PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560

บังเอิญ กกต.ชุดนี้ สั่งไม่ได้:สมชัย ศรีสุทธิยากร

สมชัย ศรีสุทธิยากร โพสต์ 5 เหตุการณ์ กกต. แสดงจุดยืนค้านเสียงผู้มีอำนาจ 
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการเลือกตั้ง(กกต.) โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ระบุถึง 5 เหตุการณ์สำคัญการแสดงจุดยืนของกกต. ในประเด็นสำคัญของประเทศ ทั้งภายใต้การบริหารรัฐบาลพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลคสช. โดยมีเนื้อหาระบุดังนี้ 
บังเอิญ กกต.ชุดนี้ สั่งไม่ได้
1. วันที่คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯสมัยรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ มาชี้แจงกับ กกต.ว่ารัฐบาลจำเป็นต้องกู้เงินจาก ธกส. สองหมื่นล้านเพื่อไปชำระหนี้ชาวนา โดยออกว่าจะใช้คืนเมื่อขายข้าวให้จีนได้ กกต.ไม่ให้เนื่องจากขัดรัฐธรรมนูญ เรื่องรัฐบาลรักษาการณ์ไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ วันนั้นรัฐบาลไม่พอใจ กกต. สื่อเลือกข้างจำนวนหนึ่งโจมตี กกต.ว่า คือ เหตุที่ชาวนาขายข้าวไม่ได้เงิน
2. วันที่นายกฯยิ่งลักษณ์ ประชุมร่วมกับ กกต. ต้องการให้ กกต.เดินหน้าเลือกตั้ง ในขณะที่ กกต.เห็นว่า เดินหน้าต่อไปก็นำไปสู่การสูญเสียชีวิตของคนในชาติ และ มีแนวโน้มถูกร้องว่าเป็นโมฆะด้วยเหตุที่ยังไม่สามารถรับสมัครได้ครบทุกเขต ขอให้เลื่อนวันเลือกตั้งออกไปอีก 3 เดือนเพื่อรับสมัครให้ครบและให้สถานการณ์ความขัดแย้งเย็นลง วันนั้นรัฐบาลไม่พอใจ สื่อเลือกข้างจำนวนหนึ่งโจมตี กกต.ว่า ตั้งใจล้มเลือกตั้ง และเป็นแนวร่วมกับผู้ชุมนุม กปปส.
3. วันที่ประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดภาคใต้ 14 จังหวัด ที่ หาดใหญ่ ตัวแทนรัฐบาล คุณวิสาร เตชะธีรวัฒน์ รมช.มหาดไทย เสนอให้ กกต.จัดการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ในวันเดียวกับการเลือกตั้ง ส.ว. กกต.ได้ถามความเห็นผู้ว่า 14 จังหวัด ปรากฏว่า 13 จังหวัดให้ความเห็นว่าไม่สมควร (จังหวัดชุมพร เดินออกจากที่ประชุม) กกต.จึงกำหนดให้เดินหน้าเลือกตั้ง ส.ว. แยกจากการเลือกตั้ง ส.ส. ผลคือ การเลือกตั้ง ส.ว.ในทุกจังหวัดภาคใต้ สำเร็จลงด้วยความเรียบร้อย
4. ช่วงการออกเสียงประชามติ กกต.ได้แสดงความเห็นหลายเรื่องที่ขัดกับ สนช. และ ผู้นำรัฐบาล เช่น ให้ความเห็นว่าการตั้งคำถามพ่วง มีลักษณะชี้นำ ยาว วกวน และใช้ภาษาที่ยากต่อความเข้าใจ ยืนยันว่าการแสดงออกถึงความคิดคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่รุนแรง ไม่บิดเบือน ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่ปลุกระดม เป็นสิ่งที่ทำได้ และพยายามติดต่อให้ กรธ. มาร่วมดีเบตกับฝ่ายที่เห็นต่าง แต่ได้รับการปฏิเสธ
5. ช่วงการร่าง กม.ประกอบรัฐธรรมนูญ กกต.ให้ความเห็นต่อ กม.ลูกอย่างตรงไปตรงมา แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยในหลายเรื่อง เช่น เรื่องคุณสมบัติและวาระการดำรงตำแหน่ง เรื่องผู้ตรวจการการเลือกตั้ง เรื่องการจับสลาก ส.ว.ในการสรรหาระดับจังหวัด และบอกว่า กรธ.ขาดความจริงใจในการรับฟังความคิดเห็น จัดให้เป็นแค่พิธีกรรม และ เอาร่างที่มิใช่ฉบับจริงมารับฟังความคิดเห็น
บังเอิญว่า โครงสร้างใหม่ไม่เหมือนเดิม และ บังเอิญว่าอีกปีสองปี กกต.บางคนจะครบ 70 ปี และบังเอิญว่า กมธ.เห็นว่า ควรให้เซ็ตซีโร่ในวันสุดท้ายของการพิจารณา ก.ม.
ทุกเรื่องล้วนบังเอิญ

ปปง.อายัด ที่ดิน‘บรรณพจน์’พี่ชาย‘หญิงอ้อ’-อาคารบุญรักษา

ปปง.อายัด ที่ดิน‘บรรณพจน์’พี่ชาย‘หญิงอ้อ’-อาคารบุญรักษา

ข่าวทั่วไป  :  1 ชั่วโมงที่ผ่านมา
461
คมชัดลึก, ปปงอายัด, บรรณพจน์, หญิงอ้อ, บรรณพจน์ ดามาพงศ์, ปปง, ดีเอสไอ, อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

ปปง.อายัดทรัพย์ 4 รายการ ที่ดิน“บรรณพจน์ ดามาพงศ์”-อาคารบุญรักษาและที่ดินใกล้เคียง ระบุมีที่มาจากการยักยอกสหกรณ์คลองจั่นฯ


           เมื่อวันที่13มิ.ย. พล.ต.อ.ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.)เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการธุรกรรมครั้งที่11/2560ว่าตามที่ปปง.ได้รับการประสานงานจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) อย่างต่อเนื่องให้ตรวจสอบธุรกรรมและทรัพย์สินของนายศุภชัย ศรีศุภอักษร กับพวกเกี่ยวกับพฤติกรรมการกระทำความผิดเกี่ยวกับการยักยอกเงินของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ในการนำไปลงทุนซื้อที่ดินและหุ้นของบริษัทเอ็ม–โฮมเอสพีวี2จำกัด โดยผิดข้อระเบียบข้อบังคับและวัตถุประสงค์ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นนั้น จากการรวบรวมพยานหลักฐานและตรวจสอบธุรกรรมการทางการเงินดังกล่าว พบว่า เมื่อปี2552 นายศุภชัย ยักยอกเงินของสหกรณ์ฯนำไปลงทุนซื้อสิทธิในการซื้อขายที่ดินในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีและหุ้นของบริษัทเอ็ม–โฮมเอสพีวี2จำกัด โดยผิดข้อระเบียบข้อบังคับและวัตถุประสงค์ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นด้วยวิธีสั่งจ่ายเช็คจำนวน11ฉบับรวมเป็นเงินทั้งสิ้น321,400,000บาท
           อายัดที่ดิน“บรรณพจน์”มีที่มาจากการยักยอก
          เลขาธิการปปง. ระบุด้วยว่า ต่อมาในปี2554 บริษัทเอ็ม–โฮมเอสพีวี2จำกัด ได้แบ่งขายโฉนดที่ดินให้กับนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภรรยานายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งนายบรรณพจน์ได้ทำสัญญาให้นิติบุคคลภายนอกเช่าที่ดินเมื่อปี2559ดังนั้นที่ดินดังกล่าวรวมทั้งสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าที่ดินจึงเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่ถูกเปลี่ยนสภาพมาหลายครั้งซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามมาตรา3แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพ.ศ.2542ที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรมครั้งที่11/2560จึงได้มีมติอายัดทรัพย์สินที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดจำนวน2รายการได้แก่1. ที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่165233เนื้อที่ดิน11ไร่1งาน93.1ตารางวาอำเภอคลองหลวงจังหวัดปทุมธานีพร้อมสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าว2. ที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่161424เนื้อที่ดิน3งาน32.5ตารางวา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
         อายัดอาคารบุญรักษาและที่ดินใกล้เคียง
        พล.ตอ.ชัยยะ เปิดเผยอีกว่า ส่วนกรณีบริษัทเอ็ม–โฮมเอสพีวี2จำกัด ได้ทำสัญญาขายที่ดินให้กับนายอนันต์ อัศวโภคิน จากนั้นนายอนันต์ อัศวโภคิน ได้ขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอกในราคา492,350,250บาทและได้นำเงินไปชำระหนี้ให้บริษัทเอ็ม–โฮมเอสพีวี2จำกัดและหนี้อื่นบางส่วน โดยได้นำเงินส่วนใหญ่จำนวน303,000,000บาทไปบริจาคให้มูลนิธิมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ขนนกยูงเพื่อนำไปก่อสร้างอาคารบุญรักษา ซึ่งหมายความว่าอาคารดังกล่าวถูกปลูกสร้างโดยใช้ทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดที่เปลี่ยนสภาพมาหลายครั้ง
         ดังนั้นอาคารดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามมาตรา3แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพ.ศ.2542ที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรมครั้งที่11/2560ได้มีมติอายัดทรัพย์สินที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดจำนวน2รายการได้แก่1. สิ่งปลูกสร้างอาคารบุญรักษาอาคารค.ส.ล. 6ชั้น(อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก)พื้นที่อาคาร15,634ตารางเมตรและพื้นที่จอดรถที่กลับรถและทางเข้าออกของรถจำนวน1อาคารซึ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่101461และโฉนดที่ดินเลขที่101462อำเภอคลองหลวงจังหวัดปทุมธานี2. สิ่งปลูกสร้างอาคารค.ส.ล. 1ชั้น(อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก)พื้นที่297ตารางเมตรจำนวน1อาคาร ซึ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่101461และโฉนดที่ดินเลขที่101462อำเภอคลองหลวงจังหวัดปทุมธานี
          ทั้งนี้การอายัดอาคารบุญรักษาดังกล่าวเป็นการอายัดทรัพย์สินต่อเนื่องจากคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมที่ย.57/2560เรื่องอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราวเป็นทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์และที่ดินตามโฉนดที่ดินกรณีนางสาวอลิสาอัศวโภคิน ซื้อที่ดินจากนายศุภชัยศรีศุภอักษรจำนวน8แปลงรวมมูลค่ากว่า114ล้านบาทซึ่งจากการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ปรากฏหลักฐานและเชื่อได้ว่านายศุภชัยกับพวกเข้าข่ายการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน

เพิ่มภูมิคุ้มกันประชาธิปไตยเพื่อประชาชน : "ปิด" ช่องทางปฏิวัติ

เพิ่มภูมิคุ้มกันประชาธิปไตยเพื่อประชาชน : "ปิด" ช่องทางปฏิวัติ

ผ่านฉลุยไปแล้วกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งฉบับแรก
ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
มีผลสะเทือนตามมาแน่ คือ “กกต.ชุดนี้ถูกเซ็ตซีโร่”
และตามขั้นตอนเมื่อกฎหมายลูกผ่านที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องหรือ กรธ.พิจารณา
ถ้าศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องหรือกรธ. เห็นว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ให้แจ้งประธาน สนช.ทราบภายใน 10 วันนับแต่วันที่ได้รับร่าง
และให้ สนช.ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 11 คน ประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือประธานองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องและ สนช. และ กรธ.ที่คณะ กรธ.มอบหมาย ฝ่ายละ 5 คน พิจารณาแล้วเสนอต่อ สนช.ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับร่าง เพื่อให้ความเห็นชอบ
ถ้า สนช.มีมติไม่ถึง 2 ใน 3 ให้ถือว่าเห็นชอบตามร่างที่ กรธ.เสนอ กรณี สนช.มี “มติไม่เห็นชอบ” ด้วยเสียงเกิน 2 ใน 3 ให้ร่างเป็นอันตกไป ตามขั้นตอนหากที่ประชุม สนช.ไม่เห็นชอบร่างกฎหมายลูกตามที่ กรธ.เสนอไป และนำไปสู่การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่วมกันแล้ว ที่ประชุม สนช.ยังไม่เห็นชอบอีก
กรธ.ก็ต้องยกร่างใหม่ คราวนี้จะไม่มีระยะเวลากำหนด
ขณะที่ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่เหลือ ทั้งร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ก็จ่อเข้าที่ประชุม สนช.
ในสัปดาห์นี้ ร่าง พ.ร.บ.พรรคการเมืองจะเข้าพิจารณาในวาระ 2-3 โดยหัวใจของกฎหมายต้องการให้เกิดการปฏิรูปการเมือง จะปฏิรูปการเมืองให้สำเร็จได้อย่างไร พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สนช. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.พรรคการเมือง ให้สัมภาษณ์ ทีมข่าวการเมือง ว่า เราต้องการทำให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง
เพราะที่ผ่านมาเผด็จการมีจุดเริ่มต้นจากพรรคการเมือง นำไปสู่เผด็จการรัฐสภา เกิดวิกฤติการเมือง
ถ้าต้องการหลุดพ้นจากวังวนเดิม จะต้องทำให้พรรคการเมืองเชื่อมโยงกับประชาชน โดยส่งเสริมให้สมาชิกพรรคเป็นเจ้าของพรรค โครงสร้างหลักของพรรคการเมือง กรธ.กำหนดให้พรรคการเมืองมีคณะกรรมการบริหารพรรค คณะกรรมการสรรหาของพรรค สาขาพรรคและสาขาตัวแทนพรรคประจำจังหวัด
โดยมีสาขาพรรคอย่างน้อย 4 สาขาประจำภาคต่างๆ ถ้าพรรคไหนมีสาขาเพิ่มขึ้น จะได้รับเงินจากกองทุนพัฒนาการเมืองเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างพรรคการเมืองให้เข้มแข็ง ขณะที่สาขาตัวแทนพรรคประจำจังหวัด กำหนดเอาไว้ชัดเจนเมื่อมีสมาชิกเกิน 100 คนอยู่ในเขตเลือกตั้งไหน จะต้องตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด
พรรคการเมืองไหนจะส่งผู้สมัคร ส.ส. 350 เขต จะต้องมีสาขาพรรคการเมือง ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดรวม 350 เขต เพื่อแต่ละเขตจะพิจารณาส่งผู้สมัคร ส.ส.
จะเห็นภาพชัดเจนว่าผู้สมัคร ส.ส.เขต จะต้องให้สมาชิกพรรคแต่ละเขตมีส่วนร่วมโหวตคัดเลือก ต่อไปผู้สมัคร ส.ส.ทุกคนจะเดินเข้าหาประชาชน แทนที่จะไปง้อนายทุน กมธ.ทำการปลดแอกให้นักการเมืองแล้ว นี่แหละแนวคิดของประชาธิปไตย ซึ่งเกิดจากการขับเคลื่อนประชาธิปไตยตั้งแต่ระดับฐานราก
ส่วน 150 ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ปกติในอดีตนายทุนใหญ่ หัวหน้าพรรค ถูกผู้มีอำนาจภายในพรรควางตัวให้อยู่อันดับต้นๆ ผู้สมัครบางคนประชาชนอาจจะไม่ชอบ แต่ตามกติกาใหม่การวางตัวผู้สมัครจะได้ผู้ที่เหมาะและถูกวางอันดับตามที่คณะกรรมการสรรหาหรือตัวแทนพรรคการเมืองจังหวัดเลือก
ฉะนั้นเมื่อกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ พรรคการเมืองในปัจจุบันจะต้องไปจัดตั้งสาขาพรรค ตัวแทนพรรคการเมืองจังหวัด สมาชิกพรรคเสียค่าบำรุงพรรค ส่วนพรรคการเมืองที่จะตั้งใหม่ มีเวลา 1 ปี 4 เดือนในการเตรียมพร้อม ทันการเลือกตั้งครั้งใหม่แน่นอน
ตรงนี้ฝ่ายการเมืองส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะให้สมาชิกพรรคจ่ายค่าบำรุงสมาชิก พล.อ.สมเจตน์ บอกว่า เมื่อสมาชิกมีความสำคัญ เป็นเจ้าของพรรคตัวจริงเสียงจริง มีอำนาจคัดเลือกผู้สมัคร ส.ส. คราวนี้ใครๆก็อยากเข้ามาเป็นสมาชิก จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งทุนประเดิมของพรรคการเมือง ค่าบำรุงพรรค
แม้ทุนประเดิมถูกโต้แย้งมาตลอด เพราะไปขวางกั้นประชาชนที่มีทุนน้อย แต่ต้องการเล่นการเมือง ตามร่างกฎหมายกำหนดให้พรรคการเมืองมีทุนประเดิมไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท สำหรับคนรวยมองเป็นเงินจำนวนน้อยนิด แต่สำหรับคนที่มีทุนทรัพย์น้อยก็มองว่าเป็นจำนวนเงินมหาศาล กมธ.จึงแก้ไขให้พรรคการเมืองไม่ต้องมีทุนประเดิม เพราะต้องการเปิดให้ประชาชนที่มีอุดมการณ์เดียวกันรวมกลุ่มจัดตั้งพรรคการเมืองได้
แต่ถ้าจะขอเงินสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาการเมือง พรรคการเมืองนั้นต้องลงทุนประเดิมก่อน นำเงินกองทุนพัฒนาการเมือง ซึ่งเป็นภาษีของประชาชนมาใช้ เป็นการป้องกันพรรคที่ตั้งขึ้นมาเพื่อขอทุนพัฒนาการเมือง และถ้าพรรคนั้นจะส่งผู้สมัคร ส.ส.ก็ต้องมีทุนประเดิม เพราะผู้สมัคร ส.ส.มีค่าใช้จ่าย อย่างน้อยที่สุดเป็นหลักประกันว่ามีเงินที่จะสนับสนุนใครลง ส.ส. จะได้ไม่ไปขอจากนายทุนจนตกเป็นขี้ข้าตั้งแต่เริ่มต้น
เช่นเดียวกับพรรคการเมืองในปัจจุบันเกือบ 70 พรรค ต้องมีทุนประเดิม โดยตัดเงินก้อนหนึ่งไปเป็นทุนประเดิม ถ้าพรรคไหนไม่มีเงินก็จัดการให้มีทุนประเดิม เพื่อให้เข้าเงื่อนไขส่งผู้สมัคร ส.ส.ได้
ส่วนจะเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ ขึ้นอยู่ที่ กกต. เมื่อประกาศพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้ง กกต.จะกำหนดค่าใช้จ่ายสำหรับผู้สมัคร ส.ส.ว่าอยู่ในวงเงินไม่เกินเท่าไหร่ เป็นตามสภาพเศรษฐกิจสามารถเปลี่ยนแปลงได้ วงเงินนั่นแหละเป็นทุนประเดิม
ขณะที่ค่าบำรุงพรรค สภาพการเป็นสมาชิกเริ่มต้นตั้งแต่จ่ายค่าบำรุงตามบทเฉพาะกาลในปีแรกไม่น้อยกว่า 50 บาทต่อคน ต่อไปปีละไม่น้อยกว่า 100 บาท และจะสิ้นสภาพถ้าไม่จ่ายค่าบำรุงภายใน 2 ปี
กมธ.ไม่ได้มองที่จำนวนเงินค่าสมาชิก แต่ต้องการให้ได้ผู้ที่ต้องการเป็นสมาชิกเข้ามา โดย กกต.จะอำนวยความสะดวก ไปประสานกับธนาคารของรัฐ ให้สมาชิกพรรคจ่ายเงินผ่านธนาคารได้ เงินเข้าบัญชีของพรรคนั้นๆ กกต.จะรู้ด้วย เพราะระบบเทคโนโลยีสมัยนี้ทำได้แล้ว
นับจากนี้ไปจะรู้ว่าใครเป็นสมาชิกพรรคตัวจริงหรือสมาชิกพรรคตัวปลอม
พรรคการเมืองไหนมีสมาชิกจ่ายค่าบำรุงเยอะ ก็จะได้รับเงินสนับสนุนตามสัดส่วนที่กำหนดไว้จากกองทุนพัฒนาการเมือง ถ้ามีสมาชิกพรรคจ่ายค่าบำรุงน้อยก็จะได้รับเงินสนับสนุนน้อยตามสัดส่วนเช่นเดียวกัน
ทีมการเมือง ถามว่า กติกาพรรคการเมืองฉบับใหม่ เอื้อต่อพรรคการเมืองของทหารที่จะตั้งขึ้นมาอย่างไร พล.อ.สมเจตน์ บอกว่าไม่เอื้อ พรรคทหารตั้งใหม่ก็ต้องทำอย่างพรรคการเมืองทั่วๆที่จะตั้งขึ้นมาใหม่ ถ้าจะมาพูดถึงทหารเล่นการเมืองต้องแยกออกจากประเด็นนี้ เดี๋ยวจะเข้าใจผิด
กระบวนการทั้งหมดที่น่าสนใจ คือ พรรคใหญ่ พรรคเก่า ไม่ได้เปรียบพรรคเล็ก พรรคใหม่ แม้คนใหญ่ที่มีทุนหนาได้เปรียบคนเล็กอยู่เสมอ ไม่ว่ากติกาจะเป็นอย่างไร แต่อย่าไปดูถูกพรรคเล็ก เพราะเคยเกิดขึ้นในสมัยพรรคไทยรักไทย ตั้งพรรคแค่ปีกว่าได้เป็นรัฐบาล แล้วตรงไหนละที่มันได้เปรียบ ทั้งหมดอยู่ที่การเตรียมการและอยู่ที่วิธีคิด
ทั้งหมดจะแก้ไขปัญหาวิกฤติการเมืองก่อนวันที่ 22 พ.ค.57 เพราะเมื่อพรรคการเมืองขับเคลื่อน จะไปกระตุ้นประชาธิปไตยฐานราก ยิ่งประชาชนเข้าไปเป็นเจ้าของพรรค ยิ่งทำให้นักการเมืองทำดีเพื่อประชาชน
เมื่อนักการเมืองดี สุดท้ายทหารก็ไม่ปฏิวัติ นี่แหละเป็นยาสูตรเด็ดป้องกันการปฏิวัติ
ทีมข่าวการเมือง ถามว่า ทำไมทหารไม่เหมาะที่จะเล่นการเมือง พล.อ.สมเจตน์ บอกว่า ทหารเป็นคนพูดจริง ทำจริง พูดน้อย ก้มหน้าก้มตาทำงาน ประชาชนจึงไม่ค่อยรู้ จึงตกเป็นช่องให้อีกฝ่ายหนึ่งนำจุดเล็กๆมาโจมตีได้
ตามประวัติศาสตร์ทหารไม่เหมาะกับการเมือง ซึ่งเห็นมาหลายครั้งแล้ว และที่ผ่านมาวงจรอำนาจของไทยมีสามวงที่สำคัญ คือ ทหารกลัวประชาชน ประชาชนกลัวนักการเมือง นักการเมืองกลัวทหาร สิ่งที่พิสูจน์ได้ชัดเจนประชาชนใช้คนมากมายเท่าไร ล้มนักการเมืองไม่ได้ แต่ทหารใช้กำลังคนไม่เท่าไรก็ยึดนักการเมืองได้
ฉะนั้นวันนี้ฐานของประเทศคือประชาชน นักการเมืองเมื่อได้รับอำนาจแล้วจะต้องบริหารประเทศด้วยความชอบธรรม ครั้งต่อไปประชาชนจะเลือกเข้ามาเอง รับรองไม่มีการเรียกร้องทหารให้ออกมาปฏิวัติ
เมื่อนักการเมืองมีพฤติกรรมดี
จะป้องกันการปฏิวัติได้ดีที่สุด.
ทีมการเมือง

ปี่กลองเร้าเอาไม่อยู่

ปี่กลองเร้าเอาไม่อยู่

สุดยอด กับการมอบความสุขให้คนไทยทั้งประเทศ
ปรบมือดังๆให้ “โปรเม” เอรียา จุฑานุกาล นักกอล์ฟสาวไทย โชว์วงสวิงเวิลด์คลาส คว้าแชมป์ศึกแอลพีจีเอ ทัวร์ รายการ “มานูไลฟ์ แอลพีจีเอ คลาสสิก” ที่ประเทศแคนาดา
ขยับขึ้นแท่นเบอร์หนึ่งของโลกอย่างเต็มภาคภูมิ
ไม่เสียแรงที่ “นายกฯลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้า คสช. เพิ่งสวมบท “เชียร์ลีดเดอร์” ชื่นชมผ่านรายการศาสตร์พระราชาฯช่วงสุดสัปดาห์
เป็นตัวแทนคนไทยทุกคนชื่นชมความสำเร็จของ “โปรเม” และให้กำลังใจเพื่อประสบความสำเร็จสูงสุดในอนาคต เป็นแรงบันดาลใจให้รุ่นน้องๆเจริญรอยตาม
โดย “ลุงตู่” ยกเอากรณี “โปรเม” บอกให้สื่อช่วยกันเสนอข่าวในเชิงสร้างสรรค์
ไม่ใช่พากันปั่นกระแส “เปรี้ยวหั่นศพ”
เรื่องของ “โปรเม” น่าจะครองพื้นที่สื่อกระแสหลักไปอีกพักใหญ่
ในบรรยากาศทางการเมืองก็กำลังยกระดับความเข้มข้นขึ้นตามเงื่อนไขสถานการณ์ช่วงปลายโรดแม็ป ท้ายเทอมรัฐบาลทหาร คสช.
ตามจังหวะคืบหน้าของ “กฎหมายลูก” ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งเริ่มทยอยคลอดออกมา ล่าสุด พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เซ็ตซีโร่ไปเรียบร้อย จ่อคิวด้วย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
เรื่องของเรื่อง โดยเงื่อนไขสถานการณ์เร้าๆ มันห้ามไม่ได้ที่นักการเมืองจะเริ่มขยับ
กลับมาแสดงตัวแสดงตนให้กองเชียร์เห็นว่ายังมีชีวิตอยู่
ตามท้องเรื่องล่าสุดที่ระเบิด “ขลัง” กว่าคำสั่งหัวหน้า คสช.
กับปรากฏการณ์ที่อดีต ส.ส. นัดปาร์ตี้สังสรรค์กันที่โรงแรมดังย่านลาดพร้าว แต่วงแตกกระเจิงไปก่อน เพราะเจอมุกของเจ้าหน้าที่ตำรวจอ้างเหตุพลเมืองดีแจ้งเหตุพบวัตถุต้องสงสัยคล้ายระเบิดในห้องจัดเลี้ยง แต่ภายหลังไม่พบอุปกรณ์ประกอบระเบิดแต่อย่างใด
ไล่กันแบบเนียนๆ ล้มโต๊ะกันแบบบัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่น
เป็นอะไรที่รู้เหลี่ยมกันดี งานนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจกับทหารก็ต้องทำตามสัญญาณของหน่วยเหนือ ต้องสกัดไม่ให้นักการเมืองกระทำการขัดหูขัดตาผู้ใหญ่ คสช.
ขอกันดีๆคงไม่มีใครฟัง ก็ต้องอ้างระเบิดไล่กันดื้อๆ
ขณะที่นักการเมืองเองก็พอเดาทางได้ว่าอะไรเป็นอะไร แต่เมื่อได้เป็นข่าวอยู่ในกระแสแล้วก็ถือว่าเข้าเป้า แยกย้ายกันกลับบ้านใครบ้านมัน เพราะรู้กันอยู่แก่ใจว่ามันขัดกฎเหล็กห้ามทำกิจกรรมทางการเมือง
แต่ก็ไม่วายส่งซิกนัดกันใหม่ รอบหน้าจงใจเหยียบปลายจมูกกันที่สโมสรทหารบกเลย
แบไต๋ชัดๆ ให้ไล่ตามสกัดกันเอาเอง
ในอารมณ์แบบที่ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและ รมว.กลาโหม คำรามเสียงเขียว ตอนนี้เราต้องการให้อยู่เฉยๆกันก่อน
คสช.ยังไม่ปลดล็อกให้ทำกิจกรรมใดๆทั้งนั้น
แต่ก็เชื่อได้เลย เผลอเป็นขยับก็แล้วกัน
เพราะถึงนาทีนี้ อาการแหยงกฎเหล็ก คสช. มันน้อยกว่าอารมณ์กลัวตกขบวนรถไฟ
ในเมื่อบรรยากาศมันเข้าโหมดไฟต์บังคับตามเงื่อนไขสถานการณ์ โดยความจำเป็นที่นักการเมืองอาชีพต้องมีการขยับ “ปั่นราคา” ตัวเอง
โชว์ตัวให้ “นายหน้า” ได้เห็นว่ายังไม่แขวนนวม
ยิ่งเป็นอะไรที่ล้อกับกระแสข่าวการตั้งป้อมค่ายรองรับสูตรรัฐบาลผสม พรรคนอมินีทหาร พรรคนอมินี “นายใหญ่” ที่จะสลับค่ายกลหลบแรงเสียดทาน
“ดีมานด์” ความต้องการขุนพลสู้ศึกต้องมากตามรูปการณ์
โดยเฉพาะสูตรเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมตามกติการัฐธรรมนูญใหม่ ทุกคะแนนมีความหมาย เพิ่มมูลค่าให้มวยรองเกรดบี เกรดซี เกรดดี เพราะมันคือแต้มที่จะนำไปนับปาร์ตี้ลิสต์
“นกแล” หรือ “นกอินทรี” มีค่าตัวด้วยกันทั้งนั้น.
ทีมข่าวการเมือง

"อำนาจ" ต้องใช้ให้มันถูกต้อง และต้องใช้ให้เป็น

"อำนาจ" ต้องใช้ให้มันถูกต้อง และต้องใช้ให้เป็น.....
นายกฯ บิ๊กตู่ เผยจะใช้. ม.44 แก้ปัญหา เรื่องรถไฟ จีน ยางพารา และพลังงาน ในสัปดาห์ หน้า. ไม่อย่างนั้นติดขัดเรื่องกม. และทำให้ดูว่า ไม่มีความคืบหน้าในโครงการ ยัน ต้องใช้อำนาจ ให้มันถูกต้อง และใช้ให้เป็น

"นายกฯบิ๊กตู่" ติง ให้ความสำคัญกับ 4 คำถามของผมมากไปหรือเปล่า

"นายกฯบิ๊กตู่" ติง ให้ความสำคัญกับ 4 คำถามของผมมากไปหรือเปล่า ผมไม่ได้บอกว่าประชาชนจะต้องมา Like ทั้ง 6 ล้านคน มันไม่ใช่ จะกี่ล้าน ผม ไม่รู้ จะคนเดียวหรือ 10 คน ผมก็รับฟัง มี 100 คนก็รับฟัง 100 คน ว่าเขาว่ายังไง

หลังประชุม ครม. วันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เรื่องการเมืองครั้งแรกใน2 สัปดาห์โดยใช้เวลา 27 นาที
กรณีการเปิดให้ประชาชนตอบ 4 คำถามของนายกรัฐมนตรี นั้น พลเอกประยุทธ์ กล่าวว่า ทุกคนให้ความสำคัญกับ 4 คำถามของผมมากไปหรือเปล่า ผมไม่ได้บอกว่าประชาชนจะต้องมาไลท์ทั้ง 6 ล้านคน มันไม่ใช่ จะกี่ล้าน ผม ไม่รู้ จะคนเดียวหรือ 10 คน ผมก็รับฟัง มี 100 คนก็รับฟัง 100 คน ว่าเขาว่าอย่างไร
แต่ผมได้ถามคำถามว่าจะเลือกตั้งเร็วหรือไม่เร็ว ไม่ได้ถามแบบนั้น เลือกตั้งก็เป็นไปตามกระบวนการอยู่แล้ว ขั้นตอนกฎหมายมีอยู่ แล้วจะไปถามทำไม จะให้เลือกตั้งเร็วกว่าเดิมอะไรนั้น ผมไม่ได้สนใจ
“อย่าไปเป็นเครื่องมือของใครเขานั่นแหละสำคัญ วันนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องการทำโพล การกด Like เห็นหรือไม่ที่มีการจับชาวต่างด้าว ที่ไปตั้งกันอยู่จังหวัดสระแก้ว เพื่อรับจ้างกดLike ปัดโธ่ฉะนั้นคุณไม่ต้องมาไลท์ให้ผม เพราะผมไม่เชื่อหรอก
ในวันนี้เงินจ้างได้หมด เทคโนโลยีไปไกล ถ้าไปให้ความสำคัญในการสร้างความรับรู้ทางโซเชี่ยลอย่างเดียวคงไม่ได้ มันต้องสร้างอย่างที่ผมพยายามจะพูด ซึ่งอาจจะไม่มีใครเขาพูดกัน อาจจะเข้าใจบ้างหรือไม่เข้าใจบ้าง ฟังไม่ครบหรือพูดไม่จบ” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

"การเป็นนายกฯ ไม่ใช่เรื่องเหนื่อย หรือไม่เหนื่อย แต่มันเป็นความ ห่วง กังวล ทุกเรื่อง

"การเป็นนายกฯ ไม่ใช่เรื่องเหนื่อย หรือไม่เหนื่อย แต่มันเป็นความ ห่วง กังวล ทุกเรื่อง จะทำยังไง แก้ยังไง ....แล้วนำความกังวล มาสู่การปฏิบัติ ไม่ใช่กังวล แล้ว นอนเฉยๆ ผมว่า นายกฯทุกคนคงเป็นแบบนี้ ไม่ใช่ว่า ผมกังวลมากกว่าคนอื่น แต่ผมกังวล แล้วต้องแก้ไขให้ได้..."
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา 13มิย.2560

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้ปัญหาหลายเรื่องนายกฯแก้คนเดียวไม่ได้ การที่นายกฯแก้ปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้าวและยาง นายกฯจะแก้โดยการตั้งทำงานพิเศษขึ้นมาซึ่งหลายภาคส่วน นายกฯเพียงแต่ริเริ่มอันไหนที่รู้มาจากสื่อ ก็เอาไปสั่งการว่าเรื่องนี้ว่ากันอย่างไร ให้เขาตอบคำถามให้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นในบ้านเมืองของเรา
"การเป็นนายกฯไม่ใช่เหนื่อยหรือไม่เหนื่อย แต่เป็นเรื่องของความห่วงกังวล และนายกฯห่วงกังวลทุกเรื่อง คนที่เป็นนายกฯอาจจะเป็นแบบนี้ "
ห่วงประชาชนผู้มีรายได้น้อย เกษตรกรจะทำจะอยู่กันอย่างไร เศรษฐกิจประเทศจะเป็นอย่างไร ค่าเงินบาทลดลง แข็งขึ้น หรืออ่อนตัว ขาดแคลนน้ำจะทำอย่างไร แม้น้ำท่วมกรุงเทพฯ ผมก็กังวล ฝนตกทุกครั้งก็กังวล นั่นคือหน้าที่ของนายกฯที่ต้องกังวล และนำข้อกังวลมาสู่การปฏิบัติ ขับเคลื่อนนโยบาย นำปัญหาเดิม ปัญหาใหม่ และปัญหาวันข้างหน้า ซึ่งจะต้องทำทั้งวันนี้และทำเผื่อวันข้างหน้า โดยคิดมาตรการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ที่จะมีมากขึ้นตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคน สาธารณสุข การศึกษา
“ผมไม่อาจจะกล่าวอ้างว่าผมกังวลมากกว่าคนอื่น หรือคนอื่นอาจจะมากกว่าผม แต่ผมจะต้องนำไปสู่การปฏิบัติ กังวลแล้วนอนเฉย ๆ มันไม่ได้ ผมนำทุกปัญหามาแก้ไขทั้งหมด บางปัญหาที่เล็ก ๆ ก็ต้องให้ผู้ปฏิบัติเขาทราบ ไม่เช่นนั้นผมคงต้องสั่งเองทั้งหมด ผมคงไม่ต้องมีรัฐมนตรี กระทรวง
การเป็นรัฐบาลมันมีนายกฯคนเดียวทำได้หรือไม่ มันไม่ได้หรอก การทำงานต้องทำด้วยระบบข้าราชการหลายล้านคน วันข้างหน้าถ้าจะลดข้าราชการก็ต้องสร้างความเข้มแข็งในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคสังคม ธุรกิจ และประชาชนเข้มแข็ง เพื่อให้เขาเดินเองได้ ขณะที่รัฐบาลก็คอยดูเรื่องการกระจายรายได้ ซึ่งจะทำให้รัฐบาลเบาแรงไปเยอะ ผลประโยชน์และความโปร่งใสจะชัดเจนขึ้น ทุกคนจะมีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศ บริหารประเทศ เพราะประชาธิปไตยประชาชนมีสิทธิ มีเสียง และต้องฟังเสียงส่วนใหญ่ ว่าอย่างไรก็ไปตามนั้นก่อน” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

"การเป็นนายกฯ ไม่ใช่เรื่องเหนื่อย หรือไม่เหนื่อย แต่มันเป็นความ ห่วง กังวล ทุกเรื่อง จะทำยังไง แก้ยังไง ....แล้วนำความกังวล มาสู่การปฏิบัติ ไม่ใช่กังวล แล้ว นอนเฉยๆ ผมว่า นายกฯทุกคนคงเป็นแบบนี้ ไม่ใช่ว่า ผมกังวลมากกว่าคนอื่น แต่ผมกังวล แล้วต้องแก้ไขให้ได้..."
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา 13มิย.2560
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้ปัญหาหลายเรื่องนายกฯแก้คนเดียวไม่ได้ การที่นายกฯแก้ปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้าวและยาง นายกฯจะแก้โดยการตั้งทำงานพิเศษขึ้นมาซึ่งหลายภาคส่วน นายกฯเพียงแต่ริเริ่มอันไหนที่รู้มาจากสื่อ ก็เอาไปสั่งการว่าเรื่องนี้ว่ากันอย่างไร ให้เขาตอบคำถามให้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นในบ้านเมืองของเรา
"การเป็นนายกฯไม่ใช่เหนื่อยหรือไม่เหนื่อย แต่เป็นเรื่องของความห่วงกังวล และนายกฯห่วงกังวลทุกเรื่อง คนที่เป็นนายกฯอาจจะเป็นแบบนี้ "
ห่วงประชาชนผู้มีรายได้น้อย เกษตรกรจะทำจะอยู่กันอย่างไร เศรษฐกิจประเทศจะเป็นอย่างไร ค่าเงินบาทลดลง แข็งขึ้น หรืออ่อนตัว ขาดแคลนน้ำจะทำอย่างไร แม้น้ำท่วมกรุงเทพฯ ผมก็กังวล ฝนตกทุกครั้งก็กังวล นั่นคือหน้าที่ของนายกฯที่ต้องกังวล และนำข้อกังวลมาสู่การปฏิบัติ ขับเคลื่อนนโยบาย นำปัญหาเดิม ปัญหาใหม่ และปัญหาวันข้างหน้า ซึ่งจะต้องทำทั้งวันนี้และทำเผื่อวันข้างหน้า โดยคิดมาตรการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ที่จะมีมากขึ้นตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคน สาธารณสุข การศึกษา
“ผมไม่อาจจะกล่าวอ้างว่าผมกังวลมากกว่าคนอื่น หรือคนอื่นอาจจะมากกว่าผม แต่ผมจะต้องนำไปสู่การปฏิบัติ กังวลแล้วนอนเฉย ๆ มันไม่ได้ ผมนำทุกปัญหามาแก้ไขทั้งหมด บางปัญหาที่เล็ก ๆ ก็ต้องให้ผู้ปฏิบัติเขาทราบ ไม่เช่นนั้นผมคงต้องสั่งเองทั้งหมด ผมคงไม่ต้องมีรัฐมนตรี กระทรวง
การเป็นรัฐบาลมันมีนายกฯคนเดียวทำได้หรือไม่ มันไม่ได้หรอก การทำงานต้องทำด้วยระบบข้าราชการหลายล้านคน วันข้างหน้าถ้าจะลดข้าราชการก็ต้องสร้างความเข้มแข็งในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคสังคม ธุรกิจ และประชาชนเข้มแข็ง เพื่อให้เขาเดินเองได้ ขณะที่รัฐบาลก็คอยดูเรื่องการกระจายรายได้ ซึ่งจะทำให้รัฐบาลเบาแรงไปเยอะ ผลประโยชน์และความโปร่งใสจะชัดเจนขึ้น ทุกคนจะมีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศ บริหารประเทศ เพราะประชาธิปไตยประชาชนมีสิทธิ มีเสียง และต้องฟังเสียงส่วนใหญ่ ว่าอย่างไรก็ไปตามนั้นก่อน” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

"บิ๊กป้อม" สงสัย ไม่รู้จริงรึเปล่า? อดีตสส.อิสาน ร้อง มีทหาร ส่ง4คำถามของนายกฯ ให้ตอบถึงบ้าน



"บิ๊กป้อม" สงสัย ไม่รู้จริงรึเปล่า? อดีตสส.อิสาน ร้อง มีทหาร ส่ง4คำถามของนายกฯ ให้ตอบถึงบ้าน ยัน คสช. ไม่มีนโยบายให้ทหารเอา4 คำถาม ไปให้ประชาชน ตอบถึงบ้าน
จากกรณีที่ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร อดีตส.ส.เพื่อไทย ร้องเรียนทหาร ว่า ทหาร กองทัพภาค 2 บุกถึงบ้าน‬ โดยเอา4 คำถาม ของนายกฯ ไปให้ตอบถึงบ้าน
พลเอกประวิตร กล่าวว่า ไม่มีใครสั่ง ทำกันเอง แล้วไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า ด้วย
พร้อมยืนยันว่า คสช. ไม่มีนโยบาย ส่งคำถาม ไปให้ตอบถึงบ้าน แต่ให้ออกมาตอบที่ ศูนย์ดำรงธรรม หรือที่ แต่ละจังหวัด จัดไว้

"นายกฯบิ๊กตู่" บอก จากนี้ใครมา กด like ให้ผม

"นายกฯบิ๊กตู่" บอก จากนี้ใครมา กด like ให้ผม ....ผมไม่เชื่อแล้ว หลังจากจับ "ต่างด้าว" แถวสระแก้ว รับจ้าง กดLike 555555

หลังประชุม ครม. วันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เรื่องการเมืองครั้งแรกใน2 สัปดาห์โดยใช้เวลา 27 นาที
กรณีการเปิดให้ประชาชนตอบ 4 คำถามของนายกรัฐมนตรี นั้น พลเอกประยุทธ์ กล่าวว่า ทุกคนให้ความสำคัญกับ 4 คำถามของผมมากไปหรือเปล่า ผมไม่ได้บอกว่าประชาชนจะต้องมาไลท์ทั้ง 6 ล้านคน มันไม่ใช่ จะกี่ล้าน ผม ไม่รู้ จะคนเดียวหรือ 10 คน ผมก็รับฟัง มี 100 คนก็รับฟัง 100 คน ว่าเขาว่าอย่างไร
แต่ผมได้ถามคำถามว่าจะเลือกตั้งเร็วหรือไม่เร็ว ไม่ได้ถามแบบนั้น เลือกตั้งก็เป็นไปตามกระบวนการอยู่แล้ว ขั้นตอนกฎหมายมีอยู่ แล้วจะไปถามทำไม จะให้เลือกตั้งเร็วกว่าเดิมอะไรนั้น ผมไม่ได้สนใจ
“อย่าไปเป็นเครื่องมือของใครเขานั่นแหละสำคัญ วันนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องการทำโพล การกด Like เห็นหรือไม่ที่มีการจับชาวต่างด้าว ที่ไปตั้งกันอยู่จังหวัดสระแก้ว เพื่อรับจ้างกดLike ปัดโธ่ฉะนั้นคุณไม่ต้องมาไลท์ให้ผม เพราะผมไม่เชื่อหรอก
ในวันนี้เงินจ้างได้หมด เทคโนโลยีไปไกล ถ้าไปให้ความสำคัญในการสร้างความรับรู้ทางโซเชี่ยลอย่างเดียวคงไม่ได้ มันต้องสร้างอย่างที่ผมพยายามจะพูด ซึ่งอาจจะไม่มีใครเขาพูดกัน อาจจะเข้าใจบ้างหรือไม่เข้าใจบ้าง ฟังไม่ครบหรือพูดไม่จบ” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

วิเคราะห์ระดับความขัดแย้งทางการเมืองไทยด้วย Big Data

พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม เรื่อง

โลกปัจจุบันกำลังเต็มไปด้วยข้อมูลที่หลั่งไหลด้วยปริมาณมหาศาล (volume) มีความรวดเร็วสูง (velocity) ในรูปแบบที่มีทั้งความหลากหลาย (variety) และท้าทายความน่าเชื่อถือ (veracity) ตัวอย่างที่ครอบคลุมคุณลักษณะหลักทั้ง 4 ประการของ Big Data นี้ คงจะหนีไม่พ้นข้อมูลข่าวสารของสื่อต่างๆ (news media) ที่ทุกวันนี้สามารถเข้าถึงผู้คนจากหลายช่องทาง
อยากให้ลองนึกถึง ‘ถังข้อมูล’ ที่เก็บบันทึกเหตุการณ์ของทั้งโลกไว้ในที่เดียวอย่างเป็นระบบ โดยรวบรวมข่าวที่เกิดขึ้นจากทุกมุมโลกในทุกภาษา จากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์จำนวนมาก แล้วเปิดกว้างให้ผู้คนสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ (open access) เพื่อทำความเข้าใจถึงความเชื่อมโยงและความเป็นไปของปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมโลกในมิติต่างๆ
นี่คือแนวคิดของโครงการที่เรียกว่า The GDELT Project
ในบทความนี้ ผู้เขียนจะนำฐานข้อมูลเหตุการณ์บางส่วนมาย้อนดู ‘ทศวรรษแห่งความขัดแย้งทางการเมือง’ ของประเทศไทย รวมถึงทดลองวิเคราะห์ถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจมหภาคจากการ ‘แบ่งขั้วแยกข้าง’ ของกลุ่มการเมืองในสังคมไทย

GDELT Project คืออะไร


GDELT เป็นคำย่อมาจาก Global Database of Events, Language and Tone ซึ่งเป็นฐานข้อมูลข่าวขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ผู้ให้กำเนิด GDELT คือ Kalev H. Leeraru หนึ่งใน Top 100 Global Thinkers ปี 2013 ของวารสาร Foreign Policy โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Google Jigsaw และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลนี้จาก Google BigQuery platform

GDELT and Google BigQuery: Understanding the World



ฐานข้อมูลเหตุการณ์ของ GDELT ประกอบด้วยสองส่วนสำคัญ คือ GDELT Event Database 1.0 ซึ่งรวบรวมจากข้อมูลข่าวรายวันประมาณ 250 ล้านเหตุการณ์ทั่วโลก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 เป็นต้นมา และ GDELT Event Database 2.0 ซึ่งเป็นข้อมูลระดับ Real time ที่อัพเดททุก 15 นาที จากรายงานข่าว 65 ภาษาทั่วโลก (รวมทั้งภาษาไทย)
ข้อมูลที่อยู่ในถังทั้งสองนี้ไม่ได้อยู่ในรูปแบบเนื้อข่าวดิบๆ แต่เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หลากหลาย ทั้งในด้านการแปลงข้อความภาษาท้องถิ่นให้เป็นภาษาอังกฤษ และการใช้โปรแกรมแยกแยะประเภทของเหตุการณ์ ซึ่งมีจุดเด่นสำคัญอยู่ที่เหตุการณ์ทางการเมือง

ความขัดแย้งทางการเมืองในสหรัฐอเมริกา


ก่อนใช้ฐานข้อมูล GDELT มาวิเคราะห์กรณีประเทศไทย ผู้เขียนจะลองทดสอบวัดระดับความขัดแย้งทางการเมืองในสหรัฐอเมริกาดูเสียก่อน เนื่องจากในอดีตเคยมีการจัดทำและเผยแพร่ดัชนีความขัดแย้งทางการเมือง (Partisan Conflict Index) ด้วยข้อมูลข่าวโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อความ (Textual analytics) เช่นเดียวกัน จึงน่าสนใจว่าการวิเคราะห์ด้วยฐานข้อมูล GDELT จะให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงหรือแตกต่างจากงานศึกษาที่ผ่านมาอย่างไร

ภาพที่ 1 : ระดับความขัดแย้งทางการเมืองในสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1979-2016)
ภาพที่ 1 แสดงระดับการประท้วงทางการเมืองตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 เป็นต้นมา ทั้งที่มาจาก GDELT ซึ่งผู้เขียนคำนวณเอง (เส้นสีน้ำเงิน) และดัชนีความขัดแย้งทางการเมืองที่คำนวณอยู่ในงานวิชาการของ Marina Azzimonti (2014) ซึ่งเผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ Federal Reserve Bank of Philadelphia (เส้นสีเหลือง)
จะเห็นได้ว่า ผลการคำนวณมีความแตกต่างกันในช่วงแรก แต่ในช่วงหลังจากปี ค.ศ. 2008 เป็นต้นมา ดัชนีทั้งสองแบบเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน โดยแสดงให้เห็นว่าความขัดแย้งทางการเมืองในสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งอาจจะอธิบายความไม่แน่นอนทางนโยบายเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้น (อ่านบทความ เศรษฐศาสตร์ว่าด้วย “ความไม่แน่นอน” ของผู้เขียนประกอบ)

ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย


การแบ่งขั้วแยกข้างทางการเมืองเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จนอาจเรียกได้ว่าเป็น ‘ทศวรรษแห่งความขัดแย้งทางการเมือง’ และส่งผลกระทบในวงกว้างต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ
ที่ผ่านมา ความขัดแย้งทางการเมืองในไทยมีหลายระดับ เช่น การแสดงออกผ่านการถกเถียงในระบบรัฐสภาตามครรลองประชาธิปไตย การไม่ลงรอยกันระหว่างกลุ่มการเมืองต่างๆ นอกรัฐสภา จนนำไปสู่การชุมนุมทางการเมือง และลุกลามเป็นการก่อความไม่สงบ การใช้มาตรการปราบปรามโดยรัฐ และความรุนแรงทางการเมือง รวมถึงการรัฐประหาร
คำถามที่สำคัญคือ ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองของไทยส่งผลอย่างไรและมากน้อยเพียงใดต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 
จะตอบคำถามนี้ได้ ต้องเริ่มต้นด้วยการหามาตรวัดระดับความไร้เสถียรภาพทางการเมืองว่ามีมากน้อยเพียงใด จากนั้นจึงสามารถประมาณการถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจได้ แม้ว่าที่ผ่านมาได้มีหน่วยงาน โดยเฉพาะองค์การระหว่างประเทศ จัดทำดัชนีวัดเป็นรายปี แต่ความถี่ของข้อมูลอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ดังนั้นเราอาจจำเป็นต้องหามาตรวัดที่มีความละเอียดสูงขึ้น
ผู้เขียนและศิริรัตน์ สนใจ นิสิตคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงริเริ่มนำฐานข้อมูล GDELT มาวัดความความขัดแย้งทางการเมืองโดยใช้ Google BigQuery Platform ดัชนีนี้ให้ความสำคัญกับระดับการประท้วงทางการเมืองในไทยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 เป็นต้นมา โดยคำนึงถึงเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ ดังแสดงผลการคำนวณในภาพที่ 2

ภาพที่ 2 : ระดับความขัดแย้งทางการเมืองในไทย (ค.ศ. 1979-2017)
ผู้เขียนใช้ข้อมูล ‘จำนวนรายงานข่าวการประท้วงต่อจำนวนรายงานข่าวทั้งหมด’ เป็นตัวแทนการวัดระดับความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศไทย จากภาพที่ 2 จะพบว่า เหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม ค.ศ. 1992 มีความขัดแย้งรุนแรงมากที่สุด จากนั้น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 เป็นต้นมา การประท้วงในไทยปะทุขึ้นเป็นช่วงๆ อย่างค่อนข้างต่อเนื่อง และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนเกิดรัฐประหารในปี ค.ศ. 2014

ความขัดแย้งทางการเมืองกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ


ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากปัญหาความไร้เสถียรภาพทางการเมืองเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจทางวิชาการมาโดยตลอด การศึกษาในกรณีของต่างประเทศมักแสดงให้เห็นถึงผลกระทบเชิงลบของความไร้เสถียรภาพทางการเมืองต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงประจักษ์
งานศึกษาเรื่องนี้ในระยะแรกให้ความสำคัญกับปัญหาในเชิงสถาบัน ซึ่งส่งผลผ่านประสิทธิภาพของการกำหนดนโยบาย กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย การลดแรงจูงใจของการลงทุนโดยเฉพาะโครงการระยะยาวที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น ดังนั้น ความขัดแย้งทางการเมืองจึงถูกมองเป็นปัจจัยเชิงสถาบันอย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลระยะยาวต่อศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจ
งานศึกษาเหล่านี้ส่วนใหญ่จะทำในลักษณะของการวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลของหลายประเทศ และให้ความสำคัญกับประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งปัญหาความขัดแย้งสะท้อนผ่านวิกฤตการณ์ทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม งานศึกษาในช่วงหลังได้ให้ความสำคัญกับการวัดระดับความไม่แน่นอนทางนโยบายเศรษฐกิจ (Economic policy uncertainty) ที่มีมิติเชื่อมโยงกับความไม่แน่นอนทางการเมือง (Political uncertainty) และการแบ่งขั้วแยกข้างทางการเมือง (Political polarization) โดยให้ความสำคัญกับผลกระทบในประเทศพัฒนาแล้วมากขึ้น
ในกรณีของประเทศไทย งานศึกษาของ Sonjai (2017) ได้วัดผลกระทบของความขัดแย้งทางการเมืองต่อเศรษฐกิจด้วยแบบจำลองทางเศรษฐมิติ (ที่เรียกว่า Vector Autoregression) และพบว่า ความขัดแย้งทางการเมืองผ่านระดับความรุนแรงของการประท้วงได้ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
ภาพที่ 3 แสดง ‘การตอบสนอง’ (Response) ของตัวแปรทางเศรษฐกิจ เมื่อเกิดการปะทุขึ้นของระดับการประท้วง (+1 standard deviation shock) โดยตัวแปรทางเศรษฐกิจที่นำมาพิจารณาคือ GDP และส่วนประกอบหลักของ GDP คือ การบริโภค (CONSUMP) การลงทุน (INVEST) การนำเข้า (IMPORT) และการส่งออก (EXPORT) แกนตั้งแสดงขนาดการปรับตัวเป็นร้อยละที่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเส้นแนวโน้ม (HP trend) ส่วนแกนนอนแสดงเวลารายไตรมาส

ภาพที่ 3 : การตอบสนองของตัวแปรทางเศรษฐกิจ เมื่อเกิดการประท้วง
    ที่มา: Sonjai (2017)

จากภาพที่ 3 จะเห็นว่า เมื่อการประท้วงเกิดขึ้นทันทีจะทำให้ GDP ลดลงไปจนถึงจุดต่ำสุดที่ไตรมาสที่สาม จากนั้นจะค่อยๆ ปรับตัวอย่างช้าๆ จนเข้าสู่สมดุล
ส่วนภาพที่แสดงการตอบสนองของการบริโภค การลงทุน การนำเข้า และการส่งออก จะเห็นได้ว่ามีระดับการตอบสนองในเชิงลบต่อการประท้วงในขนาดที่แตกต่างกัน โดยพบว่า การนำเข้าและการลงทุนได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด เมื่อเทียบกับการส่งออกและการบริโภคตามลำดับ

ก้าวต่อไปของดัชนีความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทย


ขณะนี้ ผู้เขียนและยุทธนา เศรษฐปราโมทย์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กำลังพยายามพัฒนาดัชนีวัดระดับความไม่แน่นอนทางการเมือง (Political uncertainty index) โดยใช้ข้อมูลจากข่าวหนังสือพิมพ์ในไทยเป็นหลัก รวมถึงผลกระทบของความไม่แน่นอนทางการเมืองต่อระบบเศรษฐกิจและตลาดการเงิน ด้วยหวังว่าจะนำเสนอแนวทางการวัดที่หลากหลายและสามารถสะท้อนสภาวการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทยในมิติต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ดัชนีความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทยที่ผู้เขียนกำลังทำวิจัยอยู่พัฒนามาจากวิธีการของ Baker, Bloom and Davis (ดังที่ได้อธิบายไว้ในบทความ เศรษฐศาสตร์ว่าด้วย “ความไม่แน่นอน”) ซึ่งใช้ข้อมูลรายงานข่าวที่เกี่ยวเนื่องกับความไม่แน่นอนทางการเมืองใน 5 ด้าน คือ
(1) ข่าวความขัดแย้งจากการชุมนุมของกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง
(2) ข่าวการใช้มาตรการของรัฐในการดูแลหรือยับยั้งปัญหาความขัดแย้งที่อาจทวีความรุนแรงขึ้น เช่น การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน การออกกฎอัยการศึก เป็นต้น
(3) ข่าวการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตามวิถีประชาธิปไตย เช่น การยุบสภา การเลือกตั้ง เป็นต้น
(4) ข่าวการรัฐประหาร
(5) ข่าวการเปลี่ยนแปลงระบบและโครงสร้างทางการเมือง เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การปฏิรูปการเมือง เป็นต้น
งานวิจัยชิ้นดังกล่าวนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ (www.pier.or.th) ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อแล้วเสร็จในอนาคตอันใกล้ ผู้เขียนจะนำมาเล่าสู่กันฟังต่อไป

อ้างอิง
Luangaram, Pongsak and Yuthana Sethapramote (2017). “The Price of Political Uncertainty in Thailand”. Work in progress. Funded by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research (PIER).
Azzimonti, M. (2017). “Partisan Conflict and Private Investment”. Prepared for the Carnegie-Rochester-NYU Conference, April 2017.
Sonjai, Sirirut (2017). “Measuring the Economic Impact of Political Protest by Using the Global Database of Events, Language and Tone (GDELT)”. Mimeo. Chulalongkorn University.

ดูเพิ่มเติม

ชาวบ้านตกใจ! ทหาร8นายรถ2คัน บุกบ้านอดีตส.ส.เพื่อไทย แค่ให้ตอบ4ข้อนายกฯ

ชาวบ้านตกใจ! ทหาร8นายรถ2คัน บุกบ้านอดีตส.ส.เพื่อไทย แค่ให้ตอบ4ข้อนายกฯ


นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีต ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่ทหารจากกองทัพภาคที่ 2 นำคำถาม 4 ข้อของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มาให้ตอบถึงที่บ้าน ซึ่งตนได้รับเกียรติโดยไม่ต้องเดินทางไปถึงที่ว่าการอำเภอเพราะ พล.อ.ประยุทธ์ให้ลูกน้องเดินทางมาพบถึงที่พัก โดยนำคำถาม 4 ข้อมาให้ตอบ ซึ่งข้อ 1.ถามว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่ ตนตอบว่าไม่ทราบ เพราะยังไม่รู้ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไร 2.หากไม่ได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลจะทำอย่างไร ตนตอบว่าก็ต้องเคารพการตัดสินใจของประชาชนจากผลการเลือกตั้งที่ออกมา 3.ถามว่าการเลือกตั้งอย่างเดียวที่ไม่คำนึงถึงอนาคตของไทยและเรื่องอื่นๆ นั้น เป็นความคิดที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง
นายยุทธพงศ์กล่าวอีกว่า ตนตอบไปว่าการเลือกตั้งเป็นหลักพื้นฐานสำคัญของประเทศไทย เพราะไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ส่วนเรื่องการปฏิรูปอยากถามรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ว่า 3 ปีที่ผ่านมาปฏิรูปไปถึงไหนแล้ว และ 4.ที่ถามว่ากลุ่มการเมืองที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม สมควรได้เข้ามาสู่การเลือกตั้งหรือไม่ ได้ตอบว่าทุกอย่างขึ้นกับผลการเลือกตั้งตามกติกาภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ปี 2560 และทุกฝ่ายต้องยอมรับผลการเลือกตั้งที่ออกมาเพื่อให้ประเทศชาติเกิดความสงบและเดินหน้าต่อไปได้ ทั้งนี้ บ้านพักตนอยู่ตรงข้ามตลาดสด ซึ่งมีทหารกว่า 8 คน เต็มอัตราศึก พร้อมรถจี๊ปทหาร 2 คันรถบุกมา ทำให้ชาวบ้านตกใจอย่างมากว่าเกิดอะไรขึ้น อีกทั้งเรื่องนี้ พล.อ.ประยุทธ์ระบุเองว่าคำถาม 4 ข้อไม่ได้ถามนักการเมือง แต่ถามประชาชน ก็แปลกใจว่าทำไมมาถามถึงที่บ้าน ทั้งที่มีการระบุอยู่แล้วว่าให้ประชาชนเข้าไปแสดงความคิดเห็นผ่านศูนย์ดำรงธรรม
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเนื้อหาในหนังสือได้ระบุถึงคำถาม 4 ข้อ และระบุชัดเจนว่าให้หน่วยรายงานการเข้าพบปะบุคคลเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบโดยให้นำประเด็นคำถาม 4 ข้อไปถึงนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร อดีต ส.ส.พรรค พท. ถ้าอยู่ในพื้นที่ อ.พยัคฆภูมิพิสัย ก็ขอเข้าพบก่อนที่จะกลับกรุงเทพฯ