PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สุรพล นิติไกรพจน์: ยุบสภา-ครม.ยิ่งลักษณ์ กราบบังคมทูลไม่ขอทำหน้าที่

สุรพล นิติไกรพจน์: ยุบสภา-ครม.ยิ่งลักษณ์ กราบบังคมทูลไม่ขอทำหน้าที่

เขียนวันที่
วันอังคาร ที่ 03 ธันวาคม 2556 เวลา 07:00 น.
เขียนโดย
isranews
“ถ้านายกฯไม่ยอมยุบสภาแสดงว่า เสพติดอำนาจแล้วหรือมิฉะนั้นพี่ชายนายกเสพติดอำนาจจน ไม่ยอมให้น้องสาวยุบสภา ถ้ามีเหตุการณ์นองเลือดเกิดขึ้นต้องเป็นความรับผิดของตระกูลชินวัตร”
surapol1
กรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงเมื่อบ่ายวันที่ 2 ธันว่า 2556 ว่า ไม่สามารถทำตามข้อเสนอของนายสุเทพ เทือกบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.)ในการจัดตั้งสภาประชาชน แม้จะยุบสภาหรือรัฐบาลลาออกเพราะไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
ศ.ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ และอดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ให้ความเห็น "สำนักข่าวอิศรา” (www.isranews.org) ว่า
-----
ถ้า น.ส.ยิ่งลักษณ์หรือรัฐบาลมีความจริงใจก็สามารถทำตามข้อเสนอของนายสุเทพได้ โดยการยุบสภา ซึ่งถ้าเป็นไปตามขั้นตอนปกติ ครม.ต้องรักษาการระหว่างการจัดการเลือกตั้ง แต่ ครม.ทั้งคณะสามารถกราบบังคมทูลขอไม่ทำหน้าที่ แต่เนื่องจากประเทศไม่มีผู้ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินไม่ได้ ซึ่งทำให้ต้องมีการแต่งตั้งบุคคลที่มาทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี และครม.
ขณะเดียวกันเมื่อมีการยุบสภา ทำให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรในฐานะประธานรัฐสภาต้องพ้นตำแหน่งไปด้วย ดังนั้น จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของประธานวุฒิสภาต้องนำรายชื่อบุคคลที่เหมาะสม เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายนำรายชื่อขึ้นโปรดเกล้าฯให้ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีโดยให้สมาชิกวุฒิสภาเป็นผู้เสนอชื่อ ซึ่งเห็นผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส.เพราะเป็นเพียงผู้ที่ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี มิได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ส่วนในเรื่องการกราบบังคมทูลไม่ทำหน้าที่หรือหยุดปฏิบัติหน้าที่ของ ครม.ทั้งคณะนั้นคิดว่าสามารถทำได้โดย ให้เปรียบเทียบกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)มีมติชี้มูลความผิดคณะรัฐมนตรีทั้งคณะซึ่งจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าวุฒิสภาจะมีมติกรณีการยื่นถอดถอนหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะพิพากษาซึ่งต้องมีการแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลมาทำหน้าที่เช่นเดียวกัน
ในระหว่างที่มีการจัดการเลือกตั้ง ให้ผู้ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีดำเนินการให้มีการลงประชามติว่า จะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อจัดตั้งสภาประชาชนขึ้นหรือไม่
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์คงไม่ยอมทำตามข้อเสนอของนายสุเทพเพราะไม่ได้มีความตั้งใจที่จะยุบสภาหรือลาออกตามที่แถลงะการที่อ้างว่า ยุบสภาปัญหาก็ไม่จบ เพราะไม่ทำตามกติกาก็จะเกิดปัญหาเดิมอีกนั้น เป็นเพียงข้ออ้างของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ความจริงแล้วปัญหามิได้เกิดจากประชาชนไม่ยอมรับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเพราะประชาชนมีวุฒาภวะเพียงพอ จะเห็นได้จาก รัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์บริหาร
ประเทศมา2 ปีกว่า ไม่มีการประท้วงอย่างรุนแรงไม่ว่าจะมีนโยบายอะไรออกมา ประชาชนยอมหมดแม้นโยบายดังกล่าวจะสร้างความเสียหายอย่างมาก แต่ที่ประชาชนออกมาประท้วงอย่างรุนแรงนับล้านๆคนเพราะมีการเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งยกโทษคนฆ่าและล้างผิดคนโกง จนถึงการไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญในกรณีการแก้ไขรัฐธรรมฯญในเรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภา
ถ้า น.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องการยุติความรุนแรงจนอาจนำไปสู่การฆ่ากันกลางเมืองเหมือนในอดีตอีก ก็ต้องยุบสภาโดยไม่ต้องไม่สนใจข้อเสนอของนายสุเทพเพราะเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีโดยตรงซึ่งประเทศในระบอบประชาธิปไตยการยุบสภาเพื่อให้มีเลือกตั้งใหม่ เป็น”เซฟตี้วาวล์”เพื่อยุติปัญหาความรุนแรง ซึ่งที่ผ่านมาแม้จะมีการนองเลือดทั้งกรณีเสื้อเหลืองเสื้อแดงก็สามารถยุติปัญหาได้
ถ้านายกฯไม่ยอมยุบสภาแสดงว่า นายกฯเสพติดอำนาจแล้วหรือมิฉะนั้นพี่ชายนายกเสพติดอำนาจจน ไม่ยอมให้น้องสาวยุบสภา ถ้ามีเหตุการณ์นองเลือดเกิดขึ้นซึ่งขณะนี้มีคนตายและบาดเจ็บมากขึ้นเรื่อยๆต้องเป็นความรับผิดของตระกูลชินวัตร
-----

ไม่มีความคิดเห็น: