PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

ความทุกข์ของคนไทยที่ต้องออกมาร่วมใจกันฝ่าข้ามไปให้ได้


: กระดานความคิด โดยพล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์

              นโปเลียนมหาราชกล่าวไว้ว่า “เราต้องรู้จักเปลี่ยนและเรียนรู้จากความผิดพลาดถ้าอยากจะรักษาอำนาจให้ยั่งยืน” เป็นเรื่องที่เป็นความจริงและโต้เถียงไม่ได้ แต่จะมีผู้ที่ขึ้นสู่อำนาจสักกี่คนที่นึกถึงและเข้าใจกฎแห่งกรรมข้อนี้

              เส้นทางการเติบโตขึ้นสู่อำนาจของพรรคไทยรักไทยมาสู่พรรคพลังประชาชนจนถึงพรรคเพื่อไทยในปัจจุบันนี้ มีบทเรียนสำคัญทิ้งไว้มากมาย ตลอดเส้นทางที่ผ่านมา 10 ปีเต็ม เป็นบทเรียนที่ซ้ำซาก และจะต้องแก้ไขให้ได้ถ้ายังอยากอยู่ในอำนาจต่อไป เช่น ความไม่โปร่งใสในการบริหารงานเกี่ยวกับเรื่องการทุจริต, ความไม่ชัดเจนต่อความจงรักภักดีต่อสถาบัน และการไม่เคารพในกติกาของบ้านเมือง บทเรียนทั้ง 3 เรื่องนี้เองที่พรรคเพื่อไทยไม่เคยแก้ไขอย่างจริงจัง ไม่เคยคิดจะก้าวข้ามมันไป มีแต่จะทำให้เพิ่มมากขึ้นอีก อย่าลืมว่าประชาชนคนไทยไม่ใช่กบไม่ใช่เขียดที่จะมานิ่งทนต่อสถานการณ์ที่จะทำลายบ้านทำลายเมืองอย่างแน่นอน แม้ส่วนใหญ่จะเป็นคนดีที่ถูกขนานนามว่า “พวกไทยเฉย” ก็จะทนไม่ได้เช่นกัน ความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงแทบไม่ได้ ถ้าสถานการณ์ทางการเมืองเป็นอยู่แบบนี้ จนกระทั่งมีคำพูดที่กล่าวกันทั่วไปว่า “จะให้บ้านเมืองถอยหลังไปสัก 20 ปี ก็ยอม ขอให้เรื่องต่างๆ ได้ยุติลงกันไปซะที”

              บ้านเมืองเรามีปัญหารออยู่หลายเรื่อง ซึ่งแต่ละเรื่องล้วนแต่เป็นปัญหาที่จะสร้างความขัดแย้งขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถึงขั้นที่กลุ่มคนเสื้อแดงเตรียมจัดชุมนุมขู่ศาลรัฐธรรมนูญ จะยึดศาล ซึ่งกรณีนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า “คนเสื้อแดงไม่ได้เกี่ยวข้องกับพรรคเพื่อไทย”, การผลักดัน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งอาจก่อผลกระทบต่อหลักการใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกันขึ้นในหลายประเด็น โดยอ้างการปรองดองแต่การกระทำของฝ่ายที่เรียกร้องความปรองดองกลับไม่ได้ทำในลักษณะ “ปรองดอง”, การกู้เงิน 2ล้านล้านบาท ทั้งๆ ที่กู้เงิน 3.5 แสนล้านคราวที่แล้วก็ไม่แถลงผลงานเลย นอกจากนั้นยังน่าวิตกกับปัญหาการเติบโตของกลุ่มก่อการร้ายภาคใต้อย่างก้าวกระโดดหลังการเซ็นเอ็มโอยู กับรัฐบาลไทย ประเด็นนี้ก็ยังจะฝืนเดินหน้าต่อไปโดยไม่เข้าใจถึงผลกระทบทางสากลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

              ความหวังที่จะให้บ้านเมืองสงบนั้นมีทางเดียว คือรัฐบาลจะต้องทบทวนและเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีตแล้วรีบแก้ไขโดยเร็วเท่านั้น ส่วนพวกเราประชาชนชาวไทยอย่าไปวิตกกังวลอะไรมากนัก อะไรมันจะเกิดก็ต้องเกิด ถ้ามันรุนแรงจริงๆ ก็ดี แสดงว่าทั้งรัฐบาลก็บริหารงานไม่ได้เรื่อง ฝ่ายเสื้อแดงก็ตั้งใจก่อเหตุจริงๆ มาถึงตอนนี้แล้ว คงไม่มีใครยอมปล่อยให้บ้านเมืองเราล่มสลายเพราะเรื่องแค่นี้หรอกครับ จะได้ “……” ล้างไพ่กันใหม่เสียที อย่าลืมว่าคนไทยเราไม่เหมือนชาติไหนในโลก ไอ้เรื่องเอาคนเลวมาข่มขู่คนดีเพื่อให้คนดีเกรงกลัวนั้น ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นในสังคมไทยได้ 100% ปัจจุบันไม่มีใครกลัวใครหรอกครับ เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันว่าจะเกิดขึ้นก็เกิดขึ้นได้เสมอเมื่อความอดทนของคนส่วนใหญ่หมดไป

              “Freedom Is Doing What You Like Under The Law” อิสรภาพคือการกระทำอะไรก็ได้ ภายใต้กฎเกณฑ์ของกฎหมาย (มองเตสกิเออร์ : ค.ศ.1689-1755) หลักการประชาธิปไตยข้อนี้กำลังถูกละเลยโดยคนฝ่ายรัฐบาลเองหรือเปล่า คิดว่าพอทุกคนอ่านจบก็ได้คำตอบขึ้นมาในใจทันที

              การที่ ส.ส. และ ส.ว.ส่วนหนึ่งมักจะกล่าวอ้างอยู่เสมอว่า ตนเองมาจากการเลือกตั้งแล้วจะทำอะไรได้ดังใจชอบ โดยไม่มีองค์กรอิสระคอยตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจนั้น ไม่ใช่ความคิดในระบอบประชาธิปไตยแน่นอน ดูตัวอย่างจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ได้ ถ้าท่าน ส.ส. และ ส.ว.ผู้ทรงเกียรติทั้ง 312 คน ที่พยายามจะยื่นหนังสือปิดผนึกต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อปฏิเสธอำนาจศาล โดยอ้างว่าศาลก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัตินั้น อยากให้ผู้ทรงเกียรติเหล่านั้นลองคิดทบทวนดูให้ดีว่าตัวเองทำหน้าที่อะไร เป็นหน้าที่ของตัวแทนประชาชน หรือทำหน้าที่เป็นพนักงานบริษัทที่ต้องทำตามคำสั่งเจ้าของบริษัทอยู่ตลอดเวลา แค่นี้ก็จะนึกออกได้ทันทีว่าตนเองทำผิด หรือทำถูก

              ปัจจุบันมีผู้ยื่นคำร้องขอให้ระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และมาตรา 237 และมีผู้ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในประเด็นอื่นๆ ติดตามมาอีกหลายกลุ่ม ซึ่งยังไม่แน่ใจว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยออกมาในรูปแบบใด แต่ก็มีการแสดงท่าทีไม่ยอมรับอำนาจศาลกันขึ้นมาเป็นระยะๆ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของอำนาจการปกครองในระบอบประชาธิปไตย วินิจฉัยแล้ว กลุ่ม ส.ส. และ ส.ว.กลุ่มหนึ่งไม่ยอมรับ ก็อยากจะถามว่า เหตุผลที่ไม่ยอมรับคืออะไร เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า ผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นมีผลผูกพันทุกองค์กรรวมถึงรัฐสภาด้วย ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ได้ มันเป็นกติกาสากลที่คนทั่วโลกเขารู้ เมื่อมีกฎเกณฑ์ห้ามไว้แต่ก็ยังขับรถฝ่าไฟแดงไปเอง จะไปโทษใครนอกจากตัวเอง เช่นเดียวกันถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่ถูกต้อง และมีคำสั่งตามขอบเขตของกฎหมายโดยได้พึ่งพาหลักรัฐศาสตร์ ก็อาจเป็นผลทำให้พรรคประชาธิปัตย์ กลับมาเป็นพรรคที่มีเสียงข้างมากในสภาได้ทันที ดังนั้น “อย่าปากกล้า แต่ขาสั่น” กล้าทำก็ต้องกล้ารับครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยน่าจะทราบดีอยู่แล้ว แต่จะคาดคะเนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นได้หรือเปล่าว่ามันจะรุนแรงขนาดไหน นั่นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง ลองติดตามดูกันต่อไปครั

ไม่มีความคิดเห็น: