PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

องค์กรสื่อห่วง พ.ร.บ.ประชามติกระทบการทำหน้าที่

องค์กรสื่อห่วง พ.ร.บ.ประชามติกระทบการทำหน้าที่
ตัวแทน 5 องค์กรวิชาชีพสื่อ ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอหลักประกันในการรายงานข่าวการจัดทำประชามติ ขณะที่ กกต.ระบุว่าการเอาผิดตาม พ.ร.บ.เป็นเรื่องอยู่นอกเหนืออำนาจ ด้านกลุ่มพลเมืองผู้ห่วงใยเรียกร้องประชามติต้องมีเสรีภาพ โปร่งใส เป็นธรรม
ตัวแทนสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย รวมถึงสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ร่วมกันยื่นหนังสือถึง กกต. ในวันนี้ (25 เม.ย.) เพื่อชี้แจงข้อห่วงใยขององค์กรสื่อที่มีต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 ซึ่งอาจกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน
นายวันชัย วงศ์มีชัย นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวกับบีบีซีไทยว่า เนื้อหาในบางมาตราของ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติฯ เช่น มาตรา 61 อาจทำให้เกิดการตีความการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อว่าเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ในลักษณะจูงใจผู้มีสิทธิ์ออกเสียงในทางใดทางหนึ่ง ทางองค์กรสื่อจึงขอให้ทาง กกต.ให้หลักประกันที่ชัดเจนกับสื่อมวลชนว่าจะได้รับการคุ้มครองขณะรายงานข่าวเกี่ยวกับการทำประชามติโดยไม่ถูกขัดขวางหรือถูกดำเนินคดี และเสนอให้มีตัวแทนสื่อร่วมแสดงความเห็นในการวางหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติในการรายงานข่าวการประชามติร่วมกับกกต.ด้วย

นายวันชัยระบุว่านายประวิช รัตนเพียร ตัวแทน กกต.ผู้รับหนังสือจากองค์กรสื่อ จะนำเรื่องดังกล่าวไปหารือกับประธาน กกต. และนายประวิชระบุว่า พ.ร.บ.ประชามติฯ เป็นกฎหมายอาญา การดำเนินคดีเอาผิดต่อผู้ถูกกล่าวหาว่าละเมิด พ.ร.บ.จึงอยู่นอกเหนืออำนาจของ กกต. แม้ กกต.จะมองว่าการเคลื่อนไหวรณรงค์หรือการแสดงความคิดเห็นเรื่องประชามติร่างรัฐธรรมนูญของประชาชนเป็นเรื่องที่กระทำได้ แต่หากมีผู้ใช้ พ.ร.บ.นี้ในการฟ้องร้องบุคคลใด ก็จะต้องขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของตำรวจและศาล

วันเดียวกัน กลุ่มพลเมืองผู้ห่วงใย นำโดย น.ส.นฤมล ทับจุมพล นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ นายโคทม อารียา นายสุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง นายไพโรจน์ พลเพชร และผู้ร่วมลงชื่ออีกกว่า 100 คน รวมถึงองค์กรร่วมลงนามสนับสนุนอีก 4 องค์กร ร่วมกันออกแถลงการณ์ว่าการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส สุจริต และเที่ยงธรรมในทุกขั้นตอน เปิดให้ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนและถกแถลงด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และรอบด้าน โดยเฉพาะการมีพื้นที่สาธารณะที่ปลอดภัยสำหรับทุกฝ่ายในการแสดงความเห็นตามกรอบของกฎหมาย

ด้านขบวนการประชาธิปไตยใหม่โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่าเจ้าหน้าที่ได้เชิญตัว น.ส.เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยมหิดล ไปสน.ปทุมวัน หลังแจกเอกสารรณรงค์ให้ไม่รับร่าง รธน. ขณะที่เว็บไซต์ประชาไทรายงานว่าในตอนแรกตำรวจระบุว่าต้องการเรียกตัว น.ส.เบญจรัตน์ไปพูดคุย แต่เมื่อผู้สื่อข่าวและผู้ร่วมงานเข้าไปดูเหตุการณ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเปลี่ยนจากการขอเชิญตัว น.ส.เบญจรัตน์เป็นขอนามบัตรแทน เพื่อที่จะติดต่อเพื่อเรียกไปคุยวันอื่น


ทหารแจ้งเจ้าหน้าที่สอบแผ่นพับ "VOTE NO" หลังอาจารย์มหาวิทยาลัยเดินแจก


25 เม.ย 2559 เวลา 21:36:14 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 25 เม.ย.59 ร.ท.วินัย พลอยนุช รองผบ. ชุดปฎิบัติการพื้นที่ 1 กองพันทหารม้า ที่ 1 รักษาพระองค์ เดินทางเข้าพบ ร.ต.อ.พิชัย คำพุด รองสว.(สอบสวน) สน.ปทุมวัน เพื่อขอลงบันทึกประจำวัน โดยนำแผ่นพับ VOTE NO "7 เหตุผล ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 7 สิงหาคม 59 ประชามติเพื่ออนาคต" มาส่งมอบให้เจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐาน

ร.ท.วินัย กล่าวว่า เมื่อช่วงเวลา 13.00 น.ได้เดินทางพร้อมกำลังมาดูแลความสงบเรียบร้อยบริเวณอาคารคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากมีการเสวนา "คำถาม พ่วงท้ายมีนัยอะไร" ซึ่งเป็นการเสวนาเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเหตุการณ์ก็ดำเนินไปด้วยเรียบร้อย กระทั่งเวลา ประมาณ 16.00 น.ได้มีนางเบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว อาจารย์สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล มาเดินแจกแผ่นพับ โหวต โน ดังกล่าว บริเวณหน้าห้องประชุม จึงได้เข้าเจรจาพร้อมเชิญตัวมาพูดคุยไม่ให้แจกเอกสารแผ่นพับดังกล่าว เนื่องจากเนื้อหาในแผ่นพับเป็นเหมือนการชี้นำ

อย่างไรก็ตาม เกรงว่าจะเกิดความวุ่นวายจึงได้ขอนามบัตรพร้อมยึดเอกสารเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ลงบันทึกประจำวันไว้ก่อน โดยจะนำเอกสารแผ่นพับดังกล่าวส่งให้ผู้บังคับบัญชาตรวจสอบเนื้อหาในแผ่นพับดังกล่าวอย่างละเอียดอีกครั้ง หากพบว่าผิดกฏหมายก็จะมาแจ้งความดำเนินคดีต่อไป

สีเดียวกัน



สีเดียวกัน !!
บิ๊กตู่ ซื้อใจ กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ลั่น เป็นคนสีเดียวกัน เลือดสีเดียวกัน ใส่ชุดสีกากีเหมือนกัน ยกเป็น เครื่องจักร ฟันเฟือง ช่วยให้รถเดินหน้าได้ รัฐบาลเป็นแค่ แบตเตอร์รี่ ขอเชื่อใจผม ผมก็ไว้ใจท่าน เราต้องไม่สนับสนุนให้เกิดความแตกแยก
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวในตอนหนึ่งของการมอบนโยบายโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้าน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านภาคกลาง 6 จังหวัด กว่า 3,878 คน ที่ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
นายกฯ กล่าวว่า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นองค์กรหนึ่งที่จะต้องช่วยกันขับเคลื่อนประเทศ ซึ่งถึงวันนี้ เราทำงานร่วมกันมาเข้าสู่ปีที่ 2 ซึ่งเป็นความร่วมมือจากทุกฝ่าย ไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง หมู่บ้านถือเป็นสังคน ขนาดเล็กที่สุด และมีการพัฒนาต่อยอดมาโดยตลอด วันนี้จะต้องเร่งรัดการทำงานให้เร็วมากขึ้นกว่าเดิม อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานบ้าง
วันนี้รัฐบาลต้องทำความเข้าใจกับทุกคน ว่า การทำงานจะต้องมองที่ปัญหาของประเทศเป็นหลัก รวมทั้งโลกภายนอก บทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คือการพัฒนาท้องถิ่น ดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ รวมทั้งการแก้ปัญหาในพื้นที่ การให้การบริการ ซึ่งที่ผ่านมา ก็เห็นว่าทุกคนทำงานอย่างเต็มที่
"วันนี้ถือว่า ผมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นคนสีเดียวกัน มีเลือดสีเดียวกัน จะเห็นได้ว่าวันนี้ ผมก็ใส่ชุดสีกากีเหมือนทุกคน"
"วันนี้ถ้าเรามีความเข้าใจที่ตรงกัน อยู่ร่วมกันในสังคมให้ได้ ก็จะเป็นเรื่องที่ดีที่สุด แต่หากวันใดมีความขัดแย้ง มีความเห็นที่แตกต่าง ก็จะเกิดปัญหา
ดังนั้นจะต้องวางเป้าหมาย โดยยึดประเทศชาติ และประชาชนเป็นหลัก กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ถือเป็นส่วนสำคัญที่สุด
นอกเหนือจากการสร้างความสงบเรียบร้อยในพื้นที่แล้ว ก็ยังต้องพัฒนาร่วมกันประชาชนในพื้นที่ ก็จะถือว่าทุกคนมีส่วนร่วมกันรัฐบาลชุดนี้ และคสช. เพราะถ้าหาคนในพื้นที่ไม่เข้าใจกันแล้วจะไปไม่ได้ทุกเรื่อง จะติดขัดไปหมด วันนี้เราต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันให้ได้
"วันนี้ท่านต้องเชื่อใจผม ผมก็ไว้ใจท่าน เราต้องไม่สนับสนุนให้เกิดความแตกแยก เห็นต่างได้ แต่ต้องยึดกฎหมายเป็นหลัก ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่เป็นธรรม คนเราไม่มีทางที่จะเท่าเทียมกันได้
แม้แต่การปกครอง ในระบอบต่างๆ แต่สิ่งที่จะเท่าเทียมกันได้ คือการอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน ละเว้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่จะต้องทำวันนี้ คือทำอย่างไรสังคมจะเกิดความสงบ ไม่ขัดแย้ง ไม่เห็นต่าง" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การทำงานเราทุกคนจะต้องร่วมมือกัน เพราะถือว่าทุกคนเป็นเครื่องจักรในการพัฒนาประเทศ รัฐบาลเป็นเพียงแบตเตอร์รี่ หรือกล่องควบคุม และทุกคนก็เป็นเครื่องจักร เป็นฟันเฟืองต่างๆ สามารถทำให้รถวิ่งไปข้างหน้าได้ เฟืองตัวใดตัวหนึ่งจะขาดไปไม่ได้
"ไม่เคยไม่ชอบใคร หรือรังเกียจใครเป็นการส่วนตัว เพราะผมเป็นทหารอยู่กับพวกท่านมาก่อน วันนี้เราต้องเอาอดีตทั้งหมดมาร่วมกันดูว่าจะแก้ไขอย่างไร "
รถยนต์ที่ใช้มาก็ต้องมีการพัฒนาปรับปรุงให้ทันกับยุคสมัย ไม่ใช่ปล่อยมลพิษให้กับโลก ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ต้องช่วยกันประคับประคองรถคันนี้ให้ทันสมัย มีการขับเคลื่อนให้สอดคล้องทั้งใน และนอกประเทศ
เราจะอยู่คนเดียวในโลก หรืออาเซียนไม่ได้ เราต้องมองอนาคตในระยะยาว และเอาอดีตที่ผ่านมาดูว่าทำอะไรกันไปบ้าง ต้องแก้ไขปัญหาในอดีตให้ได้ และวางแผนอนาคตในระยะ 5-10 ปีต่อไป
"ถ้าเรายังไม่คิดแก้ปัญหา หรือพัฒนาปรับปรุงตัวเอง วันข้างหน้าหากเกิดศึก สงคราม มันก็จะย้อนกลับไม่สู่อดีตที่ไม่สามารถรวมกันสู้ได้
วันนี้เราไม่ได้สู้กันด้วยเรื่องของการสู้รบ แต่วันนี้เราต้องต่อสู้กับเรื่องเศรษฐกิจทั้งภายใน และภายนอก ซึ่งบังคับควบคุมไม่ได้ ต่อให้ทำดีอย่างไรก็ตาม ถ้าไม่ดูโลกภายนอก มันก็ไปไม่ได้ เราต้องเริ่มจากจุดที่เล็กที่สุด คือประชาชน และหมู่บ้าน เราช้าไปกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว เราหยุดรอมานานเกินไป เพราะเรามีปัญหามา ทั้งความขัดแย้ง ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม ต้องกลับมามองว่ากฎหมายอยู่ตรงไหน ถ้ามองเห็นทุกอย่างก็จบ เพราะทุกเรื่องกฎหมายเขียนไว้หมดแล้ว เพียงแต่จะใช้หรือไม่เท่านั้น อย่าลืมว่ากฎหมายยกเว้นไม่ได้ ทุกอย่างต้องกลับมาสู่กระบวนการทางกฎหมาย แล้วหาทางแก้ให้เป็นขั้นตอน
แต่แน่นอนว่าให้ทุกคนพอใจเป็นไปไม่ได้ เพราะต่างคนต่างมีความคิด รัฐบาลไม่ได้จำกัดความคิดเห็นที่แตกต่าง เพียงแต่จะต้องคิดให้ได้ก่อนว่า แตกต่างกันเพื่ออะไรเราต้องฟังเหตุผลและข้อมูลทุกด้าน ไม่ใช่หยิบยกอะไรมาเรื่องเดียวแล้วตีกันทั้งหมด ปัญหาไม่มีทางแก้ได้. ถ้าเอาความขัดแย้งขึ้นมาก่อน เราต้องมาร่วมมือทำงานกันก่อน ส่วนเรื่องความขัดแย้งค่อยมาดูที่หลังค่อยๆ แก้กันไป
วันนี้เราต้องมาร่วมกันสร้างประชาธิปไตยให้เท่าเทียม ภายใต้กฎหมายฉบับเดียวกันให้ได้เสียก่อน"นายกฯ กล่าว

นายกฯ ชำระประวัติศาสตร์....14ตุลาฯ-เมย.53-ศึกเสื้อเหลือง-แดง 22พค.57



นายกฯ ชำระประวัติศาสตร์....14ตุลาฯ-เมย.53-ศึกเสื้อเหลือง-แดง 22พค.57

แจงเดือนตุลา ยัน "ในหลวง/พระราชินี" ไม่เคยรับสั่ง ทำร้ายนศ. มีแต่ สั่งห้ามทำร้าย นศ.ทรงใช้พระราชอำนาจ ห้ามปราบไม่ให้จนท.ฝ่ายรัฐ ปราบ เพราะหาก จนท.ยุติ ประชาชนก็จะหยุด เพราะฉะนั้น อย่าไปฟังคนที่ออกมาพูด /แจง เมย.53 ยันไม่มีใครอยากจะทำร้ายประเทศ ทหารก็ลูกหลานของพวกเราทั้งสิ้น ไม่ใช่คนใจร้าย ไม่มีใครอยากทำอะไร แต่เมื่อเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายก็ต้องทำ"/แจง ศึกเสื้อ2 สี เผย ทรงรับสั่ง"ทุกคนคือประชาชนของท่าน ไม่ว่าจะข้างใด ฝ่ายใด สีใด เป็นประชาชนของท่านทั้งหมด" เผย พระองค์ท่านทรงตัดสินตรงนี้ไม่ได้ ขอให้เข้าใจด้วย จนทหารต้องมาปลดล้อค ยัน ผมก็ไม่ได้ไปยึดอำนาจมาจากนายกฯเพราะตอนนั้นเป็นรัฐบาลที่ไม่มีนายกฯ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวในตอนหนึ่งของการมอบนโยบายโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้าน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านภาคกลาง 6 จังหวัด กว่า 3,878 คน ที่ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ครบ 70 ปี เพราะฉะนั้น อย่าไปฟังคนที่ออกมาพูด
อย่างสมัยก่อนที่มีความขัดแย้งหลายๆ เหตุการณ์ เดือนตุลาคม 2516 ล้วนเป็นความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชน และนักศึกษาบ้าง ท่านก็ทรงลงมาเกี่ยวข้องได้ โดยให้พระราชอำนาจของท่าน โดยห้ามปราบให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ยุติ ประชาชนก็จะหยุด
แต่วันนี้ทความขัดแย้งเกิดที่ประชาชน ทั้งสองฝ่าย ท่านทรงรับสั่งอะไรไม่ได้ เพราะท่าน และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เคยรับสั่งไปแล้วว่า ทุกคนคือประชาชนของท่าน ไม่ว่าจะข้างใด ฝ่ายใด สีใด เป็นประชาชนของท่านทั้งหมด
เพราะฉะนั้นทุกคนต้องไปแก้กันมา เพราะท่านตัดสินตรงนี้ไม่ได้ ขอให้เข้าใจด้วย "
เรื่องต่อมาคำถามที่เกิดขึ้นคือ ทำไมจึงต้องมีทหารเข้ามา เพราะประเทศไทยมันติดล็อคว่าไม่มีอะไรมาแก้ปัญหาได้เลย ก่อนหน้าที่จะเข้ามา เราก็พยายามอย่างเต็มที่ ในหลายๆ ครั้ง โดยเฉพาะครั้งนี้
ถ้าย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ก่อนวันที่ 22 พ.ค. 57 จะเห็นว่าปัญหามันไม่ง่ายแล้ว ปล่อยไปไม่ได้ เพราะไม่เช่นนั้นประเทศก็เดินหน้าไม่ได้ รัฐบาลไม่มีอำนาจเต็ม นายกรัฐมนตรีก็ไม่มีอำนาจ
"ผมก็ไม่ได้ไปยึดอำนาจมาจากนายกรัฐมนตรี เพราะในขณะนั้นเป็นรัฐบาลที่ไม่มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งตามกฎหมายเขียนไว้ว่า ใช้จ่ายงบประมาณไม่ได้ รัฐบาลไม่สามารถอนุมัติงบประมาณในปี 57 แล้วปี 58 ต้องทำงบประมาณใหม่แล้วจะปล่อยให้ตีกันต่อไปหรือ ประเทศค้าขายไม่ได้ เงินเดือนก็จ่ายไม่ได้ "
"ผมจำเป็นต้องเข้ามาเพื่อปลดล็อคตรงนั้น เพราะมีอำนาจทหารเพียงอำนาจเดียวเท่านั้นที่จะแก้ไขอะไรต่างๆ ได้ เราได้ปล่อยให้มีการเลือกตั้งมาแล้ว แต่ก็ไม่ได้ จะถามว่าทหารทำอย่างนั้นหรือ
"หากย้อนมาในเรื่องทางการเมืองในปี 53 มีการใช้กำลังทหาร ตำรวจ ถามว่าศาลชี้ว่าอย่างไร การใช้อำนาจในทางบริหาร ซึ่งเราต้องปฏิบัติ แต่จะอย่างไรก็แล้วแต่ทั้งหมด อยู่ที่ข้อเท็จจริงก็ต้องไปตรวจสอบกันมา ไม่มีใครอยากจะทำร้ายประเทศของเรา ทหารก็เป็นลูกหลานของพวกเราทั้งสิ้น ไม่ใช่คนใจร้าย ไม่มีใครอยากทำอะไร แต่เมื่อเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายก็ต้องทำ"
ปัญหาครั้งล่าสุดนี้ทุกคนก็เห็นอยู่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นจาก 2 ฝ่าย แต่ฝ่ายใดทำผิดกฎหมายมากที่สุด ซึ่งผมจะไปเข้าข้างใครคนใดคนหนึ่งไม่ได้ มีแค่นั้นเอง เพราะฉะนั้นอย่าไปฟังคำพูดที่บิดเบือนว่าทำไมตอนนั้นทำกับรัฐบาลโน้น แล้วไม่ทำกับรัฐบาลนี้ มันคนละเรื่องกัน อย่าให้ใครมาปลุกปั่นกับทุกคน และผมต้องทำความเข้าใจ"
นายกฯ กล่าวว่า ประเทศไทยต้องเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ 20 ปี วันข้างหน้าจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยอีก5-10ปี ข้างหน้าประเทศไทยจะเกิดปัญหาขาดคนวัยฉกรรจ์ที่เข้าสู่แรงงาน
ในเรื่องของเศรษฐกิจ ทุกประเทศไม่ได้วะดจากจีดีพีอย่างเดียว เขานำเรื่องความสุขของคนในประเทศมาวัดด้วย ประเทศไทยจัดว่ามีความสุขในระดับต้นๆ ซึ่งวันนี้ไม่ต้องไปตีกับใคร ถ้าตีกันอีกแล้วจะมีความสุขไหม ก็จะต้องมีการเลือกข้างกันอีก
ถามว่าจะเลือกไปทำไม ให้เกิดอะไรขึ้นมา ถ้าชนะกันไปข้างหนึ่ง แล้วประเทศจะได้อะไร ต้องคิดด้วยหลักการและเหตุผล การจะทำอะไรต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ถ้าทำผิดประชาชนก็มีความสุขไม่ได้ โลกปัจจุบันเขาบริหารแบบนี้ เราจะช้าและหยุดรอใครไม่ได้อยู่แล้ว

สลายม็อบเสื้อแดง ปี53 เป็น "คำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ต้องทำ"

สลายม็อบเสื้อแดง ปี53 เป็น "คำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ต้องทำ"
บิ๊กตู่ แจง เหตุกระชับพื้นที่เสื้อแดง เมย.53 อย่าให้ใครปลุกปั่น ยันไม่มีใครอยากจะทำร้ายประเทศ ทหารก็ลูกหลานของพวกเราทั้งสิ้น ไม่ใช่คนใจร้าย ไม่มีใครอยากทำอะไร แต่เมื่อเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ต้องทำ" อย่าไปฟังคำพูดที่บิดเบือนว่า ทำไมตอนนั้นทำกับรัฐบาลโน้น แล้วไม่ทำกับรัฐบาลนี้ มันคนละเรื่องกัน อย่าให้ใครมาปลุกปั่นกับทุกคน และผมต้องทำความเข้าใจ"/แจง ศึกเสื้อ2 สี เผย ทรงรับสั่ง"ทุกคนคือประชาชนของท่าน ไม่ว่าจะข้างใด ฝ่ายใด สีใด เป็นประชาชนของท่านทั้งหมด" เผย พระองค์ท่านทรงตัดสินตรงนี้ไม่ได้ ขอให้เข้าใจด้วย จนทหารต้องมาปลดล้อค ยัน ผมก็ไม่ได้ไปยึดอำนาจมาจากนายกฯเพราะตอนนั้นเป็นรัฐบาลที่ไม่มีนายกฯ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวในตอนหนึ่งของการมอบนโยบายโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้าน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านภาคกลาง 6 จังหวัด กว่า 3,878 คน ที่ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
นายกฯ กล่าวว่า มีคำถามที่เกิดขึ้นว่า ทำไมจึงต้องมีทหารเข้ามา เพราะประเทศไทยมันติดล็อคว่าไม่มีอะไรมาแก้ปัญหาได้เลย ก่อนหน้าที่จะเข้ามา เราก็พยายามอย่างเต็มที่ ในหลายๆ ครั้ง โดยเฉพาะครั้งนี้
ถ้าย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ก่อนวันที่ 22 พ.ค. 57 จะเห็นว่าปัญหามันไม่ง่ายแล้ว ปล่อยไปไม่ได้ เพราะไม่เช่นนั้นประเทศก็เดินหน้าไม่ได้ รัฐบาลไม่มีอำนาจเต็ม นายกรัฐมนตรีก็ไม่มีอำนาจ
"ผมก็ไม่ได้ไปยึดอำนาจมาจากนายกรัฐมนตรี เพราะในขณะนั้นเป็นรัฐบาลที่ไม่มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งตามกฎหมายเขียนไว้ว่า ใช้จ่ายงบประมาณไม่ได้ รัฐบาลไม่สามารถอนุมัติงบประมาณในปี 57 แล้วปี 58 ต้องทำงบประมาณใหม่แล้วจะปล่อยให้ตีกันต่อไปหรือ ประเทศค้าขายไม่ได้ เงินเดือนก็จ่ายไม่ได้ "
"ผมจำเป็นต้องเข้ามาเพื่อปลดล็อคตรงนั้น เพราะมีอำนาจทหารเพียงอำนาจเดียวเท่านั้นที่จะแก้ไขอะไรต่างๆ ได้ เราได้ปล่อยให้มีการเลือกตั้งมาแล้ว แต่ก็ไม่ได้ จะถามว่าทหารทำอย่างนั้นหรือ
"หากย้อนมาในเรื่องทางการเมืองในปี 53 มีการใช้กำลังทหาร ตำรวจ ถามว่าศาลชี้ว่าอย่างไร การใช้อำนาจในทางบริหาร ซึ่งเราต้องปฏิบัติ แต่จะอย่างไรก็แล้วแต่ทั้งหมด อยู่ที่ข้อเท็จจริงก็ต้องไปตรวจสอบกันมา ไม่มีใครอยากจะทำร้ายประเทศของเรา ทหารก็เป็นลูกหลานของพวกเราทั้งสิ้น ไม่ใช่คนใจร้าย ไม่มีใครอยากทำอะไร แต่เมื่อเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายก็ต้องทำ"
ปัญหาครั้งล่าสุดนี้ทุกคนก็เห็นอยู่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นจาก 2 ฝ่าย แต่ฝ่ายใดทำผิดกฎหมายมากที่สุด ซึ่งผมจะไปเข้าข้างใครคนใดคนหนึ่งไม่ได้ มีแค่นั้นเอง
"เพราะฉะนั้นอย่าไปฟังคำพูดที่บิดเบือนว่าทำไมตอนนั้น ทำกับรัฐบาลโน้น แล้วไม่ทำกับรัฐบาลนี้ มันคนละเรื่องกัน อย่าให้ใครมาปลุกปั่นกับทุกคน และผมต้องทำความเข้าใจ"
นายกฯ กล่าวว่า ประเทศไทยต้องเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ 20 ปี วันข้างหน้าจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยอีก5-10ปี ข้างหน้าประเทศไทยจะเกิดปัญหาขาดคนวัยฉกรรจ์ที่เข้าสู่แรงงาน
ในเรื่องของเศรษฐกิจ ทุกประเทศไม่ได้วะดจากจีดีพีอย่างเดียว เขานำเรื่องความสุขของคนในประเทศมาวัดด้วย ประเทศไทยจัดว่ามีความสุขในระดับต้นๆ ซึ่งวันนี้ไม่ต้องไปตีกับใคร ถ้าตีกันอีกแล้วจะมีความสุขไหม ก็จะต้องมีการเลือกข้างกันอีก
ถามว่าจะเลือกไปทำไม ให้เกิดอะไรขึ้นมา ถ้าชนะกันไปข้างหนึ่ง แล้วประเทศจะได้อะไร ต้องคิดด้วยหลักการและเหตุผล การจะทำอะไรต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ถ้าทำผิดประชาชนก็มีความสุขไม่ได้ โลกปัจจุบันเขาบริหารแบบนี้ เราจะช้าและหยุดรอใครไม่ได้อยู่แล้ว

บิ๊กตู่ ชี้ สลายม็อบเสื้อแดง ปี’53 เมื่อเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ต้องทำ

เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานมอบนโยบายโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐโดยมีกำนันผู้ใหญ่บ้านภาคกลาง 6 จังหวัดกว่า 3,878 คนเข้าร่วมประชุมและรับมอบนโยบายซึ่งมีการถ่ายทอดสดระบบวีดีโอคอนเฟอร์เร้นซ์ไปทั่วประเทศ ช่วงหนึ่งนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงกรณีเหตุกระชับพื้นที่เสื้อแดง เมย.53 ระบุว่า หากย้อนมาในเรื่องทางการเมืองในปี 2553 มีการใช้กำลังทหาร ตำรวจถามว่าศาลชี้ว่าอย่างไร การใช้อำนาจในทางบริหาร ซึ่งเราต้องปฏิบัติ แต่จะอย่างไรก็แล้วแต่ ทั้งหมดอยู่ที่ข้อเท็จจริงก็ต้องไปตรวจสอบกันมา ไม่มีใครอยากจะทำร้ายประเทศของเรา ทหารก็เป็นลูกหลานของพวกเราทั้งสิ้น ไม่ใช่คนใจร้าย ไม่มีใครอยากทำอะไร แต่เมื่อเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายก็ต้องทำ
“ปัญหาครั้งล่าสุดนี้ทุกคนก็เห็นอยู่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นจาก 2 ฝ่ายแต่ฝ่ายใดทำผิดกฎหมายมากที่สุดซึ่งผมจะไปเข้าข้างใครคนใดคนหนึ่งไม่ได้ มีแค่นั้นเองเพราะฉะนั้นอย่าไปฟังคำพูดที่บิดเบือนว่าทำไมตอนนั้นทำกับรัฐบาลโน้น แล้วไม่ทำกับรัฐบาลนี้มันคนละเรื่องกันอย่าให้ใครมาปลุกปั่นกับทุกคนและผมต้องทำความเข้าใจ”นายกรัฐมนตรี กล่าว

"วิษณุ" เล่าเรื่อง "บรรหาร ศิลปอาชา" คุณบรรหารทำงานอย่างแฟร์ที่สุด…

updated: 24 เม.ย 2559 เวลา 10:17:17 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
"วิษณุ" ยก" บรรหาร" เป็น "อดีตนายกฯ" สุดขยัน ชูผลงานชิ้นโบว์แดง ตั้งคกก.แต่งตั้ง "ส.ว." ปี 39 ได้แฟร์ที่สุด
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผย เมื่อวันที่ 23 เมษายน ถึงการอนิจกรรมของนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า รู้สึกตกใจกับการจากไปของนายบรรหาร และขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวศิลปอาชา

นายวิษณุกล่าวว่า เคยร่วมงานกับนายบรรหารในช่วงที่เป็นนายกรัฐมนตรี อยู่ประมาณ 1 ปี ได้เห็นถึงความขยัน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่อาจมีต่างจากนักการเมืองคนอื่น ๆ งานใดที่ตั้งใจจะทำ ต้องใช้คำว่าเกาะติดไม่ปล่อย แม้แต่รายละเอียดเล็กน้อย จำได้ว่าช่วงนั้นมีงานก่อสร้างพระเมรุสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี คุณบรรหารก็ได้ไปตรวจการก่อสร้างพระเมรุที่ท้องสนามหลวงเกือบทุกวัน รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่รู้สึกว่าเป็นภารกิจ ก็จะทำเลยกลายเป็นที่มาของคำที่พูดกันว่าล้วงลูก แต่ความจริงตนเห็นว่า ไม่ใช่การล้วงลูก แต่เป็นลักษณะนิสัยส่วนตัวที่เกาะติดแม้กระทั่งในรายละเอียด ถ้าหากคุณบรรหารผู้คุยกับคนระดับผู้บังคับบัญชาที่รับมอบหมายงานนั้น ๆ แล้วไม่เข้าใจ แทนที่จะให้ผู้บังคับบัญชาคนนั้นไปหาคำตอบมา ซึ่งเสียเวลา ก็จะให้ผู้บังคับบัญชานั้นไปเชิญเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติ บางทีเป็นระดับ ซี 3-4 มาพบเพื่อพูดคุย บางทีได้คำตอบแล้วแก้ปัญหาได้รวดเร็วกว่า ไม่ต้องมาเกรงใจ ระมัดระวัง รักษาหน้าตากัน เลยเป็นที่มาที่ทำให้คนไปมองว่า คุณบรรหารล้วงลูก แต่ความจริงคนที่ถูกเรียกไปจะรู้สึกเลยว่าไม่ได้เป็นการล้วงลูก แต่เป็นการให้คำแนะนำจนแก้ปัญหาได้ตรงประเด็นที่สุด

นายวิษณุกล่าวว่า ผลงานชิ้นโบว์แดงที่ตนเห็นคือตอนที่คุณบรรหารเป็นนายกฯ และมีส่วนคัดเลือก ส.ว.แบบแต่งตั้งครั้งสุดท้ายก่อนจะมี ส.ว.เลือกตั้ง ในปี 2539 คุณบรรหารก็ได้ทำหน้าที่เป็นอย่างดี แม้จะมีโควต้าที่สามารถเลือกและแต่งตั้งใครก็ได้ทั้งหมด 200 กว่าคน แต่ก็ยอมให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสรรหาซึ่งตนก็ร่วมอยู่ด้วยในฐานะเลขานุการ เมื่อมีการเสนอชื่อพิจารณา คุณบรรหารก็เข้าร่วมพิจารณาด้วย ซึ่งตนมีหน้าที่อ่านชื่อทีละคนตามที่แต่ละองค์กรเสนอมาเพื่อโหวตโดยใช้เสียงข้างมาก แต่บางคนที่คุณบรรหารโหวตให้ คณะกรรมการคนอื่น ๆ กลับไม่โหวตตามจนแพ้ คุณบรรหารก็ไม่ติดใจอะไร เพราะฉะนั้น ตนเห็นว่าคุณบรรหารทำงานอย่างแฟร์ที่สุด

"เมื่อครั้งท่านนำรายชื่อคณะรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมจำได้แม่นยำว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทอดพระเนตรแล้วรับสั่งสั้น ๆ ประโยคหนึ่ง ซึ่งคุณบรรหารภูมิใจมาก คือ ทำได้เรียบร้อยดี ถือว่าเป็นความภาคภูมิใจของคุณบรรหาร แล้วท่านเป็นคนจงรักภักดี อะไรที่เป็นการสนองพระราชดำริ หรือเป็นการทำให้เห็นถึงความจงรักภักดี ท่านจะทำอย่างสุดใจ" นายวิษณุกล่าวและว่า "และการที่คุณบรรหารได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเพื่อถวายรายชื่อรัฐมนตรีครั้งหนึ่งนั้น ผมก็มีโอกาสติดตามไปด้วย พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งถามว่า นายกฯ หนักใจอะไรไหม คุณบรรหารก็กราบพระบาทว่า ข้าพเจ้าไม่เคยเป็นนายกฯ ก็หนักใจว่าไม่รู้ทำอย่างไร แล้วไม่รู้จะทำได้ดีหรือไม่ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระสรวล แล้วรับสั่งว่า คุณบรรหารทำยังไงกับเมืองสุพรรณฯ ก็ช่วยทำอย่างเดียวกันกับประเทศไทยก็แล้วกัน ถือเป็นพระราชดำรัสที่คุณบรรหารรับใส่เกล้าใส่กระหม่อมและตั้งใจที่จะปฏิบัติมาตลอดช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกฯ ผมรู้สึกโชคดีที่ได้ทำงานกับท่านด้วยในสมัยนั้น"

นายวิษณกล่าวว่า มีเหมือนกันที่คุณบรรหารมาติดตามงานกับตนโดยตรง และด้วยความที่เป็นคนเกาะติด บางครั้งโทรศัพท์สั่งงานตนตอน 2-3 ทุ่ม พอรุ่งเช้าตื่นขึ้นมา ก็โทรมาถามแล้วว่า งานที่สั่งเมื่อคืนทำเสร็จหรือยัง และในสมัยนั้นที่ตนเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี พอเจอคุณบรรหารในฐานะนายกฯ ก็มักจะล้วงกระเป๋าเสื้อหยิบกระดาษแผ่นหนึ่งมาจดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ให้ถามคนนั้นคนนี้ แล้วมีเรื่องที่ถามตน ตนยังพูดกับท่านเลยว่า จดตั้งเยอะแยะมากมาย คุณบรรหารบอกว่าใช่ กลัวจะลืม และเผื่อวันหลังจะได้ติดตามงานต่อได้ว่า ที่สั่งไปแล้วทำไปถึงไหน นี่เป็นลักษณะพิเศษของคุณบรรหารสมัยเป็นนายกฯ

เลื่อนสืบพยานจิตรา - สั่งฟ้องคดีส่องโกงอุทยานราชภักดิ์

เลื่อนสืบพยานจิตรา - สั่งฟ้องคดีส่องโกงอุทยานราชภักดิ์ - คดีจาตุรนต์ต้องแยกพิจารณาทั้งในศาลทหารและศาลพลเรือน
วันนี้ (25เมษายน 2559) ที่ศาลทหารกรุงเทพ มีความเคลื่อนไหวของคดีเสรีภาพพร้อมกันถึง 3 คดี ได้แก่ การสืบพยานโจทก์คดีจิตรา ฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัวคสช. คดีนั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ อัยการทหารนัดจำเลยหกคนฟังคำสั่ง และคดีของจาตุรนต์ ฉายแสง ซึ่งถูกฟ้องในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัวของคสช. และข้อหายุยงปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบในบ้านเมืองกับความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ซึ่งศาลทหารนัดมาฟังคำวินิจฉัยเรื่องเขตอำนาจศาล
คดีจิตรา ศาลทหารนัดสืบพยานโจทก์ปาก ร.ต.ท. ไพรฑูรย์ จ้อยสระคู พนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวน แต่เนื่องจาก ร.ต.ท. ไพรฑูรย์ไม่มาศาลและติดต่อไม่ได้ ศาลทหารจึงสั่งให้เลื่อนการสืบพยานออกไปเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2559 >>> http://freedom.ilaw.or.th/th/case/617
คดีนั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ อัยการทหารมีคำสั่งฟ้อง จำเลยหกคน ได้แก่ สิรวิชญ์,วิจิตร,กรกนก,วิศรุต,อานนท์,และกิตติธัช ในข้อหาชุมนุมฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 จากกรณีร่วมกิจกรรมนั่งรถไฟไปตรวจสอบการทุจริตอุทยานราชภักดิ์ เมื่อธันวาคมปีที่เเล้ว(2558)
หลังอัยการทหารมีความเห็นสั่งฟ้อง เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์นำตัวจำเลยทั้งหกออกจากศาลทหารในเวลาประมาณ 14.00 น.เพื่อไปควบคุมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพระหว่างรอคำสั่งประกันตัว ต่อมาในเวลาประมาณ 15.00 น. ศาลทหารมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งหกประกันตัวโดยวางเงินประกันคนละ 40,000 บาท โดยจำเลยทั้งหกจะได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพในช่วงเย็นวันนี้ >>> http://freedom.ilaw.or.th/th/case/704
สำหรับจาตุรนต์ ซึ่งถูกดำเนินคดีในความผิดรวมสามข้อหาได้แก่ ข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัว ข้อหายุยงปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และได้ยื่นคัดค้านเขตอำนาจศาลทหารไปแล้วนั้น วันนี้ศาลทหารนัดจาตุรนต์ฟังคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจระหว่างศาลซึ่งสรุปได้ว่า ในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัว คดีอยู่ในอำนาจวินิจฉัยของศาลยุติธรรม (ศาลพลเรือน) แต่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กและการจัดแถลงข่าวเรื่องการไม่เข้ารายงานตัวนั้นอยู่ในอำนาจศาลทหาร
ทั้งนี้ก่อนจะถูกจับที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศฯ(FCCT) ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2557 จาตุรนต์มีชื่อในคำสั่งเรียกบุคคลรายงานตัวของคสช.ฉบับที่ 1/2557 ซึ่งออกในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 แต่เขาไม่เข้ารายงานตัวตามกำหนด ในเวลาต่อมาคสช.ออกประกาศ คสช. (เฉพาะ) ที่ 25/2557 และ 29/2557 กำหนดเวลาเข้ารายงานตัวใหม่และกำหนดโทษผู้มีชื่อในคำสั่งรายงานตัวฉบับต่างๆรวมทั้งฉบับที่ 1/2557 ซึ่งยังไม่เข้ารายงานตัว แต่ประกาศทั้งสองฉบับก็ออกในวันที่ 23 และ 24 พฤษภาคม 2557 ตามลำดับ ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่คสช.จะออกประกาศให้พลเรือนซึ่งทำความผิดบางประเภทรวมทั้งการฝ่าฝืนประกาศคำสั่งคสช.ขึ้นศาลในทหารในวันที่ 25 พฤษภาคม 2557
หลังทราบคำวินิจฉัย จาตุรนต์ ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนสั้นๆว่า แม้จะไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยในบางส่วน แต่เมื่อคำวินิจฉัยชี้ขาดได้ออกมาแล้ว ก็พร้อมที่จะต่อสู้คดีตามกระบวนการต่อไป โดยหลังจากนี้ ศาลทหารนัดสอบคำให้การ วันที่ 1 มิถุนายน 2559 ส่วนคดีที่ศาลพลเรือนยังไม่มีกำหนดนัดหมายใดๆ

ประวิตรสั่งฝ่ายกฎหมายเช็ค 'นปช.-สุเทพ' ผิดหรือไม่ หลังแสดงท่าทีต่อร่างรธน.

Mon, 2016-04-25 13:26
หลัง 'นปช.-สุเทพ' ออกมาแสดงท่าทีต่อร่างรัฐธรรมนูญ พล.อ.ประวิตร อ้าง พ.ร.บ.ประชามติ ระบุไม่สามารถทำได้ สั่งฝ่ายกฎหมายพิจารณาว่าทำผิดกฎหมายหรือไม่ ระบุไม่จำเป็นให้ต่างชาติเข้ามาสังเกตุการณ์ ขณะที่ กรธ.บอกซาบซึ้ง หลัง สุเทพประกาศรับร่าง รธน.
นปช. ขอประชาชนร่วมจับผิดโกงประชามติ (อ่านรายละเอียด)
'สุเทพ' แถลงรับ รธน. ชี้เป็นทางออกประเทศ (อ่ายรายละเอียด)
25 เม.ย. 2559 จากกรณีที่วานนี้ (24 เม.ย.59) แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่แถลงแสดงท่าทีไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งเรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชี้แจงให้ชัดเจนถึงข้อห้ามเกี่ยวกับการทำประชามติว่าสิ่งไหนทำได้-ไม่ได้ รวมทั้งเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจควรเปิดกว้างให้องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) สหภาพยุโรป (อียู) หรือองค์กรใดๆ ก็ตามในระดับนานาชาติมาสังเกตการณ์ในการลงประชามติอย่างเปิดเผย'ยูเอ็น-อียู' เข้าร่วมสังเกตการณ์ และเรียกร้องให้ประชาชนร่วมจับผิดโกงประชามติด้วย ด้านสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ที่ให้สัมภาษณ์รับร่างรัฐธรรมนูญนั้น
ล่าสุดวันนี้ (25 เม.ย.59) สำนักข่าวไทย  รายงานว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของ นปช.และสุเทพว่า ไม่สามารถทำได้ เพราะขณะนี้มีพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ แล้ว และมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการห้ามรณรงค์โฆษณาชัดเจน ดังนั้น ไม่ควรออกมาเคลื่อนไหว เพราะจะทำให้เรื่องไม่จบ ขณะนี้กำลังให้ฝ่ายกฎหมายพิจารณาว่าทำผิดกฎหมายหรือไม่ และขอให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจเอง
ส่วนกรณีมาตรา 61 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่มีความเข้มงวด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง และตัวกฎหมายเองไม่ได้นำไปสู่ความขัดแย้ง เพราะมีข้อห้ามกับทุกฝ่าย สื่อมวลชนไม่ควรถามขยายประเด็น
เมื่อถามย้ำว่าการชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) จะเป็นการชี้นำหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ใม่ใช่การชี้นำ เพราะเป็นหน่วยงานราชการที่ไม่ได้เป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง กรธ.ไม่ได้ทำเพื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เพราะร่างฯฉบับนี้กรธ.เป็นผู้ร่างและไม่ได้รับข้อเสนอทั้งหมดของคสช.
“ไม่ได้ห้ามการพูดหรือแสดงความคิดเห็น แต่ต้องไม่ออกสู่สาธารณะ ส่วนการที่นปช.จะเสนอให้ต่างชาติมาสังเกตการณ์ลงประชามติเป็นเรื่องที่กกต.จะพิจารณา แต่เห็นว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะให้ต่างชาติเข้ามา รอให้มีการเลือกตั้งส.ส. ค่อยว่ากันอีกที และการที่พรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองที่ออกมาคลื่อนไหวให้รับหรือไม่รับร่างฯ ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะคุมเสียงของพรรคตัวเองได้หรือไม่” พล.อ.ประวิตร กล่าว

กรธ.บอกซาบซึ้ง หลัง สุเทพประกาศรับร่าง รธน.

ขณะที่วานนี้ (24 เม.ย.59) มติชนออนไลน์ รายงานด้วยว่า อมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษก กรธ. กล่าวถึงท่าทีสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญของ สุเทพ ว่า เราซาบซึ้งในความเมตตาเเรงหนุนของทุกฝ่าย กรธ.ยืนยันว่าลงมือร่างรัฐธรรมนูญอย่างเต็มกำลัง เชื่อว่าถ้าประชาชนออกมาใช้สิทธิลงเสียงประชามติถึง 70 เปอร์เซ็นต์ แนวโน้มการทำประชามติจะออกมาดี แต่การเเสดงความเห็นสนับสนุนของนายสุเทพจะมีส่วนช่วยให้ผ่านประชามติง่ายขึ้นหรือไม่ ตนไม่ขอวิจารณ์ แต่มีผลในเเง่ให้กำลังใจ กรธ. ประชามติจะผ่านหรือไม่อยู่ที่ประชาชน ส่วนที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกมาท้าให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญโดยไม่ต้องทำประชามตินั้น ส่วนตัวไม่ขอตอบโต้ จะวิจารณ์อย่างไรรับได้ ไม่มีปัญหา น้อมรับคำวิจารณ์ ไม่ขอเเสดงความเห็นที่ทุกฝ่ายติติง เราไม่ว่ากัน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติให้วิจารณ์ได้ แต่ห้ามรณรงค์ชี้นำไปในทางรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ

'บิ๊กตู่' สั่งล่ามือปลอมเอกสารราชการแจ้งมติครม.เท็จ แพร่โลกออนไลน์

'บิ๊กตู่' มอบ 'พล.อ.ประวิตร -สตช.' ล่าตัวกลุ่มคนปลอมแปลงเอกสารราชการ 'หนังสือแจ้งมติครม.' เผยแพร่โลกออนไลน์ ชี้ทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงประเทศ-ประชาชนตื่นตระหนก
pooeeeddddddddd25 4 16
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีหนังสือแจ้งเวียนข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ในการประชุมครม.เมื่อวันที่ 5 เม.ย.59 โดยระบุว่า ตามที่ปัจจุบันได้มีการปลอมแปลงเอกสารหรือเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จบนเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) ทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน เช่น การปลอมแปลงหนังสือราชการแจ้งมติคณะรัฐมนตรีจึงให้รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ [กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.)] กระทรวงยุติธรรมและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพิจารณาดำเนินการติดตามและตรวจสอบผู้กระทำผิดที่เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จดังกล่าวและดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดต่อไป
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้เน้นย้ำข้อสั่งการให้รองนายกรัฐมนตรีทุกท่านจัดทำแผนการปฏิรูปภารกิจที่สำคัญในความรับผิดชอบที่จะดำเนินการในช่วงปี 2559-2560 โดยให้ความสำคัญกับการบูรณาการทั้งในเชิงการบริหารงานและการบริหารงบประมาณ ทั้งนี้ ให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาภายในวันที่ 5 พฤษภาคม 2559 นั้น ในการดำเนินการดังกล่าวให้มี Roadmap ในแต่ละภารกิจที่ชัดเจน โดยจำแนกเป็นภารกิจหลัก ภารกิจรอง และภารกิจเสริม และให้ความสำคัญใน 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ ความพร้อมในด้านกฎหมาย การกำหนดกลไกการขับเคลื่อนการวางแผนการบริหารจัดการในระยะยาวอย่างเป็นระบบ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
รวมถึงการให้ทุกส่วนราชการตรวจสอบอายุการใช้งานของวัสดุ อุปกรณ์ หรือระบบงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน โดยเฉพาะภารกิจที่สำคัญและมีผลกระทบต่อประชาชนให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ โดยวางแผนการใช้งาน การซ่อมบำรุงรักษา การจัดหาของใหม่เพื่อทดแทนของเดิมที่ชำรุดหรือเสื่อมสภาพ รวมทั้งจัดทำแผนการของบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่องด้วย

คุมตัว"เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว"นักวิชาการมหิดล แจกเอกสารรณรงค์โหวตโนร่าง รธน.

จนท.เชิญ เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว นักวิชาการจาก ม.มหิดล ไป สน.ปทุมวัน หลังแจกเอกสารรณรงค์โหวตโนร่าง รธน.

วันที่ 25 เมษายน ทวิตเตอร์ของ iLaw รายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 16.20 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เชิญตัว อ.เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว นักวิชาการจากสถาบันสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ไป สน.ปทุมวัน หลังพบมีการแจกเอกสารรณรงค์โหวตโนร่าง รธน.นอกจากนี้ ยังยึดเอกสารที่นำมาแจกด้วย โดยเป็นเอกสารชวนโหวตโน ของกลุ่มประชาธิปไตยใหม่
มีรายงานเพิ่มเติมว่า หลังจากงานถกแถลง “คำถามพ่วงท้ายมีนัยอย่างไร” ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้ายึดเอกสาร 7 เหตุผลไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ และเตรียมเชิญตัว เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิฯ มหาวิทยาลัยมหิดล ไปยัง สน.ปทุมวัน โดยแจ้งว่า ต้องการพูดคุยด้วย แต่เมื่อผู้สื่อข่าว และผู้ร่วมงาน เข้าไปดูเหตุการณ์ เจ้าหน้าที่ได้เปลี่ยนใจจากการขอเชิญตัว เป็นขอนามบัตรแทน เพื่อที่จะติดต่อเพื่อเรียกไปคุยวันอื่น
ทั้งนี้ เบญจรัตน์ เป็นหนึ่งในผู้ร่วมถกแถลงในงานที่จัดขึ้น โดยประเด็นหลักที่เธอกล่าวถึงวันนี้คือ การเรียกร้องให้เปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายได้แสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญได้อย่างอิสระ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้การปิดกั้นจากผู้มีอำนาจ
ที่มา : มติชน

23

คุยกับ‘สุณัย ผาสุข’ นัยยะคำสั่งที่13 ปราบผู้มีอิทธิพล ทำไมต่างประเทศประสานเสียงค้าน-กังวล


ประชาไทคุยกับ สุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาประจำประเทศไทยของฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch) ถึงนัยยะของคำสั่งคสช.ที่ 13/2559 การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดบางประการที่เป็นภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนทำลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

ภาพจากแฟ้มภาพ

ประชาไท: คำสั่งที่ 13 มีความสำคัญอย่างไร เหตุใดต่างชาติถึงออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างพร้อมเพรียง
สุณัย: หากเราดูปฏิกิริยาจากต่างประเทศ เราจะเห็นปรากฏการณ์ที่เราไม่ได้พบเจอบ่อยนัก คือการที่ตัวแทนของรัฐบาลประเทศในสหภาพยุโรปทั้งหมด กระทรวงต่างประเทศสหรัฐ รัฐบาลแคนนาดา OHCHR รวมถึงองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ 6 องค์กร มีจุดยืนในเรื่องนี้ร่วมกันว่าคำสั่งที่ 13/2559 เป็นคำสั่งที่ขยายอำนาจของทหารเพิ่มเติมออกไปจากคำสั่งที่ 3/2558 ที่ออกมาก่อนหน้านี้ ซึ่งทั้งสองคำสั่งออกมาด้วยอำนาจของมาตรา 44
อันที่จริงคำสั่งที่ 3 ก็แย่มากพออยู่แล้ว แต่คำสั่งที่ 13 ได้ขยายอำนาจของทหารมากยิ่งขึ้นไปอีก ทำให้เราไม่สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ทหารได้เลยในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งทางอาญา แพ่ง และวินัย
เมื่อเราดูในรายละเอียดเราจะเห็นว่าคำสั่งที่ 13 เป็นการขยายอำนาจของคำสั่งที่ 3 โดยให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารจับกุม สอบสวน คุมขังบุคคลใดๆ ก็ได้ โดยที่ไม่มีมาตราการตรวจสอบจากฝ่ายตุลาการหรือนิติบัญญัติ คำสั่งที่ 3 ยังพูดถึงแค่ความผิดด้านความมั่นคง การพกพาอาวุธ การหมิ่นสถาบันกษัตริย์ การขัดคำสั่ง คสช. ซึ่งก็มีการตีความอย่างกว้างขวางอยู่แล้ว ที่ผ่านมาเราก็จะเห็นการอ้างคำสั่งดังกล่าวในการจับกุมผู้ที่เห็นต่างทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง แต่พอมาเป็นคำสั่งที่ 13 มันขยายขอบเขตไปถึงความผิดทางอาญาแทบทุกประเภท ทำให้ตอนนี้สภาพของรัฐไทยกลายเป็นรัฐทหารอย่างเข้มข้นมากขึ้น กลไกและกระบวนการยุติธรรมแบบปกติทั้งตำรวจ และตุลาการถูกแทนที่ด้วยกลไกของฝ่ายทหารมากขึ้นเรื่อยๆ
เหตุใดต่างชาติจึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ
สุณัย: จริงๆ ปฏิกิริยาจากต่างชาติมีมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การยกเลิกกฎอัยการศึกและแทนที่ด้วยคำสั่งที่ 3/2558 ซึ่งระบุว่าการขัดขวางการพัฒนาของประเทศถือว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เมื่อออกคำสั่งที่ 13 มาจึงเทียบเท่ากับว่าประเทศไทยกลับเข้าสู่กฎอัยการศึกอีกครั้งหนึ่ง ปฏิกิริยาจากต่างประเทศที่เขามีความกังวลอยู่แล้วจึงทวีความเข้มข้นขึ้น ด้วยกลัวว่ามันจะนำไปสู่การละเมิดสิทธิ์ที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น โดยไม่มีการตรวจสอบ
อันที่จริงกฎอัยการศึกก็ไม่ได้หายไปจากประเทศไทยเลย เพราะมันถูกแทนที่ด้วย คำสั่งที่ 3 ซึ่งเปรียบเหมือนเป็นราก ส่วนคำสั่งที่ 13 เป็นส่วนต่อขยายลงไปอีกทีหนึ่ง
ปรากฎการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดที่ไหนในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สิ่งที่ต่างชาติกังวลคือในอาคต หัวหน้า คสช. จะออกคำสั่งอะไรเพิ่มเติมอีก เพราะดูเหมือนกับว่าเขาใช้อำนาจอย่างไม่มีขีดจำกัด และขาดการตรวจสอบใดๆ
คิดอย่างไรกับข้ออ้างของ คสช. ที่ว่าคำสั่งที่ 13/2559 มีเป้าหมายเพื่อขจัดกลุ่มมาเฟีย และผู้มีอิทธิพล
สุณัย: ปัญหาเรื่องมาเฟียมันอยู่ที่การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่โปร่งใสและไม่เคร่งครัด ซึ่งมันแก้ไขได้ด้วยโดยไม่จำเป็นต้องใช้กลไกของฝ่ายทหาร แม้แต่สถานการณ์แบบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่มีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นตลอดเวลาเขายังไม่เคยใช้อำนาจศาลทหาร หรือเครื่องมือพิเศษแบบนี้เลย ในเมื่อมันเป็นเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยกลไกปกติ เหตุใดจึงต้องไปสร้างกลไกแบบพิเศษซึ่งเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นมาด้วย มันเหมือนการรักษาโรคด้วยยาที่ผิด และมันจะเป็นยาพิษที่ทำลายทั้งประเทศได้
ทุกวันนี้ เจ้าหน้าที่รัฐในปัจจุบันก็มีการใช้อำนาจที่เกินขอบเขตมากพออยู่แล้ว การยิ่งเพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่รัฐเช่นนี้ มันทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า กลไกตำรวจและกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอยู่มันล้มเหลวขนาดนั้นแล้วเชียวหรือ ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่ใช่ มันจึงไม่แปลกที่สังคมและประชาคมระหว่างประเทศตั้งคำถามถึงความโปร่งใส และความจริงใจในการทำงานของรัฐบาล คสช.
หาก คสช. มีอำนาจมากพออยู่แล้ว มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องออกคำสั่งที่ 13
สุณัย: มันนำไปสู่ความแคลงใจ ว่านี่คือการกระชับอำนาจ เป็นความพยายามที่จะสร้างระบอบใหม่ หรือ New Normal ให้กับระบบการเมือง ระบบยุติธรรม และระบบกฎหมายไทยโดยการโยกย้ายกระบวนการยุติธรรมของฝ่ายพลเรือนมาอยู่กับฝ่ายทหารทั้งหมด ซึ่งมันสะท้อนถึงการหยั่งรากลึกของระบอบเผด็จการทหาร
นี่ไม่ใช่การปูทางสู่ประชาธิปไตย แต่มันคือการปูทางสู่ระบอบทหารที่นับวันจะยิ่งมีการกระชับอำนาจมากยิ่งขึ้น
ทาง HRW ได้ติดตามผลกระทบของประชาชนจากคำสั่งดังกล่าวหรือไม่ และได้ผลเป็นอย่างไร
สุณัย: จนถึงตอนนี้ เรายังไม่เห็นผลของการใช้ตัวคำสั่งที่ 13 ชัดเจนนัก แต่การขึ้นบัญชีผู้มีอิทธิพลตามคำสั่งฉบับนี้มันได้สร้างความกังวลว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของฝ่าย คสช. จะถูกจัดเป็นพวกขัดขวางการพัฒนา เราจะเห็นแกนนำชุมชนชาวประมงท่านหนึ่งที่ไปยื่นเรื่องร้องเรียนกับ กสม. ถูกขึ้นบัญชีเป็นผู้มีอิทธิพล คนที่เป็นตัวแทนของชุมชน หรือเป็นผู้เรียกร้องสิทธิทำกิน ก็ถูกขึ้นบัญชีด้วยเช่นกัน มันจึงน่าตั้งคำถามว่านี่อาจจะเป็นการเหวี่ยงแห และเหมารวมว่าผู้ที่เห็นต่างจากแนวทางของ คสช. ทั้งในด้านการเมือง และเศรษฐกิจ จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มของผู้มีอิทธิพล และถูกจัดการด้วยคำสั่งฉบับนี้
ผนวกกับการทำประชามติที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม ก็ยิ่งทำให้เกิดความกังวลต่อเนื่องว่า คำสั่งฉบับนี้จะถูกใช้เพื่อขจัดผู้เห็นต่างทางการเมืองของ คสช. อีกหรือไม่
คิดว่ากระแสกดดันจากต่างประเทศจะทำให้ คสช. ปรับตัวไหม
สุณัย:  ผมอยากจะย้อนถามไปหา คสช. มากกว่า ว่า “จะฟังได้หรือยัง?” ทุกวันนี้มันชัดเจนแล้วว่า ยิ่ง คสช. อยู่นานเท่าไหร่ ประเทศไทยยิ่งออกห่างจากการเป็นประเทศที่เคารพกติกาด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้นเรื่อยๆ เราหวังว่าท่าทีที่ประสานเป็นเสียงเดียวกันขององค์กรสิทธิและรัฐบาลต่างชาติจะช่วยทำให้ คสช. ตระหนักได้ว่าตนควรทำอะไร ประเทศที่ออกมาแสดงความกังวลล้วนแต่เป็นมิตรประเทศกับไทยทั้งสิ้น ทั้งในมิติทางการเมือง การทูต และเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นประเทศผู้นำของสหภาพยุโรป สหรัฐ หรือแคนาดา ประเทศเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับไทยมาเป็นร้อยปี เขายังเป็นห่วง แต่คำถามคือ คสช. จะฟังไหม
ท่าทีของ คสช. ทุกวันนี้คือมองว่าต่างชาติเข้าใจข้อมูลไม่ครบถ้วน มัวแต่ฟังลอบบี้ยิสต์ คสช. ไม่ยอมฟังเสียงท้วงติงของมิตรประเทศ ถ้ามีแค่ประเทศสองประเทศออกมาพูดก็ว่าไปอย่าง แต่นี่ทุกประเทศออกมาพูดเป็นเสียงเดียวกันแบบนี้ แล้วแบบนี้ยังจะไม่ฟังกันอีกหรือ 
ไทยเราควรจะเรียนรู้จากพม่า เรามีบทเรียนแล้วว่าถ้าปล่อยให้เผด็จการถลำลึกไปเรื่อยๆ ปล่อยให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้นเรื่อยๆ ประเทศเราจะเป็นยังไง เราจะยอมให้ประเทศของเรายืนอยู่จุดเดียวกับที่พม่าเคยยืนคือถูกคว่ำบาตรจากนานาชาติหรือ ในเมื่อทุกวันนี้เรายังไม่เลวร้ายถึงขั้นนั้น คสช. ก็ควรจะรีบคืนประชาธิปไตยให้เร็วที่สุด นั่นน่าจะดีกว่าการรอให้ถูกลงโทษแบบพม่า
ต่างประเทศจะยกระดับการกดดันจากการออกแถลงการณ์ไปเป็นมาตรการที่เข้มข้นขึ้นหรือไม่
สุณัย: เท่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ไทยก็พลาดความร่วมมือระหว่างประเทศไปหลายเรื่องแล้วนับตั้งแต่การทำรัฐประหาร เพราะต่างชาติเขาก็รออยู่ว่าเมื่อไหร่ไทยจะกลับสู่ประชาธิปไตยเสียที เช่นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจการเมืองกับสหภาพยุโรปทั้งหมด กระบวนการเจรจาถูกพักไว้เลย รวมไปถึงกรอบความร่วมมือ TPP ที่ประเทศอาเซียนหลายประเทศเข้าร่วมไปแล้ว ไทยก็ตกรถไฟ อันนี้เห็นผลชัดเจนเลยว่าเราเสียโอกาสทางเศรษฐกิจไปอย่างมหาศาลเพราะเราไม่เป็นประชาธิปไตย ยิ่งทอดเวลานานไปเรื่อยๆ โอกาสเหล่านี้ก็จะถูกแทนที่ด้วยประเทศอื่นๆ เราก็จะตกรถไฟและถูกประเทศอื่นทิ้งห่างออกไปเรื่อยๆ ยิ่งสภาพเศรษฐกิจตกต่ำแบบนี้ไทยยิ่งจำเป็นต้องรีบเข้าสู่กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ แต่เรากลับยิ่งเอาตัวออกห่าง เพราะเราปฏิเสธประชาธิปไตย
แรงกดดันเหล่านี้มันมีมาตั้งนานแล้ว แต่ถามว่า คสช. ฟังไหม ยอมพูดความจริงกับประชาชนไหมว่าไทยต้องสูญเสียอะไรไปบ้างจากการทำรัฐประหาร ที่ผ่านมาสิ่งที่เราเห็นคือรัฐบาลไม่ได้บอกความจริงกับประชาชน
HRW ประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษย์ชนภายใต้ คสช. อย่างไร
สุณัย: HRW เคยมีรายงานออกมา โดยเราประเมินว่าสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทยถดถอยอย่างไม่สิ้นสุด นับตั้งแต่การทำรัฐประหารเป็นต้นมา คือมันตกไปเรื่อยๆ ยิ่งตอนนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การทำประชามติ เราก็คาดว่าการละเมิดสิทธิจะยิ่งยกระดับมากขึ้น โดยมุ่งไปที่การคุกคามละเมิดผู้เห็นต่างทางการเมือง
แม้แต่ทาง HRW เองก็ถูกคุกคาม ที่ชัดเจนที่สุดคือเพจ Human Rights Watch Thailand ของเราถูกปิด โดยให้เหตุผลว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคง การเผยแพร่รายงานสิทธิมนุษยชนประจำปีของ HRW ที่เราทำเป็นประจำทุกปี ทุกรัฐบาลก็ถูกระงับการเผยแพร่ และไม่ใช่แค่เราคนเดียว องค์กรสิทธิ์อื่นๆ ก็ถูกคุกคุมในลักษณะเดียวกัน นี่หมายความว่ารัฐบาลกำลังมองว่าสิทธิมนุษยชนเป็นภัยคุกคาม ระบอบการปกครองอะไรกันที่มองว่าสิทธิมนุษยชนเป็นภัยคุกคาม
คสช. กำลังทำลายหลักการสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ทุกวันนี้เราไม่เห็นรากฐานของความเป็นประชาธิปไตยหลงเหลืออยู่เลย เพราะนอกจาก คสช. จะไม่เปิดช่องให้กับประชาธิปไตยแล้ว ยังทำลายอย่างต่อเนื่อง นี่ไม่ใช่สภาวะที่ประชาธิปไตยเป็น 0 แต่เป็นสภาวะที่ติดลบลงไปทุกวัน

โต้ข้อมูลทักษิณจ้างล็อบบี้ยิสต์

สำนักข่าวที่มั่วซั่วที่สุด ต้อง The Nation (หรืออาจเป็นคสช.เองที่มั่วก็ได้) โยงบริษัทล็อบบี้ยิสต์สองแห่ง ต่างกรรมต่างวาระเข้าด้วยกัน เริ่มจากประยุทธ์บอกมีการจ้างล็อบบี้ยิสต์เพื่ออยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของกลุ่มพลเมืองโต้กลับ และล็อบบี้ให้ต่างชาติคว่ำบาตรไทย ทั้ง ๆ ที่ทั้งสองกรณีไม่เกี่ยวกันเลย และเอกสารต่าง ๆ ยืนยันว่าบริษัทล็อบบี้ยิสต์ที่ทักษิณจ้าง (จ้างจริง) แทบไม่มีบทบาทความเคลื่อนไหวในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ช่วงนาทีแรกของคลิปนี้ (http://www.nationtv.tv/main/content/politics/378499169/) สรุปสิ่งที่พิธีกรพูดได้ว่า “ถ้าดูบทความในหนังสือพิมพ์ The Guardian แล้ว จะเห็นได้ชัดเลยว่าบริษัท Bell Pottinger ของประเทศอังกฤษ มีชื่อคุณทักษิณเป็นลูกค้าอยู่ (เน้นเสียง “อยู่”) รวมทั้งการสัมภาษณ์เจ้าของบริษัทนี้กับหนังสือพิมพ์ The Financial Times ก็ยอมรับว่าคุณทักษิณอดีตนายกฯ เป็นลูกค้าของบริษัทนี้อยู่ (เน้นเสียง “อยู่”) และมีเอกสารยืนยันการว่าจ้างอีกบริษัทหนึ่งในอเมริกาชื่อว่า "BGR Government Affairs" ทั้งสองบริษัทมีการโชว์แบบฟอร์มบนเว็บไซต์ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในปลายปีที่แล้วคือ 2558 หลักฐานมันชัดขนาดนี้ “ไม่ใช่เรื่องเก่า ไม่ใช่เอกสารเก่า ปี 58 ไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี่เอง” 

(1) กรณี Bell Pottinger เป็นบทความตั้งแต่ปลายปี 53 (http://gu.com/p/3y4vv/stw) ที่พิธีกรเน้นเสียงหนักแน่นว่า “มีชื่อคุณทักษิณเป็นลูกค้าอยู่” หมายถึงยังจ้างถึงปัจจุบันหรือไม่ ถ้าใช่ก็น่าจะผิด ไปดูรายชื่อล็อบบี้ยิสต์ของทักษิณที่พรรคประชาธิปัตย์เอามาแฉได้ ไม่มีชื่อ Bell Pottinger เลย (http://www.bangkokpost.com/news/politics/944873/democrats-thaksin-cant-deny-lobbying) 

(2) พิธีกร The Nation ก็มั่วส่งต่อไป “ทั้งสองบริษัทมีการโชว์แบบฟอร์มบนเว็บไซต์ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในปลายปีที่แล้วคือ 2558“ แบบฟอร์มไหน? เว็บไซต์ไหน? เพราะเรคคอร์ดที่วัชระ เพ็ชรทองเอามาแสดง ซึ่งเอามาจากเว็บไซต์ของรัฐสภาสหรัฐฯ ไม่มีชื่อของ Bell Pottinger มีแต่ BGR Government Affairs ซึ่งมีชื่อทักษิณเป็นลูกค้าจริงจนถึงปัจจุบัน แต่ช่วงหลายปีที่ผ่านมาแทบไม่มีบทบาทล็อบบี้อะไร Bangkok Post จึงพาดหัวข่าวว่า “Thaksin forms shed little light on lobbying” “เอกสารเกี่ยวกับทักษิณแทบไม่ให้ข้อมูลว่ามีการล็อบบี้เอย่างไรบ้าง” (http://www.bangkokpost.com/news/general/945265/thaksin-forms-shed-little-light-on-lobbying) คือมันไม่มีการล็อบบี้ไง ถ้าดูจากเอกสารเหล่านี้ 

ในบทความชิ้นเดียวกันของ Bangkok Post ยังสรุปว่า “Thaksin has engaged many firms over the years but their activities have been quite low-profile.” “ทักษิณได้ว่าจ้างหลายบริษัท (ล็อบบี้ยิสต์) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่มีการดำเนินงานน้อยมาก” ข้อมูลในเว็บไซต์ของรัฐสภาสหรัฐฯ ก็บอกว่า ทักษิณจ่ายเงินให้กับ BGR Government Affairs น้อยมาก ไม่ถึง 5,000 เหรียญต่อปีในลักษณะที่เป็น “retainer fee” คือรักษาสถานภาพไว้ และข้อมูลของ BGR เองระบุว่า "No Lobbying Activity" “ไม่ได้ดำเนินการล็อบบี้อะไร” ในช่วงที่ผ่านมา

สำนักข่าวที่จับแพะชนแกะเก่งที่สุดคือ The Nation เสียดายคนเก่ง ๆ ที่ยังทำงานให้สำนักข่าวนี้นะ

ที่มา:เพจPipob Udomittipong


ทักษิณ บอกประเทศพังให้เพื่อไทยอย่าทิ้งพรรค

แม้ว” จ่อบินเจรจาธุรกิจตะวันออกกลางอาทิตย์หน้า หลังเปิดโอกาสให้อดีตส.ส.เข้ารดน้ำดำหัวขอพรช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังไม่สั่งลูกพรรคเคลื่อนไหวเรื่องรธน.

เมื่อวันที่ 24 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ว่า ในสัปดาห์หน้านายทักษิณ จะเดินทางจากแถบเอเชียไปเจรจาธุรกิจที่ตะวันออกกลาง ก่อนเดินทางไปพำนักที่บ้านพักที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทั้งนี้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีบรรดาอดีตส.ส.ภาคอีสาน พรรคเพื่อไทย และคนใกล้ชิด เดินทางไปรดน้ำขอพรจากนายทักษิณ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ โดยนายทักษิณ ขอให้ส.ส.เตรียมความพร้อมในการลงเลือกตั้งและอย่าทอดทิ้งประชาชน ส่วนเรื่องรัฐธรรมนูญนายทักษิณยังไม่ได้สั่งลูกพรรคให้เคลื่อนไหวอะไรเพราะยังเหลือเวลาอีก 2-3 เดือนก่อนลงเสียงประชามติ แต่อย่างไรบรรดาส.ส.ต้องรู้หน้าที่ของตัวเอง ขณะเดียวกันในช่วงหนึ่งนายทักษิณ ระบุว่า ขณะนี้ระบบของประเทศพังไปหมด หากคนพังหรืออะไรพังยังหาอะไรแทนมาได้ แต่เมื่อระบบของรัฐพังกว่าจะฟื้นนั้นทำได้ยาก โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ