PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สถานการณ์ข่าว20/2/58

เวทีสัมปทาน21

เริ่มแล้ว! เวทีถกสัมปทานเปิดปิโตรเลียม รอบ 21 ขณะภาคประชาชน ติดสติ๊กเกอร์คัดค้านบนหน้าอกเสื้อ

บรรยากาศการจัดเวทีเดินหน้าประเทศไทยเพื่อความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืน ที่ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ล่าสุด ได้เริ่มขึ้นแล้ว ตั้งแต่เวลา 09.30 น. ที่ผ่านมา โดยมี หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้ยื่นเจตจำนงในการจัดเวที โดยการหารือจะแบ่งเวลาให้ภาครัฐและภาคประชาชน
ฝ่ายละ 1 ชั่วโมง 30 นาที  โดยภาครัฐที่เข้าร่วมบนเวที ประกอบด้วย นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน  นายมนูญ ศิริวรรณ สมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ นายศิริพงษ์ ศุภกิจจานุสรณ์
นักวิชาการอิสระด้านกฎหมาย และ นายบรรยง พงษ์พานิช ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ

ขณะที่ ภาคประชาชนที่เห็นต่าง อาทิ นางสาวรสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฎิรูปด้านพลังงาน  นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  หม่อมหลวง กรกสิวัฒน์ เกษมศรี นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน และ นายนพ สัตยาศัย นักวิชาการอิสระ พร้อมกันนี้ ภาคประชาชนบางส่วนที่ได้เข้าร่วมรับฟัง ได้มีการติดสัญลักษณ์ คัดค้านหมายเลขที่ 21  บริเวณหน้าอกด้านขวาด้วย ซึ่งประชาชนทั่วไป สามารถแสดงความคิดเห็นว่า เห็นด้วยหรือไม่ กับการเดินหน้าสำรวจแหล่งพลังงานของรัฐบาล โดยส่งความคิดเห็นไปได้ที่เบอร์โทร 1111
----------------
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หวังถกเวทีพลังงานร่วมหาทางออก ขอทุกฝ่ายคำนึงผลกระทบหากชะลอหรือเดินหน้า

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเวที เดินหน้าประเทศไทย เพื่อความมั่งคงทางพลังงานที่ยั่งยืน ว่า ในวันนี้อยากเห็นทั้ง 2 ฝ่าย ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อ

ประชาชนอย่างชัดเจนว่า ทิศทางพลังงานจะเป็นอย่างไรโดยก่อนหน้านี้ ทางรัฐบาลได้รวบรวมปัญหาและข้อมูลเพื่อชี้แจงในประเด็นต่าง ๆ แต่เบื้องต้นจะมีการสรุปเป็น 2 ข้อ คือเรื่องกฎหมายที่ยัง

มีช่องโหว่หรือไม่ และความยั่งยืนทางพลังงานใน 7 อีก ถึง 10 ปี จะเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 ฝ่าย จะต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากกรณีการเดินหน้าสัมปทานรอบที่ 21 และ

การชะลอออกไปว่า ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น

ขณะที่ นายกรัฐมนตรี ได้มีความเป็นห่วงในการหารือในวันนี้ โดยอยากให้การหารือดังกล่าวตอบข้อสงสัยของสังคมว่า ความยั่งยืนของพลังงานจะเป็นอย่างไร รวมทั้งให้แยกแยะเหตุผลและข้อเท็จ

จริง เพื่อให้ประเทศสามารถเดินหน้าต่อไปได้
------------------
"อภิสิทธิ์" ห่วงปัญหาพลังงานในอนาคตถูกผูกขาดโดยเอกชนหลังเปิดสัมปทาน รอบ 21 เชื่อ วิธีหารือช่วยตอบโจทย์สังคมได้

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเหตุที่ต้องมีการถกประเด็นข้อสงสัยของภาคประชาชนต่อข้อมูลของภาครัฐ ว่า การจัดสรรทรัพยากรของประเทศไทยมีความไม่โปร่งใส ซึ่งใน

ธุรกิจพลังงานมีการผูกขาดสูง ดังนั้นภาครัฐจะต้องกำกับดูแลการทำงานของภาคเอกชน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ เนื่องจากที่ผ่านมาราคาพลังงานในตลาดโลกปรับตัวลดลงกว่า
ครึ่งหนึ่งแต่ประเทศไทยยังคงใช้พลังงานแพงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในเวทีการถกปัญหาเสวนา เรื่องการต่อสัมปทาน รอบที่ 21 หรือไม่นั้นจะมีการหารือในยุทธศาสตร์ เพื่อตอบโจทย์ทั้งประสิทธิภาพพลังงาน ความมั่นคงด้านพลังงานและความเป็น

ธรรมในการบริหารจัดการด้านพลังงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตกอยู่กับประเทศชาติและประชาชน
-----------------------
บรรยากาศการจัดเวทีเดินหน้าประเทศไทยเพื่อความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืน ล่าสุด "ธีระชัย" ห่วงราคาพลังงานลด เอกชนชะลอสำรวจสัมปทาน

บรรยากาศการจัดเวทีเดินหน้าประเทศไทยเพื่อความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืน ที่ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ล่าสุด ได้เริ่มต้นด้วยทางฝั่งของภาคประชาชนที่เห็นต่าง โดย นายธีระชัย ภูวนาถ

นรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า จากการที่กระทรวงพลังงานได้มีประกาศการยื่นสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รอบที่ 21 โดยมีนโยบายที่รัฐเจรจากับผู้ผลิต
ภายใน 4 ปี ซึ่งสามารถนำระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) หรือระบบบริหารจัดการอื่น มาใช้สำหรับพื้นที่ 3 แปลง ในอ่าวไทยได้

ซึ่งภาคประชาชนมีความเป็นห่วงว่าการดำเนินการดังกล่าวถือเป็นการผลักภาระให้กับรัฐบาลในอนาคต และเมื่อมีการพิจารณาปรับเปลี่ยนจากระบบสัมปทานไปใช้ระบบ PSC แล้ว การแบ่งปันผล

ประโยชน์ให้กับรัฐ จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและการเจรจากับภาคเอกชนรายนั้น ทำให้เกิดความกังวลถึงความโปร่งใส รวมถึงผลประโยชน์ที่รัฐจะได้รับอาจสูญหายไปได้ ซึ่งมองว่า ขณะนี้ราคา

พลังงานได้ปรับลด ภาคเอกชนจึงสามารถชะลอกำลังผลิตลงได้ และรอให้ราคาพลังงานปรับขึ้น จากนั้นจึงเริ่มการผลิต และเป็นโอกาสที่ภาครัฐในการแก้กฎหมาย ตั้งกติกา สำหรับการเปิด

สัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ให้แล้วเสร็จเรียบร้อยก่อน ซึ่งเชื่อว่าระบบ PSC เป็นระบบที่มีการประมูลแข่งขันของภาคเอกชน และจะทำให้เกิดสัดส่วนทางผลประโยชน์ให้ประเทศสูงสุด
-------------------------
รองปลัดพลังงาน ยัน ปริมาณก๊าซในประเทศไทย จะหมดลงในอีก 7 ปีข้างหน้า หากไม่เปิดสัมปทานรอบ 21 

นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวในเวทีเสวนาพลังงาน เพื่อตอบข้อซักถามของ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ว่า ปริมาณก๊าซใน

ประเทศไทยนั้น จะหมดลงในอีก 7 ปี ข้างหน้า หากไม่มีการเปิดสัมปทาน ซึ่งสะท้อนได้จากความต้องการใช้พลังงานที่ 1.8 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อปี โดยการเปิดสัมปทานครั้งที่ผ่านมา หรือ ครั้งที่

20 มีการให้สิทธิสำรวจแปลงปิโตรเลียมทั้งหมด 28 แปลง แต่มีเพียงแปลงเดียวเท่านั้น ที่มีปริมาณการผลิตปิโตรเลียม สูงถึง 50,000 ลูกบาศก์ฟุตต่อปี ส่วนข้อเสนอของภาคประชาชนที่ต้องการให้

เปลี่ยนไปใช้ระบบ PSC นั้น เนื่องจากมองว่า รัฐสูญเสียรายได้ภาษีจะไม่สามารถแก้ไขวิธีหลักเกณฑ์บางข้อได้ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องรีบแก้ไขพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปีโตรเลียมทั้งฉบับ ซึ่งเรื่องดัง

กล่าวจะต้องมีการศึกษาและสำรวจให้เหมาะสมก่อน
------------------
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยัน กฎหมาย พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 เหมาะสมกับไทย ย้ำปิดยื่นสิทธิ์สำรวจถึง 16 มี.ค.

นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวยืนยันว่า กฎหมาย พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นกฎหมายที่มีความเหมาะสมกับศักยภาพของประเทศมากที่สุด

และมีการปรับปรุงมาแล้ว 5 ครั้ง ซึ่งช่วยสร้างประโยชน์ให้ประเทศสูงสุด ส่วนกรณีการเห็นต่างจากภาคประชาชนในบางมาตรา พ.ร.บ.ที่ทำให้รัฐสูญเสียประโยชน์นั้น ขณะนี้ สภาปฏิรูปแห่งชาติ

อยู่ระหว่างการแก้ไข พร้อมยืนยันว่า ก๊าซธรรมชาติในประเทศ หากไม่มีการเร่งสำรวจหรือมีการชะลอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม จะส่งผลให้กระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงาน และทำให้ต้องนำ

เข้าพลังงานจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น และจะส่งผลต่อค่าไฟฟ้าที่จะมีราคาแพงขึ้น  

ทั้งนี้ คาดหวังว่าเวทีเดินหน้าประเทศไทย เพื่อความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืน ในวันนี้จะเป็นบทสรุปสุดท้าย และทำให้ประชาชนได้รับความเข้าใจสิ่งที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเปิดสัมปทานมากขึ้น ซึ่ง

การกำหนดปิดรับภาคเอกชนในการยื่นสิทธิ์สำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 21 ยังคงกำหนดในวันที่ 16 มีนาคม นี้ตามเดิม
-------------------------
"รสนา" ชี้ รัฐควรแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ประเทศมีทางเลือกมากขึ้น ก่อนที่จะเปิดสัมปทานรอบที่ 21 

นางสาวรสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวในเวทีเดินหน้าประเทศไทย เพื่อความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืน ว่า ทางรัฐบาลควรจะต้องแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ประเทศมีทางเลือกมาก

ขึ้นก่อนที่จะเปิดสัมปทานรอบที่ 21 โดยมองว่าจะต้องแก้ไขเรื่องกฎหมายภาษี เพราะหากมีข้อพิพาทหรือประชาชนได้รับผลกระทบ จะต้องใช้อนุญาโตตุลาการมาตัดสิน ซึ่งทางรัฐบาลจะไม่
สามารถคุ้มครองและปกป้องสิทธิของประชาชนได้ นอกจากนี้ ภาคประชาชน ยังเกิดความสงสัยในการที่รัฐบาลเร่งเปิดสัมปทานรอบที่ 21 นี้

ทั้งนี้ อยากให้รัฐบาลพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ โดยหากกังวลว่า กฎหมายพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 จะแก้ไขไม่ทัน ก็เสนอให้สามารถออกพระราชกำหนดก่อนได้
-----------------------------
รองปลัดกระทรวงพลังงาน เผย การใช้อนุญาโตตุลาการเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุน เชื่อการขุดเจาะไม่กระทบสิ่งแวดล้อม 

นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวในเวทีเดินหน้าประเทศไทยเพื่อความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืน ว่า ในหลายประเทศไม่ว่าจะดำเนินการในรูปบแบบสัมปทาน หรือ แบบ

แบ่งปันผลผลิต ก็ใช้อนุญาโตตุลาการเป็นหลัก เนื่องจากเป็นสิ่งที่สร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุน และบทบัญญัติทางสิ่งแวดล้อมก็ได้บัญญัติไว้ว่าต้องฟังความคิดเห็นจากประชาชน แต่การสำรวจ

พื้นที่การขุดเจาะมีหลายรูปแบบและเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม และรัฐไม่มีหน้าที่ในการขุดเจาะ เนื่องจากเป็นหน้าที่ของเอกชน

ด้าน นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุถึงการให้สัมภาษณ์ของ นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า

ทางกระทรวงพลังงานยืนยันที่จะเดินหน้าเปิดสัมปทาน รอบที่ 21 ต่อไป ขณะที่ทางเวทีการพูดคุยยังไม่เสร็จสิ้นและยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนถึงแนวทางที่จะเดินหน้าด้านพลังงาน
--------------------------
อดีตรัฐมนตรีฯ คลัง "ธีระชัย" สรุปเวทีถกสัมปทาน รอบ 21 ระบุ ภาคประชาชนชงประชามติแก้กฎหมายก่อนลุยปิโตรเลียม

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวสรุปในเวทีเดินหน้าประเทศไทย เพื่อความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืน ว่า ภาคประชาชนต้องการให้รัฐบาลตัดสินแก้ไข

กฎหมาย เพื่อไม่ให้มีช่องว่าง ซึ่งจะทำให้เกิดกติกาที่เหมาะสม มีความเป็นธรรม และให้ภาคเอกชนสามารถแข่งได้อย่างแท้จริง รวมทั้งควรแยกกันสำรวจปิโตรเลียม ออกจากการทำสัมปทาน เพื่อไม่

ให้มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ อย่างไรก็ตาม มองว่า รัฐบาล ควรจะมีการจัดทำประชามติ หรือ โพลสำรวจ ว่าประชาชนเห็นด้วยกับการแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมก่อนมี

การสำรวจสัมปทานรอบที่ 21 หรือไม่

ด้าน ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากการหารือในวันนี้นั้น จะมีการสรุปเรื่องทั้งหมดเพื่อให้นายกรัฐมนตรีทราบ เพื่อวางแนวทางในการดำเนินงานของรัฐบาล

ต่อไป
--------------------------
ภาคประชาชน เสนอ 8 ข้อหลัก ให้ภาคปิโตรเคมีอุตสาหกรรมจ่ายค่าไฟในอัตราที่สูงกว่าประชาชน หลังใช้ไฟมากกว่า 

แพทย์หญิงกมลพรรณ ชีวพันธุ์ศรี แกนนำเครือข่ายปฏิรูปพลังงาน กล่าวในหารือเวทีเดินหน้าประเทศไทยเพื่อความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืน ช่วงบ่าย โดยได้เสนอ 8 ประเด็นในเวทีหารือประกอบ

ด้วย ควรแก้ไขให้ภาคอุตสาหกรรมและภาคปิโตรเคมีจ่ายค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูงกว่าภาคประชาชน เนื่องจากใช้ไฟฟ้ามากกว่าประชาชน 2.รัฐบาลควรจัดทำประชามติ เนื่องจากฝ่ายประชาชนยังไม่

เห็นด้วยในหลาย ๆ ด้าน และยังไม่ได้ชี้แจงผ่านสื่อหลักใดๆ เลย 3.หากจะทำประชามติควรชี้แจงข้อมูลและทำความเข้าใจกับประชาชนก่อนที่จะดำเนินการ 4.ควรให้ข้าราชการลงสัตยาบันกับ

องค์การสหประชาชาติ ห้ามไปเป็นคณะกรรมการในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 5.การลงสัตยาบันต่างๆ ต้องผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 6.ควรคำนึงถึงเรื่องอธิปไตยของประเทศเป็นหลัก 7.การขุดเจาะ

ปิโตรเลียมแต่ละหลุมควรติดตั้งมิเตอร์วัดข้อมูลปริมาณก๊าซ เพื่อป้องกันการรั่วไหลของผลประโยชน์ และ 8.ให้แก้ไขกฎหมายและสำรวจไปพร้อมกัน
---------------------------
พล.อ.ประวิตร ไม่กังวลถกสัมปทานปิโตรเลียม ยัน รัฐบาลมีเจตนาดี ยึดประโยชน์ชาติ จ่อทำโพลหากไร้ข้อสรุป

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผยถึงการเปิดเวทีเดินหน้าประเทศไทยเพื่อความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืนและ

สถานการณ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย ว่า ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง และยังไม่มีรายงานกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ ส่วนการเปิดเวทีพลังงานในวันนี้ เพื่อให้ข้อสงสัยของทุกฝ่ายตกผลึก ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์

โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องแก้ปัญหาในทุกเรื่อง ขณะเดียวกันยืนยันว่า รัฐบาลมีเจตนาที่ดีต่อบ้านเมือง

อย่างไรก็ตาม หากเวทีพูดคุยในวันนี้ ไม่ได้ข้อสรุป จะต้องทำโพลเพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชน และหากกลุ่มต่อต้านไม่ยอมรับ จะต้องยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติ เป็นหลักให้มี

ความมั่นคง
----------------------
ม.ล.ปนัดดา เวทีเดินหน้าประเทศไทยเพื่อความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืน มีข้อสรุป 3 ประเด็น เสนอตั้งคณะทำงานร่วมกัน

ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดเวทีเสวนา "เดินหน้าประเทศไทยเพื่อความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืน" ว่า การเสวนาในช่วงเช้าผ่านไปด้วยดี ทั้งสองฝ่ายที่มาให้ข้อมูลมีความพอใจ โดยมีข้อสรุป 3 ข้อ ประการแรก คือ การบริหารพลังงานซึ่งมีความสำคัญเพราะกระทบต่อประชาชนโดยตรง จะต้องมีการทบทวนข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพลังงานบางฉบับ และทางรัฐบาลยืนยันที่จะเดินหน้าการเปิดสัมปทานรอบที่ 21 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนและความมั่นคงทางพลังงาน แม้ฝ่ายประชาชนจะระบุว่ายังไม่ควรดำเนินการในระหว่างนี้ ทั้งสองฝ่าย
จึงได้เสนอให้จัดตั้งคณะทำงานร่วมกันโดยเร็ว และให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 16 มี.ค. นี้

ทั้งนี้ ในส่วนของกลุ่มที่เข้าร่วมพูดคุยในวันนี้จะไม่เข้าร่วมในคณะทำงานร่วม ขณะที่การทำโพลสำรวจความเห็นของประชาชนนั้นยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ
////////////
ปตท.บางจากขึ้นราคาน้ำมันทุกชนิด 60 สต.ต่อลิตร E85 ขยับ 40 สต.  ดีแซล แตะ 27.39 บาท มีผลพรุ่ง
นี้ 

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  และบริษัทบางจาก ปิโตรเลียม จำกัด มหาชน ประกาศปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันทุกชนิด 60 สตางค์ต่อลิตร เว้น E85 ปรับขึ้น 40 สตางค์ต่อลิตร  มีผลพรุ่งนี้ 21

กุมภาพันธุ์ ตั้งแต่เวลา 05.00 นาฬิกา ทั้งนี้จะส่งผลให้ราคาน้ำมันในสถานีบริการของ ปตท.และบางจาก ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล วันพรุ่งนี้ เป็นดังนี้ เบนซิน 95 อยู่ที่ลิตรละ 36.26

บาท แก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่ลิตรละ 29.70 บาท แก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ลิตรละ 28.38 บาท E20 อยู่ที่ลิตรละ 26.98 บาท E85 อยู่ที่ลิตรละ 23.48 บาท และดีเซลหมุนเร็วอยู่ที่ลิตรละ 27.39 บาท
//////////////////
คดีความมั่นคง

โฆษก ตร. ชี้ วันนี้ พงส. จะเข้าขอข้อมูล CCTV คดี ไฟไหม้ตึก SCB ลั่น คดีบึ้มสยาม คืบตลอด วอนอย่าเดามั่ว ว่าเป็นฝีมือผู้มีอิทธิพล

พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้ช่วย ผบ.ตร. และโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยถึงความคืบหน้าเหตุเพลิงไหม้ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ รัชโยธิน ว่า วันนี้ทางพนักงานสอบสวนในคดี

เตรียมเข้าขอข้อมูลจากตำรวจกองพิสูจน์หลักฐาน เพื่อตรวจสอบกล้องวงจรปิดในจุดที่เกิดเหตุเพลิงไหม้เพื่อหาหลักฐานเพิ่มเติม ขณะที่ทางกองพิสูจน์หลักฐาน จะประชุมหาความชัดเจนโดยจะนำ

กล้องวงจรปิดทุกตัวมาตรวจสอบดูอีกครั้ง ส่วนสาเหตุขณะนี้ ยังไม่สามารถสรุปได้ โดยที่จะยังไม่ตัดประเด็นใดทิ้ง ขณะที่ความคืบหน้าเหตุระเบิด 2 จุด บริเวณทางเชื่อมรถไฟฟ้าสถานีสยาม และ

หน้าห้างสยามพารากอน พล.ต.ท.ประวุฒิ ระบุว่า ทางพนักงานสอบสวนได้มีการรายงานความคืบหน้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดทางคดีได้ และยังไม่ทราบว่าเป็นกลุ่ม

ไหนที่ก่อเหตุ โดยขอร้องว่าอย่าตั้งข้อสันนิษฐาน ว่า เป็นฝีมือของกลุ่มผู้มีอิทธิพลกลุ่มใด แต่จากการตรวจสอบพบว่าผู้ที่ก่อเหตุ มีความรู้ความชำนาญมากกว่าการก่อเหตุอาชญากรรมอื่นๆ จึงจำเป็น

ต้องใช้เวลาในการสืบสวนสอบสวน
--------------
นายกฯ เข้าทำเนียบ ประชุม คกก.พัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ รปภ.เข้ม หลังมีภาคประชาชนขอร่วมเวทีฟังความเห็นพลังงาน

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ล่าสุด ในช่วงเช้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้เดินทางเข้ามาปฏิบัติงานที่ทำเนียบรัฐบาลใน

ช่วงเช้า โดยเป็นประธานการประชุม คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) ครั้งที่ 1/2558 ที่ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ซึ่งมีผู้บริหารระดับสูงของ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เดินทางเข้ามาร่วมการประชุมในครั้งนี้อย่างพร้อมเพรียง ท่ามกลางมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดบริเวณรอบพื้นที่รัฐบาล โดยเฉพาะฝั่งประตู 4 ที่เมื่อช่วงเช้ามี

กลุ่มภาคประชาชนจำนวนหนึ่งได้เดินทางมาเพื่อขอเข้าร่วมรับฟังเวที “เดินหน้าประเทศไทย เพื่อความมั่งคงทางพลังงานที่ยั่งยืน” ตึกสันติไมตรี

แต่ทั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่อนุญาตเนื่องจากสถานที่ไม่เพียงพอ โดยให้กลุ่มประชาชนไปอยู่ที่ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ. ซึ่งมีการจัดเตรียมจอถ่ายทอดสดเวทีดังกล่าวไว้
-----------------
"ปานเทพ" ระบุ ป.ป.ช. กลั่นกรอง เพื่อสรุปรายงานข้อเท็จจริง จัดซื้อไมโครโฟนทำเนียบญ เสร็จแล้ว นำเข้าที่ประชุมชี้มูล 24 ก.พ.นี้ 

นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการแสวงหาข้อเท็จจริง กรณี สำนักนายกรัฐมนตรี จัดซื้อไมโครโฟน

ติดตั้งห้องประชุมคณะรัฐมนตรีนั้น ว่า ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ที่ไปแสวงหาข้อเท็จจริงมาพบว่ายังมีความเห็นไม่ตรงกันอยู่ ดังนั้น จึงให้ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการกลั่นกรองเพื่อสรุปรายงาน
ข้อเท็จจริงก่อนเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งขณะนี้ได้รับรายงานว่าเรื่องดังกล่าวผ่านคณะกรรมการกลั่นกรองแล้ว และคาดว่าจะสามารถนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะ

กรรมการ ป.ป.ช. ในวันที่ 24 ก.พ.นี้ เพื่อพิจารณาว่ามีมูลพอที่จะตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน หรือว่าไม่มีมูลจะได้ตีตกไป
------------------------

พล.อ.อนุพงษ์ ไม่มีรายงานคลื่นใต้น้ำหลัง อสส. ส่งฟ้อง "ยิ่งลักษณ์" บอกเรื่องคดีปล่อยไปตามขั้นตอน

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ยังไม่พบและยังไม่ได้รับรายงานถึงความเคลื่อนไหวของคลื่นใต้น้ำหลังอัยการสูงสุด ยื่นสำนวนฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

อดีตนายกรัฐมนตรี ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คดีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ในโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นหน้าที่ของฝ่ายความมั่นคงที่จะต้องดูแล

อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดเร่งสร้างความปรองดอง เพื่อให้ประชาชนอยู่ร่วมกันได้ในสังคมอย่างสงบสุข ส่วนเรื่องคดีความของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องปล่อยไปตามกระบวนการของ

กฎหมาย ยืนยันรัฐบาลไม่ได้กดดันฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ส่วนเรื่องจะไปต่างประเทศได้หรือไม่นั้น ตามหลักหากคดีอยู่ในการพิจารณาของศาล ก็เป็นหน้าที่ของศาลที่จะใช้ดุลยพินิจในเรื่องดังกล่าว
/////////////////////
ปรองดอง

"คำนูณ" แจง ที่มา คกก.ปรองดอง ไม่ใช่ คสช. ต้องหารือเรื่องกลไกให้ชัดเจน ยันไม่มีการเดินหน้า หรือหารือนิรโทษฯ

นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวชี้แจงว่า ในหมวดการสร้างความปรองดอง จะมีมาตราที่สร้างกลไกเพื่อให้รัฐธรรมนูญ ใช้งานได้ในสถานการณ์ปกติ ส่วน

คณะกรรมการปรองดองแห่งชาติ คาดว่าจะเป็นรูปแบบของคณะกรรมการ โดยมีองค์ประกอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ และกลุ่มผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ แต่ไม่ได้หมายรวมถึงคณะรักษาความสงบ
แห่งชาติ หรือ คสช. จะต้องเข้าร่วมด้วย และยังไม่มีการระบุชัดเจนว่า คณะกรรมการปรองดองแห่งชาติ จะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการเดินหน้าเจรจากับคู่ขัดแย้งหรือไม่

ส่วนความเห็นของ นายวันชัย สอนศิริ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่ระบุว่า คณะกรรมการปรองดองแห่งชาติ สามารถดำเนินการเรื่องปรองดองและการเจรจาได้ทันที

โดยไม่ต้องรอให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้นั้น นายคำนูณ ระบุว่า ความเห็นดังกล่าวไม่สามารถทำได้ พร้อมกันนี้ ยืนยันว่า ในการทำงานของคณะกรรมการปรองดองแห่งชาติ จะไม่มีการ

หารือหรือเดินหน้าดำเนินการในเรื่องของพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม
-----------------------------
"บวรศักดิ์" เร่งยกร่างกฎหมายปรองดอง ชง สนช. คาดดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 2 เดือน 

นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ระบุว่า ส่วนตัวตนไม่มีประสบการณ์ในการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 แต่ตนมีประสบการณ์ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในปี

2540 โดยการรับความเห็นและข้อเสนอแนะในการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น จะทำไปอย่างต่อเนื่องจนถึงปลายเดือน มิ.ย. ดังนั้น หาก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีข้อเสนอแนะเพิ่ม
เติมสามารถส่งเข้ามาได้ตลอด นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้เตรียมการเสนอกฎหมายเร่งด่วน และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ

กฎหมายปรองดอง ต่อที่ประชุม สนช. พร้อมกันนี้ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยังเตรียมที่จะเสนอกฎหมายสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ เข้าสู่การพิจารณาของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ

สปช. รวมทั้งจะมีการหารือกันเพื่อหาแนวทางและกลไกที่จะเร่งเดินหน้าออกกฎหมายต่าง ๆ ให้เร็วขึ้น ซึ่งในส่วนของกฎหมายปรองดองนั้น ส่วนตัวตนคาดหวังว่าคณะกรรมาธิการ จะสามารถร่าง

ได้เสร็จภายในระยะเวลา 2 เดือน
---------------------
สนช. ส่งมอบความเห็น ยกร่าง รธน. ระยะที่ 2 ต่อ กมธ.ยกร่างฯ แบ่งเป็น 4 ส่วน ตามเนื้อหา 4 ภาค 

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1 ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสามัญรวบรวมความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ มอบรายงานการ

รวบรวมความเห็นของสมาชิก สนช. ในระยะที่ 2 ต่อ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดย นายสุรชัย ระบุว่า รายงานฉบับดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 การรวบรวมคิดเห็นของสมาชิกแบบรายประเด็นทุกมาตรา ส่วนที่ 2 การรวบรวมความเห็นในภาคที่ 2 ผู้นำการเมืองที่ดี สถาบันการเมือง เฉพาะในหมวดที่ 3 รัฐสภา และหมวดที่ 4 คณะ

รัฐมนตรี ส่วนที่ 3 การรวบรวมความเห็นเฉพาะภาคที่ 4 การปฏิรูป และการสร้างความปรองดอง ซึ่ง คณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะนำไปพิจารณาในการประชุมนอกสถานที่ในวันที่ 23 - 28 กุมภาพันธ์

นี้

ทั้งนี้ นายสุรชัย ยังกล่าวว่า รายงานฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงความเห็นในการยกร่างฯ เป็นรายมาตราเท่านั้น ส่วนการทำประชามติเป็นขั้นตอนภายหลังจากการยกร่างรัฐธรรมนูญ แล้วเสร็จทั้งฉบับ
----------------
กมธ.ยกร่าง กำหนดตั้ง คกก.อิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ ไม่เกิน 15 คน กรอบคุณสมบัติ ที่มา ยังไม่ได้ข้อยุติ

นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงความคืบหน้าการพิจารณาการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ว่า ในวันนี้ ที่ประชุม ได้หารือในการสร้างความปรองดองระหว่างคนในชาติ และแนวทางที่จะนำพาประเทศไปสู่ความมีเสถียรภาพ
และสันติสุขอย่างยั่งยืน โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์
เพื่อหาสาเหตุแห่งความขัดแย้ง และเสนอแนวทางการแก้ไขต่อคณะรัฐมนตรี หรือ รัฐสภา รวมถึงสามารถเสนอให้มี
ตราพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษแก่บุคคล ซึ่งให้ความจริงอันเป็นประโยชน์แก่การดำเนินงาน และผู้ที่ซึ่งได้แสดงความสำนึกผิด
ต่อคณะกรรมาการอิสระฯ โดยการขออภัยโทษนั้น จะต้องไม่หมายรวมถึงโทษที่ติดตัวมาด้วย

โดย คณะกรรมการชุดดังกล่าว จะประกอบด้วย กรรมการไม่เกิน 15 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ส่วนคุณสมบัติของ
กรรมการที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ยังหารือไม่ได้ข้อยุติ
/////////////////////////
สถานการณ์ใต้

โฆษก ทอ. รับ เอฟ 16 ตก ขณะฝึกการใช้อาวุธทางอากาศ ที่สนามฝึกการใช้อาวุธทางอากาศ

พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า เครื่องบิน เอฟ 16 ของกองทัพอากาศ
ประสบอุบัติเหตุตกที่ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า เครื่องบิน เอฟ 16 ประสบอุบัติเหตุ
จริง ขณะปฏิบัติภารกิจฝึกการใช้อาวุธทางอากาศ ที่สนามฝึกการใช้อาวุธทางอากาศ อ.ชัยบาดาล ซึ่งเป็นเครื่องบินแบบ
เอฟ 16 เอ สังกัดกองบิน 1 โดยมี ร.อ.นพนนท์ นิวาศานนท์ เป็นนักบิน ขณะนี้เจ้าหน้าที่หน่วยค้นหาและช่วยเหลือของ
กองบิน 1 และกองบิน 2 กำลังเข้าพื้นที่ตรวจสอบรายละเอียดต่อไป
-----------------
ผบ.ทอ. สั่งเร่งตรวจสอบสาเหตุเอฟ 16 เอ ตก กองบิน 1 เตรียมนำร่างนักบินประกอบพิธีทางศาสนา 
ที่บ้านเกิดจังหวัดปราจีนบุรี

พลอากาศเอก มณฑล สัชฌุกร โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวว่า เครื่องบินเอฟ 16 รุ่น เอ หมายเลขเครื่อง 10316 ทำการบิน
ไปฝึกใช้อาวุธต่อเป้าหมายพื้นดิน Air to ground ซึ่งเป็นการฝึกแบบ Lccal flight ของฝูงบิน 103 ในการฝึกพร้อมรบ
หมู่ 2 หมายเลข 2 ทำการขึ้นทำการฝึก ในเวลา 14.10 น. ประสบอุบัติเหตุตก ณ สนามการใช้อาวุธ ณ จังหวัดลพบุรี ในเวลา
14.50 น. ล่าสุดได้พบร่าง เรืออากาศเอก นพนนท์ นิวาศานนท์ นักบินประจำหมวดบิน 3 ฝ่ายยุทธการ ฝูงบิน 103 กองบิน 1
ที่ประสบอุบัติเหตุแล้ว ขณะที่ทางกองบิน 1 เตรียมนำร่างของ เรืออากาศเอก นพนนท์ กลับไปประกอบพิธีทางศาสนา ที่บ้านเกิด
จังหวัดปราจีนบุรี

ขณะที่ พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ สั่งให้เร่งเข้าพื้นที่ และตรวจสอบสาเหตุการตกแล้ว และสั่งการให้
ดูแลสิทธิกำลังพล และการให้ความช่วยเหลือครอบครัว
//////////////////

พล.อ.ประวิตร ต้อนรับทูตรัสเซีย หารือความสัมพันธ์ 2 ประเทศ ความร่วมมือทางการค้า ขอบคุณเข้าใจสถานการณ์ในไทยเดินหน้าตามโรดแมป

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นายคีริลล์ มีไฮโลวิช บาร์สกี
(Mr.Kirill Mikhailovich Barsky) เอกอัคราชทูตสหพันธรัฐรัสเซียประจำประเทศไทย และคณะ ในโอกาสเข้าพบเพื่อเสริมสร้าง
และพัฒนาความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย ที่จะครบรอบ 120 ปีในปี 2559 โดยได้หารือกระชับความร่วมมือทางทหารและความสัมพันธ์
ของทั้งสองประเทศ
//////////////////////
นายกฯ ห่วงผู้ได้รับผลกระทบเหตุระเบิด สั่ง มท.4 ดูแล ด้าน กอ.รมน.ชี้กลุ่มเห็นต่าง ยังพยายามใช้ความรุนแรงต่อเนื่อง

พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เปิดเผยว่า ตามที่กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง
(ผกร.) ได้ก่อเหตุลอบวางระเบิดในพื้นที่ อ.เมือง จ.นราธิวาส จนทำให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บหลายรายนั้น ตามข้อมูลชั้นต้นได้เกิด
เหตุระเบิด 1 จุด นอกนั้นเจ้าหน้าที่สามารถทำลายและเก็บกู้ไว้ได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแสดงว่ากลุ่มผู้ก่อการร้ายที่นิยมใช้ความรุนแรง
ยังคงมีความพยายามก่อเหตุสร้างสถานการณ์ เพื่อลดทอนภาพลักษณ์ทางเศรษฐกิจ ทั้งที่ประชาชนทุกภาคส่วนต่างเบื่อหน่ายต่อ
เหตุรุนแรงที่ผ่านมา ประกอบกับภาครัฐได้พยายามแก้ไขปัญหาทุกมิติ รวมถึงการเปิดพื้นที่แสวงหาทางออกจากความขัดแย้งด้วย
สันติวิธีแล้วก็ตาม

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ กอ.รมน. และ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผู้บัญชาการทหารบก
ได้รับรายงานขั้นต้นแล้ว และสั่งการให้แม่ทัพภาคที่ 4 เร่งคลี่คลายสถานการณ์ และสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินการตามกฎหมาย
โดยอาศัยวัตถุพยานในที่เกิดเหตุโดยทันที พร้อมกับแสดงความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บและทรัพย์สินที่เสียหาย และ
ขอให้ช่วยกันประณามการกระทำของผู้ก่อเหตุรุนแรงที่มุ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน ขณะที่ประเทศชาติกำลังเดิน
หน้าไปได้ด้วยดี จนส่งผลกระทบต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจของคนในพื้นที่ จึงขอให้พี่น้องประชาชนช่วยกันสอดส่องเหตุผิดปกติ
ที่เกิดขึ้นและแจ้งเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการป้องกันแก้ไขต่อไป
ในโอกาสนี้ เอกอัคราชทูตรัสเซีย ได้เชิญ พล.อ.ประวิตร เข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้าย และการ
เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่รัสเซียจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ระหว่างวันนี้ 16-17 เม.ย. นี้ รวมถึงยังได้มีการหารือถึงความ
ร่วมมือทางการค้าการลงทุนระหว่างกันเกี่ยวกับการสนับสนุนรับซื้อพืชผลทางการเกษตรของไทย เช่น ข้าว ยางพารา ซึ่งได้เสนอให้
มีการตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อหารือและพิจารณาในรายละเอียดต่อไป

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ขอบคุณรัสเซียที่มีความเข้าใจสถานการณ์ของประเทศไทย และสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลในการดำเนิน
การตามแผนโรดแมป เพื่อสร้างความปรองดองของคนในชาติ และการปฏิรูปประเทศในการกลับสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย
โดยเร็ว
--------------------
พล.อ.ประวิตร ต้อนรับทูตรัสเซีย หารือความสัมพันธ์ 2 ประเทศ ความร่วมมือทางการค้า ขอบคุณเข้าใจ
สถานการณ์ในไทยเดินหน้าตามโรดแมป

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นายคีริลล์ มีไฮโลวิช บาร์สกี
(Mr.Kirill Mikhailovich Barsky) เอกอัคราชทูตสหพันธรัฐรัสเซียประจำประเทศไทย และคณะ ในโอกาสเข้าพบเพื่อเสริมสร้าง
และพัฒนาความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย ที่จะครบรอบ 120 ปีในปี 2559 โดยได้หารือกระชับความร่วมมือทางทหารและความสัมพันธ์
ของทั้งสองประเทศ

ในโอกาสนี้ เอกอัคราชทูตรัสเซีย ได้เชิญ พล.อ.ประวิตร เข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้าย และการ
เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่รัสเซียจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ระหว่างวันนี้ 16-17 เม.ย. นี้ รวมถึงยังได้มีการหารือถึงความ
ร่วมมือทางการค้าการลงทุนระหว่างกันเกี่ยวกับการสนับสนุนรับซื้อพืชผลทางการเกษตรของไทย เช่น ข้าว ยางพารา ซึ่งได้เสนอให้
มีการตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อหารือและพิจารณาในรายละเอียดต่อไป

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ขอบคุณรัสเซียที่มีความเข้าใจสถานการณ์ของประเทศไทย และสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลในการดำเนิน
การตามแผนโรดแมป เพื่อสร้างความปรองดองของคนในชาติ และการปฏิรูปประเทศในการกลับสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย
โดยเร็ว

คดี ยิ่งลักษณ์

ยืดไปเรื่อยๆเหมือนคดี ปรส . อิอิอิ
ยื่นฟ้อง 'ปู' ฟันจำนำข้าว ศาลนัดชี้ชะตา 19 มี.ค.
อัยการหอบสำนวน 20 ลัง ยื่นฟ้อง'ยิ่งลักษณ์'ทุจริตจำนำข้าว ต่อศาลฎีกาฯ นัดฟังคำสั่งรับฟ้องหรือไม่ 19 มี.ค.นี้ ทนายยัน 'ปู' กำหนดมาศาลนัดแรกพร้อมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
เมื่อวันที่ 19 ก.พ.ที่สำนักงานอัยการสูงสุด นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง นายอเนก คำชุ่ม และนายสมหมาย กู้ทรัพย์ ทีมทนายความของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกกล่าวหาในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ กรณีละเลยไม่ระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าวจนทำให้รัฐเสียหาย ซึ่งได้นัดให้มารายงานตัวในวันนี้เพื่อฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่ออัยการ เพื่อระบุสาเหตุที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่เดินทางมาศาล พร้อมขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด โดยมีนายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด และนายกิตตินันท์ ธัชประมุข รองอธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวนเป็นผู้รับหนังสือร้องเรียน
นายนรวิชญ์ กล่าวว่า วันนี้มายื่นหนังสือเพื่อแจ้งต่ออัยการถึงสาเหตุที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่เดินทางมารายงานตัว เนื่องจากเห็นว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์อยู่ในสถานะผู้ถูกกล่าวหาเท่านั้น ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวเป็นเรื่องของอัยการสูงสุดที่จะยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หากศาลฎีกาฯ มีคำสั่งประทับรับฟ้องและนัดพิจารณาคดีครั้งแรก ทางน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ยืนยันว่า พร้อมที่จะเดินทางมาศาลเพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและขอใช้สิทธิ์ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ซึ่งทางทีมทนายความมั่นใจในความบริสุทธิ์ เพราะมีพยานหลักฐานที่จะหักล้างข้อกล่าวหาของอัยการได้ ส่วนการเดินทางออกนอกประเทศในขณะนี้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังไม่มีกำหนดเดินทางไปไหน และที่ผ่านมาน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็พร้อมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยตลอด แต่หากจะเดินทางไปไหนก็คงจะต้องขออนุญาตทางคสช.ก่อน เพราะช่วงนี้อยู่ภายใต้กฎอัยการศึก อย่างไรก็ตามน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ไม่ได้หนักใจและพร้อมสู้ทุกประเด็นโดยมอบหมายให้ทีมทนายความต่อสู้อย่างเต็มที่ ส่วนประเด็นที่ทาง ป.ป.ช.ยังไม่สอบสวน รวมถึงหนังสือขอความเป็นธรรมที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาจากอัยการสูงสุดก็จะนำมาเป็นประเด็นต่อสู้ในศาลด้วย
เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ทางป.ป.ช.มีมติส่งเรื่องให้กระทรวงคลังฟ้องแพ่ง เพื่อให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ชดใช้ค่าเสียหายจากโครงการเป็นเงิน 6 แสนล้านบาทถือเป็นการกดดันหรือไม่ นายนรวิชญ์ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวจะหารือกันภายในสัปดาห์หน้าว่ารายละเอียดในหนังสือที่ทางป.ป.ช.ยื่นต่อกระทรวงการคลังมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง เพื่อเตรียมทำหนังสือโต้แย้งมติของป.ป.ช. ส่งไปยังกระทรวงการคลังต่อไป
จากนั้นเวลา 10.30 น. ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นายชุติชัย สาขากร อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ นายสุรศักดิ์ ตรีรัตน์ตระกูล อธิบดีอัยการสำนักงานคดีสอบสวนพร้อมคณะทำงานอัยการ ได้นำเอกสารหลักฐานในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว จำนวน 20 ลัง ใส่ในรถเข็น 3 คัน มายื่นฟ้องน.ส.ยิ่งลักษณ์ ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยไมได้นำตัวน.ส.ยิ่งลักษณ์มา
ด้านนายธีรทัย เจริญวงศ์ เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กล่าวถึงขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาในศาลฎีกาฯว่า เมื่ออัยการสูงสุดยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว นายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกาจะเรียกประชุมใหญ่ศาลฎีกา ภายในเวลาไม่เกิน 14 วัน นับแต่วันยื่นฟ้องเพื่อให้ที่ประชุมใหญ่ที่มีผู้พิพากษาศาลฎีกากว่า 170 คน เป็นผู้คัดเลือกองค์คณะผู้พิพากษา จำนวน 9 ท่าน โดยวิธีลงคะแนนลับ เมื่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกองค์คณะผู้พิพากษาเสร็จสิ้นแล้วประธานศาลฎีกาก็จะประกาศรายชื่อองค์คณะผู้พิพากษาไว้ที่ศาลฎีกาภายใน 5 วัน นับแต่วันประชุมใหญ่ เพื่อให้คู่ความทราบและมีโอกาสคัดค้านผู้พิพากษาที่ได้รับเลือก ต่อมาองค์คณะผู้พิพากษาที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ก็จะทำการเลือกผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนโดยใช้วิธีลงคะแนนลับเช่นเดียวกัน หลังจากนั้นองค์คณะผู้พิพากษาจะร่วมกันพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ว่า เป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายที่จะประทับฟ้องไว้พิจารณาได้หรือไม่ โดยเบื้องต้นนายธนฤกษ์ นิติเศรณี ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา พร้อมด้วยองค์คณะ จำนวน 3 คน ได้พิจารณาสำนวนก่อนที่จะนัดฟังคำสั่งว่า จะประทับรับฟ้องคดีหรือไม่ ในวันที่ 19 มี.ค.นี้ เวลา 10.00 น. แต่ศาลอาจจะมีคำสั่งประทับรับฟ้องไว้ก่อนวันดังกล่าวก็ได้
"หากองค์คณะพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นคำฟ้องที่ครบองค์ประกอบและชอบด้วยกฎหมาย ก็จะมีมติประทับรับฟ้องคดีของโจทก์ไว้เพื่อพิจารณา พร้อมทั้งกำหนดวันพิจารณาคดีครั้งแรก โดยศาลจะส่งสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยให้มาศาลในวันนัดพิจารณาครั้งแรก เพื่อให้การต่อสู้คดี ซึ่งในวันดังกล่าวน.ส.ยิ่งลักษณ์ จะต้องเดินทางมาศาล และกำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐาน เพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ส่วนเรื่องการปล่อยชั่วคราวหากโจทก์นำตัวจำเลยมาศาลวันนี้ผู้พิพากษาประจำแผนกฯ จะเป็นผู้พิจารณาในการขังหรือปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยต่อไป" นายธีรทัย กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า อายุความของคดีดังกล่าวมีกำหนดเท่าไหร่ นายธีรทัย กล่าวว่า คดีที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ถูกฟ้องมานั้นมีอายุความ 15 ปีนับจากวันที่ได้กระทำตามฟ้องโดยในการพิจารณาคดีนั้นหากตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินทางมาศาลในวันนัดพิจารณาครั้งแรกแล้ว ศาลฎีกาฯ มีอำนาจพิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้โดยที่ตัวจำเลยเองไม่ต้องร้องขอเพราะถือว่าตัวเข้าสู่อำนาจของศาลแล้ว เนื่องจากเป็นระบบไต่สวน เมื่อถามว่า ในวันพิจารณาคดีครั้งแรกหากน.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่เดินทางมาศาลจะพิจารณาออกหมายจับหรือไม่ นายธีรทัย กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจขององค์คณะว่าจะมีคำสั่งอย่างไร
ต่อมาเมื่อเวลา 11.00 น. ที่สำนักงานอัยการสูงสุดนายชุติชัย สาขากร อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ นายสุรศักดิ์ ตรีรัตน์ตระกูลอธิบดีอัยการสำนักงานคดีสอบสวน และนายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยงรองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมแถลงข่าวภายหลังยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต่อศาลฎีกาฯ
นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า ภายหลังจากที่นายตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุดได้มีคำสั่งฟ้องดำเนินคดีตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ส่งสำนวนการไต่สวนกรณีกล่าวหาน.ส.ยิ่งลักษณ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวเมื่อวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมานั้น ในวันนี้อัยการสูงสุดได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์เป็นจำเลยต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ระวางโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับ 2,000 -20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4, มาตรา 123/1 ระวางโทษจำคำ1-10 ปี ปรับ 20,000 -200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมนำเอกสารหลักฐานจำนวนมากตามที่คณะทำงานทั้งสองฝ่ายได้รวบรวมมาโดยได้ตรวจสอบและเรียบเรียงให้สอดคล้องกับคำฟ้องตลอดจนจัดทำสำเนาให้ครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว
นายสุรศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการยื่นฟ้องในวันนี้แม้จำเลยจะมิได้เดินทางมาศาลฎีกาฯแต่อัยการสูงสุดยังคงสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ในการฟ้องคดีนี้ต่อศาลฎีกาฯ ได้ตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพ.ศ. 2543 ข้อ 8 วรรคสอง ที่ระบุว่า หากโจทก์นำตัวจำเลยมาศาลในวันฟ้องให้ผู้พิพากษาประจำแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกาเป็นผู้พิจารณาในการขังหรือปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวหากไม่ได้นำตัวจำเลยมาศาลให้โจทก์ระบุที่อยู่จริงของจำเลยมาในฟ้อง สำหรับขั้นตอนของทางอัยการนั้นหลังจากนี้จะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาจำนวน 6 คน โดยมีนายชุติชัย เป็นหัวหน้าคณะเพื่อรับผิดชอบในการว่าความคดีนี้ในชั้นศาล ซึ่งสำนวนคำฟ้องจะใช้ของป.ป.ช.เป็นหลักโดยศาลจะใช้ระบบไต่สวน และหากเห็นว่าพยานหลักฐานใดยังไม่สมบูรณ์หรือมีข้อสงสัยใดๆศาลฎีกาฯ ก็สามารถออกหมายเรียกให้พยานมาไต่สวนเพิ่มเติมได้
“ทางอัยการยืนยันว่าพยานหลักฐานในสำนวนนี้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้วซึ่งคณะทำงานกำลังอยู่ระหว่างจัดเตรียมบัญชีพยานมากกว่า 10 ปาก ไต่สวนในชั้นศาลเพื่อชี้ให้ศาลเห็นว่าพฤติการณ์ของจำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อย่างไร มีการทุจริตตรงไหนส่วนใดบ้าง ทำให้เกิดความเสียหายอย่างไรซึ่งสอดคล้องกับพยานหลักฐานของทาง ป.ป.ช. และยืนยันว่าอัยการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นธรรมรอบคอบ รวดเร็ว โปรงใส และสามารถตรวจสอบได้” นายสุรศักดิ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในคำฟ้องทางอัยการได้คัดค้านการประกันตัว หรือ กำหนดเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศหรือไม่ นายชุติชัย กล่าวว่า ทางอัยการไม่ได้คัดค้านการประกันตัว หรือ ห้ามเดินทางออกนอกประเทศแต่อย่างใด แต่ขณะนี้ตัวน.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลการเดินทางออกนอกประเทศต้องสอบถามไปทางคสช.ว่า จะอนุญาตหรือไม่ แต่เมื่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ เข้าสู่กระบวนการในชั้นศาลแล้ว หากต้องการเดินทางออกนอกประเทศก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล


มติ มส.กรณี ธัมชโย

มติ มส. "พระธัมมชโย" ไม่ต้องปาราชิก ชี้ไม่ขัดพระลิขิตฯ
Cr:ทีนิวส์
วันนี้(20 ก.พ. 58) พระหรหมเมธี กรรมการและโฆษกมหาเถรสมาคม แถลงผลการประชุมเบื้องต้น เรื่องพระเทพญามหามุนี หรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดธรรมกายและประธานมูลนิธิธรรมกาย ไม่ขาดปาราชิจากความเป็นภิกษุ เนื่องจากได้มีการคืนทรัพย์สินทั้งหมดให้กับวัดแล้ว และไม่ถือว่าเป็นการขัดต่อพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ลงวันที่ 26 เมษายน 2542 แต่อย่างใด โดยยืนยันตามคำตัดสินเดิม เมื่อปี พ.ศ. 2549 จึงยังคงสถานภาพเหมือนเดิม ยังคงไม่ปาราชิก
โดยพระพรหมเมธี ได้กล่าวว่า "ขออย่านำเรื่องเดิมมาพูดกันอีกบ้านเมืองกำลังจะปรองดอง วินัยพระดูที่เจตนา"


4ขั้นตอนพิจารณาคดีจำนำข้าวยิ่งลักษณ์

4 ขั้นตอนกระบวนการพิจารณาคดีข้าว "ยิ่งลักษณ์" ในมือศาลฎีกาฯ (info)

เขียนวันที่
วันพฤหัสบดี ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13:28 น.
เขียนโดย
isranews
หมวดหมู่
"...เมื่อถามว่า กรณีนี้สามารถยื่นดำเนินการปล่อยตัวชั่วคราวได้หรือไม่ นายธีรทัย กล่าวว่า สามารถทำได้หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาภายในวันที่องค์คณะลงมติประทับฟ้อง ซึ่งผู้พิพากษาประจำแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฯ เป็นผู้พิจารณาในการขัง หรือปล่อยตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชั่วคราว.."
yuuwwwwwww
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา  www.isranews.org : เป็นรายละเอียด 4 ขั้นตอนกระบวนการพิจารณาคดีจำนำข้าว ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่อยู่ในความรับผิดชอบของศาลฎีกาแผนคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่นายธีรทัย เจริญวงศ์ เลขานุการแผนคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา แถลงต่อสื่อมวลชน ภายหลัง อัยการสูงสุด (อสส.) ส่งฟ้องคดีนี้เป็นทางการ ในช่วงสาย วันที่ 19 ก.พ.58 ที่ผ่านมา 
#เชิญชวนติดตามข่าวสารสำนักข่าวอิศรา ได้ด้วยการกด "Like" ที่ แฟนเพจ "I love isranews"
---------------------------oowwwwd
หมายเหตุ : ภาพประกอบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จาก club.sanook.com  ตัวการ์ตูนทหาร จาก stu2.mju.ac.th

โอ๊คโพส คดียิ่งลักษณ์


19 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นวันที่อัยการสูงสุด ยื่นฟ้องนายกปูเรื่องจำนำข้าว ซึ่งเมื่อมองย้อนกลับไปไม่ถึง 1เดือนก่อนหน้านี้ แค่ช่วงเวลา 3วันตั้งแต่วันที่ 20 ถึง23มกราคม 2558 มีเหตุการณ์กลับไปกลับมา หากจะเปรียบเทียบกับคำโบราณที่ว่า "จากหน้ามือเป็นหลังมือ" ยังถือว่าน้อยเกินไป เราลองมาอ่านข่าวทบทวนกันดูครับ
เมื่อวันที่ 20มกราคม ที่ผ่านมา นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการ ป.ป.ช. ได้แถลงข่าวว่า คณะทำงาน ร่วม ป.ป.ช.และอัยการสูงสุด ได้ประชุมร่วมกันเป็นนัดสุดท้ายแล้ว และได้เห็นพ้องต้องกันว่า จะดำเนินการส่งฟ้องคดีอาญาของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ตามข่าวนี้ http://www.thairath.co.th/content/476023
ถัดมาอีกสองวัน วันที่ 22มกราคม ไทยรัฐออนไลน์พาดหัวข่าวว่า "จำนำข้าวยังไม่สรุป อัยการ หักป.ป.ช.อย่ามโน"
โดยมีเนื้อข่าวว่า นายวุฒิพงศ์ วิบูลย์วงศ์ รองอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะทำงานร่วมของอัยการและ ป.ป.ช. กล่าวว่า "ตนไม่ทราบเรื่องการประชุมวันที่20มกราคม ที่อ้างว่าคณะทำงานร่วมฯมีมติให้ส่งฟ้องเรื่องดังกล่าว อีกทั้งคดีดังกล่าวยังไม่มีการสรุปเรื่อง และยังมีมีกระบวนการต่างๆอีกมาก แถมยังปิดท้ายว่า จะไม่สอบถามเรื่องนี้กับทาง ป.ป.ช." เพราะเมื่อ ป.ป.ช.เป็นคนให้ข่าว(ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงของตน) ป.ป.ช.ก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบเอง
ตามข่าวนี้ http://www.thairath.co.th/content/476335
ปรากฏว่าวันรุ่งขึ้น 23มกราคม เหตุการณ์กลับตาลปัตรอีกครั้ง เพราะเพิ่งผ่านไปเพียงคืนเดียว สำนักงานอัยการสูงสุดกลับออกแถลงการณ์ ที่สอดคล้องกับที่ป.ป.ช.พูดมาก่อนหน้า แต่ขัดแย้งกับคำให้สัมภาษณ์ของ รองอัยการฯที่เป็นหัวหน้าคณะทำงานร่วมฯโดยสิ้นเชิง โดยในแถลงการณ์ได้อ้างว่า เมื่อวันที่ 20มกราคม คณะทำงานร่วมฯได้มีมติให้นำเรียน อสส.เพื่อส่งฟ้องคดีนี้แล้ว
ตามข่าวนี้http://www.komchadluek.net/mobi…/detail/20150123/200021.html
- ถ้าเพียง 3วัน สำนักงานอัยการสูงสุด และ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นองค์กรหลัก ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมของไทย พลิกกลับไปกลับมาได้ 3ตลบขนาดนี้
- ถ้า ป.ป.ช.ซึ่งเปรียบเสมือน "กระดุมเม็ดแรก ในกระบวนการยุติธรรม" ที่จะต้องกลัดให้ถูกต้อง เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานให้กับองค์กร หรือหน่วยงานอื่น ในการรับเรื่องไปพิจารณาคดีอย่างเที่ยงธรรม แต่กลับกลัดแบบเบี้ยวไปเบี้ยวมา ออกมาให้สัมภาษณ์ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง ที่หัวหน้าคณะทำงานฯ ได้ให้ไว้โดยสิ้นเชิง
- ถ้าคำพูดของผู้หลักผู้ใหญ่ของประเทศ ในระดับรองอัยการสูงสุด ซึ่งได้ถูกแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะทำงานฯ ไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ และยังถูกหักล้างจากแถลงการณ์ของหน่วยงานของตนเอง กลับไปกลับมาแบบนี้ได้
แล้วประชาชนไทยทั้งประเทศ จะไว้ใจกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบได้อย่างไร ..?
อย่าเอาแต่ไปฟังคนที่พูดว่า "คนทำผิดจะต้องถูกลงโทษ"เพียงอย่างเดียว ควรดูว่ากระบวนการทั้งหมด ในการพิจารณาว่าใครถูกหรือผิด โดยเฉพาะ "กระดุมเม็ดแรก" นั้น ได้มีการกลัดอย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมาหรือไม่ ถ้ารู้ว่ามันบิดเบี้ยวแต่ไม่แก้ไข หรือใช้มันในการทำลายล้างผู้อื่น โดยที่คิดว่าคงไม่มีใครรู้เท่าทัน คำว่า"ปรองดอง"ที่คณะรัฐประหารอ้างเป็นเหตุผลสำคัญในการยึดอำนาจ ก็อาจไม่มีวันสำเร็จลุล่วงไปได้
อย่าลืมว่าคนไทยมักจะเชียร์ "มวยรอง" และร้อยทั้งร้อย มักจะช่วยเหลือผู้ที่ถูกกลั่นแกล้ง และเห็นอกเห็นใจผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมเสมอ
ได้โปรดพิจารณา สิ่งผมได้พูดถึงในโพสต์ที่แล้วด้วยครับ
"การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ ความยุติธรรมจะต้องมาก่อน"