PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

ทุนเหนือรัฐ


ปาฐกถาพิเศษยิ่งลักษณ์ ชินวัตร:หวังว่าความเจ็บปวดที่ครอบครัวของดิฉันเหยื่อ91ศพได้รับจะเป็นครั้งสุดท้าย


คำแปลปาฐกถาพิเศษ

นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร

การประชุมประชาคมประชาธิปไตย

อูลัน บาตอ, มองโกเลีย 29 เมษายน 2013

"ท่านประธาน,

ท่านผู้มีเกียรติ,

ท่านผู้เข้าร่วมประชุม,

ดิฉันขอเริ่มด้วยการขอบคุณท่านประธานาธิบดีแห่งมองโกเลียที่ได้เชิญให้ดิฉันมาปาฐกถา ณ การประชุมประชาคมประชาธิปไตยแห่งนี้

ดิฉันได้ตอบรับเชิญไม่เพียงเพราะดิฉันต้องการที่จะได้มีโอกาสเยือนมองโกเลีย ประเทศที่ประสบความสำเร็จในความเป็นประชาธิปไตย หรือไม่ได้มาเพียงที่จะได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย แต่ดิฉันเดินทางมาที่นี่เพราะความเป็นประชาธิปไตยมีความสำคัญต่อดิฉันอย่างมาก และที่สำคัญยิ่งกว่าคือความไม่เป็นประชาธิปไตยมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศบ้านเกิดของดิฉัน ประเทศไทยที่ดิฉันรัก

 ประชาธิปไตยนั้นไม่ใช่เป็นแนวคิดอุดมการณ์ใหม่ ในช่วงเวลาที่ผ่านมายาวนานแนวทางประชาธิปไตยได้นำมาซึ่งความก้าวหน้าและความหวังสำหรับผู้คนจำนวนมาก และในขณะเดียวกัน ผู้คนจำนวนมากได้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้องรักษาและสร้างความเป็นประชาธิปไตย

เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ไม่ได้ได้มาฟรีๆ สิทธิ เสรีภาพ และความเชื่อที่ว่า มนุษย์ทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิงมีความเท่าเทียมกันนั้นได้มาด้วยการต่อสู้ และที่น่าเศร้าใจคือ ทำให้ต้องมีผู้เสียชีวิต

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นหรือ? ก็เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยในโลกนี้ที่ไม่เชื่อในแนวคิดประชาธิปไตย  คนเหล่านี้พร้อมที่จะให้ได้มาด้วยอำนาจและด้วยการกดขี่การมีเสรีภาพ นั่นหมายความว่าพวกเขาพร้อมที่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น เขาไม่เคารพสิทธิมนุษยชนหรือความเสรีภาพ พวกเขาพร้อมจะใช้กำลังเพื่อกดขี่ให้คนอยู่ใต้อำนาจ และยังใช้อำนาจในทางที่ผิด สิ่งนี้ได้เกิดขึ้นในอดีตและยังคงท้าทายเราทุกคนในปัจจุบัน

มีหลายประเทศที่ความเป็นประชาธิปไตยได้หยั่งรากลึกแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและเป็นความรู้สึกสดชื่นที่ได้เห็นกระแสประชาธิปไตยที่นำความเปลี่ยนแปลงสู่ประเทศต่างๆ จากปรากฏการณ์อาหรับสปริงค์ถึงช่วงผ่านเปลี่ยนในเมียนมาร์ภายใต้ผลักดันของประธานาธิบดี เต็ง เส่ง รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศของดิฉัน ด้วยพลังของประชาชนคนไทยที่ทำให้ดิฉันมายืนอยู่ที่นี่ได้ในวันนี้

ในระดับภูมิภาค หลักการสำคัญๆในปฏิญญาอาเซียนก็ยึดมั่นในหลักนิติธรรม, ประชาธิปไตย และรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย แต่ในขณะเดียวกันเราทุกคนต้องระมัดระวังว่าแรงปฏิกิริยาต่อต้านประชาธิปไตยไม่เคยที่จะถดถอยลดน้อยลง ดิฉันขอยกเรื่องของดิฉันเองเป็นอุทาหรณ์

ในปี 1997 ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งร่างขึ้นโดยที่ประชาชนมีส่วนร่วม เราทุกคนคิดว่ายุคใหม่ของประชาธิปไตยไทยมาถึงแล้ว และจะเป็นยุคสมัยที่ไร้การรัฐประหาร

แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้น รัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งถึงสองครั้งสองหนด้วยเสียงส่วนใหญ่ถูกล้มลงในปี 2006 ประเทศไทยเสมือนรถไฟตกรางและประชาชนคนไทยใช้เวลาเกือบ 10 ปีกว่าที่จะได้เสรีภาพแห่งประชาธิปไตยกลับคืนมา

หลายคนที่อยู่ในที่ประชุมแห่งนี้รู้ว่ารัฐบาลที่ดิฉันพูดถึงคือรัฐบาลที่พี่ชายของดิฉัน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

หลายคนที่ไม่รู้จักดิฉัน อาจบอกว่า เธอจะบ่นไปทำไม? เป็นเรื่องปกติในกระบวนการการเมืองที่รัฐบาลมาแล้วก็ไป ซึ่งหากตัวดิฉันและครอบครัวของดิฉันต้องเจ็บปวดแต่ฝ่ายเดียว ดิฉันก็คงจะปล่อยวาง

แต่นั่นก็ไม่ใช่ความเป็นไปที่เกิดขึ้น จากการรัฐประหารประเทศไทยต้องถอยหลังและสูญเสียความน่าเชื่อถือต่อนานาชาติ หลักนิติธรรมและกระบวนการกฎหมายถูกทำลาย โครงการและแผนงานที่พี่ชายของดิฉันริเริ่มตามที่ประชาชนต้องการถูกยกเลิก ประชาชนเกิดความรู้สึกว่าสิทธิเสรีภาพของเขาถูกปล้นไป

คำว่า “ไทย” หมายความว่า “อิสระ” และประชาชนคนไทยก็ได้ลุกขึ้นต่อสู้เรียกร้องเพื่อให้ได้เสรีภาพคืนมา แต่ในเดือนพฤษภาคม 2553 มีการสลายการชุมนุมของผู้เรียกร้องกลุ่มคนเสื้อแดง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง91 คนในใจกลางย่านธุรกิจของกรุงเทพฯ

คนบริสุทธิ์ถูกลอบยิงโดยสไนป์เปอร์ แกนนำการชุมนุมต้องติดคุกหรือหลบหนีไปต่างประเทศ และแม้แต่ทุกวันนี้ยังคงมีเหยื่อทางการเมืองจากการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่ติดคุกอยู่

ประชาชนคนไทยไม่ท้อถอยและยืนยันที่จะเดินไปข้างหน้า จนในที่สุดรัฐบาลในขณะนั้นต้องจัดให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งก็มีฝ่ายปฏิกิริยาต่อต้านประชาธิปไตยที่เชื่อว่าจะบริหารจัดการและบิดเบือนเจตนารมณ์ประชาธิปไตยได้ต่อ แต่ในที่สุดพวกเขาก็ไม่สามารถปฏิเสธความต้องการของประชาชนได้ ดิฉันได้รับการเลือกตั้งด้วยเสียงส่วนใหญ่ขอประเทศ แต่เรื่องราวนั้นยังไม่จบ

มีความชัดเจนว่าผู้ที่มีปฏิกิริยาต่อต้านประชาธิปไตยยังคงอยู่ รัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นในรัฐบาลภายใต้คณะรัฐประหารได้ใส่กลไกที่ตีกรอบเพื่อจำกัดความเป็นประชาธิปไตย

ตัวอย่างหนึ่งที่ดีในประเด็นนี้ จะเห็นได้จากที่จำนวนครึ่งหนึ่งของวุฒิสภาไทยมาจากการเลือกตั้ง แต่อีกครึ่งหนึ่งกลับได้รับการแต่งตั้งโดยกลุ่มคนเล็กๆกลุ่มหนึ่ง ยิ่งกว่านั้น กลไกที่เรียกว่าองค์กรอิสระได้ใช้อำนาจเกินขอบเขตแทนประชาชนเจ้าของอำนาจที่แท้จริงเป็นการดำเนินการเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหนึ่งมากกว่าเพื่อคนส่วนใหญ่ของสังคม

นี่คือความท้ายทายของประชาธิปไตยไทยในปัจจุบัน ดิฉันนั้นต้องการเห็นความปรองดองเกิดขึ้นในประเทศไทยและประชาธิปไตยของไทยพัฒนาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยหลักนิติธรรมและกระบวนการทางกฎหมายที่แข็งแรงมีขั้นตอนที่ชัดเจนโปร่งใสและเมื่อนั้นทุกคนจะสามารถมั่นใจได้ว่าเขาจะได้รับการดูแลที่ยุติธรรม เจตจำนงนี้ ดิฉันได้แสดงออกโดยประกาศเป็นนโยบายต่อที่ประชุมของรัฐสภา ก่อนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล

ความมีประชาธิปไตยทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเมือง เกิดสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดการลงทุน นำมาสู่การสร้างงานสร้างรายได้ ที่สำคัญดิฉันเชื่อว่าเสรีภาพทางการเมืองเป็นการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้วยการเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจและนำมาซึ่งการลดช่องว่างทางรายได้ระหว่างคนจนคนรวย

นี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นความสำคัญที่จะต้องสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาชนในระดับรากหญ้า เราจะต้องเดินหน้าปฏิรูปการศึกษา เพราะการศึกษาสร้างโอกาสด้วยความรู้ และปลูกฝังวัฒนธรรมทางประชาธิปไตยในวิถีชีวิตของประชาชน

เมื่อประชาชนมีความรู้ ประชาชนจะสามารถตัดสินใจด้วยข้อมูลที่ครบถ้วนและสามารถปกป้องความเชื่อของตนจากผู้ที่ต้องการกดขี่ และนี่คือเหตุผลที่ประเทศไทยสนับสนุนข้อเสนอของมองโกเลียในที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติเกี่ยวกับการศึกษาและประชาธิปไตย

การลดช่องว่างระหว่างคนรวยคนจนก็สำคัญเช่นกันมนุษย์ทุกคนควรมีโอกาสที่เท่าเทียมกัน เราต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สิ่งนี้จะทำให้ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมที่แท้จริงในการพัฒนาเศรษฐกิจและเสริมสร้างประชาธิปไตยของประเทศ

นี่คือเหตุผลที่รัฐบาลต้องริเริ่มนโยบายที่จะเพิ่มโอกาสให้ประชาชนสร้างชีวิตที่ดีกว่า และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ดิฉันได้เริ่มต้นไว้หลายโครงการ รวมถึงการสร้างกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี การสนับสนุนผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น และวิสาหกิจขนดกลางขนาดย่อม ในขณะที่ได้กำหนดมาตรการยกระดับรายได้ของเกษตรกร

 และดิฉันเชื่อว่าเราต้องการการนำที่มีประสิทธิภาพและมีความสร้างสรรค์ ประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายและหลักนิติธรรมตลอดจนความสร้างสรรค์ในการหาทางออกที่สันติในการแก้ไขปัญหาของประชาชน

เราต้องการการนำที่ไม่จำกัดอยู่เฉพาะในซีกรัฐบาลแต่ในฝ่ายค้านและประชาชนทุกคนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกคนต้องเคารพกฎหมายและช่วยกันสร้างประชาธิปไตย

ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ,

 อีกบทเรียนที่ได้เรียนรู้คือเพื่อนในต่างประเทศมีความสำคัญ การกดดันจากนานาชาติที่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยทำให้กระบวนการประชาธิปไตยในประเทศไทยคงอยู่ได้ การคว่ำบาตรและการไม่ยอมรับเป็นกลไกที่สำคัญที่จะหยุดกระบวนการปฏิกิริยาที่ต่อต้านประชาธิปไตย

เวทีนานาชาติอย่างประชาคมประชาธิปไตยแห่งนี้มีบทบาทที่จะช่วยให้ประชาธิปไตยยืนหยัดอยู่ได้ การส่งเสริมและปกป้องประชาธิปไตยด้วยการหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นประสบการณ์และสร้างความร่วมมือ หากประเทศใดก็ตาม ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย ทุกคนต้องร่วมกันกดกันเพื่อการเปลี่ยนแปลงและนำเสรีภาพกลับคืนสู่ประชาชน

ดิฉันขอยืนยันว่าจะให้การสนับสนุนเวที่นี้เวทีนี้และการดำเนินงานของสภาบริหาร ( Governing Council ) เพื่อจะได้ช่วยให้ประชาธิปไตยแข็งแกร่งขึ้นทั่วโลกนอกจากนี้ ดิฉันขอชื่นชมประธานาธิบดีมองโกเลียสำหรับข้อริเริ่มความเป็นหุ้นส่วนเอเชียเพื่อประชาธิปไตย ( Asian Partnership Initiative for Democracy ) และทางรัฐบาลไทยพร้อมที่จะส่งเสริมความร่วมมือในส่วนนี้

ท่านผู้มีเกียรติ,

 ดิฉันขอปิดท้ายด้วยการประกาศว่า ดิฉันหวังว่าความเจ็บปวดที่ครอบครัวของดิฉันได้รับ ที่ครอบครัวของเหยื่อทางการเมืองไทย และครอบครัวของผู้เสียชีวิตทั้ง 91 คนในเหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 ต้องเผชิญจะเป็นความเจ็บปวดครั้งสุดท้ายสำหรับประเทศไทย

ขอให้เราทุกคนสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยเพื่อที่เสรีภาพและอิสรภาพของมนุษย์ได้รับการปกปักษ์รักษาเพื่อลูกหลานและคนรุ่นต่อๆไป

ขอบคุณค่ะ"

แฉเอกสารศาลปกครองเรืองไกรฟ้องชัช


เปิดคำสั่งศาลปกครองสูงสุด 748/2555 มัด เรืองไกร มั่วข้อมูล เหมาคำร้องของตัวเองกล่าวหา ชัช พ้นตำแหน่ง ตุลาการ เป็นคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ทั้งที่วินิจฉัย แค่ มีอำนาจพิจารณาคดีได้ และ ใครมีสิทธิฟ้องคดีเท่านั้น

จากกรณีที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตส.ว.สรรหา ออกมาเคลื่อนไหวกดดันให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยุติการปฏิบัติหน้าที่ทั้งคณะ โดยหยิบยกคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 748/2555 มาอ้างว่า คำสั่งดังกล่าวสรุปข้อเท็จจริงว่า นายชัช ชลวร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้พ้นตำแหน่งตุลาการด้วยการลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค. 2554 จึงไม่อาจเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้อีก เพราะขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 208 แต่คณะตุลาการฯ อีก 8 คน กลับยอมให้ นายชัช เข้าเป็นตุลาการฯ ได้ต่อไป ทั้งที่ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ โดยอ้างว่าศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาข้อเท็จจริง และอ่านคำสั่งเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2556 แต่ไม่สามารถมีคำสั่งได้ เนื่องจากผู้ร้องไม่ใช่ผู้เสียหาย โดยได้พิจารณาไว้ว่า ผู้เสียหายคือ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วยกันเองนั้น ถือเป็นการบิดเบือนคำสั่งศาลปกครองสูงสุด เนื่องจากศาลปกครองสูงสุดมิได้มีการวินิจฉัยเกี่ยวกับสถานะความเป็นตุลาการของนายชัช ตามที่นายเรืองไกรกล่าวอ้างแต่อย่างใด

ทั้งนี้จากการตรวจสอบคำสั่งศาลปกครองสุงสุดดังกล่าวพบว่า เป็นคดีที่ นายเรืองไกร เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายชัช ชลวร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นการอุทธรณ์คดีหลังจากที่ศาลปกครองชั้นต้นไม่รับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณา

โดยในคำสั่งศาลปกครองสูงสุดฉบับนี้ได้บรรยายถึงคำฟ้องของนายเรืองไกร ที่กล่าวอ้างว่า การลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญของนายชัช ชลวร เมื่อวันที่ 10 ส.ค.2554 มีผลให้ต้องพ้นตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย และในการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2554 ที่มีมติเลือกนายวสันต์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ถือเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 เนื่องจากเป็นการร้องว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่นายเรืองไกร ไม่ใช่ผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้ เพราะผู้เสียหายคือคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จึงมีคำสั่งยกคำร้องของนายเรืองไกร ยืนตามศาลปกครองชั้นต้น

จะเห็นได้ว่าคำสั่งศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว เพียงแต่วินิจฉัยว่าศาลปกครองมีอำนาจที่จะพิจารณาคดีได้และใครคือผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีได้เท่านั้น ไม่ได้มีส่วนใดที่พิจารณาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำร้องของนายเรืองไกร ที่กล่าวหาว่า นายชัช พ้นจากตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นับจากวันที่ลาออกจากประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตามที่นายเรืองไกรนำมากล่าวอ้างแม้แต่น้อย การที่นายเรืองไกรนำเรื่องดังกล่าวมาขยายผลจึงเป็นการนำความเห็นตามคำร้องของตัวเองมาแอบอ้างว่าเป็นการพิจารณาข้อเท็จจริงจากคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 748/2555
//////////
ที่มา FB สายตรงภาคสนาม
29/4/2556

ความทุกข์ของคนไทยที่ต้องออกมาร่วมใจกันฝ่าข้ามไปให้ได้


: กระดานความคิด โดยพล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์

              นโปเลียนมหาราชกล่าวไว้ว่า “เราต้องรู้จักเปลี่ยนและเรียนรู้จากความผิดพลาดถ้าอยากจะรักษาอำนาจให้ยั่งยืน” เป็นเรื่องที่เป็นความจริงและโต้เถียงไม่ได้ แต่จะมีผู้ที่ขึ้นสู่อำนาจสักกี่คนที่นึกถึงและเข้าใจกฎแห่งกรรมข้อนี้

              เส้นทางการเติบโตขึ้นสู่อำนาจของพรรคไทยรักไทยมาสู่พรรคพลังประชาชนจนถึงพรรคเพื่อไทยในปัจจุบันนี้ มีบทเรียนสำคัญทิ้งไว้มากมาย ตลอดเส้นทางที่ผ่านมา 10 ปีเต็ม เป็นบทเรียนที่ซ้ำซาก และจะต้องแก้ไขให้ได้ถ้ายังอยากอยู่ในอำนาจต่อไป เช่น ความไม่โปร่งใสในการบริหารงานเกี่ยวกับเรื่องการทุจริต, ความไม่ชัดเจนต่อความจงรักภักดีต่อสถาบัน และการไม่เคารพในกติกาของบ้านเมือง บทเรียนทั้ง 3 เรื่องนี้เองที่พรรคเพื่อไทยไม่เคยแก้ไขอย่างจริงจัง ไม่เคยคิดจะก้าวข้ามมันไป มีแต่จะทำให้เพิ่มมากขึ้นอีก อย่าลืมว่าประชาชนคนไทยไม่ใช่กบไม่ใช่เขียดที่จะมานิ่งทนต่อสถานการณ์ที่จะทำลายบ้านทำลายเมืองอย่างแน่นอน แม้ส่วนใหญ่จะเป็นคนดีที่ถูกขนานนามว่า “พวกไทยเฉย” ก็จะทนไม่ได้เช่นกัน ความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงแทบไม่ได้ ถ้าสถานการณ์ทางการเมืองเป็นอยู่แบบนี้ จนกระทั่งมีคำพูดที่กล่าวกันทั่วไปว่า “จะให้บ้านเมืองถอยหลังไปสัก 20 ปี ก็ยอม ขอให้เรื่องต่างๆ ได้ยุติลงกันไปซะที”

              บ้านเมืองเรามีปัญหารออยู่หลายเรื่อง ซึ่งแต่ละเรื่องล้วนแต่เป็นปัญหาที่จะสร้างความขัดแย้งขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถึงขั้นที่กลุ่มคนเสื้อแดงเตรียมจัดชุมนุมขู่ศาลรัฐธรรมนูญ จะยึดศาล ซึ่งกรณีนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า “คนเสื้อแดงไม่ได้เกี่ยวข้องกับพรรคเพื่อไทย”, การผลักดัน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งอาจก่อผลกระทบต่อหลักการใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกันขึ้นในหลายประเด็น โดยอ้างการปรองดองแต่การกระทำของฝ่ายที่เรียกร้องความปรองดองกลับไม่ได้ทำในลักษณะ “ปรองดอง”, การกู้เงิน 2ล้านล้านบาท ทั้งๆ ที่กู้เงิน 3.5 แสนล้านคราวที่แล้วก็ไม่แถลงผลงานเลย นอกจากนั้นยังน่าวิตกกับปัญหาการเติบโตของกลุ่มก่อการร้ายภาคใต้อย่างก้าวกระโดดหลังการเซ็นเอ็มโอยู กับรัฐบาลไทย ประเด็นนี้ก็ยังจะฝืนเดินหน้าต่อไปโดยไม่เข้าใจถึงผลกระทบทางสากลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

              ความหวังที่จะให้บ้านเมืองสงบนั้นมีทางเดียว คือรัฐบาลจะต้องทบทวนและเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีตแล้วรีบแก้ไขโดยเร็วเท่านั้น ส่วนพวกเราประชาชนชาวไทยอย่าไปวิตกกังวลอะไรมากนัก อะไรมันจะเกิดก็ต้องเกิด ถ้ามันรุนแรงจริงๆ ก็ดี แสดงว่าทั้งรัฐบาลก็บริหารงานไม่ได้เรื่อง ฝ่ายเสื้อแดงก็ตั้งใจก่อเหตุจริงๆ มาถึงตอนนี้แล้ว คงไม่มีใครยอมปล่อยให้บ้านเมืองเราล่มสลายเพราะเรื่องแค่นี้หรอกครับ จะได้ “……” ล้างไพ่กันใหม่เสียที อย่าลืมว่าคนไทยเราไม่เหมือนชาติไหนในโลก ไอ้เรื่องเอาคนเลวมาข่มขู่คนดีเพื่อให้คนดีเกรงกลัวนั้น ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นในสังคมไทยได้ 100% ปัจจุบันไม่มีใครกลัวใครหรอกครับ เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันว่าจะเกิดขึ้นก็เกิดขึ้นได้เสมอเมื่อความอดทนของคนส่วนใหญ่หมดไป

              “Freedom Is Doing What You Like Under The Law” อิสรภาพคือการกระทำอะไรก็ได้ ภายใต้กฎเกณฑ์ของกฎหมาย (มองเตสกิเออร์ : ค.ศ.1689-1755) หลักการประชาธิปไตยข้อนี้กำลังถูกละเลยโดยคนฝ่ายรัฐบาลเองหรือเปล่า คิดว่าพอทุกคนอ่านจบก็ได้คำตอบขึ้นมาในใจทันที

              การที่ ส.ส. และ ส.ว.ส่วนหนึ่งมักจะกล่าวอ้างอยู่เสมอว่า ตนเองมาจากการเลือกตั้งแล้วจะทำอะไรได้ดังใจชอบ โดยไม่มีองค์กรอิสระคอยตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจนั้น ไม่ใช่ความคิดในระบอบประชาธิปไตยแน่นอน ดูตัวอย่างจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ได้ ถ้าท่าน ส.ส. และ ส.ว.ผู้ทรงเกียรติทั้ง 312 คน ที่พยายามจะยื่นหนังสือปิดผนึกต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อปฏิเสธอำนาจศาล โดยอ้างว่าศาลก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัตินั้น อยากให้ผู้ทรงเกียรติเหล่านั้นลองคิดทบทวนดูให้ดีว่าตัวเองทำหน้าที่อะไร เป็นหน้าที่ของตัวแทนประชาชน หรือทำหน้าที่เป็นพนักงานบริษัทที่ต้องทำตามคำสั่งเจ้าของบริษัทอยู่ตลอดเวลา แค่นี้ก็จะนึกออกได้ทันทีว่าตนเองทำผิด หรือทำถูก

              ปัจจุบันมีผู้ยื่นคำร้องขอให้ระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และมาตรา 237 และมีผู้ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในประเด็นอื่นๆ ติดตามมาอีกหลายกลุ่ม ซึ่งยังไม่แน่ใจว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยออกมาในรูปแบบใด แต่ก็มีการแสดงท่าทีไม่ยอมรับอำนาจศาลกันขึ้นมาเป็นระยะๆ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของอำนาจการปกครองในระบอบประชาธิปไตย วินิจฉัยแล้ว กลุ่ม ส.ส. และ ส.ว.กลุ่มหนึ่งไม่ยอมรับ ก็อยากจะถามว่า เหตุผลที่ไม่ยอมรับคืออะไร เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า ผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นมีผลผูกพันทุกองค์กรรวมถึงรัฐสภาด้วย ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ได้ มันเป็นกติกาสากลที่คนทั่วโลกเขารู้ เมื่อมีกฎเกณฑ์ห้ามไว้แต่ก็ยังขับรถฝ่าไฟแดงไปเอง จะไปโทษใครนอกจากตัวเอง เช่นเดียวกันถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่ถูกต้อง และมีคำสั่งตามขอบเขตของกฎหมายโดยได้พึ่งพาหลักรัฐศาสตร์ ก็อาจเป็นผลทำให้พรรคประชาธิปัตย์ กลับมาเป็นพรรคที่มีเสียงข้างมากในสภาได้ทันที ดังนั้น “อย่าปากกล้า แต่ขาสั่น” กล้าทำก็ต้องกล้ารับครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยน่าจะทราบดีอยู่แล้ว แต่จะคาดคะเนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นได้หรือเปล่าว่ามันจะรุนแรงขนาดไหน นั่นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง ลองติดตามดูกันต่อไปครั