PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ปธ.กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวปาฐกถาสร้างความปรองดอง

ปธ.กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวปาฐกถาสร้างความปรองดอง เผยทางออกประเทศต้องปฏิรูปลดความเหลื่อมล้ำ เลิกนโยบายประชานิยม ยกคำพูดพระพุทธเจ้าทำในสิ่งที่พรรคการเมืองไม่ทำ ย้ำนำ
ผู้นำสองฝ่ายคุยกัน แย้มขั้นตอนสุดท้ายนิรโทษกรรม แต่เฉพาะหน้าทำยังไงปรองดองให้ได้ อ้างสัญญาณดีแม้ คสช. เข้มห้ามประชุมพรรคแต่พยายามพูดคุย พร้อมเชิญชวนมองอนาคต อย่ามองไปใน
อดีต

วันนี้ (11 ธ.ค.) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวปาฐกถาเรื่อง “การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง ตามแนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญ” ว่า โจทย์ใหญ่

ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ คือ เราจะทำอย่างไรให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย เพื่อให้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงคือการปฏิรูป ซึ่งไม่ใช่โจทย์ที่คณะรักษาความสงบ

แห่งชาติ (คสช.) ให้ แต่เป็นโจทย์ที่คนไทยทั้ง 62 ล้านคนเห็นร่วมกัน ทั้งนี้ในปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หากยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ เราก็จะอยู่ในลำดับท้าย

ของประชาคมอาเซียน คงไม่ใช่ความปรารถนาของคนไทยทั้งหมด ดังนั้นจะทำอย่างไรให้มีการปรองดองและการปฏิรูปประเทศเพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้ ไม่ต้องติดกับดักความขัดแย้งที่มีแนวโน้ม

จะเพิ่มขึ้น ทางออกคือ ต้องปฏิรูปให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม เพราะเป็นรากฐานของขัดแย้งระหว่างคนมีมหาศาล ความขัดแย้งระหว่างคนรวยกับคนจน จึง

ต้องแก้ปัญหาที่เชิงโครงสร้าง โดยต้องยกเลิกนโยบายประชานิยม จัดสรรความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และทรัพยากรใหม่
“การปฏิรูปครั้งนี้จะพิสูจน์ว่าที่พระพุทธเจ้าเคยบอกว่าดอกบัวที่แทนความบริสุทธิ์เกิดจากโคลนตมได้ฉันท์ใด การปฏิรูปประเทศก็เกิดจากกระบวนที่ไม่เป็นประชาธิปไตยได้ฉันท์นั้น ตอนนี้ สปช.

สนช. รัฐบาล คณะรัฐมนตรี กรรมาธิการยกร่างมีหน้าที่ใหญ่คือการลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ทำในสิ่งที่ผู้มีทุนมากมายมหาศาลจากพรรคการเมืองไม่ทำ” นายบวร

ศักดิ์กล่าว
ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวอีกว่า การปรองดองต้องให้ผู้นำทั้ง 2 ฝ่ายมาคุยกัน ซึ่งถือเป็นหน้าที่หนึ่งที่ต้องทำอย่างจริงจัง เพราะหากไม่ทำก็จะเกิดปัญหาซ้ำอีก ส่วนการ

นิรโทษกรรมจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการปรองดอง ถ้ารัฐธรรมนูญไม่วางโครงสร้างกระบวนการที่ดี ก็จะมีการทำลัดขั้นตอน ไปเริ่มที่ 100 แทนที่จะทำจาก 1 อาจจะมีการทำนิรโทษกรรมก่อนที่

จะเริ่มกระบวนการปรองดอง ซึ่งก็จะทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นอีก และในรัฐธรรมนูญจะไม่พูดถึงเรื่องการปรองดองก็ไม่ได้ ถ้าไม่มีก็แสดงว่าเราไม่เอาปัญหาของบ้านเมืองมาพูดเป็นเรื่องเป็นราว

ดังนั้นจะทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าคือการสร้างความปรองดองได้
ทั้งนี้ ก็มีสัญลักษณ์ที่ดีเกิดขึ้นแล้วเพราะแม้ คสช. จะห้ามพรรคการเมืองประชุมกัน แต่หลายพรรคก็พยายามเข้ามาพูดคุย อย่างไรก็ตาม โจทย์ใหญ่ทั้ง 2 เรื่องตนยังไม่มีคำตอบ แต่หากเราหาคำตอบ

ให้โจทย์เหล่านี้ไม่ได้ กระบวนการที่ทำอยู่ใน สปช. กมธ. ยกร่างฯ หรือการยึดอำนาจของ คสช. ก็จะเสียของ ดังนั้นจึงขอเชิญชวนให้ช่วยกันเสนอความเห็น มองอนาคตไปด้วยกัน อย่ามองไปในอดีต

แม้จะประกาศกฎอัยการศึก แต่ความเห็นของกลุ่มต่างๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นการปฏิรูปไม่กี่คน และท้ายที่สุดก็อาจจะไม่ได้รับการยอมรับ ทั้งนี้ยืนยันว่าหากมีข้อเสนอดีๆ

เราก็ยินดีจะรับฟัง

อนุมัติหมายจับเพิ่ม "ณัฐพล-ชากานต์" ขาดเรียนป.โท แอบอ้างสถาบัน

อนุมัติหมายจับเพิ่ม "ณัฐพล-ชากานต์" ขาดเรียนป.โท แอบอ้างสถาบัน ไม่ให้ถูกดำเนินการตามระเบียบ
โฆษกตร.เผยศาลทหารอนุมัติหมายจับเพิ่ม "ณัฐพล-ชากานต์" ถูกสถาบันบันฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า แจ้งความดำเนินคดีฐานหมิ่นสถาบันฯ หลังทั้งคู่ขาดเรียนเกินกำหนด แต่กลับแอบอ้างสถาบันไม่ให้ถูกดำเนินการตามระเบียบ เตรียมออกหมายเรียก รองผกก.ป.คนสนิท "พงศ์พัฒน์" ที่ยังหลบหนีอีกครั้ง หากไม่มาเจอหมายจับ พร้อมดำเนินหารทางวินัยกรณีขาดราชการเกิน 15 วันด้วย
วันนี้(12 ธ.ค.)ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินคดีเครือข่าย พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีต ผบช.ก ว่า ขณะนี้ศาลทหารกรุงเทพได้อนุมัติออกหมายจับ นายชากานต์ ภาคภูมิ และนายณัฐพล สุวะดี (อัครพงศ์ปรีชา) สองผู้ต้องหาเครือข่าย พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ เพิ่มเติม ในข้อหาหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่มีการแอบอ้างสถาบันฯเพื่อผลประโยชน์ทางการศึกษาในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า จากกรณีเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาสถาบันนิด้าได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับนายชากานต์ และนายณัฐพล ที่ สน.ลาดพร้าว เนื่องจากนายณัฐพล ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังสถาบันฯ และอ้างว่าเป็นพระอนุชาเพื่อให้สถาบันไม่ดำเนินการตามระเบียบต่อนายชากานต์ จากกรณีที่เจ้าตัวขาดเรียนในชั้นเรียนปริญญาโทเกินกำหนด ทำให้มีเวลาเรียนไม่เพียงพอ โดยนายณัฐพลอ้างกับนิด้าว่านายชากานต์ได้ไปปฏิบัติภารกิจกับเกี่ยวกับสถาบันกับตน
พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวเป็นความผิดในต่างกรรมต่างวาระกัน เป็นคนละกรณีกับข้อหาเดิม ซึ่งจากนี้ดำเนินการอายัดตัวเพิ่มเติมต่อไป เนื่องจากผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่ ขณะที่กระบวนการสอบสวนในคดีดังกล่าวกับผู้ต้องหารายอื่นๆเมื่อเสร็จสิ้นแล้ว จะต้องส่งเรื่องมาให้คณะกรรมการคดีหมิ่นฯของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิจารณา ทั้งนี้ในส่วนของสำนวนคดีหลักทั้งหมดนั้นจะมี พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา รอง ผบ.ตร. เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน จากนั้นจะส่งต่อให้ พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร. พิจารณากลั่นกรองอีกครั้งก่อนส่งให้อัยการต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามถึงสำนวนคดีแก๊งอุ้มลดหนี้ในพื้นที่นครบาล พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า ทางกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ได้ส่งสำนวนมาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้วตั้งแต่วันที่ 8 ธ.ค.ที่ผานมา ทั้งสำนวนของ สน.พระโขนง และ สน.วัดพระยาไกร โดยสำนวนดังกล่าวจะมอบหมายให้คณะกรรมการคดีหมิ่นฯของ ตร. พิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด ซึ่งต้องขอเวลาคณะทำงานเนื่องจากมีผู้ต้องหาหลายราย และเป็นพฤติกรรมต่อเนื่องหลายคดี แต่ไม่น่าจะเกิน 10 วัน
เมื่อถามต่อว่าจะออกหมายจับหรือหมายเรียกที่เกี่ยวข้องกับขบวนการดังกล่าวเพิ่มเติมหรือไม่ โฆษก ตร. กล่าวว่า กำลังรวบรวมหลักฐาน และเร่งสืบสวนสอบสวน ตลอดจนพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ว่ามีบุคคลรับรู้รับเห็นกับการกระทำผิดหรือไม่ หากเข้าองค์ประกอบการกระทำผิด ก็ต้องออกหมายจับเพิ่มเติม แต่ตอนนี้ยังไม่พบผู้เกี่ยวข้องเพิ่มเติมแต่อย่างใด ยืนยันว่าตำรวจดำเนินการไปตามพยานหลักฐานอย่างเคร่งครัด ไม่ได้กลั่นแกล้ง ส่วนกรณีเกี่ยวกับธุรกิจผักสด น้ำพริกนั้น ไม่ใช่เรื่องหยุมหยิม เนื่องจากมีผู้เสียหายมาแจ้งความเพิ่มเติม และพบว่ามีความผิดจริง เจ้าหน้าที่จึงต้องดำเนินคดีไปตามหลักฐาน
ผู้สื่อข่าวถามว่าวันที่ 14 ธ.ค.นี้ จะครบกำหนดหมายเรียก พ.ต.ท.ทรงรักษ์ ขุนศรี รอง ผกก.6 บก.ป. โฆษก ตร. กล่าวว่า ล่าสุดได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพยายามติดตามตัวแล้ว โดยหากยังไม่มารายงานตัวในวันดังกล่าว เจ้าหน้าที่จะได้ออกหมายเรียกอีก 1 ครั้ง และหากมั่นใจว่าไม่มาแน่แล้วก็จะออกหมายจับต่อไป ทั้งนี้ หมายเรียกครั้งต่อไปตำรวจจะให้เวลาอีกอย่างน้อย 7 วัน เพื่อให้เวลาผู้ถูกเรียกมารายงานตัว หากไม่มาอีกจะผิดวินัยเข้าข่ายขาดราชการโดยไม่มีเหตุอันควร จะถูกลงโทษให้ออกจากราชการ ส่วนกรณีการขัดหมายเรียกไม่มาให้การทางคดีก็ต้องดำเนินการทางคดีด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามจนถึงตอนนี้ยังไม่ได้รับการติดต่อเข้ามาพบเลย ซึ่งถือว่าผิดปกติมาก ขณะที่ตำรวจก็มีการติดตามในทางลับ แต่ยังไม่ได้ร่องรอยใดๆ เนื่องจากผู้ถูกเรียกเป็นตำรวจมาก่อนซึ่งมีความชำนาญในการซ่อนตัว
ผู้สื่อข่าวถามถึงความคืบหน้าการดำเนินการทางวินัยกับนายตำรวจคนอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า เรื่องนี้ พล.ต.อ. ชนินทร์ ปรีชาหาญ จเรตำรวจแห่งชาติ จะเป็นประธานคณะกรรมการเพื่อดำเนินการทางวินัยกับตำรวจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขณะนี้สรุปข้อมูลต่างๆแล้ว หากพบมีความผิดวินัยร้ายแรงต้องให้ออกไว้ก่อน ส่วนจะเข้าข่ายถอดยศหรือไม่ ต้องรอผลการประชุมคณะกรรมการอีกครั้ง
พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวถึงกรณีน้องชาย นายสหชัย เจียรเสริมสิน หรือเสี่ยโจ้ เข้ามาเรียกร้องความเป็นธรรมกับ พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพรหมกุล ผบช.น. ว่า จะรับคำร้องดังกล่าวไว้ แต่ที่อ้างว่าไม่เคยจ่ายสินบน แต่นำหลักฐานมาให้ตำรวจทำให้ข้อมูลยังขัดแย้งกันอยู่ เนื่องจากตำรวจมีหลักฐานการจ่ายชัดเจน อย่างไรก็ตามเชื่อว่าเจ้าตัวคงหนีไปอีกสักพัก เมื่อคิดได้คงเข้ามามอบตัวเอง แต่ขณะนี้ตำรวจยังไม่ได้เบาะแส ส่วนจะมีโอกาสเจอตัวหรือไม่ต้องใช้เวลา ทั้งนี้ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบตร. พอใจการทำงานของชุดสืบสวน พร้อมกำชับเกี่ยวกับการดำเนินการทุกขั้นตอน ตั้งแต่การตรวจสอบของกลางและพยานหลักฐานทางคดี ตลอดจนการสอบสวนขยายผล หากมีผู้ร่วมกระทำผิดหรือผู้กระทำผิดรายเดิมต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ซึ่งคงต้องใช้เวลาแต่ไม่เกินกรอบ 30 วันที่ต้องส่งสำนวนต่อให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อย่างแน่นอน

ดาวดินรับรางวัลสิทธิมนุษยชน กลุ่มป่วนบุกชู3นิ้ว เลิกจ้าง กสม.

เสือใหญ่รักในหลวง ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 5 รูป
ดาวดินรับรางวัลสิทธิมนุษยชน กลุ่มป่วนบุกชู3นิ้ว เลิกจ้าง กสม.
.
12 ธ.ค. 57 เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดงานวันสิทธิมนุษยชนสากล โดยมีการมอบรางวัลบุคคลและองค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2556 และ 2557 โดยรางวัลที่น่าสนใจคือรางวัลเกียรติยศ “ผู้อุทิศตนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ปี 56 จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ นายเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เปิดโปงเรื่องเครื่องจรวจระเบิดลวงโลกจีที 200 และนายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ที่มุ่งทำงานเพื่อชุมชนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่วนรางวัลเกียรติยศ “ผู้อุทิศตนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ปี 57 ได้แก่นางเตือนใจ ดีเทศน์ อดีต ส.ว.เชียงราย ที่ทุ่มเทพัฒนาชนบทและคนชายขอบ นอกจากนั้นยังมีรางวัลบุคคลและองค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนปี 56 ได้แก่นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ที่ต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อมและปกป้องสิทธิชุมชน และรางวัลเด็กและเยาวชน ได้แก่ กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน) ที่ทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สังคม และเคลื่อนไหวคัดค้านโครงการของภาครัฐที่ส่งผลกระทบต่อชาวบ้าน
โดยมีนางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานกสม.ปาฐกถาเรื่อง “ปฏิรูปประเทศไทยต้องเข้าใจสิทธิมนุษยชน”มีใจควมตอนหนึ่งว่า ในสภาพสังคมไทยปัจจุบันสิทธิมนุษยชนเป็นวาทกรรมที่พูดกันมากในสังคมไทย ในความรู้สึกของหลายคน สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องประสบการณ์ความรู้สึก ขณะที่หลายคนสัมผัสได้ว่าไม่สามารถขาดเรื่องสิทธิมนุษยชนได้ จึงเห็นว่าสิทธิมนุษยชนไม่ใช่มโนทัศน์แต่เป็นประสบการณ์ชีวิตและการสัมผัสในเรื่องนี้ของแต่ละคนแตกต่างกัน ทำให้มีคำกล่าวที่ว่าเรามีความจริงคนละชุด อย่างไรก็ตามแม้เราจะมีประสบการณ์แตกต่างกันไป แต่เป็นเรื่องที่สังคมไทยและสังคมโลกเห็นว่าจำเป็นต้องพัฒนาเรื่องสิทธิมนุษยชนให้เกิดขึ้น เพื่อนำสังคมไทยไปสู่สังคมที่มีสิทธิเสรีภาพและมีความเป็นธรรมที่เท่าเทียมกัน ปัจจุบันเรามีการถกเถียงกันมาก ระหว่างสิทธิส่วนบุคคลกับสิทธิสาธารณะ ซึ่งต้องพยายามสร้างความสมดุล ระหว่างการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพกับการออกกฎหมายที่จำกัดสิทธิเสรีภาพ ว่าจุดสมดุลอยู่ตรงไหน
นางอมรายังกล่าวอีกว่า เราถกเถียงกันว่ากฎหมายห้ามการชุมนุมสามารถมีได้หรือไม่ เพราะเป็นการจำกัดสิทธิบุคคลในการชุมนุม แต่ขณะเดียวกันการชุมนุมก็ไปกระทบสิทธิของสาธารณะ ซึ่งก็ต้องได้รับการคุ้มครองเช่นเดียวกัน ประเด็นนี้คงเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ ซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติคงนำไปพิจารณา เพราะคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)คณะรัฐมนตรี(ครม.)มองว่าเราต้องยอมเสียสละสิทธิส่วนบุคคลส่วนหนึ่งเพื่อคุ้มครองสิทธิพลเมือง ส่วนฝ่ายที่ต่อต้านการปฏิวัติก็มองว่าสิทธิส่วนบุคคล สิทธิขั้นพื้นฐาน และสิทธิทางการเมืองจะถูกละเมิดไม่ได้เด็ดขาด ข้อถกเถียงคงจะมีอยู่ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า เราคงต้องใช้วิจารณญาณว่าบางกรณีเราก็ต้องคำนึงถึงเรื่องสิทธิบุคคลเป็นหลัก แต่บางเรื่องก็ต้องคุ้มครองสิทธิสาธารณะ โดยยอมเสียสิทธิส่วนบุคคลบ้าง นอกจากนี้ความเสมอภาคเท่าเทียมและการไม่เลือกปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งการที่เราจะบรรลุถึงสิ่งเหล่านี้และไปสู่สังคมที่เท่าเทียม มีวิธีการดำเนินการได้หลายรูปแบบซึ่งต้องอาศัย รูปแบบ และกระบวนการในการปฏิบัติ เราจะแก้ความเหลื่อมล้ำด้วยการปรับโครงสร้างอำนาจกฎระเบียบ ก็ลำบาก เพราะเรายังไม่สร้างกระบวนการจึงจำเป็นต้องสร้างกระบวนการให้เกิดขึ้นเสียก่อน โดยกระบวนการอาจต้องมีมาตรการชั่วคราว ที่จะนำพาสังคมไปสู่สังคมเท่าเทียมได้ ซึ่งจุดนี้ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่จะช่วยกันคิดและปฏิบัติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในขณะที่นางอมรา กล่าวเปิดงานอยู่นั้นได้มีเหตุความวุ่นวายเกิดขึ้น โดยกลุ่มเมล็ดพริก และนักศึกษาจากศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย (ศนปท.) รวมประมาณ 5 คน ออกมาแสดงเชิญสัญลักษณ์(ชูสามนิ้ว)บริเวณหน้าเวที พร้อมยังชูป้ายที่มีข้อความว่า “เลิกจ้าง กสม.” และได้มอบภาพการจับตัวนักศึกษาให้นางอมราด้วย โดยตัวแทนกลุ่มเมล็ดพริกให้เหตุผลว่า กสม.มีหน้าที่ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนในประเทศ และตรวจสอบการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่การทำงานของ กสม.ตั้งแต่การชุมนุมของคนเสื้อแดงในปี 53 จนถึงการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ย.57 กสม.กลับไม่ได้ทำหน้าที่ตามหลักการอย่างตรงไปตรงมา มีการเลือกปฏิบัติ ไม่สามารถเป็นที่พึ่งในยามที่บ้านเมืองอยู่ภายใต้รัฐทหารได้ ดังนั้นการจัดงานวันนี้จึงเป็นการหลอกตัวเอง เพราะสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยถึงจุดตกต่ำที่สุด ดังนั้นเราในฐานะผู้เสียภาษีจึงประกาศเลิกจ้าง กสม.
หลังจากนั้นก็ยังมีเหตุความวุ่นวายเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อตัวแทนนักศึกษากลุ่มดาวดิน ที่ขึ้นรับรางวัลบนเวทีได้แสดงสัญลักษณ์ชูสามนิ้ว และอ่านคำประกาศของกลุ่มว่า กลุ่มดาวดินจะไม่เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นในเวทีที่รัฐบาลหรือ สปช.จัดขึ้น เพราะเห็นว่า คสช.ได้อำนาจมาโดยไม่ถูกต้อง และทางกลุ่มต้องการที่จะจัดเวทีประชาชนเอง เพื่อสะท้อนความอึดอัดของคนในสังคม และเห็นว่าการประกาศกฎอัยการศึกเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้จากเหตุวุ่นวายที่เกิดขึ้นทำให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.ทุ่งสองห้อง ต้องเข้ามาเจรจากับกลุ่มดังกล่าวเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย แต่ไม่มีการจับกุมตัวแต่อย่างใด ก่อนที่กลุ่มดังกล่าวจะสลายตัวไป

ผู้ปฏิบัติงานใน คสช.เป็นทางการ พรึบ!24 นายพล-“ชัยวัฒน์”กุนซือ “สมคิด”

รายชื่อผู้ปฏิบัติงานในคสชเป็นทางการพรึบ 24 นายพล -. "ชัยวัฒน์" กุนซือ "สมคิด"

เขียนวันที่
วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม 2557 เวลา 15:30 น
เขียนโดย
สานักข่าวอิสราลดลง
เปิดรายชื่อผู้ปฏิบัติงานในคสช อย่างเป็นทางการนายพลทหารพรึบ 24 คนพลเรือนแค่ 2 "มยุระ" รั้งเลขาฯ มีชัยฤชุพันธุ์ "ชัยวัฒน์วิบูลย์สวัสดิ์" กุนซือ "สมคิด
bhshsseeeee
ในยุคทหารบริหารประเทศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
17 ก.ค. 57 และค่าตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติออกแล้วก่อนแล้ว (ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 93/2557 ลงวันที่ 17 กรกฎาคมพุทธศักราช 2557)
ล่าสุด 12 ธ.ค. 57 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ที่ 124/2557) เรื่อง จำนวน 30 คนดังนี้
1 จำนวน 13 ราย ได้แก่
1.1 พลเอกอาทรโลหิตกุล (รองเลขาธิการฯ พลเอกประวิตรวงษ์สุวรรณ)
1.2 พลเรือเอกประจบปรีชา (รองเลขาธิการฯ พลเรือเอกณรงค์พิพัฒนาศัย)
1.3 พลอากาศโทสุรศักดิ์หมู่พยัคฆ์ (รองเลขาธิการฯ พลอากาศเอกประ จินจั่นตอง)
1.4 พลเอกมงคลเผ่าพงษ์คล้าย (รองเลขาธิการฯ พลตำรวจเอกอดุลย์แสงสิงแก้ว)
1.5 พลโทจารุวุฒิศิระพลานนท์ (รองเลขาธิการฯ พลเอกศิริชัยดิษฐกุล)
1.6 พลโทพันธุ์ ศักดิ์บูรณปรีชา (รองเลขาธิการฯ พลเอกวรพงษ์สง่าเนตร)
1.7 พลโทเยาวดนัยภู่เจริญยศ (รองเลขาธิการฯ พลเอกไพบูลย์คุ้มฉายา)
1.8 พลเรือเอกสุรศักดิ์หรุ่นเริงรมย์ (รองเลขาธิการฯ พลเรือเอกไกรสร จันทร์สุวานิชย์)
1.9 พลอากาศโทมณฑลสัชฌุกร (รองเลขาธิการฯ พลอากาศเอกตรีทศสนแจ้ง)
1.10 พันตำรวจเอกโสภณศิริมาจันทร์ (รองเลขาธิการฯ พลตำรวจเอกสมยศพุ่มพันธุ์ม่วง)
1.11 นางมยุระช่วงโชติ (รองเลขาธิการฯ นายมีชัยฤชุพันธุ์)
1.12 พลโทนาวินดำริกาญจน์ (รองเลขาธิการฯ นายสมคิดจาตุศรีพิทักษ์)
1.13 พลเอกสถิตแจ่มจำรัส (รองเลขาธิการฯ พลเอกอุดมเดชสีตบุตร)
2 จำนวน 14 ราย
2.1 พลเอกอมรฤทธิ์แพทย์เจริญ (ที่ปรึกษาฯ พลเอกประวิตรวงษ์สุวรรณ)
2.2 พลตรีอนุศิษฐ์ศุภธนิต (ที่ปรึกษาฯ พลเอก ธ นะศักดิ์ปฏิมาประกร)
2.3 พลเรือเอกมานิตย์สูนนาดำ (ที่ปรึกษา ฯ พลเรือเอกณรงค์พิพัฒนาศัย)
2.4 พลอากาศเอกวิโรจน์นิสยันต์ (ที่ปรึกษาฯ พลอากาศเอกประจินจั่นตอง)
2.5 พลตำรวจตรีลิขิตสุทธะ (ที่ปรึกษาฯ พลตำรวจเอกอดุลย์แสงสิงแก้ว )
2.6 พลเอกสานิตเทพวัลย์ (ที่ปรึกษาฯ พลเอกศิริชัยดิษฐกุล)
2.7 พลตรีปรีชาเทียมฉัตร์ (ที่ปรึกษาฯ พลเอกวรพงษ์สง่าเนตร)
2.8 พลตรีนุโชติสันต์ (ที่ปรึกษาฯ พลเอกไพบูลย์คุ้มฉายา)
2.9 พลเรือเอกจักรชัยภู่เจริญยศ (ที่ปรึกษาฯ พลเรือเอกไกรสรจันทร์สุวานิชย์)
2.10 พลอากาศโทวิจิตร์จิตร์ภักดี (ที่ปรึกษาฯ พลอากาศเอกตรีทศสนแจ้ง)
2.11 พล ตำรวจโทบริหารเสี่ยงอารมณ์ (ที่ปรึกษาฯ พลตำรวจเอกสมยศพุ่มพันธุ์ม่วง)
2.12 พลตำรวจตรีไพศาลเชื้อรอด (ที่ปรึกษาฯ นายมีชัยฤชุพันธุ์)
2.13 นายชัยวัฒน์วิบูลย์สวัสดิ์ (ที่ปรึกษาฯ นายสมคิดจาตุศรีพิทักษ์)
2.14 พลโทกมลสุวภาพ (ที่ปรึกษาฯ พลเอกอุดมเดชสีตบุตร)
3. พันเอกวินธัยสุวารีเป็นโฆษกประจำคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
4. พันเอกหญิงศิริจันทร์งาทองเป็น รองโฆษกประจำคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
5. นางสาวปถมาภรณ์รัตนดิลก ณ ภูเก็ตเป็นประจำคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2557 เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 22 ตุลาคมพุทธศักราช 2557
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
น่าสังเกตว่าในจำนวนผู้ได้รับแต่งตั้งใน 2 ตำแหน่งแรก 27 คนเป็นข้าราชการทหารและตำรวจรวม 25 คนในจำนวนนี้มีชั้นยศต่ำกว่าพล 1 คนคือพันตำรวจเอกโสภณศิริมาจันทร์ (รองเลขาธิการฯ พลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง)
มีพลเรือนเพียง 2 คนคือนางมยุระช่วงโชติ (รองเลขาธิการฯ นายมีชัยฤชุพันธุ์) และนายชัยวัฒน์วิบูลย์สวัสดิ์ (ที่ปรึกษาฯ นายสมคิดจาตุศรีพิทักษ์)
สำหรับเงินเดือนค่าตอบแทนของผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 93/2557 วันที่ 17 ก.ค. 57 ระบุไว้ดังนี้ 
(1) เทียบเท่าเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 
(2) เทียบเท่าที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
(3) เทียบเท่า
เทียบเท่าที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
(5) โฆษกประจําคณะรักษาความสงบแห่งชาติเทียบเท่าโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
(6) เทียบเท่ารองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
(7) ประจําคณะรักษาความสงบแห่งชาติเทียบเท่าประจําสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

เปิดไส้ใน ปรองดอง นิรโทษกรรม

เปิดไส้ใน! 2 แนวทางเบื้องต้นนิรโทษกรรมฉบับ "กม ธ . ยกร่างรธน."

เขียนวันที่
วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม 2557 เวลา 11:46 น
เขียนโดย
สานักข่าวอิสรา
เปิดไส้ในกม ธ . ยกร่างรธน ชง 2 แนวทางเบื้องต้น "ปรองดอง - นิรโทษกรรม" นิรโทษประชาชนชุมนุมการเมือง 2548-2557 เว้นคดี 112- ฆ่าคนตายหรือนิรโทษทุกฝ่าย 2548-2557 ขีดกรอบ 4 อย่าง
PIC-niratod-11-12-57 1
กลายเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันเกรียวกราวทั้งหน้าสื่อ-หลังม่านในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ภายหลังกรรมาธิการ (กม ธ .) ยกร่างรัฐธรรมนูญปลุกประเด็น "ปรองดอง - นิรโทษกรรม" ขึ้นมาอีกครั้ง
ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายพรรคเพื่อไทย-แกนนำคนเสื้อแดง ที่ออกมาหนุนให้มีการนิรโทษกรรมคู่ขัดแย้ง-ประชาชน ด้านฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์-มวลชนนกหวีด ต่างคัดค้านการนิรโทษกรรมดังกล่าวอย่างชัดเจน
ไม่กี่วันที่ผ่านมากม ธ . ยกร่างรัฐธรรมนูญภาค 4 การปฏิรูปและการสร้างความปรองดองหมวด 2 ว่าด้วยการสร้างความปรองดอง สมัยรัฐบาลพล. อ. สุรยุทธ์จุลานนท์อดีตนายกรัฐมนตรีโดยมีวาระการดำรงตำแหน่งราว 5-10 ปี   
โดยระบุเหตุผลว่า สาเหตุข้อพิพาทระหว่างรัฐกับประชาชน ล้วนมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมือง รวมทั้งแนวคิดและการดำเนินนโยบายของพรรคการเมืองที่แตกต่างกัน แบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันอย่างชัดเจนจนเกิดการเผชิญหน้า จนกระทั่งเกิดการตอบโต้กันด้วยความรุนแรง
"เพื่อแก้ไขเยียวยา บนความแตกต่างทางความคิด ที่จะส่งผลต่อเสถียรภาพของการเมืองเศรษฐกิจและสังคมของไทยอย่างแท้จริงต่อไป " 
คำถามคือคณะกรรมการเสริมสร้างความปรองดองฯ ในยุคนี้ 10 ปีได้อย่างไรและการนิรโทษกรรมทำ "เพื่อใคร" มี "ใคร" เกี่ยวข้องบ้าง?
สำนักข่าวอิศราwww.isranews.org   นำรายงานสรุปกรอบแนวคิดเบื้องต้นในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ของกม ธ ยกร่างฯ ในส่วนของการปรองดอง -. นิรโทษกรรมมานำเสนอดังนี้
การนิรโทษกรรมหรือการล้างมลทิน
เหตุผล เป็นการให้อำนาจของรัฐธรรมนูญ เพื่อดำเนินการคลี่คลายและเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยการกำหนดให้มีการออกกฎหมายว่าด้วยการนิรโทษกรรม หรือล้างมลทินโดยระบุหลักการเงื่อนไขวิธีการผู้มีอำนาจในทางปฏิบัติขอบเขตในการดำเนินการขอบเขตของผลการนิรโทษกรรมหรือล้างมลทิน
การนิรโทษกรรม หมายถึงการลืม แต่ในกระบวนการทางกฎหมายหมายถึง ไม่ต้องรับโทษ หรือบางกรณีเป็นการยกโทษให้ทั้งหมดเสมือนหนึ่งว่ามิเคยต้องโทษนั้นเลยให้ลืมความผิดนั้นเสีย ซึ่งต้องกระทำโดยอำนาจนิติบัญญัติ 
ลักษณะความผิดที่สามารถนิรโทษกรรมได้นั้น แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ 
1) นิรโทษกรรมทางแพ่ง คือ ไม่ต้องชดใช้สินไหมทดแทน 
2)  ซับซ้อน การนิรโทษกรรมมีผลทางอาญาเพียงใด 
3)  หรือสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลนั้นให้สิ้นไป 
การล้างมลทิน คือการล้างความผิดให้แก่ผู้เพลงต้องโทษหรือเคยเพลงต้องโทษให้พ้นโทษ ไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อน หรือเนื่องในโอกาสที่เป็นมงคลเช่น ร.ศ. 130 พุทธศักราช 2475 เป็นต้น
ปัจจัยที่ควรคํานึงถึง 
1) ควรจัดให้มีเวทีพูดคุยเจรจาทําความเข้าใจร่วมกันต่อแนวทางการดําเนินการ โดยเริ่มจาก (1) (2) (3) (4) เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและ (5) นิรโทษกรรมเพื่อนําไปสู่​​การปรองดอง 
2) หรือล้างมลทินต้องมีความชัดเจน 5 กลุ่มประกอบด้วย (1) ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต (2) ผู้ที่ได้รับผลกระทบทางคดี (3) (4) ชุมชนที่ได้รับผลกระทบและ (5) ประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุม 
3) เวลา หรือล้างมลทิน 
4) เช่น การทําบันทึก
แนวทางที่  พ.ศ. 2548 จนถึง พ.ศ. 2557 และผู้กระทําผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 
แนวทางที่  พ.ศ. 2548 จนถึง พ.ศ. 2557
ทั้งหมดนี้คือแผนการเบื้องต้นในการจัดทำนิรโทษกรรม เพื่อสร้างความปรองดอง. - สมาฉันท์ตามที่กม ธ ยกร่างฯ นำเสนอต่อสาธารณชนซึ่งจะถูกใจใครหรือไม่ ก็ต้องถกเถียงกันให้แตกในประเด็นเสียก่อน
ส่วนจะนำไปบังคับใช้เป็นกฎหมาย หรือออกเป็น พ.ร.บ. - พ.ร.ก. ก็ต้องให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ไปว่ากันให้ชัดเจนตามกฎหมายต่อไป

สถานการณ์ข่าว12ธ.ค.57

สปช.-กมธ.ยกร่าง

"มานิจ" มองนายกฯ ไม่มีเสียงสนับสนุนจากสภา มีปัญหาแน่ ขณะนิรโทษทำได้ แต่ต้องไม่เกี่ยวคดีอาญา ทุจริตคอร์รัปชั่น

นายมานิจ สุขสมจิตร สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN  ว่า ในการยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จะต้องมีการบัญญัติรายละเอียดถึงการทำหน้าที่ของพลเมือง ทั้งในเรื่องของสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งจะกำหนดให้รัฐ โดยกระทรวงต่าง ๆ ฝึกอบรม หรือบรรจุในหลักสูตรการศึกษาให้ประชาชน พลเมือง มีคุณภาพ มีความรู้เรื่องสิทธิเสรีภาพ หน้าที่ และรู้เท่าทันสื่อ รวมถึงการเคารพสิทธิของผู้อื่นด้วย

ขณะเดียวกัน นายมานิจ ยังกล่าวถึงเรื่องการเลือกตั้ง นายกฯและคณะรัฐมนตรีโดยตรงว่า เป็นข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปด้านการเมือง ที่จะนำเสนอต่อสภาปฏิรูป ซึ่งหากสภาเห็นชอบก็จะส่งต่อมาให้ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนจะเห็นชอบด้วยหรือไม่นั้น ยังไม่สามารถตอบได้ แต่ในความเห็นส่วนตัว เรื่องนี้เคยเสนอกันมาหลายครั้ง และมีประเด็นปัญหาในเรื่องรูปแบบการปกครองมาโดยตลอด และมองว่า การที่มี นายกฯ โดยไม่มีเสียงสนับสนุนจากสภา จะทำให้รัฐบาลทำงานลำบาก จะเกิดปัญหายุ่งยากมากกว่าเดิม ดังนั้น นายกฯ ควรต้องมีเสียงสนับสนุนจากสภา

ส่วนเรื่องนิรโทษกรรมนั้น เห็นด้วยที่จะให้นิรโทษกรรมกับประชาชนที่มีส่วนร่วมในการชุมนุมทางการเมือง แต่ต้องไม่มีการนิรโทษคดีอาญา ทุจริตคอร์รัปชั่นต่าง ๆ อย่างเด็ดขาด
------
"โภคิน" พบกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แนะยึดปี 40 เป็นหลัก ค้านนิรโทษกรรมคณะปฏิวัติ ย้ำเคารพเสียงประชาชน

นายโภคิน พลกุล ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย เข้าให้ความเห็นและข้อเสนอแนะประกอบการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ตามคำเชิญของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดย นายโภคิน กล่าวว่า ในวันนี้จะเสนอรายงานการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมถึงแนวทางการปฏิรูปที่พรรคเพื่อไทย ตั้งคณะทำงานก่อนที่จะมีการยึดอำนาจ ซึ่งการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ควรยึดรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เป็นหลัก ทั้งนี้ คณะทำงานยกร่างรัฐธรรมนูญและรัฐบาล ได้แสดงเจตนารมณ์ชัดเจนที่อยากเห็นการปรองดอง ประเทศมีความก้าวหน้า และให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ดังนั้น การเขียนรัฐธรรมนูญ ไม่จำเป็นต้องลงรายละเอียดเยอะ แต่ควรเน้นที่ตัวบุคคล หรือปัญหามากกว่า นอกจากนี้ เรื่องการเขียนนิรโทษกรรม ให้กับคณะยึดอำนาจ ไม่ควรเขียนลงในรัฐธรรมนูญ เพราะที่ผ่านมา เมื่อเกิดปัญหา ก็ดำเนินการยึดอำนาจแทนการแก้ไขปัญหา จึงอยากให้เคารพในการตัดสินใจของประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจ
----------
นิด้า จัดเสวนา เรื่อง กรอบรัฐธรรมนูญและแนวคิดการปฏิรูปกับอนาคตประเทศไทย มี สปช. เข้าร่วมแสดงความเห็น

วันนี้ ที่คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) จัดการเสวนาวิชาการ เรื่อง กรอบรัฐธรรมนูญและแนวคิดการปฏิรูปกับอนาคตประเทศไทย โดยมี นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง นายปกรณ์ ปรียากร โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ.) และ นายอุดม ทุมโฆษิต สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ร่วมเสวนาพร้อมกันนี้ ยังมีการแถลงข่าว "60 ปีรัฐประศาสนศาสตร์" ยึดมั่นคุณธรรม สร้างผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยการเสวนาจะเริ่มตั้งแต่เวลา 13.30 น. เป็นต้นไป
--------------
พล.อ.เลิศรัตน์ เผย "โภคิน" เสนอ ยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญ ห้ามนิรโทษกรรมผู้ล้มล้าง รธน. ขณะ "ปรีชาพล" เสนอให้ทำประชามติ

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยภายหลังจากที่ นายโภคิน พลกุล ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย ได้เข้ามาเสนอแนะข้อคิดเห็นต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ต้องการให้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยห้ามนิรโทษกรรมผู้ที่ล้มล้างรัฐธรรมนูญ และให้ยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญ แต่ให้ตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญแทน ทั้งนี้ ต้องการให้ออกกฎหมายเพื่อให้ประชาชนวิจารณ์คำพิพากษาของศาลได้

นอกจากนี้ นายโภคิน ยังระบุว่า ให้ยกเลิกมาตรา 237 เรื่องการตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน ขณะที่ ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย เสนอให้มีการทำประชามติเพื่อให้มีรัฐธรรมนูญ มีความสมบูรณ์ของรัฐธรรม

อย่างไรก็ตาม ทางคณะกรรมาธิการฯ ยังคงประสานงานเพื่อให้ กลุ่ม นปช. และ กลุ่มพันธมิตรฯ เข้ามาให้ความคิดเห็นกับการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
-----------------
"ปกรณ์" แจง ยกร่าง รธน.ใหม่ แบ่ง 4 ภาค หวังจะยืนยงกว่าที่ผ่านมา และเป็นอนาคตของลูกหลานไทย

นายปกรณ์ ปรียากร โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวในการเสวนาวิชาการ เรื่อง กรอบรัฐธรรมนูญและแนวคิดการปฏิรูปกับอนาคตประเทศไทย ว่า จากปัญหาที่ผ่านมา ทำให้คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ได้แบ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็น 4 ภาค โดยมีภาคพระมหากษัตริย์และประชาชน ซึ่งหมวดของประชาชนกล่าวถึงความเป็นพลเมือง สิทธิและหน้าที่ การมีส่วนร่วมทางการเมือง การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งขณะนี้ยังเป็นที่ถกเถียงในคณะกรรมาธิการยกร่างฯ นอกจากนี้ ในภาคผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง จะกล่าวถึงผู้นำการเมืองที่ดี รัฐสภา คณะรัฐมนตรี การเงินการคลังและการงบประมาณ การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น ซึ่งเป็นภาคที่แก้ไขยากที่สุด

อย่างไรก็ตาม นายปกรณ์ กล่าวว่า ในการร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้แตกต่างไปจากที่ผ่านมา โดยคาดหวังว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะยืนยงกว่าที่ผ่านมา และเป็นอนาคตของลูกหลานไทย
------------------
พล.อ.เลิศรัตน์ เผย อนุฯ ชุดที่ 3 เสนอ คงรูปแบบสภาเหมือนเดิม นายกฯ มาจากการเลือกตั้ง มีอำนาจยุบสภา

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมาธิการคณะที่ 3 ที่มี นายสุจิต บุญบงการ เป็นประธาน โดยมีกรอบที่นำเสนอต่อกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คือ ให้มีระบอบประชาธิปไตยที่ยังคงระบบรัฐสภา มีการถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ให้ ส.ส. สามารถลงมติไม่ไว้วางใจหรือตั้งกระทู้ถาม เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจโดยยังคงอำนาจการยุบสภาไว้ที่นายกรัฐมนตรี พร้อมเสนอให้สมาชิกของกรรมาธิการงบประมาณมาจากฝ่ายค้าน เพื่อถ่วงดุลในการจัดสรรงบประมาณ

นอกจากนี้ การเลือกนายกรัฐมนตรีให้แบ่งเป็น 2 ช่วง โดยในช่วงเปลี่ยนผ่านนายกรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส. และ เมื่อเข้าสู่ภาวะปกติต้องลาออกจากตำแหน่ง
-----------------
อนุฯ ชุดที่ 3 เสนอ แนวคิดการจัดสรรจำนวน ส.ส. 1 คน ต่อประชากร 2 แสนคน ขณะ ส.ว. วาระละ 6 ปี มีจำนวนครึ่งหนึ่งของ ส.ส. 

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สรุปผลดำเนินงานที่คณะกรรมาธิการคณะที่ 3 เสนอมา ในเรื่องอำนาจในการถอดถอน ว่า ประชาชนสามารถลงชื่อเข้าถอดถอนได้โดยตรง ทั้งนี้ ให้มีกฎหมายว่าด้วยคณะรัฐมนตรี เพื่อที่คณะรัฐมนตรีจะไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ หากเกิดการบริหารที่ผิดพลาด

นอกจากนี้ แนวคิดการจัดสรรจำนวน ส.ส. และ ส.ว. เห็นว่าควรมี ส.ส. 1 คน ต่อประชากร 2 แสนคน โดยคำนวณแล้วจะได้ ส.ส. ประมาณ 350-400 คน โดยให้มี ส.ส. 2 แบบ คือ แบบแบ่งเขต และ บัญชีรายชื่อ และไม่จำเป็นต้องเป็นสังกัดพรรคการเมือง

ขณะที่ ส.ว. ให้มีจำนวนครึ่งหนึ่งของ ส.ส. โดยต้องดูตามสัดส่วนของ ส.ส. เป็นหลัก มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี อยู่ได้เพียงวาระเดียว ส่วนที่มาให้เป็นสองแบบ คือมาจากการสรรหาโดยให้ประชาชน
รับรองและมาจากการเลือกตั้ง
------------------
"สมบัติ" แจง เสนอให้เลือกตั้ง นายกฯ-ครม.โดยตรง หวังให้มีการตรวจสอบของฝ่ายนิติบัญญัติแบบเข้มข้น ไม่กังวล นายกฯ เหลิงอำนาจ

นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง กล่าวในการเสวนาวิชาการ เรื่อง กรอบรัฐธรรมนูญและแนวคิดการปฏิรูปกับอนาคตประเทศไทย ว่า คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองได้กระบวนของรัฐสภาไทยที่ผ่านมามีปัญหา ซึ่งที่เสนอให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรง เพราะจะทำให้มีการตรวจสอบโดยฝ่ายนิติบัญญัติมากขึ้น โดยจะให้อำนาจสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สามารถบัญญัติกฎหมายได้ โดยไม่ต้องให้คณะรัฐมนตรีเสนอ รวมถึงตรวจสอบและส่งฟ้องให้ศาลตัดสินได้ ซึ่งจะทำให้มีความเข้มข้นมากขึ้น และระบบการเมืองมีโอกาสโปร่งใสมากขึ้น

ส่วนความกังวลว่าหาหากเลือกนายกฯ โดยตรงจะทำให้เหลิงในอำนาจหรือไม่ นายสมบัติ กล่าวว่า การใช้อำนาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการเลือกตั้ง แต่ขึ้นอยู่ที่ตัวบุคคลที่เข้ามาใช้อำนาจ ดังนั้น ถ้านักการเมืองเป็นผู้ที่จงรักภักดีไม่ว่าเลือกตั้งแบบใดก็จะเป็นผู้จงรักภักดี แต่หากเหลิงในอำนาจจริงประชาชนก็มีอำนาจในการตรวจสอบได้ตามระบอบประชาธิปไตย
---------------------
สนช. พิจารณารายงานจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ขณะ กมธ.การเมือง เสนอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้พิจารณารายงานการรวบรวมความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 34 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 โดย นายกล้านรงค์ จันทิก ประธาน กมธ.การเมือง เสนอให้ผู้ที่จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี รวมตัวตั้งคณะบุคคลแล้วทำบัญชีรายชื่อ มีจำนวนไม่เกิน 2 เท่าของคณะรัฐมนตรี โดยคณะบุคคลดังกล่าวจะสมัครในนามพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้ กำหนดให้คณะใดได้คะแนนเกินกว่า ร้อยละ 35 ของผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ถือว่าได้รับเลือกตั้งเข้าไปบริหารประเทศ หากไม่มีคณะใดได้ถึง ร้อยละ 35 ให้นำคณะที่ได้คะแนนลำดับสูงสุดและรองลงมาให้ประชาชนเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง แล้วหากคณะใดได้คะแนนสูงสุดชนะเลือกตั้ง และให้จัดตั้ง ครม. หรือ ปรับ ครม. จากบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อ โดยกำหนดดำรงตำแหน่งได้วาระละ 4 ปี ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน
-----------------
เลขา สมช. เผย พลเอกประวิตร กำชับจัดทำแผนงบประมาณบูรณาการ ปัดมาเลเซียตั้งสำนักงานคุยสันติสุขชายแดนใต้

นายอนุสิษฐ คุณากร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายก
รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน ว่า พล.อ.ประวิตร ได้สั่งการและกำชับเรื่องการจัดทำแผนงบประมาณแบบบูรณาการของจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจัดลำดับความสำคัญของแผนงานและโครงการที่จะใช้งบฯของแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน และตอบสนองความต้องการของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มากที่สุด

ส่วนความคืบหน้าของกรอบการพูดคุยสันติสุข ที่มี พล.อ.อักษรา เกิดผล ประธานที่ปรึกษากองทัพบก เป็นหัวหน้าทีมพูดคุยสันติสุข ต้องให้พล.อ.อักษรา ได้ทำหน้าที่ ส่วนสมช.เป็นเพียงผู้ประสานงานให้ขับเคลื่อนการพูดคุยเท่านั้น ส่วนจะพูดคุยเมื่อไหร่นั้นทางหัวหน้าทีมพูดคุยคงชี้แจงต่อไป

ทั้งนี้ ที่มีรายงานข่าวว่าทางมาเลเซีย ในฐานะผู้อำนวยความสะดวกในการพูดคุย ประสานให้มีการตั้งสำนักงานพูดคุยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นายอนุสิษฐ กล่าวว่า ตนไม่ทราบและไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อน คาดว่าจากนี้หัวหน้าทีมพูดคุยฝ่ายไทย จะออกแบบการหารือและทำทุกอย่างเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศและผู้เห็นต่างที่จะเข้ามาสู่กระบวนการการสร้างความสงบและสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้
-----------------
สนช. พิจารณารายงานจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ขณะ กมธ.การเมือง เสนอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้พิจารณารายงานการรวบรวมความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 34 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 โดย นายกล้านรงค์ จันทิก ประธาน กมธ.การเมือง เสนอให้ผู้ที่จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี รวมตัวตั้งคณะบุคคลแล้วทำบัญชีรายชื่อ มีจำนวนไม่เกิน 2 เท่าของคณะรัฐมนตรี โดยคณะบุคคลดังกล่าวจะสมัครในนามพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้ กำหนดให้คณะใดได้คะแนนเกินกว่า ร้อยละ 35 ของผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ถือว่าได้รับเลือกตั้งเข้าไปบริหารประเทศ หากไม่มีคณะใดได้ถึง ร้อยละ 35 ให้นำคณะที่ได้คะแนนลำดับสูงสุดและรองลงมาให้ประชาชนเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง แล้วหากคณะใดได้คะแนนสูงสุดชนะเลือกตั้ง และให้จัดตั้งครม. หรือ ปรับ ครม. จากบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อ โดยกำหนดดำรงตำแหน่งได้วาระละ 4 ปี ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน
///////////////

คุกลับไทย

พล.อ.ประวิตร ยัน ไทยไม่มีคุกลับสหรัฐฯ ไม่จำเป็นต้องชี้แจง ปัดข่าว พล.อ.อักษรา ไปมาเลย์คุยสันติสุข คุมเข้มช่วงปีใหม่ 

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกระแสข่าวมีการเจรจาสันติสุขระหว่าง พล.อ.อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขฝ่ายไทย กับ ดาโต๊ะ สรี อาหมัด ซัมซามิม ฮาชิม อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองมาเลเซีย นั้น รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่มีการพูดคุยและยังไม่มีความคืบหน้า

สำหรับกรณีสำนักข่าวกรองสหรัฐฯ หรือ ซีไอเอ ที่มีการเปิดเผยว่ามีการทรมานนักโทษและมีคุกลับในประเทศไทย รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ยืนยันว่าในประเทศไทยไม่เคยมีคุกลับอย่างแน่นอน และไม่จำเป็นต้องทำหนังสือชี้แจงส่งกลับไปยังซีไอเอ

ส่วนการประเมินสถานการณ์ด้านความมั่นคงในช่วงปีใหม่ เป็นหน้าที่ของฝ่ายความมั่นคงอยู่แล้วที่จะต้องดูแล โดยจะให้ตำรวจเป็นกำลังหลักในการดูแลประชาชนให้เกิดความเรียบร้อย

ส่วนข้อเสนอของคณะกรรมาธิการเสริมสร้างความปรองดอง ที่ให้ออกกฎหมายการนิรโทษกรรม พล.อ.ประวิตร ระบุว่า ยังไม่มีข้อสรุปเรื่องดังกล่าว เนื่องจากเป็นหน้าที่ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ที่ต้องรวบรวมความเห็นของแต่ละคนเพื่อให้ได้ข้อสรุปต่อไป

ทั้งนี้ ไม่รู้สึกกังวัลหากมีกฎหมายนิโทษกรรมเกิดขึ้นโดยยืนยันว่ารัฐบาลทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ
-------------
"ปณิธาน" ยัน ไทยไม่มีคุกลับสหรัฐ พร้อมจัดประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขง มั่นใจ ใช้ตำรวจเป็นหลักดูแลด้านความปลอดภัย

นายปณิธาน วัฒนายากร ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีคุกลับในประเทศไทย ว่า ประเทศไทยเป็นทางผ่านของหลายประเทศ สหรัฐฯ จึงมีหน่วยงานข่าวกรองในประเทศไทย เพื่อตรวจสอบผู้ร้ายข้ามแดนโดยการกักตัวบุคคลเหล่านี้จะใช้เวลาไม่นาน และรัฐบาลในยุคที่ผ่านๆ มา ก็มีมาตรการต่อเนื่องในการปฏิเสธให้ประเทศไทย เป็นฐานลับ ซึ่งกรณีนี้ยืนยันได้ว่า ไม่มีคุกลับในประเทศไทย อย่างแน่นอน

ส่วนการเตรียมความพร้อมในการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขง หรือ จีเอ็มเอส ทางรัฐบาลได้เตรียมความพร้อมในการรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกแก่ผู้นำที่เข้าร่วมการประชุม โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นหน่วยงานหลัก และจะมีการเตรียมความพร้อมแผนในต้นสัปดาห์หน้า
////////////////
นายกฯ

นายกฯ หารือสุดยอดอาเซียน ย้ำร่วมพัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่าการค้า 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2020 เน้นพัฒนาความเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ร่วมประชุมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี สมัยพิเศษ ที่ศูนย์การประชุมและนิทรรศการนครปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี โดย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยินดีที่อาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับ 2 และเป็นฐานการลงทุนอันดับ 3 ของเกาหลี โดยเชื่อว่า อาเซียนและเกาหลี สามารถทําได้มากกว่านี้ โดยใช้ประโยชน์จากการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวของประชาคมอาเซียน เพื่อบรรลุเป้าหมายการค้า 150,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2015 และ 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2020

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ระบุว่า แต่ละประเทศต้องร่วมกันใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงและบูรณาการทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ในภูมิภาค โดยไทยจะสนับสนุนการลงทุนของเกาหลีในภูมิภาคในลักษณะบวกหนึ่ง ส่วนการพัฒนาความเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ไทย มีนโยบายพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนที่มีศักยภาพ ปรับปรุงกฎระเบียบด้านการค้าและการลงทุน เพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้ออํานวยต่อการลงทุนจากต่างชาติ เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนต่อไป

อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความยินดีที่การเจรจาและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี มีความคืบหน้า ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และหากสามารถดําเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ก็จะช่วยปูทางไปสู่การรื้อฟื้นการเจรจา 6 ฝ่าย รวมทั้งนําไปสู่การทําให้คาบสมุทรเกาหลี เกิดสันติภาพ ปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ปฏิบัติตามข้อมติของสหประชาชาติ อย่างเคร่งครัด และปราศจากการข่มขู่คุกคามทุกรูปแบบ
-------------
นายกฯ เชิญชวนอาเซียน-เกาหลีใต้ ยกระดับความร่วมมือป้องกัน แก้ไขปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ สภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี สมัยพิเศษ ช่วงที่ 2 ในหัวข้อ “Discussion on Non-Traditional Security Issues” โดยเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน และสาธารณรัฐเกาหลี เกี่ยวกับความร่วมมือด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ เน้นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการจัดการภัยพิบัติโดย นายกรัฐมนตรี กล่าวถ้อยแถลงว่า อาเซียน และเกาหลีใต้ ควรยกระดับความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นผลพวงจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี และการขยายตัวของความเชื่อมโยงในภูมิภาค เช่น อาชญากรรมข้ามชาติ การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด รวมถึงโรคติดต่อร้ายแรงและโรคอุบัติใหม่ การเผชิญกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ

นายกรัฐมนตรี ยังระบุว่า ไทยให้ความสําคัญต่อการรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการพัฒนาและการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการผลักดันใหัมีกฎหมายรองรับ ไทยและอาเซียน ต้องการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับเกาหลี เรื่องการลดก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคเอกชน อาเซียน-เกาหลีใต้ สามารถเป็นผู้นําร่องเพื่อผลักดันไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง
------------------
ดุสิตโพล ปชช.กังวล ร้อยละ 80.61 ไม่อยากให้บ้านเมืองวุ่นวายอีก หลังมีข่าวปฏิวัติซ้อน ร้อยละ 37.83 ไม่น่าเกิด

สวนดุสิตโพล ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,269 คน เกี่ยวกับการข่าวปฏิวัติซ้อน ในระหว่างวันที่ 7-11 ธ.ค. ที่ผ่านมา ดังนี้ พบว่า ร้อยละ 80.61 รู้สึกกังวล ไม่อยากให้บ้านเมืองวุ่นวายอีก, ร้อยละ 79.20 มองว่า ภาพลักษณ์ประเทศ เสียหาย เศรษฐกิจตกต่ำ ขณะที่ ร้อยละ 74.70 ระบุ ยังไม่รู้ข้อเท็จจริง ต้องตรวจสอบแหล่งข่าว

อย่างไรก็ตาม ประชาชน ร้อยละ 37.83 คิดว่า การปฏิวัติ ไม่น่าเกิดขึ้นได้ ร้อยละ 34.04 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 28.13 น่าจะเกิดขึ้นได้ ร้อยละ 74.30 มองว่าปฏิวัติซ้อน ไม่เป็นผลดีต่อบ้านเมือง และประชาชน ร้อยละ 72.88 มองว่า หากกลุ่มปฏิวัติซ้อน มีความสามารถจริง น่าจะบริหารประเทศก้าวหน้าได้ ขณะที่ ประชาชน ร้อยละ 78.32 เห็นว่า ผลเสียการปฏิวัติซ้อน ทำให้ประเทศชาติเสียหาย ร้อยละ 74.54 บ้านเมืองไม่สงบ ร้อยละ 72.44 ประชาชนได้รับความเดือดร้อน

ของขวัญปีใหม่ ขึ้นค่าแท็กซี่2บาท/นาที

data12Dec14ขึ้นราคาแท็กซี่

วันที่ 12 ธันวาคม 2557 12:42
ประกาศอัตราค่าบริการ'แท็กซี่มิเตอร์'ในกรุงเทพฯ

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

กระทรวงคมนาคม ประกาศอัตราค่าบริการ "แท็กซี่มิเตอร์" ในกรุงเทพฯ มีผลพรุ่งนี้

ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กําหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสําหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (TAXI - METER) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร

ตามที่กระทรวงคมนาคมได้ออกประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กําหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสําหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (TAXI - METER) ที่จดทะเบียนใน

เขตกรุงเทพมหานคร ฉบับประกาศ ณ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นั้น

โดยที่อัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสําหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน(TAXI - METER) ได้ใช้บังคับมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นระยะเวลานานแล้ว ประกอบกับราคาเชื้อ

เพลิงและค่าครองชีพได้ปรับตัวสูงขึ้น จึงสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้องกับการกําหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสําหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน

เจ็ดคนเสียใหม่ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน

อาศัยอํานาจตามความในข้อ 15 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550 ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ.

2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ1 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กําหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสําหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (TAXI - METER) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหา

นครฉบับประกาศ ณ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ข้อ 2 อัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสาร ให้กําหนด ดังนี้

ระยะทาง 1 กิโลเมตรแรก 35.00 บาท

ระยะทางเกินกว่า 1 กิโลเมตรถึงกิโลเมตรที่ 10 กิโลเมตรละ 5.50 บาท

ระยะทางเกินกว่า 10 กิโลเมตรถึงกิโลเมตรที่ 20 กิโลเมตรละ 6.50 บาท

ระยะทางเกินกว่า 20 กิโลเมตรถึงกิโลเมตรที่ 40 กิโลเมตรละ 7.50 บาท

ระยะทางเกินกว่า 40 กิโลเมตรถึงกิโลเมตรที่ 60 กิโลเมตรละ 8.00 บาท

ระยะทางเกินกว่า 60 กิโลเมตรถึงกิโลเมตรที่ 80 กิโลเมตรละ 9.00 บาท

ระยะทางเกินกว่า 80 กิโลเมตรขึ้นไป กิโลเมตรละ 10.50 บาท

กรณีรถไม่สามารถเคลื่อนที่หรือเดินรถต่อไปได้เกินกว่า 6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อัตรานาทีละ2.00 บาท

ข้อ 3 อัตราค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากค่าจ้างบรรทุกคนโดยสาร ให้กําหนด ดังนี้

(1) กรณีการจ้างผ่านศูนย์บริการสื่อสารของผู้รับจ้าง ให้เรียกเก็บค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากที่แสดงไว้ในมาตรค่าโดยสารอีก 20 บาท

(2) กรณีการจ้างจากท่าอากาศยานดอนเมืองหรือท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยรถยนต์รับจ้างนั้นจอดรอคนโดยสารอยู่ในท่าอากาศยาน ณ จุดที่ได้จัดไว้เป็นการเฉพาะ ให้เรียกเก็บค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากที่

แสดงไว้ในมาตรค่าโดยสารอีก 50 บาท

ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

"บวรศักดิ์"ทางออกประเทศต้องปฏิรูปลดความเหลื่อมล้ำ เลิกนโยบายประชานิยม

ปธ.กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวปาฐกถาสร้างความปรองดอง เผยทางออกประเทศต้องปฏิรูปลดความเหลื่อมล้ำ เลิกนโยบายประชานิยม ยกคำพูดพระพุทธเจ้าทำในสิ่งที่พรรคการเมืองไม่ทำ ย้ำนำผู้นำสองฝ่ายคุยกัน แย้มขั้นตอนสุดท้ายนิรโทษกรรม แต่เฉพาะหน้าทำยังไงปรองดองให้ได้ อ้างสัญญาณดีแม้ คสช. เข้มห้ามประชุมพรรคแต่พยายามพูดคุย พร้อมเชิญชวนมองอนาคต อย่ามองไปในอดีต
วันนี้ (11 ธ.ค.) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวปาฐกถาเรื่อง “การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง ตามแนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญ” ว่า โจทย์ใหญ่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ คือ เราจะทำอย่างไรให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย เพื่อให้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงคือการปฏิรูป ซึ่งไม่ใช่โจทย์ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ แต่เป็นโจทย์ที่คนไทยทั้ง 62 ล้านคนเห็นร่วมกัน ทั้งนี้ ในปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หากยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ เราก็จะอยู่ในลำดับท้ายของประชาคมอาเซียน คงไม่ใช่ความปรารถนาของคนไทยทั้งหมด ดังนั้น จะทำอย่างไรให้มีการปรองดองและการปฏิรูปประเทศเพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้ ไม่ต้องติดกับดักความขัดแย้งที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น ทางออกคือ ต้องปฏิรูปให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม เพราะเป็นรากฐานของขัดแย้งระหว่างคนมีมหาศาล ความขัดแย้งระหว่างคนรวยกับคนจน จึงต้องแก้ปัญหาที่เชิงโครงสร้าง โดยต้องยกเลิกนโยบายประชานิยม จัดสรรความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และทรัพยากรใหม่
“การปฏิรูปครั้งนี้จะพิสูจน์ว่าที่พระพุทธเจ้าเคยบอกว่าดอกบัวที่แทนความบริสุทธิ์เกิดจากโคลนตมได้ฉันท์ใด การปฏิรูปประเทศก็เกิดจากกระบวนที่ไม่เป็นประชาธิปไตยได้ฉันท์นั้น ตอนนี้ สปช. สนช. รัฐบาล คณะรัฐมนตรี กรรมาธิการยกร่างมีหน้าที่ใหญ่คือการลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ทำในสิ่งที่ผู้มีทุนมากมายมหาศาลจากพรรคการเมืองไม่ทำ” นายบวรศักดิ์ กล่าว
ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวอีกว่า การปรองดองต้องให้ผู้นำทั้ง 2 ฝ่ายมาคุยกัน ซึ่งถือเป็นหน้าที่หนึ่งที่ต้องทำอย่างจริงจัง เพราะหากไม่ทำก็จะเกิดปัญหาซ้ำอีก ส่วนการนิรโทษกรรมจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการปรองดอง ถ้ารัฐธรรมนูญไม่วางโครงสร้างกระบวนการที่ดี ก็จะมีการทำลัดขั้นตอน ไปเริ่มที่ 100 แทนที่จะทำจาก 1 อาจจะมีการทำนิรโทษกรรมก่อนที่จะเริ่มกระบวนการปรองดอง ซึ่งก็จะทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นอีก และในรัฐธรรมนูญจะไม่พูดถึงเรื่องการปรองดองก็ไม่ได้ ถ้าไม่มีก็แสดงว่าเราไม่เอาปัญหาของบ้านเมืองมาพูดเป็นเรื่องเป็นราว ดังนั้น จะทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าคือการสร้างความปรองดองได้
ทั้งนี้ ก็มีสัญลักษณ์ที่ดีเกิดขึ้นแล้วเพราะแม้ คสช. จะห้ามพรรคการเมืองประชุมกัน แต่หลายพรรคก็พยายามเข้ามาพูดคุย อย่างไรก็ตาม โจทย์ใหญ่ทั้ง 2 เรื่องตนยังไม่มีคำตอบ แต่หากเราหาคำตอบให้โจทย์เหล่านี้ไม่ได้ กระบวนการที่ทำอยู่ใน สปช. กมธ. ยกร่างฯ หรือการยึดอำนาจของ คสช. ก็จะเสียของ ดังนั้น จึงขอเชิญชวนให้ช่วยกันเสนอความเห็น มองอนาคตไปด้วยกัน อย่ามองไปในอดีต แม้จะประกาศกฎอัยการศึก แต่ความเห็นของกลุ่มต่างๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นการปฏิรูปไม่กี่คน และท้ายที่สุดก็อาจจะไม่ได้รับการยอมรับ ทั้งนี้ ยืนยันว่า หากมีข้อเสนอดีๆ เราก็ยินดีจะรับฟัง
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx…


ประยุทธ์ เข้าเฝ้าสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน

(12 ธค.57) 11.00 น. - พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนดารุสซาลาม ณ ศูนย์การประชุมฯ BEXCO นครปูซาน เกาหลีใต้
Cr.Toto Inn news.
Cathay Mee


เสธน้ำเงิน:ข้อมูลนักการเมืองบีบ ร.๗ สละราชสมบัติ

วันที่ 12 ธ.ค.57 ไขปริศนา..นักการเมืองบีบ รัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ คำต่อคำ น้ำตารินทั่วไทย
ตอนที่แล้วเล่าถึงรัฐบาลจอมพล ป. และปรีดี มีแผนจะสำเร็จโทษผู้มีส่วนร่วมในกบฏบวรเดช รัชกาลที่ 7 ทรงมีเมตตา มีพระประสงค์ละเว้นคดีประหารชีวิต โดยต้องการให้รัฐบาลปล่อยนักโทษทางการเมืองในคดีกบฏบวรเดช หากไม่ตกลง พระองค์ก็พร้อมจะสละราชย์สมบัติ รัฐบาลจอมพล ป. และปรีดี ยิ่งยโสใน จึงปฏิเสธไปเกือบทุกข้อ การเจรจาไม่เป็นผลสำเร็จ
** ความเดิม เนรเทศปรีดี แต่โดนปฎิวัติกลับ นำสู่กบฏบวรเดช สงครามกลางเมือง คนไทยรบกันเอง คลิ๊กไปที่https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/298471590342875
วันที่ 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ องค์ที่เจ็ดแห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชหัตถเลขาประกาศสละราชสมบัติ จากบ้านพักพระตำหนักโนล ในประเทศอังกฤษ ที่ทรงลี้ภัยไปพำนักในขณะนั้น
พระราชทานหัตถเลขา ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงสละราชสมบัติ จึงขออัญเชิญมาให้ประชาชนไทยทุกคน ได้รู้ได้เห็นว่า นักการเมืองรังแกพระมหากษัตริย์ไทยอย่างไร ขอให้ตั้งใจอ่านทุกคำ แล้วจะเข้าใจพระองค์อย่างถ่องแท้ ลองเลื่อนดูภาพทีละภาพช้าๆ เพื่อให้เห็นกับตาว่าเป็นของจริงจากลายพระหัตถ และเล่าขานต่อไปถึงลูกหลาน หรือ เพื่อนฝูงทุกคน
----------------------------->
บ้านโนล
แครนลีประเทศอังกฤษ
เมื่อพระยาพหลพลพยุหเสนากับพวก ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองโดยใช้กำลังทหาร ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้วได้มีหนังสือมาอัญเชิญข้าพเจ้าให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ข้าพเจ้าได้รับคำเชิญนั้น เพราะเข้าใจว่าพระยาพหลฯ และพวกจะสถาปนารัฐธรรมนูญ ตามแบบอย่างประเทศทั้งหลายซึ่งใช้การปกครองตามหลักนั้น
เพื่อให้ประชาราษฎรได้มีสิทธิ ที่จะออกเสียงในวิธีดำเนินการปกครองประเทศ และนโยบายต่าง ๆ อันจะเป็นผลได้เสียแก่ประชาชนทั่วไป ข้าพเจ้ามีความเลื่อมใส ในวิธีการเช่นนั้นอยู่แล้ว และกำลังดำริจะจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ของประเทศสยามให้เป็นไปตามรูปแบบนั้น โดยมิได้มีการกระทบกระเทือนอันร้ายแรง
เมื่อมามีเหตุรุนแรงขึ้นเสียแล้ว และเมื่อมีผู้ก่อการรุนแรงนั้น อ้างว่ามีความประสงค์จะสถาปนารัฐธรรมนูญขึ้นเท่านั้น ก็เป็นอันไม่ผิดกับหลักการที่ข้าพเจ้ามีความประสงค์อยู่เหมือนกัน ข้าพเจ้าจึงเห็นสมควรโน้มตามความประสงค์ ของผู้ก่อการยึดอำนาจนั้นได้ เพื่อหวังความสงบราบคาบในประเทศ
ข้าพเจ้าได้พยายามช่วยเหลือ ในการที่จะรักษาความสงบราบคาบ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงอันสำคัญนั้นเป็นไปโดยราบรื่นที่สุดที่จะเป็นได้ แต่ความพยายามของข้าพเจ้าไร้ผล โดยเหตุที่ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หาได้กระทำให้บังเกิดมีความเสรีภาพในการเมืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นไม่ และมิได้ฟังความคิดเห็นของราษฎรโดยแท้จริง และจากรัฐธรรมนูญทั้ง ๒ ฉบับ
จะพึงเห็นได้ว่าอำนาจที่จะดำเนินนโยบายต่าง ๆ นั้น จะตกอยู่แก่คณะผู้ก่อการ และผู้ที่สนับสนุนเป็นพวกพ้องเท่านั้น มิได้ตกอยู่แก่ผู้แทนซึ่งราษฎรเป็นผู้เลือก เช่น ในฉบับชั่วคราว แสดงให้เห็นว่า ถ้าผู้ใดไม่ได้รับความเห็นชอบของผู้ก่อการ จะไม่ให้เป็นผู้แทนราษฎรเลย ฉบับถาวรได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ตามคำร้องขอของข้าพเจ้า
แต่ให้มีสมาชิกซึ่งตนเองเป็นผู้เลือกเอง เข้ากำกับอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรถึงครึ่งหนึ่ง การที่ข้าพเจ้าได้ยินยอมให้มีสมาชิก ๒ ประเภท ก็โดยหวังว่าสมาชิกประเภทที่ ๒ ซึ่งข้าพเจ้าตั้งนั้น จะเลือกจากบุคคลที่รอบรู้การงาน และชำนาญในวิธีดำเนินการปกครองประเทศโดยทั่วๆ ไปไม่จำกัดเป็นพวกใดคณะใด
เพื่อจะได้ช่วยเหลือนำทาง ให้แก่สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้นมา แต่ครั้นเมื่อถึงเวลาที่จะตั้งสมาชิกประเภทที่ ๒ ขึ้น ข้าพเจ้าหาได้มีโอกาสแนะนำในการเลือกเลย และคณะรัฐบาลก็เลือกเอกแต่ฉะเพาะผู้ที่เป็นพวกของตนเกือบทั้งนั้น มิได้คำนึงถึงความชำนาญ นอกจานี้คณะผู้ก่อการบางส่วน
ได้มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงโครงการณ์เศรษฐกิจของประเทศอย่างใหญ่หลวง จึงเกิดแตกร้าวขึ้นกันเองในคณะผู้ก่อการและพวกพ้อง จนต้องมีการปิดสภา และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา โดยคำแนะนำของรัฐบาล ซึ่งถือตำแหน่งอยู่ในเวลานั้น
ทั้งนี้เป็นเหตุให้มีการปั่นป่วนในการเมือง ต่อมาพระยาพหลฯ กับพวกก็กลับเข้าทำการยึดอำนาจโดยกำลังทหารเป็นครั้งที่ ๒ และแต่นั้นมาความหวังที่จะให้การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เป็นไปโดยราบรื่นก็ลดน้อยลง
เนื่องจากเหตุที่คณะผู้ก่อการมิได้กระทำให้มีเสรีภาพในการเมืองอันแท้จริง และประชาชนไม่ได้มีโอกาสออกเสียง ก่อนที่จะดำเนินนโยบายอันสำคัญต่าง ๆ จึงเป็นเหตุให้มีการกบฎขึ้น ถึงกับต้องต่อสู้ฆ่าฟันกันเองระหว่างคนไทย
เมื่อข้าพเจ้าได้ร้องขอให้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ให้เข้ารูปประชาธิปไตยอันแท้จริง เพื่อให้เป็นที่พอใจแก่ประชาชน คณะรัฐบาลและพวกซึ่งกุ่มอำนาจอยู่บริบูรณ์ในเวลานี้ ก็ไม่ยินยอม ข้าพเจ้าได้ร้องขอให้ราษฎร ได้มีโอกาสออกเสียงก่อน ที่จะเปลี่ยนหลักการและนโยบายอันสำคัญ มีผลได้เสียแก่พลเมืองรัฐบาลก็ไม่ยินยอม
และแม้แต่การประชุมในสภาผู้แทนราษฎรในเรื่องสำคัญ เช่น เรื่องคำร้องขอต่างๆ ของข้าพเจ้า สมาชิกก็มิได้มีโอกาสพิจารณาเรื่องโดยถ่องแท้ และละเอียดละออเสียก่อน เพราะถูกเร่งรัดให้ลงมติอย่างรีบด่วน ภายในวาระประชุมเดียว นอกจากนี้รฐบาลได้ออกกฎหมายใช้วิธีปราบปรามบุคคล ซึ่งถูกหาว่าทำความผิดทางการเมืองในทางที่ผิดยุติธรรมของโลก
คือไม่ให้โอกาสต่อสู้คดีในศาล มีการชำระโดยคณะกรรมการอย่างลับ ไม่เปิดเผยซึ่งเป็นวิธีการที่ข้าพเจ้าไม่เคยใช้ ในเมื่ออำนาจอันสิทธิขาด ยังอยู่ในมือของข้าพเจ้าเอง และข้าพเจ้าได้ร้องขอให้เลิกวิธีนี้ รัฐบาลก็ไม่ยอม
ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้อง ใช้วิธีการปกครองซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล และหลักความยุติธรรมตามความเข้าใจ และยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใด คณะใด “ ใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้ ”
ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร
บัดนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า ความประสงค์ของข้าพเจ้า ที่จะให้ราษฎรมีสิทธิออกเสียงในนโยบายของประเทศโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จ และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่าบัดนี้เป็นอันหมดหนทาง ที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือให้ความคุ้มครองให้แก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว
ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติและออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์แต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอสละสิทธิของข้าพเจ้าทั้งปวง ซึ่งเป็นของข้าพเจ้าอยู่ในฐานะที่เป็นพระมหากษัตริย์ แต่ข้าพเจ้าสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งปวง อันเป็นของข้าพเจ้าแต่เดิมมา ก่อนที่ข้าพเจ้าได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์
อนึ่ง ข้าพเจ้าไม่มีความประสงค์ที่จะบ่งนามผู้ใดผู้หนึ่ง ให้เป็นผู้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ต่อไปตามที่ข้าพเจ้ามีสิทธิ ที่จะทำได้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์
อนึ่ง ข้าพเจ้าไม่มีความประสงค์ที่จะให้ผู้ใดก่อการไม่สงบขึ้นในประเทศ เพื่อประโยชน์ของข้าพเจ้า ถ้าหากมีใครอ้างใช้นามของข้าพเจ้า พึงเข้าใจว่ามิได้เป็นไปโดยความยินยอมเห็นชอบ หรือความสนับสนุนของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้ามีความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ไม่สามารถจะยังประโยชน์ให้แก่ประชาชนและประเทศชาติของข้าพเจ้าต่อไปได้ ตามความตั้งใจและความหวัง ซึ่งรับสืบต่อ กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ยังได้แต่ตั้งสัตยอธิษฐาน ขอให้ประเทศสยามจงได้ประสบความเจริญ และขอให้ประชาชนชาวสยามจงได้มีความสุขความสบาย
(พระปรมาภิไธย) ประชาธิปก ปร
วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗
เวลา ๑๓ นาฬิกา ๕๕ นาที
----------------------------->
พระองค์ทรงแจกจ่ายพระราชหัตถเลขาไปยังหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ ในอังกฤษ เพื่อให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ทันที และทรงมีพระบรมราชโองการมายังรัฐบาลว่า “ขอให้ประกาศพระราชหัตถเลขาทรงสละราชสมบัตินั้นแก่ประชาชนให้ทราบทั่วกัน ด้วย “
รัฐบาลขณะนั้น จะพยายามควบคุมการเสนอข่าว เกี่ยวกับการสละราชสมบัติของหนังสือพิมพ์ในประเทศสยามเองอย่างเข้มงวด ให้ตีพิมพ์เฉพาะเอกสารที่รัฐบาลส่งให้เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวพระราชหัตถเลขาสละราชย์ทั้งฉบับนั้น รัฐบาลเพิ่งให้มีการตีพิมพ์ใน 2 เดือนหลังการสละราชย์
พระราชหัตถเลขาของพระองค์ ถูกรัฐบาลพระยาพหล “กลบ” ข่าวอย่างมิดชิด โดยที่ราษฎรไทย 12 ล้านคนของพระองค์ แทบไม่รู้เรื่องเลย หลังจากมีพระราชหัตเลขาสละราชสมบัติ พระองค์ทรงกลับไปใช้พระนามและพระราชอิสริยยศเดิม ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา
วันที่ 7 มีนาคม 2477 รัฐบาลพระพหลฯ จึงประชุมปรึกษาหารือกัน โดยปรีดี วางแผนให้หาเจ้านายในเชื้อพระวงศ์ ที่ยังพระเยาว์ เพื่อจะได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการนานๆ คุมอำนาจเบ็ดเสร็จ และครองประเทศ กดขี่ทางชนชั้น ประชาชนต่อไป และวางแผนร้ายทำลายราชงศ์ อย่างถาวรได้
มีการเรียกประชุมสภาผู้แทนราฎร จากการชี้นำของปรีดี ได้มีมติเห็นชอบตามกฎมณเฑียรบาล ให้พระวรวงศ์เธอ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งมีพระมายุเพียง 8 พรรษา สืบราชสมบัติสืบพระราชสันตติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์ เป็นรัชกาลที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ สืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ยังทรงศึกษาอยู่กับ สมเด็จพระบรมราชชนนี พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลย ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สภาผู้แทนราษฎร ได้มีมติตั้ง พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ , พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
วันที่ 27 มิถุนายน 2477 ขณะดำรงตำแหน่ง รมต.กระทรวงมหาดไทย ปรีดี ได้สถาปนา "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" โดยใช้เงินที่มาจากค่าสมัครเข้าเรียนของนักศึกษา และดอกผลที่ได้มาจากธนาคาร ซึ่งปรีดีเป็นผู้ก่อตั้ง โดยให้มหาวิทยาลัยถือหุ้น 80% เพื่อขยายแนวคิดของเขา ในการสร้างผลไม้พิษไปทั่วประเทศอย่างกว้างขวาง
เมื่อรัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติแล้ว ข้าราชบริพารที่เป็นข้าราชการ ก็ได้รับคำสั่งให้กลับเมืองไทยเพราะหมดหน้าที่แล้ว เหลือแต่พระญาติและข้าราชบริพารในพระองค์ไม่กี่คน คอยรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท พระตำหนักโนล ทรงเช่าจากชาวอังกฤษ ไม่ค่อยเหมาะกับพระอนามัย อีกทั้งค่าเช่าค่อนข้างสูง ทรงจำเป็นต้องประหยัดลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลง ดังนั้นจึงทรงเสาะแสวงหาที่ประทับที่อื่นแทน
พระองค์ทรงซื้อพระตำหนักเกล็นแพมเมิ่นต์ เป็นที่ประทับแห่งใหม่ ตั้งอยู่ใน ตำบลเวอร์จิเนีย วอเตอร์ ใกล้เมืองสเตนส์ ซึ่งอยู่ในจังหวัดมิลเดิลเซกซ์ พระตำหนักมีขนาดย่อมลง แต่ก็ยังใหญ่โตและมีเนื้อที่กว้าง มีที่ให้คนขับรถ หัวหน้าคนรับใช้ชายหนึ่งคนกับลูกน้อง 2 คน ได้พักอาศัย
อีกทั้งมีกระท่อมหลังหนึ่ง สำหรับหัวหน้าคนสวนด้วย พระตำหนักมี 3 ชั้น และห้องหับจำนวนมาก เช่น ห้องโถง ห้องสมุด ห้องรับแขก ห้องอาหาร และห้องนั่งเล่น ห้องเหล่านี้เต็มไปด้วยเครื่องเรือนแบบอังกฤษ แต่ก็มีสิ่งของต่าง ๆ ของไทยอยู่ประปราย เช่น พระแสงประดับเพชรพลอย หีบพระโอสถมวนถมทองและฉากสีแดงภาพตัวละครไทย 2 ตัว
ในห้องทรงพระสำราญ มีไฟจุดอยู่ในเตาผิง มีม่านหนาสีน้ำเงินแขวนอยู่ ซึ่งใช้กั้นส่วนที่ย่อมกว่าของห้อง รัชกาลที่ 7 ประทับยืนอยู่เคียงกับม่านผืนใหญ่นี้ ทำให้พระวรกายยิ่งดูเล็ก ซูบ แต่กระนั้นก็ยืดตรงสง่าผ่าเผย พระโอษฐ์แย้ม แต่พระเนตรมีแววเศร้า พระมัสสุ (หนวด) หนา พระขนง (คิ้ว) เข้ม ทรงฉลองพระองค์สูทสักหลาดแบบทวีด แม้พระชนมพรรษาเพียง 24 พรรษา ดูทรงพระชรามาก แม้ว่า เส้นพระเจ้า (เส้นผม) จะยังคงเป็นสีดำอยู่
ทางด้านขวาของสนามหญ้า มีสวนผักกำแพงล้อมรอบ และเรือนกระจกหลายหลังซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นผลไม้ต่างๆ หลากชนิด อีกทั้งดอกไม้สำหรับตัดปักแจกันตกแต่งพระตำหนัก แสดงว่าทรงถือหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” ตามสมควร รัชกาลที่ 7 โปรดที่จะเสด็จลงมาทรงพระดำเนินกับสุนัขซึ่งทรงเลี้ยงไว้ในช่วงบ่าย ๆ
พระองค์เสวยพระกระยาหารเช้าในห้องพระบรรทม โดยมหาดเล็กคนไทยเชิญเครื่องไปตั้งถวายเช่นเดียวกับที่เคยทรงปฏิบัติในประเทศไทย ในช่วงบ่าย มักจะทรงพระดำเนินเล่นที่ป่าละเมาะ ในช่วงฤดูร้อน ทรงกอล์ฟหรือเทนนิส เสวยพระสุธารสชาในช่วงบ่ายประมาณ 17.00 น. ที่สนามหญ้า ซึ่งบางครั้งเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์ไปเสวยตามร้านธรรมดาทั่วไป
เช่น ริมแม่น้ำเทมส์ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยงประชาชน โดยพระองค์ทรงขับรถพระที่นั่งด้วยพระองค์เอง และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯทรงอ่านแผนที่ถวาย มีหม่อมเจ้าการวิก จักรพันธ์ ทรงขับถวายเมื่อทรงเหนื่อย เป็นการที่ได้ทรงผ่อนคลายพระอารมณ์อย่างหนึ่ง หลังพระกระยาหารค่ำ จะประทับอยู่กับพระประยูรญาติเหมือนพ่อแม่ในครอบครัวที่อบอุ่น พระองค์ ทรงพระอักษรซึ่งส่วนใหญ่ เป็นหนังสือประเภทประวัติศาสตร์ ชีวประวัติ ตำราการทำสวน และนวนิยาย
คนไทยในอังกฤษ หากบังเอิญอยู่ในร้านอาหารเดียวกันกับพระองค์ ก็จะไม่เข้าไปเฝ้าฯ หรือแม้แต่ถวายความเคารพ เพราะเกรงว่าจะมีภัยมาถึงตน หรือรัฐบาลคณะราฎร จะทำร้ายครอบครัวในเมืองไทย แต่ก็มีบางคนที่กล้าลุกขึ้นยืนถวายคำนับ ในขณะที่เพื่อนๆ นั่งก้มหน้า ทำเป็นมองไม่เห็น
พ.ศ. 2479 รัฐบาลคณะราษฎร และปรีดี สมัยนั้น ออก พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ยึดทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ทั้งหมด ที่เดิมทีเป็นพระราชทรัพย์ของราชวงศ์จักรี และจัดตั้งหน่วยงานรัฐบาลขึ้นมาดูแล คือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีสถานะเป็นหน่วยราชการระดับกอง ในสังกัดกระทรวงการคลัง ให้ รมต.คลังของรัฐ เป็นประธานควบคุมดูแล
ต่อมามีการแก้ไขปรับปรุง จนจัดตั้งยกระดับหน่วยงานขึ้นมาดูแลใหม่ มีสถานะเป็นนิติบุคคล ที่ตั้งอยู่ที่ วังแดง ถนนนครราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ที่ดินของราชวงศ์ ก็ถูกยึดมาใช้ประโยชน์เรียกว่า ที่ดินราชพัสดุ , สมบัติที่ยึดมาทั้งหมด กระทรวงการคลัง ก็ดูแลออกดอกออกผล อยู่จนถึงบัดนี้
ปัจจุบันลงทุนในธุรกิจต่างๆ เช่น ปูน พลังงาน ฯลฯ หลายสิบบริษัท จนมีเงินเพิ่มพูนไปเรื่อยๆ ราว 4 แสนล้านบาท เงินต้น ดอกผล เหล่านี้กลับมาเป็นของกระทรวงการคลัง 100 เปอร์เซ็นต์ กลายเป็นงบประมาณประจำปีของรัฐบาล และกลับมาถึงประชาชนทุกคนรอบๆ ตัวของท่านเอง
โดยทรัพย์สินส่วนนี้จึงไม่ต้องเสียภาษีเพราะเป็นของรัฐเอง ใครเป็นรัฐบาลก็จะได้ใช้ประโยชน์ ธนาคารออมสิน รัชกาลที่ 6 ก็ทรงตั้งด้วยเงินส่วนพระองค์เริ่มต้นเอง ท่านวางระเบียบไว้เดิมให้เสนาบดีพระคลังเป็นคนดูแล (ปัจจุบันมีเงินเพิ่มพูนเป็นแสนล้านบาท ก็กลายเป็นธนาคารของรัฐ 100 เปอร์เซ็นต์ไปแล้ว )
ปัจจุบัน รมต.คลัง ก็เป็นคนดูแลควบคุมเอง ตั้งกรรมการได้เอง รัฐจึงเอาเงินไปใช้ได้สะดวก..ชื่อสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ฝรั่งไม่เข้าใจเห็นเพียงชื่อก็เหมารวมเป็นตุเป็นตะ ครั้นจะเปลี่ยนชื่อหน่วยงานนี้ไปเป็นอย่างอื่น ก็ไม่เหมาะสม เพราะเป็นของพระมากษัตริย์โบราณ มาถึงกว่า 800 ปี
ที่ทุกพระองค์ ( รวม 52 พระองค์) ก็ทรงให้กับราษฎรของพระองค์อยู่แล้วตลอดมา แต่ทีเวลาศาลตัดสินยึดทรัพย์นักการเมืองที่โกงชาติไป ทุกคนตลอดมาตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 และล่าสุดมาถึง คนแดนไกล 4.6 หมื่นล้านบาท นักการเมืองเอง ก็ไม่เคยออกกฎหมายตั้ง "สำนักงานทรัพย์สินส่วนนักการเมือง" เลยสักครั้งแปลกไหม ?
นี่แหละที่คนแดนไกล ถึงเคยพูดว่าให้รัฐบาล ปูข้าวเน่า ตั้งเขาเป็นที่ปรึกษา สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่เป็นของรัฐบาล เพราะว่าเขาอยากจะเข้าไปถลุงสมบัติชาตินี้ ไปเป็นของตระกูลตนเอง..ประชาชนตาสว่าง รู้เท่าทันนักการเมืองหรือยัง ?
ใครกล่าวร้ายว่าพระองค์ท่านร่ำรวยที่สุดในโลกนั้น กำลังผิดอย่างมหันต์ เพราะทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ปัจจุบันนี้ “ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับสถาบันเบื่องสูงเลยแม้แต่น้อยนิด “ พระราชวงค์ไม่มีสิทธิ์ใดๆ ในทรัพย์สิน หรือในธนาคารใดๆ เลย จะพูดก็ได้ว่า ในหลวงรัชกาลปัจจุบัน ท่านทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ทรงยากจนทรัพย์มากด้วยซ้ำไป
ที่เป็นทรัพย์ของส่วนพระองค์จริงๆ ก็เกิดการที่ประชาชนสาขาต่างๆ บริจาคให้ตามพระราชอัธยาศัย หรือโดยเสด็จพระราชกุศลเข้ามูลนิธิต่างๆ เช่น มูลนิธิชัยพัฒนา ฯลฯ ทรัพย์ที่บริจาคก็ เช่น ที่ดิน ทุนทรัพย์ ฯลฯ ที่เราเห็นทางทีวีบ่อยๆ นั่นเอง แต่มีไม่มากนัก ทรัพย์ส่วนนี้เรียกว่า "ทรัพย์สินส่วนพระองค์"
และในหลวงท่าน ก็จะชำระภาษีอากรทุกปีตามอัตรากฎหมายกำหนด เท่าเทียมเหมือนประชาชนทั่วไป และได้รับใบเสร็จจากกระทรวงการคลัง ทรัพย์สินส่วนนี้ดูแลโดยสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ก็อยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง
ยามประชาชนเดือนร้อน และทุกข์ยาก ในหลวง พระราชินี และองค์รัชทายาท เชื้อพระวงศ์ ท่านก็จะพระราชทานให้นำทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้น กลับคืนมาสู่ราษฎรของพระองค์อีก เช่น ทรงบริจาคที่ดินทำกินประเดิมให้ผู้ยากจน ถุงยังชีพพระราชทานยามเกิดอุทกภัย หรือภัยพิบัติ หรือโครงการช่วยเหลือผู้ยากไร้ ในพระบรมราชานุเคราะห์ ส่วนพระองค์ต่างๆ
พ.ศ. 2478 – 2480 รัชกาลที่ 7 ประทับอยู่ที่พระตำหนักเกล็นแพ็มเมิ่นต์ ไม่ค่อยทรงสบาย ทรงแพ้อากาศหนาวชื้น พระอาการประชวรหนักขึ้น ประกอบกับไม่ต้องทรงรักษาพระเกียรติยศมากเท่าเดิมแล้ว จึงทรงตัดสินพระราชหฤทัยขายพระตำหนัก และซื้อพระตำหนักใหม่ “เวนคอร์ต” ที่มีขนาดเล็กเหมาะแก่การดูแลรักษามากกว่า ที่หมู่บ้านบิ้ดเด็นเด็น ใกล้เมืองแอชฟอร์ด ในจังหวัด เคนท์
ห่างจากกรุงลอนดอนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 200 ไมล์ ที่มีภูมิอากาศดี เพราะใกล้ทะเลกว่า แต่ความที่ไม่ห่างจากช่องแคบโดเวอร์ มากนัก แต่ด้วยเหตุที่การเดินทางจากบิ้ดเด็นเด็น ไปกรุงลอนดอน ไป-กลับ ในวันเดียวกันทำได้ไม่สะดวกรวดเร็ว เท่าจากพระตำหนักเดิม
พระองค์ จึงทรงเช่าห้องชุด ชุดหนึ่งไว้ในกรุงลอนดอนที่ อีตัน เฮ้าส์ เลขที่ 61 ถนนอัพเพ่อร์ โกรฟเวินเน่อร์ ในย่านเมย์แฟร์ ใกล้กับสถานทูตสหรัฐอเมริกา เพื่อจะประทับแรม เมื่อทรงมีพระราชกิจธุระ เสด็จทอดพระเนตรสิ่งต่างๆ หรือทรงจับจ่ายซื้อของ
พ.ศ. 2481 สงครามโลกครั้งที่สองได้ตั้งเค้า รัชกาลที่ 7 แน่พระราชหฤทัยว่า สงครามจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน จึงทรงเตรียมพร้อมด้วยการประหยัดทุกทาง ทรงเลิกเช่าห้องชุดที่ลอนดอน เพื่อลดพระราชภาระใช้จ่าย เนื่องจากห้องชุดนี้ ค่าเช่าแพงมาก
ที่ตำหนักเวนคอร์ต ทั้งสองพระองค์เสด็จลงสวนทรงรดน้ำพรวนดินในสวน รัชกาลที่ 7 ทรงวางผังปลูกต้นไม้ และไม้ดอกด้วยพระองค์เอง เวลานั้นบรรดาคนไทย และนักเรียนไทยในอังกฤษ มีความกล้ามากขึ้น ที่จะมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต แข่งขันเทนนิส ที่สนามส่วนพระองค์
ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นกันเองมากกับนักเรียนไทย และยังมีเสรีไทยช่วงสงครามโลกเข้าเฝ้าปรึกษาพระองค์เป็นประจำด้วย พระองค์ประทับที่พื้นสนามพระตำหนักกับเหล่าพวกเขา ขณะเสวยพระสุธารสชาในช่วงฤดูร้อน แวดล้อมไปด้วยพฤกษานานาพันธุ์ ต่อมาจึงเสด็จฯไปทรงร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ ที่นักเรียนไทยจัดขึ้นปีละครั้ง
หากสงครามเกิดขึ้น จังหวัดเค้นท์ ซึ่งอยู่ใกล้ช่องแคบอังกฤษ อาจถูกเยอรมันบุก จึงจะถูกประกาศเป็นเขตทหาร รัชกาลที่ 7 ทรงหาที่ประทับใหม่อีกครั้ง เพื่อหลบภัยสงคราม ชื่อว่า เวนท์เวอร์ธ เอสเตท ในแถบเวอร์จิเนีย วอเตอร์ ไม่ไกลจากพระตำหนักเกล็นแพ็มเมิ่นต์
รัชกาลที่ 7 เสด็จประพาสอียิปต์ และทางรัฐบาลไทยช่วงนั้น ตามราวีพระองค์ไม่เลิก โดยปล่อยข่าวลือว่า พระองค์จะทรงไปตั้งกองบัญชาการที่พม่า เตรียมทรงรับพระราชอำนาจคืน โดยที่พระองค์ไม่ทรงทราบเรื่องนี้เลย หลังเสด็จประพาสอียิปต์อยู่นานถึงเดือนเศษ จึงเสด็จฯ กลับอังกฤษ
ชาวบ้านในหมู่บ้านบิ้ดเด้นเด็น ต่างรักและเทิดทูนพระองค์ ด้วยทรงพระมหากรุณาธิคุณและพระเมตตาคุณ พวกเขาได้เฝ้าฯ บ่อย ๆ เพราะแทนที่จะทรงสั่งซื้อของ และให้ร้านในเมืองไปส่งที่พระตำหนัก พระองค์กลับทรงจักรยานตามถนนเล็กๆ ของหมู่บ้าน เพื่อทรงจับจ่ายจากร้านค้า โดยทรงคำนึงถึงความเป็นธรรมมาก
เพราะสัปดาห์หนึ่ง จะทรงซื้อของที่ร้านหนึ่ง อีกสัปดาห์หนึ่งที่อีกร้านหนึ่ง โปรดที่จะทรงซื้อช็อคโกแล็ต ที่ร้านกาแฟประจำหมู่บ้านทำเอง และบางครั้งเสวยพระกระยาหารมื้อย่อมๆ ที่ร้านนั้นด้วย ในช่วงฤดูร้อน ทรงพระกรุณาเป็นองค์ประธานพระราชทานถ้วยรางวัล ในงานประกวดดอกไม้ และงานแข่งม้ากระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง
** ตอนต่อไปจะเล่าถึง ประวัติศาสตร์ที่หายมืดไป ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 และ การลอบเบื้องลึกสุดติ่ง ปรีดี วางแผนปลงพระชนม์ รัชกาลที่ 8 ท่านจะต้องถึงกับช็อค น้ำตาไหลริน และสงสารทั้ง 2 พระองค์จับใจในวาระสุดท้ายของชีวิต
@ เสธ น้ำเงิน3 : กดปุ่ม “ติดตาม” ด้านบนเพจ เพื่อรับข่าวครั้งต่อไป
http://www.facebook.com/topsecretthai
"กติกา" โปรดงดความเห็นในประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในตอนนี้, งดนำข่าวลือเขาว่ามา , คำหยาบ , ป่วน , งดลิ้งใดๆ ทุกชนิด , งดข้อความจากแหล่งอื่น , งดภาพ , การให้ร้ายดูหมิ่นเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ที่ฝ่าฝืนจะถูกพิจารณาบล็อกเข้าเพจนี้..สามารถติดตามข่าวสั้นที่https://www.facebook.com/thailandcoup