PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562

ชะตากรรมเพื่อไทยหลังยุบทษช.

 

 

หากยังจำกันได้ในช่วงปลายปี 2561 พรรคการเมืองหน้าใหม่ชื่อ “ไทยรักษาชาติ” มีตัวย่อ “ทษช.” ถูกกล่าวขวัญถึงในสังคมว่าตัวย่อนี้มาจากชื่อของ “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี ตามมาด้วยการตบเท้าเดินเข้าพรรคของอดีตสมาชิก และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (..) จากพรรคเพื่อไทย ทั้งรุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ อาทิ จาตุรนต์ ฉายแสงณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ และ ขัตติยา สวัสดิผล ก็เข้ามาอยู่ในมุ้งไทยรักษาชาติ ภายใต้ยุทธศาสตร์ “แยกกันเดิน ร่วมกันตี” ซึ่งเกิดขึ้นจากผลกระทบของระบบเลือกตั้งแบบใหม่ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ทำให้พรรคเพื่อไทยได้เก้าอี้ .น้อยลง

 

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 พรรคไทยรักษาชาติ สร้างความฮือฮา และสร้างแรงสั่นสะเทือนทางการเมืองครั้งใหญ่ ด้วยการส่ง “ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ” เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค แต่ 13 ชั่งโมงต่อมาในวันเดียวกันนี้เอง ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงมีพระราชโองการ ระบุว่า "พระมหากษัตริย์และพระบรมราชวงศ์ทุกพระองค์ ทรงดำรงสถานะอยู่เหนือการเมืองนำมาซึ่งมติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ "ยุบพรรคและส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพรรคไทยรักษาชาติ "กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา92 ของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 

 

ยุบพรรคไทยรักษาชาติ เท่ากับเพื่อไทยหายไป 100 เขต

 

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2562 เป็นวันนัดฟังผลการพิจารณาศาลรัฐธรรมนูญว่าจะมีมติ “ยุบ” พรรคไทยรักษาชาติ หรือไม่ ก่อนที่จะถึงศึกเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 หากพรรคไทยรักษาชาติถูกยุบจะเป็นเหตุให้คณะกรรมการบริหารพรรค ถูกตัดสิทธิทางการเมือง ส่วนผู้สมัคร .ทั้งหมด 284 คน ก็หมดสิทธิลงสนามรับเลือกตั้งทันที เพราะขาดคุณสมบัติเรื่องข้อกำหนดที่ต้องสังกัดพรรคการเมืองก่อนวันเลือกตั้ง 90 วัน 

 

หากสิ้นพรรคไทยรักษาชาติ เท่ากับว่า ยุทธศาสตร์ แยกกันเดิน ร่วมกันตี ไม่สามารถเดินไปตามแผนเดิมได้แล้ว อีกทั้งในการเลือกตั้ง 2562 พรรคเพื่อไทย ที่เปรียบเสมือน "พรรคแม่ก็ส่งผู้สมัครเพียง ลงเพียง 250 เขต จาก 350 เขต เพื่อเปิดทางให้พรรคไทยรักษาชาติลงไปเก็บที่นั่งและคะแนนเสียงในพื้นที่นั้นแทน เท่ากับว่าทำให้เพื่อไทยหมดโอกาสที่จะได้ ส.ส. เขตถึง 100 เขต 

 

 

 

 

เหลือพรรคเพื่อชาติ และพรรคประชาชาติร่วมตี คสช

 

ยุทธศาสตร์ “แยกกันเดิน ร่วมกันตี” ไม่ได้มีเพียงแค่พรรคเพื่อไทย และพรรคไทยรักษาชาติ หากแต่ยังมี “พรรคเพื่อชาติ” ที่นำโดยจตุพร พรหมพันธุ์ และ ยงยุทธ ติยะไพรัช ซึ่งส่งผู้สมัครถึง 349 เขต และ “พรรคประชาชาติ” ที่นำโดย วันมูหะมัดนอร์ มะทา และอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ซึ่งส่งผู้สมัครถึง 212 เขต ทว่าก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องการรับรู้ของประชาชนว่าพรรคเพื่อชาติ และพรรคประชาชาติ เป็นพรรคที่แตกตัวออกมาจากพรรคเพื่อไทย

 

อ่านเรื่องสำรวจจุดยืนพรรคไหนไม่เอา คสช. : https://ilaw.or.th/node/5082

 

การยุบพรรคไทยรักษาชาติอาจนับได้ว่าเป็น "ความเสียหายของพรรคเพื่อไทย และเครือข่ายในการที่จะเอาชนะศึกการเลือกตั้ง 2562 ไอลอว์ชวนดู 3 ชะตากรรมพรรคเพื่อไทย หากไร้พรรคไทยรักษาชาติ

 

 

 

 

กรณีแรก พลาดเก้าอี้ .เขต  คือ พรรคไทยรักษาชาติ ส่ง อดีต .พรรคเพื่อไทย ที่เคยชนะในการเลือกตั้งปี 2554 ซึ่งคาดว่าจะทำให้พรรคไทยรักษาชาติชนะในเขตเลือกตั้งนั้น โดยที่พรรคเพื่อไทยไม่ได้ส่งผู้สมัคร .ลงแข่งเลย 

 

ตัวอย่างของ จังหวัดแพร่ เดิมที ในปี 2554 มี 3 เขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งครั้งนี้เหลือ 2 เขตเลือกตั้ง โดยในปี 2554 อดีต .พรรคเพื่อไทย เขต 1 ปานหทัย เสรีรักษ์ (ภรรยาของ ทศพร เสรีรักษ์ อดีต .พรรคไทยรักไทยที่มาลงสมัครรับเลือกตั้งแทนสามี ชนะในเขตทล่มทลาย ด้วยคะแนน 61,871 เสียง ในปี 2562 ทศพร เสรีรักษ์ กลับมาลงชิงเก้าอี้ .ให้กับพรรคไทยรักษาชาติ ส่วน วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อดีต ..พรรคเพื่อไทย เขต 3 ที่เคยชนะด้วยคะแนน 61,239 เสียงเมื่อปี 2554 กลับมาสู้ศึกเลือกตั้งอีกครั้ง ในปี 2562 ภายใต้เสื้อไทยรักษาชาติ เขต 2 

 

กรณีแบบนี้ อาจทำให้เครือข่ายเพื่อไทยเสียเก้าอี้ .เขตไปเลย อย่างไรก็ดีพื้นที่ดังกล่าว พรรคเพื่อชาติส่งผู้สมัคร .แพร่ ลงทั้ง 2 เขตเลือกตั้ง 

 

 

 

กรณีที่สอง หมดโอกาสเก็บคะแนนนำไปคิด ส.ส.บัญชีรายชื่อ คือ จากทั้งหมด 176 เขต ที่พรรคไทยรักษาชาติส่งผู้สมัคร .จำนวนมากเป็นเขตที่พรรคเพื่อไทยเคยแพ้เลือกตั้งมาก่อน และเลือกตั้งไม่ส่งผู้สมัครลงแข่งด้วย จึงหวังให้พรรคไทยรักษาชาติไปเก็บคะแนน แม้จะไม่ชนะเขต แต่คะแนนที่ได้มาก็มากพอจะนำมาคิดคำนวณเป็นที่นั่ง ..แบบบัญชีรายชื่อ 

 

ตัวอย่างของ จังหวัดพิษณุโลก เขต 1 เดิมที พื้นที่เขต 1 เป็นของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งพรรคเพื่อไทยไม่เคยเอาชนะได้ แต่ก็นับว่าเป็นการแพ้ที่ยังคงได้คะแนนสูง ในปี 2554 ผู้สมัคร .เขต 1 พรรคเพื่อไทย คือ ณัฐทรัชต์ ชามพูนท ได้คะแนน 35,456 เสียง และในศึกเลือกตั้ง 2562 พรรคเพื่อไทยไม่ได้ส่งผู้สมัคร .ลงเขต 1 แต่หลีกทางเพื่อให้ผู้สมัครหน้าใหม่จากพรรคไทยรักษาชาติ มาเก็บคะแนน อย่างไรก็ดี เมื่อพรรคไทยรักษาชาติถูกยุบ ก็ยังมีพรรคเพื่อชาติ ที่ส่งผู้สมัคร ..พิษณุโลก เขต 1 ด้วย

 

 

 

กรณีที่สาม เพื่อไทยและเครือข่ายไม่ได้แม้แต่คะแนนเดียว คือ แม้พรรคเครือข่ายอย่างพรรคเพื่อชาติ จะส่งผู้สมัคร .เขต เกือบครบ 349 เขต ขาดเพียงเขตเดียวคือ เขต 1 จังหวัดฉะเชิงเทรา ขณะที่พรรคประชาชาติก็ไม่มีผู้สมัคร .เขตนี้เช่น ผู้สมัคร .เขตนี้มีคนเดียวมาจากพรรคเครือข่ายเพื่อไทยคือ อดีต .จากตระกูลดังทางการเมืองอย่าง ฐิติมา ฉายแสง จากพรรคไทยรักษาชาติ ถึงแม้จะพ่ายแพ้การเลือกตั้งเมื่อปี 2554 แต่ก็ยังมีฐานคะแนนที่มั่นคง ซึ่งแบบนี้พรรคเพื่อไทยและเครือข่ายจะเสียหายที่สุดผลก็คือจะไม่ได้คะแนนจากเขตนี้ แม้แต่คะแนนเดียว อย่างไรก็ตามคะแนนก็อาจจะไปอยู่กับพรรคแนวร่วมไปเอา คสชเช่น พรรคอนาคตใหม่ หรือพรรคเสรีรวมไทย  

 

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของบางจังหวัด และบางเขตเลือกตั้งเท่านั้น ยังมีอีกหลายเขตเลือกตั้งที่ประสบปัญหาดังตัวอย่างที่ยกมา นับเป็นความเสียหายส่วนหนึ่ง จากการยุบพรรคไทยรักษาชาติ ส่วนยุทธศาสตร์ แยกกันเดิน ร่วมกันตี จะดำเนินต่อไปยังไง พรรคการเมืองต่างๆ จะมีการปรับยุทธศาสตร์การหาเสียงช่วงโค้งสุดท้ายอย่างไร เพื่อดึงคะแนนเสียงจากผู้สนับสนุนพรรคไทยรักษาชาติที่กระจายอยู่ 176 เขต อย่างไรก็ดีท้ายที่สุด คะแนนเสียงของประชาชนจะเป็นตัวแปรสำคัญในการชี้ชะตาอนาคตพรรคเพื่อไทย ในวันที่ไร้ไทยรักษาชาติ เพราะต้องไม่ลืมว่า ทั้งสองพรรคส่งผู้สมัคร .ทับซ้อนในเขตเดียวกันถึง 76 เขต ส่งคะแนนส่วนนี้ของพรรคไทยรักษาชาติอาจย้ายมาที่พรรคเพื่อไทย นอกจากนี้ก็ยังเหลือพรรคเพื่อชาติ และพรรคประชาชาติที่พร้อมจะเป็นตัวแปรสำคัญเพื่อดึงคะแนนกลับมาในช่วงเวลาที่เหลือก่อนเลือกตั้ง

ไปทำไม

เหลืออีกแค่คืบเดียวเท่านั้นจะถึงวันชิงดำ

ศึกเลือกตั้งใหญ่ 24 มีนาคมคืบใกล้เข้ามาเต็มแก่เหลืออีกแค่ 16 วัน

แต่ในช่วงเข้าด้ายเข้าเข็มแทนที่ กกต. 7 คน จะปักหลักเตรียมการเลือกตั้งอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู

ปรากฏว่า 7 เสือ กกต.ยกโขยงเดินทางไปราชการต่างประเทศ 12 วัน (วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 10 มีนาคม)

เท่ากับขณะนี้ ไม่มี กกต.อยู่ปฏิบัติหน้าที่แม้แต่คนเดียว!!

“แม่ลูกจันทร์” ขยายความเพิ่มเติมว่าการเดินทางไปราชการต่างประเทศพร้อมกันของ กกต. 7 คน แบ่งเป็น 4 สายดังนี้คือ...

สายที่ 1 นายฉัตรไชย จันทร์พรายศรี และนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ บินสะเวิ้ปไปดูการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าที่ประเทศอังกฤษ

สายที่ 2 นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย และนายสันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์ บินไปสังเกตการเลือกตั้งล่วงหน้าที่ประเทศอเมริกา

สายที่ 3 นายปกรณ์ มหรรณพ และนายฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ บินไปดูการใช้สิทธิเลือกตั้งที่ประเทศเยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์

และสายที่ 4 นายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต.โฉบไปดูการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรที่สิงคโปร์

โดยใช้เงินภาษีประชาชนไป 12 ล้านบาทโดยประมาณ

“แม่ลูกจันทร์” มองแง่ดีว่าการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ถือเป็นหนึ่งในภารกิจของ กกต.

ดังนั้นการที่ กกต.เดินทางไปดูการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรจึงมีเหตุผลน่ารับฟัง

แต่ฟังแล้ว เกิดคำถามตามมาอีก 3 ประเด็น

คำถามข้อที่ 1 จำเป็นอย่างไรที่ กกต.ต้องเดินทางไปต่างประเทศด้วยภารกิจเดียวกันหมดทั้ง 7 คน??

ถ้าหากต้องการไปดูการใช้สิทธิเลือก ตั้งต่างประเทศ ก็ควรส่ง กกต.เดินทางไป 1 คน หรือ 2 คน

ยังเหลือ กกต.ปฏิบัติหน้าที่เตรียมการเลือกตั้งอีก 5 คน ถือว่าครบองค์ประชุม

คำถามข้อที่ 2 เหตุใด กกต.ต้องถ่อไปดูการเลือกตั้งประเทศเดียวกันพร้อมกันถึง 2 คน??

เป็นการสิ้นเปลืองภาษีประชาชน และสิ้นเปลืองเวลาเตรียมการเลือกตั้งโดยไม่จำเป็น

คำถามข้อที่ 3 ทำไม กกต.จึงไม่ไปดูเลือกตั้งที่ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีคนไทยใช้สิทธิมากที่สุด 1.5 หมื่นคน

หรือประเทศจีน ที่มีผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเกิน 1 หมื่นคน

เหตุใดจึงไปดูการเลือกตั้งที่เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์??

“แม่ลูกจันทร์” ย้ำว่าความจริง กกต.ทุกคนย่อมรู้อยู่แก่ใจว่าการแห่เดินทางไปราชการต่างประเทศในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้งเป็นเรื่องไม่สมควร

เพราะเป็นช่วงเดียวกับศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคการเมือง

และ กกต.ต้องวินิจฉัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถูกร้องว่าขาดคุณสมบัติแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี

ยังมีเรื่องร้องเรียนการหาเสียงเลือกตั้งที่ต้องเร่งพิจารณาอีกมาก มายก่ายกอง

“แม่ลูกจันทร์” สรุปว่า กกต. 7 คน จะกลับมาครบองค์ประชุมวันที่ 10 มีนาคม

เหลือเวลาฉิวเฉียดเพียง 7 วัน จะถึงวันเลือกตั้งล่วงหน้าซึ่งจะมีผู้ไปใช้สิทธิมากเป็นประวัติการณ์กว่า 2 ล้านคน

คอยดูเถอะ ถ้าการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้ามีข้อบกพร่อง หรือเกิดปัญหาวุ่นวาย??

การยกโขยงเดินทางไปต่างประเทศในช่วงหน้าสิ่วหน้าขวานของ กกต.ทั้ง 7 คน จะย้อนกลับมาเล่นงาน กกต.เต็มเปา.

ไทม์ไลน์ยุบทษช.

ไทม์ไลน์คดียุบพรรคไทยรักษาชาติ

8 ก.พ.62 

เวลา 09.10 น.ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช หัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ เสนอพระนาม ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี อยู่ในบัญชีชื่อนายกรัฐมนตรีของพรรคไทยรักษาชาติ

13.30 น.นายไพบูลย์ นิติตะวัน แถลงด่วนที่ กกต.ให้กกต.มีคำสั่งให้ พรรค ทษช.ระงับการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี เพราะผิด มาตรา 92 พรป.พรรคการเมือง ที่แม้ทูลกระหม่อมฯ จะลาออกจากฐานันดรศักดิ์มาเป็นสามัญชนแล้ว ยังเป็นสมาชิกพระราชวงศ์ โดยอ้างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 6/2553 ที่พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศ์ ไม่ต้องไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 

22.45 น.มีพระราชโองการ พระบรมราชวงศ์ต้องอยู่เหนือการเมือง ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่ได้ ทูลกระหม่อมฯยังเป็นพระบรมราชวงศ์

9 ก.พ.62

12.30 น.พรรคไทยรักษาชาติแถลงการณ์ขอน้อมรับในพระราชโองการ ไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม และรอฟังมติกกต.พร้อมทำตามและเดินหน้าต่อสู่การเลือกตั้ง

10 ก.พ.62

11.00 น.นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แจ้งข่าวจะไปยื่นกกต.ให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติ 

11 ก.พ.62

16.00น.กกต.ไม่ประกาศชื่อนายกรัฐมนตรีพรรคไทยรักษาชาติ ระบุมีพระราชโองการจึงไม่สามารถประกาศได้เพราะขัดเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ ขัดประเพณีปฏิบัติในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

12 ก.พ.62

13.30 น.ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช หัวหน้าพรรค ทษช.ปรากฏตัวเข้าพรรคครั้งแรก

15.30 น.มีข่าวว่า กกต.มีมติยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ยุบพรรค ทษช.
17.00 น.ประธาน กกต.ยืนยันยังไม่มีมติ
19.00 น.ฝ่ายกฏหมายพรรค ทษช.จะไปยื่นกกต.ขอใช้สิทธิให้ไต่สวนผู้ถูกกล่าวหา ก่อนส่ง ศาลรธน.

13 ก.พ.62

13.00 น. เลขาธิการ กกต.นำมติกกต.ยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติ
15.00 น. หัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติแถลงขอความเป็นธรรมชี้แจงหลักฐาน

14 ก.พ.62
วันแห่งความรัก

11.00 น.จาตุรนต์ ฉายแสง ,ณัฐวุฒิ ใสเกื้อ แถลงขอยุติการหาเสียงจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคดีนุบพรรค ทษช.

14.45 น. ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ รับคำร้องกกต.ไว้พิจารณาวินิจฉัยยุบพรรคไทยรักษาชาติ

15.00 น.ศาลรัฐธรรมนูญนำคำร้องแจ้งผู้ถูกกล่าวหาที่พรรค ทษช.

15.15 น.พรรคทษช.แถลงน้อมรับมติศาล รธน.ขอรวบรวมหลักฐานชี้แจงข้อกล่าวหา

18 ก.พ.62

10.30 น. ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช หัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติและกรรมการบริหารพรรค เข้าทำงานที่ที่ทำการพรรค ฝ่ายกฏหมายสรุปแนวทางสู้คดียุบพรรค

20 ก.พ.62
ครบกำหนด 7 วันศาลรัฐธรรมนูญให้เวลาพรรคไทยรักษาชาติชี้แจงข้อกล่าวหา 8 ข้อต่อสู้ ยืนยันมีเจตนาบริสุทธิ์ในการยื่นชื่อนายกรัฐมนตรี

27 ก.พ.62
ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณาคดียุบพรรคไทยรักษาชาติ

7 มีนาคม 62

13.30 น.ศาลรัฐธรรมนูญ นัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือและลงมิติ

15.00 น.ให้คู่ความ กกต.และพรรคไทยรักษาชาติ มาฟังคำวินิจฉัย #คดียุบพรรคไทยรักษาชาติ

ท่าทีสว.250

เมื่อวันที่ 6 มี.ค. นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิกาพรรคอนาคตใหม่ กล่าวในเรื่องนี้ว่า พรรคอนาคตใหม่อยากชี้ให้ทุกคนได้เห็นว่า ส.ว. 250 คน ตามบทเฉพาะการของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ให้ร่วมโหวตเลือกนายกได้ คือ เครื่องมือในการสืบทอดอำนาจของ คสช.อย่างไม่ต้องสงสัย ถึงแม้ พล.อ.ประยุทธ์ จะบอกว่าแต่ละท่านมีสมอง สามารถตัดสินใจได้เอง 

แต่ถ้าดูจากกระบวนการสรรหาแล้ว ก็ต้องถามว่า ทำไมไม่ทำอย่างโปร่งใส ทำไมไม่เปิดเผยให้ประชาชนได้รับรู้ทั้งตัวผู้ที่ถูกเทียบเชิญเป็น ส.ว. หรือแม้แต่คณะกรรมการคัดสรร ซึ่งตอนนี้เรารู้แต่เพียงว่ามี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธานคณะกรรมการสรรหา เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้ว ทั้งหมดก็จะไปอยู่ที่การตัดสินใจของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่จะเป็นคนเคาะเลือก ส.ว. ว่าใครบ้างจะเข้าไปร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี ที่มีชื่อของ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐด้วย 

ดังนั้น การที่บอกว่า ส.ว.ชุดนี้ไม่มีบทบาทอะไรมากนัก ไม่ใช่เลย เพราะบทบาทของ ส.ว.ชุดนี้สำคัญมาก นั่นคือมีบทบาทร่วมเลือกนายก มีบทบาทสำคัญคือการช่วย คสช. สืบทอดอำนาจ

“ถามว่าหลังการเลือกตั้ง การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีจะมีความยุติธรรมตรงไหน ในเมื่อฝ่ายหนึ่งมี ส.ว. 250 คน ตุนไว้อยู่ในมืออยู่แล้ว และที่สำคัญซึ่งผมอยากให้ได้ลองคิดดูก็คือ ส.ส.จำนวน 500 คนนั้น คนไทยทั้งประเทศ คือคนไทยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งกว่า 51 ล้านคน จะเป็นผู้ออกไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงเลือกเข้ามา

แต่ทว่า ส.ว.250 คน ซึ่งจะคัดสรรมาอย่างไร สัดส่วนภาคประชาชนแบบไหน กลุ่มอาชีพอะไรก็ตาม แต่สุดท้ายคนที่จะประทับตรายอมรับคือ คสช. พูดง่ายๆ ว่ามีคนหนึ่งคนเป็นคนเลือก นั่นหมายความว่า คนทั้งประเทศได้เลือกเข้าสภา 500 คน แต่คนๆ เดียวได้เลือกเข้าสภา 250 คน ซึ่งเป็น กลุ่มคนที่จะมีบทบาทอย่างสูงมากๆ” เลขาธิกาพรรคอนาคตใหม่ กล่าว

นายปิยบุตร กล่าวอีกว่า รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ชัดเจนว่ามีการวางกลไกการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารไว้อย่างโจ๋งครึ่มที่สุด โดยไม่อายเลย ยิ่งกว่าการทำรัฐประหารตลอดทุกครั้งที่ผ่านมา เพราะถ้าลองย้อนกลับไปดูรัฐธรรมนูญฉบับปี 2511 ฉบับปี 2521 หรือฉบับปี 2534 ก็จะพบว่ายังไม่กล้าวางกลไกสืบทอดอำนาจไว้ชัด ยังไม่กล้าทำถึงขนาดนี้ อย่างมากก็แค่ระบุว่านายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง

นี่ย่อมแสดงให้เห็นใช่หรือไม่ว่า คสช. คิดว่าจะควบคุมผลการเลือกตั้งไม่ได้ จึงต้องเอาแต้มต่อไปก่อน ด้วยการมี ส.ว. 250 ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี

ถ่ายแต้มไปที่ใคร

ยุบพรรคไทยรักษาชาติ เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค 10 ปี

สรุปความจากวันพิพากษา ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคำร้องของ กกต.ที่ยื่นขอให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 92 (2) ในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี เป็นการกระทำอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

โดยมติศาลรัฐธรรมนูญในประเด็นยุบพรรค “เป็นเอกฉันท์”

และมติ 6 ต่อ 3 ในบทลงโทษ ตัดสิทธิการเมือง 10 ปี

บทจบค่ายการเมืองตามยุทธศาสตร์ “แตกแบงก์พัน” ของนายใหญ่

ถึงตอนนี้ทั้ง 13 กรรมการบริหารพรรคที่ถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง จะมีบทลงโทษ ตามมาตรา 94

พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

“ห้ามมิให้ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบและถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเพราะเหตุดังกล่าว ไปจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่อีก ทั้งนี้ภายในกำหนดสิบปี นับแต่วันที่พรรคการเมืองนั้นถูกยุบ”

โดยในรายของนายรุ่งเรือง พิทยศิริ อีก 1 กรรมการบริหารพรรค ลาออกในวันที่ 4 ก.พ. ก่อนเกิดเหตุบิ๊กเซอร์ไพรส์ 8 ก.พ.นี้ ยังต้องรอลุ้น รอดโทษ “จองจำทางการเมือง” อย่างเป็นทางการ

นอกจากนี้ ในการเลือกตั้งวันที่ 24 มี.ค.นี้ ประชาชนก็ไม่สามารถเลือกผู้สมัคร ส.ส.ในนามพรรคไทยรักษาชาติ ในระบบเขตเลือกตั้งทั้งหมด 174 คน หากมีการลงคะแนนก็จะเป็นบัตรเสียทันที

ขุนศึกขุนพลในค่าย แพ้ฟาวล์คิวลงสนาม แต้มปิ๋วเรียบวุธ

จากคิวซุปเปอร์บิ๊กเซอร์ไพรส์ ข่าวใหญ่สะเทือนฟ้าสะเทือนดิน มาวันนี้ ชัดเจนว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษา ยุบพรรคไทยรักษาชาติ

ช็อกวงการเมืองกันอีกรอบ

บรรดาป้อมค่ายเครือข่ายแนวร่วมพรรคตระกูลเพื่อ และที่เชื่อมต่อสัญญาณจากคนแดนไกล ต้องรอวาระเร่งด่วนในคิวแก้เกมจาก “นายใหญ่”

ค่ายใดจะได้อานิสงส์ “แต้มส้มหล่น” ที่ค่ายไทยรักษาชาติอาจเทให้

ประเมินกันนาทีนี้ บรรดาพรรคแนวร่วม ไล่ตั้งแต่ค่ายเพื่อไทย ก็น่าจะ “รับของ” ได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย อันเป็นผลพวงตั้งแต่แรก ยุทธศาสตร์ “แตกแบงก์พัน” สับหลีก สลับพื้นที่กันกับพรรคไทยรักษาชาติ

ออกลักษณะแบ่งกันเก็บคะแนน เขตเลือกตั้ง-ปาร์ตี้ลิสต์ ดังนั้นในระบบเขตเลือกตั้ง เมื่อผู้สมัครของพรรคไทยรักษาชาติ โดนตัดสิทธิพ้นจากสนาม

ก็หาผู้สมัครพรรคเพื่อไทยทดแทนได้ยาก

โฟกัสจึงไปอยู่กับค่ายที่สถาปนากันว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตย ทั้งพรรคประชาชาติ-พรรคเสรีรวมไทย-พรรคอนาคตใหม่ ส่วนใหญ่ส่งผู้สมัครระบบเขตเกือบครบ 350 เขต อาจถ่ายคะแนนไปให้ได้

ส่วนค่ายเพื่อชาติ วันนี้เกิดศึกใน แบ่งเป็น 2 ปีก

“นายใหญ่” คอนโทรลไม่เบ็ดเสร็จ

ยังมีความเสี่ยง “เทแต้ม” แล้ว “เสียของ”

ที่แน่ๆ สำนักใดค่ายไหน ถูกเลือกเป็น “ตัวช่วย” มีโอกาส บวกเพิ่มระบบเขตเลือกตั้ง โดยเฉพาะพื้นที่ที่ผู้สมัครพรรค
ไทยรักษาชาติ ระดับตัวเต็งแต้มชัวร์ ทั้งในจังหวัดแพร่-พิจิตร

นั่นก็ยังไม่รวมคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ ภารกิจเดิม ไทยรักษาชาติกวาดเก็บ

ทั้งหมดทั้งปวง ในภาพรวมเลย เกมทิ้งไพ่ตายของ “นายใหญ่” ไม่แน่ใจว่าประเมินแล้วล่วงหน้ากับผลตอบรับ อ่านทางสัญญาณบ้านเมืองไว้หรือไม่ คาดการณ์ผลกระทบ ที่ “ได้” คุ้มกับที่ “เสีย” หรือเปล่า

เมื่อศิโรราบ ในภาวะ “จำเป็น” ต้องหมอบ ภายหลังจากเล่นเกมเสี่ยง-ของแรง

สุดท้ายจะมีโอกาส เขย่าหาช่องเพื่อคัมแบ็กอีกหรือไม่

หรือปิ๋วจากกระดาน “เกมอำนาจประเทศไทย” ยาวเลย.

ทีมข่าวการเมือง รายงาน