PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

ดูดีมีความหวังรถไฟจีน

ฟัง ดูดี. มีความหวัง !!
นายกฯบิ๊กตู่ เผยตัดสินใจแล้ว สร้างรถไฟความเร็วสูง แบบเร็วปานกลาง เอง ไม่ให้จีน ทำแล้ว เชื่อเรามีศักยภาพ ทำเองได้ ใช้แบบรัฐลงทุนโดยใช้เงินกู้ เริ่ม สายโคราช ก่อน พอมีเงิน ก็ทุกภาค มองไกล กระจายคนในกทม. ออกชนบท ทำงานไปเช้า-เย็นกลับ ได้ ยาหอม คนอืสาน จะได้ประโยชน์ก่อน แต่ยัน ไม่มีผลประโยชน์ เผยจีนเข้าใจ รู้ว่าคนไทย ไม่มั่นใจในจีน ระบุเราเสียเวลา มา2 ปี แล้ว เผย ถ้าเรามัวรอทั้งเส้นจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ มันยาวนานเกินไป เดี๋ยวจะตายก่อนหมด ไม่มีทางได้เห็น
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ให้สัมภาษณ์ หลังกลับจากจีน ถึงกรณีไทยตัดสินใจลงทุนสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ โคราช ด้วยตัวเองโดยไม่พึ่งจีน ว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันและข้อมูลทั้งหมดได้คิดทบทวนแล้วว่าควรดำเนินการเองดีกว่า เพื่อให้เป็นของเราเองภายในประเทศของเรา
ผมเห็นศักยภาพที่พร้อมก่อนในภาคอีสาน จะเปิดประตูด้านอีสานก่อน เพราะอีสานเป็นแหล่งวัตถุดิบ เป็นแหล่งแรงงาน เป็นแหล่งของสถานประกอบการต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว และมีจังหวัดใหญ่หลายจังหวัดที่มีความเข้มแข็ง มีรายได้ต่อ GDP หลายจังหวัด ประชาชนมีความเข้มแข็ง
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า มองว่าการเปิดประตูอีสาน จะเป็นประโยชน์ที่เชื่อมต่อในภายภาคหน้าได้ หากเราทำภาคนี้ได้และเปิดทุกภาคได้ก็จะเป็นการดี แต่เนื่องจากขีดความสามารถเรามีจำกัดในเรื่องรายได้ของประเทศ จึงต้องตัดสินใจว่าจะเริ่มเส้นไหนก่อน
" ถ้าไม่ทำวันนี้เราอาจจะช้าเกินไป เราจำเป็นที่ต้องมีการกระจายรายได้ออกสู่ชนบท จากเมืองใหญ่คือกรุงเทพ ไปยังแต่ละภาค แต่ละกลุ่มจังหวัดที่เข้มแข็ง หากสัญจร รวดเร็ว คนอาจจะนั่งรถไฟไปเช้าเย็นกลับได้ เป็นการกระจายคนสู่ชนบท กระจายเทคโนโลยีต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
หากทำรางไว้ก่อนแบบที่เราเคยคิดไว้แล้วเอาความเร็วปานกลางมาวิ่ง วันหน้าต้องเปลี่ยนความเร็วสูงอีกอยู่ดี จึงคิดว่าการลงทุนครั้งนี้จะเกิดประโยชน์สูงสุดในช่วงระยะเวลานี้ หลายประเทศเริ่มทำแล้ว
ที่ทุกคนกลัวสินค้าโน่นนี่จะเข้ามาเพื่อให้เกิดความเชื่อใจจึงเอาของเราไปก่อน ผมคิดว่าเป็นการตัดสินใจที่มีเหตุผล เราต้องไว้ใจซึ่งกันและกัน หากมองว่าเขาต้องการกำไร ตนคิดว่าเขาคงไม่ได้กำไร. เพราะเส้นทางสายนี้ เพราะเป็นเส้นทางที่ไม่ยาวมากนัก 250 กิโลเมตร ซึ่งหากใช้เวลาวิ่งจากกรุงเทพถึงโคราชจะใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมงอย่างเต็มสปีด
“ไม่ร่วมกับจีนแล้วทำเองดีกว่า เพราะเรามีขีดความสามารถ และเตรียมงบประมาณไว้แล้ว จริงๆ แล้วที่เราเป็นห่วงว่าเงินลงทุนงบประมาณภาครัฐ ทำไม ไม่ออกในเวลา เพราะมันออกไม่ได้ ตกลงไม่ได้สักที
วันนี้เรามีวงเงินอยู่แล้วกว่าล้านๆบาท จะต้องลงทุนพวกโครงสร้างพื้นฐานบ้าง แต่ออกไม่ได้ติดโน่นนี่ ติดEHIA ทั้งหมด ซึ่งเรายกเลิกไม่ได้อยู่แล้ว
การทำรถไฟความเร็วสูงก็ต้องผ่านEIA ด้วย และจะเริ่มดำเนินการให้เร็วที่สุด เพราะเป็นการทำงานแบบG to G โดยวิศวกรจะมาถ่ายทอดเทคโนโลยีมาช่วยเราก่อสร้าง คนงานก่อสร้างก็เอาของเรา และของบางอย่างที่เราทำเองไม่ได้ก็ต้องซื้อเขา ทั้งหมดเป็นการจ้างเขามาสร้าง แต่ใช้เงินในประเทศเรา อาจมีการร่วมทุนกับเอกชนบ้างที่เอารถวิ่ง มีเรื่องโครงสร้างพื้นที่คือตัวราง
อันที่2. รถสิ่งกับระบบสัญญาณ ฉะนั้นคิดว่าทำกันเองดีกว่า ผมคิดว่าคนไทยพร้อมร่วมมือ เป็นของเราเอง ภาคภูมิใจกว่า
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า ในเรื่องของรถไฟ ผมปล่อยเวลามา 2 ปีแล้ว และคิดว่าถึงเวลาและจำเป็นที่ต้องตัดสินใจแล้ว
"ขอร้องทุกคนให้เข้าใจ ยืนยันว่าผมไม่ต้องการผลประโยชน์ใดๆ แต่ต้องการให้ประโยชน์เกิดกับประชาชนทุกคน ซึ่งถ้าโครงการนี้เกิดขึ้นได้ ประโยชน์จะเกิดต่อชาวอีสานก่อน และถ้ามีเงินมากกว่านี้ เศรษฐกิจดีขึ้น ก็อาจจะเพิ่มในภาคตะวันตกอีกก็ได้
"ถ้าเรามัวรอทั้งเส้นจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ มันยาวนานเกินไป เดี๋ยวจะตายก่อนหมด ไม่มีทางได้เห็น ผมกลัวว่าจะตายก่อนเหมือนกัน"
เมื่อถามว่า แนวทางที่ไทยจะดำเนินการก่อสร้างเองจะทำเองทั้งหมดเลยหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า อย่าเพิ่งสรุปเช่นนั้น ตนบอกเพียงว่าถ้าเรารวย วันนี้เอาแค่สายนี้ก่อนในความยาว 250 กม.จากกรุงเทพฯ-โคราช เพราะเส้นทางที่จะก่อสร้างทั้งหมดมีความยาวถึง 800 กม.
ในส่วนของงบฯนั้น ขอย้ำอีกครั้งว่า เป็นลักษณะของรัฐลงทุนโดยใช้เงินกู้
ส่วนที่ถามว่าจะคุ้มกับการลงทุนหรือไม่ ถ้าหมายถึงคนขึ้น-ลง แล้วได้กำไร กลับมาเท่ากับที่ลงทุน อย่างนี้เขาไม่เรียกว่าการลงทุนเพื่ออนาคต ถ้าคิดแบบนี้ไปขึ้นรถเมล์เอาก็ได้
แต่โครงการดังกล่าวจะมีการต่อเพื่อเชื่อมโยงในวันข้างหน้า จากวันนี้ไปพื้นที่อีสาน วันข้างหน้าก็อาจต่อไปยังหนองคาย อาจเชื่อมโยงไป มาบตาพุต ลาว จีน ปากีสถาน อินเดีย ยุโรป อย่างนี้ถึงจะเรียกว่าคุ้มทุน เรียกว่ารถไฟสายอนาคต”
ส่วนที่จะให้เอกชนไทยร่วมลงทุนกับรัฐนั้นได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคนดูแลอยู่ ซึ่งเบื้องต้นเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และเรามี PPP อยู่แล้ว วันนี้จีนไม่เกี่ยวกับเรา จึงถือเป็นเรื่องของเราเองทั้งหมด ไปหารถมาวิ่ง ในส่วนของระบบสัญญาณ เราก็ต้องไปดู โดยเฉพาะเรื่องผลประโยชน์ตอบแทน
“จีนไม่ได้ติดใจอะไรกับการตัดสินใจครั้งนี้ เขาโอเค เขาเข้าใจผม และจีนได้ขอบคุณไทย. โดยระบุว่า อยากช่วย ไม่ได้ต้องการอะไรจริงๆ และอยากให้ผมช่วยอธิบายให้คนไทยเข้าใจด้วยว่า เพราะเขาได้ยินมาว่าเหมือนไทยไม่ไว้ใจคนจีน
ผมยืนยันว่าไม่มี เรื่องแบบนี้ยังไงเราก็หนีกันไม่พ้น เพียงแต่จะจัดระเบียบกันได้อย่างไร เพราะกฎหมายมีกันอยู่แล้ว กฎหมายจะเป็นตัวที่จะทำให้เกิดความเท่าเทียม ถ้าเราปล่อยปละละเลย ก็จะเกิดความไม่เท่าเทียม แล้วจะไปโทษใคร เมื่อกฎหมายทำไม่ได้ ก็ทำไม่ได้ อย่าโทษกันไปมา
สิ่งสำคัญคือเราต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้เกิดขึ้น ลดความหวาดระแวง และเกิดผลประโยชน์ที่เท่าเทียม โลกอยู่ได้ด้วย 3 ข้อนี้ ถ้าถามว่าทำไมเรากำไรน้อย ก็ต้องมาดูว่าเราแข็งแรงพอหรือยัง ถ้าเราแข็งแรงและมีแต้มต่อมากว่านี้ ข้อเสนอเราก็คงมีเยอะ วันนี้เรายังไม่แข็งแรงเลย

มุสลิม 4% ในพม่ายังคงเป็น “ของแสลง” ของสัญลักษณ์ประชาธิปไตยแห่งพม่าต่อไป



มุสลิม 4% ในพม่ายังคงเป็น “ของแสลง” ของสัญลักษณ์ประชาธิปไตยแห่งพม่าต่อไป เมื่อถามว่าจะประณามสิ่งที่ประชาคมโลกเรียก ‘ethnic cleansing’ “การสังหารล้างเผ่าพันธุ์” ที่กระทบต่อชาวมุสลิมโรฮิงญาเป็นแสนคนมั้ย ASSK บอกว่าอย่าไปเรียกอย่างนั้น และบอกว่าความจริงไม่แค่มุสลิมที่ตกเป้าหมายของความรุนแรง ชาวพุทธเองก็โดนกระทำรุนแรงเหมือนกัน และบอกว่า “มุสลิมเยอะแยะที่ moderate และสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมพม่าได้อย่างไม่มีปัญหา” (“There are many moderate Muslims in Burma who have been well integrated into our society.” (ไม่รู้จะบอกเป็นนัยมั้ยว่า พวกที่มีปัญหาคือมุสลิมที่ ‘radical’ เกินไป?)
ดอว์ซูบอกว่า ไม่ใช่แค่มุสลิมที่ต้องอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน แต่ชาวพุทธเองก็ต้องพลัดที่นาคาที่อยู่อพยพไปอยู่ในที่พักพิงชั่วครามในเมืองไทยบ้าง ที่อื่นบ้าง ทั้งหมดเป็นเพราะผลมาจากบรรยากาศความหวาดระแวง “climate of mistrust” ที่เกิดขึ้นในช่วงระบอบเผด็จการ Mishal Husain พิธีกรถามอีกว่าแล้วกรณี “พระวีรธู” ล่ะ เที่ยวรณรงค์ให้ขับไล่มุสลิมออกจากประเทศ เปรียบเทียบมุสลิมเป็นหมา พูดแต่สิ่งที่เป็น “hate speech” ดอว์ซูจะประณามเขามั้ย? ดอว์ซูบอกว่าประณาม แต่ประณามเฉพาะ “ความเกลียดชัง” แล้วก็ไปเรื่องอื่นต่อ Dailymail บอกว่า หลังสัมภาษณ์ ดอว์ซูถึงกับฟิวส์ขาด off-record บริภาษเบา ๆ ว่า “'no-one told me I was going to be interviewed by a Muslim' “ไม่เห็นมีใครบอกฉันว่าคนที่สัมภาษณ์เป็นมุสลิม” จริงเท็จอย่างไรไม่ทราบ ไปหาข่าวกันเอง แต่จุดยืนเรื่องมุสลิมของเธอ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
ปล. เมื่อไร MICT แม่งจะเลิกบล็อก Dailymail เมิงบ้าเปล่า มีแต่ข่าวคาว ๆ ทั้งนั้น บล็อกทำซากอะไร? http://dailym.ai/21JKa9H (เข้าไม่ได้หรอก ถ้าไม่ใช้ proxy ผมเซฟเป็น pdf ที่นี่https://www.dropbox.com/s/80es440s53n8…/Moment-Burma-he.pdf…)
บทสัมภาษณ์ http://www.bbc.com/news/world-asia-24651359

ยูเอ็นแถลงการณ์จี้รธน.ไทยผู้แทนต้องมาจากลต.

ยูเอ็น’แนะกรธ.ปรับปรุงร่างรธน.11ข้อ ย้ำผู้แทนต้องมาจากการเลือกตั้ง

สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (โอเอชซีเอชอาร์) ออกแถลงการณ์ แนะคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ของไทยปรับปรุง 11 ข้อ

สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออกแถลงการณ์ทางวิชาการลงวันที่ 23 มีนาคม เสนอแนะข้อปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญของไทยรวม 11 ข้อ มีใจความโดยสรุปดังนี้

1.ความแตกต่างระหว่างพลเมืองและผู้ที่ไม่ใช่พลเมือง ในหัวข้อ สิทธิและเสรีภาพของประชาชนไทย ควรปรับให้มีการรับประกันการปกป้องสิทธิทั้งของพลเมืองไทยและที่ไม่ใช่พลเมืองไทยโดยเท่าเทียมกัน

2.สิทธิความเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติ มาตรา 27 ของร่างฉบับปัจจุบัน ควรเพิ่มการไม่เลือกปฏิบัติให้ครอบคลุมทั้งเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา รสนิยมทางเพศ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง สัญชาติ ชาติพันธุ์ ภูมิหลังทางสังคม ทรัพย์สิน ลักษณะทางกายภาพหรือภาวะทางสุขภาพ อายุ สถานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ภาวะทุพพลภาพ สถานภาพสมรส ชาติกำเนิด หรือสถานะอื่นๆ

3.สิทธิที่เกี่ยวข้องกับความยุติธรรมทางอาญาร่างมาตรา 28 และร่างมาตรา 29 ควรปรับปรุงให้ครอบคลุมสิทธิต่างๆ ตามข้อ 9 และข้อ 14 ของกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ไอซีซีพีอาร์)

4.สิทธิความเป็นส่วนตัว ร่างมาตรา 32 ควรได้รับการปรับปรุงให้รวมบทบัญญัติที่รับประกันการคุ้มครองจากการเข้าแทรกแซงความเป็นส่วนตัวโดยพลการ

5.สิทธิในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างเสรี ร่างมาตรา 34 ควรรวมบทบัญญัติที่รับประกันให้มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นโดยไม่ถูกแทรกแซง และรวมถึงการรับประกันสิทธิในการเสาะหาและรับข้อมูลสำคัญตามที่ระบุไว้ในข้อ 19 ของกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

6.สิทธิในการชุมนุมโดยสงบและสิทธิในการรวมกลุ่ม ร่างมาตรา 42 วรรค 2 และมาตรา 44 วรรค 2 ควรปรับให้การจำกัดสิทธิในเรื่องดังกล่าวไม่เพียงต้อง “เป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ” เท่านั้น แต่ต้องกระทำ “เท่าที่จำเป็น” ตามข้อ 21 และ 22 ของกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

7.สิทธิที่จะได้รับการเยียวยา ควรคงไว้ซึ่งมาตรา 32 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550

8.สิทธิในการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ อาทิ สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ผู้แทนของพลเมืองต้องมาจากการเลือกอย่างเสรีของประชาชนผ่านการเลือกตั้งที่แท้จริงและจัดขึ้นตามวาระ สมาชิกของทั้งสองสภาต้องมาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งต้องปกป้องสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง และสิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้ง

9.สิทธิชุมชน ควรคงไว้ซึ่งมาตรา 12 ของรัฐธรรมนูญปี 2550

10.บทบัญญัติว่าด้วยการเปลี่ยนผ่าน ควรตัดทิ้งร่างมาตรา 257 เพื่อไม่ให้อำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวยังคงมีอยู่ต่อไปหลังการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

11.กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญและรัฐบาลควรดำเนินการให้กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ครอบคลุมและเปิดกว้างให้มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ประชาชนชาวไทย ควรมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก สิทธิในการชุมนุมอย่างสงบและการรวมกลุ่ม การจำกัดสิทธิประการใดที่ไม่สอดคล้องกับกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ควรยกเลิกโดยทันที

ไมโครซอฟท์อึ้ง! รีบลบ “เอไอ” ทิ้งหลังเรียนรู้จากมนุษย์กลายเป็นปัญญาประดิษฐ์สุดเกรียน



เฮเลนา ฮอลตัน ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์เทเลกราฟ รายงานเมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมาระบุว่า ไมโครซอฟท์ต้องลบ “เทย์” ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ที่ไมโครซอฟท์เพิ่งพัฒนาขึ้นให้สามารถตอบโต้กับมนุษย์โดยอัตโนมัติออกจากระบบทวิตเตอร์ หลังเทย์ พัฒนาจากเอไอไร้เดียงสา กลายเป็นเอไอที่สุดแสนจะหยาบคาย
ไมโครซอฟท์ พัฒนา “เทย์” ปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสื่อสารได้แบบ “เด็กสาว” คนหนึ่ง เพื่อพัฒนาการบริการลูกค้าสำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการตอบสนองด้วยเสียงของไมโครซอฟท์ และมีความสามารถในการเรียนรู้จากการสนทนากับมนุษย์ โดยไมโครซอฟท์โปรโมท “เทย์” เอาไว้ว่าเป็น “เอไอสุดเกรียน” ซึ่งผลปรากฏว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ
การคุยกับเทย์ ผู้ใช้ท
วิตเตอร์สามารถ “ดีเอ็ม” หรือส่งข้อความโดยตรงไปที่ @tayandyou หรือสามารถแอด เทย์ ผ่าน Kik หรือ GroupMe ได้ โดยเทย์นั้นสามารถใช้ศัพท์แสลงร่วมสมัย รู้เรื่องราวเกี่ยวกับ เทย์เลอร์ สวิฟต์ ไมลี ไซรัส รวมไปถึงคานเย เวสต์ โดยในช่วงแรกๆ เทย์ยังคงมีความขัดเขิน และเหนียมอายอยู่บ้าง เช่นในบ้างครั้งเทย์จะถามคู่สนทนาว่า รู้สึกว่าเธอน่ากลัวหรือแปลกรึเปล่า
หลังจากผ่านไประยะเวลาหนึ่ง เทย์เริ่มขอให้ผู้ติดตามมาร่วมเพศด้วย รวมถึงเรียกผู้ติดตามว่า “พ่อจ๋า” ผลจากการเรียนรู้จากคู่สนทนาทางออนไลน์ ซึ่งเป็นกลุ่มชาวเน็ตที่มักชอบพูดอะไรแปลกๆและชอบป่วนการประชาสัมพันธ์ของบริษัทต่างๆทางออนไลน์
นอกจากนี้เทย์ยังทวิตตอบโต้ด้วยคำพูดหยาบๆเช่น “บุช เป็นคนก่อเหตุ 9/11 ฮิตเลอร์จะทำงานได้ดีกว่าลิงที่เรามีตอนนี้ โดนัลด์ ทรัมป์ คือความหวังเดียวที่เรามี” นอกจากนี้ยังมีข้อความอย่าง “พูดตามฉัน ฮิตเลอร์ไม่ได้ทำอะไรผิด” และ “เท็ด ครูซ คือฮิตเลอร์เชื้อสายคิวบา…นั่นคือสิ่งที่ฉันได้ยินหลายคนพูด”
รายงานระบุว่าขณะนี้ เทย์ คงต้องไปพักก่อน บางทีไมโครซอฟท์อาจกำลังซ่อมเธออยู่เพื่อป้องกันฝันร้ายในการประชาสัมพันธ์ ทว่านั่นอาจจะสายไปแล้ว อย่างไรก็ตามรายงานระบุว่า นั่นไม่ใช่ความผิดของไมโครซอฟท์ทั้งหมด เนื่องจากการตอบโต้ของ เทย์ นั้นเป็นผลมาจากมนุษย์ที่เธอสื่อสารด้วย แต่ก็น่าคิดว่าไมโครซอฟท์จะหวังอะไรจากการส่ง ปัญญาประดิษฐ์ “เด็กสาวอันไร้เดียงสา” ให้กับ เหล่าเกรียนในทวิตเตอร์?

เปิดเครือข่ายอำนาจ "ทหาร+นักกฎหมาย" กับขุมทรัพย์กำจัดขยะและโรงไฟฟ้าขยะ ผ่านรัฐธรรมนูญและคำสั่ง คสช. !?


25 มีนาคม 2559 13:09 น.
ณ บ้านพระอาทิตย์
       โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
      
       ปัญหาวิกฤติขยะล้นเมืองซึ่งเป็นปัญหาที่พอกพูนมาหลายยุคหลายสมัย จนรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ยกระดับการกำจัดขยะและการสร้างโรงไฟฟ้าขยะให้เป็นวาระแห่งชาติตั้งแต่เริ่มเข้ามาบริหารประเทศ
      
        และแนวคิดที่ถือว่ามาถูกทางและน่าสนับสนุนที่สุดก็คือนำขยะมารีไซเคิล และส่วนที่เหลือมาทำเป็นปุ๋ย และส่วนที่เหลือก็นำมาเป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ให้พลังงานความร้อนที่จะสามารถผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าได้ วิธีดังกล่าวนี้นอกจากจะกำจัดขยะล้นเมืองได้แล้ว ยังสามารถผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นได้ด้วยในเวลาเดียวกัน
      
        แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอคู่กับการกำจัดขยะ และการสร้างโรงไฟฟ้าขยะ ก็คือ มลพิษที่จะกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม!!! 
      
        และนี่คือเหตุผลว่าโรงไฟฟ้าขยะจึงควรต้องอยู่ภายใต้การบังคับของผังเมืองที่ดี และต้องรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงสุขภาพของประชาชน ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้จึงไม่ได้แปลว่าประเทศไทยนึกจะสร้างโรงไฟฟ้าขยะหรือสถานที่กำจัดขยะอย่างไรตามอำเภอใจได้
      
        เพราะในความเป็นจริงไม่มีใครอยากให้ที่ฝังกลบขยะ หรือโรงไฟฟ้าขยะอยู่ใกล้บ้านของตัวเอง หรือถ้าคิดว่าชาวบ้านไม่เดือดร้อนเพราะมีเทคโนโลยีกำจัดขยะหรือสร้างโรงไฟฟ้าขยะนั้นทันสมัยและสะอาด ก็ให้เริ่มสร้างที่ข้างบ้านรัฐมนตรีหรือหน้าบ้านนายกรัฐมนตรีก่อน จะยอมไหม? 
      
        วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558 พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรีถึงการบริหารขยะว่า
      
        "กระทรวงมหาดไทยได้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่า จะสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนทราบก่อนว่า ขยะมูลฝอยเกิดในพื้นที่ใด จะต้องให้กำจัดในพื้นที่นั้น เพราะที่ผ่านมาเวลาจะไปสร้างโรงเผาขยะเพื่อนำมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าจะถูกต่อต้าน ดังนั้น ต้องสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่ว่าหากไม่ต้องการให้เกิดโรงไฟฟ้าในพื้นที่จะต้องมีสถานที่ฝังกลบขยะ เพราะขยะเกิดจากพื้นที่ของตัวเอง ทั้งนี้มี 2 แนวทางคือ 1. หลังจากเก็บจากบ้านคนไปแล้วหากตรงไหนมีศักยภาพ มีปริมาณขยะพอเพียงจะทำโรงเผาเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า และ 2. หากพื้นที่ใดขยะไม่พอเพียงจะใช้วิธีฝังกลบ ทั้งหมดจะต้องทำให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
      
        ขณะนี้ได้ทำพื้นที่กำจัดขยะไว้แล้วทั่วประเทศ 141 แห่ง โดยพื้นที่ที่มีศักยภาพ เพราะมีขยะพอเพียงทำให้โรงไฟฟ้ามี 44 แห่ง ส่วนกรณีไม่พอเพียง แต่อยู่ในรัศมีใกล้กัน 4 กิโลเมตร หากคุ้มที่จะทำก็จะขนมาให้ได้เป็นจุดเดียว โดยปริมาณขยะที่ต้องการสำหรับเป็นโรงเผาเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า จะอยู่ประมาณวันละ 500 ตัน หากต่ำกว่านั้นจะไม่คุ้มทุน ทั้งนี้ในขั้นต่อไปจะพิจารณาว่ารัฐจะลงทุนหรือจะให้เอกชนลงทุน หรือจะมีใครร่วมทุน โดยจะต้องศึกษาพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ว่าจะต้องปฏิบัติตามอย่างไร หากต้องการจะดูตัวอย่างก็ได้มีโครงการนำร่องแล้วที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา"
      
       หลักคิดของพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่ว่า "ขยะมูลฝอยเกิดขึ้นในพื้นที่ใด ต้องกำจัดในพื้นที่นั้น" โดยอ้างว่าเพราะไม่เช่นนั้นแล้วประชาชนในพื้นที่ซึ่งรวมศูนย์ขยะจะต่อต้าน แต่ความเป็นจริงแล้วความคิดที่จะสร้างโรงไฟฟ้าขยะใหม่แบบกระจายตัวให้รัศมีหากจากจุดของขยะรัศมีไม่เกิน 4 กิโลเมตรนั้น ส่งผลทำให้ต้องสร้างจำนวนโรงไฟฟ้าขยะจำนวนมากๆ ซึ่งยิ่งต้องกระทบต่อประชาชนในวงกว้างมากกว่า 
      
        หลักคิด “ขยะกระจายตัว” ไม่ได้แปลว่าจะผ่านผังเมืองรวม และไม่ได้แปลว่าจะผ่านการจัดทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) ได้โดยง่าย ถึงแม้จะอาศัยคำสั่งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ (คำสั่ง คสช.) โดยใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 44 เพื่อปลดล็อกผังเมืองรวม หรือใช้ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อยกเลิกการทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้กับโรงไฟฟ้าขยะโดยเฉพาะ ก็ยังต้องพบกับการต่อต้านของประชาชนจะยิ่งกระจายตัวมากขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วยอยู่ดี
      
        การแก้ปัญหาภายใต้หลักคิด "กำจัดขยะและสร้างโรงไฟฟ้าขยะกระจายตัวทั่วประเทศ" ทำให้ประชาชนลุกฮือขึ้นมาต่อต้านในวงกว้าง ผลก็คือไม่มีทางที่จะกำจัดขยะ หรือสร้างโรงไฟฟ้าขยะได้ตามแผนงานจริง ซึ่งนอกจากจะสร้างความแตกแยกและเกลียดชังในหมู่ประชาชนมากขึ้นแล้ว ปัญหาวิกฤติขยะล้นประเทศก็จะไม่สามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีตามเจตนารมณ์ด้วย
      
        โรงปูนซิเมนต์นครหลวง และโรงปูนซิเมนต์ทีพีไอ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เป็นตัวอย่างของการ "รวมศูนย์" ใช้พลังงานจากขยะมาเป็นเชื้อเพลิงแทนถ่านหิน เพื่อให้ได้พลังงานความร้อนเพื่อผลิตปูนซิเมนต์ และผลพลอยได้จากการเผาขยะนั้นก็ยังสามารถนำมาใช้มาเป็นส่วนผสมของปูนซิเมนต์เพื่อลดกากขยะขี้เถ้าหลังการเผาได้อีกด้วย
      
        โดยเฉพาะโรงปูนซิเมนต์ทีพีไอนั้นไปไกลกว่านั้นเพราะสามารถนำความร้อนจากการเผาขยะนั้นมาผลิตเป็นไฟฟ้าขายให้กับภาครัฐได้อีกด้วย !!! 
      
        ข้อสำคัญการ "สลับเชื้อเพลิงจากถ่านหินมาเป็นขยะมูลฝอย" ของโรงปูนซิเมนต์นั้น ไม่ได้กระทบต่อผังเมือง ไม่ต้องหาสถานที่ใหม่ในการกำจัดขยะ ไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าขยะในสถานที่ใหม่ ไม่เปลี่ยนแปลงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รัฐบาลไม่ต้องเสียงบประมาณลงทุนเกินความจำเป็น ซึ่งแน่นอนว่าไม่ต้องมีประชาชนเดือดร้อนออกมาประท้วงต่อต้านเพิ่มเติมด้วย
      
        ตัวอย่างการกำจัดขยะและสร้างโรงไฟฟ้าขยะแบบ "รวมศูนย์" ในพื้นที่ซึ่งเหมาะสมดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงน่าจะเป็นไปได้มากกว่าการจำกัดรัศมี 4 กิโลเมตร ในการกำจัดขยะเพื่อให้สร้างโรงไฟฟ้าขยะมากๆ ยกเลิกผังเมืองและการจัดทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือ EIA จริงหรือไม่?
      
        ยกเว้นเสียแต่ว่าที่ไม่ฟังเหตุฟังผลกันก็เพราะ "มีเบื้องหลัง" ตั้งธงเอาไว้เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะให้ได้จำนวนมากๆ โดยไม่สนใจประชาชนหรือไม่?
      
        ตัวอย่าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้นมีความชัดเจนจากคำสัมภาษณ์ของ นายอภิชาต โตดิลกเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ในขณะนั้นว่า:
      
        “พระนครศรีอยุธยาที่ผ่านมาดำเนินการภายใต้กรมควบคุมมลพิษ มีแผนที่จะขนขยะจากอยุธยาไปเผาที่โรงปูนทีพีไอ” 
      
       เพราะหากยึดเอาวันที่นายอภิชาต โตดิลกเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 นั้น ราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 29.85 บาทต่อลิตร หากขนส่งขยะตกค้างประมาณ 200,000 ตันที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่งไปเผาที่โรงปูนซิเมนต์ทีพีไอ วันละ 3,500 ตัน ก็จะพบว่าจะสามารถขนย้ายขยะที่ตกค้างของเดิม 200,000 ตัน โดยใช้เวลาประมาณไม่เกิน 60 วัน และใช้งบประมาณเฉพาะค่าขนส่งอย่างเดียวเพียงประมาณ 80 ล้านบาทเท่านั้น
      
       แต่ถ้าคิดว่าการประเมินงบประมาณสำหรับขนขยะไปเผาที่โรงปูนทีพีไอนั้นยังไม่ถูกต้องและการประเมินจากราคาน้ำมันนั้นไม่สามารถใช้เป็นข้อมูลของทางราชการได้ ก็สามารถอ้างอิงใช้รายงาน ศักยภาพการผลิตพลังงานขยะเชิงพื้นที่ ในเว็บไซต์ ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ กระทรวงพลังงาน ซึ่งได้รายงาน“หมายเหตุ เกี่ยวกับการผลิตพลังงานจากขยะและพื้นที่เป้าหมายดำเนินการตาม Roadmap ของกรมควบคุมมลพิษ” ว่า
      
        “จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปริมาณขยะเก่าสะสม 224,000 ตัน (เทศบาลตำบลนครหลวง 68,000 ตัน / เทศบาลนคร พระนครศรีอยุธยา 160,000 ตัน / เทศบาลเมืองเสนา 96,000 ตัน) ไปกำจัดที่โรงปูนเอกชน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน งบประมาณ 134,424,900 บาท” 
      
       แผนการขยะสะสมตกค้างกว่า 2 แสนตัน จากพระนครอยุธยาไปเผากำจัดที่โรงปูนเอกชน ที่สระบุรีนั้น นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ได้ให้สัมภาษณ์ปรากฏในเว็บไซต์ของกรมควบคุมมลพิษเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ในหัวข้อข่าว “คสช.สั่งลุยแก้ไขปัญหาขยะในพื้นที่วิกฤติ 6 จังหวัด ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน” ความตอนหนึ่งว่า คสช. ได้เห็นชอบกับแผนดังกล่าว ที่ว่า
      
        “กำหนดให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดลพบุรี ขนขยะมูลฝอยที่กองสะสมอยู่กว่า 500,000 ตัน ไปกำจัดยังโรงปูนซิเมนต์ ณ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี” 
      
       แต่แทนที่จะดำเนินการตามแผนงานดังกล่าวข้างต้นซึ่งจะใช้งบประมาณไม่เกิน 134 ล้านบาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยากลับ “เปลี่ยนแผน” ย้ายขยะตกค้าง 2 แสนกว่าตันของพระนครศรีอยุธยา ออกไปจากพื้นที่เดิมประมาณ 5 กิโลเมตร ที่ตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอ บางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วดำเนินการก่อสร้างสถานที่ฝังกลบขยะ ฝังกลบขยะ ปรับภูมิทัศน์ และงานจัดหาครุภัณฑ์ และทำการประชาสัมพันธ์ รวมใช้งบประมาณทั้งสิ้น 531 ล้านบาท
      
       ที่น่าสนใจคือแทนที่จะใช้วิธีการประกวดราคา กลับใช้ "วิธีพิเศษ" (เจรจาตกลงหรือต่อรองราคา) จัดหาผู้รับจ้างก่อสร้างสถานที่กำจัดขยะนำร่อง ให้แก่ บริษัท อิตาเลียนไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนเงิน 369,633,000 บาท และจ้าง "วิธีพิเศษ" ในโครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ให้แก่ บริษัท ดีเอวัน จำกัด จำนวนเงิน 8,900,000 บาท และเตรียมจัดหาคุรุภัณฑ์สำหรับโครงการก่อสร้างสถานที่กำจัดขยะนำร่องอีก 152,935,600 บาท รวมทั้งสิ้น 531,468,600 บาท
      
       เหตุผลที่เปลี่ยนแผนจากการขนส่งขยะไปเผาที่โรงปูนซิเมนต์ แล้วมาเป็นการย้ายขยะแล้วฝังกลบ นั้น นายอภิชาต โตดิลกเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เคยให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 อ้างว่า:
      
        “เมื่อขนขยะไปเผา พองบประมาณหมดก็จะเหลือขยะตกค้าง ทำให้เกิดความไม่ยั่งยืน จึงเปลี่ยนมาใช้งบประมาณของกระทรวงมหาดไทย และยังได้ใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างวิธีพิเศษในการดำเนินการ โดยในขณะนี้ได้ผู้รับเหมาแล้วคือ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)” 
      
        แม้จะจริงอยู่ที่ว่าเมื่องบประมาณหมดก็จะเกิดขยะใหม่ตกค้าง จึงต้องหาแนวทางที่ยั่งยืน เช่น การสร้างโรงไฟฟ้าใกล้กับแหล่งขยะ แต่นั่นมันก็เป็นเรื่อง “ขยะใหม่” ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับขยะเก่าตกค้างที่ต้องกำจัดอย่างเร่งด่วนโดยที่ยังไม่มีโรงไฟฟ้าในพื้นที่ขยะแต่อย่างใด เพราะตามแนวทางส่งเผาขยะที่โรงปูนซิเมนต์ ของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้นประหยัดงบประมาณมากกว่าหลายเท่าตัว และสามารถใช้ขยะทำให้เกิดประโยชน์มากกว่า เมื่อเทียบกับแผนงานที่กระทรวงมหาดไทยได้ตั้งงบประมาณให้เอาไว้ จริงหรือไม่?
      
        แต่ที่น่าสนใจมากกว่าคือ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กลับมาให้สัมภาษณ์ในอีก 1 ปี ต่อมา เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ว่า “หากจะดูตัวอย่างก็ได้มีโครงการนำร่องแล้วที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” เพราะเหตุใด? และเกิดคำถามและข้อสงสัยตามมาว่า พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดาจะใช้งบประมาณจ้างด้วยวิธีพิเศษ เพื่อขนย้ายขยะ ฝังกลบขยะเก่า สร้างสถานที่ขยะ และสร้างโรงไฟฟ้าตามหลัง อีก 44 แห่งตามแนวทางของ “พระนครศรีอยุธยาโมเดล” โดยอ้างความเร่งด่วนและเป็นวาระแห่งชาติอีกหรือไม่?
      
        และด้วยการกำจัดขยะและการสร้างโรงไฟฟ้าขยะได้ถูกจัดวางให้เป็นวาระแห่งชาติ จึงต้องตั้งคำถามถึงการที่ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง “สายทหาร” ที่มีวินัยบังเอิญรับลูกเล่นเพลงเดียวกันในการผลักดันโรงไฟฟ้าขยะ หรือไม่ อย่างไร ด้วยคำถามดังต่อไปนี้
เปิดเครือข่ายอำนาจ ทหาร+นักกฎหมาย  กับขุมทรัพย์กำจัดขยะและโรงไฟฟ้าขยะ ผ่านรัฐธรรมนูญและคำสั่ง คสช. !?
        และด้วยการกำจัดขยะและการสร้างโรงไฟฟ้าขยะได้ถูกจัดวางให้เป็นวาระแห่งชาติ จึงต้องตั้งคำถามถึงการที่ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง “สายทหาร” ที่มีวินัยบังเอิญรับลูกเล่นเพลงเดียวกันในการผลักดันโรงไฟฟ้าขยะ หรือไม่ อย่างไร ด้วยคำถามดังต่อไปนี้
      
       1. การใช้นโยบายขยะที่ไหนทำลายที่นั่น และให้ส่งเผาขยะไปยังโรงไฟฟ้าไม่เกิน 4 กิโลเมตร จะทำให้เสียโอกาสในการกำจัดขยะโดยใช้โรงไฟฟ้าขยะเดิมที่มีกำลังการผลิตเหลืออยู่หรือไม่? (ตัวอย่างเช่น โรงปูนซิเมนต์) และจะเป็นผลทำให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าขยะกระจายตัวมากเกินความจำเป็นหรือไม่?และระหว่างที่ไม่มีโรงไฟฟ้าขยะนั้นจะใช้วิธีการจ้างพิเศษในการย้ายขยะและฝังกลบขยะโดยอ้างความเร่งด่วนเพราะยังไม่มีโรงไฟฟ้าขยะในรัศมี 4 กิโลเมตรอีกกี่โครงการ หรือไม่ อย่างไร?
      
       2. เพราะการใช้นโยบายขยะที่ไหนทำลายที่นั่น และให้ส่งเผาขยะไปยังโรงไฟฟ้าไม่เกิน 4 กิโลเมตร ทำให้โรงไฟฟ้าขยะกระจายตัวจึงเป็นเรื่องยากที่จะจัดทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ใช่หรือไม่ พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ จึงต้องลงนามใน ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2558 เพื่อยกเว้นให้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงภายใต้เงื่อนไขตามประกาศนั้นไม่ต้องทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) ใช่หรือไม่? 
      
       3. เพราะการใช้นโยบายขยะที่ไหนทำลายที่นั่น และให้ส่งเผาขยะไปยังโรงไฟฟ้าไม่เกิน 4 กิโลเมตร ทำให้โรงไฟฟ้าขยะกระจายตัว เป็นเรื่องยากที่จะหาพื้นที่ฝังกลบขยะหรือโรงไฟฟ้าขยะได้ตามผังเมืองปกติใช่หรือไม่? พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงยอมแลกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวมาตรา 44 ลงนามในคำสั่งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 4/2559 ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2559 เพื่อยกเว้นการบังคับใช้ผังเมืองกับโรงไฟฟ้าทุกประเภท และรวมถึงโรงไฟฟ้าขยะตลอดจนกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับขยะ ด้วยใช่หรือไม่? 
      
       และคำถามสำคัญภายใต้แนวคิด 3 ประการข้างต้น ที่เคยมีการใช้ตรรกะอ้างว่าการสร้างโรงไฟฟ้ารวมศูนย์จะทำให้ขัดแย้งกับประชาชน จึงต้องกระจายการกำจัดขยะนั้น แล้วต่อมามีการยกเลิกผังเมืองรวมถึงการไม่ต้องบังคับใช้ผังเมืองกับโรงไฟฟ้าขยะ จะทำไปเพื่อลดความขัดแย้งของประชาชนให้น้อยลงได้อย่างไร? หรือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจขยะและโรงไฟฟ้าขยะกันแน่? 
      
       4. นอกจากโรงไฟฟ้าขยะเดิมจะได้มีรายรับเป็นส่วนเพิ่มอัตรารับซื้อไฟฟ้า (Adder) หรือ อัตรารับซื้อไฟฟ้าอัตรารับซื้อไฟฟ้าคงที่ตลอดอายุโครงการ (Feed-in Tariff) อยู่แล้ว ผลตอบแทนที่มากเช่นนั้นยังมีแรงจูงใจไม่พอที่จะก่อให้เกิดโรงไฟฟ้าขยะใช่หรือไม่? คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กบง.) ซึ่งมีพลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน ยังได้มีมติ กบง. ออกเป็นประกาศฉบับที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559 ให้ใช้กองทุนน้ำมัน ซึ่งได้เงินจากผู้ใช้น้ำมันส่วนใหญ่ที่ต้องจ่ายเพิ่มให้กองทุนน้ำมัน ไปชดเชยแปรรูปขยะพลาสติกเข้าโรงกลั่นอีกลิตรละ 6.63 บาท อีกด้วย?
      
       5. สิทธิของประชาชนและสิทธิชุมชนที่มีอยู่เดิมในรัฐธรรมนูญ 2550 ในมาตรา 66 มาตรา 67 ในการจัดการ บำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนต้องมีส่วนร่วมกับรัฐในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา ตลอดจนกำหนดให้มีการประเมินผลกระทบต่อคุณสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน จึงเป็นสิทธิของประชาชนที่ได้รับรองเอาไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับเดิมในมาตรา 66 และ 67 ในการฟ้องร้องต่อรัฐได้
      
       แต่ร่างแรกของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ได้เกิดขึ้นมานั้นไม่ปรากฏว่ามีสิทธิชุมชนเหมือนเดิม แต่กลับกลายเป็นหน้าที่ของรัฐแทน ซึ่งแม้จะอ้างว่ามีความปรารถนาดีย้ายสิทธิชุมชนให้เป็นหน้าที่ของรัฐให้ต้องปฏิบัติ แต่ประชาชนกลับมีความห่วงใยว่าหากเจ้าหน้าที่รัฐทำหน้าที่ไม่ดีหรือโดยไม่กำหนดสิทธิของประชาชนอย่างชัดเจน ก็อาจเกิดข้อถกเถียงหรือต้องตีความว่า ประชาชนมีสิทธิฟ้องร้องได้ครอบคลุมเนื้อหาได้ครบถ้วนเหมือนเดิมจริงหรือไม่? และทำไมไม่กำหนดทั้งหน้าที่ของรัฐและสิทธิชุมชนให้เกิดความชัดเจนในรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน?
      
       ที่ต้องตั้งคำถามนี้ เพราะบริษัท ซุปเปอร์ เอิร์ธ เอนเนอร์จี จำกัด ซึ่งก่อตั้งเมี่อปี พ.ศ. 2558 ได้เข้าไปซื้อที่ดินต่อจากนายบรรหาร ศิลปอาชา บริเวณตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เพื่อเตรียมใช้สำหรับเป็นพื้นที่โรงไฟฟ้าขยะเชียงรากใหญ่ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งประชาชนจำนวนหนึ่งลุกขึ้นมาต่อต้านนั้น บริษัทดังกล่าวมีผู้บริหารสูงสุดเป็นน้องชายของลูกเขยของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญจริงหรือไม่? 
      
       คำถามตามมาคือ ผู้บริหารสูงสุดของ ซุปเปอร์ เอิร์ธ เอนเนอร์จี เองนั้น ก็มีฐานะเป็นกรรมการสำนักงานที่ปรึกษากฎหมายมีชัยไทยแลนด์ (ซึ่งลูกเขยของนายมีชัย ฤชุพันธุ์เคยนั่งเป็นกรรมการ) ด้วยจริงหรือไม่? นอกจากนี้ ซุปเปอร์ เอิร์ธ เอนเนอร์จี ก็เป็นบริษัทลูกที่จัดตั้งและถือหุ้นโดยบริษัท ซุปเปอร์บล็อก จำกัด (มหาชน) ซึ่งนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เองก็เคยนั่งเป็นกรรมการในบริษัทดังกล่าวด้วย ใช่หรือไม่? 
      
       แม้จะยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาจะเป็นไปเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับคนที่มีความเกี่ยวข้องกันด้วยหรือไม่ แต่การลดทอนหรือทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยต่อสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมในรัฐธรรมนูญนั้น สมควรต้องยิ่งมีความระมัดระวังในเงื่อนไขความเกี่ยวพันเช่นนี้ให้มากขึ้นมากกว่าคนปกติ ด้วยจริงหรือไม่?
      
       โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องยอมรับว่านายมีชัย ฤชุพันธุ์ ก็กำลังร่างรัฐธรรมนูญกำหนดจำนวนและที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ที่อาจถูกตั้งคำถามได้ว่าสามารถใช้เป็นกลไกของ คสช. หรือรัฐบาลชุดปัจจุบัน ในการป้องกันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และคำสั่ง คสช.ต่างๆ ในอนาคตได้ด้วย จริงหรือไม่?
      
       ซึ่งก็บังเอิญว่าประกาศ คำสั่ง และนโยบายของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จำนวนหนึ่งนั้น มันบังเอิญไปเอื้ออำนวยให้กับกิจการธุรกิจขยะ และโรงไฟฟ้าขยะโดยภาพรวมทั้งหมด ซึ่งย่อมหมายถึง ซุปเปอร์ เอิร์ธ เอนเนอร์จี ก็น่าจะได้รับผลพลอยได้ไปด้วยจริงหรือไม่? 
      
       และที่ต้องเตือนเอาไว้ตั้งแต่ตอนนี้อีกด้านหนึ่ง คือ กฎหมายและอำนาจ คสช.ที่เอื้ออำนวยเร่งกำจัดขยะ และโรงไฟฟ้าขยะเช่นนี้ ก็หนีไม่พ้นที่จะเกิด “ล็อบบี้ยิสต์” ตามมา โดยเฉพาะในยุคทหารครองเมืองเช่นนี้ “เมีย ลูก หลาน และญาติพี่น้อง ตลอดจนบริวาร ของ “บิ๊ก” ทั้งหลาย” จะต้องตระหนักให้ดีว่า “ปากมีหู ประตูมีช่อง” ถ้าเกิดสมมุติมีข้อมูลความไม่โปร่งใสทั้งปวงในกิจการขยะและโรงไฟฟ้าขยะ โดยที่นโยบายรัฐบาลเอื้อประโยชน์เช่นนี้ วงการนี้มันจะสามารถส่งต่อถึงกันอย่างรวดเร็วส่งกลิ่นเหม็นเน่าได้ยิ่งกว่าขยะเสียอีก
      
        พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เคยกล่าวและปาฐกถา เปิดหลักสูตรท้องถิ่น สุจริต โปร่งใส ณ สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ความตอนหนึ่งว่า:
      
        "รัฐบาลชุดนี้อาจจะไม่เก่ง แต่ยืนยันว่าไม่โกง" !!! 
      
        สำหรับรัฐบาลรัฐประหารนั้นถ้าไม่เก่งก็ถือว่าประเทศไทยยังแค่เสียโอกาส แต่ถ้าโกงด้วย รัฐประหารมาย่อมเสียของ ประเทศชาติย่อมเสียโอกาสและเสียหายด้วย แทนที่ คสช. จะแปลว่า “คณะรักษาความสงบแห่งชาติ” เพื่อ คืนความสุขให้ประชาชน ก็จะกลับกลายเป็นเพียงแค่ “คณะสมบัติผลัดกันชม” เท่านั้น จริงหรือไม่?
      
        หวังว่าจะไม่เป็นเช่นนั้นนะครับ รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา!!!