PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สถานการณ์10พ.ย.57


สปช.
"พล.อ.ประวิตร" เชื่อมั่น "บวรศักดิ์" นำยกร่าง รธน. ทำประชามติหรือไม่ อยู่ที่ สปช. ปัดนั่งนายกฯ ยัน ทำเพื่อชาติ

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เชื่อมั่นการทำงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มต้นแล้ว และยืนยัน ทหารพร้อมสนับสนุนการทำงาน ซึ่งเมื่อรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยก็เข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง ขณะที่จะมีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่จะต้องเป็นผู้ดูแล

ทั้งนี้ ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นกรณีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่มาจากคนนอกไม่สังกัดพรรคการเมือง ส่วนที่มีข่าวว่า พลเอกประวิตร อาจจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น บอกว่าไม่จริง และไม่เคยคิดจะเล่นการเมือง ยืนยันว่าที่เข้ามาทำหน้าที่ขณะนี้เพื่อบ้านเมือง และนายกรัฐมนตรีขอมา
-----------
สปช.เห็นตรงกัน เร่งปฏิรูปความเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การศึกษา การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม กระจายอำนาจ งบประมาณสู่ท้องถิ่น

บรรยากาศการสัมมนา สานพลัง สปช. ออกแบบอนาคตประเทศไทย ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ล่าสุด ได้เสร็จสิ้นการสัมมนากลุ่มใหญ่เพื่อสรุปผลการหารือในหัวข้อ เราจะทำให้ฝันเป็นจริงได้อย่างไร แล้ว โดยพบว่าสมาชิกส่วนใหญ่มีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกัน คือต้องการที่จะปฏิรูปความเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การศึกษา และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม โดยเสนอให้มีการกระจายอำนาจและงบประมาณสู่ท้องถิ่น เพิ่มรายได้ให้กับประชาชน พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยเฉพาะศักยภาพของครู รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอย่างเท่าเทียม

อย่างไรก็ตาม ในช่วงบ่ายจะเป็นกิจกรรมแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อหารือในรายละเอียดการปฏิรูปประเทศอีกครั้ง จากนั้นในเวลา 15.30 น. นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. จะแถลงข่าวภาพรวมการสัมมนาในครั้งนี้
---------------
มท.1 ไม่ขอออกความเห็น "อภิรัฐมนตรี" ชี้ ต้องรีบหาข้อยุติ ส่วนทำประชามติ หวั่นเพิ่มความขัดแย้ง 

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้า เรื่องการตั้งอภิรัฐมนตรี ว่า ไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ แต่จะต้องมีใครที่หาข้อยุติให้ได้
ส่วนจะไปยุติว่าจะเรียกชื่อใดนั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ขณะเดียวกันยังกล่าวถึงเรื่องการทำประชามติว่า การแสดงความคิดเห็น อาจเพิ่มความขัดแย้ง ซึ่งต้องให้คนที่มีหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการ เพราะต้องพูดกันด้วยเหตุผลและหนทางความเป็นไปได้ทั้งหมด

อย่างไรก็ตามมองว่า อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรนี้ มีอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร สามารถที่จะตรวจสอบและถ่วงดุลกันได้
-------
สปช. แยกกลุ่มย่อย จำนวน 10 กลุ่ม หารือแนวทางปฏิรูป "เทียนฉาย" เตรียมแถลงสรุปอีกครั้ง

ความเคลื่อนไหวการสัมมนา สานพลัง สปช. ออกแบบอนาคตประเทศไทย ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ในช่วงบ่าย ล่าสุด ภายหลังที่สมาชิก สปช. ได้รับประทานอาหารร่วมกันแล้ว ก็ได้มีการแบ่งกลุ่มย่อยจำนวน 10 กลุ่มแยกไปประชุมกันในห้องต่าง ๆ เพื่อแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในประเด็นสำคัญต่าง ๆ คือ สปช. จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับการปฏิรูปได้อย่างไร และ สปช. จะทำงานร่วมกันอย่างไร

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนติดตามการหารือของกลุ่มต่าง ๆ ทั้งนี้ หลังจากการประชุมเสร็จสิ้น นายเทียนฉาย กีรนันท์ ประธาน สปช. พร้อมด้วยสมาชิก สปช. จะมีการแถลงข่าวให้สื่อมวลชน รับทราบในช่วงเย็นนี้อีกครั้ง
------------
เทียนฉาย ระบุ สปช. ต้องเร่งรวบรวมข้อมูลความเห็นทุกภาคส่วน ทำกรอบปฏิรูปประเทศ ส่ง กมธ.ยกร่าง รธน.

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. กล่าวถึงข้อสรุปการสัมมนาของสมาชิก สปช. ในวันนี้ ว่า เป็นเพียงการกำหนดหัวข้อ ซึ่งจะต้องทำการรวบรวมข้อมูลและรายละเอียดเพื่อจัดทำเป็นแผนการปฏิรูปประเทศต่อไป แต่สิ่งที่จะต้องเร่งดำเนินการคือการรวบรวมข้อมูลและความเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อจัดทำกรอบการปฏิรูปประเทศส่งงให้คณะกรรมาธิการยกร่างภายในวันที่ 14 ธันวาคม

ส่วนเรื่องการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นายเทียนฉาย กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะพูดถึงเรื่องนี้ แต่หากจะดำเนินการจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรื่องนี้ สปช. สามารถทำได้โดยการเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
--------
"เทียนฉาย" รับผลหารือ สปช. แค่แนวคิด วางกรอบให้ กมธ.ยกร่าง รธน. แต่ยังไม่ใช่ข้อสรุป ประเด็นสำคัญต้องลดความเหลื่อมล้ำในทุกด้าน 

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. แถลงผลการสัมมนา สานพลัง สปช. ออกแบบอนาคตประเทศไทย โดยกล่าวว่า ผลการหารือในวันนี้ได้รวบรวมเป็นแนวคิดวิสัยทัศน์-ภิวัฒน์ไทย โดยเป็นการประมวลผลในเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขยายความและเป็นพื้นฐานการรับฟังประชาชนเพื่อปฏิรูปในด้านต่าง ๆ ต่อไปแต่ยังไม่ใช่ข้อสรุป โดยทางสมาชิก สปช. มีความเห็นร่วมกันว่าต้องลดความเหลื่อมทางด้านเศรษฐกิจ ศึกษา ทรัพยากร ปฏิรูปการศึกษา โดยมียุทธศาสตร์ที่เหมาะสม การสร้างชุมชนเข้มแข็งให้เป็นวาระแห่งชาติ สร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรม โปร่งใส เป็นประชาธิปไตย กำจัดทุจริตเชิงนโยบาย ผลประโยชน์ทับซ้อน แก้ไขกฎหมายควบคุมคอร์รัปชั่นให้ครอบคลุม สร้างกฎหมายที่เป็นธรรม มีการบังคับใช้ที่เสมอภาคและมีประสิทธิภาพ คัดกรองคนดีเข้าสู่ระบบการเมือง รวมทั้งปฏิรูประบบเลือกตั้ง กำหนดโทษของการทุจริตการเลือกตั้ง และกำหนดเวลาและวาระการดำรงตำแหน่ง
/////////////

สนช.ปปช.ถอดถอน

"นรวิชญ์" แจง "ยิ่งลักษณ์" ส่งทีมทนาย ขอเลื่อนวันประชุม 12 พ.ย. หลังยังไม่ได้รับสำนวนรายงาน ย้ำ ข้อบังคับถอดถอนมิชอบ

นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความส่วนตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผย สำนักข่าว INN ถึงคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ กรณีโครงการจำนำข้าว ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะมีการประชุมวันที่ 12 พ.ย. 57 ว่า เป็นเพียงการประชุมเพื่อกำหนดวันนัดแถลงเปิดคดี และพิจารณาบัญชีพยานที่ผู้ถูกกล่าวหาส่งมาเพิ่มเติม ซึ่งในขณะนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังไม่ได้รับสำนวนรายงานดังกล่าว จึงยังไม่ทราบว่า จะส่งบัญชีพยานเพิ่มเติมหรือไม่ พร้อมยื่นคำร้องขอให้เลื่อนการประชุมออกไปก่อน ตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ได้รับการติดต่อจากทาง สนช. ว่า อยากให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เข้าชี้แจงเหตุผลความจำเป็นในการขอเลื่อนการประชุม เพราะการจะเลื่อนได้หรือไม่นั้น ต้องเป็นมติจากที่ประชุม ซึ่งหลังจากปรึกษาหารือกันแล้ว น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะส่งทีมทนาย ซึ่งประกอบด้วย นายนรวิชญ์ นายสมหมาย กู้ทรัพย์ และผู้ติดตามอีก 1 คน ไปแทน

อย่างไรก็ตาม ยืนยันมาโดยตลอดว่า ข้อบังคับเรื่องการถอดถอนนั้น เป็นการออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งมองว่า หากมีมติไม่เลื่อนการประชุม ก็เหมือนกับไม่ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาในการต่อสู้
-------------
"พีระศักดิ์"ระบุ พรุ่งนี้ วิป สนช. หารือเลื่อนถกถอดถอน "ยิ่งลักษณ์" ส่วนตัวเห็นควรให้เลื่อน เพื่อให้ผู้ถูกร้องสู้ได้เต็มที่ 

นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 2 กล่าวถึงกรณีทีมทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทำหนังสือถึง นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ขอ

เลื่อนการพิจารณาวาระถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในโครงการจำนำข้าว วันที่ 12 พ.ย. ออกไปก่อน ว่า วันพรุ่งนี้ เวลา 13.30 น. ที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป

สนช.) จะพิจารณาคำร้องขอของทีมทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า จะให้เลื่อนการประชุม สนช. ในวันที่ 12 พ.ย. ออกไปเป็นเวลา 30 วันหรือไม่ ซึ่งส่วนตัวเห็นว่า ควรให้เลื่อนการประชุมไป
ก่อน เพื่อให้ความเป็นธรรม เนื่องจากมีข้อเท็จจริงเห็นชัดเจนว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพิ่งเดินทางกลับจากต่างประเทศ จึงยังไม่ได้รับสำนวน ป.ป.ช. จาก สนช. ไปศึกษา ดังนั้น ต้องเปิดโอกาสให้ น.ส.ยิ่ง

ลักษณ์ ได้สู้อย่างเต็มที่ และเท่าที่ดูแนวโน้ม คงจะให้เลื่อนการประชุมวาระการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่จะให้เลื่อนกี่วัน คงต้องหารือกันอีกครั้ง
--------------
"น.พ.เจตน์" รับ วิป สนช. เตรียมหารือข้อเท็จจริง ปมทนาย "ยิ่งลักษณ์" ร้องยังไม่ได้รับสำนวนไปศึกษา ชี้หากเป็นจริงต้องเลื่อนเพื่อความเป็นธรรม

น.พ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกวิป สนช. กล่าวว่า ทราบข่าวที่ทีมทนายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ร้องคัดค้าน สนช. ขอให้เลื่อนการพิจารณากระบวนการถอดถอนออกไปเป็น

เวลา 30 วัน ซึ่งในการประชุมวิป สนช. วันพรุ่งนี้จะหารือว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ที่ระบุถึงผู้ถูกกล่าวหายังไม่ได้รับสำนวนไปศึกษาไม่น้อยกว่า 15 วัน จริงหรือไม่ หากเป็นจริงก็คงต้องเลื่อนออก

ไป เพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหา แต่จะเลื่อนไปวันใดก็ขึ้นอยู่กับมติ สนช. ไม่ใช่ 30 วันตามที่ทีมทนายร้องขอ เพราะหากทนายร้องขอเป็นปีก็ต้องให้ตามที่ร้องขอหรือไม่ ทั้งนี้ ต้องดูที่ความ

เหมาะสม ส่วนการพิจารณาคดีของ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา จะเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. ในวันที่ 27 พฤศจิกายน โดยจะ

เป็นการพิจารณากำหนดวันและขั้นตอนในกระบวนการถอดถอน
////////
เคลื่อนไหวนายกฯ

นายกฯ หารือทวิภาคีผู้นำฟิลิปปินส์ วางเป้าส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่าปริมาณ การค้าการลงทุนระหว่างกัน

ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการหารือทวิภาคีระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กับ นายเบนิโญ อากีโน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ระหว่างการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก ครั้งที่ 22 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ว่า ผู้นำฟิลิปปินส์ชื่นชมนายกรัฐมนตรีที่มีบทบาทในการผลักดันนวัตกรรม ส่งเสริม SMEs พัฒนาการ

เกษตร ซึ่งเป็นแนวทางที่ฟิลิปปินส์ถือเป็นแบบอย่างในการพัฒนาประเทศ รวมถึงชื่นชมภาคธุรกิจชั้นนำของไทย ที่เข้าไปลงทุนในฟิลิปปินส์ ซึ่งมีส่วนส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สร้างการ

เติบโตภายในประเทศ โดยเฉพาะมาตรการเกษตร การดูแลราคาสินค้าเกษตร และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวชื่นชมความสำเร็จของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบาย สามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนทำให้

เศรษฐกิจฟิลิปปินส์เติบโตอย่างต่อเนื่อง และไทยมีความยินดีที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่าและปริมาณ การค้าการลงทุนระหว่างกัน จึงได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อกระตุ้น

เศรษฐกิจภายในประเทศและขยายลู่ทางการค้าระหว่างประเทศ เชื่อว่าไทยและฟิลิปปินส์ ยังมีโอกาสขยายตัวเศรษฐกิจระหว่างกันทั้งในระดับประเทศและภายในภูมิภาคด้วย

------
////
ทหาร

"พล.อ.ประวิตร" ตรวจเยี่ยม บก.ทท. แล้ว พร้อมมอบนโยบายพิทักษ์รักษาสถาบัน คืนสันติสุขใต้ เร่งสร้างปรองดอง 

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางตรวจเยี่ยมกองบัญชาการกองทัพไทยอย่างเป็นทางการ ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ โดยมี พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการเหล่าทัพ ให้การต้อนรับ โดย พลเอก ประวิตร ได้ตรวจแถวกองทหารเกียรติยศผสมสามเหล่าทัพ หลังจากนั้นได้เข้ารับฟังการบรรยายสรุป พร้อมทั้งมอบนโยบายการปฏิบัติงานที่สำคัญและมีความเร่งด่วน อาทิ การพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเต็มความสามารถ การเร่งนำสันติสุขกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การสนับสนุนนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยเฉพาะการปฏิรูปประเทศ การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ การพัฒนาความสัมพันธ์กับมิตรประเทศและองค์การระหว่างประเทศ การเสริมสร้างศักยภาพกองทัพ ให้มีความพร้อมในการพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคง และผลประโยชน์แห่งชาติ
-----------
รมว.กห. ย้ำ สร้างปรองดองสมานฉันท์เป็นรูปธรรมใน 1 ปี หนุน สปช. ปฏิรูป ขอทุกฝ่ายร่วมมือ ช่วยลดขัดแย้ง

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายกองบัญชาการกองทัพไทย โดยย้ำว่า กรอบนโยบายของรัฐบาล ในเรื่องความปรองดอง สมานฉันท์ ทุกเหล่าทัพ พร้อมเดินหน้า ดำเนินการให้เป็นรูปธรรมให้ได้ ภายในกรอบเวลา 1 ปี วันนี้ไม่ได้กำชับเรื่องใดเป็นพิเศษ เพราะทุกหน่วยทำงานดีอยู่แล้ว ดูจากผลสำรวจที่ออกมา ประชาชนพอใจการทำงานของรัฐบาล และ คสช. และสนับสนุนการทำงานของ สปช. ซึ่งการปฏิรูปทั้ง 11 ด้าน ก็กำลังเดินหน้าไปได้ด้วยดี ต่างชาติเข้าใจ และทุกฝ่าย จะต้องช่วยกัน ใครที่มีข้อเสนอ ก็สามารถเสนอได้ตามช่องทาง โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความขัดแย้งให้ได้

"พลเอก ประวิตร” เผย ทั้งจีนและญี่ปุ่นสนใจ ร่วมทุน รถไฟความเร็วสูง ไทย

"พลเอก ประวิตร” เผย ทั้งจีนและญี่ปุ่นสนใจ ร่วมทุน รถไฟความเร็วสูง ไทย เผย บินญี่ปุ่น กระชับความสัมพันธ์ พร้อมถกรถไฟฟ้าความเร็วสูง ท่าเรือทวายเตรียมเดินหน้าพูดคุยรายละเอียด พร้อมร่วมมือความมั่นคง งานวิจัยป้องกันประเทศ และ ฝึกร่วมมากขึ้น/ ประชุม ครม.พุธนี้ ยังไม่มีภาษีมรดก หรือรถไฟ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีที่เดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นว่า ตนได้เดินทางไปตามคำสั่งของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และในฐานะรมว.กลาโหม โดยได้ไปดำเนินการเรื่องความมั่นคงและได้เข้าพบรมว.กลาโหมของญี่ปุ่น เพื่อพูดคุยถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความร่วมมือการฝึก ศึกษาและการแลกเปลี่ยนการเยือนผู้นำระดับเหล่าทัพ ตลอดจนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งทางญี่ปุ่นได้ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ทางเราก็ต้องการให้คนของเราไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อร่วมมือกันดำเนินการให้กองทัพมีความเข้มแข็ง และการฝึกร่วมในระดับต่างๆมากขึ้น

นอกจากนี้ผมได้เข้าพบรมว.หลายกระทรวง รวมถึงนักธุรกิจ โดยได้มีการชี้แจงสถานการณ์ในประเทศไทยให้ได้เข้าใจว่ากำลังดำเนินการอะไรอยู่และที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ซึ่งเขาเข้าใจเป็นอย่างดีและยืนยันถึงความร่วมมือ

สำหรับเรื่องรถไฟความเร็วสูงนั้นก็ได้มีการพูดคุยกัน รวมทั้งเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของประเทศทั้งหมดที่ได้ร่วมมือกันและสามารถดำเนินการได้ ทั้งนี้ยังต้องมีรายละเอียดที่จะต้องพุดคุยกันต่อไป
นอกจากนี้ ญี่ปุ่น ยังสนใจร่วมทุน ไทย-พม่า ในการพัฒนา ท่าเรือ น้ำลึก ทวาย ด้วย และ เส้นทางคมนาคม

พล.อ.ประวิตร รักษาการ นายกฯ กล่าวถึงการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 12 พ.ย.นี้ว่า เท่าที่ทราบยังไม่มีการพิจารณาเรื่องสำคัญอะไร เพราะที่ผ่านมานายกฯไดดำเนินการทุกอย่างแล้ว การประชุมเป็นไปตามวาระ ตนคิดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร

สำหรับเรื่องการพิจารณาราภาษีมรดกนั้นกำลังดำเนินการอยู่ แต่ยังไม่พิจารณาในการประชุมครม. ในวันที่ 12 พ.ย. รวมถึงเรื่องการพิจารณารถไฟร่างคู่ด้วย

พระปกเกล้าเสนออภิรัฐมนตรีถ่วงดุลนิติบัญญัติ-บริหาร-ตุลาการ

พระปกเกล้าเสนออภิรัฐมนตรีถ่วงดุลนิติบัญญัติ-บริหาร-ตุลาการ

การประชุมวิชาการสถาบันพระ ปกเกล้า ในหัวข้อ "8 ทศวรรษ ประชาธิปไตยไทย : พลวัตแห่งดุลอำนาจ" โดยมีนักวิชาการชั้นนำเข้าร่วมประชุมได้สรุป ข้อเสนอที่จะนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญในหลายประเด็น

นายปณิธาน วัฒนายากร สรุปผล การประชุมในกลุ่มการสร้างดุลยภาพใน ระบบโครงสร้างอำนาจรัฐ ว่าจะต้องร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับดุลอำนาจระหว่างสถาบันการเมืองต่างๆ ไม่ให้เกิดการก้าวล่วงขอบเขตอำนาจระหว่างกัน เพื่อป้องกันวิกฤตความขัดแย้ง

"ที่ประชุมยังมีการเสนอให้มีการ จัดตั้งอภิรัฐมนตรีให้เป็นอีกดุลอำนาจหนึ่ง นอกเหนือจากฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ โดยจัดวางให้ อภิรัฐมนตรีมีอำนาจมากที่สุด ในฐานะรัฏฐาภิบาล ทั้งนี้
เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาเมื่อ 3 อำนาจ หลักในอำนาจอธิปไตยมีความขัดแย้งกัน อภิรัฐมนตรี จะเป็นผู้มีอำนาจชี้ขาด" นายปณิธาน กล่าว

สำหรับข้อเสนอว่าด้วยองค์กรอิสระนั้น เสนอให้ที่มาขององค์กรอิสระจะต้องหลากหลายและยึดโยงกับประชาชน ส่วนบทบาทของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ควรให้ทำหน้าจัดการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ไม่มีอำนาจการวินิจฉัย ชี้ขาดให้ใบเหลือง-ใบแดง

อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอเบื้องต้นจากการประชุม ทางวิชาการ โดยสถาบันพระปกเกล้า จะนำไปทำให้สมบูรณ์ขึ้น ก่อนจะเสนอ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช.พิจารณาต่อ
ไป

นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวปาฐกถาตอนหนึ่งว่า องค์กรที่จะสร้างดุลอันดับแรก คือ การสร้างดุลระหว่าง สปช. และ กมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญ หากไม่ได้ดุล รัฐธรรมนูญจะไม่ผ่าน สปช.ในวันที่ 6 ส.ค. 2558 จากนั้นคือการสร้างดุลระหว่าง กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ สปช. สนช. ครม. เพื่อ ให้การปฏิรูปและการทำกฎหมายอื่นๆ เดิน หน้าได้

นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า สิ่งที่ต้องตอบโจทย์ให้ได้ คือ การสร้างความปรองดอง ซึ่งรัฐธรรมนูญสามารถสร้างองค์กร และกลไกที่นำไปสู่กระบวนการสำคัญ ที่ใช้ในการปรองดองเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ให้สีหรือคนไทยฆ่ากันได้ ทั้งนี้ไม่ใช่การเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม ดังนั้นรัฐธรรมนูญเพื่อความปรองดอง จึงเป็นของใหม่ที่ต้องให้ความสำคัญ ก่อนการสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ สังคม และการจัดสรรอำนาจใหม่ในเชิงโครงสร้าง

//////////////
อภิรัฐมนตรีสภา (อังกฤษ: Supreme Council of State of Siam) เป็นสภาที่ปรึกษาและนิติบัญญัติที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งขึ้น พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะตั้งสภาคล้ายกับคณะรัฐมนตรี ที่ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของรัฐจะประชุมเพื่อตัดสินใจในการงานของรัฐ สภาได้รับการก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468

สภาประกอบด้วยสมาชิก 5 พระองค์ ซึ่งล้วนเป็นเจ้านายแห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัชกาลที่ 5 และ 6 สมาชิกอภิรัฐมนตรีสภา ได้แก่

สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ

สภานี้มิใช่องค์กรเดียวของรัฐบาลในเวลานั้น หากแต่ยังมีสภากรรมการองคมนตรี (Privy Council) และเสนาบดีสภา (Council of Secretaries) อย่างไรก็ดี อภิรัฐมนตรีสภาถือว่าสำคัญสุด เจ้าฟ้า

บริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตเป็นสมาชิกที่เด่นที่สุดของอภิรัฐมนตรีสภา เพราะเป็นรัชทายาทและเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย

บทบาทหน้าที่ของอภิรัฐมนตรีสภา[แก้]

อภิรัฐมนตรีสภา เป็นสถาบันใหม่เทียบเท่าได้กับสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ 5 ซึ่งได้ตั้งขึ้นภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ 2 วัน (วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) มีหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาชั้นสูงแก่พระมหากษัตริย์ ซึ่งให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกิจการการเมืองการปกครองและนโยบายของประเทศ อภิรัฐมนตรีสภา มีการกำหนดการประชุมทุก ๆ วันศุกร์ สัปดาห์ละครั้ง โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธานในการประชุม เริ่มการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 ณ พระที่นั่งบรมพิมาน อภิรัฐมนตรีสภา ได้ให้คำปรึกษาแนะนำในเรื่องที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดินหลายเรื่องที่สำคัญ กล่าวคือ

1. ให้คำปรึกษาหารือข้อราชการเรื่อง ร่างพระราชบัญญัติสภากรรมการองคมนตรี ซึ่งพระราชทานลงมาให้ศึกษาและนำคำปรึกษาขึ้นถวายบังคมทูล

2. วางรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในรูปของเทศบาล โดยการปรับปรุงแก้ไขสุขาภิบาลที่มีอยู่ให้เป็นเทศบาล ซึ่งได้จัดตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ และได้ทูลเกล้าฯ ถวายรายงานและความเห็นเกี่ยวกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติเทศบาล

3. พิจารณาโครงร่างรัฐธรรมนูญที่พระยากัลยาณไมตรี (Francis B.Sayre) ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย มีลักษณะเป็นระบบนายกรัฐมนตรีให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินโดยตรงแทนองค์พระมหากษัตริย์ โดยนายกรัฐมนตรีมีสิทธิเลือกคณะรัฐมนตรีเอง ส่วนพระมหากษัตริย์ยังคงไว้ซึ่งอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ตามแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ให้อภิรัฐมนตรีสภามีหน้าที่เพียงถวายคำปรึกษาเท่านั้นไม่มีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน โครงร่างรัฐธรรมนูญของพระยากัลยาณไมตรีฉบับนี้จึงไม่ได้รับความเห็นชอบจากอภิรัฐมนตรีสภา โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเป็นสมาชิกพระองค์หนึ่งของอภิรัฐมนตรีสภาทรงคัดค้านว่า การมีนายกรัฐมนตรีเป็นเรื่องและวิธีการปกครองในระบอบรัฐสภา ไม่ใช่การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งไม่มีรัฐสภา เมื่อเป็นเช่นนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงระงับพระราชดำริเรื่องการพระราชทานรัฐธรรมนูญไว้ก่อน แล้วทรงเริ่มงานวางพื้นฐานการปกครองแบบรัฐสภาขึ้นในปี พ.ศ. 2470 โดยการให้นายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ ที่ปรึกษาราชการกระทรวงการต่างประเทศและพระยาศรีวิสารวาจา ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้พิจารณาร่างหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ และทรงมีพระราชดำรัสถึงความประสงค์ที่จะให้รัฐธรรมนูญแก่ราษฎรโดยเร็วที่สุด และต้องให้ทันวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นวันครบรอบมหาจักรี นายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ และพระยาศรีวิสารวาจา จึงยกร่างรัฐธรรมนูญ และได้นำทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2474

นอกจากนั้น นายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์และพระยาศรีวิสารวาจายังได้แนบบันทึกความเห็นประกอบเค้าโครงการเปลี่ยนแปลงการปกครองอีก 2 ฉบับว่าไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญในขณะนั้น เพราะประชาชนยังไม่พร้อม และเทศบาลก็ยังไม่ได้มีการจัดตั้งขึ้นมา โครงร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภาและพระบรมวงศานุวงศ์ได้พากันคัดค้านไม่เห็นด้วย โดยอ้างเหตุผลว่ายังไม่ถึงเวลาอันสมควร เนื่องจากราษฎรยังมีการศึกษาไม่ดีพอ เกรงว่าเมื่อพระราชทานรัฐธรรมนูญแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายภายหลัง คำคัดค้านดังกล่าวทำให้พระองค์ทรงลังเลพระทัยว่าควรจะพระราชทานรัฐธรรมนูญเมื่อใดจึงจะเหมาะสม ความไม่แน่นอนและเงื่อนไขต่าง ๆ ทำให้ระบบการเมืองไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับเหตุการณ์ การปฏิวัติในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จึงเกิดขึ้น

สหรัฐโชว์คลิปอุปทูตรักษาการแทน เผย "โอบามา" จะส่งคนใหม่มาในไม่ช้า

สหรัฐโชว์คลิปอุปทูตรักษาการแทน เผย "โอบามา" จะส่งคนใหม่มาในไม่ช้า
Cr:ผู้จัดการ
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐทำเก๋อีกแล้ว! ส่งคลิปแนะนำตัวอุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตฯ หลังรับมอบงานมาตั้งแต่ 4 พ.ย. เผย "คริสตี้" กลับมะกันไปแล้ว นั่งคุมงานสื่อสารเชิงยุทธศาสตร์เอเชียตะวันออกและแปซิฟิค ระบุ "โอบามา" เตรียมส่งคนใหม่มาในไม่ช้า รอสภาคองเกรสอนุมัติก่อน รับทำงานมา 25 ปีอยู่แต่ในละแวกนี้และขนครอบครัวอยู่ไทยมาแล้วปีครึ่ง ยันทำงานเพื่อประโยชน์ชาวอเมริกาและสยา
วันนี้ (10 พ.ย.) เว็บไซต์เฟซบุ๊กแฟนเพจ U.S. Embassy Bangkok ของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ได้เปิดเผยคลิปวิดิโอการแนะนำตนของนายดับเบิลยู. แพทริค เมอร์ฟี อุปทูตรักษาการแทน สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย หลังนางคริสตี้ เอ. เคนนี่ย์ อดีตเอกอัครราชทูต ได้ส่งมอบหน้าที่การกำกับดูแลการดำเนินงานของสถานเอกอัครราชทูตตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยนายแพทริค ได้กล่าวแนะนำตัวเป็นภาษาไทยว่า "สวัสดีครับ ผมชื่อแพทริค เมอร์ฟี่ ผมเป็นอุปทูตที่สถานทูตอเมริกาที่กรุงเทพฯ ครับ"
จากนั้น นายแพทริค ได้กล่าวเป็นภาษาอังกฤษระบุว่า ตนอยากกล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ที่สถานทูต รวมทั้งสิ่งที่ยังคงเดิม ขณะที่นางคริสตี้ ได้กลับไปที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.แล้ว เพื่อรับผิดชอบดูแลด้านการสื่อสารเชิงยุทธศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และแปซิฟิคทั้งหมด โดยนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จะเสนอชื่อเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยคนใหม่ในไม่ช้า ซึ่งจะเดินทางมาทำงานเมื่อได้รับการยืนยันจากรัฐสภา ในระหว่างนี้ ตนในฐานะอัครราชทูตที่ปรึกษา ตนได้รับมอบหมายหน้าที่อุปทูตชั่วคราวระหว่างการผลัดเปลี่ยนหน้าที่ของเอกอัครราชทูต
นายแพทริค กล่าวว่า ตนรับราชการมา 25 ปี โดยทำงานทั้งประจำกระทรวงและในต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ตนทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดช่วง 1 ปีครึ่งที่ผ่านมาตนอยู่ที่กรุงเทพกับภรรยาและบุตรทั้ง 3 คน ในขณะที่ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศเราทั้ง 2 ซึ่งยั่งยืนมาถึง 181 ปี ยังคงดำเนินไปด้วยดี ตนและเจ้าหน้าที่สถานทูตที่กรุงเทพฯ และสถานกุงสุลในเชียงใหม่ จะยังคงทำงานเพื่อประโยชน์ของคนอเมริกัน และคนไทยต่อไป
"ผมหวังว่าจะได้พบกับเพื่อนๆ ชาวไทยทั่วประเทศเร็วๆ นี้ ขอบคุณครับ และสวัสดีครับ" นายแพทริค กล่าวเป็นภาษาไทยปิดท้ายคลิป

ฟัง "ประภาส ปิ่นตบแต่ง" อ.รัฐศาสตร์ จุฬาฯ กับเหตุผลที่ต้องเดินเท้าปฏิรูปที่ดิน โดยที่รู้ว่าจะถูกจับ

ฟัง "ประภาส ปิ่นตบแต่ง" อ.รัฐศาสตร์ จุฬาฯ กับเหตุผลที่ต้องเดินเท้าปฏิรูปที่ดิน โดยที่รู้ว่าจะถูกจับ

วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เวลา 11:55:56 น.

ภาพจากเฟซบุ๊กPiyasak Ausap

สืบเนื่องจากวานนี้ (9 พ.ย.) ที่วัดสวนดอก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) และเครือข่ายพันธมิตร ทำพิธีเปิดการรณรงค์ “เดิน ก้าว แลก” เพื่อการปฏิรูปที่ดินไทย โดยได้วางแผนที่จะเดินเท้าจากจังหวัดเชียงใหม่สู่กรุงเทพฯ เพื่อยื่นข้อเรียกร้องให้มีการยุติแผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ซึ่งร่างขึ้นโดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าเป็นจำนวนมาก ทั้งถูกบังคับให้อพยพ ทำลายพืชผลทางการเกษตร และฟ้องร้องดำเนินคดี
http://www.matichon.co.th/online/2014/11/14155949941415595215l.jpg

โดยกิจกรรมในครั้งนี้ มีตัวแทนจากสหพันธ์ฯ และเครือข่าย ที่จะนำการเดินรณรงค์ อาทิ นายประยงค์ ดอกลำไย แกนนำสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ, นายดิเรก กองเงิน ตัวแทนภาคประชาชน, นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด, และรศ.ประภาส ปิ่นตบแต่ง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ทหารจากมณฑลทหารบกที่ 33 ได้พยายามเจรจาขอให้ไม่มีการเดินรณรงค์ดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าเป็นการขัดต่อกฏอัยการศึก และขอให้ระงับการจัดกิจกรรม แต่ทางแกนนำเครือข่าย ได้ยืนยันที่จะทำการเคลื่อนไหวต่อไป โดยเริ่มออกเดินจากวัดสวนดอกในเวลาประมาณ 13.00น. จำนวนชุดละ 4 คน ทั้งหมด 2 ชุด ซึ่งก็ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารสกัดไว้ทั้งหมด ก่อนนำตัวไปควบคุมไว้บนรถห้องขังที่เตรียมไว้ หนึ่งในแกนนำที่ถูกจับคือ ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อม ชาวบ้านอีก 3 คน หลังออกเดินเป็นชุดที่ 2 ได้เพียง 50 เมตร

ทั้งนี้ ภายหลังการถูกจับกุมตัว เฟซบุ๊กของคุณภาสกร จำลองราชได้เผยแพร่คลิปวิดิโอสั้นๆ ถึงความรู้สึกที่ได้ออกมาเคลื่อนไหวครั้งนี้



Q: ความรู้สึกแรก รู้สึกอย่างไร?

A: ก็โอเค พี่น้องเราเจอมาเยอะแล้ว ซึ่งเราก็เอาเปรียบพี่น้องมาเยอะมากแล้ว พี่น้องทนทุกข์ลำบาก แต่เราได้ดิบได้ดี...เรียนจบปริญญาเอก

Q: สังคมตั้งคำถามว่า ในเมื่ออาจารย์รู้อยู่แล้วว่า การเคลื่อนไหวครั้งนี้ อาจจะทำให้ติดคุก แล้วทำไมยังเลือกที่จะทำ?

A: คิดว่าเรื่องนี้ควรที่จะให้สังคมได้รับรู้ ว่าปัญหามันอยู่ตรงไหน ผมคิดว่าผมเป็นแค่คนที่ทุกข์นิดหน่อย แทนพี่น้องที่จะต้องมาเดือดร้อน ต้องมาเดินขบวนแบบเดิม หรือพี่น้องหลายคนแม้แต่ต้องยอมเสียชีวิต ผมคิดว่าผมเสียสละน้อยมาก

Q: สิ่งที่อาจารย์อยากเห็นคืออะไร?
A: หนึ่ง-ผมคิดว่าแผนแม่บทคืนผืนป่านี้ต้องทบทวน เพราะมันคือ "คจก.ภาค2" (
โครงการจัดที่ทำกินให้กับราษฎรผู้ยากไร้ในพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม) ที่สร้างความเดือดร้อนมากมาย สอง-กลับไปสู่การแก้ปัญหาที่พี่น้องมีส่วนร่วมมาอย่างยาวนาน เรามีบทเรียนมาเยอะแยะ...ถอยกลับไปที่บทเรียนเดิมก็พอแล้ว

สำหรับความพยายามเข้ามาบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ของรัฐนั้น มีมาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นกรณี "ป่าดงใหญ่" จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเคยเป็นที่มั่นของกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) เขตอีสานใต้ กอ.รมน.ภาค 2 จึงดำเนินนโยบาย "บ้านล้อมป่า" ร่วมกับกรมป่าไม้ จัดทำโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองตามแนวชายแดน (ปชด.) โดยอพยพชาวบ้านที่กระจัดกระจายอยู่ในป่าดงใหญ่ มาอยู่ในพื้นที่ทำกินให้ใหม่ ขณะเดียวกัน กรมป่าไม้ก็ได้กันพื้นที่ส่วนใหญ่ให้เอกชนเช่าปลูกป่าเศรษฐกิจ และมีสัญญาถึง 30 ปี ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถกลับไปยังพื้นที่ทำกินของตนได้อีก

ไกล่เกลี่ยจบ! รถไฟยอมจ่ายสาวป.โท เหยื่อพนักงานหื่น 5.2 ล้าน


ศาลฎีกาไกล่เกลี่ย รฟท.ยอมจ่ายค่าสินไหมสาวป.โท เหยื่อพนักงานหื่นข่มขืนบนตู้นอนรถไฟเมื่อปี 44 เป็นเงิน 5 ล้าน 2 แสน หลังยืดเยื้อมานานกว่า 13 ปี ด้านผู้เสียหาย ชี้จำคุกผู้ก่อเหตุ 9 ปีน้อยไป ระบุทุกวันนี้ใช้ชีวิตลำบากต้องไปอยู่ตปท....

เมื่อวันที่ 10 พ.ย. นายเดชา อุบลพงษ์ เลขานุการศาลแพ่งกรุงเทพใต้ แถลงผลการไกล่เกลี่ย คดีอดีตนักศึกษาหญิงปริญญาโท ฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหาย การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และอดีตลูกจ้างชั่วคราว ที่ข่มขืนบนตู้นอนรถไฟ สายสุไหงโกลก-กรุงเทพฯ เมื่อปี 2544

นายเดชา เปิดเผยว่า ศาลฎีกาได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งคู่ความทั้ง 2 ฝ่ายสามารถตกลงกันได้ โดย รฟท. ยินยอมชำระเงินค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย ถือว่าคดีเป็นอันยุติ และสิ้นสุดลง

ด้านหญิงสาวผู้เสียหาย ระบุว่า ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายไปทั้งสิ้น 18 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2551 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ มีคำพิพากษาให้ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน 3 ล้านบาท แต่จนถึงปัจจุบัน รวมดอกเบี้ยที่ รฟท.ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ประมาณ 10 ล้านบาท แต่มีการขอเจรจาไกล่เกลี่ย ซึ่งก็ยินยอม ตกลงให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นเงิน 5 ล้าน 2 แสนบาท ส่วนเงินที่เหลือ อีกประมาณ 4 ล้าน 8 แสน ขอยกให้ รฟท.นำไปพัฒนาปรับปรุงการบริการให้ดีขึ้น

นอกจากนี้ ยังฝากถึง รฟท.ควรมีมาตรการคัดกรองพนักงานที่จะมาทำงาน เพื่อรักษาความปลอดภัยให้ผู้โดยสารมากกว่านี้ไม่ให้เกิดเหตุซ้ำอีก ส่วนคดีอาญา ตามที่ศาลฎีกา ได้พิพากษาไปเมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2551 โดยพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ ให้จำคุกอดีตลูกจ้างชั่วคราว ฐานข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่น ซึ่งมิใช่ภรรยาตน เป็นเวลา 9 ปี นั้นเห็นว่าโทษน้อยเกินไป

สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแม้ผ่านมากว่า 13 ปี แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพ ทั้งกาย และใจ รวมถึงการใช้ชีวิตที่ลำบาก ต้องไปใช้ชีวิตชีวิตอยู่ต่างประเทศ จึงฝากเตือน ผู้หญิงทุกคน ที่จะเดินทาง ให้ดูแลตัวเอง รวมถึงฝากเตือนองค์กรต่างๆ ที่จะส่งพนักงานไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของพนักงานด้วย ส่วนตนเองจากนี้ต้องพยายามดำเนินชีวิตต่อไปแม้จะเป็นไปด้วยความยากลำบากก็ตาม

อย่างไรก็ตามหญิงสาวผู้เสียหาย ได้เปิดเผยเพิ่มเติมกับ "ไทยรัฐออนไลน์" ว่า พอใจในระดับหนึ่งที่ รฟท. แสดงความรับผิดชอบ ซึ่งตอนแรกเรียกค่าเสียหายไป 10 ล้านบาท แต่ทาง รฟท.พิจารณาให้ 5 ล้าน 2 แสน ซึ่งไม่ได้คิดอะไรมาก

"ส่วนที่เหลือถึงแม้จะไม่ได้ แต่ดิฉันก็ขอมอบให้ทางการรถไฟฯ นำเงินกลับไปพัฒนารถไฟไทย ให้ได้มาตรฐาน และให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้โดยสารมากกว่านี้ สิ่งที่ผ่านมามันเป็นฝันร้ายสำหรับดิฉัน และไม่ต้องการให้เกิดขึ้นกับคนอื่น ขอให้เรื่องนี้เป็นบทเรียนที่นำไปสู่การแก้ไข"
http://www.thairath.co.th/content/462518

กางโรดแมป ′บวรศักดิ์′ เขียนรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่

กางโรดแมป ′บวรศักดิ์′ เขียนรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่

วันที่ 09 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เวลา 13:40:25 น.


หมาย เหตุ - นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติคนที่ 1 ในฐานะประธานกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวปาฐกถาปิดการประชุม "8 ทศวรรษ ประชาธิปไตยไทย พลวัตแห่งดุลอำนาจ" ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน

กรณีมีข่าวว่าว่าสถาบันพระปกเกล้า เสนอให้มีคณะอภิรัฐมนตรีขึ้นมาควบคุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สภา และศาลนั้น ต้องขอแจ้ง ณ ที่นี้ว่าไม่ใช่ข้อเสนอของกลุ่ม แต่เป็นข้อเสนอของ นายสุรพล ศรีวิทยารองคณบดีวิทยานวัตกรรมสังคม ม.รังสิต เพียงคนเดียวเท่านั้น พัฒนาการของดุลแห่งอำนาจตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ดุลอำนาจเปลี่ยนแปลงมาตลอด เมื่อเราผ่านยุคข้าราชการทหารและพลเรือนมาสู่ยุค 2516 เป็นยุคที่เรียกว่า มีดุลแห่งอำนาจเกิดขึ้น 3 เส้า คือ ขั้วที่ 1 ดุลแห่งอำนาจระหว่างข้าราชการ ทหาร พลเรือน พรรคการเมือง และนักการเมืองที่มาจากเลือกตั้ง ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่พรรคการเมืองอ่อนแอลง และมีการทุจริต ข้าราชการทหาร พลเรือน รัฐวิสาหกิจ จะแสดงตนเข้ามาแย่งอำนาจจากนักการเมือง ขั้วที่ 2 เอกชนไทย ที่ได้รับพลพวงจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1-5 มีความเติบโตขึ้น พอที่จะเข้ามาคานและมีส่วนร่วมกับรัฐ จนทำให้เกิดคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน ในยุค พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เกิดคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจเกิดขึ้น และเมื่อมาถึงปี 2540 เมื่อมีการเรียกร้องให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และไม่รับรองรัฐธรรมนูญของคณะ รสช. โดยมีการแก้รัฐธรรมนูญ ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเกิดขึ้น ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2540 นำสมดุลทางการเมืองหรืออำนาจขึ้นมาใหม่ ระหว่างการเมืองของนักการเมืองกับการเมืองภาคพลเมือง อำนาจรวมศูนย์กระจายไปสู่ท้องถิ่น เอาอำนาจศาลมาทัดทานและตรวจสอบฝ่ายบริหาร และดุลยภาพแห่งอำนาจตั้งแต่ปี 2540-2541 มีผลในระดับหนึ่ง แต่มาเสียดุล ซึ่งเกิดจากผู้มีอำนาจทางการเมือง จนเกิดการยึดอำนาจในปี 2549 จนเกิดพลเมืองกลุ่มเสื้อแดงขึ้นมา

"จากสาเหตุที่เกิดจากช่อง ว่างมหาศาลระหว่างคนระดับบนและล่าง เกิดจากการจัดสรรทรัพยากรของประเทศ ที่เน้นการส่งออกอุตสาหกรรม และละเลยคนจนเกษตรกร และผู้ประกอบการรายย่อย ส่งผลให้คนมั่งมีกลายเป็นคนมั่งมีมหาศาล คนชนชั้นกลางธรรมดาเป็นคนระดับบน คนไม่มีก็ยังไม่มี ตรงนี้เองเป็นรากฐานในการประชานิยมสุดขั้ว ที่พรรคการเมืองนำเสนอให้ประชาชนที่ไม่มีอำนาจต่อรอง ไม่มีส่วนแบ่งทางการตลาด ได้เข้ามาลิ้มรสทรัพยาการที่เขาไม่เคยได้ ฉะนั้นการที่เขานำงบประมาณออกไปทำประชานิยม จึงได้รับเลือกตั้งจนกลายเป็นเสียงข้างมาก จนในปี 2550-2557 เกิดความไม่สมดุลในอำนาจของคนมั่งมีและคนชั้นกลางในระดับบน กับอำนาจทางเศรษฐกิจของคนไม่มีและคนชั้นกลางระดับล่าง ตลอดจนอำนาจของสถาบันทางการเมือง และอำนาจของคนบนท้องถนน หรือม็อบต่างๆ จนมีคนตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อก่อนคนไทยเคยอยู่เย็นเป็นสุข แต่บัดนี้คนไทยอยู่ร้อนนอนทุกข์ จนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องมาคืนความสุข และออกมาแสดงรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งโจทย์ใหญ่คือ เราจะช่วยให้เกิดความสันติสุขและสถาพรได้อย่างไร เมื่อตั้งโจทย์เช่นนี้ เราต้องมาดูว่าอะไรคือสาเหตุและปัญหาที่เห็นชัดคือ ความขัดแย้งระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรีและผู้สนับสนุน คือคนเสื้อแดงกับผู้ต่อต้านนำโดยพรรคการเมืองเก่าแก่ และมีคนเสื้อเหลือง เสื้อหลากสี และกลุ่มนกหวีดเข้ามาร่วม ซึ่งความขัดแย้งนี้ยังไม่สงบ เพราะความขัดแย้งนี้ยังอยู่ ถือว่าอยู่ในบรรยากาศที่มีการใช้กฎหมายความมั่นคงและกฎอัยการศึก"

การเปลี่ยนแปลงทางรัฐธรรมนูญทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมทางสังคม เป็นรากฐานของประชานิยมสุดขั้วที่พรรคการเมืองนำเสนอให้ประชาชนที่ไม่มี อำนาจต่อรอง ไม่มีส่วนแบ่งทางการตลาด ได้เข้ามาลิ้มรสทรัพยาการที่เขาไม่เคยได้ ฉะนั้นการที่เขานำงบประมาณออกไป ทำประชานิยมจึงได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นเสียงข้างมาก ถ้าประชานิยมสร้างแล้วทำให้เกิดผลดีแก่บ้านเมืองจริง คงไม่ต้องมาพูดกันวันนี้ แต่ประชานิยมสร้างความเสียหายมากมาย ตั้งแต่เอาเงินในอนาคตมาใช้ ผลักหนี้ให้ลูกหลานในอนาคต ที่สำคัญประชาชนถูกลดลงเป็นราษฎร ต้องพึ่งพิงและพึ่งพาการพรรคการเมืองและรัฐบาล เมื่อคนต้องพึ่งนักการเมืองเช่นนี้ จึงกล่าวได้ว่า ประชานิยม คือ พ่อที่แท้จริงของระบบอุปถัมภ์ ดังนั้นเราต้องทำให้เกิดความเป็นธรรมในระบบเศรษฐกิจและสังคมที่แท้จริง โดยประชาชนไม่ต้องพึ่งพึงใคร และเพื่อให้ประชาธิปไตยเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

การจัดสรรอำนาจในระบบการปกครอง อำนาจการเมืองอาจจะอยู่ในรัฐสภา รัฐบาลจริง แต่ถ้ารัฐบาลอ่อนแอลง อำนาจที่แท้จริงที่ข้าราชการพลเรือนและรัฐวิสาหกิจถืออยู่จะแสดงตนเข้ามา รัฐธรรมนูญปี 2540 จึงออกแบบสร้างนายกฯและฝ่ายการเมืองที่เข้มแข็ง จนกระทั่งรัฐธรรมนูญปี 2550 มองว่าฝ่ายบริหารมีอำนาจมากเกินไป ต้องลดอำนาจให้น้อยลง มีการดึงศาลเข้ามาและเพิ่มบทบาทศาลโดยการสรรหาองค์กรอิสระ และ ส.ว. จนเกิดตุลาการธิปไตย จนเกิดการไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ และนี่คือความเสียสมดุลจากรัฐธรรมนูญ 2550 จึงต้องดูว่าสาเหตุตรงนี้จะแก้อย่างไร ดังนั้นโจทย์ใหม่ คือ จะสร้างดุลยภาพได้อย่างไร หากดูตามรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว 2557) ผู้ที่ต้องรับผิดชอบคือ คสช. แต่ คสช.ก็มีการจัดตั้งดุลอำนาจให้ สนช. สปช. และคณะ กมธ.ยกร่างฯ ดังนั้นอันดับแรกต้องสร้างดุลระหว่างกันเองก่อน คือ ระหว่าง สปช.กับ กมธ.ยกร่างฯ เพราะถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านตามกำหนดก็ตายตกไปตามกัน ด่านที่สองคือ กมธ.ยกร่างฯกับ คสช. สนช. และ สปช. โดยข้อจำกัดในการยกร่างรัฐธรรมนูญคือเวลา เพราะต้องลงมติเห็นชอบภายในวันที่ 6 สิงหาคม 2558 ถ้าไม่เห็นชอบก็ต้องตั้ง กมธ.ขึ้นมาใหม่ ถ้าเห็นชอบก็จะประกาศใช้

นอกจากนั้น การเขียนรัฐธรรมนูญตามมาตรา 35 ข้อจำกัดที่ 3 คือบรรยากาศ ต้องยอมรับว่าการปฏิรูปหลังการยึดอำนาจครั้งนี้ จะมีบรรยากาศที่ดีเหมือนปี 2540 ไม่ได้ เพราะตอนนั้นไม่มีความขัดแย้งของสีเสื้อต่างๆ แต่ตอนนี้ความขัดแย้งหลบใน เพราะเราอยู่ในบรรยากาศของการใช้กฎหมายความมั่นคงและกฎอัยการศึกและความไม่ เชื่อใจกัน สื่อทั้งหลายพาดหัวว่า การเขียนรัฐธรรมนูญเป็นเหล้าเก่าในขวดใหม่ แปลว่า คนร่างรัฐธรรมนูญหน้าเก่า แต่จุดดีก็มีคือคนจำนวนมากมีบรรยากาศในความหวังกับการปฏิรูป การขับเคลื่อนของอนาคตประเทศไทย ความหลากหลายของ สปช. มีความหลากหลาย ทำให้เกิดความหวังว่าอาจจะเกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาได้

"หากจะต้องทำรัฐ ธรรมนูญใหม่เราไม่สามารถปะผุได้ เพราะถ้าไปหยิบรัฐธรรมนูญปี 40-50 ที่มีปัญหามาปะผุ ก็แปลว่าเราไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ดังนั้นรัฐธรรมนูญใหม่ต้องตอบโจทย์เรื่องการสร้างความปรองดอง และแก้ไขปัญหาของคู่ขัดแย้งให้ได้ สร้างความเป็นธรรมและไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นในระยะยาว รัฐธรรมนูญใหม่อาจสร้างกลไกโดยหลักการสำคัญไม่ให้คนไทยมาเข่นฆ่ากัน และไม่ใช่การออกกฎหมายนิรโทษกรรมแล้วจบๆ กันไปอย่างที่ผ่านมา รัฐธรรมนูญจะต้องสร้างองค์กร กลไก รวมถึงการปฏิรูปในความเป็นธรรมด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้คนพอมีพอกิน มีอิสระทางสังคมและเศรษฐกิจ ดังนั้น รัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นนี้จึงเป็นของใหม่ ไม่ใช่เหล้าเก่าในขวดใหม่แน่ ดังนั้นขอให้คืนคำนั้นเสีย เพราะรัฐธรรมนูญ 19 ฉบับที่ผ่านมาไม่เคยพูดเรื่องปรองดอง และความเป็นธรรมในระบบเศรษฐกิจและสังคม" 

การสร้างดุลแห่งอำนาจใหม่ คือ 1.ดุลระหว่างการเมืองกับนักการเมืองกับการเมืองของพลเมือง คือความเป็นพลเมืองและระบบผู้แทนและผู้นำการเมืองที่ดี 2.ดุลระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ วันนี้ถ้าเราไปเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง ก็เท่ากับเราไปติดปีกให้เสือ และสามารถทำให้เสือดำน้ำได้ด้วย รัฐธรรมนูญปี 2550 ให้อำนาจพรรคการเมืองสามารถขับ ส.ส.ที่ขัดมติพรรคออกได้ วันนี้ต้องเอาบัญญัตินี้ออก 3.ดุลระหว่างฝ่ายการเมืองกับศาลและองค์กรตรวจสอบ 4.ดุลระหว่างการรวมศูนย์ที่ส่วนกลางกับการกระจายอำนาจส่วนท้องถิ่น 5.ดุลระหว่างฝ่ายการเมืองกับข้าราชการประจำ และ 6.ดุลอำนาจระหว่างรัฐ องค์กรเอกชน และองค์กรภาคประชาสังคม

สภาที่ 1 เป็นสภาที่มาจากการเลือกตั้ง โดยการสมัครตั้งรัฐบาล มีเสียงข้างมาก ส่วนสภาที่สูงควรเป็นคนที่มีความหลากหลายโดยไม่ต้องมีการสรรหา แต่ไม่มีอำนาจในการไปถอดถอนนักการเมือง นอกจากการออกกฎหมาย นี่คือการสร้างดุลใหม่ ซึ่งรัฐธรรมนูญใหม่จะสั้นหรือยาว ส่วนตัวเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรจะไม่ยาวมาก เช่น บทบัญญัติที่ว่าด้วยศาล ใช้มา 17 ปีแล้ว ก็ใส่หลักการสำคัญไว้ ส่วนรายละเอียดควรอยู่ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญให้หมด การแก้ไขเพิ่มเติมควรจะเป็นไปตามความสำคัญ เช่น ภาคที่ 1.พระมหากษัตริย์ และประชาชน ภาคที่ 2.ศาลยุติธรรม และกระบวนการยุติธรรม ภาคที่ 3.ผู้นำที่ดีและสถาบันทางการเมือง ไม่ใช่อภิรัฐมนตรี และภาคที่ 4.ว่าด้วยการปฏิรูปและการปรองดอง ซึ่งภาคที่ 1-2 แก้ไขยากมาก และภาคที่ 3 ธรรมดา ส่วนภาคที่ 4 เมื่อพ้นไป 2-4 ปี ก็ให้พ้นไป เพราะไม่มีใครจะมาปรองดองทั้งปีทั้งชาติ

"การจะทำให้รัฐธรรมนูญนี้ ให้สำเร็จ กมธ.ยกร่างฯและ สปช.รู้ดีว่าเรามีต้นทุนน้อย เราไม่ได้มาจากประชาชน เรามาจาก คสช. แต่เราจะทำให้ดีที่สุด และเราอยากให้รัฐธรรมนูญเป็นสัญญาประชาชน กระบวนการในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ทำได้ 2 ทางคือ 1.ประชาชนต้องมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง 2.การลงประชามติให้ใช้รัฐธรรมนูญว่าผ่านหรือไม่ และนำขึ้นทูลเกล้าฯถวาย เพราะเป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์และประชาชน"
(มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 9 พฤศจิกายน 2557) 

ย้อนอดีต “อภิรัฐมนตรี” 8 พระองค์ แห่ง 8 ต้นราชสกุล “บริพัตร-ดิศกุล-กิติยากร-เทวกุล-จิตรพงศ์-ฉัตรชัย-ยุคล-ภานุพันธ์”

Date: 9 พฤศจิกายน 2014
การประชุมวิชาการประจำปี 2557 ของสถาบันพระปกเกล้า หัวข้อ "8 ทศวรรษ ประชาธิปไตยไทย: พลวัตแห่งดุลอำนาจ"เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2557 ที่มาภาพ : http://www.youtube.com/watch?v=oV16hmATmr0
การประชุมวิชาการประจำปี 2557 ของสถาบันพระปกเกล้า หัวข้อ “8 ทศวรรษ ประชาธิปไตยไทย: พลวัตแห่งดุลอำนาจ”เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2557 ที่มาภาพ : http://www.youtube.com/watch?v=oV16hmATmr0














คณะ “อภิรัฐมนตรี” ถูกนำเสนออีกครั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองผ่านไป 82 ปี นับตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 7 ก็มีการหยิบเอาเรื่องคณะ “อภิรัฐมนตรี” มานำเสนออีกครั้งในการประชุมวิชาการประจำปี 2557 ของสถาบันพระปกเกล้า หัวข้อ “8 ทศวรรษ ประชาธิปไตยไทย: พลวัตแห่งดุลอำนาจ” เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2557
ในห้วงที่ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 36 คน ที่มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการ, รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ และเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กำลังจะเริ่มออกแบบประเทศไทยผ่านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อีกครั้ง
นายบวรศักดิ์ สวมหมวกทั้ง 3 ใบ สรุปผลการประชุมประจำปีของสถาบันพระปกเกล้าว่า “ข้อเสนอจัดตั้งอภิรัฐมนตรี เป็นข้อเสนอของนายสุรพล ศรีวิทยา รองคณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต คนเดียว ไม่ใช่ข้อเสนอของกลุ่ม”
กระนั้น ข้อเสนอ “อภิรัฐมนตรี” เป็นอำนาจที่ 4 หรือ “จตุอธิปัตย์” ก็ถูกวิจารณ์ และแบ่งรับ-แบ่งสู้กันอย่างกึกก้อง ทั้งนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่เห็นว่า “น่าจะต้องมีการถกเถียงจนได้ข้อสรุปก่อนเสนอต่อ สปช. และ สนช. และยินดีจะรับฟัง”
ขณะที่นายปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษา พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทำหน้าที่สรุปผลการประชุมกลุ่มย่อย “การสร้างดุลยภาพในระบบโครงสร้างอำนาจรัฐ” ในงานประชุมวิชาการของสถาบันพระปกเกล้า ว่า “มีการเสนอให้ตั้งอภิรัฐมนตรี ให้เป็นอีกดุลอำนาจหนึ่งนอกเหนือจากฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ โดยจัดวางให้ อภิรัฐมนตรีมีอำนาจมากที่สุดในฐานะรัฏฐาภิบาลเพื่อช่วยแก้ปัญหาเมื่อ 3 อำนาจหลักในอำนาจอธิปไตยมีความขัดแย้งกัน อภิรัฐมนตรีจะเป็นผู้มีอำนาจชี้ขาด”
จากข้อเสนอของนายสุรพล ในโครงสร้างอภิรัฐมนตรี ประกอบด้วย ส่วนกลาง 23 คน เป็น ตัวแทนฝ่ายนิติบัญญัติ 5 คน ฝ่ายบริหาร 5 คน ตัวแทนฝ่ายตุลาการ 5 คน ที่เหลือ 8 คน มาจากหัวหน้าองค์กรอิสระทั้งหมด โดยมีตัวแทนจากส่วนท้องถิ่นอีก 22 คน
นายปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษา  พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทำหน้าที่สรุปผลการประชุมกลุ่มย่อย  ที่มาภาพ : http://www.youtube.com/watch?v=oV16hmATmr0
นายปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษา พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทำหน้าที่สรุปผลการประชุมกลุ่มย่อย
ที่มาภาพ : http://www.youtube.com/watch?v=oV16hmATmr0















เมื่อข้อเสนอนี้ดังขึ้นในห้องประชุมใหญ่ของสถาบันพระปกเกล้า และถูกนำมาเป็นหัวข้อไฮไลต์ในการสรุปกลุ่มย่อยของนายปณิธาน แม้ไม่ได้เป็นข้อสรุปในเวทีใหญ่ และไม่ได้ถือว่าเป็นข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้า แต่คำเสนอเรื่อง “อภิรัฐมนตรี” ถูกบันทึกไว้ และอาจถูกขยายความ-ต่อยอดในสภาปฏิรูปแห่งชาติ จึงเป็นประเด็นที่น่าติดตาม
อนึ่ง คำว่า “อภิรัฐมนตรี” มีขึ้นครั้งแรกในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ประกอบด้วย 8 พระองค์ ดังนี้
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ต้นราชสกุล “บริพัตร”
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ต้นราชสกุล “ดิศกุล”
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ต้นราชสกุล “จิตรพงศ์”
สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ต้นราชสกุล “ภานุพันธุ์”
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ต้นราชสกุล “กิติยากร”
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ แห่งต้นราชสกุล “ยุคล”
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ต้นราชสกุล “ฉัตรชัย”
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย ทรงอยู่ในราชสกุล “เทวกุล”
คณะอภิรัฐมนตรีในยุคนั้น ทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาแก่พระเจ้าแผ่นดิน เป็นหน่วยงานเฉพาะที่อยู่นอกโครงสร้างของรัฐบาล โดยการเสนอความเห็นเรื่องการบริหารราชการให้เป็นหน้าที่ของเสนาบดี ส่วนคณะอภิรัฐมนตรีมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและแสดงความเห็นแก่เสนาบดี
คณะ “อภิรัฐมนตรี” นับว่าเป็นกฎหมาย “ฉบับแรก” ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงลงพระปรมาภิไธย หลังจากเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเพียงสามวัน คือ การประกาศตั้ง “อภิรัฐมนตรี” เป็นสภาที่ปรึกษาที่ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ 5 พระองค์ และหลังจากนั้นมีการตั้งเพิ่มอีก 3 พระองค์ ซึ่งในแรกเริ่มให้ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “High Council of State” ต่อมาคำว่า “High” เปลี่ยนเป็น “Supreme” ตามคำแนะนำของ พระองค์เจ้าธานีนิวัต ที่เสนอแนะต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ให้ทรงใช้ชื่อ “อภิรัฐมนตรี”
ภายใต้พระปณิธานที่ว่า คณะอภิรัฐมนตรี ที่ทรงเลือกมานั้น “พิจารณาจากประสบการณ์ของแต่ละท่านที่ผ่านมาตามฐานะความรับผิดชอบตั้งแต่สมัยพระราชบิดาของข้าพเจ้า”
ดูเพิ่มเติม การประชุมวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 ประจำปี 2557“8 ทศวรรษ ประชาธิปไตยไทย: พลวัตแห่งดุลอำนาจ”

ดร.จักษ์สุดทน ! ทวงสัญญานายกฯ ถามความคืบ3คดีดัง


รศ.ดร.จักษ์ พันธุ์ชูเพชร โพสต์เฟซบุ๊ค ทวงสัญญานายกฯ ถามความคืบ 3คดีดัง ลั่นปรองดองกับปล่อยคนผิดมันคนละเรื่อง
วันนี้(8 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รศ.ดร.จักษ์ พันธุ์ชูเพชร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นอาจารย์ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และเคยเป็นผู้ปราศรัยบนเวทีมวลมหาประชาชน กปปส. ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊คเพจชื่อ “จักษ์ พันธุ์ชูเพชร” ถามถึงการดำเนินการของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับคดีต่างๆ ทางการเมือง และการติดตามผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ซึ่งข้อความดังกล่าวระบุว่า
“ผมอยากรู้ …
ขอนแก่นโมเดล … ถึงไหนแล้ว
ชาวนาลงชื่อฟ้องร้องเรื่องรัฐบาลโกง … ถึงไหนแล้ว
การล่าตัวคนหมิ่นสถาบัน … ถึงไหนแล้ว
ปรองดองกับปล่อยคนผิด … มันคนละเรื่องกัน”