PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ยังไม่ทันแต่งก็วงแตก?





TOPSTORY 30/5/62 ยังไม่ทันแต่งก็วงแตก?

Animal Farm ฉบับ ชูวิทย์


ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์
4 ชม.
Animal Farm ฉบับ ชูวิทย์
ท่านนายกฯลุงตู่ อุตส่าห์แนะนำให้เด็กไทยอ่านหนังสือเรื่อง Animal Farm ของนักเขียนชาวอังกฤษ นามปากกา จอร์จ ออร์เวลล์
ผมเลยถือโอกาสเอามาใช้กับการเมืองไทยยุคปัจจุบัน ให้เข้าสมัยนิยม หวังว่าจอร์จแกคงไม่ว่า เพราะแกเขียนไว้นมนานแล้ว เป็นแนวเสียดสีการเมือง แต่เรื่องบังเอิญไปตรงกับไทยอย่างเหลือเชื่อ
แอนนิมอล ฟาร์ม ฉบับชูวิทย์ เริ่มจากเจ้าของฟาร์มเป็นชาวไร่ที่เอาแต่ใจตัวเอง ไม่สนใจเรื่องสิทธิเสรีภาพ ออกแนวโหด ชอบสั่งการ และขี้บ่น พร่ำบอกแต่ว่า ทำงานฟาร์มเป็นงานที่เหนื่อยยากแสนสาหัส หากไม่จำเป็นไม่อยากทำ ที่ทนทำอยู่ทุกวันนี้เพราะเห็นแก่บรรดาสัตว์ทั้งหลายในฟาร์ม ที่มีทั้ง หมู หมา กา ไก่
เจ้าของฟาร์มสัตว์บอกว่าเวทนา ถือว่าทำบุญทำทานให้ ไม่ได้ต้องการทำเป็นอาชีพแต่อย่างใด เพราะแต่ก่อนมีอาชีพอื่นที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรีกว่านี้แยะ อุตส่าห์เสียสละมาทำฟาร์มสัตว์ “ให้เข้าใจกันด้วยสิ ปัดโธ่!”
วิธีการทำฟาร์มของแก คือ ให้สัตว์ทำในสิ่งที่ผิดธรรมชาติ หากสัตว์ตัวไหนไม่เชื่อฟัง จะถูกจับใส่กรงขังเดี่ยว ไม่ให้เห็นเดือนเห็นตะวัน
หากแกโมโห ก็จะเอากะลาเคาะโป๊กๆ ออกเสียงขู่เป็นเลขว่า “สี่สี่“ พวกสัตว์ทั้งหลายก็จะกรูแตกตื่นวิ่งหนีกระเจิงไปตัวละทิศตัวละทาง บรรดาสิงสาราสัตว์ก็กลัวจนขี้หดตดหาย กลายเป็นสัตว์เชื่องเหมือนลูกหมา
สัตว์ประเภทแรกที่รีบเข้ามาคลอเคลียเอาใจคือ “ม้า” ที่เคยช่วยเปิดทางให้เจ้าของฟาร์มเข้ามายึดฟาร์มไปจากเจ้าของเดิม
ม้าตัวนี้เป็นม้าสีดำ อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของฟาร์ม เป็นสัตว์ที่มักคิดว่าตัวเองสูงส่งกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ โอ้อวดถึงความรู้ ความสามารถ เพราะถือว่าเคยเป็นผู้นำฝูงในฟาร์มชนชั้นสูงมาก่อน
เมื่อกระจายฝูงออกมา ม้าตัวนี้ก็ทำตัวเป็นจ่าฝูงเรียกร้อง “ชุมนุมมวลมหาสัตว์“ จนกระทั่งเจ้าของฟาร์มสังเกตุเห็นว่า น่าจะถือโอกาสนี้เข้าปกครองสัตว์ด้วยวิธีการที่เจ้าของฟาร์มสมัยก่อนเคยทำ แต่เป็นระบบใหม่ถอดด้ามที่คำนึงถึงผลผลิตล้วนๆ ไม่สนใจคุณภาพ ชนิดที่ซีพีงงว่าทำได้ยังไง?
เจ้าของฟาร์มปกครองมาได้ราว 5 ปี บรรดาสัตว์ต่างๆเริ่มไม่พอใจ เพราะถูกจำกัดเสรีภาพของสัตว์ ต้องอยู่ในกรง พอแกอารมณ์ดีก็ลูบหัวปลอบว่า “ใจเย็นๆ เดี๋ยวแต่งเพลงให้สัตว์ฟัง” ทั้งๆ ที่สัตว์ไม่อยากฟัง เพราะหิวไส้จะขาด จะให้มาฟังเพลงอะไรซ้ำๆกรอกหูอยู่ตลอดเวลา?
เจ้าของฟาร์มชักติดใจในผลประกอบการ จึงแต่งตั้ง “หมู” ที่เป็นสัตว์เฉลียวฉลาดแกมโกง ออกกฎต่างๆ ร่วมวางแผนกันกับ “หมูอาวุโส” ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมายาวนาน ในที่สุดได้ออก “กฎ” ที่คิดว่าสัตว์อื่นๆ ไม่สามารถอ้าปากหืออือได้
โดยเฉพาะกับสัตว์ปีกอย่าง “พญาระกา” ที่เป็นสัตว์พิเศษ มีปีก นึกอยากจะบินไปไหนก็ได้ แม้ว่าทำผิด ก็ถือโอกาสบินหนีไปเขตดินแดนอื่นเสีย เจ้าของฟาร์มทำอะไรไม่ได้
หมูอ้างกับสัตว์อื่นๆ ว่าที่ต้องทำตามกฎใหม่เพราะสัตว์ทุกตัวจะมีสุขภาพที่ดีขึ้น มีเสรีภาพ เดินวิ่งไปไหนก็ได้ ตามที่เจ้าของฟาร์มเคยสัญญาเอาไว้
เหล่าฝูงสัตว์ต่างก็กระตือรือร้น ตีปีกบ้าง ร้องกันเจี๊ยวจ๊าวบ้าง ที่จะได้อยู่ในกฎใหม่ที่เจ้าของฟาร์มเปิดโอกาส หลังจากฟาร์มทรุดโทรมเหม็นเน่ามากว่า 5 ปี ทำให้สัตว์หลายชนิดเป็นโรคติดต่อตายไปเป็นอันมาก ส่วนที่เหลือก็เฉาเป็นง่อย เช่น เป็ดหางแดง
แต่เมื่อได้เห็นกฎใหม่ที่หมูออกมาแล้ว สัตว์อื่นๆถึงกับอุทานว่า “ไอ้สัตว์!” ด้วยความงุนงงงุ่นง่าน
มีสัตว์อยู่ชนิดเดียวที่แอบหัวเราะชอบใจเหลือหลาย นั่นคือ “งูเห่า” เพราะมีโอกาสขยายพันธุ์ได้แน่นอน ตามกฎใหม่นี้
ส่วนสัตว์อื่นๆ ต้องจำใจทำตามกฎใหม่ของเจ้าของฟาร์มอย่างเคร่งครัด ไม่งั้นไม่รอด
หมูยังออกแบบการขยายพันธุ์เพิ่มอีก 250 ตัว ไว้เป็นเชื้อความฉลาดแกมโกง เพื่อหวังใช้วิธี “ผสมเทียม” คัดเพศได้ตามใจชอบ แถมเจ้าของฟาร์มควบคุมด้วยตัวเอง ไม่มีโอกาสพลาดให้เชื้อแปลกปลอมหลงแฝงเข้ามาเป็นอันขาด
หลังจากการจัดกฎใหม่เสร็จสิ้น ปรากฎว่ามีความพยายามต่อรองของสัตว์กับเจ้าของฟาร์ม เรื่องไม่น่าเกิดก็มาเกิดขึ้นได้ โดยมี “ม้ากับลา” ที่ผูกขาติดกันไม่ยอมไปไหน เพราะถือว่าดั้งเดิมเคยอยู่เป็นคู่เวรคู่กรรมกันมาก่อน
แต่ม้าก็คือม้า มีนิสัยเหมือนเดิม คิดว่าตัวเองฉลาดเสียเหลือทน หลงตัวเอง ชอบเอาหน้า ทั้งที่ตอนนี้ขาหน้าหัก บางตัวก็ยอมสยบ คิดว่าอดอยากมานานหลายปี แต่อดต่อรองไม่ได้ ตามประสาสัตว์ที่คิดถึงแต่เรื่องทำให้ท้องอิ่ม บางตัวก็ยังพยศ คิดว่าเอาตัวรอดได้ จนถึงขนาดเปิดฉากทะเลาะเบาะแว้ง ไล่ให้ออกจากฝูงกันเอง
ส่วนลาก็ยังเป็นลาวันยันค่ำ หวังอาศัยม้าเพื่อต่อรองกับเจ้าของฟาร์ม ทั้งๆที่รู้ว่าเจ้าของฟาร์มเป็นคนถืออำนาจ ไม่ชอบทำตามใจใคร คิดว่าเมื่อตัวเองเป็นคน จะไปให้สัตว์มาต่อรองได้ยังไงกันวะ?
มันผิดวิสัยธรรมชาติของชนชั้นปกครอง “มนุษย์ต้องปกครองสัตว์”
สัตว์อื่นๆ เริ่มรู้ตัว จึงทำเหมือนม้ากับลาบ้าง เจ้าของฟาร์มเริ่มคิดได้ว่า ไม่น่าไปลงทุนทำฟาร์มใหม่ให้เสียเวลา เลี้ยงเหมือนเดิมดีอยู่แล้ว ต้องขู่ ต้องเฆี่ยน ให้เชื่อฟังถึงเอาอยู่
กฎที่กำแพงจึงเหลืออยู่ข้อเดียว คือ “เจ้าของฟาร์มต้องอยู่รอดเสมอ”
สัตว์อื่นๆ อย่าได้สะเออะมีปากเสียง ไปเดิน 2 ขาใส่สูทเหมือนคนไม่ได้เด็ดขาด
สัตว์ต้องอยู่อย่างสัตว์เท่านั้น ไอ้สัตว์

ม.44 “ลุงสั่งเฮีย อุ้มเสี่ย ด้วยเงินเรา”?



สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์: นิทาน ม.44 อุ้มทีวีดิจิทัล “ลุงสั่งเฮีย อุ้มเสี่ย ด้วยเงินเรา”

ประชาไท / ข่าว



ประธาน TDRI อธิบายข้อเท็จ-ข้อจริง ความเสียหาย 3 รูปแบบ 8 ประการในรูปแบบนิทาน เมื่อมี ม.44 สั่งอุ้มทีวีดิจิทัล ให้คืนใบอนุญาต ลด แลก แจก แถมอื้อซ่า ห่วงทำลายระบบตลาดเสรี การแข่งขันที่เป็นธรรม ระบบนิติรัฐ สร้างนิสัยให้ทุนใช้อิทธิพลโยกรัฐอยู่เรื่อย ประมูลเท่าไหร่ก็สู้แล้วค่อยไปต่อรองรัฐเอาดาบหน้า ม.44 ตรวจสอบได้ยาก ยิ่งทำหลังเลือกตั้งยิ่งตรวจสอบข้อกังขาทางการเมืองลำบาก



สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ขึ้นพูดเปิดประเด็นในงานเสวนาหัวข้อ “ม.44 อุ้มทีวีดิจิทัล: รัฐเอื้อทุน ประชาชนได้อะไร” ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดโดยคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาและคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



สมเกียรติอธิบายการใช้คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 4/2562 เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม สืบเนื่องจากสภาพปัญหาการแข่งขันทางธุรกิจสำหรับกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมในปัจจุบัน ทำให้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตไม่ทันกำหนด ว่าเป็นนิทานที่มีตัวละคร 4 ตัว ได้แก่ ลุง เฮีย เสี่ย เรา โดยเนื้อเรื่องก็คือ “ลุงสั่งเฮีย อุ้มเสี่ย ด้วยเงินเรา”



ม.44 อุ้มค่ายมือถือ ยืดจ่ายค่าประมูล 10 ปี ทีวีคืนคลื่นได้-งดจ่ายค่าธรรมเนียม 3 งวด



สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์: 7 เรื่องคนไทยควรรู้เมื่อ ม.44 อุ้มผู้ประกอบการมือถือ



อดีต กสทช. ชี้ ม.44 อุ้มค่ายมือถือ-ทีวีดิจิตอล ผิดหลักการ ผิดเวลา สื่อน้ำท่วมปาก



การที่ทีวีดิจิทัลล้ม ต้องอุ้ม คือส่วนหนึ่งของนิทานที่เรื่องนี้แต่มีนิทานซ้อน 5 เรื่อง



ทีวีดิจิทัลถูก disrupt (ทำให้ปั่นป่วน) ธุรกิจล้ม ต้องอุ้ม

ถ้าไทยไม่รีบเปิดบริการ 5 จี จะเกิดความเสียหายมากมาย



เอาเรื่องที่ 1 กับ 2 มาผสมกันแล้ววิน-วิน เอาคลื่นทีวีดิจิทัลมาทำบริการ 5 จีแทน และได้เงินที่จะได้จากการจัดสรร 5 จีมาอุ้มทีวีดิจิทัล



จูงใจให้ผู้ประกอบการ 4 จีปัจจุบันด้วยการยืดหนี้บริการ 4 จี ที่ยังติดภาครัฐอยู่



ใช้ดาบกายสิทธิ์ ม.44 เพื่อให้เรื่องข้างต้นเกิดขึ้น



ที่เรียกเป็นนิทานเพราะว่าทั้งหมดไม่เป็นความจริง เรื่องแรก ทีวีล้มละลาย ประเด็นนี้เป็นนิทานที่น่าสงสารที่สุด จริงๆ แล้วทีวีดิจิทัลจำนวนมากขาดทุนจริง แต่เมื่อทีวีดิจิทัลขาดทุนแล้วรัฐต้องเข้าไปอุ้มหรือไม่ ส่วนตัวคิดว่านิยายปรัมปราที่หลอกหลอนคนไทยมานานพอสมควรคือการที่เมื่อธุรกิจไม่ไหวก็ไปวิ่งเต้นหารัฐ มันคือการอุ้มเสี่ยหรือบรรดาผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลที่มีทั้งทุนขนาดกลางถึงทุนขนาดใหญ่ ไม่จำเป็นที่ธุรกิจล้มแล้วรัฐต้องเข้าไปอุ้มเสมอไป สิ่งที่ควรทำคือให้ทีวีดิจิทัลคืนใบอนุญาตแบบไม่ต้องเอาผิด ไม่ต้องมีค่าปรับ แต่ไม่ใช่การชดเชยหรือให้เงินคืนแล้วพาลไปอะไรต่อมิอะไร สิ่งที่รัฐควรจะช่วยในสภาวะที่โลกแปรเปลี่ยนและเกิดการปั่นป่วนทางเทคโนโลยีคือช่วยให้คนหางานใหม่ได้ สร้างทักษะใหม่ได้ ไม่ใช่การไปอุ้มเสี่ยหรือเจ้าสัว



เรื่องที่สอง การทำบริการ 5 จี ไม่ต้องรีบ เพราะประเทศต่างๆ จำนวนมากยังไม่ทำ 5 จีกัน ถ้าเห็นหนังสือพิมพ์เขียนว่ากัมพูชาทำ 5 จี เมื่ออ่านก็จะเห็นว่าเป็นการทดลอง ไม่ใช่เปิดให้บริการ ประเทศที่เปิดใช้คือประเทศที่ทำอุปกรณ์อย่างจีนที่หัวเหว่ยทำอุปกรณ์แล้วรัฐบาลอยากให้นำไปขายได้ เกาหลีใต้ก็มีซัมซุง อเมริกามีควาลคอม ผู้ผลิตชิป 5 จีที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ไทยไม่ได้เป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีเหล่านั้น



ทุกวันนี้อุปกรณ์ที่ใช้ทำ 5 จียังไม่พร้อมและขาดแคลนอยู่เยอะ หมอประวิทย์ (ลี่สถาพรวงศา) บอกว่าถ้าเอาคลื่นย่าน 700 MHz มาทำ 5 จี ตอนนี้ไม่มีอุปกรณ์มือถือสำหรับพวกเรา มือถือสำหรับไอโฟน ซัมซุง ไม่มีมือถือที่ใช้กับคลื่นย่าน 700 MHz  อุปกรณ์ต่างๆ เดี๋ยวก็ออกมาก็จริง แต่ตอนนี้ก็มีราคาแพง การเข้าไปทำบริการ 5 จีเร็วไม่ได้แปลว่าได้ประโยชน์แต่กลับจะทำให้เสียเปรียบ คือทำให้ใช้ของแพง และปัจจุบันไม่มีบริการอะไรที่ 5 จีทำได้แล้วคนอยากใช้วันนี้เลยที่ 4 จีทำไม่ได้ มันอาจสู้ 5 จีไม่ได้เรื่องความเร็ว ความหน่วง แต่ที่มนุษย์มนาใช้ทุกวันนี้ก็สามารถทำได้หมด นอกจากนั้น กสทช. เองก็ยังไม่พร้อมกับการวางโรดแมป 5 จี ที่เกี่ยวข้องกับย่านความถี่หลายย่านทั้งความถี่ต่ำ ปานกลาง และสูง นอกจากนั้น การจัดสรรคลื่น 4 จีที่ผ่านมาก็ไม่ได้กำหนดว่าทำ 4 จีเท่านั้น คือ 4 จี and beyond คือถ้ามีเทคโนโลยีอะไรก็เอาคลื่นที่มีไปใช้ ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนเอาคลื่น 5 จี ผู้ประกอบการโทรคมนาคมสามรายก็มีคลื่น 3 จี 4 จีอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบแจกคลื่น 5 จีเลย



เรื่องที่สาม เอาเงินจัดสรรคลื่น 5 จีมาอุ้มทีวี โดยกติกา กสทช. จะชดเชยทั้งคนที่เลิกบริการและให้บริการต่อ จะไม่มีเงินมาอุ้มทีวีดิจิทัลถ้าไม่มีการจัดสรรคลื่น 5 จี แต่ถ้าไม่ต้องยืดหนี้ 4 จี รัฐจะมีเงินเข้ามามากมายมหาศาล แม้จะต้องอุ้มทีวีดิจิทัล เงินที่จะเข้ามาเป็นแสนล้านก็พอทำได้ ไม่จำเป็นต้องเอาเงินการจัดสรรคลื่น 5 จีมาอุ้ม นอกจากนั้นคลื่น 700 MHz ที่จะต้องย้ายไปทำ 5 จีนั้น ต้องย้ายที่ตั้งคลื่นให้แต่ละช่องย้ายกันไป และจะมีค่าชดเชย จริงๆ แล้วก็แล้วเป็นคลื่นที่ว่างอยู่ ไม่มีคนใช้ จึงไม่จำเป็นต้องมีการชดเชย



เรื่องที่สี่ ต้องยืดหนี้ 4 จีเพื่อจูงใจให้ประมูล 5 จี จริงๆ แล้วนิทานยืดหนี้ 4 จี เกิดมาพักใหญ่ก่อนจัดสรรคลื่น 5 จีเพื่อมาอุ้มทีวีดิจิทัล มีความพยายามของผู้ประกอบการโทรคมนาคมวิ่งเต้นอยากให้รัฐยืดหนี้มานานก่อนที่จะพูดถึง 5 จีแล้ว การที่ทำเรื่องไม่สมเหตุสมผลเหล่านี้ มีความเสียหายอย่างน้อย 8 ประการและ 3 รูปแบบ ดังนี้



เสียหาย 3 รูปแบบ



เสียหายต่อเงินพวกเราในฐานะผู้เสียภาษี

เสียหายต่อตลาดโทรคมนาคมที่จะเกิดขึ้น คือ 5 จี ที่ถูกจัดสรรคลื่นแบบซี้ซั้ว เฉพาะหน้า เฉพาะกิจ

เสียหายต่อระบบนิติรัฐของประเทศที่จะเดือดร้อนกับพวกเราในฐานะพลเมือง

เสียหาย 8 ประการ



กสทช. พูดว่าต้องใช้เงินอุ้มทีวีดิจิทัลประมาณ 31,000 ล้านบาท ประกอบด้วยการอุ้ม 7 ช่องที่ขอเลิก 3,000 อีก 15 ช่องที่ประกอบการต่อจะมีการลดหย่อนค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 9700 และสนับสนุนค่าโครงข่าย MUX 19000 ล้านบาท ส่วนสุดท้ายคือส่วนที่ใหญ่ที่สุด ผู้ได้รับประโยชน์คือช่อ 5 ที่รับบริการเครือข่ายใหญ่ที่สุด และสถานะทางกฎหมายของช่อง 5 ก็ไม่รู้ว่าเป็นสถานะอะไร ไม่เคยทำความเข้าใจได้

ความเสียหายทางการเงินจากการเลื่อนหนี้ 4 จีที่ผู้ประกอบการสามรายได้ประโยชน์ไม่เท่ากัน แต่เดิม AIS DTAC TRUEMOVE ต้องจ่ายเงินค่าประมูล 4 จี เข้ารัฐให้จบเร็วๆ นี้ แต่มีการยืดหนี้ยาวออกไปแบบไม่มีดอกเบี้ย ส่วนนี้ทำให้เกิดความเสียหาย เมื่อคำนวณแล้วจะพบว่าแต่ละเจ้าได้ประโยชน์ไม่เท่ากัน TRUEMOVE ได้ประโยชน์ 8,800 ล้านบาท AIS ได้ 8,400 บาท และ DTAC ได้ไป 2,600 ล้านบาท มีนักการเงินส่วนหนึ่งคัดค้านว่าการเอาต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการทั้งสามมาคิดเพราะไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยการเงินที่แต่เดิมควรต้องจ่ายที่ร้อยละ 9 นั้นไม่ถูกต้อง เพราะเชื่อว่ารัฐบาลไทยมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำกว่าเอกชน ซึ่งก็จริง ฉะนั้นตรรกะของนักการเงินบางกลุ่มชี้ไปว่า ต่อไปถ้าเอกชนมีต้นทุนการเงินสูงกว่ารัฐ ให้รัฐเป็นคนกู้เงินให้แล้วเอกชนใช้ฟรี ถ้าทำตามตรรกะการอุ้มค่ายโทรศัพท์ แปลว่ารัฐเข้ามาอุ้มความเสี่ยงทางการเงินของเอกชนหมดเลย ซึ่งคิดว่าไม่ถูกต้อง

ผู้บริโภคเสียหายเสียโอกาสจากตลาด 5 จีที่ไม่มีผู้ประกอบการรายใหม่มาแข่งขัน กสทช. แต่เดิมตั้งใจจะแจกคลื่น 5 จี ขนาด 15 MHz ต่อราย เหมือนจัดที่ให้คนละ 15 ไร่ แต่เอกชนสู้ราคาที่ 25,000-27,000 ล้านบาทไม่ไหว จึงต่อรองเหลือ 10 MHz สุดท้ายตกมาเหลือ 16,000 ล้านบาทเพราะขนาดเล็กลง แต่ก็ยังไม่ใช่มูลค่าที่สามรายต้องจ่ายจริง เพราะเป็นการผ่อนจ่ายยาว 10 ปีแบบไม่คิดดอกเบี้ย จึงตกอยู่ที่ 11,000 ล้านบาทต่อรายเมื่อคำนวณค่าของเงินที่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป เมื่อคำนวณกับผลได้จากการช่วยค่าประมูล 4 จีพบว่า TRUEMOVE จะประหยัดจากการเลื่อนหนี้ 8,800 ล้านบาท แล้วมาซื้อคลื่น 5 จีในราคา 11,000 ล้านบาท แปลว่าจ่ายจริง 2,200 ล้านบาท น่าจะเป็นราคาที่ถูกที่สุดในโลก AIS จะจ่าย 2,600 ล้านบาท DTAC จะต้องจ่ายแพงสุดคือ 8,400 ล้านบาท ทั้งหมดคือความเสียหายจากการที่ตลาดค่ายมือถือของไทยจะถูกผูกขาดต่อไปจากผู้ประกอบการ 3 รายโดยไม่มีความพยายามเอาผู้เล่นรายใหม่เข้ามา

กติกาโทรคมนาคมชองไทยจะมั่วต่อไปอีก หลังจากมีระบบสัมปทานมาสู่ระบบใบอนุญาตนานแล้ว แต่ต่อไปจะกลับไปเป็นแบบเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีผู้ประกอบการ 3 รายที่ไม่ไปเอาใบอนุญาต 5 จี สมมติว่ามีรายหนึ่งไม่ไปเอา คิดว่า TRUEMOVE กับ AIS คงไปเอา แต่ DTAC นั้นต้องสงสัยเพราะต้องจ่ายแพงกว่าเจ้าอื่น สมมติว่า DTAC ไม่ไปเอาแปลว่าจะมีคนที่ได้คลื่น 5 จีและคนที่ยังไม่ได้ วิธีการในการกำกับดูแลในตลาด หน่วยงานที่กำกับดูแลในไทยที่ถูกโน้มน้าวใจได้ไม่ยากเท่าไหร่ การออกกติกาจะบิดเบี้ยวเหมือนตอน 3 จี ที่มีคนที่ได้คลื่นไปก่อนแล้วจากการบล๊อคไม่ให้ประมูลก่อน ทำให้มีคนได้เปรียบอยู่ มีการดึงเกมแล้วทำให้ตลาดมั่วไป

เสียหายต่อนิติรัฐ หลักการในการทำธุรกิจในระบบตลาดเสรีที่รัฐไม่ควรไปแบกรับความเสี่ยงของธุรกิจเอกชน แปลว่าธุรกิจใดขาดทุนแล้วมีอำนาจก็สามารถบอกให้รัฐไปแบกรับความเสี่ยงได้ ความเสี่ยงมีสองแบบใหญ่ คือความเสี่ยงแบบปกติที่ธุรกิจมี แต่ยังมีความเสี่ยงที่เกิดจากรัฐ คือ regulatory risk ที่อยู่ๆ รัฐกำหนดกติกาแผลงๆ แปลกๆ มาแล้วทำให้ผู้ประกอบการเดือดร้อน ตามหลักวิชาการนั้นชัดเจน รัฐไม่ควรไปรับผิดชอบความเสี่ยงแบบแรก เว้นแต่กรณีที่รัฐไปทำให้ธุรกิจดำเนินการไม่ได้

หลักการความเสี่ยงเกินปกติของผู้ประกอบการที่มีเส้นสายทางการเมือง วันหลังจะทำให้เกิดความคิดว่า เรื่องอะไรได้ยากๆ ก็เอามาก่อนแล้วค่อยไปตายเอาดาบหน้า อาจจะเกิดกับโครงการรัฐขนาดใหญ่ๆ อย่างรถไฟความเร็วสูง ถ้าวันไหนขาดทุนก็อาจมีการวิ่งกันแบบนี้ เมื่อไปดูผู้ประกอบการหรือผู้ถือหุ้นก็มีหน้าตาคล้ายๆ กันอยู่ หรือถ้าเกิดโครงการดิวตี้ฟรีได้กำไรไม่ตามเป้า สุดท้ายก็มาวิ่งแบบนี้อีก ถ้าติดตามดูประมูล 4 จี จะเห็นค่ายเจ้าสัวบางค่ายได้รับบัญชาว่า เท่าไหนเท่ากัน เอามาก่อน สักพักหนึ่งก็มาต่อรองกับภาครัฐ จะส่งผลต่อความน่าลงทุนเพราะมันแสดงให้เห็นว่ารัฐไม่ใช่เสาที่ตั้งยู่ตรง แต่โยกได้ถ้ามีอิทธิพลมากพอ

เกิดปรัชญาของการที่รัฐเป็นพ่อรู้ดี มาแทรกแซงกลไกตลาดไปทุกเรื่อง เอกชนบอกว่ายังไม่สมควร 5 จีก็ยังให้ทำทั้งๆ ที่รัฐก็ไม่พร้อม อย่างเมื่อประมูล 4 จี ก็มีการเอาคลื่น 4 จีที่บางรายประมูลแล้วทิ้ง เอากลไกรัฐไปบีบให้เอา สุทด้ายก็มาต่อรองกันแล้วยืดหนี้ 4 จี จะเห็นว่าเงื้อมมือของรัฐภายใต้ กสทช. เอื้อมเข้าไปในกลไกตลาดลึกมาก โดยเฉพาะกลไกที่มีผู้เล่นน้อยรายยิ่งเสี่ยงให้มีความฉ้อฉลมาก

การใช้ ม.44 ไม่สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจนี้ในทางกฎหมายได้ และจังหวะการออกมาหลังเลือกตั้งก็ทำให้ตรวจสอบในทางการเมืองทำได้ยาก

นิทานที่แต่งมาไม่ฉลาด ไม่สนุกสนาน ไม่ประเทืองปัญญา แต่ผู้แต่งหรือภาครัฐก็เก่งในแง่การเมือง คือแจกทีวีดิจิทัล ให้ทีวีจำนวนมากเงียบเสียงในเรื่องนี้ แจกในช่วงสงกรานต์ที่คนกำลังจะไปพักผ่อน แจกช่วงหลังเลือกตั้ง คือจะเอามาโมตีในช่วงเลือกตั้งไม่ได้ แจกในช่วงจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ทำให้พรรคที่จะร่วมรัฐบาลรอ ไม่ร่วมอภิปรายรัฐบาลในเรื่องนี้ อย่างเช่นพรรคลูกผีลูกคนว่าจะร่วมรัฐบาลหรือไม่อย่างประชาธิปัตย์จะไม่แตะเรื่องแบบนี้เพราะจำทำให้กระอักกระอ่วนถ้าเข้าไปร่วมรัฐบาล

รบ.ปัดคิดประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยุบพรรคการเมือง



นายกฯป่าวคิดประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยุบพรรคการเมือง

"อุตตม"นำขบวนพปชร.สู่ขอชทพ.ร่วมรัฐบาล : ข่าวต้นชั่วโมง 12.00 น.(30-05-62)



"อุตตม"นำขบวนขันหมากพปชร.ชุดที่สาม สู่ขอชทพ.ร่วมรัฐบาล :