PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ว่าด้วยคดี ปรส.

ใจดีสู้เสือ! "กล้านรงค์ จันทิก" กรรมการ ป.ป.ช. รุดเข้าแจงม็อบเสื้อแดง จ.เชียงใหม่ ที่เข้ามาทวงถามความคืบหน้าคดี ปรส. ยืนยัน ไม่ปล่อยหมดอายุความแน่นอน...

วันนี้ (18 เม.ย. 56) เวลา 09.30 น. ที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ถ.เลียบคลองชลประทาน หมู่ 1 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. ได้เดินทางขึ้นมาประชุมภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินสรรหา กรรมการ ปปจ. ประจำจังหวัดเชียงใหม่

โดยขณะที่ นายกล้านรงค์ ยืนให้สัมภาษณ์นักข่าวและเตรียมตัวจะเดินทางกลับ ได้มี นายวรวุฒิ รุจินาภินันท์ หรือ "ดีเจแดง สองแคว" แกนนำรุ่น 2 ของกลุ่มเสื้อแดง "รักเชียงใหม่ 51" ได้นำคนเสื้อแดงประมาณ 20 คน พร้อมรถกระบะติดเครื่องขยายเสียงปรี่เข้ามาจอดที่ลานจอดรถเพื่อเตรียมปราศรัย แต่ยังไม่ทันที่แกนนำเสื้อแดงจะถือไมค์ นายกล้านรงค์ก็เดินลงไปหา พร้อมกล่าวว่า "คุยกับผมไม่ต้องใช้ไมค์ อยากถามอะไรให้ถามมาได้"

จากนั้น นายวรวุฒิ ก็ได้ทวงถามเรื่องคดีทุจริต ปรส. สมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ซึ่งมีการนำทรัพย์สินของ 56 สถาบันการเงิน ที่ถูกปิดกิจการ มีมูลค่า 851,100 ล้านบาท แต่นำไปประมูลเพียง 190,000 ล้านบาท จนคดีใกล้จะหมดอายุความ แต่ทางคณะกรรมการ ป.ป.ช. กลับยังสอบสวนไม่แล้วเสร็จ ผิดกับคดี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย ที่มีการสอบสวนอย่างรวดเร็ว

นายกล้านรงค์ ชี้แจงว่า คดีทุกเรื่องที่ ป.ป.ช.สอบสวนนั้น แต่ละเรื่องมีความยากง่ายไม่เหมือนกัน อย่างคดี ปรส.  ทางคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มอบหมายให้ นายจเด็จ พรไชยา เป็นประธานอนุกรรมการสอบสวนเรื่องนี้ พร้อมกับคณะกรรมการเราก็มีการติดตามเรื่องนี้ตลอดเวลา

"ขอยืนยันอีกครั้งว่า เราจะไม่ปล่อยให้คดี ปรส.หมดอายุความอย่างแน่นอน ซึ่งคดี ปรส.มีทั้งหมด 2 เรื่อง ได้สอบสวนแล้วเสร็จไปแล้ว 1 เรื่อง ผมได้แถลงข่าวไปแล้ว ยังค้างรอการสอบสวนอีก 1 เรื่อง คาดว่าจะดำเนินไต่สวนเสร็จประมาณเดือน พ.ค.56 นี้ ซึ่งจะผิดหรือไม่ผิด ยังไม่รู้ และอายุความคดี ปรส.จะหมดอายุความเดือน พ.ย.ปี 57 บางสำนวนทางคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องสอบสวนพยานมากถึง 500 ปาก อาจทำให้คดีเกิดความล่าช้า

ส่วนคดีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ทราบผลการสอบสวนเร็วนั้น เป็นเรื่องการสอบเรื่องการยื่นบัญชีทรัพย์สิน ว่ายื่นเท็จหรือไม่เท็จเท่านั้น ทำให้ดูเหมือนจะเร็ว อย่างไรก็ดี สมาชิกเสื้อแดงยังคงตะโกนต่อว่า
นายกล้านรงค์ต่อไป โดยเรียกร้องให้ ป.ป.ช. อย่าทำงานสองมาตรฐาน

ต่อมา นายวรวุฒิ แกนกลุ่มเสื้อแดง ได้สอบถามเรื่องความคืบหน้า การตรวจสอบการทุจริตการก่อสร้างสถานีตำรวจทั่วประเทศว่า มีความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว หลังจากดีเอสไอส่งสำนวนไปให้ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด นายกล้านรงค์ ตอบว่า ทางคณะกรรมการได้ตั้ง นายวิชา มหาคุณ เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวนเรื่องนี้แล้ว พร้อมยืนยันว่า ทางคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด

โดยในส่วนของตนเองนั้น อีกไม่กี่เดือนก็จะเกษียณอายุราชการแล้ว จึงอยากจะฝากไปยังประชาชน ช่วยกันเข้ามาเป็นส่วนร่วมกับ ป.ป.ช. โดยการเข้ามาสมัครสรรหากรรมการ ปปจ.ประจำจังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 32 จังหวัด โดยจะเริ่มคัดเลือกคณะกรรมการสรรหาในวันที่ 20 เม.ย.นี้ และเปิดรับสมัครผู้ประสงค์จะเข้ารับการสรรหาเป็นคณะกรรมการ ปปจ. ภายในวันที่ 24 มิ.ย. ถึง 2 ก.ค. 56

โดย ป.ป.ช. เปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงาน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายอย่างโปร่งใส

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การที่ นายกล้านรงค์ เข้าชี้แจงกับกลุ่ม นปช.เชียงใหม่ ในครั้งนี้ ได้สร้างความพอใจให้กับกลุ่มเสื้อแดงเป็นอย่างมาก ก่อนจะแยกย้ายกันกลับ โดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นแต่อย่างใด.
////////////
ปรส.หมดอายุความ

ป.ป.ช.ออกหนังสือแจงสื่อครั้งแรก เผย"ปรส." คดีอาญา หมดอายุ 30 พ.ย. 2557
วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เวลา 17:10:07 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีเอกสารข่าวเผยแพร่แก่สื่อมวลชน เพื่อชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินคดีการบริหารองค์องค์การเพื่อปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ว่า ตามที่สำนักงาน ป.ป.ช.รับคดี ปรส.ไว้ 6 เรื่อง สามารถดำเนินการเสร็จไปแล้ว 4 เรื่อง และชี้มูลความผิดเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 1 เรื่อง (เรื่องอยู่ขั้นตอนส่งสำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินคดีอาญา) และยังมีเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการอีก 1 เรื่อง ซึ่งเจ้าหน้าที่คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในวันที่ 31 สิงหาคม ทั้งนี้ อายุความ

คดีอาญาเรื่องนี้ทั้งหมดจะขาดอายุความวันที่ 30 พฤศจิกายน 2557
///////////////
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แจงคดี ปรส. หมดอายุความ 30 พ.ย. ไม่ใช่ 21 มิ.ย. ชี้ คดีคืบหน้าไปมากแล้ว ไม่มีการยืดเวลาแน่
31พ.ค.56
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ส่งเอกสารถึงสื่อมวลชน เพื่อชี้แจงความคืบหน้าคดีการดำเนินการบริหารองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ผิดพลาด ว่า ตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. รับคดี ปรส. ไว้ 6 เรื่อง ขณะนี้สามารถดำเนินการเสร็จไปแล้ว 4 เรื่อง และชี้มูลความผิดเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1 เรื่อง ซึ่งเรื่องอยู่ในขั้นตอนส่งสำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินคดีอาญา และยังมีเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการอีก 1 เรื่อง ซึ่งเจ้าหน้าที่คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 3 เดือน หรือในวันที่ 31 สิงหาคม 2556

อย่างไรก็ตาม อายุความคดีอาญาเรื่องนี้ทั้งหมด จะขาดอายุความวันที่ 30 พฤศจิกายน 2557 ไม่ใช่วันที่ 21 มิถุนายนนี้ ตามที่หลายฝ่ายเข้าใจ
////////////////
บรรดาผู้คิดต่าง(สลิ่ม) ทั้งหลายก็ออกมาโยนว่า ปรส. เป็นผลงานของรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ (บิ๊กจิ๋ว) และโยงไปว่าทักษิณเป็นรองนายกฯ สมัยนั้น และก็บอกว่า 2 คนนี้เป็นคนขายชาติ ไม่ใช่
นายชวน หลีกภัย

งั้นเรามาดูข้อเท็จจริงกันดีกว่า!

ย้อนไปสมัยปี 2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจไทยที่เรียกว่า "ต้มยำกุ้ง"

ถือว่าเป็นพิษเศรษฐกิจที่รุนแรงมาก รุนแรงขนาดที่ว่าโฉนดที่ดินยังไม่มีค่า เหมือนกระดาษแผ่นหนึ่ง

เพราะคนที่จะเอาโฉนดไปจำนองกับธนาคาร ธนาคารยังไม่มีเงินจะให้ เรียกได้ว่าหนักจริงในครั้งนั้น

ผลของวิกฤตเศรษฐกิจ มาจากสมัยรัฐบาลชวน 1 ที่มีการกู้เงินมาใช้อย่างมือเติบ เพราะตอนนั้นค่าเงิน 25 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ก็รีบกู้กันมาใหญ่ จนฝรั่งออกข่าวโจมตีค่าเงินบาทไทย เสียๆหายๆ

ปรากฎว่าการกู้ที่มากเกินในรัฐบาลชวน 1 นั้นส่งผลมาถึงปี 2540
ซึ่ง "พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ" เข้ามารับไม้ต่อจากรัฐบาลของป๋าเติ้ง (บรรหาร ศิลปอาชา) บิ๊กจิ๋ว พยายามแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ ทำอย่างสุดฝีมือ พยายามส่งคนไปขอความช่วยเหลือจากจีน เพราะสนิท

กับผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ แต่ถูกกลุ่มคนในธนาคารแห่งประเทศไทย ขัดขวาง แถมหลอกให้ลอยตัวค่าเงินบาท จนขึ้นไปถึง 51 บาท ต่อ ดอลล่าร์

ไฮไลท์อยู่ตรงนี้! พลเอกชวลิต จึงตั้ง ปรส. ขึ้นมาเพื่อจัดแจงหนี้ดี หนี้เสีย แต่ไม่ทันการ พรรคประชาธิปัตย์เจ้าเก่า ก็เริ่มเล่นเกมการเมืองกับ "บิ๊กจิ๋ว" ปล้น ส.ส.ในพรรคบิ๊กจิ๋ว (งูเห่าภาค 1) จัดตั้ง

รัฐบาลได้ "นายชวน หลีกภัย" กลับมาเป็นนายก

ชวน เข้ามาถึงก็ไปจัดการเรื่อง ปรส. บิ๊กจิ๋วจะแยกสถาบันการเงินที่เป็น หนี้ดี-หนี้เสีย คือบางอันมันยังขายได้ราคา บางอันมันก็หมดสภาพ ปรากฎว่ารัฐบาลชวน ไม่ทำแบบนั้น กลับใช้วิธีการ "เหมาเข่ง"

คือขาย ปรส. แบบเหมาไปเลย ราคา 810,000 ล้านบาท ชวนขายเพียง 190,000 ล้านบาท ขาดทุนย่อยยับกว่า 600,000 ล้าน โดยขายให้กับต่างชาติ แล้วออกกฎคือไม่ให้คนไทยที่เป็นรายเก่าเข้ามาซื้อ อ้างว่า เพื่อดัดนิสัย รายเก่าที่มีศักยภาพในการซื้อมากๆก็ไม่มีโอกาสเข้าประมูล ส่วนรายใหม่ก็ได้ไม่เท่าไร ต่างชาติเลยเข้ามาฮุบสถาบันการเงินของไทยไป แล้วขายคืนให้กับเราในราคาใกล้เคียงกับราคาเต็ม ประเทศไทยเสียผลประโยชน์มหาศาลหนี้รวมดอกเบี้ยแล้ว ก็เกินกว่า 2.2 ล้านล้าน (เผลอๆทะลุ 3 ล้านล้าน)

นี่คือมหากาพย์ขายชาติครั้งใหญ่ คือแก้กฎหมายเอื้อประโยชน์กับนักลงทุนต่างชาติ ก็คือการขายชาตินั่นแหละ

คณะรัฐมนตรีชวน รอดหมด! ที่โดนลงโทษก็พวกปลาซิว ปราสร้อย ไม่ใช่ระดับบิ๊กๆ

เงิน 800,000 ล้านบาท ถ้าเป็นสมัยนี้คงมีค่าประมาณ 6 ล้านล้านบาท ประเทศไทยเสียไปฟรีๆ เพราะการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาลชวน

ไอ้พวกสาวกยังมาหน้าด้าน โยนความผิดให้ "บิ๊กจิ๋ว" แถมเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ก็บอกว่า "ทักษิณ" เป็นรองนายกฯ สมัยนั้นอีก คือจะปัดสวะเรื่อง ปรส. มาให้ทักษิณ กับ พลเอกชวลิต

สรุปง่ายๆสั้นๆ บิ๊กจิ๋ว เป็นคนเริ่ม ปรส. แต่คนเอา ปรส. ไปทำจริงๆ คือ "ชวน หลีกภัย" และพรรคประชาธิปัตย์

กลัวทำไม....อีก 20 วัน หมดอายุความแล้ว รอดกันหมด คิดว่า ป.ป.ช.
มันจะหยิบมาพิจารณาเหรอ ไม่มีทาง ดังนั้นไม่ต้องดิ้นรนครับ ผิดก็คือผิด แต่คนเอาผิดพวกคุณไม่ได้อยู่แล้ว

สงสัยงานนี้ ป.ป.ช. คงพูดประโยคเด็ดของนายชวน หลีกภัย
สมัยเป็นนายกรัฐมนตรี เวลานักข่าวถามอะไรก็มักจะตอบว่า

"ยังไม่ได้รับรายงาน"
////////////////////
'สะท้อนคิดจาก ป.ป.ช.ชี้มูล ปรส.'
เปลว สีเงิน

มื่อวาน (๒๗ ส.ค.๕๖) ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด "นายมนตรี เจนวิทย์การ" ในฐานะเลขาธิการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า "ปรส." ด้วยมติ ๕:๔ ว่ามีความผิดทั้ง
อาญาและวินัย จากนี้จะส่งเรื่องให้อัยการนำคดีสู่ศาลต่อไป
    ครับ....๑๕-๑๖ ปี จากปี ๒๕๔๐ เป็นเวลาที่ ป.ป.ช.ใช้ไปกับการตรวจสอบคดีนี้ จนเพิ่งชี้มูลความผิดได้เมื่อวาน คือวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๖
    นายมนตรีครับ....ยังมีชีวิตอยู่ใช่ไหมครับ?
    การใช้เวลาร่วม ๒๐ ปีเช่นนี้ มันจะมีความหมายอะไรอัน มีผลทางปฏิบัติทั้งทางวินัยและอาญา ไม่ว่าในด้านกำราบปราบปรามหรือกระตุ้นเตือนข้าราชการและนักการเมืองให้ตระหนักกลัว สังวร

ระวังในการทำหน้าที่ ผมมองไม่เห็น
     นอกจาก ป.ป.ช.เอง ที่จะได้บันทึก...๑๖ ปี มีผลงานเพิ่มอีก ๑ เรื่อง!
    ที่พูดนี่ ไม่ได้ตำหนิด้วยคิดร้ายต่อ ป.ป.ช. แต่อยากชี้ให้เห็น เพื่อหาหนทางทำหน้าที่ปราบปรามและป้องกันการทุจริต ที่มีผลทันต่อการณ์ ทันต่อสันดานมนุษย์ยุคออนไลน์ ซึ่งทุกวันนี้ มีเฉพาะคำว่า

"เร็ว" อย่างเดียวเท่านั้น เป็นสิ่งสนองที่พึงประสงค์
    "กรรมติดจรวด" นั่นแหละ จึงจะช่วยระงับยับยั้งข้าราชการที่คิดจะทำชั่วได้บ้าง ขืนเป็นกรรมติดบั้งไฟ กว่าจะเห็นผลต้องใช้เวลา ๕ ปี ๑๐ ปีอย่างนี้
    มนุษย์ยุคออนไลน์ก็จะมีทัศนคติไปทางเดียวกันว่า...ชั่วแล้วรวยทันตา น่าไปทางนั้นมากกว่า ดีแล้วรวยช้า แถมไม่แน่ว่า ช้าแล้วยังจะรวยได้จริง!?
    การอ้าง มีคดีค้างคาเป็นหมื่น-เป็นแสน ต้องไล่เรียงเป็นลำดับนั้น มันอ้างได้ แต่ฟังแล้วคล้ายเครื่องจักรตั้งเวลาทำงาน
    ผมเชื่อว่าที่เป็นหมื่น-เป็นแสนคดีนั้น คงไม่ใช่คดีสำคัญใหญ่โต มีผลกระทบเป็นบวก เป็นลบ กับสังคมบริหารและสังคมปกครอง รวมทั้งสังคมชาติทันที-ทันใด เหมือนกันทุกคดี
    ดังนั้น การจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนด้วยพินิจ "รักษาทันโรค-ทันอาการ" ในการนำเรื่องพิจารณา น่าจะตอบสนองสังคม และเป็นประโยชน์มากกว่ารับแฟ้มคดีมาก็กองเรียงเลขจาก ๑ ถึง

๑๐๐,๐๐๐ แล้วหยิบไล่จาก ๑ ขึ้นไปเรื่อยๆ และบอกว่า...เป็นธรรม เป็นกลาง ไม่มีการลัดคิว
    แบบนี้ ความเป็นธรรม-เป็นกลางนั้น...มันกลวง!
    อย่างเช่นกรณีนี้ ๑๖ ปี เพิ่งชี้มูล...!
    ถ้านายมนตรีมีลูกวันนั้น ถึงวันนี้ลูกก็ ๑๖ ขวบ เมื่อฟังข่าว หรืออ่านหนังสือพิมพ์พบ งงหัวทิ่มแน่ว่า...เอ๊ะ...พ่อกูไปทำอะไรมาตั้งแต่ชาติปางไหน และไอ้ ปรส.นี่ มันตัวอะไร ป.ป.ช.กินยาผิดซอง

หรือไง ถึงได้ออกมาชี้อะไรนี่ ไม่เห็นรู้เรื่องเลย?
    นั่นคือ อะไรที่ "ผิดกาล-ผิดเวลา" มันก็ผิดคุณค่า-ผิดความหมายไปด้วย โลกนี้จึงมีคำว่า กาลเทศะ และในการทำทุกอย่างจึงมีคำว่า "จังหวะ" เป็นหัวใจของความสำเร็จหรือล้มเหลว
    ๑๕-๑๖ ปี เพิ่งชี้มูล ด้วยเดิมพันกว่า ๘ แสนล้านจากการขายทรัพย์สิน ปรส.วันนั้น วันนี้ จากคำชี้มูลจึงมีค่าแค่คำว่า
    ตลก!
    เช่นเดียวกับที่ ป.ป.ช.ทั้งคณะ ออกมานั่งเป็นแผงเมื่อวาน แล้วแถลง... โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์
    ยังไม่มีการชี้มูล!?
    นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการและโฆษก ป.ป.ช.แจกแจง การพิจารณาคดีโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนตรวจสอบแคชเชียร์เช็ค และเส้นทางการเงิน โดยมีการสอบ

พยานหลักฐานและพยานบุคคล ทั้งปลัดกระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ปลัดกระทรวงการคลัง
    และตรวจสอบแคชเชียร์เช็คจำนวน ๑,๔๗๔ ฉบับ จาก ๖ ธนาคาร ขณะนี้มี ๓ ธนาคาร ส่งเอกสารมาให้ตรวจสอบแล้ว ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย มีแคชเชียร์เช็คกว่า ๑๖ ล้านบาท ธนาคาร

แบงก์ ออฟ ไชนา จำนวน ๒๕๓ ล้านบาท และ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำนวน ๘๖ ล้านบาท รวมเป็นเงินกว่าหมื่นล้านบาท
        ยังเหลืออีก ๓ ธนาคาร ที่ยังไม่ส่งเอกสารมาให้ตรวจสอบ คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ ทาง ป.ป.ช.กำลังดำเนินการ คาดว่าจะได้เอกสารต่างๆ ภายในเดือน

กันยายนนี้  ในเบื้องต้นนี้ พบว่ายังมีเงินที่หายไปจากระบบกว่า ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งต้องติดตามว่าจะอยู่ใน ๓ ธนาคารที่เหลือหรือไม่
        อย่างไรก็ตาม ป.ป.ช.จะเรียกเจ้าหน้าที่จากกระทรวงพาณิชย์ และองค์การคลังสินค้า มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นการส่งมอบข้าวไปจีนตามสัญญาว่ามีการส่งอย่างไร ซึ่งได้ส่งหนังสือเรียกไป

แล้ว คาดว่าจะสอบเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้
    แบบนี้ ต้องออกมานั่งทั้งแผงแล้วแถลงให้สังคม "อารมณ์ค้าง" ซ้ำซาก เพื่อประโยชน์อะไร?
    เพราะก่อนหน้านี้ ด้วยประเด็นตรงนี้ ป.ป.ช.ก็แถลงมาแล้วครั้งหนึ่ง แถมยังบอกว่า ก่อนนายกล้านรงค์พ้นตำแหน่งในเดือนกันยา อยากจะทำให้จบ แล้วแถลงผลคดีเป็นการอำลาด้วยตัวเอง
    การที่ ป.ป.ช.เอาผลคดี ปรส.เมื่อ ๑๕-๑๖ ปี อันไม่มีผลต่อสังคมปัจจุบันมาแถลงเป็นแอนตี ไคลแมกซ์  ในขณะที่ผู้คนจับจ้องด้วยคาดหมายจากคดีรับจำนำข้าว ซึ่งมีผลต่อสถานการณ์ปัจจุบัน แต่

ป.ป.ช.กลับบอก
    ...ยังไม่มีการชี้มูล!
    นั่นจึงทำให้ผมต้องทบทวนว่า เจตนารมณ์ของการมี "คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ" หวังผลในการระงับ-ยับยั้ง-ปราบปรามทันการณ์
    หรือต้องการสร้าง "พิพิธภัณฑ์คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ" อันมีแต่ชื่อและโครงกระดูกข้าราชการประจำ และข้าราชการการเมืองประดับไว้ตามตู้ให้ทัศนศึกษา?
    ผมคิดว่า เจตนารมณ์การมี ป.ป.ช.คงหวังให้ตรวจสอบเพื่อ "ระงับ-ยับยั้ง" ผลเสียที่เกิดกับชาติบ้านเมืองให้ทันการณ์
    และให้คุณ-ให้โทษ ผู้ทำผิด กล่าวคือ "เห็นคุณ-เห็นโทษทันตา" ส่งเสริมคำว่า "ทำดีได้ดี-ทำชั่วได้ชั่ว" ให้มีความหมายทั้งทางธรรม และทางโลกที่เป็นจริง-เห็นจริง!
    เหมือนเปาบุ้นจิ้น...บั่นคอด้วยเครื่องประหารหัวสุนัข!
    ป.ป.ช.เคยแถลงแล้วด้วยเหตุผลเดียวกัน คือเช็คที่ต้องตรวจสอบมีมาก ต้องใช้เวลา แบงก์และข้าราชการไม่ให้ความร่วมมือ ไม่ส่งเอกสารให้ตามที่ขอ และไม่มาให้ปากคำ
    วันนี้ก็ด้วยอุปสรรคเดิมอีก คำถามที่ชาวบ้านอยากจะถามก็คือ เช็คที่ต้องตรวจสอบเส้นทางการเงินร่วม ๒ พันใบนั้น จะต้องใช้เวลาถึง ๒ พันปีมั้ย?
    และถ้าแบงก์และข้าราชการ มีอารมณ์ที่จะให้เอกสารและปากคำเมื่อไหร่ ก็เมื่อนั้น แล้ว ป.ป.ช.ก็จะจ๋อย ไม่สามารถชี้มูลอะไรได้อย่างนั้นใช่มั้ย?
    "ที่อยู่ ก็เอากันไป ที่ตาย ก็ตายกันไป" ป.ป.ช.ทำอะไรมากกว่า คอย กะ รอ ไม่ได้ใช่มั้ย?
    ในเมื่อคดีเรื่อยๆ ไปเรียงๆ ได้ การรับจำนำข้าวส่อไม่สุจริตก็เร่งๆ รีบๆ ไปเรื่อยๆ ได้ ตราบเท่าที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังไม่เหนื่อย และข้อมูล-เอกสารยังไม่เดินทางมาวางเรียงซ้อนอยู่บนหลังโต๊ะทำงาน
คณะกรรมการ ป.ป.ช.
    จาก ๕-๖ แสนล้านหายไปกับจำนำข้าว และจะเป็นล้านล้านชนิดหาจุดทศนิยมไม่ได้ต่อไปเรื่อยๆ ในขณะที่นาทีนี้ รัฐบาลขาดดุลเงินสดในมือแล้ว ๔ แสนกว่าล้าน .......
    นาฬิกาผลาญชาติบ้านเมือง จะเดินไปเรื่อยๆ อย่างนี้ โดยไม่มีอำนาจใดสามารถระงับยับยั้งได้ เราจะเอากันอย่างนั้นใช่ไหม?
    กับชาวบ้านผู้จ่ายภาษีเลี้ยงรัฐ ไม่ต้องไปถึงระดับศาลหรอก แค่กดไล์-กดแชร์ ในระดับตำรวจนี่แหละ ถ้าเขามีหมายเรียกแล้วใครไม่ไปตามเวลากำหนดนัด จะมาตามลากคอถึงในมุ้ง
    แต่กับผู้กินเงินเดือนจากภาษีชาวบ้าน ป.ป.ช.ทำได้แค่นั่งรอ สุดแท้แต่เขาจะให้-ไม่ให้เอกสาร และสุดแต่เขามีอารมณ์จะมาหรือไม่มาให้ปากคำ ไม่มีเส้นตายเรื่องเวลาเป็นที่ยุติ
    อย่างนี้ ยิ่งลักษณ์ต้องอยู่เป็นนายกฯ เพื่อรับจำนำข้าวปีละ ๕-๖ แสนล้านไปเรื่อยๆ จนถึงประมาณปี พ.ศ.๒๕๗๑ โน่น แล้วค่อยมาฟัง ป.ป.ช.ชี้
    มีมูล หรือ เหลือแต่มูลยิ่งลักษณ์?!

////////////////

(ข่าวปัจจุบัน)

เพื่อไทยยื่นหนังสือให้ ป.ป.ช.ดำเนินการส่งฟ้องคดี ปรส.ด้วยตัวเองก่อนที่จะหมดอายุความในปลายเดือนนี้ พร้อมเรียกร้องให้มีการปฏิรูป ป.ป.ช.

วันที่ 11 พ.ย.57 นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ให้ดำเนินการส่งฟ้องคดีองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือ ปรส. ก่อนที่จะหมดอายุความในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้

นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า คดี ปรส.สร้างความเสียหายให้ประเทศมากกว่า 7 แสนล้านบาท เมื่อรวมกับดอกเบี้ย มีมากถึง 1 ล้าน 2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้สาธารณะที่ประชาชนต้องรับผิดชอบ โดยคดีนี้มีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย จำนวนมาก ดังนั้นหากคดีนี้หมดอายุความ ถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่จะมีการปฏิรูป ป.ป.ช.

นอกจากนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าคดีที่เกิดขึ้นในรัฐบาลของนายชวน และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คดียังไม่มีความคืบหน้า ต่างจากคดีจำนำข้าวของรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ ป.ป.ช.ดำเนินการด้วยความรวดเร็ว

ด้าน นายศักดิ์ชัย เมทินีพิศาลกุล ผู้ช่วยเลขาธิการ ป.ป.ช. ตัวแทนรับเรื่องระบุว่า คดีที่เกี่ยวข้องกับ ปรส. ทาง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดไปหมดทุกคดีแล้ว โดยขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการสูงสุด โดยยอมรับว่ายังมีข้อไม่สมบูรณ์อยู่
---------------
ป.ป.ช.แจง คดี ปรส.ไม่เหลือค้างดำเนินการ ผู้ถูกกล่าวหาเพียงรายเดียวที่เคยมีมติชี้มูล อัยการสูงสุดส่งฟ้องแล้ว

(11/11/57)ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการป.ป.ช.ได้ชี้แจงกรณีที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ได้ยื่นหนังสือติดตามและขอทราบผลการพิจารณาคดีองค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) ของคณะกรรมการป.ป.ช.ว่า เรื่องกล่าวหาเกี่ยวกับ ปรส.ที่มีการร้องเรียนคณะกรรมการปรส.และผู้บริหาร ปรส.อาทิ นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ นายอมเรศ ศิลาอ่อน นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ นางวชิรา ณ ระนอง นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ นางเกษรี ณรงค์เดช นางจันทรา อาชวานันทกุล นางนงนาท สนธิสุวรรณ และนายมนตรี เจนวิทย์การ มายังสำนักงานป.ป.ช.รวม 6 เรื่อง ซึ่งคณะกรรมการป.ป.ช.ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงทั้ง 6 เรื่อง

ผลการไต่สวนข้อเท็จจริงปรากฏว่ากรณีกล่าวหาคณะกรรมการปรส.และผู้บริหาร ปรส. คณะกรรมการป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล มีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป จำนวน 3 เรื่อง และมีมติไม่ยกขึ้นพิจารณา เนื่องจากเป็นกรณีที่ศาลประทับรับฟ้องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลจำนวน 1 เรื่อง

นายสรรเสริญ กล่าวว่า สำหรับอีก 2 เรื่อง เป็นกรณีกล่าวหานายมนตรี เจนวิทย์การ ในฐานะเลขาธิการปรส.ว่าดำเนินการจำหน่ายสินทรัพย์ให้กองทุนรวมแกมม่าแคปปิตอล และกรณีจำหน่ายสินทรัพย์ให้บริษัท เงินทุนเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) โดยมิชอบ เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ซื้อเป็นเหตุให้รัฐได้รับความเสียหาย คณะกรรมการป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของนายมนตรี เจนวิทย์การดังกล่าว มีความผิดทางวินัยไม่ปฏิบัติหน้าที่การงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตามข้อบังคับขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินว่าด้วยการพนักงานพ.ศ.2540 และมีมูลความผิดทางอาญาฐานเป็นพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11 ส่วนผู้กล่าวหารายอื่นๆ เห็นว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล จึงมีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป

ทั้งนี้ คณะกรรมการป.ป.ช.ได้ส่งสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษทางวินัยและส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดพิจารณาฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตอำนาจและอัยการสูงสุดได้ยื่นฟ้องคดีนายมนตรี เจนวิทย์การ ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ทั้งสองคดีแล้ว เมื่อวันที่ 22 พ.ค.2557 โดยขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล

นายสรรเสริญ กล่าวว่า ปัจจุบันไม่มีคดีกรณีกล่าวหาคณะกรรมการปรส.หรือผู้บริหารปรส.ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของคณะกรรมการป.ป.ช.อีก

คดี ปรส.หมดอายุความ?

คดี ปรส. โดยพรรคประชาธิปัตย์ทำประเทศชาติเสียหาย 1 ล้านล้านบาท หมดอายุความ 21 มิถุนายน 2556

หากย้อนอดีตไปเมื่อปี 2540 วิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ปาเข้าไปนานถึงสิบกว่าปี กับสำนวนคดี การขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือปรส. เกี่ยวกับการเร่ขายสินเชื่อที่อยู่อาศัย 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ มูลค่า 851,000 ล้านบาท ไปประมูลขายเพียง 190,000 ล้านบาท  อีกทั้งกำหนดหลักเกณฑ์เอื้อประโยชน์ให้เอกชนและหลบเลี่ยงภาษี คดีหมายเลขดำที่ อ.3344/2551

ซึ่งแต่เดิมนั้น ปรส. ในสมัยของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี นั้นได้สั่งปิด 56 ไฟแนนซ์ และตั้งปรส.ขึ้นมา เพื่อแยกหนี้ดี-หนี้เสียออกจากกัน แล้วค่อยประมูลขาย เพื่อปลดล็อกสินทรัพย์ทั้งหลายถูกแช่แข็งอยู่ออกมาหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์อย่างรวดเร็วที่สุดและโปร่งใสที่สุด

โดยสินทรัพย์ดีจะได้ขายได้ในราคาที่ดี (โดยใช้วิธีประมูล) อีกทั้งช่วยเหลือผู้ฝากเงิน และเจ้าหนี้ที่สุจริต โดยเฉพาะกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ในสัดส่วน 87.54% และเพื่อชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ไม่สามารถฟื้นฟูกิจการได้



แต่ในทางปฏิบัติ สมัย นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี พรรคประชาธิปปัตย์มาบริหารประเทศนั้น มีการตั้งข้อสังเกตกันว่ากระทำขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่มุ่งแก้ไข ระบบสถาบันการเงินด้วยการฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินการ ไม่ได้มีการแยกสินทรัพย์ดี และเสีย ( Good Bank – Bad Bank ) ทำรัฐเสียหายกว่า 800,000 ล้าน เกิดความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้ต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์โดยมิชอบ

รูปที่ 2รูปที่ 2

จาก 8 แสนล้าน เหลือ 2 แสนล้าน  มีผู้เสียหายเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ 5 คดี ประกอบด้วย
คดี ที่ 1 กรณี บริษัท เลห์แมนบราเดอร์ โฮลดิ้ง อิงค์ ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้ เมื่อวันที่ 13 ส.ค.2541 ยอดคงค้างทางบัญชี 24,616.95 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 11,520 ล้านบาท



คดีที่ 2 กรณี บริษัท โกลด์แมน แซคส์ เอเชีย ไฟแนนซ์ จำกัด ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์จาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมบางกอกแคปปิตอล ยอดคงค้างทางบัญชี 115,890.96 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 22,454.87 ล้านบาท
คดีที่ 3 – 4 กรณี บริษัท เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ จาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับ กองทุนรวมเอเชียรีคอฟเวอรี่ 1 – 3 ยอดคงค้างทางบัญชี 64,303.34 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 23,176.38 ล้านบาท
คดีที่ 5 กรณี บริษัท วีคอนกลอมเมอเรท จำกัด ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ จาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมวีแคปปิตอล ยอดคงค้างทาง บัญชี2,376.73 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 3,189.90 ล้านบาท



เหล่านี้คือผลของการกระทำดังกล่าวทำให้การประมูลทรัพย์ได้ราคาที่ต่ำมาก ซึ่งดีเอสไอสรุปสำนวนคดี ปรส. ชี้การกระทำดังกล่าวว่า ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  และนายวิชช์ จีระแพทย์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีล้มละลาย แถลงสรุปผลการประชุม ยังพบว่ามีการดำเนินการหลายกรณี ไม่เป็นไปตามกฎหมายระเบียบ หลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ทั้งสิ้น 10 ประเด็น ดังนี้
1.ปรส.ยินยอมให้นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปรส.เข้าประมูลซื้อทรัพย์สิน จากปรส.โดยมิชอบ
2.คณะกรรมการปรส.บางคนมีส่วนเกี่ยวข้องปกปิดข้อเท็จจริง กระทำการโดยไม่โปร่งใส
3.ข้อกำหนดของปรส.ที่ให้ผู้ชนะการประมูลโอนสิทธิได้ขัดต่อกฎหมาย
4.การโอนสิทธิของผู้ชนะการประมูล ไม่ชอบ ขัดต่อพรก.ปรส.
5.ข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของคณะกรรมการปรส.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
6.คณะกรรมการปรส.และกลุ่มนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปรส.ฝ่าฝืนข้อสนเทศการขาย ทรัพย์สิน
7. กองทุนรวมที่รับโอนสิทธิจากผู้ชนะการประมูลซื้อทรัพย์สินจากปรส. ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
8.มีการทำสัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
9.สิทธิของนิติบุคคลที่ชนะการประมูลไม่สมบูรณ์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของปรส. และ
10.ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการปรส.บางคนขาดคุณสมบัติเนื่องจากดำรงตำแหน่งทับซ้อน กับสถาบันการเงินอีกแห่ง



หากปปช. ปล่อยให้คดี ปรส. หมดอายุความไปกับมือ  ปปช.จะแสดงความรับผิดชอบค่าเสียหายอย่างไรต่อประเทศชาติ
ผมขอแนะนำให้รัฐบาลชุดนี้ใช้คดีนี้เพื่อเล่นงานพรรคประชาธิปัตย์ จะได้เป็นการสร้างบรรทัดฐานว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่เคยปล่อยให้การคอรัปชั่นเล็ดรอดไปได้



ที่มาข้อมูล : Mthai News
รูปภาพจาก : https://www.facebook.com/media/set/?set=a.323180457763648.85306.115983271816702&type=3

สถานการณ์11/11/57

สปช.

สมาชิก สปช. บันทึกภาพหมู่ร่วมกัน พร้อมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำรัฐสภา ขอทำสำเร็จตามเป้าหมาย ร่าง รธน. ราบรื่น

บรรยากาศที่รัฐสภา เช้านี้ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) นำโดย นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ พร้อมสมาชิกทั้งหมด บันทึกภาพหมู่ร่วมกันเป็นภาพประวัติศาสตร์ ซึ่งแถวแรกเป็นเก้าอี้สำหรับนั่งจำนวน 29 ที่นั่ง ตรงกลางเป็นประธานและรองประธาน สปช. ส่วนอีก 26 ที่นั่งเป็นสมาชิก สปช. ผู้อาวุโส จากนั้น เข้าสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระสยามเทวาธิราช และพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เพื่อความเป็นสิริมงคลในการทำหน้าที่ให้สำเร็จตามเป้าหมาย รวมถึงการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ราบรื่น

ขณะเดียวกัน ในช่วงบ่าย เวลา 13.30 น. มีการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 2 ที่ห้องงบประมาณ อาคารรัฐสภา 3 เพื่อสรุปกรอบทำงานการร่างรัฐธรรมนูญที่ชัดเจน ภายหลังการประชุมนัดแรกได้แบ่งคณะทำงานพร้อมตั้งคณะอนุกรรมาธิการแล้ว
----------
ปธ.สปช. ยัน เคาะ กมธ. 18 คณะ ไร้ปัญหาขัดแย้ง เชื่อ อัยการศึก ไม่กระทบรับฟังความเห็น ปชช. 

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา 18 คณะ ว่า แม้ว่าแต่ละคณะมีสมาชิกแสดงความจำนงเข้าร่วมไม่เท่ากัน แต่ก็ไม่มีปัญหาความขัดแย้งแต่อย่างใด เพราะคณะกรรมาธิการสามัญสรรหาผู้ที่จะดำรงแหน่งในคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาได้พิจารณาจัดสรรบุคคลที่เหมาะสมเข้าร่วมโดยมีความอิสระ ซึ่งในวันนี้ภายหลังจากรับรองรายชื่อคณะกรรมาธิการแล้ว แต่ละคณะจะต้องคัดเลือกตัวแทน 1 คน เข้าร่วมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) ชุดถาวร เพื่อกำหนดที่มา องค์ประกอบ และวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งคณะกรรมาธิการอีก 5 คณะ ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการในวันนี้

นอกจากนี้ นายเทียนฉาย เชื่อว่า กฎอัยการศึก จะไม่กระทบการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างแน่นอน และปฏิเสธที่จะตอบว่า ควรยกเลิกกฎอัยการศึกหรือไม่
---------------
"วิษณุ" งดวิจารณ์อภิรัฐมนตรี คาดแนวทาง รธน. ชัดหลัง 19 ธ.ค. ไม่ปิดกั้นประชามติ แต่ต้องระมัดระวัง

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย กล่าวถึงแนวคิดอภิรัฐมนตรีว่าไม่มีความคิดเห็นในเรื่องนี้ ส่วนแนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น คาดว่าข้อเสนอต่าง ๆ จะมีการตกผลึกหลังวันที่ 19 ธันวาคมนี้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดว่าหลังแต่งตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. จะต้องเสนอแนวทางต่าง ๆ ภายใน 60 วัน อย่างไรก็ตาม มองว่า การเขียนในรัฐธรรมนูญ ว่าห้ามยกเลิกรัฐธรรมนูญนั้น ไม่มีประโยชน์ต้องอยู่ที่การยอมรับ

ส่วนการทำประชามตินั้นเป็นการป้องกันรัฐธรรมนูญได้ในระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีคนเสนอในหลายแนวทาง เช่น การทำประชามติบางมาตราก็เป็นสิ่งที่ดี แต่หากจะทำประชามติทั้งฉบับก็สามารถทำได้ เพราะรัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่ได้ปิดกั้น แต่ทั้งนี้ ต้องระมัดระวังการทำประชามติที่ประชาชนยังไม่เข้าใจ
-------------
"คำนูณ" คาด กมธ.ยกร่าง รธน. ได้กรอบที่ชัดเจนภายใน 14 พ.ย. นี้ 17-25 พ.ย. รับฟังความเห็นพรรคการเมือง

นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะโฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการประชุมกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในวันนี้ว่า มีวาระเพื่อพิจารณากรอบโครงสร้างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคาดว่าจะได้กรอบที่ชัดเจนภายในวันที่ 14 พฤศจิกายน และในวันเดียวกันจะจัดตั้งอนุกรรมาธิการด้านเนื้อหาเพื่อไปพิจารณารายละเอียดต่อไป

จากนั้นในสัปดาห์หน้าตั้งแต่วันที้ 17-25 พฤศจิกายน จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากพรรคการเมืองและกลุ่มเห็นต่าง ในหัวข้อ "จะยกร่างรัฐธรรมนูญอย่างไรเพื่อให้สังคมไทยมีอนาคตที่ดี เพื่อส่งมอบให้ลูกหลาน" ซึ่งวันนี้ได้มีหนังสือเชิญไปยังหัวหน้า โดยจะจัดเรียงลำดับตามจำนวนที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร
-----------------
สปช. ปิดการประชุมแล้ว หลังจัดตั้งวิป 29 คน เป็นที่เรียบร้อย นัดประชุมนัดแรก พรุ่งนี้ 

บรรยากาศที่รัฐสภา ล่าสุด ได้เสร็จสิ้นการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.)แล้ว โดยในช่วงบ่ายที่ผ่านมาที่ประชุมมีวาระเพื่อเสนอชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ(วิป สปช.) ชุดถาวร จำนวน 29 คน โดยจะประกอบด้วยตัวแทนคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา 18 คณะ คณะละ1 คน และตัวแทนสมาชิกสปช.ส่วนกลาง จำนวน 8 คน ซึ่งใช้วิธิเปิดรับสมัครยมาชิก เพื่อให้ที่ประชุมคัดเลือกโดยการลงคะแนนแบบลับ จากนั้นได้มีการแต่งตั้งนายเทียนฉาย กีระนันท์ ประธานสปช. เป็นประธานกรรมาธิการ นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสปช.คนที่2 เป็นรองประธานกรรมาธิการ และนายจเร พันธ์เปรื่อง เลขาธิการสปช. เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการโดยมีการนัดประชุมวิปสปช. ชุดถาวร ครั้งแรก ในวันพรุ่งนี้ เวลา13.30น.
/////
สนช.ถอดถอน

"สุรชัย" รอวิป สนช. สรุปเลื่อนถอดถอน "ยิ่งลักษณ์" หรือไม่ ย้ำ เป็นธรรมคดี "สมศักดิ์-นิคม" ยึด กม.

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 กล่าวกับ สำนักข่าว INN ถึงกรณีที่ทนายความของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังไม่ได้รับสำนวนคดีการถอดถอน ว่า สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (ส.ว.) แจ้งว่า ได้ส่งเอกสารให้ทั้งผู้ร้อง และผู้ถูกร้อง มารับที่ ส.ว. เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากไม่สามารถจัดส่งได้ ส่วนกรณีที่มองว่าผิดข้อบังคับนั้น อาจเป็นข้อที่ระบุว่า ประธาน สนช. ต้องเป็นผู้สั่งให้แจกสำเนาเอกสารให้คู่กรณี

ทั้งนี้ การประชุมกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ วิป สนช. บ่ายวันนี้ จะเป็นการพิจารณาเหตุผลของคำร้องขอเลื่อนวันประชุมจากวันที่ 12 พ.ย. 57 โดยยึดหลักความเหมาะสม ถูกต้อง เป็นธรรม และให้โอกาสต่อสู้คดีอย่างเต็มที่

นอกจากนี้ ในส่วนสำนวนการถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และ นายนิคม ไวยรัชพานิช นั้น จะมีการเริ่มพิจารณาในวันที่ 27 พ.ย. 57 อย่างไรก็ตาม ย้ำว่า สนช. จะพิจารณาตามกฎหมายกำหนด รวมถึงยึดหลักนิติธรรมและข้อเท็จจริง ขอให้ประชาชนมั่นใจว่าจะตัดสินด้วยความเป็นธรรม
-----------
"สุรชัย" เผย หากทนายยิ่งลักษณ์ ร้องเลื่อนวันประชุมมีเหตุผลเหมาะสม สนช. พร้อมรับฟัง ขออย่ายื้อเวลา

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนที่ 1 (สนช.) ระบุถึงการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) ในช่วงบ่ายวันนี้ ว่า จะมีการหารือกรณีที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ทนายความส่วนตัว ส่งหนังสือถึง สนช. เพื่อขอให้เลื่อนการพิจารณาสำนวนคดีถอดถอน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากกรณีไม่ระงับยับยั้งความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว ออกไป 30 วัน โดยอ้างว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ เพิ่งเดินทางกลับจากต่างประเทศ จึงยังไม่ได้รับสำนวนคดี ซึ่งวิป สนช. จะนำผลการหารือเข้าที่ประชุม สนช. เพื่อขอมติจากสมาชิก ในวันที่ 12 พฤศจิกายน นี้ ซึ่งจะมีทนายความหรือผู้ได้รับมอบอำนาจจาก นางสาวยิ่งลักษณ์ เข้าชี้แจงเหตุผลด้วย

อย่างไรด็ตาม นายสุรชัย ยืนยันว่า หากผู้ถูกร้องมีเหตุผลที่เหมาะสม สนช. ก็พร้อมจะรับฟัง แต่ขอว่าอย่าเป็นการขอเลื่อนเพื่อประวิงเวลาในการพิจารณาคดี
---------------
"เรืองไกร" ยื่น หนังสือ สนช. จี้ ถอดวาระประชุมเรื่องด่วน ถอดถอน "ยิ่งลักษณ์" อ้างข้อบังคับมิชอบ ขู่ร้อง ป.ป.ช.

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย เดินทางมายื่นหนังสื่อแก่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อให้ถอดระเบียบวาระการประชุมเรื่องด่วนที่ 1 ว่าด้วยการถอดถอน น.ส.

ยิ่งลักษ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง ออกไปก่อน โดยกล่าวว่า ต้องการให้ทาง สนช. รอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาให้แล้วก่อน พร้อมอ้างข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่ง

ชาติ ออกโดยอาศัยอำนาจตามความรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 มาตรา 13 วรรคสอง ด้วยมิชอบ

อย่างไรก็ตาม หากทาง สนช. ยืนยันที่จะเดินในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว ก็จะร้องคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตามมาตรา 123/1 ของกฎหมาย ป.ป.ช. ต่อไป
------------
วิป สนช. เริ่มพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. 4 ฉบับ จับตาการหารือเลื่อนวาระถอดถอน "ยิ่งลักษณ์" ขณะ สปช. กลับมาประชุมอีกครั้ง

บรรยากาศการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ล่าสุด กลับเข้าสู่การประชุมแล้ว หลังให้คณะกรรมาธิการวิสามัญทั้ง 18 คณะ แยกย้ายประชุมเพื่อเลือกประธานและรองประธาน ขณะที่การประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัตแห่งชาติ หรือ วิป สนช. โดยมี นายพรเพชร วิชิตชลชัย เป็นประธานในการประชุม ซึ่งที่ประชุมมีวาระร่างพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีเสนอต่อ สนช. จำนวน 4 ฉบับ นอกจากนี้ ยังมีการหารือการเตรียมการตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน

อย่างไรตาม ต้องติดตามการหารือในวาระสำคัญคือการพิจารณาว่าจะเลื่อนการพิจารณาสำนวนถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จากกรณีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวออกไป 30
วันหรือไม่ ตามที่ทนายความส่วนตัวได้ยื่นเรื่องมายัง สนช.
-----------------
มติวิป สนช. เลื่อนพิจารณาถอดถอน "ยิ่งลักษณ์" 15 วัน เพื่อความเป็นธรรม  นัดนำเข้าที่ประชุมอีกครั้ง 28 พ.ย. นี้ 

น.พ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ วิป สนช. กล่าวว่า ที่ประชุมวิป สนช. มีมติให้เลื่อนการพิจารณาสำนวนถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จากกรณีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวออกไป 15 วัน ซึ่งนับตามวันที่ผู้ถูกกล่าวหารับสำนวนคือวันที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ที่ประชุมวิป สนช. มีมติให้เลื่อนการพิจารณาไปวันที่ 28 พฤศจิกายนนี้ เพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหา และในวันพรุ่งนี้การประชุม สนช. จะยังคงประชุมตามปกติ เพื่อพิจารณาวาระทั่วไป และเปิดให้ทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชี้แจงเหตุผล รวมถึงขอมติจากที่ประชุมให้รับรองมติของเลื่อนวาระการพิจารณาสำนวนถอดถอนออกไป

อย่างไรก็ตาม วันที่ 28 พฤศจิกายน จะเป็นการประชุมนัดแรกเพื่อกำหนดกรอบวันแถลงเปิดคดี ซึ่งเมื่อเปิดแถลงเสร็จเรียบร้อยแล้วจะตั้งคณะกรรมาธิการซักถาม 1 คณะ
//////////
ปปช.

เพื่อไทย ยื่นหนังสือ ปธ.ป.ป.ช. ถามคืบคดี ปรส. เร่ขายสินเชื่อที่อยู่อาศัย หลังยื้อกว่า 10 ปี จี้ ฟ้องศาลก่อนหมดอายุความ

นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อดีตโฆษกพรรคเพื่อไทย และ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เพื่อทวงถามถึงความคืบหน้าคดีการดำเนินการบริหารองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือ ปรส. เกี่ยวกับการเร่ขายสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินกว่า 56 แห่ง ที่ถูกปิดกิจการลง และคดีกำลังจะหมดอายุความในวันที่ 30 พ.ย.นี้

โดย นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า คดีดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของ ป.ป.ช. มามากว่า 10 ปี ซึ่งคดีกำลังจะหมดอายุความลง และไม่อยากให้ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความเสียหายพ้นความผิด จึงอยากเรียกร้องให้ ป.ป.ช. ใช้กฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 74/1 ในการยื่นฟ้องต่อศาลเอง ขณะที่ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้การรับรอง นายรอล์ฟ ซูลเซอ (H.E. Mr.Rolf Schulze) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจำประเทศไทย ณ ห้องรับรองพิเศษ ชั้น 2 อาคารรัฐสภา 2
-----------------
ป.ป.ช. แจง 6 คดี ป.ร.ส. หลังเพื่อไทยทวงถาม ยันไต่สวนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่มีมูล 3 คดี ศาลฟ้องแล้ว 1 เรื่อง อีก 2 เรื่องส่งอัยการสูงสุดแล้ว  

สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือป.ป.ช.ได้ชี้แจงถึงกรณีที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อดีตโฆษกพรรคเพื่อไทย ได้เดินทางมายื่นหนังสือติดตามความคืบหน้าของคดีเกี่ยวกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินหรือปรส.ว่า มีการส่งเรื่องมายังป.ป.ช.รวม6เรื่อง ซึ่งคณะกรรมการป.ป.ช.ได้แต่งตั้งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงทั้ง6เรื่องดังกล่าวแล้ว ซึ่งทางคณะกรรมการป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูลจึงมีมติให้ตกไป3เรื่อง ไม่ยกขึ้นพิจารณาเนื่องจากเป็นกรณีที่ศาลประทับฟ้องไว้แล้ว1เรื่อง ส่วนอีก2เรื่องเป็น

กรณีกล่าวหานายมนตรี เจนวิทย์การ ในฐานะเลขาธิการ ปรส.ว่าดำเนินการจำหน่ายทรัพย์สินโดยมิชอบ ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาแล้วมีมูลความผิด จึงได้ส่งสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษทางวินัยและส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดแล้วเมื่อวันที่22พ.ค.2557 ดังนั้นปัจจุบันจึงไม่มีคดีเกี่ยวกับ ปรส.ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของคณะกรรมการป.ป.ช.แต่อย่างใด
///////////
ภาษีมรดก

"วิษณุ" เชื่อผลักดันภาษีที่ดิน-มรดก ไม่สร้างความขัดแย้ง ชี้ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ย้ำเป็นธรรมทุกฝ่าย

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการผลักดันกฎหมายภาษีที่ดินและภาษีมรดก ว่า คงไม่ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้น ซึ่งมองว่าเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม แต่ต้องทำให้เกิดความ
มั่นใจ ว่ามีความเป็นธรรม ส่วนที่บางประเทศมีการยกเลิกการเก็บภาษีดังกล่าวนั้น มีเหตุผลหลายประการและมีการจัดเก็บก่อนที่จะยกเลิก ซึ่งประเทศไทยเพิ่งริเริ่ม โดยร่างกฎหมายดังกล่าวเรียก
เก็บไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ หรือต่ำกว่าตามกำหนดที่จะออกโดยพระราชกฤษฎีกา

อย่างไรก็ตาม การเก็บภาษีดังกล่าวเพื่อแสดงให้คนจำนวนหนึ่งเห็นว่า ในสังคมนี้ยังมีการลดความเหลื่อมล้ำอยู่
//////////////
เคลื่อนไหวนายกฯ

นายกฯ ขึ้นเวทีเอเปก ย้ำไทยเร่งสร้างประชาธิปไตยที่ยังยืน ปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ เสริมสร้างความเชื่อมโยงกับเพื่อนบ้าน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมเอเปก ช่วงที่ 1 ในหัวข้อ การก้าวสู่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค (Advancing Regional Economic Integration) ว่า การจะทำให้เอเชีย-แปซิฟิกคงความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนได้ จะต้องเร่งสร้างหลักประกันความแข็งแกร่งจากภายในประเทศ คือระบบเศรษฐกิจและสังคมไทย ยืนยันว่าประเทศไทยยึดมั่นกับค่านิยมความเป็นประชาธิปไตย และขอเวลาเพื่อสร้างประชาธิปไตยที่ยั่งยืน ที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนไทยอย่างแท้จริง โดยยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล ความเท่าเทียม ความโปร่งใส และยุติธรรม ในทุกภาคส่วนด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลไทยจะเร่งปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืน เท่าเทียม และมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ และเสริมสร้างความเชื่อมโยงกับเพื่อนบ้าน เพื่อเปิดโอกาสให้คนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงการพัฒนาเศรษฐกิจได้
----------------------
นายกฯ กล่าวถ้อยแถลงเวทีเอเปก เชื่อมั่นว่า การรวมกลุ่มจะส่งเสริมให้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกแข็งแกร่งขึ้น นำพาเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวเติบโตอย่างยั่งยืน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมเอเปก ช่วงที่ 1 ในหัวข้อ การก้าวสู่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค (Advancing Regional Economic Integration) ว่า เอเปกฉลองครบรอบ 25 ปี ความสำเร็จที่สำคัญของเอเปก คือ การเปิดเสรีการค้าและการลงทุน และจะสานต่อเป้าหมายการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอฟ-แทป (FTAAP)

นายกรัฐมนตรี เชื่อมั่นว่า การรวมกลุ่มจะส่งเสริมให้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกแข็งแกร่งขึ้น และจะนำพาเศรษฐกิจโลกให้ฟื้นตัวและเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมสนับสนุนการจัดทำ “แผนการดำเนินงานปักกิ่งฯ” เพื่อให้ “เอฟ-แทป” มีความคืบหน้า และเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ ต้องคำนึงถึงระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันของสมาชิกเอเปก และมีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน (step-by-step) ต่อยอดจาก FTA ที่ดำเนินการอยู่แล้วในภูมิภาค เช่น อาร์-เซพ (RCEP - Regional Comprehensive Economic Partnership) ทีพีพี (TPP - Trans Pacific Partnership) และกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิก (Pacific Alliance)

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวว่า ไทยให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจเพื่อนบ้านมาโดยตลอด โดยเฉพาะภายใต้กรอบอนุภูมิภาค เพื่อให้ก้าวเดินไปพร้อมกัน รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนที่จะจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จำนวน 5 แห่ง กับลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และมาเลเซีย เพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณชายแดนให้เป็นประโยชน์ร่วมกัน นอกจากนี้ เอเปกต้องให้ความสำคัญกับการค้าที่เคารพต่อกติกาด้านสิ่งแวดล้อมและมนุษยธรรม เช่น การป้องกันการค้าไม้ผิดกฎหมาย และการค้าสัตว์ป่า โดยเฉพาะงาช้าง ไทยได้ยื่นแผนปฏิบัติการงาช้างต่อไซเตส (CITES) เพื่อย้ำความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาการค้างาช้างของไทย
-------------------------
นายกฯ กล่าวในเวทีเอเปก ไทยมีแผนปฏิรูประบบการศึกษา เน้นการพัฒนาคุณภาพ ลดความยากจน ความเหลื่อมล้ำในสังคม  

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในการประชุมเอเปก ช่วงที่สอง (Retreat II) ในหัวข้อ การส่งเสริมการพัฒนาอย่างมีนวัตกรรม การปฏิรูปเศรษฐกิจ และการเจริญเติบโต (Promoting Innovative Development, Economic Reform and Growth) ว่า เป้าหมายสำคัญของเอเปก คือการสร้างความเจริญเติบโต ต้องการเห็นความเจริญเติบโตที่มีคุณภาพ ยั่งยืน เท่าเทียม เป็นธรรม รัฐบาลไทยได้เห็นถึงความสำคัญกับการพัฒนา โดยเฉพาะการพัฒนาที่เน้นคุณภาพ ลดความยากจน และความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งการพัฒนาคนถือเป็นหัวใจของการพัฒนาช่วยให้ระบบเศรษฐกิจก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ไทยมีแผนปฏิรูประบบการศึกษา เน้นการศึกษาที่มีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ คนไทยทั่วประเทศจะต้องได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวสนับสนุนความร่วมมือของเอเปก ในการส่งเสริมการศึกษาข้ามพรมแดน โดยเฉพาะการกำหนดเป้าหมายแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาจำนวน 1 ล้านคน ระหว่างสมาชิกเอเปกภายในปี ค.ศ. 2020 และการให้ทุนการศึกษาเอเปก เพื่อเตรียมความพร้อมให้แรงงานรุ่นใหม่ปรับตัวเข้ากับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่อไป ส่วนการส่งเสริมสุขภาพที่ดี ผ่านการ

พัฒนานโยบายป้องกัน ควบคุม และรักษาโรค ข้อริเริ่มของจีนเรื่อง Healthy Asia Pacific 2020 เป็นความร่วมมือที่มีประโยชน์ และตรงกับการดำเนินการของไทย จึงเชื่อว่า ไทยจะสามารถมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ในความร่วมมือด้านนี้ของเอเปกต่อไป

‘เจ๊ยุ’ ห่วงนักข่าวรุ่นใหม่ไร้เสาหลักวิชาชีพ ทำหน้าที่สื่อแค่วิ่งข่าว

งถกปฏิรูปสื่อฯ ห่วงนักข่าวใหม่ไร้หลักวิชาชีพ-เป็นได้แค่เด็กวิ่งข่าว

เขียนวันที่
วันศุกร์ ที่ 07 พฤศจิกายน 2557 เวลา 21:36 น.
เขียนโดย
isranews
‘เจ๊ยุ’ ห่วงนักข่าวรุ่นใหม่ไร้เสาหลักวิชาชีพ ทำหน้าที่สื่อแค่วิ่งข่าว ระบุต้องหาวิธีห้ามนักการเมืองกระโดดมาทำสื่อ หวั่นใช้เป็นช่องทางโฆษณาล้างสมอง บ้านเมืองเละเทะซ้ำรอยอดีต ‘เทพชัย หย่อง’ ยอมรับการบังคับใช้กติกากำกับวิชาชีพไทยยังอ่อน เร่งหากลไกขับเคลื่อนจริงจัง
natdanai071111111157
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2557 คณะทำงานสื่อเพื่อการปฏิรูป จัดเวทีเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการปฏิรูปสื่อ ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
นายเทพชัย หย่อง ประธานคณะทำงานสื่อเพื่อการปฏิรูป กล่าวว่า ต้องยอมรับความจริงการบังคับใช้กฎกติกาเรื่องจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชนไทยอ่อนมาก จึงถือเป็นประเด็นสำคัญในการปฏิรูปครั้งนี้ เพราะหากถูกมองว่ากำกับดูแลกันเองไม่ได้ อาจมีคนเข้ามาสอดแทรกแนวความคิดให้มีกฎหมาย อำนาจทางการเมือง หรือรัฐบาลเข้ามาลงโทษจึงจะได้ผล ซึ่งถือเป็นสิ่งที่น่ากลัวมากที่สุด ทำให้การปฏิรูปครั้งนี้ต้องช่วยกันคิดว่ากลไกอะไรจากนี้ไปจะทำให้สื่อมีความรู้สึกว่า กติกาที่ทุกคนต้องเห็นพ้องกันและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมถึงมีกลไกที่คนในสังคมรู้สึกเชื่อมั่นให้สามารถใช้ได้จริง สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ท้าทายที่สุด
ด้านนางยุวดี ธัญญศิริ ผู้สื่อข่าวอาวุโส หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ กล่าวว่า ในอนาคตสื่อมวลชนจะทำงานลำบากมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งส่วนตัวรู้สึกห่วงใยนักข่าวรุ่นใหม่ในเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยเฉพาะสื่อเคเบิลที่มักให้ความสำคัญกับการได้มาซึ่งข่าวที่รวดเร็วมากกว่าการคำนึงถึงข้อเท็จจริงหรือประเด็นข่าว จึงอาจเหลือเพียงคนวิ่งข่าว
“สื่อมวลชนยังแบ่งค่าย วิ่งเข้าสู่ศูนย์อำนาจ ให้ได้เส้นทางผ่านสะดวก เพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ ซึ่งไม่ว่ากัน ขอเพียงไม่ลืมหลักวิชาชีพก็พอ มิเช่นนั้นจะไม่เหลืออะไร” ผู้สื่อข่าวอาวุโส กล่าว และว่า ที่ผ่านมาสื่อออนไลน์และการเมืองสร้างภาพลบแก่สื่อกระแสหลัก โดยเฉพาะสื่อการเมือง จึงพูดได้ว่า บ้านเมืองเละเทะไปเพราะสื่อเหล่านี้
นางยุวดี กล่าวต่อว่า จำเป็นต้องหาวิธีทำให้หลักการในวิชาชีพของสื่อกลับคืนมา อย่าปล่อยให้พรรคการเมืองเข้ามาทำสื่อเพื่อหวังโฆษณาล้างสมองฝ่ายเดียว เพราะการให้สิ่งที่ผิดกับสังคมย่อมเป็นยาพิษ และเรียกร้องทำอย่างไรให้สื่อรวมตัวกันด้วยความสามัคคี ภายใต้จุดยืนในการดำรงไว้ซึ่งวิชาชีพ ไม่ใช่การแข่งขัน
“บ้านเมืองไทยผ่านสถานการณ์รัฐประหารมาหลายครั้ง ซึ่งจะเห็นว่าผู้นำประเทศในอดีตจะใจกว้าง แม้จะดุ เราก็ไม่โกรธ แต่สื่อมวลชนในบางยุคกลับถูกมองด้วยสายตาลักษณะฝ่ายตรงข้าม มีการสั่งสอน ประหนึ่งสื่อมวลชนไร้วุฒิภาวะ” ผู้สื่อข่าวอาวุโส ทิ้งท้าย
ขณะที่นายศิโรจน์ มิ่งขวัญ นายกสมาคมนักข่าวอาชญากรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ไม่ว่าใครจะนั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สื่อมวลชนยังทำหน้าที่อยู่ตลอด ซึ่งขณะนี้เราถูกเทคโนโลยีกดดัน มีดุลจากอินดี้มีเดียนำเสนอในรูปแบบคลิปต่าง ๆ ขนาบข้างมา จึงเป็นที่มาต้องเกิดการปฏิรูปสื่อครั้งนี้ ทั้งนี้ ในเรื่องการปฏิรูปนั้นคงไม่สามารถมีตัวชี้วัดการเติบโตหรือความเป็นกลางได้ แต่หากจะให้มองคงเหมือนเดิม คือ ปฏิรูปด้านเนื้อหาต้องถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมถึงมีจริยธรรมวิชาชีพและเน้นข่าวเชิงสร้างสรรค์
สุดท้ายนายจักรกฤษณ์ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กล่าวถึงกระบวนการหลังจากรับฟังความคิดเห็นของสื่อมวลชนว่า หลังจากนี้ก่อนที่จะมีการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ... องค์กรสื่อต่าง ๆ มีกรอบเวลาภายใน 60 วัน ในการรับฟังความคิดเห็นและนำเสนอเพื่อให้เกิดในทางปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม ซึ่งก่อนหน้าที่มีการพูดถึงการปฏิรูปสื่อหลายฝ่าย แต่ยังไม่ได้ลงรายละเอียดหรือทำให้เกิดอย่างจริงจัง
สำหรับเรื่องความคาดหวังเรื่องเนื้อหาหรือบุคคลที่จะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการในเรื่องการปฏิรูปอย่างจริงจังนั้น ประธานสภาการหนังสือพิมพ์ ระบุว่า ในตอนนี้ยังไม่สามารถคาดหวังได้มากนัก แต่หลังจากนี้จะเป็นโอกาสทั้ง 4 องค์กรสื่อหลักและผู้สื่อข่าวภาคสนามต้องร่วมมือกันช่วยกันคิดกระบวนการอย่างเป็นระบบ ซึ่งต่อจากนี้จะนำความคิดเห็นทั้งที่ได้ในวันนี้และการเปิดรับฟังความคิดเห็นนำมาประมวลผลและกำหนดแนวทาง
โดยจะต้องมีเครื่องมือบางสิ่งที่เข้ามาช่วยในส่วนนี้ด้วย ยกตัวอย่าง เรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน บนความรับผิดชอบที่อาจจะมีข้อจำกัดบางอย่างทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคมากในการทำงาน ถูกจำกัดเสรีภาพ ในส่วนนี้ทางคณะทำงานได้มีการทำเครื่องมือเสร็จเรียบร้อยแล้ว คือ กฎหมายที่ระบุถึงเรื่องการส่งเสริม สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน 
"ต้องให้ความสำคัญกับองค์กรกำกับการดูแลกันเองในองค์กรสื่อ คือ ด้านกฎหมายที่กำหนดในองค์กรสื่อจะต้องเข้าไปเป็นสมาชิกในองค์กรที่มีข้อบังคับด้านจริยธรรม และการผลักดันองค์กรผู้บริโภคให้มีความเข้มแข็งที่จะมาดูแลการกำกับสื่อมวลชน ส่วนด้านสวัสดิการ อาทิ ค่าตอบแทน ค่ารักษาพยาบาล การอบรมของสื่อมวลชนต่าง ๆ ก็มีส่วนสำคัญและจะต้องหาเครื่องมือให้มีการดำเนินการต่อไป"  นายจักรกฤษณ์ สรุป.

เวลานี้ ทหารตามพื้นที่ต่างๆ เรียกบุคคลไปพบ เพื่อปรับทัศนคติ !!!

เวลานี้ ทหารตามพื้นที่ต่างๆ เรียกบุคคลไปพบ เพื่อปรับทัศนคติ !!!
อ้าง !! คลื่นใต้น้ำ เริ่มส่งสัญญาณหรืออย่างไร ?
ไทยแลนด์ วันนี้ประชาชนคนไทยกว่า 65 ล้าน จำต้องยอมฝากชีวิต อนาคตการเมืองการปกครอง ไว้กับ คสช. สนช. 200 คน สปช. 250 คน และกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ 36 คน (กว่าครึ่งมาจาก สนช.+สปช.)
แค่เริ่มต้นออกจากจุดสตาร์ต ก็ชวนขนหัวลุก เมื่อ สถาบันพระปกเกล้า ที่มี "ดร.ปื๊ด"บวรศักดิ์ ประธาน กมธ.ยกร่าง รธน. กุมบังเหียนอยู่มีผู้เสนอไอเดียสถาปนา อภิรัฐมนตรี ขึ้นเป็นอำนาจใหม่ เหนือ 3 อำนาจหลัก นิติบัญญัติ-บริหาร-ตุลาการ ยังดีที่ ประธานบวรศักดิ์ บอกไม่เอาด้วย รวมทั้งไม่รับแนวทางเลือกนายกฯโดยตรง
ยังดีที่ยอมรับว่า มีต้นทุนต่ำ เพราะมาจาก คสช. ไม่ได้มาจาก ประชาชน ดังนั้นประธาน กมธ.ยกร่าง รธน. จึงเห็นด้วยหากจะให้ ทำประชามติ เมื่อร่างรธน.เสร็จสิ้น เพื่อให้มีความสมบูรณ์เป็นที่ยอมรับจากสังคมวงกว้าง ถ้าทำได้จริงจะลบภาพความคับแคบลงไปได้ไม่น้อยเลย
ไม่น่าแปลกใจสำหรับเสียงค้านประชามติจาก สปช.เครือข่าย 40 ส.ว. เพราะอคติความคับแคบทางการเมืองและทางชาตินิยมเคยปรากฏ โชว์ความขี้เท่อจะให้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านชายแดนกัมพูชาเพราะชื่อเหมือนเขมร มาแล้ว เรื่องจะให้รัฐธรรมนูญยึดโยงกับประชาชน ไม่อยู่ในสายตา
คลื่นใต้น้ำ เริ่มส่งสัญญาณหรืออย่างไร เวลานี้ทหารตามพื้นที่ต่างๆ เรียกบุคคลไปพบ เพื่อปรับทัศนคติ หรืออะไรก็แล้วแต่ มากขึ้น ถี่ขึ้น บรรยากาศเหมือนหลังยึดอำนาจใหม่ๆ ล่าสุดจับตัว ประภาส ปิ่นตบแต่ง นักวิชาการ นักเคลื่อนไหว แกนนำ ชาวบ้าน เรียกร้องสิทธิทำกินที่เชียงใหม่ จะเป็น น้ำผึ้ง หยดเดียว หรือ ขี่ช้างจับตั๊กแตน เวลาจะให้คำตอบ
มืดจริงหนอ..โบกมือลาไปอีกราย ยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์ผู้รักเสรีภาพ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศขอสมัครใจหลบภัยทางการเมือง เพราะไม่ขออยู่อย่างไร้เสรีภาพ และยังอาจถูกคุกคามเสรีภาพการแสดงออก เสรีภาพทางวิชาการ การตัดสินใจมาสอนที่อเมริกา แม้จะสูญเสียโอกาสหลายอย่าง แต่ดีกว่าสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง

การถอดถอนกับการปรองดอง

จากเฟสบุ๊ค จาตุรนต์ ฉายแสง
การถอดถอนกับการปรองดอง
ที่มีการตั้งคำถามว่าเมื่อสนช.จะถอดถอนอดีตประธานสภา 2 ท่าน ต่อด้วยนายกฯยิ่งลักษณ์ และอาจจะรวมถึงอดีตสส. สว.อีก 300 กว่าคนแล้วจะปรองดองได้อย่างไรนั้น เป็นการตั้งคำถามที่อาจจะรวบรัดและทำให้เกิดความเข้าใจผิดไปได้ว่า "การถอดถอนเท่ากับไม่ปรองดอง" และ "หากต้องการปรองดอง ต้องไม่ถอดถอน" ความจริงถ้าพูดอย่างเป็นเหตุเป็นผลแล้ว ไม่ใช่อย่างนั้น

สนช.หรือองค์กรใดๆในปัจจุบัน ไม่มีอำนาจถอดถอนอดีตสส. สว. อดีตประธานสภาหรืออดีตนายกรัฐมนตรีแล้วเนื่องจากเมื่อรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการถอดถอนได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ปัจจุบันจึงไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดๆให้อำนาจใครในการถอดถอนบุคคลเหล่านี้

ครั้นจะออกกฎหมายกันขึ้นมาใหม่เพื่อให้อำนาจในการถอดถอนแก่สนช.หรือใครก็ตาม ก็ไม่ได้อีก เพราะจะเท่ากับเป็นการออกกฎหมายย่้อนหลังไปให้โทษแก่บุคคลเหล่านั้น

การที่สนช.มีมติรับเรื่องจากปปช.เพื่อดำเนินการถอดถอนต่อไปนั้น ไม่ทำให้สนช.มีอำนาจถอดถอนขึ้นมาได้ เพราะแม้แต่สนช.จะออกพรบ.ให้ตนเองมีอำนาจถอดถอน ก็ยังไม่อาจทำได้ และไม่ชอบด้วยหลักนิติธรรม นับประสาอะไรกับการลงมติเกี่ยวกับข้อบังคับซึ่งเป็นเรื่องภายในของสนช.เอง จะทำให้สนช.กลายเป็นมีอำนาจถอดถอนขึ้นมาได้

การถอดถอนที่จะทำกันต่อไปนี้ จึงเป็นเรื่องที่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยประการทั้งปวง หากมีการลงมติถอดถอนขึ้นมาจริงๆ ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรก็ต้องถือว่าสนช.ได้ร่วมกระทำการผิดกฎหมายเป็นความผิดสำเร็จไปแล้ว

ที่ผ่านมา สาเหตุหนึ่งที่สังคมไทยเกิดความขัดแย้งแตกแยกอย่างมาก ก็เพราะมีการใช้กฎหมายให้โทษแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยขัดต่อหลักนิติธรรม มีการเลือกปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมายครั้งแล้วครั้งเล่า หากต้องการจะปรองดองก็ต้องไม่ให้เกิดการละเมิดหลักนิติธรรมและเกิดการเลือกปฏิบัติไปให้โทษแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอีก

ที่กล่าวมานี้จึงไม่ใช่กล่าวว่า "หากต้องการปรองดอง ต้องไม่ถอดถอน" หรือ "หากต้องการต้องปรองดอง ต้องไม่มีการลงโทษคนผิด" แต่กำลังบอกว่า ไม่มีใครห้ามไม่ให้ลงโทษคนผิด เพียงแต่ว่าการจะลงโทษคนผิดนั้น ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรมและเป็นไปอย่างเท่าเทียมกันทุกฝ่าย

ส่วนการที่สนช.กำลังจะถอดถอนบุคคลจำนวนมากนั้น เมื่อไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมมีแต่จะสร้างความแตกแยกในสังคมให้เลวร้ายยิ่งขึ้น ไม่ใช่การปรองดอง
และคงต้องกล่าวว่า "หากต้องการการปรองดอง ต้องอย่าลุแก่อำนาจ อย่าละเมิดหลักนิติธรรม"
------------------
ภาพประกอบจากมติชน

เปิดดู...เงินประจำตำแหน่ง+เงินเพิ่มคสช.-สปช.-สนช. เบี้ยประชุมกมธ.ยกร่างรธน. ได้กันเท่าไร?

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 10 พฤศจิกายน 2557 ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เรื่อง เงินประจำตำแหน่งและผลตอบแทนอื่นของผู้ดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญบางตำแหน่ง พ.ศ.2557 ตามมาตรา 22 และ 40 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว


โดยในมาตรา 3 กำหนดให้ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เงินประจำตำแหน่ง 75,590 บาทต่อเดือน เงินเพิ่ม 50,000 บาทต่อเดือน ผู้ดำรงตําแหน่งอื่นในคณะรักษาความสงบแห่งชาติและประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เงินประจำตำแหน่ง 74,420 บาทต่อเดือน เงินเพิ่ม 45,500 บาทต่อเดือน รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เงินประจำตำแหน่ง 73,240 บาทต่อเดือน เงินเพิ่ม 42,500 บาทต่อเดือน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เงินประจำตำแหน่ง 71,230 บาทต่อเดือน เงินเพิ่ม 42,330 บาทต่อเดือน นับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง 


แต่หากสมาชิกผู้ใดไม่มาประชุมเกินกึ่งหนึ่งของกําหนดนัดประชุมในแต่ละเดือนจะไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มเป็นรายเดือนสําหรับเดือนนั้นเว้นแต่ไปราชการของสภาโดยได้รับอนุญาตจากประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ส่วนผู้ที่ดํารงตําแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติซึ่งเป็นข้าราชการและมีเงินเดือนประจําอยู่แล้วจะไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนในตําแหน่งข้าราชการการเมือง


ขณะที่มาตรา4กำหนดให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งๆละ6,000บาทส่วนประธานในการประชุมจะได้รับเพิ่มอีก 3,000 บาท ทั้งนี้หากมีการประชุมหลายครั้งในวันเดียวกำหนดให้รับเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียว ส่วนผู้ที่ทำหน้าที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญหรือผู้ทําหน้าที่ประธานที่ไม่ได้ดํารงตําแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสภาปฏิรูปแห่งชาติให้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ50ของค่าตอบแทนที่พึ่งได้ส่วนกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและกรรมาธิการของสภาปฏิรูปแห่งชาติตามมาตรา 5 ได้กำหนดให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ๆ ละ 1,500 บาท  และได้กำหนดให้มีค่าพาหนะในการเดินของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติเช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร


ซึ่งการเดินทางไปราชการของกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติกรรมาธิการของสภาปฏิรูปแห่งชาติและกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในราชอาณาจักรมีสิทธิได้รับในอัตราเดียวกับข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงขณะที่การเดินทางไปราชการในต่างประเทศของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับนายกรัฐมนตรี


ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับรองนายกรัฐมนตรี ส่วนสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ส่วนสมาชิก สนช.และ สปช. จะมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในกรณีที่เข้าร่วมประชุมตามภาระหน้าที่และได้รับอนุญาตจากประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก


ทั้งนี้การเบิกเงินประจําตําแหน่งเงินเพิ่มและค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ดํารงตําแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้เบิกจ่ายจากสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหมส่วนการเบิกเงินของผู้ดํารงตําแหน่งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้เบิกจ่ายจากสํานักงานเลขาธิการวุฒิสภาขณะที่การเบิกเงินของสภาปฏิรูปแห่งชาติและกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้เบิกจ่ายจากสํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

โฆษก กอ.รมน. เตือนอย่าตื่นตระหนก ข่าว"เต็งวิน หรือ "ฮาซัน" ลักลอบเข้าไทย หวังก่อการร้าย เตรียมFace off ฝังตัวก่อเหตุใต้

โฆษก กอ.รมน. เตือนอย่าตื่นตระหนก ข่าว"เต็งวิน หรือ "ฮาซัน" ลักลอบเข้าไทย หวังก่อการร้าย เตรียมFace off ฝังตัวก่อเหตุใต้ วอนข่วยกันสอดส่องดูแล รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ แต่ยังเชื่อ ไทยไม่ใช่เป้าหมาย ก่อการร้าย ย้ำ เหตุรุนแรงใต้ ยังไม่โยงก่อการร้ายสากล หรือ ในภูมิภาค

กรณีที่มีข่าวว่า นายเต็งวิน หรือ ฮาซัน อายุ 53 ปี ชาวโรฮิงจา สัญชาติเมียนมา ได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย เพื่อเตรียมการก่อการร้ายในไทย และเป็นเครือข่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ จังหวัดชายแดนใต้โดยมีกระแสข่าวว่า นายเต็งวิน หรือ ฮาซัน เตรียมเงินจำนวนหนึ่งมาเพื่อจะทำศัลยกรรมใบหน้า และมีจุดประสงค์ที่จะก่อการร้ายในประเทศเมียนมา ด้วยนั้น

พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กล่าวว่า สำหรับฐานข้อมูลด้านการข่าวที่ผ่านมานั้น ผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวโรฮิงจา มักเลือกการเดินทางมาทางเรือ ใช้เส้นทางผ่านทะเลอาณาเขตประเทศไทยทางฝั่งทะเลอันดามันไปยังประเทศอื่น และอาจแวะขึ้นพักตั้งแต่ชายฝั่ง จ.ระนอง ถึง จ.สตูล โดยไม่ปรากฏการพักอาศัยชั่วคราวในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยประกอบกับการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ภาคใตั นั้น ยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนในความเชื่อมโยงกับกลุ่มก่อการร้ายสากล หรือกลุ่มก่อการร้ายระดับภูมิภาค
กรณีข่าว การเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ของ นายเต็งวิน หรือ ฮาซัน นั้น ขอให้สังคมช่วยกันสอดส่อง และแจ้งเบาะแสแก่เจ้าหน้าที่หากพบผู้ต้องสงสัยตามที่ปรากฏเป็นข่าว และควรให้น้ำหนักความสนใจกับผลการจับกุมมากกว่าความตื่นตระหนกกับข่าวสาร
ทั้งนี้ รายงานข่าว นี้ ถือเป็นข้อมูลขั้นต้นที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ติดตามตรวจสอบและจับกุมตามกฎหมายต่อไป
อย่างไรก็ตามประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศเปิด มีสถานที่ตั้งทางการทูต และสถานที่ประกอบการของต่างชาติอยู่จำนวนมาก ขณะเดียวกันไทยก็มีที่ตั้งของประเทศซึ่งเป็นศูนย์กลางทั้งการคมนาคม การสื่อสาร การค้า และการทำธุรกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้จะมีความเสี่ยงอยู่บ้างแต่เชื่อว่าประเทศไทยไม่น่าจะใช่เป้าหมายโดยตรงของกลุ่มก่อการร้ายดังกล่าวแต่อย่างใด

ช็อค!!คุณหญิงบูลย์วิภา ภรรยาหม่อมเต่าเสียชีวิตกระทันหัน

ช็อค!!คุณหญิงบูลย์วิภา ภรรยาหม่อมเต่าเสียชีวิตกระทันหัน
Cr:ผู้จัดการ
ถือเป็นข่าวสุดเศร้าของครอบครัวโสณกุล เมื่อ คุณหญิงบูลย์วิภา ภรรยาหม่อมเต่า - ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล เสียชีวิตกระทันหันด้วยโรคหัวใจล้มเหลว เมื่อวันอาทิตย์ที 9 ที่ผ่านมา ด้วยวัย 62 ปี
หลังวันเกิดเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา คุณหญิงบูลย์วิภา หรือที่คนใกล้ชิดเรียกชื่อว่า“คุณหญิงนิดหน่อย” เริ่มมีอาการเส้นเลือดในสมองตีบ ส่งผลให้ลิ้นแข็ง ปากเบี้ยว ด้วยความเป็นห่วงภรรยาสุดที่รักหม่อเต่า จึงได้พาภรรยาตระเวนรักษาไปทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นการแพทย์แผนใหม่ การฝังเข็มทั้งในประเทศและต่างประเทศ ล่าสุดหม่อมเต่าได้พาภรรยาไปรักษาถึงประเทษศเยอรมัน
ในเช้าวันอาทิตย์ที่ 9 ที่ผ่านมา หม่อมเต่าและคุณหญิงนิดหน่อยเดินเล่นในสวนภายในบ้าน ซึ่งเป็นกิจวัตรประจำของทั้งคู่ที่รักต้นไม้เหมือนกัน หลังจากนั้นคุณหญิงนิดหน่อยก็ขึ้นไปนอนพักผ่อนที่ห้อง ซึ่งปกติช่วงบ่ายแก่ ๆ จึงจะตื่น แต่ในวันนั้นเป็นเวลา 6 โมงเย็นแล้วก็ยังไม่ตื่น หม่อมเต่าจึงขึ้นไปปลุก ปรากฏว่าเห็นภรรยานอนนิ่ง ๆ และตัวเย็นเฉียบ จึงนำส่งโรงพยาบาลสมิติเวช แพทย์ลงความเห็นว่าคุณหญิงนิดหน่อยน่าจะเสียชีวิตได้ประมาณ 2 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย
สำหรับงานสวดพระอภิธรรมศพคุณหญิงบูลย์วิภา โสณกุล อยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ โดยตั้งศพ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม กำหนดสวดพระอภิธรรม7 วัน
- วันอาทิตย์ที่ 9 ถึง อังคารที่ 11 พฤศจิกายน 2557 ศาลา9
- วันพุธที่ 12 ถึง วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2557 ศาลา 10
เวลาสวด 19.00 น.
ชีวิตในวัยเยาว์ได้ชื่อว่าเป็นแบบอย่างของ "คุณหนูไฮโซ” เพราะครั้งที่เรียนอยู่โรงเรียนสาธิตจุฬานั้น จะต้องมีคนขับรถเก๋งมาส่ง มีคนรับใช้ถืออาหารมื้อกลางวันมาให้ ส่วนชุดนักเรียนที่สวมใส่นั้นต้องตัดจากห้องเสื้อชื่อดัง
เป็นที่รู้กันในหมู่คนรู้จักว่าคุณหญิงบูลย์วิภาเป็นคนมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนรอบข้างมาตลอด มีเรื่องเล่าว่า เพื่อนมัธยมคนหนึ่งที่ฐานะยากจน ได้เขียนจดหมายมาขอเสื้อผ้าเก่า ๆ ของคุณหญิงเพื่อจะนำไปใส่ในงานแต่งงานของเธอ เมื่อคุณหญิงทราบเรื่องก็รีบขับรถไปหาเพื่อนคนนี้ซึ่งอาศัยอยู่ในแฟลตเล็ก ๆ และพาเพื่อนไปหาซื้อชุดเจ้าสาวพร้อมกับเป็นเจ้าภาพงานแต่งให้เพื่อนด้วย
แม้จะถูกเลี้ยงดูแบบคุณหนู แต่เมื่อมีครอบครัวคุรหญิงได้รับการยกย่องจากทุกคนในครอบครัวว่าทำหน้าที่ศรีภรรยาและแม่อย่างไม่ขาดตกบกพร่องเลย เมื่อแต่งงานอยู่กินกับหม่อมเต่านั้น กิจวัตรทุกเช้าที่คุณหญิงจะต้องทำคือเตรียมเสื้อผ้า ตั้งแต่เสื้อเชิร์ต กางเกง เน็คไท เข็มขัด ถุงเท้า ครบชุดวางบนเตียงนอนเพื่อให้สามีคือหม่อมเต่าสวมใส่ไปทำงาน รวมทั้งลูกชายคือคุณชายอภิมงคลด้วย
ยิ่งไปกว่านั้นทุกครั้งที่ครอบครัวโสณกุลจะขับรถเที่ยวเพื่อพักผ่อน คุณหญิงจะทำหน้าที่คนขับอยู่หลังพวงมาลัยตลอดเส้นทาง โดยมีสามีคอยเป็นคนดูทาง ยิ่งไปกว่านั้นคุณหญิงยังจัดอาหารใส่กล่องเพื่อให้สามีและลูกได้รับประทานบนรถอีกด้วย
นอกจากนี้คุณหญิงบูลย์วิภา ยังได้ถวายงานในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มานานกว่า 20 ปี จนปัจจุบันได้เครื่องราชชั้นตติยจุลจอมเกล้า