PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สถานการณ์ข่าว19ก.พ.58

"ปณิธาน" มั่นใจ ส่งฟ้อง "ยิ่งลักษณ์" ไม่มีแรงกระเพื่อมทางการเมือง บอกกลุ่มต่าง ๆ เคลื่อนไหวได้ในทางสร้างสรรค์ ไม่กระทบโรดแมป

รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า จากการประเมินสถานการณ์ภาพรวมเกี่ยวกับกลุ่มผู้สนับสนุน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีต

นายกรัฐมนตรี ที่อาจเคลื่อนไหวในวันนี้ ซึ่งเป็นวันที่ อัยการสูงสุด มีกำหนดยื่นสำนวนคำฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ กรณีละเลยไม่ดำเนินการระงับ

ยับยั้งโครงการรับจำนำข้าวจนทำให้รัฐเสียหายต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เบื้องต้น อาจจะมีหรือไม่มีเลย และเชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบทางการเมือง ส่วนเรื่องคดีก็ปล่อย

ให้เป็นไปตามกระบวนการ ยืนยัน ไม่มีการแทรกแซงอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ ที่ปรึกษารองนายกฯ ยังกล่าวด้วยว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ ทั้งกลุ่มการเมือง และกลุ่มนักศึกษา ที่แสดงออก ทั้งการแสดงจุดยืนทางการเมือง หรือ แนวทางการปฏิรูปพลังงาน ฝ่าย

ความมั่นคง มีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากไม่กระทบต่อโรดแมป ก็สามารถดำเนินการได้ แต่หากพบมีการเคลื่อนไหวที่ส่อไปในทางขัดขวาง หรือ เป็นอุปสรรคต่อโร

ดแมป ก็จะต้องดำเนินการพูดคุย ปรับทัศนติ หรือ ขั้นตอนต่าง ๆ ตามกฎหมายต่อไป

นอกจากนี้ ฝ่ายความมั่นคง ยังติดตามและเฝ้าระวังภัยคุกคามที่อาจจะเกิดจากภายนอกอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
---------------------
นายกฯ ย้ำ อสส. ขอไม่ให้ ยิ่งลักษณ์ ไปนอก ยืนยัน สามารถใช้อำนาจหัวหน้า คสช. ได้ทุกเรื่อง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวถึงการขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ภาย

หลังที่อัยการสูงสุดนำเรื่องโครงการรับจำนำข้าวส่งฟ้องต่อศาลฎีกาวันนี้ว่า ต้องดูว่าอัยการสูงว่าอย่างไร ซึ่งที่ผ่านมาเมื่อมีการขออนุญาตไปต่างประเทศก็ได้มีสอบถามไปยังอัยการสูงสุด ซึ่งอัยการ

สูงสุดได้ขอให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ งดไปต่างประเทศในช่วงนี้ก่อน

ขณะเดียวกันยืนยันว่าสามารถใช้อำนาจหัวหน้า คสช. ได้ทุกเรื่อง แม้กระทั่งสั่งปิดสื่อต่าง ๆ แต่ไม่ใช้
//////////////
สนช.ประชุม

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เปิดการประชุมแล้ว ขณะ บวรศักดิ์ ส่งตัวแทนรายงานคืบหน้าการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา

บรรยากาศการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ล่าสุด เปิดการประชุม โดยมี นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อเตรียมพิจารณาวาระเร่งด่วน 9 เรื่อง ทั้งนี้ ก่อนเข้าสู่ระเบียบ

วาระ ทางคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้รายงานความคืบหน้าของการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ซึ่ง นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มอบ

หมายให้พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ที่ปรึกษาและโฆษกกรรมาธิการ ได้รายงานแทน นายบวรศักดิ์ ขณะเดียวกัน คณะกรรมาธิการรวบรวมความคิดเห็นของสมาชิก สนช. ต่อการยกร่างรัฐธรรมนูญ

จะขอเพิ่มภารกิจให้มีหน้าที่ติดตามการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย ไม่ใช่แค่รวบรวมความเห็นเท่านั้น และขอขยายเวลาการทำงานออกไปอีก 90 วัน โดยเห็นว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ควรมีความมาตรา

ให้น้อย ไม่เกิน 400 มาตรา และเขียนเนื้อหาให้สั้น ส่วนรายละเอียดให้ไปกำหนดในกฎหมายลูกแทน
---------------------
"พล.อ.เลิศรัตน์" แจงคืบหน้า ยกร่าง รธน. ต่อ สนช. ในภาคพิจารณารามาตรา ภาค 1, 2 มีการปรับปรุงแก้ไขหลายด้าน

บรรยากาศการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ล่าสุด พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ รายงานความคืบหน้าการยกร่างรัฐธรรมนูญในภาคที่ 1 และ 2 ต่อ

ที่ประชุม สนช. ว่า ในภาคที่ 1 พระมหากษัตริย์ และประชาชนมี 2 หมวด รวม 71 มาตรา ในหมวดพระมหากษัตริย์ ไม่มีการปรับแก้ไข ส่วนหมวดที่ 2 ประชาชน ได้มีการเพิ่มสิทธิของพลเมือง พร้อม
ทั้งหลักเกณฑ์การใช้สิทธิเพื่อป้องกันการใช้สิทธิ์ไปกระทบต่อสิทธิของผู้อื่น และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม นอกจากนี้ ยังได้มีการเพิ่มอำนาจให้กับรัฐบาล รัฐสภา ศาล ตลอดจนองค์กรตามรัฐ

ธรรมนูญ ตีความแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่ไม่มีระบุไว้ในรัฐธรรมนูญตามแต่ที่เห็นสมควร

ทั้งนี้ ในภาคที่ 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง มีการพิจารณาหมวด 2 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ โดยได้บัญญัติหน้าที่ ที่รัฐจะต้องดำเนินการ โดยยึดหลักธรรมาภิบาลและฟังเสียงของ

ประชาชน ซึ่งในส่วนนี้ ได้มีการเพิ่มมาตรา 96 รัฐต้องส่งเสริมวัฒนธรรมให้เป็นเอกลักษณ์ของชาติ และมาตรา 97 ส่งเสริมการกีฬาเพื่อสร้างสุขภาพที่ดีแก่ชุมชนและท้องถิ่น
--------------------------
กมธ.ยกร่างฯ พิจารณาภาค 4 เสนอปฏิรูปกฎหมาย ทำให้สังคมเข้มแข็ง ส่งเสริมการบริการสังคมที่มั่นคง ยั่งยืน

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานการประชุม อยู่ในระหว่างการพิจารณา ภาค 4 การปฏิรูปและการสร้างปรองดอง ในหมวดที่ 1

การปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรม ได้มีการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปกฎหมายที่จะทำให้สังคมเข้มแข็ง ส่งเสริมการบริการในสังคมที่มั่นคง เพียงพอ ยั่งยืน และเข้า
ถึงได้ โดยให้ครอบครัวเป็นพื้นฐาน รวมถึงการช่วยเหลือเติมเต็มผู้สูงอายุ ผู้พิการ คนชายขอบ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรม มีระบบกลไกคุ้มครองผู้บริโภค มีกองทุนชดเชย เยียว

ยาผู้ที่ได้รับความเสียหาย และให้มีคณะกรรมการศึกษาแนวทาง เพื่อให้เกิดการปฏิรูปด้านสังคม อย่างน้อยในเวลา 10 ปี

โดยขณะนี้ยังคงมีการอภิปรายถึงเนื้อหาในประเด็นการปฏิรูปด้านสังคม ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงเนื้อหาของคณะกรรมาธิการปฏิรูปด้านสังคม สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เสนอและมีความสอดคล้องกันกับร่าง

ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีการปรับแก้ภาษาให้ครอบคลุม ชัดเจน

ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในช่วงค่ำของวันที่ 18 ก.พ. ที่ผ่านมา ได้พิจารณาเรื่องการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้ปรับปรุงกฎหมายเพื่อป้องกันการผูกขาดและส่งเสริม

ให้ธุรกิจแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม ระหว่างภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เอาเปรียบผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่กำหนดประเด็นนี้ไว้ในรัฐ

ธรรมนูญ

นอกจากนี้ ยังวางมาตรการให้ประชาชนและองค์กรชุมชนมีโอกาสในธุรกิจอย่างเท่าเทียม และเข้าถึงบริการทางการเงินขั้นพื้นฐานรูปแบบของกองทุนการออมชุมชน สหกรณ์ชุมชน ระบบธนาคาร

และตลาดทุน อีกทั้งยังกำหนดให้ตั้งหน่วยงานกลางทำหน้าที่วางยุทธศาสตร์ กรอบนโยบาย โดยมีเป้าหมายขจัดความยากจน และลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนอย่างชัดเจน

//////////////////
นายกฯเคลื่อนไหว

นายกฯ เข้าทำเนียบ ประชุม กรอ.แล้ว - ฟิวส์หม้อแปลงไฟฟ้า ใกล้ประตู 8 ชอร์ต ไฟลุกไหม้บริเวณตลาดนัดกล้วยไม้ ไร้เจ็บ ตึกบัญชาการไฟดับ

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาลในช่วงเช้าวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้เดินทางเข้ามาปฏิบัติงานที่ทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่

ในช่วงเช้า โดยจะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ครั้งที่ 1/2558 ที่ ตึกสันติไมตรี

อย่างไรก็ตาม เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา บริเวณตลาดนัดกล้วยไม้ข้างทำเนียบรัฐบาล ได้เกิดเหตุความวุ่นวายขึ้นเล็กน้อย เมื่อฟิวส์บนเสาไฟฟ้าบริเวณใกล้หม้อแปลงไฟฟ้าใกล้ประตู 8 ชอร์ตและเกิดไฟ

ลุกขึ้น ทำให้ไฟฟ้าที่ตึกบัญชาการ 1 ดับ

ทั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงได้เข้ามาตรวจสอบแก้ไขเบื้องต้นแล้ว ซึ่งล่าสุดไฟฟ้าที่ตึกบัญชาการ 1 ได้กลับมาใช้ได้ตามปกติแล้ว และเหตุการณ์ดังกล่าวไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด
------------------
กรุงเทพโพล ปชช. 56.8% นายกฯ ต้องพูดคุยแกนนำ สร้างปรองดอง แต่ไม่ต้องคุย "ทักษิณ" 52.6% คิดว่าปฏิรูป-ปรองดองถูกทางแล้ว และ 71.6% เห็นด้วยกับการคงกฎอัยการศึกจนวันเลือกตั้ง

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ "กรุงเทพโพล" เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คนไทยคิดอย่างไรกับกฎหมายนิรโทษกรรมสู่ความปรองดอง” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนทุกภูมิภาค

ทั่วประเทศ จำนวน 1,163 คน พบว่า ประชาชน ร้อยละ 47.4 ไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมทางการเมือง ขณะที่ ร้อยละ 40.4 เห็นด้วย โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 22.4 อยากให้นิรโทษ

กรรมทั้งประชาชนที่ร่วมชุมนุมและแกนนำการชุมนุม และร้อยละ 18.0 อยากให้นิรโทษกรรมเฉพาะประชาชนที่ร่วมชุมนุม

ร้อยละ 56.8 เห็นว่าจำเป็น ต้องมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นคนกลางในการพูดคุยกับแกนนำพรรคการเมือง, กปปส. และ นปช. ขณะ ร้อยละ 36.4 เห็นว่าไม่จำเป็น และ ร้อยละ

58.6 เห็นว่าไม่จำเป็นต้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ พูดคุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยมีเพียง ร้อยละ 32.6 เห็นว่าจำเป็น

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่าแนวทางการปฏิรูปเพื่อสร้างความปรองดองของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เป็นอย่างไร พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.6 คิดว่าเดินมาถูกทางแล้ว ขณะที่ ร้อยละ 38.4 คิดว่ายังไม่มี

แนวทางที่ชัดเจน และ ร้อยละ 9.0 ไม่แน่ใจ

และปิดท้าย ร้อยละ 71.6 "เห็นด้วย" กับการคงกฎอัยการศึกไว้จนกว่าจะถึงวันเลือกตั้ง ขณะที่ ร้อยละ 23.6 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 4.8 ไม่แน่ใจ
-----------------------
ป.ป.ช. ประชุมพิจารณาข้อเท็จจริง ปมสำนักนายกฯ จัดซื้อไมโครโฟน มีมูลหรือไม่ ขณะ "ปานเทพ" ไปสภา

ความเคลื่อนไหวที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ล่าสุด มีการประชุมประจำสัปดาห์ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งในวันนี้จะมีการพิจารณารายงาน

การแสวงหาข้อเท็จจริง กรณีสำนักนายกรัฐมนตรี จัดซื้อไมโครโฟนติดตั้งที่ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี หลังจากที่การประชุมที่ผ่านมาพบว่า เจ้าหน้าที่และผู้บังคับบัญชา ยังมีความเห็นไม่ตรงกันใน
บางประเด็น จึงได้มอบหมายให้คณะกรรมการกลั่นกรอง นำรายงานไปสรุปเท็จจริงเพื่อกลับมาเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช.อีกครั้ง เพื่อพิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวนั้น มีมูลหรือไม่ ซึ่งหากมีมูลก็จะ

พิจารณาตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไป

ขณะที่ ในช่วงเช้า นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. จะเดินทางเข้าหารือกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เรื่องการยื่นแก้ไขร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย

การป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ซึ่ง สนช. ลงมติผ่านวาระ 1 รับหลักการเรียบร้อยแล้ว
---------------------------
เลขาฯ กอ.รมน. ระบุ นายกฯ ไม่สามารถเจรจา "ทักษิณ" ได้ แนะกลับประเทศสู้คดีตามกฎหมายเหมือนน้องสาว ย้ำถูกผิดตามกระบวนการ

พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข เสนาธิการทหารบก ในฐานะเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือกอ.รมน. ได้กล่าวถึงการสร้างความปรองดอง ว่า ที่ผ่านมาได้ดำเนินการ

ในหลายพื้นที่ โดยมีการจัดเจ้าหน้าที่ลงไปติดตามงานดังกล่าว ซึ่งในฐานะคนทำงานก็อยากเห็นประชาชนปรองดองเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่แบ่งฝ่าย ดังนั้น ทุกฝ่ายควรหันมาร่วมมือกันเพราะรัฐบาลมี

เวลาจำกัด

นอกจากนี้ พล.อ.ฉัตรเฉลิม ยังระบุถึงข้อเสนอของสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ที่ให้รัฐบาลเจรจากับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้น ว่า ไม่สามารถ

ไปเจรจาได้ แต่หากอดีตนายกรัฐมนตรีจะกลับมาต่อสู้คดีก็สามารถเดินทางกลับมาได้ตลอดเวลา เช่นเดียวกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยย้ำว่า จะผิดหรือถูกก็ให้ว่าไปตามขั้นตอน รัฐบาล
และ คสช. ไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมได้
/////////////////
สปช.

น.พ.พลเดช ระบุ สปช.ได้ข้อมูลเพียงพอดำเนินการ ปฏิรูปทีละขั้นตอน 27 ก.พ.โครงการเสร็จ บอก ตจว.สนใจเรื่องปรองดองน้อย

น.พ.พลเดช ปิ่นประทีป สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะรองประธานอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็น สปช. เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า การรับฟังความคิดเห็นที่เดินหน้าอยู่ในขณะนี้

มี 2 ประเด็นสำคัญ คือ การฟังความคิดเห็นเพื่อการยกร่างรัฐธรรมนูญ และ การปฏิรูป ซึ่งในส่วนของการยกร่างรัฐธรรมนูญ การลงไปพบปะพูดคุยกับประชาชน ถือเป็นการไปทดสอบอะไรบางอย่าง

เพื่อนำมาใช้ในการเขียนบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ

ส่วนในเรื่องของการปฏิรูป ก็จะนำมาเป็นแนวคิดในการดำเนินการต่อไป โดยข้อมูลการปฏิรูปที่ได้รับมีมากพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้ระดับหนึ่ง ซึ่งทาง สปช.ได้มีการกำหนด

วาระในการปฏิรูปแล้ว 36 เรื่อง และการพัฒนาอีก 7 เรื่อง โดยภายในวันที่ 27 ก.พ. นี้ จะส่งเค้าโครงการปฏิรูปอย่างชัดเจน จากนั้นภายใน 2 เดือน ต้องออกแบบกลไกการดำเนินการ ก่อนที่จะมีการ

ออกกฎหมายเพื่อปฏิรูปไว้รองรับให้เสร็จภายใน 3 เดือน

ทั้งนี้ น.พ.พลเดช กล่าวด้วยว่า เรื่องการปรองดองนั้น ในการเปิดเวทีในต่างจังหวัดไม่ได้มีการพูดถึงเรื่องดังกล่าวมากนัก แต่จะไปเน้นในเรื่องของคุณภาพชีวิตมากกว่า และเตรียมจับมือกับอนุกรร

มาธฺการชุดของ นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ในการจัดโครงการเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวต่อไป
////////////////////
สัมปทาน21

นายกฯ ย้ำไม่เข้าร่วมเวทีสัมปทานปิโตรเลียมพรุ่งนี้ ขอนำข้อเท็จจริงมาพูด รัฐไม่ตั้งธง เชื่อหาข้อยุติได้

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวถึงเวทีกลางเรื่องสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในวันพรุ่งนี้ โดยย้ำว่า ถึงแม้ส่วนตัวจะไม่เข้า

ร่วมในเวทีแต่ก็จะรับฟังอยู่แล้ว โดยจะรับฟังความเห็นทั้ง 2 ฝ่ายทั้งหมด ซึ่งในวันพรุ่งนี้จะยังคงมีการเปิดเวทีตามกำหนดเดิมถึงแม้ฝ่ายคัดค้านจะเสนอให้เลื่อนออกไป แต่มองว่าการเคลื่อนไหว
นอกเวทีไม่ถูกต้อง โดยอยากให้นำข้อเท็จจริงมาพูดคุยกัน ซึ่งเวทีนี้ต้องหาข้อยุติเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การดำเนินการในเรื่องนี้รัฐไม่สามารถตั้งธงได้ โดยต้องดำเนินการตามกฎหมาย ทั้งนี้

อยากให้สื่อมวลชนสอบถามความเห็นของประชาชนว่ามีความเห็นในเรื่องดังกล่าวอย่างไรด้วย

อสส.ยื่นฟ้องคดี"ยิ่งลักษณ์"ต่อศาลฎีกา

.....วันนี้ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 ภายหลังอัยการสูงสุดได้ยื่นฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว
.....นายธีรทัย เจริญวงศ์ เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา แถลงชี้แจงขั้นตอนการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีว่า
.....แม้การยื่นฟ้องครั้งนี้จำเลยจะไม่มาศาลแต่อัยการสามารถยื่นฟ้องคดีได้ โดยศาลนัดฟังคำสั่งว่า จะประทับรับฟ้องหรือไม่ในวันที่ 19 มีานาคม 2558
.....พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองบัญญัติไว้ว่า เมื่ออัยการสูงสุดหรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ให้ประธานศาลฎีกาเรียกประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยเร็ว แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสิบ 14 วันนับแต่วันยื่นฟ้องคดีเพื่อให้ที่ประชุมใหญ่เลือกองค์คณะผู้พิพากษาจำนวน 9 ท่าน โดยวิธีลงคะแนนลับ
.....เมื่อได้องค์คณะจะประกาศรายชื่อองค์คณะไว้ที่ศาลฎีกาภายใน 5 วันนับจากวันประชุมใหญ่ เพื่อให้คู่ความทราบและมีโอกาสคัดค้านผู้พิพากษาที่ได้รับเลือก
.....หลังจากนั้นองค์คณะผู้พิพากษาที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่จะเลือกผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนโดยวิธีลงคะแนนลับ แล้วจะร่วมกันพิจารณาคำฟ้องของโจทก์
.....หากเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายศาลจะประทับรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา กำหนดวันพิจารณาคดีครั้งแรกและส่งสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยให้มาศาลในวันนัดพิจารณาครั้งแรกเพื่อให้การต่อสู้คดี และกำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐาน
.....นายธีรทัย กล่าวอีกว่า สำหรับสำนวนคำฟ้องของโจทก์ได้ยื่นฟ้องใน 2 ข้อหา คือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมาอาญามาตรา 157 ระวางโทษจำคุก 1 ถึง 10 ปี หรือ ปรับ 2,000 ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 123/1 ระวางโทษจำคุก 1ถึง10 ปี หรือ ปรับ 20,000 ถึง 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.....ในส่วนของท้ายคำฟ้องอัยการไม่ได้ระบุว่าขอคัดค้านการประกันตัวหรือห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เพราะเป็นอำนาจการพิจารณาของศาล

สัมปทาน21

่มพื้นที่ให้ต่างชาติได้สัมปทานมากถึงกว่า100ล้านไร่ มิหน่ำซ้ำยังเก็บเงินค่าภาคหลวงเข้ารัฐแค่12% นั่นหมายถึงว่าเขาสูบน้ำมันขึ้นมา100ลิตรเขาก็แบ่งให้เราแค่12ลิตร ในขณะที่ประเทศที่มีน้ำมันทั่วโลกกลับเลือกเก็บเงินค่าภาคหลวงที่80-82% เขาเลือกรักษาผลประโยชน์ของชาติ แต่เรากลับต่อสู้แค่ให้ยุติการสัมปทานแค่รอบที่21ที่จะถึงนี้
ทั้งๆที่พรบ2514ตัวนี้ต่างหากที่มันสร้างความขมขื่นทุกข์ยากให้กับคนไทยทั้งชาติ ทำไมเราไม่ยกเลิกมันล่ะ.
2.ครม44.อัปยศของทักษิณ ก็คือจุดเริ่มต้นของการนำปตท.ไปเป็นของเอกชน ทั้งๆที่ในความเป็นจริงปตท.ก็คือสมบัติของชาติ แต่ในโลกของความเป็นจริงในปัจจุบัน ปตท.เป็นของเอกชนเต็มตัวซึ่งการเขียนกฎหมายของทรราชก็นำปตท.กลับมาเป็นสมบัติของชาติได้ด้วยความยากลำบาก ในขณะที่พลอ.สุรยุทธ นายอภิสิทธิ์ ยิ่งลักษณ์ ก็สานต่อครม.44อัปยศนี้กันต่อมา เรารู้ว่าพวกเขาต้องฮั้วกันอยู่แล้ว.....ทำไมเราถึงไม่สู้ตรงนี้..ต้องยกเลิกมติครม.อัปยศตัวนี้.
3.พลอ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นรองนายกรัฐมนตรีทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ จนมาถึงยุคพลอ.ประยุทธ จันทร์โอชา
ไม่เฉลียวใจกันเลยเหรอ คนเดียวไปเป็นรองนายกรัฐมนตรีได้ทุกพรรค นั่นแสดงว่าต้องมีใบสั่งมาจากทหาร อย่าลืมว่าประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่ปี2514 ทหารคือเจ้าของบ่อน้ำมันในประเทศตัวจริง. ทหารย่อมไม่มีความจริงใจให้ใครหน้าไหนทั้งสิ้น
แม้แต่ประชาชน หากใครคิดจะไปยุ่งกับบ่อน้ำมันของเขา ถ้าใครยังหลงชื่นชมทหารปกป้องทหารก็เท่ากับช่วยกันปกป้องบ่อน้ำมันให้ทหาร เลิกคิดไปได้เลยนวนิยายหลอกเด็กเรื่องทหารของพระราชา
มีแตเรื่องบ่อน้ำมันของทหาร.
4.ทุกครั้งที่มีการออกมาต่อสู้เรื่องพลังงานแกนนำทุกคนจากมีอุดมการณ์สูงส่ง พอผ่านพ้นไปทุกคนจะเปลี่ยนอุดมการณ์ทันที
เมื่อทุกคนได้มีตำแหน่งในทางการเมือง มันง่ายมากที่ทหารจะควบคุมคนพวกนี้เช่น หลวงปู่อิสระ รสนา ทุกคนที่เป็นแกนนำ การต่อสู้นับวันยิ่งผิดเพี้ยนไปกันใหญ่ อย่างข้อเรียกร้องทั้ง6ข้อ ไม่มีข้อไหนเลยที่จะพูดถึงพรบ2514และมติครม44ของทักษิณ
........อีกไม่นานรัฐธรรมนูญอัปยศของคสช.เขียนเสร็จเมื่อใดทุกคนที่เป็นแกนนำออกมาทวงคืนพลังงานจะได้ดำรงค์ตำแหน่งทางการเมืองกันแบบสมใจ เพราะอำนาจของนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งใครก็ได้
สุดท้ายก็ทิ้งให้ประชาชนโง่ๆทะเลาะกันต่อไปจนตายรุ่นแล้วรุ่นเล่า
จนน้ำมันมันหมดประเทศนั่นแหล่ะมันถึงจะสงบ เหมือนครั้งหนึ่งที่ทหารเคยเข่นฆ่าประชาชนและทหารด้วยกันเรื่องแร่ดีบุก ที่มีมากมายในประเทศไทย จนในที่สุดเมื่อแร่พวกนี้มันหมดไปบ้านเมืองมันถึงได้สงบไปเอง.