PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บวรศักดิ์'ยอมถอย ปรับแก้เผือกร้อน รธน. เดลินิวส์

ควรอ่าน เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ร่างรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน
18062558 'บวรศักดิ์'ยอมถอย ปรับแก้เผือกร้อน รธน. เดลินิวส์

„'บวรศักดิ์'ยอมถอย ปรับแก้เผือกร้อน รธน.
'บวรศักดิ์'ถอย ยอมปรับเผือกร้อนในร่าง รธน. ยึดเดินสายกลาง ให้มี ส.ส.เขต 300 บวกบัญชีรายชื่อ 150 กลับมาใช้เขตเลือกตั้งทั้งประเทศพร้อมโละ 'กลุ่มการเมือง-โอเพ่นลิสต์'ทิ้ง ( แต่ปรับให้ตั้งพรรคการเมือง ได้ง่ายขึ้น ) แต่คง 4 เสาหลัก ยันไม่มีพิมพ์เขียวเหตุเจอ 'แป๊ะ'ขอแก้กว่า 100 จุด

วันพฤหัสที่ 18 มิถุนายน 2558 เวลา 17:25 น. 

บวรศักดิ์ ยอมถอย ปรับแก้ เผือกร้อน รธน.

เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ที่ห้องประชุมสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ชั้น 4 อาคารเทพทวาราวดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์ ได้จัดงาน "ปาฐกถาประยูร กาญจนดุล" ครั้งที่ 7
ในโอกาสฉลองครบรอบ 43 ปี แห่งการสถาปนาคณะ โดยนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้ปาฐาถกฐาเรื่อง "รู้ลึก รู้ชัด กับอนาคตรัฐธรรมนูญ"
ตอนหนึ่งว่า
1. ใครบอกว่าตน "รู้ลึก รู้ชัด กับอนาคตรัฐธรรมนูญ"
ต้องบอกว่าผิดหวัง เพราะแม้แต่ตนก็ยังไม่รู้อนาคตตัวเองเลยซึ่งคนที่จะรู้ก็คือสมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) จากนั้นคือ คสช. ที่จะสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 เมื่อใดก็ได้
ดังนั้นถ้าอยากรู้ชัดต้องไปถาม สปช .และ คสช.

2.ที่ผ่านมาประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 19 ฉบับ ซึ่งฉบับที่กำลังร่างกันอยู่ เป็นฉบับที่ 20 
เฉลี่ย 4 ปีใช้รัฐธรรมนูญ 1 ฉบับ
ทั้งนี้เหตุการณ์ปฎิวัติรัฐประหารในประเทศไทยมีเยอะมาก ไม่รวมกบฎต่าง ๆ สมัย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ปี 2534 ตอนนั้นก็มีแต่คนบอกว่าไม่มีปฎิวัติ ถัดมาอีก 2 วัน พล.อ.ชาติชาย และตน ก็ต้องไปนอนค่ายทหาร 15 วัน ในช่วงเหตุการณ์ 19 ก.ย.49 ทุกคนก็บอกไม่เกิดแล้วและมาล่าสุดเหตุการณ์ 22 พ.ค.57  ดังนั้นใครจะมาบอกว่าต่อไปจะไม่มีปฎิวัติรัฐประหารอีก ใครจะเชื่อก็เชื่อไป แต่ตนคงไม่เชื่อ
3.เพราะตรงนี้เป็นวัฒนธรรมที่ฝังอยู่ในบ้านเมืองไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งจะเปลี่ยนได้หรือไม่ ก็ต้องอยู่ที่คนรุ่นใหม่
นายบวรศักดิ์ กล่าวต่อว่า4.ตลอด 8 ปีกว่าของความขัดแย้งของประเทศไทย มีความเสียหาย ชุมนุมแบบปักหลักค้างคืน 701วัน เสียหายทุกอย่าง ทั้งค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเยียวยา ค่าเผา ค่าเลือกตั้ง 2 ครั้ง และอื่นๆ 
มีมูลค่าเสียหายรวมกว่า 2 ล้านล้านบาท ซึ่งปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน จนเกิดเหตุการณ์ วันที่ 22 พ.ค.57

5. ดังนั้นการร่างรัฐธรรมนูญ ต้องเหลียวหลังแก้ปัญหาในอดีต แลหน้าสู่อนาคต 
จึงมีเจตนารมณ์ในการร่างรัฐธรรมนูญ 4 ข้อ คือสร้างพลเมืองให้เป็นใหญ่ การเมืองใสสะอาดและสมดุล
หนุนสังคมที่เป็นธรรม นำชาติสู่สันติสุข  นี่คือ เสาเอก
นายบวรศักดิ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.2557 ที่มีการขยายเวลาให้ กมธ.ยกร่างฯ ออกไปอีก 30วัน ซึ่งเราจะส่งร่างให้ สปช. วันที่ 22 ส.ค.นี้  คาดว่าระหว่างวันที่ 5-7 ก.ย. ทาง สปช.จะลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากไม่เห็นชอบก็เป็นฝาแฝดอิน-จัน ตายตามกันไป
และถ้าไปอ่านในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว)ให้ดีจะเห็นว่าเมื่อรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ก็จะตั้ง กมธ.ยกร่างฯ 21 คนมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ภายใน 180 วัน และถ้าไม่ผ่านการทำประชามติ อีก กมธ.ยกร่างฯ 21 คน ก็สิ้นสุดการปฎิบัติหน้าที่ และไปดูดี ๆ ไม่ได้มีการเขียนเอาไว้ว่าจะทำยังไงต่อ

6. แสดงว่า "แป๊ะ"ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว)ต่อ เพราะไม่ได้มีการเขียนเอาไว้ว่าจะต้องทำอย่างไร 
และตนก็สงสัยว่า กกต.ไปกำหนดวันลงประชามติวันที่ 10 ม.ค.59 ได้อย่างไร
เนื่องจากต้องแจกร่างรัฐธรรมนูญ ให้ครบ ร้อยละ 80 ของครัวเรือน หรือประมาณ 19 ล้านฉบับ

7. ตนยืนยันว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใช่รัฐธรรมนูญในอุดมคติของตน 
และการที่ ครม. ขอแก้ 100 กว่าจุดแสดงให้เห็นว่าไม่มีพิมพ์เขียว พิมพ์ชมพู หรือเขียนมาที่แป๊ะสั่ง
ซึ่ง ครม.ได้กำชับมาตลอดว่าการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องไม่ให้มีการออกมาตีกันอีก แต่ตนยืนยันว่าเจตนารมณ์ 4 ข้อนั้นต้องอยู่ เพราะเหมือนกับการออกแบบบ้าน ตรงนี้คือเสาเอก ถ้าเราจะสร้างบ้านแล้วมารื้อเสาเอกทิ้ง ก็ต้องหาคนเขียนใหม่นายบวรศักดิ์ กล่าวต่อว่า 

8. การทำงานของ กมธ.ยกร่างฯ อยู่ระหว่างการดูคำขอแก้ไข 
ซึ่งในหมวดการเมือง มีแนวโน้มที่จะปรับปรุงแก้ไข อาทิ @การปรับจำนวน ส.ส. จากเดิม 250 คน อาจปรับเป็นส.ส.เขต 300 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 150 คน และมีแนวโน้มว่าการคิด ส.ส.บัญชีรายชื่อ 6 ภาค
อาจปรับเป็นแบบเดิมโดยใช้เป็นเขตประเทศ ส่วนเรื่องกลุ่มการเมืองก็มีแนวโน้มสูงที่จะเอาออก แต่จะให้มี@การตั้งพรรคการเมืองง่ายขึ้น เพราะเราไม่อยากให้พรรคการเมืองเป็นของคนตระกูลใดเหมือนที่ผ่านมา @ส่วนระบบโอเพ่นลิสต์ที่ในร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามานับ
แต่เมื่อ กกต. ท้วงติงว่ามีปัญหา จึงจะปรับให้ไปใช้ครั้งแรกหลังจากมีการเลือกตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์
@สำหรับหน้าที่ ส.ว.คิดว่าจะปรับในส่วนของการเสนอกฎหมายออก เพราะหลายส่วนบอกไม่พร้อม ก็คงกลับให้มาทำหน้าที่กลั่นกรองตามเดิม และตัดอำนาจที่พิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติรัฐมนตรีออกด้วย
ส่วนการถอดถอนก็จะให้ทำได้เฉพาะคนที่ ส.ว.แต่งตั้ง เห็นชอบ เป็นต้น > ซึ่งการปรับดังกล่าวถือเป็นการประณีประนอม เดินสายกลางแล้ว

9."อนาคตรัฐธรรมนูญนี้จึงขึ้นอยู่กับการที่ กมธ.ยกร่างฯ ที่ต้องคงเจตนารมณ์ 4 ข้อไว้ให้ได้ 
แต่ปรับบทบัญญัติให้สอดรับกับความรับได้ของกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมไทยดังนั้นจึงไม่ใช่รัฐธรรมนูญฉบับในฝันของผม แต่จะเป็นฉบับที่ทำให้สังคมไทยขยับเคลื่อนไปได้แก้ปัญหาความขัดแย้งในอดีต สร้างความเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคมรวมถึงสร้างพลเมืองให้เป็นใหญ่ พยายามทำให้การเมืองใสสะอาดสมดุลเท่าที่สังคมไทยจะรับได้ในเวลานี้10.ส่วนอนาคตของรัฐธรรมนูญจะเป็นเช่นไร ต้องไปถาม สปช. และ คสช. ผมตอบไม่ได้ เพราะผมยังไม่รู้อนาคตของผม และผมเชื่อว่าเราจะเขียนรัฐธรรมนญให้ออกมาท่ามกลางภาวะสังคมไทยในปัจจุบัน อาจไม่ถูกใจใครร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่คงไม่ไปขัดใจใครจนลุกขึ้นมาต่อต้าน เราจะประสานความรู้สึกคนในสังคมมาให้มากที่สุด" 
นายบวรศักดิ์ กล่าว. “

อ่านต่อที่ :

ไม่มีความคิดเห็น: