับการไม่ได้เป็นนายกฯ ต่อหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า "ผมเผื่อทุกเรื่อง ผมพร้อมทุกอย่าง จะทำอะไรก็ได้ ผมก็ติดอยู่อย่างเดียว คือ ภาระดูแลประเทศชาติมาสามสี่ปี มีอะไรดีขึ้นตั้งเยอะตั้งแยะ แต่ก็มีอะไรที่ไม่ได้ทำตั้งเยอะตั้งแยะเหมือนกัน อะไรที่ประชาชนคาดหวังก็อยากทำให้ดีที่สุด ขึ้นอยู่กับประชาชนจะเลือกตั้งใคร"
เมื่อถามว่า นอกจากเรื่องนโยบายพรรค สถานการณ์บ้านเมืองถือเป็นปัจจัยที่ต้องพิจาณาด้วยหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตอนนี้สถานการณ์บ้านเมือง ก็ไม่มีข่าวสารอะไรที่มันทำให้สับสนอลหม่าน ทุกคนก็ร่วมมือกันดี เว้นแต่ถ้ามีใครทำให้วุ่นวายประชาชนก็ไปว่ากันเอาเอง มันต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอยู่แล้ว จะไปทำอะไรได้ และสถานการณ์วันนี้ถือว่าปกติ อย่าพูดให้มันไม่ปกติ

ผู้สื่อข่าวรายงาน ทั้งนี้ ในตอนท้าย นายกฯ ได้ยกเครื่องวัดคุณภาพอากาศมาวัดอากาศบริเวณที่นายกฯ ยืนให้สัมภาษณ์อยู่ พร้อมกับกล่าวว่า "พอมีคำถาม 2 คำถาม ตัวเลขก็ขึ้นมา 32 แล้ว"