PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558

จากมาตรา44ประยุทธ์ ถึง ม.17 สฤษดิ์

“มาตรา 44” ถูกนำกลับมาพูดถึงอย่างหนาหูอีกครั้ง เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้า คสช. ประกาศดัง ๆ ว่าพร้อมใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ปิดสื่อมวลชนที่สร้างความขัดแย้ง

“คราวนี้ผมจะปิดจริง ๆ ไม่งั้น จะมีกฎอัยการศึกไว้ทำไม มาตรา 44 ใช้ในทางสร้างสรรค์ ผมยังไม่เคยเอาใครมาติดคุกสักคน” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวช่วงหนึ่ง ภายในงาน แถลงผลงานรัฐบาลรอบ 3 เดือน ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2557

รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา 44 บัญญัติว่า ในกรณีที่หัวหน้า คสช. เห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้า คสช. โดยความเห็นชอบของ คสช. มีอำนาจสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทำการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งหรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว.
/////////////

"มาร์ค" ชี้ไม่เหนือคาดหมาย รธน. ชั่วคราว ยก ม.44 เทียบ ม.17 สวนทาง ม.3 จี้ คสช.แจงเหตุจำเป็น ขยายอำนาจพิเศษ 

ย้อนกลับไปเมื่อ วันที่ 23 ก.ค.57 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ความเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ในหัวข้อ "สู่ระยะที่ 2 ของคสช.รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา 44" ตอนหนึ่งว่า เดิมตั้งใจจะเขียนถึงประเด็นการปฏิรูปด้านต่างๆ แต่เมื่อวานนี้ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) 2557 เมื่อได้อ่านรัฐ
ธรรมนูญแล้ว ไม่มีประเด็นอะไรที่เกี่ยวกับโครงสร้างของสภานิติบัญญัติ สภาปฏิรูป และคณะรัฐมนตรี ที่อยู่เหนือความคาดหมายในส่วนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องยอมรับว่ามาตรา 35 ได้บัญญัติประเด็นของรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ที่จะแก้ปัญหาระบบการเมืองไว้ ค่อนข้างจะตรงประเด็น ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชัน การที่นักการเมืองถูกครอบงำ หรือปัญหาของการที่หลักนิติธรรมนิติรัฐถูกทำลายในอดีต ติงม.44 ให้อำนาจพิเศษ

นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า มีบทบัญญัติมาตราหนึ่งที่อาจถูกมองว่า ผิดปกติ คือ มาตรา 44 อันเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจของหัวหน้าคสช. และ คสช. ซึ่งเป็นอำนาจพิเศษ โดยเป็นการเขียนในลักษณะที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ขอทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่า การตราธรรมนูญการปกครองก็ดี หรือรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว โดยปกติเป็นการส่งมอบอำนาจ รัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จที่คณะรัฐประหารใช้ กลับเข้าสู่การใช้อำนาจอธิปไตย โดยพระมหากษัตริย์ ผ่านสภานิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรี และศาล การใช้อำนาจของคณะรัฐประหารจะมีการคงไว้อยู่บ้างในลักษณะของการบริหารเพื่อ แก้ไขสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องหรือ กระทบต่อความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง เมื่อปี 2549 ประธาน คมช. อาจขอให้มีการประชุมร่วมกันระหว่าง คมช. กับครม. ได้ในปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงแห่งชาติ

ในปี 2534 ประธาน รสช. โดยความเห็นชอบของที่ประชุมร่วมระหว่างสภา รสช. กับนายกรัฐมนตรี อาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ เพื่อป้องกันระงับหรือปราบปรามการกระทำที่กระทบต่อความมั่นคงได้

นายอภิสิทธิ์ ระบุต่อว่า ในปี พ.ศ. 2502 ซึ่งสังคมไทยจะกล่าวถึงเสมอ คือ มาตรา 17 ที่ถือว่าเบ็ดเสร็จที่สุด ก็จะให้อำนาจนายกรัฐมนตรี ในการสั่งการ หรือ กระทำการเพื่อระงับหรือปราบปรามการกระทำที่กระทบต่อความมั่นคง ความแตกต่างในครั้งนี้ คือ ในมาตรา 44 อำนาจพิเศษนั้น เป็นของหัวหน้า คสช. โดยความเห็นชอบของคสช. โดยไม่เกี่ยวข้องกับนายกรัฐมนตรี และมาตรา 44 ยังบัญญัติโดยชัดแจ้งว่า การใช้อำนาจนี้ อาจมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ และทางตุลาการได้ โดยไม่มีกระบวนการที่จะโต้แย้ง หรือ ตรวจสอบ นั่นหมายถึง ความสามารถที่จะออกกฎหมายและ/หรือการกลับคำพิพากษาได้ ขอบเขตของการใช้มาตรา 44 นี้ ยังมิได้จำกัดอยู่เฉพาะการป้องกันระงับ หรือปราบปรามการกระทำที่เกี่ยวกับความมั่นคง แต่สามารถใช้เหตุผลว่า เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูป หรือ การส่งเสริมความสมานฉันท์ของคนในชาติได้ด้วย บทบัญญัติในมาตรานี้ทั้งหมด จึงอาจถูกมองได้ว่า ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของ มาตรา 3

นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า เชื่อว่า สังคมยอมรับสภาพการคงอำนาจพิเศษในกรณีที่จะเกิดปัญหาความปั่นป่วน วุ่นวายขึ้น แต่ยังไม่ชัดเจนว่าวัตถุประสงค์ของการขยายอำนาจพิเศษให้ครอบคลุมอำนาจ นิติบัญญัติและอำนาจตุลาการก็ดี หรือการอ้างอิงเหตุผลในการใช้อำนาจเพื่อผลักดันการปฏิรูปหรือการส่งเสริม ความสมานฉันท์ก็ดี มีความจำเป็นอย่างไร เพราะโดยโครงสร้างสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาปฏิรูปก็มีที่มาจาก คสช.อยู่แล้ว และการระงับการกระทำที่เป็นปัญหาต่อความมั่นคงก็จะเป็นการใช้มาตรการทางบริหารเป็นหลัก จึงหวังว่า หัวหน้า คสช. จะช่วยอธิบาย ถึงความจำเป็นและสิ่งที่ท่านคิดอยู่ในใจว่า จะใช้อำนาจในมาตรา 44 นี้ ในกรณีไหนอย่างไรโดยเร็ว เพื่อให้เกิดความชัดเจนและหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง หรือ ความวุ่นวายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
/////////////////////////////////
ย้อนรอย "จอมพล ส." "ม.17" กับคำสั่งประหาร

(รายงานพิเศษเฟซบุ๊ค ‪

แม้เวลาจะผ่านมานานกว่า 55 ปี แต่ชาวบ้านร้านตลาด ยังจดจำ "จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์" หรือ "จอมพล ส." ผู้ถืออำนาจเด็ดขาด "มาตรา 17" หรือ "ม.17" เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

28 มกราคม 2502 เป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 7 ของประเทศไทย ที่มีชื่อเฉพาะว่า "ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2502"

ธรรมนูญการปกครองฯ ฉบับนี้ผู้คนทั่วไปมักจะรู้จักมาตรา 17 ของธรรมนูญดีกว่าอย่างอื่น เพราะเป็นมาตราที่เขียนให้อำนาจนายกรัฐมนตรีไว้มาก และเด็ดขาดยิ่ง

มาตรา 17 ของธรรมนูญการปกครองฯฉบับนี้บัญญัติเอาไว้ว่า

"ในระหว่างที่ใช้ธรรมนูญนี้ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรหรือราชบัลลังก์ หรือการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลาย ก่อกวนหรือคุกคามความสงบที่เกิดขึ้นภายใน หรือมาจากภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการ หรือกระทำการใด ๆ ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นเป็นคำสั่งหรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
"เมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการหรือกระทำการใดไปตามความในวรรคก่อนแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีแจ้งให้สภาทราบ"

ชาวบ้านที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จะจดจำกรณีที่ จอมพลสฤษดิ์ ใช้มาตรา 17 สั่งประหารผู้ต้องหา คือ คดีเกี่ยวกับการลอบวางเพลิง ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็อาศัยมาตรา 17 ใช้อำนาจตัดสินสั่งประหารบุคคลที่
เป็นผู้ต้องหาคดีลอบวางเพลิงไป 3 กรณี

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ คดีเฮโรอีน ตำรวจจับผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นนายทุนผลิตเฮโรอีน นายกรัฐมนตรีก็ได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 17 ของธรรมนูญการปกครองฯ สั่งประหารผู้ต้องหาคดีนี้

เหตุการณ์ฆ่าข่มขืนหญิงสาวในช่วงหลังๆ จึงมีเสียงสะท้อนจากคนรุ่นเก่าว่า "ถ้าไอ้หมอนี่.. เกิดสมัยจอมพลสฤษดิ์ มันโดนยิงเป้าแน่"
///////////////////////////////////
 เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหารลูกพี่จอมพล ป.พิบูลสงครามสำเร็จก็สืบอำนาจเผด็จการต่อทันที

เมธีหรือนักปรัชญาทางการเมืองชาวอังกฤษที่มีชีวิตอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 1632-1704 ชื่อจอห์นล็อค กล่าวไว้ว่า....

“ สิทธิมูลฐานของพลเมืองนั้นสิทธิที่จะก่อกบฏเป็นสิทธิตามธรรมชาติสิทธินี้จะนำมาใช้ก็เฉพาะกรณีที่ชนชั้นปกครองกลายเป็นทรราชกฎหมายบ้านเมืองเป็นสิ่งไม่ชอบธรรมกลายเป็นเครื่องมือของ

ระบอบเผด็จการเท่านั้น ”

มาตรา 17 คือกฎหมายที่จอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์ได้ร่างขึ้นมีอำนาจครอบคลุมจักรวาลในการกำจัดศัตรูทางการเมืองได้อย่างสมบูรณ์แบบกฎหมายนี้ประหารชีวิตได้แม้กระทั่งนายศุภชัย ศรีสติ ที่เพียง

แค่ออกใบปลิวคัดค้านการจับกุมสามล้อเครื่องชื่อนายศิลา วงศ์สินชาวบ้านจังหวัดนครราชสีมาที่เพียงสำคัญตนเองอวดว่าเป็นผู้วิเศษผู้ศักดิ์สิทธิ์ และผู้ที่โดนข้อหา วางเพลิง ที่ถูกจอมพลสฤษดิ์ สั่งยิง

เป้า โดยไม่มีหลักฐานชัดเจน มาตรา 21 สั่งจบชีวิตใครก็ได้ตามอำเภอใจของผู้ปกครองในสมัยนั้นภายใต้ข้ออ้างว่า “เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประเทศชาติ”

 ครูครอง จันดาวงศ์  เป็นผู้หนึ่งที่ได้ต่อสู้กับอำนาจเผด็จการปกครองในการสมัยนั้นไม่ค่อยมีใครกล่าวถึงและเขียนเรื่องราววิถีการต่อสู้ของเขามากนักเหมือนเหมือนกับจิตรภูมิศักดิ์นักคิดนักเขียน

นักต่อสู้ร่วมสมัยกับเขา

ครูครอง จันดาวงศ์เคยถูกจับข้อหาทางการเมือง 3 ครั้งใหญ่ๆคือครั้งแรกเมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ข้อหากบฎแบ่งแยกดินแดงและกบฏภายในราชอาณาจักร มีผู้ร่วมถูกจับกุม 18 คน

ครั้งที่สอง ถูกจับเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 ในข้อหากบฏสันติภาพ มีผู้ร่วมถูจับกุม 38 คน

ครั้งที่สาม ถูกจับเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2504ในข้อหามีการกระทำเป็นคอมมิวนิสต์และกบฏแบ่งแยกดินแดง มีผู้ถูกร่วมจับกุม 108 คน ถูกสอบสวนที่กรุงเทพฯ 20 กว่าวัน ก็ถูกนำตัวไป

ประหารชีวิตที่อำเภอสว่างดินแดงเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2504

ปลายปี พ.ศ. 2503รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์  ทำการปราบปรามอย่างหนัก องค์กรสามัคคีธรรมก็เช่นกัน ครูครองจันดาวงศ์และเพื่อนครูถูกล่าไล่จนต้องหนีหัวซุกหัวซนหลบลี้ภัยไปอยู่ภูพาน

ชั่วคราว ก่อนแอบกลับมาบ้านวันที่ 4 พฤษภาคม 2504 เพื่อเตรียมสัมภาระสำหรับอยู่บนภูและรอเพื่อนแต่เพื่อนไม่มาตามนัด จนถึงเช้าตรู่วันที่ 16 เดือนเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจยกกำลังมาล้อมจับ

เขาพร้อมนายภักดี พงษ์สิทธิศักดิ์ น้องภรรยา นำไปฝากขังที่สถานีตำรวจอำเภอสว่างดินแดง ลูกชายคนโตชื่อวิทิตกับเพื่อน ชื่อสมพงษ์ ราชพลีที่ไปเยี่ยมที่โรงพักก็พลอยถูกจับขังด้วย หลังจากนั้น

ครูครองก็ถูกย้ายไปขังที่จังหวัดอุดรธานี ขังอยู่ สองสามวันก็ถูกนำตัวมาขึ้นเฮลิคอปเตอร์มาสอบสวนที่กรุงเทพฯ

 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ควบทั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและอธิบดีกรมตำรวจ

ครูครอง จันดาวงศ์  และนายทองพันธ์ สุทธิมาศ ถูกเบิกตัวเข้าพบ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทั้งสองรู้ตัวทันทีว่าใครก็ตามที่ถูกเบิกตัวเข้าพบจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั่นหมายความว่าโดนคำสั่ง
ประหารชีวิตด้วย ม. 17 แน่ เมื่อไปถึงตึกกองบัญชาการกรมตำรวจซึ่ง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ควบทั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอธิบดีกรมตำรวจ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
พูดอย่างยโสโอหังว่า “พวกมึงรู้หรือเปล่าว่าการกระทำของพวกมึงเป็นการขายชาติ” ครูครอง จันดาวงศ์ตอบอย่างสุภาพ “................ในที่สุดประชาชนต้องเป็นฝ่ายชนะอธรรม พวกเผด็จการจะต้อง
พินาศผมขอภาวนาว่าเมื่อถึงวันนั้นมาถึงขอให้ท่านยังอยู่และอย่าหนีทัน..........”

เมื่อมาถึงตอนนี้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีอาการโกรธจัดไม่สามารถทนฟังต่อไปได้อีกแล้ว จึงออกคำสั่งต่อนายตำรวจที่อยู่ข้างๆว่า “จับมันไปประหารเดี๋ยวนี้ ตามแผนที่กูสั่งไว้แล้ว”  แล้วนักโทษการเมืองทั้งสองก็ถูกนำตัวขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปยังสนามบินลับเสรีไทย อำเภอสว่างดินแดง จ.สกลนคร สาเหตุที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ให้ประหารชีวิตที่นี่เพราะต้องการข่มขู่อดีตพลพรรคเสรีไทย

ทั้งหมดให้สยบ เมื่อไปถึงสกลนครเวลา 11.30 น. ผู้นำทางได้แจกจ่ายข้าวผัดให้ทั้งสองคนละห่อ พร้อมด้วยน้ำดื่มคนละขวดทั้งสองรับประทานอาหารด้วยใจสงบก่อนเข้าถูกมัดกับหลักประหารพร้อมใช้ผ้ามัดตาเป็นที่เรียบร้อย บุคคลเหยื่อ ม.17 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์  ครูครองได้เปล่งคำขวัญ “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ” ก่อนเสียงปืนรัว 90 นัด เวลา 12.13 น. ครูครอง จันดาวงศ์ ถูกประหารเมื่ออายุได้ 54 ปี

ท่านเคยตำรงตำแหน่งที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมมาหลายตำแหน่งเช่นเป็นครูประจำชั้นและครูใหญ่ตามโรงเรียนประชาบาลต่างๆในเขตอำเภอสว่างดินแดงไม่น้อยกว่า 5 แห่งเคยเป็นผู้จัดการโรงเรียนมัธยมศิริขันธ์ 2 ของครูเตียง ศิริขันธ์เป็นผู้ปฎิบัติการดีเด่นของขบวนการเสรีไทยสายอีสาน

เป็นสมาชิกสภาจังหวัดสกลนครในปี 2489เป็นสมาชิกขบวนการสันติภาพแห่งประเทศไทยเป็นประธานองค์กรมวลชนช่วยเหลือตนเองที่เรียกว่า “กลุ่มสามัคคีธรรม”เป็นสมาชิกพรรคเศรษฐกรและแนวร่วมสังคมนิยมที่ต่อสู้เพื่อนโยบายเป็นกลางคัดค้านการรวมกลุ่มของทหารเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรในช่วงปี 2501 และสภาถูกยึดเพราะการยึดอำนาจครั้งที่ 2 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

ส่วนนายทอง สุทธิมาศ เป็นรุ่นน้องอายุน้อยกว่าครูครอง 20 ปี บุคคลทั้งสองเคียงคู่กันในการหาเสียงการรณรงค์เป็นปากเสียงให้ชาวบ้านช่วยเหลือกันอย่างดี นายทองพันธ์เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดสกลนคร ในเขตอำเภอวานรนิวาส และเคยลงเลือกตั้งในนามพรรคสังคมนิยม ท่านเป็นที่เคารพอย่างสูงของประชาชนสกลนครเช่นกัน ขณะนั้นจิตร ภูมิศักดิ์ถูกคุมขังอยู่ในคุกลาดยาว บางเขน กรุงเทพมหานคร ได้ประพันธ์เพลงสดุดีวีรกรรมให้กับครูครอง จันดาวงศ์และนายทองพันธ์ ทั้งๆที่ตัวเองก็อยู่ในคุกโดยให้ชื่อเพลงว่า “วีรชนปฎิวัติ”

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เปิดเผยตนเองออกมาเป็นเผด็จการอย่างล้อนจ้อนำรงโยบาย 3 เรียบคือ จับเรียบ ฆ่าเรียบ และเผาเรียบ

กลุ่มปกครองไทยในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มิเพียงเข่นฆ่าครูครองและคุณทองพันธ์เท่านั้น หากยังทำให้ครอบครัวของทั้งสองแตกสลายอีกด้วย บางคนเข้าป่าบางคนต้องหลบลี้ภัยไปอยู่ต่างแดน ครอบครัวของครูครองยังถูกอำนาจมืดรังควานตลอดเวลา ลูกชายคนที่สองถูกคุกคามจนอยู่ไม่ได้ ต้องลี้ภัยไปประเทศลาว ต่อมาลูกสาวคนสุดท้องก็หลบภัยไปอยู่ต่างประเทศเช่นกัน

ต่อมาวันที่ 5 มกราคม 2506 นางแตงอ่อนภรรยาครูครอง จันดาวงศ์ ถูกจับอีกครั้งพร้อมคนอื่นๆอีก 90 คน นายแตงอ่อนถูกแยกตัวออกไปขังที่อำเภอเมือง 11 วัน แล้วส่งไปขังเดี่ยวที่อำเภอโนนสังข์ 1 เดือน ต่อมานางแตงอ่อนถูกย้ายไปขังที่กองบังคับการสันติบาล กรุงเทพฯ ถูกขังลืมนานปีกว่าโดยไม่มีการสืบสวนและไม่มีการส่งฟ้อง จนกระทั่งทรราชสฤษดิ์ป่วยตาย นายวิชิต จันดาวงศ์ลูกชายได้ยื่นคำร้องต่อ พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ อธิบดีกรมตำรวจคนใหม่ ท้วงติงเร่งรัดดำเนินคดี ไม่นานก็ได้รับคำสั่งการปล่อยตัวพร้อมนายทองปาน วงศ์สง่า และคณะทั้งหมด

นางแตงอ่อนเมื่อถูกปล่อยตัวออกมายังถูกสายลับไปรังควานอยู่เสมอ ในที่สุดภรรยาครูครองจินดาวงศ์ตัดสินใจอำลาบ้านเกิดและญาติพี่น้องไปพำนักในต่างประเทศชั่วคราวอีกผู้หนึ่ง

วันที่ 24 เมษายน 2505 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ก่อกรรมทำเข็ญอีกรายโดยสั่งประหารชีวิตนายราม วงศ์พันธ์ ผู้เรียกร้องประชาธิปไตย

เกือบ 6 ปีแห่งอำนาจเผด็จการ ถูกหนังสือพิมพ์เปิดโปงตีแผ่ พฤติกรรมชั่วอันโสมมของเขาในเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์แก่พรรคพวก มั่วกามโลกีย์ผิดลูกผิดเมียชาวบ้านในที่สุด ทรราชสฤษดิ์ก็ถูกลูกน้องของตนเองคือจอมพลถนอม กิตติขจร ผู้สืบอำนาจเผด็จการคนต่อมายึดทรัพย์ด้วยมาตรา 13 ฐานโกงชาติโกงแผ่นดิน ยึดทรัพย์เข้าหลวงได้ถึง 3,000 ล้านบาทในสมัยนั้น!

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้มั่วกามโลกีย์ผิดลูกผิดเมียชาวบ้าน

เป็นไข้ไม่สบายจนม้ามแตกตายไปเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2506

เกือบ 6 ปีแห่งอำนาจเผด็จการ ถูกหนังสือพิมพ์เปิดโปงตีแผ่ พฤติกรรมชั่วอันโสมมของเขาในเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์แก่พรรคพวก มั่วกามโลกีย์ผิดลูกผิดเมียชาวบ้านในที่สุดทรราชย์สฤษดิ์ก็ถูกลูกน้องของตนเองคือจอมพลถนอม กิตติขจร ผู้สืบอำนาจเผด็จการคนต่อมายึดทรัพย์ด้วยมาตรา 13 ฐานโกงชาติโกงแผ่นดิน ยึดทรัพย์เข้าหลวงได้ถึง 3,000 ล้านบาทในสมัยนั้น!

สิ้นยุคสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจรและจอมพลประภาส จารุเสถียร ก็สืบอำนาจเผด็จการต่อ กระทั่งถูกประชาชน นักศึกษาขับไล่ เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาและประชาชนกลางเมืองกรุงเทพมหานคร เมื่อ 14 ตุลาลาคม 2514 และ 6 ตุลาคม 2519 เรียกว่าเป็นวันมหาวิปโยค.

ไม่มีความคิดเห็น: