PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เบื้องหลัง!71 ขรก.-นักการเมืองท้องถิ่น สังเวยดาบ ม.44 'บิ๊กตู่' พันจัดซื้อจัดจ้าง?

เบื้องหลัง!71 ขรก.-นักการเมืองท้องถิ่น สังเวยดาบ ม.44 'บิ๊กตู่' พันจัดซื้อจัดจ้าง?

เขียนวันที่
วันพฤหัสบดี ที่ 25 มิถุนายน 2558 เวลา 17:31 น.
เขียนโดย
isranews
"...ข้อมูลและพฤติการณ์ของข้าราชการและผู้บริหาร อบจ. ที่ถูกโยกย้ายครั้งนี้ ล้วนเป็นข้อมูลที่ปรากฎอยู่ในรายงานการตรวจสอบของ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และบางเรื่องก็เคยมีการเปิดเผยต่อสาธารณชนไปบ้างแล้ว.."
pytgdwweeeee
สร้างความฮือฮาให้กับสังคมไทยอีกครั้ง! เมื่อ "พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ และผู้บริหารองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น ลอตสอง รวมจำนวน 71 ราย ในช่วงเย็นวันที่ 25 มิ.ย.58 ที่ผ่านมา 

(อ่านประกอบ : 'บิ๊กตู่'ฟัน ขรก.ลอตสอง 71 ราย- อธิบดีพช. เลขาฯสปช. ปลัดท่องเที่ยว-7นายก อบจ.")

ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับเหตุผล และ ที่มาของคำสั่งโยกย้ายครั้งล่าสุดนี้มากขึ้น
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org  ได้ตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งข่าวระดับสูง ใน คสช. พบว่า  กลุ่มข้าราชการ และผู้บริหารองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่นที่ ถูกออกโยกย้ายตำแหน่งครั้งนี้ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากพฤติการณ์ในการจัดซื้อจัดจ้าง รวมถึงกระบวนการตรวจรับงานโครงการที่ไม่เหมาะสม  
อาทิ 
นายขวัญชัย วงศ์นิติกร อธิบดีกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ถูกระบุว่ามีปัญหาในเรื่องการตรวจรับงานป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่สมุทรปราการ สมัยดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าฯ สมุทรปราการ 
นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ถูกระบุว่ามีปัญหาเรื่องการใช้จ่ายยงบประมาณอุดหนุนวัดใน จ.สมุทรปราการ มูลค่าหลายร้อยล้านบาท นอกจากนายชนม์สวัสดิ์ พล.อ.ประยุทธ์ยังเชือด เจ้าหน้าที่ของ อบจ.ปากน้ำอีก 4 คน เรียกว่าล้างบางกันเลยทีเดียว
นายพรชัย โควสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการจัดซื้อหนังสือเรียน และก่อนหน้านี้มีข่าวเกี่ยวพันกับการจัดซื้อจัดจ้างหลายรายการ 
(อ่านประกอบ : พบ บ.คนใกล้ชิด“พรชัย”นายก อบจ.อุบลฯ โอนหุ้นอุตลุด 5 รอบ ช่วงคว้า 114.9 ล. , นายกอบจ.อุบลฯ โต้ข่าวรับเหมางาน114.9ล.โยงเครือญาติชี้ไม่ควรตั้งศาลเตี้ย , สตง.สั่งสอบแล้ว!ปม บ.โยงเครือญาติ "พรชัย" ซิวงาน อบจ.อุบลฯ 114.9 ล. , เปิดครบขุมธุรกิจ 4 บริษัทเครือญาติ“พรชัย”นายก อบจ.อุบลฯ ก่อนคว้า 114.9 ล. , อบจ.อุบลฯเช่ารถขุดดิน“บ.ขายเครื่องเขียน”โยงเครือญาติ“พรชัย”-ยอดพุ่ง 118 ล.)
นายศุภชัย สมัปปิโต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กระทรวงศึกษาธิการ มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการตรวจรับงานก่อสร้างอาคารเรียน และหลักประกันสัญญาของผู้รับเหมา 
พันตำรวจเอก นิรันดร์ อดุลยาศักดิ์ ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและศูนย์ข้อมูลการตรวจสอบกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดซื้ออาวุธปืน 
แหล่งข่าวรายนี้ ยังยืนยันว่า ข้อมูลและพฤติการณ์ของข้าราชการและผู้บริหาร อบจ. ที่ถูกโยกย้ายครั้งนี้ ล้วนเป็นข้อมูลที่ปรากฎอยู่ในรายงานการตรวจสอบของ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และบางเรื่องก็เคยมีการเปิดเผยต่อสาธารณชนไปบ้างแล้ว
กรณีของนักการเมืองท้องถิ่นนั้นส่วนใหญ่มาจากปัญหาการจัดซื้อจัดจ้าง 
ส่วนการโยกย้ายในส่วนของ นายสุวัตร สิทธิหล่อ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษสำนักนายกรัฐมนตรีเพิ่มเติมในคำสั่งใหม่ที่ออกมา นั้น  
ไม่ได้เป็นเพราะถูกตรวจสอบปัญหาการบริหารงานโครงการเพิ่มเติมแต่อย่างใด
แต่เป็นเพราะทาง คสช. ต้องการที่จะเปิดทางให้บุคคลอื่นขึ้นมาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงท่องเที่ยวฯ แทนได้
เนื่องจากการโยกย้ายครั้งแรก เป็นเพียงแค่ระงับการปฏิบัติราชการในตําแหน่งเดิมเป็นการชั่วคราว และไปปฏิบัติราชการในตําแหน่งประจําสํานักงานปลัดกระทรวงในกระทรวงที่สังกัด
โดยไม่ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมและให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดมอบหมาย
การถูกออกคำสั่งครั้งนี้ จึงถือเป็นการลาขาดจากกระทรวงท่องเที่ยวฯ แบบถาวร 

(อ่านประกอบ : นายกฯใช้ ม.44 เชือดยกลอต"บิ๊กขรก. ล้าง ก.ท่องเที่ยว-นักการเมืองท้องถิ่น 45 ราย , จำแนก"บิ๊กขรก.-นักการเมืองท้องถิ่น"45 ราย ก่อนโดนดาบ ม.44 พัวพันคดีอะไร?)

ทั้งหมด คือ เบื้องหน้าเบื้องหลังเกี่ยวกับการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ และผู้บริหารองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น  ลอตสอง รวมจำนวน 71 ราย ที่ปรากฎเป็นข่าวดังอยู่ในขณะนี้

อดีตตำรวจสันติบาล แฉ 2 กลุ่มทุนธุรกิจการเมือง"บุญชัย-กลุ่มนักการเมือง" หนุนเปิดกาสิโน เชื่อมีใบสั่งชักใย

อดีตตำรวจสันติบาล แฉ 2 กลุ่มทุนธุรกิจการเมือง"บุญชัย-กลุ่มนักการเมือง" หนุนเปิดกาสิโน เชื่อมีใบสั่งชักใย


เมื่อเวลา 13.00 น.ที่โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพ พ.ต.ท.สันธนะ ประยูรรัตน์ อดีตตำรวจสันติบาล แถลงข่าวเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเบื้องหลัง เนื่องจากมีข้อมูลซึ่งน่าจะเป็บใบสั่งให้เปิดบ่อนกาสิโนในประเทศไทย จนทำให้ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร. ออกมาแสดงความเห็นสนับสนุนให้มีการแก้กฎหมายเพื่อเปิดเอ็นเตอร์เทนเม้นท์คอมเพล็กซ์ จนเป็นเป็นข่าวคึกโครมตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา

พ.ต.ท.สันธนะ เปิดเผยว่า ตนผูกพันอยู่กับธุรกิจกาสิโนมานานกว่า 30 ปี จึงมีความกังวลต่อเรื่องนี้ โดยเชื่อว่า เป็นใบสั่งทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นจาก 2 กลุ่มทุนธุรกิจการเมือง โดยกลุ่มแรกคือกลุ่มของนายบุญชัย เกษมวิลาศ หรือ ชัย ฟันเหล็ก กับนางเยาวลักษณ์ ฉายศิริไพบูลย์ หรือ เจ๊หุ้ง และพ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย ซึ่งเป็นกลุ่มของนักการเมืองอำนาจเก่าที่ตนเรียกว่า"ท่าน" ซึ่งหนุนหลังอยู่ ส่วนกลุ่มที่สองคือกลุ่มของนักการเมือง ซึ่งมีนักธุรกิจใหญ่ระดับประเทศ และอดีตนักการเมืองคอยสนับสนุน

พ.ต.ท.สันธนะ กล่าวต่อว่า อยากจะขอเล่าย้อนไปถึงช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยมีผู้หนึ่งที่เบอร์โทรศัพท์ ระหว่างประเทศขึ้นต้นด้วย 971 และลงท้ายตอง 111 ซึ่งตนไม่ขอเอ่ยชื่อว่าเป็นใคร แต่เรียกว่า "ท่าน" โดยท่านพูดกับตนว่า"อย่าไปยุ่งกับบุญชัย เขาเคยดูแลผมตอนผมไปฮ่องกง" เมื่อเป็นบุคคลท่านนั้นพูดตนก็ต้องรับฟัง แม้นายบุญชัย ที่พูดถึงจะเป็นแค่คนตัวเล็กๆ ที่แค่อยู่ในวงการการพนันเท่านั้น แต่ตนรู้จักนายบุญชัยมานาน เพราะอยู่วงการเดียวกัน และที่ต้องมาคิดคือ ทำไมท่านถึงต้องปกป้องนายบุญชัยคนนี้ คงเป็นเพราะตอนนั้นท่านได้เข้าไปรู้จักกับนายบุญชัย และเข้าไปเรียนรู้ในวงการธุรกิจการพนันที่มาเก๊า

"ทั้ง 2 ฝ่าย ได้มีการแบ่งผลประโยชน์ไว้ทั้งหมดแล้ว รวมถึงมีการเตรียมที่ดินที่พัทยา ภูเก็ต รวมถึงเชียงใหม่ ไว้ทั้งหมดแล้ว คือเป็นใบสั่งทางการเมืองของนักการเมือง 2 กลุ่มใหญ่ เพราะไม่ว่าคาสิโนจะเปิดได้หรือไม่ก็ได้สองเด้ง ถ้าเปิดได้กลุ่มการเมืองนั้นก็ฮุบธุรกิจนี้ไป แต่หากเปิดไม่ได้รัฐบาลก็พัง เรื่องนี้มีการเตรียมการมาก่อนแล้ว ผมมองว่าการพนันตอนนี้จะเกิดประโยชน์ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องและออกมาพูดนั้น กำลังวู่วามเกินไป ผลกระทบจะเกิดขึ้นกับสังคมและประชาชน ซึ่งผมไม่สนับสนุนอย่างยิ่ง" พ.ต.ท.สันธนะ กล่าวย้ำ

พลิกกฎหมายควบคุมปืนของญี่ปุ่น รอชี้ชะตา “คำรณวิทย์”

พลิกกฎหมายควบคุมปืนของญี่ปุ่น รอชี้ชะตา “คำรณวิทย์”

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
25 มิถุนายน 2558 06:01 น.
พลิกกฎหมายควบคุมปืนของญี่ปุ่น รอชี้ชะตา “คำรณวิทย์”
        พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ซึ่งถูกตำรวจของญี่ปุ่นควบคุมตัว ในข้อหาพกพาอาวุธปืนที่สนามบินนาริตะ อาจต้องพบกับชะตากรรมที่ยุ่งยากที่สุดในชีวิต เนื่องจากกฎหมายควบคุมอาวุธของญี่ปุ่นมีความเข้มงวดมาก ถึงระดับที่แม้แต่ยากูซ่ายังไม่อยากใช้ปืน
      
       ในประเทศญี่ปุ่น การมีปืนสักหนึ่งกระบอกเป็นเรื่องที่ยากเย็นแสนเข็ญ กฎหมายควบคุมอาวุธของญี่ปุ่นที่ประกาศใช้ตั้งแต่ ค.ศ.1958 ระบุไว้ชัดเจนว่า “ประชาชนไม่มีสิทธิ์ครอบครองอาวุธปืนและมีดดาบ” ซึ่งเป็นหลักการที่ทำให้การมีอาวุธของชาวญี่ปุ่นนั้นแทบเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แตกต่างจากบางประเทศตะวันตกที่อนุญาตให้ประชาชนพกอาวุธเพื่อป้องกันตัวเองและทรัพย์สินได้
      
       ตามกฎหมายของญี่ปุ่น ผู้ที่ครอบครองอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตจะต้องโทษจำคุก 1 ถึง10 ปี และหากมีกระสุนปืนด้วยก็จะเพิ่มโทษขึ้นอีกอย่างน้อย 3 ปี
พลิกกฎหมายควบคุมปืนของญี่ปุ่น รอชี้ชะตา “คำรณวิทย์”
        ตำรวจแทบไม่พกปืน ยากูซ่าไม่อยากใช้ปืน
       

       เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นคนกลุ่มเดียวที่ได้รับอนุญาตให้มีปืนในครอบครองได้ หากแต่ตำรวจญี่ปุ่นก็แทบจะไม่พกปืน มีเพียงตำรวจหน่วยพิเศษและสายตรวจเท่านั้นที่สามารถพกปืนได้ นอกจากนี้หากจำเป็นตำรวจต้องใช้ปืน จะต้องเก็บปลอกกระสุนกลับมาทุกครั้งเพื่อรายงานต่อผู้บังคับบัญชา กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดนี้ทำให้ตำรวจบางรายแทบจะไม่มีโอกาสใช้ปืนจริงๆ เลยสักครั้งตลอดชีวิต
      
       แก็งค์อาชญากรรมหรือยากูซ่าเคยเป็นกลุ่มที่ใช้ปืนเข่นฆ่ากันเองมากที่สุด แต่หลังจากเกิดเหตุ “กระสุนลูกหลง” ทำให้ผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต รวมทั้งเหตุสังหารนายกเทศมนตรีเมืองนางาซากิเมื่อหลายปีก่อน กฎหมายของญี่ปุ่นได้เพิ่มโทษพิเศษสำหรับผู้ครอบครองปืนที่มีประวัติอาชญากรรม
      
       นายคาเนโยชิ คูวาตะ เจ้าพ่อรายหนึ่งของญี่ปุ่น ถูกตัดสินจำคุก 7 ปี หลังจากตำรวจตรวจพบปืน 1 กระบอกในรถของเขา ถึงแม้ไม่มีหลักฐานว่าเขาได้ก่อเหตุอาชญากรรมใดๆเลย หลังเหตุครั้งนั้น หัวหน้ายากูซ่ารายหนึ่งยอมรับว่า “มีปืนไว้กับตัวเหมือนกับมีระเบิดเวลา”
พลิกกฎหมายควบคุมปืนของญี่ปุ่น รอชี้ชะตา “คำรณวิทย์”
        
       ฝ่าด่านหิน หากอยากมีปืนในญี่ปุ่น

       ประชาชนชาวญี่ปุ่นแทบจะไม่สามารถครอบครองปืนได้ โดยกฎหมายเปิดช่องให้มีปืนสำหรับการล่าสัตว์ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ขั้นตอนการขออนุญาตยากมาก เป็นต้นว่า
      
       1. ต้องเข้ารับการอบรมภาคทฤษฎีเรื่องปืนและกฎหมาย โดยผ่านการสอบข้อเขียน
       2. ทดสอบยิงปืนในสนาม โดยต้องผ่านเกณฑ์ความแม่นยำ 95%
       3. เข้ารับการตรวจสุขภาพกายและจิตใจที่โรงพยาบาล เพื่อยืนยันว่าไม่เคยเกี่ยวข้องกับสารเสพติด หรือมีปัญหาสุขภาพจิต
       4. ยื่นประวัติส่วนตัวและเครือญาติกับตำรวจ โดยผู้ที่เคยมีประวัติอาชญากรรม, เป็นสมาชิกกลุ่มการเมืองหรือนักกิจกรรมที่ก้าวร้าว รวมทั้งบุคคลล้มละลาย ไม่สามารถครอบครองอาวุธปืนได้
       5. ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ครอบครองปืน ยังต้องขออนุญาตเพื่อซื้อกระสุนปืนอีกด้วย ซึ่งการซื้อทุกครั้งจะมีการลงบันทึกรายละเอียดของผู้ซื้อ และจำนวนกระสุนที่ซื้อไป
       6. จะต้องแยกเก็บปืนและกระสุนไว้คนละสถานที่ โดยต้องมีตู้เก็บปืนเฉพาะ รวมทั้งต้องวาดแผนที่สถานที่เก็บปืนและกระสุนให้กับตำรวจในพื้นที่ด้วย
       7. ใบอนุญาตมีอายุ 3 ปี และเจ้าของปืนจะต้องเข้ารับการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่ต่ออายุ
       8. ถ้ามีบุคคลในครอบครัว หรือผู้ใดร้องเรียนว่า เจ้าของปืนมีพฤติกรรมสะกดรอยตาม, ข่มขู่ หรือใช้ความรุนแรง จะถูกยกเลิกใบอนุญาตครอบครองปืนทันที
      
       ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบประวัติผู้ที่ต้องการมีปืนอย่างละเอียด โดยสัมภาษณ์ทั้งครอบครัว, หัวหน้างาน, เจ้าของบ้านเช่า ไปจนถึงเพื่อนบ้าน และแทบจะไม่ออกใบอนุญาตใหม่ ยกเว้นแต่ผู้ที่เคยครอบครองปืนอยู่แล้วเท่านั้น
      
       กฎหมายควบคุมปืนที่เข้มงวดทำให้ทั่วประเทศญี่ปุ่น มีปืนที่ได้รับอนุญาตเพียงแค่ 271,100 กระบอกเท่านั้น จากจำนวนประชากรทั้งประเทศมากกว่า 126 ล้านคน
พลิกกฎหมายควบคุมปืนของญี่ปุ่น รอชี้ชะตา “คำรณวิทย์”
        บ้านเมืองปลอดภัย ทำไมต้องมีปืน?
       กฎหมายของญี่ปุ่นมุ่งที่จะ “ปลดอาวุธ” ประชาชนทั้งหมด หลังจากยุคของนักรบและซามูไรที่ต่อสู้แย่งชิงพื้นที่ต่างๆ จนแดนอาทิตย์อุทัยแทบจะหาความสงบสุขไม่ได้ แต่ทุกวันนี้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอาชญากรรมต่ำที่สุดในโลก ซึ่งการควบคุมปืนอย่างเข้มงวดทำให้ความรุนแรงในการก่อเหตุลดลง
      
       สถิติล่าสุดเมื่อปี 2011ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตจากอาวุธปืนเพียงแค่ 11 คน และบาดเจ็บ 28 คน โดยผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดจากปืนลั่นขณะล่าสัตว์ ส่วนผู้เสียชีวิต 5 รายเป็นการฆ่าตัวตาย ที่เหลือเป็นการฆ่าล้างแค้นของแก็งค์อาชญากรรม
      
       ชาวญี่ปุ่นจึงไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องมีอาวุธใดๆ และไม่อาจเข้าใจที่คนไทยบางคนต้องพกปืนติดตัวตลอดเวลา โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจญี่ปุ่นรายหนึ่ง ระบุว่า “ในญี่ปุ่นมีเพียงยากูซ่าและตำรวจเท่านั้นที่มีปืน. 

'บิ๊กตู่'ฟัน ขรก.ลอตสอง 71 ราย- อธิบดีพช. เลขาฯสปช. ปลัดท่องเที่ยว-7นายก อบจ.

'บิ๊กตู่'ฟัน ขรก.ลอตสอง 71 ราย- อธิบดีพช. เลขาฯสปช. ปลัดท่องเที่ยว-7นายก อบจ.

เขียนวันที่
วันพฤหัสบดี ที่ 25 มิถุนายน 2558 เวลา 16:00 น.
เขียนโดย
isranews
‘ประยุทธ์’ใช้ ม.44 ฟัน ขรก.ลอต 2 รวม 71 ราย อธิบดีกรม พช.  เลขาฯ สปช.  ปลัด ก.ท่องเที่ยวฯ อธิการฯม.สารคาม นายก อบจ. 7 จว. ล้างปากน้ำ เอ๋-ชนม์สวัสดิ์ พ่วง4จนท. ‘พรชัย โควสุรัตน์‘จ.อุบลฯ 'ยุทธนา' หนองคาย 'ไพบูลย์'ภูเก็ต ผอ.รร.หาดใหญ่ฯ 2 โดนด้วย
pppepeeedddfffff
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อวันที่ 25  มิถุนายน 2558  ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19 /2558 เรื่อง แต่งตั้งและให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่อื่น
ระบุว่า ตามที่มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2558  เรื่อง มาตรการแก้ปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบและการกำหนดกรอบอัตรากำลังชั่วคราว ลงวันที่ 15 พฤษภาคม พุทธศักราช 2558 นั้น โดยที่ต่อมาหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบได้เสนอรายงานเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐเพิ่มเติม จึงจำเป็นต้องประกาศรายชื่อบุคคลเพิ่มเติม ตามความในข้อ 5 ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2558  ประกอบกับจำเป็นต้องแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการบางตำแหน่งเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของงานอันเป็นประโยชน์ในการปฏิรูปราชการแผ่นดินอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557  หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
1. ให้นายสุวัตร สิทธิหล่อ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษสำนักนายกรัฐมนตรี
2. ให้ผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ 1 ตามบัญชีแนบท้ายคำสั่งนี้ระงับการปฏิบัติราชการในตำแหน่งเดิมเป็นการชั่วคราวและไปปฏิบัติราชการในตำแหน่งประจำสำนักงานปลัดกระทรวงที่สังกัดโดยไม่ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมและให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดมอบหมาย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะมีคำสั่งให้ผู้นั้นไปปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐเป็นการชั่วคราวก็ได้
3. ให้ผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 ตามบัญชีแนบท้ายคำสั่งนี้ระงับการปฏิบัติราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำรงตำแหน่งอยู่เป็นการชั่วคราวโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน
4. ให้ผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ 5 ตามบัญชีแนบท้ายคำสั่งนี้ไปช่วยราชการที่ศาลากลางจังหวัดที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นตั้งอยู่หรือสถานที่ราชการอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนดแต่ต้องมิใช่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่อยู่เดิม โดยไม่ต้องมีคำร้องขอ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นผู้บังคับบัญชามีอำนาจมอบหมายให้ผู้นั้นปฏิบัติงานตามความเหมาะสมในกรณีนี้ มิให้บุคคลดังกล่าวได้รับเงินประจำตำแหน่งและสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ. 2555 อันเนื่องจากการไปช่วยราชการตามคำสั่งนี้
5. นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีแล้วแต่กรณี อาจมีคำสั่งหรือมติเปลี่ยนแปลงคำสั่งตามข้อ 1 ถึงข้อ 5 ได้ตามที่เห็นสมควร
คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2558
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบัญชีรายชื่อข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ แนบท้ายคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 19/2558  ประกอบไปด้วย 
กลุ่มที่ ๑ ข้าราชการ (๒๑ ราย)
๑. นายขวัญชัย วงศ์นิติกร อธิบดีกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
๒. นายไชยวัฒน์ พันธ์นรา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร กระทรวงมหาดไทย
๓. นายรังสรรค์ มณีเล็ก รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
๔. นายศุภชัย สมัปปิโต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กระทรวงศึกษาธิการ
๕. นายวินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
กระทรวงสาธารณสุข
๖. นายชัยรัตน์ กรรณิการ์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานคดีศาลสูงภาค ๘ สำนักงานอัยการสูงสุด
๗. พันตำรวจเอก นิรันดร์ อดุลยาศักดิ์ ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและศูนย์ข้อมูลการตรวจสอบกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม
๘. นางพัชณีย์ ยงยอด ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบริการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยวกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
๙. นายศุภยุทธ สาครบุตร ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านยุทธศาสตร์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
๑๐.นายสุทธิ ศิลมัย ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
๑๑.นายชูศักดิ์ ตั้งศิริไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดปราจีนบุรี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๑๒.นายสมพร ดำนุ้ย ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอุดรธานี กรมชลประทาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๑๓.นายยุทธนา นวมะชิติ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานสตูล กรมชลประทาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๑๔.นายชัยฤกษ์ เมษสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักทางหลวงที่ ๑๖ จังหวัดนครศรีธรรมราชกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
๑๕.นายธงชัย จินตนาวงศ์ วิศวกรใหญ่ด้านบำรุงรักษา กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
๑๖.นายสุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ กระทรวงสาธารณสุข
๑๗.นายปรีชา วงศ์ศิลารัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงขลา กระทรวงสาธารณสุข
๑๘.นางพิมพ์มาส รังสรรค์สฤษดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ จังหวัดสงขลากระทรวงศึกษาธิการ
๑๙.นายนิวัจน์ พิมเสน ผู้อำนวยการโรงเรียนนิคม ซอย ๑๐ จังหวัดสตูล
กระทรวงศึกษาธิการ
๒๐.นายเอกชัย ปานเม่น ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกวิชาชีพกาญจนบุรี “สามสงฆ์ทรงพระคุณ”กระทรวงศึกษาธิการ
๒๑. นายกิตติ โกมลกุลพัทธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาไก่นาคำน้อยวิทยา อำเภอสุวรรณคูหา(ภูดอนนาง) จังหวัดหนองบัวลำภู กระทรวงศึกษาธิการ
กลุ่มที่ ๒ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (จำนวน ๗ ราย)
๑. นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
๒. นายพรชัย โควสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
๓. นายยุทธนา ศรีตะบุตร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย
๔. นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต
๕. นายสถิรพร นาคสุข นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร
๖. นายสมชอบ นิติพจน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม
๗. นางสุนี สมมี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง
กลุ่มที่ ๓ นายกและรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (จำนวน ๑๗ ราย)
๑. นายสนิท วรกิจ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
๒. นายประพจน์ เพียรพิทักษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้ำไหล
อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
๓. นายสุมิตร สากาลี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีบุญเรือง อำเภอชนบท
จังหวัดขอนแก่น
๔. นายณรงค์ ถาวร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองจิก อำเภอคีรีมาศ
จังหวัดสุโขทัย
๕. นายสมเกียรติ บรรพบุรุษ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลราษฎร์นิยม อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
๖. นายสมพงษ์ รอดดารา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางโทรัด อำเภอเมือง
จังหวัดสมุทรสาคร
๗. นายนิวัฒน์ วัฒนเวศวิทย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาวาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
๘. นายเสรี ทิจินะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย
จังหวัดเชียงราย
๙. นายสมาน ดาหมาด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
๑๐. นายประภัย เพ็ชร์สุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
๑๑. นายแซน กมุทชาติ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบุ่ง อำเภอเมือง
จังหวัดอำนาจเจริญ
๑๒. นายธงชัย ดอกไม้ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเมย อำเภอเมือง
จังหวัดอำนาจเจริญ
๑๓.นายเวชยันต์ สิงห์ขันธ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก้ว อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
๑๔.นายพงษ์สวรรค์ สถาธรรม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหล่อยูง อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
๑๕. นายวัฒนา ภูเกิดพิมพ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
๑๖. นายสมชาย ลานทอง รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
๑๗. นายวิรัตน์ วัฒนสุข รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีบุญเรือง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
กลุ่มที่ ๔ นายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาล (จำนวน ๑๘ ราย)
๑. นายจำรัส อินใจ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลแม่ข่า อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
๒. นายลำพอง นามพันธ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองพิมลราช อำเภอบางบัวทอง
จังหวัดนนทบุรี
๓. นายภูษิต คงเดิม นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่านา อำเภอกะปง จังหวัดพังงา
๔. นายบุญเลิศ ต่างสี นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลสระโบสถ์ อำเภอสระโบสถ์
จังหวัดลพบุรี
๕. นายอภิชิต วิโนทัย นายกเทศมนตรีเทศบาลนครตรัง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
๖. นายประพัฒน์ ริ้วทองชุ่ม นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองนครปฐม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
๗. นายวิทยา อุ่นคำ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบุญเรือง อำเภอเชียงของ
จังหวัดเชียงราย
๘. นายนัฏฐชัย มูลนาม นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหมอม้า อำเภอเมือง
จังหวัดอำนาจเจริญ
๙. นายโชคชัย พนมขวัญ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองแพร่ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
๑๐. นางสาวสาวิตรี สิทธิธรรม นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลอุบล อำเภอเมือง
จังหวัดอุบลราชธานี
๑๑. นายปิยะชัย โชติวุฒิมนตรี นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเวินพระบาท อำเภอท่าอุเทน
จังหวัดนครพนม
๑๒. นายประดิษฐ์ วณีสอน นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหนองตองพัฒนา อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
๑๓. นายพุฑฒิพงษ์ ฤาชัย นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
๑๔. นางสาวลาเคละ จะทอ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
๑๕. นายเกรียงไกร ไกรทอง นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์
อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
๑๖. นายบุญเกื้อ พากเพียรศิลป์ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองปราจีนบุรี อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี
๑๗. นายสาร สมรักษ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลนายม อำเภอเมือง
จังหวัดอำนาจเจริญ
๑๘.นายสมศักดิ์ ธรรมเมธาพร สมาชิกสภาเทศบาลตำบลวังเย็น ตำบลวังเย็น
จังหวัดฉะเชิงเทรา
กลุ่มที่ ๕ ข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (จำนวน ๗ ราย)
๑. นายสายัณห์ รักษนาเวศ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
๒. นางสาวกาญจนา ทาโบราณ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลศรีบุญเรือง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
๓. นางอรชา พัฒนศุภสุนทร ปลัดเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
๔. นายประดิษฐ์ นามลักษณ์ ปลัดเทศบาลตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
๕. นายสุรศักดิ์ ปรีชาผล ผู้อำนวยการกองคลัง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
๖. นายนิพนธ์ บุณยเกียรติ ผู้อำนวยการกองแผนและงบประมาณ องค์การส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
๗. นายวิชัย จันทร์จำรูญ ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
-------------------------------------

24 มิถุนายน ประวัติศาสตร์การยึดอำนาจ สู่การล่มสลายของคณาธิปไตยในนามคณะราษฏร

24 มิถุนายน ประวัติศาสตร์การยึดอำนาจ สู่การล่มสลายของคณาธิปไตยในนามคณะราษฏร

11412331_1438553199787033_128136249141476081_n
24 มิถุนายน ประวัติศาสตร์ การ “ปฏิวัติ” , “การยึดอำนาจ” และ “การเปลี่ยนแปลงการปกครอง” สู่การล่มสลายของ คณาธิปไตย ในนาม”คณะราษฏร”

ขอบคุณ เฟสบุ๊ค เพจ ปราชญ์ สามสี

จากที่ทราบกันดีว่า 24 มิถุนายน นั้น เคยเป็นวันที่ คณะราษฎรประกาศ เปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปไปสู่ระบอบที่อ้างว่าเป็น “ระบอบประชาธิปไตย” ในการปฏิบัติการ มีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าคณะราษฎร
แต่จะมีใครทราบใหมว่า การเคลื่อนไหวทั้งหมดนั้น ล้วนเกิดจากการกระทำของกลุ่มบุคคลที่มีอาวุธเพียงกลุ่มเดียวที่ลุกขึ้นทำสงครามกับ เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน …. ยังจำได้ไหมว่า ก่อนที่ คณะราชฏร ได้ประกาศยึดอำนาจ นั้น ยังได้เคยวางแผนใช้ทหารยึดพระที่นั่งอัมพรสถานซึ่งเป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 7 ในเวลากลางคืน และขอถวายความอารักขาแก่ในหลวงในฐานองค์ประกัน แล้วบังคับให้ลงพระปรมาภิไธยพระราชทานรัฐธรรมนูญ
แต่โชคยังดีที่แผนนี้มีผู้ไม่เห็นด้วย เพราะระหว่างที่บุกเข้าไปอาจเกิดการปะทะกันกับทหารมหาดเล็กจนถึงขึ้นนองเลือด จนสุดท้าย คณะราษฏร ได้ ใช้วิธีก่อการ ด้วยการกระจายใบปลิว ในย่ำรุ่งวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่ง เป็นใบปลิวโจมตีสถาบันฯอย่างรุนแรง และข่มขู่ประชาชนด้วยการเผยแพร่ข้อมูลไว้บนใบปลิว ว่า ได้จับพระบรมศานุวงศ์ ไว้เป็นองค์ประกัน ซึ่งในเวลานั้น ประชาชน ทั้งหมดเลื่อมใสในสถาบันฯเป็นอย่างมาก แต่เพราะในใบปลิวเหล่านั้นกำชับหนักว่ามิให้ผู้ใดขยับขับเคลื่อนมิเช่นนั้นจะทำให้ พระบรมศานุวงศ์ ไม่ได้รับความปลอดภัย… จึงทำให้ไม่มี ราษฏรคนใดกล้าขัดขืน คณะราษฏรเลย

10561714_1438552079787145_850507058789638270_n

ทั้งนี้บทบาทของพระยาทรงสุรเดช(หนึ่งในคณะราษฏรผู้ก่อการ)ในวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น คือ “การปล่อยข่าวลวงและล่อหลอก “เพื่อชักนำให้ทหารแต่ละกรมกองมาชุมนุมร่วมกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อให้เข้าร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อย่างไม่ขัดขืน ซึ่งโดยส่วนใหญ่มิเข้าใจว่า การกระทำดังกล่าวนั้นคือ การ โค่นอำนาจสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งการกระทำทั้งหมดเป็นการ สร้างสถานการณ์ซึ่งข่มเหง และ บีบคั้น รัชกาลที่ 7ด้วยความเท็จเป็นอย่างมาก
เพราะแท้จริงแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหา กษัตริย์ที่ทรงเลื่อมใสการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พระองค์ทรงพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ยังมิได้ทรงทำการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ด้วยทรงคำนึงว่ายังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสม แต่เมื่อคณะราษฎรได้ทำการ”เปลี่ยนแปลงการปกครอง” อย่างบีบคั้นเร่งรีบ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มิได้ทรงขัดเคืองพระราชหฤทัย และทรง ลงพระปรมาภิไธยในธรรมนูญการปกครองประเทศ โดยทรงเพิ่มคำว่า “ชั่วคราว” ต่อท้ายธรรมนูญการปกครองประเทศ ซึ่งปรีดี พนมยงค์เป็นผู้ร่างในเวลานั้น
โดย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า รัชกาลที่ 7 มีพระราชดำรัสว่า
“ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่ เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร”

10246346_1438556483120038_8269755412889979302_n
ซึ่งเป็นการเตือนสติ กลุ่มคณะทหารที่ชื่อ”คณะราษฏร”ในเวลานั้นให้มองเห็นถึงเสียงสวรรค์ของประชาชนจริงๆมากกว่า กลุ่ม”คณะราษฏร”ด้วยกันเอง
แต่แล้วต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 ได้เกิดสงครามกลางเมืองที่เรียกกันว่า กบฏบวรเดช ขึ้น โดยพระองค์เจ้าบวรเดชกับพระยาศรีสิทธิสงคราม รวมกำลังทหารหัวเมืองมุ่งเข้าตีกรุงเทพมหานคร ตามคำแถลงการณ์ที่จะเข้ามาช่วยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทรงหลุดพ้นจากอำนาจของคณะราษฎร เหตุการณ์ในครั้งนี้มีการปราบปรามด้วยอาวุธ ทำให้เกิดการสู้รบระหว่างคนไทยด้วยกันเอง และมีผู้เสียชีวิตด้วยกันทั้งสองฝ่าย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นที่สะเทือนพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างมาก จึงทรงตัดสินพระราช หฤทัยเสด็จไปประทับที่ประเทศอังกฤษ ด้วยเหตุผลเพื่อไปรักษาพระเนตรเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 และในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477 พระองค์จึงได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ และเสด็จไปยังต่างประเทศ
และแล้วประเทศสยามเวลานั้นก็ได้กลายเป็นประเทศไทยตามแนวทางการบริหารของ คณะราษฏรอย่างเต็มรูปแบบ
ทั้งนี้ในขณะที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ และมิได้ทรงสมมติเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเป็นรัชทายาท ดังนั้น คณะรัฐมนตรี(คณะราษฏร)ในเวลานั้นกำลังประสบปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองกับหลายฝ่ายในคณะราษฏรซึ่งกำลังสั่นคลอนความมั่นคงของคณะราษฏและเกรงว่าอาจจะทำให้ประชาชนไม่พอใจในคณะราษฏร (อันเป็นผู้ปกครองสูงสุดเบ็ดเสร็จหรือเรียกว่าคณาธิปไตยในเวลานั้น)จึงได้อัญเชิญเสด็จพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันมหิดล ขณะที่มีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา ซึ่งเป็นเจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์พระองค์ที่ 1 ในลำดับพระราชสันตติวงศ์แห่งกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ขึ้นทรงราชย์สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไป โดยได้รับการเฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 8 แห่งราชจักรีวงศ์ เพื่อให้พระองค์ทรงเป็นมิ่งขวัญและศูนย์รวมใจของประชาชนไทยสืบไป โดยที่พระองค์ทรงประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ดังนั้นจึงมีการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ต่อมา ปรีดี ที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงครอบงำให้สภาผู้แทนราษฎร ให้มีมติแต่งตั้งเขาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ” แต่เพียงผู้เดียว” และแต่งตั้งให้เป็นต่อไปอีกเรื่อยๆ แบบไร้เวลาสิ้นสุด จึงเป็น ครองอำนาจเบ็ดเสร็จ เหนือ ราชบัลลังค์ แต่เหตุที่ปรีดี ยังไม่กล้าออกกฎหมายยกเลิกการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชจนหมดสิ้น เสียเลยทันที ตั้งแต่ ปฏิวัติ 2475 นั้น ก็เพราะเกรงความไม่พอใจของปวงชนจำนวนมากซึ่งยังจงรักภักดีต่อสถาบันฯนั่นเอง
ช่วงขณะนั้น ปรีดี และคณะราษฎร จึงกลายเป็นผู้มากบารมีเบ็ดเสร็จในประเทศไทย คุมอำนาจบริหาร นิติบัญญัติทุกส่วน สภาออกกฎหมายอะไรก็ได้ เพราะปรีดี ก็เป็นผู้สำเร็จราชการลงนามประกาศใช้ได้ทันที เรียกว่าชงเอง กินเอง เบ็ดเสร็จ ประเทศไทยขณะนั้น คือ ระบอบเผด็จการคณาธิปไตย เพราะไม่มีการถ่วงดุลอำนาจใดๆ เลย
ในปี พ.ศ. 2479 รัฐบาลได้ทูลอัญเชิญรัชกาลที่ 8 เสด็จนิวัติพระนคร แต่ในระหว่างเตรียมการเสด็จนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่หลายครั้ง คณะรัฐบาลใหม่จึงขอเลื่อนการรับเสด็จออกไปอย่างไม่มีกำหนด
พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 รัชกาลที่ 8 จึงได้เสด็จกลับประเทศไทย โดยเรือเมโอเนีย ซึ่งมาจากเมืองมาเชลล์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นับเป็นการเสด็จนิวัติพระนคร ครั้งแรก ทรงใช้เวลาอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลาประมาณ 2 เดือน จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
….ใน ช่วงปีพ.ศ. 2487 ประเทศไทยเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองและยุติเมื่อ พ.ศ. 2488 และประเทศไทยรอดพ้นจากการพ่ายแพ้สงคราม
จากบทความ “ไขปริศนา ขั้นตอนปรีดีวางแผน ก่อนรัชกาลที่ 8 สวรรคต ” ได้ระบุไว้ว่า วันที่ 15 ตุลาคม 2488 ม.ร.ว.เสนีย์ นายกรัฐมนตรี ยุบสภาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ และยังรักษาการนายกฯ เดือนนี้ ปรีดี วางแผนจัดให้หนอนร้าย คือ นายเฉลียว คนสนิทชิดชอบของนายปรีดี เป็นคณะราษฎรคนหนึ่ง “ ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ” ให้ไปดำรงตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์ เพื่อเข้าไปสอดแนม และครอบงำราชการในวัง และนี่คือ”ลางร้ายในเวลาต่อมา”ร.อ.วัชรชัย ซึ่งออกจากราชการไปแล้ว ปรีดี ให้เข้ามารับราชการเป็นราชองครักษ์ , ทั้งสองนี้เป็นผู้ที่ฝักใฝ่ใกล้ชิดสนิทสนมกับนายปรีดีเป็นอย่างมาก นายเฉลียว จึงจัดให้ นายชิต และ นายบุศย์ เป็นมหาดเล็กรับใช้ “ประจำห้องพระบรรทม” ทั้งหมดอยู่ภายใต้อำนาจของนายเฉลียว
วันที่ 5 ธันวาคม 2488 เป็นเวลานานถึง 10 ปีหลังการรัชกาลที่ 7 เสด็จออกจากประเทศไทย วันนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และพระราชอนุชา เสด็จนิวัติพระนครเป็นครั้งที่สอง มีพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว(20 พรรษา) ทำให้พระองค์สามารถเป็นพระประมุขแผ่นดิน โดยไม่ต้องมีผู้สำเร็จราชการอีกต่อไป (นับเป็นการเสด็จกลับมาที่ประเทศไทย ครั้งที่สอง)
“รัชกาลที่ 8 แม้พระชนม์มายุเพียง 20 พรรษา แต่กลับทรงเฉลียวฉลาดมาก พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย ที่จะทรงทราบ และศึกษา โปรดเกล้าฯ ให้เชิญนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ปลัดกระทรวง และอธิบดีผลัดเปลี่ยนกันเข้าเฝ้า เพื่อเป็นโอกาสที่จะทรงซักถามกิจการในหน้าที่และแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างความหวาดระแวงให้กับปรีดี และพรรคพวกอย่างมาก”
จากบทความ “ไขปริศนา ขั้นตอนปรีดีวางแผน ก่อนรัชกาลที่ 8 สวรรคต ” ยังระบุด้่วยว่า
(”ปรีดี จึงได้ชิงจังหวะชุลมุนเพิ่งเลิกสงครามโลก บีบบังคับกราบบังคมทูล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 ให้ยกย่องเขาไว้ในฐานะ “รัฐบุรุษอาวุโส” จุดนี้ คือ จุดเริ่มต้นของการคิดการใหญ่ เพราะนั่นหมายถึงปรีดี จะสามารถก้าวยกระดับต่อไปเป็น ” ประธานาธิบดี” ของประเทศไทย ในอีกขั้นระยะถัดไป ถ้าประเทศไทยไม่มีสถาบันเบื้องสูง
วันที่ 23 ธันวาคม 2488 รัชกาลที่ 8 เสด็จประพาสจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วยนายปรีดี , พลโท พระศรา สมุหราชองค์รักษ์ “ นายเฉลียว นายชิต” ทอดพระเนตรการแสดงอาวุธ ของคณะพลพรรคเสรีไทย ทรงโปรดการหัดยิงปืนชนิดใหม่ ๆ ที่มีผู้น้อมเกล้าถวาย )
ในภายหลัง จากการเสด็จกลับมาที่ประเทศไทย ครั้งที่สองนี้ รัชกาลที่ 8 ทรงพระปรีชาสามารถและเป็นความหวังของชาติมาก แต่ปรีดีก็มิได้ให้เกียรติ พระองค์มากนัก ในช่วง มกราคม 2489 มีการช่วงชิงการนำทรัพยสินของวัง พระราชพาหนะ( รถแนซ พระที่นั่ง) ไปจากโรงเก็บรถ ในพระบรมมหาราชวังในเวลากลางคืน มาใช้นั่งเป็นการส่วนตัวในถานะ ผู้สำเร็จราชการแทน ทั้งๆ มีเวรยามเฝ้ารักษา เพื่อแสดงอำนาจเหยียดหยามพระองค์ที่ทรงสนพระทัยในรถคันนี้ พระองค์ข้องพระราชหฤทัยมาก ทรงพระราชอุตสาหะไปทรงตรวจสถานที่ในคืนวันหนึ่งว่า เก็บอย่างไร และยามอยู่ตรงไหน
ความขัดแย้งภายในระหว่างรัชกาลที่8 และ ปรีดี ยังคงเกิดขึ้น
และแล้วเหตุการณ์เสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ก็เกิดขึ้น ในปี 2489 ซึ่งเป็นปีเดียวกัน ที่ ม.ร.ว เสนีย์ ร่วมกับนายควง อภัยวงศ์ ดำเนินการจัดตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งนี้จากการ สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นายปรีดีและคณะรัฐมนตรีได้ขอความเห็นชอบต่อสภาว่า ผู้ที่จะขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ควรได้แก่ สมเด็จพระอนุชา เมื่อสภามีมติเห็นชอบแล้ว นายปรีดีก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยเหตุผลว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงแต่งตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นได้สวรรคตเสียแล้ว (ซึ่งช่วงนี้มีข่าวลือหนาหูว่า “นายปรีดีฆ่าในหลวง”)
8 พฤศจิกายน ปี 2489 – พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และ น.อ.กาจ กาจสงคราม นำกำลังทหารยึดอำนาจจากปกครองจากรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี รับช่วงต่อจากนายปรีดี) โดยอ้างว่าไม่สามารถสะสางกรณีสวรรคตได้ และได้ทำการฉีกรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2489 ทิ้ง จากเหตุการณ์รัฐประหารนี้ ทำให้นายปรีดี และพล.ร.ต.ถวัลย์ ต้องหลบหนีออกนอกประเทศไปยังสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้นรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้ความสนับสนุนฝ่ายรัฐประหาร นายปรีดีจึงเดินทางไปจีนแทน
พ.ศ. 2491 ภายหลังพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นเป็นรัฐบาล คณะทหารในกลุ่ม 4 คน นำโดย น.อ.กาจ กาจสงคราม ได้บีบบังคับให้นายควงลาออกและ แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม (อดีต คณะราษฏร) เป็นนายกรัฐมนตรีแทน และผลของการรัฐประหารครั้งนี้เป็นการขจัดกลุ่มอำนาจเก่าของ นายปรีดี พนมยงค์ ส่งผลให้นายปรีดี ต้องขอลี้ภัยการเมืองที่ต่างประเทศตราบจนเสียชีวิต ปิดฉาก “คณะราษฏร”
และ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 – นายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนี และ นายบุศย์ ปัทมศริน ถูกประหารชีวิต จากข้อกล่าวหาว่ามีส่วนลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8
และในปี พ.ศ. 2500 คณะทหารที่นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม (อดีต คณะราษฏร) ด้วยข้อกล่าวหาสำคัญคือ ฝ่ายรัฐบาลจัดการเลือกตั้งสกปรกจึงหมดความชอบธรรม
และ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 – จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ลงนามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง “ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย” ยกเลิกวันชาติ 24 มิถุนายน แล้วกำหนดให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย
เป็นอัน หมดสิ้น 24 มิถุนายน …
****************************************
สำหรับ กลุ่มคนผู้ที่สดับรับฟังข่าวที่ผิดเพี้ยนไปว่ากลุ่ม คณะราษฏร์นั้นคือผู้ที่เปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยการปฏิวัติรัฐประหารและออกจดหมายเวียนเทียนข่มขู่ว่าได้จับ ร.7 ไว้เป็นตัวประกันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ โดยกล่าวอ้างว่า นั้นคือ “ประชาธิปไตย” การกระทำนั้นมีอยู่ขึ้นจริงแต่มิใช่ความจริงโดยทั้งหมด
เพราะ แท้จริงแล้ว การกระทำคณะราษฏร์นั้นเป็นเพียงการกระทำของขุนนางและทหารบางฝ่ายซึ่งต้องการอำนาจ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 ในเวลานั้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการปล้นพระราอำนาจด้วยกระบอกปืนและรถถัง
ในหลวง ร.7 ทรงคาดหวังว่าจะมอบอำนาจประเทศให้ประชาชนทุกคน จึงได้จัดตั้ง การกระจายอำนาจแบบเทศบาล -สุขาภิบาล และ ธรรมนูญลักษณะการปกครองโดยคณะนคราภิบาล( อันมีพรรค ผ้าแถบแดง และ ผ้าแถบน้ำเงิน เป็นฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล) . เพื่อรองรับ รัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้น … เรามาร่วมกัน ฟังพระสุรเสียงรัชกาลที่ ๗ ที่ประกาศที่สหรัฐว่าจะมอบอำนาจและเสรีภาพให้กับปวงชนชาวไทย อันเป็นต้นกำเนิดรัฐธรรมนูญไทยฉบับแรกนั้นเอง
https://www.facebook.com/1403156603326693/videos/vb.1403156603326693/1438581603117526/?type=2&theater
ชัยชนะและความล้มเหลว ของ “คณะราษฏร” จนกระทั้่งก่อนการกลับมาของ ระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ(ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข) เช่น รัชกาลที่ 8 เป็นประวัติศาสตร์ทำดำมืดและไม่ยอมถูกพูดถึงในฝ่ายการเมือง และไม่เคยถูก บรรจุอยู่ในแบบเรียนประวัติศาสตร์ รั้งแต่พยายามปิดบังเก็บเงียบ หรือบิดเบือนไปในทิศทางอื่น แต่กลับพูดถึงเพียงเฉพาะด้านดีของ คณะราษฏร แต่เพียงอย่างเดียว ตามแนวทฤษฏี ที่ว่า … “ทำลายอดีต บิดเบือนปัจจุบัน ชักนำอนาคต”เพราะ ฉะนั้นแล้วมันถึงเวลาแล้วที่ จะมาร่วมกันกระจายข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เพื่อจุดเทียนแห่งปัญญาแก่ ราษฎรของราชอาณาจักรไทยทุกคน