PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2557

นายกฯปู สั่ง ผบ.ตร.เอาผิด"โกตี๋"หมิ่นสถาบัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 15.00 น. นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า “น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม สั่งการให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีทำหนังสือถึง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ให้ดำเนินคดีอาญากับนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ (โก๋ตี๋) ด้วยปัจจุบันได้ปรากฏคลิปเผยแพร่ทางสื่อต่างๆ ซึ่งมีเนื้อหาในลักษณะที่อยู่ในประการที่จะเข้าข่ายกระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามประมวลกฎหมาย โดยเฉพาะคลิปที่มีการเผยแพร่ของนายวุฒิพงศ์ ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจึงได้มีบัญชาให้สืบสวนข้อเท็จจริงและสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายอาญา โดยหนังสือดังกล่าวได้ส่งถึง ผบ.ตร. แล้ว ทั้งนี้ สืบเนื่องจากกรณีมีการเผยแพร่วิดีโอคลิปตามสื่อต่างๆ ที่นายวุฒิพงศ์ ให้สัมภาษณ์สำนักข่าว VICE NEWS สื่อต่างประเทศเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศและมีการพาดพิงสถาบัน”




พลตรี เหรียญทอง แน่นหนา:ทหารหรือประชาชนที่พร้อมเป็นศัตรูต่อกลุ่มคนเนรคุณแผ่นดินเกิดเหล่านี้ได้โปรดติดต่อผมโดยตรง

ถึง ราชองครักษ์ ทหารรักษาพระองค์ ทหารทุกนาย ทุกเหล่าทัพ

เมื่ออริราชศัตรู ดังเช่น โกตี๋ และกลุ่มบุคคลที่ปรากฎตัวตนชัดเจน ทั้งยังได้ประกาศตนเป็นศัตรูกับฝ่าลองธุลีพระบาท ดังคลิปข่าวที่ปรากฎต่อสาธารณชนอย่างชัดเจนแล้ว โดยที่รัฐบาลและผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายหาได้ใส่ใจดำเนินการตามกฎหมายใดๆต่อกลุ่มคนเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งรัฐบาลและผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายยังมีพฤติกรรมที่ปล่อยปละละเลย ไม่ใส่ใจในการปฏิบัติหน้าที่ปกป้องฝ่าละอองธุลีพระบาทเสียด้วยซ้ำ

ดังนั้นทหารทุกนายจึงต้องปฏิบัติการพิทักษ์และปกป้องฝ่าลองธุลีพระบาท โดยไม่ต้องรอให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการใดๆกันอีกแล้ว เพราะทหารได้ถวายคำสัตย์ปฏิญาณตนอย่างชัดเจนแล้วว่า

“...ข้าพระพุทธเจ้าจะยอมตายเพื่อรักษาไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า ... ข้าพระพุทธเจ้า จะจงรักภักดี และถวายความปลอดภัยต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท จนชีวิตหาไม่...”

คำสัตย์ปฏิญาณตนที่ได้ถวายสัตย์แล้วนั้น จึงเป็นคำสั่ง ‘สูงสุด’ ของทหารทุกนายอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการใดๆอีกแล้ว ผู้บัญชาการทุกเหล่าทัพก็ได้ถวายคำสัตย์ปฏิญาณตนนี้ด้วยเช่นเดียวกันกับทหารทุกนาย ...ส่วนทหารแต่ละนายจะดำเนินการอย่างไรนั้น ก็สุดแล้วแต่ดุลพินิจของทหารจะกระทำ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นจะต้องเป็นการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อไม่ให้กลุ่มคนพวกนี้เหิมเกริมกันในแผ่นดินไทยนี้อีกต่อไป

ส่วนตัวของผม ...ผมขอประกาศให้ทราบว่า ...ผมขอประกาศตนเป็นศัตรูต่อกลุ่มคนที่ประกาศตนเป็นศัตรูและหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วยเช่นกัน ...การกระทำใดที่กลุ่มคนเหล่านี้ได้กระทำหรือจะกระทำต่อฝ่าละอองธุลีพระบาท ไม่ว่าจะเป็นการใช้ความรุนแรงหรือไม่ก็ตาม...การกระทำเหล่านั้นก็จะบังเกิดผลสท้อนกลับต่ออริราชศัตรูเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรมในทำนองเดียวกัน …

ทหารหรือประชาชนที่พร้อมเป็นศัตรูต่อกลุ่มคนเนรคุณแผ่นดินเกิดเหล่านี้ได้โปรดติดต่อผมโดยตรง

พลตรี เหรียญทอง แน่นหนา
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมงกุฏวัฒนะ
9 เม.ย.57

บันทึกลับ ร.อ.วัชรชัย อีกมุมหนึ่งเลย ของข้อมูล ที่น่าสนใจพิจารณา

อีกมุมหนึ่งเลย ของข้อมูล ที่น่าสนใจพิจารณา
บันทึกลับ!! ร.ท.วัชรชัย ผู้ลอบปลงพระชนม์ ร.๘????
ได้มีโอกาสเจอคุณลุงท่านหนึ่ง(ไม่ขอเปิดเผยชื่อ) ที่เป็นคนในครอบครัวของ ศ.น.พ.ชุบ โชติกเสถียร หรือฉายา " หมอสปัสซั่ม " ศัลยแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผู้ชันสูตรพลิกพระศพของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯรัชกาลที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ท่านเป็นหมอที่ยืนยันว่านอกจากจะมีการลอบปลงพระชนม์ด้วยอาวุธปืน " พาราเบลลั่ม(Parabellum) "แล้ว ยังมีการวางยาในหลวง วางยาต้นห้อง
คุณลุงนั่งกินหมูกระทะกับผมโดยบังเอิญ ที่หน้าสถานีวิหคเรดิโอ เชียงใหม่ เมื่อ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ เพราะท่านมาวันเกิดลูกของน้องชายผม เลยคุยกับแบบถูกคอเรื่องบ้านเมือง ในอดีตจนถึงปัจจุบัน คุณลุงเล่าให้ฟังเรื่องการลอบปลงพระชนม์ ร.๘ ว่า ศ.น.พ.ชุบ โชติกเสถียร ผู้เป็นบิดา จะไปเป็นพยานในศาลคดีลอบปลงพระชนม์ ปรีดีได้มาเจรจา เพื่อให้ยอมไปให้ปากคำว่า เป็นการปลงพระชนม์ตัวเอง โดยยื่นสินบนด้วยคำพูดว่า "จะเปิดคลังหลวงให้และให้เอากระเป๋าไป ๒ ใบ ใส่เงินเท่าที่ใส่ได้ ให้ไปกินอยู่ตลอดชีวิต แค่อย่าให้ปากคำกับศาลว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์"
ในสมัยนั้นถ้าใครไม่ยอมทำตาม ก็จะมี "เก๋งดำ" หรือรถยนต์เก๋งสีดำ มาจอดหน้าบ้าน นั่นหมายถึงว่าตายทุกราย จนข่าวนี้โด่งดั่ง เกิดข่าวลือว่า ศ.น.พ.ชุบ ตายแล้ว อันที่จริง ศ.น.พ.ชุบ ได้จ้างทหารมาเป็นยาม ถือปืนลูกซองอยู่ในบ้าน ใครเข้ามา "ยิงทิ้งทันที" จากนั้นก็ไปให้ปากคำกับศาลยืนยันว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์จริง ระบุว่าในการตรวจพระศพยังพบว่ามีการ "ลอบวางยา" ต้นห้องของในหลวงรัชกาลที่ ๘ และในพระวรกายของพระองค์ท่านยังพบว่า มีการพบ "น้ำมันละหุ่ง" ในปริมาณมากผิดปกติ จนทำให้เกิดอาการ "มึนงง" ก่อนการลอบปลงพระชนม์
คำว่าหมอ "สปัสซั่ม" สื่อมวลชนในสมัยนั้น ได้ให้ฉายา กับ ศ.น.พ.ชุบ เพราะคำให้การที่อธิบายถึงคนที่จะยิงตัวตายได้ จะต้องมีอาการเกร็ง หรือ "สปัสซั่ม(Spasm)" แต่ในหลวงรัชกาลที่ ๘ ไม่มีพระอาการดังกล่าว นั่นยิ่งแน่ชัดว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ ที่ ศ.น.พ.ชุบไม่ให้ปากคำตามที่นายปรีดีต้องการ เพราะท่านได้ทุนเจ้าฟ้าฯเรียนในประเทศอังกฤษตั้งแต่อายุ ๑๓ ปี มีพี่น้องคือ ๑. หลวงประเสริฐไมตรี โชติกเสถียร ๒. พลเอกหลวงสุระณรงค์ โชติกเสถียร สมุหราชองครักษ์-องคมนตรี ๓. ศ.น.พ.ชุบ โชติกเสถียร ๔. ท่านผู้หญิงศิริ สารสิน เป็นบุตรของ ทูตพระสัมผกิจปรีชา โชติกเสถียร และคุณหญิงฉลวย โชติกเสถียร ซึ่งพลเอกหลวงสุระณรงค์ โชติกเสถียร คือ สมุหราชองครักษ์ ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯให้เป็น "องคมนตรี"
โดยได้รับใช้ดูแลในหลวงรัชกาลที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙ พระพี่นางฯ สมเด็จย่า มาตั้งแต่สมัยเป็นเด็กในประเทศไทยตอนยังไม่ได้ครองราชบัลลังก์ ก่อนเสด็จฯไปประเทศสวิส ทำให้ ตระกูล "โชติกเสถียร" มีความใกล้ชิดและจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรีเป็นอย่างมาก พอเกิดการเปลี่ยนแปลงจากคณะราษฎรยึดอำนาจกันเอง ทำให้นายปรีดีหมดอำนาจ จากฝีมือจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ชีวิตของ ศ.น.พ.ชุบ จึงรอดเงื้อมมือมัจจุราชมาได้ และได้ก่อตั้งโรงพยาบาล หน่วยแพทย์อาสา จนสิ้นอายุขัยด้วยวัยชรา
ลุงตั้งข้อสงสัยว่าทำไมสำหรับ ใจ อึ้งภากรณ์ ลูก ดร.ป๋วย มาใส่ร้ายโจมตีรัชกาลที่ ๙ กล่าวหาว่าเป็นผู้ลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๘ เพื่อแย่งชิงราชบัลลังก์นั้น ผมอธิบายกับคุณลุงนิต ตามหลักยุทธศาสตร์การเมืองว่า เป็นเรื่องที่ไม่แปลก เพราะทั้ง ดร.ป๋วย ทั้ง ใจ เป็นฝ่ายซ้ายนิยมในคอมมิวนิสต์ แม้ ดร.ป๋วย จะเป็นเสรีไทยสายอังกฤษ แต่ก็ไม่นิยมเจ้าจึงเป็นพรรคพวกเดียวกับอำมาตย์ตรีปรีดี การปล่อยข่าวทำลายสถาบันกษัตริย์ เป็นหลักในการล้มล้างการปกครองในประเทศฝรั่งเศส ที่จะปล่อยข่าวทำลายราชวงศ์ก่อนที่จะมีการโค่นล้ม โดยมีรากเหง้ามาตั้งแต่ ประชาธิปไตยเกิดขึ้นนครรัฐกรีกโบราณ ช่วงศตวรรษที่ ๕ ก่อนคริสตกาล ยุคเมโสโปเตเมีย(Mesopotamia) ฟินิเซีย(Phoenician)และอินเดีย(India) ที่มีนักปราชญ์ที่รู้จักกันในนาม "เพลโต้" democracy ในภาษาอังกฤษมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณว่า "ดีมอคระเทีย" หลังการลอบปลงพระชนม์สมัยนั้น
คดีลอบปลงพระชนม์ ถูกรื้อฟื้นอีกครั้ง หลังจาก จอมพลสฤษดิ์ ยึดอำนาจจอมพล ป. สำเร็จ โดยถือหลักคิดโจโฉ ถือธงนำหน้า ปกป้องพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนวาทกรรมที่ว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง" ที่มีการประกาศในโรงภาพยนตร์สมัยนั้น เกิดจากประชาชนที่อดรนทนไม่ไหว กับการยึดครองอำนาจของคณะราษฎร เกิดการทุจริต คอร์รัปชัน(corruption) เข่น ฆ่าประชาชน ฆ่ารัฐมนตรี รัฐประหารกันเองหลายสิบครั้ง ปลงพระชนม์ในหลวง ต่างหาก
แต่ฝ่ายซ้าย หรือฝ่ายคอมมิวนิสต์จะเอามาโจมตีว่าเป็นฝีมือของ “พรรคประชาธิปัตย์” พรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นโดย นายควง อภัยวงศ์ พระอนุชาของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ ๖ โดยเจตนาโจมตีป้ายสีในหลวงรัชกาลที่ ๙ ว่าเป็นผู้ลอบปลงพระชนม์ ให้เกิดเป้าหมายสูงสุด คือ ปลุกให้ประชาชนไม่พอใจ ลุกฮือเปลี่ยนแปลงการปกครอง เหมือนที่เกิดในฝรั่งเศส รัสเซีย ฯลฯ
การสอบสวนคดีลอบปลงพระชนม์ ร.๘ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ รื้อฟื้นขึ้นเมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ มีการแต่งตั้งให้ พล ต.ต. พระพินิจชนคดี กลับเข้ารับราชการทำหน้าที่สืบสวนกรณีสวรรคตเสียใหม่ หลังถูกปลดออกในช่วงรัฐบาลจอมพล ป.(นอมินีปรีดี) บทสรุปบันทึกจากทั้งฝ่ายคอมนิวนิสต์ คือ ฝ่ายผู้แพ้ ฝ่ายขวา คือ ฝ่ายชนะ และคนกลาง ตรงกัน คือ ในหลวงราชการที่ ๘ ถูกลอบปลงพระชนม์จริง
จากพยานที่ถูกบันทึกไว้ทั้ง ๓ ฝ่าย ระบุตรงกัน รวมทั้งคำพิพากษาศาลฎีกาคดีลอบปลงพระชนม์ว่า เพราะในหลวงรัชกาลที่ ๘ จะทรงมาลงเลือกตั้งแข่งขันเป็นนายกรัฐมนตรี และจะให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ เป็นในหลวงแทน จากการสอบสวนและบันทึกส่วนพระองค์พบว่า ร.๘ พระองค์ทนไม่ได้ที่ถูกปรีดี ในฐานะนายกรัฐมนตรีและผู้สำเร็จราชการ ริดรอนพระราชอำนาจ กดขี่ จนมีบันทึกในประวัติศาสตร์ไว้ว่า " แม้แต่รถก็ไม่มีให้ใช้ หากแม่เราป่วยจะไปโรงพยาบาลจะไปอย่างไร "
จากผู้อยู่ในเหตุการณ์ระบุว่า ผู้ลงมือลอบปลงพระชนม์คือ " ร.ท.วัชรชัย " อดีตรองราชเลขาสำนักพระราชวัง คนสนิทปรีดี ที่ทำหน้าที่เป็นรองราชเลขาสมัยนั้น ที่เริ่มให้ ร.๘ ซ้อมยิงปืน เมื่อเกิดเหตุจะได้ไม่มีใครสงสัย ลอบสังหารต้นห้องจนเสียชีวิต จากนั้นเข้าไปวางยา ร.๘ แล้วจึงลอบปลงพระชนม์ด้วยอาวุธปืน เมื่อสำเร็จ ก็หลบหนีไปร่วมกับอำมาตย์ตรีปรีดียังประเทศจีน แล้วกลับมาร่วมกันก่อกบฏวังหลวง กบฏแมนฮัตตัน กบฏเมษาฮาวาย แต่ไม่สำเร็จ
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใช้อำนาจศาลสั่งประหาร นายเฉลียว ปทุมรส อดีตราชเลขานุการในพระองค์ นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศริน สองมหาดเล็กห้องพระบรรทม ในวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ฐานละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ปล่อยปละละเลยทำให้เกิดการลอบปลงพระชนม์ และเกี่ยวพันการลอบปลงพระชนม์ ส่วน ร.ท.วัชรชัย ที่หลบหนีไปกับปรีดีหลบซ่อนในจีน ได้ขอให้ทางการจีนสังหารให้ตายตกไปตามกัน ส่วนปรีดี โจวเอินไหล เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้เชิญให้ออกจากประเทศ ไปลี้ภัยในประเทศฝรั่งเศส จนกระทั่งเสียชีวิตบนโต๊ะทำงานด้วยโรคหัวใจ
เรื่องการใส่ร้ายป้ายสีสถาบันกษัตริย์ ฝ่ายคณะราษฎร ได้เริ่มกระทำการปลุกปั่นอย่างหนัก มาตั้งแต่เริ่มทำการปฏิวัติสยาม ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ และทำหนักป้ายสี ร.๙ ในยุคจอมพล ป. เพื่อหวังยึดอำนาจการปกครองให้เบ็ดเสร็จ แต่ถูกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐประหาร จึงมีการรื้อคดีลอบปลงประชนม์ขึ้นมา ต่อมาพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หรือขบวนการก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ได้นำหลักนี้มาป้ายสีอีก ก่อนเกิดเหตุการณ์วันเสียงปืนแตก คือ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ ซึ่งเป็นวันที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ใช้อาวุธโจมตีกองกำลังของรัฐบาลไทยเป็นครั้งแรก
จนกระทั่งมาในยุคขบวนการแบ่งแยกดินแดนเสื้อแดงก็นำวิธีเดียวกันมาใช้ ตั้งแต่ ราว ๑ มกราคม ๒๕๕๒ ก่อนเกิดเหตุการณ์เมษาจราจล ๑๒-๑๕ เมษายน ๒๕๕๒ เพราะกลยุทธ์ดังกล่าวในการป้ายสีสถาบันกษัตริย์ คือ หนึ่งในหลักล้มล้างการปกครอง ที่มีต้นแบบมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ระหว่าง ค.ศ. ๑๗๘๙-๑๗๙๙ เป็นยุคสมัยแห่งกลียุค (upheaval) ที่นิยมกระทำกันมากหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้ประเทศถึง ๑ ใน ๓ ของโลก กลายเป็นคอมมิวนิสต์
สิ่งเหล่านี้คือประวัติศาสตร์ กลยุทธการเมือง ที่สลับซับซ้อน ที่เป็นรากเหง้าของประเทศไทย ที่ได้ค้นคว้าจากคำบอกเล่าจากคนมีชีวิต และบันทึกของทั้งฝ่ายคอมมิวนิสต์ คนกลาง และฝ่ายชนะ อันจะเป็นบทเรียนสำหรับคนไทยทั้งชาติได้จดจำ รู้ข้อเท็จจริง มิให้เกิดขึ้นอีกในภายหน้า สิ่งหนึ่งที่ได้จากประวัติศาสตร์ คือ ผลของกรรมที่เกิดจากการกระทำ ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยไหน ผลกรรมยุติธรรมเสมอ ทำกรรมใดไว้ก็จะได้รับผลกรรมตามนั้น
“ รู้จักแผ่นดินถิ่นกำเนิด รู้จักเทิดองค์กษัตริย์ของรัฐถา รู้จักคำสั่งสอนขององค์พระศาสดา จนรู้ซึ้งคำว่า ประชาธิปไตยแบบไทยๆ “
บทกลอนในหนังสืออำนาจที่ยิ่งใหญ่ โดย ไกรสร ตันติพงศ์ ปรมาจารย์การเมือง
เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา
วันจันทร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๗
ข้อมูลอ้างอิง
๑. คำบอกเล่าจากผู้ที่มีชีวิตหลายท่าน ลุงมานิต - ไกรสร ตันติพงศ์ ปรมาจารย์การเมือง
๒. หนังสือของฝ่ายคอมมิวนิสต์-คนกลาง-เหตุการณ์หลังปฏิวัติสยาม ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
๓. บันทึกลับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์
๔. บทความเรื่องเล่าลุง... ลอบปลงพระชนม์ ร.๘ เมื่อ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖

โปรดเกล้าฯแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งประจําสํานัก พระราชวังพิเศษ ประเภทบริหาร พร้อม ขรก.ในพระองค์ 18 ราย


โปรดเกล้าฯแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งประจําสํานัก พระราชวังพิเศษ ประเภทบริหาร พร้อม ขรก.ในพระองค์ 18 ราย
____________________________
สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า เมื่อวันที่ 4 เมษายน ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุมัติให้สํานักพระราชวังดําเนินการปรับปรุงการกําหนดตําแหน่งเพื่อเลื่อนและแต่งตั้ง นาวาตรีหญิง สุทัตตาภักดิ์ ยุวราชบริรักษ์ ตําแหน่ง เจ้าพนักงานในพระองค์ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส งานมหาดเล็ก ฝ่ายพระราชวัง กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ดํารงตําแหน่ง ประจําสํานัก พระราชวังพิเศษ ตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง สํานักพระราชวัง
ตั้งแต่วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๗
ประกาศ ณ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี

วันเดียวกันยังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุมัติให้สํานักพระราชวัง ดําเนินการปรับปรุงการกําหนดตําแหน่งและรับโอนข้าราชการทหารมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์ และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง เป็นพิเศษเฉพาะราย จํานวน ๑๘ ราย ดังนี้

๑. พลตรี ชัยยุทธ อินทจาร ตําแหน่ง นายทหารปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ดํารงตําแหน่ง ประจําสํานักพระราชวังพิเศษ ตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลาง สํานักพระราชวัง

๒. ร้อยตรีหญิง เจนจิรา เถื่อนประดิษฐ์ ตําแหน่ง รักษาราชการ ประจําหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ดํารงตําแหน่งเจ้าพนักงานในพระองค์ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน งานพระราชพาหนะ ฝ่ายพระราชวัง กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สํานักพระราชวัง

๓. ร้อยตรีหญิง ชลธิชา อินทร์พรม ตําแหน่ง รักษาราชการ ประจําหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ดํารงตําแหน่งเจ้าพนักงานในพระองค์ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน งานพระราชพาหนะ ฝ่ายพระราชวัง กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สํานักพระราชวัง

๔. จ่าสิบโท นรินทร์ มูลคํา ตําแหน่ง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ V ๙๐๔ กองกิจการวังฝ่ายอํานวยการประสานงานและกิจการพิเศษ ฝ่ายเสนาธิการ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ดํารงตําแหน่ง เจ้าพนักงานในพระองค์ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับชํานาญงาน งานธุรการ ฝ่ายพระราชวัง กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สํานักพระราชวัง

๕. จ่าสิบเอก อภิชิต แสงกล้า ตําแหน่ง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ V ๙๐๔ กองส่งกําลังบํารุง(สาย ๔) ฝ่ายอํานวยการประสานงานและกิจการพิเศษ ฝ่ายเสนาธิการ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ดํารงตําแหน่ง เจ้าพนักงานในพระองค์ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับชํานาญงาน งานมหาดเล็ก ฝ่ายพระราชวัง กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สํานักพระราชวัง

๖. จ่าสิบเอก เสกสรรค์ จิตรจักร์ ตําแหน่ง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ V ๙๐๔ กองส่งกําลังบํารุง (สาย ๔) ฝ่ายอํานวยการประสานงานและกิจการพิเศษ ฝ่ายเสนาธิการ หน่วยทหาร มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ดํารงตําแหน่ง เจ้าพนักงานในพระองค์ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับชํานาญงาน งานมหาดเล็ก ฝ่ายพระราชวังกองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สํานักพระราชวัง

๗. จ่าสิบเอก ยุทธพงษ์ เนตรแสนศักดิ์ ตําแหน่ง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ V ๙๐๔กองส่งกําลังบํารุง (สาย ๔) ฝ่ายอํานวยการประสานงานและกิจการพิเศษ ฝ่ายเสนาธิการ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ดํารงตําแหน่งเจ้าพนักงานในพระองค์ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับชํานาญงาน งานชาวที่ ฝ่ายพระราชวังกองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สํานักพระราชวัง

๘. จ่าสิบเอก รังสรรค์ เอี่ยมชม ตําแหน่ง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ V ๙๐๔ กองยุทธการและการข่าว (สาย ๒/๓) ฝ่ายอํานวยการประสานงานและกิจการพิเศษ ฝ่ายเสนาธิการ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ดํารงตําแหน่งเจ้าพนักงานในพระองค์ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับชํานาญงาน งานชาวที่ ฝ่ายพระราชวัง กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สํานักพระราชวัง

๙. จ่าสิบโท ประสงค์ วัฒชะนะพงษ์ ตําแหน่ง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ V ๙๐๔กองยุทธการและการข่าว (สาย ๒/๓) ฝ่ายอํานวยการประสานงานและกิจการพิเศษ ฝ่ายเสนาธิการหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ดํารงตําแหน่ง เจ้าพนักงานในพระองค์ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับชํานาญงาน งานชาวที่ ฝ่ายพระราชวังกองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สํานักพระราชวัง

๑๐. จ่าสิบตรี สนธยา อุปจันทร์ ตําแหน่ง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ V ๙๐๔ กองบังคับการยุทธวิธี/กองบังคับการควบคุม ฝ่ายเสนาธิการ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ดํารงตําแหน่ง เจ้าพนักงานในพระองค์ ตําแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน งานชาวที่ ฝ่ายพระราชวัง กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯสยามมกุฎราชกุมาร สํานักพระราชวัง

๑๑. จ่าสิบตรี ภาณุมาท ราชชูแสน ตําแหน่ง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ V ๙๐๔ ส่วนแบบธรรมเนียมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ สายวิทยาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ฝ่ายเสนาธิการ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ดํารงตําแหน่ง เจ้าพนักงานในพระองค์ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน งานชาวที่ฝ่ายพระราชวัง กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สํานักพระราชวัง

๑๒. จ่าสิบตรี สุรพงษ์ กิตติคุณ ตําแหน่ง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ V ๙๐๔ หมวดมาตรฐานการเงิน กองร้อยกองบังคับการ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ดํารงตําแหน่ง เจ้าพนักงานในพระองค์ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน งานชาวที่ ฝ่ายพระราชวัง กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯสยามมกุฎราชกุมาร สํานักพระราชวัง

๑๓. จ่าสิบตรี สมเด็จ สมหาญ ตําแหน่ง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ V ๙๐๔ กองร้อยกองบังคับการ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ดํารงตําแหน่ง เจ้าพนักงานในพระองค์ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงานงานตํารวจวัง พระราชพิธีและสื่อสาร ฝ่ายพระราชวัง กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯสยามมกุฎราชกุมาร สํานักพระราชวัง

๑๔. สิบเอก ต่อโชค บูรณะภักดี ตําแหน่ง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ V ๙๐๔ หมวดมาตรฐานและเสนารักษ์และพยาบาลสนาม กองร้อยกองบังคับการ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ดํารงตําแหน่ง เจ้าพนักงานในพระองค์ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน งานตํารวจวัง พระราชพิธีและสื่อสาร ฝ่ายพระราชวัง กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สํานักพระราชวัง

๑๕. สิบเอก สามิตร์ ประทีป ตําแหน่ง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ V ๙๐๔ หมวดปฏิบัติการที่พักอาศัยข้าราชบริพาร หมวดมาตรฐานสวัสดิการ กองร้อยกองบังคับการ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ดํารงตําแหน่ง เจ้าพนักงานในพระองค์ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน งานตํารวจวัง พระราชพิธีและสื่อสาร ฝ่ายพระราชวังกองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สํานักพระราชวัง

๑๖. สิบเอก ชัยโย เรืองศรี ตําแหน่ง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ V ๙๐๔ หมวดมาตรฐานเสนารักษ์และพยาบาล กองร้อยกองบังคับการ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ดํารงตําแหน่ง เจ้าพนักงานในพระองค์ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน งานห้องเครื่อง ฝ่ายพระราชวัง กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สํานักพระราชวัง

๑๗. สิบเอก ศาสดา มาเจริญ ตําแหน่ง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ V ๙๐๔ หมวดมาตรฐานเสนารักษ์และพยาบาล กองร้อยกองบังคับการ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ดํารงตําแหน่ง เจ้าพนักงานในพระองค์ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน งานห้องเครื่อง ฝ่ายพระราชวัง กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สํานักพระราชวัง

๑๘. สิบโท อภิรักษ์ บุรวัฒน์ ตําแหน่ง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ V ๙๐๔ หมวดมาตรฐานเสนารักษ์และพยาบาล กองร้อยกองบังคับการ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ดํารงตําแหน่ง เจ้าพนักงานในพระองค์ ตําแแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน งานห้องเครื่อง ฝ่ายพระราชวัง กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สํานักพระราชวัง

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗