PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ผลกระทบการ“ปลดระวาง” โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Dai-ichi



TEPCO ยอมรับว่าการ decommissioning “ปลดระวาง” โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Dai-ichi ที่เสียหายจากสึนามิเมื่อปี 2011 อาจต้องใช้เวลาหลายทศวรรษด้วยกัน ที่สำคัญต้องใช้เงินมหาศาล ถ้าการ ”กำจัด” กากกัมมันตรังสี (ฝังมันไว้นั่นแหละ) ทำได้ในเวลา 30 ปีจริง ต้องใช้งบประมาณมากถึง 3 พันล้านเหรียญต่อปี รวม ๆ กันแล้วการปลดระวางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ต้องใช้เงินไม่น้อยกว่า 100 พันล้านเหรียญ ข่าวร้ายกว่านั้นคือ เงินมากมายที่ใช้เพื่อปลดระวางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ส่วนหนึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน เป็นเงินอุดหนุน “bailout” ที่รัฐบาลญี่ปุ่นจ่ายให้ TEPCO
ข่าวร้ายของวงการนิวเคลียร์ญี่ปุ่นอีกอย่างคือการปลดระวางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Monju ซึ่งสร้างเสร็จตั้งแต่ปี 1994 หรือ 22 ปีที่แล้ว แต่ผลิตไฟฟ้าได้จริง 1 ชั่วโมง (จริง ๆ) เป็นแค่การ “ทดลอง” ผลิตไฟฟ้า หลังจากนั้นก็เกิดการรั่วไหลของโซเดียม และเกิด incidents ต่าง ๆ มากมาย เมื่อ 20 กว่าปีก่อน Monju (ซึ่งตั้งชื่อตามพระโพธิสัตว์ “มัญชุศรี”) ได้ชื่อว่าเป็นเตาปฏิกรณ์ยุคใหม่ “fast-breeder reactor” “Gen IV” ที่นอกจากผลิตไฟฟ้าได้ ยังสามารถ recycle แท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว สกัดเป็นพลูโตเนียมเพื่อผสมกับยูเรเนียมเป็นเชื้อเพลิงใหม่ได้ (MOX fuels) เรียกว่าต้องการลบคำครหาว่าพลังงานนิวเคลียร์มี “กากพิษ” ที่กำจัดและนำกลับมาใช้ใหม่ไม่ได้
แต่มันเป็นแค่ “ความเพ้อฝัน” เท่านั้น เมื่อเดือนที่แล้ว รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจ decommission โรงงไฟฟ้านิวเคลียร์ Monju มูลค่า 9.5 พันล้านเหรียญเสียแล้ว เพราะไม่คุ้มที่จะเสียค่าบำรุงรักษาต่อไปปีละเกือบ 200 ล้านเหรียญ ยังไม่ต้องพูดถึงว่าบรรดา “weapon-grade plutonium” อีก 48 ตันที่ผลิตได้ จะเอาไปทำอะไร และจะหลุดไปเป็นหัวรบนิวเคลียร์หรือไม่ Superphénix ซึ่งเป็นต้นแบบราคาแพงของ fast-breeder reactor และเป็น Generation IV เหมือนกัน ก็กำลังจะตาย ผลิตไฟฟ้าได้จริงไม่ถึง 10% ของกำลังผลิต (‘Energy Unavailability Factor’ = 90.8% ตามข้อมูลของ IAEA) หลายสิบปีมานี้ พลังงานนิวเคลียร์แทบไม่มีการขยายตัวเลยทั่วโลก ไม่เฉพาะญี่ปุ่น
เรียกว่า “ต้นทุนจริง” ของพลังงานนิวเคลียร์ มันไม่ competitive มันแข่งขันไม่ได้กับพลังงานจากเชื้อเพลิงอื่นที่ถูกลงเรื่อย ๆ แถมยังสร้างภาระให้ลูกหลานเหลนโหลน ไม่ต้องพูดถึงความเสียหายหากเกิดอุบติเหคุร้าย กรณีฟูกูชิมะนั้น บรรดา “nuclear refugees” กว่าแสนคนยังกลับบ้านไม่ได้ แม้ผ่านไปห้าปีแล้ว ครอบครัวแตกสลาย แต่คนไทย/หน่วยงานไทยบางคนอยากได้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ งงอะ #วันนี้เอาแค่เรื่องในญี่ปุ่นก่อนนะ

ไม่มีความคิดเห็น: