PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2562

'วิษณุ'ดักคอ'ชวน'คงไม่อนุญาตให้สภาถล่ม'บิ๊กตู่'ก่อนลงมติเลือกนายกฯ

4 มิ.ย.62- นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ​ (คสช.) ต้องไปปรากฏตัวในวันประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกนายกฯ หรือไม่ ว่า ในรัฐธรรมนูญและข้อบังคับไม่ได้พูดเอาไว้ แต่ก็ไม่ได้ห้าม​ อย่างที่นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ระบุว่า อยู่ที่สมาชิกที่จะเสนอขึ้นมาและมีมติ แต่อย่างไรก็ตาม​ คนที่เป็นคนนอกและคนที่ถูกเสนอชื่อ จะเป็นใครก็ได้อยู่แล้วในประเทศไทย ฉะนั้นลองนึกภาพว่า ถ้าไม่ใช่​ พล.อ.ประยุทธ์ แต่เป็นคนอื่น และพรรคเสนอคนอื่น คนเหล่านั้นจะเดินทางไปสภาแล้วไปยืนแสดงวิสัยทัศน์ได้อย่างไร

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีสมาชิกเสนอว่าขออภิปรายก่อนที่จะมีการโหวตเลือกนายกฯ นายวิษณุ กล่าวว่า ตามข้อบังคับ เขามีสิทธิขอหารือ ซึ่งถ้าประธานอนุญาตก็ทำได้  

เมื่อถามว่า หากมีการพุ่งเป้าให้​ พล.อ.ประยุทธ์ ลาออกจากหัวหน้า​ คสช.ก่อน ประเด็นเหล่านี้หารือหรืออภิปรายได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า หารือได้ แต่จะได้ผลอย่างไร ไม่ทราบ ตนได้บอกแล้วว่า ใครจะเสนออะไรก็เสนอไป แต่สุดท้ายจะออกมาอย่างไรก็แล้วแต่ แม้จะบีบเป็นมติออกมา ตนก็เชื่อประธานจะไม่ขอมติ ซึ่งคงไม่สามารถไปบังคับกันได้​ ทั้งนี้รัฐธรรมนูญกำหนดว่า ผู้ที่มีรายชื่ออยู่ในคสช.อยู่ต่อไป จนกระทั่งครม.ชุดใหม่เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณรับหน้าที่. 

เลือกนายกวันวัดใจ

                 "พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา"............

                จะได้รับโหวตให้เป็นนายกฯ "รัฐบาลเลือกตั้ง" จากที่ประชุมรัฐสภาพรุ่งนี้ (๕ มิ.ย.๖๒) มั้ย?

                ถามกันจัง!

                ก็น่าถาม เพราะวันนี้ก็ "สุกดิบ" แล้ว 

                แต่พรรคร่วมหลักอย่าง "ประชาธิปัตย์" กับ "ภูมิใจไทย" ยังอมภูมิที่จะตอบว่า

                จะร่วมตั้งรัฐบาลกับพลังประชารัฐหรือไม่?

                สำหรับใจผม จะร้อนรนไปไย ร่วม-ไม่ร่วมนั้น ประชาธิปัตย์, ภูมิใจไทย มีคำตอบให้ตัวเองแต่ปีมะโว้แล้ว

                ที่เขายังไม่ตอบชัดวันนี้........

                ไม่ใช่เล่นตัวหรือหยิ่ง หากแต่เขามี "คะแนนชี้ขาด" ที่จะหยิ่ง ทำนอง "สวยเลือกได้" ประมาณนั้น

                ฉะนั้น ต้องเข้าใจเขา!

                กับประชาธิปัตย์ พอเข้าใจได้ แต่สำหรับภูมิใจไทย ถ้าไล่เลียงนับญาติตามสายเลือดทหารกับ "พลังประชารัฐ" แล้ว

                หลายคนไม่เข้าใจ........

                ว่าทำไมภูมิใจไทย "นายอนุทิน" ถึงให้สัมภาษณ์เหมือนเยี่ยวรดหัวใจกัน ประมาณว่า ระเริงในจำนวน ส.ส.ตัวเองถึงขนาดนั้น?

                จะต้องให้คุณอนุทินหัวหน้าพรรคเป็นคนอธิบาย หรือต้องให้คุณเนวินหัวหน้าของหัวหน้าพรรคอธิบาย ตรงนี้ก็ไม่แน่ใจ?

                ความเห็นผม แม้วันนี้แล้ว ก็ยังคิดเห็นเหมือนเดิม คือ

                ไม่รีบ.........

                จะตอบวันนี้ หรือตอบพรุ่งนี้ ปะรืนนี้ ว่าจะร่วมหอ-ลงโรงกับพลังประชารัฐหรือไม่ 

                เวลามีอีกเยอะ!

                ต่อให้วันที่ ๕ มิ.ย.ก็ยังเหลือเฟือ ประชาธิปัตย์, ภูมิใจไทย "เล่นองค์" ไปได้เรื่อยๆ ก่อน 

                ยังไม่ต้องรีบตอบ ก็ไม่มีปัญหาด้านบวก, ด้านลบใดๆ เกิดขึ้น

                ขั้นตอนไปสู่การมีรัฐบาลนั้น จะเปรียบ ก็ไม่ต่างขั้นตอนในปฏิบัติการของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

                คือ ต้องไปทีละขั้น "ชนิดเคร่งครัด" ห้ามลัดขั้นตอนเด็ดขาด

                ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์รัสเซีย "เชอร์โนบิล" และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น "ฟุกุชิมะ" ระเบิด

                เหตุหนึ่ง ที่นำไปสู่การระเบิด คือ 

                เจ้าหน้าที่ทำ "ลัดขั้นตอน"!

                การไปสู่ "รัฐบาลเลือกตั้ง" ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปราบมาร นี้ ก็เหมือนกัน 

                ใจเย็นๆ ไม่ต้องร้อนรนเหมือนคนร้อนวิชาหรอก ให้ดูไปตามขั้นตอน แล้วสวยเอง

                พรุ่งนี้ แค่ขั้นตอน "เลือกนายกฯ"

                ต้องไปอีกขั้น-สองขั้น จึงจะถึงขั้นตอน "ตั้งรัฐบาล" ฉะนั้น อย่างที่ว่า ร้อนรนไปไย ไข่ดันระบมเปล่าๆ

                ดูตามเขาไปทีละฉาก สนุกดีออก 

                ถึงอย่างไร ประเทศไทยก็มี "รัฐบาล คสช." ยืนโรงบริหารประเทศอยู่แล้ว

                พรรคประชาธิปัตย์ก็ดี ตัวประธานสภาฯ "คุณชวน หลีกภัย" ก็ดี ประกาศครั้งที่ ๑๐๑ แล้วกระมัง ว่า

                เลือกชวนเป็นประธานรัฐสภา ไม่มีเงื่อนไขต่างตอบแทน ต้องเลือกประยุทธ์เป็นนายกฯ

                วิญญูชนประชาธิปัตย์พูด พลังประชารัฐ ก็ต้องเอาความเป็นวิญญูชนเข้าน้อมสนอง

                โหวตนายกฯ ต้องใช้เสียงเกินกึ่งของสมาชิกรัฐสภา นั่นคือ ใครจะได้เป็น ต้องมีเสียง ๓๗๖ ขึ้นไป

                คิดสะระตะพื้นฐาน มี ส.ว. ๒๕๐

                ฝ่าย ส.ส.ก็ต้องมี ๑๒๖ เสียงขึ้นไป รวมแล้วจึงจะได้ ๓๗๖ เป็นเสียงข้างมาก

                การที่พลังประชารัฐ ทดเสียงประชาธิปัตย์, ภูมิใจไทย รวม ๑๐๔ ไว้ในใจ 

                แล้วยึด "เสียงที่ชัวร์" เป็นอาวุธเข้าสัประยุทธ์ชิงเก้าอี้ในรัฐสภาวันพรุ่งนี้ ก็ต้องบอกว่า

                "ใจนักเลง" ที่ต้องนับถือ!

                รวมถึงใจอีก ๕ พรรค ที่ "เทใจให้กัน" ในนาที "ใจวัดใจ" ที่มีผลได้-เสียเป็นเดิมพัน

                เที่ยงนี้ (๔ มิ.ย.) ที่โรงแรมสุโกศล 

                -นายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง รวมพลังประชาชาติไทย

                -นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานที่ปรึกษาชาติพัฒนา          

                -นายชัชวาลล์ คงอุดม หัวหน้าพลังท้องถิ่นไท 

                -นายดำรงค์ พิเดช หัวหน้ารักษ์ผืนป่าประเทศไทย                             

                -นายไพบูลย์ นิติตะวัน หัวหน้าประชาชนปฏิรูป

                จะร่วมกับนายอุตตม สาวนายน และนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ พรรคพลังประชารัฐ

                แถลงเป็นมติร่วมกัน.........

                เห็นชอบเสนอ "พลเอกประยุทธ์" เป็นนายกฯ ต่อที่ประชุมรัฐสภาวันพรุ่งนี้

                ความจริง มีพรรค "ชาติไทยพัฒนา" กับอีก ๑๐ พรรคเล็ก ที่มีมติร่วมกันไว้แล้ว 

                สำหรับ ๕ พรรค ที่ลงมติร่วมวันนี้ ก็เพื่อให้ชัดเจนในความเป็นปึกแผ่นที่แน่นหนาอยู่นานแล้ว ให้เป็นที่ประจักษ์หนักแน่น

                ตอกย้ำให้เห็นว่า......

                ยังไงๆ พรุ่งนี้ ก็มี ๑๒๖-๑๕๐ เสียง ผนึก ส.ว. ๒๕๐ เสียง เป็น ๓๗๖ เสียง "เกินกึ่งหนึ่ง" ของรัฐสภาอยู่แล้ว 

                ไม่ต้อง "ปิดแอร์วัดใจ" ประชาธิปัตย์, ภูมิใจไทย ว่าจะโหวตหรือไม่โหวตให้ก็ได้

                เพราะยังไงๆ "พลเอกประยุทธ์" ผงาดเก้าอี้จ้าวยุทธ์ เหมือนที่อดีตนายกฯ ชวนผงาดวันก่อน..ชัวร์!

                ฉะนั้น วันนี้ ตามดูได้.......


                 "พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา"............

                จะได้รับโหวตให้เป็นนายกฯ "รัฐบาลเลือกตั้ง" จากที่ประชุมรัฐสภาพรุ่งนี้ (๕ มิ.ย.๖๒) มั้ย?

                ถามกันจัง!

                ก็น่าถาม เพราะวันนี้ก็ "สุกดิบ" แล้ว 

                แต่พรรคร่วมหลักอย่าง "ประชาธิปัตย์" กับ "ภูมิใจไทย" ยังอมภูมิที่จะตอบว่า

                จะร่วมตั้งรัฐบาลกับพลังประชารัฐหรือไม่?

                สำหรับใจผม จะร้อนรนไปไย ร่วม-ไม่ร่วมนั้น ประชาธิปัตย์, ภูมิใจไทย มีคำตอบให้ตัวเองแต่ปีมะโว้แล้ว

                ที่เขายังไม่ตอบชัดวันนี้........

                ไม่ใช่เล่นตัวหรือหยิ่ง หากแต่เขามี "คะแนนชี้ขาด" ที่จะหยิ่ง ทำนอง "สวยเลือกได้" ประมาณนั้น

                ฉะนั้น ต้องเข้าใจเขา!

                กับประชาธิปัตย์ พอเข้าใจได้ แต่สำหรับภูมิใจไทย ถ้าไล่เลียงนับญาติตามสายเลือดทหารกับ "พลังประชารัฐ" แล้ว

                หลายคนไม่เข้าใจ........

                ว่าทำไมภูมิใจไทย "นายอนุทิน" ถึงให้สัมภาษณ์เหมือนเยี่ยวรดหัวใจกัน ประมาณว่า ระเริงในจำนวน ส.ส.ตัวเองถึงขนาดนั้น?

                จะต้องให้คุณอนุทินหัวหน้าพรรคเป็นคนอธิบาย หรือต้องให้คุณเนวินหัวหน้าของหัวหน้าพรรคอธิบาย ตรงนี้ก็ไม่แน่ใจ?

                ความเห็นผม แม้วันนี้แล้ว ก็ยังคิดเห็นเหมือนเดิม คือ

                ไม่รีบ.........

                จะตอบวันนี้ หรือตอบพรุ่งนี้ ปะรืนนี้ ว่าจะร่วมหอ-ลงโรงกับพลังประชารัฐหรือไม่ 

                เวลามีอีกเยอะ!

                ต่อให้วันที่ ๕ มิ.ย.ก็ยังเหลือเฟือ ประชาธิปัตย์, ภูมิใจไทย "เล่นองค์" ไปได้เรื่อยๆ ก่อน 

                ยังไม่ต้องรีบตอบ ก็ไม่มีปัญหาด้านบวก, ด้านลบใดๆ เกิดขึ้น

                ขั้นตอนไปสู่การมีรัฐบาลนั้น จะเปรียบ ก็ไม่ต่างขั้นตอนในปฏิบัติการของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

                คือ ต้องไปทีละขั้น "ชนิดเคร่งครัด" ห้ามลัดขั้นตอนเด็ดขาด

                ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์รัสเซีย "เชอร์โนบิล" และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น "ฟุกุชิมะ" ระเบิด

                เหตุหนึ่ง ที่นำไปสู่การระเบิด คือ 

                เจ้าหน้าที่ทำ "ลัดขั้นตอน"!

                การไปสู่ "รัฐบาลเลือกตั้ง" ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปราบมาร นี้ ก็เหมือนกัน 

                ใจเย็นๆ ไม่ต้องร้อนรนเหมือนคนร้อนวิชาหรอก ให้ดูไปตามขั้นตอน แล้วสวยเอง

                พรุ่งนี้ แค่ขั้นตอน "เลือกนายกฯ"

                ต้องไปอีกขั้น-สองขั้น จึงจะถึงขั้นตอน "ตั้งรัฐบาล" ฉะนั้น อย่างที่ว่า ร้อนรนไปไย ไข่ดันระบมเปล่าๆ

                ดูตามเขาไปทีละฉาก สนุกดีออก 

                ถึงอย่างไร ประเทศไทยก็มี "รัฐบาล คสช." ยืนโรงบริหารประเทศอยู่แล้ว

                พรรคประชาธิปัตย์ก็ดี ตัวประธานสภาฯ "คุณชวน หลีกภัย" ก็ดี ประกาศครั้งที่ ๑๐๑ แล้วกระมัง ว่า

                เลือกชวนเป็นประธานรัฐสภา ไม่มีเงื่อนไขต่างตอบแทน ต้องเลือกประยุทธ์เป็นนายกฯ

                วิญญูชนประชาธิปัตย์พูด พลังประชารัฐ ก็ต้องเอาความเป็นวิญญูชนเข้าน้อมสนอง

                โหวตนายกฯ ต้องใช้เสียงเกินกึ่งของสมาชิกรัฐสภา นั่นคือ ใครจะได้เป็น ต้องมีเสียง ๓๗๖ ขึ้นไป

                คิดสะระตะพื้นฐาน มี ส.ว. ๒๕๐

                ฝ่าย ส.ส.ก็ต้องมี ๑๒๖ เสียงขึ้นไป รวมแล้วจึงจะได้ ๓๗๖ เป็นเสียงข้างมาก

                การที่พลังประชารัฐ ทดเสียงประชาธิปัตย์, ภูมิใจไทย รวม ๑๐๔ ไว้ในใจ 

                แล้วยึด "เสียงที่ชัวร์" เป็นอาวุธเข้าสัประยุทธ์ชิงเก้าอี้ในรัฐสภาวันพรุ่งนี้ ก็ต้องบอกว่า

                "ใจนักเลง" ที่ต้องนับถือ!

                รวมถึงใจอีก ๕ พรรค ที่ "เทใจให้กัน" ในนาที "ใจวัดใจ" ที่มีผลได้-เสียเป็นเดิมพัน

                เที่ยงนี้ (๔ มิ.ย.) ที่โรงแรมสุโกศล 

                -นายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง รวมพลังประชาชาติไทย

                -นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานที่ปรึกษาชาติพัฒนา          

                -นายชัชวาลล์ คงอุดม หัวหน้าพลังท้องถิ่นไท 

                -นายดำรงค์ พิเดช หัวหน้ารักษ์ผืนป่าประเทศไทย                             

                -นายไพบูลย์ นิติตะวัน หัวหน้าประชาชนปฏิรูป

                จะร่วมกับนายอุตตม สาวนายน และนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ พรรคพลังประชารัฐ

                แถลงเป็นมติร่วมกัน.........

                เห็นชอบเสนอ "พลเอกประยุทธ์" เป็นนายกฯ ต่อที่ประชุมรัฐสภาวันพรุ่งนี้

                ความจริง มีพรรค "ชาติไทยพัฒนา" กับอีก ๑๐ พรรคเล็ก ที่มีมติร่วมกันไว้แล้ว 

                สำหรับ ๕ พรรค ที่ลงมติร่วมวันนี้ ก็เพื่อให้ชัดเจนในความเป็นปึกแผ่นที่แน่นหนาอยู่นานแล้ว ให้เป็นที่ประจักษ์หนักแน่น

                ตอกย้ำให้เห็นว่า......

                ยังไงๆ พรุ่งนี้ ก็มี ๑๒๖-๑๕๐ เสียง ผนึก ส.ว. ๒๕๐ เสียง เป็น ๓๗๖ เสียง "เกินกึ่งหนึ่ง" ของรัฐสภาอยู่แล้ว 

                ไม่ต้อง "ปิดแอร์วัดใจ" ประชาธิปัตย์, ภูมิใจไทย ว่าจะโหวตหรือไม่โหวตให้ก็ได้

                เพราะยังไงๆ "พลเอกประยุทธ์" ผงาดเก้าอี้จ้าวยุทธ์ เหมือนที่อดีตนายกฯ ชวนผงาดวันก่อน..ชัวร์!

                ฉะนั้น วันนี้ ตามดูได้.......

                แต่ไม่ต้องลุ้นระทึกกับ "ประชาธิปัตย์" ว่าจะมีหรือไม่มีคำตอบใดๆ ทั้งด้านโหวตนายกฯ และด้านร่วม-ไม่ร่วมรัฐบาล?!

                ดูไปทีละช็อต ดูโหวตนายกฯ พรุ่งนี้ก็รู้ ประชาธิปัตย์, ภูมิใจไทย จะตอบ-ไม่ตอบ 

                "กายและวาจา" ของเขา จะตอบเอง!

                เพราะการโหวตนายกฯ จะโหวตแบบเปิดเผย "เรียกชื่อ" รายตัวแต่ละคน ต่างกับเลือกประธานประสภา ที่ลงคะแนนแบบลับ

                ฉะนั้น ใคร จากพรรคไหน เลือกใคร-ไม่เลือกใคร แจ่มแจ้งแดงแจ๋!

                โหวตเปิดเผย "งูเห่า-อีแอบ" ไม่กล้า!

                ดังนั้น คนไหน-พรรคไหน เป็น "เพื่อนเรา" หรือ "เผาเรือนเรา" ก็จะได้รู้ยาว-รู้สั้นกันไป

                และจากเสียงโหวตนายกฯ จะเป็นคำตอบว่าพรรคไหนจะร่วม-ไม่ร่วมตั้งรัฐบาลไปในตัวด้วย

                คือถ้าไม่ออกเสียงเลือกนายกฯ ที่พลังประชารัฐเสนอ ก็เท่ากับบอกว่า พรรคข้า, พรรคฉัน ขอสะบั้นไมตรีในการตั้งรัฐบาล!

                แล้วพรุ่งนี้ พลเอกประยุทธ์จะชิงกะใคร?

                ก็ชิงกับซีกเพื่อไทย "สุดารัตน์-ชัชชาติ-ชัยเกษม" คนใด-คนหนึ่ง

                ส่วนนายธนาธร อนาคตใหม่ ไม่มีค่าพูดถึงในตำแหน่งนี้!

                นายอภิสิทธิ์-ประชาธิปัตย์, นายอนุทิน-ภูมิใจไทย ก็มีสิทธิ์เสนอเข้าชิงได้ แต่คิดว่า

                คนทั้ง ๒ พรรค ใจยังไม่ด้านพอ!

                นั่นก็คือ พลเอกประยุทธ์ กับใครคนหนึ่งซีกเพื่อไทย จะชิงนายกฯ พรุ่งนี้

                เห็นคู่มวย เซียนบอก ไม่ต้องวิจารณ์ เพราะแบเบอร์!

                เนี่ย....

                ให้ดูขั้นตอนชิงนายกฯ ไปก่อน ผ่านขั้นตอนนี้ ค่อยดูในขั้นตอน "ตั้งรัฐบาล"

                ใครจะมาร่วม หรือร่วมกับใคร

                เป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย-เสียงข้างมาก มากแบบเรือปริ่มน้ำหรือน้ำปริ่มแคม ก็ตามไปดูทีละขั้น

                ตั้งได้วันไหน-ปีไหน ก็วันนั้น ปีนั้นแหละ ติดตามดูข่าวละกัน ถ้าเห็นข่าว นายกรัฐมนตรีนำคณะรัฐมนตรีเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณวันไหน

                วันนั้นแหละ รัฐบาล คสช.สิ้นสภาพ!

                ถ้ายังไม่มีคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณ ก็ให้รู้ไว้ว่า 

                "พลเอกประยุทธ์" ยังเป็นหัวหน้ารัฐบาล คสช.บริหารประเทศด้วย "อำนาจเต็ม" ตามปกติ

                แต่ขอบอกไว้นิด........

                อย่าเพิ่งปักใจนะ ๕ มิ.ย.จะรู้ตัวนายกฯ คนใหม่!

                ผมประเมินว่า บรรดาท่านผู้ทรงเกียรติ จะมีเรื่องแสดงโวหาร ลีลา ถึงขั้นวิวาทะ กันยืดเยื้อ-ยาวนาน

                อาจหลายวัน-หลายคืน 

                ด้วยเหตุ "หาเหตุ" เจิมกบาลพลเอกประยุทธ์กันนั่นแหละ

                ฉะนั้น โปรดหวัง "ตั้งสงบ" กันไว้เถอะ. 


'เฮียศรี'จัดหนัก'บิ๊กตู่'เผยเหตุไม่เหมาะสมเสนอชื่อโหวตเป็นนายกฯ

4 มิ.ย.62- นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ถวายคําแนะนำพระมหากษัตริย์ให้ทรงแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 250 คน ขณะเดียวกันมีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2562 เรื่อง การกำหนดรายชื่อบุคคลสำรอง สำหรับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา 2561 ออกมาพร้อมๆ กันจำนวน 50 คน โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2562 ที่ผ่านมานั้น

การประกาศรายชื่อ ส.ว.สำรองดังกล่าวของ คสช.ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2560 ม.269 (ค) ประกอบ ม.90 (ค) และ ม.98 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา 2561 ที่กำหนดไว้โดยชัดแจ้งว่าจะต้องประกาศรายชื่อสำรอง 50 คนจากบัญชีรายชื่อ ส.ว.ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่งให้เลือกจำนวน 200 คน (ตามบัญชี (ก)) และอีก 50 คนจากบุคคลที่คณะกรรมการสรรหาเสนอจำนวน 400 คน (ตามบัญชี (ข)) แต่ปรากฏว่า พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ลงนามประกาศบัญชีรายชื่อ ส.ว.สำรองเพียง 50 คนเท่านั้น และไม่ทราบว่าบัญชีรายชื่อ ส.ว.สำรอง 50 คนที่ประกาศนั้นมาจากระบบบัญชีใดอีกด้วย

การประกาศรายชื่อ ส.ว.สำรองเพียง 50 คนโดยไม่สามารถระบุได้ว่ามาจากระบบบัญชีใด จะทำให้เกิดปัญหาในการขยับรายชื่อ ส.ว.ขึ้นมาแทน หาก ส.ว.ตัวจริงอาจหลุดจากตำแหน่งไปตามรัฐธรรมนูญ ม.111 ซึ่งจะต้องคัดเลือกบุคคลจากบัญชีสํารองเพื่อแทนตําแหน่งที่ว่าง ตาม ม.90(4) และตาม ม.98 แม้กฎหมายให้นําความใน ม.45 วรรคสอง แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา 2561 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลมก็จะไม่สามารถทำได้

ความผิดพลาดล้มเหลวของ พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา และ คสช. ในครั้งนี้เป็นเรื่องใหญ่ อาจถือให้เห็นเด่นชัดว่า เป็นความเย่อหย่อนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายแม่บทของชาติ อันจะก่อให้เกิดปัญหาและความสับสนอลหม่านของชาติบ้านเมืองในอนาคตอันใกล้และไกล ซึ่งไม่เหมาะสมที่ใครจะเสนอชื่อเพื่อโหวตให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในวันที่ 5 มิ.ย.นี้ 

ด้วยเหตุดังกล่าวสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงจะนำความไปร้องเรียนต่อ ป.ป.ช.ให้ดำเนินสอบสวนเอาผิด พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา และ คสช. ตามกฎหมาย ป.ป.ช.2561 ต่อไป โดยจะเดินทางไปยื่นคำร้องในวันพุธที่ 5 มิ.ย. 2562 เวลา 10.00 น. ณ สำนักงาน ป.ป.ช. ถนนสนามบินน้ำ ปากเกร็ด นนทบุรี และเวลา 11.00 น.จะเดินทางไปยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ณ ศูนย์ราชการฯ อาคาร B ห้อง 902 เพื่อให้ใช้อำนาจตาม ม.231(2) เพื่อให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลปกครองวินิจฉัยต่อไป.

ซักฟอกยาว คุณสมบัตินายกรัฐมนตรี "ชวน" ไม่จํากัดเวลา

พร้อมเปิดทางแข่งวิสัยทัศน์ พปชร.จับ5พรรคเล็กตั้งรบ. บิ๊กตู่ลั่น-ไม่มีจุดยืนแก้รธน.

“ชวน” เปิดไฟเขียว ส.ส.-ส.ว.ถกก่อนโหวตนายกฯเต็มที่ ไม่มีลิมิตเวลา “บิ๊กตู่” ไม่มีจุดยืนเรื่องแก้ รธน. ออกตัวจะตื่นเต้นอะไรกะแค่ โหวตนายกฯ ดีลตั้งรัฐบาล “ลุงตู่ 2” ส่อล่มปากอ่าว พปชร.-ปชป.-ภท.เริ่มไปคนละทาง แกนนำพลังประชารัฐยืนกรานต้องล้มดีลเก่ายึดกระทรวงเกรดเอคืน แต่ ปชป.-ภท.ลั่นยึดข้อตกลงเดิมที่เคยคุยกันไว้ “อุตตม” ยังหวังพรรคร่วมชัดเจนก่อน 5 มิ.ย. “จุรินทร์-เฉลิมชัย” นัดถกท่าทีกรรมการบริหารพรรค “สาธิต” แย้มแนวโน้มไม่ร่วมมีมากกว่า แต่ “ติ่ง มัลลิกา” ดี๊ด๊าอยากไปร่วมกับ “ลุง” “วันนอร์” กระทุ้งผู้นำอย่าเพิ่งปอดแหก พท.เอาแน่ซักฟอกลักษณะต้องห้าม “ประยุทธ์” “พรเพชร” ยันอภิปรายได้ ส.ว.ฝักถั่วประกาศลั่นไม่มีแตกแถว

หลัง ส.ส.หลายพรรคออกมาจุดกระแส ต้องการให้บุคคลที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีขึ้นแสดงวิสัยทัศน์ พร้อมขออภิปรายถึงคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของว่าที่ผู้นำคนใหม่ ล่าสุดนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประกาศยืนยันจะเปิดโอกาสให้สมาชิกได้อภิปรายกันอย่างเต็มที่ โดยไม่มีลิมิตเวลา

ชวน” ทักทาย “บิ๊กตู่” พอเป็นพิธี

เมื่อเวลา 07.30 น. วันที่ 3 มิ.ย. ที่บริเวณท้องสนามหลวง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเสร็จสิ้นพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เดินเข้าไปยกมือไหว้นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขณะที่นายชวนหันมายิ้มรับไหว้และพูดคุยด้วย 2-3 คำ โดยมีสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ 4-5 คนเดินเข้ามาไหว้ พล.อ.ประยุทธ์ จากนั้นนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เข้ามาพูดคุยกับ พล.อ.ประยุทธ์เพียงเล็กน้อย ก่อนที่ พล.อ.ประยุทธ์ยกมือไหว้ลานายชวนกลับไปขึ้นรถ เป็นที่น่าสังเกตว่านายชวนค่อนข้างระมัดระวังตัวระหว่างร่วมสนทนากับ พล.อ.ประยุทธ์ เพราะมีช่างภาพและสื่อมวลชนติดตามทำข่าวอยู่จำนวนมาก

ตื่นเต้นอะไรแค่โหวตนายกฯ

ต่อมาเวลา 09.35 น. พล.อ.ประยุทธ์พร้อมภริยา และรัฐมนตรี ร่วมกิจกรรมจิตอาสา ที่บริเวณพระแม่ธรณีบีบมวยผม ถนนราชดำเนิน และพบปะชาวชุมชนปากคลองตลาด มีประชาชนตะโกนให้กำลังใจว่า “นายกฯสู้ๆ” พล.อ.ประยุทธ์ย้อนถามว่า วันนี้ต้องสู้กับปัญหาบ้านเมือง ปัญหาความยากจน ที่มาไม่ได้ต้องการให้ใครเดือดร้อน มากวนใจหรือมารังแกคนจน ตามที่บิดเบือน จะขัดแย้งอะไรกันนักหนา ทราบว่าย่านนี้มีคนมาสร้างประวัติศาสตร์ไว้เยอะ อย่าให้เกิดขึ้นอีก จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ว่า การทำแผนระบายน้ำ กทม.ใหม่ทั้งหมด ต้องทำเป็นแผนยุทธศาสตร์ เดี๋ยวจะบอกว่าพูดแต่ไม่ทำ ต้องเริ่มทำวันนี้ มีอะไรใหม่ๆกับเขาบ้างหรือเปล่า เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงการโหวตนายกฯวันที่ 5 มิ.ย. พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่า “ตื่นเต้นอะไร เป็นเรื่องของ พล.อ.ประยุทธ์ ผมไม่ได้เข้าไปโหวตในสภาฯกับเขาด้วย”

ไม่มีจุดยืนแก้ รธน.ว่าตาม ก.ม.

เมื่อถามย้ำว่า หากได้รับโหวตเป็นนายกฯอีกจะขอบคุณหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ย้อนถามว่า “ขอบคุณอะไร ขอบคุณใคร ยังไม่รู้ ถามเรื่อยเปื่อย” เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์อยากได้ยินจากปากนายกฯว่าจะมีจุดยืนแก้รัฐธรรมนูญอย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่า “ไม่มีจุดยืน เป็นเรื่องของกฎหมาย เป็นขั้นตอนตามกระบวนการ คนก็สนใจแต่การเมือง การเมืองตรงโน้น แต่ผมสนใจแต่การบ้าน”

หวังพรรคร่วมชัดเจนก่อนโหวต

นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงความคืบหน้าในการเจรจาจัดตั้งรัฐบาล ว่า พรรคพลังประชารัฐได้รับฟังความต้องการของพรรคการเมืองที่จะมาร่วมจัดตั้งรัฐบาล และมีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมต่อพรรคการเมืองต่างๆเหล่านั้นไปแล้ว ตามที่นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรคให้สัมภาษณ์ไปก่อนหน้านี้ และเชื่อมั่นว่าข้อเสนอจากพรรคพลังประชารัฐจะถูกนำเข้าสู่ที่ประชุมของพรรคร่วมรัฐบาลและมีการตัดสินใจหรือมีมติที่ชัดเจนออกมาก่อนวันโหวตเลือกนายกฯ วันที่ 5 มิ.ย. เรามุ่งหวังให้การจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เสร็จสิ้นโดยเร็ว มีรัฐบาลประชาธิปไตยเข้าไปพัฒนาประเทศตามความคาดหวังของประชาชนที่ต้องการให้ประเทศเดินไปข้างหน้า

จับมือ 5 พรรคแถลงตั้งรัฐบาล

เวลา 18.40 น. นายอุตตม สาวนายน โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า วันที่ 4 มิ.ย. เวลา 12.00 น. ที่โรงแรมเดอะสุโกศล ตนและผู้บริหารพรรคจะร่วมแถลงข่าวการร่วมจัดตั้งรัฐบาล กับอีก 5 พรรค คือ รวมพลังประชาชาติไทย ชาติพัฒนา พลังท้องถิ่นไท รักษ์ผืนป่าประเทศไทย และประชาชนปฏิรูป โดยพลังประชารัฐมุ่งหวังจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เสร็จสิ้นโดยเร็ว มีรัฐบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตยให้ประเทศเดินหน้า มากกว่าการต่อรองกัน ขอบคุณในมิตรไมตรี ความมุ่งมั่น เสียสละทำเพื่อประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง

ยืนกรานล้มดีลเดิมเกลี่ยกันใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส่วนการจัดแบ่งโควตารัฐมนตรีกับพรรคประชาธิปัตย์ และภูมิใจไทย ที่ยังไม่ลงตัว ทำให้ยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจนออกมาจากทั้ง 2 พรรค ล่าสุดทางพรรคพลังประชารัฐยังคงย้ำหลักการเดิม คือนำข้อเสนอทั้งหมดทุกเก้าอี้เข้าสู่ที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐเพื่อขอมติ รวมถึงเก้าอี้ รมว.พาณิชย์ รมว.คมนาคม และ รมว.เกษตรและสหกรณ์ โดยจะล้มดีลเดิมทั้งหมดนำมาเกลี่ยกันใหม่ และป้องกันถูกร้องเข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญ เปิดให้คนนอกครอบงำก้าวก่ายการจัดตั้งรัฐบาล ทั้งหมดจะมีการพิจารณาหลังจากโหวตนายกฯ แล้ว แต่ยังมีความพยายามของแกนนำพรรคประชาธิปัตย์บางคน ที่พยายามต่อสายเจรจากับผู้ที่ทำหน้าที่ดีลในรอบแรก เพื่อขอให้กลับไปยึดโควตาแรกที่ดีลไว้ แต่ไม่ได้รับการตอบรับ

ยึดคืนเกลี้ยงกระทรวงเกรดเอ

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ส่วนโควตากระทรวงพาณิชย์ ที่พรรคพลังประชารัฐต้องการขอคืน หลังดีล รอบแรกพลาดท่ายกให้พรรคประชาธิปัตย์ รวมกับโควตา รมว.เกษตรและสหกรณ์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และอีก 4 เก้าอี้รัฐมนตรีช่วย เนื่องจากแกนนำพรรคบางส่วนเห็นว่าแนวทางประชาธิปัตย์เกี่ยวกับกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ ส่วนใหญ่เน้นยกระดับราคาพืชผลทางการเกษตรในประเทศเท่านั้น แต่ไม่เน้นมิติการขยายตลาดในต่างประเทศด้วย บุคคลที่จะมานั่งยังไม่ลงตัว ขณะที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เน้นเปิดตลาดใหม่ๆ ให้แก่สินค้าเกษตรของไทย ได้ติดต่อเจรจาการค้าและโรดโชว์กับหลายประเทศ อาทิ จีน อินเดีย แอฟริกา และสหภาพยุโรป โดยพลังประชารัฐเสนอขอแลกกับ รมว.ศึกษาธิการ และเปิดให้คนของประชาธิปัตย์เข้าเป็น รมช.พาณิชย์ กำกับดูแล กรมการค้าภายใน และประชาธิปัตย์ชูนโยบายแก้จนสร้างคนสร้างชาติ รวมถึง รมว.คมนาคม ที่ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประยุทธ์ เคยประกาศว่าควรเป็นของพรรคหลักจัดตั้งรัฐบาล และเป็นห่วงเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน จากโครงการเมกะโปรเจกต์ การผูกขาดสัมปทานโครงการรัฐ อาจทำให้ภาพลักษณ์รัฐบาลในอนาคตเสียหาย จึงมีแนวโน้มสูงที่จะดึงคืนมาจากพรรคภูมิใจไทยเช่นกัน หลังผู้ใหญ่นอกพรรคแอบตกลงยกให้

ดูด ปชป.มาได้อย่างต่ำ 27 เสียง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แกนนำพลังประชารัฐวิเคราะห์ว่า พรรคประชาธิปัตย์น่าจะมีเสียงแตกในการโหวตให้ พล.อ.ประยุทธ์ โดยมีความเป็นไปได้สูงที่ ส.ส.ในกลุ่มของนายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ รวมถึง ส.ส.ในกลุ่มของนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรค รวม 27 เสียงเป็นอย่างต่ำ จะมาร่วมรัฐบาลและโหวตให้ พล.อ.ประยุทธ์ เบื้องต้นวางตัวนายพีระพันธุ์มานั่งเก้าอี้ รมว.ยุติธรรม เพราะเคยดำรงตำแหน่งนี้มาแล้วสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขณะที่นายถาวรจะนั่งเก้าอี้ รมช.มหาดไทย ส่วนเสียงที่ไม่สนับสนุนน่าจะเป็นกลุ่มของนายชวน หลีกภัย ที่จะงดออกเสียงในฐานะประธานสภาฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรค นายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส. นครศรีธรรมราช

“ชวน” ไฟเขียวถกไม่จำกัดเวลา

เมื่อเวลา 12.30 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ ส.ส.จากหลายพรรค การเมือง แสดงความต้องการจะอภิปรายถึงที่มา ส.ว. ในที่ประชุมร่วมรัฐสภา ก่อนโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี วันที่ 5 มิ.ย. ว่า คิดว่าไม่น่ามีปัญหา จะให้สิทธิสมาชิก อย่างเต็มที่ เมื่อถามว่า จะทำให้การพิจารณาโหวตนายกฯนานเกินไปหรือไม่ นายชวนตอบว่า คิดว่าไม่เป็นไร ใช้เวลาได้อย่างเต็มที่ ไม่มีลิมิต จะใช้เวลากี่วันก็ได้

ให้ที่ประชุมชี้ขาดโชว์วิชั่นผู้นำ

เมื่อถามถึงแคนดิเดตนายกฯที่ถูกเสนอชื่อต่อที่ประชุม จำเป็นต้องปรากฏตัวต่อที่ประชุมรัฐสภาหรือไม่ นายชวนตอบว่า ทุกอย่างต้องยึดตามกฎหมาย และข้อบังคับการประชุม แล้วแต่ที่ประชุม เพราะกฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ ส่วนที่หลายฝ่ายอยากเห็นการแสดงวิสัยทัศน์ของแคนดิเดตนายกฯที่ถูกเสนอชื่อนั้น เป็นสิทธิของแต่ละฝ่าย การแสดงวิสัยทัศน์ สามารถทำได้

“จุรินทร์” เร่งยกเครื่อง ปชป.

ขณะที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรค ประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรค ว่า วันนี้เป็น การประชุมครั้งแรก มีความสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อน ทั้งการเดินหน้าการบริหาร หรือทางการเมือง ทั้งหมดต้องเริ่มต้นที่คณะกรรมการชุดนี้ที่จะกำหนดทิศทาง เป้าหมาย และพาพรรคเดินหน้าไปสู่ความสำเร็จ เมื่อถามถึงผลสำรวจความคิดเห็นของนิด้าโพล กรณีบทเรียนและบทบาทพรรคประชาธิปัตย์ นายจุรินทร์ตอบว่า เป็นผลสำรวจก่อนที่จะ มีคณะกรรมการบริหารชุดปัจจุบันเข้ามา ต้องรับฟัง เพื่อนำไปเป็นฐานข้อมูลหนึ่งในการนำไปสู่การกำหนด ทิศทางเดินหน้าของพรรค โดยคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่

ไม่กดดัน พปชร.เคลียร์ปมภายใน

เมื่อถามถึงความคืบหน้าของข้อตกลงในการร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) นายจุรินทร์ตอบว่า ต้องให้เวลาพรรคพลังประชารัฐ ได้ข้อสรุปอย่างไรคงแจ้งมายังที่พรรคเรา เราไม่อยากไปกดดัน เป็นหน้าที่ของพลังประชารัฐที่เป็นแกนนำ จัดตั้งรัฐบาล เมื่อถามถึงความเป็นไปได้ในการลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีแบบฟรีโหวต นายจุรินทร์ตอบว่า จะประชุม ส.ส.ในวันที่ 4 มิ.ย. คงมีการหยิบเรื่องดังกล่าวมาพิจารณา

“เฉลิมชัย” นัดถกท่าที กก.บห.

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการนัดหารือกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ทั้ง 29 คน ที่ร้านอาหารทีเฮ้าส์ ย่านถนนพระรามหก ว่า เป็นการหารือพูดคุยสถานการณ์ทางการเมือง รวมถึงทำความเข้าใจก่อนประชุม ส.ส. วันที่ 4 มิ.ย. ส่วนจะเป็นไปในทิศทางใด ขอให้รอฟังมติที่ประชุม ส.ส. การตัดสินใจจะร่วมหรือไม่ร่วมรัฐบาล ต้องอยู่ที่มติที่ประชุมร่วมเช่นกัน ยืนยันว่าในวันที่ 4 มิ.ย.นี้มีคำตอบแน่นอน ส่วนกรณีที่พรรคพลังประชารัฐแจ้งการแถลงข่าวร่วมกับ 5 พรรคการเมืองโดยไม่มีชื่อพรรคประชาธิปัตย์นั้น เป็นเพราะพรรคประชาธิปัตย์มีระบบ มีขั้นตอนในการทำงาน

“สาธิต” ชี้ รบ.เสียงข้างน้อยไปยาก

นายสาธิต ปิตุเตชะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกระแสข่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์พร้อมเป็นฝ่ายค้านอิสระ หากพรรคพลังประชารัฐไม่รับ 2 เงื่อนไข ที่เสนอให้แก้รัฐธรรมนูญ และบรรจุนโยบายของพรรคลงในนโยบายของรัฐบาล ว่า ส่วนตัวไม่ทราบเรื่องนี้ยังไม่มีการพูดคุยกัน แต่มองว่าข้อเสนอนี้อาจมีผู้เสนอในที่ประชุม ส.ส. ขึ้นอยู่กับมติที่ประชุม รวมถึงเรื่องงดออกเสียง ก็ต้องมาพูดคุยในที่ประชุมเช่นกัน เพราะหากพรรคพลังประชารัฐไม่มีพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทยร่วมรัฐบาล ก็สามารถโหวตนายกรัฐมนตรีได้ แต่การเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยแม้สามารถตั้งได้ แต่จะเป็นเรื่องยากในการบริหาร

แย้มแนวโน้มไม่ร่วมมีมากกว่า

นายสาธิตกล่าวต่อว่า ส่วนการประชุม ส.ส. วันที่ 4 มิ.ย. เป็นการหารือถึงภารกิจในสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงการเตรียมตัวโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ยอมรับว่าเรื่องอุดมการณ์และการประกาศจุดยืนของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็ต้องเคารพ แต่มติเสียงส่วนใหญ่ภายในพรรคต้องเป็นเอกภาพ คงไปบังคับใครไม่ได้ แต่หากมีผู้ไม่เคารพมติพรรคต้องดำเนินการตามข้อบังคับพรรคต่อไป ยังตอบไม่ได้ว่าจะปล่อยให้ฟรีโหวตหรือไม่ ขึ้นอยู่กับมติที่ประชุม ทิศทางเสียงภายในเป็นการตัดสินใจแบบวันต่อวัน เพราะช่วงแรกเสียงส่วนใหญ่อยากให้ร่วมรัฐบาล แต่ขณะนี้มีแนวโน้มว่าไม่ต้องการร่วมมากกว่า ต้องรอดูมติในที่ประชุม ส.ส.อีกครั้ง เมื่อถามว่า ข้อเสนอของนายไทกร พลสุวรรณ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่ให้พรรคประชาธิปัตย์เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ มีความเป็นไปได้หรือไม่ นายสาธิตตอบว่า เป็นทางออกที่ดี อยู่ที่ผู้มีส่วนในการตัดสินใจ หาก พล.อ.ประยุทธ์ยอมถอยได้ ก็เป็นเรื่องที่ดีเช่นเดียวกัน

หยันอยู่อีก 4 ปี คงแจกบัตรขอทาน

นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จากการรับฟังความเห็นชาวบ้านขณะลงพื้นที่ ฟังดูแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกขอให้ร่วมรัฐบาล เพื่อนำนโยบายพรรคไปผลักดันเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง อีกกลุ่มไม่อยากให้เข้าร่วมรัฐบาล โดยอ้างเหตุผลว่าไม่อยากให้พรรคเป็นนั่งร้านให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และไม่ต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์สืบทอดอำนาจ สำคัญที่สุดคือตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ผลงานของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจสาหัส และยังเป็นอยู่ ดังนั้นการจะให้ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯอีก 4 ปี ไม่มีหลักประกันใดว่ารัฐบาลใหม่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้องให้ประชาชนได้ ประชาชนบอกว่า 5 ปีที่ผ่านมา การแก้ปัญหาโดยให้บัตรคนจน 14.3 ล้านใบ ถ้าอยู่ต่ออีก 4 ปี คงต้องแจกบัตรขอทานให้ประชาชน

รัฐบาลขั้วที่สามเหมาะสมที่สุด

นายเทพไทกล่าวต่อว่า นี่คือมุมมองของประชาชนที่สะท้อนว่าพรรคประชาธิปัตย์อยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ร่วมรัฐบาลก็โดนต่อว่า ไม่ร่วมรัฐบาลก็โดนวิจารณ์หนัก แต่ทางออกที่ดีที่สุดคือเมื่อขั้วที่หนึ่งและขั้วที่สองจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ อยากให้ผู้บริหารพรรคชุดปัจจุบันพิจารณาเรื่องขั้วที่สาม และสนับสนุนให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นแคนดิเดตนายกฯของพรรค การออกแนวขั้วที่สามสามารถแก้วิกฤติการเมืองได้ แนวคิดของตนเห็นตรงกับคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ที่อยากได้รัฐบาลแบบขั้วที่สาม ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลปรองดองแห่งชาติ รัฐบาลคนกลาง หรือรัฐบาลที่ไม่มี พล.อ.ประยุทธ์ โดยมีฝ่ายค้านเป็นพรรคเพื่อไทย นี่อาจเป็นทางออกของบ้านเมือง

“สมบูรณ์” ตอบ จ.ม. “เจิมศักดิ์”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 23.16 น.ของคืนวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ว่าที่เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร โพสต์เฟซบุ๊กชี้แจงนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ที่ทำจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้นายชวน และพรรคประชาธิปัตย์ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านอิสระ ไม่เข้าร่วมเป็นฐานให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่า นายชวนได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว และขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่ห่วงใยต่อพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นสถาบันการเมือง มีอุดมการณ์หลักการชัดเจน ตามปณิธานที่ยึดมั่นมา 73 ปี การเลือกนายกฯครั้งนี้ก็เช่นกัน เรายังยึดถือประโยชน์ประเทศชาติเป็นสำคัญ นายชวนจะนำข้อคิดเห็นดังกล่าวไปแจ้งให้หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์รับทราบต่อไป ส่วนการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมา เป็นความพร้อมใจของสมาชิกส่วนใหญ่ที่ต้องการให้นายชวนเป็นประธานฝ่ายนิติบัญญัติ ท่านตั้งเป้าหมายทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของนักการเมืองให้เป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของประชาชน มุ่งทำเพื่อประเทศชาติ มากกว่าผลประโยชน์ตน

“มัลลิกา” ย้ำร่วมหอลงโรงกับ “ลุง” แน่

ด้านนางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความลงทวิตเตอร์ระบุว่า “ร่วมรัฐบาลกับลุงค่ะ!! ไม่มีอย่างอื่นประเทศต้องเดินหน้า นายกฯมาจากรัฐธรรมนูญ ประชาธิปัตย์ก็นักเลงพอ คบได้ใจถึง!!”

อุบเงียบไร้ชื่อ ปชป.ร่วมตั้งรัฐบาล

ต่อมาช่วงบ่ายที่ร้านทีเฮ้าส์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวสั้นๆพร้อมส่งยิ้มว่า วันนี้แค่มาดื่มกาแฟกับกรรมการบริหารพรรคเท่านั้น ไม่มีการหารืออะไรเป็นพิเศษ เมื่อถามว่า มีการหารือถึงท่าทีเข้าร่วมรัฐบาลหรือไม่ นายจุรินทร์ตอบปฏิเสธว่า ไม่มีการพูดคุยเรื่องร่วมหรือไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ เมื่อถามว่าพรรคพลังประชารัฐเตรียมแถลงข่าวร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับ 5 พรรคการเมืองในวันที่ 4 มิ.ย. แต่ไม่มีชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ด้วย นายจุรินทร์ตอบสั้นๆว่า ไม่ทราบ

รอคำมั่นยึดดีลเดิมร่วม พปชร.

ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรคประชาธิปัตย์ว่า หลังจากแกนนำพรรคยังคงรอคำตอบจากผู้มีอำนาจเต็มของพรรคพลังประชารัฐ ว่ายังยึดในข้อตกลงเดิมที่เข้าใจร่วมกันก่อนหน้านี้ คือผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการนำนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ใส่เข้าไปในนโยบายรัฐบาล เพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหาให้ประชาชนโดยเฉพาะเกษตรกรและภาคการประมง รวมถึงโควตา 8 ตำแหน่งรัฐมนตรี คือ รองนายกฯ รมว.พาณิชย์ รมว.เกษตรและสหกรณ์ และ รมว.การ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และอีก 4 ตำแหน่ง รมช. ก่อนหน้านี้ได้รับการยืนยันมาว่ายังยึดดีลเดิม ส่วนปัญหาโควตาที่แกนนำกลุ่มสามมิตรเรียกร้องขอคืน ทางผู้ใหญ่ในพรรคพลังประชารัฐบอกแล้วว่าจะไปแก้ปัญหาภายในนี้เอง เพื่อไม่ให้กระทบต่อการจัดตั้งรัฐบาล

ถ้ามีการเปลี่ยนดีลก็วงแตก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส่วนสาเหตุที่ไม่มีชื่อพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลในวันที่ 4 มิ.ย. ที่โรงแรม เดอะสุโกศล แกนนำประชาธิปัตย์เห็นว่าไม่ใช่ประเด็นสำคัญ อาจเป็นการแถลงโชว์ต่อสังคมเพื่อไม่ให้กังวลใจในการจัดตั้งรัฐบาล และแสดงให้เห็นว่ามีเสียง ส.ส.เกิน 126 คน คาดว่าพลังประชารัฐจะรวม ส.ส. ได้ 140-150 คน จากพรรคต่างๆ รวมกับเสียง ส.ว.อีก 250 คน ก็สามารถโหวตนายกฯได้ ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์นัดประชุม ส.ส. ในเวลา 13.00 น. วันที่ 4 มิ.ย. หากได้รับคำมั่นว่ายังยึดดีลเดิม ก็จะมีมติเรื่องร่วมรัฐบาล โดยมีเสียงของภูมิใจไทยและประชาธิปัตย์อีก 104 เสียงไปเพิ่ม รอแค่คำมั่นในคืนนี้ ทุกอย่างจะจบภายในวันที่ 4 มิ.ย. ต้องมีคำตอบทุกอย่างให้กับสังคม แต่หากมีการเปลี่ยนดีลไม่ตรงตามนี้ ก็วงแตก

“วันนอร์” กระทุ้ง “บิ๊กตู่” อย่าเพิ่งปอด

วันเดียวกันนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ และอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงเสียงเรียกร้องให้ผู้ถูกเสนอตัวเป็นนายกฯ ต้องแสดงวิสัยทัศน์ ว่า แม้ไม่มีกฎหมายบังคับ แต่คนถูกเสนอชื่อควรให้คนที่จะเลือกเห็นหน้าตา ถือเป็นการให้เกียรติ ส.ส.ที่ประชาชนเลือกมา ถ้าบอกว่าไม่ว่างก็ไม่รู้จะเสนอตัวมาเป็นนายกฯทำไม การแสดงวิสัยทัศน์มีแต่ข้อดี คนเลือกจะได้ฟังทัศนะว่าจะมาบริหารประเทศอย่างไร เข้าใจกติกาประชาธิปไตยหรือยัง อย่าเพิ่งไปกลัว คนเป็นนายกฯควรมีความสง่างาม มีคุณสมบัติครบถ้วน แต่ พล.อ.ประยุทธ์ที่เป็นแคนดิเดตนายกฯของพรรคพลังประชารัฐ ยังมีข้อกังขาเรื่องคุณสมบัติ ถ้าโหวตโดยไม่มีการชี้ชัดอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญหลายมาตรา

เตือน ส.ว.ประโยชน์ต่างตอบแทน

นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวต่อว่า สำหรับ ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. จะโหวตเลือกใครเป็นนายกฯก็ได้ไม่มีปัญหา แต่การโหวตให้ พล.อ.ประยุทธ์จะมีปัญหาทันที เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 114 วางหลักการห้าม ส.ส. หรือ ส.ว. มีผลประโยชน์ขัดกัน เนื่องจาก ส.ว.ชุดนี้ยกเว้น 6 คน ที่มาตามตำแหน่งได้รับการคัดเลือกจาก คสช. หากเลือก พล.อ.ประยุทธ์กลับมาเป็นนายกฯ จะถูกมองว่ามีลักษณะต่างตอบแทน เมื่อถามว่ามี ส.ส.หรือ ส.ว.บางคน พยายามอธิบายด้วยการตีความรัฐธรรมนูญให้เป็นประโยชน์ต่อ พล.อ.ประยุทธ์ และพรรคพลังประชารัฐ นายวันมูหะมัดนอร์ตอบว่า คนเหล่านี้กำลังทำตัวเป็นศรีธนญชัย ทำลายหลักการประชาธิปไตยสากล ถ้าจะปฏิบัติอย่างที่ว่าต้องแก้รัฐธรรมนูญก่อน การเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยทำได้ แต่เสถียรภาพและความมั่นคงคงลำบาก และเสียงประชาชนเกินครึ่งที่สะท้อนผ่านการเลือก ส.ส.ไม่มีความหมายหรือ พรรคประชาชาติขอยืนหยัดหลักการและสัญญา ว่านายกฯต้องมาจากประชาชน และทำงานเพื่อประชาชนเท่านั้น

พท.ขอซักฟอกลักษณะต้องห้าม

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า วันที่ 4 มิ.ย. พรรคเพื่อไทยจะไปยื่นหนังสือต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้บรรจุระเบียบวาระเพิ่มเติมในการประชุมรัฐสภาเพื่อเลือกนายกฯ วันที่ 5 มิ.ย. โดยจะขอให้บรรจุวาระเพิ่มเติมให้สมาชิกรัฐสภาอภิปรายซักถามเรื่องคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกฯ เพราะขณะนี้มีข้อสงสัยเรื่องลักษณะต้องห้ามของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่า มีลักษณะต้องห้ามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐหรือไม่ เป็นปัญหาที่ยังไม่ได้ข้อยุติชัดเจน อยากให้ที่ประชุมรัฐสภาชี้ขาด หากนายชวนบรรจุเข้าสู่วาระการประชุม ก็ขึ้นอยู่กับที่ประชุม แต่หากนายชวนไม่บรรจุเข้าวาระ พรรคเพื่อไทยจะยื่นขอเปิดอภิปรายด้วยวาจาให้มีการหารือเรื่องดังกล่าวก่อน เพราะการเลือกนายกฯ ครั้งนี้เป็นการเลือกตามบทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญมาตรา 272 อยากทำให้เกิดความชัดเจน ไม่มีเจตนาป่วนแต่อย่างใด นอกจากเรื่องนี้แล้วสมาชิกหลายคนอาจสอบถามเรื่องอื่นเพิ่มเติม เช่น กรณี พล.อ.ประยุทธ์ที่มาจากการรัฐประหาร ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่เสนอตัวเป็นนายกฯถือว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ รวมถึงกรณีการขัดกันของผลประโยชน์ ส.ว.ที่ได้รับแต่งตั้งจาก คสช. แต่จะมาโหวตเลือก พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี

“พิชัย” ซัดอีกไม่เอา “เผด็จการหมู”

อีกเรื่อง นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว.พลังงาน กล่าวว่า ได้ตอบรับคำเชิญเข้าร่วมสัมมนา “เสวนาโต๊ะกลม ข้อเสนอของประชาชน ต่อการเลือกนายกรัฐมนตรี” จัดโดยคณะกรรมการญาติพฤษภา 35 ในวันที่ 4 มิ.ย. ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ แม้ที่ผ่านมาจะเคยถูก คสช.ดำเนินคดี และคดียังค้างอยู่ที่สำนักอัยการ แต่เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจ สะท้อนความจริง เป็นสิ่งจำเป็นในระบอบประชาธิปไตย เชื่อว่าสำนักอัยการสูงสุดจะให้ความเป็นธรรม ไม่อยากเห็นประเทศนี้อนุญาตให้เผด็จการเขียนกฎหมายเอง และเปลี่ยนกฎหมายไปเรื่อยๆตามความต้องการของพวกตน แล้วอ้างว่าคนอื่นทำผิดกฎหมาย ไม่ต่างจากพวก “เผด็จการหมู” ที่เปลี่ยนกฎของฟาร์มไปเรื่อยๆ เพื่อสนองพวกพ้องของตนให้มีความสุขสบาย ดังเนื้อหาในหนังสือแอนนิมอลฟาร์ม ที่ พล.อ.ประยุทธ์แนะนำเอง และในการเสวนาครั้งนี้จะชี้ให้เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ไม่เหมาะที่จะเป็นนายกฯต่อในทุกกรณี ในขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ไทยกลับมีผู้นำที่ขาดความรู้ ขาดความสามารถ ขาดวิสัยทัศน์แถมยังไม่เข้าใจสภาวะที่เป็นจริง การแนะนำให้อ่านหนังสือแอนนิมอลฟาร์มคือตัวสะท้อนเห็นได้ชัดที่สุด

ปธ.วุฒิปล่อยอภิปรายคุณสมบัติ

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณาเลือกนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 5 มิ.ย. ว่า คาดว่าในวันดังกล่าวอาจใช้เวลายาวนานกว่าปกติ เนื่องจากต้องเปิดให้สมาชิกอภิปรายแสดงความคิดเห็น หากสมาชิกจะขออภิปรายคุณสมบัติของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐ สามารถทำได้ เพราะเป็นเอกสิทธิ์ของสมาชิกทุกคน ส่วนการโหวตลงมติเลือกนายกฯ ต้องเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับเท่านั้น ไม่สามารถแยกการโหวตระหว่าง ส.ส. และ ส.ว.ได้ โดยเป็นการลงมติแบบเปิดเผยเรียงลำดับตามตัวอักษร และก่อนวันโหวตเลือกนายกฯจะไม่มีการเชิญประชุม ส.ว. เพื่อหารือร่วมกันถึงแนวทางการลงมติ เพราะการลงมติถือเป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ว.ทุกคน ไม่สามารถบล็อกโหวตได้ เชื่อว่าจะไม่มี ส.ว.ลุกขึ้นอภิปรายเป็นองครักษ์พิทักษ์ พล.อ.ประยุทธ์ เพราะหน้าที่ดังกล่าวนั้นเป็นหน้าที่ของ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐอยู่แล้ว แต่หากมีกรณีพาดพิงถึงที่มา ส.ว. ก็มีความจำเป็นที่ ส.ว.ต้องชี้แจง เพราะประเด็นดังกล่าวผ่านพ้นมานานแล้ว ตั้งแต่ตอนลงประชามติ หากจะเปลี่ยนแปลงที่มาดังกล่าวนี้ ให้ไปแก้รัฐธรรมนูญ

ส.ว.ฝักถั่วลั่นไม่มีแตกแถวแน่

นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ส.ว. กล่าวว่า มั่นใจว่าการโหวตเลือกนายกฯในวันที่ 5 มิ.ย. ส.ว. ทั้ง 250 คน จะโหวตไปในทางเดียวกัน คือเลือก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯอีกรอบ และไม่จำเป็นต้องเรียก ส.ว. มาคุยนอกรอบเพื่อล็อบบี้ผลโหวต ทุกคนใจตรงกันไม่มีใครแตกแถว ส่วนกรณีหากมี ส.ส.อภิปรายกระทบกระทั่งการทำหน้าที่ของ ส.ว. เช่น ประเด็นว่าไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือไม่ควรมีสิทธิโหวตเลือกนายกฯ ถ้าหากมีการโจมตีกันหนักๆ จำเป็นต้องอภิปรายชี้แจงตอบโต้ จะไล่ให้ไปอ่านดูรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ ส.ว.มีอำนาจเลือกนายกฯได้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการทำประชามติมาเรียบร้อยแล้ว ส.ว. จึงมีอำนาจหน้าที่โหวตเลือกนายกฯโดยถูกต้อง เชื่อว่าการประชุมวันที่ 5 มิ.ย. คงมีการอภิปรายป่วนแน่ โดยเฉพาะพวกที่กำลังไฟแรงอยากแสดงออก แต่อยากให้ทุกคนช่วยกันประคับ ประคองให้การโหวตเลือกนายกฯผ่านไปด้วยดี พวกผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ต้องช่วยกันควบคุม ไม่อยากให้ภาพลักษณ์ของรัฐสภาถูกมองในแง่ไม่ดี เชื่อว่าประธานรัฐสภาน่าจะคุมเกมอยู่

ขอทุกพรรคหยุดเอาชนะคะคาน

พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช. มองว่าพรรคการเมืองมุ่งเอาชนะคะคานกันและโจมตีฝ่ายตรงข้าม จนอาจทำให้ประชาชนรู้สึกเบื่อหน่าย และกลายเป็นชนวนเหตุที่กระทบต่อความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมได้ ขอให้ทุกพรรคคำนึงถึงส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ร่วมกันทำงานในระบบรัฐสภาเพื่อประเทศชาติและประชาชนอย่างสร้างสรรค์ มากกว่าเอาชนะกัน เพื่อให้สังคมมีความหวังและรู้สึกศรัทธาต่อระบบการเมืองไทย