PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ว่าด้วยคดี ปรส.

ใจดีสู้เสือ! "กล้านรงค์ จันทิก" กรรมการ ป.ป.ช. รุดเข้าแจงม็อบเสื้อแดง จ.เชียงใหม่ ที่เข้ามาทวงถามความคืบหน้าคดี ปรส. ยืนยัน ไม่ปล่อยหมดอายุความแน่นอน...

วันนี้ (18 เม.ย. 56) เวลา 09.30 น. ที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ถ.เลียบคลองชลประทาน หมู่ 1 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. ได้เดินทางขึ้นมาประชุมภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินสรรหา กรรมการ ปปจ. ประจำจังหวัดเชียงใหม่

โดยขณะที่ นายกล้านรงค์ ยืนให้สัมภาษณ์นักข่าวและเตรียมตัวจะเดินทางกลับ ได้มี นายวรวุฒิ รุจินาภินันท์ หรือ "ดีเจแดง สองแคว" แกนนำรุ่น 2 ของกลุ่มเสื้อแดง "รักเชียงใหม่ 51" ได้นำคนเสื้อแดงประมาณ 20 คน พร้อมรถกระบะติดเครื่องขยายเสียงปรี่เข้ามาจอดที่ลานจอดรถเพื่อเตรียมปราศรัย แต่ยังไม่ทันที่แกนนำเสื้อแดงจะถือไมค์ นายกล้านรงค์ก็เดินลงไปหา พร้อมกล่าวว่า "คุยกับผมไม่ต้องใช้ไมค์ อยากถามอะไรให้ถามมาได้"

จากนั้น นายวรวุฒิ ก็ได้ทวงถามเรื่องคดีทุจริต ปรส. สมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ซึ่งมีการนำทรัพย์สินของ 56 สถาบันการเงิน ที่ถูกปิดกิจการ มีมูลค่า 851,100 ล้านบาท แต่นำไปประมูลเพียง 190,000 ล้านบาท จนคดีใกล้จะหมดอายุความ แต่ทางคณะกรรมการ ป.ป.ช. กลับยังสอบสวนไม่แล้วเสร็จ ผิดกับคดี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย ที่มีการสอบสวนอย่างรวดเร็ว

นายกล้านรงค์ ชี้แจงว่า คดีทุกเรื่องที่ ป.ป.ช.สอบสวนนั้น แต่ละเรื่องมีความยากง่ายไม่เหมือนกัน อย่างคดี ปรส.  ทางคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มอบหมายให้ นายจเด็จ พรไชยา เป็นประธานอนุกรรมการสอบสวนเรื่องนี้ พร้อมกับคณะกรรมการเราก็มีการติดตามเรื่องนี้ตลอดเวลา

"ขอยืนยันอีกครั้งว่า เราจะไม่ปล่อยให้คดี ปรส.หมดอายุความอย่างแน่นอน ซึ่งคดี ปรส.มีทั้งหมด 2 เรื่อง ได้สอบสวนแล้วเสร็จไปแล้ว 1 เรื่อง ผมได้แถลงข่าวไปแล้ว ยังค้างรอการสอบสวนอีก 1 เรื่อง คาดว่าจะดำเนินไต่สวนเสร็จประมาณเดือน พ.ค.56 นี้ ซึ่งจะผิดหรือไม่ผิด ยังไม่รู้ และอายุความคดี ปรส.จะหมดอายุความเดือน พ.ย.ปี 57 บางสำนวนทางคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องสอบสวนพยานมากถึง 500 ปาก อาจทำให้คดีเกิดความล่าช้า

ส่วนคดีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ทราบผลการสอบสวนเร็วนั้น เป็นเรื่องการสอบเรื่องการยื่นบัญชีทรัพย์สิน ว่ายื่นเท็จหรือไม่เท็จเท่านั้น ทำให้ดูเหมือนจะเร็ว อย่างไรก็ดี สมาชิกเสื้อแดงยังคงตะโกนต่อว่า
นายกล้านรงค์ต่อไป โดยเรียกร้องให้ ป.ป.ช. อย่าทำงานสองมาตรฐาน

ต่อมา นายวรวุฒิ แกนกลุ่มเสื้อแดง ได้สอบถามเรื่องความคืบหน้า การตรวจสอบการทุจริตการก่อสร้างสถานีตำรวจทั่วประเทศว่า มีความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว หลังจากดีเอสไอส่งสำนวนไปให้ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด นายกล้านรงค์ ตอบว่า ทางคณะกรรมการได้ตั้ง นายวิชา มหาคุณ เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวนเรื่องนี้แล้ว พร้อมยืนยันว่า ทางคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด

โดยในส่วนของตนเองนั้น อีกไม่กี่เดือนก็จะเกษียณอายุราชการแล้ว จึงอยากจะฝากไปยังประชาชน ช่วยกันเข้ามาเป็นส่วนร่วมกับ ป.ป.ช. โดยการเข้ามาสมัครสรรหากรรมการ ปปจ.ประจำจังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 32 จังหวัด โดยจะเริ่มคัดเลือกคณะกรรมการสรรหาในวันที่ 20 เม.ย.นี้ และเปิดรับสมัครผู้ประสงค์จะเข้ารับการสรรหาเป็นคณะกรรมการ ปปจ. ภายในวันที่ 24 มิ.ย. ถึง 2 ก.ค. 56

โดย ป.ป.ช. เปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงาน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายอย่างโปร่งใส

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การที่ นายกล้านรงค์ เข้าชี้แจงกับกลุ่ม นปช.เชียงใหม่ ในครั้งนี้ ได้สร้างความพอใจให้กับกลุ่มเสื้อแดงเป็นอย่างมาก ก่อนจะแยกย้ายกันกลับ โดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นแต่อย่างใด.
////////////
ปรส.หมดอายุความ

ป.ป.ช.ออกหนังสือแจงสื่อครั้งแรก เผย"ปรส." คดีอาญา หมดอายุ 30 พ.ย. 2557
วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เวลา 17:10:07 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีเอกสารข่าวเผยแพร่แก่สื่อมวลชน เพื่อชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินคดีการบริหารองค์องค์การเพื่อปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ว่า ตามที่สำนักงาน ป.ป.ช.รับคดี ปรส.ไว้ 6 เรื่อง สามารถดำเนินการเสร็จไปแล้ว 4 เรื่อง และชี้มูลความผิดเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 1 เรื่อง (เรื่องอยู่ขั้นตอนส่งสำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินคดีอาญา) และยังมีเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการอีก 1 เรื่อง ซึ่งเจ้าหน้าที่คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในวันที่ 31 สิงหาคม ทั้งนี้ อายุความ

คดีอาญาเรื่องนี้ทั้งหมดจะขาดอายุความวันที่ 30 พฤศจิกายน 2557
///////////////
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แจงคดี ปรส. หมดอายุความ 30 พ.ย. ไม่ใช่ 21 มิ.ย. ชี้ คดีคืบหน้าไปมากแล้ว ไม่มีการยืดเวลาแน่
31พ.ค.56
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ส่งเอกสารถึงสื่อมวลชน เพื่อชี้แจงความคืบหน้าคดีการดำเนินการบริหารองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ผิดพลาด ว่า ตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. รับคดี ปรส. ไว้ 6 เรื่อง ขณะนี้สามารถดำเนินการเสร็จไปแล้ว 4 เรื่อง และชี้มูลความผิดเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1 เรื่อง ซึ่งเรื่องอยู่ในขั้นตอนส่งสำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินคดีอาญา และยังมีเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการอีก 1 เรื่อง ซึ่งเจ้าหน้าที่คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 3 เดือน หรือในวันที่ 31 สิงหาคม 2556

อย่างไรก็ตาม อายุความคดีอาญาเรื่องนี้ทั้งหมด จะขาดอายุความวันที่ 30 พฤศจิกายน 2557 ไม่ใช่วันที่ 21 มิถุนายนนี้ ตามที่หลายฝ่ายเข้าใจ
////////////////
บรรดาผู้คิดต่าง(สลิ่ม) ทั้งหลายก็ออกมาโยนว่า ปรส. เป็นผลงานของรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ (บิ๊กจิ๋ว) และโยงไปว่าทักษิณเป็นรองนายกฯ สมัยนั้น และก็บอกว่า 2 คนนี้เป็นคนขายชาติ ไม่ใช่
นายชวน หลีกภัย

งั้นเรามาดูข้อเท็จจริงกันดีกว่า!

ย้อนไปสมัยปี 2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจไทยที่เรียกว่า "ต้มยำกุ้ง"

ถือว่าเป็นพิษเศรษฐกิจที่รุนแรงมาก รุนแรงขนาดที่ว่าโฉนดที่ดินยังไม่มีค่า เหมือนกระดาษแผ่นหนึ่ง

เพราะคนที่จะเอาโฉนดไปจำนองกับธนาคาร ธนาคารยังไม่มีเงินจะให้ เรียกได้ว่าหนักจริงในครั้งนั้น

ผลของวิกฤตเศรษฐกิจ มาจากสมัยรัฐบาลชวน 1 ที่มีการกู้เงินมาใช้อย่างมือเติบ เพราะตอนนั้นค่าเงิน 25 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ก็รีบกู้กันมาใหญ่ จนฝรั่งออกข่าวโจมตีค่าเงินบาทไทย เสียๆหายๆ

ปรากฎว่าการกู้ที่มากเกินในรัฐบาลชวน 1 นั้นส่งผลมาถึงปี 2540
ซึ่ง "พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ" เข้ามารับไม้ต่อจากรัฐบาลของป๋าเติ้ง (บรรหาร ศิลปอาชา) บิ๊กจิ๋ว พยายามแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ ทำอย่างสุดฝีมือ พยายามส่งคนไปขอความช่วยเหลือจากจีน เพราะสนิท

กับผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ แต่ถูกกลุ่มคนในธนาคารแห่งประเทศไทย ขัดขวาง แถมหลอกให้ลอยตัวค่าเงินบาท จนขึ้นไปถึง 51 บาท ต่อ ดอลล่าร์

ไฮไลท์อยู่ตรงนี้! พลเอกชวลิต จึงตั้ง ปรส. ขึ้นมาเพื่อจัดแจงหนี้ดี หนี้เสีย แต่ไม่ทันการ พรรคประชาธิปัตย์เจ้าเก่า ก็เริ่มเล่นเกมการเมืองกับ "บิ๊กจิ๋ว" ปล้น ส.ส.ในพรรคบิ๊กจิ๋ว (งูเห่าภาค 1) จัดตั้ง

รัฐบาลได้ "นายชวน หลีกภัย" กลับมาเป็นนายก

ชวน เข้ามาถึงก็ไปจัดการเรื่อง ปรส. บิ๊กจิ๋วจะแยกสถาบันการเงินที่เป็น หนี้ดี-หนี้เสีย คือบางอันมันยังขายได้ราคา บางอันมันก็หมดสภาพ ปรากฎว่ารัฐบาลชวน ไม่ทำแบบนั้น กลับใช้วิธีการ "เหมาเข่ง"

คือขาย ปรส. แบบเหมาไปเลย ราคา 810,000 ล้านบาท ชวนขายเพียง 190,000 ล้านบาท ขาดทุนย่อยยับกว่า 600,000 ล้าน โดยขายให้กับต่างชาติ แล้วออกกฎคือไม่ให้คนไทยที่เป็นรายเก่าเข้ามาซื้อ อ้างว่า เพื่อดัดนิสัย รายเก่าที่มีศักยภาพในการซื้อมากๆก็ไม่มีโอกาสเข้าประมูล ส่วนรายใหม่ก็ได้ไม่เท่าไร ต่างชาติเลยเข้ามาฮุบสถาบันการเงินของไทยไป แล้วขายคืนให้กับเราในราคาใกล้เคียงกับราคาเต็ม ประเทศไทยเสียผลประโยชน์มหาศาลหนี้รวมดอกเบี้ยแล้ว ก็เกินกว่า 2.2 ล้านล้าน (เผลอๆทะลุ 3 ล้านล้าน)

นี่คือมหากาพย์ขายชาติครั้งใหญ่ คือแก้กฎหมายเอื้อประโยชน์กับนักลงทุนต่างชาติ ก็คือการขายชาตินั่นแหละ

คณะรัฐมนตรีชวน รอดหมด! ที่โดนลงโทษก็พวกปลาซิว ปราสร้อย ไม่ใช่ระดับบิ๊กๆ

เงิน 800,000 ล้านบาท ถ้าเป็นสมัยนี้คงมีค่าประมาณ 6 ล้านล้านบาท ประเทศไทยเสียไปฟรีๆ เพราะการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาลชวน

ไอ้พวกสาวกยังมาหน้าด้าน โยนความผิดให้ "บิ๊กจิ๋ว" แถมเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ก็บอกว่า "ทักษิณ" เป็นรองนายกฯ สมัยนั้นอีก คือจะปัดสวะเรื่อง ปรส. มาให้ทักษิณ กับ พลเอกชวลิต

สรุปง่ายๆสั้นๆ บิ๊กจิ๋ว เป็นคนเริ่ม ปรส. แต่คนเอา ปรส. ไปทำจริงๆ คือ "ชวน หลีกภัย" และพรรคประชาธิปัตย์

กลัวทำไม....อีก 20 วัน หมดอายุความแล้ว รอดกันหมด คิดว่า ป.ป.ช.
มันจะหยิบมาพิจารณาเหรอ ไม่มีทาง ดังนั้นไม่ต้องดิ้นรนครับ ผิดก็คือผิด แต่คนเอาผิดพวกคุณไม่ได้อยู่แล้ว

สงสัยงานนี้ ป.ป.ช. คงพูดประโยคเด็ดของนายชวน หลีกภัย
สมัยเป็นนายกรัฐมนตรี เวลานักข่าวถามอะไรก็มักจะตอบว่า

"ยังไม่ได้รับรายงาน"
////////////////////
'สะท้อนคิดจาก ป.ป.ช.ชี้มูล ปรส.'
เปลว สีเงิน

มื่อวาน (๒๗ ส.ค.๕๖) ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด "นายมนตรี เจนวิทย์การ" ในฐานะเลขาธิการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า "ปรส." ด้วยมติ ๕:๔ ว่ามีความผิดทั้ง
อาญาและวินัย จากนี้จะส่งเรื่องให้อัยการนำคดีสู่ศาลต่อไป
    ครับ....๑๕-๑๖ ปี จากปี ๒๕๔๐ เป็นเวลาที่ ป.ป.ช.ใช้ไปกับการตรวจสอบคดีนี้ จนเพิ่งชี้มูลความผิดได้เมื่อวาน คือวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๖
    นายมนตรีครับ....ยังมีชีวิตอยู่ใช่ไหมครับ?
    การใช้เวลาร่วม ๒๐ ปีเช่นนี้ มันจะมีความหมายอะไรอัน มีผลทางปฏิบัติทั้งทางวินัยและอาญา ไม่ว่าในด้านกำราบปราบปรามหรือกระตุ้นเตือนข้าราชการและนักการเมืองให้ตระหนักกลัว สังวร

ระวังในการทำหน้าที่ ผมมองไม่เห็น
     นอกจาก ป.ป.ช.เอง ที่จะได้บันทึก...๑๖ ปี มีผลงานเพิ่มอีก ๑ เรื่อง!
    ที่พูดนี่ ไม่ได้ตำหนิด้วยคิดร้ายต่อ ป.ป.ช. แต่อยากชี้ให้เห็น เพื่อหาหนทางทำหน้าที่ปราบปรามและป้องกันการทุจริต ที่มีผลทันต่อการณ์ ทันต่อสันดานมนุษย์ยุคออนไลน์ ซึ่งทุกวันนี้ มีเฉพาะคำว่า

"เร็ว" อย่างเดียวเท่านั้น เป็นสิ่งสนองที่พึงประสงค์
    "กรรมติดจรวด" นั่นแหละ จึงจะช่วยระงับยับยั้งข้าราชการที่คิดจะทำชั่วได้บ้าง ขืนเป็นกรรมติดบั้งไฟ กว่าจะเห็นผลต้องใช้เวลา ๕ ปี ๑๐ ปีอย่างนี้
    มนุษย์ยุคออนไลน์ก็จะมีทัศนคติไปทางเดียวกันว่า...ชั่วแล้วรวยทันตา น่าไปทางนั้นมากกว่า ดีแล้วรวยช้า แถมไม่แน่ว่า ช้าแล้วยังจะรวยได้จริง!?
    การอ้าง มีคดีค้างคาเป็นหมื่น-เป็นแสน ต้องไล่เรียงเป็นลำดับนั้น มันอ้างได้ แต่ฟังแล้วคล้ายเครื่องจักรตั้งเวลาทำงาน
    ผมเชื่อว่าที่เป็นหมื่น-เป็นแสนคดีนั้น คงไม่ใช่คดีสำคัญใหญ่โต มีผลกระทบเป็นบวก เป็นลบ กับสังคมบริหารและสังคมปกครอง รวมทั้งสังคมชาติทันที-ทันใด เหมือนกันทุกคดี
    ดังนั้น การจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนด้วยพินิจ "รักษาทันโรค-ทันอาการ" ในการนำเรื่องพิจารณา น่าจะตอบสนองสังคม และเป็นประโยชน์มากกว่ารับแฟ้มคดีมาก็กองเรียงเลขจาก ๑ ถึง

๑๐๐,๐๐๐ แล้วหยิบไล่จาก ๑ ขึ้นไปเรื่อยๆ และบอกว่า...เป็นธรรม เป็นกลาง ไม่มีการลัดคิว
    แบบนี้ ความเป็นธรรม-เป็นกลางนั้น...มันกลวง!
    อย่างเช่นกรณีนี้ ๑๖ ปี เพิ่งชี้มูล...!
    ถ้านายมนตรีมีลูกวันนั้น ถึงวันนี้ลูกก็ ๑๖ ขวบ เมื่อฟังข่าว หรืออ่านหนังสือพิมพ์พบ งงหัวทิ่มแน่ว่า...เอ๊ะ...พ่อกูไปทำอะไรมาตั้งแต่ชาติปางไหน และไอ้ ปรส.นี่ มันตัวอะไร ป.ป.ช.กินยาผิดซอง

หรือไง ถึงได้ออกมาชี้อะไรนี่ ไม่เห็นรู้เรื่องเลย?
    นั่นคือ อะไรที่ "ผิดกาล-ผิดเวลา" มันก็ผิดคุณค่า-ผิดความหมายไปด้วย โลกนี้จึงมีคำว่า กาลเทศะ และในการทำทุกอย่างจึงมีคำว่า "จังหวะ" เป็นหัวใจของความสำเร็จหรือล้มเหลว
    ๑๕-๑๖ ปี เพิ่งชี้มูล ด้วยเดิมพันกว่า ๘ แสนล้านจากการขายทรัพย์สิน ปรส.วันนั้น วันนี้ จากคำชี้มูลจึงมีค่าแค่คำว่า
    ตลก!
    เช่นเดียวกับที่ ป.ป.ช.ทั้งคณะ ออกมานั่งเป็นแผงเมื่อวาน แล้วแถลง... โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์
    ยังไม่มีการชี้มูล!?
    นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการและโฆษก ป.ป.ช.แจกแจง การพิจารณาคดีโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนตรวจสอบแคชเชียร์เช็ค และเส้นทางการเงิน โดยมีการสอบ

พยานหลักฐานและพยานบุคคล ทั้งปลัดกระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ปลัดกระทรวงการคลัง
    และตรวจสอบแคชเชียร์เช็คจำนวน ๑,๔๗๔ ฉบับ จาก ๖ ธนาคาร ขณะนี้มี ๓ ธนาคาร ส่งเอกสารมาให้ตรวจสอบแล้ว ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย มีแคชเชียร์เช็คกว่า ๑๖ ล้านบาท ธนาคาร

แบงก์ ออฟ ไชนา จำนวน ๒๕๓ ล้านบาท และ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำนวน ๘๖ ล้านบาท รวมเป็นเงินกว่าหมื่นล้านบาท
        ยังเหลืออีก ๓ ธนาคาร ที่ยังไม่ส่งเอกสารมาให้ตรวจสอบ คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ ทาง ป.ป.ช.กำลังดำเนินการ คาดว่าจะได้เอกสารต่างๆ ภายในเดือน

กันยายนนี้  ในเบื้องต้นนี้ พบว่ายังมีเงินที่หายไปจากระบบกว่า ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งต้องติดตามว่าจะอยู่ใน ๓ ธนาคารที่เหลือหรือไม่
        อย่างไรก็ตาม ป.ป.ช.จะเรียกเจ้าหน้าที่จากกระทรวงพาณิชย์ และองค์การคลังสินค้า มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นการส่งมอบข้าวไปจีนตามสัญญาว่ามีการส่งอย่างไร ซึ่งได้ส่งหนังสือเรียกไป

แล้ว คาดว่าจะสอบเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้
    แบบนี้ ต้องออกมานั่งทั้งแผงแล้วแถลงให้สังคม "อารมณ์ค้าง" ซ้ำซาก เพื่อประโยชน์อะไร?
    เพราะก่อนหน้านี้ ด้วยประเด็นตรงนี้ ป.ป.ช.ก็แถลงมาแล้วครั้งหนึ่ง แถมยังบอกว่า ก่อนนายกล้านรงค์พ้นตำแหน่งในเดือนกันยา อยากจะทำให้จบ แล้วแถลงผลคดีเป็นการอำลาด้วยตัวเอง
    การที่ ป.ป.ช.เอาผลคดี ปรส.เมื่อ ๑๕-๑๖ ปี อันไม่มีผลต่อสังคมปัจจุบันมาแถลงเป็นแอนตี ไคลแมกซ์  ในขณะที่ผู้คนจับจ้องด้วยคาดหมายจากคดีรับจำนำข้าว ซึ่งมีผลต่อสถานการณ์ปัจจุบัน แต่

ป.ป.ช.กลับบอก
    ...ยังไม่มีการชี้มูล!
    นั่นจึงทำให้ผมต้องทบทวนว่า เจตนารมณ์ของการมี "คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ" หวังผลในการระงับ-ยับยั้ง-ปราบปรามทันการณ์
    หรือต้องการสร้าง "พิพิธภัณฑ์คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ" อันมีแต่ชื่อและโครงกระดูกข้าราชการประจำ และข้าราชการการเมืองประดับไว้ตามตู้ให้ทัศนศึกษา?
    ผมคิดว่า เจตนารมณ์การมี ป.ป.ช.คงหวังให้ตรวจสอบเพื่อ "ระงับ-ยับยั้ง" ผลเสียที่เกิดกับชาติบ้านเมืองให้ทันการณ์
    และให้คุณ-ให้โทษ ผู้ทำผิด กล่าวคือ "เห็นคุณ-เห็นโทษทันตา" ส่งเสริมคำว่า "ทำดีได้ดี-ทำชั่วได้ชั่ว" ให้มีความหมายทั้งทางธรรม และทางโลกที่เป็นจริง-เห็นจริง!
    เหมือนเปาบุ้นจิ้น...บั่นคอด้วยเครื่องประหารหัวสุนัข!
    ป.ป.ช.เคยแถลงแล้วด้วยเหตุผลเดียวกัน คือเช็คที่ต้องตรวจสอบมีมาก ต้องใช้เวลา แบงก์และข้าราชการไม่ให้ความร่วมมือ ไม่ส่งเอกสารให้ตามที่ขอ และไม่มาให้ปากคำ
    วันนี้ก็ด้วยอุปสรรคเดิมอีก คำถามที่ชาวบ้านอยากจะถามก็คือ เช็คที่ต้องตรวจสอบเส้นทางการเงินร่วม ๒ พันใบนั้น จะต้องใช้เวลาถึง ๒ พันปีมั้ย?
    และถ้าแบงก์และข้าราชการ มีอารมณ์ที่จะให้เอกสารและปากคำเมื่อไหร่ ก็เมื่อนั้น แล้ว ป.ป.ช.ก็จะจ๋อย ไม่สามารถชี้มูลอะไรได้อย่างนั้นใช่มั้ย?
    "ที่อยู่ ก็เอากันไป ที่ตาย ก็ตายกันไป" ป.ป.ช.ทำอะไรมากกว่า คอย กะ รอ ไม่ได้ใช่มั้ย?
    ในเมื่อคดีเรื่อยๆ ไปเรียงๆ ได้ การรับจำนำข้าวส่อไม่สุจริตก็เร่งๆ รีบๆ ไปเรื่อยๆ ได้ ตราบเท่าที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังไม่เหนื่อย และข้อมูล-เอกสารยังไม่เดินทางมาวางเรียงซ้อนอยู่บนหลังโต๊ะทำงาน
คณะกรรมการ ป.ป.ช.
    จาก ๕-๖ แสนล้านหายไปกับจำนำข้าว และจะเป็นล้านล้านชนิดหาจุดทศนิยมไม่ได้ต่อไปเรื่อยๆ ในขณะที่นาทีนี้ รัฐบาลขาดดุลเงินสดในมือแล้ว ๔ แสนกว่าล้าน .......
    นาฬิกาผลาญชาติบ้านเมือง จะเดินไปเรื่อยๆ อย่างนี้ โดยไม่มีอำนาจใดสามารถระงับยับยั้งได้ เราจะเอากันอย่างนั้นใช่ไหม?
    กับชาวบ้านผู้จ่ายภาษีเลี้ยงรัฐ ไม่ต้องไปถึงระดับศาลหรอก แค่กดไล์-กดแชร์ ในระดับตำรวจนี่แหละ ถ้าเขามีหมายเรียกแล้วใครไม่ไปตามเวลากำหนดนัด จะมาตามลากคอถึงในมุ้ง
    แต่กับผู้กินเงินเดือนจากภาษีชาวบ้าน ป.ป.ช.ทำได้แค่นั่งรอ สุดแท้แต่เขาจะให้-ไม่ให้เอกสาร และสุดแต่เขามีอารมณ์จะมาหรือไม่มาให้ปากคำ ไม่มีเส้นตายเรื่องเวลาเป็นที่ยุติ
    อย่างนี้ ยิ่งลักษณ์ต้องอยู่เป็นนายกฯ เพื่อรับจำนำข้าวปีละ ๕-๖ แสนล้านไปเรื่อยๆ จนถึงประมาณปี พ.ศ.๒๕๗๑ โน่น แล้วค่อยมาฟัง ป.ป.ช.ชี้
    มีมูล หรือ เหลือแต่มูลยิ่งลักษณ์?!

////////////////

(ข่าวปัจจุบัน)

เพื่อไทยยื่นหนังสือให้ ป.ป.ช.ดำเนินการส่งฟ้องคดี ปรส.ด้วยตัวเองก่อนที่จะหมดอายุความในปลายเดือนนี้ พร้อมเรียกร้องให้มีการปฏิรูป ป.ป.ช.

วันที่ 11 พ.ย.57 นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ให้ดำเนินการส่งฟ้องคดีองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือ ปรส. ก่อนที่จะหมดอายุความในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้

นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า คดี ปรส.สร้างความเสียหายให้ประเทศมากกว่า 7 แสนล้านบาท เมื่อรวมกับดอกเบี้ย มีมากถึง 1 ล้าน 2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้สาธารณะที่ประชาชนต้องรับผิดชอบ โดยคดีนี้มีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย จำนวนมาก ดังนั้นหากคดีนี้หมดอายุความ ถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่จะมีการปฏิรูป ป.ป.ช.

นอกจากนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าคดีที่เกิดขึ้นในรัฐบาลของนายชวน และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คดียังไม่มีความคืบหน้า ต่างจากคดีจำนำข้าวของรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ ป.ป.ช.ดำเนินการด้วยความรวดเร็ว

ด้าน นายศักดิ์ชัย เมทินีพิศาลกุล ผู้ช่วยเลขาธิการ ป.ป.ช. ตัวแทนรับเรื่องระบุว่า คดีที่เกี่ยวข้องกับ ปรส. ทาง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดไปหมดทุกคดีแล้ว โดยขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการสูงสุด โดยยอมรับว่ายังมีข้อไม่สมบูรณ์อยู่
---------------
ป.ป.ช.แจง คดี ปรส.ไม่เหลือค้างดำเนินการ ผู้ถูกกล่าวหาเพียงรายเดียวที่เคยมีมติชี้มูล อัยการสูงสุดส่งฟ้องแล้ว

(11/11/57)ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการป.ป.ช.ได้ชี้แจงกรณีที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ได้ยื่นหนังสือติดตามและขอทราบผลการพิจารณาคดีองค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) ของคณะกรรมการป.ป.ช.ว่า เรื่องกล่าวหาเกี่ยวกับ ปรส.ที่มีการร้องเรียนคณะกรรมการปรส.และผู้บริหาร ปรส.อาทิ นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ นายอมเรศ ศิลาอ่อน นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ นางวชิรา ณ ระนอง นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ นางเกษรี ณรงค์เดช นางจันทรา อาชวานันทกุล นางนงนาท สนธิสุวรรณ และนายมนตรี เจนวิทย์การ มายังสำนักงานป.ป.ช.รวม 6 เรื่อง ซึ่งคณะกรรมการป.ป.ช.ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงทั้ง 6 เรื่อง

ผลการไต่สวนข้อเท็จจริงปรากฏว่ากรณีกล่าวหาคณะกรรมการปรส.และผู้บริหาร ปรส. คณะกรรมการป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล มีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป จำนวน 3 เรื่อง และมีมติไม่ยกขึ้นพิจารณา เนื่องจากเป็นกรณีที่ศาลประทับรับฟ้องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลจำนวน 1 เรื่อง

นายสรรเสริญ กล่าวว่า สำหรับอีก 2 เรื่อง เป็นกรณีกล่าวหานายมนตรี เจนวิทย์การ ในฐานะเลขาธิการปรส.ว่าดำเนินการจำหน่ายสินทรัพย์ให้กองทุนรวมแกมม่าแคปปิตอล และกรณีจำหน่ายสินทรัพย์ให้บริษัท เงินทุนเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) โดยมิชอบ เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ซื้อเป็นเหตุให้รัฐได้รับความเสียหาย คณะกรรมการป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของนายมนตรี เจนวิทย์การดังกล่าว มีความผิดทางวินัยไม่ปฏิบัติหน้าที่การงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตามข้อบังคับขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินว่าด้วยการพนักงานพ.ศ.2540 และมีมูลความผิดทางอาญาฐานเป็นพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11 ส่วนผู้กล่าวหารายอื่นๆ เห็นว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล จึงมีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป

ทั้งนี้ คณะกรรมการป.ป.ช.ได้ส่งสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษทางวินัยและส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดพิจารณาฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตอำนาจและอัยการสูงสุดได้ยื่นฟ้องคดีนายมนตรี เจนวิทย์การ ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ทั้งสองคดีแล้ว เมื่อวันที่ 22 พ.ค.2557 โดยขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล

นายสรรเสริญ กล่าวว่า ปัจจุบันไม่มีคดีกรณีกล่าวหาคณะกรรมการปรส.หรือผู้บริหารปรส.ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของคณะกรรมการป.ป.ช.อีก

ไม่มีความคิดเห็น: