PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

คสช.โต้"วัฒนา"โพสต์FB กล่าวหาทหาร รวบ8 ชาวบ้านเข้าค่าย

คสช.โต้"วัฒนา"โพสต์FB กล่าวหาทหาร รวบ8 ชาวบ้านเข้าค่าย แจงชาวบ้านมาให้ข้อมูลทหาร ว่าโดนนักการเมืองหลอก ร่วมถือป้ายประท้วง ขุดหนอง พิษณุโลก ซัดโพสต์ ล่วงหน้า แถม ให้ร้าย หมิ่นประมาท บิดเบือน กรณีคดี "แม่จ่านิว" เรียกร้อง โฆษกกต.สหรัฐฯ ตรวจสอบ ผลกระทบ ชาวบ้านที่ได้รับจาก นักกิจกรรมทางการเมือง
พันเอก ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ทีมโฆษก คสช. ชี้แจงว่า ตามที่มีอดีตนักการเมือง โพสต์ข้อความบิดเบือน ตลอดจนแถลงข่าว ให้เกิดความสับสน เกี่ยวกับเรื่อง การ ขุดลอกบึงหนองพล บ้าน น้อยเหนือ ต.หินลาด อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก จึงขอเรียนเพื่อทำความเข้าใจดังนี้
1 ปภ.เป็นเจ้าของงบประมาณ ดำเนินการจัดจ้าง งานยังไม่เสร็จตามกำหนด จึงมีการเสียค่าปรับ ตามสัญญาจ้าง และยังไม่มีการเบิกจ่ายงบประมาณ จึงไม่ใช่การทุจริตของหน่วยงานราชการ โดยสามารถตรวจสอบกับ ทางปภ.ได้โดยตรง
2 ชาวบ้านในพ.ท.และผู้นำชุมชนผู้นำท้องถิ่น ถูกกลุ่มอดีตนักการเมืองชักชวนเข้าไปในพื้นที่ และให้ชูป้าย จากนั้นได้ถ่ายรูป โดยที่ป้ายมี คำว่า ไม่รับ
3 มีการออกข่าวบิดเบือน ว่าชาวบ้านถูกทหาร เรียกไปปรับทัศนะคติ ในค่ายทหาร แต่โดยข้อเท็จจริง ชาวบ้านกลุ่มดังกล่าว ต้องการมาให้ข้อมูลต่อฝ่ายจนท.ซึ่งขณะนี้ ได้ให้ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว โดยมีการบันทึกข้อมูล ไว้อย่างครบถ้วน
4 พฤติกรรมต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วของกลุ่มอดีตนัก การเมือง ได้เป็นที่ปรากฎชัดว่า มีลักษณะบิดเบือน ปลุกกระแสของความเข้าใจผิด สร้างความสับสน และภาวะความเครียด ให้เกิดขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง
คสช.จึงขอทำความเข้าใจมายังพี่น้องปชช.และขอให้ติดตามพฤติกรรมบุคคลเหล่านี้
1. การตรวจสอบอย่างเป็นทางการของเจ้าหน้าที่ ยืนยันว่ามีการ post ข้อความล่วงละเมิด และไม่เหมาะสมอีกมากมาย นอกเหนือจาก ที่นางพัฒน์นรี และกลุ่ม อ้างต่อสังคมว่า เขียนเพียงคำว่า จ้า
2. การสื่อสารข้อความเท็จ ให้ร้าย หมิ่นประมาท บุคคลอื่น ไม่ว่าผ่านช่องทางใดๆ ผู้ถูกล่วงละเมิดสมควรได้รับความคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่ และรัฐบาลมีหน้าที่ปกป้องผู้ถูกล่วงละเมิด มิใช่ปกป้องผู้กระทำการละเมิด
3. กรณี นางพัฒน์นรี ศาลได้ให้โอกาสประกันตัวออกมาต่อสู้คดี ตามกระบวนการขั้นตอนตามกฎหมาย เฉกเช่น พลเรือนทั่วไปที่กระทำผิดและได้รับโอกาสในการต่อสู้แก้ต่าง
4. อยากเรียกร้องให้ นางคาตินา อดัมส์ โฆษกสหรัฐฯ ภาคพื้นเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ติดตามข้อมูลให้ครบถ้วน ก่อนการแสดงความคิดเห็น และอยากให้เปิดรับข้อมูลจากประชาชนในส่วนที่ได้รับผลกระทบ เดือดร้อนจากการกระทำของกลุ่มนักจัดกิจกรรมการเมืองเหล่านี้ ตลอดจนผู้ที่ถูกกระทำการพาดพิง หมิ่นประมาทด้วยถ้อยคำ และข้อความเป็นเท็จด้วย ว่าเขารู้สึกเช่นไร เชื่อว่าทุกประเทศย่อมมีกฎหมายคุ้มครองผู้บริสุทธิ์ และลงโทษผู้กระทำผิด ไม่แตกต่างกัน

"บิ๊กป้อม” ยัน เปล่าแกล้ง เหตุทหาร-ตำรวจบุกค้นบ้าน "วรชัย-ประชา"แกนนำ "เพื่อไทย

"บิ๊กป้อม” ยัน เปล่าแกล้ง เหตุทหาร-ตำรวจบุกค้นบ้าน "วรชัย-ประชา"แกนนำ "เพื่อไทย เพราะตามปชช.แจ้งเบาะแส ยันไม่เกี่ยว วิจารณ์"บิ๊กตู่" เมินนานาชาติ ติง คสช.ละเมิดสิทธิฯ ย้ำเรียกคนเห็นต่างปรับทัศนคติ ไม่ได้ ดีดปาก ไม่ได้ทำร้ายใคร ยันเดินหน้าตามโรดแมพ
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหาร และตำรวจ กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) เข้า ปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่ จ.สมุทรปราการ กล่ยจุด รวมทั้ง บ้านพักของนายวรชัย เหมะ และนายประชา ประสพดี อดีตส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย เมื่อเช้ามืดว่า เป็นเรื่องปกติที่เจ้าหน้าที่จะเข้าตรวจค้นทั้งหมด ซึ่งไม่ได้เจาะจงว่าเป็นบ้านของใคร เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามที่มีคนแจ้งเข้ามา
ส่วนที่มองว่า นายวรชัย วิพากษ์วิจารณ์พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช.นั้น พลเอกประวิตร กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกัน
เพราะกรณีนี้เป็นการทำงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่มีหลายหน่วยงาน ไม่มีใครทราบมาก่อน เพราะผมยังไม่ทราบว่าเขาจะเข้าตรงไหนและเมื่อไหร่ เนื่องจากมีหลายหน่วยงานที่ดำเนินการเรื่องนี้ และจะมีการทำต่อเนื่องอีกหลายพื้นที่
" ยืนยันว่าไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้งอย่างแน่นอน ถ้าไม่ผิดเจ้าหน้าที่ก็ไม่ดำเนินการ "
เมื่อถามว่าทางนายวรชัยอ้างว่าทหารที่ไปค้นบ้านดึงกล้องวงจรปิดและตัดสายโทรศัพท์ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ผมไม่ทราบ ต้องไปถามเจ้าหน้าที่ เพราะเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ดำเนินการ เขาจะดำเนินการแบบไหน ผมไม่ทราบ ทั้งนี้ต้องดูว่าอย่าไปละเมิดสิทธิมนุษยชน
ส่วนกรณีที่ตัวแทนกระทรวงยุติธรรมของไทย ชี้แจงในการประชุมทบทวนรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ที่กรุงเจนีวา นั่น พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เป็นเรื่องดี เพราะเราก็ชัดเจนอยู่แล้ว
ส่วนที่หลายประเทศยังมีความห่วงใยก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะเขาไม่ได้มาเห็นว่าเราทำตามหลักการ เขาต้องมาเห็นก่อนแล้วค่อยกังวล ต้องมาเห็นว่าประเทศไทยเป็นอย่างไร ที่ผ่านมาก็มีความสงบมาขึ้น
"ผมถามว่าเราไปทำตรงไหนที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน "
ส่วนเรื่องศาลทหารก็มีกฎหมายทั้งนั้น ตามอำนาจของกฎอัยการศึกที่เราใช้ ซึ่งทุกประเทศเขาก็ใช้แบบนี้ เราไม่ได้ทำอะไรนอกเหนือไปจากนี้ โดยเฉพาะเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชน
ส่วนเรื่องการเชิญตัวคนเห็นต่างมาพูดคุยนั้น เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องการทำให้เกิดความสงบ เราต้องชี้แจงให้เขารู้ว่ารัฐบาลกำลังทำอะไรอยู่ เขาอาจจะไม่ทราบ เราก็อธิบายให้เขาฟัง เป็นการปรับจูงให้เข้ากัน
"ผมไม่ได้ไปดีดปากเขา ทุกอย่างเราทำตามกฎหมาย ข้อสังเกตของต่างชาติ คสช.ไม่จำเป็นต้องทบทวนตัวเอง เราจะเดินหน้าตามโรดแมพ หากเรามัวแต่เตะขากันอยู่แบบนี้ ไม่เป็นไปตามโรดแมพก็แย่"
Adm.Dennis Blair อดีต U.S. Pacific Commander - USPACOM ตอนนี้เป็น ปธ.มูลนิธิ Sasakawa Peace Foundation USA พบ นายกฯข้องใจถามพลเรือนขึ้นศาลทหาร นายกฯบอกเหมือนศาลพลเรือน แจงคสช.ใช้กม.เข้ม ศาลทหาร ระงับสถานการณ์ที่อาจบานปลาย แค่มาตรการชั่วคราวไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ขอบคุณสหรัฐฯ เข้าใจสถานการณ์ในประเทศไทย แจงทำประชามติ ร่างรธน. นำไปสู่เลือกตั้งปี60 พร้อมเดินหน้าความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์
พลเรือเอก Dennis Blair ประธานมูลนิธิ Sasakawa Peace Foundation USA เข้าพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ณ ห้องสีม่วง ทำเนียบรัฐบาลในโอกาสเยือนประเทศไทย ในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ
พลตรี วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า
พลเอกประยุทธ์ กล่าวต้อนรับ พลเรือเอก เดนนิส แบลร์ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งสำคัญของสหรัฐฯ ทั้งในกองทัพและฝ่ายบริหาร และเป็นที่ยอมรับในแวดวงการเมือง การทหารและธุรกิจ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิ Sasakawa Peace Foundation USA
นายกรัฐมนตรี ทราบว่า พลเรือเอก แบลร์ เขียนหนังสือเรื่อง Military Engagement: Influencing Armed Forces Worldwide to Support Democratic Transition จึงหวังว่า ว่า พลเรือเอก แบลร์ จะเข้าใจการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองไปสู่ประชาธิปไตยของไทย และจะช่วยสะท้อนมุมมองและแนวคิดของประเทศไทยไปยังผู้กำหนดนโยบาย และฝ่ายต่างๆ ในสหรัฐฯ เพื่อช่วยรักษาและเพิ่มพูนความสัมพันธ์ในภาพรวมระหว่างไทยกับสหรัฐฯ
โดยมีการหารือในหลายประเด็น ได้แก่ พัฒนาการการเมืองไทยและประเด็นสิทธิเสรีภาพ
นายกรัฐมนตรีเห็นว่า การทำความเข้าใจระหว่างไทยกับสหรัฐฯ เกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองมีความสำคัญ โดยเฉพาะในประเด็นที่อาจมีความคาดเคลื่อน หรือ สร้างความเข้าใจผิด
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้เน้นว่า ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย ไม่เคยจับกุมใคร ถ้าไม่มีการกระทำผิดกฎหมาย แต่หลายโอกาสบุคคลที่ ต้องการสร้างความขัดแย้ง จะใช้การแสดงออกที่ผิดกฎหมายเป็นเครื่องมือเพื่อให้ได้รับความสนใจจากประชาคมต่างประเทศ
"รัฐบาลไม่เคยทำร้ายใคร เพราะทุกคนเป็นคนไทย แต่ถ้าทำผิดกฎหมายก็ต้องถูกดำเนินคดี ซึ่งเป็นไปตามหลัก สิทธิมนุษยชน"
พร้อมย้ำว่า รัฐบาลให้เสรีภาพในการแสดงออกที่อยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย ที่ไม่ยั่วยุเพื่อให้เกิดความขัดแย้งและความรุนแรง
พร้อมยืนยันว่า ไทยจะมีการเลือกตั้งภายในปี 2560 ซึ่งเป็นไปตาม Roadmap ที่กำหนดไว้ พร้อมกล่าวถึง พัฒนาการของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่จะนำไปสู่การทำประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม 2559
โดยนายกรัฐมนตรียินดีที่จะรับฟังคำแนะนำและประสบการณ์ของสหรัฐฯ
ทั้งนี้ พลเรือเอก แบลร์ กล่าวว่า มีความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองไทยเป็นอย่างดี เพราะตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ในกองทัพสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศไทย มีการติดต่อประสานงานกันอย่างใกล้ชิด มีความร่วมมือกับหลายรัฐบาล
โดยส่วนตัว เข้าใจถึงเหตุผลความจำเป็นที่นายกรัฐมนตรีต้องเข้ามาบริหารประเทศ มีความเห็นใจ และทราบว่าการบริหารประเทศและการเมืองมีความยากลำบาก โดยเฉพาะการบริหารประเทศภายใต้ความขัดแย้งที่มีความซับซ้อน
อย่างไรก็ดี มีความเชื่อมั่นว่า นายกรัฐมนตรีจะสามารถก้าวข้ามความท้าทายต่างๆเหล่านี้ไปได้
ในการหารือ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึง การปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูปกฎหมาย เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลที่ผ่านๆมา ได้ละเลยมาเป็นเวลานาน
โดยขณะนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการบริหารงานภายใต้หลักประชารัฐเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและเสริมสร้างให้ชุมชนเข้มแข็งและพึ่งพาตัวเอง และยังมีการให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อเตรียมความพร้อมไปสู่การลงประชามติ ด้วย
ระหว่างการสนทนา นายกรัฐมนตรีได้เปิดโอกาสให้ พลเรือเอก แบลร์ ซักถาม ด้วย
โดย พลเรือเอก แบลร์ ได้ซักถาม ข้อเท็จจริงในประเด็นเรื่องการให้พลเรือนขึ้นศาลทหาร
ซึ่ง นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ศาลทหารของไทย ทำงานเหมือน ศาลปกติ ที่ให้ประกันตัวได้ การใช้ศาลทหาร เป็นเพียงเครื่องมือสำหรับป้องปรามในประเด็นที่มีการระบุไว้ชัดเจน อาทิ การหมิ่นสถาบันฯ หรือ ในประเด็นที่นำไปสู่ความขัดแย้งในสังคมเป็นวงกว้าง
ทั้งนี้ เพื่อระงับสถานการณ์ที่อาจบานปลาย เป็นมาตรการชั่วคราวเพื่อระงับเหตุเท่านั้น และไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามที่เป็นข่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในฐานะที่ไทยเป็นพันธมิตรที่ยาวนานกับสหรัฐฯ และมีการดำเนินความสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์มาเป็นเวลากว่า 183 ปี หวังว่า พลเรือเอก แบลร์ จะช่วยสื่อสารไปยังระดับนโยบายของสหรัฐฯ ว่า ไทยให้ความสำคัญกับการเป็นพันธมิตรและความร่วมมือกับสหรัฐฯ เพื่อเสริมสร้างประโยชน์รวมทั้งเสถียรภาพและความเจริญของภูมิภาคร่วมกัน โดยฝ่ายไทยพร้อมพบพูดคุยกับฝ่ายสหรัฐฯ ในทุกระดับ
สำหรับความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคและเวทีระหว่างประเทศ ไทยสนับสนุนนโยบาย Strategic Rebalancing และการดำเนินความสัมพันธ์ US- ASEAN และยินดีที่การประชุมสุดยอดอาเซียน – สหรัฐฯ สมัยพิเศษ ที่ Sunnylands ประสบความสำเร็จ
ขอบคุณสหรัฐฯ ที่สนับสนุนอาเซียนในเรื่องความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) โดยไทยจะใช้ความเป็นแกนกลางในอาเซียนสนับสนุนความร่วมมือและผลประโยชน์ของอาเซียนกับมิตรประเทศต่างๆ อย่างเต็มที่

HRW: กรณียูเอ็นทบทวนสิทธิมนุษยชนในไทยเผยให้เห็นภาวะ 'มือถือสากปากถือศีล'

HRW: กรณียูเอ็นทบทวนสิทธิมนุษยชนในไทยเผยให้เห็นภาวะ 'มือถือสากปากถือศีล' ของรัฐบาลทหาร

ฮิวแมนไรท์วอทช์แถลงเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2559 กรณีรัฐบาลไทยให้คำมั่นต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ที่อ้างวารัฐบาลไทยเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและจะคืนประเทศสู่ประชาธิปไตยนั้น ช่างเป็นคำพูดที่แทบจะไร้ความหมายและแสดงให้เห็นถึง "ความมือถือสากปากถือศีล" ของรัฐบาลเผด็จการทหาร
เหตุการณ์ชุมนุมหน้า พล.ม.2 รอ. เมื่อ 24 พฤษภาคม 2557 (แฟ้มภาพ)
12 พ.ค. 2559 คำแถลงของฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุว่าโดยก่อนหน้าที่จะมีการประชุมทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เรียกว่า Universal Periodic Review (UPR) ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตซ์เซอร์แลนด์เมื่อวันที่ 11 พ.ค. ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ส่งรายงานทบทวนสถานการณ์ต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติระบุว่าพวกเขา "จัดให้เรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนทุกกลุ่มเป็นเรื่องสำคัญที่สุด" แต่ฮิวแมนไรท์วอทช์ก็ระบุว่าที่ผ่านมา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็ทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างรุนแรงโดยลอยนวลไม่ต้องรับผิด มีการใช้อำนาจทหารหนักขึ้น และละเลยข้อผูกพันด้านสิทธิมนุษยชนนานาชาติโดยสิ้นเชิง
จอห์น ฟิชเชอร์ ผู้อำนวยการรณรงค์ของสำนักงานฮิวแมนไรท์วอทช์สาขากรุงเจนีวากล่าวว่าการโต้ตอบของไทยต่อกรณีที่สหประชาชาติประเมินไทยนั้นไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงการให้สัญญาอย่างจริงจังต่อการลดการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือให้การคุ้มครองเสรีภาพพื้นฐานมากขึ้น ในขณะที่หลายประเทศเริ่มแสดงความกังวลต่อสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ตัวแทนจากประะเทศไทยก็ไม่ได้พูดอะไรที่จะขจัดความกังวลต่อวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นได้เลย
ฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุว่าหลังจากที่เกิดการรัฐประหารเมื่อปี 2557 และการเข้ามามีอำนาจของ คสช. นำโดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็มีการใช้อำนาจโดยอ้าง ม.44 ที่ไม่ผ่านการตรวจสอบหรือขั้นตอนตามกฎหมาย มีการร่างรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจกองทัพในการแทรกแซงการเมือง รวมถึงมีการสั่งเซนเซอร์สื่อ ทำการสอดส่องโลกออนไลน์ และลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ปราบปรามคนที่วิจารณ์หรือทำกิจกรรมต่อต้านเผด็จการทหาร โดยมักจะอ้างข้อหายุยงปลุกปั่น อีกทั้งยังมีการอ้างใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพิ่มขึ้นมากและมีการลงโทษรุนแรงที่สุดจากที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ไทย นอกจากนี้ยังมีการเรียกตัวนักกิจกรรมหรือผู้เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองเข้า "ปรับทัศนคติ" อีกนับพันราย มีการใช้ศาลทหารที่ทำการกักขังหน่วงเหนี่ยวผู้คนโดยไม่มีข้อหาหรือมีการไต่สวนรวมถึงไม่ให้พวกเขาสามารถเข้าถึงทนายความได้เลย
ในแถลงการณ์ของฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุต่อไปว่าฝ่ายความมั่นคงของไทยยังคงละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงต่อไปโดยไม่ต้องรับผิด ยังไม่มีใครเลยที่ต้องรับผิดในกรณีการใช้กำลังปราบปรามและสังหารประชาชนช่วงการชุมนุม 2553 ในกรณีละเมิดสิทธิในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงในกรณี "สงครามยาเสพติด" สมัย ทักษิณ ชินวัตร ที่มีคนถูกวิสามัญฆาตกรรมมากกว่า 2,000 ราย รวมถึงการสังหารและอุ้มหายนักกิจกรรมด้านสิทธิชุมชนอย่าง 'บิลลี' หรือกรณีนักสิทธิมนุษยชนอย่าง 'ทนายสมชาย'
แถลงการณ์ของฮิวแมนไรท์วอทช์ยังระบุอีกว่าทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนอีกหลายข้อทั้งที่มีการลงนามอนุสัญญาไว้เช่น เรื่องการต่อต้านการอุ้มหาย อนุสัญญาเรื่องการต่อต้านการทารุณกรรมซึ่งรัฐบาลไทยล้มเหลวในการออกกฎบังคับใช้และยังไม่มีกฎหมายใดระบุให้มีการชดเชยเหยื่อที่ถูกทารุณกรรม อีกทั้งยังทำได้ไม่ดีพอในกรณีของการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยและการต่อต้านการค้ามนุษย์
"ไม่มีใครควรที่จะถูกหลอกโดยรัฐบาลไทยที่ให้คำสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนแบบเพียงแค่ลมปาก" ฟิชเชอร์ กล่าว
"ประเทศสมาชิกสหประชาชาติควรกดดันไทยให้ยอมรับข้อเสนอของพวกเขาเพื่อหยุดยั้งไม่ให้เกิดภาวะตกต่ำทิ้งดิ่งลงเหวด้านสิทธิมนุษย์ชน โดยต้องทำให้ไทยยกเลิกการข่มเหงปราบปราม ให้เคารพในหลักเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และคืนประเทศสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยภายใต้พลเรือน" ฟิชเชอร์ กล่าว

กลุ่มหมอรักประชาธิปไตย ออกแถลงการณ์ไม่รับนายกฯ ที่ไม่ได้มาจากเลือกตั้ง

กลุ่มหมอรักประชาธิปไตย ออกแถลงการณ์ไม่รับนายกฯ ที่ไม่ได้มาจากเลือกตั้ง เรียกร้องต่างชาติเป็นคนกลางช่วยแก้ความขัดแย้ง
 
กลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตยอันประกอบด้วยแพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ พยาบาลและวิชาชีพสาธารณสุขด้านอื่นๆ จำนวนกว่า 1,200 คนทั่วประเทศ มีความรู้สึกห่วงใยต่อสถานการณ์ของประเทศที่ยังมีความขัดแย้งกันอย่างสูงตลอด 6-7 เดือนที่ผ่านมา ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะสงบลง ทั้งยังอาจจะเกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในอนาคต มีแถลงการณ์ต่อสถานการณ์ของประเทศดังนี้
 

ฝาก Model เพื่อพัฒนาทีมสำหรับการทำ cross-media (ข้ามสื่อ) ใ


ฝาก Model เพื่อพัฒนาทีมสำหรับการทำ cross-media (ข้ามสื่อ) ในกองบก
บางที่อาจเหมาะกับรวมศูนย์
บางที่อาจต้องคิดใหม่เป็นมีทีมเฉพาะที่ทำแต่ละด้าน แต่ต้องมีการเชื่อมตรงกลางนำ content ให้ได้
ทีม New Media ตรงกลาง แยกให้เห็นว่า ประเด็นที่สำคัญในการทำมีหลักๆ 4 อย่าง ที่สำคัญคือ ต้องวิเคราะห์ และช่วยออกแบบ content เพื่อข้ามสื่อให้กับทีมใหญ่ได้ด้วย เพราะคนตรงนั้นควรเป็น

คนที่มี data วิเคราะห์ได้ และเข้าใจหลากแพลตฟอร์ม ^^
ข้อมูลสรุปมาจากการอ่าน Journals / เทรนด์ต่างประเทศ และการสัมภาษณ์สื่อบางท่านที่ให้ข้อมูลมาคะ
แลกเปลี่ยนเพิ่มเติมได้นะคะ
--------
Cross-media Team..
จะทำ cross-media ได้จริง ไม่สามารถ center งานไว้กับใครคนใดคนหนึ่งได้ ต้องมีทีมที่แตกความเฉพาะแต่ละเรื่อง
ความ convergent ไม่ใช่รวมศูนย์ แต่ต้องกระจายให้ถูกสุด การหลอมรวมในบางเรื่อง โดยเฉพาะ "หลอมรวมเนื้อหา" ให้ต่อยอดจากแค่ละแพลตฟอร์ม และนำกลับมารวมกันได้ คือประเด็นสำคัญ

ของการ "พัฒนาทีม" เพื่อให้ไปถึงคำว่า "cross-media" ที่เปิดประสบการณ์การรับสื่อได้จริง

#crossmedia
#noteforthesis