PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

องค์กรสิทธิออกแถลงการณ์ให้ยุติการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลโดยอำเภอใจ

+++ องค์กรสิทธิออกแถลงการณ์ให้ยุติการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลโดยอำเภอใจ +++

สืบเนื่องจากช่วงเช้าวันนี้ (27 เมษายน 2559) มีเจ้าหน้าที่ทหารเข้าทำการจับกุมควบคุมตัวบุคคลทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดขอนแก่นอย่างน้อย 10 ราย โดยมีการบุกค้นตรวจยึดทรัพย์สินไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาและสาเหตุของการควบคุมตัว และไม่แจ้งว่าจะนำตัวไปควบคุมไว้ ณ สถานที่ใด จนปรากฏข้อมูลในเวลาต่อมาว่ามีการควบคุมตัวบุคคลดังกล่าวไว้ยังมณฑลทหารบกที่ 11 และสืบเนื่องจากเหตุการณ์การจับกุมและควบคุมตัวบุคคลดังกล่าว ในช่วงเย็นของวันเดียวกันนั้นได้มีนักกิจกรรมและประชาชนจำนวนหนึ่งทำการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์บริเวณพื้นที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวบุคคลที่ถูกควบคุมตัวไว้เมื่อช่วงเช้า แต่ต่อมากลุ่มบุคคลที่แสดงออกดังกล่าวก็ได้ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมและควบคุมตัวไปอีกกว่า 16 คน

องค์กรสิทธิมนุษยชนตามที่ปรากฏรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้ มีความกังวลอย่างยิ่งต่อการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลโดยอำเภอใจไม่มีเหตุผลอันสมควรและไม่เป็นไปตามหลักการพิจารณาที่เป็นธรรม (Fair trial) โดยเฉพาะการจับกุมโดยไม่มีหมายที่ออกโดยศาล ไม่แจ้งข้อกล่าวหาและเหตุผลในการจับกุม และไม่มีการแจ้งสถานที่ที่ใช้ในการควบคุมตัว ซึ่งการใช้อำนาจโดยพลการในลักษณะเช่นนี้ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังการรัฐประหารแม้บางกรณีเจ้าหน้าที่ทหารจะอ้างอำนาจตามกฎหมาย แต่กฎหมายดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ออกโดยอำนาจของหัวหน้า คสช. ซึ่งเป็นกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐ (Rule of Law) เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ออกมาอย่างไร้เหตุผลหรือตามอำเภอใจ ไม่สอดคล้องกับหลักแห่งความจำเป็นและหลักสัดส่วน (necessity and proportionality) การควบคุมตัวบุคคลโดยอาศัยอำนาจในลักษณะดังกล่าวจึงขัดต่อหลักการสิทธิมนุษยชนที่ถูกรับรองไว้ในมาตรา 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง

สิทธิในชีวิตและร่างกายของบุคคล และสิทธิในกระบวนการยุติธรรมเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้รับการรับรองและคุ้มครองไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.2557 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง พ.ศ. 2509 ตลอดจนอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี พ.ศ. 2527 (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment: CAT) ที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีซึ่งรัฐมีหน้าที่เคารพ คุ้มครองและส่งเสริมให้สิทธิตามพันธกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นจริงและไม่อาจจำกัดหรือละเมิดได้ไม่ว่าในสภาวะไม่ปกติหรือสภาวะฉุกเฉินใด

องค์กรสิทธิมนุษยชนตามที่ปรากฏรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติเคารพต่อรัฐธรรมนูญและพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี โดยปล่อยบุคคลที่ถูกควบคุมตัวทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข และต้องยุติการจับกุมหรือควบคุมตัวบุคคลโดยอำเภอใจและยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยเฉพาะคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 อันเป็นที่มาของการใช้อำนาจที่ขาดการตรวจสอบ และยกเว้นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ ซึ่งก่อให้เกิดความการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องตลอดมา

ประมวลสถานการณ์

ประมวลสถานการณ์และความเห็นศูนย์ทนายต่อกรณีทหารควบคุมตัวบุคคล 8 ราย โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

วันนี้(27 เม..2559) ตลอดช่วงเช้ามีการส่งต่อข้อมูลทางโซเชียลมีเดียร์ว่ามีเจ้าหน้าที่ทหารเข้าควบคุมตัวบุคคลทั้งในกรุงเทพและขอนแก่นรวมอย่างน้อย ราย ตั้งแต่เวลาประมาณ 5.00ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงได้ติดตามและรวบรวมข้อมูลจนสามารถยืนยันตัวบุคคลที่ถูกควบคุมตัวและพฤติการณ์การควบคุมตัวได้เพียง ราย และทราบชื่อจากข่าวอีก 1 ราย ได้แก่

1. นพเก้า คงสุวรรณ สำเนียง ผึ้งผาย ยายของนพเกล้าให้สัมภาษณ์ว่าถูกเจ้าหน้าที่ทหารราว 10 นาย เข้ามาควบคุมตัวเมื่อเวลาประมาณ 7:00 ขณะกำลังนอนหลับอยู่ที่ห้องนอนได้ยินเสียงเหมือนมีคนกำลังงัดแงะประตูบ้าน จึงออกมาดูเห็นว่ากำลังงัดประตูบ้านทั้งด้านหน้าและประตูมุ้งลวดด้านหลัง เมื่อขอดูหมายค้นเจ้าหน้าที่แจ้งว่า การบุกค้นในครั้งนี้ทำตามหน้าที่โดยมีอำนาจรองรับ เป็นการบุกจับโดยที่ไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับแต่อย่างใด จากนั้นทหารก็ค้นบ้านและงัดเข้าไปในห้องของนพเก้าแล้วควบคุมตัวเขาออกมาจากห้องแล้วคุมตัวออกไป ทหารบอกว่าจะนำตัวนพเก้าเข้าไปควบคุมที่ มทบ.11 ทั้งหมดนี้ไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาและหมายค้นแต่อย่างใด ในตอน 14.00สำเนียงได้เดินทางไปที่ มทบ.11 เพื่อขอเข้าเยี่ยมนพเก้า แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ทหารไม่อนุญาตให้เข้าเยี่ยม 

พวกเขาบุกมาราวกับว่า กลุ่มโจรกำลังจะปล้นบ้าน ตกใจมากไม่คิดว่าในชีวิตจะต้องพบเจออะไรแบบนี้ พวกเขาบุกเข้ามาโดยไม่แจ้งเตือน ไม่นัดหมายและบุกปีนรั้วเข้ามาและพยายามงัดประตูบ้านเข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากตัวเอง ถือว่าเป็นการกระทำที่โหดร้ายมาก แต่ก็มีทหารคนหนึ่งพยายามพูดคุยด้วยท่าทีสุภาพและแจ้งกับยายว่า หลายชายจะไปที่ มทบ.11” ยายของนพเก้ากล่าว 

2. ศุภชัย สายบุตร ช่างภาพ ถาวร สายบุตร พ่อของนายศุภชัยเล่าว่า ในตอนเช้าหลังกลับเข้ามาที่บ้านนายศุภชัยถูกเอาตัวไปจากบ้านแล้ว ตนจึงทราบเรื่องจากคนแถวบ้านว่ามีทหารและตำรวจมาที่บ้านตอน 05.30 โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่ามาจับตาม พ...คอมฯ และจะนำตัวศุภชัยไป มทบ.11 จากนั้นในช่วงสายถาวรได้ไปเยี่ยมที่มทบ.11 แล้วแต่เจ้าหน้าที่ทหารไม่ให้เข้าเยี่ยม แต่แจ้งว่ามีการควบคุมตัวไว้ที่นี่

3. วรารัตน์ เหม็งประมูล(สงวนชื่อนามสกุลจริงแม่ของวรารัตน์ให้ข้อมูลว่ามีทหารในเครื่องแบบ นายและนอกเครื่องแบบอีกประมาณ 5-6 คน พร้อมรถยนต์บุคคลโตโยต้า คันและรถกระบะสี่ประตูติดแค็บสีดำติดฟิล์มดำ มาจับกุมขณะที่วรารัตน์และตนยังนอนอยู่ เจ้าหน้าที่เข้ามากดกริ่งรัวๆ จึงรีบมาดูแต่เนื่องจากหากุญแจเจอจึงเปิดไม่ได้ในทันที และมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบนายหนึ่งปีนเข้ามาจากหลังบ้านโดยงัดบานเกร็ดเข้ามา เมื่อวรารัตน์เปิดประตูให้แล้วทหารได้ต่อว่าวรารัตน์ว่าทำไมจึงเปิดช้า และถามว่ามีการทำลายเอกสารหรือเปล่า เจ้าหน้าที่เข้าค้นบ้านทั้งสองชั้น และจับกุมตัววรารัตน์ไป พร้อมยึดโทรศัพท์มือถือ 2เครื่องและคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะไป 4 เครื่อง ตลอดกระบวนการเจ้าหน้าที่ไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา หมายจับและหมายค้นแต่อย่างใด

ภายหลังจากที่วรารัตน์ถูกควบคุมตัวไปได้ราวชั่วโมงครึ่ง แม่ของวรารัตน์ได้รับการติดต่อจาากเพื่อนของวรารัตน์ว่าวรารัตน์ได้ใช้โทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่ทหารโทรศัพท์มาแจ้งว่า ไม่ทราบวาตนเองถูกควบคุมตัวอยู่ที่ไหนเพราะถูกปิดตาหลังถูกนำตัวขึ้นรถไป

4. หฤษฏ์ มหาทน 25 ปี อดีตนักข่าว นักเขียน และนิธิ กุลธนศิลป์ อายุ 26 ปี ซึ่งทั้งสองร่วมหุ้นเปิดร้านราเมงในจังหวัดขอนแก่น ได้ถูกทหารประมาณ 20 นาย พร้อมอาวุธ บุกไปที่บ้านพักในจังหวัดขอนแก่น ในเวลาประมาณ 06.00 พร้อมค้นบ้าน และยึดโทรศัพท์ โน้ตบุ๊ค หนังสือเดินทางของหฤษฏ์ไป โดยไม่แจ้งว่า ควบคุมตัวจากสาเหตุอะไร และจะนำตัวไปที่ใด จนกระทั่งในตอนบ่ายทางศูนย์ทนายความฯ ได้ติดตามกรณีของทั้งสองคนที่ค่ายศรีพัชรินทร์ มทบ.23 .ขอนแก่น พ..พิทักษ์พล ชูศรีให้ข้อมูลว่าตนเองก็ไม่ทราบว่าทั้งสองคนถูกควบคุมตัวมาด้วยเรื่องอะไรเนื่องจากเป็นเจ้าหน้าที่ทหารจาก มทบ.11 และเจ้าหน้าที่ ICT ดำเนินการ และทั้งสองคนถูกนำตัวเข้าไปที่ มทบ.11 ตั้งแต่ช่วงเช้าแล้ว

5. ธนวรรธ บูรณศิริ ซึ่งปรากฏตามที่พ.อ.วินธัย สุวารีให้สัมภาษณ์ว่าเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวจากห้องพักย่านบางนา โดยนายธนวรรธให้การขั้นต้นยอมรับว่าเป็นแอดมินเพจ “เรารัก พล.อ.ประยุทธ์” มีเนื้อหากล่าวโจมตีรัฐบาลและตกแต่งรูปล้อเลียนนายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.1

ในกรณีของหฤษฎ์และนิธิ ปรากฏข่าวจากฝ่ายรัฐเมื่อเวลา 14.10..สมชาย ครรภาฉาย รอง ผบ.มทบ.23 กล่าวว่า กำลัง กกล.รส.จว.ขอนแก่น ได้สนธิกำลังร่วมทหารฝ่ายความมั่นคง จากคสชทำการเชิญตัวบุคคลทั้ง มาพูดคุยและทำความเข้าใจ และได้ทำบันทึกประจำวันและลงในเอกสารหลักฐานจากชุดปฏิบัติการจากส่วนกลางทั้งหมด ซึ่งในการเชิญตัวดังกล่าวนั้น ทั้ง มีข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำผิดต่อ พ...คอมพิวเตอร์ หลังจากคณะทำงานตรวจพบว่ามีการโพสต์ข้อความในเชิงต่อต้านการทำงานของ รัฐบาล2 

ทั้งนี้เวลา 15.30ยังปรากฏข่าวว่าพ..วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงข่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวประชาชน 10 คน ซึ่ง รายในพื้นที่กรุงเทพมหานครในมณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11) และอีก2รายที่ค่ายมณฑลทหารบกที่ 23 ( มทบ.23) .ขอนแก่น ว่าทหารจะควบคุมตัวบุคคลดังกล่าวตาม มาตรา44 แห่งรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราวและยังไม่มีการตั้งข้อหาใดๆ3แต่ไม่ปรากฏว่าโดยละเอียดว่ามีบุคคลที่ถูกควบคุมตัวเข้าค่ายทหารทั้งสองแห่งมีใครบ้าง 

การควบคุมตัวบุคคลทั้ง 8รายนั้นเป็นการควบคุมตัวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารในการควบคุมตัวได้เลย และการควบคุมตัวบุคคลโดยไม่มีหมายจับ ไม่แจ้งข้อกล่าวหา ไม่ได้รับสิทธิในการเข้าถึงญาติและทนายความ และไม่สามารถฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) 2557 ศูนย์ทนายความฯ ได้ยืนยันมาโดยตลอดว่ากระบวนการเหล่านี้ขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองและขัดต่อหลักการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม การใช้อำนาจในลักษณะนี้ได้สร้างบรรยากาศของความหวาดกลัวแก่ประชาชนในการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราอยู่ในช่วงการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการยืนยันได้ว่าขณะนี้ประเทศไทยไม่มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกเลย จึงขอเรียกร้องให้คสช.ปล่อยตัวทั้ง 8คนในทันที หากมีการกระทำความผิดก็ต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาปกติที่ไม่ใช่ศาลทหาร” เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ หัวหน้าศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าว

นายกหัวใจสีม่วง

หัวใจสีม่วง.....
บิ๊กตู่ เหน็บ บางคน โกหกจนตาย เปรียบ หัวใจสีม่วง ของคนใกล้ตาย จะพูดแต่ความจริง เช่น ทหารเสือราชินี ที่"พระราชินี"พระราชทาน หัวใจสีม่วง ให้ เผยคนไทยไม่เคยตีกันหนักขนาดนี้ ไม่ใช่เพราะทหาร เคลียร์ กระชับพื้นที่ปี53 ถามว่าอย่างผม อย่างทหารนี่หรือจะไปยิงพี่น้องประชาชน เพราะทหารลูกหลานท่านทั้งนั้น  ผมทำไม่ได้หรอก ใครทำ ผมต้องลงโทษ ไม่เคยสั่งลูกน้องไปทำร้ายคน ถามใครยิงทหาร

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานสักขีพยานในการมอบหนังสืออนุญาตให้อยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ มาตรา 16 จัดที่ดินให้ชุมชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ว่า วันนี้ที่ผมมาอยู่กับท่านคือทำปัจจุบัน เอาประวัติศาสตร์มาเรียนรู้ แก้ไขปรับเปลี่ยน อันไหนไม่ดีก็ไม่ทำ เพื่อวางพื้นฐานให้กับประเทศ แค่นี้จริงๆ

" ที่ผ่านมาคนไม่เคยตีกันขนาดนี้ เพราะอะไร เพราะทหารหรือ ผมว่าไม่ใช่ ถ้าย้อนกลับไปดู ปี 53 กับ ปี 57 การชุมนุมมันต่างกันอย่างไร รู้หรือไม่ ทำไมเขาต้องใช้กำลังเพื่อยุติ ก็เพราะมีการใช้อาวุธ มีการยิงส่วนราชการ เผาศาลากลางจังหวัด ผมไม่รู้ว่าใครทำ ท่านไปหามา แต่เพราะมีความรุนแรงทหารจึงต้องไปรักษาความเรียบร้อย ในอดีตคนใช้อาวุธยิงใส่ทหาร 

ผมถามว่าทหารไม่มีชีวิตจิตใจเลยหรือ อยากจะพูดกับท่านมานานแล้ว ท่านฟังผมและอยากให้ไปคิดและแยกแยะเอา ถามว่าเผาศาลากลางจังหวัดถูกต้องหรือไม่ ประท้วงไม่ชอบใจรัฐบาลแล้วเผาศาลากลางเล่นหรือ วันหน้าไม่มาเผาสภากันเลยหรือ ยิงทหาร ใครทำ ฝ่ายไหน ไม่รู้เหมือนกัน แต่อย่าให้เขามาบิดเบือน ปี 53 ปี 49 ใครทำ มันก็ค่ายเดียวกัน มันยิงทั้งคู่ 

"ถามว่าอย่างผม อย่างทหารนี่หรือจะไปยิงพี่น้องประชาชน เพราะทหารลูกหลานท่านทั้งนั้น  ผมทำไม่ได้หรอก ใครทำ ผมต้องลงโทษ ไม่เคยสั่งลูกน้องไปทำร้ายคน มีแต่ช่วยประชาชน 

เพราะคติพจน์ของกองทัพ คือเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์และประชาชน ตนทำอย่างอื่นไม่ได้ เป็นความซื่อสัตย์ที่ต้องรักษาไว้ 

"สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชทานหัวใจสีม่วงให้แก่ทหารเสือ ทรงตรัสว่า หัวใจสีม่วงคือ คนที่ใกล้จะตายแล้ว ส่วนใหญ่จึงจะไม่โกหก แต่วันนี้ไม่แน่ใจแล้ว หลายคนมันจะโกหกจนตาย ตายไปแล้วยังโกหก เพราะยังพูดโกหกทุกวัน แล้วจะไปเชื่ออีกหรือ จะให้คนเหล่านี้มาสู้กับผมหรือ คนที่มีคดีความ ต้องยอมรับคำตัดสินของศาล ประเทศจึงจะอยู่ได้"

“บุคคลในประเทศทะเลาะกันเอง เอาโน่นเอานี่ ถามว่าทุกอย่างกลับไปที่เดิมไหม ตีกันเหมือนเดิม เลือกตั้งมา อีกพวกก็ตี ใครสัญญาว่าจะไม่ให้เกิดขึ้น ท่านสัญญากับผมก็แล้วกัน ว่าท่านจะไม่เข้าไปกรุงเทพฯอีก ใครจะเอารถมารับ มันตายเปล่า ตายไปเยอะแล้ว ตอนนี้ยังตอบยมบาลไม่ได้ว่าตายเพราะอะไร เพราะเขาเกณฑ์ไง คนไทยโรแมนติกอยู่แล้วเขาพูดอะไรก็เชื่อ ตายไม่รู้ตัว แต่ไอ้คนพาไปไม่ตายสักคน วันนี้ยังพูดเย้วๆ แต่เอาล่ะ ผมคิดว่าเวรกรรมมีจริง”นายกฯ กล่าว

นายกฯ กล่าวว่า ผมไม่ได้ปิดกั้น เพราะยังมีการพูดกันอยู่เลย อาจจะเรียกไปเตือน ก็หาว่าข่มขู่ เขาเรียกขู่อะไร  ผมไม่ชอบขู่ ถ้าทำก็ทำเลย แต่ยังไม่ได้ทำ เรื่องประชามติแค่ขอให้แสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ไม่ได้บอกว่าให้รับหรือไม่รับ แต่วันนี้ยังพูดกัน ก็อย่าลืม ระมัดระวังกฎหมายด้วย ใครจะจ้างให้มาบอกใครต่อใครเรื่องนี้ระวังติดคุกแล้วกัน กฎหมายคือกฎหมาย มันจะโดนเท่าไรแค่นั้นเอง

นายกฯ กล่าวตอนท้ายว่า วันนี้ขอเวลา 2 ปีเพื่อให้ประเทศเดินหน้าให้ได้ และมีการเลือกตั้งในปี 60 จากนั้นจึงมีส.ว.เพื่อดูแลสถานการณ์ในช่วง 5 ปีแรก จากนั้นหากสถานการณ์ดีขึ้น เรียบร้อยขึ้นก็จะปรับลงเรื่อยๆ หรือค่อยปรับส.ว.ออก ซึ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับทุกคน ต่อไปนี้ต้องบังคับใช้กติกาอย่างจริงจัง การทำประชามติอย่าตีกัน เพราะจะทำให้เลือกตั้งไม่ได้ หน้าที่ตามประชาธิปไตยคือ การลงประชามติและเลือกตั้งภายใต้ความสงบเรียบร้อย พร้อมทั้งฟังความเห็นต่าง รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่ และดูแลคะแนนเสียงส่วนน้อยอย่าให้ใครมาบิดเบือน

 ทั้งนี้ คนดีไม่มีวันตาย หมายถึงไม่ตายจากประวัติศาสตร์ที่ทำให้ประเทศไทยก้าวหน้า ตนใจร้อนอยากให้การดำเนินการรวดเร็ว แต่ทำคนเดียวคงไม่ไหว คงต้องขอความร่วมมือจากทุกคน ขอมือทั้งสองข้าง สมองและเท้าด้วยเพื่อร่วมเดินหน้าประเทศไปด้วยกันแบบStronger Together

คุม น.ศ.ยืนเฉยๆที่อนุสาวรีย์ชัยฯ

กรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวประชาชน 10 คน ซึ่ง 8 รายในพื้นที่กรุงเทพมหานครในมณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11) และอีก2รายที่ค่ายมณฑลทหารบกที่ 23 ( มทบ.23) จ.ขอนแก่น โดยขณะนี้ อยู่ในระหว่าการสอบพฤติกรรมในการใช้สื่อว่าเข้าข่ายผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และ พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ พ.ศ2559 หรือไม่นั้น
.


ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อเวลา 18.00น. กลุ่มพลเมืองโต้กลับ ได้บางส่วน นำโดยนายอานนท์ นำภา ได้มารวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และเพื่อ "ยืนเฉยๆ" แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับกรณีทหารบุกจับพลเมือง
.
โดยต่อมา "นัชชชา กองอุดม" นักศึกษา ที่มาร่วมยืนประท้วง ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเชิญตัวออกไปขึ้นรถตู้ออกไปจากอนุสาวรีย์ชัยฯ ไปพร้อมประชาชนอีกประมาณ 6-7 คน


ทนายกนส. ร้องศาลอาญา ชี้ ทหารคุม 10 ปชช. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย



เมื่อวันที่ 27 เมษายน นายวิญญัติ ชาติมนตรี กลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชน (กนส.) กล่าวถึงการบุกควบคุมตัวประชาชน 10 ราย ของเจ้าหน้าที่ทหาร ช่วงเช้ามืด ว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ 8 ราย และที่จ.ขอนแก่น 2 ราย ญาติของผู้ถูกจับกุม ที่ กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า ช่วงเช้ามืดระหว่างอาศัยอยู่ในบ้าน ได้มีเจ้าหน้าที่ทหารทั้งในและนอกเครื่องแบบจำนวนหนึ่งบุกเข้ามา ตรวจค้น และจับกุมตัว โดยไม่แจ้งข้อกล่าวหา อ้างแต่เพียงว่า อาจผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งยึดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือไป สถานการณ์ตอนนี้ทั้ง 10 คน ถูกควบคุมตัวอยู่ที่ มทบ.11 โดยทั้งหมดยังไม่ให้เข้าเยี่ยม เพียงแต่ให้โทรศัพท์แจ้งญาติทุกคนว่า ปลอดภัย ส่วนทางทีมทนายกนส.ขณะนี้ได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญา รัชดา กรุงเทพฯ ตามมาตรา 90 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อขอให้มีการไต่สวน วินิจฉัยว่า การควบคุมตัวของทหารไม่ชอบด้วยกฎหมาย

กรธ.แปลกใจ ‘สมชัย’ แจ้งความเอาผิดกองทุนขอนแก่น ชี้ ต้องมีมติกกต.ตามกม.ประชามติก่อน

เมื่อวันที่ 27 เมษายน ที่รัฐสภา นายประพันธ์ นัยโกวิท คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวว่า ช่วงการลงประชามติรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ตนได้ทำหน้าที่ฐานะเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงดังกล่าว พบว่า กกต.ไม่มีข้อห้ามที่จะให้องค์กรใดเข้ามาสังเกตการณ์เกี่ยวกับการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ แต่การออกเสียงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ กกต.จะเปิดพื้นที่มากน้อยแค่ไหนนั้น ต้องไปสอบถาม กกต.ชุดปัจจุบัน ส่วนการดำเนินงานของ กรธ.ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญนั้น ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในระเบียบกกต. ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญนั้น กรธ. ยังไม่ได้กำหนดว่าจะให้กรรมการคนใดเข้าประสานต่อการจัดสรรเวลาออกอากาศทางวิทยุและโทรทัศน์
ด้านนายอุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ.กล่าวว่า การประสานงานร่วมกับกกต. เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรเวลาออกอากาศทางวิทยุและโทรทัศน์ต่อเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ ตามที่ระเบียบ กกต.ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดไว้ในข้อ 17 ว่า ก่อนหน้านั้น นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. เคยให้ข้อมูลกับกรธ. ถึงการออกอากาศดังกล่าว ว่าจะมีทั้งหมด 10 ครั้ง และแบ่งให้ กรธ.จำนวน 2 ครั้ง และให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จำนวน 1 ครั้ง ส่วนที่เหลือกกต. จะเป็นผู้พิจารณา ซึ่งครั้งที่คุยกันดังกล่าวยังไม่ได้กำหนดเนื้อหาว่าจะมีรายละเอียดอย่างไร แต่ทราบว่าจะไม่มีลักษณะของการดีเบตแน่นอน ส่วนการเผยแพร่เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญนั้น เบื้องต้นคาดว่า กรธ. ไม่ต้องหารือร่วมกับกกต. อีก เพราะตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 กำหนดหน้าที่ไว้ชัดเจน ไม่มีข้อบังคับให้ 2 องค์กรทำงานร่วมกัน สำหรับประเด็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติที่ กกต. จะเป็นผู้ออกหลักเกณฑ์และวิธีการแสดงความเห็นว่าสิ่งใดทำได้หรือไม่ได้นั้น กรธ. คงไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวเพราะเป็นอำนาจของกกต.
“ผมแปลกใจกับสิ่งที่คุณสมชัยไปแจ้งความดำเนินคดีกับองค์กรกองทุนในจังหวัดขอนแก่น เพราะโพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กว่า มีความผิดตามกฎหมายประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ทำได้โดยตัวบุคคลหรือไม่ เพราะตามกฎหมายประชามตินั้น กรณีจะวินิจฉัยว่าผู้ใดทำผิดกฎหมายนั้นต้องทำในรูปแบบของคณะกรรมการและต้องมีมติของกรรมการกกต. ซึ่งขณะนี้ ทางกรธ. ได้หารือต่อการดำเนินการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญในองค์กรสื่อมวลชน โดยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. เตรียมทำหนังสือไปยังองค์กรสื่อ เพื่อขอความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สื่อมวลชนได้รับความคุ้มครองในการนำเสนอรายละเอียดที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าหากไม่ทำ อาจทำให้สื่อมวลชนไม่ได้รับคุ้มครองและเข้าข่ายทำผิดตามกฎหมายประชามติได้ แต่การดำเนินการดังกล่าวยังต้องอยู่บนพื้นฐานของการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชนด้วยว่า ต้องไม่บิดเบือน และเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมทะเลาะกัน” นายอุดม กล่าว

"บี ฟักโกสต์"ควงทนายแจ้งจับมือดีโพสต์เฟซ-อัพยูทูปหมิ่นเบื้องสูง


"บี ฟักโกสต์"ควงทนายแจ้งจับมือดีโพสต์เฟซ-อัพยูทูปหมิ่นเบื้องสูง
Cr:ทีนิวส์
"ทนายสงกานต์" พร้อมด้วย"บี" แอดมินเพจฟักโกสต์ เข้าร้องกองปราบ ให้ดำเนินคดีกับผู้ที่แพร่ภาพ-ข้อความหมิ่นสถาบันเบื้องสูงทางเฟซบุ๊ก และยูทูปกว่า 20 แห่ง
วันนี้ ( 27 เม.ย.) ที่ กองปราบปราม เมื่อเวลา 13.00 น. นายสงกานต์ อัจฉริยะทรัพย์ ประธานเครือข่ายต่อต้านการบ่อนทำลายชาติศาสนาพระมหากษัตริย์ พร้อมด้วย นายเกียรติศักดิ์ หรือบี แอดมินเพจเฟซบุ๊ก สมาคมต่อต้านสิ่งงมงาย หรือ ฟักโกสต์ เดินทางเข้าพบ ร.ต.อ.ไพทูล จ้อยสระคู รอง สารวัตร (สอบสวน) กก.1 บก.ป. เพื่อให้ตรวจสอบและดำเนินคดีกับผู้ที่เผยแพร่ภาพและข้อความหมิ่นสถาบันเบื้องสูงทางเฟซบุ๊ก กว่า 20 แห่ง และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ยูทิวบ์

นายสงกานต์ กล่าวว่า หลังจากรับเรื่องร้องเรียนกรณีที่เกิดขึ้นดังกล่าวจากแอดมินเพจฟักโกสต์ แล้ว ทางเครือข่ายฯ ได้ตรวจสอบข้อมูลในเบื้องต้น ก็พบการกระทำของกลุ่มบุคคลที่น่าจะกระทำกันเป็นขบวนการ มีการนำภาพและข้อความที่ไม่เหมาะสมอันเป็นการกระทำที่เข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นเบื้องสูง มาเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ทั้งในเฟซบุ๊กต่างๆ และเว็บไซต์ยูทูป รวมกว่า 20 แห่ง โดยมีการเข้าถึงได้จากบุคคลทั่วไปที่เข้าท่องโลกออนไลน์
นายสงกานต์ กล่าวต่อว่า กรณีนี้ทางเครือข่ายฯ เห็นว่าจะสร้างความเสียหายต่อสถาบันเบื้องสูง อีกทั้งทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็มีการเร่งดำเนินการกวาดล้างผู้กระทำผิดในลักษณะนี้อยู่แล้ว จึงพิจารณาเข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน กก.1 บก.ป.ในครั้งนี้ และหากยังพบว่าการกระทำดังกล่าวนั้นเข้าข่ายความผิดอื่นใดอีกก็ขอให้พนักงานสอบสวนใช้ดุลพินิจในการพิจารณาดำเนินคดีด้วยเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป

ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ "ตั้งคณะกรรมการปิดเว็บแม้ไม่ผิดกฎหมาย"

iLaw: ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ "ตั้งคณะกรรมการปิดเว็บแม้ไม่ผิดกฎหมาย"

ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.... หรือ ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เป็นหนึ่งใน "ชุดกฎหมายความมั่นคงดิจิทัล" ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบไปแล้ว และกำลังเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
เมื่อต้นปี 2558 คณะรัฐมนตรีเคยอนุมัติหลักการกฎหมายชุดนี้ ก่อนมีกระแสคัดค้านอย่างมากบนโลกออนไลน์ จนกระทั่ง วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย เคยเปิดเผยว่า ภายหลังการหารือร่วมกับตัวแทนองค์กรสื่อ ผู้ค้า อี-คอมเมิร์ซ ผู้ผลิตสื่อออนไลน์ และนักวิชาการด้านกฎหมาย ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงออกและชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของชุดกฎหมายดังกล่าวที่จะต้องพิจารณาแก้ไขโดยด่วน
ร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เป็นหนึ่งในฉบับที่โดดเด่นในชุดกฎหมายความมั่นคงดิจิทัล ซึ่งสาเหตุของการเสนอแก้ไขเนื่องจาก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 ฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีปัญหาการบังคับใช้หลายประเด็น เช่น ถูกใช้กับความผิดด้านความมั่นคงมากกว่าความผิดเกี่ยวกับการเจาะระบบ กำหนดความรับผิดของผู้ให้บริการไว้กว้างเกินไปทำให้เกิดบรรยากาศการเซ็นเซอร์ตัวเอง การตีความมาตรา 14(1) เพื่อใช้กับการหมิ่นประมาทออนไลน์ซึ่งผิดเจตนารมณ์ ทำให้ตลอด 9 ปีของการบังคับใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พบว่า กฎหมายนี้ส่งผลกระทบต่อการใช้เสรีภาพการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์อย่างมาก
ขณะเดียวกันทางฝั่งเจ้าหน้าที่ก็ยังพบปัญหาว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่ใช้กันอยู่นั้นให้อำนาจเจ้าหน้าที่ไว้น้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อการติดตามจับกุมผู้กระทำความผิดบนโลกอินเทอร์เน็ต และควบคุมการเผยแพร่เนื้อหาที่เป็นอันตรายต่อสังคม
หลังผ่านมากว่า 1 ปี ชุดกฎหมายความมั่นคงดิจิทัล ถูกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแก้ไขปรับปรุงเสร็จไปทีละฉบับ และทยอยส่งกลับมาให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเป็นครั้งสุดท้าย เพื่อส่งต่อให้สนช. นำไปพิจารณาประกาศใช้เป็นกฎหมาย ซึ่งร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เป็นฉบับหนึ่งที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว มีเนื้อหาที่น่าสนใจดังนี้

แก้มาตรา 14(1) ไม่มุ่งเอาผิดกับการหมิ่นประมาท แต่ยังคลุมเครือเปิดช่องตีความได้

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 มาตรา 14(1) มีวัตถุประสงค์มุ่งเอาผิดการทำเว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกลวงผู้บริโภคให้เข้ามาทำธุรกรรมต่างๆ เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นเว็บไซต์จริงๆ หรือ ที่เรียกว่า Phishing แต่เนื่องจากกฎหมายเดิมเขียนเอาไว้ว่า “ผู้ใด... นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน” ทำให้มาตรานี้ถูกตีความไปใช้ลงโทษการโพสต์ข้อความในลักษณะหมิ่นประมาทบุคคลอื่น หรือการใส่ความกันบนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นการใช้งานที่ผิดวัตถุประสงค์ และส่งผลสร้างความกลัวที่จะแสดงความคิดเห็น หรือวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวต่างๆ บนโลกออนไลน์อย่างมาก
ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับที่เผยแพร่เมื่อปี 2558 เคยเสนอแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเขียน มาตรา 14(1) ใหม่เป็น “ผู้ใดโดยทุจริตนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จทำให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ส่วนสำคัญที่เขียนเข้ามาใหม่ คือ การโพสต์ข้อมูลต้องมีเจตนาเพื่อ “ให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนบุคคล” ทำให้ชัดเจนว่าเป็นการเอาผิดกับการ Phishing และการหมิ่นประมาทบนโลกออนไลน์ก็จะไม่ผิดตามกฎหมายนี้อีกต่อไป
แต่ตามร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับที่ครม. มีมติเห็นชอบล่าสุด เขียนมาตรา 14(1) ใหม่ว่า "ผู้ใด... โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน"
ส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปในร่างฉบับนี้ คือ กำหนดให้ชัดเจนว่าผู้กระทำต้องมีเจตนา "โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง" ซึ่งคำว่า โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา หมายความว่า "เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น" เห็นได้ว่า ผู้ร่างต้องการแก้ไขให้ชัดเจนขึ้นว่ามาตรา 14(1) มีวัตถุประสงค์ใช้เอาผิดการกระทำที่มุ่งต่อประโยชน์ทางทรัพย์สิน ไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นออนไลน์ และการกระทำที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 14(1) จะต้องมีพฤติการณ์ที่จะสร้างความเสียหายแก่ประชาชน หรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งต่างจากมาตรา 14(1) เดิม ซึ่งการกระทำที่สร้างความเสียหายต่อบุคคลหนึ่งก็เป็นความผิดได้
อย่างไรก็ดี การเขียนมาตรา 14(1) ตามร่างฉบับนี้ ยังเปิดช่องให้เกิดการตีความนำไปใช้ลงโทษกับการหมิ่นประมาทออนไลน์ได้อยู่บ้าง โดยอาจมีผู้เข้าใจผิดตีความไปได้ว่า การโพสต์เนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตที่ไม่เป็นความจริงและทำให้ประชาชนทั่วไปสับสน เป็นเจตนา "โดยหลอกลวง" และยกเอามาตรา 14(1) มาใช้ดำเนินคดีกับการแสดงความคิดเห็นต่อไปอีก การเขียนมาตรา 14(1) ตามร่างฉบับนี้จึงยังเปิดช่องให้กฎหมายถูกใช้อย่างผิดเจตนารมณ์ได้อยู่ ต่างจากร่างฉบับปี 2558 ที่เขียนไว้ค่อนข้างรัดกุมชัดเจนกว่า
ส่วนบทกำหนดโทษ ตามมาตรา 14(1) ของร่างล่าสุด แบ่งโทษออกเป็นสองระดับ โดยความผิดฐานนำเข้าข้อมูลปลอมหรือข้อมูลเท็จ หากมีลักษณะจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนทั่วไปได้ ให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท และหากจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น มาตรา 14 วรรคสอง เขียนให้มีโทษน้องลง โดยให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท

เพิ่มความผิดฐานโพสต์ข้อมูลเท็จที่กระทบ "ความปลอดภัยสาธารณะ" "ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ"

จากเดิมที่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(2) เอาผิดการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ สองลักษณะ คือ 1) น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ 2) น่าจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้ เพิ่มข้อความขึ้นมาโดยเอาผิดกับการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ สี่ลักษณะ คือ 1) น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงของประเทศ 2) น่าจะเกิดความเสียหายต่อความปลอดภัยสาธารณะ 3) น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ และ 4) น่าจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
"ความปลอดภัยสาธารณะ" และ "ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ" เป็นคำที่มีความหมายกว้างและเป็นคำใหม่ที่ไม่ค่อยใช้เป็นเงื่อนไขกำหนดการกระทำที่เป็นความผิดและกำหนดบทลงโทษ ยังไม่มีคำนิยามที่ชัดเจนอยู่ในกฎหมายฉบับใดมาก่อน การนำคำที่มีความหมายกว้างมาบัญญัติเป็นข้อห้ามลักษณะนี้อาจเป็นการใช้ถ้อยคำให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การคุ้มครองความมั่นคงของระบบไซเบอร์ และการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเป็นนโยบายรวมของการผลักดันกฎหมายชุดความมั่นคงดิจิทัลทั้งระบบ จึงยังต้องรอดูร่างกฎหมายฉบับอื่นๆ ในชุดกฎหมายนี้ที่จะเผยแพร่ตามมาอีกด้วยว่า มีกฎหมายฉบับใดให้คำนิยามของสองคำนี้ไว้หรือไม่

แอดมินที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจรับผิดเท่าคนโพสต์ เพิ่ม "ขั้นตอนการแจ้งเตือน" ให้ทำตามแล้วพ้นผิด

ตามมาตรา 15 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 ประเด็นความรับผิดของ “ผู้ให้บริการ” เป็นปัญหาใหญ่ เพราะกฎหมายเดิมกำหนดไว้ว่า ผู้ให้บริการที่ “จงใจสนับสนุนหรือยินยอม” ให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นในระบบคอมพิวเตอร์ที่ดูแลอยู่ ต้องรับโทษเท่ากับผู้กระทำความผิด ซึ่งเป็นการสร้างภาระทางกฎหมายให้ผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นอย่างมาก ช่วงหลายปีที่ผ่านมาเว็บไซต์หลายแห่งจึงยกเลิกบริการพื้นที่แสดงความคิดเห็นอย่าง เว็บบอร์ด หรือการคอมเม้นต์ท้ายข่าว และต้องคอยเซ็นเซอร์เนื้อหาบนโลกออนไลน์โดยการลบข้อความที่อาจจะยังไม่แน่ใจว่าผิดกฎหมายหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง
ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้ แม้จะยังกำหนดให้ผู้ให้บริการต้องรับผิดเท่ากับผู้กระทำความผิด แต่ก็เพิ่มบทบัญญัติขึ้นมาว่า
“มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจ ให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด ตามมาตรา 14
ให้รัฐมนตรีออกประกาศกำหนดขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์
ถ้าผู้ให้บริการพิสูจน์ได้ว่าตนได้ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามวรรคสอง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ"
จุดที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงจากร่างเดิมคือพฤติการณ์อันแสดงถึงเจตนาของผู้ให้บริการ ซึ่งกฎหมายเดิมเอาผิดกับผู้ให้บริการที่ "จงใจสนับสนุนหรือยินยอม" ส่วนตามร่างฉบับนี้ เอาผิดกับผู้ให้บริการที่ 1) ให้ความร่วมมือ 2) ยินยอม 3) รู้เห็นเป็นใจ
การ "ให้ความร่วมมือ" หรือ "รู้เห็นเป็นใจ" อาจต้องชัดเจนว่าผู้ให้บริการมีเจตนากระทำความผิดร่วมกับผู้ที่โพสต์เนื้อหาผิดกฎหมายเองด้วย แต่คำว่า "ยินยอม" ยังเป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ว่า กรณีใดผู้ให้บริการพบเห็นข้อความแล้วแต่มีเจตนาที่จะยินยอมให้อยู่ต่อไป หรือกรณีใดที่ผู้ให้บริการไม่ได้ยินยอมแต่ทำหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อตรวจสอบไม่พบเนื้อหาผิดกฎหมาย หรือเนื่องจากความผิดพลาดส่วนบุคคลโดยไม่ได้ตั้งใจ
สำหรับ “ขั้นตอนการแจ้งเตือน” หรือระบบ Notice and Takedown นั้น เป็นหลักการใหม่ที่ไม่เคยมีอยู่ในกฎหมายเดิม ร่างฉบับนี้ยังไม่ได้เขียนไว้ว่าขั้นตอนการแจ้งเตือนจะเป็นอย่างไรบ้าง ผู้ให้บริการจะต้องลบออกภายในเวลาเท่าใด และผู้ให้บริการมีสิทธิอุทธรณ์ได้หรือไม่ ร่างฉบับนี้เพียงกำหนดให้รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นกระทรวงที่จะตั้งขึ้นใหม่ เป็นผู้มีอำนาจกำหนดรายละเอียดต่อไป จึงต้องขึ้นอยู่กับกฎระเบียบที่จะออกมาในอนาคตอีกด้วยว่าจะสามารถสามารถแก้ไขปัญหาที่มีอยู่เดิมได้หรือไม่
เท่าที่ทราบจากร่างในปัจจุบัน คือ ผู้ให้บริการที่ไม่ได้ลบข้อความผิดกฎหมายออกภายในเวลาที่กำหนดยังคงต้องรับผิดในอัตราโทษเท่ากับผู้ผลิตและเผยแพร่ข้อความ หากผู้ให้บริการจะพ้นผิดได้เป็นภาระของผู้ให้บริการที่จะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าได้ปฏิบัติตามขั้นตอนถูกต้องแล้ว

ตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูล สั่งบล็อคเว็บ "ขัดต่อศีลธรรม" ได้ แม้เนื้อหาไม่ผิดกฎหมายใด

ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับที่ใช้กันอยู่ มาตรา 20 เนื้อหาที่เจ้าหน้าที่นำไปขอหมายศาลให้ปิดกั้นการเข้าถึง หรือการ "บล็อคเว็บ" ได้ ต้องมีลักษณะ คือ เป็นความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ เกี่ยวกับการก่อการร้าย หรือ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ก่อนหน้านี้แม้เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จะตรวจพบเว็บไซต์ที่มีวัตถุประสงค์ผิดกฎหมายต่างๆ เช่น เว็บไซต์เล่นการพนัน เว็บไซต์ขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต เว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ ฯลฯ แต่ก็ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะบล็อคการเข้าถึงเว็บไซต์เหล่านี้ เนื่องจากเป็นกระทำความผิดที่อยู่นอกเหนือพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และอยู่นอกเหนืออำนาจของเจ้าพนักงาน ทำให้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจการปิดกั้นเว็บไซต์ต่างๆ เหล่านี้ได้
ในร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับล่าสุด มาตรา 20(3) จึงกำหนดให้เจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ สามารถขอหมายศาลให้บล็อคเว็บที่มีเนื้อหาผิดต่อกฎหมายอื่นได้ด้วย เมื่อเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้นๆ ร้องขอมา เช่น เมื่อตำรวจในท้องที่ร้องขอให้ปิดเว็บไซต์เล่นการพนัน เมื่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร้องขอให้ปิดเว็บไซต์ที่ขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือกรมทรัพย์สินทางปัญญาร้องขอให้ปิดเว็บไซต์ที่ขายของละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น
นอกจากนี้ ร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้ ยังมีมาตรา 20(4) ที่เปิดโอกาสให้เจ้าพนักงานดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์ที่แม้เนื้อหาจะไม่ผิดกฎหมายใดเลยก็ได้ ถ้าเห็นว่าเนื้อหาของเว็บไซต์นั้นขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยมาตรา 20(4) กำหนดให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ ขึ้นมาเป็นหน่วยงานใหม่ มีกรรมการ 5 คน โดยสองในห้าคนต้องเป็นตัวแทนภาคเอกชน หากคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ปิดกั้นเนื้อหาใดที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เจ้าพนักงานก็ดำเนินการขออนุมัติจากศาลให้บล็อคเว็บไซต์ที่มีเนื้อหานั้นๆ ได้
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้ ยังมีประเด็นใหม่ๆ เพิ่มเติมเข้ามา เช่น การขยายระยะเวลาที่ให้ผู้ให้บริการมีหน้าที่เก็บข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์ในกรณีจำเป็นจากไม่เกินหนึ่งปีเป็นสองปี การมีเงินเพิ่มพิเศษให้สำหรับเจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ การเอาผิดกับการเผยแพร่ภาพตัดต่อไปถึงภาพตัดต่อของผู้ที่เสียชีวิตแล้ว การเพิ่มโทษฐานส่งสแปมโดยไม่เปิดโอกาสให้บอกเลิก รวมทั้งการเพิ่มโทษการเจาะระบบหรือทำลายระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐด้วย

หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกที่ http://ilaw.or.th/node/4092

ข้อสงสัยการใช้กฎหมายควบคุมตัว10ผู้ทำผิดพรบ.คอมฯ


ฝั่งของพลเมืองโต้กลับ มีการตั้งข้อสังเกต ถึงการอ้างเหตุผลของฝ่าย คสช.ในการเข้าควบคุมตัวบุคคล 10คน ที่บอกว่ายังไม่มีการแจ้งข้อหา โดยใช้อำนาจตามคำสั่งคสช.ที่3 และ 13 ซึ่งพบว่ามีความผิดชัดตามพรบ.คอมฯ โดยฝ่าย พลเมืองโต้กลับ ระบุว่า หากมีการดำเนินารตาม พรบ.คอม ที่เป็นคดีอาญา แล้ว มีการให้จนท.ทหารใช้อำนาจตามกม.ข้อไหนไปควบคุมตัวโดยไม่ต้องมี"หมายศาล" ...เพราะไม่ได้เข้าข่ายความผิดตาม คำสั่ง คสช ทั้งคำสั่งที่ 3/2558 และ 13/2559

และว่า เมื่อระบุว่า มีความผิดชัดเจน ตาม พรบ.คอมฯ แต่ทำไม้ ไม่ส่งตำรวจฟ้องศาลเลยตามกฎหมาย แต่กลับนำตัวไปปรับทัศนคติ

คสช.ยันไม่ได้อุ้ม10คนแต่ผิดพรบ.คอมฯ



ไม่ได้"อุ้ม"...
คสช. เผย คุมตัว10 บุคคล ทำผิดพรบ.คอมพิวเตอร์ ยันมีหลักฐานทำผิดชัดเจน เชื่อมโยงกันทั้งหมด ยันคสช.ไม่ได้"อุ้ม"หาย แต่8 คนอยู่ มทบ.11 อึก2คน ที่ขอนแก่น มาปรับทัศนคติ 7 วัน ผิดพรบ.คอมฯ ยันมีหลักฐานเชื่อมโยงกันหมด

พันเอกวินธัย สุวารี โฆษก คสช.ยอมรับว่า ทหารได้เข้า ควบคุมตัวผู้มีพฤติกรรมกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ จำนวน 10 คนตามอำนาจมาตรา 44 ไว้จริงตามที่มีกระแสข่าวว่า ทหารควบคุมตัวบุคคลไว้ 10 คน ซึ่งมีการส่งต่อข้อมูลทางโซเซียลมีเดีย
โดยการควบคุมตัวครั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่ได้ติดตามข้อมูลมานานแล้ว ซึ่งคสช.ไดรับความร่วมือจาก ปทอ. ดีเอสไอ แต่ยังไม่ตั้งข้อหาใด หรือดำเนินคดี เพียงจะแต่เรียกมาปรับทัศนคติ โดยจะอยู่ในการควบตัวตัวของคสช.ไม่เกิน7 วัน

พันเอกวินธัย ยืนยันว่า คสช.ไม่ได้กระทำการในลักษณะ"อุ้ม"กลุ่มบุคคล ดังกล่าวหายไปไหน แต่ทั้งหมดมีขั้นตอนกระบวนที่ชัดเจน ทั้งหมดถูกส่งตัวมายัง มณทลทหารบกที่ 11

ทั้งนี้ตามรายชื่อที่ได้รับการยืนยันมีทั้งหมด 10 คน โดย 8คนถูกควบคุมตัวอยู่ที่ มณทลทหารบกที่ 11 แล้ว ส่วนอีก 2 คน ถูกควบคุมตัวอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะส่งตัวมายังกรุงเทพฯหรือไม่

พันเอกวินธัย กล่าวว่า ทั้ง 10 คนมีพฤติกรรมร่วมกันและมีความเชื่อมโยงกันในทางคดีและการกระทำความผิด หลังจากที่เจ้าหน้าที่ ได้ติดตามพฤติกรรมทั้งหมดมาระยะหนึ่งแล้ว

คสช.รับใช้อำนาจม.44 บุกจับ 10 ประชาชน คุมตัวค่ายทหาร แต่ยังไม่ตั้งข้อหา


ขอบคุณข้อมูลจาก : ข่าวสด
เมื่อวันที่ 27  เม.ย. ที่กองบัญชาการกองทัพบก พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงข่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวประชาชน10 คน ซึ่ง 8 รายในพื้นที่กรุงเทพมหานครในมณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11) และอีก2รายที่ค่ายมณฑลทหารบกที่ 23 ( มทบ.23)  จ.ขอนแก่น ว่า เป็นไปตามการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่  โดยเจ้าหน้าที่ได้ติดตามพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียมาโดยตลอด พร้อมทั้งมีหลักฐานที่สมบูรณ์ในการเอาผิดทางคดีได้ แต่ในตอนนี้อยู่ในขั้นตอนแรกคือทหารจะควบคุมตัวบุคคลดังกล่าวตาม มาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว)  ซึ่งคุมตัวไม่เกิน 7 วัน เพื่อพูดคุยขอความร่วมมือ และสอบสวนร่วมกันระหว่าง  คสช. กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
 
ส่วนการตั้งข้อนั้นตอนนี้ยังไม่มีการตั้งข้อหา เพราะต้องตรวจสอบรายละเอียดก่อน  อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นจากการสอบพฤติกรรมในการใช้สื่อนั่นเข้าข่ายผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550  ส่วนจะเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ พ.ศ2559 หรือไม่นั้นขณะอยู่ระหว่างตรวจสอบของเจ้าหน้าที่
 
พ.อ.วินธัย กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ตนขอย้ำว่าอยากให้ทุกภาคส่วนระมัดระวังความคิดเห็นส่วนจะเข้าข่ายความผิดหรือไม่นั้นทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะชี้แจงรายละเอียดอีกที  ทำนองเดียวกันนายสมชัย  ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านการเลือกตั้ง ออกมาระบุว่าสามารถแสดงความเห็นได้แต่ต้องระวังในเรื่องรายละเอียดของเนื้อหาเพื่อไม่ให้ขัดต่อกฎหมาย  สำหรับการติดตามกลุ่มต่างๆที่เคลื่อนไหวในการทำประชามตินั้น ทางเจ้าหน้าที่จะพิจารณาในภาพกว้างๆไม่เจาะจงกลุ่มใดเป็นพิเศษแต่จะดูทุกเรื่องทุกประเด็น
 
เมื่อถามว่าบุคคลทั้ง2 ที่ถูกคุมตัวที่ ขอนแก่นมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มเสื้อแดงหรือไม่ พ.อ.วินธัย กล่าว ตนยังไม่ได้รับข้อมูลแต่คาดว่าขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบ  ส่วนที่นายจตุพร ออกมาระบุว่าทีมงานตนถูกคุมตัวไปในชุดดังกล่าว ตนยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้ต้องรอผลการสอบสวนก่อนแล้วจะชี้แจงให้ทราบว่ามีข้อมูลอย่างไร
 
เมื่อถามว่าจากกรณีดังกล่าวทางกลุ่มพลเมืองโต้กลับจะออกมาชุมนุม ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิทาง คสช จะดำเนินการอย่างไร พ.อ.วินธัย กล่าวว่า ขอย้ำว่าการเคลื่อนไหวๆใดๆจะต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย เชื่อการออกเคลื่อนไหวดังกล่าวคนในสังคมคงไม่เห็นด้วยอยู่แล้ว อีกทั้งเจ้าหน้าที่ก็จะทำตามกรอบกฎหมายที่มี หากมีการนัดรวมตัวกันไม่ถึง5คนตามที่ระบุในกฎหมายแต่หากตรวจสอบแล้วมีพฤติกรรมใกล้เคียง หรือเข้าข่าย หรือพฤติกรรมรวมกลุ่มเดียวกันเราจะมองที่เจตนาเป็นหลัก
 
“การที่เจ้าหน้าที่ไปเชิญบุคคลเพื่อขอความร่วมมือ  เพื่อไม่ให้มีการขัดขืน ซึ่งเป็นการกระทำอย่างเปิดเผย เพียงแต่ข้อมูลในโลกโซเชียลมิเดียนั้นต้องการดึงความสนใจให้มองว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่ผมย้ำว่า เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกรอบกฎหมาย รวมทั้งเปิดเผยว่าทุกคนยังอยู่ในการคุมตัวของเจ้าหน้าที่ไม่ได้อุ้มหายไปไหน ทุกคนยังอยู่ และการถูกควบคุมตัวก็มีที่มาที่ไป เพราะฉะนั้นไม่ต้องเป็นห่วง ”โฆษก คสช. กล่าว และว่า สำหรับรายชื่อทั้ง 10 คนนั้นตนยังไม่ขอเปิดเผยรอการตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนจะชี้แจงอีกที

กกต.แจ้งความประเดิมพรบ.ประชามติ

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เดินทางมาแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำความผิดตามพ.ร.บ. การออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2559 ที่สน. ทุ่งสองห้อง โดย มีพ.ต.ท.วินิจ ศรีสูงเนิน หัวหน้างานสอบสวน สน. ทุ่งสองห้อง เป็นผู้รับแจ้งความ และมี ร.ต.ท.กฤติเดช ชอบค้าขาย ร้อยเวร เป็นเจ้าของสำนวน
.
โดยนายสมชัย เปิดเผยว่า ในวันนี้มาแจ้งความดำเนินคดีกับกองทุนแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งการแจ้งความครั้งนี้ก็มาในนามของ กกต. แต่ไม่ถือว่าเป็นมติ เพราะเป็นความผิดที่ชัดเจนอยู่แล้ว โดยกองทุนแห่งนี้ก็มีการโพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ก ที่มีความรุนแรง หยาบคาย ก้าวร้าว มีเจตนาที่จะชักจูงให้รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 61 วรรค 2 มีโทษจำคุก 10 ปี หรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี 
.
และในวันนี้ก็ได้มีการนำรายละเอียดของการโพสข้อความและข้อมูลของตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องและเป็นผู้สั่งการกลุ่มดังกล่าว มายื่นให้กับพนักงานสอบสวน แม้ว่ากลุ่มนี้จะมีการลบข้อความไปแล้วก็ตาม แต่หลักฐานยังมีการถ่ายเอกสารมาอยู่ หลังจากนี้ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่จะต้องเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้อง มาสอบสวน โดยการแจ้งความครั้งนี้ถือเป็นตัวอย่าง เพื่อให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญอย่างสร้างสรรค์ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง ข่มขู่ผู้อื่น
.
ทั้งนี้ นายสมชัย ยังได้กล่าวอีกว่า การโพสต์ข้อความว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่ต้องอยู่บนเหตุผลทางวิชาการ ไม่มีลักษณะถ้อยคำรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย และไม่โน้มน้าว ไม่ชักจูง ปลุกระดม ข่มขู่ผู้อื่น โดยหวังผลให้ออกเสียงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง 
.
หากประชาชนพบเห็นถ้อยคำที่มีลักษณะดังกล่าว สามารถนำหลักฐานมาแจ้งความดำเนินคดีได้ที่สถานีตำรวจทุกแห่ง ไม่จำเป็นต้องแจ้งต่อกกต.
ขณะที่ในวันนี้กกต. จะมีการประชุมเพื่อหารือในเรื่องการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับพ.ร.บ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติที่ยังไม่ชัดเจนและเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ คาดว่าจะสามารถแถลงต่อสื่อมวลชนได้ภายในวันศุกร์นี้
.
Matichon Tv รายงาน

คสช.รับใช้อำนาจม.44 บุกจับ 10 ประชาชน คุมตัวค่ายทหาร แต่ยังไม่ตั้งข้อหา

เมื่อวันที่ 27  เม.ย. ที่กองบัญชาการกองทัพบก พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงข่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวประชาชน10 คน ซึ่ง 8 รายในพื้นที่กรุงเทพมหานครในมณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11) และอีก2รายที่ค่ายมณฑลทหารบกที่ 23 ( มทบ.23)  จ.ขอนแก่น ว่า เป็นไปตามการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่  โดยเจ้าหน้าที่ได้ติดตามพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียมาโดยตลอด พร้อมทั้งมีหลักฐานที่สมบูรณ์ในการเอาผิดทางคดีได้ แต่ในตอนนี้อยู่ในขั้นตอนแรกคือทหารจะควบคุมตัวบุคคลดังกล่าวตาม มาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว)  ซึ่งคุมตัวไม่เกิน 7 วัน เพื่อพูดคุยขอความร่วมมือ และสอบสวนร่วมกันระหว่าง  คสช. กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) 


  ส่วนการตั้งข้อนั้นตอนนี้ยังไม่มีการตั้งข้อหา เพราะต้องตรวจสอบรายละเอียดก่อน  อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นจากการสอบพฤติกรรมในการใช้สื่อนั่นเข้าข่ายผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550  ส่วนจะเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ พ.ศ2559 หรือไม่นั้นขณะอยู่ระหว่างตรวจสอบของเจ้าหน้าที่

 
  พ.อ.วินธัย กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ตนขอย้ำว่าอยากให้ทุกภาคส่วนระมัดระวังความคิดเห็นส่วนจะเข้าข่ายความผิดหรือไม่นั้นทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะชี้แจงรายละเอียดอีกที  ทำนองเดียวกันนายสมชัย  ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านการเลือกตั้ง ออกมาระบุว่าสามารถแสดงความเห็นได้แต่ต้องระวังในเรื่องรายละเอียดของเนื้อหาเพื่อไม่ให้ขัดต่อกฎหมาย  สำหรับการติดตามกลุ่มต่างๆที่เคลื่อนไหวในการทำประชามตินั้น ทางเจ้าหน้าที่จะพิจารณาในภาพกว้างๆไม่เจาะจงกลุ่มใดเป็นพิเศษแต่จะดูทุกเรื่องทุกประเด็น


  เมื่อถามว่าบุคคลทั้ง2 ที่ถูกคุมตัวที่ ขอนแก่นมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มเสื้อแดงหรือไม่ พ.อ.วินธัย กล่าว ตนยังไม่ได้รับข้อมูลแต่คาดว่าขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบ  ส่วนที่นายจตุพร ออกมาระบุว่าทีมงานตนถูกคุมตัวไปในชุดดังกล่าว ตนยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้ต้องรอผลการสอบสวนก่อนแล้วจะชี้แจงให้ทราบว่ามีข้อมูลอย่างไร

 
  เมื่อถามว่าจากกรณีดังกล่าวทางกลุ่มพลเมืองโต้กลับจะออกมาชุมนุม ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิทาง คสช จะดำเนินการอย่างไร พ.อ.วินธัย กล่าวว่า ขอย้ำว่าการเคลื่อนไหวๆใดๆจะต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย เชื่อการออกเคลื่อนไหวดังกล่าวคนในสังคมคงไม่เห็นด้วยอยู่แล้ว อีกทั้งเจ้าหน้าที่ก็จะทำตามกรอบกฎหมายที่มี หากมีการนัดรวมตัวกันไม่ถึง5คนตามที่ระบุในกฎหมายแต่หากตรวจสอบแล้วมีพฤติกรรมใกล้เคียง หรือเข้าข่าย หรือพฤติกรรมรวมกลุ่มเดียวกันเราจะมองที่เจตนาเป็นหลัก

 


 “การที่เจ้าหน้าที่ไปเชิญบุคคลเพื่อขอความร่วมมือ  เพื่อไม่ให้มีการขัดขืน ซึ่งเป็นการกระทำอย่างเปิดเผย เพียงแต่ข้อมูลในโลกโซเชียลมิเดียนั้นต้องการดึงความสนใจให้มองว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่ผมย้ำว่า เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกรอบกฎหมาย รวมทั้งเปิดเผยว่าทุกคนยังอยู่ในการคุมตัวของเจ้าหน้าที่ไม่ได้อุ้มหายไปไหน ทุกคนยังอยู่ และการถูกควบคุมตัวก็มีที่มาที่ไป เพราะฉะนั้นไม่ต้องเป็นห่วง ”โฆษก คสช. กล่าว และว่า สำหรับรายชื่อทั้ง 10 คนนั้นตนยังไม่ขอเปิดเผยรอการตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนจะชี้แจงอีกที

สัญญานเตือนดินไหวไทยอย่าประมาท

สี่ทุ่มก็มีสัญญาณเตือนที่ญี่ปุ่นอีก เมื่อแผ่นดินไหวแนวจุดที่เกิดสึนามิรุนแรง เพราะลึกมากกว่า ๕๐ กิโลเมตร แรง ๕ กว่า ซึ่งความสั่นสะเทือนรับรู้ถึงโตเกียว
หากจะบอกว่าสหรัฐอเมริกาอยากให้แผ่นดินไหวแรงๆแนวนิวซีแลนด์ วูนาอูตู ติมอร์ กวม ญี่ปุ่น รัสเซียอย่างมากๆ ยิ่งแรงมากเท่าไหรยิ่งดี เพราะให้เปลือกโลกลดพลังงานสะสมแนวคาเซียดา นอกชายฝั่งโอเรกอน วอชิงตัน แคลลิฟฟอร์เนียเหนือลง
เพราะแนวซานแอนเดรียกับคาเซียดา จะได้ไหวแรงน้อยกว่า ๙ ลงมา
นักวิชาการคาดว่า ประมาณไม่เกิน ๕ พฤษภาคมนี้ต้องไหวใหญ่แนววงแหวนแห่งไฟ
นอกจากนี้ แนว นิวแมดทริก ที่พาดผ่านเท็กซัสขึ้นไปทะเลสาบทั้ง ๕ ก็ไหวแรงขึ้นเรื่อยๆ เช่นโอกาโฮมา เดือนนี้ไหวเกิน ๔ ริคเตอร์มากกว่า ๑๐ ครั้งแล้ว
ที่นี้วกกลับมาบ้านเรา หลังจากพายุเข้าพม่า ปลาตายเขมร หลุมยุดกระบี่ ฟ้าผ่าคอกวัวที่น่าน แล้วถามว่าโอกาสเกิดใหญ่ที่ไหน?? มีคนโพสว่าฝรั่งเตือนแนวอุตรดิตถ์
ผมก็ย้ำว่าแนวอุตรดิตถ์ที่ว่าผ่านลาวไปหาจีนนั้น จุดตั้งต้นมาจากปากน้ำสมุทรปราการ พาดผ่านตามแนวเจ้าพระยาไปนครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก ต่อไปท่าปลา เขื่อนสิริกิต์ น่าน
ซึ่งแนวนี้ เป็นแนวรอยแยกของเปลือกโลก ที่เรียกว่า transformers หมายความว่า เปลือกโลก ขยายแยกออกจากกัน เหมือนกับว่า มีแรงดันจากตรงกลาง ขึ้นมาด้านบน แล้วดันไปทั้ง 2 ข้าง ทั้งซ้ายและขวา ดังในภาคที่ 10
ดังนั้น โอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ โดยมีจุดศูนย์กลาง ที่กรุงเทพฯ ก็ไม่ใช่ เรื่องไกลเกินตัว เพราะว่า แผ่นดินเคยไหว มีจุดศูนย์กลาง ที่จังหวัด นครนายก มาหลายครั้งแล้ว และในช่วง 2-3 เดือนนี้ ก็เกิดถนนยุบแนวริมคลองรังสิต ปทุมธานี อยุธยา อ่างทอง ทั้งทั้งที่ น้ำในคลอง หลายแห่ง ยังมีปริมาณมากอยู่
ซึ่งหากถามว่า การก่อสร้าง ไม่ได้มาตรฐานก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้ ถนนพังง่าย แต่ท่านต้องคิดว่า อะไร คือตัวกระตุ้น หรือตัวทำปฏิกิริยา ให้ถนนเหล่านั้น ทรุดตัวลงมา
ดังนั้น ขอให้ทุกท่าน เตรียมการรับมืออย่างจริงจัง กับเรื่องแผ่นดินไหว รุนแรง ในภาคกลาง ซึ่งคนส่วนมากประมาท คิดว่าไม่เกิด
หากท่านดู โปรแกรมภาพยนตร์ ตามโรงหนังที่ผ่านมา ท่านจะพบว่า มีหนังที่เกี่ยวกับ พิบัติภัย ออกมาทุกเดือน อย่างล่าสุด เรื่อง the wave ที่เตือนเรื่อง for ยอดถล่ม ประเทศแถบสแกนดิเนเวีย แล้วเกิดสึนามิเข้าถล่มเมือง
ทุกเรื่องในภาพยนตร์ มีหน่วยงานที่เฝ้าระวังโดยตรง ติดตั้งอุปกรณ์เครื่องมือตรวจวัด และพยายามคาดการณ์ ว่าไปจะเกิดเมื่อไหร่
ต่างกับของเรา ที่ไม่ได้มี อุปกรณ์ตรวจจับ เพื่อคาดการณ์ ว่าจะเกิดเหตุการณ์เมื่อไหร่
เมื่อแนวความคิดต่างกัน การเตรียมความพร้อม จึงไม่เกิดขึ้น จากหน่วยงาน ที่ต้องรับผิดชอบโดยตรง น่ากลัวครับ
ท่านต้องช่วยตัวเองให้ได้ อย่างน้อยที่สุด ใน 7 วันแรกของเหตุการณ์ ท่านต้องอย่าลืมว่า ทหาร หรือหน่วยกู้ภัย หรืออาสาต่างๆ เช่นปอเต็กตึ้ง เช่นร่วมกตัญญู ก็จะโดนพิบัติภัยด้วยเช่นกัน
เขาเหล่านั้น ต้องช่วยฟื้นฟูตัวเองก่อน ที่จะออกมาช่วยท่าน
ดังนั้น ท่านต้องมีอาหารน้ำยา พลังงานการสื่อสาร สำหรับตัวเองและครอบครัว อย่างน้อยที่สุด 7 วัน แต่หากท่านมีความสามารถ มีสะสมไว้ อย่างน้อย 30 วัน หรือ 3 เดือน เพื่อจะได้ เผื่อแผ่คนอื่น จักเป็นพระคุณยิ่ง
เกิดมา ตั้งอยู่ ดับไป

ที่มา เพจ