PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ว่าที่ทูตสหรัฐฯประจำไทย ตั้งปณิธาน ระงับความช่วยเหลือจนกว่าไทยจะเป็นประชาธิปไตย

เมื่อเวลาประมาณ 9:30 น. ของวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐฯ ( ประมาณ 13:30 น. ในวันนี้ตามเวลาประเทศไทย) นายเกล็น ทาวน์เซนด์ เดวีส์ อดีตผู้แทนพิเศษด้านนโยบายเกาหลีเหนือระหว่างพ.ศ. 2555–2557 ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เข้าให้คำแถลงต่อคณะกรรมาธิการฝ่ายกิจการต่างประเทศของวุฒิสภา
http://www.matichon.co.th/online/2015/06/14351441831435144214l.jpg

ภายใต้คำแถลงของนายเกล็น เดวีส์ ที่ถูกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ผู้ถูกเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตฯ กล่าวถึงประเทศไทยว่า “ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาธำรงมิตรภาพร่วมกันมายาวนาน ไทยเป็นหนึ่งในพันธมิตรคู่สนธิสัญญาที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกาในเอเชีย”

“แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องจำกัดความสัมพันธ์บางด้านกับไทยหลังเหตุการณ์รัฐประหารโดยทหารเมื่อเดือนพฤษภาคมพ.ศ.2557ความสัมพันธ์ทวิภาคีนี้ยังคงกว้างขวางและก่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่ทั้งสองประเทศอย่างที่ความสัมพันธ์อื่นน้อยนักจะเทียบเคียงได้” ซึ่งนายเดวีส์ชี้ว่าการระงับความช่วยเหลือบางประการนี้จะดำเนินต่อไปจนกว่าไทยจะมีการบริหารประเทศโดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเมื่อเป็นเช่นนั้นจึงจะนำไปสู่ความสัมพันธ์อย่างเต็มรูปแบบ

“ตลอดทศวรรษที่ผ่านมาความแตกแยกทางการเมืองภายในประเทศไทยถลำลึกลงไปอย่างมาก นำไปสู่การแบ่งขั้วไม่เพียงระดับการเมืองเท่านั้น แต่ยังแผ่ขยายไปถึงสังคมไทยโดยรวมอีกด้วย” พร้อมเน้นย้ำว่าสหรัฐฯยึดมั่นสนับสนุนหลักประชาธิปไตยและไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดในความขัดแย้งนี้

“การที่สหรัฐฯเรียกร้องให้ไทยกลับไปมีรัฐบาลพลเรือนคืนสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยและเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง ซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบนั้นมิได้หมายความว่า สหรัฐฯ มุ่งเจาะจงสนับสนุนพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญหรือการเมืองประเด็นใดโดยเฉพาะ สิ่งเหล่านั้นเป็นคำถามที่คนไทยต้องตัดสินใจโดยผ่านกระบวนการทางการเมืองที่ครอบคลุมอันเอื้อต่อการอภิปรายที่เปิดกว้างและตรงไปตรงมาเกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองของประเทศ หากผมได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการให้ดำรงตำแหน่งผมจะดำเนินงานสานต่อในการสนับสนุนปณิธานด้านประชาธิปไตยของประชาชนชาวไทย”

นายเดวีส์ระบุว่านับตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหารสหรัฐฯเน้นย้ำผ่านทั้งเวทีสาธารณะและการเจรจาส่วนตัวถึงข้อกังวล “ เกี่ยวกับการที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยได้หยุดชะงักลง” รวมถึงการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบของพลเมือง

ด้านความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพสหรัฐฯและกองทัพไทยนั้นนายเดวี่ส์ชี้สหรัฐฯยังคงยึดมั่นในการรักษาพันธมิตรด้านความมั่นคง “ด้วยตระหนักถึงผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์ในระยะยาวของเรา” และประวัติศาสตร์การต่อสู้ร่วมกันของสองประเทศไม่ว่าจะในสงครามเวียดนามและสงครามเกาหลี ทั้งการฝึกซ้อม กิจกรรมความร่วมมือต่างๆ อาทิ การฝึกคอบร้าโกลด์ ที่ถือเป็นการฝึกซ้อมทางทหารระดับพหุภาคีที่ใหญ่ที่ในสุดในเอเชีย

อดีตผู้แทนพิเศษด้านนโยบายเกาหลีเหนือแถลงถึงความสัมพันธ์หลากหลายด้านของสองประเทศไม่ว่าจะเป็นการค้า,วัฒนธรรม,กิจการมนุษยธรรม,และความร่วมมือผ่านองค์กรพหุภาคีต่างๆ ในภูมิภาค


ก่อนทิ้งท้ายว่า “เราก็หวังจะเห็นไทยหวนคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยเพื่อความพยายามร่วมกันระหว่างประเทศเราทั้งสองจะดำเนินก้าวหน้าได้อย่างเต็มวิสัย สหรัฐฯ เชื่อว่าราชอาณาจักรไทยจะสามารถสร้างความปรองดองสถาปนาประชาธิปไตย และเติมเต็มโชคชะตาบนหน้าประวัติศาสตร์ในฐานะชาติที่ยิ่งใหญ่และเสรี”

โดยหลังจากสิ้นสุดการแถลงดังกล่าวแล้วคณะกรรมาธิการฯจำเป็นต้องกำหนดวันลงมติรับรองตำแหน่งก่อนส่งเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาซึ่งยังไม่ทราบกำหนดเวลาแน่ชัด

ที่มา: สถานทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น: