PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

312ค้านศาลรธน.ขู่ยุบทิ้ง


ข่าวหน้า 1 3 May 2556 - 00:00

“312 ทั่นผู้ทรงเกียรติ” ออกจดหมายเปิดผนึกไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญแล้ว อ้างเฉยชำเรา รธน.ได้โดยไม่ต้องยี่หระใคร เพราะเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย! ลำเลิกจะยุบทิ้งศาลเมื่อใดยังได้ ซัดหากปล่อยไว้จะทำให้ขยายอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญขึ้นเองไม่จบ “มาร์ค” ลั่นแน่จริงประกาศชื่อรายตัว เตือนบ้านเมืองจะอยู่ไม่ได้ นิด้าโพลตบหน้า ชี้ตุลาการน่าเชื่อถือกว่า “ฝ่ายบริหาร-นิติบัญญัติ” 

แนะเพิ่มกฎหมายละเมิดอำนาจศาล

เมื่อวันพฤหัสบดี สมาชิกรัฐสภาประมาณ 20 คน ซึ่งเป็นตัวแทนของ ส.ส. และ ส.ว. จำนวน 312 คน ที่ได้ร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้แถลงถึงจดหมายเปิดผนึกที่คัดค้านและไม่ยอมรับการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการรับคำร้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ของสมาชิกรัฐสภา 312 คน

โดยนายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะที่ปรึกษาวิปรัฐบาล กล่าวว่า สมาชิกรัฐสภา 312 คน ได้ทำจดหมายเปิดผนึก 10 หน้า เพื่อมอบให้องค์กรอิสระต่างๆ ยกเว้นศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งส่งให้คณะผู้พิพากษาศาลทั่วประเทศ และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อให้รับทราบการวินิจฉัยรัฐธรรมนูญที่ผิดกฎหมาย และยืนยันว่าในฐานะสมาชิกรัฐสภามีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 3 วรรค 2 ที่บัญญัติว่าการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม ทำให้สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ตามหน้าที่

นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พท. กล่าวว่า หากศาลรัฐธรรมนูญยังยืนยันและตัดสินให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ต้องผ่านศาลเท่านั้น จะถือว่าไม่มีฐานรองรับทางกฎหมาย และจะไม่ผูกพัน
รัฐสภา

ต่อมานายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พท. ในฐานะประธานวิปรัฐบาลได้อ่านจดหมายเปิดผนึก โดยมีเนื้อหาอ้างถึงมติศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 3 เม.ย. และ 11 เม.ย.2556 ที่รับคำร้องเกี่ยวกับการแก้ไข
เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภาไว้พิจารณาว่า สมาชิกรัฐสภาทั้ง 312 คน เห็นว่าการรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณานั้น เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และหลักการพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างชัดแจ้ง เป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ ด้วยเหตุผลคือ 1.ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้อง เนื่องจากเรื่องใดที่รัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้อำนาจไว้โดยชัดแจ้ง ศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่มีอำนาจรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้

นอกจากนั้นรัฐสภามีความชอบที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้อย่างกว้างขวาง หรือแม้แต่ยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญแล้วจัดตั้งเป็นคณะตุลาการรัฐธรรมนูญก็ย่อมทำได้ การที่สมาชิกรัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจึงเป็นการกระทำในนามประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตย องค์กรอื่นใดตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบได้ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น ได้ยึดหลักแบ่งแยกอำนาจหรือแบ่งแยกภารกิจออกจากกัน แต่ก็มีกระบวนการถ่วงดุลหรือกำหนดความสัมพันธ์ของการใช้อำนาจระหว่างองค์กรไว้ องค์กรใดองค์กรหนึ่งจะใช้อำนาจหน้าที่ของตนไปกระทบหรือแทรกแซงการใช้อำนาจหน้าที่ขององค์กรอื่นมิได้ ดังนั้นเมื่อรัฐสภาใช้อำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่มีอำนาจรับคำร้องเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้พิจารณาได้ไม่ว่ากรณีใด

อ้างทำลายหลักแบ่งแยกอำนาจ

“กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมเป็นกระบวนการปกติ ที่ผ่านมาก็เคยแก้ไขเป็นรายมาตรา และยกร่างทั้งฉบับ ซึ่งไม่เคยบัญญัติให้อำนาจแก่องค์ใดเข้าไปตรวจสอบเลยไม่ว่ากรณีใด ซึ่งการที่ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบตามมาตรา 68 วรรคหนึ่งนั้น ผลจะกลายเป็นว่าศาลมีอำนาจเหนือทุกองค์กรในรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่นๆ เท่ากับศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้บัญญัติรัฐธรรมนูญเสียเอง อันจะทำให้หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญและหลักการแบ่งแยกอำนาจถูกทำลายลงสิ้นเชิง” จดหมายเปิดผนึกระบุ

2.ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องตามมาตรา 68 ไว้พิจารณาโดยตรง โดยมิได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากอัยการสูงสุดก่อน ซึ่งได้บัญญัติไว้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ ปี 2540 และปี 2550 ก็เช่นกัน โดยมีเพียงกรณีเดียวที่ประชาชนอาจใช้สิทธิโดยตรงต่อศาลได้คือ มาตรา 212 ในการใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 68 แต่ก็ไม่ใช่สิทธิส่วนบุคคลของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยลำพัง โดยไม่ผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพราะอาจส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะได้

“การตีความของศาลรัฐธรรมนูญที่ว่าบุคคลผู้ทราบการกระทำว่ามีการล้มล้างการปกครอง สามารถใช้สิทธิได้ 2 ทางคือ เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุด และยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เป็นการตีความที่ขัดต่อบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญชัดแจ้ง จะทำให้การทำหน้าที่ของอัยการสูงสุดไม่มีที่ใช้อีกต่อไป และอาจทำให้เข้าใจได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญล้มล้างการปกครองระบอบ

ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเสียเอง เพราะทำให้รัฐสภาไม่สามารถทำหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ได้”

3.มาตรฐานรับคำร้องของศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจยอมรับได้ มีการเร่งรัดพิจารณารับคำร้องอย่างผิดปกติวิสัยและขาดหลักความเสมอภาคในการพิจารณารับคำร้อง นอกจากนี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2
คน ที่รับคำร้อง ประกอบด้วย นายจรัญ ภักดีธนากุล และนายสุพจน์ ไข่มุกด์ ก็มีส่วนได้เสียในรัฐธรรมนูญ เพราะเคยเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้นในด้านจรรยาบรรณและตามหลักวิชาชีพย่อมไม่สมควรจะร่วมพิจารณาคำร้องนี้ตั้งแต่แรก

ยอมศาลจะไม่มีวันจบ

“การตีความขยายเขตอำนาจตนเองของศาลรัฐธรรมนูญเช่นนี้นับเป็นอันตรายต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพราะตีความเพิ่มเติมอำนาจให้ตัวเองเท่ากับศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้บัญญัติรัฐธรรมนูญเสียเอง และไม่ต้องผูกพันตนต่อรัฐธรรมนูญ อีกทั้งไม่มีองค์กรใดตรวจสอบถ่วงดุลได้ หากยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญก็เท่ากับส่งเสริมให้ศาลขยายอำนาจตนเองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และทำลายหลักการแบ่งแยกอำนาจโดยสิ้นเชิง” (อ่านรายละเอียดหน้า 3-4)

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวเรื่องนี้ว่า อยากให้แสดงตัวให้ชัดเลยว่าใครที่ไม่ยอมรับอำนาจศาล จะได้ไปดำเนินการได้ถูกตัว เพราะว่า ส.ส และ ส.ว. ไม่ได้แถลงการณ์ทุกคน และขอถามรัฐบาลว่า กรณี ส.ส. และ ส.ว. ไม่ยอมรับอำนาจศาลจะให้บ้านเมืองเดินกันอย่างไร ถ้าต่อไปมีคนออกมาต่อต้านไม่ยอมรับอำนาจของสภาฯ บ้าง และไม่ยอมรับอำนาจรัฐบาลบ้าง บ้านเมืองจะอยู่อย่างไร ทุกคนควรเคารพการปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละฝ่าย

“ขอถามย้ำว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องการให้บ้านเมืองเดินไปอย่างนี้หรือ เพราะคนที่สร้างปัญหาอยู่ตอนนี้ทั้งหมดก็เป็นคนที่สนับสนุนรัฐบาลทั้งสิ้น จะให้บ้านเมืองเดินไปอย่างนี้เพื่ออะไร” นายอภิสิทธิ์
กล่าว

วันเดียวกัน ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน จำนวน 1,254 หน่วยทั่วประเทศ เรื่อง ความคิดเห็นของคนไทยต่อศาลรัฐธรรมนูญ พบว่า ในเรื่องความไว้วางใจในการใช้อำนาจของอธิปไตยทั้ง 3 ฝ่าย ประชาชน 44.26% ระบุว่า ไว้วางใจฝ่ายตุลาการ (ศาลยุติธรรม, ศาลปกครอง, ศาลรัฐธรรมนูญ) มากที่สุด เพราะน่าเชื่อถือมากที่สุด เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ 20.89% ระบุว่า เป็นฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) เพราะเข้าถึงประชาชนได้มากกว่า 10.77% ระบุว่า เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ (ส.ส., ส.ว.) เพราะมาจากการเลือกตั้งของประชาชน 10.61% ระบุว่า ไม่มีฝ่ายใดเลย และ 13.48% ไม่แน่ใจ

โพลพอใจผลงานศาล รธน.

เมื่อถามถึงความพอใจการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 61.8% พึงพอใจปานกลาง 15.63% พอใจมาก 14.75% พอใจน้อย และ 7.81% ไม่แน่ใจ ผลสำรวจยังถามถึงกรณีคนเสื้อแดงกดดันตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ลาออก และการไม่ยอมรับอำนาจศาลของสมาชิกรัฐสภาพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 61.64% ระบุว่า เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม เป็นการละเมิดตุลาการ 13.4% เห็นว่าเหมาะสม และ 24.96% ไม่แน่ใจ

“เมื่อถามว่าควรออกกฎหมายห้ามมิให้ละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับศาลยุติธรรมหรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 61.88% ระบุว่า ควรมี เพราะเป็นการปกป้องศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การตัดสินของศาลให้ถือเป็นที่สุด 18.5% ระบุว่า ไม่ควร และ 19.62% ไม่แน่ใจ” ผลโพลระบุ

รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อาจารย์ประจำคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ม.นิด้า กล่าวถึงผลโพลว่าสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังไว้วางใจฝ่ายตุลาการ แสดงให้เห็นถึงการทำงานที่ผ่านมาตรงไปตรงมา ไม่มีอคติ ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติก็ควรพึงสังวรในพฤติกรรมที่ประชาชนยังไม่ไว้วางใจ ในขณะที่ฝ่ายบริหารก็มักจะทำอะไรเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองเป็นหลัก

“การกดดันตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้น ในสายตาประชาชนมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม ฝ่ายที่กดดันก็ควรจะระงับพฤติกรรมเสีย ขณะเดียวกันก็ควรมีกฎหมายห้ามละเมิดศาลรัฐธรรมนูญด้วย

เพราะที่ผ่านมาศาลถูกวิพากษ์วิจารณ์ในหลายเรื่อง โดยฝ่ายนิติบัญญัติควรฟังเจตนารมณ์ของประชาชนด้วย” รศ.ดร.พิชายระบุ

ขณะเดียวกัน นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ได้ร่วมกับนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และนายคมสันต์ โพธิ์คง จะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องการกระทำที่ต้องห้ามตามบทบัญญัติของรัฐ

ธรรมนูญ มาตรา 68 โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เป็นผู้ถูกร้องที่ 1 พรรคเพื่อไทย กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย และ ส.ส. รวม 238 คน เป็นผู้ถูกร้องที่ 2 เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณได้สไกป์หลายครั้งในที่ประชุมพรรคให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายปรองดอง และกฎหมายอื่นๆ โดยมีหลักฐานเป็นคลิปวิดีโอ 12 คลิป บทสัมภาษณ์ 2 บทความ ข่าวหนังสือพิมพ์ 17 ชุด

“ส่วน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ถือว่าผิดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 ว่าด้วยการทำหน้าที่ของ ส.ส. ส.ว. ต้องเป็นอิสระ ไม่อยู่ภายใต้อาณัติอะไร นอกจากนั้นการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ เป็นการ

เสนอโดยขัดต่อหลักการสำคัญและเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” นายไพบูลย์กล่าว

นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวเรื่องนี้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้สไกป์มาสั่ง ส.ส.พรรค เป็นการกระทำของสมาชิกรัฐสภาเอง ฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีใครชี้นำ ครอบงำได้ ซึ่งทุกคนทราบดีว่านายเจิมศักดิ์อยู่ข้างไหน เป็นคนหน้าเดิมที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาล และ พ.ต.ท.ทักษิณมาโดยตลอด นายเจิมศักดิ์ตัดแปะข่าวมาร้อง ไม่มีข้อเท็จจริง

สำหรับกรณีกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ซึ่งเป็นหนึ่งในเครือข่ายคนเสื้อแดงที่ชุมนุมหน้าศาลรัฐธรรมนูญจะยกระดับการชุมนุมในวันที่ 8 พ.ค.นั้น นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ปชป. กล่าวว่า การชุมนุมเป็นสิทธิ แต่ต้องไม่ใช่การข่มขู่คุกคาม ใช้ความรุนแรงเพื่อให้ได้ตามจุดประสงค์ของผู้ชุมนุม แต่การชุมนุมของคนเสื้อแดงมีแนวโน้มใช้ความรุนแรง ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายประการ คือ 1.นายกฯ ให้ท้ายที่ไม่ส่งสัญญาณหรือระงับยับยั้ง 2.เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการกำจัด และดิสเครดิตศาล และ 3.คนเสื้อแดงที่ชุมนุมได้ใจมากขึ้นเมื่อได้ฟังคำกล่าวสุนทรพจน์ที่มองโกเลีย ที่นายกฯ โจมตีองค์กรอิสระ

“อยากเรียกร้องไปยังนายกฯ ว่าก่อนถึงวันที่ 8 พ.ค. นายกฯ ควรออกมาทำทุกวิถีทางที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยไม่ปล่อยให้กลุ่มบุคคลใดก็ตาม โดยเฉพาะคนเสื้อแดงดำเนินการในลักษณะเป็นภัยกระทบต่อการใช้ชีวิตและความปลอดภัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ”

นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ส.ส.บัญชีรายชื่อ ปชป. ในฐานะโฆษกพรรค กล่าวเช่นกันว่า นายกฯ ต้องรับผิดชอบหากมีความรุนแรงตามมา เพราะสุนทรพจน์ของนายกฯ เหมือนเป็นการส่งเสริมการชุมนุม.

'กิตติรัตน์'ปัดประชุมลับปลดผู้ว่าแบงก์ชาติ


    "นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ได้ส่งรายงานผลการหารือเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมาระหว่างกระทรวงการคลังและธปท.เกี่ยวกับสถานการณ์และการดูแลค่าเงินบาทมาให้ตนได้พิจารณา โดยได้รายงานว่า มีการหารือกันในประเด็นใด และ มีแนวทางอย่างไร เช่น หากเงินบาทแข็งค่าไประดับใดจะดำเนินการอย่างไรเป็นต้น แต่จะต้องมีการหารือกับกระทรวงการคลังก่อนที่จะดำเนินการมาตรการใดๆ
"ในจำนวนมาตรการที่เสนอมานั้น ไม่ได้มีมาตรการเกี่ยวกับการปรับลดดอกเบี้ย หรือ ถ้ามีก็อธิบายสาเหตุที่ไม่ควรปรับลด ผมเรียนว่า เรื่องมาตรการในการดูแลค่าเงินบาทนั้น เราเพิ่งได้ยินมาในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมาเท่านั้นเอง ดังนั้น ถ้าจะให้บ่นย้อนหลังก็คือ ที่ผ่านมาผมได้พูดเต็มที่ว่า ผมห่วงเรื่องการขาดทุนของธปท.และห่วงเงินไหลเข้า แต่ทางธปท.ไม่เคยบอกว่า จะทำอย่างไร ระหว่างนั้น บาทก็แข็งมาเรื่อยๆ
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ใช้ในปัจจุบันนั้น ได้ทำให้เกิดส่วนต่างผลตอบแทนในการลงทุน จะเห็นได้ว่า ปริมาณเงินที่ไหลเข้ามาที่พันธบัตรส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตรของธปท.ซึ่งกรณีที่ผู้บริหารธปท.ออกมาระบุว่า เงินที่ไหลเข้ามานั้น เพราะเศรษฐกิจดี ซึ่งตนก็มีข้อสังเกตว่า ถ้าเศรษฐกิจดี เงินจะไหลเข้าไปที่ตลาดหุ้นหรือการลงทุนอื่นที่มีผลตอบแทนผันแปรตามเศรษฐกิจที่ดี แต่การลงทุนพันธบัตรนั้น จะอยู่ที่อัตราดอกเบี้ยตายตัวมากกว่า ไม่ใช่เรื่องเศรษฐกิจดี
"การเข้าลงทุนในตลาดพันธบัตรนั้น เป็นการลงทุนที่มีผลตอบแทนตายตัว ไม่ใช่เรื่องดอกเบี้ย แต่ถ้าเศรษฐกิจดีอย่างเดียว และอัตราดอกเบี้ยไม่ได้เป็นส่วนต่าง นักลงทุนคงอยากเข้าตลาดหุ้นมากกว่า เพราะส่วนต่างมีจำนวนที่มีนัยสำคัญ โดยเฉพาะตั้งแต่ต้นปี จำนวนที่เข้าพันธบัตรมากกว่าทุกอย่างรวมกัน จึงสังเกตว่า ดอกเบี้ยเป็นประเด็น"
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวระบุว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา เป็นการประชุมลับ เพื่อปลดผู้ว่าการธปท.นั้น รมว.คลัวกล่าวว่า ไม่เป็นเรื่องจริง เพียงแต่ทางธปท.ได้ทำหนังสือมายังตน ซึ่งเป็นหนังสือที่ตีตราลับ ผมก็มีหน้าที่รายงานครม.เป็นวาระลับ"

"ทักษิณ"โพสต์เฟซบุ๊ก ไปมาเลย์พบ "มหาเธร์-นาจิบ ราซัค" ไปฮ่องกงพบครูสอนศาสนาชวนถกดับไฟใต้


"ทักษิณ"โพสต์เฟซบุ๊ก ไปมาเลย์พบ "มหาเธร์-นาจิบ ราซัค" ไปฮ่องกงพบครูสอนศาสนาชวนถกดับไฟใต้

(2 พ.ค.2556) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thaksin Shinawatra ว่าในช่วงสินเดือนเมษายนที่ผ่านมาได้เดินทางไปยังประเทศมาเลเซียและฮ่องกงโดยมีเนื้อหาดังนี้

วันที่ 27 เมษายน กลางคืน ผมบินไปถึงกัวลาลัมเปอร์ ได้ไปพบท่านอดีตนายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โมฮัมหมัด และท่านนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซะก์ ในวันที่ 28 ครับ เราได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเรื่อง ASEAN และสังเกตการณ์เลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซียซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 5 พ.ค.นี้ เท่าที่ประเมินทาง UMNO ก็น่าจะชนะอย่างไม่มีปัญหา เหลือเพียงว่าจะถึง 2 ใน 3 หรือไม่ ขึ้นอยู่กับรัฐที่เป็น Swing Vote บางรัฐ ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนไทย นอกจากนั้นก็ได้พบกับนักธุรกิจมาเลเซียที่สนใจไปลงทุนในต่างประเทศไทยอีก 4-5 ราย

ในวันที่ 29 ก่อนจะเดินทางมาฮ่องกงก็ได้พบกับอุสตาซ(ครูสอนศาสนา) ซึ่งอยู่ทางภาคใต้ของไทย ก็เลยขอความร่วมมือช่วยกันทำให้ภาคใต้สงบ โดยขอให้เชิญทุกกลุ่มมาพูดคุยกับคณะของสภาความมั่นคงเพื่อประสานความเข้าใจ และช่วยกันพัฒนาประเทศให้เกิดความผาสุกด้วยกันครับ

ที่มา : https://www.facebook.com/thaksinofficial?fref=ts

ศาลปกครอง ยกคำร้องขอระงับโปรเจกต์น้ำขณะปปช.ตั้งกก.สอบ



ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งยกคำร้อง กรณีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ยื่นฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว โดยระงับการเปิดซองประมูลโครงการบริหารจัดการน้ำ มูลค่ากว่า 3.5 แสนล้านบาท

(2/5/56)เมื่อช่วงค่ำที่ผ่านมา ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งยกคำร้อง กรณีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ยื่นฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว โดยระงับการเปิดซองประมูลโครงการบริหาร

จัดการน้ำ มูลค่ากว่า 3 แสน 5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับข้อกำหนด และขอบเขตของงาน หรือทีโออาร์ รวมทั้งการออกแบบก่อสร้าง ที่ยังไม่มีการศึกษาเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

สุขภาพ  และการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

แต่องค์คณะศาลปกครองกลางเห็นว่า ยังไม่มีมูลเหตุเพียงพอให้ระงับ ส่งผลให้ในวันที่ 3 พฤษภาคมนี้ รัฐบาลสามารถเดินหน้าเปิดซองประมูลโครงการบริหารจัดการน้ำได้ตามปกติ

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ทางรัฐบาลยืนยันว่า จะเปิดให้ผู้ประกอบการยื่นซองประมูลตามปกติ แม้ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ระงับโครงการ เพราะการยื่นซองประมูลไม่เกี่ยวข้องกับคำสั่งดัง

กล่าว เนื่องจากยังไม่ถึงขั้นพิจารณาโครงการ
/////////////////
ป.ป.ช.ยอมรับตั้งกรรมการตรวจสอบประมูลน้ำ3.5เเสนล้านของรัฐเเล้ว

(2/5/56)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีที่นายต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ระบุในการเสวนา"โปรเจกต์น้ำ 3.5แสนล้าน ชะลอหรือไปต่อ?" ที่สมาคม

นักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยนายต่อตระกูลระบุว่า ทราบว่าปปช.ตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบเรื่องนี้เเล้วนั้น

นายวิชา มหาคุณ กรรมการป.ป.ช. กล่าวในเรื่องนี้ว่า ตอนนี้ปปช.มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประมูล3.5เเสนล้านบาทของรัฐบาลจริง เเต่อยู่ในขั้นตอนที่มอบให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล

ข้อเท็จจริงเพื่อที่จะส่งให้กรรมการปปช.พิจารณาเพื่อมีมีติก่อนตั้งอนุกรรมการปปช.สอบสวนต่อไป โดยระยะเวลาที่ตั้งไว้นั้น ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่เร่งส่งเรื่องเข้ามาให้เร็วที่สุดเพราะประชาชนสนใจ

เรื่องนี้จำนวนมาก
///////////

sakda_jiwttayakul: ศาลจำคุกแดงตลอดชีวิตเผาศาลากลางอุบลฯ

sakda_jiwttayakul: ศาลจำคุกแดงตลอดชีวิตเผาศาลากลางอุบลฯ

ศาลจำคุกแดงตลอดชีวิตเผาศาลากลางอุบลฯ


"จำคุกแดงตลอดชีวิต 4 ราย อีก 7 รับโทษสถานเบาตามที่ได้ทำผิด พร้อมเพิ่มโทษอีก 2 ราย หลังพบหลักฐานใหม่"
----------
อุบลราชธานี - ศาลจังหวัดอุบลราชธานี ขึ้นบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตัดสินกรณีคนเสื้อแดงร่วมกันเผาศาลากลางจังหวัด เมื่อเดือนพ.ค.2553 ยืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุกตลอดชีวิต 4 ราย อีก 7 รับโทษสถานเบาตามที่ได้ทำผิด พร้อมเพิ่มโทษอีก 2 ราย หลังพบหลักฐานใหม่

วันนี้(2 พ.ค.)ศาลจังหวัดอุบลราชธานี นั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตามที่อัยการและทนายความจำเลย ยื่นอุทธรณ์คำตัดสินของศาลชั้นต้น กรณีคนเสื้อแดงร่วมกันก่อความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย และความผิดต่อเจ้าพนักงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน

โดยร่วมกันฝ่าฝืนพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 บุกรุกสถานที่ราชการ ร่วมกันทำลายทรัพย์สิน และวางเพลิงเผาอาคารศาลากลาง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ซึ่งมีผู้ต้องหาถูกส่งฟ้องครั้งนั้น 21 คน โดยศาลชั้นต้นตัดสินลงโทษจำเลยที่ทำความผิดต่างกรรมต่างวาระรวม 13 คนยกฟ้อง 8 คน ซึ่งทนายจำเลยและอัยการได้ยื่นอุทธรณ์

ล่าสุดวันนี้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้จำคุกผู้ต้องหาที่กระทำความผิดร้ายแรง ร่วมกันเผาศาลากลางจังหวัด คือ น.ส.ปัทมา มูลมิล นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ นายสนอง เกตุสุวรรณ นายสมศักดิ์ประสานทรัพย์ ตลอดชีวิต แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์ เหลือจำคุก 33 ปี 12 เดือน และศาลจะได้ส่งรายละเอียดคำพิพากษาให้จำเลยรับทราบ

เนื่องจากจำเลยทั้ง 4 ไม่ได้มาฟังคำพิพากษ าเพราะถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำพิเศษบางเขน กรุงเทพฯ ส่วนผู้ต้องหาที่เหลืออีก 7 คน ให้ยืนตามศาลชั้นต้นเช่นกัน เว้นแต่รายนางอรอนงค์ บรรพชาติ และนางสุมาลี ศรีจันดา ให้เพิ่มโทษจากจำคุก 8 เดือน เป็นจำคุก 3 ปี แต่ลดโทษให้เหลือหนึ่งในสาม เหลือจำคุกคนละ 2 ปี และให้อนุญาตประกันตัวระหว่างฎีกา

ภายหลังอ่านคำพิพากษา จำเลยที่เข้ารับฟังคำตัดสินครั้งนี้ต่างพอใจในคำตัดสิน และได้ลงมาพบกับมวลชนประมาณ 100 คน ที่มารวมตัวให้กำลังใจบริเวณลานสนามหญ้าหน้าศาลจังหวัด ซึ่งศาลได้จัดถ่ายทอดเสียงการอ่านคำพิพากษาให้ฟัง และพากันสลายตัวกลับไป