PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562

ชำแหละปมร้อน “ศักดิ์สยาม”ยึดอำนาจเบ็ดเสร็จ คุมทุกเรื่อง“คมนาคม”

ชำแหละปมร้อน “ศักดิ์สยาม”ยึดอำนาจเบ็ดเสร็จ คุมทุกเรื่อง“คมนาคม”

03 Sep 2019
อ่าน 7,525 ครั้ง
Ads by AdAsia
Play
ดุเดือดเลือดพล่านขึ้นมาอีกเมื่อ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” เจ้ากระทรวงคมนาคม ออกคำสั่งด่วนที่สุด ลงวันที่ 27 สิงหาคม เรื่อง การนำนโยบายกระทรวงคมนาคมไปสู่การปฏิบัติรวม 7 ประการ ส่งไปยัง ปลัดกระทรวงคมนาคม อธิบดีทุกกรม และผู้บริหารรัฐวิสาหกิจทุกแห่งในสังกัดกระทรวงหูกวาง การออกคำสั่งแบบข้ามหน้าข้ามตา “2 รมช.ช่วย” ในครั้งนี้นั้น อ้างเหตุผลสำคัญว่า
เพื่อให้กรม รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติภายใต้การบูรณาการให้ประสานสอดคล้อง และตอบสนองต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและสนับสนุนแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อแบ่งเบาภาระของประชาชนเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 
รายการห้องข่าวเศรษฐกิจ NEWSROOM ช่วง “ลึก แต่ไม่ลับ กับ บากบั่น บุญเลิศ” ตอน “ศักดิ์สยาม ควบอำนาจคมนาคม และรัฐวิสาหกิจ” ดำเนินรายการโดย บากบั่น บุญเลิศ และ วิลาสินี แวน ฮาเรน ออกอากาศทางเนชั่นช่อง 22 พาไปชำแหละปมร้อนในเรื่องนี้แบบล้วงลึก
นายบากบั่น ให้ข้อมูลว่า กระทรวงคมนาคมดูแลงบประมาณในแต่ละปีสูงนับแสนล้านบาท สำหรับงบประมาณปี 2562 อยู่ที่ 1.83 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ประมาณ 1.08 หมื่นล้านบาท เฉพาะงบสำหรับการพัฒนาระบบขนส่งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันประเทศตามยุทธศาสตร์เร่งด่วนปี 2562 อยู่ที่ 112,729 ล้านบาท และปี 2563 อยู่ที่ 104,313 ล้านบาท เป็นงบผูกพันข้ามปีงบประมาณ 2562-2563 ดังนี้
                                           
1.กรมเจ้าท่า รวม 2,907 ล้านบาท 2.กรมการขนส่งทางบก 1,972 ล้านบาท 3.กรมท่าอากาศยาน 8,460 ล้านบาท 4.กรมทางหลวง 22,121 ล้านบาท 5.กรมทางหลวงชนบท 11,429 ล้านบาท 6.สำนักงานแผนและนโยบายการจราจร (สนข.) 418 ล้านบาท
มีงบรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2562 แบ่งเป็น 1.กรมเจ้าท่า 4,788 ล้านบาท 2.กรมการขนส่งทางบก 4,154 ล้านบาท 3.กรมท่าอากาศยาน 6,614 ล้านบาท 4.กรมทางหลวง 119,091 ล้านบาท และ5.กรมทางหลวงชนบท 48,089 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 182,736 ล้านบาท
ขณะที่มีงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ต้องเร่งเบิกจ่ายให้ได้ 70 % และต้องรายงานให้นายศักดิ์สยาม รมว.คมนาคมทราบในทุกๆโครงการที่มีการจัดซื้อจัดจ้างมูลค่า 100 ล้านบาท รวมถึงถ้ามีการพิจารณาแผนงานต้องรายงานให้รับทราบภายใน 7 วันด้วย


สำหรับงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2562 ประกอบด้วย 1.การรถไฟแห่งประเทศไทย 76,184 ล้านบาท 2.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 24,385 ล้านบาท 3.บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.จำนวน  17,912 ล้านบาท 4.การทางพิเศษแห่งประเทศไทย 6,203 ล้านบาท
5.การท่าเรือแห่งประเทศไทย 2,010 ล้านบาท 6.องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) 1,986 ล้านบาท 7.บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด 1,250 ล้านบาท 8.บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 6,380 ล้านบาท รวมงบลงทุนทั้งสิ้น 136,310 ล้านบาท  
นอกจากนี้ยังงบประมาณสำหรับโครงการพิเศษที่อยู่ในมืออีกจำนวนมหาศาล วงเงินรวม 1,920,469 ล้านบาท เช่น โครงการรอรัฐบาลให้สัมปทาน ประกอบด้วย โครงการขยายสัญญาทางด่วน 30 ปี วงเงิน 31,500 ล้านบาท, โครงการระบบเก็บเงินมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช และบางใหญ่-กาญจนบุรี วงเงิน 61,086 ล้านบาท, โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 224,544 ล้านบาท และโครงการท่าเรือแหลมฉบับเฟส 3 วงเงิน 49,630 ล้านบาท
ทั้งยังมีโครงการที่รอรัฐบาลเซ็นสัญญาอีก อาทิ โครงการทางด่วนพระราม 3–ดาวคะนอง วงแหวนตะวันตก 4 สัญญา วงเงิน 29,154 ล้านบาท,โครงการรถไฟไทย-จีน 5 สัญญา วงเงิน 58,168 ล้านบาท และโครงการยกระดับพระราม 2 ช่วงบางขุนเทียน- บ้านแพ้ว วงเงิน 10,500 ล้านบาท และที่รอให้รัฐบาลผลักดันอีก 3 โครงการ ประกอบด้วย โครงการรถไฟไทย-จีน เฟส 2 นครราชสีมา-หนองคาย วงเงิน 210,862 ล้านบาท,โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก วงเงิน 212,892 ล้านบาท และโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หัวหิน วงเงิน 100,125 ล้านบาท
รวมถึงยังมีโครงการต่างๆ ที่รอเสนอเข้าครม.อีกจำนวนมาก อาทิ ค่าเวนคืนมอเตอร์เวย์ บางใหญ่-กาญจนบุรี วงเงิน 8,000 ล้านบาท,โครงการมอเตอร์เวย์นครปฐม-ชะอำ วงเงิน 79,006 ล้านบาท,โครงการมอเตอร์เวย์หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ วงเงิน 57,022 ล้านบาท,โครงการส่วนต่อขยายโทลล์เวย์รังสิต-บางปะอิน วงเงิน 30,538 ล้านบาท โครงการด่วนกะทู้-ป่าตอง วงเงิน 13,917 ล้านบาท
โครงการทางด่วนขั้นที่ 2 สายเหนือ 17,000 ล้านบาท,โครงการสายสีส้มตะวันตก บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม วงเงิน 12, 000 ล้านบาท, โครงการรถไฟฟ้าภูเก็ต 30,155 ล้านบาท,โครงการอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 สุวรรณภูมิ 35,377 ล้านบาท,โครงการจุดพักรถมอเตอร์เวย์พัทยา-มาบตาพุด 620 ล้านบาท
โครงการที่พักริมทางมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี 1,486 ล้านบาท,โครงการที่พักริมทางมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช 1,579 ล้านบาท, โครงการศูนย์บริการทางหลวงศรีราช 1,504 ล้านบาทและโครงการรถไฟทางคู่ เฟส 2 จำนวน 6 เส้นทาง วงเงิน 215,338 ล้านบาท     
มีโครงการที่รอประมูลอีก 7 โครงการ อาทิ โครงการสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ วงเงิน 6,570 ล้านบาท, โครงการสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 10,202 ล้านบาท,โครงการสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 6,645 ล้านบาท, โครงการสายสีแดงบางซื่อ-หัวหมาก และบางซื่อ-หัวลำโพง 44,144 ล้านบาท,โครงการสายสีม่วงใต้เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 101,112 ล้านบาท
โครงการรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 85,345 ล้านบาท, โครงการรถไฟทางคู่บ้านไผ่-นครพนม  66,848 ล้านบาท, โครงการรถไฟไทย-จีน 7 สัญญา 70,000 ล้านบาท และโครงการรันเวย์ 3 สนามบินสุวรรณภูมิ 19,422 ล้านบาท  
                                                        
“คำถาม คือ แนวทางการทำงานหลังจากนี้ที่ให้ต้องรายงานทุกเรื่องกับ นายศักดิ์สยาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ดังนั้น การแบ่งงานให้กับ นายถาวร เสนเนียม และ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ก่อนหน้านี้ จึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด” นายบากบั่น ตั้งข้อสังเกต             

ทั้งนี้ สำหรับคำสั่งที่ คค 0100/1421 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2562 มีรายละเอียดถึง ปลัดกระทรวงคมนาคม อธิบดีทุกกรม 13 ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจและบริษัทในสังกัดกระทรวง ระบุว่า ตามที่ได้มอบนโยบายของกระทรวงคมนาคมให้แก่ปลัดกระทรวง อธิบดี และผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้กรม รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม นํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ ภายใต้การบูรณาการให้ประสาน สอดคล้อง และตอบสนองต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580
                                                     
รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและสนับสนุนแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อแบ่งเบาภาระของ ประชาชนเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั้น เพื่อให้การแปรนโยบายของกระทรวงคมนาคมไปสู่การปฏิบัติ เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้การบริหารงบประมาณของรัฐบาลเป็นไปตามข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 20 สิงหาคม 2562 จึงให้กระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจนําเสนอเรื่องต่างๆให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมทราบก่อนไม่น้อยกว่า 7 วันทําการ ดังนี้
1. แผนปฏิบัติการตามนโยบายและโครงการสําคัญเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศและประชาชน
 2. การบริหารงานบุคคล การบรรจุ การคัดเลือก การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือคําสั่ง การออกจากตําแหน่ง สอบสวนวินัยและการลงโทษข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตําแหน่งนักบริหารระดับสูง นักบริหารระดับต้น และผู้บริหาร รองผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ
                                                    
3. การขออนุมัติดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามแผนงานโครงการ ที่มีวงเงินงบประมาณตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป
4. รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2562 และ พ.ศ. 2563 ทุกเดือน ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป โดยมีเป้าหมายให้ส่วนราชการต้องเบิกจ่ายให้ได้ไม่น้อยกว่า 60% และรัฐวิสาหกิจต้องเบิกจ่ายให้ได้ไม่น้อยกว่า 70%
 5. ระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการบริหารรัฐวิสาหกิจก่อนการประชุม 7 วันทําการ และรายงานการประชุมฯ ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมไม่เกิน 7 วันทําการ
                                                 

ไม่มีความคิดเห็น: