PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

“Islamist terrorism” ว่า “กลุ่มก่อการร้ายอิสลาม”



สิ่งที่ปธน.ฝรั่งเศสแถลง กรณี ‪#‎NiceAttack‬ คือ “it’s France as a whole which is threatened by Islamist terrorism.” (https://www.youtube.com/watch?v=X8JxD1pKIws นาที 2.13) ซึ่งในทวิตนี้แปล “Islamist terrorism” ว่า “กลุ่มก่อการร้ายอิสลาม”
สื่อไทยต้องแยกให้ออกระหว่าง Islam กับ Islamism มันไม่เหมือนกัน คำหลังเป็นคำที่เกิดใหม่ ใช้ในความหมายที่เป็น “political Islam” หมายถึงกลุ่มที่อ้างหลักการคำสอนของอิสลามเพื่อปฏิบัติการทางการเมือง คำว่า “Islamist” ที่ฟรังซัว ออลลองต์ใช้ มาจากคำว่า “Islamism” (ก่อนหน้านี้ David Cameron ก็เคยใช้คำนี้ในลักษณะที่เป็น “Islamist extremism” เมื่อปีที่แล้ว)
ความแตกต่างคือ อิสสาม (Islam) เป็นศาสนา ส่วน Islamism หรือ Islamist เป็นความต้องการที่จะเอาคำสอนทางอิสลามที่ตนเองเชื่อมาบังคับให้คนอื่นเชื่อตามไปด้วย ปรากฏออกมาในรูปการใช้ความรุนแรงและการก่อการร้ายที่เราเห็น บางทีเรียกว่า Jihadism หรือ Jihadist ก็มี ส่วนที่คนที่เป็นอิสลามหรือมุสลิมทั่วไป เขาไม่ได้จะไปยัดเยียดศาสนาให้ใครโดยใช้ความรุนแรง
Islam กับ Islamism จึงไม่เหมือนกัน เช่นเดียวกับตอนที่ปธน.ฝรั่งเศสพูดว่า “Islamist terrorism” ก็ไม่ควรแปลว่า “กลุ่มก่อการร้ายอิสลาม” เพราะมัน “เหมารวม” กระทบไปถึงศาสนาและผู้คนที่นับถือศาสนานั้นโดยรวม แต่ควรแปลว่าอย่างไร ต้องช่วยกันคิด หรือไม่ก็ควรใส่เป็นคำภาษาอังกฤษไว้ก่อน เพื่อไม่ให้คนเข้าใจผิด
(เพิ่ม) ในภาษาฝรั่งเศส Hollande พูดว่า “C'est toute la France qui est sous la menace du terrorisme islamiste.” (http://bit.ly/29IrRkq)
ชัดเจนว่าเขาไม่ได้หมายถึง Islam ที่เป็นคำทั่วไป
อธิบายความแตกต่างระหว่าง Islam กับ Islamism ย่อ ๆ http://metro.co.uk/…/whats-the-difference-between-islam-and…

ความคลางแคลง สงสัย จดหมายปลอม ความสงสัยจาก ‘นักข่าว’ ภาคสนาม

ท่าทีของ “ผู้สื่อข่าว” ในสนามต่อการปรากฏขึ้นอย่างอึกทึกของจดหมาย “ปลอม”
น่าศึกษา
น่าศึกษาว่าเหตุใดพวกเขาจึงมองข้ามบทบาทของ 1 พรรคเพื่อไทย และ 1 นปช.ไปอย่างอัตโนมัติ
ตรงกันข้าม ตั้งแง่สงสัยไปยัง “ทหาร”
เห็นได้จากคำถามที่พุ่งตรงไปยัง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
จากนั้นก็ถามไปยัง พ.อ.ปิยพันธุ์ กลิ่นพันธุ์
คนแรก คุมงานด้านความมั่นคง คนหลังเป็นทีมโฆษกผู้เอาการเอางานแห่งคสช.
ทำไมไม่ถาม นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
ซึ่งนอกจากเคยเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแล้วยังเป็นอดีตส.ส.จากพื้นที่เชียงใหม่
ทำไมจึงเล็งเป้าไปยัง “ทหาร”

ตรงนี้ต้องลองเข้าไปนั่งใน “หัวใจ” ของ “นักข่าว” ซึ่งคร่ำหวอดอยู่กับกระแสในทางการเมือง
1 พื้นที่เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง
รู้กันอยู่ว่าเป็นพื้นที่ที่ “ประชาชน”ให้ความนิยมต่อพรรคเพื่อไทยมาโดยตลอด
ไม่นิยมธรรมดา หากนิยม “ยกจังหวัด”
แทบไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่จะต้องทำจดหมาย”ปลอม”ส่งไปเพื่อโน้มน้าวและจูงใจอีก
“ของตาย” อยู่แล้ว
1 ลักษณะของจดหมาย”ปลอม”นั้นส่อพิรุธหลายอย่างให้เกิดความสงสัย
เรื่องนี้จำเป็นต้องจำแนก แจกแจง

เริ่มตั้งแต่ “ซองจดหมาย” ซึ่งเป็น “ตราครุฑ” จำนวนมากมายเป็นหมื่นฉบับเช่นนี้
ใช่ว่าจะหามาได้อย่างง่ายดาย
ตามมาด้วยลักษณะการจ่าหน้าซอง ไม่ว่าจะจ่าโดยไม่ระบุว่าเป็นใคร
สร้างข้อสงสัยให้ตั้งแต่ต้น
ยิ่งกว่านั้น ยิ่งเมื่อมีการเปิดเผยโดย”ทหาร”ว่า เป็นรายชื่อของแกนนำต่างๆ ที่เคยเคลื่อนไหวทางการเมือง
ถามว่าจำเป็นด้วยหรือที่จะต้องส่งให้ “แกนนำ”
ขณะเดียวกัน ปรากฏว่าจดหมายส่วนใหญ่ส่งมาจากพื้นที่เขตดุสิต กทม. มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ส่งมาจากเชียงใหม่
การปลอมครั้งนึ้จึงกลายเป็นของแปลก
เป็นของแปลกกระทั่งสร้างความคลางแคลงสงสัยในหมู่”นักข่าว”ในภาคสนาม
จนต้องถาม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
จนต้องถาม พ.อ.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์
แล้วทุกคนก็ถอนหายใจด้วยความโล่งเมื่อได้รับการปฏิเสธ
 ที่มา:http://www.matichon.co.th/news/212807

สถาบันกษัตริย์ญี่ปุ่น เทพเจ้าที่ไร้อำนาจ?

ข่าวลือเรื่องการสละราชสมบัติของจักรพรรดิญี่ปุ่น ทำให้คนไทยหันมาสนใจเรื่องราวของราชวงศ์ญี่ปุ่น ราชวงศ์ที่สืบทอดมายาวนานที่สุดในโลก และเป็นจักรพรรดิองค์เดียวในโลกยุคปัจจุบัน แต่จักรพรรดิทรงเป็นเพียงตำแหน่งเทพเจ้าที่ไร้อำนาจ เปรียบเหมือน "นกน้อยในกรงทอง"

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวในโลกปัจจุบันที่ยังมีสมเด็จพระจักรพรรดิ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ มีเพียงพระมหากษัตริย์

ความแตกต่างระหว่างสมเด็จพระจักรพรรดิกับพระมหากษัตริย์ อยู่ที่พระราชอำนาจในการปกครองในอดีต กล่าวคือ สมเด็จพระจักรพรรดิมีพระราชอำนาจเหนือจักรวรรดิ เช่น จักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิจีน จักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิออสเตรีย ฯลฯ ส่วนพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจเหนือรัฐหรือประเทศ เช่น ประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับสมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่น

สมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นในรัชกาลปัจจุบัน นับเป็นรัชกาลที่ 125 สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อเนื่องมาในพระราชวงศ์เดียว ข้อนี้ถือเป็นความพิเศษของสถาบันสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น ในจักรวรรดิอื่นๆ มีการต่อสู้แย่งชิงพระราชบัลลังก์ ผลัดเปลี่ยนพระราชวงศ์ไม่รู้กี่ครั้งแล้วก็ล่มสลายไป ในขณะที่พระราชวงศ์ญี่ปุ่นยืนยงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

แต่จักรพรรดิไม่ได้ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาด ทรงมีสถานะเป็นเทพเจ้าในร่างมนุษย์ เป็นผู้นำทางศาสนา อาจจะถึงขั้นว่าเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ แต่อำนาจการปกครองตกอยู่ในมือของโชกุนและเจ้าเมือง

โชกุนไม่ปลงพระชนม์สมเด็จพระจักรพรรดิ เพราะสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นเทพในความเชื่อของคนญี่ปุ่น การปลงพระชนม์จะทำให้ผู้คนลุกฮือขึ้นต่อต้าน แต่การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดอยู่ในวิสัยที่กระทำได้ ขอแค่พระองค์ไม่ขัดขืนอำนาจของโชกุน พระองค์ก็จะทรงเป็นที่เคารพสักการะต่อไปได้เรื่อยๆ

อำนาจการปกครองญี่ปุ่นกลับมาอยู่ในพระราชอำนาจของสมเด็จพระจักรพรรดิอีกครั้งภายหลังการปฏิรูปรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ ญี่ปุ่นจึงกลายเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์และเป็นจักรวรรดิอย่างแท้จริง ในยุคเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนารัฐ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สำเร็จในไทยจากการปฏิรูป รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
จักรพรรดิเมจิ ผู้ทรงสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นในญี่ปุ่น ทรงมีนโยบายการปฏิูปประเทศให้ทันสมัย รวมอำนาจเข้าสู่สถาบันกษัตริย์เช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในช่วงเวลาประมาณ 100 ปีหลังจากนั้น สถาบันสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นได้รับการพัฒนาอย่างถึงขีดสุด สถานะของพระองค์ถูกขับเน้นความสำคัญมากขึ้นในฐานะของผู้สืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้า ได้รับสิทธิขาดในการปกครองเหนือจักรวรรดิทั้งมวล ทรงอยู่เหนือคนธรรมดา เวลาพูดจาต้องใช้ภาษาพิเศษ คนธรรมดาจะแตะต้องพระวรกายไม่ได้ แม้แต่จะยืนทับพระฉายาของพระองค์ก็ไม่ได้ เป็นบาปหนัก

ช่วงต้นสมัยโชวะ เชื่อกันว่าสมเด็จพระจักรพรรดิทรงมีมหิทธานุภาพมาก คนธรรมดาจะมองพระองค์โดยตรงไม่ได้ รัศมีของพระองค์จะทำให้ตาบอด หากพระองค์เสด็จผ่านที่ใด ประชาชนต้องก้มหน้ามองดิน

ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม สหรัฐฯเข้ามาจัดการการเมืองภายในญี่ปุ่น ตอนแรกก็มองว่าสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะเป็นอาชญากรสงคราม แต่การจับกุมพระองค์ไปลงโทษ อาจทำให้คนญี่ปุ่นกว่าค่อนประเทศฆ่าตัวตายตามพระองค์ เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายจนสหรัฐฯจะควบคุมญี่ปุ่นได้ยาก แต่จะให้สมเด็จพระจักรพรรดิมีพระราชอำนาจมากอย่างเมื่อก่อนนี้ก็ไม่ได้

ในปีถัดจากสงครามโลกยุติลง สหรัฐฯจึงสั่งให้สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะทรงประกาศยอมรับว่าพระองค์ไม่ได้เป็นเทพ พระองค์ทรงเป็นคนเดินดินธรรมดา ไม่ต่างจากประชาชนโดยทั่วไป

สมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น ทรงเป็นที่เคารพสักการะ อยู่เหนือการเมือง ในขณะเดียวกันก็ต้องอยู่ภายใต้การกำกับควบคุมของรัฐบาล จะทรงทำอะไรเองตามพระราชหฤทัยไม่ได้ หากจะเสด็จออกมหาสมาคมหรือมีพระราชดำรัสออกสื่อก็ต้องส่งร่างให้รัฐบาลตรวจ จะเสด็จไปไหนมาไหนก็ต้องแจ้งให้รัฐบาลทราบ ไม่ต่างจากในยุคโชกุน

สถาบันสมเด็จพระจักรพรรดิในสมัยโชวะ อยู่ก้ำกึ่งระหว่างความจังรักภักดีและความเกลียดชังครับ คนส่วนใหญ่น่าจะยังจงรักภักดีต่อสถาบันฯ ในขณะที่คนกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม เช่น ในโอะกินะวะและไซปัน ก็มองสถาบันในแง่ลบ สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะไม่ได้รับการต้อนรับจากคนในพื้นที่นั้นเลยตลอดรัชสมัยของพระองค์

สถานะของสถาบันฯ เพิ่งเริ่มฟื้นตัวอีกครั้งในช่วงปลายสมัยโชวะ ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยเฮเซ (รัชกาลปัจจุบัน) สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะทรงพยายามใกล้ชิดกับประชาชนนับตั้งแต่ครั้งแรก ที่ขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระราชดำรัสด้วยถ้อยคำธรรมดา เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย แตกต่างจากสมเด็จพระบรมชนกนาถที่แม้ประกาศพระองค์เป็นปุถุชน แต่ยังตรัสด้วยภาษาที่เข้าถึงยากสำหรับคนทั่วไป
จักรพรรดิอะกิฮิโตะและจักรพรรดินีมิชิโกะ เสด็จเยี่ยมประชาชนที่ประสบภัยจากแผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อปี 2011
 สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะเสด็จเยี่ยมเยือนประชาชนในภูมิภาคต่างๆ โดยจะทรงประทับบนพื้นเสมอกับประชาชนธรรมดา ทรงยอมรับความผิดของพระราชวงศ์ญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกด้วยการตรัสแสดงความ รับผิดชอบต่อความสูญเสียของทุกฝ่าย แม้พระราชจริยจัตรของพระองค์ไม่ได้ช่วยลบภาพความโหดร้ายของญี่ปุ่นในยุคนั้น แต่ก็ช่วยให้สถานะของสถาบันฯ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม
จักรพรรดิอะกิฮิโตะและจักรพรรดินีมิชิโกะ ทรงกล่าวยอมรับความผิดพลาดของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง

จนถึงตอนนี้ คนรุ่นใหม่ที่เกิดมาในสมัยเฮเซ อาจไม่ได้เคารพสักการะสมเด็จพระจักรพรรดิเสมือนเทพเหมือนอย่างเมื่อก่อน แต่ก็ยังมีคนที่คิดว่าพระองค์เป็นสัญลักษณ์ที่สืบทอด “ความเป็นญี่ปุ่น” ต่อเนื่องจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน คนญี่ปุ่นส่วนหนึ่งมองว่าสถาบันฯ กับประเทศญี่ปุ่นมีอายุเท่ากัน เป็นตัวแทนของกันและกันได้ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปก็เหมือนว่า “ญี่ปุ่น” ไม่ครบองค์

เรียบเรียงจากบทความในแฟนเพจ ญี่ปุ่นโดยสังเขป : Japan in a Nutshell
ที่มา : http://news.voicetv.co.th/world/388869.html