PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

สถานการณ์ข่าว19ก.ย.57


นายกรัฐมนตรี เตรียมเข้าทำเนียบรัฐบาล ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ครั้งที่ 2 แก้ไขปัญหาทั้งระบบ

บรรยากาศที่ทำเนียบรัฐบาล เช้านี้ การรักษาความปลอดภัย เป็นไปอย่างเข้มงวด มีทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ-ทหาร คอยดูแลอำนวยความสะดวกให้รถที่เข้าออก โดยภารกิจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เช้านี้ เวลา 09.00 น. เตรียมเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ หรือ กนย. ครั้งที่ 2/2557 ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทั้งนี้ การประชุมครั้งแรกเกิดขึ้นช่วงที่ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ เป็นรองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. ในฐานะประธาน กนย. มีผู้แทนจากส่วนราชการต่างๆ และภาคเอกชนเข้าร่วม พร้อมกับหารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ อีกทั้ง เห็นชอบในหลักการ แนวทางการพัฒนายางพาราทั้งระบบ
ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอ รวมถึงการบริหารจัดการคลังยางของรัฐบาลจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อกลไกการตลาดในปัจจุบัน
------
นายกฯ เข้าทำเนียบแล้ว เตรียมเป็นประธาน คกก.นโยบายยางธรรมชาติ ขณะ ก.เกษตรฯ ชง 4 ทาง แก้ปัญหาทั้งระบบ


บรรยากาศที่ทำเนียบรัฐบาล ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เดินทางเข้าปฏิบัติหน้าที่แล้ว เตรียมเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ หรือ กนย. ครั้งที่ 2/2557 ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ถือเป็นการประชุมในฐานะประธานบอร์ด ครั้งแรก

สำหรับในการหารือ วันนี้ นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะนำข้อเสนอของกระทรวงเกษตรฯ หารือกับภาคเอกชนและภาคเกษตรกร ใน 4 แนวทาง คือ 1.เร่งรัดการใช้ยางภายในประเทศให้มากขึ้น 2.ผลักดันและเร่งรัดโครงการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 3.สร้างตลาดการซื้อขายยางธรรมชาติ และ 4.ร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อกำหนดแนวทางจัดการเก็บสต๊อกยางร่วมกัน ทั้งนี้ 4 แนวทางได้มีการศึกษามาแล้ว หากที่ประชุมเห็นชอบและอนุมัติ ก็จะเริ่มทำทันที
--------------
"พล.อ.ประวิตร" นำประชุมมั่นคง มท.1 - รมว.ทส. ร่วม เน้นดูแลความปลอดภัยประชาชน ย้ำ ประเมินงานทุก 3 ด.


พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายด้านความมั่นคงแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยก่อนเข้าประชุม พลเอกประวิตร ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ในการประชุมวันนี้จะเป็นการทำความเข้าใจแนวทางการทำงาน รวมถึงการจัดทำโรดแมป เพื่อวางแนวทางการป้องกัน ให้เกิดความปลอดภัยกับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้มากที่สุด และจะต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานทุก 3 เดือน

โดยการประชุมในวันนี้ ได้มี พลเอกอุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุมด้วย
---------
"พล.อ.ประยุทธ์" เห็นชอบ 4 แนวทางแก้ปัญหายางพารา ช่วย 2,520 บ./ไร่ ยัน คุยม็อบไม่ชุมนุม 8 ต.ค. แล้ว


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ หรือ กนย. ครั้งที่ 2/2557 ว่า ที่ประชุมเห็นชอบ 4 แนวทาง แก้ไขปัญายางพาราทั้งระบบโดยสั่งให้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งมีการเตรียมแผนแก้ไขปัญหาระยะกลางและระยะยาวไว้แล้ว

โดยการแก้ปัญหายางพารา 2-3 ปี กว่าจะแก้ไขได้ทั้งหมด ขณะที่ได้มีการอนุมัติเร่งด่วนเพื่อแก้ไขราคายางพาราให้เกษตรกร จำนวนไร่ละ 2,520 บาท พร้อมยืนยันว่าเกษตรกรชาวสวนยางจะไม่มีการออกมาชุมนุมเรียกร้องในวันที่ 8 ตุลาคม เนื่องจากได้มีการพูดคุยกันแล้ว

อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ในเบื้องต้นได้สั่งให้ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้ดาวเทียมสำรวจพื้นที่เพาะปลูกยางพารา เนื่องจากที่ผ่านมาข้อมูลแต่ละกระทรวงยังไม่สอดคล้องกัน พร้อมทั้งมอบหมายรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ไปพูดคุยกับผู้ประกอบการและผู้ผลิตในสัปดาห์หน้า ก่อนเตรียมส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยางพาราเพื่อให้บีโอไอมาร่วมลงทุน
---------
รองนายกฯ ฝ่าย ศก. เผย วันนี้หารือให้สินเชื่อรับซื้อยาง 5,000 ล้าน พร้อมหาออเดอร์พิเศษด้วยตนเอง คาด สัปดาห์หน้าถก กขช.

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ กล่าวถึงกรณีที่มีการอนุมัติเงินช่วยเหลือปัจจัยการผลิตเกษตรกรชาวสวนยางพารา จำนวน 2,520 บาทต่อไร่ ว่า ไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยเป็นการอนุมัติต่อจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ที่ยังคงค้างอยู่ จำนวนประมาณ 3,000 ล้านบาท ส่วนแนวทางการช่วยเหลือปัจจุบันจะเดินตามแผนที่ได้หารือกันในวันนี้ คือ การให้สินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร จำนวน 5,000 ล้านบาท ไปรับซื้อยาง ซึ่งตอนนี้ทุกคนมีความพอใจ เนื่องจากราคายางพาราได้ถึงจุดต่ำสุดไปแล้ว โดยจากนี้จะมีการขอสินเชื่อไปรับซื้อยางอย่างแน่นอน ทำให้ราคายางในประเทศจะเริ่มเพิ่มขึ้น ส่วนในต่างประเทศ นั้น ส่วนตัวจะพยายามหาออเดอร์พิเศษมารับซื้อ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการค้าปกติ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถหาออเดอร์พิเศษได้ ทั้งนี้จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการมาติดตามความคืบหน้า การดำเนินมาตราการต่าง ๆ ในหนึ่งเดือน

ขณะเดียวกัน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ระบุว่า สำหรับยางในสต๊อกของรัฐบาล จำนวน 2.1 แสนตัน นั้นไม่น่ากังวลเพราะยังถือว่าเป็นจำนวนไม่มาก ซึ่งหากได้ราคาดีจะนำไปขาย แต่หากราคายังไม่ดีก็จะเก็บไว้ นอกจากนี้รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ คาดว่า ในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมคณะกรรมนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ด้วย
---------
นายกฯ ยัน ไม่ได้จับกุมอาจารย์ มธ. เพียงเชิญมาพูดคุยก่อนปล่อยตัว ของดจัดกิจกรรมการเมือง ตามกฎอัยการศึก


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวยืนยันว่า ไม่ได้จับกุมอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่จัดห้องเรียนประชาธิปไตย เมื่อวานที่ผ่านมา แต่เป็นเพียงการเชิญมาพูดคุยเท่านั้นก่อนปล่อยตัวออกไป พร้อมระบุว่า ที่ผ่านมายังไม่เคยยกเลิกคำสั่งห้ามจัดกิจกรรมชุมนุมทางการเมือง ตามประกาศกฎอัยการศึก ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ รู้ดีว่า ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ช่วงที่ผ่านมา ก็เปิดช่องให้สื่อมวลชนได้พูดเรื่องการเมืองบ้างแล้ว ส่วนการจัดกิจกรรมทางการเมือง ขอให้มีการงดเว้นไม่ให้มีการจัดกิจกรรมใดๆ ออกไปก่อน เนื่องจากอยากเห็นบ้านเมืองอยู่ในความสงบเรียบร้อย
------------
"พล.อ.ประวิตร" ย้ำ ความมั่นคงเป็นเรื่องของทุกภาคส่วน ยึดโรดแมป คสช. - รบ. ขอปกป้องสถาบัน สร้างเชื่อมั่นคนในชาติ

พ.อ.คงชีพ ตันตระวานิชย์ รองเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม แถลงผลการประชุมมอบนโยบายด้านความมั่นคงที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานว่า

พล.อ.ประวิตร ได้เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องน้อมนำพระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเน้นย้ำว่า เรื่องความมั่นคงเป็นเรื่องของทุกภาคส่วน ไม่ใช่เป็นเพียงภาระหน้าที่ของทหารและตำรวจเท่านั้น และขอให้ทุกหน่วยงานทำงานอย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ โดยให้ยึดโรดแมปของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลเป็นหลัก ซึ่งนโยบายสำคัญคือการ
ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยตลอดไป พร้อมกับการสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในชาติ สร้างสภาวะแวดล้อมที่ปลอดภัย
----------
รมว.กห. กำชับป้องกันปราบปรามอาชญากรรม สั่งติด CCTV - ไฟส่องสว่าง ทั่ว กทม. ใน 2 ด. พร้อมตั้งศูนย์แก้ปัญหามั่นคง 

พ.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ รองเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม แถลงผลการประชุมมอบนโยบายด้านความมั่นคง ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานว่าในเรื่องของการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมนั้น ได้กำชับให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติทำงานให้แข่งขันขึ้น พร้อมสั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร การไฟฟ้านครหลวง เร่งติดตั้งกล้องวงจรปิด หรือ cctv รวมทั้งไฟส่องสว่างให้ครอบคลุม 283 จุดทั่วกรุงเทพ
ภายใน 2 เดือนนี้ โดยจะมีการเชื่อมระบบกับกองบัญชาการตำรวจนครบาลด้วย

นอกจากนี้ จะมีการตั้งศูนย์แก้ปัญหาความมั่นคงแบบบูรณาการที่กระทรวงกลาโหม ซึ่งจะทำงานแบบ one stop service โดยมีผู้แทนจาก 4 กระทรวง และ 1 กรม มาประจำการตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ คาดว่าจะเริ่มทำงานได้ในสัปดาห์หน้า
----------
นายกฯ ระบุ โครงสร้างกระทรวงดิจิตอลต้องมีเอกภาพ ขณะ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร คาด 2 ด. ร่าง กม.เศรษฐกิจดิจิตอล


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงโครงสร้างกระทรวงดิจิตอล ที่จะมีการรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยี ดิจิตอลไว้ด้วยกัน ว่า ขอให้รอรายละเอียดจาก ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ที่เป็นหัวหน้าคณะทำงาน โดยโครงสร้างของหน่วยงานจะต้องทำให้มีเอกภาพ การบริหารงานให้เกิดความเป็นธรรม รัฐบาลได้ประโยชน์ บริการประชาชนเป็นอันดับหนึ่ง อย่ามองเรื่องของธุรกิจเพียงอย่างเดียว ซึ่งเมื่อปรับโครงสร้างเสร็จแล้วจะนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป

ขณะที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เปิดเผยถึงการจัดตั้งกระทรวงเศรษฐกิจดิจิตอล ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนร่างกฎหมายรองรับ โดยคาดว่าจะใช้เวลา 2 เดือน ซึ่งรายละเอียดจะต้องรอให้มีความชัดเจนก่อน อีกทั้งหน่วยงานที่จะร่วมสังกัดจะเป็นองค์กรอิสระและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านดิจิตอล ส่วนรูปแบบจะเป็นการประสานนโยบายให้เป็นสอดคล้องกัน
---------
เลขาฯ สศก. ระบุ รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาราคายางพาราทั้งระบบ พร้อมพัฒนาอุตสาหกรรมยางไทย


นายอนันต์ ลิลา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร หรือ สศก. กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ หรือ กนย. วันนี้ เพื่อแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ โดยมีการเสนอมาตรการต่าง ๆ ช่วยเหลือเกษตรกร นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังมีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการยางพารา เพื่อดูแลปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา โดยมีคณะอนุกรรมการเข้ามาดูแลด้วย ซึ่งถือว่าเป็นกลไกในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนายางพาราทั้งระบบ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงเกษตรฯ เกษตกร และผู้ประกอบการ เพื่อแก้ปัญหาอย่างจริงจัง โดยเบื้องต้นได้มอบให้ทูตพาณิชย์ เร่งพูดคุยหาตลาดใหม่

ด้าน นายสิทธิพร จริยพงศ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ ต้องมีการพัฒนาอุตสาหกรรมยางไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพยางพารา
-----------

////////////

โฆษกวิป สนช. เผย วันนี้ไม่มีประชุม ขณะผ่านร่าง กม. แล้ว 12 ฉบับ หารือร่างข้อบังคับ สัปดาห์หน้า รวมปมถอดถอน

น.พ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการสามัญกิจการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ชั่วคราว) หรือ วิป สนช. เปิดเผย สำนักข่าว INN ว่า ในวันนี้ไม่มีการประชุม สนช. เนื่องจากได้มีการประชุมไปเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2557 และมีมติผ่านร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 ในวาระ 2 และ 3 แล้ว ขณะที่วานนี้ มีการพิจารณาในวาระรับหลักการร่างกฎหมาย 7 ฉบับ ซึ่งขั้นต่อไปเป็นการตั้งกรรมาธิการเพื่อพิจารณาในวาระ 2 และวาระ 3 ต่อไป โดยกำหนดกรอบเวลา 30 วัน

ทั้งนี้ มีร่างกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาของ สนช. แล้วทั้งสิ้น 12 ฉบับ เหลือ 45 ฉบับ จากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นผู้ส่งมา และหลังจากนี้ กฎหมายต่าง ๆ ที่จะเข้า สนช. จะมีคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้ยื่น และทาง คสช. จะทำหน้าที่ดูแลด้านความมั่นคง ต่อไป

อย่างไรก็ตาม น.พ.เจตน์ กล่าวว่า การตั้งวิป สนช. ถาวร และการพิจารณาร่างข้อบังคับการประชุม สนช. รวมถึงประเด็นการถอดถอน จะมีการหารือในที่ประชุมสัปดาห์หน้า
-------
รัฐสภา วันนี้ ไร้วงประชุม สนช. รวมถึง กมธ.ชุดต่าง ๆ ขณะ ยังไม่พบบุคคลสำคัญ เข้าปฏิบัติหน้าที่

บรรยากาศที่รัฐสภา ในช่วงเช้าวันนี้ เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ข้าราชการและเจ้าหน้าที่เดินทางเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ ขณะที่การรักษาความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ตำรวจยืนประจำตามประตูคอยตรวจตราบุคคลและรถยนต์ที่ผ่านเข้าออกอย่างเข้มงวด โดยจะอนุญาตให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องผ่านเข้าออกเท่านั้น แต่จะต้องติดบัตรแสดงตนอย่าชัดเจน และเข้าเครื่องตรวจจับโลหะทุกครั้ง

อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ ไม่มีกำหนดการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการชุดต่าง ๆ รวมทั้ง ยังไม่มีบุคคลสำคัญคนใดเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ภายในรัฐสภา
----------
กมธ.ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง เลือก "กล้านรงค์" นั่ง ปธ.ไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าติดตามทำข่าว

คุณณิชา อภิรักขวะนานนท์ รายงาน

บรรยากาศที่รัฐสภาล่าสุด มีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดี
ปกครอง นัดแรก ภายหลังจากที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ครั้ง 10 มีมติเห็นชอบและรับหลักการของร่าง พ.ร.บ.
ฉบับดังกล่าว โดยที่ประชุมมีมติเลือก นายกล้านรงค์ จันทิก เป็นประธานคณะกรรมาธิการ และเลือก นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ เป็นรอง
ประธานกรรมาธิการคนที่ 1 นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เป็นรองประธานกรรมาธิการคนที่ 2 นางกาญจนารัตน์ สิวิโรจน์ เป็นเลขานุการฯ
นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เป็นโฆษกประจำคณะกรรมาธิการ และที่ประชุมเห็นชอบให้แต่งตั้ง นายธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์ และ นายอัครวิทย์
สุมาวงศ์ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ

อย่างไรก็ตาม การประชุมในครั้งนี้ไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าติดตามทำข่าว ให้เพียงบันทึกภาพก่อนเริ่มต้นการประชุมเท่านั้น


//////////////
3 มหาวิทยาลัยดัง ร่วมกองทัพเรือ จัดประชุมวิชาการประเพณี 4 สถาบัน “ความเป็นธรรมในสังคม : เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองทัพเรือ จะจัดงานประชุมวิชาการประเพณี 4 สถาบัน ครั้งที่ 17 เรื่อง “ความเป็นธรรมในสังคม : เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ณ หอประชุมศรีบูรพา โดยช่วงเช้า จะมีพิธีเปิดงานประชุมโดย ศ.นรนิติ เศรษฐบุตร นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมด้วย ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

จากนั้น เป็นการจัดปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ความเป็นธรรมทางสังคม : เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดย ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์และต่อด้วยการเสวนาวิชาการ เรื่อง “หลากมิติ หลายมุมมอง เรื่องความเป็นธรรมในสังคม” ส่วนช่วงบ่าย จะมีการแสดงมินิคอนเสิร์ต ของ 4 สถาบัน

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีประชาชน และหน่วยงานต่าง ๆ ทยอยเข้าร่วมงานอย่างคึกคัก
-----
"สมคิด" เปิดประชุมวิชาการประเพณี 4 สถาบัน หวัง รบ. ผลักดันกฎหมายภาษีที่ดินได้ใน 1 ปี ขณะสถานศึกษาช่วยเต็มที่


ศ.ดร.สมคิด เลิศไพทูรย์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเปิดการประชุมวิชาการประเพณี 4 สถาบัน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ มหิดล และกองทัพเรือ ครั้งที่ 17 ในหัวข้อ "ความเป็นธรรมในสังคม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" ว่า การจัดงานดังกล่าว หลายฝ่ายเห็นตรงกัน ไม่ว่าจะด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือ อื่นๆ ในเรื่องความเป็นธรรมในสังคม การที่รัฐบาลชั่วคราวจะนำเข้ากฎหมายภาษีที่ดิน เพื่อจัดสรรที่ดินให้เกิดความเป็นธรรม ซึ่งจะเป็นเรื่องดี หากผลักดันกฎหมายฉบับนี้ ได้ภายในระยะเวลา 1 ปี ตามที่ คสช. ประกาศไว้ ซึ่งความเป็นธรรมสร้างไม่ง่าย แต่สถานศึกษาทั้ง 4 สถาบัน จะช่วยกันหาทางออก ด้วยงานวิจัย หรือ การศึกษา อย่างน้อย 2-3 ตัวอย่าง และผลักดันให้ประเทศมีทางออก ถือเป็นความสำเร็จของการจัดงานดังกล่าว
33333333333
"นิธิ" เผย ถูกทหารเชิญตัวไปพูดคุยปรับความเข้าใจ ไม่มีการกำชับเรื่องใดเป็นพิเศษ ขอผู้บริหารควรพิจารณาให้ดี ก่อนอนุญาตจัดงาน

ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงษ์ นักวิชาการและอาจาร์ประจำคณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยถึงกรณีทหารและ ที่ตำรวจนำกำลังเข้ายุติการบรรยายปาฐกถาเรื่องการล่มสลายของเผด็จการในต่างประเทศ ที่อาคารบรรยายรวม 1 มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วานนี้ (18 ก.ย.) ว่า วานนี้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารได้เชิญตัวไปที่สถานีตำรวจคลองหลวงเพื่อปรับความเข้าใจด้วยด้วยวาจาที่สุภาพ โดยไม่ได้มีการกำชับสิ่งใดเป็นพิเศษ

นอกจากนี้ งานดังกล่าวเป็นงานเสวนาที่กลุ่มนักศึกษาได้จัดขึ้นโดยได้รับอนุญาตจากทางมหาวิทยาลัยให้สามารถจัดการเสวนาได้ จึงอยากขอให้ผู้บริหารแต่ละมหาวิทยาลัยร่วมหารือถึงแนวทางข้อกำหนดในการจัดงานเสวนาเนื่องจากการใช้วิจารณญาณในการพิจารณาเพียงอย่างเดียวอาจไม่ตรงกับข้อกำหนดของเจ้าหน้าที่ทหาร

เหตุการณ์ รัฐประหาร 19 กันยา

<<< เหตุการณ์ รัฐประหาร 19 กันยา >>>

ย้อนรอย 11 วัน หลังจากที่ "ทักษิณ"ก้าวย่างออกจากแผ่นดินสยาม ก่อนจะพบจุดจบเป็น "นายกฯ เร่ร่อน" และลำดับเหตุการณ์ การรัฐประหาร 19 กันยายน 25499 กันยายน 2549
ขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้เชื่อถือในเรื่องโชคลางอาจลืมไปว่า การเลือกเดินทางไปเยือนประเทศทากิจกีสถานในวันนี้ถือเอาฤกษ์กบฎ 9 กันยา เข้าพอดิบพอดี เพราะเมื่อ 21 ปีก่อนพล.ต.มนูญ รูปขจรและคณะนำรถถังออกมาโค่นรัฐบาลพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ แต่ล้มเหลว และในวันที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เริ่มโปรแกรมทัวร์ถอยหลังสู่ภาวะซัดเซพเนจรครั้งนี้ ยังเป็นวันที่คณะนักวิชาการไปยื่นหนังสือถึงพล.อ.เปรม ที่บ้านสี่เสาเพื่อประกาศเจตนารมณ์หยุดระบอบทักษิณ พร้อมชู"ป๋าเปรม"เป็นแบบอย่างของคนไทยอีกด้วย พ.ต.ท.ทักษิณ ไปขึ้นเครื่องที่บน.6 ท่ามกลางการอารักขาของหน่วยทหารพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์สงครามครบมือเพื่อยัง กลิ่นของคาร์บอมบ์และรัฐประหารยังไม่จาง

10 กันยายน 2549
กลิ่นปฏิวัติเริ่มโชยหนักขึ้น พ.ต.ท.ทักษิณซึ่งเดินทางไปถึงกรุงเฮลซิงกิประเทศฟินแลนด์ เพื่อเข้าร่วมประชุมอาเซ็มได้พูดกับนักข่าวว่า ไม่ได้เป็นผู้พูดเรื่องปฏิวัติด้วยตัวเอง ถือเป็นเรื่องของข่าวลือและการปล่อยข่าว แต่ที่เมือง ไทย พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน รองปลัดกระทรวงกลาโหมปฏิบัติการดับเครื่องชน รัฐบาลและพล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ฐานยุ่มย่ามโผย้ายทหาร โดยที่พล.อ.ธรรมรักษ์ประกาศจะเล่นงานตามกฎหมาย ขณะที่จ่ายักษ์ ตัวละครสำคัญคดีคาร์บอมบ์ระบุว่า มีนายพล 3 นายแห่งกองทัพบก เข้าร่วมขบวนการลอบสังหารนายกฯ

11 กันยายน 2549
เสร็จสิ้นการประชุมอาเซ็มที่ประเทศฟินแลนด์ พ.ต.ท.ทักษิณ เกิดเป็นไข้ขึ้นมากะทันหัน จึงพาคณะเดิน ทางไปพักผ่อนที่ประเทศอังกฤษ เพื่อเตรียมเข้าร่วมประชุมกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่ประเทศคิวบา พ.ต.ท.ทักษิณ พูดติดตลกกับนักข่าวว่า ที่ยังไม่กลับประเทศไทยนั้น "ไม่ใช่ เพราะขอลี้ภัย"

12 กันยายน 2549
อุณหภูมิการเมืองในเมืองไทยร้อนระอุขึ้นเป็นลำดับ ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณเสร็จภารกิจที่ฟินแลนด์ แล้วมาพำนักอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยกลุ่มอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวว่าจะนัดชุมนุมกันในวันที่ 14 กันยายน เพื่อกดดันให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยุติบทบาททางการเมือง ขณะที่ตัวแทน อาจารย์จุฬา และ เครือข่ายด้านสุขภาพเข้าพบ พล.อ.เปรม ที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ โดยที่หนังสือพิมพ์เริ่มเปิดประเด็น พ.ต.ท.ทักษิณพูดผ่านรายการสถานีสนามเป้าว่า อาจจะเว้นวรรคการเมือง

13 กันยายน 2549
พ.ต.ท.ทักษิณใช้เวลาระหว่างอยู่ที่อังกฤษ เขียนจดหมายจากต่างประเทศถึงสมาชิกพรรคไทยรักไทย และประชาชน ขณะที่เทปสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ เริ่มออกอากาศทางช่อง 5 เป็นตอนแรก ในวันเดียวกันนี้ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกให้สัมภาษณ์ว่า ทหารไม่คิดปฏิวัติ กระแสที่ออกมาเป็นการปล่อยข่าวเพื่อกันไม่ให้ทหารปฏิวัติมากกว่า

14 กันยายน 2549
เครือข่ายจุฬาเชิดชูคุณธรรมชุมนุมภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกดดันให้พ.ต.ท.ทักษิณยุติบทบาททางการเมือง พล.ท.พลางกูร กล้าหาญ โฆษกกองทัพบกแถลงยืนยันว่า ทหารไม่คิดปฏิวัติ ขณะที่นายสนธิ ลิ้มทองกุลประกาศว่าจะชุมนุมใหญ่ในวันที่ 22 กันยายนเพื่อกดดันไม่ให้พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศ

15 กันยายน 2549
พ.ต.ท.ทักษิณให้สัมภาษณ์นักข่าวระหว่างเดิทางไปประชุมกลุ่มนามที่ประเทศคิวบาว่า อาจจะเว้นวรรคทางการเมือง โดยอาจจะประกาศในวันรับสมัครเลือกตั้ง สอดคล้องกับเทปรายการที่ออกอากาศทางช่อง 5 ว่าด้วยเรื่องอาจเว้นวรรคพอดิบพอดี พ.ต.ท.ทักษิณ ยังพูดเลยไปด้วยว่า เขานั้นเปรียบเหมือนพล.อ.เปรม ที่เคยถูกประชาชนขับไล่เมื่อครั้งเป็นนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปี ทำให้ทหารคนสนิทพล.อ.เปรม และหลายฝ่ายไม่พอใจ ในวันเดียวกันนี้ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีมติชุมนุมยืดเยื้อตั้งแต่วันที่ 20 กันยายนเป็นต้นไปเพื่อกดดันไม่ให้พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศจะเรียกฝันร้ายในคิวบา ของ พ.ต.ท.ทักษิณก็คงไม่ผิดนัก

16 กันยายน 2549
เกิดเหตุระเบิดขึ้นในย่านการค้าและ ชุมชนอำเภอหาดใหญ่ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน บาดเจ็บอีกหลายสิบ
ไม่เพียงเท่านั้น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังคงยืนยันจัดชุมนุมยืดเยื้อถึงวันที่ 20 กันยายน ขณะที่อีกฝ่ายเริ่มมีการเกณฑ์ประชาชนในอีสานหลายหมื่นคนเพื่อจุดหมายให้ เผชิญหน้ากับกลุ่มพันธมิตรประชาชน

17 กันยายน 2549
สนธิ ลิ้มทองกุล แถลงยืนยันมติไม่ให้พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศไทย ขณะที่พ.ต.ท.ทักษิณเขียนจดหมายถึงประชาชนฉบับที่ 2 พ.ต.ท.ทักษิณบอกกับนักข่าวว่าได้สั่งการให้ ผบ.ทบ. และ ผบ.ตร.ให้ลงไปดูแลแก้ไขปัญหาภาคใต้แล้ว

18 กันยายน 2549
พ.ต.ท.ทักษิณแสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาภาคใต้ออกทางสีหน้า ระหว่างเดินทางจากคิวบามาแวะพักที่แคนคูน เม็กซิโก ก่อนจะต่อไปยังนิวยอร์ค และวาระสุดท้ายในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 สมัยที่ 2 ก็มาถึง

19 กันยายน 2549
08.00 น. มีคำสั่งจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี เรียกผู้นำทุกเหล่าทัพเข้าประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ไม่มีผู้นำเหล่าทัพคนใดเข้าร่วม พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. อ้างว่ากระชั้นชิดเกินไป ทำให้ต่อมามีกระแสข่าวลือการปฏิวัติรัฐประหาร แพร่สะพัดไปทั่วทำเนียบรัฐบาลและเริ่มกระจายสู่ภายนอก โดยเฉพาะตลาดหลักทรัพย์09.00 น. พ.ต.ท.ทักษิณร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยใช้ web camera จากห้องพักที่โรงแรม Grand Hyatt นิวยอร์กมายังห้องประชุมครม. พ.ต.ท.ทักษิณ อาจไม่ทันได้สังเกตว่า ผู้บัญชาการเหล่าทัพที่จะต้องมาร่วมประชุมครม.นัดพิเศษเพื่อรับทราบแนวทาง แก้ปัญหาภาคใต้พากันหายหน้าไปหมด ส่งเพียงตัวแทนเข้ามาร่วม กระทั่งค่ำ วันนั้นตามเวลาในไทยหรือตอนสายๆวันที่ 18 ที่นิวยอร์ค พ.ต.ท.ทักษิณ จึงเริ่มรู้ข่าวว่า ถูกคณะนายทหารก่อรัฐประหาร พ.ต.ท.ทักษิณ ออกแถลงการณ์ตัดหน้าประกาศคณะปฏิวัติ แต่ทุกอย่างก็สายไปหมดแล้ว และสายไปเสียทุกอย่าง แม้กระทั่งจะเดินทางจากนิวยอร์ค ไปพำนักที่อังกฤษ ก็ยังต้องใช้เวลานานนับวัน

12.00 น. หลังการประชุมครม. โดยผ่านระบบweb camera รัฐมนตรีหลายรายได้สอบถามผู้สื่อข่าวถึงข้อเท็จจริงเรื่องนี้อย่างตื่นเต้น

18.30 น. มีข่าวกำลังทหารหน่วยรบพิเศษจาก จ.ลพบุรี เคลื่อนกำลังเข้ากรุงเทพฯ มีข่าวว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ข่าวระบุว่า เป็นเรื่องการทำบุญหม่อมหลวงบัว 
มีข่าวลือสะพัด กำลังทหารเตรียมเคลื่อนกำลังพล โดยมีรายงานว่าหน่วยรบพิเศษจากลพบุรีราว 1 กองพันเคลื่อนกำลังด่วนเข้ากรุงแล้ว18.55 น. สำนักข่าวไทยรายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ประกาศเลื่อนเดินทางกลับประเทศไทยเร็วขึ้นจากวันที่ 22 กันยายน เป็น 05.00 น. วันที่ 21 กันยายนแทน
ช่วงค่ำ รัฐมนตรีหลายรายต่างโทรเช็คข่าว
19.00 น. ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ยืนยัน ไม่มีการเคลื่อนไหวกำลังพล

19.30 น. แม่ทัพภาค 3 ยืนยัน ไม่มีการเคลื่อนกำลัง ยังฝึกปกติ
20.00 น. 
ตำรวจ 191 เบิกอาวุธเอ็ม 16 ไปรอเตรียมพร้อมที่กองกำกับการ 2 (ป้องกันและปราบปรามจลาจล) ถ.วิภาวดีรังสิต 

21.00 น. กำลังทหารจากพลร่มป่าหวาย หน่วยสงครามพิเศษลพบุรี เข้ามาประจำการที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) สองคันรถบัส สั่งปิดไฟสลก. มีผู้โพสต์ข้อความถามถึงข่าวลือปฏิวัติในเวปพันทิป พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางกลับโรงแรมที่ นิวยอร์ค และได้เรียกกลุ่มผู้สื่อข่าวที่ตามไปคุยเป็นการส่วนตัว โดยในการพูดคุยกับนักข่าว พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับทราบกระแสข่าาวรัฐประหารในประเทศไทย พร้อมทั้งมีการติดต่อกับผู้บริหารของ ช่อง 9 อสมท. เพื่อจะขอถ่ายทอดสดทางอินเตอร์เนต เพื่อชี้แจง ในเวลา 23.00 น.

21.10 น. รถถ่ายทอดสด (โอบี) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) เข้า บก.ทบ. 


21.20 น. มีทหารเฝ้าประตูวังสุโขทัย มากกว่า 20 นายกฯ สั่งช่อง 11 เตรียมการถ่ายทอดสดทางโทรศัพท์ จากนิวยอร์ค
21.30 น. สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ตัดรายการปกติ เปิดเพลงที่มีเนื้อหาสรรเสริญพระบารมี กลุ่มผู้สื่อข่าวได้เข้าไปยังทำเนียบรัฐบาล แต่ไม่พบสิ่งผิดปกติ ตำรวจยังคงรักษาทำเนียบรัฐบาลเป็นปกติ ท่ามกลางข่าวลือว่ามีการนำกำลังเข้าควบคุมตัว พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รักษาการ รมว.กลาโหม ขณะที่มีอีกกระแสข่าวว่า นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางไปประเทศอังกฤษตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทำเนียบรัฐบาลมีคำสั่งห้ามคนนอกเข้าไปเด็ดขาด เจ้าหน้าที่ได้เชิญผู้สื่อข่าวบางส่วนออกมา ทำให้ผู้สื่อข่าวต้องไปรอจับกลุ่มออกันอยู่บริเวณหน้าทำเนียบเป็นจำนวนมาก น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกฯ เดินทางมาที่ทำเนียบรัฐบาลด้านหลังตึกไทย ไล่เลี่ยกัน พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ยุติธรรม ได้เดินทางตามเข้ามาแต่ไม่ได้ลงจากรถ ก่อนที่น.พ.พรหมินทร์ จะหอบเอกสารปึกใหญ่เดินขึ้นรถ พล.ต.อ.ชิดชัย และเคลื่อนออกไปจากทำเนียบด้วยกัน กำลังคอมมานโดตำรวจกองปราบปรามได้เดินทางไปรักษาความปลอดภัยที่บ้านจันทร์ส่องหล้า มีนายทหารกลุ่มที่รัฐประหาร พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เข้ายึดช่องการสื่อสารดาวเทียมทางสถานีไทยคมแล้ว นอกจากนี้ นายทหารอีกกลุ่มก็ได้เข้ายึดช่อง 11 ด้วยเช่นกัน22.00 น. กองบัญชาการตำรวจนครบาลสั่งปิดประตู พร้อมวางกำลังเจ้าหน้าที่อาวุธครบมือประจำการประมาณ ขบวนรถถังเคลื่อนเข้าคุมเชิงที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ และ ถ.ราชดำเนิน สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นรายงานสด (เบรกกิ่งนิวส์) สถานการณ์ในเมืองไทย หลังมีผู้เห็นกองกำลังทหารออกคุมกำลังตามสถานที่สำคัญต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ 

22.10 น. ทหารเตรียมเคลื่อนกำลังออกจากม.พัน 4
22.13 น. ยานหุ้มเกราะ 20 คันเคลื่อนจากเกียกกายสู่ลานพระรูป ขณะที่รถถัง 3-4 คันเคลื่อนไปทำเนีย 
สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท พ.ต.ท.ทักษิณ ออกประกาศพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ควบคุมพื้นที่กรุงเทพฯ ระบุอยู่ในขั้นรุนแรง และให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. ไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้รายงานตัวต่อ พล.ต.อ.ชิดชัย และตั้ง พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผบ.สส. คุมอำนาจแก้สถานการณ์ฉุกเฉิน ทหารเคลื่อนพลปิดล้อมทำเนียบ รัฐบาลแล้ว รถถัง 3 คันประจำการแยกเกียกกาย บ้านสี่เสาเทเวศน์ รถถังสองคันพร้อมรถบรรทุกกำลังพล 5 คันเคลื่อนออกจากกองพันทหารปืนใหญ่ มีทหารจำนวนมาก ออกมาตรึงกำลังตามถนนต่างๆ ตั้งแต่แยกเกียกกาย ผ่านมาถึง ถ.ราชสีมา บริเวณสวนรื่นฤดี สี่แยกราชตฤณมัยสมาคม (สนามม้านางเลิ้ง) โดยมีทหารแต่งกายลายพรางเต็มยศเป็นผู้ควบคุมกำลัง พ.ต.ท.ทักษิณ รักษาการนายกฯ ได้โทรศัพท์สั่งการไปยังสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เตรียมการถ่ายทอดสดเสียงตนเองผ่านทางโทรศัพท์จากนิวยอร์ก แต่ขณะที่กำลังรอสาย ทหารได้เข้าควบคุมสถานการณ์ในช่อง 11 ได้ก่อน โดยได้นำเจ้าหน้าที่ช่อง 11 ทั้งหมดไปควบคุมไว้ยังห้องโถง ตั้งแต่เวลา 22.00 น. จนถึงเวลา 00.30 น. จึงปล่อยตัวออกจากสถานี

22.17 น. สัญญาณช่อง 9 อสมท ถูกตัดลง หน้าจอโทรทัศน์ดับสนิทชั่วครู่ โดยมีรายงานว่า เพราะทหารตัดไฟสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ขณะ พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก่อนจะตัดเข้าโฆษณาสินค้าประมาณ 2 ตัว ก่อนจะตัดเข้าสู่รายการปกติ โดยมีรายงานข่าวว่ากำลังทหารบุกเข้าควบคุมที่ห้องส่งสัญญาณออกอากาศ พร้อมควบคุมตัวนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ กก.ผอ.ใหญ่ บมจ.อสมท
22.20 น. วิทยุและโทรทัศน์ทหารเปิดเพลงมาร์ชกระหึ่ม ทหารยึดอสมท.
22.24 น. ทหารเคลื่อนกำลังพลปิดบ้านนายกฯ ขณะที่นายกฯประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินต้านทันควัน พร้อมสั่งย้าย ผบ.ทบ.เข้ารายงานตัวกับชิดชัย ตั้งผบ.สส.เป็นผู้มีอำนาจสั่งการตามพรก.
22.25 น. สถานีโทรทัศน์เกือบทุกช่องตัดเข้ารายการเพลง เปิดเพลงที่มีเนื้อหาสรรเสริญพระบารมี ยกเว้นช่อง 9 และช่อง 3 ที่นำเสนอรายการปกติ โดยมีรายงานข่าวว่า มีกำลังทหารเข้ายึดสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง โดยเฉพาะช่อง 9 อสมท และไอทีวี ทหารสั่งตัดไฟสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ขณะนายกฯกำลังประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน
22.30 น. สถานีโทรทัศน์ทุกช่องเริ่มเชื่อมสัญญาณกับ ททบ.5 และเปิดเพลงที่มีเนื้อหาสรรเสริญพระบารมี แม้แต่สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมอย่างเอเอสทีวี ยกเว้นเนชั่นแชนนัล ทางสถานีโทรทัศน์ไททีวี ช่อง 1 ที่ยังคงรายงานสถานการณ์ได้ตามปกติ มีรายงานข่าวว่า มีรถถ่ายทอดสดไปที่บ้านพักสี่เสาเทเวศร์เพื่อเตรียมถ่ายทอดสด และ กำลังทหารส่วนหนึ่งได้เข้าควบคุมตัว พล.ต.ต.วินัย ทองสอง ผบก.กองปราบปรามและ พล.อ.ไตรรงค์ อินทรทัต (เสธ.ไอซ์) ที่ปรึกษากองทัพบก

22.35 น. เนชั่นแชนนัลถูกเชื่อมสัญญาณเหมือนทุกช่อง

22.40 น. มีการตัดสัญญาณ ฟรีทีวีทุกช่อง
 CNN รายงานสถานีวิทยุและโทรทัศน์ไทย ถูกปิดหมดแล้ว และมีรายงานการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน
22.44 น. ทหารสั่งกักบริเวณ ผู้สื่อข่าวทำเนียบรัฐบาล
22.54 น. สถานีโทรทัศน์ทุกช่องได้ขึ้นโลโก้สถานีรวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย พร้อมขึ้นคำประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมขออภัยในความไม่สะดวก พร้อมเปิดเพลง "ความฝันอันสูงสุด"22.55 น. ทหารปล่อยให้สื่อมวลชนกลับบ้านแล้ว
22.57 น. สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นแพร่รถถังและกำลังทหารควบคุมสถานการณ์ภายใน กทม. ช่วงหนึ่งได้แพร่ภาพกลุ่มชาวบ้านใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายรูปกำลังทหารเหล่า นั้น โดยไม่ได้รู้สึกหวาดกลัวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด23.00 น. ทหารควบคุมตัวพลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแล้ว
23.05 น. มีประกาศจากคณะปฏิรูปการเมืองซึ่งประกอบด้วยสี่เหล่าทัพขอความร่วมมือจาก ประชาชนหลัง ควบคุมสถานการณ์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลไว้ได้โดยไม่มีการต่อต้าน
23.10 น. เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารสั่งสถานีวิทยุ ในเครือกองทัพ( ๑๐๑ ) เตรียมรับสัญญาณถ่ายทอดสดจากสถานีวิทยุ ๙๙.๕

23.15 น. พล.ต.ประพาส ศกุนตนาถ อดีตโฆษก ททบ.5 อ่านแถลงการณ์คณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่แสดงไว้ในหน้าจอก่อนหน้านี้ซ้ำถึงสองครั้ง ทหารสั่งปลดอาวุธเจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาความปลอดภัยทำเนียบรัฐบาล และกักบริเวณไว้หน้าตึกไทยคู่ฟ้า
23.30 น. เอเอสทีวีออกอากาศได้ตามปกติอีกครั้ง ขณะที่สถานีโทรทัศน์ทุกช่องยังคงเชื่อมสัญญาณกับ ททบ. 5 ขณะเดียวกันทหารจาก ป.พัน 21 สังกัด ร.21 ประมาณ 30 นาย พร้อมอาวุธครบมือเดินทางมายังอาคารเนชั่นทาวเวอร์ ที่สถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนนัล โดยยืนยันว่า มาดูแลความสงบเรียบร้อยทั่วไป ขณะที่เนชั่นแชนนัล เริ่มออกอากาศได้อีกครั้งในเวลา 23.44 น. มีข้อความแพร่ไปทางมือถืออ้างพลเอกเปรมปฏิวัติแต่ในหลวงไม่เอาด้วย
23.31 น. ประธานาธิบดีสหรัฐประกาศเป็นศัตรูกับรัฐบาลที่ทำการยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
23.40 น. มีการสั่งปลดอาวุธ ตำรวจหน่วยอรินทราชและคอมมานโดทั้งหมด
23.50 น. มีประกาศจากคณะปฏิรูปการเมืองครั้งที่ ๒ แจงก่อเหตุเพราะมีการบริหารราชการแผ่นดินส่อไปในทางทุจริตอย่างกว้างขวาง องค์กรอิสระถูกครอบงำไม่เป็นไปตามเจตนารมย์รัฐธรรมนูญ การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองมีอุปสรรค หมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์อยู่หลายครั้ง คณะปฏิรูปไม่ประสงค์จะยึดอำนาจเพื่อบริหารเอง แต่จะคืนอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินอันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขให้ปวงชนชาวไทยโดยเร็วที่สุด

23.55 น. มีการตัดสัญญาณโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก ( ยูบีซี ) ช่อง ๕๓ ของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น
23.59 น. ผู้บัญชาทหารทุกเหล่าทัพเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พระราชวังดุสิต
00.24 น. มีรายงานการปะทะกันที่บริเวณกองพันทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์บางเขน

00.28 น. พลตรี ประพาส สกุนตนารถ ที่ปรึกษาททบ.๕ อ่านแถลงการประกาศกฎอัยการศึกบังคบใช้ทั่วประเทศตั้งแต่ ๒๑.๐๕ น.ของวันที่ ๑๙ กันยายน ๔๙ โดยมีพลเอก สนธิบุญรัตนกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ

00.30 น. มีประกาศคณะปฎิรูป การปกครองฯฉบับที่ ๒ สั่งห้ามเคลื่อนย้ายกำลังทหาร โดยไม่ได้รับคำสั่งจากคณะปฏิรูป


อ้างอิง : กรุงเทพธุรกิจ, คม-ชัด-ลึก, INN
http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=30312
http://www.komchadluek.com/2006/09/20/a001_49076_report.php?news_id=49076

-----------------------------------------------------------------------

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินทางช่อง 9 พื้นที่ กทม.หลังกระแสข่าวพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. ประกาศปฏิวัติ-รัฐประหารแล้วทางช่อง 5 และโชยสะพัดทั้งวัน ทหารภาค 1-ภาค 3 จับมือทหารม้าดำเนินการ ขณะที่ ทบ.สั่งกำลังพลเตรียมพร้อม ข "ทักษิณ" พลิกแผนร่นกลับไทยเร็วขึ้น หน่วยคอมมานโดอารักขาแน่น บน.6

เมื่อเวลา 22.15น.ออกข่าวทหารปฏิวัติทางสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ขณะเดียวกัน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินทางช่อง 9 พื้นที่ กทม.โดยย้ายพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ไปปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักนายกรัฐมนตรี หลังจากพ.ต.ท.ทักษิณ ประกาศเสร็จ สัญญาณทางช่อง 9 ก็ถูกตัดทันที

ทั้งนี้เพราะมีกระแสข่าวว่า พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ประกาศผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ถึงความจำเป็นที่ทหารจะต้องปฏิวัติแล้ว เมื่อเวลา 22.00 น. ของวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 หลังจากตลอดทั้งวันที่ 19 กันยายน ได้เกิดกระแสข่าวสะพัดตลอดทั้งวันว่าจะมีการ "ปฏิวัติ-รัฐประหาร" เกิดขึ้น เพื่อยึดอำนาจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ก่อนจะเดินทางกลับประเทศไทย โดยเฉพาะการเคลื่อนกำลังพลของกองทัพบกในพื้นที่ จ.ลพบุรี และกองทัพภาคที่ 3

ผู้ สื่อข่าวรายงานก่อนที่พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) นำคณะทหารดำเนินการปฏิวัติครั้งนี้ ตั้งแต่ช่วงค่ำของวันที่ 19 กันยายน ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 เมื่อจบข่าวพระราชสำนัก เวลา 20.15น.แล้ว ได้มีรายการสามัคคี 4 เหล่า จากนั้นเวลา 21.20 น.เป็นรายการเมืองไทยวาไรตี้ เป็นการออกอากาศสด แต่ถูกยกเลิกรายการโดยสถานีได้เปิดเพลงเทอดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวแทน

จับ"ชิดชัย-ตท.10"รวมพลังบ้านธรรมรักษ์

ขณะที่ บริเวณทำเนียบรัฐบาลเมื่อเวลาประมาณ 21.30 น. ได้มีคำสั่งห้ามคนนอกเข้าไปเด็ดขาด เจ้าหน้าที่ได้เชิญผู้สื่อข่าวบางส่วนออกมา จึงทำให้ผู้สื่อข่าวที่รอไปทำข่าวต่างจับกลุ่มออกันอยู่บริเวณหน้าทำหน้า ทำเนียบเป็นจำนวนมาก

น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาที่ทำเนียบรัฐบาลด้านหลังตึกไทยในเวลา 21.30 น.ในเวลาไล่เลี่ยกัน พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ยุติธรรม ได้เดินทางตามเข้ามาแต่ไม่ได้ลงจากรถก่อนที่ นพ.พรหมินทร์ จะหอบเอกสารปึกใหญ่เดินขึ้นรถพล.ต.อ.ชิดชัยและเคลื่อนออกไปจากทำเนียบด้วย กัน

ขณะเดียวกัน ที่บริเวณสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 มีการเคลื่อนไหวอย่างคึกคัก มีรายงานข่าวว่า นายทหารระดับสูงจากหลายเหล่าทัพได้เดินทางเข้ามาที่ททบ.5อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ตรงข้ามกับขั้วรัฐบาล คาดว่าจะมีการแถลงข่าวถึงการยึดอำนาจ

ส่วนอีกกระแสข่าวหนึ่งระบุว่า ในเวลา 23.00น. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี จะออกอากาศข้ามทวีปเพื่อชี้แจงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดมีกระแสข่าวว่า นายทหารคุมกำลังตท.10 ได้มีการรวมตัวกันที่บ้านของพล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รมว.กลาโหม ล่าสุดมีข่าวสะพัดออกมาว่า พล.อ.ชิดชัย ได้ถูกควบคุมตัวภายหลังออกจากทำเนียบรัฐบาล

รถถังเคลื่อนพลมุ่งหน้า ไปอนุสาวรีย์ปธต.

ขณะที่บริเวณสวนรื่นฤดีว่า ได้มีรถยนต์เข้าออกเป็นระยะๆ ขณะเดียวกันบริเวณเกียกกายก็มีการเคลื่อนขบวนของรถถัง รถฮัมวี่ จำนวนหนึ่งขับมาตามถนนมุ่งหน้าไปถนนราชดำเนิน ท่ามกลางความแปลกใจของประชาชนซึ่งหลายคนเริ่มจะเอีะใจว่ามีการเปลี่ยนแปลง การปกครองเป็นแน่

ฝ่ายรัฐประหาร"ยึด"ไทยคม-ช่อง11"

และมี รายงานจาก สถานีดาวเทียมไทยคม ที่แคราย เมื่อเวลา 21.30 น. มีนายทหารกลุ่มที่รัฐประหาร พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เข้ายึดช่องการสื่อสารดาวเทียมทางสถานีไทยคมแล้ว นอกจากนี้ นายทหารอีกกลุ่มก็ได้เข้ายึดช่อง 11 ด้วยเช่นกัน

"ทักษิณ"ดิ้นขอช่อง 9แถลงสู้"รัฐประหาร"

รายงานข่าวว่า เมื่อ เวลาประมาณ 21.00 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางกลับโรงแรมที่ นิวยอร์ค และได้เรียกกลุ่มผู้สื่อข่าวที่ตามไปคุยเป็นการส่วนตัว โดยในการพูดคุยกับนักข่าว พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับทราบกระแสข่าาวรัฐประหารในประเทศไทย พร้อมทั้งมีการติดต่อกับผู้บริหารของ ช่อง 9 อสมท. เพื่อจะขอถ่ายทอดสดทางอินเตอร์เนต เพื่อชี้แจง ในเวลา 23.00 น.

ลือ เตรียมทักษิณร่อนลงฟิลิปปินส์

ภายหลังจากมีข่าวลือในช่วงหัวค่ำที่ ผ่านมาว่าคณะผู้ทำรัฐประหารรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร กระทำการรัฐประหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับจับตัวรัฐมนตรีคนสำคัญไว้ แหล่งข่าวกล่าวว่านพ.พรหมินทร์ ได้ประสานผ่านทางวิทยุการบินให้เครื่องบินที่พ.ต.ท.ทักษิณกำลังนั่งเพื่อ กลับมาคืนนี้ตามเวลาในประเทศไทยประมาณตี 1 ของวันที่ 20 กันยายน ให้บินไปลงเครื่องที่ประเทศฟิลิปปินส์แทน

รายงานข่าวจาก หน่วยงานความมั่นคงแจ้งว่า ข่าวปฏิวัติดังกล่าวเป็นการสนธิกำลังระหว่างกองทัพทัพภาคที่ 1 และ 3 รวมทั้งกองอำนวยการรักษาความั่นคงภายใน (กอ.รมน.) หน่วยสงครามพิเศษ และกองทัพเรือบางส่วน โดยจะทำการยึดทำเนียบรัฐบาลและกองบินน้อยที่ 6 (บน.6) ในช่วงเช้ามืดวันที่ 20 กันยายน

จากการตรวจสอบข้อมูลในเบื้องต้นไป ยังต้นสังกัด ปรากฏว่า มีการเคลื่อนกำลังทหารจำนวน 4 กองพัน จากกองทัพภาคที่ 3 และอีก 5 กองพันของกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ จากกองทัพภาคที่ 1 จริง โดยเป็นการเคลื่อนกำลังเพื่อไปผลัดเปลี่ยนกำลังพลที่ปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามวงรอบงบประมาณปี 2550

นอกจากนี้ ยังมีการเคลื่อนกำลังพลจากกองพันทหารม้าที่ 23 และกองพันทหารม้าที่ 24 จากกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ เพื่อเตรียมจัดกำลังบางส่วนที่จะไปปฏิบัติงานสนับสนุนกองกำลังผาเมือง ที่ปฏิบัติภารกิจป้องกันอธิปไตยตามแนวชายแดนที่ จ.เพชรบูรณ์ โดยมีการฝึกกองร้อยบรรเทาสาธารณภัยและฝึกซ้อมกำลังพล ที่จะลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ในส่วนของกองพล ทหารราบที่ 9 จ.กาญจนบุรี ได้รับคำสั่งจากหน่วยเหนือ ให้มีการเตรียมความพร้อมในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน หากเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงขึ้น โดยให้รอรับคำสั่งจากหน่วยเหนือ

ผบ.ทบ. สั่งกำลังพลอยู่ในที่ตั้ง

ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ได้สั่งการให้หน่วยขึ้นตรงของกองทัพบกติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งกำชับให้หน่วยที่อยู่ใน กทม.ดูแลที่ตั้งของหน่วยตัวเอง ทั้งนี้ กองทัพบกยังคงใช้แผน "ปฐพี 149" 2 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ให้กำลังพลอยู่ประจำฐานที่ตั้งตามปกติ และขั้นที่ 2 ให้กำลังพลออกไปปฏิบัติภารกิจภายนอกที่ตั้งของหน่วย กรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ หรือกลุ่มผู้ชุมนุมมีการพัฒนาใช้กำลังรุนแรง ด้วยการทำลายอาคารสถานที่ต่างๆ

มี รายงานจากนายทหารระดับสูงด้วยว่า ทบ.มีการเตรียมกำลังความพร้อมจริง รอเพียงคำสั่งที่ชัดเจนจากผู้บังคับบัญชาถึงกำหนดวันเวลาที่ชัดเจน หรือวัน "ว" เวลา "น"

รายงานข่าวแจ้งว่า ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน เป็นต้นมา ได้มีคำสั่งจากหน่วยเหนือในกองทัพภาคที่ 3 ให้กำลังพลในกองพลทหารม้าที่ 1 ซึ่งมีหน่วยที่ตั้งอยู่ จ.เพชรบูรณ์ เช็คความพร้อมยานลำเลียง รถถัง ปืนใหญ่ และอาวุธยุทโธปกรณ์ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ทันที โดยตลอดทั้งวัน ยานพาหนะของกองพลทหารม้าที่ 1 ทั้งหมด ถูกเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและเติมเชื้อเพลิง อยู่ในสภาพพร้อมปฏิบัติงานทุกคัน

สำหรับกองพลทหารม้าที่ 1 มี พล.ต.วรรณทิศ ว่องไว นายทหารคนสนิท พล.ท.สพรั่ง กัลยาณมิตร แม่ทัพภาคที่ 3 เป็นผู้บัญชาการ และมี พ.อ.วิเชษฐ์ สุขพงษ์พิสิฐ เป็นรองผู้บัญชาการ และมีรายงานขณะนี้ พล.ท.สพรั่ง ที่ปกติจะทำงานที่ จ.พิษณุโลก และ จ.เชียงใหม่ ได้มาประจำที่กองพลทหารม้าที่ 1 จ.เพชรบูรณ์

เวลา 21.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รถบัสนับสิบคันขนกำลังพลจากศูนย์สงครามพิเศษ จ.ลพบุรี จำนวนประมาณ 3 กองร้อย สวมชุดพรางพร้อมอาวุธ เข้ามายังกองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนิน

จากนั้นเวลา 21.10 น. ได้มีรถถ่ายทอดสดของ ททบ.5 วิ่งเข้ามาที่ บก.ทบ.1 คัน และเวลาไล่เลี่ยกันมีรถตู้อีกเกือบ 10 คัน วิ่งออกจาก บก.ทบ. โดยไม่ทราบว่ามุ่งหน้าไปที่ใด

ตท.10-รมต.เช็คข่าววุ่น

กระแส ข่าวปฏิวัติ-รัฐประหาร ได้แพร่สะพัดไปทั่วทำเนียบรัฐบาล ตลอดวันที่ 19 กันยายน ท่ามกลางข่าวการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จะชุมนุมต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ในวันรุ่งขึ้น

ข่าว ดังกล่าวส่งผลให้หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ที่รักษาการนายกรัฐมนตรีร่วมประชุมจากนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐมนตรีหลายรายได้สอบถามมายังผู้สื่อข่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่าง ตื่นเต้น

อย่างไรก็ตาม มีกระแสข่าวออกมาว่า แท้จริงแล้วข่าวที่ออกมาเป็นการปล่อยมาจากนิวยอร์ก ซึ่งรักษาการนายกรัฐมนตรีจะกลับได้เร็วขึ้นอีก 1 วัน เป็นเวลาตี 1 ของวันที่ 20 กันยายน ท่ามกลางกองกำลังของทั้ง ทอ.และคอมมานโด อารักขาเต็ม บน.6

ขณะเดียวกัน ข่าวของกลุ่มปฏิวัติ-รัฐประหารได้ถูกแพร่ออกมา จนทำให้ทหาร ตท.10 ที่คุมกองกำลัง ทั้ง พล.9 และ พล.ม.2 เคลื่อนกำลังเข้ามาเพื่ออารักขาบริเวณทำเนียบรัฐบาลตัดหน้าเสียก่อน

เมื่อ เป็นเช่นนี้ กระแสข่าวกลุ่มก่อการปฏิวัติ-รัฐประหาร ซึ่งได้รวมพลที่ พล.ม.1 จึงถูกยกเลิกไปก่อน และกำลังพลของแต่ละฝ่ายก็กลับเข้าที่ตั้ง เพื่อรอดูท่าทีกันอีกครั้งหนึ่ง

ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรคไทยรักไทย ว่า ภายหลังจากเสร็จสิ้นการประชุม ครม. ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ร่วมประชุมทางไกลมาจากนครนิวยอร์ก สหรัฐ พร้อมกับกำชับรัฐมนตรีตั้งมั่นอยู่ในพื้นที่ ห้ามเดินทางออกนอกประเทศนั้น ปรากฏว่า ตลอดช่วงบ่ายของวันนี้มีกระแสข่าวลือเข้าหูรัฐมนตรีหลายคนว่าจะมีการทำรัฐ ประหารในค่ำคืนนี้ จนทำให้รัฐมนตรีหลายคนต่างโทรเช็คข่าวกันวุ่น เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น

รัฐมนตรีรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ตนได้รับทราบกระแสข่าวนี้มาตั้งแต่บ่ายแล้ว แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นจริงหรือไม่ และใครจะเป็นคนทำ และทำให้ใคร ตอนนี้งงไปหมด อย่างไรก็ตาม ตกช่วงหัวค่ำตนก็ได้รับข่าวมาหลายกระแส บางกระแสก็ว่าทำแน่ บางกระแสก็ว่ายกเลิกภารกิจ เลยไม่รู้ว่าตกลงเป็นยังไงแน่

เหล่าทัพเมินประชุมครม.ร่วมทักษิณ

ขณะ เดียวกัน มีรายงานว่า พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี ได้เชิญ ผบ.เหล่าทัพ เข้าร่วมประชุม ครม.นัดพิเศษอย่างกะทันหัน โดยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ร่วมประชุมผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยมีการแจ้งกำหนดการมายัง ผบ.เหล่าทัพ ในช่วงเช้าวันที่ 19 กันยายน

แต่ปรากฏว่า ผบ.เหล่าทัพ อ้างว่าติดภารกิจสำคัญ จึงไม่ได้เดินทางเข้าร่วมประชุม โดยในส่วนของกองทัพบก พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. ได้มอบหมายให้ พล.อ.โสภณ ศีลพิพัฒน์ เสนาธิการทหารบก เข้าร่วมประชุมแทน

แหล่งข่าว เปิดเผยว่า รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้โทรศัพท์มาแจ้ง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. เมื่อเวลา 08.00 น. ซึ่ง พล.อ.สนธิ ติดภารกิจในการพบปะกับนายทหารเกษียณอายุ ที่สนามกอล์ฟ ย่านลำลูกกา

ใน ขณะที่ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) ติดภารกิจในการรับคณะของ พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) ที่มาร่วมพิธีอำลากองทัพอากาศ เนื่องจากเกษียณอายุราชการ

รายงาน ข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า หลังมีกระแสข่าวการปฏิวัติเกิดขึ้น พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการรองนายกฯ และ รมว.ยุติธรรม ได้ยกเลิกภารกิจออกรายการ "กรองสถานการณ์" เรื่องระเบิดที่ อ.หาดใหญ่ ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 คืนวันที่ 19 กันยายน โดยคนใกล้ชิดคาดว่า พล.ต.อ.ชิดชัย จะเก็บตัววิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองอย่างใกล้ชิด ส่วนรายการกรองสถานการณ์ยังดำเนินรายการต่อไป โดยมี นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รักษาการ รมช.มหาดไทย ไปร่วมรายการแทน

"ทักษิณ"ร่นกลับไทย เร็วขึ้นอีก1วัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เดิม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี มีกำหนดเดินทางกลับกรุงเทพฯ ในวันที่ 20 กันยายน เวลา 23.15 น.ตามเวลาในนครนิวยอร์ก ซึ่งจะมาถึงประเทศไทยในเวลาประมาณ 00.30 น. วันที่ 22 กันยายน ตามเวลาในประเทศไทย

ปรากฏว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้สั่งให้เลื่อนการเดินทางกลับประเทศไทยเร็วขึ้นอีก 1 วัน โดยจะเดินทางมาถึงไทยในเวลา 05.30 น. ของวันที่ 21 กันยายน 2549

ขณะ เดียวกัน มีรายงานจากฝ่ายทหารว่า อาจเลื่อนกำหนดกลับเร็วขึ้นกว่าเดิมอีก

บน.6ทหาร พรึ่บ-ซ้อมแผนรปภ.ทักษิณ

น.อ.มณฑล สัชฌุกร รองโฆษกกองทัพอากาศ กล่าวถึงการเตรียมรับ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางกลับจากต่างประเทศว่า ทางกองทัพอากาศได้มีการประชุมเพื่อเตรียมการรักษาความปลอดภัยให้กับคณะของ รักษาการนายกรัฐมนตรี โดยกรมทหารอากาศเป็นประธานในการประชุม ซึ่งที่ประชุมได้มีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ในแผน ซึ่งมีลักษณะเดียวกับที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไป

ทั้งนี้ ผู้ที่จะมายังท่าอากาศยานทหาร กองบิน 6 (บน.6) จะต้องเป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่มารับส่ง ครม.และนายทหารผู้ใหญ่ สำหรับสื่อมวลชนที่จะเข้ามาต้องแลกบัตรและอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดให้เหมือน กับวันที่ส่งนายกรัฐมนตรีไปต่างประเทศ

"ส่วนที่มีคนเห็นทหารที่ บน.6 เต็มไปหมดนั้น อาจจะเป็นการเตรียมการซ้อมปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยให้กับรักษาการนายก รัฐมนตรี ในวันที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ" รองโฆษกกองทัพอากาศ กล่าว

พันธมิตร นิวยอร์กรวมพลังไล่ทักษิณ

ขณะเดียวกัน เวบไซต์ www.thainewyork.com รายงานว่า วันที่ 18 กันยายน ตามเวลาท้องถิ่น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนิวยอร์ก มีการรวบรวมผู้ประท้วงและจัดกลุ่มต่างๆ กระจายไปทั่วนิวยอร์ก ตามจุดที่คาดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี จะเดินทางผ่าน โดยผู้ประท้วงกลุ่มใหญ่จะชุมนุมอยู่ที่หน้าองค์การสหประชาชาติ ถึงแม้จะรู้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะไม่เข้า

---------------------------------------------------------------------------

สังคมไทยแตกแยก-ไร้สามัคคี พล.อ.สนธิชี้แจงจำต้องปฏิวัติ

พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน ผบ.ทบ. ในฐานะหัวหน้าคณะประกาศแถลงการณ์ฉบับที่ 1 แจงเหตุผลต้องดำเนินการปฏิวัติในนามคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งสังคมแตกแยกไม่มีความสามัคคีกันอย่างไม่มีมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย ไม่มีเจตนาเข้ามาเป็นผู้บริหาร จะคืนอำนาจเลือกตั้งโดยเร็ว

เมื่อ เวลา 23.28 น.วันที่ 19 กันยายน พล.ต.ประพาส ศกุนตนาถ อดีตโฆษกช่อง 5 อ่านแถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยว่า เนื่องด้วยขณะนี้คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเหล่าทัพและผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ เข้าควบคุมสถานการณ์ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลไว้ได้แล้วและไม่มี การขัดขวาง เพื่อเป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงขอความร่วมมือประชาชนในการให้ความร่วมมือและขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ด้วย

โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง

พี่น้องประชาชนที่เคารพ ด้วยขณะนี้ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเหล่าทัพและผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ เข้าควบคุมสถานการณ์ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลไว้ได้แล้วและไม่มี การขัดขวาง เพื่อเป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงขอความร่วมมือประชาชนในการให้ความร่วมมือและขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ด้วย

และเมื่อเวลา 23.43 น. พล.ต.ประพาส ได้อ่านแถลงการณ์ข้อความเช่นเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง

หลังจากนั้น เมื่อเวลา 23.57 น. ก็ได้อ่านแถลงการณ์อีกครั้งหนึ่งว่า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ด้วยเป็นที่ปรากฎการณ์แน่ชัดว่า การบริหารราชการแผ่นดินโดยรัฐบาลรักษาการปัจจุบัน ได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งแบ่งฝ่าย สลายความรู้รักสามัคคีของชนในชาติอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อนในประวัติศาสตร์ ชาติไทย ต่างฝ่ายต่างมุ่งหวังเอาชนะด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ และมีแนวโน้มนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยประชาชนส่วนใหญ่เคลือบแคลงการบริหาร

ตลอดจนหมิ่นเหม่.... ผู้ทรงเป็นที่เคารพเทิดทูน อยู่บ่อยครั้ง แม้หลายภาคส่วนของสังคมจะได้พยายามประนีประนอม คลี่คลายสถานการณ์ไปโดยต่อเนื่องแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งยุติลงได้ ดังนั้น คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเหล่าทัพและผู้บัญชาการ จึงมีความจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

โดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข ขอยืนยันว่า ไม่มีเจตนาที่จะเข้ามาเป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินเสียเอง แต่จะได้คืนอำนาจการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ลับคืนสู่ปวงชนชาวไทยโดยเร็วที่สุด

ทั้งนี้เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่ง ความสงบสุขและความมั่นคงของชาติ รวมทั้งเทิดทูนไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพยิ่งของคนไทยทุก คน

ประกาศ ณ วันที่ 19 ก.ย. เวลา 23.50 น.

ลงชื่อ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน หัวหน้าคณะประกาศแถลงการณ์ฉบับที่ 1

จาก เนชั่นชาแนล

-------------------------------------------------------------------

เปิดรายละเอียดแถลงการณ์ "ทักษิณ" สู้คณะปฏิรูปฯ
วันที่ 20 ก.ย. 2549

หลังจากที่มีความเคลื่อนไหวของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งประกอบด้วย ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งได้เข้าควบคุมสถานการณ์ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลไว้เมื่อช่วงหัวค่ำวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา

เมื่อเวลา 22.15 น. วันที่ 19 กันยายน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ได้ออกแถลงการณ์ผ่านดาวเทียมจากประเทศสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ออกโทรทัศน์ช่อง 9 แต่เมื่ออ่านแถลงการณ์ได้ 3 ฉบับก็ถูกตัดสัญญาณ เนื่องจากมีกำลังทหารพร้อมอาวุธบุกเข้าไปช่อง 9 พร้อมตะโกนสั่งให้หยุดพูดเดี๋ยวนี้ ทางเจ้าหน้าที่ช่อง 9 จึงได้ตัดสัญญาณ

สำหรับ แถลงการณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ทั้ง 3 ฉบับมีดังนี้

แถลงการณ์ฉบับที่ 1

ในภาวะความสับสน วุ่นวายที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างร้ายแรง รวมทั้งกระทบอย่างร้ายแรงต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรและจำเป็นที่จะต้องเร่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5,6,11 วรรค 1 แห่ง พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 และ 35,36,37,39,44,48,50 และ 51 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบท บัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่ มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เวลา 21.15 น.



แถลงการณ์ ฉบับที่ 2

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงใน เขตท้องที่กรุงเทพมหานครแล้วนั้น เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานครเป็นไปอย่างฉุกเฉินและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามมาตรา 11 (4) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ประกอบมาตรา 11 (2) แห่ง พ.ร.ก.การกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และให้รายงานตัวต่อ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการนายกรัฐมนตรี ณ บัดนี้ ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 19 กันยายน 2549


แถลงการณ์ ฉบับที่ 3

คำสั่งผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เรื่องแต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบ และมอบอำนาจการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานครแล้วนั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 วรรค 4 และ 6 และมาตรา 10 ของ พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินฯ ผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงมีคำสั่ง ดังนี้ ให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุก เฉิน มีอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังนี้ 1.บังคับบัญชา และสั่งการส่วนราชการ และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด 2.ดำเนินการอื่นๆ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการกำกับปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุก เฉินกำหนดหรือมอบหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

จาก มติชน

-------------------------------------------------------------------------
คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 1
เรื่อง ให้ข้าราชการมารายงานตัว


ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ยึดอำนาจการปกครองไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดีน จึงให้ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง อธิบดีทุกรม หัวหน้าหน่วยงานระดับกรม หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือ หน่งยงานอื่นของรัฐ รวมตลอดทั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัย ที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และ จังหวัดไกล้เคียง ไปรายงานตัวต่อ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่กองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 20 กันยายน 2549 เวลา 09.00 น.

สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549
พลเอกสนธิ บุญรัตนกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 2 เรื่อง ให้วันพุธที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 เป็นวันหยุดราชการ

เพื่อ ให้การรักษาความสงบเรียบร้อยกลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด หัวหน้าหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงสั่งให้วันพุธที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 เป็นวันหยุดราชการ และ วันหยุดธนาคาร โดยให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหยุดทำการในวันดังกล่าวด้วย

สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549
พลเอกสนธิ บุญรัตนกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
------------------------------------------------------------------------

เมื่อเวลา 24.00 น. ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ ผู้บัญชาการทหารบก และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อกราบบังคมทูลถวายรายงาน สถานการณ์บ้านเมือง และการเข้ามาปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

เมื่อ เสร็จสิ้นคณะได้เข้าสู่กองบัญชาการทหารบกอีกครั้ง เพื่อมารวมตัวกัน โดยมีประชาชนเฝ้าติดตามกันอย่างใกล้ชิด รวมทั้งกองทัพสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ ที่เฝ้ารอทำข่าววินาทีสำคัญต่อการปฏิรูปการปกครองของประเทศไทย ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆ ยังคงเป็นไปอย่างเรียบร้อย ปราศจากการกระทบกระทั่ง หรือเหตุการณ์ร้ายแรงใดๆ
http://suannonweb.com/board/viewtopic.php?id=1376

-----------------------------------------------------------------------------

โดย: ศูนย์สารสนเทศ ยก.ทอ. 

เมื่อ : 20 กันยายน 2006 
ลำดับเหตุการณ์ยึดอำนาจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
๑๙ กันยายน ๒๕๔๙
ทหารจาก นพศ.เข้าควบคุมพื้นที่
ช่วงเวลาประมาณ 21.00 ทหารจากหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ลพบุรี ได้เดินทางเข้าควบคุมพื้นที่สำคัญใน กทม. ได้แก่ สถานีดาวเทียมไทยคม, อาคารไอทีวี, อาคารชินวัตร,ทำเนียบรัฐบาล, บ้านจันทร์ส่องหล้า ฯลฯ
“ทักษิณ” ประกาศภาวะฉุกเฉิน 
เวลา 22.20 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกอากาศด้วยระบบทางไกลจากนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 โดยอ่านประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร โดยอ้างว่าได้มีกลุ่มบุคคลที่จะก่อการปฏิวัติรัฐประหาร
ย้าย ผบ.ทบ.ช่วยราชการสำนักนายกฯ 
อาศัยอำนาจตามมาตรา 11 (4) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ประกอบกับมาตรา 11 วรรคสอง (6) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 จึงให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และให้รายงานตัวต่อ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการนายกรัฐมนตรี และให้ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน มีอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ ฉุกเฉิน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ดังนี้
1.บังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
2.ดำเนินการอื่นๆตามที่รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้ที่มี อำนาจในการกำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน กำหนดหรือมอบหมาย
คณะปฏิรูปประกาศปฏิวัติ
เวลา 23.00 น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจได้เผยแพร่ข้อความผ่านโทรทัศน์ทุกช่อง และถ่ายทอดเสียงทางวิทยุ ระบุว่า “เนื่องด้วยขณะนี้คณะปฏิรูปการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์เป็นประมุข อันประกอบด้วยผู้บัญชาการเหล่าทัพ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เข้าควบคุมสถานการณ์ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลไว้ได้แล้ว และไม่มีการขัดขวางเพื่อเป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงขอความร่วมมือจากประชาชนในการให้ความร่วมมือ และขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้”
โฆษก ททบ.5 อ่านประกาศคณะปฏิวัติ
พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค ที่ปรึกษา ททบ.5 ซึ่งเป็นผู้อ่านประกาศของคณะปฏิวัติหลายครั้งในอดีตที่ผ่านมา นั่งอ่านข้อความ โดยมีใจความว่า
“เนื่องด้วย ขณะนี้คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระ ประมุข ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเหล่าทัพ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เข้าควบคุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลไว้ได้แล้ว และไม่มีการขัดขวาง เพื่อเป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงขอให้ทุกคนอยู่ในความสงบและขอความร่วมมือประชาชนในการให้ความร่วมมือและ ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ด้วย”
ประกาศแถลงการณ์ฉบับที่ 1
ด้วยเป็นที่ปรากฏชัดเจนว่าการบริหารราชการแผ่นดินก่อให้เกิดความประพฤติมิ ชอบอย่างกว้างขวาง หน่วยงานองค์กรอิสระถูกครอบงำทางการเมือง ไม่สามารถสนองต่อเจตนารมณ์ ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเกิดปัญหาและอุปสรรคหลายประการ ตลอดจนหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นที่เคารพเทิดทูนของประชาชนชาวไทยอยู่บ่อยครั้ง แม้ หลายภาคส่วนของสังคมจะได้พยายามประนีประนอมคลี่คลายสถานการณ์มาโดยต่อเนื่อง แล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถ ทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งยุติลงได้ ดังนั้นคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระประมุข ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงมีความจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข ขอยืนยันว่าไม่มีเจตนาเข้ามาเป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน แต่จะได้คืนอำนาจการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุข กลับคืนสู่ปวงชนชาวไทยโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้เพื่อธำรงรักษาซึ่งความสงบสุข รวมทั้งเทิดทูนไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพยิ่งของปวงชนชาว ไทยทุกคน
ประกาศ ณ วันที่ 19 ก.ย. 2549 เวลา 23.50 น.
ลงชื่อ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 2
เรื่องห้ามการคลื่อนย้ายกำลังทหาร
ให้ทหารทุกนายไปรายงานตัว ณ ต้นสังและห้ามเคลื่อนย้ายกำลังออกจากที่ตั้งปกติโดยเด็ดขาดถ้าไม่ได้รับคำ สั่งจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข

ประกาศ ณ วันที่ 19 ก.ย. 2549

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 3
ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองของประเทศไว้เรียบร้อบแล้วนั้นเพื่อความสงบเรียบ ร้อยในการปกครองประเทศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงให้
  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอณาจักรไทย พ.ศ.2540 สิ้นสุดลง
  2. วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญ
  3. องคมนตรีคงดำรงตำแหน่งและปฎิบัติหน้าที่ต่อไป
  4. ศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญ คงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอัตถคดี ตามบทกฎหมายและตามประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ประกาศ ณ วันที่ 19 ก.ย. 2549

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัว หน้าคณะการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 4 เรื่อง อำนาจบริหารราชการแผ่นดิน
ตามได้ที่มี กฎหมายบางฉบับ ได้บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ของ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีในอันที่จะปฎิบัติตามกฎหมายได้ และเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติตามกฏหมายดังกล่าว

หัวหน้าคณะปฎิ รูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ใน ระหว่างที่ยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีให้ บรรดาอำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายได้บัญญัติว่าเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีหรือ คณะรัฐมนตรีให้เป็น อำนาจหน้าที่ของ หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข หรือ ผู้ซึ่งหัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข มอบหมาย


ข้อ 2 ระหว่างที่ยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีให้บรรดาอำนาจหน้าที่ที่กฏหมายบัญญัติว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของ รัฐมนตรีกระทรวงใด ก็ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดกระทรวงนั้น
เว้นแต่ หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระ ประมุข จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 1 เรื่องให้ข้าราชการมารายงานตัว
ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข ได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบนโยบายการบริหาราชการแผ่นดิน จึงให้ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง อธิบดีทุกกรม หัวหน้าหน่วยงานระดับกรม หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมตลอดทั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้ เคียงไปรายงานตัวต่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่กองบัญการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 เวลา 09.00 น.

สั่ง ณ วันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549

พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน
หัว หน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 2เรื่อง ให้วันพุธที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 เป็นวันหยุดราชการ
เพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อยกลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด หน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงสั่งให้วันพุธที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 เป็นวันหยุดราชการ และวันหยุดธนาคาร โดยให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หยุดทำการในวันดังกล่าวด้วย

สั่ง ณ วันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549

พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน
หัว หน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 5 เรื่อง การให้นิสิต นักศึกษา มีส่วนร่วมในทางการเมือง
ด้วยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้เห็นความสำคัญของนิสิต นักศึกษา ปัญญาชน ต่อชาติบ้านเมือง ซึ่งเป็นพลังบริสุทธิ์ ดังนั้นคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เห็นควรที่จะให้นิสิต นักศึกษา ได้มีส่วนร่วมในทางการเมืองในวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่จะมีขึ้นในเร็ววันนี้ เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ปราศจากการซื้อเสียงและอิทธิพลใดๆ และหากนิสิต นักศึกษาท่านใด มีแนวความคิดในการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นแล้ว ขอให้ส่งความเห็นไปที่สำนักงานเลขานุการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

ประกาศ ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549

พล เอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 6เรื่อง การแก้ไขความเดือดร้อนของบรรดาพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ชาวไร่
ด้วยทราบว่า บรรดาพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ชาวไร่ทั้งหลาย ได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับปัญหาการครองชีพ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้รับทราบความเดือดร้อนของพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ชาวไร่ดังกล่าว ด้วยความรู้สึกเห็นอกเห็นใจเป็นอย่างยิ่ง และกำลังพิจารณาให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนดังกล่าวอยู่แล้ว แต่เนื่องจากขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการแก้ไขปัญหาความสงบเรียบร้อยของ ประเทศให้คืนสู่ภาวะปกติ จึงขอให้พี่น้องผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ชาวไร่ทั้งหลาย อยู่ในความสงบ อย่าได้เคลื่อนไหวเรียกร้องใดๆ ในขณะนี้ เพราะอาจจะเปิดโอกาสให้บุคคลผู้ไม่หวังดีต่อประเทศชาติบ้านเมืองกระทำการก่อ ความไม่สงบเรียบร้อยขึ้น

สำหรับปัญหาความเดือดร้อนของบรรดาพี่น้อง ผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ชาวไร่ดังกล่าว คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะได้ร่วมกันพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสม เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของบรรดาพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ชาวไร่ทั้งหลาย โดยเร็วต่อไป

ประกาศ ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 7
เรื่องการห้ามชุมนุมทางการ เมือง

ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 เวลา 21.05 น.เป็นต้นไป แล้วนั้น เพื่อมิให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดินในระหว่างประกาศกฎ อัยการศึก จึงห้ามมิให้มั่วสุมประชุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องละวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประกาศ ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัว หน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 8เรื่องห้ามกักตุนสินค้า
เนื่องด้วยในการที่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองในครั้งนี้มุ่งหวังให้บ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อย มีความเจริญรุ่งเรือง และประชาชนได้รับความเป็นธรรมในการซื้อขายสินค้าเป็นสำคัญ จึงห้ามมิให้ผู้ใดกักตุนสินค้า หรือขึ้นราคาสินค้าทุกประเภท หากผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าเป็นความผิด ต้องละวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประกาศ ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะ ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 9
เรื่องนโยบาย ต่างประเทศ
ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ยึดและควบคุมอำนาจการปกครองประเทศไว้แล้วตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 นั้น คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะยึดมั่นในหลักกฎบัตรสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ เพื่อผลประโยชน์ของชาติ จะรักษาไว้ซึ่งสิทธิ และจะปฏิบัติตามพันธกรณีในสนธิสัญญา หรือข้อตกลงที่ทำไว้กับนานาประเทศ ภายใต้หลักเกณฑ์แห่งความเสมอภาคโดยเคร่งครัด จะส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่สำหรับชาวต่างประเทศ คณะทูตานุทูต กงสุล สถานเอกอัครราชทูต และองค์การระหว่างประเทศ ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยจะได้รับการคุ้มครองจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ประกาศ ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะ ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 10เรื่องขอความร่วมมือใน การเสนอข่าวสาร
ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ยึดอำนาจการปกครองไว้เรียบร้อยแล้วนั้น เพื่อให้เกิดความสามัคคีภายในชาติ อันจะเป็นรากฐานในการแก้ไขวิกฤติและฟื้นฟูประเทศชาติให้ลุล่วงไปโดยเร็ว คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงขอความร่วมมือร่วมใจมายังสื่อมวลชนทุกสำนัก ทุกประเภท ทุกแขนง ตลอดจนผู้ประกอบการสื่อมวลชนทุกราย และสื่อมวลชนทุกคน ได้โปรดร่วมกันเสนอข่าวสารตามความเป็นจริง และเป็นไปในทางสร้างสรรค์ เพื่อฟื้นฟูความสามัคคีภายในชาติ ทำให้ประเทศชาติกลับสู่ความสงบสุขโดยเร็วที่สุด ประเทศชาติของเราได้บอบช้ำเพราะความแตกแยก แตกความสามัคคีมากพอแล้ว จึงจำเป็นที่พี่น้องประชาชนชาวไทยทุกคนจะได้ร่วมแรงร่วมใจกันฟื้นฟูชาติบ้าน เมือง ฟื้นฟูความสามัคคี นำความสงบสุขกลับคืนประเทศชาติ ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยเร็วที่สุด

คณะ ปฏิรูปการปกรองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความหวังอย่างแรงกล้าที่จะได้รับความร่วมมือจากทุกท่านอย่างพร้อมเพรียง กัน จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ประกาศ ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งคณะปฏิรูป ฯ ที่ 4 (11.25 : 20/09/06)
เชิญ คณะทูตานุทูตมารับฟังคำชี้แจง
ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองแล้ว เพื่อเป็นการทำความเข้าใจถึงสถานการณ์ภายในประเทศที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแก่ รัฐบาลของนานาประเทศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงให้กระทรวงการต่างประเทศประสานและเชิญคณะผู้แทนทางการทูตของสถานเอกอัคร ราชทูต สถานอัครราชทูต สถานกงสุล และสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ของต่างประเทศประจำประเทศไทย เข้ารับฟังคำชี้แจงจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในวันพุธที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 เวลา 13.30 น. ณ หอประชุมกิตติขจร ภายในกองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก และจัดล่ามภาษาไทย - อังกฤษ แปลในระหว่างการชี้แจงด้วย พร้อมกันนี้ ขอให้ส่งรายชื่อคณะผู้แทนทางการทูต ที่จะเข้ารับฟังคำชี้แจงดังกล่าว ให้แก่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายในเวลา 11.00 น.

สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะ ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำสั่งคณะปฏิรูป ฯ ที่ 5 (11.25 : 20/09/06)
กระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองแล้วนั้น จึงให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการควบคุม ยับยั้ง สกัดกั้น และทำลายการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในระบบสารสนเทศ ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารทั้งปวง ที่มีบทความ ข้อความ คำพูด หรืออื่นใด อันอาจจะส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีประกาศในเบื้องต้นแล้ว

สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัว หน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 11เรื่องแต่งตั้งบุคคล สำคัญดำรงตำแหน่งในคณะปฏิรูปฯ
เพื่อให้การบริหารประเทศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และควบคุมสถานการณ์ทั้งปวงอันอาจเกิดขึ้นจากผู้ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมือง ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด จึงให้แต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งในกองบัญชาการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังนี้
  1. พลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประช่ธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
  2. พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  3. พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข คนที่ 1
  4. พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนที่ 2
  5. พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนที่ 3
  6. พลเอก วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549

พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 12การดำเนินการเกี่ยวกับ การตรวจเงินแผ่นดิน
เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สมควรปรับปรุง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 และให้มีผลใช้บังคับต่อไป คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
1.ให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 มีผลใช้บังคับต่อไป โดยให้งดการบังคับใช้บทบัญญัติในส่วนที่ 1 หมวด 1 จนกว่าจะมีการประกาศเป็นอย่างอื่น และให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ 18 ก.ย. พ.ศ. 2549 พ้นจากตำแหน่ง
2.ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ 18 ก.ย.พ.ศ. 2549 คงอยู่ในตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะมีการประกาศเป็นอย่างอื่น
3.การใดที่กำหนดให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2549
ลงชื่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

http://www.do.rtaf.mi.th/news/detail.asp?id=161

ไพศาล : คุณทักษิณจะเผชิญกับคู่ต่อสู้ที่ไม่เคยพบมาก่อน


1 ชม. · 


ผมเคยแสดงความเห็นว่าการยึดอำนาจครั้งนี้ต่างจากคราวก่อน คุณทักษิณจะเผชิญกับคู่ต่อสู้ที่ไม่เคยพบมาก่อน

วันนี้ก็คงได้เห็นเป็นเบื้องต้นแล้วว่า

๑ แม้มีรัฐธรรมนูญและรัฐบาลแล้วย แต่ไม่เหมือนครั้ง คมช อย่างน้อย คสช ยังอยู่และเสริมความแกร่งมากขึ้น และกฎอัยการศึกก็ยังอยู่ ยิ่งป่วนมากก็ยิ่งเพิ่มความแข็งแกร่งและความชอบธรรมให้ คสช 

๒ คนเสื้อแดงสลายตัวโดยพื้นฐานแล้ว ชุดดำก็เบอร์นและถูกสะกัดจุดหยิมต๊กโดยทั่วไป นักวิชากินก็ฝ่อ พอจะลองของก็โดยวิชาสาวใยไหมเดี้ยงไปทุกที

๓ ต่างชาติไม่สนใจเหมือนเมื่อครั้ง คมช เพราะ คสช แก้เกมได้ฉับไว ช่วงชิงพลังอำนาจที่เคยถูกฉวยใช้มาไว้กับ คสช สำเร็จนัี้นคือโครงการน้ำ ๓๕๐,๐๐๐ ล้านบาท โครงการโครงสร้างพื้นฐ่าน ๒.๔ ล้านล้านบาทอยู่ในมือ คสช นานาชาติจึงเปลี่ยนมาเอาใจ คสช หวังได้โครงการ ท่านแม้วไปไหนจึงไม่มีใครสนใจอีกแล้ว ในขณะที่ คสช หัวกะไดไม่แห้งเลย
๔ คนไทยต้องการให้บ้่านเมืองสงบสุข กวาดล้างความโสมมจากการโกงกิน ใครทำให้ป่วนถึงถูกปฏิเสธ
ผู้ที่ชนะแล้วจึงใจเย็นไม่ต้องร้อนรน ทำไปเรื่อยๆเพื่อให้ชัยชนะปรากฎสมบูรณ์ ส่วนผู้พ่ายแพ้ดิ้นรนเพื่อหาช่องทางชนะแต่ไม่มีขช่องทางนั้นอีกแล้วแหละโยม

ลำดับเหตุการณ์การรัฐประหาร19ก.ย49

ลำดับเหตุการณ์ การเมืองไทย ประจำปี 2549

13 มกราคม 2549
เกิดเหตุกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ปะทะกับกลุ่มผู้ชมรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ที่สวนลุมพินี มีการเปิดตัว นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ รวมไปถึงสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายคน และต่อมา พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ, คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, นายกล้านรงค์ จันทิก อดีตเลขาธิการ ป.ป.ช. นายสนธิ ลิ้มทองกุล และพวก ได้นำประชาชนที่มาร่วมฟังรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ที่สวนลุมพินี กว่า 3,000 คน เดินเท้ามายังหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อกดดันให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ลาออกจากตำแหน่ง อีกทั้งมีบางส่วนที่บุกรุกเข้าไปทำลายทรัพย์สินของทางราชการเสียหาย และเนื่องจากวันรุ่งขึ้นเป็นวันเด็กแห่งชาติ จะมีเด็กและเยาวชนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก จึงมีการสลายการชุมนุมในคืนวันนั้น

20 มกราคม 2549
รายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ที่สวนลุมพินี นายสนธิ ลิ้มทองกุล ประกาศชุมนุมใหญ่ครั้งแรก ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ท้องสนามหลวง ในวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ ซึ่งขณะจัดรายการได้มีผู้ไม่ประสงค์ดีจุดประทัดยักษ์ขึ้น 3 ลูก ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ

23 มกราคม 2549
ระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่สอง ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ตระกูลชินวัตร และ ดามาพงศ์ ได้ขายหุ้นที่ครอบครองอยู่ทั้งหมด ในบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้แก่บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ จำกัด (พีทีอี) ซึ่งเป็น กองทุนเพื่อการลงทุน ของ รัฐบาลสิงคโปร์ จำนวน 1,487,740,000 หุ้น (หนึ่งพันสี่ร้อยแปดสิบเจ็ดล้านเจ็ดแสนสี่หมื่นหุ้น) (คิดเป็น 49.595% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด) มูลค่าหุ้นละ 49.25 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 73,271,200,910 บาท (เจ็ดหมื่นสามพันสองร้อยเจ็ดสิบเอ็ดล้านสองแสนเก้าร้อยสิบบาทถ้วน) ซึ่งถือเป็นการขายหุ้นที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประเทศไทย ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยที่ได้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการขายหุ้นเพียงไม่กี่วัน ก่อนหน้า และการที่ไม่ต้องเสียภาษีรายได้จากผลกำไรในการขายหุ้น ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในสังคมไทย แต่ทั้งที่ก่อน หน้านี้ ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี ได้ขายหุ้นบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ให้แก่กลุ่มเทเลนอร์ ของประเทศนอร์เวย์ โดยไม่เสียภาษี ซึ่งเป็นต้นแบบในการขายหุ้นชินครั้งนี้

คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ดำเนินการตรวจสอบการซื้อขายดังกล่าว โดยได้ผลสรุปว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และบุตรี พินทองทา ชินวัตร ปราศจากความผิด อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการได้พบว่าบุตรของ พ.ต.ท.ทักษิณ พานทองแท้ ชินวัตร ละเมิดกฎว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลและข้อเสนอการประมูลสาธารณะในการซื้อขาย ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2545 นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบการโอนภายในโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ป แต่ก็ไม่พบการกระทำที่ผิดกฎหมาย

4 กุมภาพันธ์ 2549
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “นายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน” ยืนยันอีกครั้งว่าการขายหุ้นและโอนหุ้นชินคอร์ปของครอบครัวได้ดำเนินการทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายและถูกต้องตามกติกา
ทุกอย่าง ขณะเดียวกันเขายืนยันว่า "คนที่ให้ผมออกจากตำแหน่งนายกฯ ได้ มีอยู่คนเดียวเลยครับ ไม่ต้องหลายคน นั่นคือพระเจ้าอยู่หัว ถ้าพระเจ้าอยู่หัวกระซิบรับสั่งคำเดียว ทักษิณออกเถอะ รับรองกราบพระบาทออกแน่ครับ"

ในวันนี้ ม็อบพันธมิตรฯ นัดชุมนุมที่สนามหลวง แต่สนามหลวงถูกจองใช้ จึงย้ายมาจัดที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ถนนราชดำเนินนอก จากด้านหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมถึงสี่แยกสวนมิสกวัน การชุมนุมครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการชุมนุมยืดเยื้อข้ามคืน มีการถวายฎีกาแด่องค์พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ผ่านทางพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และสำนักราชเลขาธิการ โดยมี พล.ร.ท. พะจุณณ์ ตามประทีป เป็นตัวแทนรับ และยื่นหนังสือเรียกร้องให้ทหารแสดงจุดยืนต่อ พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทองทัพบก ในครั้งนี้มีการเปิดตัวกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นแกนนำในการชุมนุมครั้งต่อ ๆ ไป นอกจากนี้การชุมนุมครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ใช้ชื่อว่า "การชุมนุมกู้ชาติ" การชุมนุมครั้งนี้มีผู้มาชุมนุมมากกว่าทุกครั้งเนื่องจากความไม่พอใจในข่าวการขายหุ้นทั้งหมดในบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของครอบครัวนายกรัฐมนตรีให้กับเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์โดยไม่ต้องเสียภาษีโดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย

9 กุมภาพันธ์ 2549
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แยกคอกวัว กรุงเทพฯ โดยมีกลุ่มต่างๆ ดังนี้
กลุ่มแรก ผู้ทรงคุณวุฒิทางสังคม มีนายสุเทพ อัตถากร เป็นแกนนำ
กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มวุฒิสภาเพื่อการปฏิรูปการเมืองขณะนี้ประกาศเข้าร่วม 9 คน มี น.พ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นายการุณ ใสงาม และนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ เป็นอาทิ
กลุ่มที่ 3 คือเครือข่ายนักวิชาการเพื่อการปฏิรูปการเมือง นำโดย นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล และนายบรรเจิด สิงคะเนติ
กลุ่มที่ 4 เครือข่ายองค์กรชาวบ้านในต่างจังหวัดซึ่งขึ้นอยู่กับความสะดวกในการประสานงาน
ทั้งนี้ นายระพี สาคริก นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ และ นายปราโมทย์ นาครทรรพ ได้รับเป็นที่ปรึกษาให้กับพันธมิตรประชาชนฯ ด้วย

11 กุมภาพันธ์ 2549
มีการชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อีกครั้งที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ใช้ชื่อว่า "ปิดบัญชีทักษิณ" มีผู้ร่วมชุมนุมหลากหลายขึ้น เนื่องจากเปลี่ยนผู้นำการชุมนุม พร้อมได้เปิดตัว พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นครั้งแรก โดยมีแกนนำทั้งหมด 5 คน คือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายพิภพ ธงไชย นายสมศักดิ์ โกศัยสุข และนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ในครั้งนี้รัฐบาลได้พยายามขัดขวางเนื่องจากอ้างว่ามีความไม่เหมาะสมและไม่สมควร เพราะสถานที่ที่นี้เป็นเขตพระราชฐาน จึงมีการนัดชุมนุมใหญ่ครั้งต่อไป ที่สนามหลวงในวันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2549 โดยจะเป็นการชุมนุมยืดเยื้อไม่มีกำหนด จนกว่านายกรัฐมนตรีจะลาออกจากตำแหน่ง

24 กุมภาพันธ์ 2549
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศยุบสภา ตามที่นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นำความกราบบังคมทูลฯ โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้กล่าวถึงเหตุผลในตอนหนึ่งของแถลงการณ์ ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เมื่อเวลา 20.30 น. ว่า มีกลุ่มผู้ประท้วงที่ต่อต้านระบอบประชาธิปไตย กดดันให้ตนลาออกจากตำแหน่ง

25 กุมภาพันธ์ 2549
พรรคประชาธิปัตย์ มีมติไม่ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยอ้างว่า "เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 328 (2) อีกทั้งไม่มีกฎหมายฉบับใดระบุว่าการไม่ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทำผิดกฎหมาย หรือล้มล้างระบอบประชาธิปไตย เพราะไม่เช่นนั้นแล้วพรรคการเมืองที่ไม่ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งทุกพรรคต้องถือว่ากระทำผิดกฎหมายด้วยเช่นกัน"

26 กุมภาพันธ์ 2549
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุม ใหญ่ที่ท้องสนามหลวงเป็นครั้งแรก เพื่อขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

27 กุมภาพันธ์ 2549
3 พรรคฝ่ายค้าน ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้ง วันที่ 2 เมษายน 2549 และรณรงค์ให้ผู้ไปใช้สิทธิ์กาในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลล์ ระบุว่ามีผู้ไม่เห็นด้วยกับการคว่ำบาตรกว่า 45.21% และเห็นด้วยเพียง 28.05%

3 มีนาคม 2549
พรรคไทยรักไทย จัดการปราศรัยใหญ่ ที่ท้องสนามหลวง โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ หัวหน้าพรรค ขึ้นปราศรัย ชี้แจงถึงสถานการณ์การเมืองในประเทศ ในเวลา 20.00 น. มีผู้เดินทางมาฟังปราศรัย เป็นจำนวนหลายแสนคน จนเต็มท้องสนามหลวง และล้นออกไปถึงถนนราชดำเนินกลาง ใกล้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
4 มีนาคม 2549
คำเตือนครั้งสุดท้ายก่อนนองเลือดจากนักวิชาการ ราษฎรอาวุโส

สุรพล นิติไกรพจน์ ชี้ 5 ทางออกอันน้อยนิด เรียกร้อง "ทักษิณ" พึ่งบารมีในหลวงกราบทูลขอยุติการปฏิบัติหน้าที่นายก

ประเวศ วะสี ระบุว่า "การคว่ำบาตรการเลือกตั้ง การชุมนุมประท้วง ก็ทำกันไป อย่าไปตกอกตกใจ เมื่อการเมืองภาคประชาชนดำเนินไปอย่างเข้มข้นและถูกต้อง ประเดี๋ยว "ธรรมะจัดสรร" เอง ให้มีทางออกอย่างมหัศจรรย์ โดยบอกล่วงหน้าไม่ได้ว่าคืออย่างไร"

ปราโมทย์ นาครทรรพ กล่าว "การชุมนุมโดยสันติต่อต้านการใช้อำนาจรัฐไม่เป็นธรรม สามารถทำได้โดยชอบ และหากไม่ได้ผล พระมหากษัตริย์สามารถใช้พระราชอำนาจโดยจารีตประชาธิปไตยปลดนายกรัฐมนตรีได้ พร้อมทั้งยกตัวอย่างการใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 7 ในอดีตมาใช้ว่าเคยเกิดขึ้นในกรณีการพระราชทานนายกฯ หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535 ซึ่งสามารถใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 7 และสามารถยกเว้นรัฐธรรมนูญบางมาตราที่เป็นอุปสรรคได้"

โสภณ สุภาพงษ์ ส.ว.กทม. กล่าวว่า "หากจะพิจารณาว่ารัฐธรรมนูญ มาตรา 7 เป็นทางออกวิกฤติการเมืองใช่หรือไม่ ต้องบอกว่าเป็นวิธีป้องกันไม่ใช่ทางออก เพราะทางออกมีทางเดียวคือ พ.ต.ท.ทักษิณต้องลาอก แต่มาตรา 7 เป็นวิธีป้องกันไม่ให้กลับมาอีก หรือจะใช้มาตราไหนก็ได้ไม่ให้สิ่งเหล่านี้กลับมาแปดเปื้อนประเทศไทยอีก แต่มาตรา 7 เป็นมาตราที่คนไทยศรัทธาและทำให้เกิดความสามัคคีมากที่สุด"

นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ส.ว.อุบลราชธานี กล่าวว่า "พ.ต.ท.ทักษิณ และระบอบทักษิณได้ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งไปแล้ว ดังนั้นอย่าไปพูดถึงเรื่องกฎหมาย เพราะถ้าพูดถึงเรื่องกฎหมายเราจะหลงกลทักษิณ ขณะนี้เรากำลังพูดถึงสิ่งที่เหนือกฎหมายนั่นคือธรรมะ ซึ่งคุณทักษิณขาดจริยธรรมในทางการเมือง สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น พ.ต.ท.ทักษิณพยายามใช้ความชอบธรรมโดยใช้กระบวนการทางกฎหมายให้เป็นประโยชน์ เพื่อต่อย
อด สถาปนาอำนาจระบอบทักษิณให้เป็นนิรันดร์กาล"

พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ประธาน ชมรมแพทย์ชนบท ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากรักษาการนายกรัฐมนตรีและประกาศเว้นวรรคทางการเมือง กล่าวว่า "การเสียสละเป็นคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ของผู้นำประเทศ ชมรมแพทย์ชนบทขอเรียกร้องให้รักษาการนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ เสียสละเพื่อประเทศชาติ ลาออกจากรักษาการนายกรัฐมนตรีและประกาศเว้นวรรคทางการเมืองเพื่อให้
เกิดการปฏิรูปการเมืองอีกครั้ง"

ในวันเดียวกันนี้ ธีรยุทธ บุญมี อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเปิดแถลงข่าวหัวข้อ "วิเคราะห์วิกฤติทักษิณ และข้อเสนอแนะต่อการเคลื่อนไหวพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" เวลา 10.00 น. ตึกโดม ม.ธรรมศาสตร์

5 มีนาคม 2549
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยแกนนำทั้ง 5 ได้ นำประชาชนจำนวนหนึ่ง ปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล กดดันทุกวิถีทาง เพื่อให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเว้นวรรคทางการเมือง อีกทั้งต้องตรวจสอบทรัพย์สินทั้งหมด แต่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ก็ยืนยันว่า ตนจะลาออกจากตำแหน่งรักษาการไม่ได้ โดยให้เหตุผลว่า รัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 215 วรรคสอง บัญญัติให้ คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่า คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ จะเข้ารับหน้าที่ จึงไม่สามารถลาออกจากตำแหน่งได้

14 มีนาคม 2549
7.00 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคลื่อน ย้ายที่ชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี จากสนามหลวงไปยังหน้าทำเนียบรัฐบาล โดยมีผู้เข้าร่วมชุมนุมจำนวนมาก

21 มีนาคม 2549
นายธนกร ภักดีผล ผู้เคยมีประวัติอาการทางจิตและภาวะซึมเศร้า เข้าทำลายรูปปั้นท้าวมหาพรหมใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งในภายหลังได้ถูกชาวบ้านทุบตีจนเสียชีวิต จากเหตุการณ์ดังกล่าว นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้หยิบยกมากล่าวอ้างในการชุมนุมในวันรุ่งขึ้นว่า พ.ต.ท.ทักษิณได้บงการให้เกิดการทำลายเทวรูปดังกล่าว และแทนที่เทวรูปพระพรหมด้วย "อำนาจมืด" ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้กับเขา นายสนธิได้กล่าวอ้างว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ว่าจ้างนายธนกรให้กระทำการดังกล่าวผ่านทางชาแมนมนต์ดำเขมร เนื่องจาก "เป็นผู้หลงใหลอยู่ในความเชื่อที่ผิด" และ "เป็นการปัดเป่าลางร้าย"

บิดาของผู้เสียชีวิต นายสายันต์ ภักดีผล กล่าวว่า นายสนธิเป็น "คนโกหกคำโตที่สุดที่เคยเจอมา" ส่วน พ.ต.ท.ทักษิณ มองว่าการกล่าวอ้างของนายสนธิ "บ้า" และจนถึงปัจจุบัน นายสนธิก็ยังปฏิเสธจะให้ "ข้อมูลเชิงลึก" แก่สาธารณะชนในเรื่องดังกล่าว

24 มีนาคม 2549
พรรคประชาธิปัตย์ปราศรัยใหญ่ที่ท้องสนามหลวง ชี้แจงถึงเหตุการคว่ำบาตรไม่ลงเลือกตั้ง
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอแนะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่รักษาการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น นำคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ และให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กราบบังคมทูลขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน โดยอาศัยความตามมาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อรักษาการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเมือง สืบเนื่องจาก นักวิชาการ นักการเมือง และประชาชน ที่มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวข้องกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมกันลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ซึ่งอภิสิทธิ์ไม่ใช่ผู้ร่วมลงนามในฎีกาดังกล่าวตามหลักฐานรายชื่อ ในฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ในภายหลังอภิสิทธิ์ถูกตั้งฉายาว่า "มาร์ค ม.7"
ซึ่งนอกจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะแสดงความต้องการให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แทรกแซงการเมือง โดยการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เพื่อยุติความขัดแย้งแล้ว ยังมีองค์กรอื่นๆ ที่เห็นด้วยกับแนวทางนี้คือ กลุ่มพันธมิตรฯ สภาทนายความ และสภาสื่อแห่งประเทศไทย 

25 มีนาคม 2549
พรรคประชาธิปัตย์ปราศรัยใหญ่ที่สนามหลวง ท่ามกลางประชาชนประมาณ 30,000 คน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแจงถึงจะมี19 ล้านเสียง แต่ก็หลีกเลี่ยงการตรวจสอบไม่ได้ ระบุทางออก 3 แนวทางเรียกร้องคณะรัฐมนตรีออกยกชุด เปิดทางพระราชทานคณะรัฐมนตรี หลังปราศรัยจบ ประชาชนส่วนหนึ่งที่เดินทางมาฟังการปราศรัยของพรรคประชาธิปัตย์ได้เดินขบวน ต้องไปยังสะพานมัฆวานรังสรรค์ เพื่อสมทบกับผู้ชุมนุมของเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอำนวยความสะดวกด้านการจราจร
26 มีนาคม 2549
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เดินขบวนเพื่อหาเสียงสนับสนุนจากประชาชนจากสนามกีฬาแห่งชาติไปยังสี่แยกราชดำริ และบางส่วนได้เดินเลยไปที่ห้างเอ็มโพเรี่ยมด้วย

29 มีนาคม 2549
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ห้างสยามพารากอน

30 มีนาคม 2549
คาราวานคนจนทำการล้อมปิดอาคารเนชั่น ทาวเวอร์ที่ทำการ น.ส.พ.คมชัดลึก ตั้งแต่เช้าจนบ่าย ด้วยกล่าวว่า คมชัดลึก เสนอข่าวไม่เป็นกลางทางการเมือง
16.00 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ชุมนุมกันที่หน้าอาคารศรีจุลทรัพย์ ที่ทำการ กกต. เพื่อกดดัน กกต. ให้ลาออก

31 มีนาคม 2549
กลุ่มมอเตอร์ไซด์รับจ้างและผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางไปที่อาคารบ้านพระอาทิตย์ ที่ทำการ น.ส.พ.ผู้จัดการ แต่ถูกพนักงานผู้จัดการและผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงขับไล่ออกไป

2 เมษายน 2549
ผลการเลือกตั้ง พรรคไทยรักไทย เข้ามาเป็นอันดับหนึ่งด้วยคะแนนเสียง 16,246,368 นับเป็น 56% 
อ.ไชยันต์ ไชยพร ฉีกบัตรเลือกตั้งของตนเองที่หน่วยเลือกตั้งที่ 62 เขตสวนหลวง ตั้งอยู่ที่ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ให้เหตุผลว่า สิ่งที่เขากระทำลงไปนั้นก็เพื่อนำทางไปสู่การตั้งคำถามว่าประชาธิปไตยนำไปสู่สิ่งที่ดีงามหรือไม่ และการเป็นพลเมืองที่ดี ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น กฎหมายเลือกตั้งนั้น เหตุใดจึงไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับความเป็นคนดี และเหตุใดเราจึงต้องเลือกระหว่างสองสิ่งนี้ เขากล่าวด้วยว่า ในฐานะที่เขาเป็นอาจารย์สอนด้านรัฐศาสตร์เขาก็ต้องเป็นตัวอย่างในการตั้งคำถามเหล่านี้ พร้อมระบุว่า เขาคิดว่าคดีที่เขาฉีกบัตรเลือกตั้งนี้ จะเป็นกรณีศึกษาของปรัชญาการเมือง

3 เมษายน 2549 
ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการพบว่าพรรคไทยรักไทยได้รับที่นั่งในรัฐสภาถึง 460 ที่นั่ง ด้วยคะแนนเสียง 56% อย่างไรก็ตาม ผู้ลงสมัครพรรคไทยรักไทยใน 38 จังหวัดเลือกตั้ง โดยเฉพาะทางภาคใต้ ซึ่งเป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ได้คะแนนเสียงไม่ถึง 20% ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้งชะลอผลของการเลือกตั้ง และจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549 พรรคประชาธิปัตย์ยื่นฎีกาต่อศาลปกครองกลางให้ยก เลิกการเลือกตั้งซ่อม ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็นการถ่วงเวลาการเปิดประชุมสภาและขัดขวางมิให้การจัด ตั้งรัฐบาลเสร็จทันกำหนดที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ เช่นเดียวกับ พธม. ที่ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ประกาศจะชุมนุมต่อไปจนกว่าจะได้รับ "นายกรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้ง"

พ.ต.ท.ทักษิณ ประกาศจัดตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยอิสระเพื่อแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง แต่พรรคประชาธิปัตย์และ พธม. ไม่เข้าร่วมกับคณะกรรมการดังกล่าว

4 เมษายน 2549
หลังจากเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
20.30 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แถลงการณ์ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยว่า แม้พรรคไทยรักไทยจะชนะการเลือกตั้ง 2 เมษายน แต่ตนจะไม่ขอรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นการสร้างความสมานฉันท์ และปรองดองในชาติ พร้อมขอโทษประชาชน 16 ล้านคนที่ลงคะแนนให้พรรคไทยรักไทย โดยเหตุผลหลักคือเพื่อความสมานฉันท์ของชาติในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ยังจำเป็นจะต้องรักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนกว่าการสรรหานายกรัฐมนตรีคนใหม่จะแล้วเสร็จ
6 เมษายน 2549
เมื่อยังคงมีกระแสต่อต้านการที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ลาราชการ และแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน
พรรคประชาธิปัตย์จัดงานครบรอบ 60 ปี ของพรรค และจัดงานเลี้ยงระดมทุนที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติกรุงเทพ บางนา

7 เมษายน 2549
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเฉลิมฉลองกันที่ท้องสนามหลวง พร้อมกับประกาศว่า การกำจัดระบอบทักษิณเป็นเป้าหมายต่อไป

19 เมษายน 2549
มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2549

25 เมษายน 2549
17.42 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จออก ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด มีพระราชดำรัสที่น่าสนใจดังนี้

"... ฉะนั้นขอฝาก ไม่อย่างนั้นยุ่ง เพราะถ้าไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ก็ไม่มีทางจะปกครองแบบประชาธิปไตย ของเรามีศาลหลายชนิดมากมาย แล้วมีสภาหลายแบบ และทุกแบบจะต้องเข้ากัน ปรองดองกันและคิดทางที่จะแก้ไขได้

ที่พูดอย่างนี้ค่อนข้างจะประหลาดหน่อย ที่ขอร้องอย่างนี้ ก็เพราะไม่อย่างนั้นเดี๋ยวเขาก็บอกว่าต้อง มาตรา 7 มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งขอยืนยันว่า มาตรา 7 ไม่ได้หมายถึงให้มอบให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจที่จะทำอะไรตามชอบใจ ไม่ใช่

มาตรา 7 นั้น พูดถึงการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่าให้พระมหากษัตริย์ตัดสินได้ ทำได้ทุกอย่าง ถ้าทำเขาก็จะว่าพระมหากษัตริย์ทำเกินหน้าที่ ซึ่งจริงๆ ไม่เคยทำเกินหน้าที่ ถ้าทำเกินหน้าที่ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย

ก็อ้างถึงก่อนนี้ เมื่อรัฐบาลของอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ตอนนั้นไม่มีทำเกินอำนาจของพระมหากษัตริย์ ตอนนั้นมีสภา มีประธานสภา รองประธานสภามีอยู่ ทำหน้าที่ แล้วมีนายกฯ ที่สนองพระบรมราชโองการได้ตามรัฐธรรมนูญ..."


"... ข้าพเจ้ามีความเดือดร้อนมาก ที่เอะอะอะไรก็ขอพระราชทานนายกฯ พระราชทาน ซึ่งไม่ใช่การปกครองประชาธิปไตยกลับไปอ่าน มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญเป็นการอ้างที่ผิด อ้างไม่ได้ มาตรา 7 มี 2 บรรทัดว่า อะไรที่ไม่มีในรัฐธรรมนูญ ก็ให้ปฏิบัติตามประเพณีตามที่เคยทำมา ไม่มี เขาอยากจะได้ นายกฯ พระราชทานเป็นต้น

จะขอนายกฯ พระราชทานไม่ใช่เรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นการปกครองแบบ ขอโทษ แบบมั่ว แบบไม่มีเหตุมีผล สำคัญอยู่ที่ท่านที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา มีสมองที่แจ่มใส สามารถกลับไปคิดวิธีที่จะปฏิบัติ คือ ปกครองต้องมีสภา สภาที่ครบถ้วน ถ้าไม่ครบถ้วนก็ว่าไม่ได้ แต่อาจจะต้องหาวิธีที่ตั้งสภาที่ไม่ครบถ้วน แบบตำนานได้ แต่ก็มั่ว ขอโทษอีกทีนะ ใช้คำมั่วไม่ถูก ไม่ทราบใครจะทำมั่ว ปกครองประเทศมั่วไม่ได้ ที่จะคิดแบบว่าทำปัดๆ ไปให้เสร็จ ถ้าทำไม่ได้ก็โยนให้พระมหากษัตริย์ทำ ซึ่งยิ่งร้ายกว่าทำมั่วอีก เพราะพระมหากษัตริย์ไม่มีหน้าที่ที่จะไป ก็เลยต้องมาขอร้องฝ่ายศาลให้คิดและช่วยกันคิด

เดี๋ยวนี้ประชาชนทั่วไปหวังในศาล โดยเฉพาะศาลฎีกา ศาลอื่นๆ ก็ยังมองว่าศาลฎีกามีความซื่อสัตย์สุจริต มีเหตุมีผล มีความรู้ เพราะท่านได้เรียนรู้กฎหมายมา พิจารณาเรื่องกฎหมายที่จะต้องศึกษาดีๆ ประเทศจึงจะรอดพ้นได้ ถ้าไม่ทำตามหลักกฎหมาย หลักการปกครองที่ถูกต้อง ประเทศชาติไปไม่รอด อย่างที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้ เพราะว่าไม่มีสมาชิกสภาถึง 500 คน ทำงานไม่ได้ก็ต้องพิจารณาดูว่าจะทำยังไงจะพลิกตำนานได้ จะมาขอให้พระมหากษัตริย์ตัดสิน เขาอาจจะว่ารัฐธรรมนูญพระมหากษัตริย์เป็นคนพระปรมาภิไธยจริง ในหลวงลงพระปรมาภิไธย ก็เดือดร้อน

แต่ว่าในมาตรา 7 ไม่ได้บอกว่าพระมหากษัตริย์สั่งได้ ไม่มี ลองไปดูมาตรา 7 เขาเขียนว่าถ้าไม่มีการบัญญัติแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ไม่ได้บอกว่ามีพระมหากษัตริย์สั่งการได้ แล้วก็ขอยืนยันว่าไม่เคยสั่งการอะไรที่ไม่มีกฎเกณฑ์ บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติต่างๆ ทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญทุกอย่าง อย่างที่เขาขอให้มีพระราชทาน นายกฯ พระราชทาน ไม่เคยมี มีนายกฯ แต่รับสนองพระบรมราชโองการอย่างถูกต้องทุกครั้ง มีคนที่เขาอาจจะมาบอกว่าพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 ทำตามใจชอบ ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบตั้งแต่เป็นมา รัฐธรรมนูญเป็นมาหลายฉบับหลายสิบปี ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ ถ้าทำตามใจชอบ ก็เข้าใจว่าบ้านเมืองล่มจมมานานแล้ว..."

28 เมษายน 2549
ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งระงับการเลือกตั้งซ่อม ที่กำหนดให้มีใน 14 เขตเลือกตั้ง ของ 9 จังหวัดภาคใต้ ในวันเสาร์ ที่ 29 เมษายน ทั้งนี้ ถือเป็นการน้อมรับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวมาปฏิบัติเพื่อแก้ไขวิกฤตทางการเมือง

6 พฤษภาคม 2549
ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา นัด สุรยุทธ์ จุลานนท์, อักขราทร จุฬารัตน, ชาญชัย ลิขิตจิตถะ, จรัญ ภักดีธนากุล มาพูดคุยกันที่บ้านสุขุมวิท 103 ของนายปีย์ ไม่เพียงเท่านั้นยังมีพัลลภ ปิ่นมณี และปราโมทย์ นาครทรรพ ตามมาสมทบด้วย จากการสัมภาษณ์ของมติชน (มีนาคม 2552) ปีย์ กล่าวขัดแย้งกับความเป็นจริง ว่า

"มติชนถาม : ทำไมเชิญ พล.อ.พัลลภและนายปราโมทย์เข้าร่วม และร่วมในฐานะอะไร
ปีย์ตอบ : มีความสนิทสนมกับคนทั้งสองมานานแล้ว และตอนนั้น พล.อ.พัลลภกำลังดังเรื่องคาร์บอมบ์ (คดีวางระเบิด พ.ต.ท.ทักษิณ) ส่วนคุณปราโมทย์นั้นเขียนหนังสือเกี่ยวกับปฏิญญาฟินแลนด์ และมีความรู้ทางด้านกฎหมายเลยเชิญมาร่วม"

8 พฤษภาคม 2549
นายอุระ หวังอ้อมกลาง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยภายหลังเสร็จสิ้นการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ว่าที่ประชุมลงมติให้การเลือกตั้ง 2 เม.ย. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 6 เสียง และควรให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 5 โดยให้เพิกถอนการเลือกตั้งและจัดการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ ซึ่งกำหนดไว้เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนยังได้เรียกร้องให้สมาชิกของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ลาออกจากตำแหน่ง และเมื่อสมาชิกดังกล่าวปฏิเสธ ศาลอาญาจึงได้สั่งจำคุกและปลดคณะกรรมการการเลือกตั้งออกจากตำแหน่ง
17 พฤษภาคม 2549หนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ผู้จัดการ ได้ตีพิมพ์บทความ “ยุทธศาสตร์ฟินแลนด์: แผนการเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย?” โดยกล่าวหา ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย มีแผนสมคบคิดเพื่อโค่นล่มราชวงศ์จักรีและยึดอำนาจการปกครองประเทศ

พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคไทยรักไทย ได้ฟ้องต่อนายสนธิ บรรณาธิการ คอลัมนิสต์ และฝ่ายบริหารอีกสองคนในข้อหาหมิ่นประมาท ซึ่งคดีนี้ ต่อมาศาลได้ตัดสิน ในวันที่ 25 มี.ค. 2552 ดังนี้ กรณี ‘สนธิ-เจิมศักดิ์-ชัยอนันต์-ปราโมทย์’ เสวนาปฏิญญาฟินแลนด์ แม้ใช้ถ้อยคำเกินเลยไปบ้าง แต่ถือว่าโจทก์เป็นบุคคลสาธารณะ ประชาชนจะแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตในการบริหารราชการแผ่นดินที่จะมีผลกระทบ ต่อประชาชนและประเทศได้ จึงยกฟ้อง อีกคดีตัดสิน ‘ปราโมทย์-บก.ผู้จัดการ’ คุก 1 ปีปรับ 1 แสน หลังแพร่บทความปฏิญญาฟินแลนด์ แต่จำเลยสร้างคุณงามความดีมาก่อน-กระทำผิดเพราะต้องการปกป้องสถาบันที่เคารพ ให้รอลงอาญา 2 ปี
18 พฤษภาคม 2549
ปราโมทย์ นาครทรรพ นำเสนอบทความ "ยุทธศาสตร์ฟินแลนด์:แผนเปลี่ยนการปกครองไทย?" ปรากฏสู่สาธารณะเผยแพร่ในสื่อผู้จัดการ

20 พฤษภาคม 2549
รายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร จัดขึ้นอีกครั้งที่สวนลุมพินี ในชื่อ " รายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร คอนเสิร์ตการเมือง "

21 พฤษภาคม 2549
ประชาชนจำนวนมาก ร่วมสักการบูชาองค์ท้าวมหาพรหมองค์ใหม่ ณ ศาลท่านท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ

23 พฤษภาคม 2549
มีฝนตกหนักในภาคเหนือตอนล่าง ทำให้น้ำป่าไหลหลากท่วมบ้านเรือนเสียหายหนัก และมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน หมู่บ้านที่ถูกดินถล่มใน อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
9 มิถุนายน 2549
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม รับการถวายพระพรชัยมงคล และให้ประชาชนได้ชื่นชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด

13 มิถุนายน 2549
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำแด่พระราชอาคันตุกะ ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร ในพระบรมมหาราชวัง

27 มิถุนายน 2549
คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง มีมติเป็นเอกฉันท์ให้อัยการสูงสุด ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณายุบพรรคการเมือง 5 พรรค คือ พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคไทยรักไทย กรณีฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

พรรคประชาธิปัตย์ได้นำเสนอ "แถลงการณ์พรรคประชาธิปัตย์ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2549" เพื่อชี้แจงต่อกรณีที่ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้ส่งคำร้องถึงอัยการสูงสุด กล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์ว่ากระทำผิดพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 66(2) และ (3) ระบุว่า "เป็นการกระทำที่อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข มีการกระทำอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมายหรือ
ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และคณะอนุกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีพรรคการเมืองใหญ่ว่าจ้างพรรคการเมืองเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง ของสำนักงานอัยการสูงสุดที่มีนายชัยเกษม นิติศิริ เป็นประธาน มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าพรรคประชาธิปัตย์มีความผิดตามคำร้อง"

14 กรกฎาคม 2549
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เดินทางไปที่หน้าสถานทูตอังกฤษและสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย ที่ถนนวิทยุ เพื่อยื่นหนังสือชี้แจงถึงสถานการณ์การเมืองในเมืองไทย

20 กรกฎาคม 2549
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกฤษฎีกาประกาศให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 15 ตุลาคม คณะแพทย์ศิริราช ถวายการผ่าตัดขยายช่องทางเดินประสาทของพระปิฐิกัณฐกัฐิ (กระดูกสันหลัง) ระดับบั้นพระองค์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

24 กรกฎาคม 2549
ผลการเลือกตั้ง ส.ก. ส.ข. อย่างไม่เป็นทางการ ปชป. ได้ ส.ก. 36 เขต ทรท. 17 เขต ส่วน ส.ข. ปชป.ได้ยกทีม 20 เขต ทรท. 7 เขต

กลุ่มคนร้าย 4 คน ปลอมตัวเป็นนักศึกษา บุกโรงเรียนบ้านบือแรง หมู่ 1 ต.ลาโล๊ะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ยิงครูเสียชีวิตขณะสอนหนังสือเด็ก ผู้บริหารสั่งปิดโรงเรียนไม่มีกำหนด

25 กรกฎาคม 2549
ศาลอาญาพิพากษาจำคุก 3 กกต. คนละ 4 ปี ไม่รอลงอาญา และเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง 5 ปี ในคดีที่นายถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องพล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธาน กกต.นายปริญญา นาคฉัตรีย์ และนายวีระชัย แนวบุญเนียร กกต. ร่วมเป็นจำเลย ในความผิดฐานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157และกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 มาตรา 24 และ มาตรา 42 สืบเนื่องจากกรณี กกต.ทั้ง 3 ได้ร่วมจัดการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตรอบใหม่เมื่อวันที่ 23 เม.ย.2549 โดยไม่มีอำนาจ และออกหนังสือเวียนถึง ผอ.กต.เขตเลือกตั้งให้รับผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งไม่ถึงร้อยละ 20 เปลี่ยนเขตลงสมัครในรอบใหม่ อันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้สมัครรายเดิม เวียนเทียนลงรับสมัครเลือกตั้งรอบใหม่เพื่อช่วยให้ให้ผู้สมัครรายเดียวพรรคไทยรักไทย หลีกเลี่ยงเกณฑ์ ร้อยละ 20

10 สิงหาคม 2549
ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาลงมติคัดเลือกผู้สมควรเป็นคณะกรรมการการเลือก ตั้งจำนวน 10 คน เพื่อให้วุฒิสภาคัดเลือกให้เหลือ 5 คน

19 สิงหาคม 2549
ระหว่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปเปิดงานในฐานะประธานเปิดตัวหนังสือและซีดีที่ระลึก นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ได้มีเสียงประชาชนกลุ่มเล็ก ๆ จำนวนประมาณ 20 - 30 คน ได้ตะโกนเสียงดังขึ้นมาว่า "นายกฯ....คน เลว...ออกไป" จนในที่สุดเกิดเหตุการณ์ชุลมุนจากทั้งกลุ่มสนับสนุนและต่อต้านนายกรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจึงเชิญตัวให้ออกไปจากสถานที่

20 สิงหาคม 2549
ดร. สังศิต พิริยะรังสรรค์ แกนนำเครือข่ายประชาสังคม หยุดระบอบทักษิณ ร่วมกับสมาชิกเครือข่ายจำนวนหนึ่ง ได้จัดแถลงข่าว ที่อาคารสำนักวิทยบริการ ชั้น 8 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และได้ให้ประชาชน 6 คน ที่ถูกกลุ่มสนับสนุนนายกรัฐมนตรีรุมทำร้าย ขณะเกิดเหตุการเปิดงานเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอนมาแสดงตัว ขณะที่ประชุม ที่ลานข้างล่างหน้าอาคารได้มีกลุ่มผู้สนับสนับสนุนนายกรัฐมนตรีใช้ชื่อว่ากลุ่มตัวแทนองค์กรประชาชนรักความสงบ ราว 50-60 คนที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ยืนถือป้ายผ้าและโปสเตอร์ด้วยความสงบเพื่อต่อต้าน ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ และมีการปะทะคารมกัน

21 สิงหาคม 2549
ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบอารักขานายกรัฐมนตรี ขณะไปเปิดงานอุทยานเรียนรู้ - ดิจิตอล ทีเคปาร์ค ที่ชั้น 8 เซ็นทรัลเวิลด์ ได้มีการปะทะคารมกันของฝ่ายผู้สนับสนุนนายกรัฐมนตรีและฝ่ายต่อต้าน จนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและชายฉกรรจ์ในชุดสีเข้มไม่ทราบสังกัดทำร้ายร่างกาย เป็นชนวนให้เกิดการปะทะกันรุนแรงขึ้น ผลคือมีการบาดเจ็บกันหลายคน ทั้งกลุ่มผู้ที่ต่อต้านนายกรัฐมนตรีและกลุ่มที่สนับสนุน
24 สิงหาคม 2549
รถคันหนึ่งซึ่งขนวัตถุระเบิดกว่า 67 กิโลกรัม โดยผู้เชี่ยวชาญบอกว่าถ้าเกิดระเบิดจะมีรัศมีทำลาย 1 ก.ม. ได้หยุดบริเวณใกล้ที่พักของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในเขตธนบุรี โดยมี ร.ต.ท.ธวัชชัย กลิ่นชะนะ อดีตคนขับรถส่วนตัวของ พล.ต.อ.พัลลภ ปิ่นมณี รักษาการผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เป็นพลขับ โดยการสืบสวนของตำรวจพบว่า รถคนดังกล่าวได้ออกจากสำนักงานใหญ่ของ กอ.รมน. เมื่อเช้าวันเดียวกัน

พล.ต.อ.พัลลัภ ปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว และกล่าวว่า "ถ้าผมทำ นายกฯ หนีไม่พ้นผมหรอก..." และกล่าวอ้างว่า "วัตถุระเบิดอยู่ระหว่างการขนส่ง ไม่ได้เก็บรวบรวมมาจุดระเบิด" ในขณะที่ฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาลมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นแผนสมคบคิดของรัฐบาล

ร.ต.ท.ธวัชชัย ถูกจับกุมตัว และ พล.ต.อ.พัลลภ ถูกปลดออกจากตำแหน่งในทันที ในภายหลังได้มีการจับกุมนายทหารเพิ่มอีก 5 นาย เนื่องจากสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง แต่นายทหาร 3 นาย รวมทั้ง ร.ต.ท.ธวัชชัย ถูกปล่อยตัว ภายหลังการก่อรัฐประหารในเดือนกันยายน

ซึ่งคดีนี้ในตอนแรก ได้มีการทำลายความน่าเชื่อถือของคดี โดยมีการกล่าวหาว่าเป็น "คาร์บ๊องส์"์

29 สิงหาคม 2549
ครม. มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย ศึกษาความเป็นไปได้ในการรวม อ.หัวหิน อ.ปราณบุรี และ อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ กับ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เป็นจังหวัดใหม่ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสฉลองครบรอบ 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว

31 สิงหาคม 2549
เกิดเหตุการณ์วางระเบิดธนาคาร พร้อมกัน 22 แห่งใน จ.ยะลา

2 กันยายน 2549 
ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีกลุ่มที่ใช้ชื่อว่าเครือข่ายแพทย์ เภสัช พยาบาล อาจารย์มหาวิทยาลัย 43 องค์กร 11 มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นกลุ่มคนบางส่วนของหน่วยงานที่อ้างเหล่านั้น ทำการล่าชื่อ ปลุกกระแส ต้าน"ทักษิณ" ออกแถลงการณ์ให้ยุติบทบาทนายกรัฐมนตรีในทันที มีการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องการร่วมกันแก้ไขวิกฤตปัญหาของบ้านเมือง เน้นการต่อต้านทักษิณตามแนวทางอหิงสาด้วยกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการถวายสัตย์ปฏิญญาในฐานะข้าราชการต่อพระบรมรูป 2 รัชกาลที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

8 กันยายน 2549
ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติคัดเลือกกกต.ชุดใหม่ ประกอบด้วย นายประพันธ์ นัยโกวิท, นายสุเมธ อุปนิสากร, นายอภิชาต สุขัคคานนท์, นายสมชัย จึงประเสริฐ และนางสดศรี สัตยธรรม ส่วนนายแก้วสรร อติโพธิ ที่ไม่ได้รับเลือก กล่าวว่าจะขอสมัครเป็นเลขาธิการ กกต.

9 กันยายน 2549พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เริ่มออกเดินทาง เพื่อร่วมประชุมสหประชาชาติ โดยแวะเยือนประเทศอื่นๆ ก่อนไปมหานครนิวยอร์ ได้ไปขึ้นเครื่องที่บน.6 ท่ามกลางการอารักขาของหน่วยทหารพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์สงครามครบมือ
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวปฏิเสธกระแสข่าวเรื่องที่ว่าอาจมีรัฐประหาร และชี้ว่าเป็นการปล่อยข่าวเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรัฐประหาร
คณะนักวิชาการไปยื่นหนังสือถึงพล.อ.เปรม ที่บ้านสี่เสาเพื่อประกาศเจตนารมณ์หยุดระบอบทักษิณ พร้อมชู"ป๋าเปรม"เป็นแบบอย่างของคนไทยอีกด้วย
10 กันยายน 2549
กลิ่นปฏิวัติเริ่มโชยหนักขึ้น พ.ต.ท.ทักษิณซึ่งเดินทางไปถึงกรุงเฮลซิงกิประเทศฟินแลนด์ เพื่อเข้าร่วมประชุมอาเซ็มได้พูดกับนักข่าวว่า ไม่ได้เป็นผู้พูดเรื่องปฏิวัติด้วยตัวเอง ถือเป็นเรื่องของข่าวลือและการปล่อยข่าว แต่ที่เมือง ไทย พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน รองปลัดกระทรวงกลาโหมปฏิบัติการดับเครื่องชน รัฐบาลและพล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ฐานยุ่มย่ามโผย้ายทหาร โดยที่พล.อ.ธรรมรักษ์ประกาศจะเล่นงานตามกฎหมาย ขณะที่จ่ายักษ์ ตัวละครสำคัญคดีคาร์บอมบ์ระบุว่า มีนายพล 3 นายแห่งกองทัพบก เข้าร่วมขบวนการลอบสังหารนายกฯ

11 กันยายน 2549
เสร็จสิ้นการประชุมอาเซ็ม ที่ประเทศฟินแลนด์ พ.ต.ท.ทักษิณ เกิดเป็นไข้ขึ้นมากะทันหัน จึงพาคณะเดิน ทางไปพักผ่อนที่ประเทศอังกฤษ เพื่อเตรียมเข้าร่วมประชุมกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่ประเทศคิวบา พ.ต.ท.ทักษิณ พูดติดตลกกับนักข่าวว่า ที่ยังไม่กลับประเทศไทยนั้น "ไม่ใช่ เพราะขอลี้ภัย"

12 กันยายน 2549
อุณหภูมิการเมืองในเมืองไทยร้อนระอุขึ้น เป็นลำดับ ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณเสร็จภารกิจที่ฟินแลนด์ แล้วมาพำนักอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยกลุ่มอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวว่าจะนัดชุมนุมกันในวันที่ 14 กันยายน เพื่อกดดันให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยุติบทบาททางการเมือง ขณะที่ตัวแทน อาจารย์จุฬา และ เครือข่ายด้านสุขภาพเข้าพบ พล.อ.เปรม ที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ โดยที่หนังสือพิมพ์เริ่มเปิดประเด็น พ.ต.ท.ทักษิณพูดผ่านรายการสถานีสนามเป้าว่า อาจจะเว้นวรรคการเมือง

13 กันยายน 2549
พ.ต.ท. ทักษิณใช้เวลาระหว่างอยู่ที่อังกฤษ เขียนจดหมายจากต่างประเทศถึงสมาชิกพรรคไทยรักไทย และประชาชน ขณะที่เทปสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ เริ่มออกอากาศทางช่อง 5 เป็นตอนแรก ในวันเดียวกันนี้ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกให้สัมภาษณ์ว่า ทหารไม่คิดปฏิวัติ กระแสที่ออกมาเป็นการปล่อยข่าวเพื่อกันไม่ให้ทหารปฏิวัติมากกว่า

14 กันยายน 2549
เครือข่ายจุฬาเชิดชูคุณธรรมชุมนุมภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกดดันให้พ.ต.ท. ทักษิณยุติบทบาททางการเมือง พล.ท.พลางกูร กล้าหาญ โฆษกกองทัพบกแถลงยืนยันว่า ทหารไม่คิดปฏิวัติ ขณะที่นายสนธิ ลิ้มทองกุลประกาศว่าจะชุมนุมใหญ่ในวันที่ 22 กันยายนเพื่อกดดันไม่ให้ พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศ
ที่ประชุมกกต. มีมติเป็นเอกฉันท์เลือก นายอภิชาต สุขัคคานนท์ เป็นประธาน กกต.

15 กันยายน 2549
รายการเมืองไทยราย สัปดาห์สัญจร คอนเสิร์ตการเมือง จัดใหญ่เป็นวาระครบรอบ 1 ปี รายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ แถลงข่าว ประกาศชุมนุมใหญ่ในวันที่ 20 กันยายน

พ.ต.ท. ทักษิณให้สัมภาษณ์นักข่าวระหว่างเดิทางไปประชุมกลุ่มนามที่ประเทศคิวบาว่า อาจจะเว้นวรรคทางการเมือง โดยอาจจะประกาศในวันรับสมัครเลือกตั้ง สอดคล้องกับเทปรายการที่ออกอากาศทางช่อง 5 ว่าด้วยเรื่องอาจเว้นวรรคพอดิบพอดี พ.ต.ท.ทักษิณ ยังพูดเลยไปด้วยว่า เขานั้นเปรียบเหมือนพล.อ.เปรม ที่เคยถูกประชาชนขับไล่เมื่อครั้งเป็นนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปี ทำให้ทหารคนสนิทพล.อ.เปรม และหลายฝ่ายไม่พอใจ ในวันเดียวกันนี้ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีมติชุมนุมยืดเยื้อตั้งแต่วันที่ 20 กันยายนเป็นต้นไปเพื่อกดดันไม่ให้พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศจะเรียกฝันร้ายใน คิวบา ของ พ.ต.ท.ทักษิณก็คงไม่ผิดนัก

16 กันยายน 2549 
คนร้ายวางระเบิดในย่านศูนย์กลางการค้า และการท่องเที่ยว อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยใช้วิธีซุกระเบิดไว้ในรถจักรยานยนต์แล้วนำไปจอด ทิ้งไว้ เกิดระเบิดในเวลาประมาณ 21.30 น. ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 4 ราย และบาดเจ็บร่วม 30 คน

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังคงยืนยันจัดชุมนุมยืดเยื้อถึงวันที่ 20 กันยายน ขณะที่อีกฝ่ายเริ่มมีการเกณฑ์ประชาชนในอีสานหลายหมื่นคนเพื่อจุดหมายให้ เผชิญหน้ากับกลุ่มพันธมิตรประชาชน

17 กันยายน 2549
สนธิ ลิ้มทองกุล แถลงยืนยันมติไม่ให้พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศไทย ขณะที่พ.ต.ท.ทักษิณเขียนจดหมายถึงประชาชนฉบับที่ 2 พ.ต.ท.ทักษิณบอกกับนักข่าวว่าได้สั่งการให้ ผบ.ทบ. และ ผบ.ตร.ให้ลงไปดูแลแก้ไขปัญหาภาคใต้แล้ว

18 กันยายน 2549
พ.ต.ท.ทักษิณแสดง ความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาภาคใต้ออกทางสีหน้า ระหว่างเดินทางจากคิวบามาแวะพักที่แคนคูน เม็กซิโก ก่อนจะต่อไปยังนิวยอร์ค และวาระสุดท้ายในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 สมัยที่ 2 ก็มาถึง

19 กันยายน 254908.00 น. มีคำสั่งจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี เรียกผู้นำทุกเหล่าทัพเข้าประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ไม่มีผู้นำเหล่าทัพคนใดเข้าร่วม พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. อ้างว่ากระชั้นชิดเกินไป ทำให้ต่อมามีกระแสข่าวลือการปฏิวัติรัฐประหาร แพร่สะพัดไปทั่วทำเนียบรัฐบาลและเริ่มกระจายสู่ภายนอก โดยเฉพาะตลาดหลักทรัพย์
09.00 น. พ.ต.ท.ทักษิณร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยใช้ web camera จากห้องพักที่โรงแรม Grand Hyatt นิวยอร์กมายังห้องประชุมครม. พ.ต.ท.ทักษิณ อาจไม่ทันได้สังเกตว่า ผู้บัญชาการเหล่าทัพที่จะต้องมาร่วมประชุมครม.นัดพิเศษเพื่อรับทราบแนวทาง แก้ปัญหาภาคใต้พากันหายหน้าไปหมด ส่งเพียงตัวแทนเข้ามาร่วม กระทั่งค่ำ วันนั้นตามเวลาในไทยหรือตอนสายๆวันที่ 18 ที่นิวยอร์ค พ.ต.ท.ทักษิณ จึงเริ่มรู้ข่าวว่า ถูกคณะนายทหารก่อรัฐประหาร พ.ต.ท.ทักษิณ ออกแถลงการณ์ตัดหน้าประกาศคณะปฏิวัติ แต่ทุกอย่างก็สายไปหมดแล้ว และสายไปเสียทุกอย่าง แม้กระทั่งจะเดินทางจากนิวยอร์ค ไปพำนักที่อังกฤษ ก็ยังต้องใช้เวลานานนับวัน

12.00 น. หลังการประชุมครม. โดยผ่านระบบweb camera รัฐมนตรีหลายรายได้สอบถามผู้สื่อข่าวถึงข้อเท็จจริงเรื่องนี้อย่างตื่นเต้น

18.30 น. มีข่าวกำลังทหารหน่วยรบพิเศษจาก จ.ลพบุรี เคลื่อนกำลังเข้ากรุงเทพฯ มีข่าวว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ข่าวระบุว่า เป็นเรื่องการทำบุญหม่อมหลวงบัว มีข่าว ลือสะพัด กำลังทหารเตรียมเคลื่อนกำลังพล โดยมีรายงานว่าหน่วยรบพิเศษจากลพบุรีราว 1 กองพันเคลื่อนกำลังด่วนเข้ากรุงแล้ว
18.55 น. สำนักข่าวไทยรายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ประกาศเลื่อนเดินทางกลับประเทศไทยเร็วขึ้นจากวันที่ 22 กันยายน เป็น 05.00 น. วันที่ 21 กันยายนแทน
ช่วงค่ำ รัฐมนตรีหลายรายต่างโทรเช็คข่าว
19.00 น. ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ยืนยัน ไม่มีการเคลื่อนไหวกำลังพล

19.30 น. แม่ทัพภาค 3 ยืนยัน ไม่มีการเคลื่อนกำลัง ยังฝึกปกติ
20.00 น. ตำรวจ 191 เบิกอาวุธเอ็ม 16 ไปรอเตรียมพร้อมที่กองกำกับการ 2 (ป้องกันและปราบปรามจลาจล) ถ.วิภาวดีรังสิต 

21.00 น. กำลังทหารจากพลร่มป่าหวาย หน่วยสงครามพิเศษลพบุรี เข้ามาประจำการที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) สองคันรถบัส สั่งปิดไฟสลก. มีผู้โพสต์ข้อความถามถึงข่าวลือปฏิวัติในเวป พันทิป พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางกลับโรงแรมที่ นิวยอร์ค และได้เรียกกลุ่มผู้สื่อข่าวที่ตามไปคุยเป็นการส่วนตัว โดยในการพูดคุยกับนักข่าว พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับทราบกระแสข่าาวรัฐประหารในประเทศไทย พร้อมทั้งมีการติดต่อกับผู้บริหารของ ช่อง 9 อสมท. เพื่อจะขอถ่ายทอดสดทางอินเตอร์เนต เพื่อชี้แจง ในเวลา 23.00 น.

21.10 น. รถถ่ายทอดสด (โอบี) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) เข้า บก.ทบ. 

21.20 น. มีทหารเฝ้าประตูวังสุโขทัย มากกว่า 20 นายกฯ สั่งช่อง 11 เตรียมการถ่ายทอดสดทางโทรศัพท์ จากนิวยอร์ค

21.30 น. สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ตัดรายการปกติ เปิดเพลงที่มีเนื้อหาสรรเสริญพระบารมี กลุ่มผู้สื่อข่าวได้เข้าไปยังทำเนียบรัฐบาล แต่ไม่พบสิ่งผิดปกติ ตำรวจยังคงรักษาทำเนียบรัฐบาลเป็นปกติ ท่ามกลางข่าวลือว่ามีการนำกำลังเข้าควบคุมตัว พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รักษาการ รมว.กลาโหม ขณะที่มีอีกกระแสข่าวว่า นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางไปประเทศอังกฤษตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทำเนียบรัฐบาลมีคำสั่งห้ามคนนอกเข้าไปเด็ดขาด เจ้าหน้าที่ได้เชิญผู้สื่อข่าวบางส่วนออกมา ทำให้ผู้สื่อข่าวต้องไปรอจับกลุ่มออกันอยู่บริเวณหน้าทำเนียบเป็นจำนวนมาก น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกฯ เดินทางมาที่ทำเนียบรัฐบาลด้านหลังตึกไทย ไล่เลี่ยกัน พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ยุติธรรม ได้เดินทางตามเข้ามาแต่ไม่ได้ลงจากรถ ก่อนที่น.พ.พรหมินทร์ จะหอบเอกสารปึกใหญ่เดินขึ้นรถ พล.ต.อ.ชิดชัย และเคลื่อนออกไปจากทำเนียบด้วยกัน กำลังคอมมานโดตำรวจกองปราบปรามได้เดินทางไปรักษาความปลอดภัยที่บ้านจันทร์ ส่องหล้า มีนายทหารกลุ่มที่รัฐประหาร พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เข้ายึดช่องการสื่อสารดาวเทียมทางสถานีไทยคมแล้ว นอกจากนี้ นายทหารอีกกลุ่มก็ได้เข้ายึดช่อง 11 ด้วยเช่นกัน22.00 น. กองบัญชาการตำรวจนครบาลสั่งปิดประตู พร้อมวางกำลังเจ้าหน้าที่อาวุธครบมือประจำการประมาณ ขบวนรถถังเคลื่อนเข้าคุมเชิงที่สะพานมัฆวาน รังสรรค์ และ ถ.ราชดำเนิน สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นรายงานสด (เบรกกิ่งนิวส์) สถานการณ์ในเมืองไทย หลังมีผู้เห็นกองกำลังทหารออกคุมกำลังตามสถานที่สำคัญต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ 

22.10 น. ทหารเตรียมเคลื่อนกำลังออกจากม.พัน 4
22.13 น. ยานหุ้มเกราะ 20 คันเคลื่อนจากเกียกกายสู่ลานพระรูป ขณะที่รถถัง 3-4 คันเคลื่อนไปทำเนีย สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท พ.ต.ท.ทักษิณ ออกประกาศพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ควบคุมพื้นที่กรุงเทพฯ ระบุอยู่ในขั้นรุนแรง และให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. ไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้รายงานตัวต่อ พล.ต.อ.ชิดชัย และตั้ง พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผบ.สส. คุมอำนาจแก้สถานการณ์ฉุกเฉิน ทหารเคลื่อนพลปิดล้อมทำเนียบ รัฐบาลแล้ว รถถัง 3 คันประจำการแยกเกียกกาย บ้านสี่เสาเทเวศน์ รถถังสองคันพร้อมรถบรรทุกกำลังพล 5 คันเคลื่อนออกจากกองพันทหารปืนใหญ่ มีทหารจำนวนมาก ออกมาตรึงกำลังตามถนนต่างๆ ตั้งแต่แยกเกียกกาย ผ่านมาถึง ถ.ราชสีมา บริเวณสวนรื่นฤดี สี่แยกราชตฤณมัยสมาคม (สนามม้านางเลิ้ง) โดยมีทหารแต่งกายลายพรางเต็มยศเป็นผู้ควบคุมกำลัง พ.ต.ท.ทักษิณ รักษาการนายกฯ ได้โทรศัพท์สั่งการไปยังสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เตรียมการถ่ายทอดสดเสียงตนเองผ่านทางโทรศัพท์จากนิวยอร์ก แต่ขณะที่กำลังรอสาย ทหารได้เข้าควบคุมสถานการณ์ในช่อง 11 ได้ก่อน โดยได้นำเจ้าหน้าที่ช่อง 11 ทั้งหมดไปควบคุมไว้ยังห้องโถง ตั้งแต่เวลา 22.00 น. จนถึงเวลา 00.30 น. จึงปล่อยตัวออกจากสถานี

22.17 น. สัญญาณช่อง 9 อสมท ถูกตัดลง หน้าจอโทรทัศน์ดับสนิทชั่วครู่ โดยมีรายงานว่า เพราะทหารตัดไฟสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ขณะ พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก่อนจะตัดเข้าโฆษณาสินค้าประมาณ 2 ตัว ก่อนจะตัดเข้าสู่รายการปกติ โดยมีรายงานข่าวว่ากำลังทหารบุกเข้าควบคุมที่ห้องส่งสัญญาณออกอากาศ พร้อมควบคุมตัวนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ กก.ผอ.ใหญ่ บมจ.อสมท
22.20 น. วิทยุและโทรทัศน์ทหารเปิดเพลงมาร์ชกระหึ่ม ทหารยึดอสมท.
22.24 น. ทหารเคลื่อนกำลังพลปิดบ้านนายกฯ ขณะที่นายกฯประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินต้านทันควัน พร้อมสั่งย้าย ผบ.ทบ.เข้ารายงานตัวกับชิดชัย ตั้งผบ.สส.เป็นผู้มีอำนาจสั่งการตามพรก.
22.25 น. สถานีโทรทัศน์เกือบทุกช่องตัดเข้ารายการเพลง เปิดเพลงที่มีเนื้อหาสรรเสริญพระบารมี ยกเว้นช่อง 9 และช่อง 3 ที่นำเสนอรายการปกติ โดยมีรายงานข่าวว่า มีกำลังทหารเข้ายึดสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง โดยเฉพาะช่อง 9 อสมท และไอทีวี ทหารสั่งตัดไฟสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ขณะนายกฯกำลังประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน
22.30 น. สถานีโทรทัศน์ทุกช่องเริ่มเชื่อมสัญญาณกับ ททบ.5 และเปิดเพลงที่มีเนื้อหาสรรเสริญพระบารมี แม้แต่สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมอย่างเอเอสทีวี ยกเว้นเนชั่นแชนนัล ทางสถานีโทรทัศน์ไททีวี ช่อง 1 ที่ยังคงรายงานสถานการณ์ได้ตามปกติ มีรายงานข่าวว่า มีรถถ่ายทอดสดไปที่บ้านพักสี่เสาเทเวศร์เพื่อเตรียมถ่ายทอดสด และ กำลังทหารส่วนหนึ่งได้เข้าควบคุมตัว พล.ต.ต.วินัย ทองสอง ผบก.กองปราบปรามและ พล.อ.ไตรรงค์ อินทรทัต (เสธ.ไอซ์) ที่ปรึกษากองทัพบก

22.35 น. เนชั่นแชนนัลถูกเชื่อมสัญญาณเหมือนทุกช่อง
22.40 น. มีการตัดสัญญาณ ฟรีทีวีทุกช่อง CNN รายงานสถานีวิทยุและโทรทัศน์ไทย ถูกปิดหมดแล้ว และมีรายงานการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน
22.44 น. ทหารสั่งกักบริเวณ ผู้สื่อข่าวทำเนียบรัฐบาล
22.54 น. สถานีโทรทัศน์ทุกช่องได้ขึ้นโลโก้สถานีรวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย พร้อมขึ้นคำประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมขออภัยในความไม่สะดวก พร้อมเปิดเพลง "ความฝันอันสูงสุด"
22.55 น. ทหารปล่อยให้สื่อมวลชนกลับบ้านแล้ว
22.57 น. สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นแพร่รถถังและกำลังทหารควบคุมสถานการณ์ภายใน กทม. ช่วงหนึ่งได้แพร่ภาพกลุ่มชาวบ้านใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายรูปกำลังทหารเหล่า นั้น โดยไม่ได้รู้สึกหวาดกลัวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด
23.00 น. ทหารควบคุมตัวพลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแล้ว
23.05 น. มีประกาศจากคณะปฏิรูปการเมืองซึ่งประกอบด้วยสี่เหล่าทัพขอความร่วมมือจาก ประชาชนหลัง ควบคุมสถานการณ์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลไว้ได้โดยไม่มีการต่อต้าน
23.10 น. เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารสั่งสถานีวิทยุ ในเครือกองทัพ( ๑๐๑ ) เตรียมรับสัญญาณถ่ายทอดสดจากสถานีวิทยุ ๙๙.๕
23.15 น. พล.ต.ประพาส ศกุนตนาถ อดีตโฆษก ททบ.5 อ่านแถลงการณ์คณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่แสดงไว้ในหน้าจอก่อนหน้านี้ซ้ำถึงสองครั้ง ทหารสั่ง ปลดอาวุธเจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาความปลอดภัยทำเนียบรัฐบาล และกักบริเวณไว้หน้าตึกไทยคู่ฟ้า
23.30 น. เอเอสทีวีออกอากาศได้ตามปกติอีกครั้ง ขณะที่สถานีโทรทัศน์ทุกช่องยังคงเชื่อมสัญญาณกับ ททบ. 5 ขณะเดียวกันทหารจาก ป.พัน 21 สังกัด ร.21 ประมาณ 30 นาย พร้อมอาวุธครบมือเดินทางมายังอาคารเนชั่นทาวเวอร์ ที่สถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนนัล โดยยืนยันว่า มาดูแลความสงบเรียบร้อยทั่วไป ขณะที่เนชั่นแชนนัล เริ่มออกอากาศได้อีกครั้งในเวลา 23.44 น. มีข้อความแพร่ไปทางมือถืออ้างพลเอกเปรมปฏิวัติแต่ในหลวงไม่เอาด้วย
23.31 น. ประธานาธิบดีสหรัฐประกาศเป็นศัตรูกับรัฐบาลที่ทำการยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจาก การเลือกตั้ง
23.40 น. มีการสั่งปลดอาวุธ ตำรวจหน่วยอรินทราชและคอมมานโดทั้งหมด
23.50 น. มีประกาศจากคณะปฏิรูปการเมืองครั้งที่ ๒ แจงก่อเหตุเพราะมีการบริหารราชการแผ่นดินส่อไปในทางทุจริตอย่างกว้างขวาง องค์กรอิสระถูกครอบงำไม่เป็นไปตามเจตนารมย์รัฐธรรมนูญ การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองมีอุปสรรค หมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์อยู่หลายครั้ง คณะปฏิรูปไม่ประสงค์จะยึดอำนาจเพื่อบริหารเอง แต่จะคืนอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินอันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขให้ปวงชนชาวไทยโดยเร็วที่สุด
23.55 น. มีการตัดสัญญาณโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก ( ยูบีซี ) ช่อง ๕๓ ของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น

23.59 น. ผู้บัญชาทหารทุกเหล่าทัพเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พระราชวังดุสิต
20 กันยายน 254900.19 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ และพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายรายงานสถานการณ์ การปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
00.24 น. มีรายงานการปะทะกันที่บริเวณกองพันทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์บางเขน

00.28 น. พลตรี ประพาส สกุนตนารถ ที่ปรึกษาททบ.๕ อ่านแถลงการประกาศกฎอัยการศึกบังคบใช้ทั่วประเทศตั้งแต่ ๒๑.๐๕ น.ของวันที่ ๑๙ กันยายน ๔๙ โดยมีพลเอก สนธิบุญรัตนกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ

00.30 น. มีประกาศคณะปฎิรูป การปกครองฯฉบับที่ ๒ สั่งห้ามเคลื่อนย้ายกำลังทหาร โดยไม่ได้รับคำสั่งจากคณะปฏิรูป
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ประกอบด้วย

พลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชาการทหารทหารสูงสุด
เป็น ประธานที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก
เป็น หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

พลอากาศเอก ชลิต พุกพาสุก ผู้บัญชาการทหารอากาศ
เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนที่ 1

พลเรือเอก สถิรพันธ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ
เป็นรอง หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนที่ 2

พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
เป็น รองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนที่ 3

พลเอก วินัย ภัทธิยะกุล เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เป็น เลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ในวันนี้ ประชาชนจำนวนหนึ่งออกมาให้กำลังใจทหารที่จุดต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณกองบัญชาการกองทัพบก ภายหลังการยึดอำนาจของคณะปฏิรูปฯ โดยแสดงความชื่นชมเหล่าทหาร ด้วยการมอบดอกไม้ ส่งยิ้ม ถ่ายรูปด้วย แม้กระทั่งมีการพ่นสีข้อความว่า "พล.อ.สนธิ วีรบุรุษชาวไทย" และ"กองทัพเพื่อประชาชน" บนตัวถังรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 7 เป็นต้น นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวนหนึ่ง ในบริเวณถนนราชดำเนิน ให้สัมภาษณ์ว่าไม่ตื่นตะหนก และร่วมถ่ายรูปกับทหารและรถถัง (ซึ่งประดับด้วยดอกไม้ที่ประชาชนมอบให้)เป็นที่ระลึก หรือ มอบน้ำ อาหาร ให้แก่ทหารด้วย

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวชื่นชมว่า "จากที่ดูภาพในซีเอ็นเอ็น เป็นการยึดอำนาจที่เรียบร้อยที่สุด ไม่มีเสียเลือดเสียเนื้อ เราก็รู้สึกสบายใจว่ามันคงไม่กระทบความเชื่อมั่น เพราะการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ประชาชนยอมรับ ขณะที่ต่างชาติก็รู้สึก ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อการลงทุน"

สวนดุสิตโพล ได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,019 คน ในวันที่ 20 ก.ย. 49 พบว่าประชาชน 83.98% จากกลุ่มสำรวจ เห็นด้วยกับรัฐประหารในครั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่าจะการเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ส่วนประชาชนที่ไม่เห็นด้วย มีความเห็นว่าภาพลักษณ์ของประเทศอาจตกต่ำลง ผลสำรวจแตกต่างจากโพลสำรวจการเลือกตั้งเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งมีผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยถึง 49%

กลุ่มนักธุรกิจทั่วประเทศแสดงความคิดเห็นโดยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการ ปฏิรูปการปกครองครั้งนี้ โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจกระทบบ้างแต่ชั่วคราว และจะสยบความวุ่นวายของประเทศ นักธุรกิจในกลุ่มนี้ เช่น นายสุรศักดิ์ วงศ์มังกร อดีตประธานหอการค้าจังหวัดมหาสารคาม, นายทวิสันต์ โลณารักษ์ ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา, นายนิพนธ์ สุวรรณนาวา ที่ปรึกษาหอการค้า จ.ประจวบคีรีขันธ์, นายรุ่งโรจน์ สีเหลืองสวัสดิ์ ที่ปรึกษาสมาคมโรงแรมไทยภาคตะวันตก และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวหัวหิน-ชะอำ, นายบุญธรรม ทิพย์ประสงค์ รองประธานหอการค้า จ.เชียงราย, นายประทีป พงษ์วิทยภานุ ประธานหอการค้าจังหวัดกาญจนบุรี, นายชุมพร เตละวัฒนะวรรณา ประธานศูนย์ประสานงานเครือข่ายภาคประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, นายธนารักษ์ พงษ์เภตรา เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมภาคใต้, นายธนารักษ์ พงษ์เภตรา เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมภาคใต้, นายอาทิตย์ ลิ้มอุดมพร ประธานหอการค้าจังหวัดชุมพร, นายประยูร สงค์ประเสริฐ นายกสมาคมชาวสวนกาแฟไทย เป็นต้น

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ประธานชมรมแพทย์ชนบท เห็นด้วยต่อการยึดอำนาจของคณะปฏิรูปฯ เนื่องจากประเทศมีปัญหาจากผู้นำที่ไม่ชอบธรรม และบริหารด้วยระบอบเผด็จการประชาธิปไตย จึงควรหยุดระบอบเผด็จการนั้น เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศน้อยที่สุด การปฏิรูปฯครั้งนี้เป็นการดีที่ไม่เสียเลือดเนื้อ

นายสมภพ บุนนาค แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จังหวัดขอนแก่น กล่าวเห็นชอบกับ คปค.ว่า "การยึดอำนาจของ คปค.ครั้งนี้ แม้จะขัดกับหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็เห็นชอบ เพราะเป็นการปลดล็อกปมปัญหาของชาติ เพื่อสะสางอุปสรรคสังคมการเมืองให้สามารถเดินต่อไปได้อย่างมั่นคง การต่อสู้ของภาคประชาชนที่ผ่านมาเพื่อล้มระบอบทักษิณ ไม่สามารถผ่าทางตันได้ จำเป็นที่ทหารต้องเข้ามาจัดการหาทางออกให้ อย่างไรก็ตาม ภาคประชาชนต้องติดตามต่อว่า ภายหลัง เข้ามาแก้ปัญหาของ คปค.ครั้งนี้จะคืนอำนาจให้ประชาชนได้เร็ว ตามที่หัวหน้าคณะฯได้ประกาศไว้หรือไม่" และแสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า อาจมีกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหารของ คปค.ว่า "กลุ่มบุคคลกลุ่มนี้ไม่เข้าใจระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ประชาธิปไตยไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ว่าประชาชนใช้สิทธิหย่อนบัตรเลือกตั้ง แล้วก็จบ มีบริบทแวดล้อมหลายประการที่ประกอบเป็นระบอบประชาธิปไตย"

ในช่วงเที่ยงวัน ร.ต.ฉลาด วรฉัตร และ นายทวี ไกรคุปต์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำการประท้วงการรัฐประหารที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บริเวณถนนราชดำเนิน นายทวีกางป้ายขนาดใหญ่สองป้ายระบุว่า "กระผม นายทวี ไกรคุปต์ ขออดข้าวประท้วงผู้ที่ล้มล้างประชาธิปไตย ทำให้บ้านเมืองถอยหลังและแตกแยก" พร้อมทั้งทำการแจกจ่ายจดหมายเปิดผนึกของตนให้กับบรรดาสื่อมวลชนด้วย ในเวลาต่อมาได้มีเจ้าหน้าที่ทหารเชิญตัว ร.ต.ฉลาด ขึ้นรถมิตซูบิชิ ที่มีรถบัสทหารติดตามระบุ ร.๑ พัน๑ รอ. ไปที่หน่วยบังคับบัญชา จากนั้น 3 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ทหารจำนวน 7 นาย ได้ล็อกตัวนายทวีขึ้นรถตู้สีขาวและขับออกไปทันที โดยระหว่างขึ้นรถนายทวีมีอาการขัดขืน จากนั้นทหารบางส่วนได้เข้าเก็บป้ายประท้วงออกจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ศูนย์ข่าวสารกิจกรรมนักศึกษาประณามรัฐบาลเผด็จการทหารว่าเป็น การ "ฉีก" รัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนได้มีส่วนร่วมกันการร่างมากที่สุด การปิดหูปิดตาประชาชนด้วยการควบคุมสื่ออย่างเบ็ดเสร็จ, รวมไปถึงการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนและได้เรียกร้องประชาชนร่วมกันใส่ ชุดดำหรือปลอกแขนดำเพื่อไว้อาลัยประชาธิปไตย

กลุ่มนักศึกษาล้อการเมืองธรรมศาสตร์ ได้ขึ้นป้ายคัตเอาต์ขนาดใหญ่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต คัดค้านการรัฐประหาร
21 กันยายน 2549 
นายยงยุทธ ติยะไพรัชและนายเนวิน ชิดชอบ ทั้งสองคนได้เข้ารายงานตัว และถูกควบคุมตัวไว้ ก่อนที่ทั้งหมด ยกเว้นนายสมชาย จะได้รับการปล่อยตัวภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2549 นอกจากนั้น คณะรัฐประหารเริ่มการสอบสวนข้าราชการซึ่งถูกแต่งตั้งในสมัยรัฐบาลทักษิณ และในการแต่งตั้งนายทหารประจำปี พ.ศ. 2550 นายทหารซึ่งเป็นที่ไว้วางใจของระบอบใหม่ก็ถูกแต่งตั้งแทนที่นายทหารซึ่งภักดีต่อรัฐบาลเก่า

คปค. ได้เรียกประชุมผู้บริหารสื่อสารมวลชนต่าง ๆ ที่กองบัญชาการทหารบก และสั่งให้หยุดเผยแพร่ข้อคิดเห็นของสาธารณชน รวมถึงการแสดงความคิดเห็นผ่านบริการส่งข้อความที่ด้านล่างของจอโทรทัศน์ด้วย คปค. ไม่ได้กล่าวว่าการห้ามนี้มีผลถึงหนังสือพิมพ์และเว็บบอร์ดบนอินเทอร์เน็ต แต่มีผลหลายอย่างตามมา เช่น ไม่มีสถานีโทรทัศน์ไทยช่องใดรายงานการประท้วงต่อต้านรัฐประหาร เช่น การประท้วงครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กันยายน ที่หน้าสยามสแควร์ , เคเบิลทีวีช่อง CNN, BBC, CNBC, NHK และช่องข่าวต่างประเทศอีกหลายช่องถูกเซ็นเซอร์ ข่าวที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ถูกตัดออก , หนังสือพิมพ์ The Guardian เปิดเผยว่า มีทหารติดอาวุธนั่งอยู่ในห้องข่าวและห้องควบคุมของสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง

22 กันยายน 2549
18.00 น. กลุ่มองค์กรที่เรียกตัวเองว่า "เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร" มีการชุมนุมและกล่าวแถลงการณ์ที่หน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน ซึ่งศูนย์ข่าวสารกิจกรรมนักศึกษาได้เข้าร่วมการชุมนุมด้วยและกล่าวว่าพวกเขา จะยื่นแถลงการณ์ต่อคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อเรียกร้องให้ปกป้องสิทธิ์ในการชุมนุมที่หน้า สยามพารากอน โดยเห็นว่ารัฐบาลชั่วคราวขาดความชอบธรรม และเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งตามครรลองประชาธิปไตย ที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองได้อย่างแท้จริง

หลังจากเหตุการณ์รัฐประหาร การประท้วงครั้งแรกมีขึ้นที่หน้าห้างสยามเซ็นเตอร์ เมื่อเย็นวันนี้ โดยมีผู้ประท้วงประมาณ 20-100 คนหรือมากกว่า ผู้ประท้วงแต่งชุดดำเพื่อไว้อาลัยให้กับประชาธิปไตย และได้เชิญชวนให้ประชาชนที่คัดค้านการรัฐประหารใส่เสื้อดำในการประท้วง) ป้ายประท้วงมีข้อความ "No to Thaksin. No to coup" ("ไม่เอาทักษิณ ไม่เอารัฐประหาร") และ "Don't call it reform - it's a coup" ("นี่ไม่ใช่การปฏิรูป แต่เป็นการรัฐประหาร") มีป้ายหนึ่งเป็นรูปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีกำกับว่า "On vacation again" ("งดใช้ชั่วคราว") รองศาสตราจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์ หนึ่งในผู้ประท้วง กล่าวว่า "เราเชื่อว่าเราเป็นกระบอกเสียงของคนไทยอีกมากที่ยังเป็นห่วงหรือที่ยังกลัว ที่จะพูดออกมา" การประท้วงครั้งนี้ไม่มีผู้ใดถูกจับกุม แต่ตำรวจนายหนึ่งกล่าวว่า "ตำรวจได้บันทึกวิดีโอการประท้วงไว้เป็นหลักฐาน และจะตรวจสอบเทปเพื่อหาผู้ที่ละเมิดกฎอัยการศึก คือ มีการชุมนุมทางการเมืองมากกว่า 5 คน" ไม่มีใครรู้ว่าตำรวจหรือทหารได้จับกุมเขาเหล่านั้นในเวลาต่อมาหรือไม่ ไม่มีสถานีโทรทัศน์ไทยช่องใดรายงานเรื่องการประท้วงครั้งนี้ หนังสือ พิมพ์ The Independent รายงานว่าตำรวจติดอาวุธหลายนายได้ฝ่าฝูงชนและผู้ชุมนุมเข้าจับกุมผู้ประท้วง ซึ่งเป็นนักศึกษาหญิงไม่ทราบชื่อคนหนึ่งซึ่งนับเป็นผู้ประท้วงคนแรก ขณะกำลังอ่านแถลงการณ์ต่อต้านการทำรัฐประหาร โดยมีตำรวจนายหนึ่งได้ใช้ปืนกระแทกเข้าที่บริเวณท้องของเธอและทำการจับกุม ในขณะที่ผู้ประท้วงหลายคนต่างพยายามฉุดเธอกลับ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ใครทราบชะตากรรมของเธอ

23 กันยายน 2549
ในที่ประชุมแกนนำ คปค. ได้กล่าวถึงการติดต่อจาก พ.ต.ท.ทักษิณ จากประเทศอังกฤษ เข้ามายังคณะปฏิรูปการปกครองฯ ด้วยว่า พ.ต.ท.ทักษิณได้ให้การยืนยันทางโทรศัพท์กับพลเอกสนธิ โดยระบุว่าพร้อมจะยุติการเคลื่อนไหวทางการเมืองในทุกกรณี และได้แจ้งให้รัฐมนตรีและสมาชิกพรรคไทยรักไทยทุกคนรับทราบ พร้อมจะปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองฯ ทุกประการ และจะพักผ่อนกับครอบครัวในต่างประเทศ จนกว่าจะมีการตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ จึงจะเดินทางกลับประเทศไทย

24 กันยายน 2549
กลุ่มนักวิชาการสิทธิมนุษยชนจำนวน 23 คนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้ร่วมกันลงชื่อคัดค้านการรัฐประหาร และทวงคืนสิทธิเสรีภาพให้ประชาชน ภายใต้หัวข้อ "แถลงการณ์ ทวงคืนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน"

สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง "ความคิดเชิงประเมินผลของประชาชนต่อสังคมไทยและคุณลักษณะของนายกรัฐมนตรีคน ใหม่ที่ประชาชนต้องการ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" โดยสอบถามประชาชนจำนวน 1,550 คน ระหว่างวันที่ 22-23 กันยายน พบว่า
ร้อยละ 92.1 รู้สึกว่าทหารเป็นที่พึ่งได้
ร้อยละ 89.1 รู้สึกปลอดภัย
ร้อยละ 87 รู้สึกทหารเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
ร้อยละ 82.6 รู้สึกอบอุ่น
ร้อยละ 24.9 รู้สึกกังวล
ร้อยละ 20.5 รู้สึกไม่สะดวก
ร้อยละ 19.7 รู้สึกตกใจ
ร้อยละ 7.6 รู้สึกไม่ชอบ
ร้อยละ 6.5 รู้สึกกลัว

25 กันยายน 2549 
มีการจำกัดสิทธิ์ในการเดินทาง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยในภาคเหนือและภาคอีสาน ครูจากจังหวัดเชียงรายประมาณ 100 คนได้นั่งรถเพื่อไปร่วมงานสังคมที่จังหวัดชลบุรี ขณะกำลังผ่านด่านตรวจ ทหารได้สั่งให้หยุดรถและไม่อนุญาตให้ไปต่อ เพราะผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเชียงรายไม่อนุญาต ส่วนประชาชนที่จะเดินทางพร้อมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นจำนวนมากเข้ามาในกรุงเทพฯ จะต้องให้ที่ว่าการอำเภอทำหนังสือรับรอง

17.00 น. กลุ่มประท้วงกลุ่มที่สองซึ่งประกอบด้วยผู้ประท้วงจำนวน 50-60 คน ได้มาชุมนุมกันที่ลานปรีดี หน้าตึกโดมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่ออภิปรายคัดค้านการรัฐประหาร และจัดเสวนาในหัวข้อ "ทำไมเราต้องคัดค้านรัฐประหาร?" ซึ่งจัดโดยศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของ ม.ธรรมศาสตร์ในชื่อ"กลุ่มโดมแดง", เครือข่ายนิสิตจุฬาฯ เพื่อเสรีภาพ, นิสิตนักศึกษาจาก ม.มหิดล, ม.รามคำแหง, ม.เกษตรศาสตร์ โดยระบุว่าเป็นการอารยะขัดขืนภาคปฏิบัติ อุเชนทร์ เชียงแสน ผู้ก่อตั้งกลุ่มโดมแดงกล่าวว่า "ถ้าพวกเขา [ทหาร] จับกุมหรือทำร้ายเรา เราจะไม่สู้ แต่นี่แสดงให้เห็นว่าการปฏิรูปทางการเมืองตามที่ คปค.กล่าวอ้างเป็นเรื่องโกหก" การชุมนุมครั้งนี้กินเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงโดยมีการขึงป้ายผ้าที่มีข้อความว่า "Council of Demented and Ridiculous Military" การชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบ ปราศจากวี่แววของเจ้าหน้าที่

26 กันยายน 2549 
ได้มีผู้กล่าวโทษพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน กับพวกในฐานความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งทางดีเอสไอได้รับเรื่องไว้ดำเนินการตามกฎหมาย ตามเลขรับ ที่ 03614 พอทางกองทัพบกและรัฐบาลได้ทราบ จึงได้มีคำสั่งให้ยุติเรื่องดังกล่าว โดยยึดถือตามรัฐธรรมนูญ ชั่วคราวที่ได้นิรโทษกรรม การกระทำความผิดไม่ว่ากรณีใด ๆ ของคณะปฏิรูปฯ แต่ทางดีเอสไอได้แย้งว่า พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษต่างจากกฎหมายอย่างอื่น ที่กฎหมายแม่สามารถหักล้างกฎหมายลูกได้ กล่าวคือ พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษและกรมสอบสวนคดีพิเศษ ตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาทางกฎหมายกับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นสนธิสัญญาความ ร่วมมือแนวนโยบายและปฏิบัติระหว่าง FBI และหน่วยงานสอบสวนกลางของประเทศในกลุ่มภาคีสมาชิกเพื่อต่อต้านการกระทำผิด กฎหมายอย่างร้ายแรง การนิรโทษกรรมตามรัฐธรรมนูญจึงไม่สามารถกระทำได้

มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ และบอร์ดคณะกรรมการบริหารช่อง 9 อสมท แสดงความรับผิดชอบลาออกจากช่อง 9 อสมท เพราะออกอากาศคำประกาศกฎอัยการศึกของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงที่เกิดการรัฐประหาร

27 กันยายน 2549 
16.00 น. "เครือข่ายนิสิตจุฬาฯ เพื่อเสรีภาพ" จัดเสวนากลางแจ้งในหัวข้อ "ทำไมเราต้องคัดค้านรัฐประหาร" ที่ลานหน้าตึก 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์, รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์, ประภาส ปิ่นตบแต่ง และที่ปรึกษาสมัชชาคนจน ร่วมอภิปราย ภายในวันเดียวกันนี้ "เครือข่ายนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตย เชียงใหม่" ได้จัดเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ "เราจะทำความเข้าใจกับการเมืองไทยได้อย่างไร" ที่บริเวณลานสนามหญ้า หน้าคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขณะที่การเสวนาดำเนินไประยะหนึ่ง ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สภต.ภูพิงค์ พร้อมเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ ประมาณ 20 นาย ได้ขอความร่วมมือให้ผู้จัดยุติการเสวนา เนื่องจากขัดต่อประกาศกฎอัยการศึก แต่การเสวนาก็ดำเนินต่อไปภายใต้สถานการณ์ที่ตึงเครียด กระทั่งผู้จัดประกาศเลิกการเสวนา เมื่อเวลา 19.40 น.

28 กันยายน 2549
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ


29 กันยายน 2549
ประชาชนเกาหลีใต้กลุ่มหนึ่ง ได้มีการรวมตัวต่อต้านรัฐประหารในไทย หน้าสถานทูตไทยในกรุงโซล

30 กันยายน 2549
12:46 น. นายนวมทอง ไพรวัลย์ อายุ 60 ปี ได้ขับรถแท็กซี่ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นโคโรลล่า สีม่วง ทะเบียน ทน 345 กทม. ของบริษัทสหกรณ์แหลมทองแท็กซี่ จำกัดพ่นสีคำว่า "พลีชีพ" ที่กระโปรงท้าย ส่วนบริเวณด้านข้างประตูรถทั้งสองข้างพ่นเป็นตัวหนังสือจับใจความว่า "พวกทำลายประเทศ"​พุ่งเข้าชนรถถังเบา M41A2 Walker Bulldog ตรากงจักร 71116 ของคณะปฏิรูปฯ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า​จนรถพังยับเยิน และตัวเองได้รับบาดเจ็บสาหัส ซี่โครงซ้ายหัก คางแตก ปากแตก และ ตาซ้ายบวมเป่ง หลังจากนั้นแท๊กซี่จำนวนหลายร้อยคันรีบรุดไปเยี่ยมแต่ถูกห้ามไม่ให้เข้าเยี่ยม เรื่องราวการรวมตัวของกลุ่มแท๊กซี่ไม่ได้ถูกรายงานข่าวต่อสาธารณะชน
ประกาศคณะ ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ประกาศตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เป็นคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ในเรื่องที่ได้กระทำการให้รัฐเสียหายเฉพาะรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเท่านั้น
ประกอบด้วย
นายนาม ยิ้มแย้ม ประธานกรรมการตรวจสอบ
นายแก้วสรร อติโพธิ เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
นาย สัก กอแสงเรือง โฆษกคณะกรรมการตรวจสอบ
นายกล้านรงค์ จันทิก
คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา
นายจิรนิติ หะวานนท์
นาย บรรเจิด สิงคะเนติ
นาย วิโรจน์ เลาหะพันธุ์
นาย สวัสดิ์ โชติพานิช (ลาออก)
นาง เสาวนีย์ อัศวโรจน์
นายอุดม เฟื่องฟุ้ง
นายอำนวย ธันธรา
1 ตุลาคม 2549
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) แปรสภาพเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) หลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2549 แต่งตั้งให้สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24

2 ตุลาคม 2549
17:00-18:00 น. เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร จัด ‘อารยะขัดขืนภาคปฏิบัติสัญจร’ ด้วยการชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คน บริเวณหน้ากองบัญชาการทหารบก ถนนราชดำเนินนอก (ตรงข้ามเวทีมวยราชดำเนิน)มีประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟัง และในช่วงท้ายยังมีการจุดไฟเผารัฐธรรนูญชั่วคราวของ คปค. เพื่อแสดงความไม่ยอมรับในการเข้ามาทำหน้าที่ของ คปค.

6 ตุลาคม 2549 
นักศึกษาและญาติวีรชนร่วมพิธีเวียนประทีปจากลานโพธิ์ไปรอบสนามฟุตบอลในงาน "30 ปี 6 ตุลา" เพื่อรำลึกการต่อสู้ของนักศึกษาและประชาชนในการเรียกร้องประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ณ สวนประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ช่วงเวลา 14.00 น.ที่หอประชุมเล็ก มธ. มีการจัดเสวนาในหัวข้อ เรื่อง "ประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ได้ชำระ" โดยมี รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.(พิเศษ)ดร.ชลธิรา สัตยาวัฒนา อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ ร่วมเสวนา โดยมีการเปรียบเทียบเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 กับ 19 กันยา 2549 ว่า เมื่อมีการนำมาพูดคุยกันก็เกิดการทะเลาะกันตลอด แต่ไม่มีการนองเลือดเหมือนเหตุการณ์ 6 ตุลา

9 ตุลาคม 2549
พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณตน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

11 ตุลาคม 2549
พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 242 คน โดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ในปี 2550 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาได้ตั้งฉายาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ว่า "ขัน-ที สีเขียว" เนื่องจากหลังจากที่สนช.ชุดนี้ได้รับการคัดสรรโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่ง ชาติ(คมช.)ให้เข้ามาทำหน้าที่นิติบัญญัติ สมาชิกส่วนใหญ่มาจากสายทหารและข้าราชการประจำ และอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จนถูกมองว่าเป็นสภา "สีเขียว" ทำให้สนช.ชุดนี้มีกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้กับคมช.และเพิ่มอำนาจทหารมาก ขึ้น ผ่านการพิจารณาหลายฉบับ โดยเฉพาะ ร่างพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยไม่สนใจเสียงคัดค้านอย่างหนักจากองค์กรภาคสังคม และอนุมัติกฎหมาย 70 ฉบับภายในเวลาเพียง 3 วัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สนช. มีกริยาเปรียบได้กับ "นกเขา" เมื่อเจ้าของดีดนิ้วก็พร้อม "ขัน" ตอบรับตามสัญชาตญาณทันที
14 ตุลาคม 2549
การรวมตัวกันอีกครั้งในงานรำลึกวีรชน 14 ตุลาฯ โดยเครือข่าย 19 กันยาฯ เดินขบวนใหญ่ครั้งแรกฉลองวันประชาชน มีผู้ชุมนุมประมาณ 200 - 300 คน รวมผู้สังเกตการณ์และนักข่าวเครือข่าย 19 กันยาฯ

16:30 น. เริ่มงานใช้สัญลักษณ์คือชุดดำ เพื่อไว้อาลัยให้กับประชาธิปไตย มีการอภิปรายโจมตีการรัฐประหารสลับกับการแสดงดนตรี และมีการจัดกิจกรรม "ลากตั้ง" เพื่อให้เลือกระหว่าง คปค 1 และ คปค 2 (คือไม่มีตัวเลือก) ผลปรากฎว่าคนส่วนใหญ่กาไม่ลงคะแนนเสียง
19.50 น. มีการเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมกว่า 200 คน จากสนามฟุตบอลหน้าตึกโดมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตอนเริ่มขบวนหัวแถวอยู่ประตูใหญ่ท้ายแถวอยู่หน้าตึกคณะวารสารฯ เคลื่อนมาหยุดยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถ.ราชดำเนินเพื่อประท้วงรัฐประหาร ระหว่างทางร้องตะโกนว่า "คปค.ออกไป" จากนั้นตั้งแผ่นป้าย "ขอไว้อาลัยแด่ รธน.ฉบับประชาชน" และป้ายผ้า "ไม่มี ปชต.ในระบบเผด็จการ" มีการประกาศแถลงการณ์ และจุดเทียนไว้อาลัย เพื่อปลุกจิตสำนึกประชาธิปไตย

20 ตุลาคม 2549
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงประกอบรัฐพิธีเปิดประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม

23 ตุลาคม 2549
กลุ่มผู้เข้าร่วมงานสมัชชาสังคมไทย เครือข่ายผู้พิการ เครือข่ายแรงงาน กว่า 200 คน ได้เดินขบวนจากอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อประกาศเจตนารมณ์และข้อเสนอในการปฏิรูปการเมือง ตลอดจนการประกาศยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยภาคประชาชน ผู้ชุมนุมถือป้ายผ้าข้อความเรียกร้องต่าง ๆ เช่น "ยกเลิกกฎอัยการศึก" "ค่าแรงขั้นต่ำ 7,000 บาท" "Right Base not Charity Base" โดยมีทหารราว 20 นายเฝ้าจับตาอยู่ ทั้งหมดมีอาวุธพร้อมรบและกระจายกำลังจุดละ 2 นายในมุมตึกต่าง ๆ ก่อนที่ขบวนจะเดินทางกลับสู่อนุสรณ์สถานฯ ทหารนายหนึ่งได้ขอเชิญตัวผู้แจกใบปลิว โดยระบุว่าข้อความในใบปลิวขัดต่อกฎอัยการศึก ทำให้ประชาชนและสื่อมวลชนเข้ามาห้อมล้อม ทหารนายนั้นจึงกล่าวว่า "ถ่ายรูปไว้ก่อน ค่อยเชิญตัววันหลัง"

24 ตุลาคม 2549
ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติเลือก นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน โดยมีรองประธานอีกสองคน คือ พลเอกจรัล กุลละวณิชย์ และนางสาวพจนีย์ ธนวรานิช

29 ตุลาคม 2549
นวมทอง ไพรวัลย์ เขียนจดหมายประหนึ่งว่าเป็นจดหมายลาตาย จดหมายฉบับดังกล่าวขณะนี้ถูกนำไปใส่กรอบวางอยู่หน้าโลงศพของนายนวมทอง ณ ศาลา 1 วัดบัวขวัญ จ.นนทบุรี
จดหมายจากใจนวมทอง ไพรวัลย์

"เทิดทูนชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รัฐทหารและรัฐตำรวจ (ต้องไม่มี)

สวัสดีครับท่านพี่น้องประชาชนที่เคารพ เหตุที่กระผมทำการพลีชีพเป็นครั้งที่ 2 โดยการทำลายตัวเองเพื่อมิให้เสียทรัพย์เหมือนครั้งแรก ก็เพื่อลบคำสบประมาทของท่านรองโฆษก คปค.ที่ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์หลายฉบับว่า “ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้”

เหตุพลีชีพครั้งแรกของผมยอมรับว่าคำณวนความเร็วของรถแท็กซี่ผิดพลาด รถถังที่จอดลานพระบรมรูปทรงม้าติดด้านหัวถนราชดำเนินนอก เมื่อผมขับรถผ่านกองบัญชาการทัพบกพ้นหัวถนนและเกาะกลางถนนเพื่อพุ่งเข้าชนเพื่อหักเลี้ยวแบบตัว S ความเร็วจึงลดลงมากเพราะต้องการชนแบบประสานงา

ผมจึงแค่บาดเจ็บสาหัส ซี่โครงหัก 5 ซี่ ตาซ้ายบวมช้ำคางทะลุถึงภายในช่องปาก รักษาตัวโรงพยาบาลวชิรฯ มีคณะของคุณครูประทีป ฮาตะ และคณะอื่นๆ มาเยี่ยมหลายคณะและมีผู้สื่อข่าว นสพ. มาขอสัมภาษณ์ว่า ไม่พอใจหรือที่ปฏิรูปแล้วบ้านเมืองสงบสุข ไม่มีการนองเลือด ผมตอบไปว่าใครทำผิดกฎหมายและก่อความไม่สงบก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ที่ผ่านมามีเบื้องหลังเบื้องลึกมากมาย ตอนนี้ก็เปิดหน้ากากออกมาจนเกือบหมดแล้ว เป็นการตบหน้าประชาชนอย่างไม่อาย. แต่ไม่เห็นเป็นข่าวรวมทั้งข่าวของผมที่ชนรถถังเพื่อประท้วง คปค. ลงข่าว นสพ. วันเดียวเงียบหายไปเลย ผมรักษาตัวที่โรงพยาบาลวชิรฯ 13 วัน คุณหมออนุญาตให้กลับมาพักฟื้นที่บ้านและนำ นสพ. ที่เสนอข่าวชนรถถังประท้วงคปค. ของผม พบคำสัมภาษณ์ท่านรองโฆษก ใน นสพ. ตรงกันหลายฉบับด้วยถ้อยคำที่กล่าวมาข้างต้นและยังปรามาสว่าผมแก่แล้ว คงทำด้วยอารมณ์ชั่ววูบ ก็มีเวลาเอาสีมาพ่นข้อความรอบตัวรถยังคิดว่าอารมณ์ชั่ววูบ ไม่น่าให้ทำงานและกินเงินเดือนที่ได้มาจากภาษีของประชาชนเลย.

ความคิดผม เมื่อหายป่วยดีก็จะทำมาหากินขับรถ TAXI ไม่ก่อวีรกรรมอีกต่อไป แต่พบข้อความการให้สัมภาษณ์ นสพ. ของท่านรองโฆษก คปค. ในเชิงปรามาสดังกล่าวก็เลยต้องสนองตอบกันหน่อย เพราะนิสัยคนไทยฆ่าได้แต่หยามไม่ได้ และเหตุผลที่ผมเลือกวันสุดท้ายของเดือนตุลาคมเป็นวันพลีชีพเพราะเดือนนี้ เป็นเดือนที่วิญญาณของวีรชนที่สถิตอยู่ที่อนุสรณ์สถานฯ ที่ผมทำการพลีชีพนี้ได้เรียกร้องกระทั่งได้มาซึ่งประชาธิปไตย และวิญญาณของผมก็จะสถิตอยู่กับเหล่าวีรชนแห่งนี้ตลอดไป และขอยืนยันว่าปฏิบัติการทั้งสองครั้งทำด้วยใจ ไม่มีใครจ้าง

สุดท้ายขอให้ลูกๆ และภรรยาจงภูมิใจในตัวพ่อ ไม่ต้องเสียใจ ชาติหน้าเกิดมาคงไม่พบเจอการปฏิวัติอีก

ลาก่อน พบกันชาติหน้า

ปล. ขอแก้ข่าว ขวดยาที่พบในรถภายหลังเกิดเหตุคืออาหารเสริมแคปซูลใบแปะก๊วยไม่ใช่ยาแก้เครียดตามที่
ลงข่าว นสพ. ผมไม่เครียดแต่ประท้วงจอมเผด็จการ

สวัสดีครับ
29 ตุลาคม 2549
(นายนวมทอง ไพรวัลย์) "

31 ตุลาคม 2549
เมื่อกลางดึกของคืนวันนี้ นายนวมทอง ไพรวัลย์ ได้ผูกคอเสียชีวิต บนสะพานลอยข้ามถนนวิภาวดีรังสิต หน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ พร้อมด้วยจดหมายประท้วงรัฐบาลโดยมีข้อความตอนหนึ่งว่า "เหตุที่ผมกระทำการพลีชีพครั้งที่ 2 โดยการทำลายตัวเอง เพื่อมิให้เสียทรัพย์เหมือนครั้งแรก ก็เพื่อลบคำสบประมาทของท่านรองโฆษก คปค. (พ.อ.อัคร ทิพย์โรจน์) ที่ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์หลายฉบับว่า 'ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้'"

ครม. มีมติเห็นชอบให้นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ไปนั่งเก้าอี้ ผอ.ศอ.บต.
1 พฤศจิกายน 2549
พ.อ.อัคร ทิพโรจน์ โฆษกกองทัพบก และอดีตรองโฆษก คปค.กล่าวเรื่องนี้ว่า สิ่งที่นายนวมทองกล่าวหาผม ผมต้องขอขมาต่อวิญญาณของคุณลุง และจะหาโอกาสทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ รวมทั้งไปร่วมในพิธีศพ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของคุณลุงที่มุ่งมั่น ทุ่มเท หรือคิดด้านเดียว โดยขาดคำชี้แจงตามลำดับ จนทำให้มั่นใจว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณบุญชู ภรรยาของคุณลุง ก็ทราบว่าเขาไม่ได้ผิดปกติอะไร ไม่มีท่าทีที่บอกว่าคิดมากหรือกลุ้มใจ พ.อ.อัคร กล่าว

ประชาชนจำนวน 200 คน ได้มาชุมนุมกันเพื่อขับไล่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. โดยเรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึก และจัดการเลือกตั้งภายใน 2 เดือน ชนาพัทธ์ ณ นคร และวรัญชัย โชคชนะ ผู้นำกลุ่มพิราบขาว ได้กล่าวโจมตีคณะรัฐประหาร และเชิดชูวีรกรรมของ นวมทอง ไพรวัลย์ ช่วงค่ำแกนนำกลุ่มเครือข่าย 19 กันยาฯ ตามมาสมทบการชุมนุม

7 พฤศจิกายน 2549
ในวาระฉลองครบรอบ 60 ปีของไทม์เอเชีย นิตยสารไทม์ สดุดีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นหนึ่งในวีรบุรุษของเอเชีย ที่ทรงใช้ทศพิธราชธรรมเพื่อยุติความขัดแย้งและทรงนำประเทศ ผ่านวิกฤตการณ์ต่าง ๆ

8 พฤศจิกายน 2549
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สั่งเผาทิ้งบัญชีดำอุสตาช หลังครู-น.ร.ธรรมวิทยา โอดครวญถูกขึ้นบัญชีดำถึง 90% ศาลนราธิวาสถอนฟ้อง 56 จำเลยคดีตากใบ และถอนหมายจับผู้ต้องหา 40 คนในคดีเดียวกัน ผบ.ทบ.มั่นใจมาตรการ รบ.ได้ใจชาวบ้านบริสุทธิ์ถึง 99% มท.1เชื่อ"ใกล้ถึงจุดสุดท้าย"ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ กลุ่มคนร้ายไม่ต่ำกว่า 20 เข้าโจมตีทหารพรานที่คุ้มกันโรงเรียนในบันนังสตา ทหารสังเวย 1 คนร้ายโดนยิงสวนดับ 2

เลขาธิการโอไอซีได้แสดงความชื่นชมเป็นพิเศษที่ พล.อ.สุรยุทธ์ ได้กล่าวขอโทษต่อชาวไทยมุสลิมในพื้นที่เกี่ยวกับความผิดพลาดของรัฐบาลที่ผ่านมา รวมถึง การแสดงความตั้งใจที่จะให้สอบสวนคดีบุคคลสูญหายที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2547 ทั้งยังยินดีที่ พล.อ.สุรยุทธ์แสดงความมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาด้วยการพูดคุยหารือ รวมถึงการรื้อฟื้นศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือศอ.บต.

กระทรวงกลาโหมยอมชดใช้ญาติคดีตากใบ 42 ล้านบาท

9 พฤศจิกายน 2549
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ออกมาชี้แจงว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานอนุญาตให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นประธานในพิธีแล้ว เช่นเดียวกับนายจักรธรรม ธรรมศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติใน ขณะนั้น ได้สนับสนุนและอ้างว่าสำนักพระราชวังออกแบบพิธีทั้งหมด รวมทั้งการจัดตำแหน่งเก้าอี้ด้วย อย่างไรก็ตาม ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ได้ระบุว่า ในวันดังกล่าวไม่มีพระบรมราชานุญาติให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นประธานในพิธีแต่อย่างใด

11 พฤศจิกายน 2549
มีการรวมตัวจัดตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองกลุ่มใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักรบไซเบอร์ ผู้รักประชาธิปไตย เพื่อต่อต้านเผด็จการรัฐประหาร ที่บิดเบือนข่าวสารและปิดหูปิดตาประชาชน มีชื่อกลุ่มว่า คนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ

14 พฤศจิกายน 2549
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการก่อความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ที่มีความรุนแรงมากขึ้นความตอนหนึ่งว่า "ทุกเรื่องต้องใช้เวลาทั้งนั้น ผมยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ให้มันยุติภายในระยะสั้นๆ ถ้าเผื่อผมทำได้ เหมือนอย่างที่ทุกคนต้องการ คือผมสั่งวันนี้ พรุ่งนี้เลิก ถ้าเป็นอย่างนั้นได้ จะให้ผมไปขอโทษ ให้ไปกราบเท้าใครก็ได้ ผมยินดีที่จะทำอย่างนั้น ทุกๆ คนเลย ว่าขอให้เลิกเถอะ ผมยินดีกราบเท้า ปูผ้ากราบเลย"

17 พฤศจิกายน 2549ศาลแพ่งมีคำสั่งให้นายสนธิหยุดการกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ เพิ่ม ในเดือนเดียวกัน พลเอกกิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ อดีตราชองครักษ์ ได้ร้องทุกข์ต่อตำรวจในกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และนายวิษณุ เครืองามกระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพใน กรณีการทำบุญวัดพระแก้ว แต่ได้มีการถอนฟ้องในภายหลัง

คนร้ายวางระเบิดรถกระบะเสียหายทั้งคัน ที่ อ.ธารโต จ.ยะลา แต่ไม่มีผู้บาดเจ็บ
คนร้ายขี่ จยย.ขว้างระเบิดใส่หลังคาบ้านชาวบ้านเสียหาย ใน อ.เมือง จ.ยะลา
คนร้ายเผาบ้านชาวบ้านใน อ.บันนังสตา จ.ยะลา ไหม้หมดทั้งหลัง
คนร้ายยิง พนง.บริษัท ขณะขี่ จยย.ใน อ.เมือง จ.ยะลา บาดเจ็บสาหัส
คนร้ายยิงลูกจ้างโครงการพระราชดำริจุฬาภรณ์ 9 ขณะขี่ จยย.ใน อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เสียชีวิต
คนร้ายยิงลูกจ้างโครงการฟาร์มตัวอย่าง ขณะยืนซื้อปลาที่ตลาดนัด อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เสียชีวิต
คนร้ายขโมยปืน ชรบ.ใน อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ได้ไป 1 กระบอก
คนร้ายยิงพ่อค้าขณะขี่ จยย.ขายไอศกรีม เสียชีวิตที่ อ.เมือง จ.ยะลา
คนร้ายวางระเบิด 2 จุด หน้าร้านกาแฟใน อ.เมือง จ.นราธิวาส เวลาไล่เลี่ยกัน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 23 ราย
คนร้ายระเบิดรถทหารขณะวิ่งผ่านถนนใน ต.โต๊ะเด็ง อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ทหารบาดเจ็บ 7 ราย
คนร้ายวางระเบิดหน้าร้านขายกาแฟ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี แต่ จนท.เก็บกู้ได้ก่อน
คนร้ายขว้างขวดน้ำมันจุดไฟ ใส่บ้านทหารพรานที่ อ.กรงปินัง จ.ยะลา รถกระบะเสียหายทั้งคัน แต่ไม่มีผู้บาดเจ็บ

18 พฤศจิกายน 2549 
19.00 น. กลุ่มพันธมิตรต่อต้านรัฐประหารซึ่งนำโดยเครือข่าย 19 กันยาต้านรัฐประหาร ได้เคลื่อนขบวนจาก ม.ธรรมศาสตร์ สมทบด้วยกลุ่มพิราบขาว 2006 รวมทั้งมวลชนบางส่วนที่ท้องสนามหลวง สนธิกำลังกันเดินไปตามถนนราชดำเนิน ผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปจนถึงหน้ากองทัพบก เพื่อประกาศเจตนารมย์ต่อต้านการสืบทอดอำนาจเผด็จการ และให้ยกเลิกกฎอัยการศึกโดยทันที การชุมนุมในครั้งนี้มีผู้ร่วมชุมนุมกว่า 700 คน โดยได้รับการสนับสนุนจากหลายกลุ่มมวลชน อาทิเช่นกลุ่มกรรมกรปฏิรูป, ตัวแทนนักศึกษาจากสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, กลุ่มพิราบขาว 2006 และประชาชนผู้สนใจ การชุมนุมยุติลงในเวลา 20.00 น.

28 พฤศจิกายน 2549
ครม. ประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกใน 41 จังหวัด (รวมกรุงเทพฯ) คือ กำแพงเพชร ขอนแก่น เชียงราย เชียงใหม่ ชัยภูมิ นราธิวาส นครราชสีมา บุรีรีมย์ ปัตตานี มหาสารคาม ยะลา ร้อยเอ็ด เลย ศีรษะเกษ สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุดรธานี อำนาจเจริญ อุบลราชธานี กาญจนบุรี ตราด ตาก น่าน ประจวบคีรีขันธ์ พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี แม่ฮ่องสอน ราชบุรี ระนอง สตูล สระแก้ว อุตรดิตถ์ และ สงขลา แต่ยังคงไว้ 35 จังหวัด ที่ยังมีความเคลื่อนไหวทางการเมือง

9 ธันวาคม 2549สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระ บรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติจำนวน 1,982 คน
การปาฐกถาพิเศษ และการเปิดตัวหนังสือ “พระผู้ทรงปกเกล้าฯ ประชาธิปไตย : ๖๐ ปี สิริราชสมบัติกับการเมืองการปกครองไทย” เรียบเรียงโดย รศ. ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นองค์ปาฐกฯ
วิจารณ์หนังสือ โดย ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ จันทรวงศ์ รองศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ณ ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

10 ธันวาคม 2549
เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร นัดชุมนุมที่ท้องสนามหลวงในวันรัฐธรรมนูญเพื่อระลึกถึงรัฐธรรมนูญที่เสียไป นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มพิราบขาวที่มีเป้าหมายต่อต้านรัฐประหารเช่นกันมาสมทบ ระหว่างนั้นมีการปราศรัยด้วยคนกลุ่มต่างๆ เช่น วรัญชัย โชคชนะ อุเชนทร์ เชียงแสน สมบัติ บุญงามอนงค์ นพรุต วรชิตวุฒิกุล (แกนนำกลุ่มพิราบขาว) ฯลฯ จ

18.30 น. ได้มีการเดินขบวนไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยคาดว่ามีผู้ร่วมเดินขบวนไป จำนวน 1,000 คน (เครือข่ายอ้างว่ามีถึง 3,000-4,000 คน) เครือข่าย 19 กันยาฯ ได้อ่านประกาศวันรัฐธรรมนูญ “ต้านการสืบทอดอำนาจ - ต้านรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการ” มีส่วนที่น่าสนใจคือ

"... ทางเครือข่าย 19 กันยาฯเชื่อว่าเป้าหมายการยึดอำนาจที่แท้จริง คือความต้องการเข้ามาเพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้าง-จัดขั้วอำนาจหรือความ สัมพันธ์เชิงอำนาจกันใหม่ในหมู่ชนชั้นนำ หลังจากชนชั้นนำจารีตประเพณี ระบบราชการ และชนชั้นกลางที่มีปากเสียงเหนือชาวบ้านทั่วไปมานานถูกสั่นคลอนด้วยการเติบโตและก้าวหน้าของระบอบประชาธิปไตยและพัฒนาการทางเศรษฐกิจ จนกระทั่งสูญเสียบทบาทนำในฐานะอภิสิทธิ์ทางสังคมลง โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ พ.ค.2535 ที่ทำให้ทหารต้องเกือบตายไปจากการเมืองไทยอย่างถาวร ระบบราชการ เสียอำนาจให้เอกชนและพรรคการเมือง ปัญญาชนนักวิชาการเสียบทบาทในการชี้นำสังคม ฐานเสียงสังคมในชนบทกลายเป็นตัวชี้ขาดการเข้าสู่อำนาจของพรรคการเมือง ตลอดจนการเติบโตของประชาชนชั้นล่างของสังคม การกลับมาครั้งนี้ของเผด็จการจึงเป็นรื้อฟื้นสถานะอภิสิทธิ์กลับมา ดังนั้นความสำเร็จในการรัฐประหาร (ปรับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจ - สืบทอดอำนาจ) ย่อมหมายถึงความล้มเหลวของสังคมไทยโดยรวม

หลักสำคัญประการหนึ่งในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างครั้งนี้ คือกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งแม้ไม่ใช่ทั้งหมดของอำนาจในสังคมการเมืองไทย แต่ก็คือแกนกลางของการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐกับประชาชน สถาบันการเมืองกับสถาบันการเมือง สถาบันการเมืองกับประชาชน ประชาชนกับประชาชน อีกนัยหนึ่ง รัฐธรรมนูญคือข้อตกลงแม่บทที่จะบอกว่า ใครควรมีอำนาจมากน้อยเพียงใด และใช้อำนาจนั้นได้อย่างไร การเข้าไปจัดการกับรัฐธรรมนูญก็คือการจัดการกับอำนาจทั้งในระดับบนที่เป็น สถาบันการเมืองหลักกับระดับล่างที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพหรือวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนไปพร้อมๆ กัน

แต่กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่นั้นเปิดโอกาสให้คณะเผด็จการแทรกแซงได้ทุกขั้น ตอน แนวโน้มการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจคือประชาชนจะมีอำนาจน้อยลง กลุ่มอำนาจประเพณี เช่น ทหาร ศาล ระบบราชการ องคมนตรี กลุ่มทุนที่อิงกับอำนาจประเพณีนั้น จะมีอำนาจเพิ่มขึ้น ท้ายที่สุดจะนำไปสู่สังคมการเมืองภายใต้การบงการของกลุ่ม สถาบันการเมืองบางกลุ่มเท่านั้น

เครือข่ายฯไม่เห็นด้วยในการเข้าไป มีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญนี้ หรือการมีส่วนร่วมทางอ้อมด้วยการตั้งเวทีคู่ขนาน ซึ่งเป็นการพยายามต่อรองแบบหนึ่งโดยหวังว่า กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะดีหรือไม่เลวร้ายเกินไป แต่ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ การกระทำเช่นนั้นเท่ากับยอมรับกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่กระทำโดยเผด็จการ ทันที ผลร้ายที่ตามมาคือ จะยิ่งทำให้เผด็จการมีความชอบธรรมเต็มที่ นั่นคือการตอกย้ำความจำเป็นที่ระบบการเมืองไทยต้องมีเผด็จการต่อไปอย่างไม่ สิ้นสุด ผลสุดท้ายก็ได้เพียงรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการอำพรางเท่านั้น..."

หลังอ่านประกาศจบ ทางเครือข่าย 19 กันยาฯ ได้เผารัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พร้อมทั้งจุดเทียนร่วมกันจากนั้นจึงร้องเพลง “คำตอบในสายลม” ก่อนจะแยกย้ายกันกลับในเวลา 20.00 น. มีการกำหนดไว้ว่าการชุมนุมครั้งต่อไปจะจัดทุกวันอาทิตย์ เวลา 16.00น. ณ สนามหลวง

17 ธันวาคม 2549 
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติ ณ หอประชุมกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่

18 ธันวาคม 2549
มีการประชุมเลือกสมาชิกด้วยกันเองจำนวน 200 คน เพื่อส่งให้ คมช. คัดเลือกเหลือ 100 คนเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เขียนบทความวิเคราะห์ว่าถึงท่าที 2 อย่างในหมู่ปัญญาชนแอ๊กติวิสต์ที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร

"...แนวทางแรก ปฏิเสธการรัฐประหารและสิ่งที่ตามมาโดยสิ้นเชิง (รัฐบาล, สนช., คมช., สมัชชาแห่งชาติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญใหม่) คือไม่ยอมรับ และไม่พยายามเข้าไปมีส่วนร่วมใดๆในการผลักดันเสนอความเห็นต่อรัฐธรรมนูญใหม่ อาศัยการเคลื่อนไหวประนามต่อต้านคัดค้านจากภายนอก
แนวทางที่สอง นอกจากปฏิกิริยาที่ค่อนข้างคลุมเครือ ลังเล ต่อการรัฐประหารโดยเฉพาะในระยะแรกแล้ว แนวทางนี้เสนอให้พยายามวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความเห็น เพื่อผลักดันส่งอิทธิพลต่อการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (รวมทั้งเคลื่อนไหวในรูปแบบการร่าง "รัฐธรรมนูญทางเลือก", "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน"...)

ซึ่งเขาวิพากษ์แนวทางแรกว่า
... คณะรัฐประหารชุดนี้คงพยายามผลักดันให้การเมืองมีลักษณะแบบ "ประชาธิปไตยครึ่งใบ" เหมือนสมัยเปรม (รัฐธรรมนุญ 2521) นั่นคือ การเมืองที่เปิดโอกาสให้ราชสำนักและกองทัพมีอิทธิพลและบทบาทในการกำหนดอย่างประจำ เครื่องมือสำคัญของการเมืองแบบนี้คือ นายกฯไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภาแต่งตั้ง (แต่ล่าสุด ชัยอนันต์ สมุทวนิช ได้เสนอให้มีองค์กรอย่าง คมช. และ สตช. ด้วย)

ในความเห็นผม การประเมินเช่นนี้ น่าจะมีผลต่อการทบทวนท่าทีต่อรัฐประหารข้างต้น กล่าวคือ ถ้าการประเมินเช่นนี้ถูกต้อง ความพยายามที่จะ "ส่งอิทธิพล" ต่อการร่างรัฐธรรมนูญ ตามแนวทาง ม.เที่ยงคืน ก็เป็นความพยายามที่เกือบจะแน่นอนว่าจะล้มเหลว...

และมีข้อเสนอว่าควรจะมีการชักชวนให้นักวิชาการที่มีชื่อเสียงทางสังคมทั้งหลาย ให้มาเห็นด้วยกับท่าทีต่อการรัฐประหารแบบบอยคอต"

19 ธันวาคม 2549
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปิดที่ระดับ 622.14 ลดลง 108.41 จุด หรือ 14.84% ซึ่งต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี เป็นผลกระทบจากมาตรการสกัดเก็งกำไรค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย

31 ธันวาคม 2549
เกิดเหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดนนทบุรี

อ้างอิง : 
กรุงเทพธุรกิจ, คม-ชัด-ลึก, ผู้จัดการ, ข่าวสด, มติชน, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, INN, Sanook, ประชาไท
http://th.wikipedia.org/wiki/พ.ศ._2549
http://th.wikipedia.org/wiki/ทักษิณ ชินวัตร
ฟังเสียงวิทยุได้จาก http://www.managerradio.com/Radio/DetailRa...program_id=2770 อ้างจาก http://www.cityvariety.com/index.php?cmd=n...d=11&cate=2
ประชาไทออนไลน์. "เปิดตัวแล้ว พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" http://www.prachatai.com/05web/th/home/pag...emLanguage=Thai(10 กุมภาพันธ์ 2549)
"แถลงการณ์พรรคประชาธิปัตย์_27_มิถุนายน_พ.ศ._2549" http://th.wikisource.org/wiki/แถลงการณ์พรร...ุนายน_ พ.ศ._2549
"เตือน'ทักษิณ'ถอยก่อนนองเลือด" http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=8431 (5 มีนาคม 2549)
http://th.wikipedia.org/wiki/อภิสิทธิ์_เวชชาชีวะ
ประชาไทออนไลน์. "พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องครม. ออกยกชุด เปิดทางมาตรา 7" http://www.prachatai.com/05web/th/home/pag...Key=HilightNews (25 มีนาคม 2549)
สาระสนเท่ห์. "ผลการเลือกตั้ง 2549" http://sanpaworn.vissaventure.com/?pg=2 (5 เมษายน 2549)
ประชาไทออนไลน์. "ไชยันต์ ไชยพร ฉีกบัตรเลือกตั้ง เปิดประเด็น ต้องเลือกระหว่างการเป็นพลเมืองดีกับการเป็นคนดี" http://www.prachatai.com/05web/th/home/pag...Key=HilightNews (2 เมษายน 2549)
ประชาไทออนไลน์. "ตราไว้ในดวงจิต : พระบรมราโชวาท “นายกฯ พระราชทาน ไม่ใช่ประชาธิปไตย”" http://www.prachatai.com/05web/th/home/pag...Key=HilightNews (26 เมษายน 2549)
http://mynoz.spaces.live.com/blog/cns!...B!738.entry อ้างถึง มติชนรายวัน วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11342
ปราโมทย์ นาครทรรพ. "http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9490000065158" http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.as...D=9490000065158 (18 พฤษภาคม 2549)
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก. "ศาลอาญา พิพากษา 3 กกต. จำคุก 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา และไม่ให้ประกันตัว" http://news.sanook.com/politic/politic_10841.php (25 กรกฎาคม 2549)
"พลิกตำนาน"ลอบสังหาร"บุคคลสำคัญจาก"เปรม" ถึง "ทักษิณ"ในสถานการณ์ระอุ"เรื่องจริง"หรือ"ปาหี่" "http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1239200860&grpid=00&catid=01 (9 เมษายน 2552)
http://th.wikipedia.org/wiki/คณะปฏิรูปการป...ย์ทรงเป็น ประมุข
http://th.wikipedia.org/wiki/สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
http://www.palawat.org/twiki/tiki-pagehist..._style=sideview
ประชาไทออนไลน์. "จดหมายจากใจแท็กซี่พลีชีพ “ชาติหน้าเกิดมาคงไม่พบเจอการปฏิวัติอีก”" http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php? mod=mod_ptcms&ContentID=5657&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage=Thai
ประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 http://th.wikisource.org/wiki/ประกาศ_คปค._ฉบับที่_๒๗ (22 กันยายน 2550)
http://th.wikipedia.org/wiki/คตส.
http://th.wikipedia.org/wiki/นวมทอง_ไพรวัลย์
http://tnews.teenee.com/politic/5203.html (2 พฤศจิกายน 2549) อ้างจาก หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก
"ข่าวประชาสัมพันธ์ มธ.โดยงานประชาสัมพันธ์ กองกลาง" http://www.tu.ac.th/news/2006/12/04.htm (4 ธันวาคม 2549)
"รายงานสดเหตุการณ์ชุมนุมต้านรัฐประหาร 10 ธันวาคม 2549" http://www.palawat.org/twiki/tiki-index.ph...10_field_report (ปรับปรุงแก้ไขล่าสุด 25 มิถุนายน 2550) และ ประชาไทออนไลน์ "ชุมนุมต้านรัฐประหารนับพัน “เรามาล้อมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยถูกขโมย”" http://www.prachatai.com/05web/th/home/pag...emLanguage=Thai (11 ธันวาคม 2549)
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล."อะไรต่อไป? สองแนวทางในหมู่ปัญญาชนแอ๊กติวิสต์ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารในขณะนี้ และข้อสังเกต-ข้อเสนอบางประการ" http://somsakcouppostings.blogspot.com/200...-post_2504.html (18 ธันวาคม 2549)http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=30312
http://www.komchadluek.com/2006/09/20/a001_49076_report.php?news_id=49076
http://th.wikipedia.org/wiki/การขับไล่ทักษิณ_ชินวัตร_จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
http://th.wikipedia.org/wiki/เครือข่าย_19_กันยา_ต้านรัฐประหาร
http://th.wikipedia.org/wiki/สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
http://th.wikipedia.org/wiki/วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย_พ.ศ._2548-2549
http://th.wikipedia.org/wiki/ทักษิณ_ชินวัตร

-------------------------------------------------------------

FfF