PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

นายทุนเสนอปลดล๊อคให้สร้างอาคารสูงในพื้นที่ห้ามสร้างอาคารสูงได้

นายทุนเสนอปลดล๊อคให้สร้างอาคารสูงในพื้นที่ห้ามสร้างอาคารสูงได้
ขณะที่ ผศ.อัศวิน พิชญโยธิน ค้านการปลดล็อก เนื่องจาก บริเวณพื้นที่โรงงานยาสูบ กว่า 500 ไร่ได้ถวายให้สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และได้ออกแบบบึง และสวนเบญจกิติ 400 กว่าไร่ เมื่อปี 40 แล้วเสร็จ ปี 47ระหว่างนั้น ได้ออกข้อบัญญัติฯ ควบคุมความสูง ทั้งพื้นที่สวนและที่ดิน โดยรอบเพื่อไม่ให้สร้างอาคารสูง บดบังทัศนียภาพ ของสวนเบญจกิติ
Anna Jill ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 3 รูป
คุณชายหมูโดนดองเค็ม 5 เดือน ยังไม่รู้ว่า จะออกหัวออกก้อย รอศาลตัดสิน ......เจ้าสัวเจริญได้ของขวัญชิ้นโต ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กทม แอบปลดล็อก ข้อกำหนดความสูง บริเวณสวนเบญจกิติ และบริเวณโดยรอบ ในท้องที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย และแขวงลุมพินี เขตปทุมวัน เรียบร้อยแล้ว เตรียมนำร่างข้อบัญญัติใหม่ สู่การพิจารณา ของสภากทม. ก่อนประกาศใช้ ทันอกทันใจเจ้าสัว
" กำหนดเป็นพื้นที่สีแดง พัฒนาได้เต็มที่ " สาระสำคัญ ได้ยกเลิกควบคุมความสูงหรือ จำกัดความสูงการก่อสร้างอ าคารพื้นที่รัศมี รอบสวนเบญจกิติจ ากไม่เกิน 23 เมตร หรือไม่เกิน 8 ชั้น และให้ยึดหลักเกณฑ์ การพัฒนาตามข้อกำหนดของก ฎกระทรวงผังเมืองรวมกทม. ในปัจจุบัน ส่งผลให้ ผู้ประกอบการ สามารถพัฒนาอาคารสูงอาคาร ขนาดใหญ่อาคารขนาดใหญ่ พิเศษเกิน 23 เมตรหรือเกิน 8 ชั้น ในเชิงพาณิชย์ได้หลายเท่าตัว ประกอบกิจการ สามารถสร้างอาคาร เพื่อพาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย ศูนย์การค้า ศูนย์การประชุม อาคารสำนักงาน โรงแรมคอมเพล็กซ์ ขนาดใหญ่ได้มาก
ร่างข้อบัญญัติกทม ใหม่ มีทั้งหมด 6 บริเวณหรือ 6 บล็อกโซน โดยบริเวณที่ 1 หรือบล็อกที่ 1 ร่างข้อบัญญัติใหม่ ยังยืนข้อบังคับเดิม คืออนุญาตให้ก่อสร้าง อาคารสูงไม่เกิน 23 เมตรหรือ ไม่เกิน 8 ชั้น ยกเว้นพื้นที่บริเวณที่ 1 ซึ่งเป็นที่ตั้ง ของศูนย์การประชุม แห่งชาติสิริกิติ์ กรมธนารักษ์ปูด "เสี่ยเจริญ" วิ่งเต้นขอผุดศูนย์ฯ สิริกิติ์เฟส 2 สูง 100 เมตร
ตั้งแต่ บล็อกที่ 2-6 สามารถสร้าง ได้สูงเกิน 23 เมตร หรือ 8 ชั้น หรือสร้างได้ ตามผังเมืองรวมกทม. จากเดิมสร้างอาคารสูงไม่เกิน 45 เมตร หรือ 15 ชั้น และห้ามสร้างห้องแถว ตึกแถว เพิง แผงลอย คลังสินค้า ป้าย บริเวณที่ 2 คือฝั่งตรงข้ามถนนรัชดาภิเษก สร้างได้สูงไม่เกิน 45 เมตร และอาคารประเภทต่างๆ เหมือนบริเวณที่ 1 และห้ามสร้างห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ส่วนบริเวณที่เหลือ คือบริเวณที่ 3-6 สร้างได้สูงไม่เกิน 45 เมตร
ขณะที่ ผศ.อัศวิน พิชญโยธิน ค้านการปลดล็อก เนื่องจาก บริเวณพื้นที่โรงงานยาสูบ กว่า 500 ไร่ได้ถวายให้สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และได้ออกแบบบึง และสวนเบญจกิติ 400 กว่าไร่ เมื่อปี 40 แล้วเสร็จ ปี 47ระหว่างนั้น ได้ออกข้อบัญญัติฯ ควบคุมความสูง ทั้งพื้นที่สวนและที่ดิน โดยรอบเพื่อไม่ให้สร้างอาคารสูง บดบังทัศนียภาพ ของสวนเบญจกิติ

รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย?

สฤณี อาชวานันทกุล
สามเดือนหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ท่ามกลางเสียงสนับสนุนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ดูจะยังมีไม่น้อย (แต่มากน้อยเท่าไรไม่อาจรู้ได้แน่ชัด ในภาวะที่สื่อยังไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ภายใต้คำสั่งเซ็นเซอร์สื่อต่างๆ นานา ของ คสช. กฎอัยการศึกยังมีผลบังคับใช้ และผลโพลหลายสำนักน่าสงสัยในวิธีสุ่มตัวอย่าง มากกว่าจะน่าสนใจในผลโพลที่ออก) นักวิชาการและผู้มีอิทธิพลทางความคิดจำนวนไม่น้อยที่สนับสนุนรัฐประหารในครั้งนี้ก็พยายามชี้ว่า คนไทยควร “อดทน” และ “ให้เวลา” กับคสช. เพราะรัฐประหารครั้งนี้อาจนำไปสู่ “ประชาธิปไตยสมบูรณ์” ตามที่หัวหน้า คสช. ควบนายกฯ คนใหม่ได้เคยลั่นวาจาไว้หลายครั้งหลายครา
บทความวิชาการซึ่งมักจะถูกหยิบยกขึ้นมาอ้างเป็น “หลักฐาน” ว่ารัฐประหารครั้งล่าสุดนี้ “เป็นประชาธิปไตย” คือ “The Democratic Coup d’Etat” เขียนโดย โอซาน โอ. วารอล (Ozan O. Varol) ศาสตราจารย์กฎหมายจากมหาวิทยาลัย ลูวิส แอนด์ คลาร์ก สหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Harvard International Law Review (ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์วารสาร) ในปี 2012
Ozan Varol ผู้เขียนบทความวิชาการ The Democratic Coup d'Etat
Ozan Varol ผู้เขียนบทความวิชาการ The Democratic Coup d’Etat
ในบทความชิ้นนี้ วารอลเสนอว่า รัฐประหารอาจไม่ทำลายประชาธิปไตยโดยอัตโนมัติแบบที่นักวิชาการหลายคนเชื่อก็ได้ จะต้องดูเงื่อนไขแวดล้อมตอนเกิดรัฐประหารและผลพวงที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น ก่อนที่จะสรุปได้ว่า รัฐประหาร “ทำลาย” ประชาธิปไตย หรือ “สร้างเสริม” ประชาธิปไตยให้แข็งแกร่งกว่าเดิมกันแน่
วารอลแบ่งรัฐประหารออกเป็นสองแบบ แบบแรกคือ “รุ่นเก่า” นั้นมีลักษณะตรงกันกับรัฐประหารที่นักวิชาการส่วนใหญ่เข้าใจ คือการโค่นอำนาจรัฐเพื่อยึดอำนาจมาเป็นของตัวเอง ไม่สนใจประชาชน แต่ในบรรดาแบบที่สองคือ “รุ่นใหม่” ที่เกิดหลังยุคสงครามเย็น (หลังทศวรรษ 1990) นั้น วารอลพบว่าร้อยละ 74 เป็นรัฐประหารที่เขาเรียกว่า “เป็นประชาธิปไตย” (The Democratic Coup d’Etat) คือไม่ได้ทำให้ประชาธิปไตยถดถอยเหมือนกับรัฐประหารรุ่นเก่า สามารถปูทางไปสู่รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างราบรื่นภายในเวลา 5 ปี
เนื้อหาส่วนสำคัญในงานของวารอลชิ้นนี้ประมวลมาจากการสังเกตการณ์รัฐประหารและผลพวงของมันในประเทศอียิปต์ ปี 2011 เมื่อเกิดปรากฏการณ์ “อาหรับ สปริง” ที่ประชาชนลุกฮือขึ้นโค่นล้มผู้นำเผด็จการ นอกจากนี้วารอลยังอ้างถึงรัฐประหารในตุรกี ปี 1960 และรัฐประหารในโปรตุเกส ปี 1974 ว่าทั้งสามกรณีนี้ล้วนแต่เข้าข่าย “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” ในมุมมองของเขา
ลักษณะของ “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” มีอะไรบ้าง? วารอลสรุปว่ามีอยู่ 7 ประการด้วยกัน เรียงตามลำดับความสำคัญได้ดังต่อไปนี้
ข้อแรก รัฐประหารที่เกิดขึ้นจะต้องมุ่งโค่นล้มระบอบเผด็จการ (totalitarian) หรือระบอบที่ผู้ปกครองใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จ (authoritarian) ซึ่งไม่เปิดโอกาสให้มีความหลากหลายทางการเมือง
ข้อนี้วารอลขยายความว่า “รัฐประหารใดๆ ก็ตามที่โค่นล้มรัฐบาลที่ไม่ใช่เผด็จการหรือไม่ได้ใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จ ไม่ใช่ “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” ภายใต้กรอบคิดนี้ รัฐประหารหลายครั้งที่ผ่านมาถูกอ้างว่าทำเพื่อโค่นนักการเมืองที่ผู้นำคณะรัฐประหารมองว่าคอร์รัปชั่น ไร้ประสิทธิภาพ หรือสายตาสั้น รัฐประหารประเภทนี้อยู่นอกเหนือขอบข่ายของ “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” เพราะประชาชนสามารถปลดนักการเมืองแบบนี้เองได้ด้วยการไม่โหวตเลือกพวกเขาในการเลือกตั้ง โดยไม่จำเป็นจะต้องให้กองทัพเข้าแทรกแซง รัฐประหารจะเป็นประชาธิปไตยได้ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่การเลือกตั้งไม่ใช่วิธีปลดนักการเมืองที่มีความหมาย เพราะผู้นำทางการเมืองคนนั้นไม่ยอมสละอำนาจ [ถึงแม้จะแพ้เลือกตั้ง]”
ข้อสอง “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” มุ่งตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนที่ออกมาต่อต้านผู้นำเผด็จการหรือผู้นำที่ใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จอย่างยาวนาน ปกติการต่อต้านนี้จะอยู่ในรูปของการลุกฮือขึ้นประท้วง พลเมืองอยากได้ประชาธิปไตย แต่ถูกกีดกันไม่ให้มีสิทธิเลือกตั้ง
ข้อสาม แม้จะเผชิญกับเสียงต่อต้านจากประชาชนจำนวนมหาศาล ผู้นำเผด็จการยังไม่ยอมลงจากตำแหน่ง
ข้อสี่ “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” มักจะเกิดในประเทศที่บังคับให้พลเมืองต้องเกณฑ์ทหาร ส่งผลให้กองทัพเต็มไปด้วยสมาชิกของสังคม ไม่ใช่ทหารรับจ้าง กองทัพในแง่นี้อาจได้ชื่อว่าเป็นสถาบันแห่งเดียวที่ไม่คอร์รัปชั่นและไม่ถูกกระทบจากกลไกของรัฐซึ่งมีคอร์รัปชั่นซึมลึก
ข้อห้า กองทัพขานรับเสียงเรียกร้องของประชาชน ทำรัฐประหารเพื่อโค่นระบอบเผด็จการ
ข้อหก กองทัพจัดการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมภายในระยะเวลาไม่นาน ประกาศวันเลือกตั้งล่วงหน้าอย่างชัดเจนเพื่อสร้าง “ตลาดการเมือง” ขึ้นมาใหม่ อีกทั้งยังเป็นการส่งสัญญาณของรัฐบาลเฉพาะกาลว่า ตนมีบทบาทจำกัดและจะอยู่ในอำนาจเพียงชั่วคราวเท่านั้น
ข้อเจ็ด ภายหลังการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม กองทัพถ่ายโอนอำนาจให้กับผู้นำที่ชนะการเลือกตั้งโดยทันที ไม่ว่าผู้นำที่ประชาชนเลือกจะเป็นใคร ไม่ว่านโยบายจะสอดคล้องกับนโยบายของกองทัพหรือไม่ โดยกองทัพจะไม่พยายามแก้ไขหรือหลีกเลี่ยงผลการเลือกตั้ง
ผู้เขียนเห็นว่าจากลักษณะเจ็ดข้อของ “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” ที่สรุปมาข้างต้นนั้น ชัดเจนว่ารัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 โดย คสช. ไม่เข้าข่ายในกรอบคิดของวารอลเลย – ดูข้อแรกกับข้อสองก็ไม่เข้าแล้ว ข้อสี่ยิ่งไม่เข้าใหญ่ แต่น่าเสียดายที่นักวิชาการบางท่านพยายามบิดเบือนเนื้อหาในบทความชิ้นนี้ อ้างคำพูดครึ่งเดียวเพื่อตีความเข้าข้างตัวเอง
ในปี 2013 หลังจากที่กองทัพอียิปต์ออกมาทำรัฐประหารโค่นรัฐบาลของประธานาธิบดี โมฮาเหม็ด มอร์ซี วารอลก็ได้รับคำถามมากมายว่า รัฐประหารครั้งนี้เข้าข่าย “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” ในกรอบคิดของเขาหรือไม่ วารอลเขียนบทความตอบ ลงวารสาร Georgetown Journal of International Affairs โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
“รัฐประหาร [ปี 2013 ในอียิปต์] เข้าข่าย “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” หรือไม่? คำตอบคือไม่ใช่ …ในรัฐประหารครั้งนี้ กองทัพอียิปต์โค่นประธานาธิบดีที่ชนะการเลือกตั้งเพียงหนึ่งปีก่อนหน้า ในการเลือกตั้งที่หลายคนมองว่าเสรีและเป็นธรรม แน่นอน กองทัพในกรณีนี้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนจำนวนมหาศาลที่ออกมาประท้วงประธานาธิบดีที่ไม่ได้รับความนิยมและไม่ยอมสละอำนาจ มีเรื่องให้เราวิพากษ์มากมายถึงสไตล์การบริหารแบบชอบอ้างเสียงข้างมากของประธานาธิบดีมอร์ซี …แต่กองทัพลงมือก่อนเวลาอันควร
ถ้าไม่นับข่าวลือต่างๆ แล้ว ก็ไม่มีสัญญาณใดๆ ณ ตอนเกิดรัฐประหารว่า มอร์ซีจะไม่ยอมสละอำนาจถ้าหากเขาแพ้การเลือกตั้งครั้งต่อไป และไม่มีสัญญาณที่บ่งชี้ว่าการเลือกตั้งภายใต้รัฐบาลของเขาจะถูกโกงแบบเดียวกับที่มูบารักโกง ถ้าหากกองทัพไม่โค่นมอร์ซีด้วยกำลัง กลุ่มที่ต่อต้านก็อาจสามารถฉวยโอกาสจากภาวะขาดคะแนนนิยมของมอร์ซี โค่นเขาลงจากอำนาจผ่านหีบเลือกตั้ง ความมักง่ายของกองทัพทำให้ขั้นตอนประชาธิปไตยที่ถูกสถาปนาแล้วเกิดการลัดวงจร”
การชุมนุมประท้วงประธานาธิบดี Morsi ในอียิปต์ ก่อนการรัฐประหารในปี 2013 ที่มาภาพ:  http://www.timesofoman.com/News/Article-19015.aspx
การชุมนุมประท้วงประธานาธิบดี Morsi ในอียิปต์ ก่อนการรัฐประหารในปี 2013 ที่มาภาพ: http://www.timesofoman.com/News/Article-19015.aspx

โปรดเกล้าฯ 32 รมต. ครม.ประยุทธ์ 1


(31ส.ค.57)
โปรดเกล้าฯ 32 รมต. ครม.ประยุทธ์ 1
1.พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
2. พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
3. นายวิษณุ เครืองาม เป็นรองนายกรัฐมนตรี
4. ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นรองนายกรัฐมนตรี
5. นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
6 ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
7. นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
8. พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
9. นายดอน ปรมัตถ์วินัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
10. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
11. นายสุธี มากบุญ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
12. นายสมหมาย ภาษี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
13. พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
14. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
15. นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
16. พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
17. นางอภิรดี ตันตราภรณ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
18. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
19. นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
20. นายพรชัย รุจิประภา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสาร
21. นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
22. พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
23. พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
24. พล.ท.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
25. นายกฤษณพงศ์ กีรติกร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
26. ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
27. นพ.สมศักดิ์ ชุนหรัศมิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
28. พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
29. พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
30. นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
31. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
32. นางกอบกาญจน์ สุริยสัตย์ วัฒนวรางกูร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
///


แก้วสรร อติโพธิ:โร๊ดแม๊พ คสช. ฉบับที่ ๒ ?

โร๊ดแม๊พ คสช. ฉบับที่ ๒ ?
แก้วสรร อติโพธิ
วันสองวันมานี้ มีข่าวในหนังสือพิมพ์ทั่วไปว่า นายสุนัย จุลพงศธร แกนนำระบอบชินวัตรที่กำลังหนีคดีอยู่ต่างประเทศ ได้ออกมาชี้บ่งโวยวายว่า คสช.ได้ถูกบุคคลลึกลับระดับสูงบงการให้สืบอำนาจต่อไปอีกหลายปี หาใช่อยู่ไปแค่ปีครึ่งแล้วหายไปแต่อย่างใดไม่
ปัญหาว่าข่าวนี้มีมูลความจริงหรือไม่ คนอย่างเราๆท่านๆก็ไม่มีใครรู้ได้ แต่ถ้าจะถามว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่นั้น ก็มีข้อพิจารณาทางกฎหมายที่น่าสนใจปรากฏอยู่บ้างในธรรมนูญการปกครองฉบับปัจจุบัน ที่ผมจะขอรายงานในทำนองปุจฉา – วิสัชนาไปโดยลำดับดังนี้
ถาม ตามกฎหมายแล้ว ระบอบ คสช.จะอยู่กี่ปีกันแน่
ตอบ เขาไม่ได้กำหนดเป็นเงื่อนเวลาไว้ว่ากี่ปีครับ แต่กำหนดเป็นเงื่อนไขว่าจะพ้นไปก็ต่อเมื่อ“ได้การปกครองใหม่ตามรัฐธรรมนูญใหม่” ดังนั้นเราจึงต้องรอให้ได้รัฐธรรมนูญใหม่ก่อน แล้วจึงดูบทเฉพาะกาลว่าจะใช้เวลาให้เกิดการปกครองใหม่อีกกี่เดือน
ถาม กำหนดอย่างนี้แล้ว เราจะได้รัฐธรรมนูญใหม่เมื่อใด
ตอบ เขาระบุขั้นตอนเป็นลำดับไปดังนี้ครับ
๑) ได้สภาปฏิรูปก่อน ( ภายในกันยา ๕๗?)
๒) ได้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญใน ๑๕ วันหลังจากสภาปฏิรูปประชุมครั้งแรก
๓) สภาปฏิรูปเสนอความเห็นในแนวทางการร่างรัฐธรรมนูญต่อคณะกรรมาธิการยกร่าง ภายใน๖๐ วัน
๔) คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จเป็นต้นร่าง ใน ๑๒๐ วัน โดยนำความเห็นสภาปฏิรูป, ครม.และ สนช. มาประกอบการพิจารณา แล้วส่งให้สภาปฏิรูปให้ความเห็นแก้ไขเพิ่มเติม
๕) สภาปฏิรูปประชุมให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในนามสภาใน ๑๐ วัน ส่วนสมาชิกเป็นรายบุคคลเสนอแก้ไขเป็นรายมาตราได้ใน ๓๐ วัน
๖) คณะกรรมาธิการมีเวลาทบทวนปรับแก้ ๖๐ วัน แล้วส่งร่างฉบับสุดท้ายให้สภาปฏิรูป
๗) สภาปฏิรูปประชุมใน ๑๕ วัน เพื่อมีมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ
เวลาทั้งหมดนี้ผมประเมินแล้ว กว่าจะได้มติ ข้อ ๗) ก็น่าจะประมาณ ๑๑ เดือนนับจากนี้
ถาม ถ้าสภาปฏิรูปไม่เห็นชอบ ผลจะเป็นอย่างไร
ตอบ ก็ต้องกลับไปเริ่มหาสภาปฎิรูปใหม่ แล้วเลือกกรรมาธิการยกร่างใหม่ นับหนึ่งกันใหม่ เสียเวลาอีกเป็นปี กว่าจะได้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่มาโหวตกันอีก
ถาม แล้วถ้าสภาปฏิรูปเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญใหม่ล่ะครับ
ตอบ ถ้าในหลวงท่านทรงลงพระปรมาภิไธยให้ประกาศใช้ได้ เราก็คงต้องใช้เวลาร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและจัดการจัดตั้งระบอบใหม่อีกระยะหนึ่งประมาณ ๖ – ๗ เดือน สรุปแล้วถ้าไม่มีอะไรขัดข้อง ระบอบ คสช.ก็น่าจะหายหน้าพ้นไปภายในปีครึ่งนับจากนี้ครับ
ถาม “ถ้าไม่มีอะไรขัดข้อง” นี่ หมายถึงทุกฝ่ายสามารถเห็นพ้องต้องกันในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญใช่ไหม
ตอบ ใช่ครับ หนทางที่ระบอบ คสช.จะอยู่ยาวได้ ก็คือมีการยกร่างรัฐธรรมนูญ แล้วคว่ำไปเรื่อยๆ รอบหนึ่งก็ใช้เวลาประมาณ ๑ ปี ถ้าจะอยู่ ๔ ปี ก็ต้องคว่ำสักสี่ร่าง
ถาม ประเทศนี้..ก็บ้ากันพอดี
ตอบ แค่รอบเดียวผมก็ว่าคงไม่เอากันต่อไปแล้ว คสช.อาจต้องแก้ไขธรรมนูญการปกครองใหม่ สร้าง”โร๊ดแม๊พ ฉบับที่ ๒” เลยก็ได้ว่า จะเอาอย่างไร
ถาม ถ้าไปถึงตรงนั้นจริงๆ มีทางไหมที่ คสช.จะอยู่ยาวโดยอ้างการปฏิรูประยะยาวไปเลย
ตอบ เป็นไปได้ทุกอย่างทั้งในทางการเมืองและกฎหมาย ทุกวันนี้ก็มีเสียงเรียกร้องให้ คสช.อยู่นานๆแล้วไม่ใช่หรือครับ นี่ยิ่งจะไปตั้ง คสช.เพิ่มเติมอีก คนเขาก็ยิ่งคิดไปได้อีกว่าถ้าจะอยู่ยาวแน่
ถาม ทำไม คสช.จึงวางโร๊ดแม๊พฉบับที่ ๑ ไว้ไม่แน่นอนอย่างนี้
ตอบ ถ้าไปถามอาจารย์วิษณุ เครืองาม ท่านก็อาจตอบว่าต้องเขียนกฎหมายเปิดทางไว้เพราะอาจขัดแย้งกันในร่างรัฐธรรมนูญใหม่จนต้องเริ่มใหม่ก็ได้ ถ้าไปถามนายสุนัย เขาก็ต้องตอบว่า ทุกองค์กร ทั้ง สนช.,สภาปฎิรูป,คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ล้วนมาจากอำนาจ คสช.ทั้งนั้น คสช.จะสั่งให้เห็นอย่างไรก็ได้ แล้วมาเขียนสร้างช่องทางทำเป็นลิเกไว้ทำไม แท้ที่จริงมันเป็นเรื่องเตรียมการยืดเวลาครองอำนาจสร้าง “โร๊ดแม๊พ ฉบับที่ ๒” ซ่อนไว้ตั้งแต่แรกแล้ว
ถาม อาจารย์เชื่อใคร ?
ตอบ ขณะนี้ผมไม่เชื่อใครทั้งนั้น...ได้แต่มองเห็นว่าในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่วางไว้นี้ โอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งมีสูงมาก ขึ้นต้นมาเมื่อได้สภาปฏิรูป สภาก็ต้องเร่งลุยเลยเพราะต้องเสนอความเห็นใน ๒ เดือน ส่งไปแล้ว คณะกรรมาธิการยกร่างก็ต้องร่างให้เสร็จใน ๔ เดือน แล้วให้สภาปฏิรูปเสนอแปรญัตติแก้ไขได้อีก ๑ เดือน และกรรมาธิการต้องทบทวนให้เสร็จใน ๒ เดือน ในเวลาเร่งรัดอย่างนี้ มันสร้างจุดร่วมได้ยาก ทั้งในองค์กรและระหว่างองค์กรเอง
ถาม เรื่องมันยุ่งยากเห็นต่างกันได้มากนักหรือครับ
ตอบ เยอะนะครับ..จะให้เลือก นายกฯโดยตรงไหม, สส.ต้องสังกัดพรรคไหม, ยังจะให้มี สส.บัญชีรายชื่อ หรือมี สว.อยู่อีกไหม, สว.มาจากไหน, องค์กรสืบสานการปฏิรูป ๑๐องค์กรจะมีบทบาทอย่างไร มาจากไหน เสนอตั้งกองทุน ๑๐ กอง ตัดเงินภาษีหรือเงินกองสลาก มาอุดหนุนปีละเป็นพันล้านเลย จะเอาไหม และในบรรดาสมาชิกสภาปฏิรูป นี้ใครจะได้มานั่งองค์กรนี้บ้าง ฯ
ทั้งหมดนี้เรื่องยุ่งๆมันมารวมกันยุ่งทั้งนั้น..นี่ถ้ารวมแรงผลักดันยัดเยียดกรอบปฏิรูป ๑๑ เรื่องลงไปในรัฐธรรมนูญด้วยแล้ว ยิ่งยุ่งหลายเด้งเลยแน่ๆ
ถาม ตรงไหนของธรรมนูญ ที่เปิดช่องให้สมาชิกสภาปฏิรูปสืบบทบาทปฏิรูปต่อไปได้แม้จะมีรัฐธรรมนูญใหม่แล้ว
ตอบ คุณไปดู มาตรา ๓๕( ๑๐) และ มาตรา ๓๙ สิครับ เขาเปิดช่องให้สร้างกลไกปฏิรูปเป็นการถาวร โดยบังคับไว้ในรัฐธรรมนูญเลย
ถาม อย่างนี้..รัฐบาลในระบอบใหม่ตามรัฐธรรมนูญใหม่คงต้องปวดหัวกับโร๊ดแม๊พปฏิรูป และองค์กรปฏิรูปเหล่านี้มาก
ตอบ มันไม่มีประเทศไหน ที่ตั้งสภาปฏิรูป ๒๕๐ คนขึ้นมาปฏิรูปบ้านเมืองทีเดียว ๑๑ เรื่องแล้วจบด้วยการยัดเยียดลงไปในกฎหมาย ภายในเวลา ๑ ปีอย่างนี้หรอกครับ
ถาม ทางสภาปฏิรูปเขาคงต้องพยายามทำความเข้าใจกับประชาชนในวงกว้างให้มากที่สุด
ตอบ มันไม่ใช่เรื่องประชุมกันตรัสรู้แล้วไปโปรดสัตว์ทำความเข้าใจให้ประชาชน..มันต้องมีการศึกษาหาปัญหาและสาเหตุอย่างลึกซึ้งแล้วจึงไปรับฟังปรึกษาผู้เกี่ยวข้องจริงๆก่อน ฟังแล้วก็นำมาขบคิดเสนอแนวทางปฏิรูปเบื้องต้นฟังคอมเมนต์กันอีกทีทั้งประชาชนทั่วไปและผู้เกี่ยวข้อง พอปรับแก้จนแล้วเสร็จเป็นยุทธศาสตร์พร้อมแผนปฏิบัติการ ก็นำไปขยายผลความเห็นพ้องไปให้ทั่ว ทำให้มันเป็นเช่นประชามติจริงๆ ทำให้ได้อย่างนี้ ให้มีน้ำหนักมีผลผูกพันทางการเมือง ให้นักการเมืองต้องเอามาคิดมาตอบกับประชาชนเองว่ายอมรับแนวทางปฏิรูปนี้หรือไม่
โดยสรุปคือในปีครึ่งนี้...คุณต้องสร้างมติมหาชนติดสังคมไว้ให้ได้ ไม่ใช่มาวี๊ดบึ้มสร้างเป็นกฎหมายผูกมัดการปฏิรูปใดหรือสร้างองค์กรตรัสรู้ใดๆไว้ในระบบ
ถาม ถ้าให้ทำเป็นมติมหาชนอย่างนี้ก็ทำทีเดียวทั้ง ๑๑ เรื่องไม่ได้
ตอบ ไม่มีทางครับ มันต้องเป็นปัญหาที่สุกงอมอยู่ในหัวใจประชาชน จนพร่ำรอการคิดใหม่ทำใหม่อยู่ทุกเมื่อเชื่อวันกันจริงๆ เราจะไปเลือกทำเรื่องนั้นเรื่องนี้ตามใจเราไม่ได้ แต่ถ้าทำเป็นกฎหมายและองค์กรปฏิรูปอย่างในธรรมนูญนี้ จะทำทีเดียว ๓๐ เรื่องก็ได้
ถาม อาจารย์ขึ้นเวที กปปส.มาเป็น ๑๐ ครั้ง ทราบไหมครับว่า กปปส.จะให้ปฏิรูปกี่เรื่อง
ตอบ ผมไม่ทราบว่าแกนนำเขาคิดกันอย่างไร แต่ในหมู่ประชาชนนั้นเขาต้องการปฏิรูปเพื่อเลือกตั้งใหม่แล้วไม่มีระบอบชินวัตรกลับมาเผด็จการบ้านเมืองได้อีก ด้วยเหตุนี้พลังชาว กปปส.เขาคงเหล่และติดตามเรื่องการปฏิรูปการเมืองและปราบคอร์รัปชั่นกันเป็นพิเศษ
ถาม สรุปแล้วถ้าปฏิรูปกันวุ่นวายไปหมดอย่างนี้ ในที่สุดเราอาจต้องเลือกตั้งโดยยังไม่มีการปฏิรูปอะไรจริงจังเลยก็ได้ใช่ไหม
ตอบ อาจ “ปฏิรูปแล้วเลือกตั้ง” หรือ “ไม่ปฏิรูปแล้วเลือกตั้ง” หรือ จัดระเบียบอะไรไปเรื่อยๆให้เพลินกันไปจนในที่สุดก็ “ไม่ปฏิรูป - ไม่เลือกตั้ง”เลยก็ยังได้
อย่างหลังนี้คุณว่ามันเป็นไปได้ไหม?

ลุ้นหลังเที่ยงคืน ช่อง 3 จอดำ-ไม่ดำ?


ลุ้นหลังเที่ยงคืน ช่อง 3 จอดำ-ไม่ดำ?
Source - ASTV ผู้จัดการออนไลน์ (Th)
Monday, September 01, 2014 19:50
กรุงเทพฯ--1 ก.ย.--ASTVผู้จัดการออนไลน์
ชี้บทสรุปแบบเข้าใจง่ายและบทวิเคราะห์โอกาสช่อง 3 จอดำ-ไม่ดำหากพ้นเที่ยงคืนภายหลังมติบอร์ด "กสทช." พร้อมเผยที่มาที่ไปของเรื่องวุ่นๆ
กลายเป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจและสับสนกันไม่น้อยทีเดียวภายหลังจากที่พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้ออกมาแถลงกรณีที่ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (ช่อง 3) ส่งหนังสือมาสอบถามถึงแนวทางการปฏิบัติในการประกอบกิจการโทรทัศน์ว่า ภายหลังวันที่ 1 กันยายน 2557 ว่ายังมีสิทธิในการออกอากาศผ่านทางระบบการใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดิน ระบบผ่านดาวเทียม และเคเบิลได้ตามปกติหรือไม่นั้น
โดยมติของ กสท.ในการประชุมวันที่ 1 ก.ย.สรุปว่า ตามพระราชบัญญัติการประกอบการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ตามข้อ 8 ของประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการทั่วไป ออกไป 100 วัน นับตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป นั้น กสท.ยังยืนยันตามพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วยการไม่ขยายระยะเวลาอีกต่อไป
อย่างไรก็ตามช่อง 3 เองต้องปฏิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 27/2557 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 ด้วยนั่นคือ ผู้ให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบอนาล็อก ตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 23/2557 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ให้สามารถออกอากาศผ่านทางระบบการใช้งานคลื่นความถี่ภาคพื้นดิน ระบบดาวเทียม และเคเบิลได้ ทำให้ ผู้ให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบอนาล็อก รวมถึงช่อง 3 ต้องทำตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 23/2557 และประกาศของ กสทช. รวมถึงมติของ กสท.และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
ดังนั้น ในส่วนของมติ กสท.ที่สิ้นสุดการขยายระยะเวลาในวันนี้ (1 ก.ย.) เวลาเที่ยงคืนนั้น หากผู้ให้บริการโครงข่ายระบบดาวเทียมและเคเบิลทีวี ผู้ให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบอนาล็อก ออกอากาศก็เป็นสิทธิของผู้ให้บริการโครงข่าย แต่หากพบว่า ผู้ให้บริการโครงข่ายยังคงนำผู้ให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบอนาล็อก ออกอากาศแล้ว กสท.จะเอาผิดหรือไม่อย่างไรนั้น กสท.จะนำเรื่องไปพิจารณาในบอร์ด กสท.อีกครั้งหนึ่งในวันพรุ่งนี้ (2 ก.ย.)
ทั้งนี้บทสรุปดังกล่าวของเรื่องนี้ก็คือ...ทางช่อง 3 เองยังคงสามารถออกอากาศ(ในระบบอะนาล็อก) ได้เหมือนเดิม (ซึ่งสามารถยาวไปจนถึงปีพ.ศ. 2563 ตามที่ได้รับสัมปทานมา) โดยเรื่องนี้จะไม่ส่งผลกระทบอะไรกับทางคนดูทีวีที่ยังคงรับสัญญาณทีวีผ่านเสาหนวดกุ้งหรือก้างปลา
ขณะที่ในส่วนของบรรดาผู้ชมทีวีที่รับสัญญาณจากดาวเทียมผ่านกล่องสารพัดยี่ห้อ รวมถึงที่เป็นสมาชิกเคเบิ้ลทีวีทั้งหลายจะดูช่อง 3 ได้หรือไม่ภายหลังเที่ยงคืนนี้กรณีนี้ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของกล่อง-เจ้าของเคบิ้ลเองจะดึงเอาช่อง 3 มาออกอากาศผ่านระบบดังกล่าวหรือไม่ เพราะถึงตอนนี้แม้จะมีสิทธิ์ทำได้ แต่ในอนาคตนั้นไม่แน่ว่าจะมีความผิดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผลการประชุมของบอร์ด กสท. ในวันพรุ่งนี้นั่นเอง
ซึ่งหากมองกันถึงตรงนี้ประกอบกับข่าวที่ออกมาในก่อนหน้านั้นที่ว่าทางผู้ประกอบการทีดาวเทียม-เคเบิ้ลทีวีส่วนใหญ่ต่างยืนยันว่าจะนำช่อง 3 มาออกอากาศต่อไป ดังนั้นโอกาสที่เหตุการณ์ทุกอย่างจะยังคงเป็นไปเหมือนเดิมจึงมีสูงทีเดียว
สำหรับเรื่องวุ่นๆ ทื่เกิดขึ้นนี้เริ่มต้นมาจากที่ทาง กสทช.เองได้มีการนำเอาหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป หรือ Must Carry มาใช้ในการเปลี่ยนถ่ายทีวีของบ้านเราจากอะนาล็อกเป็นระบบทีวีดิจิตอล โดยกรณีนี้จะมีผลทำให้บรรดาฟรีทีวีที่คนไทยคุ้นเคยในส่วนของช่อง 3 ช่อง 7 และช่อง 9 (โมเดิร์นไนน์ทีวี) พ้นจากการออกอากาศในระบบอนาล็อกทันที
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากช่องฟรีทีวีเดิมทั้งช่อง 3 ช่อง 7 และช่อง 9 ต้องการนำเนื้อหาของตนเองในช่องเดิมมาออกอากาศแบบคู่ขนานในระบบดิจิตอลด้วยก็จะต้องขอใบอนุญาตจาก กสท. ใหม่ (ในขณะที่ช่อง 5 ช่อง 11 และ ไทยพีบีเอสนั้นทางกสท. จะให้ออกอากาศคู่ขนาน ทั้งอนาล็อกและดิจิตอล ภายใต้ช่องบริการสาธารณะของช่องทีวีดิจิตอล)
เรื่องทั้งหมดคงจะไม่มีปัญหาอะไรหากช่อง 3 เองยอมที่จะเลือกที่จะออกอากาศคู่ขนาดด้วยการนำเอา "เนื้อหา" ที่ตนเองมีอยู่แล้วไปใส่ในช่องทีวีดิจิตอลทั้ง 3 ช่อง (ช่อง 3 แฟมิลี่, ช่อง 3 SDและ ช่อง3 HD) ที่ประมูลมาในช่องใดช่องหนึ่งเหมือนกับที่ ช่อง 7 และช่อง 9 ทำ
เพียงแต่ว่ากันว่าเป็นเพราะ "เม็ดเงิน" จาก "โฆษณา" ที่จะต้องลดลงหากเข้าไปสู่ความเป็นทีวีดิจิตอลแล้วนั่นเองที่ทำให้ช่อง 3 นั้นไม่เลือกที่จะกระทำ แต่เลือกที่จะพึ่งอำนาจศาลในการชะลอการบังคับใช้ประกาศของกสทช. และได้รับการขยายเวลาออกมา 100 วัน (ตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค.2557 - 1 กันยายน 2557) ก่อนที่เมื่อวันที่ 13 ส.ค.ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางจะได้มีคำสั่ง "ยกคำขอ" ที่ว่าอันนำมาซึ่งเหตุการณ์ที่ว่านี้นั่นเอง
แฉช่องโหว่ทุจริตทีวีดิจิตอล ช่อง 3 สุดแสบแทงกั๊กดึงโฆษณาอื้อ--จบ--

ครม.ประยุทธ์1 ทหารตำรวจ13พลเรือน20ผู้หญิง2


ครม.ประยุทธ์1 ทหารตำรวจ13พลเรือน20ผู้หญิง2

31 ส.ค.57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณามีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีในรัฐฐาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแล้ว "แนวหน้าออนไลน์" นำประวัติโดยสังเขปมาให้ดูกันว่า ใครเป็นใครที่ไหน มาได้อย่างไร

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ผบ.ทบ. และหัวหน้า คสช. ปัจจุบันอายุ 60 ปี เป็นนายทหารในสาย "บูรพาพยัคฆ์" นักเรียนเก่าโรงเรียนวัดนวลนรดิศ อดีตนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 และจปร.รุ่น23 เคยร่วมคณะรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 ครั้งนั้นได้รับตำแหน่งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย พล.อ.ประยุทธ์ยังมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินทางการเมืองหลายครั้งไม่ว่าจะเป็นในปี 2551, 2552 และ 2553

เมื่อถึงรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พล.อ.ประยุทธ์ถูกมองว่าเปลี่ยนไปและเข้ากันได้ดีกับนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จนกระทั่งเกิดวิกฤตการเมืองช่วงปลายปี 2556 สุดท้าย บิ๊กตู่ตัดสินใจเข้ายึดอำนาจการปกครองเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์บ้านเมืองเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 ต่อมาวันที่ 21 ส.ค. สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เเละรมว.กลาโหม

บิ๊กป้อมพี่ใหญ่สาย "บูรพาพยัคฆ์" ประธานที่ปรึกษาหัวหน้า คสช. ปัจจุบันอายุ 69 ปี พี่ชายแท้ ๆ ของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผบ.ตร. เป็นศิษย์เก่าเซ็นต์กาเบรียล จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 6 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 17 รุ่นเดียวกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน และ พล.อ.วินัย ภัทธิยะกุล
พล.อ.ประวิตร ถือได้ว่าเป็นนายทหารที่เติบโตมาจากกองทัพภาคที่ 1 ทางภาคตะวันออกมาโดยตลอด โดยสังกัดกับกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ร.21 รอ.) หรือที่เรียกกันว่า "ทหารเสือราชินี"
ถือได้ว่าเป็นนายทหารรุ่นพี่ที่สนิทสนมกับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผู้บัญชาการทหารบก และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกคนปัจจุบันด้วย
ปลายปี พ.ศ. 2553 สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ได้ตั้งฉายาว่า "ป้อมทะลุเป้า" สืบเนื่องจากผลงานด้านความมั่นคงที่บรรลุเป้าหมาย รวมถึงการขออนุมัติงบประมาณต่างๆ ด้วย ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า บิ๊กป้อมปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งใน ครม.ประยุทธ์ แต่ก็เป็นรับรู้กันดีว่า พล.อ.ประวิตร มีบทบาทสำคัญมากในการขับเคลื่อนภารกิจของคสช.

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ

หนึ่งในที่ปรึกษา คสช. และถูกคาดหมายมาตลอดว่าจะได้รับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจในรัฐบาลนี้ ภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 “หม่อมอุ๋ยได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรมว.
คลังในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ แต่ต่อมาไม่นานได้ยื่นใบลาออก โดยให้เหตุผลว่าเกิดจากความไม่พอใจในการนำคนจากรัฐบาลที่แล้ว (สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) มาทำงาน และการดำเนินงานของรัฐมนตรีบางคนที่เอื้อประโยชน์ให้สื่อบางรายเป็นการเฉพาะช่วงตั้งรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ม.ร.ว. ปรีดิยาธร มีชื่อว่าจะได้ร่วมรัฐบาลแต่สุดท้ายหลุดวง ต่อมาหม่อมอุ๋ยได้ออกมาวิพากษ์นโยบายของรัฐบาลในขณะนั้นเป็นระยะๆ

นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านสังคม

ปัจจุบันอายุ 70 ปี จบเซ็นคาเบรียล ปี 2503 จบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์(มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) ได้รับปริญญาตรีเคมี เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยลอนดอน และปริญญาเอก สาขาอินทรีย์เคมีจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด

เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัย รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และได้รับการยกย่องเป็น "นักวิทยาศาสตร์อาวุโส" จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยใน
พระบรมราชูปถัมภ์ (2554)

5.พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ

ผบ.สส. และ รองหัวหน้าคสช.ควบคู่กัน เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 รุ่นเดียวกับพล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เติบโตในราชการมาจากกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ทหารเสือราชินี) และหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จังหวัดลพบุรี เคยเป็นผู้บังคับบัญชาคนแรกของ หน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจ 90 (ฉก.90)

พล.อ.ธนะศักดิ์ ได้เข้ามาดูแลงานด้านต่างประเทศ และประสานงานกับต่างประเทศโดยเฉพาะทูตทหาร และประเทศในภูมิภาคได้เป็นอย่างดี ทำให้ไม่มีแรงกดดันจากต่างชาติมากนัก

6. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย

เนติบริกรหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายชั้นต้นของเมืองไทย จบกฎหมายจากรั้วแม่เคยเป็นเลขาธิการ ครม. ในปี 2536 -2545 เคยเป็นรักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลพล.อ.สุจินดา คราประยูร ต่อมาเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถัดมาหลังการรัฐประหารปี 2549 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและการยึดอำนาจครั้งล่าสุดได้มาร่วมงานกับ คสช. ในฐานะที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย โดยมีบทบาทในการร่วมร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 และร่างประกาศ และ คำสั่ง คสช. ต่างๆ

7พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม

ผบ.ทอ. และรองหัวหน้า คสช. เตรียมทหารรุ่น13 และโรงเรียนนายเรืออากาศรุ่นที่ 20 อดีตทูตทหารหลายประเทศ มีบทบาทด้านการดำเนินงานเศรษฐกิจของ คสช.โดยเป็นกำลังหลักในการคิดและขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ บิ๊กจินได้รับการยอมรับว่าแม้จะเป็นทหาร แต่ก็มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจเป็นอย่างดี

นอกจากนี้ยังสำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต จากสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในปี พ.ศ. 2556 ด้วย และเป็น "ดร.ประจิน" ด้วย

8.พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ผบ.ตร. และรองหัวหน้า คสช. แต่ไม่นานนักก็มีคำสั่ง คสช.ให้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีเสียงร่ำลือว่าเพื่อลดแรงกดดันที่อาจจะต้องประสบในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อดีตนักเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 29, นอกจากนี้ยังจบการศึกษาปริญญาโทด้านพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

9. พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม

ผู้ช่วย ผบ.ทบ. และหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คสช. บิ๊กต๊อกเป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่น 15 รุ่นเดียวกับ พล.ต.อ. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ว่าที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ,พล.ท.ปรีชา จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 3 ล่าสุดมีความเป็นไปได้ว่า พล.อ.ไพบูลย์จะได้รับการแต่งตั้งไปเป็นรองปลัดกระทรวงกลาโหมนายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน

ปัจจุบันอายุ 69 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ออสเตรเลีย ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย
จอนส์ฮอปกินส์ โดยทำงานเป็นนักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจด้านการเงิน เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สมัยรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ

10นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง

ปัจจุบันอายุ 70 ปี สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีเศรษฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) ในปี พ.ศ. 2510 และปริญญาโทสาขาเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2513 จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นได้เข้าศึกษาปริญญาโทด้านการวางแผนและพัฒนา ที่มหาวิทยาลัยวานเดอร์บิวล์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสมหมาย ฮุนตระกูล) เมื่อปี พ.ศ. 2524 เป็นรองปลัดกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2541 ทั้งนี้ภายหลังเกษียณ ยังได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริหารธนาคารทหารไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2546 – 2549 เคยดำรงตำแหน่ง รมช.คลัง ในรัฐบาลของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ แต่ต้องพ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายเมื่อ เนื่องจากศาลอาญา พิพากษาจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา จากกรณีการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการสั่งพักงาน นายทัศพงษ์ วิชชุประภา ผู้บริหารบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2547

12. นายพรชัย รุจิประภา รมว.เทคโนโลยี และสารสนเทศ

อดีตปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอดีตปลัดกระทรวงพลังงาน สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปี พ.ศ.2551 เคยเป็นประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ถือว่าเป็นเทคโนแครตชั้นนำของเมืองไทยคนหนึ่งและน่าจะมาช่วงคลี่คลายปัญหาพลังงานของสังคมไทยที่กำลังร้อนแรงให้ลดดีกรีลงไปได้บ้าง

13.พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย

อดีต ผบ.ทบ. และหนึ่งในทหารสาย "บูรพาพยัคฆ์" เป็นผู้มีบทบาทในการรัฐประหารปี 2549 โดยตอนนั้น บิ๊กป๊อกเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 และมีรองแม่ทัพภาค 1 ที่ชื่อ "พล.ต.ประยุทธ์ จันทร์โอชา"
จบโรงเรียนอำนวยศิลป์ จากนั้นย้ายไปเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 10 รุ่นเดียวกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ภายหลังการยึดอำนาจปี 49 ได้เป็น ผู้ช่วย ผบ.ทบ. และดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการ คปค.
และยังเป็นหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ คมช. ต่อมาได้เป็น ผบ.ทบ.

14พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์

ผู้ช่วย ผบ.ทบ. และรองหัวหน้าคสช.ฝ่ายเศรษฐกิจ นักเรียนเตรียมทหารรุ่น 12 รุ่นเดียวกับ บิ๊กตู่เคยเป็นเจ้ากรมการเงินทหารบก ,อดีตรองปลัดบัญชีทหารบก ,อดีตผู้ช่วย เสธ.ทบ. ฝ่ายส่งกำลังบำรุง
,อดีตรอง เสธ.ทบ. ก่อนขยับขึ้นพลเอก ในตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ นอกจากนี้ยังเคยเป็น ผู้อำนวยการสถานี ททบ.5

15นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์

ปัจจุบันอายุ 67 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาตร์จาก North East Missouri State University ปริญญาโท MPA. California State University เคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักงาน
การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ,เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และยังเคยเป็นปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯอีกด้วย การรับหน้าที่พญานาค1ในครั้งนี้ถือว่าไม่ผิดความคาดหมาย

16.ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข

อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย จบการศึกษาจาก Fellow of the American College of Endocrinology, Fellow in Endocrinology, University of
Massachusetts Medical School, U.S.A., อนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม์ จากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ, วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล และ
แพทยสภา, อนุมัติบัตรสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว จากแพทยสภา, ประกาศนียบัตรชั้นสูงสาขาอายุรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล, แพทยศาสตร์บัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล และวิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ในช่วงวิกฤตการเมืองปี 2556 -2557 น.พ.รัชตะ ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย มีแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลยุติการทำหน้าที่รัฐบาลรักษาการ หลังจากที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ยุบสภาไปเมื่อเดือน ธ.ค.2556

17พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

อดีตรอง ผบ.ทบ. และอดีต เสธ.ทบ. เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 รุ่นเดียวกับ บิ๊กตู่มีบทบาทในช่วงการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ปี 2553 ซึ่งขณะนั้น โดยมีตำแหน่งเป็นเลขาธิการ กอ.รมน. และถูกมองว่าเป็นหนึ่งในผู้ร่วมทำแผนปฏิบัติการกระชับพื้นที่ เป็นกรรมการมูลนิธิป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ซึ่งมีชื่อของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณเป็นประธานกรรมการ ซึ่งในมูลนิธินี้นายทหารสายบูรพาพยัคฆ์หลายชีวิตได้มาร่วมเป็นกรรมการด้วย

18.นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา

นักเรียนเก่าโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย และเตรียมอุดมศึกษา หลายดีกรีในหลากหลักสูตร ปัจจุบันอายุ54ปี ประธานกรรมการบริหารบริษัทโตชิบ้า ไทยแลนด์ จำกัด

19พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.แรงงาน

อายุ 59 ปี เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 รุ่นเดียวกับ บิ๊กตู่เติบโตในรั้วสีเขียวสายกิจการพลเรือนในตำแหน่งสำคัญ เช่น เจ้ากรมกิจการพลเรือน ผู้ช่วยเสธ.ทบ.ฝ่ายกิจการพลเรือน รองเสนาธิการ
ทบ.และรองปลัดกระทรวงกลาโหม รับเก้าอี้ใหญ่ เป็น ปฏิบัติหน้าที่ปลัดกระทรวงกลาโหมหลังจาก คสช.ยึดอำนาจ

20พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ

ผบ.ทร. และรองหัวหน้าคสช.ฝ่ายสังคมจิตวิทยา ปัจจุบันอายุ60ปี จบการศึกษาโรงเรียนอำนวยศิลป์ ต่อมาเข้าเตรียมทหารรุ่น13 และนักเรียนนายเรือรุ่น 20 เติบโตในแวดวงดอกประดู่ลูกราชนาวีมาตลอด

21นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม

อดีตปลัดกระทรวงวัฒนธรรม อายุ63ปี จบการศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯและคว้าปริญญาโทคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ รับราชการในกระทรวงนี้และผ่านงานอธิบดีกรมศิลปากรมา
แล้ว รวมทั้งยังรับรางวัลด้านต่างๆมากมาย

22นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ และยังเป็นประธานบอร์ดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคตามคำสั่งคสช. ชายผู้นี้ถือว่าเป็นยุคลลชั้นนำของเมือง
ไทยในแวดวงไอทีและการศึกษา การที่พล.อ.ประยุทธ์เลือกเข้ามาช่วยงานในตำแหน่งรมช.ไอซีทีนั้น ถือว่าการได้เทคโนแครตคนหนึ่งของเมืองไทยมาทำงานในภาวะไม่ปกติเช่นนี้ ต้องยกย่องบิ๊กตู่ที่คัดคนมาถูกที่และถูกเวลา แต่ผลสัมฤทธิ์หลังการทำงานนั้นต้องติดตาม

23นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.อุตสาหกรรม

สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ด้านเศรษฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท ด้านเศรษฐศาสตร์ จาก California State University ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์
การทำงานทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชนอย่างมากมาย เคยเป็นปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เคยเป็นประธานกรรมการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เลขาธิการสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการที่ปรึกษาฯ สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินายจักรมณฑ์ยังได้ขึ้นเวที กปปส. ในวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมาด้วย

24นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกฯ

ผอ.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ เข้ามาเป็นรัฐมนตรีแบบไม่มีใครคาดคิด รับราชการในหน่วยงานนี้มานานและมีกระแสข่าวว่ามีความคุ้นเคยกับหัวหน้าคสช.มากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจึงได้รับหน้าที่เสนาบดีในคราวนี้

25ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.ประจำสำนักนายกฯ

หม่อมเหลนจบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารคิงส์ ประเทศออสเตรเลีย โดยสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ และปริญญาโททางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จาก Brigham Young
University สหรัฐอเมริกา และได้เข้าศึกษาหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ไทย-ญี่ปุ่น เปรียบเทียบ ณ Sophia University ประเทศญี่ปุ่น ผ่านการศึกษาหลักสูตร"นักปกครองชั้นสูง " จากวิทยาลัยมหาดไทย และหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 2550 เติบโตตามสายราชการ เป็นพ่อเมืองนครปฐม และเชียงใหม่ จนกระทั่งในเดือนต.ค.55 เป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และในปี 2557 คสช.ได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ปฏิบัติหน้าที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี อีกหน้าที่หนึ่ง รวมทั้งเป็นหนึ่งในทีมตรวจสอบสต๊อก
โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลชุดที่แล้วด้วย

26พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม

รอง ผบ.ทบ. และเลขาธิการ เป็นนักเรียนเก่าโรงเรียนเซนต์คาเบรียล นักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 14 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 25 และได้รับการคาดหมายว่าจะได้เป็น ผบ.ทบ.ในการแต่งตั้งโยกย้ายประจำปี 2557 ด้วย

27พล.ท.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ

ผู้ช่วย เสธ.ทบ. และรองหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คสช. บิ๊กน้อยอายุ 59 ปี รับราชการในกองทัพ ตั้งแต่ผบ.กองพลทหารราบที่4 รองแม่ทัพภาคที่3 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายกิจการพลเรือน
และรองเสนาธิการทหารบก

28นายสุธี มากบุญ รมช.มหาดไทย

อดีตรองปลัดกระทรวงหมาดไทย จบโรงเรียนอำนวยศิลป์ รุ่นเดียวกันและห้องเดียวกันกับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา และพล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร จบการศึกษาปริญญาตรีรัฐศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับราชการกระทรวงมหาดไทย เป็นพ่อเมืองมาหลายจังหวัด และเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย จนเกษียณ

29นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมช.พาณิชย์

จบการศึกษาปริญญาตรี ทางพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโททางบริหารธุรกิจ ด้านการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยซีราคิว สหรัฐอเมริกา อบรมหลักสูตรนโยบายว่าด้วยภาษีศุลกากร และการค้าที่เจนีวา รับราชการที่กระทรวงพาณิชย์มาโดยตลอด กระทั่งเป็นเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก (WTO) อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ จบชีวิตราชการบนเก้าอี้รองปลัดกระทรวงพาณิชย์

30ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศึกษาธิการ

อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บุตรนายเกรียง กีรติกร อดีต รมว.ศึกษาธิการในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เคยได้รับรางวัลพระราชทาน เนื่องในการสอบได้เป็นที่ 1 ของประเทศไทย ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2507 ถือว่าเป็นนักวิชาการด้านการศึกษาคนหนึ่งของเมืองไทย

31นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมช.ต่างประเทศ

นักเรียนเก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ (๑ปีเมื่อ๒๕๑๐-๒๕๑๑/รุ่น๒๐ก่อนรับทุนกพ.เรียนต่อสหรัฐฯ) UCLA (ป.ตรีและโท) Fletcher School of Law and Diplomacy, Tufts
University (ป.โท) และ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ ๓๖/ปรอ.๖หรือ วปรอ.๓๖๖)รับราชกาที่กระทรวงการต่างประเทศ

ทำงานตั้งแต่รัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์จนถึงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถือว่าเป็นนักการทูตชั้นนำของกระทรวงบัวแก้วที่มีคุณภาพคนหนึ่ง การเข้าร่วมรัฐนาวาประยุทธ์1คราวนี้ต้องดูว่า
ท่านทูตดอนจะอาศัยประสบการณ์ที่ผ่านมาชี้แจงนนานาประเทศให้เข้าใจและร่วมงานกับประเทศไทยได้ดั่งเดิมหรือไม่

32นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข

นายแพทย์นักวิชาการคนนี้อายุ 61 ปี รับราชการในกระทรวงนี้มานาน มีบทบาทในคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศและเลขานุการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาตินายอาคม เติมพิทยาไพศิฐ รมช.คมนาคม
นักเรียนเก่าโรงเรียนอำนวยศิลป์ ปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร Williams College, USA.  เติบโตในสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จนได้เป็นเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทั้งนี้หลังการยึดอำนาจ เขาได้รับแต่งตั้งเป็น สนช. และได้ลาออกในที่สุด