PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

ข้าหลวงสิทธิ UN เรียกร้องทางการไทย-ยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งหมดต่อแกนนำทัวร์ราชภักดิ์

Fri, 2016-01-22 17:51

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกร้องรัฐบาล คสช. ยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งหมดต่อนักกิจกรรม 11 คน ที่ถูกจับกุมข้อหาละเมิดข้อห้ามการชุมนุม พร้อมแสดงความกังวลกรณีทหารใช้ถุงคลุมศีรษะ 'จ่านิว' และมีการตบและเตะในช่วงถูกควบคุมตัว โดยขอให้รัฐบาลสอบสวนการกระทำดังกล่าว
22 ม.ค. 2559 สำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (United Nations Human Rights Office for South-East Asia (OHCHR) กระตุ้นรัฐบาลทหารไทยให้ยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งหมดต่อแกนนำนักศึกษา 11 คนที่ถูกจับกุมข้อหาละเมิดข้อห้ามการชุมนุม
โดยในใบแถลงข่าวของ OHCHR ระบุว่า สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ แกนนำนักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่กล่าวว่า เขาถูกกลุ่มผู้ชายที่ไม่ได้แสดงตนจับกุมที่หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์วิทยาเขตในกรุงเทพฯ เมื่อค่ำวันพุธ ในวันพฤหัสบดีตอนเช้า น.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว น.ส.ชนกนันท์ รวมทรัพย์ และนายกรกช แสงเย็นพันธ์ ได้ไปเยี่ยมนายสิรวิชญ์ที่สถานีตำรวจที่เขาถูกควบคุมตัว นักศึกษาเหล่านี้ถูกตั้งข้อหาด้วยความผิดเดียวกัน
มีการนำตัวนักศึกษาทั้งสี่คนไปยังศาลทหารเมื่อวันพฤหัสบดี และมีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างรอการไต่สวน ศาลทหารได้ยกคำร้องที่ให้ควบคุมตัวชั่วคราวต่อนักกิจกรรมทั้งสี่คน
นักศึกษาเหล่านี้ถูกออกหมายจับเนื่องจากละเมิดคำสั่งของรัฐบาลทหารที่ห้ามการชุมนุมทางการเมือง ทั้งนี้โดยได้โดยสารรถไฟเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2558 ไปยังโครงการอุทยานที่กองทัพไทยจัดสร้างขึ้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้เห็นการทุจริตตามข้อกล่าวหาว่ามีขึ้นกับโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ เจ้าหน้าที่ได้โดยสารไปพร้อมขบวนรถไฟและขัดขวางไม่ให้นักกิจกรรมเหล่านี้ไปถึงจุดหมายปลายทาง
ต่อมามีการตั้งข้อหาจากเหตุการณ์เดียวกันกับนักศึกษาอีกเจ็ดคน
“สิทธิที่จะชุมนุมโดยสงบและสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพด้านความเห็น เป็นสิทธิพื้นฐาน และไม่ควรถือเป็นความผิดอาญาร้ายแรง” Laurent Meillan ว่าที่ตัวแทนภูมิภาค OHCHR กล่าว “เรากระตุ้นให้ทางการยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งหมดต่อนักศึกษาเหล่านี้”
นักศึกษาเหล่านี้ถูกตั้งข้อหาละเมิดคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ห้ามมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุดหกเดือน
สำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนกังวลกับการใช้คำสั่งคสช. แทนที่จะใช้พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 อันเป็นเหตุให้คดีเหล่านี้ต้องเข้ารับการไต่สวนในศาลทหาร เสี่ยงที่จะเกิดการพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรมและเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คดี
OHCHR ยังกังวลกับข้อกล่าวหาว่าทหารได้ใช้ถุงคลุมศีรษะนายสิรวิชญ์ระหว่างที่เขาถูกจับกุม ทั้งยังมีการตบและเตะเขาระหว่างการควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ผู้ทำการจับกุมไม่ได้แสดงตน ไม่ได้บอกเหตุผลของการควบคุมตัว ทั้งยังไม่ได้ให้ข้อมูลกับนายสิรวิชญ์ว่าจะนำตัวเขาไปควบคุมตัวที่ใด
OHCHR กระตุ้นให้รัฐบาลสอบสวนตามข้อกล่าวหาว่ามีการปฏิบัติที่โหดร้าย และอนุญาตให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทำหน้าที่สอบสวนกรณีนี้อย่างเป็นอิสระ
“ทางการรวมทั้งเจ้าหน้าที่ความมั่นคงไม่เพียงมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย หากยังต้องดูแลให้เจ้าหน้าที่ของตนปฏิบัติตามกฎหมายเหล่านั้นในทุกสภาพการณ์ด้วย” Meillan กล่าว
ในฐานะรัฐภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) รัฐบาลไทยมีพันธกรณีต้องคุ้มครองเสรีภาพของพลเรือนของตน รวมทั้งสิทธิที่จะปลอดพ้นจากการควบคุมตัวโดยพลการ การได้รับแจ้งข้อกล่าวหาที่มีต่อตน การเข้าถึงทนายความ และการไต่สวนโดยศาลที่เป็นอิสระและไม่ลำเอียง

ISIS พบผู้นำศาสนาในนราธิวาส, ชักชวนเยาวชนเรียนรู้


21 ม.ค. 59 บางกอกโพสต์ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวความมั่นคงที่ไม่เปิดเผยว่า มีรายงานว่าสมาชิกกลุ่มรัฐอิสลาม หรือ ISIS ได้พบปะผู้นำศาสนาที่มัสยิดแห่งหนึ่ง ในอ.สุไหงโกลก จ. นราธิวาสเมื่อปลายปีที่แล้ว พร้อมทั้งบริจาคเงินจำนวนหนึ่ง ผู้ต้องหาว่าเป็นสมาชิกกลุ่มรัฐอิสลามยังได้ชักชวนเยาวชนให้ไปเรียนรู้เกี่ยวกับ ISIS อีกด้วย 
 
รายงานข่าวของบางกอกโพสต์กล่าวอีกว่า ผู้ต้องหาทั้งสามมีสัญชาติ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ สิงคโปร์ 
 
ในขณะเดียวกัน พลโท วิวรรธน์ ปฐมภาคย์ ได้มอบหมายให้หน่วยเฉพาะกิจพิเศษที่ 36 จ.นราธิวาส ให้สอบสวนเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม พลโทวิวรรธน์ได้ปฏิเสธรายงานข่าวที่ออกมาเมื่อวานว่า ว่า ผู้ต้องหาว่าเป็นสมาชิกกลุ่มรัฐอิสลามทั้งสามคนถูกจับกุมแล้ว 
 
พล.ต.เอกรัตน์ ช้างแก้ว ผบ. ฉก. นราธิวาส กล่าวกับบางกอกโพสต์ว่า มีรายงานมาก่อนหน้านี้แล้วว่า กลุ่มคนที่อาจเกี่ยวข้องกับกลุ่มรัฐอิสลามอาจลักลอบเข้ามาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะในอ.สุไหงโกลก เพื่อหลบซ่อนตัว
 
เมื่อวานนี้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวว่า กำลังสืบสวนเรื่องดังกล่าวว่า เป็นความจริงหรือไม่
///////////

นายกฯ ขอเป็นเรื่องลับ ตรวจสอบข่าว จับผู้ต้องสงสัยที่อาจเกี่ยวข้องกับ IS ที่นราธิวาส แต่ยังไม่ยืนยัน ถามแล้วได้อะไรขึ้นมา ระบุอะไรที่เป็นเรื่องลับ เป็นเรื่องที่มีผลกระทบ ทั้งกับประเทศและตปท. วอนสื่อพืจารณาเสนอข่าวแบบนี้ มันถึงมีระบุว่า ลับน้อย ลับมาก ลับที่สุด ไม่ใช่ประชาขนต้องรู้ทุกเรื่อง บางเรื่องเป็นเรื่องที่ค่องบริหารประเทศให้ไปให้ได้ มันเป็นเริ่องความมั่นคง ถามว่า จับได้มั้ย เป็นIS หรือเปล่า แล้วได้อะไรขึ้นมา ออกข่าวว่า มีในบ้านเราแล้วเหรอ แล้วได้อะไรขึ้นมา 

ส่วนการที่ รมต.ออสเตรเลีย จะมาพบ พลเอกประวิตร คุยแผน ต่อต้านก่อการร้าย หลังISเคลื่อนไหวในภูมิภาคนี้มากขึ้นนั้น นายกฯ บอกว่า เราทำอยู่แล้ว ทำทุกอย่าง ทุกด้าน แลกเปลี่ยนข่าวสาร ก็ทำแล้ว มีมาตรการด้านความมั่นคง อยู่แล้ว ในทุกด้านเราต้องเข้มแข็งก่อน ยังตีกันอยู่เลย ประเทศที่เข้มแข็งกว่าเรา ยังเกิด แล้วเราเข้มแข็งรึยัง พอจะซื้อเครื่องมือ ทันสมัย ตรวจสอบ ใบหน้า การเข้าออก ก็มาโจมตีว่าแพง

บิ๊กป้อม ฮึ่ม!! พวกอ้างชื่อ ทำเข้าใจผิด จะเล่นการเมือง ยันไม่เคยยุ่งกับใคร ไม่สนใจ รธน.จะห้าม คสช. เล่นการเมือง หรือไม่

บิ๊กป้อม ฮึ่ม!! พวกอ้างชื่อ ทำเข้าใจผิด จะเล่นการเมือง ยันไม่เคยยุ่งกับใคร ไม่สนใจ รธน.จะห้าม คสช. เล่นการเมือง หรือไม่ เพราะไม่เล่นอยู่แล้ว อีก100ปี ก็ไม่เล่น
พลเอกประวิตร รองนายกฯ/รมว.กห. และรองกน. คสช. ไม่สนว่า ร่างรธน.จะกำหนดให้คสช.เว้นวรรคการเมือง5ปีหรือไม่เพราะผมไม่เล่นการเมืองอยู่แล้ว ไม่ว่า จะเว้นวรรคกี่ปี จะ100ปี หรือจนผมตายไปแล้วก็ได้ เพราะผมไม่เล่นการเมือง มีแต่คนอ้างชื่อผม ผมไม่เคยยุ่งกับใคร ระวังไอ้พวกอ้าง ทำผมเสียหาย"
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีที่วคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เว้นวรรคการเมือง 5 ปี ว่า ผมไม่เกี่ยงจะกี่ปีก็ได้
"จะให้เว้นวรรค 100 ปีก็ได้ เพราะผมไม่คิดจะเล่นการเมือง ที่ผ่านมาก็รู้สึกเข็ด เพราะโดนอ้างชื่อมาตลอด อ้างกันทุกวัน ซึ่งพวกที่อ้างชื่อผมขอให้ระวังเอาไว้ ดังนั้นทางเจ้าหน้าที่อย่าไปเชื่อ มาอ้างชื่อผมอย่างโน้นอย่างนี้ ไม่มีหรอก เพราะผมไม่เคยไปยุ่งอะไรกับใคร ผมโดนอ้างทุกวันไม่รู้จะอ้างไปทำไม ซึ่งทำให้ผมเสียหาย"
เมื่อถามว่าถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านจะทำให้การเลือกตั้งสะดุด หรือไม่ พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ตนก็ไม่ทราบ แต่เชื่อว่าทางกรธ.ก็พยายามทำให้ดีที่สุด แต่ประชาชนกว่า 65 ล้านคนต่างคนต่างคิด แต่ควรทำให้ภาพรวมเดินหน้าต่อไปได้ ไม่เช่นนั้นก็จะสะดุดแบบนี้ สำหรับกรณีที่นักการเมืองออกมาคัดค้าน ตนคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะไม่ตรงใจตนเอง และพยายามคัดค้านอย่างที่สุด แต่รัฐบาล และ คสช.พยายามดำเนินการให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วตามโรดแมป ปี 2560 มีความชัดเจนแน่นอน
เมื่อถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน จะนำเอารัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้ เพื่อให้เกิดการเลือกตั้ง พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ยังไม่ได้คิด เพราะรัฐธรรมนูญฉบับ (ชั่วคราว) ไม่ได้เขียนไว้ เพราะฉะนั้นจะต้องไปแก้รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสากลของประเทศ และเป็นกติกากลางก็ปฏิบัติไปตามนั้นก่อน อย่าไปถามเรื่องข้างหน้า เพราะตอนนี้ตนยังไม่รู้ และยังทำอะไรไม่ได้ อะไรที่ผิดจากรัฐธรรมนูญยังทำไม่ได้ แต่เราจะทำให้ดีที่สุด และทำให้ประชาชนเชื่อมั่นมากที่สุด นอกจากจะไปมโนกันเอาเอง เพราะส่วนใหญ่ก็มโนกันมันถึงวุ่นวายกันแบบนี้ เช่นมีการทุกจริตแบบนั้นแบบนี้
“ถ้าพบว่ามีการทุจริตให้บอกผมเลย ใครทำทุจริตเรื่องนั้นเรื่องนี้บอกมาให้ชัดเจน ไม่ใช่ไปพูดว่ากันไปจนเสียผู้เสียคนเป็นคนๆ ไป และเกิดความเสียหาย ไม่เช่นนั้นก็ฟ้องร้องศาลกันไปเลย ต้องทำอย่างตรงไปตรงมา รัฐบาลไม่ได้เข้ามาเพราะอยากมีอำนาจ แต่เข้ามาแก้ไขปัญหา เพราะที่ผ่านมามีปัญหาที่อย่างหลายเรื่อง” พล.อ.ประวิตร กล่าว

EU ให้เวลาไทยอีก3-4 สัปดาห์เร่งแก้ประมงผิดกม.เน้นบังคับใช้กม.


EU ให้เวลาไทยอีก3-4 สัปดาห์เร่งแก้ประมงผิดกม.เน้นบังคับใช้กม. มาตรการแซงชั่นสินค้าที่ใช้แรงงานผิดกม.ให้คนไทยไม่ซื้อ แต่ไม่กำหนดกรอบเวลาประเมินใบเหลือง เมื่อใด คาดรู้ผลอีก6เดือน "พลเอกประวิตร" เอาจริง เตือนโรงงาน เจ้าของสินค้าเกี่ยวกับประมง ใช้แรงงานทาส ทำผิดกม.ต้องถูกแซงชั่น ส่วน เรือประมงทำผิด จะส่งทหารเรือ ตร.น้ำตามจับ เขื่อEU พอใจ ว่าเราทำดีขึ้น มากกว่าที่เคยเป็นมา แต่ไม่รู้จะประเมินเราอย่างไร แต่ยันต้องทำต่อให้ดีที่สุด เร่ง จนท.ทุกฝ่าย เข้มขึ้น แนะ ด้านเลึ้ยงหมู เลี้ยงไก่ ก็ต่องทำให้ถูกต้องด้วย ไม่ใช้ แรงงานทาส
ที่กลาโหม นาย Cesar Deben ที่ปรึกษา EU นำทีม จนท.EU มาพบ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและ รมว.กลาโหม คุยการแก้ปัญหาประมงผิดกม. โดยมี พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผบทร./ผบ.ศปมผ. และ นาย วีรชัย พลาศรัย หัวหน้าทีมฝ่ายไทยประสานEU ร่วมด้วย
พลเอกประวิตร เผยว่า EU มาพบศปมผ./ทร. ตั้งแต่18 มค. ยังไม่บ่งบอกทีท่าใดๆว่าจะดีหรือไม่ดี เพราะเราก็ให้ทุกอย่างกับเขา ให้ตรวจดูทุกอย่าง ต้องรอผลจะรอดใบเหลืองหรือไม่ ยอมรับบางเรื่องทำไม่ทัน ที่EUแนะนำ ต้องใช้เวลา แต่ทุกหน่วยทำเต็มที่ตามที่เขาแนะนำ และออกกม.
พลเอกประวิตร เผยว่า เราก็ทำตามที่EU แนะนำมาตลอด อย่างเต็มที่ แต่ยังไม่สมบูรณ์แบบ เนื่องจาก เราเพิ่ง ออก พรก.ประมง ดังนั้น ทางEU จึงอยากให้เราเน้น การบังคับใช้กม. โดยเฉพาะเรือประมง ที่ออกไปทำประมงนอกน่านน้ำ แล้วเราเรียกไม่กลับ ก็ตัองตามจับกุม เราก็จะส่ง ทหารเรือ และตำรวจน้ำ ตามไปจับเลย
นอกจากนึ้ บรรดาโรงงานผลิต สินค้าประมง นั่น จะต้องไม่ใข้แรงงานเด็ก แรงงานทาส ซึ่งทางรัฐบาล จะต้องดำเนินการตามกม. ต้องมีการระบุ แหล่งผลิต ที่มาของประมง จับมาได้จากที่ไหน ให้ชัดเจน
" ซึ่ง EU เขาก็ โอเค กับเรา แนะนำให้เราทำ แก้ไขในเรื่องต่างๆ เขาบอกว่า ที่เราทำมานี่ดีขึ้นมาก แต่ต้องทำให้เป็นไปตามหลักสากล และ ยั่งยืน ต่องไม่มีอีก พวกเจ้าของเรือ หรือโรงงาน เกี่ยวกับผลิตภัณฑ ประมง ต่องทำให้ถูกต้อง เมื้อได้ อาญาบัตร ไปแล้ว ก็ต้องทำให้ถูกต้อง ไม่ใข่ทำผิด แล้วมาเกิดผลกระทบต่อรัฐบาล ทำให้อาชีพประมงของเราเสียหาย" พลเอกประวิตร กล่าว
โดยทาง EU ไม่ได้ส่งสัญญาณอะไร แค่บอกให้เราทำให้ดี และไม่ได้กำหนดกรอบเวลาว่าตจะประเมินผล เรื่องใบเหลืองเราเมิ้อใด แต่เขาด็ให้เราทำต่อไป อย่างเต็มที่ ก็ให้เวลาเราในการแก้ไข ตามที่เขาแนะนำ ให้เราพยายามไปเรื่อยๆ ยังไงเราก็ต้องทำต่อไปอยู่แล้ว ไม่ว่า เราจะได้ใบเหลือง ใบเขียว หรือใบแดง อย่าไปกังวล เราทำทุกอย่างให้ดี จนท.ทุกคนทุกฝ่าย ทำอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่ จับปลา แต่สินค้าอื่น เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ อะไร ก็ต้องทำให้ถูกต้องด้วย รวมถึงการค้ามนุษย์
พลเอกประวิตร กล้าวว่า ซึ่งที่ผ่านมา เราก็ทำเต็มที่ ผมต้องขอบคุณ จนท.ทุกฝ่าย แต่เราก็ต้องทำให้เข้มข้นขึ้น ให้เป็นไปตามพรก.ประมง ที่เราออกมา และเป็นไปตามหลักสากล ส่วนจนท. ที่เกี่ยวกับการออกกม.ลูก ก๋ต้องเร่งออก และทำให้ดีที่สุด เพื้อให้ภาพรวมของประเทศ ดีขึ้น
ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ที่ปรึกษารองนายกฯ กล่าวว่า ทางEU ก็พอใจ การแก้ปัญหาประมงของเรา แต่ก็หวังว่าในเวลาอีกราว 3-4 สัปดาห์ ข้างหน้า เราจะเร่งรัดในการแก้ไขปัญหาที่ยังไม่สำเร็จตาม ที่เขาแนะนำ ท่านพลเอกประวิตร ก็รับทราบ เขาก็พอใจ ที่เราจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง ก็ต่องรอดูผล การทำงานของเรา ในช่วงอีกเดือนข้างหน้า ด้วย
โดยEU เขาตั้งข้อสังเกตุ ทั้งในเรื่องการบังคับใช้กม. คดี ศักยภาพของ จนท. การติดตั้งอุปกรณ์เฝ้าตรวจของเรือประมง และเขาต้องการเห็น นโยบายจากระดับสูงว่า ชัดเจน จริงจังแค่ไหน ในการแก้ปัญหานี้ เขาจึงมาพบ พลเอกประวิตร
ในภาพรวมเขื่อว่า ทางEU พอใจ เพราะเรามีคารางการทำงาน ให้เขาเห็น แล้วเรามีทีมประสานงาน ที่มี นาย วีระชัย พลาศรัย ทูตไทยประจำUN มาเป็น หัวหน้าชุดประสานงานกับ EU
นายปณิธาน กล่าวว่า ทางEU ไม่ได้กำหนดว่า เขาจะประเมินเราเมื่อใด ก็เป็นเรื่องภายในของเขา แต่เชื่อว่า มีเวลาอีกสีกพักหนึ่ง แต่เราก็จะไม่รีรอ เราต่องเร่งแก้ปัญหาเลย
พลตรี คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกลาโหม เปิดเผยว่า คณะEU ได้แนะนำไทยในการแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย ใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1. Law Enforcement ไทยต้องเร่งรัด มีความชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมายประมง และ ทุกฝ่ายต้องทำตามกฎหมาย หากพบว่า มีเรือประมงทำผิดกม. แล้วหนีการจับกุม ทางจนท.รัฐ ก็ต้องไปตามจับกุม
2. หากพบเรือประมง โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ หรือผลิตภัณฑ์จากการทำประมงผิดกฎหมาย จะต้องมีมาตรการแซงชั่นทันที ทั้งจากรัฐบาล และประชาชนคนไทย ที่จะไม่ซิ้อ ไม่ใช้สินค้า นั้น
3.ไทยต้องร่วมมือกับทุกฝ่ายและส่งสัญญาณไปยังนานาชาติให้เห็นความจริงใจและตั้งใจของไทยในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นตลอด 2 ปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ EU ยังฝากให้ดูแลความเป็นอยู่ของแรงงานทั้งหมด ไม่เฉพาะแรงงานประมง แต่แรงงานด้านอื่นด้วย
พร้อมแนะนำว่าไทยควรแสดงท่าทีให้ชัดเจนว่าไทยไม่สนับสนุน เรือประมง ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายสากล และยังขอให้ไทยคุ้มครองการทำประมงชายฝั่งในระยะ12ไมล์ทะเล รวมถึงต่อต้านการค้ามนุษย์
โฆษกกห.เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร ได้ย้ำว่าไทยจะยึดกฎหมายสากล ทำตามคำแนะนำของคณะEU และจะบังคับใช้กฎหมายประมงใหม่ของไทยอย่างเข้มงวด แต่ขอให้อียูเชื่อมั่นและให้เวลาไทย เพื่อการแก้ปัญหาในระยะยาว
โดยมีรายงานว่า จนท.EU ซึ่งมาไทย ครั้งนึ้เป็นครั้งที่2 และเชื่อว่า จะมาตรวจสอบอีก เป็นระยะๆ เพื่อทำรายงาน เสนอ EU และจะประเมินผลอีกที ในอีก6 เดือนข้างหน้า แต่ก็เร่งให้ไทยแก้ปัญหาโดยเร็วที่สุด

"บิ๊กหมู" สุดห่วง สั่ง กอ.รมน. แจงข่าว ยันไม่มีจับมIS ที่ นราธิวาส


"บิ๊กหมู" สุดห่วง สั่ง กอ.รมน. แจงข่าว ยันไม่มีจับมIS ที่ นราธิวาส และขอช่วยกันตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง ก่อนการเผยแพร่ข่าวสาร หวั่นบานปลาย ตื่นตระหนก ยัน จนท.ฝ่ายความมั่นคง ไม่ประมาท เฝ้าระวังเต็มที่ แม้แต่การเผยแพร่แนวคิด ชักชวนหนุนIS ทาง ออนไลน์
พลตรี บรรพต พูลเพียร โฆษก กอ.รมน.ชี้แจง ข่าวการจับกุมสมาชิกกลุ่มรัฐอิสลาม หรือIS ใน จ.นราธิวาส ว่า กอ.รมน.ได้ตรวจสอบกับหน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่ทุกหน่วยแล้ว ไม่พบมีการจับกุมตามที่เป็นข่าว
จากข่าวที่เกิดขึ้น พลเอก ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. ในฐานะ รอง ผอ.รมน. มีความห่วงใยการรับรู้ของสาธารณชนต่อประเด็นข่าวที่มีความอ่อนไหวลักษณะนี้
เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน กอ.รมน. จึงขอเรียนชี้แจงว่า ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวคิดตามอุดมการณ์ของกลุ่มรัฐอิสลามในประเทศไทย
ขณะเดียวกันหน่วยงานด้านความมั่นคงทุกหน่วยยังคงปฏิบัติงานด้วยความไม่ประมาท และเพิ่มมาตรการติดตาม เฝ้าระวัง ตั้งแต่การผ่านเข้า-ออกประเทศของบุคคลผู้ต้องสงสัยตามการประสานข้อมูลของประชาคมข่าวระหว่างประเทศ
รวมตลอดถึงความเคลื่อนไหวการเผยแพร่แนวคิดและชักชวนกันในสังคมออนไลน์ จึงขอให้สังคมช่วยกันตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง
"หากยังไม่มีการยืนยัน ควรระมัดระวังการเผยแพร่ข่าวสารที่ได้รับ จนอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลและสถานที่ของผู้ถูกกล่าวหา และบานปลายกลายเป็นความตระหนกของสาธารณชน" พลตรีบรรพต กล่าว
สำหรับความเกี่ยวข้องระหว่างกลุ่มรัฐอิสลามกับสถานการณ์ในพื้นที่ จชต. นั้น หากผู้ใดมีข้อมูลชัดเจนแล้ว ขอให้แจ้งเบาะแสแก่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบก่อนเป็นลำดับแรก เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นการซ้ำเติมสถานการณ์โดยปราศจากข้อเท็จจริง โดยขอให้เห็นแก่ความสงบสุขของคนในพื้นที่ จชต. ที่จำต้องทนเบื่อหน่ายกับการสร้างสถานการณ์ต่อเนื่องมานานหลายปี
ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ที่ผ่านมาจะเห็นการรวมพลังแสดงออกของทุกภาคส่วนมาแล้วหลายครั้งในการยืนยันเจตนาร่วมกันปฏิเสธความรุนแรง และไม่ยอมรับการก่อการร้าย
อีกทั้งการนำสถานการณ์ในภูมิภาคมาผนวกกับสถานการณ์ในพื้นที่ จชต. ยังถือเป็นการสวนกระแสความต้องการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธีที่กำลังดำเนินอยู่อีกด้วย

"พลเอกประวิตร" ให้คำมั่น สหภาพยุโรป ในการแก้ปัญหาประมงผิดกม.อย่างจริงจัง


"พลเอกประวิตร" ให้คำมั่น สหภาพยุโรป ในการแก้ปัญหาประมงผิดกม.อย่างจริงจัง ยึดหลักสากล-ยึดคำแนะนำของ EU -เร่งบังคับใช้กม. เผยEU ให้ข้อสังเกตุ ข้อแนะนำ5 ประเด็นการบังคับใช้กม. คุณภาพแรงงาน มาตรการในประเทศ และปราบ การค้ามนุษย์
ที่กลาโหม นาย Cesar Deben ที่ปรึกษาด้าน IUU Fishing และคณะผู้แทนฝ่ายสหภาพยุโรป (EU) เข้าพบ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นายกและ รมว.กลาโหม โดยมี พลเอกอุดมเดช สีตบุตร รมช.กห. พลเอกปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกห. และ พลเอกศิริชัย ดิษฐกุล รมว.แรงงาน ร่วมหารือด้วย
พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษก กห. กล่าวว่า ได้มีการหารือถึงการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายร่วมกัน
พลเอกประวิตร รองนรม.และรมว.กห. ได้รายงานให้ทราบถึงความพยายามและความคืบหน้าของไทยต่อการแก้ปัญหาดังกล่าว
คณะผู้แทน EU ได้กล่าวขอบคุณและเห็นถึงความก้าวหน้าที่มีพัฒนาการไปในทางที่ดีและเป็นตามหลักสากลมากขึ้น ทั้งทางด้านกฎหมาย การดำเนินนโยบายใหม่ ๆ และความร่วมมือกับนานาประเทศ
โดย คณะผู้แทน EU ได้เสนอและให้คำแนะนำที่สำคัญ ดังนี้
• การให้ความคุ้มครองการทำประมงในระยะ 12 ไมล์ทะเล : โดยเสนอให้มีการหารือร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับชาวประมงท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการทำประมงที่ถูกต้อง
• การบังคับใช้กฎหมายประมง : เสนอให้จัดทำกฎหมายให้ชัดเจนที่ทุกฝ่ายต้องปฏิบัติตาม และควรบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง โดยให้มีการแยกคดีเป็นกลุ่มประเภทต่าง ๆ พร้อมทั้งเสนอให้มีการต่อต้าน (Sanction) จากภาคประชาสังคม ต่อการทำประมงและผลิตภัณฑ์ที่ได้มาอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
• การควบคุมกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ที่ได้จากประมง : ไทยมีความร่วมมือกับทุกภาคส่วนดีอยู่แล้ว จึงเสนอให้ได้มีการส่งสัญญาณดังกล่าวไปยังนานาชาติ เพื่อสร้างการรับรู้ต่อการดำเนินการของไทย
• การพัฒนาสวัสดิภาพแรงงาน : ที่ผ่านมาได้มีการหารือกับ รมว.แรงงาน มีผลการพัฒนาสวัสดิภาพแรงงานประมงไทยทั้งระบบดีขึ้น จึงอยากเสนอให้มีการพัฒนาสวัสดิภาพแรงงานด้านอื่นๆควบคู่กัน และขอให้มีมาตรการตรวจสอบการเข้า-ออกของเรือประมงจากท่ามากขึ้น เพื่อพัฒนาสวัสดิภาพแรงงานประมงบนเรือด้วย
• ปัญหาการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง : เสนอให้มีมาตรการดูแลเรือ บริษัท/เจ้าของเรือ โดยเฉพาะเรือประมงนอกน่านน้ำไกล ๆ ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายสากล ไทยควรมีความชัดเจนว่าไม่สนับสนุนเรือของบริษัทที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายสากล พร้อมกับส่งสัญญาณให้นานาชาติทราบด้วย ขณะเดียวกัน ขอให้ไทยเร่งแก้ปัญหา โดยเร่งกวดขันและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังกับการใช้แรงงานผิดกฎหมายในโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำที่ยังมีอยู่
นาย Cesar Deben กล่าวในตอนท้ายว่า “คณะผู้แทน EU สนับสนุนการดำเนินการตามนโยบายใหม่ๆ ของไทย ที่ส่งผลต่อพัฒนาการแก้ปัญหาที่ดีขึ้นและจะให้ความร่วมมือกับไทยต่อไป ซึ่งการแก้ปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ถือเป็นความท้าทายของไทยและนานาชาติที่ต้องร่วมมือกันและหวังว่าคงได้เห็นความชัดเจนถึงความคืบหน้าการแก้ปัญหาของไทยในอนาคต”
พล.อ.ประวิตร ได้กล่าวขอบคุณคำแนะนำพร้อมกับกล่าวในภาพรวมว่า “การแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ถือเป็นวาระเร่งด่วนที่รัฐบาลให้ความสำคัญเพื่อแก้ปัญหาฐานรากของการทำประมงไทยให้ถูกต้องและได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ โดยคำนึงถึงความยั่งยืนเป็นสำคัญ
โดยขอให้เชื่อมั่นว่า รัฐบาลไทยและทุกภาคส่วนของสังคมให้ความสำคัญกับความพยายามทำงานต่อเรื่องดังกล่าวอย่างเต็มที่ โดยยึดมั่นต่อ ..1) การปฏิบัติตามหลักกฎหมายสากล ..2) การปฏิบัติตามคำแนะนำของคณะผู้แทน EU .. 3) การปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศของไทย ขณะเดียวกันเราก็ได้พยายามสร้างการรับรู้และความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง ต่อการดำเนินงานร่วมกันทั้งในและต่างประเทศ จึงขอเวลาให้เราได้ทำงาน ซึ่งเราจะทำและทำต่อไปเพื่อให้เราสามารถปรับเปลี่ยนสู่การทำประมงที่ถูกกฎหมายอย่างยั่งยืนและได้รับการยอมรับจากนานาชาติในที่สุด”

รมต.ออสเตรเลีย ห่วงความเคลื่อนไหวของกลุ่มIS ในภูมิภาค



รมต.ออสเตรเลีย ห่วงความเคลื่อนไหวของกลุ่มIS ในภูมิภาค คุย พลเอกประวิตร เพิ่มความร่วมมือ ต้านก่อการร้าย
นาย Michael Keenan รมว.ยุติธรรมเครือรัฐออสเตรเลียและคณะ เข้าพบ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นายกฯและ รมว.กลาโหม ที่ กลาโหม ในโอกาสที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ครั้งแรก
พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกห. กล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในการแก้ปัญหาต่างๆ ประกอบด้วย ปัญหาการก่อการร้าย ปัญหาการก่ออาชญากรรมข้ามชาติและปัญหายาเสพติด
"ออสเตรเลียมีความกังวลต่อการขยายตัวของการก่อการร้ายในภูมิภาค โดยเฉพาะการก่อเหตุและการจับกุมกลุ่ม IS ในประเทศต่าง ๆที่เกิดขึ้นปัจจุบัน "
ต่อเรื่องดังกล่าวออสเตรเลียได้พัฒนากฎหมายภายในประเทศซึ่งเอื้อต่อการปฏิบัติของตำรวจและหน่วยงานการข่าว ให้มีอำนาจจับกุมและมีเสรีในการปฏิบัติต่อเรื่องนี้มากขึ้น
ขณะเดียวกันออสเตรเลียกำลังประสบกับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติและปัญหายาเสพติดมากขึ้น จึงให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้จากความร่วมมือของศูนย์ระดับภูมิภาคมากขึ้น เพื่อให้สามารถปฏิบัติต่อเรื่องดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ พลเอกประวิตร ได้กล่าวว่า ไทยยินดีให้ร่วมมือกับออสเตรเลีย ทั้งปัญหาการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติและยาเสพติด โดยเฉพาะความร่วมมือด้านกฎหมาย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของ นายกฯ ที่ต้องการใช้กลไกทางกฎหมายขับเคลื่อนแก้ปัญหาดังกล่าว
"แม้ประเทศไทยยังไม่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายโดยตรง แต่มีการเฝ้าระวังและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับประเทศเพื่อนบ้านอยู่เสมอ โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวเข้า-ออกของกลุ่มต่างๆที่มีพฤติกรรมผิดกฎหมาย"
พร้อมทั้งขอบคุณรัฐบาลออสเตรเลีย ที่เข้าใจและสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลไทย โดยยืนยันว่ารัฐบาลไทยกำลังดำเนินการทุกอย่างตามโรดแมปที่กำหนด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญและกำหนดให้มีการทำประชามติ เพื่อนำไปสู่การจัดให้มีการเลือกตั้งได้ตามกำหนดในปี 2560

ทีมผู้บริหารกทม.ไม่ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ “ผิดใจกันบ้างเดี๋ยวก็ดีกัน”

17

กรณีนายจุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค กทม. ร่วมแถลงจุดยืนคณะกรรมการบริหารพรรคกรณีที่มีแนวทางการบริหารแตกต่างกันระหว่างพรรคกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตรโดยระบุว่า จากนี้ไปการบริหารของ กทม.ถือเป็นการดำเนินการโดยเอกเทศของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เพราะพรรคไม่สามารถใช้ระบบและกลไกในการสนับสนุนติดตามตรวจสอบ การทำงานของกทม.ได้
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 22 มกราคม ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าฯกทม. ได้เป็นประธานการประชุมคณะผู้บริหารฝ่ายการเมือง ประกอบด้วย พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง รองผู้ว่าฯกทม. นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าฯกทม. นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าฯกทม. นายวัลลภ สุวรรณดี ประธานที่ปรึกษาผู้ว่าฯกทม. นายวสันต์ มีวงษ์ ที่ปรึกษาผู้ว่าฯกทม. นางบุศกร คงอุดม เลขานุการผู้ว่าฯกทม. นายยุทธพันธุ์ มีชัย ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าฯกทม. และนายณัฐนันท์ กัลยาศิริ ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าฯกทม. เพื่อหารือเกี่ยวกับทิศทางการทำงานของกทม.ภายหลังพรรคประชาธิปัตย์ตัดความรับผิดชอบในการทำงานของกทม.
ต่อมาเวลา 14.30 น. นางผุสดี เป็นประธานแถลงภายหลังการประชุมว่า จากการหารือร่วมกันและการหารือกับผู้ว่าฯกทม. ที่อยู่ในต่างประเทศ ขอยืนยันว่าผู้ว่าฯกทม. และคณะผู้บริหารกทม. ทุกคน ยินดีให้ความร่วมมือกับทุกคนที่มีข้อสงสัยและต้องการตรวจสอบการทำงานของกทม. ตามกระบวนขั้นตอนทางกฎหมายและกลไกของรัฐที่มีอยู่โดยไม่ลังเล และยืนยันว่าทุกคนยินดีเต็มใจรับข้อเสนอแนะจากประชาชนผ่านทุกช่องทาง เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนงานอื่นๆ ก็จะเดินหน้าต่อไปตามนโยบายของผู้ว่าฯกทม. และจนถึงวันนี้ขอยืนยันว่าผู้ว่าฯกทม. และผู้บริหารกทม.ทุกคนยังคงเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ โดยมองว่าพรรคเป็นสถาบันทางการเมือง ไม่ต่างจากองค์กรอื่นที่มีข้อสะดุดบ้างเป็นครั้งคราว แต่อย่างน้อยที่สุดพรรคก็ถือเป็นสถาบันทางการเมืองที่สังคมต้องมี เพราะฉะนั้นเราทุกคนยังเป็นสมาชิกพรรค และผู้ว่าฯกทม.ก็ยังคงเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ไม่มีการลาออกแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะเปิดเวทีทำความเข้าใจกับทางพรรคและนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคหรือไม่ เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น นางผุสดี กล่าวว่า ผู้ว่าฯ กทม.ยังคงเดินหน้าทำงาน ส่วนความไม่เข้าใจที่เกิดขึ้นนั้น ก็เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการกันต่อไปในอนาคต
เมื่อถามว่า คิดว่าสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร นางผุสดี กล่าวว่า ไม่ทราบ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไรก็ให้เป็นไปตามนั้น หากใครมีข้อสงสัยอะไร ผู้ว่าฯกทม.ก็บอกตลอดว่าแจ้งมาโดยตรงได้เลย และสั่งให้ผู้บริหารทุกคนให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับทุกเรื่องที่ต้องการการตรวจสอบ และเมื่อกระบวนการเดินหน้าไปสุดที่ตรงไหนแล้วก็ต้องยอมรับในการตัดสิน
“เมื่อก่อนเมื่อมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร หรือมีการประชุมสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ทุกวันอังคาร ก็ได้เป็นตัวแทนกทม.ในการรายงานและชี้แจงการทำงาน แต่ขณะนี้สถานการณ์ทางการเมืองไม่ปกติ จึงไม่มีเวทีหารือกับพรรคอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นธรรมชาติที่อาจมีเรื่องที่ไม่เข้าใจกันบ้าง และทางพรรคก็อาจไม่เข้าใจการทำงานของกทม. อย่างตนก็มีงานที่รับผิดชอบเยอะมาก จึงอาจไม่มีเวลาที่จะร่วมหารือเมื่อร่วมนัดหมายอย่างไม่เป็นทางการ” นางผุสดี กล่าว
เมื่อถามว่า ได้มีการชี้แจงกับพรรคประชาธิปัตย์หรือยัง ในเรื่องประสิทธิภาพการทำงานและความโปร่งใส นางผุสดี กล่าวว่า ประสิทธิภาพและความโปร่งใสคือหัวใจของการทำงานของผู้ว่าฯกทม. และคณะผู้บริหาร ดังนั้นหากมีเรื่องอะไรก็แล้วแต่ ขอให้บอกมา แน่นอนว่าเรื่องนโยบายอาจไม่ได้ผลเต็ม 100 เปอร์เซนต์เต็ม เช่น เรื่องโรงเรียน ดังนั้นหากทุกคนเจอเรื่องใดมา ก็สามารถบอกกทม.ได้ เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาให้ลุล่วงไป ซึ่งการทำงานอยู่ตรงนี้ภายใต้นโยบายของผู้ว่าฯกทม. ก็ไม่ได้หนีไปจากอุดมการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิทางการศึกษาและสาธารณสุขขั้นพื้นฐานของประชาชน
เมื่อถามว่า กรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ออกมาตัดความรับผิดชอบกับกทม. มีผลต่อการตัดสินใจในอนาคตทางการเมืองของทีมงานผู้ว่าฯกทม.หรือไม่ นางผุสดี กล่าวว่า ตนเป็นคนพรรคประชาธิปัตย์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของพรรคที่ถูกเสนอให้มาทำหน้าที่รองผู้ว่าฯกทม. และได้รับโอกาสจากผู้ว่าฯกทม. ถือว่าการทำงานตรงนี้มาด้วยเงื่อนไขต้องทำงานเพื่อประชาชนอย่างเต็มความสามารถให้ดีที่สุด หากถามว่าคิดถึงความก้าวหน้าทางการเมืองหรือไม่ ส่วนตัวคิดไปทีละจุด ถ้าคิดว่าจะลาออกจากรองผู้ว่าฯ เพื่อความก้าวหน้าทางการเมือง ตนคิดว่าไม่น่าจะเป็นแนวคิดที่ดีของนักการเมือง
ผู้สื่อข่าวถามถึงกระแสการตั้งพรรคการเมืองใหม่ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร นางผุสดี กล่าวว่า ไม่เคยคิดเลย ไม่ได้คิดถึงถึงเรื่องนั้นเลย
ด้านนายวสันต์ มีวงษ์ ที่ปรึกษาผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ถือเป็นครอบครัวเดียวกัน มีกระทบกระทั่งกันเป็นธรรมดา เชื่อว่าเดี๋ยวก็ดีกัน ไม่มีอะไร

Appดาวเหนือของกกต.มีช่องโหว่



ผู้รู้เขาเตือนว่า App ‪#‎ดาวเหนือ‬ ที่เสียเงินไปเป็นแสนจัดทำมี “ช่องโหว่” ใครก็ได้ใส่หมายเลขบัตรประชาชนเข้าไป ได้ข้อมูลส่วนบุคคลของคนอื่นมาหมด แทนที่กกต.จะแก้ไขอุดช่องโหว่ กลับทำคำเตือนแบบนี้ ขำแทบตกเก้าอี้ ถ้ามันจะเอาข้อมูล มันจะกลัวกฎหมายของเมิงหรือ?
เหมือนวันก่อนที่ศาลถูกแฮ็คข้อมูลไปเป็น GB เลขาฯ ศาลออกมาประกาศจะดำเนินคดีต่อแฮคเกอร์ตามพรบ.คอมฯ ตลกมาก ถ้ามันกล้าแฮ็ค มันจะกลัวกฎหมายหรือ? ถ้ากลัวมันก็ไม่แฮ็คแล้วล่ะ
เคยสังเกตมั้ยว่ารบ.สหรัฐฯ หรือประเทศไหนก็ไม่ฟ้อง Wikileaks ที่เอาข้อมูลลับมาเผยแพร่? เพราะอะไร? เพราะถ้าฟ้อง Wikileaks ก็ต้องฟ้อง New York Times. Washington Post, สื่อใหญ่ที่เอาข้อมูลเดียวกันมาเผยแพร่ด้วย เฉพาะประเทศจัณฑาลเท่านั้นที่ฟ้อง “ตัวกลาง” แล้วแฮ็คเกอร์ตัวเป็น ๆ เขารอให้จับได้ง่าย ๆ ที่ไหน เมื่อเกิดกรณีนี้ขึ้น สิ่งที่กกต.หรือศาลควรทำคืออุดช่องโหว่ซะ พัฒนาระบบความปลอดภัย ไม่ใช่มานั่งขู่ฟอด ๆ ให้เขาหัวเราะเยาะ ช่างเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ “ไทย” จริง ๆ เลย

EUพบประวิตร

@ คณะผู้แทนสหภาพยุโรป และคณะ เข้าเยี่ยมคำนับ รอง นรม. และ รมว.กห.

พล.ต.คงชีพ  ตันตระวาณิชย์ โฆษก กห. แถลงข่าว หลังนาย Cesar Deben ที่ปรึกษา IUU Fishing และคณะผู้แทนฝ่ายสหภาพยุโรป (EU) เข้าเยี่ยมคำนับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. และ รมว.กห. ณ ศาลาว่าการกลาโหม  ช่วงเช้าวันนี้  ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายร่วมกัน โดยรองนรม.และรมว.กห. ได้รายงานให้ทราบถึงความพยายามและความคืบหน้าของไทยต่อการแก้ปัญหาดังกล่าว  ซึ่งคณะผู้แทน EU ได้กล่าวขอบคุณและเห็นถึงความก้าวหน้าที่มีพัฒนาการไปในทางที่ดีและเป็นตามหลักสากลมากขึ้น ทั้งทางด้านกฎหมาย การดำเนินนโยบายใหม่ ๆ และความร่วมมือกับนานาประเทศ ทั้งนี้คณะผู้แทน EU ได้เสนอและให้คำแนะนำที่สำคัญ ดังนี้

• การให้ความคุ้มครองการทำประมงในระยะ 12 ไมล์ทะเล : โดยเสนอให้มีการหารือร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับชาวประมงท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการทำประมงที่ถูกต้อง
• การบังคับใช้กฎหมายประมง : เสนอให้จัดทำกฎหมายให้ชัดเจนที่ทุกฝ่ายต้องปฏิบัติตาม และควรบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง โดยให้มีการแยกคดีเป็นกลุ่มประเภทต่าง ๆ พร้อมทั้งเสนอให้มีการต่อต้าน (Sanction) จากภาคประชาสังคม ต่อการทำประมงและผลิตภัณฑ์ที่ได้มาอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
• การควบคุมกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ที่ได้จากประมง : ไทยมีความร่วมมือกับทุกภาคส่วนดีอยู่แล้ว จึงเสนอให้ได้มีการส่งสัญญาณดังกล่าวไปยังนานาชาติ เพื่อสร้างการรับรู้ต่อการดำเนินการของไทย
• การพัฒนาสวัสดิภาพแรงงาน : ที่ผ่านมาได้มีการหารือกับ รมว.แรงงาน  มีผลการพัฒนาสวัสดิภาพแรงงานประมงไทยทั้งระบบดีขึ้น จึงอยากเสนอให้มีการพัฒนาสวัสดิภาพแรงงานด้านอื่นๆควบคู่กัน และขอให้มีมาตรการตรวจสอบการเข้า-ออกของเรือประมงจากท่ามากขึ้น เพื่อพัฒนาสวัสดิภาพแรงงานประมงบนเรือด้วย 
• ปัญหาการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง : เสนอให้มีมาตรการดูแลเรือ บริษัท/เจ้าของเรือ โดยเฉพาะเรือประมงนอกน่านน้ำไกล ๆ ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายสากล  ไทยควรมีความชัดเจนว่าไม่สนับสนุนเรือของบริษัทที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายสากล พร้อมกับส่งสัญญาณให้นานาชาติทราบด้วย ขณะเดียวกัน ขอให้ไทยเร่งแก้ปัญหา โดยเร่งกวดขันและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังกับการใช้แรงงานผิดกฎหมายในโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำที่ยังมีอยู่

นาย Cesar Deben กล่าวตอนท้ายว่า  “คณะผู้แทน EU สนับสนุนการดำเนินการตามนโยบายใหม่ๆ ของไทย ที่ส่งผลต่อพัฒนาการแก้ปัญหาที่ดีขึ้นและจะให้ความร่วมมือกับไทยต่อไป ซึ่งการแก้ปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ถือเป็นความท้าทายของไทยและนานาชาติที่ต้องร่วมมือกันและหวังว่าคงได้เห็นความชัดเจนถึงความคืบหน้าการแก้ปัญหาของไทยในอนาคต”

พล.อ.ประวิตร  วงษ์สุวรรณ รอง นรม. และ รมว.กห. ได้กล่าวขอบคุณ สำหรับคำแนะนำพร้อมกับกล่าวในภาพรวมว่า “การแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ถือเป็นวาระเร่งด่วนที่รัฐบาลให้ความสำคัญเพื่อแก้ปัญหาฐานรากของการทำประมงไทยให้ถูกต้องและได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ โดยคำนึงถึงความยั่งยืนเป็นสำคัญ  โดยขอให้เชื่อมั่นว่า รัฐบาลไทยและทุกภาคส่วนของสังคมให้ความสำคัญกับความพยายามทำงานต่อเรื่องดังกล่าวอย่างเต็มที่ โดยยึดมั่นต่อ  ..1) การปฏิบัติตามหลักกฎหมายสากล  ..2) การปฏิบัติตามคำแนะนำของคณะผู้แทน EU   .. 3) การปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศของไทย ขณะเดียวกันเราก็ได้พยายามสร้างการรับรู้และความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง ต่อการดำเนินงานร่วมกันทั้งในและต่างประเทศ  จึงขอเวลาให้เราได้ทำงาน ซึ่งเราจะทำและทำต่อไปเพื่อให้เราสามารถปรับเปลี่ยนสู่การทำประมงที่ถูกกฎหมายอย่างยั่งยืนและได้รับการยอมรับจากนานาชาติในที่สุด”

..............................

รู้จัก5นศ.ทีมตรวจสอบราชภักดิ์

รู้จัก 5 นักกิจกรรม ทีมส่องโกงราชภักดิ์ เขาเป็นใคร? ก่อนนั่งรถไฟไปอุทยานฯ

+ ลูกเกด ชลธิชา: ความเข้มแข็งที่เผด็จการไม่อาจทำลาย +

ลูกเกด หรือ ชลธิชา แจ้งเร็ว อายุ 22 ปี จบปริญญาตรีคณะสังคมศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และจะรับปริญญาช่วงกลางปีนี้ 

ลูกเกดเริ่มทำกิจกรรมด้านสังคมการเมืองอย่างจริงจังตั้งแต่อยู่ชั้นปีที่ 3 โดยเป็นสมาชิกชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ร่วมเคลื่อนไหวคัดค้านเขื่อนแม่วงก์ จากนั้นในช่วงมกราคม 2557 ที่มีกระแสคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ลูกเกดก็เป็นหนึ่งในผู้จัดกิจกรรมจุดเทียนสันติภาพและเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง 

หลังการรัฐประหารพฤษภาคม 2557 ลูกเกดร่วมกับเพื่อนๆ นักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยทำกิจกรรมต้านรัฐประหารอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 นักกิจกรรมหลายกลุ่มร่วมกันทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในโอกาสครบรอบ 1 ปีรัฐประหาร ที่หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ลูกเกดเป็นหนึ่งในนักศึกษาที่ถูกยื้อยุดฉุดกระชากในระหว่างการจับกุม และป่วยเป็นโรคเส้นประสาทด้านบนอักเสบจากการยื้อยุดฉุดกระชากในเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้เกิดอาการชาที่ขาซ้ายเรื่อยมาและเดินระยะไกลไม่ได้

นอกจากนี้ ลูกเกดยังเป็นผู้หญิงคนเดียวในกลุ่ม 14 นักศึกษาซึ่งถูกควบคุมตัวเมื่อ 26 มิถุนายน 2558 จากข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน และมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญา หลังจากศาลทหารอนุญาตฝากขังในคืนเดียวกัน เธอถูกควบคุมตัวในทัณฑสถานหญิงกลาง ขณะที่อีก 13 คนซึ่งเป็นผู้ชายทั้งหมดถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ต่อมาลูกเกดและเพื่อนๆ ได้รับการปล่อยตัวหลังครบกำหนดฝากขังผลัดแรก

+ การ์ตูน ชนกนันท์: ‘ก้าวข้าม’ รัฐประหาร กับ จุดยืนไล่คนโกง +

ชนกนันท์ รวมทรัพย์ หรือ 'การ์ตูน' เป็นบัณฑิตป้ายแดงจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ โดยสมัยเรียนเธอเป็นสมาชิกกลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน หรือ CCP 

การ์ตูนเคยให้สัมภาษณ์ว่า ในวัยเด็กได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมของครอบครัวเนื่องจากมีญาติเป็นนักการเมือง และเคยไปช่วยญาติหาเสียง นอกจากนี้ครอบครัวก็ยังเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือม็อบเสื้อเหลือง ซึ่งเธอเองก็เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุน จวบจนรัฐประหารในปี 2549 ได้เห็นภาพข่าวที่ออกมาว่ามีรถทหารมาประจำอยู่กรุงเทพฯ และมีคนคอยแจดอกไม้ให้ ซึ่งขณะนั้นทำให้รู้สึกว่าเป็นเรื่องดี เพราะได้หยุดเรียนและขับไล่คนโกงออกไป  

แต่จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้หันมาสนับสนุนประชาธิปไตยก็คือ ตอนที่ได้มีโอกาสไปแลกเปลี่ยนที่อเมริกา ได้พบเห็นการที่ทุกคนมีสิทธิมีเสียง อยากคิดอะไรก็คิด อยากพูดอะไรก็พูด ทำให้รู้สึกว่าได้เสรีภาพมากกว่าตอนที่อยู่ในประเทศไทย ส่วนจุดเปลี่ยนที่สองคือเมื่อได้เข้ามาเรียนคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ อาจารย์จะโยนคำถามมาเพื่อให้ไปหาคำตอบเอง ซึ่งตอนนั้นทำให้ได้ไปหาอะไรหลายอย่างที่ไม่เคยอ่านมาก่อน

และด้วยความที่การ์ตูนอยู่ในกลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน หรือ CCP ซึ่งเป็นกลุ่มกิจกรรมการเมืองในมหาวิทยาลัย ก็ทำให้เธอและเพื่อนได้จัดงานเสวนาภายในมหาวิทยาลัยหลายครั้ง รวมไปถึงการแขวนป้ายผ้า Coup = Corruption และเผด็จการจงพินาศประชาธิปไตยจงเจริญ ในงานฟุตบอลจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ครั้งที่ 70 

หลังจากนั้นก็ร่วมกิจกรรมทางการเมืองอีกหลายครั้ง เช่น งานครบรอบ 1 ปี รัฐประหาร 22 พฤษภาคม โดยใช้ชื่อกิจกรรมว่า ‘ศุกร์ 22 มาฉลองกันมะ?’ ที่สุดท้ายถูกเจ้าหน้าที่ใช้กำลังควบคุมตัวไปห้องสอบสวน สน.ปทุมวัน ก่อนที่จะมาเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่ม 'ขบวนการประชาธิปไตยใหม่' หรือ New Democracy Movement (NDM) โดยเธอออกมาเคลื่อนไหวกิจกรรมต่างๆ ระหว่างที่เพื่อนอีก 14 คน ถูกขังในเรือนจำ นอกจากนี้การ์ตูนกับเพื่อนยังทำนิตยสารแจกฟรีในชื่อ 'ก้าวข้าม' ซึ่งมีออกมาแล้วสองฉบับ โดยฉบับแรกพูดถึงการรัฐประหารว่าสร้างปัญหาอย่างไรให้กับประเทศ และฉบับล่าสุดเจาะประเด็นเกี่ยวกับการทุจริตอุทยานราชภักดิ์

+ นิว สิรวิชญ์:  ‘จ่า’ นักกิจกรรม ผู้มุ่งนำประชาธิปไ(ท)ย +

สิรวิชญ์ หรือ จ่านิว อายุ 22 ปี เป็นนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยเป็นสมาชิกสภานักศึกษาช่วงปี 1-2 ก่อนจะออกมาสมัครนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ช่วงปี 3  แม้ผลจะการเลือกตั้งจะไม่ชนะ แต่ถึงที่สุดเขาก็มารวมกลุ่มกับเพื่อนๆ ก่อตั้งกลุ่มสภาหน้าโดม ซึ่งเคยเป็นกลุ่มกิจกรรมของนักศึกษาธรรมศาสตร์ในช่วงก่อน 14 ตุลา 2516 อีกครั้ง เพราะเชื่อว่าสังคมต้องมีพื้นที่ให้คนออกมาแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยการถกเถียง โดยกิจกรรมของสภาหน้าโดมคือออกมาเรียกร้องประเด็นต่างๆ อาทิ ยกเลิกระบบรับน้อง ปฏิรูประบบการศึกษา  และเคยคัดค้าน พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ของพรรคเพื่อไทยเมื่อปี 2556 ด้วย

จ่านิวเคยให้สัมภาษณ์กับประชาไทว่า เขาโตมาในครอบครัว ชนชั้นล่างระดับบน ช่วงวัยเด็กเขาต้องย้ายบ้านบ่อยมาก  แต่หลักๆ ก็อยู่ในกรุงเทพฯ มีนบุรี ลาดกระบัง หนอกจอก  เมื่อก่อนพ่อกับแม่เคยทำงานรับจ้างในโรงงาน ทำได้สักระยะแม่ก็ออกมารับจ้างทั่วไป เพราะมีน้องที่ต้องดูแล ส่วนพ่อก็ออกมาทำงานขนส่งสินค้า เขาเป็นลูกชายคนโตและคนเดียว ในบรรดาพี่น้อง 4 คน และกลายเป็นผู้ชายคนเดียวในครอบครัวหลังจากปี 2554 เพราะพ่อเสียชีวิต เป็นช่วงที่เขาเข้าเรียนที่ธรรมศาสตร์พอดี ซึ่งตั้งแต่มาเรียนมหาวิทยาลัย   ส่วนใหญ่เขาต้องหางานทำเอง เป็นผู้ช่วยงานวิจัยของหน่วยงานราชการบ้าง 

เหตุผลที่สนใจการเมือง คงเป็นเพราะตอนนั้นเขามองว่า อยู่ในฐานะที่ต่ำของสังคม ถูกเอารัดเอาเปรียบ  ตอนเด็กเขาเริ่มชอบอ่านหนังสือจากหนังสือการ์ตูนประวัติศาสตร์ หลังๆ มาก็เริ่มมาอ่านหนังสือที่เป็นจริงเป็นจังมากขึ้น ช่วงมัธยมปลายเริ่มอ่านหนังสือด้านรัฐศาสตร์มากขึ้น ชอบอ่านงานของรุสโซ วันไหนว่าง ก็จะนั่งรถเมล์ไปหอสมุดแห่งชาติ   เมื่อถามถึงบุคคลต้นแบบ คำตอบของจ่านิวคือ เหล่า ‘นักปฏิวัติ’ 

หลังรัฐประหารพฤษภาคม 2557 ผู้คนรู้จักจ่านิวมากขึ้น  ในภาพนักกิจกรรมกลุ่มพลเมืองโต้กลับและกลุ่มประชาธิปไตยศึกษา ที่ออกมาประท้วงทั้งประเด็นในมหาวิทยาลัย ไปจนถึงประเด็นการเมืองระดับชาติ โดยเฉพาะเรียกร้องการเลือกตั้ง  ไม่ยอมรับการรัฐประหารและอำนาจรัฐบาล คสช.  เนื่องจากเป็นผู้นำในหลายๆ กิจกรรม จ่านิวมักถูกเจ้าหน้าที่เรียกตัวไปปรับทัศนคติ   กระทั่งถูกตั้งข้อหาและขึ้นศาลทหารมาแล้ว ในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. เรื่องห้ามชุมนุมเกิน 5 คน  ในกิจกรรมเลือกตั้งที่ (รัก) ลัก หน้าหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร  เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558  และข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง หัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุม จากกิจกรรมนั่งรถไฟส่องโกงอุทยานราชภักดิ์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2558

+ หนุ่ย อภิสิทธ์: ต้านเขื่อน ต้านรัฐประหาร ต้านเผด็จการ ‘เรื่องเดียวกัน’ +

หนุ่ย หรือ อภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ เรียนจบคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2551 และผู้ก่อตั้งกลุ่มเสรีนนทรี โดยกลุ่มดังกล่าวมุ่งจับประเด็นทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม สิทธิชุมชน นอกจากนี้เขาเคยทำกิจกรรมมาเเล้วหลายอย่าง เช่น คัดค้าน ม.นอกระบบ เนื่องจากนิสิตไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าจะนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบหรือไม่ อีกทั้งยังส่งผลต่อความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยที่สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจสูงสุด ปราศจากการตรวจสอบ การทุจริตอาจทำได้ง่ายขึ้น 

แต่เหตุการณ์ที่ทำให้เขาต้องกลายเป็นคู่ขัดแย้งของรัฐก็คือการออกมาต้านเขื่อนเแม่วงก์ ซึ่งจากกิจกรรมครั้งนั้นทำให้ต้องเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่รัฐและถูกควบคุมตัว และอีกเหตุการณ์หนึ่งคือ เขาได้เข้ามามีส่วนร่วมกับการเคลื่อนไหวของกลุ่ม NDM ภายหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมครบรอบ 1 ปีรัฐประหาร (22 พฤษภาคม 2558) เนื่องจากวันนั้น เขาและเพื่อนมีกิจกรรมของศูนย์ประสานงานเยาวชนสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD) ในช่วงบ่าย เป็นงานเสวนาหัวข้อสิทธิชุมชน เสรีภาพ การศึกษา แต่ตำรวจไม่ให้จัดงาน จึงเชิญตัวไปที่ สน.ชนะสงคราม เสร็จจากนั้นก็ไปรวมตัวที่หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพราะทราบข่าวจากโปสเตอร์งานและมีคนชวนมา ซึ่งเขาไม่ได้เป็นคนจัดแค่มาร่วมด้วย แต่ที่โดนจับ คงเพราะเห็นว่าเราเคลื่อนไหวหลายเรื่องทั้งแม่วงก์ ม.นอกระบบที่ถูกห้ามจัด เขาอาจเคยเห็นหน้าเราทางสื่อ เลยอาจเข้าใจว่าเป็นแกนนำ 

ปัจจุบันหนุ่ยประกอบอาชีพเป็นครูสอนพิเศษวิชาคณิตศาสตร์ภายในมหาวิทยาลัย และคอยช่วยเหลือในการจัดค่ายศึกษาชุมชน

+ ปอ กรกช: นักกิจกรรมแห่งเกษตร บัณฑิตใหม่ภาคประวัติศาสตร์ +

ปอ หรือ กรกช แสงเย็นพันธ์ บัณฑิตใหม่ เพิ่งจบการศึกษาจากคณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพิ่งเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรไปเมื่อเดือนตุลาคม 2558 ปัจจุบันเป็นฟรีแลนซ์รับจ๊อบงานเขียนและทำหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมือง 

ปอ เริ่มทำกิจกรรมการเมืองตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ปี 1 เทอม 2 เนื่องจากเป็นความสนใจส่วนตัว และชวนเพื่อนๆ ไปเข้ากลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์ เพราะเป็นกลุ่มกิจกรรมหนึ่งในไม่กี่แห่งในมหาวิทยาลัยที่สนใจประเด็นทางการเมือง และเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น ซึ่งกิจกรรมของกลุ่มนี้จะเน้นเรื่องสิทธิในการจัดการทรัพยากรและสิทธิชุมชนด้วย


สมัยยังเป็นนิสิตที่ ม.เกษตร ปอเคยทำกิจกรรมเคลื่อนไหวประเด็นเรื่องสิทธิการแต่งกายในมหาวิทยาลัย เนื่องจากมีข่าวออกมาว่า มหาวิทยาลัยจะบังคับใช้กฎที่จะหักคะแนนคนนิสิตที่แต่งเครื่องแบบผิดระเบียบ จากการรณรงค์ของปอและเพื่อนทำให้การบังคับใช้กฎระเบียบเข้มงวดน้อยลง 

นอกจากนี้ระหว่างเรียนอยู่ ปอเคยจัดกิจกรรมรณรงค์ในมหาวิทยาลัย เช่น เชิญชวนให้คนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จัดงานเสวนาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความขัดแย้งทางการเมือง จัดกิจกรรมจุดเทียนสันติภาพและเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง หลังเรียนจบปอก็เข้าร่วมกับขบวนการประชาธิปไตยใหม่เพื่อทำกิจกรรมทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง

ดูรายละเอียดคดีนั่งรถไฟไปราชภักดิ์ได้ที่ >> http://freedom.ilaw.or.th/case/704#progress_of_case