PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562

ชำแหละปมร้อน “ศักดิ์สยาม”ยึดอำนาจเบ็ดเสร็จ คุมทุกเรื่อง“คมนาคม”

ชำแหละปมร้อน “ศักดิ์สยาม”ยึดอำนาจเบ็ดเสร็จ คุมทุกเรื่อง“คมนาคม”

03 Sep 2019
อ่าน 7,525 ครั้ง
Ads by AdAsia
Play
ดุเดือดเลือดพล่านขึ้นมาอีกเมื่อ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” เจ้ากระทรวงคมนาคม ออกคำสั่งด่วนที่สุด ลงวันที่ 27 สิงหาคม เรื่อง การนำนโยบายกระทรวงคมนาคมไปสู่การปฏิบัติรวม 7 ประการ ส่งไปยัง ปลัดกระทรวงคมนาคม อธิบดีทุกกรม และผู้บริหารรัฐวิสาหกิจทุกแห่งในสังกัดกระทรวงหูกวาง การออกคำสั่งแบบข้ามหน้าข้ามตา “2 รมช.ช่วย” ในครั้งนี้นั้น อ้างเหตุผลสำคัญว่า
เพื่อให้กรม รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติภายใต้การบูรณาการให้ประสานสอดคล้อง และตอบสนองต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและสนับสนุนแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อแบ่งเบาภาระของประชาชนเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 
รายการห้องข่าวเศรษฐกิจ NEWSROOM ช่วง “ลึก แต่ไม่ลับ กับ บากบั่น บุญเลิศ” ตอน “ศักดิ์สยาม ควบอำนาจคมนาคม และรัฐวิสาหกิจ” ดำเนินรายการโดย บากบั่น บุญเลิศ และ วิลาสินี แวน ฮาเรน ออกอากาศทางเนชั่นช่อง 22 พาไปชำแหละปมร้อนในเรื่องนี้แบบล้วงลึก
นายบากบั่น ให้ข้อมูลว่า กระทรวงคมนาคมดูแลงบประมาณในแต่ละปีสูงนับแสนล้านบาท สำหรับงบประมาณปี 2562 อยู่ที่ 1.83 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ประมาณ 1.08 หมื่นล้านบาท เฉพาะงบสำหรับการพัฒนาระบบขนส่งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันประเทศตามยุทธศาสตร์เร่งด่วนปี 2562 อยู่ที่ 112,729 ล้านบาท และปี 2563 อยู่ที่ 104,313 ล้านบาท เป็นงบผูกพันข้ามปีงบประมาณ 2562-2563 ดังนี้
                                           
1.กรมเจ้าท่า รวม 2,907 ล้านบาท 2.กรมการขนส่งทางบก 1,972 ล้านบาท 3.กรมท่าอากาศยาน 8,460 ล้านบาท 4.กรมทางหลวง 22,121 ล้านบาท 5.กรมทางหลวงชนบท 11,429 ล้านบาท 6.สำนักงานแผนและนโยบายการจราจร (สนข.) 418 ล้านบาท
มีงบรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2562 แบ่งเป็น 1.กรมเจ้าท่า 4,788 ล้านบาท 2.กรมการขนส่งทางบก 4,154 ล้านบาท 3.กรมท่าอากาศยาน 6,614 ล้านบาท 4.กรมทางหลวง 119,091 ล้านบาท และ5.กรมทางหลวงชนบท 48,089 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 182,736 ล้านบาท
ขณะที่มีงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ต้องเร่งเบิกจ่ายให้ได้ 70 % และต้องรายงานให้นายศักดิ์สยาม รมว.คมนาคมทราบในทุกๆโครงการที่มีการจัดซื้อจัดจ้างมูลค่า 100 ล้านบาท รวมถึงถ้ามีการพิจารณาแผนงานต้องรายงานให้รับทราบภายใน 7 วันด้วย


สำหรับงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2562 ประกอบด้วย 1.การรถไฟแห่งประเทศไทย 76,184 ล้านบาท 2.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 24,385 ล้านบาท 3.บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.จำนวน  17,912 ล้านบาท 4.การทางพิเศษแห่งประเทศไทย 6,203 ล้านบาท
5.การท่าเรือแห่งประเทศไทย 2,010 ล้านบาท 6.องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) 1,986 ล้านบาท 7.บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด 1,250 ล้านบาท 8.บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 6,380 ล้านบาท รวมงบลงทุนทั้งสิ้น 136,310 ล้านบาท  
นอกจากนี้ยังงบประมาณสำหรับโครงการพิเศษที่อยู่ในมืออีกจำนวนมหาศาล วงเงินรวม 1,920,469 ล้านบาท เช่น โครงการรอรัฐบาลให้สัมปทาน ประกอบด้วย โครงการขยายสัญญาทางด่วน 30 ปี วงเงิน 31,500 ล้านบาท, โครงการระบบเก็บเงินมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช และบางใหญ่-กาญจนบุรี วงเงิน 61,086 ล้านบาท, โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 224,544 ล้านบาท และโครงการท่าเรือแหลมฉบับเฟส 3 วงเงิน 49,630 ล้านบาท
ทั้งยังมีโครงการที่รอรัฐบาลเซ็นสัญญาอีก อาทิ โครงการทางด่วนพระราม 3–ดาวคะนอง วงแหวนตะวันตก 4 สัญญา วงเงิน 29,154 ล้านบาท,โครงการรถไฟไทย-จีน 5 สัญญา วงเงิน 58,168 ล้านบาท และโครงการยกระดับพระราม 2 ช่วงบางขุนเทียน- บ้านแพ้ว วงเงิน 10,500 ล้านบาท และที่รอให้รัฐบาลผลักดันอีก 3 โครงการ ประกอบด้วย โครงการรถไฟไทย-จีน เฟส 2 นครราชสีมา-หนองคาย วงเงิน 210,862 ล้านบาท,โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก วงเงิน 212,892 ล้านบาท และโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หัวหิน วงเงิน 100,125 ล้านบาท
รวมถึงยังมีโครงการต่างๆ ที่รอเสนอเข้าครม.อีกจำนวนมาก อาทิ ค่าเวนคืนมอเตอร์เวย์ บางใหญ่-กาญจนบุรี วงเงิน 8,000 ล้านบาท,โครงการมอเตอร์เวย์นครปฐม-ชะอำ วงเงิน 79,006 ล้านบาท,โครงการมอเตอร์เวย์หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ วงเงิน 57,022 ล้านบาท,โครงการส่วนต่อขยายโทลล์เวย์รังสิต-บางปะอิน วงเงิน 30,538 ล้านบาท โครงการด่วนกะทู้-ป่าตอง วงเงิน 13,917 ล้านบาท
โครงการทางด่วนขั้นที่ 2 สายเหนือ 17,000 ล้านบาท,โครงการสายสีส้มตะวันตก บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม วงเงิน 12, 000 ล้านบาท, โครงการรถไฟฟ้าภูเก็ต 30,155 ล้านบาท,โครงการอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 สุวรรณภูมิ 35,377 ล้านบาท,โครงการจุดพักรถมอเตอร์เวย์พัทยา-มาบตาพุด 620 ล้านบาท
โครงการที่พักริมทางมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี 1,486 ล้านบาท,โครงการที่พักริมทางมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช 1,579 ล้านบาท, โครงการศูนย์บริการทางหลวงศรีราช 1,504 ล้านบาทและโครงการรถไฟทางคู่ เฟส 2 จำนวน 6 เส้นทาง วงเงิน 215,338 ล้านบาท     
มีโครงการที่รอประมูลอีก 7 โครงการ อาทิ โครงการสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ วงเงิน 6,570 ล้านบาท, โครงการสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 10,202 ล้านบาท,โครงการสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 6,645 ล้านบาท, โครงการสายสีแดงบางซื่อ-หัวหมาก และบางซื่อ-หัวลำโพง 44,144 ล้านบาท,โครงการสายสีม่วงใต้เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 101,112 ล้านบาท
โครงการรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 85,345 ล้านบาท, โครงการรถไฟทางคู่บ้านไผ่-นครพนม  66,848 ล้านบาท, โครงการรถไฟไทย-จีน 7 สัญญา 70,000 ล้านบาท และโครงการรันเวย์ 3 สนามบินสุวรรณภูมิ 19,422 ล้านบาท  
                                                        
“คำถาม คือ แนวทางการทำงานหลังจากนี้ที่ให้ต้องรายงานทุกเรื่องกับ นายศักดิ์สยาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ดังนั้น การแบ่งงานให้กับ นายถาวร เสนเนียม และ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ก่อนหน้านี้ จึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด” นายบากบั่น ตั้งข้อสังเกต             

ทั้งนี้ สำหรับคำสั่งที่ คค 0100/1421 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2562 มีรายละเอียดถึง ปลัดกระทรวงคมนาคม อธิบดีทุกกรม 13 ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจและบริษัทในสังกัดกระทรวง ระบุว่า ตามที่ได้มอบนโยบายของกระทรวงคมนาคมให้แก่ปลัดกระทรวง อธิบดี และผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้กรม รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม นํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ ภายใต้การบูรณาการให้ประสาน สอดคล้อง และตอบสนองต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580
                                                     
รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและสนับสนุนแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อแบ่งเบาภาระของ ประชาชนเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั้น เพื่อให้การแปรนโยบายของกระทรวงคมนาคมไปสู่การปฏิบัติ เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้การบริหารงบประมาณของรัฐบาลเป็นไปตามข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 20 สิงหาคม 2562 จึงให้กระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจนําเสนอเรื่องต่างๆให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมทราบก่อนไม่น้อยกว่า 7 วันทําการ ดังนี้
1. แผนปฏิบัติการตามนโยบายและโครงการสําคัญเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศและประชาชน
 2. การบริหารงานบุคคล การบรรจุ การคัดเลือก การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือคําสั่ง การออกจากตําแหน่ง สอบสวนวินัยและการลงโทษข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตําแหน่งนักบริหารระดับสูง นักบริหารระดับต้น และผู้บริหาร รองผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ
                                                    
3. การขออนุมัติดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามแผนงานโครงการ ที่มีวงเงินงบประมาณตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป
4. รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2562 และ พ.ศ. 2563 ทุกเดือน ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป โดยมีเป้าหมายให้ส่วนราชการต้องเบิกจ่ายให้ได้ไม่น้อยกว่า 60% และรัฐวิสาหกิจต้องเบิกจ่ายให้ได้ไม่น้อยกว่า 70%
 5. ระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการบริหารรัฐวิสาหกิจก่อนการประชุม 7 วันทําการ และรายงานการประชุมฯ ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมไม่เกิน 7 วันทําการ
                                                 

สัญญาประชาคม

สัญญาประชาคม
โดย สิริอัญญา 
วันอังคารที่ 3 กันยายน 2562

รัฐธรรมนูญและกฎหมายเลือกตั้งบัญญัติสอดคล้องต้องกันให้พรรคการเมืองที่หาเสียงเลือกตั้งต้องแถลงจำนวนเงินงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินนโยบายในการหาเสียง รวมทั้งต้องแถลงที่มาของแหล่งเงินนั้นด้วย 

ซึ่งเป็นเรื่องที่บัญญัติขึ้นใหม่เพื่อป้องกันมิให้พรรคการเมืองและนักการเมืองหาเสียงหลอกลวงประชาชนให้หลงเลือกตั้ง โดยที่ไม่คิดที่จะทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ 

และถ้ามีการฝ่าฝืนก็มีความรับผิดตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แต่ปรากฏว่าในการหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมาพรรคการเมืองส่วนใหญ่มิได้แถลงจำนวนเงินที่จะต้องใช้ในการดำเนินนโยบาย และไม่ได้แถลงแหล่งที่มาของเงินด้วย จึงเป็นอันว่ามีการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย 

ซึ่งจะต้องติดตามดูกันต่อไปว่าจะมีการดำเนินการในเรื่องนี้และจะมีผู้รับผิดชอบอย่างไร 

ผลจากการริเริ่มให้มีบทบัญญัติในเรื่องนี้จึงมีบทบัญญัติต่อไป กำหนดให้รัฐบาลที่ต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาจะต้องแสดงจำนวนเงินงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินนโยบายนั้นด้วย และจะต้องแถลงถึงแหล่งที่มาของเงินที่จะต้องนำมาใช้จ่ายนั้นด้วย 

แต่ปรากฏว่าในการแถลงนโยบายของรัฐบาลก็มิได้มีการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายในเรื่องดังกล่าว คือมิได้แถลงถึงจำนวนเงินงบประมาณที่ต้องใช้ และมิได้แถลงแหล่งที่มาของงบประมาณที่ต้องใช้ดังกล่าวนั้นด้วย 

รวมความก็คือมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายบัญญัติเช่นเดียวกัน ซึ่งจะต้องติดตามดูกันต่อไปว่าจะมีการดำเนินการในเรื่องนี้กันอย่างไรและจะต้องรับผิดชอบกันอย่างไร เพราะรัฐธรรมนูญและกฎหมายนั้นย่อมใช้บังคับกับทุกคน รวมทั้งรัฐบาล รัฐมนตรี พรรคการเมืองและนักการเมืองด้วย มิใช่ใช้บังคับเฉพาะกับประชาชนคนยากคนจนพวกเดียวเท่านั้น 

ดังนั้นเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลแล้ว ประชาชนที่เขาเชื่อถือการหาเสียงของพรรคการเมืองจึงพากันทวงถามให้รัฐบาลปฏิบัติตามที่พรรคการเมืองซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลได้หาเสียงเลือกตั้งไว้ รวมทั้งที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายไว้ 

นั่นเป็นเรื่องที่ประชาชนกำลังทวงถามเรียกร้องทวงสิทธิ์ของตนเองในการที่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเลือกพรรคการเมือง เลือกนักการเมืองที่มาประกอบกันเข้าเป็นรัฐบาลปัจจุบัน และโดยนัยดังกล่าวนี้ประชาชนเหล่านั้นย่อมเป็นผู้เสียหาย ย่อมเป็นผู้เสียสิทธิ์อันพึงมีพึงได้ อันมีสิทธิ์ที่จะยกเรื่องขึ้นว่ากล่าวต่อผู้ตรวจการแผ่นดินหรือต่ออัยการสูงสุดเพื่อส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย หรือในบางกรณีก็สามารถยื่นเรื่องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยได้ 

ดังนั้นใครที่ดูแคลนหรือไม่ใส่ใจไยดีในหน้าที่หรือภารกิจทั้งหลายที่ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้กับประชาชนจึงพึงตระหนักไว้ให้จงดีว่าระบบกฎหมายในปัจจุบันนี้ไม่ใช่จะพูดจาแบบผายลมโดยไม่ต้องรับผิดชอบดังแต่ก่อน เมื่อสัญญาในช่วงหาเสียงเลือกตั้งกับประชาชนไว้อย่างไร เมื่อแถลงนโยบายไว้อย่างไร ก็ต้องมีความรับผิดชอบที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น มิฉะนั้นก็จะต้องรับผิดชอบ 

มาถึงวันนี้งบประมาณแผ่นดินยังไม่ทันเสนอเข้าสู่สภาและมีการปล่อยให้ล่าช้ามานานเต็มทีแล้ว จนปฏิทินงบประมาณไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้นได้อีกแล้ว และปีงบประมาณ 2562 ก็กำลังจะสิ้นสุดลงในระยะเวลาไม่กี่วันข้างหน้านี้ ในขณะที่งบประมาณปี 2563 ก็ยังไม่ได้เสนอให้รัฐสภาอนุมัติแต่ประการใด แล้วจะเอาเงินที่ไหนไปจับจ่ายใช้สอย 

ที่อนุมัติการใช้จ่ายกันโครม ๆ นั้น ก็ไม่รู้ว่าได้มีการพิจารณาถึงจำนวนเงินและอำนาจการใช้เงินหรือไม่ เพราะรัฐบาลนั้นไม่มีอำนาจใช้จ่ายเงินงบประมาณ นอกจากที่กฎหมายงบประมาณได้ให้อำนาจไว้ ดังนั้นการอนุมัติงบประมาณใด ๆ โดยไม่มีกฎหมายงบประมาณรองรับ จึงอาจเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและปฏิบัติไม่ได้ 

นอกจากนั้น เริ่มมีการยอมรับหรือบ่ายเบี่ยงเลี่ยงบาลีในหลายกรณีที่ให้สัญญาไว้กับประชาชนในช่วงหาเสียงเลือกตั้งและในการแถลงนโยบายให้ปรากฏบ้างแล้ว แต่ไม่อยากยกตัวอย่างให้กระเทือนซางใคร 

โดยสรุปก็คือมีการยอมรับโดยตรงบ้าง มีการบ่ายเบี่ยงเลี่ยงบาลีบ้าง ว่าที่หาเสียงกันไว้ก็ดี ที่แถลงนโยบายกันไว้ก็ดี ยังไม่สามารถปฏิบัติได้ แต่ที่น่าเกลียดน่าชังก็คือการบิดตะกูดว่าที่พูดหาเสียงไว้นั้นเป็นเพียงการยกตัวอย่าง หากคิดเช่นนี้และดึงดันเช่นนี้ก็คงต้องไปชี้แจงในศาลในสักวันหนึ่งเป็นแน่ 

ในส่วนรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายตามงบประมาณก็เช่นเดียวกัน ถึงวันนี้ก็ไม่มีใครทราบว่าวงเงินงบประมาณของปี 2563 นั้นมีจำนวนเท่าใด และในจำนวนนี้จะเป็นรายได้จากภาษีอากรเท่าใด จากการกู้ยืมเท่าใด และจากรัฐพาณิชย์เท่าใด เมื่อไม่ทราบแน่ชัด ใครเล่าจะรู้จำนวนเงินที่จะต้องนำมาจับจ่ายใช้สอยตามงบประมาณ 

และเมื่อถึงวันนี้ตัวเลขนี้ยังไม่เด็ดขาดชัดเจนลงไป จึงเป็นที่น่าหวั่นวิตกว่าจะเอาอย่างไรกันแน่ แล้วอย่างนี้จะเกิดความเชื่อมั่นต่อประชาชน ต่อพี่น้องข้าราชการ และต่อนักลงทุนต่าง ๆ ได้อย่างไร 

ก็แลเมื่อระบบงบประมาณและวงเงินที่จะต้องใช้จ่ายตามงบประมาณนั้นเป็นเครื่องยนต์หลักเครื่องหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อวังเวงอยู่เช่นนี้จึงทำให้บ้านเมืองต้องวังเวงตามไปด้วย โดยมิพักต้องสงสัยเลย 

สถานการณ์แบบนี้นายกรัฐมนตรีพึงเฉลียวใจว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นหรือมีอะไรเกิดขึ้น จึงมีอันเป็นไปได้ถึงปานนี้!