PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

กสท.สรุปข้อปฏิบัติรายการทีวีใน 30 วันห้ามฉายเนื้อหาสร้างความแตกแยก

กสท.สรุปข้อปฏิบัติรายการทีวีใน 30 วันห้ามฉายเนื้อหาสร้างความแตกแยก

เขียนวันที่
วันพฤหัสบดี ที่ 27 ตุลาคม 2559 เวลา 15:49 น.
เขียนโดย
isranews
หมวดหมู่
14
 
24
 
0
 
38
 
 กสท. สรุปข้อปฏิบัติรายการโทรทัศน์ ในช่วง 15-30 วัน ห้ามนำเสนอเนื้อหาสร้างความขัดแย้ง-แตกแยกในสังคม เน้นเผยแพร่ข้อมูลสร้างประโยชน์ต่อประเทศ ใช้ช่อง 11 เป็นแบบลดโทนสี หลัง 30 วัน เสนอข่าวได้ตามปกติ รายการเด็ก-ทั่วไปฉายได้ งดรายการตลก รายการเฉพาะฉายได้หลัง 100 วัน
PIC tvtv 27 10 59 1
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มีมติในการประชุมนัดพิเศษครั้งที่ 3 เกี่ยวกับข้อปฏิบัติในการนำเสนอรายการทางโทรทัศน์ หลังพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จสวรรคต ดังนี้
การดำเนินการตั้งแต่ 15-30 วัน
1.รูปแบบการนำเสนอรายการทางสถานีโทรทัศน์ ให้ระมัดระวังและตรวจสอบการนำเสนอเนื้อหา การวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งแสดงถึงหรือกล่าวถึงความขัดแย้งในด้านต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่ความแตกแยกในสังคม โดยให้สถานีพิจารณาการนำเสนออย่างรอบคอบ และขอให้สถานีมุ่งเน้นการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาคุณภาพประชาชน โดยเฉพาะการปลูกฝังวินัย และความรับผิดชอบต่อสังคม การถ่ายทำ หรือเผยแพร่ข่าว ภาพกิจกรรม ที่เกี่ยวกับการแสดงความไว้อาลัย ควรพิจารณาให้มีความเหมาะสม และคัดเลือกภาพที่มีความรัดกุมและสำรวม
2.การกล่าวถึงผู้สนับสนุนสามารถทำได้ กรณีรายการสารคดีเฉลิมพระเกียรติ แต่ควรนำเสนอตอนท้ายของรายการ ใช้เป็นโลโก้ได้ รวมถึงการใช้ภาษา ถ้อยคำให้มีความเหมาะสม ส่วนการโฆษณาอื่น ๆ ให้กระทำได้โดยอยู่ภายใต้แนวทางตามมติ กสท. นัดพิเศษครั้งที่ 1 และ 2 ไปจน 30 วัน หลังจากนั้นค่อย ๆ ผ่อนคลาย โดยมีการควบคุมเนื้อหาตามที่ควบคุมรายการไปอีก 7 วัน
3.การลดโทนสี ไม่ให้ฉูดฉาดจนเกินไป ไม่จำเป็นต้องเป็นขาวดำ ให้ใช้ช่อง 11 เป็นมาตรฐาน ให้สังเกตที่เป็นรายการปัจจุบัน ไม่ใช่สารคดี
การดำเนินการตั้งแต่ 30-100 วัน
1.ติดตามการถ่ายทอดสด และร่วมถ่ายทอดสดทุกครั้งที่มีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.)
2.ตั้งแต่วันที่ 31-37 สามารถนำรายการเด็ก รายการทั่วไป และรายการแนะนำเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ออกอากาศได้ โดยความควบคุมเนื้อหาพิเศษ ไม่ควรมีรายการตลก เฮฮา เน้นความรุนแรง (ตบตี) เรื่องทางเพศ ถ้อยคำหยาบคาย (คำไม่สุภาพด่ากัน) มีได้ตามบริบทนิดหน่อย แต่ไม่เน้นหรือไม่ย้ำ หรือไม่นานจนเกินไป
3.ตั้งแต่วันที่ 38-100 (อนุโลมให้เริ่มในวันที่ 19 พ.ย. 2559 ตั้งแต่เวลา 00.01 น.) สามารถนำรายการเด็ก รายการทั่วไป รายการแนะนำเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี และ 18 ปี ได้ แต่ไม่ควรมีเรื่องของความรุนแรง (ตบตี) เรื่องทางเพศ ถ้อยคำหยาบคาย (คำไม่สุภาพ)
4.รายการประเภทเฉพาะ ควรออกหลัง 100 วันไปแล้ว 
5.หลัง 30 วัน สามารถออกสปอตโฆษณาได้ แต่ให้ควบคุมเหมือนกับเนื้อหาของรายการ ไปจนกว่าจะเลยไปอีก 7 วัน (อนุโลมให้เริ่มวัน 19 พ.ย. 2559 ตั้งแต่เวลา 00.01 น.)
6.การนำเสนอข่าวหลัง 30 วัน สามารถนำเสนอข่าวได้ตามปกติได้ทุกข่าว
7.การแต่งกายของพิธีกรผู้ดำเนินรายการ ควรแต่โทนขาวดำ โดยเน้นดำ รวมถึงผู้ร่วมรายการควรแต่งกายในโทนสีที่ไม่ฉูดฉาดจนเกินไป ระหว่าง 30-100 วัน แต่หากมีการบันทึกเทปไว้ล่วงหน้า ให้ขึ้นข้อความเพื่อบอกกล่าวแต่ผู้ชมให้ทราบว่า “รายการนี้บันทึกเทปไว้ก่อน เดือน ต.ค. 2559” หรือ “รายการนี้บันทึกเทปเมื่อวันที่ / เดือน / ปี” เป็นต้น ให้ขึ้นทุกเบรก เบรกละ 5-10 วินาที และใช้การลดค่าสีในการช่วยให้ดูไม่ฉูดฉาดจนเกินไป
8.ฉากของข่าวคุมโทนไว้อาลัยจนครบ 100 วัน
9.สรุปเรื่องการออกเสียงการอ่าน ชื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ดังนี้ “พระ-บาด-สม-เด็ด-พระ-ปะ-ระ-มิน-ทะ-ระ-มะ-หา-พู-มิ-พน-อะ-ดุน-ยะ-เดด” ตามการอ่านที่ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) แจ้ง
ทั้งนี้ภายหลังการประชุม พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการ กสท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่อง การกำหนดแนวปฏิบัติสำหรับผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กรณี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคต เพิ่มเติม ครั้งที่ 4 โดยเห็นควรให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และผู้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการกระจายเสียงถือปฏิบัติเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ 
1.รูปแบบการนำเสนอรายการทางสถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีผู้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ให้ระมัดระวังและตรวจสอบการนำเสนอเนื้อหา การวิพากษ์ หรือการวิจารณ์ ซึ่งแสดงถึงหรือกล่าวถึงความขัดแย้งในด้านต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่ความแตกแยกในสังคม โดยให้สถานีพิจารณาการนำเสนออย่างรอบคอบ ขอให้สถานีมุ่งเน้นการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาคุณภาพประชาชน โดยเฉพาะปลูกฝังวินัย และความรับผิดชอบต่อสังคมการถ่ายทำ หรือเผยแพร่ภาพข่าว ภาพกิจกรรม ที่เกี่ยวกับการแสดงความไว้อาลัย ควรพิจารณาให้มีความเหมาะสม และคัดเลือกภาพที่มีความรัดกุมและสำรวม 
2.การกล่าวถึงผู้สนับสนุนสามารถกระทำได้ ดังนี้ กรณีรายการสารคดีเฉลิมพระเกียรติ หากจะกล่าวถึงผู้สนับสนุน ควรนำเสนอตอนท้ายของรายการ ซึ่งอาจใช้ตราสัญลักษณ์ (logo) ของผู้สนับสนุนได้ ทั้งนี้ ขอให้ปรับโทนสี ขนาด รวมถึงการใช้ภาษา ถ้อยคำให้มีความเหมาะสม กรณีรายการอื่น ๆ ที่มิใช่รายการสารคดีเฉลิมพระเกียรติ สามารถแสดงสัญลักษณ์ (logo) ของผู้สนับสนุนได้ ทั้งนี้ ขอให้ปรับโทนสี ขนาด รวมถึงการใช้ภาษา ถ้อยคำให้มีความเหมาะสม
การสนับสนุน หรือการโฆษณากรณีที่มีการแสดงภาพพระบรมฉายาลักษณ์ และข้อความแสดงความไว้อาลัย การขึ้นข้อความเกี่ยวกับผู้ร่วมแสดงความไว้อาลัยให้ปรากฏเฉพาะชื่อของบริษัท ห้างร้าน หน่วยงาน คณะบุคคล หรือบุคคล และจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด 
การโฆษณาอื่น ๆ ให้กระทำได้โดยอยู่ภายใต้แนวทางตามมติ กสท. นัดพิเศษ ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 (ให้งดการเผยแพร่รายการที่แสดงถึงความรื่นเริงเป็นเวลา 30 วัน และขอให้คำนึงถึงความเหมาะสม) และนัดพิเศษ ครั้งที่ 2/2559 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2559 (การนำเสนอรายการ และการโฆษณาของสถานีจะต้องไม่เป็นการแสดงถึงการบันเทิงใจ การเล่นเต้นรำทั้งปวง การสนุกรื่นเริง ล่อแหลม รุนแรง ตลอดจนแสดงถึงกริยาที่ไม่สำรวม แสดงอารมณ์เกินกว่าสมควร ซึ่งเกินกว่าความเหมาะสมภายใต้บริบทของความโศกเศร้าเสียใจของประชาชนชาวไทย ภาพ และสีที่ใช้ในการออกอากาศรายการของสถานีให้ปรับระดับของสีให้มีความเหมาะสมต่อการร่วมถวายความอาลัย)

ผลกระทบการ“ปลดระวาง” โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Dai-ichi



TEPCO ยอมรับว่าการ decommissioning “ปลดระวาง” โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Dai-ichi ที่เสียหายจากสึนามิเมื่อปี 2011 อาจต้องใช้เวลาหลายทศวรรษด้วยกัน ที่สำคัญต้องใช้เงินมหาศาล ถ้าการ ”กำจัด” กากกัมมันตรังสี (ฝังมันไว้นั่นแหละ) ทำได้ในเวลา 30 ปีจริง ต้องใช้งบประมาณมากถึง 3 พันล้านเหรียญต่อปี รวม ๆ กันแล้วการปลดระวางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ต้องใช้เงินไม่น้อยกว่า 100 พันล้านเหรียญ ข่าวร้ายกว่านั้นคือ เงินมากมายที่ใช้เพื่อปลดระวางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ส่วนหนึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน เป็นเงินอุดหนุน “bailout” ที่รัฐบาลญี่ปุ่นจ่ายให้ TEPCO
ข่าวร้ายของวงการนิวเคลียร์ญี่ปุ่นอีกอย่างคือการปลดระวางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Monju ซึ่งสร้างเสร็จตั้งแต่ปี 1994 หรือ 22 ปีที่แล้ว แต่ผลิตไฟฟ้าได้จริง 1 ชั่วโมง (จริง ๆ) เป็นแค่การ “ทดลอง” ผลิตไฟฟ้า หลังจากนั้นก็เกิดการรั่วไหลของโซเดียม และเกิด incidents ต่าง ๆ มากมาย เมื่อ 20 กว่าปีก่อน Monju (ซึ่งตั้งชื่อตามพระโพธิสัตว์ “มัญชุศรี”) ได้ชื่อว่าเป็นเตาปฏิกรณ์ยุคใหม่ “fast-breeder reactor” “Gen IV” ที่นอกจากผลิตไฟฟ้าได้ ยังสามารถ recycle แท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว สกัดเป็นพลูโตเนียมเพื่อผสมกับยูเรเนียมเป็นเชื้อเพลิงใหม่ได้ (MOX fuels) เรียกว่าต้องการลบคำครหาว่าพลังงานนิวเคลียร์มี “กากพิษ” ที่กำจัดและนำกลับมาใช้ใหม่ไม่ได้
แต่มันเป็นแค่ “ความเพ้อฝัน” เท่านั้น เมื่อเดือนที่แล้ว รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจ decommission โรงงไฟฟ้านิวเคลียร์ Monju มูลค่า 9.5 พันล้านเหรียญเสียแล้ว เพราะไม่คุ้มที่จะเสียค่าบำรุงรักษาต่อไปปีละเกือบ 200 ล้านเหรียญ ยังไม่ต้องพูดถึงว่าบรรดา “weapon-grade plutonium” อีก 48 ตันที่ผลิตได้ จะเอาไปทำอะไร และจะหลุดไปเป็นหัวรบนิวเคลียร์หรือไม่ Superphénix ซึ่งเป็นต้นแบบราคาแพงของ fast-breeder reactor และเป็น Generation IV เหมือนกัน ก็กำลังจะตาย ผลิตไฟฟ้าได้จริงไม่ถึง 10% ของกำลังผลิต (‘Energy Unavailability Factor’ = 90.8% ตามข้อมูลของ IAEA) หลายสิบปีมานี้ พลังงานนิวเคลียร์แทบไม่มีการขยายตัวเลยทั่วโลก ไม่เฉพาะญี่ปุ่น
เรียกว่า “ต้นทุนจริง” ของพลังงานนิวเคลียร์ มันไม่ competitive มันแข่งขันไม่ได้กับพลังงานจากเชื้อเพลิงอื่นที่ถูกลงเรื่อย ๆ แถมยังสร้างภาระให้ลูกหลานเหลนโหลน ไม่ต้องพูดถึงความเสียหายหากเกิดอุบติเหคุร้าย กรณีฟูกูชิมะนั้น บรรดา “nuclear refugees” กว่าแสนคนยังกลับบ้านไม่ได้ แม้ผ่านไปห้าปีแล้ว ครอบครัวแตกสลาย แต่คนไทย/หน่วยงานไทยบางคนอยากได้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ งงอะ #วันนี้เอาแค่เรื่องในญี่ปุ่นก่อนนะ

สดับปกรณ์

สดับปกรณ์
ภายหลังที่ตระเตรียมพระบรมศพหรือพระศพเจ้านายเรียบร้อยแล้ว จึงมาถึงขั้นตอนในส่วนของพิธีสงฆ์ ซึ่งจะสวดสดับปกรณ์ หรือสวดพระอภิธรรมทำนองหลวง 7 คัมภีร์ อันเป็นบทสวดที่ใช้ในพระราชพิธีของราชสำนัก เพื่อเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายแด่ดวงพระวิญญาณเจ้านายที่ล่วงลับ
ความหมายของคำสดับปกรณ์ที่เป็นคำกริยา ยังสัมพันธ์กับพิธีกรรมของราษฎรสามัญชนที่กระทำคือ บังสุกุล ซึ่งเป็นการบำเพ็ญกุศลถวายแก่ผู้เสียชีวิต และมีการทอดผ้าถวายพระภิกษุสงฆ์เรียกว่า ผ้าบังสุกุล แต่การเรียกแตกต่างกันระหว่างพิธีของเจ้านายและพิธีของราษฎรทั้งที่สาระของพิธีมีลักษณะเดียวกันไม่ถูกต้อง ตามที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ในสาส์นสมเด็จถึงที่มาของการบังสุกุลและสดับปรณ์ ไม่เพียงเท่านั้น สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ก็ทรงมีพระวินิจฉัยถึงที่มาและอักขรวิธีของคำสดับปกรณ์ไว้ในสาส์นสมเด็จด้วยเช่นกัน
จึงสามารถสรุปได้ว่า ด้วยเหตุจากที่มาของคำทั้งสองต่างกัน คือ "บังสุกุล" หมายถึง การบำเพ็ญกุศลด้วยการชักผ้าหรือทอดผ้าบังสุกุล ส่วน "สดับปกรณ์" หมายถึง การสวดพระธรรมเจ็ดคัมภีร์เพื่อแสดงความกตัญญูต่อผู้ล่วงลับ โดยอาศัยเหตุการณ์ตามพุทธประวัติเป็นการบำเพ็ญกุศล แต่กระนั้นก็ยังมีความนิยมในการเรียกพิธี ทั้งการทอดผ้า และการสวดพระอภิธรรมของเจ้านายว่า "สดับปกรณ์"
นอกจากนี้ ยังมีการบำเพ็ญพระราชกุศลเมื่อครบ 7 วัน 15 วัน 50 วัน และ 100 วัน พิธีกรรมจะปฏิบัติเหมือนกันคือ มีการสวดมนต์ แสดงพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และสดับปกรณ์ การบำเพ็ญพระราชกุศลตามระยะเวลาดังกล่าว เริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งงานพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บำเพ็ญพระราชกุศลต่อไปทุก 7 วันจนพระราชทานเพลิง แบบแผนในลักษณะเช่นนี้ได้รับอิทธิพลมาจากพิธีกงเต๊กของจีนและญวน
การบำเพ็ญพระราชกุศลที่ได้รับอิทธิพลมาจากพิธีกงเต๊กของจีนและญวน ในจำนวนรอบวันดังกล่าวมีคำเรียกในภาษามคธ ดังนี้
การพระราชกุศล 7 วัน เรียกว่า การพระราชกุศลสัตตมวาร (สัตตม แปลว่า ที่ 7)
การพระราชกุศล 15 วัน เรียกว่า การพระราชกุศลปัณรสมวาร (ปัณรสม แปลว่า ที่ 15)
การพระราชกุศล 50 วัน เรียกว่า การพระราชกุศลปัญญาสมวาร (ปัญญาสม แปลว่า ที่ 50)
การพระราชกุศล 100 วัน เรียกว่า การพระราชกุศลสตมวาร (สตม แปลว่า ที่ 100)
เมื่อบำเพ็ญพระราชกุศลตามจำนวน 100 วันแล้ว เรียกว่า "การปิดพระศพ" ซึ่งไม่ต้องบำเพ็ญพระราชกุศลทุกวัน โดยหลังจากนั้นจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำทุกๆ 7 วันหรือไม่ ก็แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
(ที่มาเนื้อหา : หนังสือ "ธรรมเนียมพระบรมศพและพระศพเจ้านาย" โดย นนทพร อยู่มั่งมี และธัชชัย ยอดพิชัย สำนักพิมพ์มติชน
ที่มาพระฉายาลักษณ์ : สำนักพระราชวัง)

บช.น. ปิดการจราจรเต็มรูปแบบรอบพระบรมมหาราชวัง



บช.น. ปิดการจราจรเต็มรูปแบบรอบพระบรมมหาราชวัง
เตรียมความพร้อมด้านการจราจร วันที่ 29-30 ต.ค.2559
วันนี้ 27 ต.ค. 59 เวลา 08.30 น. พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รรท.รอง.ผบช.น. ,พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รรท.ผบก.จร ได้ประชุมเตรียมความพร้อมอำนวยความสะดวกและรับมือสถานการณ์ด้านการจราจรในวันที่ 29-30 ต.ค.59 เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนที่จะเข้ามายังพื้นทีท้องสนามหลวง เนื่องจากทางสำนักพระราชวังจะเปิดให้ประชาชนเข้าถวายบังคมพระบรมศพ ในวันที่ 29 - 30 ต.ค.เป็นต้นไป ซึ่งคาดว่าในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์จะมีประชาชนเดินทางมาเป็นจำนวนมากอาจจะส่งกระทบต่อการจราจร ดังนั้นทาง บช.น.จะจึงปรับแผนการจัดการจราจรใหม่ โดยจะเริ่มปิดการจราจรตั้งแต่เวลา 07.00น.เป็นต้นไป และจะขยายพื้นที่การปิดการจราจรวงรอบใหญ่ขึ้น แต่จะยกเว้นให้สำหรับรถขนส่งมวลชนสาธารณะ รถทัวร์ รถชัตเทิลบัส (shuttle bus) ที่จะเข้ามารับ-ส่งประชาชนเท่านั้น ซึ่งการปิดการจราจรในรูปแบบดังกล่าวทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรจะปิดการจราจรต่อเนื่องจนถึงเวลาที่ประชาชนเดินทางกลับบ้านเบาบางลงก่อนจึงจะเปิดการจราจรตามปกติในช่วงเวลากลางคืน
นอกจากนี้ เวลา 10.00 น. พล.ต.ต.จิรพัฒน์ฯ ยังได้เรียก รอง ผกก.จร. และ สว.จร. สน.บุปผาราม สน.บางกอกใหญ่ ,สน.พระราชวัง และสน. สำราญราษฏร์ ซึ่งรับผิดชอบในพื้นที่โดยรอบพระบรมหาราชวัง สะพานพุทธฯ และสะพานพระปกเกล้า มาประชุมเพื่อหารือและกำหนดแนวทางการจัดการจราจรบริเวณพื้นที่โดยรอบ เนื่องจากการปิดการจราจรชั่วคราวรอบพระบรมมหาราชวังและมีการประชาสัมพันธ์ให้เลี่ยงการใช้สะพานพระปิ่นเกล้า จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสในการใช้รถใช้ถนนของประชาชนมาใช้สะพานพุทธยอดฟ้าจำนวนมากอาจส่งผลให้เกิดปัญหาจราจร จึงได้ประชุมวางแผนการจัดการจราจรใน สน.พื้นที่ดังกล่าวเพื่อรองรับประมาณรถที่เพิ่มขึ้นและไม่ให้เกิดปัญหาการจราจร

จึงขอประชาสัมพันธ์สำหรับประชาชนที่จะมาร่วมถวายบังคมพระบรมศพ ขอความร่วมมือให้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ตามที่ทางภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดไว้บริการประชาชน หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเส้นทางได้ที่หมายเลข 1197

เจ้าชายทะกะฮิโตะ สิ้นพระชนม์

สำนักพระราชวังญี่ปุ่นประกาศ เจ้าชายทะกะฮิโตะ พระอนุชาคนเล็กของจักรพรรดิโชวะ สิ้นพระชนม์แล้วด้วยพระชนมายุ 100 พรรษา ถือเป็นเชื้อพระวงศ์ที่มีพระชนมายุยืนยาวที่สุดในราชวงศ์ญี่ปุ่น

เจ้าชายทะกะฮิโตะ เจ้ามิกะซะ (ญี่ปุ่น: 三笠宮崇仁親王 มิกะซะ-โนะ-มิยะ ทะกะฮิโตะ ชินโน ?) (2 ธันวาคม พ.ศ. 2458-) เป็นพระโอรสองค์สุดท้องใน สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช และ สมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม และเป็นพระอนุชาในจักรพรรดิโชวะ และเป็นพระปิตุลาพระองค์เล็กและเพียงพระองค์เดียวที่ยังมีพระชนม์ชีพของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ หลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงคิกุโกะแห่งทะกะมะสึ เจ้ามิกะซะถือเป็นเชื้อพระวงศ์ที่พระชนมายุยืนยาวที่สุด ในราชวงศ์ญี่ปุ่น