PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558

จากมาตรา44ประยุทธ์ ถึง ม.17 สฤษดิ์

“มาตรา 44” ถูกนำกลับมาพูดถึงอย่างหนาหูอีกครั้ง เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้า คสช. ประกาศดัง ๆ ว่าพร้อมใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ปิดสื่อมวลชนที่สร้างความขัดแย้ง

“คราวนี้ผมจะปิดจริง ๆ ไม่งั้น จะมีกฎอัยการศึกไว้ทำไม มาตรา 44 ใช้ในทางสร้างสรรค์ ผมยังไม่เคยเอาใครมาติดคุกสักคน” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวช่วงหนึ่ง ภายในงาน แถลงผลงานรัฐบาลรอบ 3 เดือน ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2557

รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา 44 บัญญัติว่า ในกรณีที่หัวหน้า คสช. เห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้า คสช. โดยความเห็นชอบของ คสช. มีอำนาจสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทำการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งหรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว.
/////////////

"มาร์ค" ชี้ไม่เหนือคาดหมาย รธน. ชั่วคราว ยก ม.44 เทียบ ม.17 สวนทาง ม.3 จี้ คสช.แจงเหตุจำเป็น ขยายอำนาจพิเศษ 

ย้อนกลับไปเมื่อ วันที่ 23 ก.ค.57 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ความเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ในหัวข้อ "สู่ระยะที่ 2 ของคสช.รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา 44" ตอนหนึ่งว่า เดิมตั้งใจจะเขียนถึงประเด็นการปฏิรูปด้านต่างๆ แต่เมื่อวานนี้ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) 2557 เมื่อได้อ่านรัฐ
ธรรมนูญแล้ว ไม่มีประเด็นอะไรที่เกี่ยวกับโครงสร้างของสภานิติบัญญัติ สภาปฏิรูป และคณะรัฐมนตรี ที่อยู่เหนือความคาดหมายในส่วนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องยอมรับว่ามาตรา 35 ได้บัญญัติประเด็นของรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ที่จะแก้ปัญหาระบบการเมืองไว้ ค่อนข้างจะตรงประเด็น ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชัน การที่นักการเมืองถูกครอบงำ หรือปัญหาของการที่หลักนิติธรรมนิติรัฐถูกทำลายในอดีต ติงม.44 ให้อำนาจพิเศษ

นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า มีบทบัญญัติมาตราหนึ่งที่อาจถูกมองว่า ผิดปกติ คือ มาตรา 44 อันเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจของหัวหน้าคสช. และ คสช. ซึ่งเป็นอำนาจพิเศษ โดยเป็นการเขียนในลักษณะที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ขอทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่า การตราธรรมนูญการปกครองก็ดี หรือรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว โดยปกติเป็นการส่งมอบอำนาจ รัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จที่คณะรัฐประหารใช้ กลับเข้าสู่การใช้อำนาจอธิปไตย โดยพระมหากษัตริย์ ผ่านสภานิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรี และศาล การใช้อำนาจของคณะรัฐประหารจะมีการคงไว้อยู่บ้างในลักษณะของการบริหารเพื่อ แก้ไขสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องหรือ กระทบต่อความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง เมื่อปี 2549 ประธาน คมช. อาจขอให้มีการประชุมร่วมกันระหว่าง คมช. กับครม. ได้ในปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงแห่งชาติ

ในปี 2534 ประธาน รสช. โดยความเห็นชอบของที่ประชุมร่วมระหว่างสภา รสช. กับนายกรัฐมนตรี อาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ เพื่อป้องกันระงับหรือปราบปรามการกระทำที่กระทบต่อความมั่นคงได้

นายอภิสิทธิ์ ระบุต่อว่า ในปี พ.ศ. 2502 ซึ่งสังคมไทยจะกล่าวถึงเสมอ คือ มาตรา 17 ที่ถือว่าเบ็ดเสร็จที่สุด ก็จะให้อำนาจนายกรัฐมนตรี ในการสั่งการ หรือ กระทำการเพื่อระงับหรือปราบปรามการกระทำที่กระทบต่อความมั่นคง ความแตกต่างในครั้งนี้ คือ ในมาตรา 44 อำนาจพิเศษนั้น เป็นของหัวหน้า คสช. โดยความเห็นชอบของคสช. โดยไม่เกี่ยวข้องกับนายกรัฐมนตรี และมาตรา 44 ยังบัญญัติโดยชัดแจ้งว่า การใช้อำนาจนี้ อาจมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ และทางตุลาการได้ โดยไม่มีกระบวนการที่จะโต้แย้ง หรือ ตรวจสอบ นั่นหมายถึง ความสามารถที่จะออกกฎหมายและ/หรือการกลับคำพิพากษาได้ ขอบเขตของการใช้มาตรา 44 นี้ ยังมิได้จำกัดอยู่เฉพาะการป้องกันระงับ หรือปราบปรามการกระทำที่เกี่ยวกับความมั่นคง แต่สามารถใช้เหตุผลว่า เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูป หรือ การส่งเสริมความสมานฉันท์ของคนในชาติได้ด้วย บทบัญญัติในมาตรานี้ทั้งหมด จึงอาจถูกมองได้ว่า ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของ มาตรา 3

นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า เชื่อว่า สังคมยอมรับสภาพการคงอำนาจพิเศษในกรณีที่จะเกิดปัญหาความปั่นป่วน วุ่นวายขึ้น แต่ยังไม่ชัดเจนว่าวัตถุประสงค์ของการขยายอำนาจพิเศษให้ครอบคลุมอำนาจ นิติบัญญัติและอำนาจตุลาการก็ดี หรือการอ้างอิงเหตุผลในการใช้อำนาจเพื่อผลักดันการปฏิรูปหรือการส่งเสริม ความสมานฉันท์ก็ดี มีความจำเป็นอย่างไร เพราะโดยโครงสร้างสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาปฏิรูปก็มีที่มาจาก คสช.อยู่แล้ว และการระงับการกระทำที่เป็นปัญหาต่อความมั่นคงก็จะเป็นการใช้มาตรการทางบริหารเป็นหลัก จึงหวังว่า หัวหน้า คสช. จะช่วยอธิบาย ถึงความจำเป็นและสิ่งที่ท่านคิดอยู่ในใจว่า จะใช้อำนาจในมาตรา 44 นี้ ในกรณีไหนอย่างไรโดยเร็ว เพื่อให้เกิดความชัดเจนและหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง หรือ ความวุ่นวายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
/////////////////////////////////
ย้อนรอย "จอมพล ส." "ม.17" กับคำสั่งประหาร

(รายงานพิเศษเฟซบุ๊ค ‪

แม้เวลาจะผ่านมานานกว่า 55 ปี แต่ชาวบ้านร้านตลาด ยังจดจำ "จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์" หรือ "จอมพล ส." ผู้ถืออำนาจเด็ดขาด "มาตรา 17" หรือ "ม.17" เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

28 มกราคม 2502 เป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 7 ของประเทศไทย ที่มีชื่อเฉพาะว่า "ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2502"

ธรรมนูญการปกครองฯ ฉบับนี้ผู้คนทั่วไปมักจะรู้จักมาตรา 17 ของธรรมนูญดีกว่าอย่างอื่น เพราะเป็นมาตราที่เขียนให้อำนาจนายกรัฐมนตรีไว้มาก และเด็ดขาดยิ่ง

มาตรา 17 ของธรรมนูญการปกครองฯฉบับนี้บัญญัติเอาไว้ว่า

"ในระหว่างที่ใช้ธรรมนูญนี้ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรหรือราชบัลลังก์ หรือการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลาย ก่อกวนหรือคุกคามความสงบที่เกิดขึ้นภายใน หรือมาจากภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการ หรือกระทำการใด ๆ ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นเป็นคำสั่งหรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
"เมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการหรือกระทำการใดไปตามความในวรรคก่อนแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีแจ้งให้สภาทราบ"

ชาวบ้านที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จะจดจำกรณีที่ จอมพลสฤษดิ์ ใช้มาตรา 17 สั่งประหารผู้ต้องหา คือ คดีเกี่ยวกับการลอบวางเพลิง ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็อาศัยมาตรา 17 ใช้อำนาจตัดสินสั่งประหารบุคคลที่
เป็นผู้ต้องหาคดีลอบวางเพลิงไป 3 กรณี

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ คดีเฮโรอีน ตำรวจจับผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นนายทุนผลิตเฮโรอีน นายกรัฐมนตรีก็ได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 17 ของธรรมนูญการปกครองฯ สั่งประหารผู้ต้องหาคดีนี้

เหตุการณ์ฆ่าข่มขืนหญิงสาวในช่วงหลังๆ จึงมีเสียงสะท้อนจากคนรุ่นเก่าว่า "ถ้าไอ้หมอนี่.. เกิดสมัยจอมพลสฤษดิ์ มันโดนยิงเป้าแน่"
///////////////////////////////////
 เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหารลูกพี่จอมพล ป.พิบูลสงครามสำเร็จก็สืบอำนาจเผด็จการต่อทันที

เมธีหรือนักปรัชญาทางการเมืองชาวอังกฤษที่มีชีวิตอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 1632-1704 ชื่อจอห์นล็อค กล่าวไว้ว่า....

“ สิทธิมูลฐานของพลเมืองนั้นสิทธิที่จะก่อกบฏเป็นสิทธิตามธรรมชาติสิทธินี้จะนำมาใช้ก็เฉพาะกรณีที่ชนชั้นปกครองกลายเป็นทรราชกฎหมายบ้านเมืองเป็นสิ่งไม่ชอบธรรมกลายเป็นเครื่องมือของ

ระบอบเผด็จการเท่านั้น ”

มาตรา 17 คือกฎหมายที่จอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์ได้ร่างขึ้นมีอำนาจครอบคลุมจักรวาลในการกำจัดศัตรูทางการเมืองได้อย่างสมบูรณ์แบบกฎหมายนี้ประหารชีวิตได้แม้กระทั่งนายศุภชัย ศรีสติ ที่เพียง

แค่ออกใบปลิวคัดค้านการจับกุมสามล้อเครื่องชื่อนายศิลา วงศ์สินชาวบ้านจังหวัดนครราชสีมาที่เพียงสำคัญตนเองอวดว่าเป็นผู้วิเศษผู้ศักดิ์สิทธิ์ และผู้ที่โดนข้อหา วางเพลิง ที่ถูกจอมพลสฤษดิ์ สั่งยิง

เป้า โดยไม่มีหลักฐานชัดเจน มาตรา 21 สั่งจบชีวิตใครก็ได้ตามอำเภอใจของผู้ปกครองในสมัยนั้นภายใต้ข้ออ้างว่า “เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประเทศชาติ”

 ครูครอง จันดาวงศ์  เป็นผู้หนึ่งที่ได้ต่อสู้กับอำนาจเผด็จการปกครองในการสมัยนั้นไม่ค่อยมีใครกล่าวถึงและเขียนเรื่องราววิถีการต่อสู้ของเขามากนักเหมือนเหมือนกับจิตรภูมิศักดิ์นักคิดนักเขียน

นักต่อสู้ร่วมสมัยกับเขา

ครูครอง จันดาวงศ์เคยถูกจับข้อหาทางการเมือง 3 ครั้งใหญ่ๆคือครั้งแรกเมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ข้อหากบฎแบ่งแยกดินแดงและกบฏภายในราชอาณาจักร มีผู้ร่วมถูกจับกุม 18 คน

ครั้งที่สอง ถูกจับเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 ในข้อหากบฏสันติภาพ มีผู้ร่วมถูจับกุม 38 คน

ครั้งที่สาม ถูกจับเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2504ในข้อหามีการกระทำเป็นคอมมิวนิสต์และกบฏแบ่งแยกดินแดง มีผู้ถูกร่วมจับกุม 108 คน ถูกสอบสวนที่กรุงเทพฯ 20 กว่าวัน ก็ถูกนำตัวไป

ประหารชีวิตที่อำเภอสว่างดินแดงเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2504

ปลายปี พ.ศ. 2503รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์  ทำการปราบปรามอย่างหนัก องค์กรสามัคคีธรรมก็เช่นกัน ครูครองจันดาวงศ์และเพื่อนครูถูกล่าไล่จนต้องหนีหัวซุกหัวซนหลบลี้ภัยไปอยู่ภูพาน

ชั่วคราว ก่อนแอบกลับมาบ้านวันที่ 4 พฤษภาคม 2504 เพื่อเตรียมสัมภาระสำหรับอยู่บนภูและรอเพื่อนแต่เพื่อนไม่มาตามนัด จนถึงเช้าตรู่วันที่ 16 เดือนเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจยกกำลังมาล้อมจับ

เขาพร้อมนายภักดี พงษ์สิทธิศักดิ์ น้องภรรยา นำไปฝากขังที่สถานีตำรวจอำเภอสว่างดินแดง ลูกชายคนโตชื่อวิทิตกับเพื่อน ชื่อสมพงษ์ ราชพลีที่ไปเยี่ยมที่โรงพักก็พลอยถูกจับขังด้วย หลังจากนั้น

ครูครองก็ถูกย้ายไปขังที่จังหวัดอุดรธานี ขังอยู่ สองสามวันก็ถูกนำตัวมาขึ้นเฮลิคอปเตอร์มาสอบสวนที่กรุงเทพฯ

 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ควบทั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและอธิบดีกรมตำรวจ

ครูครอง จันดาวงศ์  และนายทองพันธ์ สุทธิมาศ ถูกเบิกตัวเข้าพบ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทั้งสองรู้ตัวทันทีว่าใครก็ตามที่ถูกเบิกตัวเข้าพบจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั่นหมายความว่าโดนคำสั่ง
ประหารชีวิตด้วย ม. 17 แน่ เมื่อไปถึงตึกกองบัญชาการกรมตำรวจซึ่ง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ควบทั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอธิบดีกรมตำรวจ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
พูดอย่างยโสโอหังว่า “พวกมึงรู้หรือเปล่าว่าการกระทำของพวกมึงเป็นการขายชาติ” ครูครอง จันดาวงศ์ตอบอย่างสุภาพ “................ในที่สุดประชาชนต้องเป็นฝ่ายชนะอธรรม พวกเผด็จการจะต้อง
พินาศผมขอภาวนาว่าเมื่อถึงวันนั้นมาถึงขอให้ท่านยังอยู่และอย่าหนีทัน..........”

เมื่อมาถึงตอนนี้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีอาการโกรธจัดไม่สามารถทนฟังต่อไปได้อีกแล้ว จึงออกคำสั่งต่อนายตำรวจที่อยู่ข้างๆว่า “จับมันไปประหารเดี๋ยวนี้ ตามแผนที่กูสั่งไว้แล้ว”  แล้วนักโทษการเมืองทั้งสองก็ถูกนำตัวขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปยังสนามบินลับเสรีไทย อำเภอสว่างดินแดง จ.สกลนคร สาเหตุที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ให้ประหารชีวิตที่นี่เพราะต้องการข่มขู่อดีตพลพรรคเสรีไทย

ทั้งหมดให้สยบ เมื่อไปถึงสกลนครเวลา 11.30 น. ผู้นำทางได้แจกจ่ายข้าวผัดให้ทั้งสองคนละห่อ พร้อมด้วยน้ำดื่มคนละขวดทั้งสองรับประทานอาหารด้วยใจสงบก่อนเข้าถูกมัดกับหลักประหารพร้อมใช้ผ้ามัดตาเป็นที่เรียบร้อย บุคคลเหยื่อ ม.17 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์  ครูครองได้เปล่งคำขวัญ “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ” ก่อนเสียงปืนรัว 90 นัด เวลา 12.13 น. ครูครอง จันดาวงศ์ ถูกประหารเมื่ออายุได้ 54 ปี

ท่านเคยตำรงตำแหน่งที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมมาหลายตำแหน่งเช่นเป็นครูประจำชั้นและครูใหญ่ตามโรงเรียนประชาบาลต่างๆในเขตอำเภอสว่างดินแดงไม่น้อยกว่า 5 แห่งเคยเป็นผู้จัดการโรงเรียนมัธยมศิริขันธ์ 2 ของครูเตียง ศิริขันธ์เป็นผู้ปฎิบัติการดีเด่นของขบวนการเสรีไทยสายอีสาน

เป็นสมาชิกสภาจังหวัดสกลนครในปี 2489เป็นสมาชิกขบวนการสันติภาพแห่งประเทศไทยเป็นประธานองค์กรมวลชนช่วยเหลือตนเองที่เรียกว่า “กลุ่มสามัคคีธรรม”เป็นสมาชิกพรรคเศรษฐกรและแนวร่วมสังคมนิยมที่ต่อสู้เพื่อนโยบายเป็นกลางคัดค้านการรวมกลุ่มของทหารเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรในช่วงปี 2501 และสภาถูกยึดเพราะการยึดอำนาจครั้งที่ 2 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

ส่วนนายทอง สุทธิมาศ เป็นรุ่นน้องอายุน้อยกว่าครูครอง 20 ปี บุคคลทั้งสองเคียงคู่กันในการหาเสียงการรณรงค์เป็นปากเสียงให้ชาวบ้านช่วยเหลือกันอย่างดี นายทองพันธ์เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดสกลนคร ในเขตอำเภอวานรนิวาส และเคยลงเลือกตั้งในนามพรรคสังคมนิยม ท่านเป็นที่เคารพอย่างสูงของประชาชนสกลนครเช่นกัน ขณะนั้นจิตร ภูมิศักดิ์ถูกคุมขังอยู่ในคุกลาดยาว บางเขน กรุงเทพมหานคร ได้ประพันธ์เพลงสดุดีวีรกรรมให้กับครูครอง จันดาวงศ์และนายทองพันธ์ ทั้งๆที่ตัวเองก็อยู่ในคุกโดยให้ชื่อเพลงว่า “วีรชนปฎิวัติ”

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เปิดเผยตนเองออกมาเป็นเผด็จการอย่างล้อนจ้อนำรงโยบาย 3 เรียบคือ จับเรียบ ฆ่าเรียบ และเผาเรียบ

กลุ่มปกครองไทยในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มิเพียงเข่นฆ่าครูครองและคุณทองพันธ์เท่านั้น หากยังทำให้ครอบครัวของทั้งสองแตกสลายอีกด้วย บางคนเข้าป่าบางคนต้องหลบลี้ภัยไปอยู่ต่างแดน ครอบครัวของครูครองยังถูกอำนาจมืดรังควานตลอดเวลา ลูกชายคนที่สองถูกคุกคามจนอยู่ไม่ได้ ต้องลี้ภัยไปประเทศลาว ต่อมาลูกสาวคนสุดท้องก็หลบภัยไปอยู่ต่างประเทศเช่นกัน

ต่อมาวันที่ 5 มกราคม 2506 นางแตงอ่อนภรรยาครูครอง จันดาวงศ์ ถูกจับอีกครั้งพร้อมคนอื่นๆอีก 90 คน นายแตงอ่อนถูกแยกตัวออกไปขังที่อำเภอเมือง 11 วัน แล้วส่งไปขังเดี่ยวที่อำเภอโนนสังข์ 1 เดือน ต่อมานางแตงอ่อนถูกย้ายไปขังที่กองบังคับการสันติบาล กรุงเทพฯ ถูกขังลืมนานปีกว่าโดยไม่มีการสืบสวนและไม่มีการส่งฟ้อง จนกระทั่งทรราชสฤษดิ์ป่วยตาย นายวิชิต จันดาวงศ์ลูกชายได้ยื่นคำร้องต่อ พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ อธิบดีกรมตำรวจคนใหม่ ท้วงติงเร่งรัดดำเนินคดี ไม่นานก็ได้รับคำสั่งการปล่อยตัวพร้อมนายทองปาน วงศ์สง่า และคณะทั้งหมด

นางแตงอ่อนเมื่อถูกปล่อยตัวออกมายังถูกสายลับไปรังควานอยู่เสมอ ในที่สุดภรรยาครูครองจินดาวงศ์ตัดสินใจอำลาบ้านเกิดและญาติพี่น้องไปพำนักในต่างประเทศชั่วคราวอีกผู้หนึ่ง

วันที่ 24 เมษายน 2505 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ก่อกรรมทำเข็ญอีกรายโดยสั่งประหารชีวิตนายราม วงศ์พันธ์ ผู้เรียกร้องประชาธิปไตย

เกือบ 6 ปีแห่งอำนาจเผด็จการ ถูกหนังสือพิมพ์เปิดโปงตีแผ่ พฤติกรรมชั่วอันโสมมของเขาในเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์แก่พรรคพวก มั่วกามโลกีย์ผิดลูกผิดเมียชาวบ้านในที่สุด ทรราชสฤษดิ์ก็ถูกลูกน้องของตนเองคือจอมพลถนอม กิตติขจร ผู้สืบอำนาจเผด็จการคนต่อมายึดทรัพย์ด้วยมาตรา 13 ฐานโกงชาติโกงแผ่นดิน ยึดทรัพย์เข้าหลวงได้ถึง 3,000 ล้านบาทในสมัยนั้น!

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้มั่วกามโลกีย์ผิดลูกผิดเมียชาวบ้าน

เป็นไข้ไม่สบายจนม้ามแตกตายไปเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2506

เกือบ 6 ปีแห่งอำนาจเผด็จการ ถูกหนังสือพิมพ์เปิดโปงตีแผ่ พฤติกรรมชั่วอันโสมมของเขาในเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์แก่พรรคพวก มั่วกามโลกีย์ผิดลูกผิดเมียชาวบ้านในที่สุดทรราชย์สฤษดิ์ก็ถูกลูกน้องของตนเองคือจอมพลถนอม กิตติขจร ผู้สืบอำนาจเผด็จการคนต่อมายึดทรัพย์ด้วยมาตรา 13 ฐานโกงชาติโกงแผ่นดิน ยึดทรัพย์เข้าหลวงได้ถึง 3,000 ล้านบาทในสมัยนั้น!

สิ้นยุคสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจรและจอมพลประภาส จารุเสถียร ก็สืบอำนาจเผด็จการต่อ กระทั่งถูกประชาชน นักศึกษาขับไล่ เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาและประชาชนกลางเมืองกรุงเทพมหานคร เมื่อ 14 ตุลาลาคม 2514 และ 6 ตุลาคม 2519 เรียกว่าเป็นวันมหาวิปโยค.

อำนาจ ตามม.44 เทียบ ม.17จอมพลสฤษดิ์

มาตรา 44 โคลนนิ่งเผด็จการทหารเต็มรูปแบบ
ภายใต้การบังคับของรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ตัวรัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้นอกจากจะมีปัญหาในเรื่องของสิทธิ เสรีภาพของประชาชน และเรื่องของการมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจอธิปไตย แต่ความน่าวิตกกังวลของรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับนี้ยังไม่หมดเพียงแค่นี้ สิ่งที่น่ากลัวกว่าก็คืออำนาจของหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ซึ่งมีอำนาจไร้ขีดจำกัด สามารถกระทำการใดใดได้โดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ตามมาตรา 44 ซึ่งถือว่าเป็นบทบัญญัติที่มีลักษณะเช่นเดียวกับกฎหมายในยุคเผด็จการทหารเต็มรูปแบบ
มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 มีความว่า “ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ ในการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทำการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่ง หรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว”
ซึ่งเป็นการให้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแก่หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติในการกระทำการใดใด หรือสั่งการอะไรก็ได้ โดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญซึ่งในอดีตก็เคยมีปรากฏตัวบทบัญญัติที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน ในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 ในยุคที่ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ ในมาตรา 17
มาตรา 17 ในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 มีความว่า “ในระหว่างที่ใช้ธรรมนูญนี้ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นสมควร เพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรหรือราชบัลลังก์ หรือการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลาย ก่อกวน หรือคุกคามความสงบ ที่เกิดขึ้นภายในหรือมาจากภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรี โดยมติของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งการ หรือกระทำการใด ๆ ได้ และให้ถือว่า คำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นเป็นคำสั่งหรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการหรือกระทำการใดไปตามความในวรรคก่อนแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีแจ้งให้สภาทราบ
จะเห็นได้ว่ามาตรา 17 ในธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร 2502 มีลักษณะการให้อำนาจเช่นเดียวกับ มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 และการใช้ในกฎหมายที่มีลักษณะเช่นนี้ล้วนแต่เป็นการใช้อำนาจเผด็จการเต็มรูปแบบ โดยในยุคที่ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร 2502 ได้มีการใช้อำนาจในการ ประหารชีวิตทันที สำหรับข้อกล่าวหาวางเพลิง โดยอ้างว่าเป็นการก่อความไม่สงบในประเทศ การใช้อำนาจตามมาตรา 17 ในการปราบปรามคอมมิวนิสต์ในยุคนั้น แต่ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าวล้วนแต่เป็นการละเมิดสิทธิ เสรีภาพอย่างสิ้นเชิง การใช้อำนาจมาตรา 17 ประหารชีวิตผู้ถูกกล่าวหาคดีวางเพลิง โดยผู้ต้องหาไม่มีโอกาสขึ้นศาล พิสูจน์ความบริสุทธิ์ หรือได้รับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม การใช้อำนาจมาตรา 17 ในการปราบปรามคอมมิวนิสต์ ก็เช่นกัน ผู้ต้องหาไม่มีโอกาสได้รับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ถูกจับกุม คุมขังเป็นจำนวนมาก โดยไม่มีการพิสูจน์ความผิดให้แน่ชัดตามกระบวนการ ดังนั้นในอีก 55 ปีต่อมา พ.ศ. 2557 กลับมีการเขียนรัฐธรรมนูญ ให้มีมาตรา 44 ซึ่งให้อำนาจแก่หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติในลักษณะเดียวกัน จึงถือเป็นการย้อนยุคเอากฎหมายเผด็จการทหารในยุคครึ่งศตวรรษก่อนกลับมาใช้ และยังไม่สามารถตอบได้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ จะใช้อำนาจล้นฟ้าตามมาตรา 44 นี้อย่างไร ในเมื่ออำนาจที่มี สามารถทำได้ทุกอย่าง แม้แต่การประหารชีวิตโดยไม่ต้องไต่สวนก็สามารถกระทำได้

"บิ๊กตู่" เตรียมออกคำสั่ง หน.คสช. ใช้มาตรา44 แทนกฎอัยการศึก

ด่วน! "บิ๊กตู่" เตรียมออกคำสั่ง หน.คสช. ใช้มาตรา44 แทนกฎอัยการศึก

วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 17:45:28 น.


พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. เปิดเผยว่า ตรียมการที่จะใช้อำนาจพิเศษ ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ตามมาตรา 44 ออกคำสั่ง มาใช้ดูแลความสงบ แทนกฎอัยการศึก
http://www.matichon.co.th/online/2015/03/14274532041427453244l.jpg

"ออกเมื่อไหร่รู้เอง ไม่คุย ครม. อำนาจของผม การใช้กฎหมายใหม่ คำสั่ง คสช.เหนือทุกอย่าง ม.44 เตรียมการจะใช้แทนกฎอัยการศึก" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า เพื่อให้ทำงานได้แบบเดิม ไม่ละเมิดทรัพย์สิน เพื่อให้การบริหารประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น โดยคำสั่งจะมีผลเมื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ 

ประยุทธ์ โชว์ speak English ชวนนักท่องเที่ยวเที่ยวไทย

ประยุทธ์ โชว์ speak English ชวนนักท่องเที่ยวเที่ยวไทย
นายกฯ เดินหาดหัวหิน โชว์ลีลา speak English กับนักท่องเที่ยว ก่อนจะชวนให้มาเที่ยวเมืองไทยเยอะ วอนเข้าใจสถานการณ์
รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (27 มี.ค. 58) ระหว่างที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธุ์ เพื่อตรวจเยี่ยมและดูการจัดระเบียบชายหาดหัวหินพบปะกับผู้ค้าชายหาด ก่อนเข้าร่วมประชุมครม.สัญจรนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ได้สร้างความฮือฮาด้วยการทักทายพูดคุยกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติซึ่งต่อมาทราบว่าเป็นชาวฮอลแลนด์ เป็นภาษาอังกฤษ โดยระบุว่า
“Hello, How r u? How about the weather ? so hot? situation in Thailand, I will try my best. Thank you for coming to Thailand and Please tell everyone in your country come to Thailand.”
“ถามร้อนมั้ย ขอบคุณที่มาเที่ยวเมืองไทย ชวนกันมาเที่ยวไทยทั้ง Holland เลยนะ วอนเข้าใจสถานการณ์ในไทย”

ออกคำสั่ง หน.คสช. ใช้มาตรา44 แทนกฎอัยการศึก...

ออกคำสั่ง หน.คสช. ใช้มาตรา44 แทนกฎอัยการศึก...
พล..อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี เผยเตรียมการจะใช้อำนาจพิเศษ ของ หน.คสช.ตามม.44 ออกคำสั่ง มาใช้ดูแลความสงบ แทนกฎอัยการศึก เตรียมทูลเกล้าฯเลือกอัยการศึก หลังออกคำสั่งคสช. ตอนนี้ เตรียมแล้ว ประกาศเมื่อไหร่ รู้เอง จากนั้นจะทูลเกล้า เลิกอัยการศึก ตอนนี้รอให้พระองค์ท่านพักหน่อย เพิ่งโปรดเกล้า โผทหาร ไป เผยไม่ได้หารือ ครม. แต่ผมคิดของผมเอง

ทายาท ทบ.ทหารเสือราชินีพรึ่บ


ทายาท....
ทบ.ขยับ ผบ.พล.และ ผบ.มทบ.เพียบ สายบูรพาพยัคฆ์-ทหารเสือราชินี พรึ่บ สาย บิ๊กโด่ง บิ๊กตู่ บิ๊กป้อม ขึ่น ผู้บัญชาการกองพล และ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบก จับตา" พลโท พิสิทธิ์"ขึ่น พลเอก เตรียมเข้าไลน์
ที่น่าจับตามอง คือ บิ๊กแกละ พลโท พิสิทธิ์ สิทธิสาร รองเสนาธิการทหารบก และ ผอ.ศูนย์ปรองดอง คสช. ขึ้นเป็น พลเอก ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ทบ. และถูกคาดหมายว่า ถูกวางตัว จ่อเข้าไลน์ เพราะเป็น ตท.17 เกษียณ กย.2560 และเป็น น้องรักของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ/รมว.กห. โดยคาดว่า โยกย้าย กย. นี้ จะเสียบเข้า เป็น ห้าเสือทบ. เพื่อจ่อคิว เป็นแคนดิเดท ชิง ผบทบ ในอนาคต ได้ด้วย
นอกจากนี้ มีการขยับ ตำแหน่ง ผบ.หน่วย ระดับ ผู้บีญชาการกองพล และผู้บัญชาการมณฑลทหารบก หลายตำแหน่ง
บิ๊กหิน พล.ต.ศรีศักดิ์ พูนประสิทธิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ทบ. หน้าห้อง บิ๊กโด่ง พลเอก อุดมเดช สีตบุตร ผบทบ. มานั่ง เป็น ผบ.พล.ร.2รอ. คุมบูรพาพยัคฆ์ ส่วน พลตรี กู้เกียรติ ศรีนาคา ผบ.พล.ร.2รอ. ขยับเข้าไลน์ นั่ง รองแม่ทัพ1 เป็นนายทหารสายบูรพาพยัคฆ์ น้องรักบิ๊กตู่ พลเอก ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี และ พลเอก ประวิตร
พลตรี จีระพันธ์ มาลีแก้ว เป็น ผบ.มทบ.11
พลตรี ประวิตร ฉายะบุตร เป็น ผบ.มทบ.12
พลตรี สิงห์ทอง หมีทอง เป็น ผบ.มทบ.14
ขยับทหารสายคุมกำลังภาคเหนือ ใหม่หมด
พลตรี โกศล ปทุมชาติ เป็น ผบมทบ.33 พลตรี อุทัย ชัยชนะ เป็น ผบ.พล.ร.7พลตรี กษิดิ หลักกรด เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารม้า ที่1
พลตรี บรรเจิด ฉางปูนทอง ผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ ๑เป็น รองแม่ทัพภาคที่ ๓
พลตรี มณี จันทร์ทิพย์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๑๕ เป็น รองแม่ทัพภาคที่ ๔
พลตรี ฐิติวุฒิ อ่วมพริ้ง เสนาธิการกองทัพน้อยที่ ๒ เป็น รองแม่ทัพน้อยที่ ๒ พลตรี วัฒนชัย ประสานเกษม เสนาธิการกองทัพภาคที่ ๔ เป็น รองแม่ทัพน้อยที่ ๔ พลตรี ธนศักดิ์ เก่งถนอมม้า ผู้บัญชาการศูนย์สงครามพิเศษ เป็น รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
พลตรี พจงเจตน์ มปีน เสนาธิการกรมการทหารสื่อสาร เป็น รองเจ้ากรมการทหารสื่อสาร พลตรี ประสงค์ ล้อมทอง ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหารกรมแพทย์ทหารบก เป็น รองเจ้ากรมแพทย์ทหารบก
พลตรี สิทธิพล ชินสําราญ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๑๒ เป็น รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก พลตรี ไพโรจน์ ทองมาเอง รองแม่ทัพภาคที่ ๑ เป็น รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายทหารรับราชการสนองพระเดชพระคุณดังต่อไปนี้
กระทรวงกลาโหม พลตรี ชมพล อามระดิษ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น หัวหน้าสํานักงานรัฐมนตรี สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พลเอก ประพันธ์ พุทธานุ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจํารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอก ถาวร มณีพฤกษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจํารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลโท ศุภวัฒน์ เชิดธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น ที่ปรึกษาพิเศษสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
กองบัญชาการกองทัพไทย เช่น พลเรือเอก ธนะรัตน์ อุบล เสนาธิการทหารเรือ เป็น รองเสนาธิการทหาร
พลโท สหัสส์ สูงใหญ่ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจํา รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น ที่ปรึกษาพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย พลโท ธวัชชัย บุญศรี รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
เป็น ที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (อัตรา พลเอก) พลเรือโท ภวัต วิชัยดษฐิ รองผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น ที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (อัตรา พลเรือเอก) พลโท พิชิต พินิตตานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลเอก)
กองทัพบก พลโท พิสิทธิ์ สิทธิสาร รองเสนาธิการทหารบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก) พลโท กิตติ อินทสร แม่ทัพน้อยที่ ๔ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก) พลโท บุณยรักษ์ พูนชัย เจ้ากรมแพทย์ทหารบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก) พลโท บุญสันติ แสนสวัสดิ์ รองหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจําผู้บังคับบัญชา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)
พลโท ไตรโรจน์ ครุธเวโช ผู้อํานวยการศูนย์อํานวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า เป็น เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
พลตรี เสริมศักดิ์ นิยะโมสถ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๒๑ เป็น รองเสนาธิการทหารบก
พลตรี นพวงศ์ สุรวิชัย รองแม่ทัพภาคที่ ๔ เป็น แม่ทัพน้อยที่ ๔ พลตรี ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์ รองเจ้ากรมแพทย์ทหารบก เป็น ผู้อํานวยการศูนย์อํานวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า พลตรี ธนาคาร เกิดในมงคล ผู้อํานวยการสํานักงานตรวจสอบภายในทหารบก เป็น รองหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจําผู้บังคับบัญชา
พลตรี ภัทรพล รักษนคร รองแม่ทัพภาคที่ ๒ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท) พลตรี ยอดชัย ยั่งยืน รองแม่ทัพน้อยที่ ๔ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
พลตรี ราชรักษ์ เรียนพืชน์ รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท) พลตรี ชาญชัย นาควรางกูร รองเจ้ากรมการทหารสื่อสาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท) พลตรี เดชา เดชะชาติ รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
พลตรี โกญจนาท ศุกระเศรณี รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
พลตรี กู้เกียรติ ศรีนาคา ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์ เป็น รองแม่ทัพภาคที่ ๑ พลตรี ประวิทย์ หูแก้ว รองแม่ทัพน้อยที่ ๒ เป็น รองแม่ทัพภาคที่ ๒ พลตรี บรรเจิด ฉางปูนทอง ผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ ๑
เป็น รองแม่ทัพภาคที่ ๓ พลตรี มณี จันทร์ทิพย์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๑๕ เป็น รองแม่ทัพภาคที่ ๔
พลตรี ฐิติวุฒิ อ่วมพริ้ง เสนาธิการกองทัพน้อยที่ ๒ เป็น รองแม่ทัพน้อยที่ ๒ พลตรี วัฒนชัย ประสานเกษม เสนาธิการกองทัพภาคที่ ๔ เป็น รองแม่ทัพน้อยที่ ๔ พลตรี ธนศักดิ์ เก่งถนอมม้า ผู้บัญชาการศูนย์สงครามพิเศษ เป็น รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
พลตรี พจงเจตน์ มปีน เสนาธิการกรมการทหารสื่อสาร เป็น รองเจ้ากรมการทหารสื่อสาร พลตรี ประสงค์ ล้อมทอง ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหารกรมแพทย์ทหารบก เป็น รองเจ้ากรมแพทย์ทหารบก
พลตรี สิทธิพล ชินสําราญ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๑๒ เป็น รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก พลตรี ไพโรจน์ ทองมาเอง รองแม่ทัพภาคที่ ๑ เป็น รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
กองทัพเรือ เช่น พลเรือเอก ณรงค์พล ณ บางช้าง รองเสนาธิการทหาร เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็น เสนาธิการทหารเรือ พลเรือโท วสันต์ แจ้งยอดสุข เจ้ากรมอู่ทหารเรือ
เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก) พลเรือโท หม่อมหลวงบวรลักษณ์ กมลาศน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ พิเศษกองทัพเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก) พลเรือโท วีระพันธ์ สุขก้อน เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก)
พลเรือตรี ฐานันดร์ เข็มเพ็ชร รองเจ้ากรมอู่ทหารเรือ เป็น รองผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ พลเรือตรี สัมพันธ์ สุนทรครุธ เจ้ากรมจเรทหารเรือ เป็น ปลัดบัญชีทหารเรือ พลเรือตรี พัชระ พุ่มพิเชฏฐ์ ผู้บัญชาการฐานทัพเรือกรุงเทพ เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจําผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือตรี ธน ทิวารัศชัย ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)
กองทัพอากาศ เช่น พลอากาศเอก ธรรมรงค์ โชคคณาพิทักษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก) พลอากาศโท ชูชาติ บุญชัย รองเสนาธิการทหารอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก) พลอากาศโท ประคอง จันทร์ศรี เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก) พลอากาศโท พลานันท์ ปะจายะกฤตย์ เจ้ากรมช่างอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก) พลอากาศโท สุรศักดิ์ โปร่งจันทึก เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก)
พลอากาศโท สุรศักดิ์ ทุ่งทอง เจ้ากรมข่าวทหารอากาศ เป็น รองเสนาธิการทหารอากาศ พลอากาศโท วิเชียร ธรรมาธร ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ เป็น ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช พลอากาศตรี ภานุพงศ์ เสยยงคะ รองเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ เป็น เจ้ากรมข่าวทหารอากาศ พลอากาศตรี สุรสิทธิ์ ปัญญาอุทัย รองเจ้ากรมช่างอากาศ เป็น เจ้ากรมช่างอากาศ พลอากาศตรี ศิริพงษ์ นิลพฤกษ์ รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ เป็น เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ พลอากาศตรี ศักดา สุจริตธรรม รองเจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ เป็น เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ พลอากาศตรี จีระ แสงเปล่งปลั่ง รองเจ้ากรมช่างอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศโท)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๘ ยกเว้น หมายเลข ๓๑๗, ๓๓๓, ๓๓๔, ๓๓๕, ๓๓๖ และ ๓๓๗ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป