PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บวรศักดิ์'ยอมถอย ปรับแก้เผือกร้อน รธน. เดลินิวส์

ควรอ่าน เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ร่างรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน
18062558 'บวรศักดิ์'ยอมถอย ปรับแก้เผือกร้อน รธน. เดลินิวส์

„'บวรศักดิ์'ยอมถอย ปรับแก้เผือกร้อน รธน.
'บวรศักดิ์'ถอย ยอมปรับเผือกร้อนในร่าง รธน. ยึดเดินสายกลาง ให้มี ส.ส.เขต 300 บวกบัญชีรายชื่อ 150 กลับมาใช้เขตเลือกตั้งทั้งประเทศพร้อมโละ 'กลุ่มการเมือง-โอเพ่นลิสต์'ทิ้ง ( แต่ปรับให้ตั้งพรรคการเมือง ได้ง่ายขึ้น ) แต่คง 4 เสาหลัก ยันไม่มีพิมพ์เขียวเหตุเจอ 'แป๊ะ'ขอแก้กว่า 100 จุด

วันพฤหัสที่ 18 มิถุนายน 2558 เวลา 17:25 น. 

บวรศักดิ์ ยอมถอย ปรับแก้ เผือกร้อน รธน.

เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ที่ห้องประชุมสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ชั้น 4 อาคารเทพทวาราวดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์ ได้จัดงาน "ปาฐกถาประยูร กาญจนดุล" ครั้งที่ 7
ในโอกาสฉลองครบรอบ 43 ปี แห่งการสถาปนาคณะ โดยนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้ปาฐาถกฐาเรื่อง "รู้ลึก รู้ชัด กับอนาคตรัฐธรรมนูญ"
ตอนหนึ่งว่า
1. ใครบอกว่าตน "รู้ลึก รู้ชัด กับอนาคตรัฐธรรมนูญ"
ต้องบอกว่าผิดหวัง เพราะแม้แต่ตนก็ยังไม่รู้อนาคตตัวเองเลยซึ่งคนที่จะรู้ก็คือสมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) จากนั้นคือ คสช. ที่จะสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 เมื่อใดก็ได้
ดังนั้นถ้าอยากรู้ชัดต้องไปถาม สปช .และ คสช.

2.ที่ผ่านมาประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 19 ฉบับ ซึ่งฉบับที่กำลังร่างกันอยู่ เป็นฉบับที่ 20 
เฉลี่ย 4 ปีใช้รัฐธรรมนูญ 1 ฉบับ
ทั้งนี้เหตุการณ์ปฎิวัติรัฐประหารในประเทศไทยมีเยอะมาก ไม่รวมกบฎต่าง ๆ สมัย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ปี 2534 ตอนนั้นก็มีแต่คนบอกว่าไม่มีปฎิวัติ ถัดมาอีก 2 วัน พล.อ.ชาติชาย และตน ก็ต้องไปนอนค่ายทหาร 15 วัน ในช่วงเหตุการณ์ 19 ก.ย.49 ทุกคนก็บอกไม่เกิดแล้วและมาล่าสุดเหตุการณ์ 22 พ.ค.57  ดังนั้นใครจะมาบอกว่าต่อไปจะไม่มีปฎิวัติรัฐประหารอีก ใครจะเชื่อก็เชื่อไป แต่ตนคงไม่เชื่อ
3.เพราะตรงนี้เป็นวัฒนธรรมที่ฝังอยู่ในบ้านเมืองไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งจะเปลี่ยนได้หรือไม่ ก็ต้องอยู่ที่คนรุ่นใหม่
นายบวรศักดิ์ กล่าวต่อว่า4.ตลอด 8 ปีกว่าของความขัดแย้งของประเทศไทย มีความเสียหาย ชุมนุมแบบปักหลักค้างคืน 701วัน เสียหายทุกอย่าง ทั้งค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเยียวยา ค่าเผา ค่าเลือกตั้ง 2 ครั้ง และอื่นๆ 
มีมูลค่าเสียหายรวมกว่า 2 ล้านล้านบาท ซึ่งปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน จนเกิดเหตุการณ์ วันที่ 22 พ.ค.57

5. ดังนั้นการร่างรัฐธรรมนูญ ต้องเหลียวหลังแก้ปัญหาในอดีต แลหน้าสู่อนาคต 
จึงมีเจตนารมณ์ในการร่างรัฐธรรมนูญ 4 ข้อ คือสร้างพลเมืองให้เป็นใหญ่ การเมืองใสสะอาดและสมดุล
หนุนสังคมที่เป็นธรรม นำชาติสู่สันติสุข  นี่คือ เสาเอก
นายบวรศักดิ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.2557 ที่มีการขยายเวลาให้ กมธ.ยกร่างฯ ออกไปอีก 30วัน ซึ่งเราจะส่งร่างให้ สปช. วันที่ 22 ส.ค.นี้  คาดว่าระหว่างวันที่ 5-7 ก.ย. ทาง สปช.จะลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากไม่เห็นชอบก็เป็นฝาแฝดอิน-จัน ตายตามกันไป
และถ้าไปอ่านในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว)ให้ดีจะเห็นว่าเมื่อรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ก็จะตั้ง กมธ.ยกร่างฯ 21 คนมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ภายใน 180 วัน และถ้าไม่ผ่านการทำประชามติ อีก กมธ.ยกร่างฯ 21 คน ก็สิ้นสุดการปฎิบัติหน้าที่ และไปดูดี ๆ ไม่ได้มีการเขียนเอาไว้ว่าจะทำยังไงต่อ

6. แสดงว่า "แป๊ะ"ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว)ต่อ เพราะไม่ได้มีการเขียนเอาไว้ว่าจะต้องทำอย่างไร 
และตนก็สงสัยว่า กกต.ไปกำหนดวันลงประชามติวันที่ 10 ม.ค.59 ได้อย่างไร
เนื่องจากต้องแจกร่างรัฐธรรมนูญ ให้ครบ ร้อยละ 80 ของครัวเรือน หรือประมาณ 19 ล้านฉบับ

7. ตนยืนยันว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใช่รัฐธรรมนูญในอุดมคติของตน 
และการที่ ครม. ขอแก้ 100 กว่าจุดแสดงให้เห็นว่าไม่มีพิมพ์เขียว พิมพ์ชมพู หรือเขียนมาที่แป๊ะสั่ง
ซึ่ง ครม.ได้กำชับมาตลอดว่าการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องไม่ให้มีการออกมาตีกันอีก แต่ตนยืนยันว่าเจตนารมณ์ 4 ข้อนั้นต้องอยู่ เพราะเหมือนกับการออกแบบบ้าน ตรงนี้คือเสาเอก ถ้าเราจะสร้างบ้านแล้วมารื้อเสาเอกทิ้ง ก็ต้องหาคนเขียนใหม่นายบวรศักดิ์ กล่าวต่อว่า 

8. การทำงานของ กมธ.ยกร่างฯ อยู่ระหว่างการดูคำขอแก้ไข 
ซึ่งในหมวดการเมือง มีแนวโน้มที่จะปรับปรุงแก้ไข อาทิ @การปรับจำนวน ส.ส. จากเดิม 250 คน อาจปรับเป็นส.ส.เขต 300 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 150 คน และมีแนวโน้มว่าการคิด ส.ส.บัญชีรายชื่อ 6 ภาค
อาจปรับเป็นแบบเดิมโดยใช้เป็นเขตประเทศ ส่วนเรื่องกลุ่มการเมืองก็มีแนวโน้มสูงที่จะเอาออก แต่จะให้มี@การตั้งพรรคการเมืองง่ายขึ้น เพราะเราไม่อยากให้พรรคการเมืองเป็นของคนตระกูลใดเหมือนที่ผ่านมา @ส่วนระบบโอเพ่นลิสต์ที่ในร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามานับ
แต่เมื่อ กกต. ท้วงติงว่ามีปัญหา จึงจะปรับให้ไปใช้ครั้งแรกหลังจากมีการเลือกตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์
@สำหรับหน้าที่ ส.ว.คิดว่าจะปรับในส่วนของการเสนอกฎหมายออก เพราะหลายส่วนบอกไม่พร้อม ก็คงกลับให้มาทำหน้าที่กลั่นกรองตามเดิม และตัดอำนาจที่พิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติรัฐมนตรีออกด้วย
ส่วนการถอดถอนก็จะให้ทำได้เฉพาะคนที่ ส.ว.แต่งตั้ง เห็นชอบ เป็นต้น > ซึ่งการปรับดังกล่าวถือเป็นการประณีประนอม เดินสายกลางแล้ว

9."อนาคตรัฐธรรมนูญนี้จึงขึ้นอยู่กับการที่ กมธ.ยกร่างฯ ที่ต้องคงเจตนารมณ์ 4 ข้อไว้ให้ได้ 
แต่ปรับบทบัญญัติให้สอดรับกับความรับได้ของกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมไทยดังนั้นจึงไม่ใช่รัฐธรรมนูญฉบับในฝันของผม แต่จะเป็นฉบับที่ทำให้สังคมไทยขยับเคลื่อนไปได้แก้ปัญหาความขัดแย้งในอดีต สร้างความเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคมรวมถึงสร้างพลเมืองให้เป็นใหญ่ พยายามทำให้การเมืองใสสะอาดสมดุลเท่าที่สังคมไทยจะรับได้ในเวลานี้10.ส่วนอนาคตของรัฐธรรมนูญจะเป็นเช่นไร ต้องไปถาม สปช. และ คสช. ผมตอบไม่ได้ เพราะผมยังไม่รู้อนาคตของผม และผมเชื่อว่าเราจะเขียนรัฐธรรมนญให้ออกมาท่ามกลางภาวะสังคมไทยในปัจจุบัน อาจไม่ถูกใจใครร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่คงไม่ไปขัดใจใครจนลุกขึ้นมาต่อต้าน เราจะประสานความรู้สึกคนในสังคมมาให้มากที่สุด" 
นายบวรศักดิ์ กล่าว. “

อ่านต่อที่ :

อ๋อย ตู่ เต้น ถูกคสช.เรียกปรับจูนทัศนคติ!!

อ๋อย ตู่ เต้น ถูกคสช.เรียกปรับจูนทัศนคติ!!
18 มิ.ย. 58 ข่าวรายงานว่า นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรมว.ศึกษาธิการ พร้อมด้วย นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. ได้เดินทางถึงสโมสรกองทัพบก ถ.วิภาวดีรังสิต ภายหลังจากที่ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) ได้เชิญนักการเมืองหลายคนเข้าพูดคุย โดยนัดหมายกันในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งมีทั้งวันนี้ และพรุ่งนี้ (19 มิ.ย.)
โดยสาเหตุที่มีการเรียกเข้าพูดคุยในครั้งนี้ เนื่องจากบุคคลตามรายชื่อข้างต้นได้มีการให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์ทั่วไปตามสื่อต่างๆ และพาดพิงถึงการทำงานของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)


ทหารเชิญ “ปานเทพ” ปรับทัศนคติ หลังยื่นค้านร่างพรบ.ปิโตรเลียม

ทหารเชิญ “ปานเทพ” ปรับทัศนคติ หลังยื่นค้านร่างพรบ.ปิโตรเลียม
Cr:ไทยโพสต์
18 มิ.ย. 2558 ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานก.พ. เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ประมาณ 35 คนนำโดยนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คนสนิทนายสนธิ ลิ้มทองกุล เข้ายื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ผ่านนายกมล สุขสมบูรณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงจุดยืนคัดค้านและไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฉบับที่…พ.ศ….และ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมฉบับที่…พ.ศ….ที่ผ่านการอนุมัติโดยหลักการของคณะรัฐมนตรี
นายปานเทพ กล่าวว่าพรบ. 2 ฉบับนั้นไม่เคยมีการเผยแพร่ให้ประชาชนทราบก่อนและไม่ได้มีการรับฟังเสียงของประชาชนหรือมีกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนแต่อย่างใด แต่มีการอนุมัติโดยครม.ไปก่อน คปพ. จึงห่วงว่าภาคประชาชนอาจเกิดความสงสัย ว่าครม.ขาดความจริงใจต่อข้อเสนอของประชาชนหรือไม่ เพราะการการะทำที่เกิดขึ้นขัดแย้งกับหนังสือของนายกฯ ที่แจ้งให้ คปพ ว่าขอให้เชื่อมั่นในความโปร่งใสและเป็นไทย และการย้อเสนอต่างๆ ที่มีการเสนอไปยังภาครัฐก็ยังไม่ได้รับการตอบสนองเป็นรูปธรรมแต่อย่างใด
นายปานเทพ กล่าวว่าร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 2 ฉบับไม่สามารถรักษาผลประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชนได้ เนื่องจากมีช่อโหว่ที่จะเปิดโอกาสให้มีการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการทุจริตขึ้นได้ คปพ. จึงขอคัดค้าน ร่างฯ พ.ร.บ. ดังกล่าว และขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี แสดงความจริงใจด้วยการปฏิบัติตามสัญญา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการให้สัมภาษณ์ ของนายปานเทพ เจ้าหน้าที่ทหารจากคสช. ได้เชิญตัวไปสอบถามและปรับทัศนคติที่ชั้น 3 สำนักงานก.พ.ขณะที่แนวร่วมที่เหลือยังคงรออยู่ที่โรงอาหารสำนักงานก.พ.


ราชกิจจาฯ แจ้งประกาศ สธ. ยก ′เมอร์ส′ เป็นโรคติดต่อ-ต้องแจ้งความ

วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เวลา 18:50:40 น
http://www.matichon.co.th/online/2015/06/14346276971434627948l.jpg

เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 58 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เพิ่มเติมชื่อโรคติดต่อต้องแจ้งความ 

ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศลงวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ประกาศลงวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ และประกาศลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ กําหนดชื่อโรคติดต่อต้องแจ้งความ จํานวน ๒๑ โรค นั้น

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจึงออกประกาศเพิ่มเติมชื่อโรคติดต่อต้องแจ้งความ ดังนี้  “๒๒. โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome - MERS)”

งานเข้า! ICAO ปักธงแดงไทย ไม่ผ่านมาตรฐานปลอดภัยการบิน ประจิน รับเหมือนนร.สอบตก

วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เวลา 17:30:17 น.
องค์กรการบินพลเรือนระหว่งประเทศ ประกาศชื่อไทยมีสัญลักษณ์ธงแดงวันนี้ หลังไม่เห็นชอบแผนแก้ไขข้อบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญ หรือ SSC แม้ก่อนหน้านี้ ไทยได้เข้าพบประธาน ICAO ก็ตาม ด้านรัฐมนตรีคมนาคม ยอมรับ เหมือนไทยเป็นนักเรียนสอบตก
http://www.matichon.co.th/online/2015/06/14346234551434624364l.jpg

นายเสรี จิตต์โสภา รองอธิบดีกรมการบินพลเรือน ระบุว่า องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ไอเคโอ้ ประกาศชื่อประเทศไทยมีสัญลักษณ์ธงแดงในวันนี้ (18 มิ.ย.) ผ่านเว็บไซต์ หลังแผนแก้ไขข้อบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญ หรือ SSC ของไทย ยังไม่ผ่านการรับรอง และ ICAO มีความเห็นว่า แผนของไทยยังเป็นไปไม่ได้

ทั้งนี้ การขึ้นสัญลักษณ์ดังกล่าว ไม่ได้กำหนดระยะเวลาใดๆ ในการแก้ไข โดยอาจจะพิจารณาการแก้ไขเป็นขั้นตอน หลังจาก ICAO พบข้อบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญเมื่อ กุมภาพันธ์ 2558


ด้านพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่ากระทรวงคมนาคม ยอมรับว่า การเผยแพร่ข้อมูลของ ICAO ไม่ทราบว่ามาจากการสื่อสารที่ผิดพลาดของฝ่ายใด และยอมรับว่า "เปรียบเสมือนนักเรียนสอบตกจากปัญหาดังกล่าว" โดยต้องติดตามท่าที โดยเฉพาะองค์กรการบินพลเรือนของยุโรป ที่จะประกาศในวันที่ 25 มิถุนายนนี้ ว่าจะส่งผลกระทบอย่างไร พร้อมยืนยันเดินหน้าแก้ไขปัญหาความปลอดภัยการบินต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ได้เดินทางไปพบกับประธาน ICAO ที่สำนักงานใหญ่ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา และได้รายงานกลับมาว่า ทาง ICAO พอใจแผนของไทย และจะไม่มีการประกาศมาตรการใดๆเพิ่มเติม โดยคณะจะเดินทางกลับมาในวันพรุ่งนี้เช้า (19 มิ.ย.)

เปิดข้อมูลใหม่ ปัญหา ICAO ของ กรมการบินพลเรือน ลึกกว่าที่คิด !!

วันที่ 04 เมษายน พ.ศ. 2558 เวลา 06:10:00 น

หลังเป็นข่าวใหญ่มาตลอดทั้งสัปดาห์ กรณี "กรมการบินพลเรือน"  ที่ถูก International Civil Aviation Organization (ICAO)ซึ่งเป็นหน่วยงานของสหประชาชาติเข้ามาตรวจสอบมาตรฐานการควบคุมสายการบินของไทยเมื่อต้นปี แล้วประกาศผลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งผลปรากฎว่าของไทยสอบตก ได้คะแนนแค่ 35.6% แพ้แม้กระทั่งกัมพูชา(40.2%) อินโดนีเซีย(45.1%) ซึ่งเป็นอีกแค่สองชาติที่สอบตกได้ไม่ถึงครึ่ง

ส่วนบรูไน พม่า ลาว ได้ 65%  มาเลย์เซีย ก็ผ่านฉลุย ได้ 81% ขณะที่สิงคโปร์ได้ 98.9% เกือบสูงสุดในโลก

ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ทางการของไทย ทั้งรัฐบาล กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังแก้ปัญหากันขนานใหญ่นั้น


 
ล่าสุด"มติชนออนไลน์" ได้รับข้อมูลชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ของกรมการบินพลเรือน ซึ่งต้องการสื่อสารเพื่อให้สาธารณะ และประชาชนทั่วไปได้รับรู้ เนื่องจากเป็นเรื่องใหญ่ เพราะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบิน รวมถึงการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจโดยรวม อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป

อย่างไรก็ตามมีข้อความบางส่วนที่แม้จะเป็นข้อเท็จจริงตามที่ผู้เผยแพร่ข้อมูลกล่าวอ้างแต่เนื่องจากเป็นข้อมูลที่ไปกระทบกับบุคคลอื่นหน่วยงานอื่น ทำให้ต้องมีการตัดทอนข้อความดังกล่าวออกไป

ในฐานะเจ้าหน้าที่กรมการบินพลเรือนอยากจะขอโอกาสชี้แจงข้อเท็จจริงในหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากผลการตรวจสอบประเทศไทยโดยICAOตามโครงการUSOAP ซึ่งที่ผ่านมามีการส่งต่อและกระจายข้อมูลที่ผิดพลาดโดยสื่อมวลชนและสังคมออนไลน์เป็นจำนวนมาก โดยจะขอให้ข้อมูลบางส่วนแก่ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องในวงการการบินน่าจะอยากรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงๆ และสิ่งที่เกิดภายในกรมการบินพลเรือนที่ทำให้อุตสาหกรรมการบินของประเทศไทยต้องอยู่ในสภาวะวิกฤติ 

Q : มาตรฐานความปลอดภัยของการบินในประเทศไทยต่ำที่สุดในอาเซียนจริงหรือ ?
A : จริง และ ไม่จริง จากค่า Lack of Effective Implementation ที่ประเทศไทยได้รับหลังการตรวจสอบล่าสุด คะแนนของเราอยู่ในลำดับที่ต่ำที่สุด แต่หากดูที่รายละเอียดผลการตรวจสอบของประเทศอื่นในอาเซียน โดยส่วนใหญ่จะเป็นคะแนนที่ได้รับการตรวจสอบที่ผ่านมานานแล้ว โดยในครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับการตรวจสอบ
 
เราได้คะแนนอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก เนื่องจากผู้ตรวจสอบยังไม่มีประสบการณ์และกระบวนการตรวจสอบยังไม่ละเอียดเหมือนในปัจจุบัน ซึ่งหากประเทศอื่นได้รับการตรวจสอบตามเกณฑ์ล่าสุด คะแนนก็ย่อมจะลดลงเหมือนกับผลการตรวจสอบของเรา อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเราจะอยู่อันดับแรกหรืออันดับสุดท้าย
 
ผลการตรวจสอบที่ออกมาก็แสดงให้เห็นว่ากรมการบินพลเรือนไม่สามารถกำกับดูแลความปลอดภัยตามมาตรฐานได้อยู่ดี  


Q : กรมการบินพลเรือนได้รับคำเตือนจาก ICAO ตั้งแต่ปี 2548 แต่ไม่มีการดำเนินการแก้ไขใดๆจริงหรือ ?
A : จากผลการตรวจสอบ USOAP ในปี 2548 ผลคะแนนของเราอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก ในระดับใกล้เคียงกับประเทศสิงค์โปร์ อีกทั้ง Finding ต่างๆที่ทาง ICAO แจ้งก็เป็นเพียงข้อเสนอให้แก้ไขเพื่อพัฒนาเท่านั้น อาจเป็นความโชคร้ายของประเทศไทยที่การตรวจสอบ USOAP ในปี 2548 ก็เป็นการตรวจสอบครั้งแรกของ ICAO เช่นกัน ความบกพร่องของระบบกฏหมาย องค์กร ระบบการกำกับดูแล จึงไม่ถูกตรวจพบในการตรวจสอบครั้งนั้น ซึ่งทำให้กระทรวงคมนาคมไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาปรับปรุงระบบการกำกับดูแลอย่างจริงจัง
 
กรมการบินพลเรือนเคยขอปรับปรุงโครงสร้างองค์กรมากกว่า4ครั้งและก็มีความพยายามที่จะปรับปรุงระบบกฎหมายการบินแต่ถูกกีดกันขัดขวางจากคนบางกลุ่มและไม่ได้รับการตอบสนอง นอกจากนี้ในแต่ละปี กรมการบินพลเรือนไม่เคยได้รับงบประมาณในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ตามที่ร้องขอเลย อัตรากำลังพลที่ขอเพิ่มเติมก็แทบไม่เคยได้
 
ถึงจะได้ตำแหน่งเจ้าหน้าที่มาเพิ่มเราก็ไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะส่งเจ้าหน้าที่ไปฝึกอบรมเพื่อให้มาทำหน้าที่ตรวจสอบได้อยู่ดีและด้วยระบบเงินเดือนราชการเราก็ไม่มีทางที่จะสามารถดึงบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญพร้อมปฏิบัติหน้าที่เข้ามาทำงานได้ในทางกลับกันเรายังต้องสูญเสียบุคลากรที่มีความสามารถให้กับภาคเอกชนอยู่ตลอดเวลา
 
อุปสรรคทุกอย่างนี้ค่อยๆสะสมจนมาถึงวันนี้ที่ระบบไม่สามารถเดินต่อไปได้


Q : ทำไมสายการบินของประเทศไทยถึงอาจจะถูกพิจารณาแบน ?
A : ประเทศต่างๆไม่ได้พิจารณาแบบสายการบินของไทยจากผลคะแนน แต่ผู้ตรวจสอบได้ตรวจเจอความบกพร่องในกระบวนการออกใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ (Air Operator Certificate : AOC) โดยพบว่ามีการรับรองการปฏิบัติการบินแบบ ILS CAT II/III, ETOPS และการขนส่งสินค้าอันตรายโดยไม่เป็นไปตามมาตรฐาน จึงได้แจ้งผล Significant Safety Concern (SSC) ให้แก่ประเทศไทย ซึ่ง SSC แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีการรับรองหรือปล่อยให้มีการประกอบการซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ทำให้ประเทศต่างๆไม่ยอมรับการรับรองหรือการอนุญาตของกรมการบินพลเรือน


Q : หากสั่งห้ามการปฏิบัติการบิน ILS CAT II/III, ETOPS และการขนส่งสินค้าอันตราย จะเพียงพอหรือไม่ที่จะทำให้ ICAO พิจารณาลบ SSC ?
A : ไม่ การพบความบกพร่องในกระบวนการรับรองการปฏิบัติการบินแบบ ILS CAT II/III, ETOPS และการขนส่งสินค้าอันตราย เป็นเพียงหลักฐานที่ทำให้ผู้ตรวจสอบเห็นว่าระบบการออกใบรับรอง AOC ของประเทศไทยไม่มีประสิทธิภาพ จึงเชื่อได้ว่าการรับรองด้านอื่นก็จะมีข้อบกพร่องเช่นกัน


Q : ICAO จะพิจารณาลบ SSC เมื่อใด ?
A :กรมการบินพลเรือนจะต้องทำแผนแก้ไข Corrective Action Plan (CAP) ของกระบวนออกใบรับรอง AOC ใหม่ทั้งหมด ซึ่งรวมถึงการจัดทำกฎระเบียบ มาตรฐาน คู่มือ วิธีปฏิบัติ เอกสารที่เกี่ยวข้อง ระบบการเก็บข้อมูล แนวทางการตรวจสอบติดตาม ฯลฯ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมถึงแผนการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจสอบให้มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสม และประเทศไทยจะต้องนำกระบวนการออกใบรับรอง AOC ใหม่ที่ได้จัดทำมาใช้จริงจนมั่นใจได้ว่าการปฏิบัติงานมีมาตรฐานพอเพียง จึงจะมีหนังสือแจ้ง ICAO ให้ส่งคณะผู้ตรวจสอบมาทำการประเมินใหม่เฉพาะเรื่อง หรือที่เรียกว่า ICAO Coordinated Validation Mission (ICVM)

Q : ประเทศไทยสามารถดำเนินการแก้ไขเพื่อ ICAO พิจารณาลบ SSC ได้ภายใน 8 เดือนหรือไม่ ?A : ไม่มีทาง
 
กระบวนการออกใบรับรอง AOC เป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนมาก ลำพังแค่กระบวนการพิจารณาออกใบรับรอง AOC สำหรับสายการบินเพียงสายเดียวก็ใช้เวลา 6-9 เดือนแล้ว ยังไม่รวมเวลาที่กรมการบินพลเรือนต้องทำการแก้ไขระบบ กระบวนการ เอกสาร รวมทั้งต้องส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มเติมเพื่อให้มีเจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถในจำนวนที่พอเพียง เพื่อให้มีความพร้อมในการดำเนินการออกใบรับรองAOCตามมาตรฐานระหว่างประเทศโดยเฉลี่ยประเทศอื่นจะใช้เวลาในการดำเนินการแก้ไขจนผ่านการตรวจสอบ ICVM ไม่น้อยกว่า 2-3 ปี ซึ่งข้อมูลนี้อธิบดีกรมการบินพลเรือนก็รู้ดี แต่ก็ยังให้สัมภาษณ์ว่าจะแก้ไขให้เสร็จใน 8 เดือน ซึ่งเมื่อครบเวลา 8 เดือนอธิบดีกรมการบินพลเรือนคนนี้ก็จะเกษียนจากตำแหน่งแล้ว

นอกจากนี้หากผู้ตรวจสอบพบเจอข้อบกพร่องเพิ่มเติมในระหว่างICVMก็สามารถจะแจ้งข้อบกพร่องเพิ่มเติมได้ตลอดเวลาซึ่งมีหลายประเทศที่ได้ร้องขอให้มีการตรวจสอบ ICVM มากกว่า 1 ครั้ง และไม่สามารถปลด SSC ออกได้ อีกทั้งต้องจัดทำ CAP เพิ่มเติมเป็นจำนวนมาก ซึ่งก็ยิ่งส่งผลเสียหายขึ้นไปอีก ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องมีความมั่นใจในกระบวนการว่าสมบูรณ์แล้วจริงๆจึงจะขอให้ ICAO มาทำการตรวจสอบ ICVM


Q : ปัญหาการออกใบรับรอง AOC อยู่ที่ตรงไหน ?A : เนื่องจากเจ้าหน้าที่มีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับภาระงานที่เพิ่มขึ้นมหาศาลจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมการบินไม่ใช่แค่การออกใบรับรองใหม่แต่รวมถึงการแก้ไขรายละเอียดต่างๆในใบรับรองที่ได้ออกไปแล้วด้วยเจ้าหน้าที่จึงไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนากระบวนการต่างๆที่มีข้อบกพร่องให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานได้ซึ่งข้อเท็จจริงที่ทุกคนต้องรู้คือเรื่องของระบบการเมืองระบบเส้นสายอิทธิพลที่ฝังลึกอยู่ในสังคมราชการไทย
 
แน่นอนว่านายทุนหรือบุคคลผู้คิดจะตั้งสายการบินขึ้นมาสักสายย่อมไม่ใช่บุคคลธรรมดาทุกคนมีทั้งเงินอำนาจคนรู้จักในวงราชการเจ้าหน้าที่ทุกคนจะถูกคนใหญ่คนโตในระดับต่างๆจากภายนอกเข้ามากดดันให้ช่วยอะลุ้มอล่วยหรือเร่งการดำเนินการรับรองให้เร็วขึ้นคนนอกเหล่านี้สามารถเดินเข้ามาถึงตัวเจ้าหน้าที่ที่โต๊ะทำงานได้เลย
 
แต่เราก็ยอมรับว่าในกรมการบินพลเรือนก็มีเจ้าหน้าที่ที่เจตนาส่อไปในทางทุจริตเพื่อผลประโยชน์ต่างๆเช่นกันปัญหาทุกอย่างล้วนส่งผลให้เกิดความบกพร่องที่รุนแรงในระบบการรับรอง


Q : แสดงว่าการรับรองในด้านอื่นๆที่ไม่มี SSC มีประสิทธิภาพ ?A : ไม่ กรมการบินพลเรือนมีปัญหาการรับรองความปลอดภัยในทุกด้าน
 
เราไม่มีกฎหมายและบุคลากรที่มีความสามารถในจำนวนเพียงพอที่จะทำการรับรองสนามบิน,หน่วยงานATC,หน่วยงานCNS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการออกข้อมูล AIP และ NOTAM ไม่มีการควบคุมมาตรฐาน เราถูกแทรกแทรงการพิจารณาอัตราค่าบริการต่างๆไม่ว่าจะเป็นค่า PSC, NAV charge จากการเมือง เราถูกบังคับให้ต้องออกใบอนุญาตสนามบินให้กับ ทอท. ทั้ง 6 แห่ง โดยไม่มีกฎหมายรองรับ
 
ในโลกของความเป็นจริง กรมการบินพลเรือนไม่เคยเป็นกรมเกรดเออย่างที่มีคนให้ข้อมูลผิดๆ ในเวทีระดับกระทรวง หน่วยงานรัฐวิสาหกิจและเอกชนก็ล้วนแต่มีอำนาจมากกว่ากรมการบินพลเรือนทั้งสิ้น ยังมีเรื่องอื่นๆอีกมากมายที่เป็นปัญหาหมักหมมอยู่ในระบบการบินของประเทศไทย แต่ที่เราไม่ได้รับ SSC ในเรื่องอื่นก็เป็นเพราะ ICAO มุ่งเน้นการตรวจสอบไปที่การออกใบรับรอง AOC เนื่องจากเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศโดยตรง ซึ่งหากนำมาตรฐานการให้ SSC มาใช้กับด้านอื่น กรมการบินพลเรือนจะได้รับ SSC จำนวนมากกว่านี้


Q : อธิบดีกรมการบินพลเรือนในปัจจุบัน ไม่ต้องรับผิดขอบเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากพึ่งรับตำแหน่งเพียง 6 เดือนจริงหรือ ?A : แม้ว่านายสมชาย พิพุธวัฒน์ จะพึ่งรับตำแหน่งอธิบดีกรมการบินพลเรือนเพียง 6 เดือน แต่ก่อนจะไปปฎิบัติหน้าที่ที่กระทรวงคมนาคมและมารับตำแหน่ง นายสมชายฯ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนิติกรของกรมการบินพลเรือนตั้งแต่เริ่มต้นรับราชการ และเป็นผู้ดำเนินการแก้ไขกฎหมายหลักด้านการบินของประเทศ ซึ่งคือ “พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497” มาโดยตลอด

ซึ่งกฎหมายหลักตัวนี้เป็นส่วนหนึ่งของความล้มเหลวในการกำกับดูแลความปลอดภัยด้านการบินตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาซึ่งดูได้จากผลคะแนนการตรวจสอบUSOAPในด้านกฎหมาย(LEG) ซึ่งประเทศไทยได้คะแนนเพียง 28.57% 

ในช่วงที่ผ่านมาผู้บริหารบางรายมักจะให้ข้อมูลในลักษณะที่น่าจะมีการปิดบังข้อเท็จจริงต่างๆอยู่ตลอดเวลาเช่นการให้ข้อมูลว่าICAOไม่มีสิทธิแบนสายการบินของไทยให้ข้อมูลเวลาการแก้ไข SSC ที่ไม่มีทางทำได้จริง เช่นภายใน 90 วันในช่วงแรก ซึ่งภายหลังก็กลายมาเป็น 8 เดือน


Q : พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 มีข้อบกพร่องตรงไหน ? A : จากพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 อำนาจในการกำกับดูแลด้านการบินที่แท้จริงนั้นถูกมอบไว้ให้กับกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า “คณะกรรมการการบินพลเรือน” ไม่ใช่กรมการบินพลเรือนอย่างที่ควรจะเป็น คณะกรรมการการบินพลเรือนนี้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานและสามารถแต่งตั้งคณะกรรมการอื่นได้โดยไม่มีการกำหนดคุณสมบัติใดไม่มีวาระโดยจะอยู่ในตำแหน่งจนกว่าจะถูกแต่งตั้งใหม่หรือเสียชีวิตจากที่ผ่านมาคณะกรรมการการบินพลเรือนแทบจะไม่เคยมีการประชุมเพื่อพิจารณาออกกฎระเบียบใด ส่วนใหญ่จะจัดประชุมเมื่อผู้ประกอบการต้องการขอปรับขึ้นอัตราค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมเท่านั้น จึงยิ่งทำให้กระบวนการออกกฎระเบียบมีขั้นตอนที่ซับซ้อนอยู่แล้วใช้เวลานานยิ่งขึ้นไปอีก
 

Q : ทำไมกรมการบินพลเรือนถึงไม่แก้ไขพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ? A : พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 4 โดยความร่วมมือกับอธิบดีกรมการบินพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งนิติกรในขณะนั้น ซึ่งได้ออกกฎหมายต่างๆจำนวนมากโดยขาดความรู้ความเข้าใจในด้านการบินอย่างถ่องแท้ และไม่สนใจความเห็นของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่ไปร่วมให้ความเห็น จนทำให้ในท้ายที่สุดไม่มีเจ้าหน้าที่กรมการบินพลเรือนยอมไปเข้าร่วมให้ความเห็นในการจัดทำกฎหมาย
 
ผลก็คือระบบกฎหมายด้านการบินของไทยมีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนขัดแย้งกันเองนอกจากจะไม่ส่งเสริมการบินแล้วก็ยังกีดกันการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมจนทำให้การบินส่วนบุคคลในประเทศแทบจะสูญหายไป กฎหมายกฎระเบียบต่างๆที่ออกมาก็ไม่สามารถใช้งานได้จริง


Q : ผู้ประกอบการคิดยังไงกับพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ? A :ในระหว่างการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นร่างแก้ไขพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 – 21 พฤษจิกายน 2557 ที่โรงแรม Windsor Suite ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนจากหน่วยราชการ สายการบิน สนามบิน สโมสรการบิน นักบิน และสมาคมนักบินไทย ได้วิจารณ์และโต้แย้งแนวคิดของตัวพระราชบัญญัติดังกล่าวในทุกมาตรา

โดยที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันให้ยกเลิกร่างแก้ไขพระราชบัญญัติทั้งหมดและให้จัดทำร่างกฎหมายการบินฉบับใหม่โดยไม่ระบุถึงคณะกรรมการการบินพลเรือนและองค์กรอื่นแต่นายสมชายฯได้สรุปว่าผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาทุกหน่วยงานไม่มีข้อขัดข้องในหลักการของร่างแก้ไขดังกล่าวและจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาสร้างความไม่พอใจให้กับผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนและเป็นการยืนยันความพยายามของนายสมชายฯในการปกป้องระบบกฎหมายแบบเก่า


Q : การจัดทำกฎหมายการบินใหม่จะเป็นอย่างไร ? A : เจ้าหน้าที่กรมการบินพลเรือนได้ต่อสู้จนรัฐมนตรีมีคำสั่งให้ถอนร่างพระราชบัญญัติออกจากการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่4 และก็มีการตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำร่างกฎหมายการบินใหม่โดยมีความคืบหน้าและกำลังจะแล้วเสร็จตามกำหนดเวลา แต่นายสมชายฯ ให้ข้อมูลกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมว่ากรมการบินพลเรือนไม่สามารถจัดทำกฎหมายการบินได้ทัน และจำเป็นจะต้องใช้ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 เดิมไปก่อน โดยจะแก้ไขรายละเอียดให้เหมาะสม
 
จึงเป็นที่แน่นอนว่ากฎหมายการบินที่ออกมาใหม่ก็จะมีเนื้อหาเหมือนเดิมและไม่ทำให้เกิดการพัฒนาใด


Q : ทำไมนายสมชายฯจึงต้องปกป้องพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ? A : นายสมชายฯ ได้เตรียมการจะเข้ารับตำแหน่งในคณะกรรมการการบินพลเรือนหลังจากเกษียนอายุราชการในเดือนกันยายน 2558 นี้ จึงต้องรักษาระบบและอำนาจของคณะกรรมการการบินพลเรือน หรือคณะกรรมการอื่นในรูปแบบเดิมเอาไว้


เจ้าหน้าที่กรมการบินพลเรือน

กรณีกรมการบินพลเรือนสอบตกICAO

ระเบิดเวลาลูกแรกได้เริ่มปะทุขึ้นแล้ว.....

29 มีค. 2558


สืบเนื่องจากบทความ "ระเบิดเวลา ประเทศไทย" ของ ดร.วิรไท สันติประภพ ในคอลัมน์"เศรษฐศาสตร์พเนจร" วันที่ 11 มีค. ที่ผ่านมา


ดร.ก็ได้พูดถึง ความกังวลที่มีต่อความอ่อนแอและบกพร่องของระบบราชการไทยที่มีอยู่อย่างมากมาย มีปัญหาที่ถูกละเลยและซุกซ่อนไว้ใต้พรมกระจายอยู่แทบทุกหน่วยงานตลอดมา โดยหนึ่งในตัวอย่างที่ยกมา ก็ได้แก่ความบกพร่องร้ายแรงของกรมการบินพลเรือน ที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤติร้ายแรงด้านอุตสาหกรรมการบิน และอาจลามไปสู่การท่องเที่ยวและด้านอื่นๆด้วย ดร.ก็ ระบุว่า ความอ่อนแอของระบบราชการไทยจะเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ที่จะทำให้เกิดปัญหาถึงขั้นวิกฤติได้


ผมเองก็ได้พยายามวิเคราะห์ให้เห็นตลอดมาว่า ทั้งๆที่โลกได้พิสูจน์แล้ว ว่ารัฐที่"แสนดี และ แสนเก่ง"นั้นไม่มีอยู่จริง แต่ประเทศเรากลับมุ่งขยายภาครัฐไม่หยุดหย่อน ทั้งรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินของรัฐ นโยบายประชานิยมสุดขั้วที่ซ่อนความเสียหายไว้ รวมทั้งระบบราชการที่สถาบันอนาคตไทยศึกษาระบุว่าขยายจำนวนถึง 50%ในสิบปีที่ผ่านมา และมีเงินเดือนสวัสดิการรวมเพิ่มถึงสามเท่าตัว นี่เองคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เรากลายเป็น"คนป่วยคนใหม่ของเอเชีย" (The New Sick Man of Asia)


เหตุการณ์ที่เกิดที่กรมการบินพลเรือน ซึ่งถือว่าเป็นกรมเกรดเอ นี่เป็นเรื่องเหลือเชื่อจริงๆ....International Civil Aviation Organization (ICAO) ซึ่งเป็นหน่วยงานของสหประชาชาติ ทำหน้าที่กำหนดและตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆทางด้านการบินพลเรือน ได้เข้ามาตรวจสอบมาตรฐานการควบคุมสายการบินของเราพร้อมๆกับประเทศอื่นๆในASEAN เมื่อต้นปี แล้วประกาศผลไปเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งผลนั้นคงทราบกันดีแล้วว่า เด็กชายไทยแลนด์สอบตกยับเยินได้ที่โหล่ เราได้คะแนนแค่ 35.6% แพ้แม้กระทั่งเขมร(40.2%) อินโด(45.1%) ซึ่งเป็นอีกแค่สองชาติที่สอบตกได้ไม่ถึงครึ่ง ส่วนบรูไน พม่า ลาว ที่ต่างก็มีเครื่องบินพลเรือนไม่กี่ลำ ต่างก็ได้ 65% คะแนนเกือบสองเท่าเรา ส่วนมาเลย์เซีย ที่เครื่องเพิ่งตกไป 3 ลำในปีเดียวก็ผ่านฉลุย 81% ส่วนสิงคโปร์ของท่านลีนั้นไม่ต้องพูดถึง ฟาดไป 98.9% เกือบสูงสุดในโลกควบคู่ไปกับ UAE ที่มี Emirates กับ Ethihad (เห็นได้ชัดว่าคู่แข่งเจ้าจำปีเราอยู่ในประเทศที่มาตรฐานสูงลิ่วทั้งนั้น ...แล้วจะไปเหลือเหรอครับ)


การตรวจสอบครั้งนี้เป็นไปตามมาตรฐานที่ชื่อว่า ICAO Universal Safety Oversight Audit Program (USOAP) ซึ่งล้วนเป็นข้อสอบที่ทุกคนรู้โจทย์อยู่ล่วงหน้าหมดแล้ว ทุกคนรู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้างเมื่อไหร่ ต้องทำเข้มข้นแค่ไหน (เค้าถึงได้เกือบเต็มกันหมดไงครับ) นับว่าง่ายกว่าการที่ให้เด็กไทยไปสอบแข่ง PISA เป็นไหนๆ ...แต่ข้าราชการไทยก็ทำขายหน้ายิ่งกว่าเด็กได้ถึงเพียงนี้ จาก100 กระบวนการที่เขาตรวจสอบ เราสอบผ่านแค่ 21 กระบวนการเท่านั้น เรียกได้ว่ามีแต่ประเทศด้อยพัฒนาแถวอาฟริกาเท่านั้นที่ได้คะแนนห่วยขนาดนี้ ...มันช่างอัศจรรย์ไม่น่าเชื่อเลยจริงๆ และมันก็เลยชวนให้เข้าใจได้อย่างเดียวเท่านั้นว่า ไม่ทำงาน ไม่เอาใจใส่ ไม่รับผิดชอบ ไม่...ฯลฯ และถัาจะคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า เค้าได้ตักเตือนถึงข้อบกพร่องตลอดมา กับ ไอ้สำนักงาน ICAO ของภาคพื้น Asia-Pacific ก็ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครเรานี่เอง โดยรัฐบาลไทยหาท่ีดินพร้อมก่อสร้างให้ฟรีๆด้วยซำ้ ก็ยิ่งจะต้องชอกช้ำกลัดหนองขึ้นไปใหญ่


การสอบตกนี้มีผลอย่างไร....ก็จริงอย่างที่กระทรวงคมนาคมพยายามชี้แจงแหละครับว่า ICAOไม่ได้มีอำนาจตามกฎหมายอะไร มันขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศว่าจะนำไปใช้บังคับมากน้อยอย่างไรหรือไม่ และขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกเรื่องความปลอดภัย เพราะมันหมายถึงผู้ตรวจสอบไม่ได้มาตรฐานเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าแต่ละสายการบินจะไม่ปลอดภัย ...

แต่นั่นแหละครับ มันเปรียบเสมือนว่า คุณครูเฉื่อยแฉะ นั่งหลับพุงยื่นนำ้ลายไหลทั้งวัน ไปสอบก็ตกยับ แล้วจะให้ใครเชื่อล่ะครับ ว่านักเรียนในชั้นล้วนเก่งกาจแข็งแรง มีระเบียบวินัยยอดเยี่ยม ...

ตอนนี้เลยเห็นได้ชัดว่า หลายชาติ(เช่น ญี่ปุ่น)ได้เริ่มมีมาตรการเข้มงวดกับสายการบินจากไทยแล้ว ห้ามเพิ่มเที่ยวบิน ห้ามเปลี่ยนแบบเครื่องบิน ห้ามเช่าเหมาลำ กับทั้งยังขึ้นตรวจตามเที่ยวบินต่างๆอย่างเข้มงวด (ซึ่งในอดีต Garuda ของอินโด ที่ประเทศเคยสอบตกเหมือนกัน เคยถูกตรวจพบข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อย ก็เลยถูกสั่งห้ามบินเข้ายุโรป 18 เดือน เกือบเจ๊งไป ...ซึ่งถ้าการบินไทยที่ย่ำแย่สาหัสอยู่แล้วโดนเข้าไปก็คงต้องเอวังแน่นอน)


ตอนแรกที่เป็นข่าวในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ กรมฯและกระทรวงคมนาคม พยายามบอกว่า น่าจะแก้ไขได้ภายใน 90 วัน ...แต่มาวันนี้กลับบอกว่า คงจะทำอะไรไม่ได้ไม่ทันแล้ว คงต้องยอมให้ICAO ยกธงแดงหน้าชื่อประเทศไทย ซึ่งก็หมายความว่า 28 สายการบินที่ได้รับใบอนุญาติจากไทย เครื่องบินหลายร้อยลำ จะต้องอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะถูกข้อจำกัดต่างๆตามแต่ที่แต่ละประเทศจะเห็นสมควร ตั้งแต่จำกัดเที่ยวบิน ลดเที่ยวบิน หรืออาจไปถึงงดบินเลยก็ได้ ซึ่งก็ยังหมายความว่า อุตสาหกรรมการบินของไทยที่มีขนาดร่วมสี่แสนล้าน กำลังเดินเข้าสู่ภาวะวิกฤติอย่างน่าเป็นห่วง และอาจลามไปกระทบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมูลค่ากว่าหนึ่งล้านล้านไปด้วย ทั้งหมดนี่มาจากสาเหตุที่ข้าราชการกรมเดียว ไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่

ยิ่งไปฟังคำแก้ตัวของกรมการบินพลเรือน ก็ยิ่งขมขื่นจนอยากเอาหัวโขกต้นหูกวางหน้ากระทรวงนัก ท่านอธิบดีบอกว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะเราขาดงบประมาณขาดกำลังคน มีเจ้าหน้าที่ด้านนี้แค่ 11 คน ต้องดูแลใบอนุญาตตั้ง 46 สายการบิน แถมงานนี้ต้องการช่างเทคนิคที่มีทักษะ แต่เงินเดือนข้าราชการไม่สูงพอ เลยหาคนไม่ได้ ...ทีงบประมาณสร้างสนามบินตั้ง 28 แห่ง กำลังคนดูแลสนามบินที่มีค่าใช้จ่ายสูงจัดหาได้สะดวกตลอดมา


ดูวิธีแก้ปัญหายิ่งเศร้าหนัก มีแต่คำว่าอาจจะ ...อาจจะขอให้บางประเทศส่งทีมมาช่วย จะลองติดต่อออสเตรเลียบ้าง สิงคโปร์บ้าง ว่าว่างมาดูแลให้หรือเปล่า(ผมว่ากราบขอร้องลาวเถอะครับ อย่างน้อยก็พูดกับเรารู้เรื่องดี) บ้างก็ว่าจะขอให้ท่านนายกฯโทรขอร้องท่านอาเบะนายกญี่ปุ่นที่คุ้นเคยกันให้ผ่อนผันให้ไปก่อน (ผมอยากพนันว่า ท่านอาเบะคงไม่กล้าเอาเรื่องความปลอดภัยของประชาชน มาแลกเปลี่ยนกับความคุ้นเคยนะครับ ...บิ๊กตู่ของเรามีสิทธิ์หน้าแตกสูงถ้าเขาปฏิเสธมา) ดูไม่เห็นมีแผนที่น่าเชื่อถือเป็นรูปธรรมสักเท่าใด ...เอาเป็นว่าเหมือนลอยแพสายการบินให้ช่วยเหลือตนเอง ต่างคนต่างวิ่งวุ่นเพื่อเอาตัวรอดให้ยังดำเนินกิจการต่อไปได้


เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มากที่ควรนำมาเป็นบทเรียน และหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก จะต้องดำเนินการสืบสวนและเปิดเผยออกมาว่า "มันเกิดขึ้นได้อย่างไร" ใครต้องรับผิดชอบบ้าง อธิบดี และอดีตอธิบดีกี่คนที่ละเลย ทำให้เกิดความเสียหายได้มากถึงเพียงนี้


นี่แหละครับ "ระบบราชการไทย"... ยังไม่รู้ว่ามีเรื่องน่ากลัวอื่นๆซุกซ่อนอยู่อีกมากน้อยเท่าไหร่ ...ระเบิดเวลาได้เริ่มระเบิดขึ้นแล้ว ยังไม่รู้เลยว่าจะลุกลามใหญ่โตก่อให้เกิดความเสียหายสักเท่าใด และก็ไม่รู้ว่าลูกระเบิดอื่นๆที่เหลือจะระเบิดเมื่อไหร่ จะมีคนถอดสลักมันได้สำเร็จสักเท่าใด


Amazing Thailand

CR. Facebook Banyong Pongpanich

การบินพลเรือนระหว่างประเทศติดธงแดงไทย ชี้แก้ไขปัญหาความปลอดภัยไม่ได้

การบินพลเรือนระหว่างประเทศติดธงแดงไทย ชี้แก้ไขปัญหาความปลอดภัยไม่ได้

องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ติดธงแดงให้ประเทศไทยในรายชื่อของประเทศที่ได้มีการตรวจสอบมาตรฐานการบิน ซึ่งธงแดงเป็นเครื่องหมายที่แสดงว่า ไทยไม่สามารถแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (SSC) ตามมาตรฐานการบินสากลได้ภายในเวลา 90 วัน หลังจากที่ทาง ICAO มีคำเตือนให้แก้ไขเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

ก่อนหน้านี้ รายงานการตรวจสอบของ ICAO ระบุว่า องค์การการบินพลเรือนของไทยมีจำนวนผู้ตรวจสอบไม่เพียงพอ รวมทั้งมีความหละหลวมในการออกใบอนุญาตการเดินอากาศต่างๆ

ทั้งนี้ การติดธงแดงอาจส่งผลให้นานาชาติประเมินมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินของไทยต่ำลง และส่งผลกระทบต่อการเดินอากาศจากไทยเข้าไปยังประเทศต่างๆ ในกรณีที่ต้องขออนุญาตเป็นรายเที่ยวบิน รวมทั้งเป็นข้อจำกัดในการขยายเส้นทางการบินด้วย

อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์ของ ICAO ระบุว่า ประเทศที่มีธงแดง หรือปัญหาข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (SSC) นั้น หมายถึงการที่รัฐไม่สามารถให้การควบคุมดูแลเรื่องความปลอดภัยได้เพียงพอต่อการบังคับใช้มาตรฐาน ICAO อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ไม่ได้หมายความว่าสายการบิน สนามบิน หรือเครื่องบินที่ให้บริการในประเทศนั้น จะมีความบกพร่องด้านความปลอดภัยเสมอไป

ทั้งนี้ นอกจากไทยแล้ว ยังมีอีก 12 ประเทศที่ถูก ICAO ติดธงแดง ได้แก่ อังโกลา, บอสวานา, จิบูตี, เอริเทรีย, จอร์เจีย, ไฮติ, คาซัคสถาน, เลบานอน, มาลาวี, เนปาล, เซียร่า ลีโอน และอุรุกวัย ซึ่งทั้งหมดไม่ได้รับการติดธงแดงในคราวเดียวกัน


หัวหน้าไบท์บอย ไบท์เกิ้ล แห่งบุรีรัมย์ถูกจับปรับแหลก

Cr:ทหารปฏิรูปประเทศไทย
หัวหน้าไบท์บอย ไบท์เกิ้ล แห่งบุรีรัมย์ถูกจับปรับแหลก
เนวิน กับเพื่อนๆ ร่วมก้วน ไบท์บอย ไบท์เกิ้ล ขี่มอเตอร์จากกรุงเทพฯ มุ่งหน้ากลับบุรีรัมย์ พอมาถึงช่วงรังสิต ขบวนพวกเขาขับเข้าไปในช่องทางหลัก ขี่ไปได้ไม่ไกลเท่าไร ตำรวจ สภ.คลองหลวง ปทุมฯ โบกมือเรียกให้หยุดทั้งก้วน
เนวิน และบรรดาเพื่อนๆ โดนตำรวจอบรมเรื่องกฎจราจรอยู่สักพัก ก็ได้ใบสั่งให้ไปจ่ายค่าปรับที่โรงพักข้อหาขับรถผิดกฎจราจร ในช่องทางห้ามรถมอเตอร์ไซต์ ถ้าเป็นสมัยรัฐบาลเลือกตั้งเผด็จการ เขาคงฉลุยไปแล้ว
แต่พอมายุคอนุรักษ์นิยมประชาธิปไตย กฎหมายก็ถูกบังคับใช้อย่างจริงจัง ตำรวจก็ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย เนวินในอดีตแม้จะเป็นนักการเมืองใหญ่ แต่ปัจจุบันเขาเป็นประชาชนเต็มขั้น ทำผิดก็ต้องถูกจับ ปรับตามกฎ ใช้เส้นไม่ได้
เนวิน จัดเป็นผู้ที่เลิกเล่นการเมืองไปแล้วแต่มีข่าวฮือฮาบ่อยๆ เขาออกมาแถลงเองการที่เขาแปรพักตร์จากคนแดนไกล ไปหนุนหลังหล่อใหญ่เป็นนายกฯ เมื่อปี 2551 ไม่มีสถาบันหนุนหลังดังที่คนแดนไกลโกหก ไปพูดให้ร้ายในหลายแห่งและโจมตีเบื้องสูงผ่านสื่อหลายครั้ง
ลูกชายของเนวิน ก็ไปเกณฑ์ทหารเหมือนลูกชาวบ้านทั่วไป แม้พ่อเขาจะเคยใหญ่โตตอนนี้ลูกเขาก็ยังเป็นทหารเกณฑ์อยู่ บางทีคำว่าพอ ก็ทำให้ชีวิตมีความสุขกว่าพวกที่ขอไปดูโอลิมปิคแล้วไม่กลับ ละโมบโลภมาก จนบัดนี้ยังเป็นผีเร่ร่อนไม่มีโอกาสเหยียบแผ่นดินเกิดตนเอง
@ เสธ น้ำเงิน2
คลิ๊กไปที่ https://t.co/KxhM77h8oO สั่งจอง/ซื้อหนังสือรวมเล่ม แฉ ความลับ และ ebook


ยักษ์กาสิโนทึ้งที่ดิน"มักกะสัน" ดอดคุยรัฐชู"มารีน่าเบย์"ต้นแบบ

ยักษ์กาสิโนทึ้งที่ดิน"มักกะสัน" ดอดคุยรัฐชู"มารีน่าเบย์"ต้นแบบ

Prev
1 of 1
Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 02 มิ.ย. 2558 เวลา 11:06:41 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ทุนใหญ่ต่างชาติทั้งสหรัฐ อังกฤษ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลย์ รุมจ้องพัฒนาที่ดินมักกะสัน 497 ไร่ บริษัท SAND Group ในเครือลาสเวกัส แซนด์ คอร์ป ยักษ์ใหญ่ธุรกิจกาสิโน สถานบันเทิงจากสหรัฐ เจ้าของ "มารีน่าเบย์ แซนด์" ในสิงคโปร์ ดอดพบ "บิ๊กตู่" ขายไอเดียผุดธุรกิจกาสิโน ทุนไทยไม่น้อยหน้า กลุ่มไทยเบฟ-คิงเพาเวอร์ ซุ่มเจรจาเช่าที่ดินการรถไฟฯ รมว.คมนาคม-รมว.คลัง ปัดวุ่น

ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวว่าแม้ภาพรวม เศรษฐกิจและการลงทุนขณะนี้ยังชะลอตัว แต่จากที่นักลงทุนต่างชาติมองว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการพัฒนาการท่อง เที่ยวและธุรกิจบริการ ทำให้กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ข้ามชาติหลายกลุ่มสนใจเข้ามาลงทุนพัฒนาโครงการ อสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ครบวงจร โดยเฉพาะหลังรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีแนวคิดจะนำที่ดินแปลงใหญ่ย่านมักกะสัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มาพัฒนาสร้างรายได้แก้ปัญหาภาระหนี้สินของ ร.ฟ.ท.ที่มีกว่า 1.1 แสนล้านบาท ปรากฏว่าทุนต่างชาติหลายกลุ่มขานรับนโยบายดังกล่าว

ดอดพบบิ๊กตู่ผุด "กาสิโน" ในไทย

รายงาน ข่าวระบุว่า ช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมากลุ่มแซนด์กรุ๊ป (SAND Group) ในเครือกลุ่มบริษัท ลาสเวกัส แซนด์ คอร์ป (Las Vegas Sands Corporation) จากสหรัฐ ที่พัฒนาโครงการมารีน่าเบย์ แซนด์ส ในสิงคโปร์ นักลงทุนด้านสถานบันเทิงและบริการการท่องเที่ยวขนาดใหญ่จากสหรัฐ รู้จักกันในนามนักพัฒนากาสิโนรายใหญ่ของโลก ได้เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แสดงความสนใจลงทุนพัฒนาสถานบันเทิงและบริการท่องเที่ยว และกาสิโนครบวงจร ในพื้นที่มักกะสันหรือพื้นที่อื่นที่มีความเหมาะสม อย่างไรก็ตามเป็นการหารือเบื้องต้น โดยนายกฯแค่รับฟังข้อมูลโดยไม่มีการตอบรับหรือปฏิเสธ

ขณะเดียวกันมี ทุนต่างชาติกลุ่มอื่นแสดงความสนใจลงทุนพัฒนาโครงการย่านมักกะสันด้วย ทั้งกลุ่มทุนจากอังกฤษ ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ส่วนนักลงทุนไทยที่สนใจ อาทิ กลุ่มคิง เพาเวอร์ ไทยเบฟเป็นต้น

ทุนต่างชาติแย่งเค้กที่ดินมักกะสัน

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ดินย่านมักกะสันเนื้อที่ 497 ไร่ ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติหลายราย

ก่อนหน้าที่รัฐบาลชุด ปัจจุบันจะกำหนดพื้นที่พัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียว หรือปอดของคนกรุงเทพฯ มีบริษัท โมริ จากประเทศญี่ปุ่น มานำเสนอโครงการโดยจะพัฒนาเป็นศูนย์กลางการเงิน โมเดลเดียวกับที่ลงทุนในประเทศจีน

ส่วนบริษัท MRCB LAND จากประเทศมาเลเซีย ได้นำเสนอแนวคิดการพัฒนาต่อ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เช่นเดียวกัน โดยจะพัฒนาโครงการรูปแบบเชิงพาณิชยกรรมครบวงจร โดยรอบสถานีมักกะสัน คอนเซ็ปต์เดียวกันกับโครงการ KL Sentral กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย โดยพัฒนาเป็นเมืองเล็ก ๆ ประกอบด้วย โรงแรม ห้างสรรพสินค้า และที่พักอาศัย เพราะมองว่าที่ดินมักกะสันเป็นทำเลที่มีศักยภาพสูงสามารถพัฒนาได้ ซึ่ง พล.อ.อ.ประจินชี้แจงกับบริษัทว่า นโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันจะเน้นพัฒนาสวนสาธารณะเป็นหลักมากกว่า

สำหรับกระแสข่าวที่มีกลุ่ม SAND Group นักลงทุนจากประเทศสิงคโปร์ กลุ่มเดียวกับกลุ่มบริษัท ลาสเวกัส แซนด์ คอร์ป สนใจจะมาพัฒนาเป็นรูปแบบเดียวกับ "มารีน่าเบย์ แซนด์ส" นั้น กระทรวงคมนาคมยังไม่ได้รับการติดต่อ

โดยล่าสุดอยู่ระหว่างจ้างที่ ปรึกษาประเมินราคาที่ดิน มูลค่าทรัพย์สิน และค่าเสียโอกาสที่ ร.ฟ.ท.จะได้รับ คาดว่าจะนำเสนอข้อสรุปเบื้องต้นต่อ พล.อ.อ.ประจิน รมว.คมนาคม และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาในวันที่ 19 มิถุนายนนี้

"มารีน่าเบย์ แซนด์ส" ต้นแบบ

"แนวคิดการพัฒนารูปแบบมารีน่าเบย์ แซนด์ส ก็มีความเป็นไปได้ เพราะคอนเซ็ปต์การพัฒนาจะคล้ายกับนโยบายของ คสช. คือจะแบ่งพื้นที่การพัฒนา 3 ส่วน คือ พิพิธภัณฑ์ 30 ไร่ พื้นที่สวน 150 ไร่ และพื้นที่เชิง พาณิชยกรรม เฟสแรก 140 ไร่อาจจะมีการสร้างตึกสูงเพื่อให้เป็นแลนด์มาร์ก ขึ้นอยู่กับการออกแบบของกรมธนารักษ์ และเอกชนที่สนใจ และนำเสนอโครงการ"

สอดคล้องกับที่ นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ก่อนหน้านี้ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมา มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม กับกระทรวงการคลัง พิจารณานำที่ดินโครงการมักกะสันมาพัฒนา เพื่อแลกกับหนี้ที่ ร.ฟ.ท.มีทั้งหมดประมาณ 1.1 แสนล้านบาท ส่วนจะลดภาระหนี้ได้เท่าใดหลังมีการพัฒนาตามโมเดลใหม่อยู่ระหว่างศึกษา แต่หากไม่เพียงพอจะพิจารณาที่ดินแปลงอื่นด้วย เช่น สถานีแม่น้ำ 277 ไร่ และบริเวณ กม.11 จำนวน 359 ไร่

"ที่ดินมักกะสันจะต้องแบ่งพื้นที่ เป็นปอดคนกรุงเทพฯ การพัฒนาเชิงพาณิชย์อาจจะมีไม่มาก ทางกรมธนารักษ์ต้องให้ที่ปรึกษาออกแบบการพัฒนาและการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ สอดคล้องกับนโยบาย ความตั้งใจของรัฐบาลอยากจะให้เหมือนกับโครงการมารีน่าเบย์ของสิงคโปร์"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการ "มารีน่าเบย์ แซนด์ส" เป็นรีสอร์ตขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่อ่าวมารีน่า ประเทศสิงคโปร์ นับเป็นอาคารที่มีมูลค่าแพงที่สุดในโลก ประมาณ 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากราคาที่ดินในบริเวณดังกล่าวที่มีมูลค่าสูง พัฒนาโดยบริษัทลาสเวกัสแซนด์ส ประกอบด้วย โรงแรม ศูนย์การค้า กาสิโน โรงละคร ศูนย์ประชุม และพิพิธภัณฑ์

ปัดวุ่นผุดบ่อนกาสิโน

ผู้สื่อข่าวถาม พล.อ.อ.ประจิน ถึงกรณีกลุ่ม SANS Group จะเสนอโครงการพัฒนาที่ดินมักกะสันเป็นกาสิโน พล.อ.อ.ประจินกล่าวสั้น ๆ ว่า "ยังไม่มี และไม่ได้รับการติดต่อแต่อย่างใด"

อนึ่ง สำหรับแผนพัฒนาโครงการที่ดินย่านมักกะสัน ตามผลการศึกษาเดิมของ ร.ฟ.ท. ก่อนที่รัฐบาล คสช.จะเข้ามาบริหารประเทศ มีแนวคิดพัฒนาเป็นซูเปอร์คอมเพล็กซ์ มูลค่าโครงการกว่า3 แสนล้านบาท แบ่งการพัฒนาเป็น 4 โซนประกอบด้วย 1.โซนเอ พื้นที่ 139.82 ไร่ เป็นส่วนธุรกิจการค้า 2.โซนบี มีพื้นที่ 117.31 ไร่ เป็นส่วนธุรกิจสำนักงาน 3.โซนซีพื้นที่ 151.40 ไร่ เป็นส่วนแสดงสินค้า และ 4.โซนดี มีพื้นที่ 88.58 ไร่ เป็นส่วนบางกอกแฟชั่น

ยันไม่มีนักลงทุนพบนายกฯ

ด้าน นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง ปฏิเสธในทำนองเดียวกันว่า ไม่มีนักลงทุนรายใดเข้าพบนายกฯ เพื่อหารือถึงเรื่องการลงทุนในพื้นที่มักกะสัน และถึงขณะนี้ตนก็ไม่เห็นมีนักลงทุนแสดงความสนใจเข้ามาลงทุนในพื้นที่ดัง กล่าว

"ผมไม่ทราบ แต่ไม่มีนะ พบนายกฯก็ไม่มี" นายสมหมายกล่าว

ขณะ ที่แหล่งข่าววงในรัฐบาลระบุว่า นักลงทุนที่สนใจพื้นที่มักกะสัน หากเป็น "มารีน่าเบย์ แซนด์ส" ก็คือกลุ่มเดียวกับที่ลงทุนอยู่ในสิงคโปร์และมาเลเซีย และในอดีตทางคิง เพาเวอร์ กับอิตาเลียน-ไทย ก็เคยชักชวนนักลงทุนกลุ่มนี้มาลงทุนในจังหวัดภูเก็ต อย่างไรก็ตามการเข้ามาของกลุ่มนี้ น่าจะสนใจรับทำมาสเตอร์แพลนการใช้ประโยชน์พื้นที่มากกว่า

ก่อนหน้านี้ นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุลอธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่ปรึกษาภายนอก เข้ามาประเมินราคาทรัพย์สินของ ร.ฟ.ท. ในส่วนของที่ดินมักกะสัน ก่อนจะโอนแลกหนี้กับกระทรวงการคลัง จะได้ข้อสรุปประมาณ 30 วันหลังจากนี้

เปิดปูม "ลาสเวกัส แซนด์" 

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า บริษัท ลาสเวกัส แซนด์ คอร์ป เป็นกลุ่มนักลงทุนด้านสถานบันเทิงและบริการการท่องเที่ยวขนาดใหญ่จากสหรัฐ ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะพัฒนาโครงการโดดเด่นและแตกต่างจากกลุ่มอื่น ๆ เน้นการพัฒนาอสังหาฯครบวงจร ตั้งแต่โรงแรมที่มีห้องพักหรูหรา สิ่งอำนวยความสะดวกระดับ High-end เช่น ไนต์คลับ, สปา, ร้านค้าปลีก รวมทั้งกาสิโนที่หลากหลาย

ผลงานของลาสเวกัส แซนด์ ที่ผ่านมา เคยทุ่มงบฯก่อสร้างอาคารคอมเพล็กซ์ด้านการท่องเที่ยวในนครโฮจิมินห์ อดีตเมืองหลวงของเวียดนาม ใช้เงินลงทุนกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และใช้เงินลงทุนกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในญี่ปุ่น สร้างตลาดกาสิโนขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคเอเชีย พัฒนามารีน่าเบย์ แซนด์ส (Marina Bay Sands) รีสอร์ตขนาดใหญ่ ที่อ่าวมารีน่า ประเทศสิงคโปร์ นับเป็นอาคารที่มีมูลค่าแพงที่สุดในโลก ประมาณ 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้มีโรงแรมเดอะ เวเนเชี่ยน มาเก๊า รีสอร์ต, โฟร์ซีซั่น โฮเทล มาเก๊า, เดอะ พลาซ่า มาเก๊า, Sands Cotai Central และโรงแรมฮอลิเดย์ อินน์