PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559

เพื่อไทย ยื่นผู้ตรวจการแผ่นดิน ขั้นตอนการออกกฏหมายประชามติ อาจผิดขั้นตอน

คณะทำงานฝ่ายกฏหมายพรรคเพื่อไทย ยื่นผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบ ขั้นตอนการออกกฏหมายประชามติ อาจผิดขั้นตอน ขัดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญชั่วคราวแก้ไขครั้งที่ 2
‪#‎NEWSROOM‬ ‪#‎TV24‬ นี่คือภาพที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานฝ่ายกฏหมาย กำลังยื่นหนังสือ ถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อข้อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าการออก พ.ร.บ.ประชามติ ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้เสนอ ส่งให้คณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีได้ส่งต่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.เป็นผู้พิจารณา ชอบด้วยกฏหมายหรือผิดขั้นตอนหรือไม่
หลังได้ตรวจพบหนังสือเชิญประชุมของ สนช. ด่วนมาก ลงวันที่ 31 มีนาคม 2559 ที่เชิญประชุมในวันที่ 7 เมษายน 2559 มีวาระด่วนพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ที่คณะกรรมมาธิการ วิสามัญพิจารณาแล้วเสร็จ ด้วยความสงสัยเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว จึงตรวจสอบความเป็นมา
.
พบว่า ร่างพ.ร.บ. ฉบับนี้ ผ่านวาระรับหลักการของ สนช. เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2559 โดยคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ และเมื่อย้อนไปดูก็พบว่า คณะรัฐมนตรีมีมติไว้เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 และในวันเดียวกัน สำนักนายกรัฐมนตรีก็ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ถึง ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พร้อมแนบร่างพ.ร.บ. ดังกล่าวมาด้วย
.
เนื่องจากรัฐธรรมนูญฯ ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 พ.ศ. 2559 มาตรา 39/1 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของ กกต. ในการดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญตินี้
.
นายเรืองไกร กล่าวว่า หลังจากได้พิจารณาเอกสารที่เกี่ยวข้องและไล่เรียงวันเวลาแล้ว พบข้อสังเกตว่า ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ฉบับดังกล่าว น่าจะปฏิบัติไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ท้ายที่สุดกระบวนการเช่นนี้ อาจต้องเป็นโมฆะ เพราะการออกกฏหมายประชามติ อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญฯ ฉบับชั่วคราว แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 มาตรา 39 /1 วรรคห้า มาร่าง พรบ.ออกเสียงประชามติ ทั้งที่รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 39/1 วรรคห้า ยังไม่ผลใช้บังคับ ดังนั้น ร่างพ.ร.บ. ประชามติ ฉบับดังกล่าวกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่ขั้นของ กกต. จึงข้ามขั้นตอน โดยไม่ได้ตรวจสอบให้รอบคอบ ก่อนจะมีมติรับหลักการและคณะกรรมาธิการก็พิจารณาจนแล้วเสร็จ จนปรากฏเป็นวาระประชุมสนช. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 เมษายน

นายเรืองไกร ระบุด้วยว่า เคยพบขั้นตอนการตรากฎหมาย ที่มีความผิดพลาดมาตลอด และนี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่กระบวนการตรากฎหมาย น่าจะไม่ถูกต้องตามขั้นตอน และก็สงสัยว่า เหตุใดจึงไม่มีใครพบเห็น ทั้งที่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวมีผู้รู้ขั้นตอนทางกฏหมายเป็นอย่างดี
อดีต ส.ว.ผู้นี้ระบุด้วยว่า หากปล่อยกระบวนการออกกฏหมายเช่นนี้ผ่านไป อาจจะเกิดความเสียหายตามมา จึงต้องเดินทางยื่นหนังสือร้องให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรีบดำเนินการตรวจสอบ

ไม่มีความคิดเห็น: