PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ข้อเสนอ เพื่อหาทางออกประเทศไทย: ระยะสั้นเจรจายุติความวุ่นวาย-ระยะยาวสร้างกติกาใหม่

การบริหารงานของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยในช่วงย่างเข้าขวบปีที่สาม ประสบปัญหาความขัดแย้งในประเด็นใหญ่ๆ 2 ประการ

นโยบายที่ผิดพลาด โดยเฉพาะความพยายามของพรรคเพื่อไทยในการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ที่แตกต่างออกไปจากร่างฉบับแรกที่เสนอเข้ามายังสภาผู้แทนราษฎร จนมีประชาชนชุมนุม
คัดค้านเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าในบั้นปลาย พรรคเพื่อไทยจะยอมถอยและวุฒิสภาจะโหวตให้ร่างฉบับนี้ตกไป แต่วิกฤตศรัทธาต่อการบริหารงานของพรรคเพื่อไทยก็ยังคงอยู่

วิกฤตรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ 2550 นั้นมีปัญหามากมายทั้งในประเด็นเนื้อหาและที่มา ซึ่งรัฐสภาที่นำโดยพรรคเพื่อไทยพยายามแก้รัฐธรรมนูญในส่วนของเนื้อหา แต่ก็ประสบปัญหาโดนคัดค้าน และถูกยื่นตีความโดยศาลรัฐธรรมนูญ ส่งผลกระทบให้เกิด “วิกฤตอำนาจตามรัฐธรรมนูญ” ตามมาว่าตกลงแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจยับยั้งการแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ และจนกระทั่งบัดนี้สังคมไทยก็ยังไม่ได้ข้อยุติที่ชัดเจน

ปัญหาทั้งสองประการส่งผลให้มวลชนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเพื่อไทยออกมาเคลื่อนไหวทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ล้อมสถานที่ราชการหลายแห่งจนเกิดผลกระทบต่อการทำงานของข้าราชการในการบริหารประเทศ ในขณะที่มวลชนฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลก็ประกาศตัวชัดเจนว่าจะปกป้องรัฐบาลอย่างเต็มที่ ซึ่งทำให้สถานการณ์สุ่มเสี่ยงว่ามวลชนทั้งสองฝ่ายอาจปะทะจนถึงขั้นบาดเจ็บและเสียชีวิต

SIU ขอร่วมเสนอทางออกประเทศไทยโดยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นแรก พาประเทศไทยกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว คู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายควรหันหน้ามาเจรจาเพื่อยุติความวุ่นวายเฉพาะหน้า โดยมีบุคคลหรือหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับจากสังคมทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานงานและเจรจา ฝ่ายรัฐบาลอาจพิจารณาเงื่อนไขของการยุบสภาเข้าร่วมในการเจรจา และถ้าเกิดข้อตกลงว่าจะยุบสภาเพื่อคืนอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้งใหม่ พรรคการเมืองทุกแห่งควรทำสัตยาบันว่าจะส่งตัวแทนลงเลือกตั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะสุญญากาศในการบริหารประเทศแบบที่เคยเกิดขึ้นในปี 2549

ขั้นที่สอง สร้างกติกาใหม่ที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย เมื่อประเทศเข้าสู่ความสงบเรียบร้อยแล้ว รัฐบาลในขณะนั้นจะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างกติกาใหม่ที่คนไทยทั้งประเทศเห็นชอบร่วมกัน
โดยมีความเป็นประชาธิปไตยทั้งในแง่กระบวนการ (เช่น กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ขั้นตอนในการลงประชามติ) และเนื้อหา (เช่น ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา การมีส่วนร่วมทางการเมือง
ของประชาชนในทางตรง)

กระบวนการคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศไทยเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ต้องเข้าถึงประชาชนทุกระดับ และสุดท้ายแล้วอาจต้องใช้เวลาอีกหลายปีจึงจะสำเร็จ อย่างไรก็ตาม เราขอ
เรียกร้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรวมถึงมวลชนทุกฝ่ายอดทนต่อกระบวนการเหล่านี้ หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงโดยคำนึงถึงชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคน  และร่วมกันมองไปถึงผลลัพธ์สุดท้ายในระยะยาวนั่นคือประเทศไทยที่สงบ สันติ และเดินหน้าต่อได้ตามวิถีทางของประชาธิปไตย

Siam Intelligence Unit

28 พฤศจิกายน 2556

สิ่งที่คุณสุเทพควรปฏิรูปเป็นอย่างแรก คือพรรคประชาธิปัตย์


การปราศรัยของคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ต่อหน้า “ม็อบไม่มีชื่อ” (สื่อมวลชนเองก็ยังสับสนว่าจะเรียกม็อบที่นำโดยคุณสุเทพว่าอะไรดี สื่อต่างชาติที่ตามข่าวในไทยใช้คำสั้นๆ ว่า “the mob”) เป็นข้อเสนอเพื่อ “ปฏิรูปประเทศไทย” จำนวนทั้งหมด 6 ข้อ ดังนี้ (อ่านคำปราศรัยฉบับเต็มจาก เพจสุเทพ เทือกสุบรรณ)
  1. ปฏิรูประบบเลือกตั้ง “เราต้องร่วมกันคิด วางกติกาใหม่ ให้ซื้อเสียงไม่ได้ โกงไม่ได้ และต้องไม่ให้คนชั่วได้เข้ามานั่งในสภาได้ ไม่ให้มาแอบอ้างอำนาจปชช. หรือชื่อระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่ฟังเสียงเจ้าของอำนาจจริงๆ เลย เพราะฉะนั้น นี่คือคำตอบแรก สำหรับคนที่อยากรู้ว่า ถ้าขจัดระบออบทักษิณแล้วจะทำอะไร ทำการเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม ไม่ให้ทุนสามานย์เข้ามาได้”
  2. ปฏิรูประบบทุจริต “เราต้องเปลี่ยนปท.ไทยไม่ให้มีทุจริตคอรัปชั่นจนชาติเสียหายอย่างปัจจุบันนี้ ไปตัวนี้มันทำชาติย่อยยับ เมื่อมันมีอำนาจ มันโกงได้ มันจึงกล้าลงทุนซื้อเสียงให้พวกมันมานั่งในสภา”
  3. ให้อำนาจประชาชนในการเมืองการปกครอง เช่น ปชช.ต้องถอดถอนนายกและรมต.ได้ ต้องให้ปชช.ถอดถอนสส.ได้, เราต้องมีกระบวนการรับรองอำนาจปชช. ถอดถอนในเวลาไม่ยืดยาว เห็นผลใน 5-6 เดือน ไม่ใช่รอเป็นปี, ต้องกระจายอำนาจปกครองไปยังท้องถิ่น เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ไม่เอาผู้ว่า แต่งตั้งจากส่วนกลางอีกแล้ว
  4. ปฏิรูปโครงสร้างตำรวจ ต้องให้ตร.เป็นตร.ของปชช. ให้ปชช.เป็นคนให้ความดีความชอบตร. จะได้ไม่มีพวก ได้ดีเพราะพี่ให้ ถ้าตร.จะได้ดี เพราะปชช.เห็นคุณความดี กองบัญชาการตร.นครบาล ต้องอยู่ภายใต้ผู้ว่ากทม. ไม่ใช่ผบ.ตร. จังหวัดอื่นเช่นเดียวกัน
  5. ปฏิรูประบบข้าราชการ ข้าราชการอยู่ในระบบคุณธรรม ไม่ใช่ระบบอุปถัมภ์ต้องเป็นข้าราชการของปชช.
  6. แก้ปัญหาการศึกษา คมนาคม ฯลฯ รับบาลต้องเข้ามาแก้ปัญหาเป้าหมายหลักของชาติ ต้องแก้ปัญหาคนจนต้องเป็นวาระแห่งชาติ พอกันทีหากินกับนโยบายประชานิยม คมนาคม ต้องทำเพื่อผลประโยชน์ชาติ ไม่ใช่ทำเพื่อหาเสียง หรือเพื่อประโยชน์ตนและพวกพ้อง
SIU เห็นว่าข้อเสนอของคุณสุเทพหลายข้อมีความก้าวหน้า เช่น การกระจายอำนาจท้องถิ่น การให้เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง หลายข้อถึงแม้ว่าจะยังไม่มีรายละเอียดมากนักว่าจะนำไปปฏิบัติจริงได้เช่นไร แต่ก็เป็นข้อเสนอเชิงบวกที่หวังดีต่อประเทศ เช่น ข้าราชการไม่อยู่ในระบบอุปถัมป์ หรือ ตำรวจไม่มีระบบพรรคพวก
ข้อเสนอเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าสนับสนุน และถ้าหากว่าคุณสุเทพนำเสนอในช่วงที่มีการเลือกตั้ง ก็จะเป็นนโยบายหาเสียงที่ทรงพลังมาก
คำถามคือทำไมเราไม่เห็นพรรคประชาธิปัตย์ประกาศข้อเสนอเหล่านี้ ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 รวมถึงการเลือกตั้งครั้งอื่นๆ เช่น การเลือกตั้งผู้ว่า กทม.
และถ้าย้อนไปไกลกว่านั้นสักหน่อย ในช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลระหว่าง พ.ศ. 2551-2554 ทำไมพรรคประชาธิปัตย์ไม่ดำเนินนโยบายที่ดูก้าวหน้าและมีประโยชน์ต่อประเทศเหล่านี้?
คำตอบเป็นเพราะ พรรคประชาธิปัตย์เองก็เป็นส่วนหนึ่งของ “การเมืองระบบเก่า” ที่คุณสุเทพเห็นว่า “เป็นปัญหาและต้องปฏิรูปหรือไม่?”
คำถามต่อไปก็คือ ทำไมในข้อเสนอทั้ง 6 ข้อของคุณสุเทพ ถึงไม่มีข้อใดเลยที่จะเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์เลย?
ภาพจากเพจสุเทพ เทือกสุบรรณ
ภาพจากเพจสุเทพ เทือกสุบรรณ
เป็นความจริงที่ยอมรับกันทั่วไปว่า พรรคประชาธิปัตย์มีปัญหาหลายประการ ที่สำคัญที่สุดคือพรรคปรับตัวตามกระแสโลกไม่ทัน ใช้แนวทางการบริหารจัดการแบบเก่าๆ หลายประการ จนทำให้พ่ายแพ้เลือกตั้งมาเกือบ 20 ปีติดต่อกัน และภายหลังยังมีปัญหาเรื่องการเอาหลังอิง “อำนาจนอกระบบ” จนเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาการเมืองในประเทศไทย
บุคคลากรของพรรคประชาธิปัตย์เอง ไม่ว่าจะเป็นคุณอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรค หรือคุณพิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรค ต่างก็ออกมาชี้ว่าพรรคประชาธิปัตย์มีปัญหา และเสนอให้ “ปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์” ให้กลับมาแข่งขันได้ แต่ข้อเสนอเหล่านี้ก็กลับไม่ถูกตอบสนองมากนักโดย “แกนนำพรรคประชาธิปัตย์” ชุดปัจจุบัน
ทั้งที่จริงๆ แล้ว การปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์ เป็นจิ๊กซอส่วนสำคัญมากต่อการปฏิรูปประเทศไทย ตามความฝันและความหวังของคุณสุเทพด้วยซ้ำ
ในระบอบการเมืองแบบสองพรรคใหญ่ดังเช่นปัจจุบัน เป็นไปได้ยากที่จะมีพรรคทางเลือกที่สามขึ้นมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้ ดังนั้นพรรคการเมืองอันดับสองจำเป็นต้องเข้มแข็ง ปรับตัวตามความต้องการของประชาชน เพื่อเป็น “ตัวเลือก” ใน “ตลาดการเมือง” ที่ประชาชนจับจ่ายใช้สอย “คะแนนเสียง” ของตัวเอง เสมือนว่าเป็นการ “จ้าง” พรรคการเมืองมาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ
การที่พรรคประชาธิปัตย์อ่อนแอ ไม่สามารถเป็นตัวเลือกให้กับประชาชนได้ ก็ย่อมทำให้พรรคเพื่อไทยมีสภาพผูกขาดชัยชนะ (ซึ่งก็มาตามระบอบประชาธิปไตยทุกประการ) อยู่เรื่อยไป และในมุมกลับแล้วก็ทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน พรรคเพื่อไทยเองก็ไม่ปรับตัว มีปัญหาหลายอย่างดังที่ปรากฏอยู่ในการบริหารราชการแผ่นดินตลอดสองปีกว่ามานี้
แต่พรรคเพื่อไทยจะปรับตัวไปทำไม ในเมื่ออยู่เฉยๆ ก็สามารถเอาชนะพรรคประชาธิปัตย์ได้ในการเลือกตั้งครั้งหน้าอยู่แล้ว?
สภาพแบบนี้ไม่เกิดประโยชน์ต่อประเทศเลยแม้แต่น้อย เพราะตัวเลือกทั้งสองมีปัญหาในทางของตัวเอง ซึ่งก็จะส่งผลเสียต่อประเทศไทยในภาพรวม
ถ้าหากว่าพรรคประชาธิปัตย์สามารถกลับมาเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจได้อีกครั้ง พรรคเพื่อไทยเองก็ต้องปรับตัวให้มีผลงานดี ไม่มีสภาวะแบบที่คุณสุเทพปราศรัยเอาไว้ว่า
เป็นประชาธิปไตยแค่ชื่อ แค่เปลือกนอก แต่เนื้อแท้เป็นเผด็จการเสียงข้างมาก ที่แอบอ้างอำนาจปชช. แล้วเอาไปใช้อำเภอใจ ใช้สภาย่ำยีหลักการปกครองบ้านเมือง ปกครองแบบอธรรม ใช้พวกมากข่มเหงรังแก ข่มขืนใจปชช. บังคับออกกม.ชั่วร้ายตอนตี 4 ครึ่ง
ไม่มีหิริโอตัปปะ ละอาย ดันทุรัง ออกกม.ล้างผิดให้นาย ที่หนีคุก ไปเสวยสุขต่างประเทศ ทั้งๆที่ศาลพิพากษาแล้ว มันก็บอกคำพิพากษาเป็นโมฆะ ออกกม.ล้างผิดให้คนที่ฆ่าพล.อ.ร่มเกล้า ฆ่าปชช. เผาบ้านเมือง ทั้งหมดสู้เพื่อนายมันเท่านั้น
อีกทั้งยังพยายาม เขียนรธน.ใหม่ทั้งฉบับ พอศาลรธน.ท้วง มันก็มาแก้ในมาตราที่ช่วยให้มันรวบอำนาจ เพื่อรอมอบให้นายมัน
และปรากฎชัดว่า มันแก้รธน.ด้วยการโกง ทุกรูปแบบ เพื่อเอาชนะ ทำลายหลักความถูกต้อง ตั้งแต่ปลอมแปลงเอกสาร ที่ยื่นฉบับหนึ่งแต่ให้อีกฉบับมาพิจารณา ปิดปากเสียงข้างน้อย ไม่ให้อภิปราย แปรญัตติ นายชวนหลีกภัย ยังถูกตัดสิทธิ์เลย แล้วพวกมันก็ปิดปากสส.คนอื่นอีก มันรีบปิดอภิปรายไป
เวลาลงมติ มันกลัวไม่ชนะ มันโกงตอนลงมติ ให้ลงคะแนน เสียบบัตรแทนกัน ทำอย่างเดียวกับตอนโกงเลือกตั้ง ที่สุดก็ข่มขืนใจคนทั้งปท. ผลักดันรธน.ฉบับแก้ไขของมันผ่านสภาสำเร็จ แต่พอศาลรธน.วินิจฉัยว่า เนื้อหาจะทำให้เกิดการรวบอำนาจ ผิดเจตนารมณ์รธน.ที่ต้องมี 3 คานอำนาจ ศาลว่าทุกขั้นตอนผิดทั้งหมด
แทนที่มันจะน้อมรับ แต่กลับดาหน้ากันออกมา ว่าไม่ยอมรับอำนาจศาล ไม่ทำตาม และมันจะเล่นงานศาล
แบบที่คุณสุเทพปราศรัยเอาไว้ เพราะถ้าหากพรรคเพื่อไทยพลาดพลั้งไป กระแสจะตีกลับไปยังพรรคประชาธิปัตย์ เขี่ยพรรคเพื่อไทยพ้นจากการเป็นรัฐบาลในไม่ช้า
คุณสุเทพออกตัวไว้ว่าจะไม่มีบทบาทในการบริหารประเทศถ้าโมเดล “สภาประชาชน” ของคุณสุเทพเป็นจริงได้ เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจของการเคลื่อนไหว
แต่แท้จริงแล้ว คุณสุเทพ (รวมถึงคุณอภิสิทธิ์ คุณกรณ์ และแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ท่านอื่นๆ) ควรจะเป็น “แกนหลักสำคัญ” ในการปฏิรูปประเทศไทยด้วยซ้ำ
เพียงแต่คุณสุเทพต้องกลับไปปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์เป็นอย่างไร ปรับปรุงพรรคให้กลับมาเข้มแข็ง ต่อสู้กับพรรคเพื่อไทยในเชิงการเมืองได้ แล้วเข้ามาเป็นรัฐบาลที่มั่นคง มีประสิทธิภาพ ใสสะอาด ดังที่คุณสุเทพวาดฝันเอาไว้ ก่อนจะมาดำเนินนโยบายปฏิรูปประเทศไทยทั้ง 6 ข้อข้างต้นอย่างจริงจัง
ความเจริญของประเทศตามระบอบประชาธิปไตยไม่มีทางลัด ระบอบประชาธิปไตยเปิดกว้างให้ผู้หวังดีต่อประเทศ เข้ามาเสนอนโยบายว่าประเทศไทยควรจะมุ่งไปในทิศทางใด
คุณสุเทพอาจใจร้อนไปสักหน่อยที่ต้องแพ้การเลือกตั้งให้กับสิ่งที่เรียกว่า “ระบอบทักษิณ” อยู่ร่ำไป แต่ถ้ามองถึงประโยชน์ระยะยาวของประเทศแล้ว คงไม่มีเส้นทางอื่นใดนอกจากการกลับมาโฟกัสที่การปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์
สักที
อ่านข้อเสนอเก่าของ SIU ในการปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์

สุเทพ เทือกสุบรรณ : ต้องขจัดระบอบทักษิณให้ถึงที่สุด

คำต่อคำ สุเทพ เทือกสุบรรณ ณ เวทีศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ

สุเทพปราศรัยชี้แจงยึด บช.น. และทำเนียบได้แล้ว พร้อมย้ำตำรวจยังคงทำงานให้ระบอบทักษิณ แจงเหตุแค่เข้าไปแล้วออกมา เพราะให้เกียรติทหาร บอก เสร็จจากยึด บช.น. มวลชนก็ยึดทำเนียบ เพราะ "คำรณวิทย์" ประกาศว่ายึดทำเนียบไม่ได้ ชื่นชมมวลมหาประชาชนสามารถยึด บช.น ได้ด้วยมือเปล่า แม้จะต้องเผชิญกับแก้สน้ำตาหลายครั้ง" ยอมรับยังชนะไม่เด็ดขาด เพราะระบอบทักษิณยังอยู่ ยังบงการอยู่ จึงจะยังกลับบ้านไม่ได้ ต้องสู้ต่อ ต้องหนักแน่น อย่าเชื่อข่าวลือ ข่าวปล่อย นี่แค่ชัยชนะส่วนหนึ่ง ยังกลับบ้านไม่ได้ รัฐบาลยังบงการอยู่เบื้องหลัง มันยอมให้เข้าทำเนียบกับบชน. เพื่อสร้างภาพเท่านั้น

บอกเหมือนเดิมว่าถ้ารัฐบาลยุบสภา เลือกตั้งมันก็กลับมาใหม่ ฉะนั้นจึงไม่มีความหมายกับเรา อย่าไว้ใจรัฐบาลสร้างภาพว่า 'ถอย' ยืนยันความตั้งใจขจัดระบอบทักษิณ ประชาชนต้องเข้าไปเปลี่ยนแปลง นี่ถ้าทหารรัฐประหาร 3 ชั่วโมงจบ เพราะลากรถถังลากปืนกล แต่เรามีแค่สองมือเปล่า ต้องใช้เวลา ขอให้อดทน บอกต้องสู้ให้ถึงที่สุด ผมอุทิศตน และชีวิตสู้ให้ถึงที่สุด! ขอบคุณ คนหยุดงาน อาตี๋ อากง เอารถมาขวางปกป้อง เมื่อรู้ข่าวว่าจะมีตำรวจมาจับ..

"ฉลองได้ครับ แต่งานของเรายังไม่เสร็จ เพราะยิ่งลักษณ์ยังอยู่ ระบอบทรราชยังอยู่”

“เราต้องเดินหน้าต่อไป ต้องขจัดระบอบทักษิณให้ถึงที่สุด นั่นถึงจะเป็นชัยชนะเด็ดขาด”

สุเทพ เทือกสุบรรณ
เลขาธิการ กปปส
14.00 น. 3 ธันวาคม 2556

‪#‎รัฐบาลหมดความชอบธรรม‬ ‪#‎ไล่ระบอบทักษิณ‬ ‪#‎กปปส‬


ข่าวลืือ ยิ่งลักษณ์ ยุบสภา ลาออก พลากร นั่งนายกฯรักษาการ

ผมเห็นข่าวลือส่งกันตาม Line ว่า คุณยิ่งลักษณ์ จะยุบสภา แล้วลาออก เปิดทางให้ท่านองคมนตรี พลากร สุวรรณรัตน์ มาเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการนั้น ผมมีความเห็นว่าทข้อมูลนี้ยังคงอยู่ในระดับ "ข่าวลือ" เท่านั้น
1. นายกรัฐมนตรีลาออก ตามรัฐธรรมนูญ ส.ส.ก็จะเลือกได้จาก ส.ส.มาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งตามกระบวนการก็ทำได้แค่เปลี่ยนตัวคนในพรรคเพื่อไทยมาเท่านั้น

2. ถ้านายกรัฐมนตรียุบสภาก่อน หลังจากนั้นคุณยิ่งลักษณ์ก็จะลาออกตามมา ก็หมายถึงไม่มี ส.ส.ที่จะเลือกนายกรัฐมนตรีได้อีก โมเดลนี้ก็ยังเป็นไปไม่ได้อีกเพราะยังต้องแก้รัฐธรรมนูญเปิดทางให้คนที่ไม่ใช่เป็น ส.ส.มาเป็นนายกรัฐมนตรีก่อน (มาตรา171, 172, 173) หมายถึงว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ เซอร์ไพรซ์ ได้เลย และหากทำได้ก็รักษาการได้สั้นมาก เพราะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 45 วันตามรัฐธรรมนูญมาตรา 109 จึงไม่สามารถมีเวลาพอสำหรับการปฏิรูปประเทศได้

ข่าวที่เกิดขึ้นในเวลานี้จึงเป็นเพียง "ข่าวปล่อย"ถ้าจะเกิดขึ้นได้เราจะรู้เท่าๆกันเมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรืองดเว้นการใช้รัฐธรรมนูญหลายมาตราก่อนเท่านั้น ไม่เกิดเซอร์ไพรซ์ในวันหรือสองวันนี้หรอกครับ และ โอกาสจะเกิดได้ยากโดยมือของ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล น่าจะไปรอการนัดหมาย ปปช. ชี้มูลความผิดนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีก่อนแล้วชี้มูลสมาชิกรัฐสภา 312 คน ตามมา"ในเวลาใกล้เคียงกัน" จึงจะมีความเป็นไปได้มากขึ้น

แจกพระบรมสาทิสลักษณ์

พระบรมสาทิสลักษณ์ขนาด A4 ที่รัฐบาลจัดทำ เตรียมแจกพสกนิกร ริมถนนเพชรเกษม และผู้เข้าเฝ้าฯ ในงานเสด็จออกมหาสมาคม 5 ธ.ค.2556 



จุดต่ำสุดของผู้บริหารมหาวิทยาลัยไทย

อธิการบดีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่บอกว่านายกรัฐมนตรี

"ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง"

เป็นจุดต่ำสุดของผู้บริหารมหาวิทยาลัยไทย

และน่าอับอายขายหน้าที่สุด :Serkei Krikalyov

รอยแยกการเมืองไทย


รายงานของ Aljazeera ก็น่าสนใจ เขาบอกว่าคุณสุเทพต้องการขจัดอิทธิพลของทักษิณให้หมดไป โดยการเสนอให้มีคณะปกครองที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งบริหารงานแทนรัฐบาล และสุเทพให้เหตุผลว่า “คนที่นั่งอยู่ในรัฐสภาตอนนี้ ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งที่ขาวสะอาด พวกเขาซื้อเสียงเข้ามาทั้งนั้น” (“The people we have in the Parliament now, they did not get there in clean elections. They bought their votes.”)

ในตอนท้าย ผู้สื่อข่าว Aljazeera ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า แม้สุเทพประกาศตัวเองเป็นแกนนำต่อต้านคอร์รัปชัน แต่ประวัติความเป็นมาของเขาไม่ขาวสะอาดสักทีเดียว เพราะเคยถูกกล่าวหาในคดีเกี่ยวกับที่ดิน จนเป็นเหตุให้รัฐบาล (ประชาธิปัตย์) สมัยนั้นต้องยุบสภามาแล้ว (“While he said he is leading the fight against corruption, his record has not been entirely clean. He has been implicated in a land scandal that eventually forced the government to dissolve the parliament.”

ผมเห็นด้วยกับที่ผู้สือ่ข่าวสรุปว่า ในการต่อสู้ครั้งนี้ ไม่ว่าใครแพ้หรือชนะ รอยแยกทางการเมืองไทย จะดำรงอยู่ต่อไป (“No matter who wins, Thailand’s political divide looks set to continue.”)

ครับ คุณสุเทพทำลายภาพลักษณ์ของข้าราชการ โดยเฉพาะตำรวจซึ่งถูกหาว่ารับใช้ระบอบทักษิณ ไม่หนำใจ ยังทำลายภาพลักษณ์ของรัฐสภา หาว่าซื้อเสียงเข้ามาทั้งนั้น โดยไม่คิดเลยว่าคนที่ซื้อเสียงเข้ามา อาจรวมถึงตัวเองและสส.ปชป.อีก 160 กว่าคนด้วย ทุ่มหมดหน้าตักเลยนะครับ

http://www.aljazeera.com/news/asia-pacific/2013/12/thai-tensions-eased-as-police-lift-barricades-201312343638888713.html


ทางออกประเทศไทย : จุดต่าง สองขั้ว การเมือง

3 ธันวาคม 2013 เวลา 20:26 น.
เสาวลักษณ์ วัฒนสิน

นับจากวันเริ่มต้นชุมนุมต่อต้านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม จนถึงการประกาศยกระดับการชุมนุมเป็นขับไล่รัฐบาล และกำจัดระบอบทางการเมือง ที่เรียกกันว่า"ระบอบทักษิณ" วันนี้กลุ่มเคลื่อนไหว

ทางการเมืองในนาม "กปปส." เคลื่อนไหวมาแล้ว รวม 35 วันหรือเดือนเศษ

จนถึงวินาทีนี้ แม้จะเกิดเหตุสูญเสียขึ้นแล้ว แต่ฝ่ายการเมือง 2 ขั้วยังคงชิงความได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมืองกันอยู่ และภาพที่สะท้อนชัดถึงการชิงไหวชิงพริบของภาครัฐและผู้ชุมนุม คือภาพ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาลและกองบัญชาการตำรวจนครบาลวันนี้

หลังยื้อยุดฉุดกระชากกันเกือบจะข้ามวันข้ามคืน ส่อเค้า-เข้าข่ายรุนแรง-สูญเสีย แต่ช่วงพริบตาเดียวเหตุการณ์กลับพลิกผัน ผู้ชุมนุม กปปส. เดินหน้าลุยบุกยึดทำเนียบรัฐบาล โดยหวังเพียงจะเข้าไป

สร้างสัญลักษณ์ของการยึดครองศูนย์รวมด้านการบริหาร. ขณะที่ภาครัฐกำชับปิดกั้นทุกวิธิภายใต้แผนปฏิบัติการ เบาไปสู่หนัก จนเกิดเหตุปะทะ แต่สุดท้ายเรื่องกลับหักมุม. กลายเป็นการยินยอม

เปิดประตูให้เข้าไปได้โยราบรื่นอำเภอใจ

ไม่ต่างกัน...กองบัญชาการตำรวจนครบาล ศูนย์กลางการจัดกำลังพลเพื่อดูแลและควบคุมฝูงชน ซึ่งพลตำรวจเอกคำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบ.ชน. แข็งกร้าว-สั่งการห้ามประชิดคิดบุกรุกสถานที่

ราชการ แต่ผู้ชุมนุมวางเป้าหมายบุกยึด-ปลดล็อครัฐตำรวจ ออกจากระบอบทักษิณ แต่หลังลั่นจะเข้าพื้นที่เป้าหมายให้ได้ เหตุก็กลับตะละ บ.ชน.บัดจัดทีมเปิดประตูต้อนรับผู้ชุมนุมไปโดยไม่มี

เงื่อนไข

ภาพเหตุการณ์ที่ว่านี้ น่าจะพอคาดการณ์ได้ว่า "เกมรุก" ยังเป็นของฝ่ายผู้ชุมนุม กปปส. และ"เกมรับ" ของภาครัฐยังคงยุทธศาสตร์"นิ่งและสงบ เพื่อสยบเหตุ" แต่ภายใต้เกมการตั้งรับของรัฐบาลวันนี้

กลับมีข้อสังเกตว่า เกิดแรงกดดันต่อการตัดสินใจแก้ปัญหา ว่าต้องไม่เป็นต้นเหตุของสงครามกลางเมือง และไม่เป็นผู้สร้างสงครามประชาชน และแม้จะถูกมองว่ากำลังถอย เพื่อซื้อเวลาให้อีกฝ่าย

แผ่วแรงลงเอง แต่ในสายตาประชาชน ยังบ่งชี้ได้ว่า การตั้งรับนี้ มีความชอบธรรมอยู่ในมือ

ขณะที่ กปปส. ลุกขึ้นมาประกาศชัยชนะของการยึดครอง 2 เป้าหมายหลัก แต่ก็มีท่าทีที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการระแวดระวังที่จะเป็นฝ่ายนิยมความรุนแรง เพราะบทเรียนเกิดขึ้นแล้วกับนัก

ศึกษารามคำแหง และที่กดดันแกนนำมากที่สุด คือ กรณีศาลอนุมัติหมายจับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ด้วยข้อกล่าวหา"กบฎ" รวมถึงผลทางการเมือง ก็ดูเหมือนจะถูกโดดเดี่ยวจากพรรคที่เคยสังกัด

ทั้งที่ภาพที่ฉายต่อสาธาารณะชน จะยังคงดูเข้มแข็งไม่หวาดหวั่นก็ตาม

สถานการณ์เดินทางมาถึงห้วงสุดท้ายแล้วหรือไม่ และทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร กำลังเป็นคำถามของทุกคน..ทุกฝ่ายที่ติดตามเหตุการณ์มาอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลและผู้ชุมนุมต่างก็มีเป้า

หมายแต่ในเป้าหมายของทั้ง 2 ฝ่าย มีจุดที่เหมือนและต่างกันอยู่

จุดที่เหมือนกัน : ระหว่างรัฐบาลกับผู้ชุมนุม ชี้วัดได้จากคำปราศรัยหรือการแถลงการณ์ของเลขาธิการ กปปส. "นายสุเทพ เทือกสุบรรณ" วางเป้าหมายของบ้านเมืองที่สมบูรณ์ไว้ที่การปฏิรูปประเทศ

สอดคล้องกับแนวทางของรัฐบาล ที่ไม่ได้ปฏิเสธการปฏิรูป แต่กำลังขับเคลื่อนเดินหน้ากันอยู่

แต่จุดต่างของรัฐบาลและผู้ชุมนุม คือ "การยุบสภาและการเลือกตั้ง" โดยแนวทางที่รัฐบาลแสดงความพร้อมที่จะยุบสภาหรือลาออก หากเป็นความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ และเป็นปัจจัยทำ

ให้ประเทศเกิดความสงบสุข ขณะที่ฝ่ายผู้ชุมนุมชี้ว่า ยุบสภาและการเลือกตั้ง ไม่ใช่คำตอบของการชุมนุม

ด้วยจุดต่างของทั้ง 2 ฝ่าย คือที่มาของโจทย์ที่บางฝ่ายออกมาตั้งคำถามถึง "รัฐบาลกลาง-นายกรัฐมนตรีคนกลาง" ซึ่งแม้จะไม่ใช่คำตอบที่จะได้มาซึ่ง"สภาประชาชน"ตามที่ผู้ชุมนุมต้องการ

แต่นักวิชาการหรือกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง ก็เชื่อกันว่า นี่คือทางออกที่ดีที่สุด แต่บางฝ่ายยังคงคัดค้านเพราะระบบการเมืองการปกครอง ยังคงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แล้วอะไรละ ที่จะเป็นจุดกึ่งกลางให้

2 ฝ่ายมาสรุปลงตรงนี้ได้

นักสันติวิธีบอกว่า การเปิดโต๊ะเจรจาทำความเข้าใจทางการเมือง เพื่อจัดกระบวนการและลำดับเหตุการณ์ทางการเมือง อะไรจะมาก่อนหรือทำหลัง ด้วยบริบทแค่"ยุบสภา-เลือกตั้งใหม่-และการ

ปฏิรูปประเทศ"

ว่าแต่.. ก่อนจะหารัฐบาลกลางและนายกรัฐมนตรีคนกลางคงต้องหาคนกลางเพื่อประสานการเจรจาของทั้ง 2 ฝ่ายก่อน ซึ่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดส่งสัญญาณแล้วว่า หลังวันที่ 5 ธันวาคม กองทัพ

จะได้หารือถึงทางออกของประเทศ แต่แน่นอนว่า วันนี้ ผบ.ทบ. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา บอกว่าสถานการณ์ตอนนี้เป็นเรื่องของการเมือง?

เปิดบทสนทนาวงเจรจา"ยิ่งลักษณ์-สุเทพ"

ในการเจรจาระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำ กปปส. ว่าในที่ประชุมประกอบด้วย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ผู้นำสามเหล่าทัพ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ โดยนายกฯเป็นผู้ขอให้ฝ่ายทหาร ขอให้นายสุเทพเข้ามาพูดคุยด้วย ซึ่งนายสุเทพเห็นว่าสามเหล่าทัพเข้าไปหมดเลยยอมมา

ทั้งนี้ในที่ประชุม นายกรัฐมนตรี ระบุว่าอยากให้หาทางออกร่วมกันว่าจะเป็นอย่างไรได้บ้าง นายกฯยังถามด้วยว่าถ้าลาออกหรือยุบสภาตกลงหรือไม่ ซึ่งนายสุเทพ ยืนยันว่าไม่เอา นายกฯจึงถามต่อว่าแล้วจะเอาอย่างไร นายสุเทพจึงตอบว่าให้ยกอำนาจให้ประชาชน และจะตั้งสภาประชาชนขึ้นมา

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถามต่อว่าแล้วจะให้ใครเป็นนายกฯ นายสุเทพก็ระบุว่าตนจะเป็นคนตั้งเอง นายกฯได้ถามต่อว่าแล้วจะเลือกตั้งใหม่เมื่อไหร่อย่างไร นายสุเทพกล่าวว่า มีแน่ แต่ขอแก้รัฐธรรมนูญให้เรียบร้อยก่อน
สุดท้ายนายกฯ บอกว่าที่นายสุเทพเรียกร้องนั้นอยากให้ยอมรับว่าจะทำได้อย่างไร เพราะกฎหมายไม่เปิดช่องให้ นายสุเทพ กล่าวอีกว่าขอให้นายกฯสละอำนาจให้ประชาชนเรื่องอื่นไม่เป็นไร

ทั้งนี้ เมื่อมาถึงตอนนี้ก็เริ่มรู้ว่าคุยกันไม่รู้เรื่องแล้ว เพราะเสนอไปไม่ยอมรับเลย สิ่งที่นายสุเทพ เสนอมาเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ทั้งนี้เมื่อนายสุเทพ ออกจากการหารือไปแล้ว นายกฯได้ฝากสามเหล่าทัพให้เป็นการบ้านโดยพูดติดตลกว่า "ช่วยแนะนำหน่อยว่าจะทำอะไรได้"
////
            ยุบสภา จริงหรือมั่ว ข่าวยุบสภาลือสะพัด ยิ่งลักษณ์ กราบบังคมทูลไม่ขอทำหน้าที่ ระบุเซ็นเอกสารไปแล้ว แต่ทางพรรคเพื่อไทยยังไม่เห็นด้วย

            วันนี้ (3 ธันวาคม 2556) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีกระแสข่าวลือหนาหูเกี่ยวกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่จะออกมาประกาศยุบสภา พร้อมกราบบังคมทูลไม่ขอทำหน้าที่อีกต่อไป

            โดยแหล่งข่าวระบุว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ได้เซ็นเอกสารยุบสภาแล้ว แต่สมาชิกพรรคเพื่อไทยยังไม่เห็นด้วย ซึ่งข่าวลือดังกล่าวได้แพร่สะพัดออกไปอย่างกว้างขวาง คงต้องจับตารอดูกันว่า นางสาวยิ่งลักษณ์จะประกาศยุบสภาในเร็ววันนี้จริงหรือไม่


"ยิ่งลักษณ์"แถลงให้ทุกฝ่ายรวมหัวใจเพื่อในหลวง

เรียนพี่น้องประชาชนที่เคารพ

หลังจากได้เข้าร่วมพิธีปฏิญาณตนเป็นข้าราชการที่ดี และพลังของแผ่นดิน ร่วมกับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และพนักงานรัฐวิสาหกิจหลายร้อยคน ที่สโมสรทหารบกในช่วงเช้าแล้ว บ่ายวันนี้ ดิฉันได้เดินทางไปที่วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อร่วมฝึกซ้อมเตรียมการสำหรับพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคม เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ที่จะมาถึงในอีก 2 วันข้างหน้า การซ้อมใหญ่บ่ายวันนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ด้วยความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย ดิฉันได้รับทราบและได้เห็นเองว่า การเตรียมการที่จะอำนวยความสะดวกให้พี่น้องประชาชนได้เฝ้าชมพระบารมี และถวายพระพรชัยมงคล มีความพร้อมอย่างเต็มที่ และเป็นไปอย่างสมพระเกียรติ

ขณะเดียวกันสถานการณ์ทางการเมือง แม้จะยังไม่ได้กลับคืนเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ก็ได้มีความคลี่คลายไปในทางบวก รัฐบาลได้ขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งทหารและตำรวจ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความละมุนละม่อม ไม่ให้มีการเผชิญหน้าหรือมีความรุนแรงเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชน เพื่อที่จะทำให้เกิดความสงบสุขในระยะยาว แม้เราจะยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ดิฉันเชื่อว่า คนไทยสามารถหาทางออกให้กับประเทศได้ ดิฉันจึงขอเชิญชวนให้นักวิชาการ นักธุรกิจ และกลุ่มบุคคลทุกสาขาอาชีพ ตลอดจนผู้ชุมนุมทางการเมือง ร่วมมือร่วมใจกันเปิดเวทีที่จะระดมความคิดเห็นเพื่อหาคำตอบ และนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นการหารือที่เปิดกว้าง ให้ทุกความเห็นได้แสดงออก ระดมความคิดเพื่อให้ได้คำตอบที่ตกผลึก และดีที่สุดสำหรับลูกหลานของเรา และขอเชิญชวนภาคเอกชนในการร่วมกันสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว นักลงทุนและคนไทย

เพื่อจะได้เป็นการที่พวกเราได้หันหน้าเข้าหากัน ร่วมแก้ปัญหาของบ้านเมือง เพื่อให้ชาติของเราสามารถก้าวเดินต่อไปข้างหน้า ทั้งหมดนี้ทำให้ดิฉันเชื่อมั่นว่า วันเฉลิมพระชนมพรรษาปีนี้ จะเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ประชาชนชาวไทย จะได้มีความสุขใจ และรวมใจเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อถวายพระพรชัยมงคล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นที่เคารพและจงรักภักดียิ่งของเราทุกคน

ดิฉันของฝากสื่อมวลชนทุกท่าน ทุกแขนง ให้ช่วยกันพิจารณา นำเสนอเรื่องราวที่เป็นความสุขใจและเป็นสิริมงคลในช่วงนี้ เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ หรือกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ที่ทุกคนร่วมกันจัดถวายเป็นราชสักการะ นอกจากนั้น ในระยะยาวดิฉันหวังว่า สื่อของเราจะเป็นสื่อที่สร้างสรรค์ หลีกเลี่ยงการสร้างความจงเกลียดจงชัง ให้เกิดขึ้นในจิตใจของพวกเราด้วยกันเอง ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่ออนาคตของลูกหลานและของบ้านเมือง

สำหรับคนไทยทุกคน ดิฉันเชื่อว่า วันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ของทุกปี มีความหมายพิเศษยิ่ง และมีความหมายยิ่งกว่าเพียงวันหนึ่งในเดือนธันวาคม หากแต่วันนี้ เป็นวันศักดิ์สิทธิสำหรับหัวใจคนไทย เพราะเป็นวันที่เราจะตั้งใจร่วมกันทำความดี มีความรักและความสามัคคีให้กับเพื่อนร่วมชาติ ตั้งใจมั่นที่จะทำหน้าที่ของแต่ละคนจนเต็มกำลัง เพื่อให้เกิดความเจริญยั่งยืน ตามรอยพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่าง ให้เราได้เห็นมาตลอดชีวิต


สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาส วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ขอบิณฑบาตทุกฝ่าย ทำบ้านเมืองให้สงบสุข ถวายในหลวงฯ

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาส วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ขอบิณฑบาตทุกฝ่าย ทำบ้านเมืองให้สงบสุข ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาส วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ขอบิณฑบาตทุกฝ่าย ทำบ้านเมืองให้สงบสุข ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
PICTURE
สมเด็จฯวัดปากน้ำ03.jpg
แหล่งที่มา : สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
วันที่ข่าว : 3 ธันวาคม 2556
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาส วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ กรรมการมหาเถรสมาคม กล่าวว่า จากเหตุการณ์ความไม่สงบของบ้านเมืองในขณะนี้ จึงขอบิณฑบาตกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ให้อยู่ในความสงบ เห็นแก่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพระชนมพรรษา 86 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นวันที่พุทธศาสนิกชน ต่างได้ชื่นใจ จึงขอให้ทุกคนระลึกถึงพระบารมีของพระองค์ ที่จะร่วมกันทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข
เนื่องจาก พระองค์เป็นเสมือนบิดาของประชาชนคนไทยทุกคน เป็นพระประมุขของประเทศชาติ คนไทยทุกคนอยู่ภายใต้ร่มพระบารมี เราทุกคนเปรียบเหมือนลูกของพระองค์ เราทุกคนมีความจงรักภักดีต่อพระองค์ และอยากให้พระองค์สุขใจ สบายพระทัย สิ่งเหล่านี้ พระองค์จะได้รับเมื่อพระองค์เห็นพสกนิกรของพระองค์มีความสุข มีความสงบ มีความร่มเย็น
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ กล่าวให้คติธรรมให้ประชาชนได้มีสติสัมปชัญญะ คือ สติ หมายถึง การระลึกได้ ส่วน สัมปชัญญะ คือ การรู้ตัว หากใช้หลักคุณธรรม ทั้ง 2 อย่างนี้ จะมีประโยชน์ต่อทุกคน

สุรพล นิติไกรพจน์: ยุบสภา-ครม.ยิ่งลักษณ์ กราบบังคมทูลไม่ขอทำหน้าที่

สุรพล นิติไกรพจน์: ยุบสภา-ครม.ยิ่งลักษณ์ กราบบังคมทูลไม่ขอทำหน้าที่

เขียนวันที่
วันอังคาร ที่ 03 ธันวาคม 2556 เวลา 07:00 น.
เขียนโดย
isranews
“ถ้านายกฯไม่ยอมยุบสภาแสดงว่า เสพติดอำนาจแล้วหรือมิฉะนั้นพี่ชายนายกเสพติดอำนาจจน ไม่ยอมให้น้องสาวยุบสภา ถ้ามีเหตุการณ์นองเลือดเกิดขึ้นต้องเป็นความรับผิดของตระกูลชินวัตร”
surapol1
กรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงเมื่อบ่ายวันที่ 2 ธันว่า 2556 ว่า ไม่สามารถทำตามข้อเสนอของนายสุเทพ เทือกบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.)ในการจัดตั้งสภาประชาชน แม้จะยุบสภาหรือรัฐบาลลาออกเพราะไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
ศ.ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ และอดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ให้ความเห็น "สำนักข่าวอิศรา” (www.isranews.org) ว่า
-----
ถ้า น.ส.ยิ่งลักษณ์หรือรัฐบาลมีความจริงใจก็สามารถทำตามข้อเสนอของนายสุเทพได้ โดยการยุบสภา ซึ่งถ้าเป็นไปตามขั้นตอนปกติ ครม.ต้องรักษาการระหว่างการจัดการเลือกตั้ง แต่ ครม.ทั้งคณะสามารถกราบบังคมทูลขอไม่ทำหน้าที่ แต่เนื่องจากประเทศไม่มีผู้ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินไม่ได้ ซึ่งทำให้ต้องมีการแต่งตั้งบุคคลที่มาทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี และครม.
ขณะเดียวกันเมื่อมีการยุบสภา ทำให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรในฐานะประธานรัฐสภาต้องพ้นตำแหน่งไปด้วย ดังนั้น จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของประธานวุฒิสภาต้องนำรายชื่อบุคคลที่เหมาะสม เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายนำรายชื่อขึ้นโปรดเกล้าฯให้ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีโดยให้สมาชิกวุฒิสภาเป็นผู้เสนอชื่อ ซึ่งเห็นผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส.เพราะเป็นเพียงผู้ที่ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี มิได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ส่วนในเรื่องการกราบบังคมทูลไม่ทำหน้าที่หรือหยุดปฏิบัติหน้าที่ของ ครม.ทั้งคณะนั้นคิดว่าสามารถทำได้โดย ให้เปรียบเทียบกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)มีมติชี้มูลความผิดคณะรัฐมนตรีทั้งคณะซึ่งจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าวุฒิสภาจะมีมติกรณีการยื่นถอดถอนหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะพิพากษาซึ่งต้องมีการแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลมาทำหน้าที่เช่นเดียวกัน
ในระหว่างที่มีการจัดการเลือกตั้ง ให้ผู้ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีดำเนินการให้มีการลงประชามติว่า จะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อจัดตั้งสภาประชาชนขึ้นหรือไม่
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์คงไม่ยอมทำตามข้อเสนอของนายสุเทพเพราะไม่ได้มีความตั้งใจที่จะยุบสภาหรือลาออกตามที่แถลงะการที่อ้างว่า ยุบสภาปัญหาก็ไม่จบ เพราะไม่ทำตามกติกาก็จะเกิดปัญหาเดิมอีกนั้น เป็นเพียงข้ออ้างของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ความจริงแล้วปัญหามิได้เกิดจากประชาชนไม่ยอมรับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเพราะประชาชนมีวุฒาภวะเพียงพอ จะเห็นได้จาก รัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์บริหาร
ประเทศมา2 ปีกว่า ไม่มีการประท้วงอย่างรุนแรงไม่ว่าจะมีนโยบายอะไรออกมา ประชาชนยอมหมดแม้นโยบายดังกล่าวจะสร้างความเสียหายอย่างมาก แต่ที่ประชาชนออกมาประท้วงอย่างรุนแรงนับล้านๆคนเพราะมีการเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งยกโทษคนฆ่าและล้างผิดคนโกง จนถึงการไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญในกรณีการแก้ไขรัฐธรรมฯญในเรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภา
ถ้า น.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องการยุติความรุนแรงจนอาจนำไปสู่การฆ่ากันกลางเมืองเหมือนในอดีตอีก ก็ต้องยุบสภาโดยไม่ต้องไม่สนใจข้อเสนอของนายสุเทพเพราะเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีโดยตรงซึ่งประเทศในระบอบประชาธิปไตยการยุบสภาเพื่อให้มีเลือกตั้งใหม่ เป็น”เซฟตี้วาวล์”เพื่อยุติปัญหาความรุนแรง ซึ่งที่ผ่านมาแม้จะมีการนองเลือดทั้งกรณีเสื้อเหลืองเสื้อแดงก็สามารถยุติปัญหาได้
ถ้านายกฯไม่ยอมยุบสภาแสดงว่า นายกฯเสพติดอำนาจแล้วหรือมิฉะนั้นพี่ชายนายกเสพติดอำนาจจน ไม่ยอมให้น้องสาวยุบสภา ถ้ามีเหตุการณ์นองเลือดเกิดขึ้นซึ่งขณะนี้มีคนตายและบาดเจ็บมากขึ้นเรื่อยๆต้องเป็นความรับผิดของตระกูลชินวัตร
-----

หัวหน้าช่างภาพเดลินิวส์โดนกระสุนยาง


2/12/56 น้องต้น หัวหน้าช่างภาพ นสพ.เดลินิวส์ ที่ถูกกระสุนยางตำรวจ ยิงจนหูฉีกเย็บ 20 เข็ม ในขณะปฎิบัติหน้าที่เก็บภาพ ในเหตุการณ์การชุมนุม...ขณะที่ ศอ.รส. ดาหน้าแถลงข่าว ไม่มีการใช้กระสุนยาง กระสุนจริง ไม่มีคนบาดเจ็บใดๆ นี่คือหลักฐานชั้นดี...จะยิงไม่ว่าแต่ต้องเลือกยิงคนหน่อย ไม่ใช้ทำแบบว่ากระสุนมันไร้ตาจึงมาไร้ทิศทาง และการยิงกระสุนยางมันมีกฎอยู่ว่า ต้องไม่ยิงใส่คนเกินในระดับสูง!!!

นักข่าวโดนลูกหลงในสถานการณ์


สื่อเจ็บอีก!!! นายพิสิฐ ภูตินันท์ นักข่าวการเมืองประจำกระทรวงมหาดไทย จากหนังสือพิมพ์แนวหน้า หรือ เกท ถูกวัตถุไม่ทราบชนิด ลอยมาจากฝั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ กระแทกเข้าที่ศรีษะ ขณะที่ยืนสังเกตุการชุมนุม ล่าสุดอาการปลอดภัยแล้