PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ทางออกประเทศไทย : จุดต่าง สองขั้ว การเมือง

3 ธันวาคม 2013 เวลา 20:26 น.
เสาวลักษณ์ วัฒนสิน

นับจากวันเริ่มต้นชุมนุมต่อต้านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม จนถึงการประกาศยกระดับการชุมนุมเป็นขับไล่รัฐบาล และกำจัดระบอบทางการเมือง ที่เรียกกันว่า"ระบอบทักษิณ" วันนี้กลุ่มเคลื่อนไหว

ทางการเมืองในนาม "กปปส." เคลื่อนไหวมาแล้ว รวม 35 วันหรือเดือนเศษ

จนถึงวินาทีนี้ แม้จะเกิดเหตุสูญเสียขึ้นแล้ว แต่ฝ่ายการเมือง 2 ขั้วยังคงชิงความได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมืองกันอยู่ และภาพที่สะท้อนชัดถึงการชิงไหวชิงพริบของภาครัฐและผู้ชุมนุม คือภาพ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาลและกองบัญชาการตำรวจนครบาลวันนี้

หลังยื้อยุดฉุดกระชากกันเกือบจะข้ามวันข้ามคืน ส่อเค้า-เข้าข่ายรุนแรง-สูญเสีย แต่ช่วงพริบตาเดียวเหตุการณ์กลับพลิกผัน ผู้ชุมนุม กปปส. เดินหน้าลุยบุกยึดทำเนียบรัฐบาล โดยหวังเพียงจะเข้าไป

สร้างสัญลักษณ์ของการยึดครองศูนย์รวมด้านการบริหาร. ขณะที่ภาครัฐกำชับปิดกั้นทุกวิธิภายใต้แผนปฏิบัติการ เบาไปสู่หนัก จนเกิดเหตุปะทะ แต่สุดท้ายเรื่องกลับหักมุม. กลายเป็นการยินยอม

เปิดประตูให้เข้าไปได้โยราบรื่นอำเภอใจ

ไม่ต่างกัน...กองบัญชาการตำรวจนครบาล ศูนย์กลางการจัดกำลังพลเพื่อดูแลและควบคุมฝูงชน ซึ่งพลตำรวจเอกคำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบ.ชน. แข็งกร้าว-สั่งการห้ามประชิดคิดบุกรุกสถานที่

ราชการ แต่ผู้ชุมนุมวางเป้าหมายบุกยึด-ปลดล็อครัฐตำรวจ ออกจากระบอบทักษิณ แต่หลังลั่นจะเข้าพื้นที่เป้าหมายให้ได้ เหตุก็กลับตะละ บ.ชน.บัดจัดทีมเปิดประตูต้อนรับผู้ชุมนุมไปโดยไม่มี

เงื่อนไข

ภาพเหตุการณ์ที่ว่านี้ น่าจะพอคาดการณ์ได้ว่า "เกมรุก" ยังเป็นของฝ่ายผู้ชุมนุม กปปส. และ"เกมรับ" ของภาครัฐยังคงยุทธศาสตร์"นิ่งและสงบ เพื่อสยบเหตุ" แต่ภายใต้เกมการตั้งรับของรัฐบาลวันนี้

กลับมีข้อสังเกตว่า เกิดแรงกดดันต่อการตัดสินใจแก้ปัญหา ว่าต้องไม่เป็นต้นเหตุของสงครามกลางเมือง และไม่เป็นผู้สร้างสงครามประชาชน และแม้จะถูกมองว่ากำลังถอย เพื่อซื้อเวลาให้อีกฝ่าย

แผ่วแรงลงเอง แต่ในสายตาประชาชน ยังบ่งชี้ได้ว่า การตั้งรับนี้ มีความชอบธรรมอยู่ในมือ

ขณะที่ กปปส. ลุกขึ้นมาประกาศชัยชนะของการยึดครอง 2 เป้าหมายหลัก แต่ก็มีท่าทีที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการระแวดระวังที่จะเป็นฝ่ายนิยมความรุนแรง เพราะบทเรียนเกิดขึ้นแล้วกับนัก

ศึกษารามคำแหง และที่กดดันแกนนำมากที่สุด คือ กรณีศาลอนุมัติหมายจับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ด้วยข้อกล่าวหา"กบฎ" รวมถึงผลทางการเมือง ก็ดูเหมือนจะถูกโดดเดี่ยวจากพรรคที่เคยสังกัด

ทั้งที่ภาพที่ฉายต่อสาธาารณะชน จะยังคงดูเข้มแข็งไม่หวาดหวั่นก็ตาม

สถานการณ์เดินทางมาถึงห้วงสุดท้ายแล้วหรือไม่ และทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร กำลังเป็นคำถามของทุกคน..ทุกฝ่ายที่ติดตามเหตุการณ์มาอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลและผู้ชุมนุมต่างก็มีเป้า

หมายแต่ในเป้าหมายของทั้ง 2 ฝ่าย มีจุดที่เหมือนและต่างกันอยู่

จุดที่เหมือนกัน : ระหว่างรัฐบาลกับผู้ชุมนุม ชี้วัดได้จากคำปราศรัยหรือการแถลงการณ์ของเลขาธิการ กปปส. "นายสุเทพ เทือกสุบรรณ" วางเป้าหมายของบ้านเมืองที่สมบูรณ์ไว้ที่การปฏิรูปประเทศ

สอดคล้องกับแนวทางของรัฐบาล ที่ไม่ได้ปฏิเสธการปฏิรูป แต่กำลังขับเคลื่อนเดินหน้ากันอยู่

แต่จุดต่างของรัฐบาลและผู้ชุมนุม คือ "การยุบสภาและการเลือกตั้ง" โดยแนวทางที่รัฐบาลแสดงความพร้อมที่จะยุบสภาหรือลาออก หากเป็นความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ และเป็นปัจจัยทำ

ให้ประเทศเกิดความสงบสุข ขณะที่ฝ่ายผู้ชุมนุมชี้ว่า ยุบสภาและการเลือกตั้ง ไม่ใช่คำตอบของการชุมนุม

ด้วยจุดต่างของทั้ง 2 ฝ่าย คือที่มาของโจทย์ที่บางฝ่ายออกมาตั้งคำถามถึง "รัฐบาลกลาง-นายกรัฐมนตรีคนกลาง" ซึ่งแม้จะไม่ใช่คำตอบที่จะได้มาซึ่ง"สภาประชาชน"ตามที่ผู้ชุมนุมต้องการ

แต่นักวิชาการหรือกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง ก็เชื่อกันว่า นี่คือทางออกที่ดีที่สุด แต่บางฝ่ายยังคงคัดค้านเพราะระบบการเมืองการปกครอง ยังคงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แล้วอะไรละ ที่จะเป็นจุดกึ่งกลางให้

2 ฝ่ายมาสรุปลงตรงนี้ได้

นักสันติวิธีบอกว่า การเปิดโต๊ะเจรจาทำความเข้าใจทางการเมือง เพื่อจัดกระบวนการและลำดับเหตุการณ์ทางการเมือง อะไรจะมาก่อนหรือทำหลัง ด้วยบริบทแค่"ยุบสภา-เลือกตั้งใหม่-และการ

ปฏิรูปประเทศ"

ว่าแต่.. ก่อนจะหารัฐบาลกลางและนายกรัฐมนตรีคนกลางคงต้องหาคนกลางเพื่อประสานการเจรจาของทั้ง 2 ฝ่ายก่อน ซึ่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดส่งสัญญาณแล้วว่า หลังวันที่ 5 ธันวาคม กองทัพ

จะได้หารือถึงทางออกของประเทศ แต่แน่นอนว่า วันนี้ ผบ.ทบ. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา บอกว่าสถานการณ์ตอนนี้เป็นเรื่องของการเมือง?

ไม่มีความคิดเห็น: