PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

24 มิถุนายน ประวัติศาสตร์การยึดอำนาจ สู่การล่มสลายของคณาธิปไตยในนามคณะราษฏร

24 มิถุนายน ประวัติศาสตร์การยึดอำนาจ สู่การล่มสลายของคณาธิปไตยในนามคณะราษฏร

11412331_1438553199787033_128136249141476081_n
24 มิถุนายน ประวัติศาสตร์ การ “ปฏิวัติ” , “การยึดอำนาจ” และ “การเปลี่ยนแปลงการปกครอง” สู่การล่มสลายของ คณาธิปไตย ในนาม”คณะราษฏร”

ขอบคุณ เฟสบุ๊ค เพจ ปราชญ์ สามสี

จากที่ทราบกันดีว่า 24 มิถุนายน นั้น เคยเป็นวันที่ คณะราษฎรประกาศ เปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปไปสู่ระบอบที่อ้างว่าเป็น “ระบอบประชาธิปไตย” ในการปฏิบัติการ มีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าคณะราษฎร
แต่จะมีใครทราบใหมว่า การเคลื่อนไหวทั้งหมดนั้น ล้วนเกิดจากการกระทำของกลุ่มบุคคลที่มีอาวุธเพียงกลุ่มเดียวที่ลุกขึ้นทำสงครามกับ เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน …. ยังจำได้ไหมว่า ก่อนที่ คณะราชฏร ได้ประกาศยึดอำนาจ นั้น ยังได้เคยวางแผนใช้ทหารยึดพระที่นั่งอัมพรสถานซึ่งเป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 7 ในเวลากลางคืน และขอถวายความอารักขาแก่ในหลวงในฐานองค์ประกัน แล้วบังคับให้ลงพระปรมาภิไธยพระราชทานรัฐธรรมนูญ
แต่โชคยังดีที่แผนนี้มีผู้ไม่เห็นด้วย เพราะระหว่างที่บุกเข้าไปอาจเกิดการปะทะกันกับทหารมหาดเล็กจนถึงขึ้นนองเลือด จนสุดท้าย คณะราษฏร ได้ ใช้วิธีก่อการ ด้วยการกระจายใบปลิว ในย่ำรุ่งวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่ง เป็นใบปลิวโจมตีสถาบันฯอย่างรุนแรง และข่มขู่ประชาชนด้วยการเผยแพร่ข้อมูลไว้บนใบปลิว ว่า ได้จับพระบรมศานุวงศ์ ไว้เป็นองค์ประกัน ซึ่งในเวลานั้น ประชาชน ทั้งหมดเลื่อมใสในสถาบันฯเป็นอย่างมาก แต่เพราะในใบปลิวเหล่านั้นกำชับหนักว่ามิให้ผู้ใดขยับขับเคลื่อนมิเช่นนั้นจะทำให้ พระบรมศานุวงศ์ ไม่ได้รับความปลอดภัย… จึงทำให้ไม่มี ราษฏรคนใดกล้าขัดขืน คณะราษฏรเลย

10561714_1438552079787145_850507058789638270_n

ทั้งนี้บทบาทของพระยาทรงสุรเดช(หนึ่งในคณะราษฏรผู้ก่อการ)ในวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น คือ “การปล่อยข่าวลวงและล่อหลอก “เพื่อชักนำให้ทหารแต่ละกรมกองมาชุมนุมร่วมกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อให้เข้าร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อย่างไม่ขัดขืน ซึ่งโดยส่วนใหญ่มิเข้าใจว่า การกระทำดังกล่าวนั้นคือ การ โค่นอำนาจสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งการกระทำทั้งหมดเป็นการ สร้างสถานการณ์ซึ่งข่มเหง และ บีบคั้น รัชกาลที่ 7ด้วยความเท็จเป็นอย่างมาก
เพราะแท้จริงแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหา กษัตริย์ที่ทรงเลื่อมใสการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พระองค์ทรงพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ยังมิได้ทรงทำการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ด้วยทรงคำนึงว่ายังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสม แต่เมื่อคณะราษฎรได้ทำการ”เปลี่ยนแปลงการปกครอง” อย่างบีบคั้นเร่งรีบ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มิได้ทรงขัดเคืองพระราชหฤทัย และทรง ลงพระปรมาภิไธยในธรรมนูญการปกครองประเทศ โดยทรงเพิ่มคำว่า “ชั่วคราว” ต่อท้ายธรรมนูญการปกครองประเทศ ซึ่งปรีดี พนมยงค์เป็นผู้ร่างในเวลานั้น
โดย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า รัชกาลที่ 7 มีพระราชดำรัสว่า
“ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่ เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร”

10246346_1438556483120038_8269755412889979302_n
ซึ่งเป็นการเตือนสติ กลุ่มคณะทหารที่ชื่อ”คณะราษฏร”ในเวลานั้นให้มองเห็นถึงเสียงสวรรค์ของประชาชนจริงๆมากกว่า กลุ่ม”คณะราษฏร”ด้วยกันเอง
แต่แล้วต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 ได้เกิดสงครามกลางเมืองที่เรียกกันว่า กบฏบวรเดช ขึ้น โดยพระองค์เจ้าบวรเดชกับพระยาศรีสิทธิสงคราม รวมกำลังทหารหัวเมืองมุ่งเข้าตีกรุงเทพมหานคร ตามคำแถลงการณ์ที่จะเข้ามาช่วยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทรงหลุดพ้นจากอำนาจของคณะราษฎร เหตุการณ์ในครั้งนี้มีการปราบปรามด้วยอาวุธ ทำให้เกิดการสู้รบระหว่างคนไทยด้วยกันเอง และมีผู้เสียชีวิตด้วยกันทั้งสองฝ่าย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นที่สะเทือนพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างมาก จึงทรงตัดสินพระราช หฤทัยเสด็จไปประทับที่ประเทศอังกฤษ ด้วยเหตุผลเพื่อไปรักษาพระเนตรเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 และในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477 พระองค์จึงได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ และเสด็จไปยังต่างประเทศ
และแล้วประเทศสยามเวลานั้นก็ได้กลายเป็นประเทศไทยตามแนวทางการบริหารของ คณะราษฏรอย่างเต็มรูปแบบ
ทั้งนี้ในขณะที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ และมิได้ทรงสมมติเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเป็นรัชทายาท ดังนั้น คณะรัฐมนตรี(คณะราษฏร)ในเวลานั้นกำลังประสบปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองกับหลายฝ่ายในคณะราษฏรซึ่งกำลังสั่นคลอนความมั่นคงของคณะราษฏและเกรงว่าอาจจะทำให้ประชาชนไม่พอใจในคณะราษฏร (อันเป็นผู้ปกครองสูงสุดเบ็ดเสร็จหรือเรียกว่าคณาธิปไตยในเวลานั้น)จึงได้อัญเชิญเสด็จพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันมหิดล ขณะที่มีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา ซึ่งเป็นเจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์พระองค์ที่ 1 ในลำดับพระราชสันตติวงศ์แห่งกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ขึ้นทรงราชย์สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไป โดยได้รับการเฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 8 แห่งราชจักรีวงศ์ เพื่อให้พระองค์ทรงเป็นมิ่งขวัญและศูนย์รวมใจของประชาชนไทยสืบไป โดยที่พระองค์ทรงประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ดังนั้นจึงมีการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ต่อมา ปรีดี ที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงครอบงำให้สภาผู้แทนราษฎร ให้มีมติแต่งตั้งเขาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ” แต่เพียงผู้เดียว” และแต่งตั้งให้เป็นต่อไปอีกเรื่อยๆ แบบไร้เวลาสิ้นสุด จึงเป็น ครองอำนาจเบ็ดเสร็จ เหนือ ราชบัลลังค์ แต่เหตุที่ปรีดี ยังไม่กล้าออกกฎหมายยกเลิกการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชจนหมดสิ้น เสียเลยทันที ตั้งแต่ ปฏิวัติ 2475 นั้น ก็เพราะเกรงความไม่พอใจของปวงชนจำนวนมากซึ่งยังจงรักภักดีต่อสถาบันฯนั่นเอง
ช่วงขณะนั้น ปรีดี และคณะราษฎร จึงกลายเป็นผู้มากบารมีเบ็ดเสร็จในประเทศไทย คุมอำนาจบริหาร นิติบัญญัติทุกส่วน สภาออกกฎหมายอะไรก็ได้ เพราะปรีดี ก็เป็นผู้สำเร็จราชการลงนามประกาศใช้ได้ทันที เรียกว่าชงเอง กินเอง เบ็ดเสร็จ ประเทศไทยขณะนั้น คือ ระบอบเผด็จการคณาธิปไตย เพราะไม่มีการถ่วงดุลอำนาจใดๆ เลย
ในปี พ.ศ. 2479 รัฐบาลได้ทูลอัญเชิญรัชกาลที่ 8 เสด็จนิวัติพระนคร แต่ในระหว่างเตรียมการเสด็จนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่หลายครั้ง คณะรัฐบาลใหม่จึงขอเลื่อนการรับเสด็จออกไปอย่างไม่มีกำหนด
พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 รัชกาลที่ 8 จึงได้เสด็จกลับประเทศไทย โดยเรือเมโอเนีย ซึ่งมาจากเมืองมาเชลล์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นับเป็นการเสด็จนิวัติพระนคร ครั้งแรก ทรงใช้เวลาอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลาประมาณ 2 เดือน จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
….ใน ช่วงปีพ.ศ. 2487 ประเทศไทยเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองและยุติเมื่อ พ.ศ. 2488 และประเทศไทยรอดพ้นจากการพ่ายแพ้สงคราม
จากบทความ “ไขปริศนา ขั้นตอนปรีดีวางแผน ก่อนรัชกาลที่ 8 สวรรคต ” ได้ระบุไว้ว่า วันที่ 15 ตุลาคม 2488 ม.ร.ว.เสนีย์ นายกรัฐมนตรี ยุบสภาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ และยังรักษาการนายกฯ เดือนนี้ ปรีดี วางแผนจัดให้หนอนร้าย คือ นายเฉลียว คนสนิทชิดชอบของนายปรีดี เป็นคณะราษฎรคนหนึ่ง “ ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ” ให้ไปดำรงตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์ เพื่อเข้าไปสอดแนม และครอบงำราชการในวัง และนี่คือ”ลางร้ายในเวลาต่อมา”ร.อ.วัชรชัย ซึ่งออกจากราชการไปแล้ว ปรีดี ให้เข้ามารับราชการเป็นราชองครักษ์ , ทั้งสองนี้เป็นผู้ที่ฝักใฝ่ใกล้ชิดสนิทสนมกับนายปรีดีเป็นอย่างมาก นายเฉลียว จึงจัดให้ นายชิต และ นายบุศย์ เป็นมหาดเล็กรับใช้ “ประจำห้องพระบรรทม” ทั้งหมดอยู่ภายใต้อำนาจของนายเฉลียว
วันที่ 5 ธันวาคม 2488 เป็นเวลานานถึง 10 ปีหลังการรัชกาลที่ 7 เสด็จออกจากประเทศไทย วันนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และพระราชอนุชา เสด็จนิวัติพระนครเป็นครั้งที่สอง มีพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว(20 พรรษา) ทำให้พระองค์สามารถเป็นพระประมุขแผ่นดิน โดยไม่ต้องมีผู้สำเร็จราชการอีกต่อไป (นับเป็นการเสด็จกลับมาที่ประเทศไทย ครั้งที่สอง)
“รัชกาลที่ 8 แม้พระชนม์มายุเพียง 20 พรรษา แต่กลับทรงเฉลียวฉลาดมาก พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย ที่จะทรงทราบ และศึกษา โปรดเกล้าฯ ให้เชิญนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ปลัดกระทรวง และอธิบดีผลัดเปลี่ยนกันเข้าเฝ้า เพื่อเป็นโอกาสที่จะทรงซักถามกิจการในหน้าที่และแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างความหวาดระแวงให้กับปรีดี และพรรคพวกอย่างมาก”
จากบทความ “ไขปริศนา ขั้นตอนปรีดีวางแผน ก่อนรัชกาลที่ 8 สวรรคต ” ยังระบุด้่วยว่า
(”ปรีดี จึงได้ชิงจังหวะชุลมุนเพิ่งเลิกสงครามโลก บีบบังคับกราบบังคมทูล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 ให้ยกย่องเขาไว้ในฐานะ “รัฐบุรุษอาวุโส” จุดนี้ คือ จุดเริ่มต้นของการคิดการใหญ่ เพราะนั่นหมายถึงปรีดี จะสามารถก้าวยกระดับต่อไปเป็น ” ประธานาธิบดี” ของประเทศไทย ในอีกขั้นระยะถัดไป ถ้าประเทศไทยไม่มีสถาบันเบื้องสูง
วันที่ 23 ธันวาคม 2488 รัชกาลที่ 8 เสด็จประพาสจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วยนายปรีดี , พลโท พระศรา สมุหราชองค์รักษ์ “ นายเฉลียว นายชิต” ทอดพระเนตรการแสดงอาวุธ ของคณะพลพรรคเสรีไทย ทรงโปรดการหัดยิงปืนชนิดใหม่ ๆ ที่มีผู้น้อมเกล้าถวาย )
ในภายหลัง จากการเสด็จกลับมาที่ประเทศไทย ครั้งที่สองนี้ รัชกาลที่ 8 ทรงพระปรีชาสามารถและเป็นความหวังของชาติมาก แต่ปรีดีก็มิได้ให้เกียรติ พระองค์มากนัก ในช่วง มกราคม 2489 มีการช่วงชิงการนำทรัพยสินของวัง พระราชพาหนะ( รถแนซ พระที่นั่ง) ไปจากโรงเก็บรถ ในพระบรมมหาราชวังในเวลากลางคืน มาใช้นั่งเป็นการส่วนตัวในถานะ ผู้สำเร็จราชการแทน ทั้งๆ มีเวรยามเฝ้ารักษา เพื่อแสดงอำนาจเหยียดหยามพระองค์ที่ทรงสนพระทัยในรถคันนี้ พระองค์ข้องพระราชหฤทัยมาก ทรงพระราชอุตสาหะไปทรงตรวจสถานที่ในคืนวันหนึ่งว่า เก็บอย่างไร และยามอยู่ตรงไหน
ความขัดแย้งภายในระหว่างรัชกาลที่8 และ ปรีดี ยังคงเกิดขึ้น
และแล้วเหตุการณ์เสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ก็เกิดขึ้น ในปี 2489 ซึ่งเป็นปีเดียวกัน ที่ ม.ร.ว เสนีย์ ร่วมกับนายควง อภัยวงศ์ ดำเนินการจัดตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งนี้จากการ สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นายปรีดีและคณะรัฐมนตรีได้ขอความเห็นชอบต่อสภาว่า ผู้ที่จะขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ควรได้แก่ สมเด็จพระอนุชา เมื่อสภามีมติเห็นชอบแล้ว นายปรีดีก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยเหตุผลว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงแต่งตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นได้สวรรคตเสียแล้ว (ซึ่งช่วงนี้มีข่าวลือหนาหูว่า “นายปรีดีฆ่าในหลวง”)
8 พฤศจิกายน ปี 2489 – พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และ น.อ.กาจ กาจสงคราม นำกำลังทหารยึดอำนาจจากปกครองจากรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี รับช่วงต่อจากนายปรีดี) โดยอ้างว่าไม่สามารถสะสางกรณีสวรรคตได้ และได้ทำการฉีกรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2489 ทิ้ง จากเหตุการณ์รัฐประหารนี้ ทำให้นายปรีดี และพล.ร.ต.ถวัลย์ ต้องหลบหนีออกนอกประเทศไปยังสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้นรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้ความสนับสนุนฝ่ายรัฐประหาร นายปรีดีจึงเดินทางไปจีนแทน
พ.ศ. 2491 ภายหลังพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นเป็นรัฐบาล คณะทหารในกลุ่ม 4 คน นำโดย น.อ.กาจ กาจสงคราม ได้บีบบังคับให้นายควงลาออกและ แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม (อดีต คณะราษฏร) เป็นนายกรัฐมนตรีแทน และผลของการรัฐประหารครั้งนี้เป็นการขจัดกลุ่มอำนาจเก่าของ นายปรีดี พนมยงค์ ส่งผลให้นายปรีดี ต้องขอลี้ภัยการเมืองที่ต่างประเทศตราบจนเสียชีวิต ปิดฉาก “คณะราษฏร”
และ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 – นายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนี และ นายบุศย์ ปัทมศริน ถูกประหารชีวิต จากข้อกล่าวหาว่ามีส่วนลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8
และในปี พ.ศ. 2500 คณะทหารที่นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม (อดีต คณะราษฏร) ด้วยข้อกล่าวหาสำคัญคือ ฝ่ายรัฐบาลจัดการเลือกตั้งสกปรกจึงหมดความชอบธรรม
และ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 – จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ลงนามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง “ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย” ยกเลิกวันชาติ 24 มิถุนายน แล้วกำหนดให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย
เป็นอัน หมดสิ้น 24 มิถุนายน …
****************************************
สำหรับ กลุ่มคนผู้ที่สดับรับฟังข่าวที่ผิดเพี้ยนไปว่ากลุ่ม คณะราษฏร์นั้นคือผู้ที่เปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยการปฏิวัติรัฐประหารและออกจดหมายเวียนเทียนข่มขู่ว่าได้จับ ร.7 ไว้เป็นตัวประกันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ โดยกล่าวอ้างว่า นั้นคือ “ประชาธิปไตย” การกระทำนั้นมีอยู่ขึ้นจริงแต่มิใช่ความจริงโดยทั้งหมด
เพราะ แท้จริงแล้ว การกระทำคณะราษฏร์นั้นเป็นเพียงการกระทำของขุนนางและทหารบางฝ่ายซึ่งต้องการอำนาจ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 ในเวลานั้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการปล้นพระราอำนาจด้วยกระบอกปืนและรถถัง
ในหลวง ร.7 ทรงคาดหวังว่าจะมอบอำนาจประเทศให้ประชาชนทุกคน จึงได้จัดตั้ง การกระจายอำนาจแบบเทศบาล -สุขาภิบาล และ ธรรมนูญลักษณะการปกครองโดยคณะนคราภิบาล( อันมีพรรค ผ้าแถบแดง และ ผ้าแถบน้ำเงิน เป็นฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล) . เพื่อรองรับ รัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้น … เรามาร่วมกัน ฟังพระสุรเสียงรัชกาลที่ ๗ ที่ประกาศที่สหรัฐว่าจะมอบอำนาจและเสรีภาพให้กับปวงชนชาวไทย อันเป็นต้นกำเนิดรัฐธรรมนูญไทยฉบับแรกนั้นเอง
https://www.facebook.com/1403156603326693/videos/vb.1403156603326693/1438581603117526/?type=2&theater
ชัยชนะและความล้มเหลว ของ “คณะราษฏร” จนกระทั้่งก่อนการกลับมาของ ระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ(ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข) เช่น รัชกาลที่ 8 เป็นประวัติศาสตร์ทำดำมืดและไม่ยอมถูกพูดถึงในฝ่ายการเมือง และไม่เคยถูก บรรจุอยู่ในแบบเรียนประวัติศาสตร์ รั้งแต่พยายามปิดบังเก็บเงียบ หรือบิดเบือนไปในทิศทางอื่น แต่กลับพูดถึงเพียงเฉพาะด้านดีของ คณะราษฏร แต่เพียงอย่างเดียว ตามแนวทฤษฏี ที่ว่า … “ทำลายอดีต บิดเบือนปัจจุบัน ชักนำอนาคต”เพราะ ฉะนั้นแล้วมันถึงเวลาแล้วที่ จะมาร่วมกันกระจายข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เพื่อจุดเทียนแห่งปัญญาแก่ ราษฎรของราชอาณาจักรไทยทุกคน

ไม่มีความคิดเห็น: