PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สถานการณ์ข่าว15ธ.ค.57

Jab15Dec14

หุ้นตก

นายกฯคาดเศรษฐกิจปีหน้าดีขึ้น
เวลา 10.15 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวเปิดงานสัมมนาในหัวข้อ "ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่ เพื่ออุตสาหกรรม

ไทยเติบโตอย่างยั่งยืน" และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนในระยะ 7 ปี (พ.ศ. 2558-2564)

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า ตั้งแต่ปี 56-57 เรามีความไม่สงบเกิดขึ้น ซึ่งความขัดแย้งความจริงมีมาก่อนหน้านี้นานแล้ว ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจการค้าและการลง

ทุน ทุกอย่างได้รับผลกระทบ แต่วันนี้ยืนยันว่าสถานการณ์เราดีขึ้นในระดับหนึ่ง ส่วนจะดีขึ้นไปกว่านี้หรือไม่อยู่ที่ความร่วมมือกัน มีความเป็นเสถียรภาพทางการเมืองมากขึ้น แต่เราต้องใช้เวลาใน

การปฏิรูปในทุกๆ ด้านตั้งแต่ฐานราก ความปรองดองและความสมานฉันท์ รวมทั้งการสร้างความเสมอภาค แม้วันนี้เศรษฐกิจไทยจะมีการติดลบแต่ก็ยังดีขึ้นบ้าง แม้จะยังไม่เป็นที่พอใจมากนัก แต่

เราก็ยังคาดหวังว่าปี 2558 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็น่าจะอยู่ที่ประมาณการร้อยละ 3.5-4.5 ความมั่นใจของนักลงทุนมีมากขึ้น โดยตัวเลขการขอรับการสนับสนุนการส่งเสริมการลงทุนจาก

เดิมตัวเลขอยู่ที่ 7.6 แสนล้านบาท ปีนี้ก็น่าจะทะลุอยู่ที่ 8 แสนล้านบาทอย่างแน่นอน สำหรับเรื่องการท่องเที่ยว สถานการณ์ก็เริ่มดีขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม จนถึงช่วงฤดูการท่องเที่ยว ยอดการจอง

โรงแรมและตั๋วเครื่องบินเต็มทั้งหมด แต่ถ้าจะให้เทียบกับปีที่ผ่านมาก็ยังคงเทียบไม่ได้ เนื่องจากเราเจอสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบ แต่ยืนยันว่าดีขึ้น แม้การประมาณการณ์จากปีที่ผ่านมาตัวเลขอยู่ที่

26.7 ล้านคน แต่ตัวเลขก็ทำได้ที่ 25 ล้านคน ก็ถือว่ายังดีและยืนยันว่ากฎหมายที่เราประกาศใช้ไม่ได้มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวหรือนักท่องเที่ยวเลย แต่ทั้งหมดก็ต้องขอความร่วมมือจากทุกภาค

ส่วนขอให้เสียสละบ้างหรือมีกำไรน้อยลงบ้าง ยืนยันว่ารัฐบาลจะไม่ทำให้ขาดทุนอย่างแน่นอน
------------
นายกฯเผยลดราคาเบนซิน2บาทดีเซล1บาท มีผลพรุ่งนี้

เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.2557 เวลา 16.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.)ว่า การประชุมวันนี้จะ

ให้ราคาน้ำมันทุกชนิดลดราคาลงเหลือต่ำกว่า 30 บาทยังไม่ได้ ต้องเข้าใจ ซึ่งเรื่องนี้คณะกรรมการกพช.จะชี้แจงรายละเอียดอีกครั้ง วันนี้มีมติแค่ให้มีการลดราคาเพิ่มโดยน้ำมันเบนซินให้ลงราคา

ลิตรละ 2 บาท ดีเซลลดลง 1 บาท ซึ่งจะมีผลในวันที่ 16 ธันวาคมนี้ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามันบิดเบือนทั้งหมด เนื่องจากปัจจุบันรถยนต์ส่วนใหญ่หันไปใช้ก๊าซแอลพีจีเกือบทั้งหมด เช่น การขนส่ง
ใช้แอลพีจีเกือบทั้งหมด และจะทำอย่างไรกัน เพราะเป็นสินค้าที่ต้องนำเข้า อีกทั้งมีการลักลอบกันเข้ามาเยอะแยะไปหมด แต่สิ่งสำคัญคือรัฐจะดูแลช่วยเหลือคนจนหรือผู้มีรายได้น้อยให้เหมือนเดิม

อย่างเช่นรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างต้องรับภาระเสียภาษีถึง 6 บาท แต่วันนี้ก็จะลดลง ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะมีผลดีกับประเทศไทยระยะยาวอย่างแน่นอน

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ในส่วนของกองทุนน้ำมันนั้นยังต้องมีไว้กรณีที่ราคาน้ำมันโลกมีการเปลี่ยนแปลง กองทุนจะได้ช่วยพยุงจะได้ไม่เดือดร้อนกัน ตอนนี้สถานะเรามีเงินอยู่ในกองทุนประมาณ 2

หมื่นล้านบาท ของเก่าที่ติดลบกว่าหมื่นล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นในช่วงที่มีคสช. โดยร่วมมือกับกระทรวงพลังงาน มีทั้งการลดภาษี การลอยตัว ซึ่งวันนี้ทุกอย่างเริ่มเป็นปกติแล้ว ก็ต้องให้เวลาสักนิดหนึ่ง

ในอนาคตอาจจะลดราคามากกว่านี้ก็ได้ เพียงแต่ขอให้เกิดความแน่นอนก่อน เนื่องจากขณะนี้ยังมีความหวือหวาอยู่บ้าง ซึ่งรัฐบาลพยายามลดภาวการณ์ให้มากที่สุด โดยเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันไว้

เพื่ออุดหนุนหากราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น ขณะนี้เรากำลังปรับโครงสร้างการใช้พลังงาน รวมทั้งพลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียน โดยจะต้องมีกองทุนก้อนหนึ่งเพื่อส่งเสริมการลงทุน

เรื่องดังกล่าวเพราะจำเป็นต้องสร้างโรงงานเหล่านี้ขึ้นมา และการปรับลดราคาน้ำมันครั้งนี้ก็เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน ซึ่งถ้ารวมยอดตั้งแต่ คสช.เข้ามาทำหน้าที่แล้ว เราลดราคาน้ำมันไป

เกือบ 10 บาท
-----------------
นายกฯชี้หุ้นร่วงไม่ได้เป็นแค่ไทย

เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.2557 เวลา 16.35 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวถึงกรณีหุ้นร่วงหลายจุด ว่า ในขณะนี้ได้ข่าวมาว่าขึ้นเป็น 50

จุด หลังจากที่ตกไป 150 จุด โดยที่ตกก็ไม่ได้ตกเฉพาะในประเทศไทยในต่างประเทศก็ตก อย่างไรก็ตามได้สั่งการไปยังรองนายกฯ ที่รับผิดชอบให้เข้าไปดูแล และได้แจ้งต่อต่างประเทศว่า

สถานการณ์ในประเทศยังปกติ มีแต่ข่าวลือส่งเดชเรื่องนั้นเรื่องนี้ไปเรื่อยตนบอกแล้วว่าไม่มีอะไร ส่วนเหตุการณ์ก่อการร้ายไม่เกี่ยวข้องกับไทย ทั้งนี้รัฐบาลได้ติดตามมาโดยตลอด การขึ้นลงของหุ้น

ไทยวันนี้เป็นไปตามกลไกตลาดหุ้น ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของสถานการณ์น้ำมันโลก หรือปัญหาการเมืองและการสู้รบในต่างประเทศ

"คำว่าหุ้นจะให้ขึ้นอย่างเดียวคงไม่ได้ มันต้องขึ้นต้องลงต้องดูว่าเวลาขึ้นก็ขึ้นเยอะ ซึ่งก็ได้กำไรเยอะ เวลาลงก็ต้องเจ็บตัวกันบ้าง อยากเตือนนักเล่นหุ้นว่าอย่าเอาเงินจมไปเล่นหุ้น คืออย่ากู้เงินมา

แล้วไปเล่นหุ้น มันต้องเงินลอยเงินเหลือใช้นำไปเล่น" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
-----------------
"ณรงค์ชัย" เชื่อราคาน้ำมันตกไม่กระทบเปิดสำรวจสัมปทานปิโตรเลียม เชื่อนักลงทุนมองผลตอบแทนระยะยาว

นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงในขณะนี้
เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการออกประกาศเชิญชวนให้ผู้สนใจยื่นคำขอสิทธิ์สำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่ สำหรับแปลง
สำรวจบนบกและในทะเลอ่าวไทย จำนวน 29 แหล่ง ซึ่งจะครบกำหนด 120 วัน ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ปีหน้า โดยมั่นใจว่า
บริษัทเอกชนผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศจะมองถึงผลตอบแทนระยะยาว ซึ่งทางกระทรวงพลังงานได้มีการเปิดชี้แจง
กับนักลงทุนได้เข้าใจอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับย้ำว่าไทยจะไม่ต่ออายุสัมปทานให้กับผู้ลงทุนรายเดิม แต่จะต้องมีการยื่นคำ
ขอสัมปทานใหม่ทั้งหมดภายใต้ทรัพยากรที่จำกัดของไทยการใช้ระบบสัมปทานถือว่าคุ้มค่าที่สุด
---------------
หุ้นดิ่งหนักกว่า 49 จุด แตะ 1,465.55 จุด มูลค่าการซื้อขาย 38,959.19 ล้านบาท

บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยภาคเช้าวันนี้ (15 ธ.ค.) ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนลบหลังจากเปิดตลาดหุ้น เมื่อเวลา 12.09 น.
ดัชนีปรับตัวลดลง 49.40 จุด แตะที่ระดับ 1,465.55 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 38,959.19 ล้านบาท ในทิศทางเดียวกับตลาด
หุ้นเอเชียที่ร่วงลงหนักในเช้าวันนี้ ซึ่ง นางภรณี ทองเย็น ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายงานวิจัย บล.เอเชีย พลัส กล่าวว่า ดัชนี
หลุด 1,500 จุด ถือว่าหลุดเร็วและแรงเกินไป เป็นเรื่องของการขาดความเชื่อมั่น โดยตลาดหุ้นไทยเช้านี้เป็นไปตามตลาดหุ้นโลก
จากเรื่องเดิมราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังปรับลงมาก ซึ่งราคาน้ำมันดิบที่ปรับลงจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของกลุ่ม
ปิโตรเลียม ทำให้ฝ่ายวิจัยปรับลดประมาณการลง คาดว่ากำไรน่าจะหายไปราว 3-4 หมื่นล้านบาท
-------------
รัฐมนตรีฯคลัง ชี้ หุ้นไทย ตกตามตลาดโลก ห่วงสถานการณ์ราคาน้ำมันปรับลด มอง ไม่จำเป็นออกมาตรการดูแล

นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กรณีดัชนีในตลาดหุ้นไทย ปรับลดลงแรงในวันนี้
เป็นการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดอื่นทั่วโลก เนื่องจาก ตลาดต่างประเทศขณะนี้มีความกังวลเกี่ยวกับ
สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับลดลงแรง แต่อย่างไรก็ตาม อยากให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ มั่นใจต่อ
สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากพอถึงช่วงเวลาหนึ่งแล้ว มองว่าราคาหุ้นจะมีการปรับเพิ่มขึ้นตามกลไกอย่างแน่นอน
พร้อมทั้งมองว่า ไม่มีความจำเป็นที่ต้องออกมาตรการมาดูแลในเรื่องดังกล่าว อีกทั้ง การที่ราคาน้ำมันในตลาดโลก
ปรับลด น่าจะเป็นแรงกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกช่องทางหนึ่ง
       
อย่างไรก็ตาม ประเมินว่า ในปี 2558 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี จะฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยมีแรง
ขับเคลื่อนจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐบาล โดยเฉพาะมาตรการในเรื่องของกระตุ้นการใช้จ่าย ขณะที่
ปัจจัยที่ยังน่าเป็นห่วง คือปัญหาการส่งออกที่ยังชะลอตัวลงต่อเนื่องจากปีนี้  แต่เชื่อมั่นว่า รัฐบาลจะพยายาม
ดำเนินงานในด้านต่าง ๆ อย่างเต็มที่ เพื่อดูแลเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้ในระยะต่อไป
----------------
หุ้นไทย ดิ่งหนัก ร่วง 137 จุด  แตะที่ระดับ 1,377.27 จุด  ปตท. ราคาลดลง 33 บาท อยู่ที่  297 บาท

เมื่อสักครู่ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นไทยถูกเทขายอย่างหนัก หลังจากเปิดตลาดหุ้นภาคบ่าย ล่าสุด เมื่อเวลา 15.31 น.
ดัชนีปรับตัวลดลง 137.68 จุด แตะที่ระดับ 1,377.27 จุด มูลค่าการซื้อขาย 71,575.70 ล้านบาท ทั้งนี้ หลักทรัพย์
ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุง 5 อันดับ คือ อันดับที่ 1 ทรู ราคาลดลง 1.50 บาท อยู่ที่ 10.30 บาท  อันดับ 2 ปตท.
ราคาลดลง 33 บาท อยู่ที่ 297 บาท อันดับที่ 3 ธนาคารกสิกรไทย ราคาลดลง 14 บาท อยู่ที่ 222 บาท อันดับที่ 4
แอดวานซ์ อินโฟร์เซอวิส ลดลง 17 บาท ราคาอยู่ที่ 222 บาท และอันดับที่ 5 อินทัช โฮลดิ้งส์ ราคาลดลง 3.75 บาท
อยู่ที่ 72 บาท

ขณะที่ นางภรณี ทองเย็น ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายงานวิจัย บล.เอเชีย พลัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทย ที่ปรับลง
แรงบ่ายนี้ สาเหตุหนึ่ง คาดว่า เกิดจากแรงบังคับขาย ในหุ้นบางตัวที่ปรับตัวลงต่อเนื่องและตอนนี้ ราคาน้ำมัน ก็ปรับลง
ซึ่งมีผลต่อการปรับลดประมาณการกำไรตลาด
--------------------
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แจง หุ้นตกตามตลาดโลก  ชี้ ไม่จำเป็นตั้งกองทุนพยุง ขอนักลงทุนอย่าตื่น วางแผงให้รอบคอบ

นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า การที่ตลาดหุ้นไทย ปรับตัวลดลงวันนี้
เป็นไปในทิศทางกับตลาดหุ้นทั่วโลกและตลาดหุ้นเอเชีย หลังจาก ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปรับตัวลดลงถึง 315.51 จุด จากราคา
น้ำมันในตลาดโลกร่วงลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้มูลค่าหุ้นน้ำมันในตลาดหุ้นต่าง ๆ ทั่วโลกลดลงตามไปด้วย ซึ่งข้อมูลของดัชนี MSCI
ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงปัจจุบัน พบว่า ตลาดหุ้นเกิดใหม่ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.8 ขณะที่ ตลาดหุ้นไทย ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.2
ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นมาเลเซีย โดยเฉพาะ ตลาดหุ้นที่มีทรัพยากรน้ำมันเป็นหลัก จะได้รับผลกระทบมาก เนื่องจากมูลค่าหุ้นน้ำมัน
ลดลงตามราคาน้ำมันที่ร่วงลงแรง และนักลงทุนยังประเมินราคาหุ้นน้ำมัน ยังอยู่ในระดับต่ำต่อไป

อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะขอติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และยังเห็นว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งกองทุนพยุงหุ้น
แต่อย่างใด  ขอให้นักลงทุนอย่าตื่นตระหนกกับการที่ดัชนีปรับตัวลดลง โดยขอให้ นักลงทุนพิจารณาวางแผนการลงทุนระยะยาว
ในหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น กลุ่มสายการบิน และมองว่า การที่
ราคาน้ำมันลดลงจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจไทย ไม่ให้มีแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อและจะส่งผลดีต่อกำไรของบริษัทจดทะเบียน
ในปีหน้าให้มีการขยายตัว
-------------------
BTS ปตท. จับมือกระทรวงท่องเที่ยวให้ของขวัญปีใหม่ ปชช. ตรึงราคาน้ำมัน พร้อมขยายเวลาบริการ

นายอาณัติ อาภาภิรม ประธานกรรมการฝ่ายจัดการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส
กล่าวถึงความร่วมมือกับทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ว่า ทางบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จะให้ความร่วมมือเปิดให้
บริการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ที่จะเดินทางไปเฉลิมฉลองในเส้นทางรถไฟฟ้า และบริเวณใกล้เคียงในช่วงเทศกาลปีใหม่
2558 โดยจะมีการขยายระยะเวลาการให้บริการถึงตีสองในคืนวันที่ 31 ธันวาคม และวันที่ 1 มกราคม

นอกจากนี้ นายชวลิต พันธ์ทอง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทาง ปตท.
พร้อมตรึงราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ ช่วง 1 สัปดาห์ก่อนปีใหม่ หากราคาน้ำมันในตลาดโลกมีการปรับตัวสูงขึ้น แต่หาก
มีการปรับราคาลดลงทาง ปตท. จะปรับราคาขายปลีกในประเทศลดลงตาม เพื่อเป็นของขวัญให้กับประชาชน
------------------
ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ วอน นักลงทุน อย่าตื่นตระหนกหุ้นตก ชี้ ปรับลงตามตลาดต่างประเทศ ยัน ไม่ตั้งกองทุนพยุงหุ้น

นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวถึง สถานการณ์หุ้นไทยในช่วงนี้
ซึ่งร่วงลงแรงหลายวันติดต่อกัน ว่า นักลงทุน อย่างเพิ่งตื่นตระหนก มองว่า หุ้นที่ปรับลดลง ปรับตัวลงตามตลาดต่างประเทศ
ที่ร่วงตามราคาน้ำมัน ผลจากเศรษฐกิจโลก ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาการลงทุนในหุ้นที่ได้รับผลประโยชน์จากการปรับตัวลดลง
ของราคาน้ำมัน เช่น หุ้นกลุ่มสายการบิน ขนส่ง นอกจากนี้ มองว่าการลดลงของราคาน้ำมันจะช่วยส่งผลให้เศรษฐกิจปี 2558
ปรับตัวดีขึ้น จากต้นทุนการผลิตที่ลดลง และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อปรับตัวลดลงด้วย

นางเกศรา ยังได้กล่าวยืนยันว่า ยังไม่จำเป็นต้องจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้น แม้ว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยยังปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง
มากกว่า 100 จุดไปแล้ว แต่เห็นว่า ควรปล่อยให้เป็นไปตามภาวะตลาดที่ปัจจุบันยังได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง
-------------------
ไทยออยล์ รายงาน ราคาน้ำมันดิบ มีแนวโน้มลงต่อ เหตุ อุปทานยังคงล้นตลาด จับตาการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด(มหาชน) เปิดเผย แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันประจำสัปดาห์ที่ 15 - 19 ธันวาคม ว่า ราคาน้ำมันดิบ
สัปดาห์นี้คาดว่า จะยังคงปรับลดลงต่อเนื่อง จากผลกระทบที่โอเปกตัดสินใจคงกำลังการผลิตในการประชุม เมื่อเดือน
พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ท่ามกลางอุปทานน้ำมันดิบที่ยังคงล้นตลาด รวมถึง ตลาดยังคงเฝ้าจับตาเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่จะเกิดขึ้น
อาทิ การประชุมนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่จะจัดขึ้นในสัปดาห์นี้ว่า จะมีมาตรการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
หรือไม่ และผลการเลือกตั้งครั้งใหม่แ ทิศทางการดำเนินนโยบายการคลัง เพื่อแก้ไขปัญหาสภาวะเศรษฐกิจหดตัวของญี่ปุ่น
ตลอดจน ความเป็นไปได้ของการประชุมแบบเร่งด่วนของกลุ่มโอเปก ที่จะจัดขึ้นก่อนการประชุมโอเปกครั้งถัดไป ในเดือน
มิ.ย.58 เพื่อหารือถึงมาตรการพยุงราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ดี อุปสงค์หน้าหนาว อาจยังคงเป็นปัจจัยที่มีส่วน
หนุนราคาน้ำมันในช่วงนี้

ทั้งนี้ ไทยออยล์ คาดว่า ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 56-61 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วน
น้ำมันดิบเบรนท์ เคลื่อนไหวในกรอบ 60-65 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล
----------------------
สำหรับการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ตลอดทั้งวันที่ผ่านมา ปิดตลาดดัชนี ปรับตัวลดลง 36.46 จุด มาปิดที่ 1,478.49 จุด
ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 102,662.94 ล้านบาท

ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ของธนาคารกสิกรไทย ล่าสุดเมื่อเวลา 12.40 น. มีดังนี้
ดอลลาร์สหรัฐฯ รับซื้อที่ 31.72 บาท ขายออก 33.16 บาท
------------------
สปช.

"เทียนฉาย" นัดสมาชิกประชุม สปช. 15-17 ธ.ค. เพื่อพิจารณารายงาน 18 กรรมาธิการ ก่อนเสนอคณะกรรมาธิการยกร่าง
รัฐธรรมนูญ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีคำสั่งนัดสมาชิกประชุมตั้งแต่วันที่ 15-17 ธันวาคม 2557 โดย
วันนี้จะเริ่มประชุมเวลา 09.30 น. เพื่อพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญติดตามและให้ข้อเสนอแนะการยกร่าง
รัฐธรรมนูญ เรื่องสรุปความเห็นหรือข้อเสนอแนะในการยกร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา 18 คณะ
ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จ จึงนำเข้าที่ประชุมในวันนี้

ทั้งนี้ ข้อเสนอจะต้องส่งต่อไปยังคณะยกร่างรัฐธรรมนูญ ตามกติกาที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ในมาตรา 31 วรรคสอง กำหนด
ให้ สปช. เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีการประชุม สปช.นัดแรก คือวัน
ที่ 19 กันยายน และครบกำหนด 19 ธันวาคมนี้ จึงเป็นปฐมบทให้กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญเดินตามปฏิทิน ขณะเดียวกัน คณะ
กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 36 คน จะเข้าร่วมฟังในการพิจารณาตลอด 3 วันด้วย
--------------
"สุจิต" ยัน กมธ.ยกร่าง รธน. ยังไม่มีมติเรื่องรูปแบบการเลือกตั้ง เสนอแบบเยอรมัน ปรับเปลี่ยนแค่การนับคะแนน ทุกพรรค
มีโอกาสในระบบสัดส่วนเพิ่มขึ้น


นายสุจิต บุญบงการ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษา ภาค 2 ผู้นำการเมือง
ที่ดี และสถาบันการเมือง หมวด 1 ระบบผู้แทนที่ดี หมวด 2 แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ หมวด 3 รัฐสภา และหมวด 4 คณะรัฐมนตรี
เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ที่ประชุมของ กมธ.ยกร่าง รธน. ได้พิจารณากรอบเนื้อหาที่อนุกรรมาธิการ ทั้ง 10 ชุดเสนอ
มาเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่มีมติในเรื่องใดอย่างชัดเจน เพราะว่าตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกำหนดให้ต้องรอฟังความเห็นของสภา
ปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ก่อน ซึ่งจะมีการประชุมเพื่อนำเสนอความเห็นในวันนี้ (15 ธ.ค.) - 17 ธ.ค. นี้ จึงค่อยมาสรุปข้อมูลเพื่อเขียน
รายละเอียดต่อไป

นายสุจิต อธิบายถึงการนำเสนอความเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการเลือกตั้งที่ยังคงมีบัญชีรายชื่อ และ ส.ส.เขตเหมือนเดิม แต่มีการปรับ
เปลี่ยนการนับคะแนนใหม่เท่านั้น เพื่อให้คะแนนของผู้ได้รับการเลือกตั้งในระบบสัดส่วนสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
พรรคเล็กมีโอกาสมี ส.ส.ในสภาด้วย และเพื่อให้ตอบโจทย์ในการป้องกันเผด็จการรัฐสภา แต่ย้ำทิ้งท้ายว่าเป็นเพียงแนวคิดหนึ่งเท่า
นั้น ยังไม่ได้มีข้อสรุปในเรื่องรูปแบบการเลือกตั้งแต่อย่างใด
------------
สมาชิก สปช. ทยอยเตรียมตัวประชุมแล้ว ขณะรายงานรวบรวมความเห็นยกร่างรัฐธรรมนูญมีมากถึง 246 ประเด็น

บรรยากาศที่รัฐสภา ล่าสุด สมาชิก สปช. ทยอยเตรียมตัวประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่จะเริ่มขึ้นในเวลา 09.30 น.
เพื่อพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญติดตามและให้ข้อเสนอแนะการยกร่างรัฐธรรมนูญ เรื่องสรุปความเห็น
หรือข้อเสนอแนะในการยกร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา 18 คณะ วันแรก

โดยจากการประมวลความเห็นของคณะกรรมาธิการรวบรวมความเห็นพบว่า มีประเด็นสำคัญทั้งสิ้น 246 ประเด็น เป็นเรื่อง
สถาบันทางการเมือง 133 ประเด็น เรื่องนิติธรรม ศาล การตรวจสอบอำนาจรัฐ 33 ประเด็น การสร้างความปรองดอง 35
ประเด็น และประเด็นอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม การอภิปรายตลอด 3 วัน จะเป็นข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่เวทีโต้คารมวิวาทะ
------------------
"เจตน์" แจง สนช. เสนอความเห็น กมธ.ยกร่าง รธน. ตามกรอบแล้ว เร่งเดินหน้าออกกฎหมายเพื่อประโยชน์ประชาชน


นายแพทย์เจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการกิจการ สนช. (วิป สนช.)
เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า การเสนอความเห็นของ สนช. ต่อกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญ นั้น เบื้องต้นได้มีการสรุป
ความเห็น และมีการรับรองโดยสภาเพื่อส่งให้ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ไปแล้ว ซึ่งจะถือเป็นข้อเสนอแรกตามกรอบที่ได้มีการ
กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว แต่หลังจากนี้ คณะกรรมาธิการแต่ละคณะก็อาจจะมีการทำให้ข้อมูล ความเห็นที่มีการตก
ผลึกมากขึ้น เพื่อเป็นข้อเสนอเดียวของสภาเพื่อเสนอใหม่อีกครั้งตามกรอบเวลาต่อไป

ทั้งนี้ ในส่วนของการทำหน้าที่ออกกฎหมาย ของ สนช. ก็จะมีการเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง หลังจากสามารถพิจารณาร่าง พ.ร.บ.
ไปแล้วกว่า 60 ฉบับ โดยยืนยันว่าจะยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ
-----------------
กรรมาธิการติดตามข้อเสนอแนะยกร่างรัฐธรรมนูญ รายงานภาพรวมข้อเสนอกรรมาธิการ 18 คณะ ต่อที่ประชุม สปช. แล้ว

การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ล่าสุด นายไพโรจน์ พรหมสานส์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญติดตามและให้ข้อเสนอแนะยกร่างรัฐธรรมนูญ
ได้รายงานผลการดำเนินงานรายงานสรุปของคณะกรรมาธิการวิสามัญ 18 คณะ โดยมีมีเอกสารประกอบการพิจารณาจำนวน 3 ชุด ซึ่ง
คณะกรรมาธิการชุดนี้ มีหน้าที่รวบรวมและสังเคราะห์ความเห็น หรือข้อเสนอแนะในการยกร่างรัฐธรรมนูญ จากคณะกรรมาธิการวิสามัญ
ประจำสภา 18 คณะ และจากแหล่งอื่น ๆ เสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติพิจารณา เพื่อเสนอต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ
ฉบับชั่วคราว มาตรา 31(2) และวรรค 3 รวมถึงการประสานงานติดตามความก้าวหน้าในการยกร่างรัฐธรรมนูญ การรวบรวมประเด็น
ข้อสังเกตจากการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเสนอต่อ สปช. ต่อไป จากนั้น นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปคุ้มครอง
ผู้บริโภค ได้เสนอรายงานเป็นคณะแรก
---------------------
กมธ.ปฏิรูปคุ้มครองผู้บริโภค เสนอรายงาน สปช. ขณะ บวรศักดิ์ ยินดีรับข้อเสนอ พร้อมระบุให้กรรมาธิการเร่งออกกฎหมาย
โดยไม่ต้องรอรัฐบาลใหม่

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวรายงานข้อเสนอแนะต่อที่ประชุม สปช.
ว่า สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้ย่อมได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐานสากล ที่กำหนดโดยองค์การสหปราชาติ และได้รับความเป็น
ธรรมในการทำสัญญา การให้มีองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ อีกทั้งรัฐต้องคุ้มครองข้อมูลส่วน
บุคคลที่ใช้ทำธุรกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้บริโภคมิให้ผู้ใดนำข้อมูลไปแสวงหาผลประโยชน์

ขณะเดียวกัน รัฐต้องรับรองสิทธิพลเมืองในฐานะผู้บริโภคโดยกำหนดตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติที่ควรมีกฎหมายกลางหรือ
ประมวลกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเพียงฉบับเดียว

ด้าน นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ยินดีรับข้อเสนอไปพิจารณายกร่างฯ แต่
ขอให้คณะกรรมาธิการฯ เร่งดำเนินการร่างกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เสนอคณะรัฐมนตรีโดยไม่ต้อรอถึงการมีรัฐบาลชุดใหม่
-----------------
ผบ.สส. ปัดแสดงความเห็นเลือกนายกฯ โดยตรง รอ สปช. สรุป ขณะ กมธ.ยกร่างฯ มีความเห็นแตกต่างกันเป็นเรื่องปกติ

พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) ในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ไม่แสดงความ
คิดเห็นในประเด็นที่มีการเสนอให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง เพราะขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการรับฟังความคิดเห็น
ซึ่งต้องรอให้ทางสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ได้สรุปความคิดเห็นที่ดีที่สุดที่เหมาะสมกับประเทศไทยที่สุด และต้องได้คนดี
เข้ามาบริหารบ้านเมือง ตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

แต่อย่างไรก็ตาม พล.อ.วรพงษ์ ได้เปรียบการเลือกนายกรัฐมนตรีว่าเหมือนการขับรถ บางครั้งไปทางตรงก็อาจจะเจอรถติดก็
ต้องมีการอ้อมไปทางอื่นบ้าง ส่วนเรื่องที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมีความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่างกันนั้น ถือ
เป็นเรื่องปกติ ซึ่งตนเองไม่ขอเข้าไปก้าวล่วงหน้าที่ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและหน้าที่ของ สปช.      
----------------
สมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ยื่นหนังสือ กมธ.ยกร่าง รธน. คัดค้านการเสนอให้ยกเลิกอำนาจบริหารราชการส่วนภูมิภาค

สมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย เดินทางมายื่นหนังสือต่อ นายมานิจ สุขสมจิตร รองประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
เพื่อขอคัดค้านการยื่นเสนอให้ยกเลิกอำนาจบริหารระบบราชการส่วนภูมิภาค โดยขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และกำนัน ผู้ใหญ่บ้านมา
จากการเลือกตั้งโดยตรง รวมถึงการกระจายอำนาจต้องสร้างกระบวนการตรวจสอบจากประชาชน มีความเป็นอิสระในการบริหาร
งบประมาณให้ชัดเจน โดยเห็นว่าระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นระบบการปกครองที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความมั่นคง
บำบัดทุกข์สุขของประชาชน ดังนั้นการปรับโครงสร้างอำนาจของประเทศไทยเป็นการกระจายอำนาจโดยการเลือกตั้งผู้ว่าฯ หรือ
แนวคิดชุมชุนจัดการตนเองเป็นแนวคิดที่แบบสุดโต่ง และนำสู่การแตกแยกของประชาชน

นอกจากนี้ สมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทยไม่เห็นด้วยกับการเสนอร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญจากกลุ่มบุคคล หรือคณะใด
คณะหนึ่งแล้วนำมาเสนอยุบส่วนราชการหรือกลุ่มงานอื่น เพราะจะสร้างความแปลกแยกภายในระเทศอย่างมาก และไม่สมกับที่
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกมาทำหน้าที่ปฏิรูปประเทศ และสร้างความปรองดอง เดินหน้าคืนความสุขให้กับในชาติ
----------------
"ประมนต์" เสนอให้ ปชช. มีสิทธิ์ขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เพื่อตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น

การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ล่าสุด นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
และประพฤติมิชอบ ได้เสนอรายงานต่อที่ประชุมว่า ให้ประชาชนมีสิทธิ์ขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะและในการ
ร้องขอข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นักการเมือง หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ
การกำหนดสิทธิหน้าที่ของประชาชนในการมีส่วนร่วมตรวจสอบการดำเนินการนโยบาย แผนงาน และโครงการสาธารณะในทุก
ขั้นตอน ในทุกระดับอย่างสุจริต เที่ยงธรรม การกำหนดให้มีบทลงโทษในกรณีการมีซื้อสิทธิ์ขายเสียง อีกทั้งรัฐบาลต้องมีหน้า
ที่จัดการปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้นในระบบราชการแผ่นดิน ขณะที่ นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ สมาชิก สปช. อภิปรายสนับสนุน
โดยเสนอให้ประชาชนมีการตรวจสอบปัญหาการทุจริตให้มากขึ้น เพื่อสร้างความโปร่งใสในภาคราชการ และปฏิรูปให้ระบบ
ราชการมีคุณธรรม ไม่ให้มีเส้นสาย
-------------------
"อำพล" เสนอแนะ 8 ประเด็น ต่อ กมธ.ยกร่าง รธน. เน้นขอบเขตและความคุ้มครอง ความเสมอภาค เท่าเทียมกัน และการไม่เลือกปฏิบัติ

นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปสังคม ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อย
โอกาส รายงานข้อเสนอแนะการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อที่ประชุม สปช. ว่า คณะกรรมาธิการต้องการเสนอแนะใน 8 ประเด็น
สำคัญ ได้แก่ การระบุขอบเขตและความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ สิทธิที่ควรได้รับความคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญ ความ
เสมอภาค เท่าเทียมกัน และการไม่เลือกปฎิบัติ ซึ่งครอบคลุมถึงเพศภาพ

นอกจากนี้ ควรกำหนดถึงสิทธิมนุษยชนให้ชัดเจน ระบุหน้าที่พลเมืองของประชาชน การสร้างครอบครัวเข้มแข็ง รวมถึง
สร้างสังคมคุณธรรม และการปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรม รองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคตของ
ประเทศไทย

อย่าไรก็ตาม กำหนดกลไกเพื่อพัฒนาข้อเสนอในการปฏิรูปประเทศ สามรถเสนอกฎหมายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและต่อเนื่องในระยะเวลา 10 ปี
-------------------
"มท.1" สั่ง ผู้ว่าฯ ชี้แจงกลุ่มค้านเลือก ผวจ. โดยตรง พร้อมแนะนำข้อเสนอส่ง สปช.

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ระบุกรณีที่ สมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ท้องถิ่น สมาพันธ์ปลัดอำเภอแห่งประเทศไทย
และนายกสมาคมนักปกครองแห่งประเทศไทย มีความเคลื่อนไหวกรณีที่ออกมาคัดค้านการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง
ว่า การจะเสนอความเห็นต่าง ๆ ควรเสนอไปที่ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพราะมีกลไกมากมาย และการคัดค้านคงไม่เกิดผล
ใด ๆ เพราะผลของการปฏิรูปที่ออกมาจะเป็นไปตามที่ทางคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญดำเนินการอยู่ จึงเห็นว่า ให้ทุก
ภาคส่วนที่มีความคิดเห็น ส่ง สปช. ได้ประมวลจะดีกว่า ส่วนการชุมนุมแสดงความรู้สึก ความเห็นในพื้นที่ต่างๆ นั้น ตามกฎหมาย
ไม่สามารถกระทำได้

อย่างไรก็ตาม จะให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ชี้แจง โดยเฉพาะเรื่องการเมืองและการชุมนุม ไม่ช่วยให้อะไรเกิดขึ้นได้และยังล่อแหลม
ต่อการกระทำผิดกฎหมายอีกด้วย
-------------------
จุมพล เสนอ รธน. ต้องคุ้มครองประชาชนและสื่อมวลชน พร้อมให้ประชาชนตรวจสอบสื่อ

การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ล่าสุด นายจุมพล รอดคำดี ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยี
สารสนเทศ เสนอประเด็นให้บรรจุในรัฐธรรมนูญ ว่า รัฐธรรมนูญ ประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน สื่อมวลชน ในการ
แสดงความคิดเห็น การพูด การเยียวยา การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น รวมถึงสิทธิในการรับรู้
และข้อมูลข่าวสารของรัฐอย่างทั่วถึงและเสมอภาค สื่อมวลชนย่อมได้รับหลักประกันความเป็นอิสระที่จะไม่ถูกครอบงำ
และแทรกแซงจากอำนาจรัฐและทุน การคุ้มครองเสรีภาพและส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพ สวัสดิการของผู้ประกอบการ
วิชาชีพของสื่อสารมวลชน การส่งเสริมจัดทำองค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชนด้านจริยธรรมและกลไกกำกับกันเองของ
สื่อมวลชน

ทั้งนี้ เพื่อปกป้องเสรีภาพและความเป็นธรรม รวมถึง การส่งเสริมให้ประชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของ
สื่อและผู้ใช้สื่อ
-------------------------
โฆษก วิป สปช. เผย สปช. ถกข้อเสนอ กมธ. ภาพรวมวันแรกเรียบร้อย ขณะมั่นใจโครงสร้างใหม่เปลี่ยนประเทศดีกว่าเดิม  

นายวันชัย สอนสิริ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) เปิดเผยถึงภาพรวมในการประชุม สปช.
ในวันนี้ (15 ธ.ค.) ว่า สมาชิกแต่ละคณะได้เสนอข้อเสนอ บรรยากาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเวลา
ประมาณ 20.00 น. โดยวันนี้เป็นการอภิปรายเชิงวิชาการถึงแนวคิดในการปฏิรูปประเทศ และสุดท้ายกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
จะต้องชี้แจงว่าเห็นด้วยที่จะนำข้อเสนอใดไปประกอบการพิจารณา ซึ่งในบางเรื่องอาจจะเสนอไปยังคณะรัฐมนตรีได้โดยตรง
ส่วนที่ 16 - 17 ธ.ค. การอภิปรายจะเข้มขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นการอภิปรายในเรื่องการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน
ปกครองท้องถิ่น กฎหมายกระบวนการยุติธธรรม

นอกจากนี้ นายวันชัย ยังกล่าวถึงข้อถกเถียงในประเด็นการเลือกนายกรัฐมนตรี ว่า ส่วนตัวนั้นค่อนข้างเห็นด้วยบางส่วน เพราะ
หากเป็นโครงสร้างแบบเดิมนิติบัญญัติกับบริหารแยกไม่ออกและไม่สามารถถ่วงดุลกันได้ ซึ่งหากระบบใหม่ มีการถ่วงดุลกันได้
อย่างชัดเจน และทั้งสองฝ่าย ต้องมีเป้าหมาย คือ มีประชาชนเป็นตัวตั้ง แต่ปัญหา คือ หาก นายกฯ มีการทุจริต อภิปรายไม่ไว้
วางใจ ยุบสภาได้หรือไม่นั้น ยังไม่มีความชัดเจน ท้ายที่สุดจึงต้องรอให้กมธ.ยกร่างเป็นผู้พิจารณา

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การแก้รัฐธรรมนูญ และโครงสร้างใหม่ที่จะเกิดขึ้นจะเปลี่ยนประเทศไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิมแน่นอน
///////////////////////
นายก

นายกฯ สั่ง กต. ตรวจสอบเหตุจับตัวประกันออสเตรเลียมีคนไทยหรือไม่ ยัน รบ. มีแผนดูก่อการร้าย-เร่งช่วยเหลือแก้ราคายางตกต่ำ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เปิดเผยว่า ได้รับทราบข่าว
เหตุจับกุมตัวประกันที่ประเทศออสเตรเลียแล้ว ซึ่งกำลังติดตามอยู่ว่ามีคนไทยด้วยหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าประเทศไทยมีมาตรการเฝ้าระวังผู้ก่อการร้ายและต้องใช้ความระมัดระวังโดยฝ่ายความมั่นคงได้ติด
ตามอยู่ ซึ่งประชาชนต้องเฝ้าระวังด้วยแต่เบื้องต้นยังไม่มีรายงานในเรื่องดังกล่าว

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำว่ารัฐบาลไม่สามารถรับซื้อยางมาเก็บไว้ได้อีกและคง
จะไม่ถึงกิโลกรัมละ 80 บาท เนื่องจากต้องอ้างอิงกับราคาตลาดโลกแต่จะพยายามทำให้ได้กิโลกรัมละ 60 บาท ทั้งนี้ การแก้
ไขปัญหาดังกล่าวจะต้องดูแลทุกฝ่ายและต้องใช้เวลาเพราะต้องแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะการจัดตั้งโรงงานแปรรูป
ยางพาราจึงอยากขอให้เกษตรกรชาวสวนยางอดทนและปรับเปลี่ยนตัวเองด้วยพร้อมยืนยันว่าส่วนตัวมีความเป็นห่วงและไม่
ทอดทิ้งอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามหากมีโอกาสก็พร้อมจะที่พูดคุยด้วย
-----------------------
เครือข่ายพลังงานภาค ปชช. ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ขอลดราคาก๊าซ หยุดขึ้นราคาแท็กซี่ จี้ ปลด "ณรงค์ชัย-ปลัดพลังงาน"

กลุ่มเครือข่ายปฏิรูปพลังงาน ภาคประชาชน จำนวน 15 คน นำโดย พ.ท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี ได้มายื่นหนังสือถึง
นายกรัฐมนตรี เรื่อง ขอให้ลดราคาก๊าซ หยุดขึ้นราคาค่าแท็กซี่ และขอให้ปลดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และปลัด
กระทรวงพลังงานออกจากตำแหน่ง

ทั้งนี้ พ.ท.พญ.กมลพรรณ กล่าวว่า รัฐบาลได้ประกาศขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี และราคาน้ำมันทั้งที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกนั้น
ลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงขอให้รัฐบาลลดราคาแก๊สหุงต้มและราคาน้ำมันให้เป็นไปตามตลาดโลก และกรณีที่รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงพลังงานอ้างว่าไม่สามารถลดราคาน้ำมันได้ตามราคาตลาดโลก เนื่องจากต้องเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันนั้น ตนมอง
ว่าควรยกเลิกกองทุนน้ำมันดังกล่าว เนื่องจากไม่โปร่งใส ไม่สามารถชี้แจงได้ว่า เงินกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปีนั้น นำไปใช้
-------------------------
กลุ่มเครือข่ายปฏิรูปพลังงาน ไม่เชื่อมั่น สปช.ปฏิรูปได้ จี้ ยกเลิกมติ ครม. ที่เลือกปฏิบัติและเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุน

พ.ท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี ตัวแทนกลุ่มเครือข่ายปฏิรูปพลังงาน กล่าวว่า เคยเสนอให้สร้างโรงแยกก๊าซที่จะใช้งบประมาณ
เพียง 10,000 ล้านบาท แต่ก็ไม่ได้ดำเนินการซึ่งตนมองว่าหากประเทศไทยมีโรงแยกก๊าซที่เพียงพอก็จะไม่จำเป็นต้องนำเข้าพลังงาน
จากต่างชาติ ส่วนที่จะให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ดำเนินการปฏิรูปด้านพลังงานนั้น ตนไม่เชื่อมั่นเนื่องจากผู้ที่ได้รับการคัดเลือก
เป็นกลุ่มทุน จึงขอเรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อความเป็นธรรมต่อประชาชน และต้องการให้ยกเลิกมติ ครม. ที่เลือกปฏิบัติ
และเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุน

นอกจากนี้ กลุ่มเครือข่ายพลังงานจะเดินทางไป หน้ากระทรวงพลังงาน ถ.วิภาวดีรังสิต เพื่อวางหรีดประท้วง ขับไล่ ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กรณีขึ้นค่าก๊าซแอลพีจีและเอ็นจีวี ก่อนที่จะเดินทางไป สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ถนนแจ้งวัฒนะ
เพื่อยื่นหนังสือถึง ผู้ตรวจการแผ่นดิน ในนโยบายของรัฐ กับการเลือกปฏิบัติ คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย และขัดรัฐธรรมนูญ
จ่ายหรือชดเชยในส่วนใดหรือจำนวนเท่าไหร่ได้
-----------------
นายกฯ นำประชุม กพช. แล้ว คาด หารือปรับโครงสร้างพลังงานทั้งระบบ-แผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้า

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการ
นโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. ที่ตึกสันติไมตรี โดยมีบรรดารัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเดินทางเข้าร่วมการประชุมที่ทำเนียบรัฐบาล
ในวันนี้อย่างพร้อมเพรียง

อย่างไรก็ตาม สำหรับวาระการประชุม กพช. ในวันนี้คาดว่าที่ประชุมจะมีการพิจารณาปรับโครงสร้างพลังงานทั้งระบบ นอกจากนี้ยัง
คาดว่าจะมีการหารือถึงกรอบและแนวทางการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579 หรือแผนพีดีพี
2015 เพื่อให้การวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศสอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
-------------------
นายกฯ บอกหุ้นตกตามตลาดโลก ขณะ มติ กพช. ลดดีเซล 1 บาท เบนซิน ลง 2 บาท มีผล 16 ธ.ค.

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เปิดเผยผลการประชุม
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. ว่า ที่ประชุม มีมติปรับลดราคาน้ำมันดีเซล ลิตรละ 1 บาท และน้ำมัน
เบนซิน ลิตรละ 2 บาท โดยจะมีผลในวันพรุ่งนี้เช้า ซึ่งถือเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน ส่วนกรณีหุ้นตกนั้น ได้รับ
ทราบแรงงานแล้ว โดยได้สั่งการให้ รองนายกรัฐมนตรี ไปแจ้งว่าสถานการณ์ยังเป็นปกติ และหุ้นเริ่มปรับตัวสูงขึ้นแล้ว
ซึ่งปัจจัยที่ทำให้หุ้นขึ้นหรือลง มีทั้งปัจจัยภายในและภายนอก โดยเฉพาะปัจจัยภายนอก เช่น ราคาน้ำมัน เหตุการณ์สู้รบ
การเมืองในต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ในวันนี้ได้มีการเรียกประชุม คสช. เพื่อ
หารือตามสถานการณ์ทั่วไป เนื่องจากอาจไปคาบเกี่ยวเวลาการประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันพรุ่งนี้ ส่วนข่าวที่มีการใช้รถ
ทหารแอบลักลอบบรรทุกสุราหนีภาษีนั้น เป็นเรื่องส่วนตัว ซึ่งขณะนี้มีการสอบสวนแล้ว โดยให้ดำเนินการตามกฎหมาย
และทางวินัย