PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สถานการณ์10พ.ย.57


สปช.
"พล.อ.ประวิตร" เชื่อมั่น "บวรศักดิ์" นำยกร่าง รธน. ทำประชามติหรือไม่ อยู่ที่ สปช. ปัดนั่งนายกฯ ยัน ทำเพื่อชาติ

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เชื่อมั่นการทำงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มต้นแล้ว และยืนยัน ทหารพร้อมสนับสนุนการทำงาน ซึ่งเมื่อรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยก็เข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง ขณะที่จะมีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่จะต้องเป็นผู้ดูแล

ทั้งนี้ ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นกรณีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่มาจากคนนอกไม่สังกัดพรรคการเมือง ส่วนที่มีข่าวว่า พลเอกประวิตร อาจจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น บอกว่าไม่จริง และไม่เคยคิดจะเล่นการเมือง ยืนยันว่าที่เข้ามาทำหน้าที่ขณะนี้เพื่อบ้านเมือง และนายกรัฐมนตรีขอมา
-----------
สปช.เห็นตรงกัน เร่งปฏิรูปความเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การศึกษา การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม กระจายอำนาจ งบประมาณสู่ท้องถิ่น

บรรยากาศการสัมมนา สานพลัง สปช. ออกแบบอนาคตประเทศไทย ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ล่าสุด ได้เสร็จสิ้นการสัมมนากลุ่มใหญ่เพื่อสรุปผลการหารือในหัวข้อ เราจะทำให้ฝันเป็นจริงได้อย่างไร แล้ว โดยพบว่าสมาชิกส่วนใหญ่มีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกัน คือต้องการที่จะปฏิรูปความเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การศึกษา และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม โดยเสนอให้มีการกระจายอำนาจและงบประมาณสู่ท้องถิ่น เพิ่มรายได้ให้กับประชาชน พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยเฉพาะศักยภาพของครู รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอย่างเท่าเทียม

อย่างไรก็ตาม ในช่วงบ่ายจะเป็นกิจกรรมแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อหารือในรายละเอียดการปฏิรูปประเทศอีกครั้ง จากนั้นในเวลา 15.30 น. นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. จะแถลงข่าวภาพรวมการสัมมนาในครั้งนี้
---------------
มท.1 ไม่ขอออกความเห็น "อภิรัฐมนตรี" ชี้ ต้องรีบหาข้อยุติ ส่วนทำประชามติ หวั่นเพิ่มความขัดแย้ง 

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้า เรื่องการตั้งอภิรัฐมนตรี ว่า ไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ แต่จะต้องมีใครที่หาข้อยุติให้ได้
ส่วนจะไปยุติว่าจะเรียกชื่อใดนั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ขณะเดียวกันยังกล่าวถึงเรื่องการทำประชามติว่า การแสดงความคิดเห็น อาจเพิ่มความขัดแย้ง ซึ่งต้องให้คนที่มีหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการ เพราะต้องพูดกันด้วยเหตุผลและหนทางความเป็นไปได้ทั้งหมด

อย่างไรก็ตามมองว่า อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรนี้ มีอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร สามารถที่จะตรวจสอบและถ่วงดุลกันได้
-------
สปช. แยกกลุ่มย่อย จำนวน 10 กลุ่ม หารือแนวทางปฏิรูป "เทียนฉาย" เตรียมแถลงสรุปอีกครั้ง

ความเคลื่อนไหวการสัมมนา สานพลัง สปช. ออกแบบอนาคตประเทศไทย ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ในช่วงบ่าย ล่าสุด ภายหลังที่สมาชิก สปช. ได้รับประทานอาหารร่วมกันแล้ว ก็ได้มีการแบ่งกลุ่มย่อยจำนวน 10 กลุ่มแยกไปประชุมกันในห้องต่าง ๆ เพื่อแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในประเด็นสำคัญต่าง ๆ คือ สปช. จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับการปฏิรูปได้อย่างไร และ สปช. จะทำงานร่วมกันอย่างไร

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนติดตามการหารือของกลุ่มต่าง ๆ ทั้งนี้ หลังจากการประชุมเสร็จสิ้น นายเทียนฉาย กีรนันท์ ประธาน สปช. พร้อมด้วยสมาชิก สปช. จะมีการแถลงข่าวให้สื่อมวลชน รับทราบในช่วงเย็นนี้อีกครั้ง
------------
เทียนฉาย ระบุ สปช. ต้องเร่งรวบรวมข้อมูลความเห็นทุกภาคส่วน ทำกรอบปฏิรูปประเทศ ส่ง กมธ.ยกร่าง รธน.

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. กล่าวถึงข้อสรุปการสัมมนาของสมาชิก สปช. ในวันนี้ ว่า เป็นเพียงการกำหนดหัวข้อ ซึ่งจะต้องทำการรวบรวมข้อมูลและรายละเอียดเพื่อจัดทำเป็นแผนการปฏิรูปประเทศต่อไป แต่สิ่งที่จะต้องเร่งดำเนินการคือการรวบรวมข้อมูลและความเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อจัดทำกรอบการปฏิรูปประเทศส่งงให้คณะกรรมาธิการยกร่างภายในวันที่ 14 ธันวาคม

ส่วนเรื่องการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นายเทียนฉาย กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะพูดถึงเรื่องนี้ แต่หากจะดำเนินการจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรื่องนี้ สปช. สามารถทำได้โดยการเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
--------
"เทียนฉาย" รับผลหารือ สปช. แค่แนวคิด วางกรอบให้ กมธ.ยกร่าง รธน. แต่ยังไม่ใช่ข้อสรุป ประเด็นสำคัญต้องลดความเหลื่อมล้ำในทุกด้าน 

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. แถลงผลการสัมมนา สานพลัง สปช. ออกแบบอนาคตประเทศไทย โดยกล่าวว่า ผลการหารือในวันนี้ได้รวบรวมเป็นแนวคิดวิสัยทัศน์-ภิวัฒน์ไทย โดยเป็นการประมวลผลในเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขยายความและเป็นพื้นฐานการรับฟังประชาชนเพื่อปฏิรูปในด้านต่าง ๆ ต่อไปแต่ยังไม่ใช่ข้อสรุป โดยทางสมาชิก สปช. มีความเห็นร่วมกันว่าต้องลดความเหลื่อมทางด้านเศรษฐกิจ ศึกษา ทรัพยากร ปฏิรูปการศึกษา โดยมียุทธศาสตร์ที่เหมาะสม การสร้างชุมชนเข้มแข็งให้เป็นวาระแห่งชาติ สร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรม โปร่งใส เป็นประชาธิปไตย กำจัดทุจริตเชิงนโยบาย ผลประโยชน์ทับซ้อน แก้ไขกฎหมายควบคุมคอร์รัปชั่นให้ครอบคลุม สร้างกฎหมายที่เป็นธรรม มีการบังคับใช้ที่เสมอภาคและมีประสิทธิภาพ คัดกรองคนดีเข้าสู่ระบบการเมือง รวมทั้งปฏิรูประบบเลือกตั้ง กำหนดโทษของการทุจริตการเลือกตั้ง และกำหนดเวลาและวาระการดำรงตำแหน่ง
/////////////

สนช.ปปช.ถอดถอน

"นรวิชญ์" แจง "ยิ่งลักษณ์" ส่งทีมทนาย ขอเลื่อนวันประชุม 12 พ.ย. หลังยังไม่ได้รับสำนวนรายงาน ย้ำ ข้อบังคับถอดถอนมิชอบ

นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความส่วนตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผย สำนักข่าว INN ถึงคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ กรณีโครงการจำนำข้าว ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะมีการประชุมวันที่ 12 พ.ย. 57 ว่า เป็นเพียงการประชุมเพื่อกำหนดวันนัดแถลงเปิดคดี และพิจารณาบัญชีพยานที่ผู้ถูกกล่าวหาส่งมาเพิ่มเติม ซึ่งในขณะนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังไม่ได้รับสำนวนรายงานดังกล่าว จึงยังไม่ทราบว่า จะส่งบัญชีพยานเพิ่มเติมหรือไม่ พร้อมยื่นคำร้องขอให้เลื่อนการประชุมออกไปก่อน ตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ได้รับการติดต่อจากทาง สนช. ว่า อยากให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เข้าชี้แจงเหตุผลความจำเป็นในการขอเลื่อนการประชุม เพราะการจะเลื่อนได้หรือไม่นั้น ต้องเป็นมติจากที่ประชุม ซึ่งหลังจากปรึกษาหารือกันแล้ว น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะส่งทีมทนาย ซึ่งประกอบด้วย นายนรวิชญ์ นายสมหมาย กู้ทรัพย์ และผู้ติดตามอีก 1 คน ไปแทน

อย่างไรก็ตาม ยืนยันมาโดยตลอดว่า ข้อบังคับเรื่องการถอดถอนนั้น เป็นการออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งมองว่า หากมีมติไม่เลื่อนการประชุม ก็เหมือนกับไม่ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาในการต่อสู้
-------------
"พีระศักดิ์"ระบุ พรุ่งนี้ วิป สนช. หารือเลื่อนถกถอดถอน "ยิ่งลักษณ์" ส่วนตัวเห็นควรให้เลื่อน เพื่อให้ผู้ถูกร้องสู้ได้เต็มที่ 

นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 2 กล่าวถึงกรณีทีมทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทำหนังสือถึง นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ขอ

เลื่อนการพิจารณาวาระถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในโครงการจำนำข้าว วันที่ 12 พ.ย. ออกไปก่อน ว่า วันพรุ่งนี้ เวลา 13.30 น. ที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป

สนช.) จะพิจารณาคำร้องขอของทีมทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า จะให้เลื่อนการประชุม สนช. ในวันที่ 12 พ.ย. ออกไปเป็นเวลา 30 วันหรือไม่ ซึ่งส่วนตัวเห็นว่า ควรให้เลื่อนการประชุมไป
ก่อน เพื่อให้ความเป็นธรรม เนื่องจากมีข้อเท็จจริงเห็นชัดเจนว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพิ่งเดินทางกลับจากต่างประเทศ จึงยังไม่ได้รับสำนวน ป.ป.ช. จาก สนช. ไปศึกษา ดังนั้น ต้องเปิดโอกาสให้ น.ส.ยิ่ง

ลักษณ์ ได้สู้อย่างเต็มที่ และเท่าที่ดูแนวโน้ม คงจะให้เลื่อนการประชุมวาระการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่จะให้เลื่อนกี่วัน คงต้องหารือกันอีกครั้ง
--------------
"น.พ.เจตน์" รับ วิป สนช. เตรียมหารือข้อเท็จจริง ปมทนาย "ยิ่งลักษณ์" ร้องยังไม่ได้รับสำนวนไปศึกษา ชี้หากเป็นจริงต้องเลื่อนเพื่อความเป็นธรรม

น.พ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกวิป สนช. กล่าวว่า ทราบข่าวที่ทีมทนายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ร้องคัดค้าน สนช. ขอให้เลื่อนการพิจารณากระบวนการถอดถอนออกไปเป็น

เวลา 30 วัน ซึ่งในการประชุมวิป สนช. วันพรุ่งนี้จะหารือว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ที่ระบุถึงผู้ถูกกล่าวหายังไม่ได้รับสำนวนไปศึกษาไม่น้อยกว่า 15 วัน จริงหรือไม่ หากเป็นจริงก็คงต้องเลื่อนออก

ไป เพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหา แต่จะเลื่อนไปวันใดก็ขึ้นอยู่กับมติ สนช. ไม่ใช่ 30 วันตามที่ทีมทนายร้องขอ เพราะหากทนายร้องขอเป็นปีก็ต้องให้ตามที่ร้องขอหรือไม่ ทั้งนี้ ต้องดูที่ความ

เหมาะสม ส่วนการพิจารณาคดีของ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา จะเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. ในวันที่ 27 พฤศจิกายน โดยจะ

เป็นการพิจารณากำหนดวันและขั้นตอนในกระบวนการถอดถอน
////////
เคลื่อนไหวนายกฯ

นายกฯ หารือทวิภาคีผู้นำฟิลิปปินส์ วางเป้าส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่าปริมาณ การค้าการลงทุนระหว่างกัน

ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการหารือทวิภาคีระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กับ นายเบนิโญ อากีโน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ระหว่างการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก ครั้งที่ 22 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ว่า ผู้นำฟิลิปปินส์ชื่นชมนายกรัฐมนตรีที่มีบทบาทในการผลักดันนวัตกรรม ส่งเสริม SMEs พัฒนาการ

เกษตร ซึ่งเป็นแนวทางที่ฟิลิปปินส์ถือเป็นแบบอย่างในการพัฒนาประเทศ รวมถึงชื่นชมภาคธุรกิจชั้นนำของไทย ที่เข้าไปลงทุนในฟิลิปปินส์ ซึ่งมีส่วนส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สร้างการ

เติบโตภายในประเทศ โดยเฉพาะมาตรการเกษตร การดูแลราคาสินค้าเกษตร และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวชื่นชมความสำเร็จของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบาย สามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนทำให้

เศรษฐกิจฟิลิปปินส์เติบโตอย่างต่อเนื่อง และไทยมีความยินดีที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่าและปริมาณ การค้าการลงทุนระหว่างกัน จึงได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อกระตุ้น

เศรษฐกิจภายในประเทศและขยายลู่ทางการค้าระหว่างประเทศ เชื่อว่าไทยและฟิลิปปินส์ ยังมีโอกาสขยายตัวเศรษฐกิจระหว่างกันทั้งในระดับประเทศและภายในภูมิภาคด้วย

------
////
ทหาร

"พล.อ.ประวิตร" ตรวจเยี่ยม บก.ทท. แล้ว พร้อมมอบนโยบายพิทักษ์รักษาสถาบัน คืนสันติสุขใต้ เร่งสร้างปรองดอง 

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางตรวจเยี่ยมกองบัญชาการกองทัพไทยอย่างเป็นทางการ ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ โดยมี พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการเหล่าทัพ ให้การต้อนรับ โดย พลเอก ประวิตร ได้ตรวจแถวกองทหารเกียรติยศผสมสามเหล่าทัพ หลังจากนั้นได้เข้ารับฟังการบรรยายสรุป พร้อมทั้งมอบนโยบายการปฏิบัติงานที่สำคัญและมีความเร่งด่วน อาทิ การพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเต็มความสามารถ การเร่งนำสันติสุขกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การสนับสนุนนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยเฉพาะการปฏิรูปประเทศ การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ การพัฒนาความสัมพันธ์กับมิตรประเทศและองค์การระหว่างประเทศ การเสริมสร้างศักยภาพกองทัพ ให้มีความพร้อมในการพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคง และผลประโยชน์แห่งชาติ
-----------
รมว.กห. ย้ำ สร้างปรองดองสมานฉันท์เป็นรูปธรรมใน 1 ปี หนุน สปช. ปฏิรูป ขอทุกฝ่ายร่วมมือ ช่วยลดขัดแย้ง

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายกองบัญชาการกองทัพไทย โดยย้ำว่า กรอบนโยบายของรัฐบาล ในเรื่องความปรองดอง สมานฉันท์ ทุกเหล่าทัพ พร้อมเดินหน้า ดำเนินการให้เป็นรูปธรรมให้ได้ ภายในกรอบเวลา 1 ปี วันนี้ไม่ได้กำชับเรื่องใดเป็นพิเศษ เพราะทุกหน่วยทำงานดีอยู่แล้ว ดูจากผลสำรวจที่ออกมา ประชาชนพอใจการทำงานของรัฐบาล และ คสช. และสนับสนุนการทำงานของ สปช. ซึ่งการปฏิรูปทั้ง 11 ด้าน ก็กำลังเดินหน้าไปได้ด้วยดี ต่างชาติเข้าใจ และทุกฝ่าย จะต้องช่วยกัน ใครที่มีข้อเสนอ ก็สามารถเสนอได้ตามช่องทาง โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความขัดแย้งให้ได้

ไม่มีความคิดเห็น: