PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560

ศึกธรรมกายต้องจบ?

7 มี.ค.60 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการดำเนินคดีพระธัมมชโย ว่า ขณะนี้กำลังดำเนินการทั้งมาตรการทางปกครองของรัฐ ในเรื่องกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากมีการกระทำความผิด รวมถึงมาตรการทางสงฆ์ในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ โดยมี สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) และมหาเถรสมาคม (มส.) เป็นผู้ดำเนินการอยู่
ทั้งนี้ ขออย่าหลงประเด็น ย้ำว่าหากไม่มีการกระทำความผิดก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น จึงขอให้ยอมรับและเข้ามาต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ความเดือดร้อนต่างๆ ลดลง เช่น ที่หลายคนมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณ เนื่องจากมีการใช้กำลังเจ้าหน้าที่จำนวนมาก
"ถามว่าในกรณีเดียวกัน เช่น คนยากจนที่ไปทำความผิดโดยอาจไม่รู้กฎหมาย อย่างที่ผ่านมาที่มีคนไปตัดต้นไม้ต้นเดียวยังต้องติดคุกเลย แล้วคดีนี้จะยกเว้นได้อย่างไร และมีหลายคดีที่เกี่ยวข้อง แค่มาต่อสู้คดี มันก็มาตรฐานเดียวกัน ไม่ใช่ละเว้นใครได้" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีการถอดสมณศักดิ์พระธัมมชโยได้มีการดำเนินการไปแล้ว ต่อไปก็เป็นเรื่องทางพระ ซึ่ง พศ.จะหารือกับ มส.ในการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรต่อไป โดยจะต้องใช้เวลา เนื่องจากมีคณะกรรมการอุทธรณ์ และคณะกรรมการต่างๆ แต่หากเจ้าตัวไม่ออกมาก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะปัญหาอยู่ที่ตัวคนเท่านั้น และย้ำว่าการประกาศใช้มาตรา 44 เพราะกฎหมายปกติใช้ไม่ได้ จึงต้องใช้กฎหมายพิเศษ ไม่ใช่ว่าจะสามารถทำได้หรือไม่ได้ และไม่ใช่ว่ามาตรา 44 ไม่มีประโยชน์หรือใช้ไม่ได้
นายกฯ กล่าวต่อว่า ส่วนที่มีการระบุว่า เจ้าหน้าที่ใช้เวลากว่า 20 วันแล้ว แต่ยังไม่สามารถจับตัวพระธัมมชโยได้นั้น ไปหาคำตอบกันเอาเอง ไม่ใช่รัฐบาล กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และเจ้าหน้าที่ไม่อยากค้น แต่ทุกคนต้องทำตามหน้าที่ ส่วนที่ไม่สามารถทำได้เพราะอะไร มีการต่อต้านและมีคนจำนวนมากใช่หรือไม่ แล้วจะมีใครจะมารับผิดชอบกับตนบ้าง จึงขออย่าเอาแต่ใจตัวเอง และทำไมถึงไม่ไปเล่นงานคนที่ทำให้เกิดปัญหา แต่กลับถามเพียงว่าจะจับกุมวันไหนและใช้งบประมาณเท่าใด ซึ่งตนขี้เกียจตอบ

จังหวะต้องโชว์บทดุ

งานเลี้ยงใกล้จบแล้ว
ล่าสุด “บิ๊กแป๊ะ” พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. เปรยเป็นนัย ภายหลังนำทีม พล.ต.ท.ชาญเทพ เสสะเวช ผบช.ภ.1 ร่วมประชุมกับ พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) หน่วยทหาร สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
วางหมากเผด็จศึก “ธัมมชโย” อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ในฐานะผู้ต้องหาตามหมายจับ
ในจังหวะที่ล้อกับอาการของ “บิ๊กเจี๊ยบ” พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ. ที่ปกติจะเงียบขรึม แต่ล่าสุดพูดกันชัดๆแรงๆแบบที่เรียกร้องให้ “ธัมมชโย” มีจิตสำนึกยอมเสียสละเพื่อให้ตรงนี้สงบสุข อย่าเอาความทุกข์ยากของประชาชนมากดดันรัฐบาล เสียสละคนเดียวจบ อย่าไปนั่งเสวยสุขอยู่
บ้านเมืองวุ่นวายอยู่ขณะนี้ เพราะคนเพียงคนเดียว แค่ก้าวออกมาก็จบแล้ว
ตามแนวโน้มอารมณ์ของคนที่หมดขีดความอดทน
โดยสถานการณ์ต่อเนื่องกับราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี โปรดเกล้าฯถอดถอนสมณศักดิ์ พระเทพญาณมหามุนีของ “ธัมมชโย” ฐานไม่ยอมมอบตัว และหลบหนีคดี ไม่สมควรดำรงอยู่ในสมณศักดิ์ต่อไป
ไล่ตามเงื่อนไขสถานการณ์ ธรรมกายใกล้ “เกมโอเวอร์” เข้าไปทุกขณะ
เอาเป็นว่า ครึ่งเดือนกว่าๆ รัฐบาล คสช.ก็เข้าเนื้อไปเยอะแล้ว
กับ 2 ศพเซ่นปมธรรมกาย ไหนจะตัวเลขกลมๆงบประมาณ 60 กว่าล้านบาทที่ถูกแฉประจานเอาภาษีประชาชนที่ต้องเสียไปกับการขี่ช้างไล่จับ “ธัมมชโย”
ถึงจุดนี้ทีมงานทหาร คสช. ไม่มีทางเลือกอื่นใด
กับแนวรบที่ถอยไม่ได้ ไฟต์บังคับยังไงก็ต้องรีบปิดเกมสำนักจานบิน
ขืนปล่อยยืดเยื้อออกไป “นายกฯลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้า คสช. กับ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม เบอร์หนึ่งด้านความมั่นคง น่าจะต้องออกแรงถือเดิมพันหนักขึ้นทุกขณะ
รัฐบาลทหาร คสช. มีแต่เสียกับเสีย สู้เสี่ยงไปเลยดีกว่า
เพราะถ้าปล่อยให้ถูกมองว่า เกมเผด็จศึกธรรมกายล้มเหลว อำนาจพิเศษเต็มมือเต็มไม้เอาไม่อยู่ กระบองยักษ์มาตรา 44 หมดความขลัง
เส้นทางการประคองอำนาจพิเศษต่อไปไม่ราบรื่นแน่
แค่ที่สัมผัสได้ตรงหน้า กับอาการของขาประจำ ขาจร ที่เริ่มกลับมาเสียงดังเจี๊ยวจ๊าว
เปิดหน้าวิจารณ์แบบตรงๆแรงๆท้าของแข็งท็อปบูตแบบไม่กลัว
ล่าสุดนายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน ได้โพสต์เฟซบุ๊กโชว์ผลโพลส่วนตัวที่ออกแบบโดยไร้คำถามนำชงให้แบบโพลอื่น
อ้างตัวเลขจริงๆที่สวนทางจากโพลเชียร์
ของแท้ ประชาชนกว่าร้อยละ 90 ไม่เชื่อถือรัฐบาลประยุทธ์ กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ไม่เชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์จะทำตามสัญญา เชื่อว่ารัฐบาลประยุทธ์จะสืบทอดอำนาจอยู่ยาว
รัฐบาลประยุทธ์ไม่ซื่อตรง มีทุจริตมาก แล้วตรวจสอบไม่ได้ แผ่นดินมีแต่ความขัดแย้ง โดยรัฐบาลประยุทธ์สร้างความขัดแย้งเอง สุดท้ายรัฐบาลประยุทธ์เลือกคืนความสุขให้นายทุน ไม่ได้คืนความสุขให้แก่ประชาชนอย่างที่โกหกเอาไว้
สรุปสมมติฐานเชิง “หลอกด่า” เปิดโพลแทงกลางใจดำกันเลย
และก็เป็นจังหวะตามน้ำกับคิวที่นายธีรยุทธ บุญมี นักวิชาการสาธารณะ ได้ออกจากมุม ใส่สูทวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล “ยุทธ์เรือโยง­–ป้อมเรือพ่วง”
ฟันธง “เรือแป๊ะพายวน” 3 ปีปฏิรูปไม่คืบไปไหน
เตือน “นายกฯลุงตู่” กำลังอยู่ในช่วงขาลง
พวกขาจร ขาประจำ กลับมาประจำการ ตามจังหวะฉวยโอกาสเรือแป๊ะกำลังโคลง
ในบรรยากาศแบบที่ม็อบธรรมกายกล้าออกแรงยื้อยุดฉุดกระชากกับทหาร ม็อบต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ บุกจ่อถึงข้างทำเนียบรัฐบาล โดยไม่สนอยู่ในห้วงอำนาจพิเศษ
นี่คือเหตุผล ก่อนจะถูกมองเป็นแค่ยักษ์พิการ รัฐบาลทหารกำลังขาลง ตลกมากกว่าน่ากลัว
คสช.ต้องแกว่งกระบองลุยสยบ “ธัมมชโย”
โชว์ฤทธิ์เดชความขลัง.
ทีมข่าวการเมือง

“อยู่ยาว” ได้สบายๆ ผลการสำรวจสะท้อน เชื่อถือ นิยมชมชอบใน พล.อ.ประยุทธ์ ยังท่วมท้น

ตามรายงานข่าวที่ได้จากคนที่ถือว่าอยู่วงในศูนย์กลางอำนาจ มีแนวโน้มสูงว่าโรดแม็ปการเมืองจะทอดยาวออกไป กว่าจะมีเลือกตั้ง ว่ากันว่าไม่น้อยกว่า “22 เดือน” นับจากนี้ นั่นหมายถึงว่าจะไปนับหนึ่งของการเริ่มต้นการปกครองประเทศในความหมายของ “ประชาธิปไตย” เอาต้นๆ ปี 2562
แน่นอนแนวโน้มเช่นนี้ย่อมก่อแรงกดดันต่อนักการเมืองที่หนทางเข้ามามีส่วนร่วมในโครงสร้างอำนาจอยู่ที่“การเลือกตั้ง” ดังนั้น จึงมีคำถามในทำนอง “จะอยู่ได้จริงหรือ อะไรที่ทำให้อยู่ได้”

การแลกเปลี่ยนในมุม “อยู่ได้จริงหรือ” มีการแยกแยะองค์ประกอบที่จะส่งผลทางการเมื
อง

เริ่มจาก “ประชาชน” ซึ่งถูกมองว่า “ความแตกแยก” ทำให้มีพลัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด ล้วนสร้างความเป็น 2 ฝ่ายที่ยืนอยู่ตรงกับข้ามกันทั้งสิ้น ทำให้ไม่มีพลังพอที่จะเป็นกระแสสร้างแรงเสียดทานให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรได้
“นักการเมือง” ไม่เพียงแตกแยก แต่ในภาพรวมยังเป็นจำเลยที่ไม่มีบารมีพอที่จะลุกขึ้นมาทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปเสียทั้งหมด
“กองทัพ” ตัดทิ้งไปได้เลย หากคิดว่าจะเป็นหัวหอกทำให้อะไรต่ออะไรเปลี่ยนไป เอกภาพภายในของกองกำลังทั้งหมดไม่มีสัญญาณว่าเปลี่ยนไป
นั่นหมายถึงไม่มีปัจจัยอะไรที่มีพลังพอที่จะทำให้การควบคุมอำนาจมีความยากเย็นขึ้น
อาจจะมีบางคนบอกว่าเพราะสภาวะเศรษฐกิจที่ทำท่าจะแย่ลงไปเรื่อยๆ จะเป็นแรงกดดัน ทว่า ในสภาวะความเป็นจริงนั้น แย่หรือไม่ยังเป็นข้อถกเถียง และประชาชนน้อยมากที่จะคิด จะเชื่อตามนั้น
ดังนั้น “อยู่ได้” จึงเป็นข้อสรุป
ส่วน “อยู่ได้เพราะอะไร” ไม่เพียงแต่ไม่มีอะไรที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้

ทว่า ยังมีปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ “เสถียรภาพของรัฐบาล” มั่นคงอย่างยิ่ง นั่นคือ “ความนิยมในตัวผู้มีอำนาจ”
 ผลสำรวจล่าสุดของ “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เรื่อง “2 ปี 6 เดือนของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา”
เมื่อตัดส่วนที่ไม่แสดงความเห็นออกไป
ในคำถาม “มีความเห็นอย่างไรกับการทำงานของนายกรัฐมนตรี” ร้อยละ 34.96 ยังตอบว่า ทำได้ดีมาก ร้อยละ 48.32 บอกทำได้ดี มีแค่ร้อยละ 7.60 ตอบว่าไม่ค่อยดี ร้อยละ 4.00 บอกไม่ดีเลย และร้อยละ 4.32 บอกปานกลาง
เมื่อถามถึงอุดมการณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ ร้อยละ 82.40 บอกว่ามีอุดมการณ์และความตั้งใจทำงานเพื่อชาติและประชาชน ร้อยละ 12.16 เท่านั้นที่ตอบว่าไม่มีอุดมการณ์ ขณะที่ร้อยละ 0.48 ตอบว่ามีบ้างไม่มีบ้าง
ในเรื่อง “ประสิทธิภาพการทำงาน” ร้อยละ 78.88 เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 14.48 เห็นว่าไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 0.48 ที่เห็นว่าบางอย่างก็มี บางอย่างก็ไม่มี

เมื่อถามถึงการทำงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ร้อยละ 67.36 เชื่อว่ามี ร้อยละ 16.96 เชื่อว่าไม่มี ร้อยละ 0.40 เห็นว่ามีบ้างไม่มีบ้าง
ผลการสำรวจนี้สะท้อนว่า ความเชื่อถือ ความนิยมชมชอบใน พล.อ.ประยุทธ์ ยังท่วมท้น
ด้วยเหตุนี้เอง แม้การเลือกตั้งซึ่งเป็นการคืนประชาธิปไตยให้การเมืองการปกครองไทยจะทอดยาวออกไปอีก 22 เดือน หรือจะไปเริ่มกันในปี 2562
จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
ด้วยปัจจัยที่จะไม่ยินยอมให้เป็น ไม่มีพลังพอที่จะเป็นแรงกดดันที่ส่งผลสะเทือนอะไรได้

ขณะนี้คะแนนนิยม และความเชื่อถือในผู้มีอำนาจ ยังมั่นคง ไม่มีอะไรให้วิตก
ที่มา: https://www.matichonweekly.com/scoop/article_27079

ปรองดอง....ใต้

ปรองดอง....ใต้
"นายกฯ-ผบทบ.-แม่ทัพภาค4" ไฟเขียวกอ.รมน.ภาค4 ส่วนหน้า ยอมถอนแจ้งความดำเนินคดี กับ 3 NGOs ที่เผยแพร่รายงานสถานการณ์ซ้อมทรมาน ละเมิดสิทธิมนุษยชน ในพื่นที่ชายแดนใต้ 54 กรณี และตั้งคณะทำงาน ของจนท.รัฐ-NGOs ประสานตรวจสอบร่วมกัน ก่อน แต่จากนี้ จะให้มีการตรวจสอบ ทั้ง54 กรณี ในเรื่องการละเมิดสิทธิ โดยทางทหาร ยันตรวจสอบแล้วไม่พบการซ้อมทรมาน
พลเอกมณี จันทร์ทิพย์ ผู้แทนพิเศษรัฐบาล พลโทชินวัฒน์ แม้นเดช รอง ผอ.รมน. 
พันเอกปราโมทย์ พรหมอืนทร์ โฆษก กอ.รมน.ภาค4ส่วนหน้า. นายโคทม อารียาพร้อมด้วย 3 คนที่ถูกฟ้อง คือ นายสมชาย หอมละออ และนางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ จากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม นางสาวอัญชนา หีมมินะ ผู้ที่ทำงานภาคประชาสังคมในพื้นที่ ได้ร่วมหารือกัน ที่กรุงเทพฯ ก่อนออกมาแถลงร่วมกัน
หลังจากที่ กอ.รมน.ภาค4 ส่วนหน้า
แจ้งความ 3NGO ร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาโดยเอกสาร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) โดยเป็นการร้องทุกข์กล่าวโทษกับพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองปัตตานี
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการธำรงเกียรติของกองทัพ เนื่องจากการทำงานของเจ้าหน้าที่ยึดหลักกฎหมาย และนโยบายการแก้ปัญหายึดหลักสิทธิมนุษยชน
ก่อนหน้านี้ ทั้ง 3 คน ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ถอนแจ้งความ
พันเอกปราโมทย์ พรหมอืนทร์ โฆษก กอ.รมน.ภาค4ส่วนหน้า. กล่าวว่า กอ.รมน.ภาค4 ส่วนหน้า ตั้งใจจะถอนแจ้งความ อยู่แล้ว แต่มีการหารือ ในการหาทางออก ในการแก้ปัญหาร่วมกัน
โดยบรรลุข้อตกลง 3 ข้อ คือ1.ในการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อมีการร้องเรียน ละเมิดสิทธิ์
2.ตั้งกลไก ที่เหมาะสม ในการกำหนดมาตรการป้องกัน การละเมิดสิทธิ และแก้ไข เมื่อเกิดการละเมิด รวมทั้งการกำหนดที่คุมตัว
3.การทำรายงานสถานการณ์จากนี้ ต้องผ่านความเห็นชอบ ร่วมกันก่อน
นาย สมชาย กล่าวขอบคุณ พลโทปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาค4 และกอ.รมน.ที่เข้าใจ และระบุว่า รายงานเป็นข้อมูลบางส่วน ต่อไปจะเสนอให้ ตรงจสอบก่อน ก่อนเผยแพร่ทำงานประสานงานกัน
"เราไม่ตัองารให้ นำรายงานที่เราเผยแพร่ออกไปก่อนหน้านี้ ไปอ้างอิงเพื่อผลประโยชน์ในทางการเมือง"
แต่ยืนยันว่า เราจะรายงานสะท้อนข้อเท็จจริง และความเห็นต่าง และข้อเท็จจริงของราชการด้วย ให้ผู้อ่านใช้วิจารณญาณรับรู้ บางกรณี ไม่ใช่ ชาว ดำ อาจมีรายละเอียด. จะมีข้อเท็จจริงที่รอบด้าน
พลโทชินวัฒน์ กล่าวว่า การถอนฟ้องครั้งนี้ เป็นเจตนา กอ.รมน ตั้งแต่แรก อยู่แล้ว ไม่ใช่มาคุยต่อรองกัน แต่มาหาทางเพื้อทำงานร่วมกันในอนาคต ไม่ได้มีวาระแอบแฝงใดๆ
"อย่าไปโยงนัยสำคัญอื่นๆใด แต่เป็นความต้องการของเรา ที่จะทำงานร่วมกับทุกส่วนในสังคม และหาข้อยุติในสันติวิธี เรายืนยันสันติวิธีมาตลอด และการคุ้มครองสิทธิ เป็นสิ่งที่รัฐตัองรับผิดชอบ"
"การเขียนรายงานซ้อมทรมาน เป็นสิทธิของ Ngo แต่ไม่ใช่เพื่อปิดกั้นรายงาน แต่เป็นกลไกตรวจสอบ และจะลงโทษ และเยียวยา อย่างไร เราต้องการแก้ไขในกรณีที่เป็นจริงและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก"พลโทชินวัฒน์ กล่าว
พลเอกมณี จันทร์ทิพย์ ผู้แทนพิเศษรัฐบาล กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี และ ผบทบ. รวมทั้ง แม่ทัพภาค4 รับทราบแล้ว ซึ่งถือเป็นแนวทางปรองดอง และร่วมมือกันแก้ปัญหา กับNGOs ด้วย