PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ขอบคุณ อีกครั้ง....



ขอบคุณ อีกครั้ง....
"พลเอกประยุทธ์" ถก ครม.-คสช. ขอบคุณทุกส่วนที่ทำให้การลงประชามติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยันจากนี้ ยึดตามโรดแมพ เลือกตั้ง ปี2560 ขอ คสช.ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีของประเทศและสร้างความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนต่อ
วันนี้เป็นการประชุมร่วมคณะรัฐมนตรี, คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2559 ที่ทำเนียบรัฐบาล
พันเอกวินธัย สุวารี โฆษกคสช. กล่าวว่า
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ/นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้กล่าวขอบคุณทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำให้การลงประชามติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
โดยเฉพาะคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ในการทำหน้าที่อย่างหนักในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ในช่วงเวลาต่อไปจากนี้ นับเป็นก้าวสำคัญที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะเดินหน้าไปตามโรดแมพ ตามระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ โดยในระยะที่ 3 ยังคงจะมีการเลือกตั้งภายในปี 2560
ขณะเดียวกัน คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยังคงบทบาทในการดูแลบ้านเมืองให้เกิดความสงบเรียบร้อยรักษาบรรยากาศที่ดีของประเทศและสร้างความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนต่อไป
นอกจากนี้ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยังได้เน้นย้ำให้ทุกส่วนเดินหน้าสร้างความเข้าใจกับประชาชนในเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงสร้างความรับรู้ถึงขั้นตอนหลังจากการลงประชามติ
ที่สำคัญให้ทุกส่วนต้องปรับกรอบการทำงานและภาระหน้าที่ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่จะมีขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยังคงยึดมั่นในเจตนารมณ์เดิมที่จะทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติและประชาชน รวมถึงการสร้างสภาวะแวดล้อมให้เป็นไปในทิศทาง
ที่ประชาชนคาดหวังไว้
///

ฉบับสุดท้าย?

ฉบับสุดท้าย แล้ว.....
ยัน เลือกตั้ง ธค.60
เผย ใช้เวลา 30+30+30คลอดรธน.นับ1
เผย ใช้ เวลา 8เดือน ในการออกกม.ลูก
"อ.มีชัย ฤชุพันธุ์" ประธาน กรธ. ในฐานะกรรมการ คสช.มาประชุม ครม.-คสช. เสร็จ นักข่าวรุมซัก. แต่นายกฯ บอกไว้ว่า จะแถลงเอง
เผย กรธ.ใช้เวลาใน30วัน เอาคำถามพ่วง มาใส่ในบทเฉพาะกาล ร่างรธน. แล้วส่งให้ ศาลรธน.ตีความ ภายใน30 วัน จากนั้น ส่งให้ พลเอกประยุทธ์ นำขึ้นทูลเกล้าฯ คาดใน 30วัน
โดยจะเริ่มนับ1 ตั้งแต่ โปรดเกล้าฯร่าง รธน. จากนั้นใช้เวลาอีก8 เดือน. ในการออกกม.ลูกโดยเราจะทำให้เร็วที่สุด
เชื่อว่ากำหนดการเลือกตั้ง ยึดตามโรดแมพ ในปี2560 จะพยายามทำให้เร็วขึ้น ช้าเดี้ยวเค้าว่าเอา
เมื่อถามว่า ยาวสุดคือ มค.-กพ.61 หรือไม่ อ.มีชัย กล่าวว่า คงไม่ถึงหรอก อันนั้นเผื่อไว้. แต่คงทำให้เร็วที่สุด คงใน ธค.60 นี่ล่ะ
"นี่เป็น การร่างรธน.ฉบับสุดท้าย ของผมแล้ว ไม่มีอีกแล้ว ไม่เอาอีกแล้ว แก่แล้ว"

"บิ๊กตู่"ถก ครม.-คสช.ขอบคุณกองทัพทำประชามติเรียบร้อย



"บิ๊กตู่"ถก ครม.-คสช.ขอบคุณกองทัพทำประชามติเรียบร้อย พร้อมขอบคุณ กรธ. ยันจากนี้ เป็นก้าวสำคัญ ยึดตามโรดแมพ ระยะ3 ยันเลือกตั้ง ปี2560 ขอคสช.ช่วยดูแลต่อ
พันเอกวินธัย สุวารี โฆษกคสช. กล่าวว่า
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ/นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน การประชุมร่วมคณะรัฐมนตรี-คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2559
พลเอกประยุทธ์ ได้กล่าวขอบคุณทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำให้การลงประชามติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
โดยเฉพาะคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ในการทำหน้าที่อย่างหนักในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ในช่วงเวลาต่อไปจากนี้ นับเป็นก้าวสำคัญที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะเดินหน้าไปตามโรดแมพ ตามระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ โดยในระยะที่ 3 ยังคงจะมีการเลือกตั้งภายในปี 2560
ขณะเดียวกัน คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยังคงบทบาทในการดูแลบ้านเมืองให้เกิดความสงบเรียบร้อยรักษาบรรยากาศที่ดีของประเทศและสร้างความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนต่อไป
นอกจากนี้ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยังได้เน้นย้ำให้ทุกส่วนเดินหน้าสร้างความเข้าใจกับประชาชนในเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงสร้างความรับรู้ถึงขั้นตอนหลังจากการลงประชามติ
ที่สำคัญให้ทุกส่วนต้องปรับกรอบการทำงานและภาระหน้าที่ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่จะมีขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยังคงยึดมั่นในเจตนารมณ์เดิมที่จะทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติและประชาชน รวมถึงการสร้างสภาวะแวดล้อมให้เป็นไปในทิศทางที่ประชาชนคาดหวังไว้

'บิ๊กตู่' สั่งห้าม ขรก.เล่นเกม 'โปเกมอน' ในสถานที่ราชการ

นายกฯ มอบไอซีทีคุยผู้ประกอบการ ให้ยกเว้นบันทึกสถานที่ราชการสำคัญไว้ในเกม "โปเกมอน" โดยเฉพาะ "ทำเนียบฯ" แนะ เด็ก-เยาวชน ไม่ควรหมกมุ่น เพราะมีหน้าที่เรียนหนังสือ

เมื่อวันที่ 9 ส.ค.59 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงความเป็นห่วงการเล่นเกมแอพพลิเคชั่น โปเกมอน โก ที่แพร่หลายโดยเฉพาะกลุ่มของเด็กและเยาวชน โดยกล่าวยอมรับว่าเป็นห่วงในเรื่องดังกล่าว และได้มีการหารือกับ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แล้ว ซึ่งตนเป็นห่วงและกังวลในเรื่องของความปลอดภัย ซึ่งมีหลายประการ แต่เรื่องสำคัญที่เราต้องไม่ลืมคือ เรื่องของสิทธิของประชาชน ซึ่งโดยหลักการแล้วทุกคนสามารถเล่นเกมนี้ได้ อีกทั้งในส่วนของผู้ประกอบการก็ไม่มีกฎหมายห้ามไว้ แต่ก็ต้องกลับมาดูว่ามันสมควร ตรงไหนอย่างไร วันนี้ได้มีการพูดคุย และได้มอบหมายให้กระทรวงไอซีที ไปหาวิธีการดูแล ขั้นแรกก็ต้องขอความร่วมมือก่อน เช่น ในสถานที่ราชการถ้าเรามองในเรื่องความมั่นคง และปลอดภัย มีการระบุสถานที่ราชการทั้งหมดในระบบจีพีเอส ซึ่งตนได้ให้ข้อแนะนำให้ทางกระทรวงไอซีที ไปหารือผู้ประกอบการให้ยกเว้นสถานที่เหล่านี้ได้หรือไม่ นอกจากนี้ ยังไม่อยากให้ข้าราชการในทำเนียบรัฐบาล กระทรวงต่างๆรวมทั้งสถาบันการศึกษาเล่นเกมโปเกมอน โดยเฉพาะในสถานที่ทำงานนั้นความจริงเล่นไม่ได้อยู่แล้ว เพราะทุกคนต้องทำงาน ขอให้แยกแยะกันให้ออก

"ในส่วนของประชาชนเองก็ต้องระมัดระวัง จะเห็นว่าในหลายประเทศก็เกิดปัญหาและตื่นตัวจากการเล่นเกมดังกล่าว ส่วนตัวผมคิดว่าการตื่นตัวดังกล่าวคงเหมือนเกมอื่นๆ หวือหวาไประยะหนึ่ง วันข้างหน้าก็ต้องคิดเกมใหม่ออกมาให้แปลกประหลาดให้คนนิยม ซึ่งสิ่งที่สร้างในวันนี้ คือ ใช้ภูมิทัศน์เสมือนจริง หรือของจริงเช่นเอาสถานที่ในทำเนียบมาเพียงแต่มีตัวการ์ตูนวิ่งมาให้ไล่จับ ผมก็ศึกษามา แต่ไม่ได้เล่นเกมดังกล่าว เพราะมีเวลาไม่ว่างพอที่จะเล่น เพราะฉะนั้นอย่าเอารูปผมไปลงก็แล้วกัน อย่ามาไล่จับผม ก็ขอร้องแล้วกันให้พิจารณาถึงความเหมาะสมและความเป็นส่วนตัว สิ่งที่ผมกังวลต่อประชาชนวันนี้ก็คือ ความปลอดภัยเพราะหากระบุในสถานที่เปลี่ยว เสี่ยงภัย ซึ่งหลายคนอาจจะชอบการเสี่ยงอันตราย ทั้งที่สูงบ้าง ในตรอกซอกซอยบ้าง อาจจะได้รับอันตรายในเรื่องของการขโมย ชิงทรัพย์ หรือข่มขืน ซึ่งสังคมจะมีปัญหาตามมา ก็ขอฝากเตือนไปด้วย ถ้าจะเล่นขอให้เล่นในสถานที่เปิดเผย ผู้ให้บริการก็ต้องร่วมกันรับผิดชอบบ้างว่า ถ้าเกิดกรณีลักษณะแบบนี้ขึ้น จะรับผิดชอบอย่างไร

ผมก็สั่งการให้ขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการ ในการร่วมกันรับผิดชอบ รวมถึงสถานศึกษาต่างๆ เด็กเล็ก ซึ่งในความเป็นจริงจะเล่นเกมนี้ไม่ได้ เพราะทุกคนต้องเรียนหนังสือ แต่พอยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ เพราะฉะนั้นผู้ให้บริการก็ควรละเว้นในบางสถานที่บ้าง ไม่ควรกำหนดไว้ในเกม อย่างนักข่าวถ้าจะเล่นก็ขอให้ไปเล่นนอกทำเนียบฯ เพราะที่ทำเนียบฯ ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะเล่นเพราะเป็นสถานที่ราชการต้องเข้าใจในเรื่องของความปลอดภัยของชาติ ทุกประเทศเป็นหลัก ซึ่งหลายประเทศก็กังวลเช่นเดียวกันกับที่ผมพูด" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

เมื่อถามว่า ในทางกลับกันทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เตรียมนำแอพพลิเคชั่นเกมนี้ ไปใช้กับเรื่องของการท่องเที่ยว พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็ไม่ได้ห้ามอะไร แต่ก็ไปท่องเที่ยวในสถานที่อื่น ที่ไม่ใช่สถานที่ราชการ จะไปจับโปเกมอนในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ก็ไปตามล่ากันแบบที่มีเกมเขาทำอยู่ ตนก็ไม่มีปัญหาอยู่แล้ว แต่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย ซึ่งกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาก็ต้องดูแล แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับคนไม่ใช่อะไร ก็หวังจะให้รัฐออกกฎหมายมาบังคับ จับกุมดำเนินคดี ก็จะเกิดความขัดแย้งตลอดเวลา เราจะต้องสร้างความรับรู้ และความร่วมมือให้เกิดขึ้นให้ได้

‘นิพิฏฐ์’ฟันธง ส.ว.แต่งตั้งไม่มีใครโหวตให้เพื่อไทย ทำนายอนาคต ส.ส.รวมตัวกันสู้ ส.ว.

“นิพิฏฐ์” ชี้ พรรคการเมืองอาจล็อบบี้เสียงข้างมากคานอำนาจ ส.ว. ส่อมีรัฐบาลผสม ผลักพรรคอันดับ 1 เป็นฝ่ายค้าน
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า ตนเชื่อว่าจากเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้คงไม่มีพรรคการเมืองไหนได้เสียงครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกนายกรัฐมนตรี ดังนั้นการจัดตั้งรัฐบาลจะออกมาใน 2 รูปแบบคือ 1 พรรคคะแนนลำดับที่ 1 จับมือกับพรรคที่ได้คะแนนลำดับ 3-6 ส่วนพรรคที่คะแนนลำดับ 2 ก็เป็นฝ่ายค้านไป และรูปแบบที่ 2 คือพรรคคะแนนลำดับที่ 2 จับมือกับพรรคคะแนนลำดับที่ 3,4,5 และ 6 จัดตั้งรัฐบาลผสม แล้วพรรคคะแนนลำดับ 1 ก็เป็นพรรคฝ่ายค้าน เพราะฉะนั้นพฤติกรรมการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีของ ส.ว.นั้น คาดว่าคงโหวตไปในทิศทางเดียวกัน และคงไม่โหวตให้กับพรรคเพื่อไทย (พท.) อย่างแน่นอน จึงจะมีความไปได้ว่าพรรค พท.อาจจะพยายามไปล็อบบี้พรรคอื่นๆ เพื่อให้ได้เสียงข้างมากมาคานเสียงกับ ส.ว.ขึ้น ในอนาคตก็อาจจะมีสภาพการณ์ที่ ส.ส.พยายามรวมตัวเพื่อคานกับ ส.ว.ก็ได้ และอาจมีการรวมตัวจัดตั้งรัฐบาลผสมจะยิ่งทำให้ได้รับการยอมรับน้อยลง และถ้ามีเสียงของ 250 ส.ว.มาช่วยสนับสนุนรัฐบาลผสมอีก ยิ่งทำให้สังคมและประชาคมโลกยิ่งยอมรับในตัวรัฐบาลน้อยลง และอาจจะมองว่าเป็นรัฐบาลกึ่งทหาร นอกจากนี้ เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในภาวะปกติยังแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ยากมากด้วย

วัฒนา เมืองสุข: "ประชามติที่ขัดกฎหมาย"

นายวัฒนา เมืองสุข ได้โพส เฟสบุ๊คส่วนตัว วันนี้ ว่า 

"ประชามติที่ขัดกฎหมาย"

วานนี้ (8 สิงหาคม) ผมไปพบอัยการศาลทหารในคดีที่ผมถูกกล่าวหาว่าขัดคำสั่ง คสช. ผมได้ตอบคำถามนักข่าวจากอัลจาซีร่า (Al Jazeera) ที่มาขอสัมภาษณ์ไปว่า กระบวนการประชามติมีการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายหลายประการ เช่น คสช. และรัฐบาลใช้อำนาจปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นของอีกฝ่าย หรือ กกต. ไม่ได้จัดพิมพ์และเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนได้รับทราบเป็นการทั่วไปทำให้ประชาชนขาดข้อมูล ทั้งยังปล่อยให้ กรธ. ฉวยโอกาสใช้จุลสารของ กกต. ที่เผยแพร่ไปทุกครัวเรือนโฆษณาเฉพาะข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งที่กฎหมายให้เผยแพร่ "คำอธิบายและสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ" ทำให้ประชาชนถูกบิดเบือน ขัดต่อมาตรา 7 มาตรา 9 และ 10 ของ พรบ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ จึงเป็นประชามติที่ไม่สมบูรณ์และไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แต่ผมยังคงเคารพในเจตนารมณ์ของประชาชนจำนวน 15.56 ล้านคน ที่ออกเสียงเห็นชอบเพราะต้องการให้ประเทศมีรัฐธรรมนูญแม้จะด้วยเหตุผลที่ต่างกันออกไปก็ตาม เช่น อยากให้มีการเลือกตั้งเพราะเชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น หรืออยากให้ คสช. พ้นไปจากอำนาจ หรืออยากเห็นการปราบโกง เป็นต้น ดังนั้น ประชาชนจึงควรได้รับการยกย่องส่วน คสช. และผู้ที่เกี่ยวข้องที่ทำให้การออกเสียงประชามติต้องมัวหมองสมควรถูกประณามและถูกดำเนินคดี ทั้งจะต้องรับผิดชอบต่อความคาดหวังของประชาชนที่ออกเสียงเห็นชอบดังกล่าว ส่วนผมก็ยังต้องต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนต่อไป เพราะขนาดร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติแล้วแต่การละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การจับกุมพลเรือนขึ้นศาลทหารที่เชียงใหม่ หรือการจับกุมนิสิตนักศึกษาที่เรียกร้องประชาธิปไตยก็ยังคงเกิดขึ้นทุกวัน เรายังไม่ได้พ่ายแพ้เพียงแต่ถูกโกงเท่านั้น การต่อสู้จึงเพิ่งเริ่มต้นไม่ได้จบลงอย่างที่หลายฝ่ายคาดคิด
วัฒนา เมืองสุข
พรรคเพื่อไทย
9 สิงหาคม 2559

"บิ๊กตู่" ย้ำยังไม่มี "เซตซีโร่" ปลดล็อกพรรครอดูสถานการณ์ ลั่นให้มันรู้บ้างใครทำกติกาตอนนี้

updated: 09 ส.ค. 2559 เวลา 17:00:24 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
"บิ๊กตู่" ย้ำยังไม่มีเเนวคิด "เซตซีโร่" ปลดล็อกพรรคการเมืองรอดูสถานการณ์ ลั่นให้มันรู้บ้างใครทำกติกาตอนนี้
เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2559 เวลา 14.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงแนวคิดการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคใหม่และช่วงเวลาเหมาะสมที่จะปลดล็อกพรรคการเมือง ภายหลังการประชามติ

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีเเนวคิดจะให้พรรคการเมืองจดทะเบียนใหม่หรือเซตซีโร่ หากสื่อต้องการเซตซีโร่ก็ให้เสนอมา เเต่รัฐบาลยังไม่มีเเนวคิดนี้


ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า ห้วงเวลาใดที่เหมาะสมแก่การปลดล็อกพรรคการเมืองให้มีการประชุมพรรคได้ พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่า ตนได้ไปตกลงอะไรกับเขาหรือไง ให้มันรู้บ้างว่าใครเป็นคนทำกติกาตอนนี้ เมื่อถึงเวลากติกาเสร็จค่อยมาคุยกัน ให้มันรู้บ้างว่าขั้นตอนไหนของใคร ต้องดูสถานการณ์ความเรียบร้อยเเละโรดเเมปก่อน ซึ่งทาง กรธ.ต้องทำกฎหมายลูกอีก 10 ฉบับ โดยจะทำ 4 ฉบับที่จะนำไปสู่การเลือกตั้งให้เรียบร้อยจากนั้นจึงให้พรรคการเมืองใหม่มาดำเนินการ

"บิ๊กตู่" ปัดตอบหากได้รับเชิญขึ้นนั่งเก้าอี้นายกฯอีกครั้ง บอก "อย่ากลัวผีที่มองไม่เห็น"

updated: 09 ส.ค. 2559 เวลา 17:15:44 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เมื่อวันที่ 9 ส.ค.2559 เวลา 14.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ โดยผู้สื่อข่าวถามว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เปิดช่องให้คนนอกเป็นนายกรัฐมนตรีได้ เเละถ้าหากที่ประชุมรัฐสภาเชิญให้ พล.อ.ประยุทธ์ขึ้นดำรงตำเเหน่งอีกครั้งจะรับหรือไม่
พล.อ.ประยุทธ์ ตอบว่า ยังไม่ขอตอบเเละไม่ตอบตรงนี้ ไม่เกี่ยวกับตนเลย เเต่เป็นเรื่องของการเมืองไม่ใช่อยู่ดีๆ เขาจะมาหวังให้ตนเป็นนายกฯ เขามุ่งหวังเเค่หากจัดตั้งรัฐบาลโดยพรรคการเมืองเเล้วมีปัญหาไม่ยอมกันนั้นถึงจะเอาคนนอกมาก ท่านเชื่อหรือว่าจะตั้งกันไม่ได้

ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า ถ้ามีการเชิญเกิดขึ้นจริงๆ จะรับหรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวย้ำว่ายังไม่มีอะไรทั้งสิ้น อย่าเพิ่งไปเปิดประเด็นใหม่ ตนขี้เกียจตอบ

"บอกเเล้วว่าอย่ากลัวผีที่มองไม่เห็น วันนี้ก็หลอกหลอนอยู่เเล้ว ผมกำลังทำยันต์กันผีอยู่คิดง่ายๆ เเค่นี้จะไปยากอะไร ตามกฎของเมอร์ฟี่ (Murphy′s Law) ที่ทำอะไรก็ต้องเกิดผลกระทบถ้านั่งเฉยๆ ก็คงไม่มีเรื่อง ถ้าผมไม่ต้องบริหารราชการเเผ่นดิน ปล่อยไปหนึ่งปีให้มีเลือกตั้งทุกอย่างก็จบ เเต่เมอร์ฟี่เขียนว่าทำเเล้วจะเกิดอะไรสักอย่าง ผมก็ยังทำอยู่ เเล้วทำไมไม่เลือกนั่งเฉยๆ คิดสิ ถ้าต้องการอนาคตใหม่ก็ต้องคิดใหม่ ประเทศชาติอยู่ไม่ได้ เเต่สื่ออยู่ได้ เพราะหากินได้อยู่เเล้ว เเต่ประเทศชาติย่อยยับไม่รู้นะ" นายกรัฐมนตรีกล่าว

พิษพายุฝน! ทำเนียบฯฝนตกหนัก ต้นไม้โค่นเฉียดรถบิ๊กเจี๊ยบ

ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 9 ส.ค. เนื่องจากมีพายุและฝนตกอย่างหนัก ทำให้ต้นไม้ใหญ่บริเวณประตู 8 ฝั่งตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ทำเนียบรัฐบาล หักโค่นทับรั้วบริเวณประตู 8 เสียหายและล้มทับรถยี่ห้อโตโยต้า รุ่นฟอร์จูนเนอร์ สีดำ เข้าอย่างจัง และเฉียดรถยี่ห้อเมอร์ซิเดส-เบนซ์ สีดำ ทะเบียน 4กษ 5254 กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นรถประจำตำแหน่ง พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี (สร.3) เกือบได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ดี ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ







"กลิน เดวีส์" ย้ำข้อเรียกร้องสหรัฐ จี้ไทยกลับสู่การปกครองโดยพลเรือน ชี้ต้องเปิดกว้างเพื่อสร้างอนาคต

updated: 09 ส.ค. 2559 เวลา 16:06:55 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม นายกลิน เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐพร้อมด้วยภริยา ได้เดินทางเยือนจังหวัดพังงาเพื่อสนับสนุนภารกิจ #OurOcean ของนายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ด้วยการเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยนายเดวีส์ได้กล่าวย้ำระหว่างเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาถึงพันธกิจของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐต่อประเด็นหลักทั้งสี่ของ #OurOcean อันได้แก่ พื้นที่คุ้มครองทางทะเล การทำประมงยั่งยืน มลภาวะทางทะเล และผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศต่อมหาสมุทร นอกจากนี้นายเดวีส์ยังได้พบกับองค์การนอกภาครัฐในท้องถิ่นและองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (ไอโอเอ็ม) เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์แรงงานอพยพจากเมียนมาและบทบาทของแรงงานอพยพดังกล่าวในอุตสาหกรรมการเกษตรและการประมงในภาคใต้ของไทย

ผู้สื่อข่าวได้สอบถามถึงผลประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา นายเดวีส์กล่าวว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศผลเบื้องต้นแล้ว และเห็นได้ชัดว่าผู้ออกไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงส่วนใหญ่เห็นชอบรับร่างรัฐธรรมนูญ จากผลประชามตินี้และผลอย่างเป็นทางการที่จะประกาศในไม่ช้า สหรัฐอเมริกาในฐานะมิตรประเทศและพันธมิตรอันยาวนานของไทยขอให้รัฐบาลกลับคืนสู่การปกครองโดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และหนทางหนึ่งในการกลับคืนสู่การปกครองโดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง เราขอเรียกร้องอย่างยิ่งให้รัฐบาลยกเลิกการจำกัดเสรีภาพของพลเมือง ซึ่งรวมถึงการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบ

"เราเรียกร้องสิ่งเหล่านี้ด้วยเหตุผลเดิมเสมอมาคือ ในฐานะมิตรประเทศและพันธมิตรของไทย เราเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ไทยเข้มแข็งขึ้น และเชื่อว่าหนทางเดียวที่ไทยจะเข้มแข็งได้ในที่สุดก็ต่อเมื่อชาวไทยทุกภาคส่วนได้ร่วมพูดคุยอย่างเปิดกว้างถึงอนาคตของพวกเขา นี่เป็นหนทางที่มีประสิทธิผลที่สุดในการสร้างอนาคตที่เข้มแข็งและยั่งยืนสำหรับประเทศไทย ซึ่งเราชาวอเมริกันมีความห่วงใยอย่างยิ่ง เราอยากให้ชาวไทยเป็นหนึ่งเดียวกันและก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างเข้มแข็ง และนี่คือเหตุผลว่าทำไม เราจึงเรียกร้องให้รัฐบาลอนุญาตให้มีเสรีภาพดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งกลับคืนสู่การปกครองโดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยโดยเร็ว" นายเดวีส์กล่าว


ที่มา : มติชนออนไลน์

โฆษก กต.สหรัฐฯเรียกร้องไทยกลับคืนสู่ระบบประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุด

เอลิซาเบธ ทรูโด โฆษกกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเกี่ยวการทำประชามติในประเทศไทยวานนี้ (8 ส.ค.) เรียกร้องให้ทางการไทยดำเนินการให้ประเทศกลับสู่ระบอบประชาธิปไตย ให้คืนเสรีภาพในการแสดงออกในขณะที่รอการเปลี่ยนผ่าน ในขณะที่ย้ำอีกว่าทางการสหรัฐยังมีความกังวล ว่าที่ผ่านมาหลายฝ่ายไม่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งยังห้ามการถกเถียงอย่างเปิดกว้างเกี่ยวกับร่างด้วย
“เราขอเรียกร้องให้ทางการไทยดำเนินการในขั้นตอนต่อไปเพื่อให้ประเทศกลับไปสู่ระบบที่มีรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้”
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่าในกระบวนการที่จะนำประเทศกลับคืนสู่ระบบประชาธิปไตยทางการไทยควรยกเลิกข้อจำกัดต่อการใช้เสรีภาพของพลเรือน รวมถึงเสรีภาพในการแสดงออก สิทธิในการชุมนุมอย่างสงบ เพื่อให้คนไทยมีส่วนร่วมในการถกเถียงเกี่ยวกับอนาคตของประเทศ
ก่อนหน้านี้สหภาพยุโรปเป็นอีกรายที่ออกมาแสดงท่าทีหลังการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญของไทย
หน่วยงานด้านต่างประเทศของสหภาพยุโรป (European External Action Service) ออกแถลงการณ์ระบุว่าในช่วงก่อนหน้าการลงประชามติมีการจำกัดเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างรุนแรง จำกัดการถกเถียงและการรณรงค์ และชี้ว่าจำเป็นที่จะต้องยุติการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกและรวมตัวกันเพื่อก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและสร้างกระบวนการทางการเมืองที่ตรวจสอบได้ อียูเรียกร้องให้ทางการไทยสร้างเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไป โดยทุกภาคส่วนในไทยจะต้องมีส่วนร่วมในการสนทนาแลกเปลี่ยนเพื่อไปสู่จุดหมายดังกล่าวอย่างสันติ
ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ นายดอน ปรมัตถ์วินัย ออกมาเรียกร้องให้ประเทศต่างๆเคารพผลการลงประชามติ ทั้งยังเตรียมจะชี้แจงต่อผู้แทนองค์กรต่างประเทศและทูตในสัปดาห์นี้ ไทยพีบีเอสรายงานคำพูดของนายดอนบอกว่า แม้การลงประชามมติหนนี้จะไม่ใช่คนไทยทั้งหมดแต่ก็เป็นเสียงส่วนใหญ่ตามมาตรฐานสากลเพราะว่าเกินร้อยละ 50 ของผู้มีสิทธิออกเสียง นายดอนบอกว่าจะเชิญผู้แทนต่างประเทศร่วมรับฟังการชี้แจงในวันที่ 11 หรือ 12 ส.ค.นี้รวมไปถึงรับฟังโรดแมปของคสช.ซึ่งจะชัดเจนขึ้นหลังการประชุมร่วมระหว่างคสช.และครม.ในวันนี้คือ 9 ส.ค.
ก่อนหน้านี้คือในคืนวันที่ 7 ส.ค. ที่ผ่านมา พลตรีวีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ส่งข้อความให้กับผู้สื่อข่าวต่างประเทศประณาม “การแทรกแซง” จากต่างประเทศ หลังจากนั้นได้ระบุว่า ทั้งนี้เนื่องจากมีต่างประเทศส่งผู้สังเกตการณ์เข้าไปดูการออกเสียงลงประชามติโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้าถือว่าเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน

"สมชัย" โพสต์ นักวิชาการ-สื่อต่างชาติ อย่าดูถูกการตัดสินใจของคนไทย

updated: 09 ส.ค. 2559 เวลา 11:24:37 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันที่ 9 สิงหาคม นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กแสดงความเห็นจบการลงประชามติ ระุบุถึงนักวิชาการและสื่อต่างชาติ ว่าอย่าดูถูกการตัดสินใจของคนไทย ซึ่งแม้คนไทยทุกคนไม่ได้อ่านรัฐธรรมนูญทุกมาตรา แต่คนไทยก็สามารถประเมินจากความแตกต่างของสิ่งที่เห็นในวันนี้ กับวันในอดีต และสามารถเลือกอนาคตวันข้างหน้าได้เอง
"นักวิชาการ และสื่อต่างชาติ อย่าดูถูกการตัดสินใจของคนไทย คนไทยทุกคนอาจไม่ได้อ่านรัฐธรรมนูญทุกมาตราก่อนลงประชามติ แต่เขาสามารถประเมินจากความแตกต่าง จากสิ่งที่เขาเห็นใน "วันนี้" กับ "วันในอดีต" และเลือกที่บอกดังๆ ว่าเขาต้องการ "วันในอนาคตข้างหน้า" อย่างไร" นายสมชัยระบุ

ไผ่ NDM อีสานไม่ขอประกันตัวหลังศาลอนุญาตฝากขัง กรณีแจกเอกสารโหวตโนที่ภูเขียว พร้อมอดข้าวในเรือนจำ

ไผ่ NDM อีสานไม่ขอประกันตัวหลังศาลอนุญาตฝากขัง กรณีแจกเอกสารโหวตโนที่ภูเขียว พร้อมอดข้าวในเรือนจำ +++
ศาลจังหวัดภูเขียวอนุญาตฝากขัง 2 นักศึกษา กรณีแจกเอกสารโหวตโนที่ตลาดภูเขียว จ.ชัยภูมิ เหตุผู้ต้องหาน่าจะกระทำผิดอาญาร้ายแรง ด้านไผ่ NDM อีสาน ไม่ขอประกัน พร้อมอดข้าวในเรือนจำ ขณะปาล์มขอประกันตัวไปเรียน ศาลอนุญาต
8 ส.ค. 59 เวลา 12.20 น. ที่ห้องพิจารณาคดีเวรชี้ ศาลจังหวัดภูเขียว พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรภูเขียว จ.ชัยภูมิ ยื่นคำร้องขอฝากขัง ‘ไผ่’ นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นและนักกิจกรรมขบวนการประชาธิปไตยใหม่อีสาน และ ‘ปาล์ม’ นายวศิน พรหมณี นักศึกษามหาวิทยาลัยสุรนารี สองผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมขณะเดินแจกเอกสารรณรงค์ประชามติที่ตลาดสดเทศบาลภูเขียว ในเย็นวันที่ 6 ส.ค.59 และถูกควบคุมตัวที่ สภ.ภูเขียว
ด้านนายวิบูลย์ บุญภัทรรักษา บิดาของนายจตุภัทร์ ทั้งทำหน้าที่ทนายความของนายจตุภัทร์ และนายวศินด้วย เปิดเผยว่า ตอนเช้าก่อนเดินทางมาศาล พนักงานสอบสวนได้สอบปากคำผู้ต้องหาทั้งสองเพิ่มเติม และแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเรื่องไม่ยอมพิมพ์ลายนิ้วมือ ซึ่งทั้งสองไม่ยอมพิมพ์ เพราะยืนยันว่า ตนเองไม่ผิด.....................

สหรัฐเรียกร้องไทยเร่งเดินหน้ากลับสู่ รบ.จากการเลือกตั้ง เลิกจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็น-การชุมนุม

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ตามเวลาในสหรัฐ หรือวันที่ 9 สิงหาคม ตามเวลาในไทย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ อลิซาเบธ ทรูโด ออกมาแสดงความวิตกกังวลหลังทราบผลการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญของไทย โดยระบุว่า สหรัฐยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญของไทยที่ไม่เปิดให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม รวมถึงไม่เปิดให้มีการถกเถียงกันอย่างเสรีก่อนที่จะมีการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว

ทรูโดเรียกร้องให้ทางการไทยเดินหน้าตามขั้นตอนอื่นๆ ต่อไป เพื่อนำประเทศไทยกลับสู่การมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ พร้อมกับขอร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับเสรีภาพของประชาชน ซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการแสดงความเห็นและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสันติ เพื่อให้คนไทยสามารถมีส่วนร่วมกับการพูดคุยเจรจาเกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองของประเทศไทย

สำนักข่าวเอเอฟพีระบุว่า ท่าทีดังกล่าวของสหรัฐเป็นท่าทีเดิมๆ ที่มีการเรียกร้องมาแล้วหลายครั้งให้ไทยเร่งกลับสู่การเลือกตั้งเพื่อให้กลับมามีสถาบันต่างๆ ภายใต้กระบวนการประชาธิปไตยอีกครั้ง ทั้งนี้ การลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม นับเป็นการทดสอบความเห็นของประชาชนครั้งแรกหลังการยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อปี 2557