PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559

นายกรัฐมนตรีรับทราบสื่อนอกแฉคนไทยเอี่ยวฟอกเงิน-เลี่ยงภาษีรวม 21 คน

นายกรัฐมนตรีรับทราบสื่อนอกแฉคนไทยเอี่ยวฟอกเงิน-เลี่ยงภาษีรวม 21 คนระบุเป็นการคอร์รัปชั่นระดับโลก
นายกรัฐมนตรีรับทราบสื่อนอกแฉคนไทยเอี่ยวฟอกเงิน-เลี่ยงภาษีรวม 21 คนระบุเป็นการคอร์รัปชั่นระดับโลก
เอกสารปานามาที่ถูกนำมาเปิดโปงว่าบรรดาผู้นำของประเทศต่างๆและเหล่าคนดังมีการคอร์รัปชั่นและนำเงินไปฝากไว้ต่างประเทศโดยหลีกเลี่ยงภาษี รายงานว่ามีคนไทยอยู่ด้วย 21 ราย
Last updated: 4 April 2016 | 20:41
นายกรัฐมนตรีรับทราบสื่อนอกแฉ 21 คนไทยเอี่ยวฟอกเงิน-เลี่ยงภาษีชี้มีหน่วยงานตรวจสอบอยู่แล้วลั่นพบใครทำผิดจัดการตามกฎหมาย ป.ป.ง.ประสานต่างประเทศขอข้อมูล เผยเพื่อนสนิทปูตินฟอกเงินถึง 2 พันล้าน ICIJ จะเปิดเผยเพิ่มเติมพฤษภาคมนี้
เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2559 พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงกรณีที่สมาคมผู้สื่อข่าวสอบสวนนานาชาติออกมาเปิดเผยเอกสารลับการทำงานของบริษัทแห่งหนึ่งด้านกฎหมายในปานามาที่ช่วยเหลือลูกค้ารายใหญ่ ทั้งนักการเมืองและผู้นำประเทศทั่วโลกในการฟอกเงินและหลีกเสียงภาษี โดยมีการเชื่อมโยงกับคนไทย 21 คนว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. รับทราบข้อมูลดังกล่าวแล้ว
ทั้งนี้เรามีหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้อยู่แล้ว เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)  กระทรวงยุติธรรม กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) คงจะมีการตรวจสอบโดยไม่ต้องรอให้นายกรัฐมนตรีสั่งการ เชื่อว่าหลังจากนี้สมาคมดังกล่าวจะทยอยเปิดเผยข้อมูลออกมาเรื่อยๆ หากพบว่ามีคนไทยเกี่ยวข้องและกระทำผิดจริง จะต้องดำเนินการตามกฎหมาย เพราะรัฐบาลนี้ให้ความสำคัญกับการปราบปรามคอร์รัปชั่น ให้เป็นวาระแห่งชาติ และรัฐบาลทำเต็มที่เพื่อปราบปรามกับปัญหาเหล่านี้มาตลอด เชื่อว่าหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการตรวจสอบและติดตามเรื่องนี้อย่างจริงจัง
พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาราชการเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กล่าวถึงกรณีเดียวกัน ว่า ปปง.ได้ประสานไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อสอบถามข้อมูลโดยละเอียดอย่างเป็นทางการ ตอนนี้ได้รับทราบข้อมูลจากเพียงทางสื่อมวลชนที่มีการเผยแพร่เท่านั้น
พ.ต.อ.สีหนาทกล่าวต่อว่า โดยปกติแล้วหากประเทศใดพบข้อมูลการฟอกเงินของกลุ่มบุคคลใดเข้าข่ายฟอกเงิน จะมีการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องมายังประเทศที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้นๆ หรือรายงานข้อมูลให้รับทราบ ส่วนในเรื่องนี้ยังไม่ทราบในรายละเอียดจึงยังตอบไม่ได้ ว่าเป็นกลุ่มหรือบุคคลใดบ้าง ทั้งนี้ สำหรับระยะเวลาในการประสานข้อมูลไม่สามารถตอบได้ว่าจะได้ข้อมูล เมื่อไหร่ อย่างไร
หนังสือพิมพ์ต่างประเทศแฉก่อน
เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2559 หนังสือพิมพ์เยอรมัน Süddeutsche Zeitung เปิดเผยรายละเอียดด้วยการแชร์ข้อมูลจากสมาคมผู้สื่อข่าวสอบสวนนานาชาติ (the International Consortium of Investigative Journalistsหรือ ICIJ )ระบุว่าข่าวการรั่วไหลของเอกสารด้านการเงินครั้งยิ่งใหญ่ถูกเรียกกว่า เอกสาร ปานามา (Panama Papers) เป็นข้อมูลจากบริษัท ที่ปรึกษาด้านกฎหมายโมแซค ฟอนเซก้า(Mossack Fonseca) ในประเทศปานามา ที่มีจำนวนข้อมูลรวมกว่า 11.5 ล้านฉบับ ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2520 มาจนถึงปลายปี 2558
เอกสารชี้ให้เห็นการจัดตั้งบริษัทในต่างประเทศของผู้นำประเทศและนักการเมืองกว่า 140 รายจากกว่า 50 ประเทศ รวมคนดังระดับโลก  ตลอดจนพวกกลุ่มอาชญากรและแก๊งมาเฟีย เพื่อการฟอกเงินปกปิดความร่ำรวย หลบเลี่ยงภาษี ตลอดจนเลี่ยงการถูกคว่ำบาตรหรือทำรัฐประหาร
วิธีการคือการจัดตั้งบริษัทขึ้นในต่างประเทศ ในรูปแบบที่เรียกว่า shell company หรือบริษัทที่มีแต่เปลือก วิธีการจัดตั้งบริษัทลักษณะนี้ไม่นับว่าขัดต่อกฎหมาย แต่แสดงให้เห็นถึงความไม่ชัดเจนโปร่งใสที่มาของเงิน เมื่อถูกใช้บังหน้าในการทำธุรกรรมกับเงินจำนวนมหาศาลโดยไม่ให้รู้ตัวตนของผู้ทำธุรกรรม
ตามข้อมูลจากเอกสารปานามาพบว่ามีบริษัทจัดตั้งต่างประเทศถึง 214,488 บริษัท และมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพลจาก 200 ประเทศและอาณานิคมทั่วโลก  ICIJ ระบุว่า จะเผยรายชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ 
รายชื่อคนดังระดับโลกในเอกสารปานามา
สำหรับตัวอย่างรายชื่อผู้มีอิทธิพลคนดังในลิสต์ ปานามา เปเปอร์ อาทิ มีรายชื่อของบุคคลใกล้ชิดประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซียใช้หน้าฉากของบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนหมุนเวียนเงินกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในธุรกิจสื่อและยานยนต์ภายในประเทศ, Sigmundur David Gunnlaugsson นายกรัฐมนตรีประเทศไอซ์แลนด์และภริยา จัดตั้งบริษัทต่างชาติรวม 3 บริษัท เข้ามาลงทุนกับธนาคารในประเทศหลายแห่งในช่วงที่ชาติกำลังเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ
รายชื่อบุคคลในครอบครัวของนายสี จิ้นผิง ผู้นำจีน และนายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เกี่ยวข้องจัดตั้งบริษัทต่างชาติเช่นกัน นอกจากนี้ก็ยังมีประธานาธิบดีอาร์เซอร์ไบจาน,กษัตริย์แห่งซาอุดีอาระเบีย รวมถึงรายชื่อบริษัทและมาเฟียที่เกี่ยวข้องการค้ายาและก่อการร้ายที่ถูกขึ้นแบล็คลิสต์ของสหรัฐฯรวม 33 ราย ในนี้ด้วย
นอกจากนี้ยังมีนายนาวาซ ชารีฟ นายกรัฐมนตรีปากีสถาน,นายอายาด อัลลาวี อดีตรองประธานาธิบดีอิรัก,นายเปโตร โปโรเชนโกะ ประธานาธิบดียูเครน,นายอาลา มูบารัค ลูกชายของนายฮอสนี มูบารัค อดีตประธานาธิบดีอีจิปต์  เป็นต้น
สำหรับสายคนดังระดับโลกอาทิเช่น นายไลโอเนล เมสซี่ หัวหอกทีมหฟุตบอลบาร์เซโลนาและกัปตันทีมชาติอาร์เจนตินา ที่จัดตั้งบริษัทในต่างแดนชื่อ เมก้า สตาร์ เอนเทอร์ไพร์ส ร่วมกับบิดา แต่กลับไม่ปรากฏชื่อของบริษัทนี้เมื่อครั้งที่เขาถูกทางการสเปนตรวจสอบ เรื่องภาษีนายยูเจนิโอ ฟิเกอเรโด อดีตรองประธานสมาพันธ์ฟุตบอลสเปน,แจ็คกี้ ชาน หรือเฉินหลง ตลอดจนมหาเศรษฐีในทำเนียบการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์อีก 29 ราย
ICIJ เปิดโปงอีกว่า มีธนาคารกว่า 500 แห่งที่สาขาย่อยทำงานร่วมกับ Mossack Fonseca เพื่อช่วยเหลือลูกค้าในการจัดตั้งบริษัทนอกประเทศ ในรายชื่อเหล่านั้น ปรากฎชื่อของธนาคาร UBS มีส่วนอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งบริษัทต่างชาติกว่า 1,100 แห่ง และธนาคาร HSBC อีกกว่า 2,300 แห่ง

รายงานข่าว ระบุว่า พบว่าข้อมูลปานามา เปเปอร์ชุดนี้ มีรายชื่อลูกค้าชาวไทยอยู่ด้วย 21 ราย เชื่อมโยงกับ 963 บริษัท ซึ่ง ICIJ จะนำมารายละเอียดมาเปิดเผยเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้
//////////////

เอกสารลับแฉ 21 คนไทย พัวพัน'ฟอกเงิน-เลี่ยงภาษี' | เดลินิวส์

„สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 4 เม.ย. โดยอ้างข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ "ซุดดอยเชอร์" ของเยอรมนี เรื่องการได้รับมอบสำเนาเอกสารลับ 11.5 ล้านฉบับ จากบุคคลใช้ชื่อว่า "จอห์น โด" โดยเป็นข้อมูลการเปิดโปงการทำงานอย่างละเอียดในแบบรายวันของบริษัท "มอสแซค ฟอนเซกา" ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านกฎหมายและการลงทุนในปานามา ระหว่างปี 2520-2558 หรือตลอดระยะเวลาเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา 


ทั้งนี้ มีเอกสารในรูปแบบ ทั้งอีเมล คลิปเสียง ไฟล์ภาพ และอีกมากมาย เผยให้เห็นว่า มอสแซค ฟอนเซกา ปัจจุบันมีสำนักงานกว่า 35 ประเทศ เก็บรักษาความลับของการจดทะเบียนบริษัทนอกอาณาเขต หรือบริษัทเงาจำนวน 214,488 แห่ง โยงใยถึงบุคคลระดับสูงและมีชื่อเสียงจากหลากหลายวงการ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำรัฐบาลนานาประเทศ ครอบครัวของนักการเมือง และบุคคลมีชื่อเสียงจากอีกหลากหลายวงการ 

สำหรับรายชื่อที่ทั่วโลกให้ความสนใจ นำโดยนายซิกมุนดูร์ กุนน์ล็อกสัน ผู้นำนายกรัฐมนตรีไอซ์แลนด์ ซึ่งยกเลิกให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ของสวีเดนแบบกลางอากาศ หลังจากถูกผู้ดำเนินรายการตั้งคำถามถึงบริษัท "วินทริส" ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทนอกอาณาเขตหรือบริษัทเงา และอยู่ในความดูแลของมอสแซค ฟอนเซกา อีกทั้งสภาของไอซ์แลนด์มีกำหนดลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจต่อกุนน์ล็อกสันในสัปดาห์นี้ 

ขณะที่ผู้นำประเทศอยู่ในรายชื่อ รวมถึงประธานาธิบดีเปโตร โปโรเชนโก ผู้นำยูเครน ประธานาธิบดีเมาริซิโอ มาครี ผู้นำอาร์เจนตินา สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมานแห่งซาอุดีอาระเบีย ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ( ยูเออี ) และเจ้าผู้ครองนครอาบูดาบี 

ด้านบุคคลมีชื่อเสียงในวงการบันเทิงมีมากมาย หนึ่งในนั้นคือแจ็คกี ชาน หรือเฉินหลง แม้ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน และนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ผู้นำอังกฤษ จะไม่มีชื่ออยู่ในบัญชี 

แต่พบรายชื่อบุคคลใกล้ชิดของผู้นำทั้ง 3 คนจำนวนหนึ่ง มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนตั้งบริษัทเงาในหมู่เกาะโพ้นทะเล ในส่วนของวงการกีฬามีรายชื่อด้วยเช่นกัน รวมถึงลีโอเนล เมสซี นักฟุตบอลชื่อดังทีมชาติอาร์เจนตินา นายมิเชล พลาตินี ประธานสมาคมฟุตบอลยุโรป ( ยูฟ่า ) ซึ่งถูกพักงาน 6 ปี ตั้งแต่ปลายเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว และนายฮวน เปโดร ดาเมียนี สมาชิกคณะกรรมาธิการด้านจริยธรรมของสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ ( ฟีฟ่า ) 

สำหรับสถาบันการเงินพัวพันกับมอสแซค ฟอนเซกา และมีชื่อธนาคารยูบีเอสของสวิตเซอร์แลนด์ เปิดบัญชีให้กับบริษัทนอกอาณาเขตกว่า 1,100 บัญชี และธนาคารเอชเอสบีซีของอังกฤษมากกว่า 2,300 บัญชี ส่วนใหญ่เป็นบริษัทจดทะเบียนที่หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน ส่วนกรณีของไทยพบรายชื่อของบุคคล 780 คน ทั้งที่เป็นชาวไทยและชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในประเทศไทย และบริษัทจดทะเบียน 634 แห่ง ใช้บริการของมอสแซค ฟอนเซกาด้วย 

ขณะที่ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีของมอสแซค ฟอนเซกา ได้ที่ http://offshoreleaks.icij.org/ ขณะที่เอกสารปานามา ถือเป็นหนึ่งในการเปิดโปงข้อมูลลับครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก โดยจำนวนเอกสารที่เผยแพร่ครั้งแรกในคราวเดียวมีจำนวนมากกว่าเอกสารการทูตของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่ "วิกิลีกส์" นำออกมาเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 2553 และการที่นายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน อดีตพนักงานสัญญาจ้างของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ ( เอ็นเอสเอ ) เปิดโปงระบบปริซึม ซึ่งเป็นเครือข่ายการสอดแนมข้อมูลประชาชนของรัฐบาลวอชิงตัน เมื่อปี 2556 

ด้าน พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวถึงกรณีสมาคมผู้สื่อข่าวสอบสวนนานาชาติ ออกมาเปิดเผยเอกสารลับการทำงานของบริษัทแห่งหนึ่งด้านกฎหมายในประเทศปานามา มีช่วยเหลือลูกค้ารายใหญ่ ทั้งนักการเมือง และผู้นำประเทศทั่วโลก เพื่อฟอกเงินและหลีกเสียงภาษี โดยเชื่อมโยงคนไทย 21 คน ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบข้อมูลแล้ว และมีหน่วยงานรับผิดชอบเรื่องนี้อยู่แล้ว เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กระทรวงยุติธรรม กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) คงจะเร่งตรวจสอบในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องรอให้นายกรัฐมนตรีสั่งการ พล.ต.สรรเสริญ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้เชื่อว่าหลังจากนี้สมาคมดังกล่าวจะทยอยเปิดเผยข้อมูลออกมาเรื่อยๆ ดังนั้น หากพบว่ามีคนไทยเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องและกระทำผิดจริง จะต้องดำเนินการตามกฎหมาย เพราะรัฐบาลให้ความสำคัญกับการปราบปรามคอรัปชั่นเป็นวาระแห่งชาติ และรัฐบาลดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อปราบปรามกับปัญหาเหล่านี้มาตลอด เชื่อว่าหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะตรวจสอบและติดตามเรื่องนี้อย่างจริงจัง ขณะที่ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ ที่ปรึกษาสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) ในฐานะรักษาราชการแทนเลขาธิการ ปปง. กล่าวว่า ในส่วนของปปง. ยังไม่เคยได้รับการประสานให้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าว รวมถึงระบุว่ามีมีรายชื่อคนไทยเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น จึงไม่สามารถให้ข้อมูลที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม หลังจากปรากฏข้อมูลแล้ว ปปง.จะทำหนังสือไปยังปปง.ของปานามา เพื่อให้ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว.  “

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/politics/389862

หลักสูตรบ้านเอเอฟของคสช.

คสช.เผย หลักสูตร "ผู้นำการสร้างชาติ"อย่างสร้างสรรค์ 7วัน 168 ชม. ทำอย่างเปิดเผย โปร่งใส ให้เกียรติ ญาติรับรู้ สถานที่  เผยเล็งไว้แล้ว ใครบ้าง คาด 2 คนล่าสุด อาจโดนก่อนเพราะไม่ร่วมมือ

พันเอกปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)กล่าวถึงการดำเนินการจัดหลักสูตรอบรมนักการเมืองของคสช.ว่า หลักสูตรดังกล่าวมีชื่อว่า การฝึกอบรม "ผู้นำการสร้างชาติ"อย่างสร้างสรรค์
สำหรับผู้นำหรือแกนนำประชาชนทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการ คือ 1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจสถานการณ์ตั้งแต่ คสช.เข้ามาบริหารประเทศเมื่อวันที่ 22พ.ค.57 จนถึงปัจจุบัน 

2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจและรับรู้กติกาสังคมปัจจุบันที่เน้นสร้างความปรองดองสมานฉันท์
 3.สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและไว้ใจต่อการปฏิบัติงานของรัฐบาลและ คสช.

4.ขอความร่วมมือไม่ให้ผู้เข้ารับการอบรมขัดขวาง และขอความร่วมมือให้ช่วยสนับสนุนงานของรัฐบาลและ คสช.

ส่วนหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมเข้าอบรม ทาง คสช.ได้กำหนดไว้ว่าเป็นผู้นำหรือแกนนำประชาชน ที่กระทำผิดกฎหมาย ทำผิดกติกาสังคม และฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งของคนในชาติจนทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลและ คสช.เกิดความเสียหาย 

รวมถึงมีพฤติกรรมที่มีแนวโน้มสร้างความขัดแย้งระหว่างคนในสังคม ตลอดจนมีพฤติกรรมแปลกแยกไปจากสังคม ส่วนระยะเวลาหลักสูตรนี้จะใช้เวลาทั้งสิ้น 7 วัน จำนวน 168 ชั่วโมง 

โดย คสช.ใช้อำนาจตามกฎหมายเท่าที่เราทำได้และไม่มีอะไรเกินเลย

สำหรับขั้นตอนปฏิบัติในการเชิญผู้ถูกอบรมในหลักสูตรดังกล่าวนั้น จะเชิญตัวและดำเนินการอย่างเปิดเผยด้วยการให้เกียรติ พร้อมทั้งแจ้งพฤติกรรมคนที่ถูกเชิญได้รับทราบว่ามีคุณสมบัติใดที่ควรเข้ารับการอบรม 
อีกทั้งจะต้องแจ้งให้ญาติของผู้ถูกอบรมรับทราบว่าจะไปสถานที่ใด รวมทั้งสามารถเข้าไปเยี่ยมได้ 

"ขอย้ำว่าเราจะอำนวยความสะดวกให้คนที่เข้ารับการอบรมเป็นอย่างดี หากจบหลักสูตรอบรม 7 วันแล้ว เราจะอำนวยความสะดวกในการเดินทางกลับบ้านด้วย "

เมื่อถามย้ำว่าหากผู้ที่เข้าข่ายไม่ยินยอมจะดำเนินการอย่างไร พ.อ.ปิยพงศ์ กล่าวว่า คสช.มีอำนาจในการเชิญตัวและตักเตือน 

ทั้งนึ้ผู้ที่จะเข้ารับการอบรม อาจจะเป็นคนเดิม ๆ ที่ คสช.ติดตามพฤติกรรมมาโดยตลอด อีกทั้งเชิญมาพูดคุยหลายครั้งแล้ว แต่ช่วงหลังพบว่ามีท่าทีและทัศนคติของคนเหล่านั้นที่ดีขึ้น 

"ย้ำว่าเรายังคงติดตามและเฝ้าดูอยู่เสมอ ส่วนจะเป็นใครบ้างที่มีทัศนคติดีขึ้นนั้น ผมคิดว่าน่าจะเป็น 2 คนที่คสช.เชิญมาพูดคุยก่อนหน้านี้ เพราะไม่ได้สร้างความสับสนเพิ่มเติมและยังให้ความร่วมมือ"พ.อ.ปิยพงศ์ กล่าว 

 ส่วนที่พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.)ในฐานะเลขาธิการคสช.ระบุว่าจะส่งผู้เข้าอบรมไปค่ายทหารพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้นั้น สิ่งที่ผบ.ทบ.พูดนั้นหมายถึงค่ายทหารทุกพื้นที่ที่สามารถรองรับหลักสูตรนี้ได้ ไม่ว่าจะหวัดใดก็ตาม ที่ระบุว่าเป็นจ.ยะลา และจ.ปัตตานี คิดว่าคงเป็นเพียงแต่ยกตัวอย่างชื่อจังหวัดเท่านั้น 
“ผมขอร้องว่าในฐานะที่เราเป็นคนไทยด้วยกัน และในฐานะที่พวกท่านเป็นอดีตนักการเมืองเคยบริหารประเทศมา คิดว่าแต่ละท่านคงมีวุฒิภาวะพอที่เข้าใจต่อกระบวนการของกฎหมายอยู่แล้ว 

หากท่านรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม และรู้สึกว่าคสช.ละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งใช้อำนาจเกินขอบเขตนั้น 

ผมขออธิบายเลยว่า คสช.ไม่ได้มีเจตนาที่จะทำให้เกิดความรู้สึกเช่นนั้นเพียงแต่เราต้องการรักษาสถานการณ์ประเทศให้เกิดความสงบ 

จึงขอความร่วมมือคนที่มีความคิดเห็นที่แตกแยกให้ช่วยสงบสติอารมณ์ ควรอยู่ในความสงบ ปล่อยให้รัฐบาล และ คสช.บริหารประเทศดูแลประชาชนก่อน เพื่อวางอนาคตให้ประเทศไทยมีความก้าวหน้าเป็นสากล นี่คือเจตนารมณ์สำคัญอย่างยิ่งของรัฐบาล และ คสช.

"บิ๊กป้อม"ประชุม สภาทหารผ่านศึก รับทราบสรุปข้อเท็จจริง การขุดลอกคูคลอง ของ อผศ.

"บิ๊กป้อม"ประชุม สภาทหารผ่านศึก รับทราบสรุปข้อเท็จจริง การขุดลอกคูคลอง ของ อผศ. หลังตกเป็นข่าว ยัน ไม่มีค่าหัวคิว กฏระเบียบ เปิดช่อง อผศ. รับงานถูกต้อง เพราะงบฯไม่พอ เลี้ยงดูทหารผ่านศึก กว่า3 ล้านคน ต้องหารายได้เสริม เผย ผอ.อผศ. ลงพื้นที่พร้อมสื่อ ตรวจด้วยตนเอง หลายพื้นที่
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ในฐานะนายกสภาทหารผ่านศึก เป็นประธานในการประชุมสภาทหารผ่านศึก ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ เพื่อรับทราบ สรุปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการขุดลอกคูคลองทั่วประเทศภายใต้มาตรการรับมือภัยแล้งของรัฐบาล ซึ่งดำเนินการโดย อผศ.
เอกสารของ อผศ. ระบุว่า ตามที่สื่อมวลชนต่าง ๆ ได้ลงข่าวเกี่ยวกับการขุดลอก คูคลองทั่วประเทศ ภายใต้มาตรการรับมือภัยแล้งของรัฐบาล ที่หน่วยเจ้าของโครงการ/งบประมาณ ได้ว่าจ้างให้องค์การฯ โดย สำนักงานกิจการการเกษตรการอุตสาหกรรมและการบริการ เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งได้รับการร้องเรียนในประเด็นต่าง ๆ อาทิ การเรียกรับผลประโยชน์ และเก็บค่าหัวคิวจากโครงการดังกล่าว รวมทั้งการที่ผู้รับเหมางานต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กับคนบางกลุ่มในองค์การฯ ตลอดจนเรื่ององค์การฯ ทำผิดเงื่อนไขในสิทธิพิเศษ โดยนำงาน ไปจ้างต่อให้เอกชนดำเนินการ นั้น
จากกรณีดังกล่าวได้มีการ ตรวจสอบ และสรุปข้อเท็จจริง รวมทั้งรายละเอียดการดำเนินการต่าง ๆ ในเรื่องดังกล่าวให้ที่ประชุมรับทราบ ดังนี้
๒.๑ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นองค์การของรัฐเพื่อการกุศล มีวัตถุประสงค์ในการให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก ทหารนอกประจำการ ซึ่งถือว่าเป็นผู้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อปกป้องเอกราชและอธิปไตยของชาติ ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ปัจจุบันมีทหารผ่านศึกและครอบครัว ที่อยู่ในความดูแลขององค์การฯ ประมาณ ๓ ล้านคน และอาจจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานบางส่วนจากกระทรวงกลาโหม แต่งบประมาณที่ได้รับในแต่ละปีมีจำนวนจำกัด และไม่เพียงพอต่อการ ให้การสงเคราะห์ องค์การฯ จึงจำเป็นต้องหารายได้จากการดำเนินงานของหน่วยงานกิจการพิเศษมาสมทบงบประมาณในการให้การสงเคราะห์
โดยดำเนินการตามพระราชบัญญัติองค์การฯ พ.ศ.๒๕๑๐ ซึ่งกำหนดให้ องค์การฯ มีอำนาจและหน้าที่ รวมถึงมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครอง สร้าง ซื้อ เช่า ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม จัดสรร จัดหา จำหน่าย ทำการแลกเปลี่ยน โอนและรับโอนด้วยประการใด ๆ ซึ่งที่ดินหรือทรัพย์สินอื่น ประกอบการงาน หรือร่วมการงานหรือสมทบกับบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นการค้า หรือการอื่น ให้กู้ยืมเงินโดยมีหลักประกันด้วยบุคคลหรือด้วยทรัพย์
๒.๒ เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้รับทราบมติคณะกรรมการพิจารณาสิทธิพิเศษของหน่วยงานและรัฐวิสาหกิจ ในการประชุมเมื่อ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๖ ให้องค์การฯ ได้รับสิทธิพิเศษประเภทไม่บังคับ ในการรับจ้างพัฒนาหรือก่อสร้างปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำ งานขุดลอกคูคลอง ลำรางสาธารณะ งานสร้างฝายกั้นน้ำ และงานลอกท่อระบายน้ำให้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความประสงค์จะจ้างองค์การฯ สามารถดำเนินการได้โดยวิธีกรณีพิเศษ
๒.๓ สำนักงานกิจการการเกษตรการอุตสาหกรรมและการบริการ มีหน้าที่ดำเนินการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน เช่า ให้เช่า จ้าง รับจ้าง เกี่ยวกับเกษตรกรรม อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมจากผลผลิตทางการเกษตร การบริการทุกชนิด การประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างอาคาร และงานก่อสร้างอย่างอื่นทุกชนิด งานซ่อม และสร้างถนน พัฒนาและปรับปรุงฟื้นฟูก่อสร้างแหล่งน้ำ
รวมทั้งรับทำงานโยธาทุกประเภท ควบคุมดูแลเก็บรักษาผลประโยชน์จากกิจการการป่าไม้และเหมืองแร่ และสนับสนุนกิจการขององค์การฯ ตลอดจนร่วมการกุศลสาธารณะอื่น ๆ เรียกชื่อย่อว่า “สกบ.” มีผู้อำนวยการสำนักงานกิจการการเกษตรการอุตสาหกรรมและการบริการ เป็นผู้บัญชารับผิดชอบ
โดย สกบ. ดำเนินการตามสิทธิพิเศษดังกล่าวมาข้างต้น ได้จัดตั้งเป็นกองอำนวยการโครงการพัฒนาก่อสร้างปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำ งานขุดลอกคูคลอง ลำรางสาธารณะ งานสร้างฝายกั้นน้ำ และงานลอกท่อระบายน้ำ พร้อมทั้งกำหนดผังการจัด การแบ่งมอบความรับผิดชอบภายใน และมีอำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา องค์การฯ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งผู้ตรวจการภาคสนาม เพื่อตรวจการปฏิบัติงานของหน่วยงานก่อสร้างทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคตามที่เห็นสมควร
สำหรับข้อร้องเรียนต่าง ๆ อาทิ มีการเรียกรับผลประโยชน์และเก็บค่าหัวคิว รวมทั้งการที่ผู้รับเหมาต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนให้กับคนบางกลุ่มในองค์การฯ ตลอดจนกรณีที่องค์การฯ ผิดเงื่อนไขในสิทธิพิเศษเรื่องการนำงานไปจ้างต่อให้เอกชน ซึ่งการร้องเรียนดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูง รวมทั้งองค์การฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง องค์การฯ ได้ดำเนินการออกคำสั่งองค์การฯ เพื่อดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ในทุก ๆ ประเด็น
พร้อมทั้งได้นำคณะสื่อมวลชนร่วมเดินทางไปตรวจโครงการขุดลอกคูคลองในพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่ เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ พลเอก รณชัย มัญชุสุนทรกุล ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงขององค์การฯ ได้เดินทางไปตรวจโครงการขุดลอกในพื้นที่ จังหวัดตรัง ได้แก่ คลองหนองเต่า หมู่ที่ ๓ บ้านหนองเต่า ตำบลควนโพธิ์ อำเภอย่านตาขาว, โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำนาง หมู่ที่ ๒ บ้านห้วยนาง อำเภอห้วยยอด และโครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำบ้านน้ำราบ บ้านน้ำราบ อำเภอห้วยยอด ตำบลวังคีรี
ทั้งนี้ เพื่อตรวจสอบความคืบหน้าในการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน
เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ได้เดินทางไปตรวจโครงการขุดลอกสระพังบัว หมู่ที่ ๒ บ้านยางเอน ตำบลวักสน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ซึ่งดำเนินการขุดลอกเพื่อเก็บน้ำไว้สำหรับการเกษตร ช่วยป้องกันแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และป้องกันน้ำท่วม เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๙ ได้เดินทางไปตรวจโครงการขุดลอกคูคลองในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ โครงการขุดลอกคลองบางจิก หมู่ ๑ บ้านแหลม ตำบลบ้านช้าง อำเภอสองพี่น้อง, โครงการขุดลอกคลองดินตะกอนและอ่างเก็บน้ำหนองถ้ำ หมู่ ๓ บ้านดอนขาด ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอบางปลาม้า, โครงการงานดาดคอนกรีตคลองส่งน้ำ ๔ ขวา – ๑ ซ้าย ตำบลดอนปรู อำเภอศรีประจันต์ และโครงการงานปรับปรุงคลองระบาย ร.๑ ขวา (ช่วงที่ ๒) ตำบลแจงงาม อำเภอหนองหญ้าไซ ซึ่งดำเนินการขุดลอกเพื่อเก็บน้ำไว้สำหรับการเกษตร ช่วยป้องกันแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และป้องกันน้ำท่วม ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบความคืบหน้า ในการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน

ราชกิจจานุเบกษาประกาศ พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2559

ราชกิจจานุเบกษาประกาศ พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2559

 
4 เม.ย.2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติ การป้องกันและแก้ไข ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
 
โดยมีการระบุเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ว่าคือ โดยที่การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของประเทศมีจํานวน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม และเศรษฐกิจในภาพรวม และปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของประเทศมีความซับซ้อนและไม่อาจแก้ไขได้ด้วยอํานาจหน้าที่ของหน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่ง ดังนั้น สมควรสร้างกลไกในการกําหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการดําเนินการร่วมกันของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของเอกชน และประชาสังคม เพื่อบูรณาการให้การป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นรูปธรรม มีความเป็นเอกภาพ และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องตราพ.ร.บ.นี
 
สำหรับมาตราที่น่าสนใจเช่น มาตรา 11 ให้มี 'คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น' ซึ่งประกอบด้วย (1) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ (2) กรรมการโดยตําแหน่ง จํานวนแปดคน ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมและปลัดกรุงเทพมหานคร (3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวนห้าคน ซึ่งประธานกรรมการแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญมีผลงาน และมีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ไม่น้อยกว่าห้าปีในด้านการสาธารณสุข ด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของวัยรุ่น ด้านการศึกษา ด้านจิตวิทยา และด้านการสังคมสงเคราะห์ ด้านละหนึ่งคน (4) ผู้แทนเด็กและเยาวชน จํานวนสองคน ซึ่งประธานกรรมการแต่งตั้งจากผู้แทนสภาเด็ก และเยาวชนแห่งประเทศไทย เป็นชายหนึ่งคนและหญิงหนึ่งคน ให้อธิบดีกรมอนามัย เป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้แทนสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกรมกิจการเด็กและเยาวชน และผู้แทนกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เป็นผู้ช่วยเลขานุการ การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามระเบียบ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกําหนด โดยต้องคํานึงถึงชายและหญิงในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
 
สำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว ระบุไว้ในมาตรา 17 ดังต่อไปนี้ (1) เสนอนโยบายและยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณา (2) เสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ ในวัยรุ่นต่อคณะรัฐมนตรี รวมทั้งเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงตามพ.ร.บ.นี้ (3) เสนอรายงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อย ปีละหนึ่งครั้ง (4) กําหนดแนวทางปฏิบัติสําหรับหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานของเอกชนเพื่อป้องกัน ช่วยเหลือ แก้ไข และเยียวยาปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปัญหาอนามัยการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่น การใช้ความรุนแรงทางเพศ และการกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศ (5) ให้คําปรึกษา แนะนํา และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการดําเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไข ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานของเอกชน (6) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่ คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
 
มาตรา 5 วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง และมีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ ได้รับการบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ ได้รับการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว ได้รับการจัดสวัสดิการสังคม อย่างเสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และได้รับสิทธิอื่นใดที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ตามพ.ร.บ.นี้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอ
 
มาตรา 6 ให้สถานศึกษาดําเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องเพศวิถีศึกษาให้เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียนหรือนักศึกษา (2) จัดหาและพัฒนาผู้สอนให้สามารถสอนเพศวิถีศึกษาและให้คําปรึกษาในเรื่องการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่นักเรียนหรือนักศึกษา (3) จัดให้มีระบบการดูแล ช่วยเหลือ และคุ้มครองนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งตั้งครรภ์ให้ได้รับ การศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสมและต่อเนื่อง รวมทั้งจัดให้มีระบบการส่งต่อให้ได้รับบริการอนามัย การเจริญพันธุ์และการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเหมาะสม การกําหนดประเภทของสถานศึกษาและการดําเนินการของสถานศึกษาแต่ละประเภท ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
 
มาตรา 7 ให้สถานบริการดําเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ดังต่อไปนี้ (1) ให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น แก่ผู้รับบริการซึ่งเป็นวัยรุ่นอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอ (2) จัดให้มีบริการให้คําปรึกษาและบริการอนามยการเจริญพันธุ์ที่ได้มาตรฐานสําหรับผู้รับบริการ ซึ่งเป็นวัยรุ่นและสอดคล้องกับสิทธิตามมาตรา 5 รวมทั้งจัดให้มีระบบการส่งต่อให้ได้รับการจัดสวัสดิการสังคม อย่างเหมาะสม การกําหนดประเภทของสถานบริการและการดําเนินการของสถานบริการแต่ละประเภท ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
 
มาตรา 8 ให้สถานประกอบกิจการดําเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ดังต่อไปนี้ (1) ให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่ลูกจ้าง ซึ่งเป็นวัยรุ่นอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอ (2) จัดหรือสนับสนุนให้ลูกจ้างซึ่งเป็นวัยรุ่นเข้าถึงบริการให้คําปรึกษาและบริการอนามัย การเจริญพันธุ์ รวมทั้งจัดให้มีระบบการส่งต่อให้ได้รับการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเหมาะสม การกําหนดประเภทของสถานประกอบกิจการและการดําเนินการของสถานประกอบกิจการ แต่ละประเภท ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
 
มาตรา 9 ให้มีการจัดสวัสดิการสังคมที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ ในวัยรุ่น ดังต่อไปนี้ (1) ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัดและระดับอําเภอสร้างเครือข่ายเด็ก และเยาวชนในพื้นที่เพื่อเป็นแกนนําป้องกัน แก้ไข และเฝ้าระวังปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (2) ส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานของเอกชนที่เกี่ยวข้อง ทําหน้าที่ประสานงาน เฝ้าระวัง และให้ความช่วยเหลือแก่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์และครอบครัว (3) จัดให้มีการฝึกอาชีพตามความสนใจและความถนัดแก่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ก่อนและหลังคลอด ที่ประสงค์จะเข้ารับฝึกอาชีพ และประสานงานเพื่อจัดหางานให้ได้ประกอบอาชีพตามความเหมาะสม (4) จัดหาครอบครัวทดแทนในกรณีที่วัยรุ่นไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเองได้ (5) การจัดสวัสดิการสังคมในด้านอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ ในวัยรุ่น การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
 
มาตรา 10 ให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอํานาจหน้าที่ดําเนินการให้วัยรุ่นในเขตราชการส่วนท้องถิ่น ได้รับสิทธิตามมาตรา 5 เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอํานาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
 

ปปง.สอบ 21 คนไทย เอี่ยวฟอกเงินเอกสาร"ปานามา"


การเมือง : ปปง.สอบ 21 คนไทย เอี่ยวฟอกเงินเอกสาร"ปานามา"

วันจันทร์ ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559
ปปง.สอบ 21 คนไทย เอี่ยวฟอกเงินเอกสาร
 
เลขาธิการ ปปง.เตรียมตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ ปปง.ปานามา กรณีเอกสารของปานามาเปเปอร์ เผยข้อมูลฟอกเงินกว่า 11 ล้านฉบับ 
โดยสมาคมผู้สื่อข่าวสืบสวนนานาชาติ ได้เปิดเผยเอกสารปานามาเปเปอร์ ที่อ้างว่ามีข้อมูลกว่า 11 ล้านฉบับ โยงถึงนักการเมือง และผู้นำทั่วโลกกว่า 72 คน เกี่ยวข้องกับการฟอกเงินและเลี่ยงภาษี โดยมีลูกค้า 21 คนในประเทศไทย และเชื่อมโยงกับบริษัท 963 บริษัทที่อาจเข้าข่ายเลี่ยงภาษี แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นนักการเมือง หรือเอกชน แต่ในเอกสารมีการะบุถึง นายฮอสนี มูบารัค อดีตประธานาธิบดีอียิปต์, นายโมอัมมาร์ กัดดาฟี อดีตผู้นำลิเบีย รวมถึงลูกชายของนายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย และเพื่อนสนิทของประธานาธิบดีปูตินแห่งรัสเซียด้วย โดยมีนักการเมืองระดับสูง 72 คน และ 12 คนอยู่ในตำแหน่งผู้นำหรืออดีตผู้นำประเทศ 

ซึ่งในเรื่องนี้ พันตำรวจเอก สีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาราชการแทนเลขาธิการ ปปง.ระบุว่า ขณะนี้ได้รับเพียงรายงานข่าวจากสื่อเท่านั้น แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจน แต่จะได้ประสานงานไปยัง ปปง.ของประเทศปานามา ในอเมริกากลาง เพื่อสอบถามถึงข้อเท็จจริง เพราะ ปปง.มีการประสานติดตามการฟอกเงินข้ามชาติทั่วโลกกว่า 150 ประเทศ

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้รับทราบข้อมูลเอกสารปานามาเปเปอร์แล้ว หากพบว่า มีคนไทยเกี่ยวข้องและกระทำผิดจริง จะต้องดำเนินการตามกฎหมาย เพราะรัฐบาลนี้ให้ความสำคัญกับการปราบปรามคอรัปชั่นเป็นวาระแห่งชาติ
ที่มาwww.krobkruakao.com
 

ดับไฟใต้ ด้วย ม.44. ??


บิ๊กตู่ ซุ่มเงียบ ใช้อำนาจ ม.44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่14/2559 ตั้งบอร์ดที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนา จ.ชายแดนใต้ และกำหนดอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ระบุตั้ง จากส่วนต่างๆ โดยความเห็นชอบจาก กอ.รมน. -ศอ.บต.ผู้แทน จาก 5จชต. ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล สงขลา รวมไม่เกิน 60คน ดำรงตำแหน่ง วาระ ละ2 ปี เพื่อ บูรณาการขับเคลื่อน ให้สอดรับ กับ กม.สภาที่ปรึกษาใต้ และทำหน้าที่ ตรวจสอบประเมินการทำงาน หลัง พลเอกประยุทธ์ สั่งแก้ปัญหาใต้ ให้ได้ใน 6 เดือน และ สอดรับกับการแก้ไขอำนาจหน้าที่ กอ.รมน. ที่ดูแลแก้ปัญหา บรรเทาภัยพิบัติ อีกด้วย






ผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงมติยื่นฟ้องศาลปกครอง ฟัน "ฉลองภพ,กรณ์,ระนองรัตน์,ปิยะสวัสดิ์

ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงมติยื่นฟ้องศาลปกครอง ฟัน "ฉลองภพ,กรณ์,ระนองรัตน์,ปิยะสวัสดิ์,วรรณรัตน์" ปตท.และพวกรวม 11 ราย หลัง ไม่คืนท่อก๊าซตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด นำไปแสวงหาประโยชน์ ขอให้ถอนมติครม.ปี 50 และ 53 ,สั่ง 2 กระทรวงบี้ ปตท.โอนคืนทรัพย์ที่เหลืออีก 52,393 ล้าน แฉกลายเป็นองค์กรลึกลับเชื่อยังมีผลประโยชน์อีกเยอะ รับมีอดีตประธานส่งจดหมายขู่อย่าหาเรื่อง แย้มคิงพาวเวอร์,สุวรรณภูมิ,การไฟฟ้า รายต่อไป
วันนี้ (4 เม.ย.) ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายศรีราชา วงศารยางกูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกรณีการไม่คืนท่อก๊าซธรรมชาติของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดและการนำท่อก๊าซซึ่งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินไปแสวงหาประโยชน์ โดยเป็นการฟ้องกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ผู้ถูกฟ้องคดีจำนวน 11 ราย ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2550 และไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อให้ศาลปกครองมีคำพิพากษา
1.เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2550 และวันที่ 10 ส.ค. 2553 ในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งมอบทรัพย์สิน ประกอบด้วยที่ดินที่ได้จากการเวนคืน สิทธิการใช้ที่ดินเหนือที่ดินเอกชนและทรัพย์สินที่เป็นระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ คือ 1.โครงการท่อบางปะกง-วังน้อย 2.โครงการท่อจากชายแดนไทยพม่า-ราชบุรี และ 3.โครงการท่อราชบุรี-วังน้อย รวมถึงโครงการท่อย่อย ซึ่งมีมูลค่าทางบัญชี ณ วันที่ 30 ก.ย. 2544 ประมาณ 16,175 ล้านบาท เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเกิดจากการแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานที่มีนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ดำรงตำแหน่งขณะนั้น
2.สั่งให้กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินและโอนทรัพย์สินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศให้กระทรวงการคลังตามมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย วันที่ 30 ก.ย. 2544 จำนวน 68,569 ล้านบาท บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้คืนไปแล้วประมาณ 16,175 ล้านบาท ดังนั้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ยังคงต้องโอนคืนทรัพย์สินให้แก่กระทรวงการคลังอีกจำนวนประมาณไม่น้อยกว่า 52,393 ล้านบาท รวมทั้งค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นใดจากการใช้ทรัพย์สินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้แก่ ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร อุปกรณ์และทรัพย์สินอื่นและสิทธิหรือสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้อาศัยใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการ พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายกำหนดให้ครบถ้วนต่อไป และ
3.เพิกถอนการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดิน เพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกจากอำนาจและสิทธิของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เพื่อให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
นายศรีราชา กล่าวต่อว่า กรณีดังกล่าวสืบเนื่องจากหลังศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550 เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2550 ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ คือ คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกันกระทำการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกจากอำนาจและสิทธิของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ต่อมา วันที่ 18 ธ.ค. 50 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักการตามความเห็นของกระทรวงพลังงาน โดยรมว.พลังงาน ที่มีนายปิยสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น เกี่ยวกับการแบ่งแยกทรัพย์สินอำนาจและสิทธิของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยที่จะให้เป็นของกระทรวงการคลังตามคำพิพากษา โดยคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลังรับไปดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินและสิทธิตามหลักการดังกล่าว แล้วให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้อง ทั้งนี้ หากมีข้อโต้แย้งทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับการตีความคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในการดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สิน ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้พิจารณาเพื่อให้มีข้อยุติต่อไป
ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวอีกว่า แต่พบว่าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว กระทรวงพลังงาน กระทรวงการคลัง และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กลับร่วมกันเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จ ปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อในทะเลและบนบกที่เป็นทรัพย์สินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยซึ่งยังไม่ได้แบ่งแยกให้กระทรวงการคลัง รวมทั้งระบบท่อที่ได้ก่อสร้างในที่ดินของรัฐภายหลังการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน โดยไม่มีผลตอบแทนคืนให้แก่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รายงานผลการดำเนินการตามคำพิพากษาอันเป็นเท็จดังกล่าวนี้ต่อศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2551 โดยรายงานว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ได้ร่วมกันกระทำการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิในการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกจากอำนาจและสิทธิของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดครบถ้วนแล้ว
"เห็นได้ว่าหน่วยงานดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชนโดยไม่เป็นธรรมและมิได้รักษาผลประโยชน์ของชาติตามหน้าที่ของข้าราชการที่ต้องพึงปฏิบัติ มีการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนและลัดขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญในการแบ่งแยกทรัพย์สิน ปล่อยปละละเลยมิได้เร่งรัด ติดตาม ทวงคืนทรัพย์สินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมา เราใช้เวลากว่า 3 ปี ในการตรวจสอบ โดยหลังจากศาลปกครองสูงสุดไม่รับคำฟ้องของน.ส.รสนา โตสิตระกูล เพราะไม่ได้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ก็ได้มีการพูดคุยกัน และมีการมาร้องเรียนของพ.ท.พ.ญ.กมลพรรณ ชีวะพันธุ์ศรี ในนามเครือข่ายภาคประชาชน ที่เป็นฐานในการทำงานมา จนได้ข้อมูลที่เป็นเอกสารหลักฐานเสนอศาลกว่า 96 รายการ โดยในจำนวนนี้มีข้อมูลที่เป็นท่อก๊าซ ที่สตง.ตรวจพบแล้วยังไม่มีการเปิดเผยกว่า 50 ท่อ เชื่อว่าทั้งคำฟ้อง และหลักฐานที่ยื่นประกอบรวมทั้งหมด 500 หน้า มีความหนักแน่นพอ ที่ศาลจะพิจารณาและมีคำพิพากษา
สำหรับผู้ถูกฟ้องคดี 11 รายเป็นทั้งฟ้องตัวบุคคลและหน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ อดีตรมว.คลัง นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรมว.คลัง รต.ญ.ระนองรัตน์ สุวรรณฉวี อดีตรมช.คลัง กระทรวงพลังงาน นายปิยะสวัสดิ์ อัมมะระนันท์ อดีตรมว.พลังงาน นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล อดีตรมว.พลังงาน นายประสิทธิ์ สืบชนะ อดีตรองอธิบดี กรมธนารักษ์ นายอำนวย ปรีมนวงศ์ อดีตที่ปรึกษาด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กรมธนารักษ์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทปตท.ฯ ซึ่งการตรวจสอบดังกล่าวก็ด้วยเจตนาที่อยากจะสร้างความถูกต้อง และจากการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวก็ทำให้พบปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานด้านพลังงานที่ไม่ถูกต้อง เช่น การจัดเก็บภาษีเข้ากองทุนน้ำมัน ซึ่งผู้ตรวจฯ ก็เคยทำความเห็นเสนอไปยังรัฐบาลก่อนหน้านี้แล้ว อีกทั้งยังมีเรื่องที่กำลังดำเนินการอีก 2 -3 เรื่อง เช่น การสร้างแทงค์เก็บน้ำมันขนาดใหญ่ที่มีราคาสูงเกินความจำเป็น
"ที่ผ่านมาปตท.ใช้สิทธิแสวงหาประโยชน์จากประชาชนเกินกว่าที่ประชาชนจะแบกรับ พอผู้ตรวจมีการตรวจสอบเรื่องกองทุนน้ำมันก็จะเห็นได้ว่าน้ำมันมีราคาถูกลง แต่ทั้งนี้ปตท.ยังเป็นองค์กรที่ลึกลับ เชื่อว่ายังมีปัญหาเรื่องผลประโยชน์อีกเยอะ การที่กรรมการของปตท. และตัวแทนจากรัฐทั้งกระทรวงการคลังและพลังงาน เข้ามานั่งเป็นกรรมการ มีผลประโยชน์ ปี 2557 แค่เบี้ยประชุมก็ 2 ล้านบาทต่อปี บวกกับเงินปันผลอีก 2.7 ล้านบาทต่อปี รวมแล้วกรรมการแต่ละคนจะได้ไม่ต่ำกว่า 4.7 ล้านบาทต่อปี จึงทำให้ไม่อยากทุบกระเป๋าตัวเอง และเมื่อผู้ตรวจเริ่มตรวจสอบเรื่องดังกล่าว ก็มีอดีตประธานปตท.เขียนจดหมายส่วนตัวมาถึงตนระบุว่าปตท.ได้ทำทุกอย่างถูกต้องแล้ว อย่ามาหาเรื่องและให้ยุติเรื่องดังกล่าว ซึ่งผมก็เก็บจดหมายใส่ลิ้นชักแล้วเดินหน้าต่อไป จนมาถึงการฟ้องร้องในครั้งนี้" ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าว
อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า นายศรีราชา มีความตั้งใจจะตรวจสอบเรื่องปตท.ให้แล้วเสร็จก่อนที่จะหมดวาระการดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดินในวันนี้ (4 เม.ย.) จึงทำให้มีการแถลงและส่งคำร้องไปยังศาลปกครองในวันดังกล่าว นอกจากนี้นายศรีราชา ยังระบุอีกว่า ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยังมีเรื่องร้องเรียนสนามบินสุวรรณภูมิ บริษัท คิงส์พาวเวอร์ และการคิดค่าเก็บเอฟพีของการไฟฟ้า ที่ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบที่ต้องดำเนินให้แล้วเสร็จ

“บิ๊กจิ๋ว” ยกเลิกแถลงการเมือง4 เม.ย. เผย “บิ๊กป้อม” สั่งห้าม

“บิ๊กจิ๋ว” ยกเลิกแถลงการเมือง4 เม.ย. เผย “บิ๊กป้อม” สั่งห้าม พร้อมกำชับทหาร-ตร.-ผู้ว่าฯ จับตา ด้านคสช.แจงให้เกียรติ “บิ๊กจิ๋ว” เสมอ
เมื่อวันที่ 2 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้แจ้งยกเลิกการนัดแถลงข่าวถึงเรื่องสถานการณ์การเมืองกับสื่อมวลชนที่บ้านพักส่วนตัวซอยปิ่นประภาคม จ.นนทบุรี ในวันที่ 4 เม.ย. เวลา09.30 น. แล้ว ภายหลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ขอให้ยกเลิกการจัดแถลงข่าวดังกล่าว
รายงานข่าวว่าพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ดูแลพื้นที่จ.นนทบุรี และผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีจับตาอย่างเข้มข้น หากพบว่ายังปล่อยให้มีการแถลงข่าวดังกล่าวเกิดขึ้นจะมีคำสั่งย้ายด่วนทันที พร้อมกันนี้ยังกำชับเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเฝ้าระวังเรื่องการขนมวลชนมาร่วมงานดังกล่าวด้วย หากพบว่ามีการขนคนมาจากจังหวัดใดทางเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นต้องรับผิดชอบทันที
ด้านแหล่งข่าวจากคสช. กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า คสช.ไม่ได้มีหนังสือคำสั่งเป็นทางการห้ามไม่ให้พล.อ.ชวลิต แถลงข่าวแต่อย่างใด และยังไม่ทราบว่าเป็นเรื่องการสั่งการโดยเฉพาะของผู้ใหญ่ในคสช.หรือไม่ เบื้องต้นที่ผ่านมาทางคสช.เองก็ติดตามรับฟังว่าพล.อ.ชวลิต ว่าจะแถลงข่าวเรื่องใดบ้างมาตลอด พร้อมกับส่งเจ้าหน้าที่ทหารที่ดูแลพื้นที่ดังกล่าวเข้าไปร่วมรับฟังอย่างให้เกียรติเสมอมา

ปูดเอกสารลับปานามา แฉเส้นทางฟอกเงินเลี่ยงภาษีทั่วโลก-ไทยเอี่ยวด้วย

(ข้อมูล)
ปูดเอกสารลับปานามา แฉเส้นทางฟอกเงินเลี่ยงภาษีทั่วโลก-ไทยเอี่ยวด้วย

          เอกสารลับปานามา เหตุการณ์ข้อมูลลับรั่วไหลครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด 11.5 ล้านฉบับ ของบริษัทที่ปรึกษาด้านกฎหมายในปานามา แฉเส้นทางการฟอกเงิน ซุกซ่อนความมั่งคั่ง หนีภาษี ของผู้มีอิทธิพลและคนดังทั่วโลก ทั้งผู้นำประเทศ นักการเมือง นักเตะดัง พบมีรายชื่อจากไทยเอี่ยวด้วย 

          วันที่ 4 เมษายน 2559 เว็บไซต์ Vice รายงานข่าวการรั่วไหลของเอกสารด้านการเงินครั้งยิ่งใหญ่ ที่ถูกเรียกกว่า "ปานามา เปเปอร์" (Panama Papers) ซึ่งเป็นข้อมูลจากบริษัทที่ปรึกษาด้านกฎหมาย Mossack Fonseca ในประเทศปานามา ที่มีจำนวนข้อมูลรวมกว่า 11.5 ล้านฉบับ ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2520 มาจนถึงปลายปี 2558 ที่ชี้ให้เห็นการจัดตั้งบริษัทในต่างประเทศของเหล่าผู้นำประเทศและนักการเมืองกว่า 140 รายจากกว่า 50 ประเทศ รวมคนดังระดับโลก ตลอดจนพวกกลุ่มอาชญากรและแก๊งมาเฟีย เพื่อการฟอกเงิน ปกปิดความร่ำรวย หลบเลี่ยงภาษี ตลอดจนเลี่ยงการถูกคว่ำบาตรหรือทำรัฐประหาร โดยข้อมูลดังกล่าวถูกเปิดโปงออกมาโดยหนังสือพิมพ์เยอรมนี Suddeutsche Zeitung ร่วมกับสมาคมผู้สื่อข่าวสืบสวนนานาชาติ  หรือ ICIJ 

          วิธีการนั้นคือการจัดตั้งบริษัทขึ้นในต่างประเทศ ในรูปแบบที่เรียกว่า shell company หรือบริษัทที่มีแต่เปลือก ซึ่งตัววิธีการจัดตั้งบริษัทลักษณะนี้ไม่นับว่าขัดต่อกฎหมาย แต่ทั้งนี้มันก็แสดงให้เห็นถึงความไม่ชัดเจนโปร่งใสในที่มาของเงิน เมื่อมันถูกใช้บังหน้าในการทำธุรกรรมกับเงินจำนวนมหาศาลโดยไม่ให้รู้ตัวตน ของผู้ทำธุรกรรม ตามข้อมูลจากเอกสารลับปานามา พบว่ามีบริษัทจัดตั้งต่างประเทศถึง 214,488 บริษัท และมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพลจาก 200 ประเทศและอาณานิคมทั่วโลก ซึ่งทาง ICIJ ระบุว่า จะเผยรายชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้  

          ตัวอย่างรายชื่อผู้มีอิทธิพลคนดังในลิสต์ ปานามา เปเปอร์ อาทิ มีรายชื่อของบุคคลใกล้ชิดประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ใช้หน้าฉากของบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนหมุุนเวียนเงินกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในธุรกิจสื่อและยานยนต์ภายในประเทศ, นายกรัฐมนตรี Sigmundur David Gunnlaugsson ของไอซ์แลนด์และภริยา จัดตั้งบริษัทต่างชาติรวม 3 บริษัท เข้ามาลงทุนกับธนาคารในประเทศหลายแห่งในช่วงที่ชาติเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ, มีรายชื่อบุคคลในครอบครัวของนายสี จิ้นผิง ผู้นำแดนมังกร และนายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เกี่ยวข้องจัดตั้งบริษัทต่างชาติเช่นกัน นอกจากนี้ก็ยังมีประธานาธิบดีอาร์เซอร์ไบจาน กษัตริย์แห่งซาอุดีอาระเบีย รวมถึงรายชื่อบริษัทและมาเฟียที่เกี่ยวข้องการค้ายาและก่อการร้าย ที่ถูกขึ้นแบล็คลิสต์ของสหรัฐฯ รวม 33 ราย ในนี้ด้วย 

          นอกจากสายผู้มีอิทธิพลแล้วก็ยังมีสายคนดัง อย่าง ลิโอเนล เมสซี่ หัวหอกบาร์เซโลนาและกัปตันทีมชาติอาร์เจนตินา ที่จัดตั้งบริษัทในต่างแดนชื่อ เมก้า สตาร์ เอนเทอร์ไพร์ส ร่วมกับบิดา แต่กลับไม่ปรากฏชื่อของบริษัทนี้เมื่อครั้งที่เขาถูกทางการสเปนตรวจสอบ เรื่องภาษี , ยูเจนิโอ ฟิเกอเรโด อดีตรองประธานสมาพันธ์ฟุตบอลสเปน, แจ็คกี้ ชาน หรือเฉินหลง ตลอดจนมหาเศรษฐีในทำเนียบการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์อีก 29 ราย

          ICIJ ยังเปิดโปงอีกว่า มีธนาคารกว่า 500 แห่ง ที่สาขาย่อยได้ทำงานร่วมกับ Mossack Fonseca เพื่อช่วยเหลือลูกค้าในการจัดตั้งบริษัทนอกประเทศ ในรายชื่อเหล่านั้น ปรากฎชื่อของธนาคาร UBS มีส่วนอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งบริษัทต่างชาติกว่า 1,100 แห่ง และธนาคาร HSBC อีกกว่า 2,300 แห่ง 

          ล่าสุดนี้รายงานจากครอบครัวข่าว ระบุว่า พบว่าข้อมูลปานามา เปเปอร์ ชุดนี้ มีรายชื่อลูกค้าชาวไทยอยู่ด้วย 21 ราย ซึ่งเชื่อมโยงกับ 963 บริษัท ซึ่งพลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกมากล่าวว่า ในตอนนี้นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าวแล้ว และเชื่อว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน คงมีการตรวจสอบเรื่องนี้อยู่แล้วโดยไม่ต้องรอคำสั่งของพลเอกประยุทธ์ และหากพบว่ามีการกระทำผิดจริง ก็จะต้องดำเนินการต่อไปตามกฎหมาย 

'ICIJ' เผยเอกสาร 'ปานามาลีก'!เจ้าสัวไทยติดโผตั้งบ.ลับเกาะบริติชเวอร์จิ้น

วันจันทร์ ที่ 04 เมษายน 2559 เวลา 14:00 น.
เครือข่ายผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนนานาชาติเผยเอกสาร “ปานามาลีก” ฐานข้อมูลการถือครองบริษัทนอกอาณาเขตขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะ พบร่องรอยเชื่อมโยงถึง 'วลาดิมีร์ ปูติน' ผู้นำรัสเซีย นายกรัฐมนตรีไอซ์แลนด์ ลูกชายนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ส่วนประเทศไทยพบเจ้าสัวใหญ่ติดโผ
piogtgeddddd4 4 16
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อวันที่ 4 เม.ย.59 เครือข่ายผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนนานาชาติ (International Consortium of Investigative Journalists: ICIJ) ร่วมกับหนังสือพิมพ์ Suddeutsche Zeitung ของประเทศเยอรมัน เปิดเผยข้อมูลบุคคลและหน่วยงานผู้มีรายชื่อเป็นเจ้าของบริษัทนอกอาณาเขต (offshore companies) ทั่วโลก
โดยข้อมูลดังกล่าวมาจากฐานข้อมูลของบริษัท Mossak Fonseca ซึ่งเป็นสำนักกฎหมายที่ให้บริการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทนอกอาณาเขตที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศปานามา และมีสาขาใน 42 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย
ในกรณีของประเทศไทยพบนักธุรกิจและกลุ่มธุรกิจชื่อดังอย่างน้อย 2 กลุ่ม มีชื่อใช้บริการจดทะเบียนเป็นเจ้าของบริษัทนอกอาณาเขตที่เกาะบริติชเวอร์จิ้น กับสำนักกฎหมายแห่งนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่พบร่องรอยว่ามีการกระทำที่ผิดกฎหมายแต่ประการใด
นอกจากนั้นยังมีชาวต่างชาติจำนวนมาทั้งที่อาศัยอยู่ในและนอกประเทศไทย มีรายชื่อเป็นลูกค้าของ บริษัท Mossak Fonseca สาขาประเทศไทยด้วย
บริษัทนอกอาณาเขตซึ่งตั้งอยู่ทั่วโลกรวมทั้งที่หมู่เกาะบริติชเวอร์จิ้นและหมู่เกาะเคย์แมน เป็นบริษัทที่ได้รับการยกเว้นภาษีรวมทั้งได้รับการคุ้มครองเรื่องการปกปิดข้อมูลตามกฎหมายพิเศษของพื้นที่นั่นๆ แม้ว่าการถือครองบริษัทนอกอาณาเขตไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย แต่ในหลายกรณีพบว่านักการเมืองและผู้มีอิทธิพลจากประเทศต่างใช้บริษัทนอกอาณาเขตของตนในการฟอกเงินและการเลี่ยงภาษี เป็นเหตุให้ฐานะการมีอยู่ของบริษัทนอกอาณาเขตเป็นที่จับตามองของสื่อมวลชนและรัฐบาลหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศตะวันตก
อย่างไรก็ตาม ICIJ ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การถือครองบริษัทนอกอาณาเขตไม่ใช่การกระทำที่ผิดกฎหมาย และมีการใช้บริษัท, มูลนิธิ และทรัสต์ นอกอาณาเขตอย่างสมเหตุสมผลอยู่เช่นเดียวกัน “เราไม่มีเจตนาที่จะชี้หรือตีความว่าบุคคล หรือบริษัท หรือหน่วยงานใดก็ตามที่มีชื่ออยู่ใน ICIJ Power Players interactive application มีการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือไม่เหมาะสมแต่อย่างไร”
ฐานข้อมูลดังกล่าวถือว่าเป็นฐานข้อมูลเรื่องการถือครองบริษัทนอกอาณาเขตที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ตกถึงมือของสื่อมวลชน โดยมีขนาดความจุ 2.6 เทราไบต์ มีเอกสารทั้งหมด 11.5 ล้านชิ้น ประกอบไปด้วยข้อมูลของบริษัทนอกอาณาเขตทั้งหมด 214,000 บริษัท โดยการขุดคุ้ยและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดของเอกสารที่ให้ชื่อว่า “ปานามาลีก” (Panama Leak) นี้เป็นความร่วมมือกันของผู้สื่อข่าวจำนวน 370 คนจาก 78 ประเทศ ซึ่งมีข้อมูลบางส่วนเชื่อมโยงถึง นายวลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย นายกรัฐมนตรีไอซ์แลนด์ ลูกชายนายกรัฐมนตรีมาเลเซียด้วย
บริษัท Mossak Fonseca ปฏิเสธไม่ขอชี้แจง “กรณีเฉพาะ” ต่อ ICIJ โดยอ้างเหตุผลการปกปิดข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า แต่ยืนยันว่าไม่มีการละเมิดกฏหมายในการทำธุรกิจนี้แต่อย่างไร

เพื่อไทย ยื่นผู้ตรวจการแผ่นดิน ขั้นตอนการออกกฏหมายประชามติ อาจผิดขั้นตอน

คณะทำงานฝ่ายกฏหมายพรรคเพื่อไทย ยื่นผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบ ขั้นตอนการออกกฏหมายประชามติ อาจผิดขั้นตอน ขัดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญชั่วคราวแก้ไขครั้งที่ 2
‪#‎NEWSROOM‬ ‪#‎TV24‬ นี่คือภาพที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานฝ่ายกฏหมาย กำลังยื่นหนังสือ ถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อข้อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าการออก พ.ร.บ.ประชามติ ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้เสนอ ส่งให้คณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีได้ส่งต่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.เป็นผู้พิจารณา ชอบด้วยกฏหมายหรือผิดขั้นตอนหรือไม่
หลังได้ตรวจพบหนังสือเชิญประชุมของ สนช. ด่วนมาก ลงวันที่ 31 มีนาคม 2559 ที่เชิญประชุมในวันที่ 7 เมษายน 2559 มีวาระด่วนพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ที่คณะกรรมมาธิการ วิสามัญพิจารณาแล้วเสร็จ ด้วยความสงสัยเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว จึงตรวจสอบความเป็นมา
.
พบว่า ร่างพ.ร.บ. ฉบับนี้ ผ่านวาระรับหลักการของ สนช. เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2559 โดยคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ และเมื่อย้อนไปดูก็พบว่า คณะรัฐมนตรีมีมติไว้เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 และในวันเดียวกัน สำนักนายกรัฐมนตรีก็ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ถึง ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พร้อมแนบร่างพ.ร.บ. ดังกล่าวมาด้วย
.
เนื่องจากรัฐธรรมนูญฯ ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 พ.ศ. 2559 มาตรา 39/1 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของ กกต. ในการดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญตินี้
.
นายเรืองไกร กล่าวว่า หลังจากได้พิจารณาเอกสารที่เกี่ยวข้องและไล่เรียงวันเวลาแล้ว พบข้อสังเกตว่า ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ฉบับดังกล่าว น่าจะปฏิบัติไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ท้ายที่สุดกระบวนการเช่นนี้ อาจต้องเป็นโมฆะ เพราะการออกกฏหมายประชามติ อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญฯ ฉบับชั่วคราว แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 มาตรา 39 /1 วรรคห้า มาร่าง พรบ.ออกเสียงประชามติ ทั้งที่รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 39/1 วรรคห้า ยังไม่ผลใช้บังคับ ดังนั้น ร่างพ.ร.บ. ประชามติ ฉบับดังกล่าวกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่ขั้นของ กกต. จึงข้ามขั้นตอน โดยไม่ได้ตรวจสอบให้รอบคอบ ก่อนจะมีมติรับหลักการและคณะกรรมาธิการก็พิจารณาจนแล้วเสร็จ จนปรากฏเป็นวาระประชุมสนช. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 เมษายน

นายเรืองไกร ระบุด้วยว่า เคยพบขั้นตอนการตรากฎหมาย ที่มีความผิดพลาดมาตลอด และนี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่กระบวนการตรากฎหมาย น่าจะไม่ถูกต้องตามขั้นตอน และก็สงสัยว่า เหตุใดจึงไม่มีใครพบเห็น ทั้งที่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวมีผู้รู้ขั้นตอนทางกฏหมายเป็นอย่างดี
อดีต ส.ว.ผู้นี้ระบุด้วยว่า หากปล่อยกระบวนการออกกฏหมายเช่นนี้ผ่านไป อาจจะเกิดความเสียหายตามมา จึงต้องเดินทางยื่นหนังสือร้องให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรีบดำเนินการตรวจสอบ

ใบลาออก กก.อัคราไมนิ่ง"จักรมณฑ์"ก่อนนั่ง รมต.-ปั้นแผนสร้างเหมืองปลายปี 57

วันพุธ ที่ 26 พฤศจิกายน 2557 เวลา 20:00 น
ย้อนรอยเส้นทาง"จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช"ก่อนประกาศดันแผนอนุมัติสร้างเหมืองปลายปี 57 พบเคยนั่งกก.บริษัททำธุรกิจเหมืองก่อนยื่นลาออกเตรียมตัวนั่งเก้าอี้ รมว.อุตสาหกรรม13 วัน ระบุเนื้อหาสำคัญมีภารกิจในภาครัฐ เป็นเกียรติที่เคยได้ทำงานใกล้ชิดกับ คกก.-ผู้บริหาร  
bookssddddd
ไม่ว่าการออกมาประกาศผลักดันแผนอนุมัติสร้างเหมืองแร่โปแตช ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาปลายปี 2557 ซึ่งจะเริ่มนำร่องที่ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ เป็นแห่งแรก ของนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จะประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่ 
แต่มีข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่น่าสนใจ และสังคมไม่ควรมองข้าม คือ สถานะของนายจักรมณฑ์ ในฐานะกรรมการบริษัทเอกชนที่ทำธุรกิจเหมืองแร่แห่งหนึ่ง  ก่อนที่จะลาออกและเข้ามารับตำแหน่ง รมว.อุตสาหกรรม ในช่วงระยะเวลาแค่ 12 วัน 
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่า ในการแจ้งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินกรณีเข้ารับตำแหน่ง รมว.อุตสาหกรรม ต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อวันที่ 4 ก.ย.57 (ป.ป.ช.รับจริงเมื่อวันที่ 7 ต.ค.2557) 
นายจักรมณฑ์ ระบุในแบบฟอร์มแสดงรายการทรัพย์สิน เกี่ยวกับประวัติการทำงานย้อนหลัง 5 ปี ในตำแหน่งสุดท้ายก่อนเข้ารับตำแหน้ง รมว.อุตสาหกรรม คือ
"กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน)"
ระบุ ช่วงระยะเวลาในการทำงานตั้งแต่ปี 2556-2557
ppwvfvdddddddsssssss
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) มีชื่อเดิมว่า บริษัท อัครา ไมนิ่ง ก่อนจะจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และใช้ชื่อ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2556
มีทุนปัจจุบัน 590 ล้านบาท ตั้งอยู่เลขที่ 92/54-55 อาคารสาธรธานี 2 ชั้น 19 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 
แจ้งประกอบธุรกิจการทำเหมืองแร่ รวมทั้งการระเบิดและย่อยหิน สกัด แยก แปรสภาพ ถลุง แต่ง สำรวจ หาตัวอย่าง ปรากฎรายชื่อ ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุล , นาย รอส โดนัลด์ สมิธ-เคิร์ก , นาย มาริษ สมารัมภ์ , นาย ประจวบ ตรีนิกร , นาย เครก อลัน คาร์เรคเฮอร์ , นาย ปีเตอร์ วิลเลี่ยม วอร์เรน ,นาย รอส อเล็กซานเดอร์ คอยล์ , นาย ปกรณ์ สุขุม และนาย ไมเคิล แพทริค โมนากาน เป็นกรรมการ บริษัท คิงสเกท แคปปิตอล จำกัด ถือหุ้นใหญ่สุด 
จากการตรวจสอบพบว่า เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2557 นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ได้ทำหนังสือแจ้งการลาออก ต่อ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ประธานกรรมการบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน)
ระบุว่า ข้าพเจ้ามีความเสียใจที่จะแจ้งให้ท่านทราบว่า ข้าพเจ้าขอลาออกจากการเป็นกรรมการในคณะกรรมการและกรรมการตรวจสอบของบริษัท  อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ("อัครา") โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป เนื่องจากมีภารกิจในภาครัฐ นับว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับคณะกรรมการและผู้บริหารของอัครา 
เรียนมาด้วยความนับถือ
ลงชื่อ นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช 
jsssaaa
หากนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ หนังสือลาออกของนายจักรมณฑ์ มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2557 จนถึงวันที่ เข้ารับตำแหน่งรมว.อุตสาหกรรม วันที่ 4 ก.ย.2557 จะมีระยะเวลาห่างกัน 13 วัน 
ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2557 หลังเข้ารับตำแหน่ง รมว.อุตสาหกรรม ผ่านไปประมาณ 3 เดือนเศษ นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม ออกมาประกาศว่าจะผลักดันแผนอนุมัติสร้างเหมืองแร่โปแตชให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาปลายปี 2557 ซึ่งจะเริ่มนำร่องที่ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ เป็นแห่งแรก โดยบริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะให้กระทรวงการคลังเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วน 20% และคาดว่าจะออกประทานบัตรเพื่อให้เอกชนเริ่มลงทุนได้ในปี 2558
"หากปี 2558 มีการให้ประทานบัตรเหมืองแร่โปแตซ การลงทุนจะเริ่มเข้าประเทศ และจะสร้างมูลค่าการลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้กระทรวงการคลังจะเข้าซื้อหุ้นในบริษัท เหมืองแร่โปแตซอาเซียน จำกัดร้อยละ 20% ซึ่งการซื้อหุ้นของกระทรวงการคลังดังกล่าวจะส่งผลให้ไทยกลายเป็นแหล่งผลิตโปแตซที่ดีที่สุดในอาเซียน อีกทั้งมีการจ้างงานในประเทศอีกจำนวนมาก โดยพื้นที่แรกที่คาดว่าเริ่มทำคือ จังหวัดชัยภูมิ"
“การทำเหมืองแร่โปแตซสามารถลดนำเข้าโปรแตซจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทุนขนาดใหญ่ หากทุกอย่างเป็นไปตามคาด ไทยได้ประโยชน์ทั้งในแง่ของการลงทุนและประหยัดการนำเข้าโปแตซ เพราะราคาของแร่ขณะนี้สูงหากสามารถผลิตได้จะทำให้แร่ถูกลง อีกทั้งยังสามารถส่งไปขายในต่างประเทศได้อีกด้วย” รมว.อุตสาหกรรม กล่าวและว่า คาดว่าไม่เกินภายในปีนี้จะส่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา"
เมื่อถามถึงกระแสต่อต้านกังวลหรือไม่นั้น นายจักรมณฑ์ กล่าวว่า การที่ได้ไปศึกษาดูงานที่เยอรมันเห็นว่า ไม่มีปัญหาอะไร มีทั้งโบสถ์และลำธารอยู่ใกล้ที่ตั้งเหมืองแร่ ส่วนที่กังวลในด้านของภูมิอากาศที่ไทยไม่เหมือนกับเยอรมันนั้นก็ไม่ได้มีปัญหาแต่อย่างใด เพราะจะนำโปแตซที่ออกมาไปฝังกลบ
"ในเยอรมันไม่มีการนำไปฝังกลบ เนื่องจากแร่ที่ออกมานั้นไม่มีแร่ที่เป็นสารพิษแต่อย่างใด มีเพียงเกลือเป็นส่วนประกอบ แต่ในไทยจะมีการฝังกลบซึ่งต้องใช้งบประมาณที่สูง ซึ่งทำเพื่อไม่ให้ปัญหาต่างๆตามมาที่หลัง"
ทั้งนี้ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า หากในจังหวัดชัยภูมิสำเร็จ จะขยายไปที่จังหวัดสกลนครเป็นพื้นที่ที่สองต่อไป