PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

‘ปิยบุตร’ เสนอ หากร่างรธน.ไม่ผ่าน คสช.ควรเลิกยุ่งกับการร่าง ชี้เป็นผลดีต่อ คสช.และประเทศชาติ

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 24 กรกฎาคม ที่บริเวณหอประชุมศรีบูรพา และถนนโดยรอบหอประชุม ฯ ได้มีการจัดงาน “ใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญ กำหนดอนาคตประชาชน” โดย 43 องค์กร เเละมีการจัดเวทีวิชาการ “ประชามติที่ Free และ Fair” โดยมีการแถลงจุดยืนต่อร่างรัฐธรรมนูญของประชาชนกลุ่มต่างๆ กิจกรรมสนทนา “ถกร่างรัฐธรรมนูญ” โดย นายอัษฏางค์ ปาณิกบุตร และ นายอนุสรณ์ อุณโณ รวมไปถึง ปาฐกถา “ประชามติ 7 สิงหา กับอนาคตสังคมไทย” โดย นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์

ทั้งนี้ในระหว่างการเสวนา นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ตัวแทนโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (Ilaw) หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา ได้กล่าวว่า ปัจจุบันเราไม่เคยรู้เลยว่าเมื่อโหวตไปแล้ว ผลออกมาว่าไม่ผ่านจะเป็นอย่างไรต่อไปเพราะเป็นความตั้งใจของผู้มีอำนาจต้องการให้เราไม่รู้ แต่ก็พอจินตนาการได้ว่า ในวาทกรรมของรับไปก่อนแล้วค่อยแก้ไขนั้น มันจะนำไปสู่ความขัดแข้ง มีการชุมนม มีความวุ่นวาย นำไปสู่การรัฐประหารและมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมา เป็นวงจรที่ไม่รู้จบ ซึ่งการโหวตโนนั้นเป็นการตัดวงจรนี้ โดยเราจะต้องเปิดโอกาสพูดคุยต่อไปว่า ที่ไม่รับ มีเรื่องอะไรบ้าง คนจะได้รู้และไม่ร่างแบบเดิมอีกรอบ และมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เรารับได้

ขณะที่ นายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ขอเสนอว่าการลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ ถ้าประชามติไม่ผ่่าน คสช. ควรจะยุติบทบาทและไม่ยุ่งเกี่ยวกับการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยขอเสนอกระบวนการหลังจากไม่ผ่านคือ 1.เลิกใช้ รธน. ชั่วคราว ฉบับ2557 เพื่อไม่ให้ติดกรอบที่คสช. วางไว้ 2.หารัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้ เพื่อให้มีการเลือกตั้ง ได้รัฐบาลที่มาจาการลเือกตั้ง และมีกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ การลงประชามติ ตามระบอบประชาธิปไตย

“รู้ว่าข้อเสนอนี้ค่อยข้างที่จะเป็นอุดมคติ แต่มีประโยชน์สำหรับประเทศชาติและคสช.เองด้วย เพราะหากดูตามประสบการณ์จากต่างประเทศ เผด็จการจะมีทางลงสองแบบ คือ 1.รู้ตัวว่าถอยดีกว่า เปิดทางลงสวยๆ เช่นในละตินอเมริกา และ 2.ประเมินตัวเองสูงเกินไป จนอยู่ไปเรื่อยๆ แล้วจะโดนไล่ออกโดยประชาชน จะเกิดความรุนแรง บาดเจ็บล้มตาย สียหายเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นการจบที่ไม่สวย คสช. ควรคิดว่าจะเลือกทางไหน” ปิยบุตร กล่าว

นายกลงใต้ครั้งสอง



ไม่ได้มาซะนาน.....
ตอนเป็น ผบ.ทบ.ลงชายแดนใต้ บ่อยๆ แต่ตั้งแต่เป็นนายกฯ บิ๊กตู่ เพื่งลงชายแดนใต้ ครั้งแรก แม้ปีแรกที่เป็นนายกฯ จะมา นราธิวาส แต่ก็มาดูน้ำท่วม แป้ปเดียว ก่อนบินไปร่วมพิธีรำลึก เหตุการณ์สึนามิ ที่ภูเก็ต..... แต่ครั้งนี้ วันนี้. บิ๊กตู่ ใช้เวลาเต็มๆ ที่นี่ บินมาตั้งแต่ 7โมงเช้า กำหนดกลับถึงราว1 ทุ่ม.....ที่ผ่านมา2ปี นายกฯไปมาทุกภาคแล้ว สัญจรเยี่ยมประชาชน มาหลายจังหวัด เหลือ 3 จ.ชายแดนใต้ นี่แหล่ะ...วันนี้ เลยจัดเต็ม ทั้งวัน ทั้งประชุมผบ.หน่วยทหาร เพื่อรับทราบสถานการณ์ในพื้นที่ ถกด้านความมั่นคง และเศรษฐกิจ พัฒนา "เมืองต้นแบบ" สุไหง โกลก นราธิวาส-เบตง ยะลา-หนองจิก ปัตตานี.... พบปะชาวบ้าน และ ตามเริ่องแก้ปัญหายางพารา....ทีมทหารเสือฯ รปภ. วงในข้างกาย พรึ่บ!!

คสช.สั่งจัดกำลังทหาร-ตร.ดูแลความเรียบร้อยเพื่อรักษาสถานการณ์ ช่วงประชามติ



คสช.สั่งจัดกำลังทหาร-ตร.ดูแลความเรียบร้อยเพื่อรักษาสถานการณ์ ช่วงประชามติ พร้อมสนับสนุน กกต.-ดูแลบัญชีรายชื่อประชามติ อย่าให้ใครทำผิดกม.ประชามติ
จากสถานการณ์ ในช่วงประชามติ ที่พบว่า มีการทำลาย รายชื่อ ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ บางจุด ก็ สูญหาย นั้น
ที่กองบัญชาการกองทัพบก พลเอก วลิต โรจนภักดี รองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมสำนักเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แทน พลเอกธีรชัย นาควานิช ผบทบ./เลขาฯคสช. ที่ไป นราธิวาส พร้อม นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม
โดยในที่ประชุมมีการรายงานผลการปฏิบัติงานของกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย
พันเอกหญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษก คสช. กล่าวว่า รองเลขาฯคสช. สั่งการให้ให้ ดูแลสถานการณ์บ้านเมืองให้สงบความเรียบร้อย เพื่อรองรับกระบวนการลงประชามติ
รวมทั้งให้การสนับสนุนคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ตามที่ได้รับมอบหมายในลักษณะเป็นเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือ
ทั้งนี้ กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย และเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ให้ร่วมกันดูแลความสงบเรียบร้อยในทุกเรื่อง ตรวจสอบ อย่าให้มีการจัดตั้ง หรือนำบุคคลใด บุคคลหนึ่ง มาใช้เป็นเครื่องมือกระทำผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงประชามติ
อย่างไรก็ตามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มุ่งหวังให้ประชาชนได้ออกไปใช้สิทธิอย่างเต็มที่ โดยอิสระ และจะดูแลสถานการณ์โดยรวมให้มีความสงบเรียบร้อย ไม่ให้มีการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือทำให้สังคมเกิดความวุ่นวาย

บิ๊กแกละ พลเอก พิสิทธิ์ สิทธิสาร เสธ.ทบ. ตัวเต็งผบ.ทบ.น้องรักบิ๊กป้อม

เจอกันจะๆ.....
จะเลิฟหรือไม่เลิฟ เลิฟมาก เลิฟ น้อย....
แต่วันนี้ลงใต้ด้วยกัน.....นายกฯก็เจอ บิ๊กแกละ พลเอก พิสิทธิ์ สิทธิสาร เสธ.ทบ. ตัวเต็งผบ.ทบ.น้องรักบิ๊กป้อม แบบเต็มๆ เพราะเป็น เลขาฯกอ.รมน. ด้วย ส่วนนายกฯก็เป็น ผอ.รมน...ดูแล แก้ปัญหาชายแดนใต้ โดยตรง
ส่วน บิ๊กหมู พลเอกธีรชัย ผบทบ.ก็ต้องมี พลเอกพิสิทธิ์ ประกบข้างๆตลอด ในฐานะ เสธ.ทบ. หนีกันไม่พ้น....ยังไง ก็พี่น้อง บูรพาพยัคฆ์ และ น้องรัก บิ๊กป้อม ด้วยกันทั้งคู่ นะ
แต่น่าแปลก....ข่าวทางทำเนียบฯ ยังสะพัดว่า นายกฯบิ๊กตู่. เลิฟเลิฟ บิ๊กเจี๊ยบ พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท ผช.ผบ.ทบ. สายรบพิเศษ มากกว่า
ทึ่ว่า บิ๊กแกละ เต็งๆ ผบ.ทบ.....ออร่า เปล่ง ก็เลย ยังแค่เต็ง เพราะกองเชียร์ อีกฝั่ง ยังหวังว่า นายกฯ ไม่ปล่อยบิ๊กป้อม จัดโผคนเดียว

ทหารเก่า ทหารแก่....เตรียมแสดงจุดยืน



ทหารเก่า ทหารแก่....เตรียมแสดงจุดยืน
เสธ.อ้าย พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ เลขาฯราชตฤณมัย/ปธ.ตท.1 เตรียมนำนายทหารเกา ทหารแก่ รุ่น ตท.1 แถลงจุดยืนต่อร่างรธน.-การลงประชามติ
ในฐานะที่ ให้กำลังใจ นายกฯบิ๊กตู่ และ หนุนการรัฐประหาร มาตลอด....น่าจะเดาไม่ยาก ว่า รับ หรือไม่รับ
แถลง 28กค.นี้ 10.30 น. ที่ ราชตฤณมัยสมาคม สนามม้านางเลิ้ง
แต่เมื่อ 14.35น...เสธ.อ้าย แจ้งยกเลิกการแถลง
บิ๊กป้อม เบรค เสธ.อ้าย โทรขอร้อง อย่าแถลงเลย หมิ่นเหม่ ผิดพรบ.ประชามติ และขอบคุณ สำหรับทุกอย่าง เสธ.อ้าย รับปาก. แจ้งสื่อ ยกเลิกแถลง
เสธ.อ้าย พลเอกบุญเลิศ แจ้งด่วน ยกเลิกแถลงจุดยืน ร่างรธน... เผย "บิ๊กป้อม" พลเอกประวิตร โทรมาขอร้องว่าอย่าแถลงหรือแสดงจุดยืน การลงประชามติ เพราะจะคาบเกี่ยวกับการทำความผิด กม.
เสธ.อ้าย รับปาก ส่วน "บิ๊กป้อม" ก็ขอบคุณ พี่อ้าย

“เครือข่ายพุทธฯ”จี้ดีเอสไอดำเนินคดี “สมเด็จช่วง” พ.ร.บ.สรรพสามิต-ป.อาญา

เมื่อเวลา10.30 น. วันที่ 25 กรกฎาคม ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นางสมบูรณ์ พื้นทอง ตัวแทนภาคประชาชน พร้อมกลุ่มสตรีปกป้องพระพุทธศาสนา ชมรมพระพุทธศาสนา จ.พระนครศรีอยุธยาและจ.ฉะเชิงเทรา กลุ่มพุทธฉายา และตัวแทนองค์กรภาคประชาชน 20 คน เข้ายื่นคำร้องกล่าวโทษสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หรือสมเด็จช่วง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช โดยมีพ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารคดีพิเศษ ในฐานะรองโฆษกดีเอสไอ รับเรื่อง
นางสมบูรณ์ กล่าวว่า ได้ติดตามข่าวสารกรณีดีเอสไอพบหลักฐานว่า สมเด็จช่วงมีความผิดฐานร่วมกันมีไว้ครอบครองซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่ไม่ได้เสียภาษีหรือหลีกเลี่ยงภาษีไม่ครบถ้วน ตามพ.ร.บ.สรรพสามิต เนื่องจากพยานหลักฐานชัดเจนว่ารถยนต์โบราณ ยี่ห้อเมอร์เซเดสเบนซ์ ทะเบียน ขม 99 มีการซื้อขายในราคา 4 ล้านบาท แต่ตอนยื่นภาษียื่นเพียง 570,000 บาท อีกส่วนหนึ่งคือมีความผิดฐานร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนได้รับความเสียหาย และร่วมกันแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จในเอกสารมหาชนหรือในเอกสารราชการ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐาน เนื่องจากการเสียภาษีที่ขนส่งรถราคา 4 ล้านบาท แต่ไปแจ้งเสียภาษี 1 ล้านบาท ชัดเจนว่าผู้ครอบครองและผู้เกี่ยวข้องมีความผิดด้วย
นางสมบูรณ์ กล่าวต่อว่า จึงร้องเรียนให้ดีเอสไอดำเนินการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว ตรงไปตรงมา ตามขั้นตอนของกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของสังคมในปัจจุบัน ทั้งนี้ตนพร้อมคณะขอกล่าวโทษสมเด็จช่วงว่าอาจเข้าข่ายกระทำความผิดตามพ.ร.บ.สรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 16(1) และกฎหมายอาญามาตรา 83 และข้อหาที่ 2 ร่วมกันแจ้งขอความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ และแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงานผู้กระทำหน้าที่ ผิดกฎหมายอาญา มาตรา 137 และมาตรา 267 ประกอบมาตรา 83 จึงขอให้ดีเอสไอดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป ทั้งนี้ทางคณะขอให้กำลังใจการทำงานของดีเอสไอด้วย
ด้าน พ.ต.ต.วรณัน กล่าวว่า ยืนยันว่าดีเอสไอจะดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา ตามกระบวนการของกฎหมาย ทั้งนี้ จะเร่งนำเรื่องร้องเรียนดังกล่าว เสนอไปยังอธิบดีดีเอสไอให้ทราบต่อไป

43 องค์กร นศ. นักวิชาการ ประชาชน ถกรธน.จับมือโหวตโน

เมื่อเวลา 13.00 น. ที่บริเวณหอประชุมศรีบูรพา และถนนโดยรอบหอประชุม ฯ ได้มีการจัดงาน “ใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญ กำหนดอนาคตประชาชน” โดย 43 องค์กร อาทิ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล สมัชชาคนจน ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ เครือข่ายสลัม 4 ภาค กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน (พื้นที่คัดค้านเหมืองแร่ทองคำ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุงจ.เลย) กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์ กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD) โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
201607241817228-20120402141120
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่าผู้จัดงานได้แบ่งงานออกเป็น 2 พื้นที่ทั้งภายในและภายนอกห้องประชุม โดยภายนอกได้มีการจัดพื้นที่ทางเข้างานเป็น “กำแพงรัฐธรรมนูญ” โดยได้นำร่างรัฐธรรมนูญ มาพิมพ์ขยายและติดไว้ตามกำแพงทางเข้างาน นอกจากนี้ยังได้มีการแบ่งเป็นโซนตลาดนัด “รัฐธรรมนูญที่กินได้” มีการขายอาหาร ซุ้มวิถีชุมชน ศิลปวัฒนธรรม นิทรรศการมีชีวิต รวมไปโซน “Free Fair บุ๊คคาเฟ่” โดยมีบูธหนังสือจาก 10 สำนักพิมพ์ การ์ตูนล้อแกลลอรี โดย กฤษ เหลือลมัย นอกจากนียังมีกิจกรรมพูดคุยถึงปัญหาจากกลุ่มชาติพันธุ์ นักเรียน นักศึกษา การแสดงดนตรี และอ่านกวีจากกลุ่มศิลปิน
ส่วนกิจกรรมภายในหอประชุมศรีบูรพา ได้มีการจัดเวทีวิชาการ “ประชามติที่ Free และ Fair” โดยมีการแถลงจุดยืนต่อร่างรัฐธรรมนูญของประชาชนกลุ่มต่างๆ กิจกรรมสนทนา “ถกร่างรัฐธรรมนูญ” โดย นายอัษฏางค์ ปาณิกบุตร และ นายอนุสรณ์ อุณโณ รวมไปถึง ปาฐกถา “ประชามติ 7 สิงหา กับอนาคตสังคมไทย” โดย นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์
201607241817229-20120402141120
13612229_1757093787836788_2564639857812983335_n
ต่อมาเวลา 16.00 น. ได้มีการจัดงานเสวนาข้อเสนอ “ทางเลือกประเทศไทยหลัง 7 สิงหา 59” โดย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล, โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) แถลงการณ์ “ร่างรัฐธรรมนูญของประชาชน”
จากนั้นเวลา 17.30 น.ได้มีการอ่านแถลงการณ์ร่วมเครือข่ายนักวิชาการนิสิตนักศึกษาและประชาชน 43 องค์กร โดยนายอนุสรณ์ อุณโณ โดยมีเนื้่อหาดังนี้
“วันที่ 7 สิงหาคม 2559 ที่จะถึงนี้ จะเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งในการกำหนดอนาคตของสังคมไทย เพราะเป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับคสช. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) และเครือข่ายองค์กรนิสิตนักศึกษาและประชาชนรวม 43 องค์กร มีข้อสรุปเกี่ยวกับการลงประชามติที่ขอประกาศต่อสาธารณะ”
“1. พวกเราทั้ง 43 องค์กร เห็นร่วมกันที่จะ “โหวตโน” ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง ด้วยเหตุผลสำคัญ 4 ประการ คือ
1.1) กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ขาดความชอบธรรมตั้งแต่ต้น เนื่องจาก คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) มิได้มาจากประชาชนและเป็นการร่างที่ปราศจากการรับฟังเสียงและความเห็นของประชาชน โดยกรธ.ให้ความสำคัญกับความต้องการของคสช. ผู้ฉีกร่างรัฐธรรมนูญฉบับเก่าเป็นสำคัญ ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศจำเป็นต้องมีที่มาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนตั้งแต่เริ่มต้น”
“1.2) เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญจะนำพาประเทศให้ถอยหลัง ทั้งในด้านหลักการประชาธิปไตยและด้านสิทธิและสวัสดิการของประชาชน ไม่ว่าจะเป็น การให้คสช.มีอำนาจแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาที่มีจำนวนมากถึง 250 คน และคำถามพ่วงที่จะให้สว. มีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรีได้ นอกจากนี้ องค์กรอิสระที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนจะมีอำนาจกว้างขวางสามารถถอดถอนและควบคุมรัฐบาลได้ ทั้งหมดนี้จะทำให้เสียงของประชาชนที่แสดงออกผ่านการเลือกตั้งสส. เพื่อไปตั้งรัฐบาล ไม่เป็นผล การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นตามร่างรัฐธรรมนูญนี้จึงเป็นเพียงเครื่องมือรองรับความชอบธรรมในการสืบทอดอำนาจของคสช. เท่านั้น”
“ในด้านสิทธิและสวัสดิการของประชาชน ปัจจุบันประชาชนสามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างน้อยสามประการคือ การศึกษา การรักษาพยาบาล และเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แทนที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะคงไว้และสืบทอดสิทธินี้ แต่กลับย้อนหลังไปใช้วิธีการสงเคราะห์ ทำให้ผู้ที่จะเข้าถึงสวัสดิการข้างต้นต้องแสดงตัวเป็นคนอนาถาผู้ยากไร้ เท่ากับเป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนคนไทย อีกทั้งร่างรัฐธรรมนูญยังจะทำให้เกิดการแบ่งแยกและเหลื่อมล้ำทางด้านศาสนา”
“1.3) บทเรียนการบริหารประเทศที่ผ่านมาของคสช. ทำให้ประชาชนรู้ชัดว่า ไม่อาจฝากอนาคตไว้กับ คสช. ได้อีกต่อไป เพราะ คสช.บริหารประเทศด้วยการลิดรอนสิทธิและไม่รับฟังเสียงของประชาชน เช่น ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองและการควบคุมอาคารในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และออกพรบ.เหมืองแร่ที่เอื้อกับนายทุน นโยบายคืนผืนป่าที่มุ่งยึดที่ดินของคนจนมากกว่านายทุน การไม่อุดหนุนราคาพืชผลเกษตรกร ปล่อยให้เกษตรกรเดือดร้อน การหักล้างหลักการของรัฐธรรมนูญมาตรา 190 เรื่องการทำสัญญาระหว่างประเทศ การผลักดันโรงงงานไฟฟ้าเทพา การคุกคามประชาชนด้วยการเรียกไปปรับทัศนคติ รวมถึงการคุกคามแม้กระทั่งประชาชนที่รณรงค์อย่างสันติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ”
“1.4) รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกออกแบบให้แก้ไขแทบจะเป็นไปไม่ได้ เช่น ต้องผ่านถึงสามขั้นตอน ต้องได้รับความเห็นชอบจากพรรคการเมืองทุกพรรคในสภา จึงทำให้ คำกล่าวที่ว่า รับร่างรัฐธรรมนูญไปก่อนแล้วไปแก้ที่หลัง ในคราวลงประชามติปี 2550 ใช้ไม่ได้กับรัฐธรรมนูญฉบับนี้”
“2. เราขอเรียกร้องให้ คสช. หยุดกดดัน คุกคาม ดำเนินคดีที่คิดต่าง เพื่อให้การลงประชามติเป็นไปอย่างเปิดเผยและยุติธรรม และหยุดการใช้กลไกของราชการให้ข้อมูลแก่ประชาชนเพียงด้านเดียว ตรงกันข้ามต้องเปิดพื้นที่ให้ประชาชนทั้งที่ได้แสดงความเห็นและและได้รับข้อมูลอย่างรอบด้าน
วันที่ 24 กรกฎาคม 2559”
“องค์กรร่วมจัดงาน
1. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง
2. สมาคมรัฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3. สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
4. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
5. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
6. เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
7. เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ-บำนาญแห่งชาติ
8. มูลนิธิบูรณะนิเวศ
9. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
10. มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย)
11. มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย
12. สมัชชาคนจน
13. กลุ่มละครมะขามป้อม
14. เครือข่ายพลเมืองเน็ต
15. สมัชชาอู่ข้าวอู่น้ำภาคกลาง
16. มูลนิธินโยบายสุขภาวะ
17. ขบวนการประชาธิปไตยใหม่
18. กลุ่ม Mini Drama
19. กลุ่มการเมืองครั้งแรก
20. กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)
21. Focus on the Global South
22. เครือข่ายสลัม 4 ภาค
23. มูลนิธิโลกสีเขียว
24. กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
25. เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ประเทศไทย
26. กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน (พื้นที่คัดค้านเหมืองแร่ทองคำ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุงจ.เลย)
27. กลุ่มรักษ์บ้านแหง(พื้นที่คัดค้านสัมปทานทำเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง)
28. ชมรมอนุรักษ์ลุ่มน้ำสรอย ต.สรอย อ.วังชิ้น จ.แพร่ (พื้นที่การขอสัมปทานสำรวจแร่เหล็กและทองคำ)
29. เครือข่ายการศึกษาทางเลือก
30. กลุ่มเสรีนนทรี
31. กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์
32. กลุ่มศิลปากรเสรีเพื่อประชาธิปไตย
33. ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD)
34. กลุ่มลูกชาวบ้าน ม.บูรพา
35. กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD)
36. กลุ่มแก็งค์ข้าวกล่อง ม.รามคำแหง
37. กลุ่มเพื่อนประชาชน
38. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
39. เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ (คกน.)
40. กลุ่มกระเหรี่ยงภาคเหนือ
41. เครือข่ายเพื่อนตะวันออก วาระเปลี่ยนตะวันออก
42. โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
43. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน”

'ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์' นั่งเก้าอี้ประธานกรรมการคนใหม่ Spring News

'ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์' นั่งเก้าอี้ประธานกรรมการคนใหม่ Spring News

เขียนวันที่
วันจันทร์ ที่ 25 กรกฎาคม 2559 เวลา 15:08 น.
เขียนโดย
isranews

ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ นั่งเก้าอี้ประธานกรรมการคนใหม่ล่าสุด Spring News  แทนนายศุทธิชัย บุนนาค โดยมีผลตั้งแต่ 22 ก.ค. 2559
Thanachai25
วันที่ 25 กรกฎาคม บริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ NEWS ได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า คณะกรรมการบริษัท สปริงนิวส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ NEWS ที่ถือหุ้นอยู่สัดส่วน 99.99% ได้มีมติแต่งตั้ง นายธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ให้ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการบริษัท สปริงนิวส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด แทนนายศุทธิชัย บุนนาค โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 22 ก.ค. 2559 เป็นต้นไป
สำหรับ นายธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์  เคยเป็นประธานกรรมการ และประธานบริหาร กลุ่ม เนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป NMG 
tanachai25

เครือข่ายประชาชนประกาศ “ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ”


24 ก.ค. 2559 ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการจัดงาน "ใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญ กับอนาคตประชาชน" ตัวแทนเครือข่ายสมัชชาคนจน-สลัมสี่ภาค-กลุ่มรัฐสวัสดิการ-เหมืองแร่-เกษตรทางเลือก-เครือข่ายพลเมืองเน็ต-เอฟทีเอวอทช์-เครือข่ายกระเหรี่ยง-ประชาชนเจ้าของแร่-การศึกษาทางเลือก ประกาศ “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ นำเสนอมุมมองปัญหาอันหลากหลายของแต่ละกลุ่ม พุ่งตรงปมปัญหาในร่างมีชัย รายละเอียด มีดังนี้

ชุลีพร ด้วงฉิม ตัวแทนเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการและกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า “พวกเราพาสังคมเดินมาถึงจุดที่ได้รับสิทธิถ้วนหน้า หลุดพ้นจากการสงเคราะห์มาแล้วกว่า 15 ปี ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่มีการเลือกว่าคนรวยหรือจน ฉะนั้น ณ วันนี้ การที่รัฐจะมาออกนโยบายขึ้นทะเบียนคนจนเป็นการตีตราแบ่งแยกชนชั้นประชาชน ทั้งที่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เราต้องเท่าเทียมกัน รัฐมีหน้าที่ต้องจัดสวัสดิการดูแลคุณภาพชีวิตประชาชน”

“ปัจจุบันรัฐมีสวัสดิการแล้วสามเรื่อง การร่างรัฐธรรมนูญควรรับรองสิทธิถ้วนหน้าจากรัฐ แต่มาตรา 47และ 48 เห็นว่ามีการแบ่งแยก ทุกมาตรามีคำว่า ตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งเราไม่รู้ว่าจะออกมาอย่างไร”

“เจตนารมณ์ของร่างรัฐธรรมนูญนี้ ลดทอนสิทธิขั้นพื้นฐานและลดทอนผู้ยากไร้ เป็นการสงเคราะห์ เป็นการตีตราคนจน การลงทะเบียนคนจนจะทำให้สวัสดิการทั่วหน้าไม่มีอีกต่อไป เครือข่ายฯ จึงขอประกาศว่าเราไม่เห็นชอบร่างร่างรัฐธรรมนูญที่เลือกปฏิบัติและลิดรอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”

ไพฑูรย์ สร้อยสด ตัวแทนสมัชชาคนจน กล่าวว่า “ตั้งแต่ 22 พ.ค.2557 ที่มีการยึดอำนาจ สมัชชาคนจนออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วย แต่หลังจากวันนั้นเกือบสองปีเราแทบไม่มีเวทีพูดคุยกับประชาชน วันนี้เราของแถลง ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่เห็นหัวคนจน”

เขากล่าวว่า จากการที่ คสช. ยึดอำนาจ 26 เดือนมาแล้ว ผลการบริหารงานก่อให้เกิดความเดื้อดร้อนและละเมิดสิทธิคนจนำนวนนมาก เช่น โครงการทวงคืนผืนป่า โครงการสร้างเขื่อน การไล่รื้อคนจนเมือง การไม่อุดหนุนราคาผลผลิตการเกษตร การปล่อยให้แรงงานถูกเลิกจ้างโดยไม่มีมาตรการช่วยเหลือ มีการเรียกตัวผู้นำชาวบ้านไปปรับทรัศนคติ มีความพยายามจะยกเลิกสวัสดิการของประชาชน เช่น การให้ร่วมจ่ายในหลักประกันสุขภาพ การปลดคณะกรรมการประสังคม การพยายามลดค่าตอบแทนผู้สูงอายุ การพยายามขึ้นทะเบียนคนจน และยังแต่งตั้ง สนช. สปท. ออกกฎหมายที่ทำร้ายและลิดรอนสิทธิคนจน เช่น พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ รวมทั้ง กมธ.ร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างรัฐธรรมนูญสามานย์ฉบับนี้ พยายามเปิดช่องให้มีนายกฯ จากคนนอก ตระเตรียมเป็นกระบวนการให้มีบทเฉพาะกาล ส.ว.มาจากการแต่งตั้ง และมีอำนาจเลือกนายกฯ

“พวกเราไม่สามารถไว้ใจและรับรองร่างรัฐธรรมนูญนี้ได้ ดังนั้น 7 ส.ค.นี้เราจะไปโหวตโน”

จำนงค์ หนูพันธ์ ตัวแทนเครือข่ายสลัม 4 ภาค กล่าวว่า เมื่อเกิดรัฐประหารสลัมสี่ภาคไม่ยอมรับมาตลอด เมื่อมาเจอเรื่องร่างรัฐธรรมนูญก็มีปัญหาหลายเรื่อง สิทธิชุมชน ซึ่งเป็นสิทธิขึ้นพื้นฐานเราก็ไม่มี เราจึงต้องออกมาแสดงจุดยืนว่า ร่างรรัฐธรรมนูญไม่ชัดเจน คลุมเครือทุกอย่าง และเรื่องของพรรคการเมืองก็ปิดกั้นทุกอย่าง แล้วยังมาวางยุทธศาสตร์ยาวให้ประเทศชาติอีก เราจึงขอแสดงจุดยืนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ และขอแถลงว่า คนสลัมรู้ทันร่างรัฐธรรมนูญมีชัย ลดอำนาจประชาชน ลดความสำคัญของการเลือกตั้ง ขอแถลงท่าทีว่า 1. เห็นว่ากระบวนการก่อนลงประชามติ รัฐไม่มีความจริงใจให้ประชาชนได้รู้ข้อมูลเนื้อหาอย่างรอบด้าน เนื้อหาที่ไม่เป็นประชาธิปไตยกลับไม่ถูกกล่าวถึง 2.เราเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย การเลือกตั้งทำให้คนทุกคนมีส่วนกำหนดตัวนายกฯ และนโยบายที่ประชาชนต้องการ

แววรินทร์ บัวเงิน ตัวแทนเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ประเทศไทย
เธอกล่าวว่า ทรัพยากรเป็นของประชาชนทุกคน ในยุคเผด็จการคสช. เราเฝ้าติดตามดูสถานการณ์บ้านเมือง ทั้งปัญหาสัมปทาน สำรวจการทำเหมืองแร่ในพื้นที่ต่างๆ และการละเมิดสิทธิของประชาชน รัฐบาลคสช. ขอเสนอประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1.ออกกฎหมายปิดกั้นการชุมนุม เหยียบย่ำสิทธิเสรีภาพของประชาชน เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่รัฐร่วมมือกับนักลงทุนปกป้องผลประโยชน์ของกันและกัน มาร่วมขุ่มขู่ บังคับ และฟ้องคดีประชาชน 2. สนช.ตั้ง กมธ.วิสามัญพิจารณาแก้ไขกฎหมายแร่ฉบับใหม่ โดยให้กันเขตเหมืองแร่ออกจากพื้นที่หวงห้าม เพราะที่ผ่านมากฎหมายไม่อนุญาตให้บริษัทมีสิทธิในที่ดินของตนเอง ทำให้ต้องขออนุญาตสัมปทาน ยุ่งยากเดินเรื่องหลายขั้นตอน เกิดความล่าช้า อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในไทยเข้าสู่ทางตีบตันพอสมควรในการสัมปทานพื้นที่ใหม่ ที่ผ่านมาตลอดร้อยปีก็ต่อสู้กันเรื่องนี้ จนสบโอกาสในรัฐบาลคสช. ที่เห็นโอกาสว่า mining zone ก็ไม่ต่างจากเขตเศรษฐกิจพิเสษและมีการปรับปรุงพ.ร.บ.แร่ทั้งฉบับ ผลเสียที่จะเกิดขึ้นคือ หลักการของไมนิ่งโซนกดทับกฎหมายหลักหลายฉบับ ทำให้พื้นที่ทุกประเทศที่ไม่เหมาะกับกิจกรรมเหมืองแร่ถูกทำลายจนเสื่อมโทรม 3.ไม่ว่าระบอบประชาธิปไตยจะดีพอหรือไม่ก็ตาม แต่เราต้องการให้การออกกฎหมายต่างๆ มีความยึดโยงกับประชาชนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งผ่านการได้ตัวแทนที่ยึดโยงกับเสียงประชาชนเท่านั้น ซึ่งส.ว.แต่งตั้งไม่ได้สะท้อนหรือยึด

“เราจะผลักดันให้ยกเลิกเพิกถอน พรบ.ชุมนุม ไม่ขอรับร่างกฎหมายแร่ ที่กำลังพิจารณาอยู่ในขณะนี้”

“เราไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จะลงประชามติ โดยการไปใช้สิทธิออกเสียงโหวตโน, ไม่เห็นด้วยกับคำถามพ่างร่างรัฐธรรมนูญ ด้วยการออกเสียง “ไม่เห็นด้วย” กับคำถามพ่วง”

พฤ โอ่โดเชา ตัวแทนเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือและกลุ่มกระเหรี่ยงภาคเหนือ กล่าวถึงปัญหาของประชาชนชาวกระเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในป่ามายาวนานจนเกิดกฎหมายป่าไม้ที่ต้องการจะขายไม้ในช่วงแรกและให้สัมปทานนายทุน จากนั้นก็เข้าสู่ยุคอนุรักษ์ประกาศกฎหมายอีกมากมายที่ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์เดือดร้อน จนกระทั่งนโยบายทวงคืนผืนป่า หลายหมู่บ้านติดคุกติดตะรางกันทั้งหมู่บ้าน ต่อมามีรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เอื้อให้กับสิทธิชุมชน รัฐธรรมนูญปี 2550 ก็ยังพอใช้ได้

“เขาบอกวันที่ 7 สิงหา ฮะ!! อะไร เข้าพรรษาเหรอ วันเตะฟุตบอลเทศบาลเหรอ จนลงมากรุงเทพฯ มาเอาร่างรัฐธรรมนูญ ก็อ่านไม่รู้เรื่อง ก็คุยกับนักวิชาการ เรื่องของพวกผมอยู่ในมาตรา 70 หมวดแนวนโยบาย คำว่าแนวคือทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ อยากให้ไปอยู่หมวดหน้าที่ของรัฐ และขอให้แก้ไขเนื้อหาในมาตรา 70  เป็นรัฐต้องส่งเสริมและให้ความคุ้มครองชาวไทยกลุ่มชนพื้นเมือง ชาติพันธุ์ต่างๆ และขอตัดทิ้ง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ถามว่าใครเป็นคนตัดสิน หรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ หรือสุขภาวะอนามัย เขาทำเป็นยื่นให้นิดหน่อยแต่เอาชีวิตผมไปหมดเลย และเรื่องที่สาม เรื่องสิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ทั้งนี้ เป็นไปตามที่รัฐจะให้หรือไม่ เราควรมีสิทธิ สิทธิเป็นของผมอยู่แล้วไม่ใช่รัฐจะให้หรือไม่ให้”

“ตอนนี้คนดอยไม่รู้ คนดอยชอบคิดว่า เอาไปซะ ให้เขาไปๆ ซะ แต่หารู้ไม่เขาจะได้อยู่ต่อยาว” พฤกล่าว

กรรณิการ์ กิจติเวชกุล จากเอฟทีเอวอทช์ กล่าวว่า ในมาตรา 178 กมธ.ได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาจากมาตรา 190 เดิม (เรื่องการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ) ซึ่งมองว่ากระทบหลักสำคัญ กัดกร่อนหลักธรรมาภิบาล ตัดส่วนที่กำหนดให้ ครม.ชี้แจงให้ข้อมูลตั้งแต่จัดทำกรอบเจรจา, ทำลายการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ ตัดที่ ครม.ต้องเสนอกรอบให้ความเห็นชอบ, กมธ.ยังกำหนดว่าถ้ารัฐสภาพิจารณาไม่เสร็จใน 60 วันให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบ, สาม ลดอำนาจการต่อรองของฝ่ายบริหารเอง ตัดการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการเจรจา ทำให้ฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจต่อรอง, สี่ จำกัดประชาธิปไตยในเชิงเนื้อหา ตัดเนื้อหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งที่จะช่วยทำให้การทำข้อตกลงมีความรอบคอบ ดังนั้น ตนเองจึงไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้และพร้อมเข้าร่วมเวทีถกแถลงถกเถียงเรื่องนี้อันเป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย

อุบล อยู่หว้า ตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก กล่าวว่า จะโหวตไม่เห็นชอบ เพราะสิทธิเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครองและปฏิบัติในทันที ไม่ใช่สิ่งที่รัฐจะหยิบยื่นให้ เอาสิทธิจำนวนมากไปเขียนในแนวนโยบายแห่งรัฐ “สิทธิมีได้ตามวิธีการและกฎหมายบัญญัติ” เครือข่ายขอเรียกร้องให้ประชาชนที่ทำกินกับการเพาะปลูกต้องได้รับสิทธิที่จะมีที่ดินทำกิน ประเด็นนี้เราทำไม่สำเร็จ เช่น กรณี สปก. ที่ห้ามซื้อขายแต่ก็ยังทำกันทั้งแผ่นดิน ทำให้เห็นว่าต้องมีหลักประกันในระดับรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่สอง สิทธิการถือครองปัจจัยการผลิต เราล่อแหลมว่าจะมีกฎหมายละเมิดต่อวัฒนธรรมชุมชน สิทธิเกษตรกรและสิทธิชุมชนต้องไปด้วยกัน
อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ตัวแทนเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญนี้ยังมีส่วนประกอบอื่นที่ทำงานร่วมกับตัวรัฐธรรมนูญนี้ สิ่งที่เรากลัว คลางแคลงใจในตัวร่างรัฐธรรมนูญ จริงๆ ทำงานมาก่อนแล้ว มีสิ่งเหล่านั้นอยู่แล้ว มีอะไรมาข้องเกี่ยวอยู่บ้าง ถ้าดูร่างมาตราสุดท้าย 279 บอกว่า ประกาศ คำสั่งใดๆ ที่ประกาศใช้มาของ คสช.เองหรือ หัวหน้า คสช. ให้ใช้ต่อไปและมีความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ถ้าจะแก้ไขต้องออก พ.ร.บ. เข้าใจว่า ขณะนี้คำสั่งและประกาศต่างๆ น่าจะมีเกือบสามร้อยฉบับแล้ว

ยกตัวอย่างตั้งแต่รัฐประหารมีคำสั่งหลายอันที่ควบคุมอินเทอร์เน็ต สุดท้ายเกิด คณะกรรมการติดตามสื่อสังคมออนไลน์ ทำงานร่วมกับไอซีที ตั้งคณะทำงานอีกชุด เข้าไปถอดรหัส สิ่งที่เราส่งส่วนตัว เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ เขาสามารถดูได้ คณะกรรมการต่างๆ เหล่านี้ก็จะมีอายุต่อไปอีก ตราบใดที่ประกาศนี้ยังชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ไม่มีการออก พ.ร.บ.ออกมาแก้ไข
มาตรา 60  เรื่องคลื่นความถี่ เดิมในรัฐธรรมนูญ 2550  อยู่ในหมวดสิทธิเสรีภาพ มาตรา 47 มีความเชื่อมโยงว่าประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เราจำเป็นต้องมีคลื่นความถี่ของตัวเอง ดังนั้น จึงมีการบริหารคลื่นความถี่ไว้ในหมวดนี้ แต่ร่างนี้ ปรับเปลี่ยนหมวด จากสิทธิเสรีภาพ ไปหมวดหน้าที่ของรัฐ และเปลี่ยนสาระสำคัญคือ สิ่งที่หายไป มีการตัดคำว่า ตัวองค์กรบริหารคลื่นความถี่ ต้องจัดให้มีการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม นอกจากนี้ เดิมในมาตรา 47 กำหนดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ ก็หายไปเหมือนกัน สุดท้ายที่หายคือ ในการจัดกิจการสื่อสารมวลชนต่างๆ ตัวองค์กรจะต้องปกป้องไม่ให้มีการขัดขวางเสรีภาพหรือปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายของประชาชน แต่มาตรา 60 ใช้คำว่า การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องของประชาชน ต่อไป กสทช.ก็มีอำนาจที่จะตัดสินว่า ข้อมูลแบบไหนถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง

กนกพร สบายใจ ตัวแทนเครือข่ายการศึกษาทางเลือก กล่าวว่า เรื่องการศึกษาทางเลือกได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 แต่ร่างนี้ตัดทิ้งไป โดยที่เราไม่เข้าใจทั้งที่มันเป็นหลักสิทธิมนุษยชนสากล ในกฎหมายใหญ่ควรเขียนเรื่องหลักการที่จะให้ประชาชนมีเสรีภาพในการเลือกการศึกษาและหลักการที่จะได้รับการสนับสนุนสวัสดิการที่ถ้วนหน้าที่รัฐจัดให้ ยังมีปัญหารวมศูนย์จัดการศึกษาไว้ทุกด้านทุกระบบไว้ที่รัฐ สิ่งที่ควรทำคือ ควรร่างให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก, สิทธิมนุษยชน, เศรษฐกิจและวัฒนธรรม เป็นกลไกหลักของสากล ที่ระบุเรื่องการศึกษาไว้ชัดเจน ทั้งนี้ มีข้อเสนอ คือ หนึ่ง การจัดการศึกษาเป็นสิทธิและหน้าที่ของปวงชนชาวไทยได้ สอง รัฐส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับจัดการศึกษาได้ สาม เด็กและผู้เยาว์ควรได้รับสิทธิในการไม่เลือกปฏิบัติ สี่ รัฐธรรมนูญควรบัญญัติสาระหลักตามกติกาสากลที่ไทยเป็นภาคี โดยเฉพาะการส่งเสริมสิทธิต่างๆ เขียนหลักการไว้อย่างชัดแจ้ง และไม่เปิดช่องให้กฎหมายลูกบัญญัติบิดพริ้วไปจากหลักสากล

สุรพล สงฆ์รักษ์ ตัวแทนสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) กล่าวว่า หลังรัฐประหารมีการปิดกั้นคุกคามสิทธิเสรีภาพประชาชนในวงกว้าง คำสั่งเรื่อง สปก. จริงๆ แล้วพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นของเกษตรกร รวมแล้วไม่น้อยกว่าพันครอบครัว ออกโดยมาตรา 44 สื่ออาจเห็นว่าเป็นเรื่องไล่นายทุน แต่ในพื้นที่สุราษฎร์นั้นไม่ใช่ การขับไล่คนจนออกจากพื้นที่ที่เคยอยู่และทำกิน จะทำให้คนเหล่านี้เป็นแรงงานเร่ร่อนรับจ้าง จึงขอประกาศจุดยืน 1. ร่างนี้ลดทอนทำลายหลักฐานพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย 2.ร่างนี้ทำให้พื้นที่ทางการเมืองถูกครอบงำโดยชนชั้นนำ ลดทอนจนประชาชนไม่เหลือพื้นที่มีส่วนร่วมในทางการเมือง 3.ระบอบราชการจะเป็นใหญ่ ขาดการตรวจสอบถ่วงดุลจากฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งเพราะถูกควบคุมจากองค์กรอิสระที่มาจากการแต่งตั้ง 4.การเข้าถึงทรัพยากรสาธารณะจะถูกปิดกั้น 5. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอื่นๆ จะถูกผูกขาดโดยชนชั้นนำ  6. ไม่มีการรับรองสิทธิเกษตรกรและไม่คุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม พร้อมขอเรียกร้องเร่งด่วนให้ยุติการใช้คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 36/2559 ต้องการให้กองทัพหรือทหารหยุดแทรกแซงการทำงานของระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย สกต.ขอประกาศต่อสาธารณะว่าไม่สามารถรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้
สุภาพร มาลัยลอย ตัวแทนเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรา 44 และประกาศคำสั่งหัวหน้า คสช.กล่าวว่า มีหลายคำสั่งกระทบต่อประชาชน เช่น คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยฯ ข้อ12 ห้ามมั่วสุม 5 คนขึ้นไปและใช้ศาลทหารพิจารณาคดี (ประกาศ คสช. ที่ 37/2557) เป็นคำสั่งที่ไม่จำเป็น และยังบังคับใช้อย่างกว้างขวาง ละเมิดสิทธิประชาชนโดยง่าย

อีกทั้งร่างรัฐธรรมนูญกำหนดบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของ หัวหน้าและ คสช. และการออกประกาศคำสั่ง บทเฉพาะกาล มาตรา 265 มีผลให้ คสช.ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมี ครม.หลังการเลือกตั้ง และมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว หมายความว่า คสช.ยังมีอำนาจพิเศษตามมาตรา 44 จนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ และมาตรา 279 ให้ประกาศ คำสั่ง ที่ใช้บังคับอยู่ หรือจะประกาศ ให้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การจะยกเลิกต้องออกพ.ร.บ. ดังนั้น บทเฉพาะกาลสองมาตรานี้ รับรองความชอบธรรมของประกาศคำสั่งของ คสช. และยินยอมให้มีอำนาจออกคำสั่งต่อไปทั้งที่จะกระทบกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นการสร้างวัฒนธรรมที่ไม่ถูกต้องในการยกเว้นการรับผิดของผู้ใช้อำนาจ เครือข่ายจึงเห็นว่า แค่สองมาตรานี้ก็ไม่สามารถรับร่างนี้ได้แล้ว
ตูแวนียา ตูแวแมแง เครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ (Permatamas) กล่าวว่า จุดยืนของเครือข่ายคือ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ สันติภาพ ของประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ การยึดอำนาจนำมาสู่การละเมิดสิทธิจำนวนมากโดยเฉพาะสิทธิทางการเมือง พบว่าร่างนี้ขัดหลักประชาธิปไตย ไม่เคารพเสียงทางการเมืองของประชาชน ไม่เคารพสิทธิชุมชน และรองรับคำสั่ง คสช. เช่น การยกเว้นการใช้กฎหมายผังเมือง การลดขั้นตอนทำอีไอเอ

นอกจากนี้ ร่างนี้ยังส่งเสริมการเผยแพร่พุทธศาสนาเถรวาท ไม่รองรับศาสนาอื่นและพุทธนิกายอื่นๆ อาจนำสู่การละเมิดสิทธิของคนนับถือศาสนาอื่น รวมถึงมีการลดทอนอำนาจทางการเมืองท้องถิ่น ให้ผู้บริหารท้องถิ่นไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง ปิดกั้นเรื่องจังหวัดจัดการตนเอง ตรงนี้อาจทำให้การก่อเหตุในพื้นที่รุนแรงขึ้น ทั้งยังสร้างเงื่อนไขบังคับใช้กฎหมายในนามความมั่นคง แทบไม่หลงเหลือกระบวนการเสรีภาพ อาจรุนแรงหนักกว่าเดิม และขอเรียกร้องให้ คสช.ยุติบทบาทและเปิดให้ประชาชนเลือกตั้ง สสร. และนำรัฐธรรมนูญ 2540 มาใช้เพื่อเปิดให้เกิดการเลือกตั้ง
ขดดารี บินเส็น ตัวแทนภาคีเครือข่ายด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมแดนใต้ กล่าวว่า ร่างนี้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวที่กำลังทำให้คนทั้งประเทศได้รับการศึกษาน้อยลง และทำให้คนสามจังหวัดแตกแยกครั้งใหญ่ในอนาคต เนื่องจากมาตรา 54 ที่ระบุว่ารัฐต้องจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล นอกจากนี้ ยังมีท่อนหนึ่งบอกว่าทุกคนต้องมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่ “ต้องไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ” นี่เป็นครั้งแรกที่มีการเขียนเช่นนี้ ฉบับอื่นบอกว่า รัฐต้องส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนต่างศาสนา แปลว่าอะไร ถ้าพี่น้องผมจะรวมตัวกันละหมาดที่มัสยิด ถ้ามีคนพูดว่าเป็นภัยต่อรัฐ จะทำอย่างไร มาตรา 67 รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพุทธศาสนาและศาสนาอื่น แต่ในเรื่องการศึกษาศาสนา ไม่ระบุถึงศาสนาอื่น นอกจากเรื่องเนื้อหาแล้ว เขามองว่า ที่มาของรัฐธรรมนูญไม่ชอบธรรม การฉีกรัฐธรรมนูญที่ดีแล้วเอารัฐธรรมนูญร้ายมาให้ เป็นเรื่องรับไม่ได้ พร้อมชี้ว่ารัฐธรรมนูญต้องไม่เขียนเพื่อประโยชน์ทับซ้อนของตัวเอง เช่น กรณีเขียนให้ ส.ว.มาจาก คสช. และอยู่ในตำแหน่งหลายปี สุดท้าย ย้ำว่า การออกเสียงประชามติต้องเป็นไปอย่างมีเสรีภาพและเป็นธรรม

นักวิชาการอัดร่างรธน.ฉบับ"มีชัย"แย่สุด

นักวิชาการอัดร่างรธน.ฉบับ"มีชัย"แย่สุด ซัดเขียนตามแนวคิดผู้มีอำนาจไม่เคยประสบผลสำเร็จ แนะรัฐธรรมนูญไทยควรมีเนื้อหาสั้น "วรเจตน์"ชี้ถ้าร่างไม่ผ่าน กระทบความชอบธรรมของคสช.
อาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม 2559 เวลา 16.55 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 24 ก.ค. เวลา 13.00 น. ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์  ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ รวมกับเครือข่าย 43 องค์กร จัดกิจกรรม "ใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญ กำหนดอนาคตประชาชน" โดยบรรยากาศบริเวณรอบหอประชุมและลานประติมากรรม 6 ตุลา จัดนิทรรศการ "กำแพงร่างรัฐธรรมนูญ" และภาพวาดล้อเลียนสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ รวมทั้งมีการจำหน่ายเสื้อด้วย ส่วนในหอประชุมฯ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ชูแผ่นพับ “7 เหตุผลคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ" และแสดงสัญลักษณ์กากบาท  ขณะเดียวกัน 12 เครือข่ายภาคประชาชน แถลงจุดยืนต่อร่างรัฐธรรมนูญโดยชี้แจงเหตุผล อาทิ ที่มาของ ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ในช่วงก่อนทำประชามติประชาชนได้รับข้อมูลจากตัวแทนของภาครัฐข้างเดียว


จากนั้น เวลา 15.10 น. นายอัษฎางค์ ปาณิกบุตร นักวิชาการอิสระ กล่าวในเวทีสนทนา “ถกร่างรัฐธรรมนูญ” ว่า รัฐธรรมนูญ 19 ฉบับที่ผ่านมา นำเนื้อหาจากประเทศต่างๆมาใส่ การร่างรัฐธรรมนูญตามแนวคิดของคนที่มีอำนาจทางการเมืองไม่เคยประสบความสำเร็จ เพราะคนไทยควรศึกษาจุดอ่อนของประเทศ และถามแนวคิดจากภาคส่วนต่างๆก่อน ทั้งนี้ บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญของไทยควรสั้นเป็นหลักการ ไม่มีรายละเอียด ไม่ควรเกิน 90 มาตรา  ส่วนรายละเอียดควรใส่ไว้ในพระราชบัญญัติประกอบร่างรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญปัจจุบันแก้แทบไม่ได้และเป็นรัฐธรรมนูญที่แย่กว่าทุกฉบับที่ผ่านมา โดยเฉพาะการให้อำนาจองค์กรอิสระ ไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง ผิดหลักประชาธิปไตยที่สุด หากพูดถึงผู้แทนราษฎร ตนไม่อยากพูดว่าประเทศนี้ดูถูกประชาชนมากที่สุด การศึกษาแบบเสมอภาคไม่มี หมวดสิทธิเสรีภาพที่อ้างถึงก็อยากให้ดูถึงการปฏิบัติ ขณะที่พลังประชาชนถูกทำลายโดยสิ้นเชิง ทั้งที่อำนาจอธิปไตยเป็นเรื่องใหญ่ ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการร่าง อาจจะใช้คนไม่มาก แต่ต้องฟังจากทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติแล้วผู้นำยังดึงดันที่จะอยู่ ตนเชื่อว่าอาจเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬขึ้นอีก.

ขณะที่นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ กล่าวปาฐกถาตอนหนึ่งว่า  การรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความชอบธรรมของ คสช. ถ้าร่างรัฐธรรมนูญผ่านการออกเสียงประชามติ ความชอบธรรมของ คสช.จะมากขึ้น เพราะถูกรับรองด้วยเสียงประชามติของประชาชน แต่ถ้าไม่ผ่าน ความชอบธรรมของ คสช.จะไม่เหมือนเดิม แม้คสช.จะบอกว่าไม่ได้เป็นผู้ร่าง แต่เป็นผู้กำหนดตัวบุคคลยกร่าง

จากนั้น นายปิยบุตร แสงกนกกุล  อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ กล่าวว่า การลงประชามติเป็นช่องทางที่แสดงให้เห็นว่าเราไม่เอารัฐประหาร ไม่เอาคสช.  ถ้าผลคะแนนโหวตโนมีจำนวมากกว่า คสช.ต้องยุติ และออกจากกระบวนการการทำรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งมีทางออกสวยๆคือออกไปด้วยตัวเองแล้วเปิดโอกาสให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง สร้างสภาร่างรัฐธรรมนูญ.... อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/politics/511107

อภิสิทธิ์ จ่อประกาศจุดยืน 27ก.ค.นี้รู้แน่ รับหรือไม่รับ ยันแค่ส่วนตัวไม่ใช่จุดยืนพรรค

‘อภิสิทธิ์’ลั่น27ก.ค.รู้จุดยืนพรรคประชาธิปัตย์”รับ-ไม่รับร่างฯ”ชี้ไม่ใช่มติพรรค เพราะคสช.ห้ามประชุม ย้ำลูกพรรคมีสิทธิแสดงจุดยืนเองได้
วันนี้ (25) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า วันที่27ก.ค.นี้ จะแถลงจุดยืนที่ชัดเจนในนามหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ต่อการลงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ใช่มติของพรรค เพราะมีคำสั่งคสช.ที่ห้ามทำการประชุม โดยจุดยืนที่ออกมาได้พูดคุยกับผู้ใหญ่ในพรรคแล้วจึงไม่หนักใจ เพราะทุกคนยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง และสมาชิกทุกคนมีสิทธิที่จะตัดสินใจด้วยตัวเอง ไม่มีใครปิดกั้นใคร แต่เชื่อว่าทุกคนจะรอดูท่าทีของตัวเองก่อน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนตัววันนี้มองข้ามการทำประชามติและร่างรัฐธรรมนูญไปถึงอนาคตของประเทศแล้ว เพราะปัญหาประเทศไม่ใช่แค่เรื่องการเมือง แต่มีอีกหลายปัญหาที่สำคัญ เช่น ปัญหาการศึกษา ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนการปฏิรูปประเทศ และการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ที่เป็นโจทย์สำคัญให้ต้องแก้ไข โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ซึ่งหากทุกคนมองปัญหาร่วมกันก็คงเป็นเรื่องง่ายที่จะประสบความสำเร็จ

แฉพฤติกรรมแก๊งมิจฉาชีพ “นักสัมมนา” กินฟรี – ขโมยอาหารกลับบ้าน – ล่าของที่ระลึก

ถ้าใครที่ได้อ่านหนังสือ“สดุดี (คนอื่น)” ของม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ตอนหนึ่งที่เขียนเรื่องประชุมผู้ถือหุ้น ได้กล่าวถึงปรากฏการณ์ที่แปลกมากว่า”มีคนซื้อหุ้น 100 หุ้นกันเต็มไปหมด ผมเองก็ซื้อหุ้น 100 หุ้นในบริษัทที่ผมสนใจ 10-20 บริษัทแล้วพยายามไปประชุม เพราะนึกว่าคนอื่นก็ทำอย่างนั้น แต่สงสัยเข้าใจผิด…มีหลายบริษัททำพลาดไป ตั้งใจเอาใจผู้ถือหุ้น เลี้ยงข้าวเลี้ยงอาหารอย่างดี แจกของชำร่วย… มีทานข้าวเช้า ถึงเวลาก็เชิญเข้าห้องประชุม ก็ไม่เข้ารอข้างนอก 2-3 ชั่วโมงก็ประชุมเสร็จ บริษัทมีแจกคูปองกินอาหารบุฟเฟ่ต์กลางวันอย่างจริงจังฟรีอีกด้วย ผู้ถือหุ้นเหล่านั้นไปนั่งกินกันเต็มห้องอาหาร จะว่าไปเขามาหาข้าวกินเฉยๆ… ผมลองคิดเล่นๆว่าถ้าปีหน้ามีคน 50,000 คน ซื้อคนละหุ้นแล้วมากินข้าว อยากรู้จริงๆว่าบริษัทจะทำอย่างไร…”
ปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่มีแต่การประชุมผู้ถือหุ้นเท่านั้น ในช่วงที่ผ่านมาสำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ได้จัดงานสัมมนา โดยเปิดให้ผู้สนใจเข้าฟังฟรี เพื่อให้ผู้สนใจได้รับทราบข้อมูลข้อเท็จจริงในประเด็นต่างๆ ตามหัวข้อเสวนา ล่าสุดทางทีมงานได้รับแจ้งจากกลุ่มป้องกันนักสัมมนา (ตัวปลอม) เข้าร่วมงานสัมมนา โดยให้ข้อมูลพฤติกรรมพร้อมรายละเอียดทั้งชื่อและภาพ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้จัดงานงานสัมมนาได้ระมัดระวังป้องกันกลุ่มมิจฉาชีพกลุ่มนี้
สำหรับข้อมูลได้จากการรวบรวมประสบการณ์ตรงของผู้จัดงานหลายราย เจ้าหน้าที่โรงแรม และจากอดีตนักสัมมนาผู้กลับใจหลายราย โดยข้อมูลตามรายงานของกลุ่มที่ติดตามพฤติกรรมกลุ่มมิจฉาชีพนักสัมมนานี้ได้ระบุว่า ตามโรงแรมฯ ศูนย์ประชุมฯ หรือสถานที่จัดงานต่างๆ เมื่อมีการจัดงานสัมมนา งานเสวนา งานประชุมวิชาการ งานแถลงข่าว การฝึกอบรม ฯลฯ มักจะมีนักสัมมนาจำนวนมากแอบอ้าง เช่น เป็นผู้บริหาร ผู้จัดการ พนักงาน เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการ ที่ปรึกษา ผู้สื่อข่าว เป็นต้น ของบริษัทที่ตั้งชื่อขึ้นเอง ไม่มีตัวตน หรือถ้ามีตัวตนก็ไม่ได้เป็นพนักงานจริง หรือใช้เล่ห์กลทุกอย่างในการเข้ามาในงาน เพื่อเอาของที่ระลึก ถล่มกินของว่าง และถล่มกินอาหารกลางวันฟรี
“พฤติกรรมของคนกลุ่มนี้บางคนก็จะตักอาหารมาตุนมากๆ แล้วเลือกมุมที่นั่ง และหาจังหวะที่เหมาะสม แอบเทใส่ถุงที่ซ่อนอยู่ในกระเป๋าชนิดดูไม่ทัน เอากลับไปกินต่อที่บ้านและฝากคนที่บ้านอย่างมืออาชีพ ทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาตัวจริงอาหารไม่พอทาน จนผู้จัดงานและทางโรงแรมโดนตำหนิ ซึ่งนักสัมมนาคนอื่นเมื่อเห็นว่าทำแล้วปลอดภัย ไม่ถูกลงโทษ ไม่ถูกปรับ ก็จะทำบ้าง เพียงแค่อาศัยจังหวะ มุมที่นั่ง ความไว เวลาที่พนักงานเผลอไม่ทันเห็น บางครั้งถึงพนักงานจะเห็น ก็ไม่กล้าดำเนินการอะไร ได้เพียงแต่บอกให้เพื่อนพนักงานรับทราบเท่านั้น”
“บางคนตักอาหารมาตุนมากๆ เพื่อหาจังหวะในการเทใส่ถุง แต่ถ้าพนักงานจำหน้าได้ หรือเห็นผิดสังเกตแล้วมายืนจับตามองอยู่ใกล้ๆ ก็จะไม่กล้าเท พวกนี้ sense ไวมาก แต่บางคนก็ไม่สนใจ เพราะถึงเห็นก็ไม่กล้าทำอะไร สุดท้ายเมื่อกินอิ่มแล้วก็จะทิ้งผลงานเป็นอาหารที่ตุนไว้มากๆ บนโต๊ะอาหารให้ดูต่างหน้าเพราะกินไม่หมด เหล่านี้เป็นการสร้างความเสียหายให้กับผู้จัดงานและทางโรงแรม หรือเจ้าของสถานที่ เป็นอย่างมาก แต่บางคนจะไม่ใช้วิธีในการตักอาหารมาตุนมากๆ เพราะอาจโดนพนักงานจับตามอง จะใช้วิธีตักอาหารมาพอควร แล้วหาจังหวะเทใส่ถุง แล้วจะเดินตักอาหารใหม่อีก จะทำเช่นนี้ซ้ำๆ หลายๆ รอบ”
กลุ่มที่ติดตามพฤติกรรมกลุ่มมิจฉาชีพนี้ได้ระบุต่อว่า “งานไหน หากมีนักสัมมนาเข้ามามั่วเป็นจำนวนมาก ตอนปล่อยพักทานอาหารกลางวัน หรือพักเบรกช่วงเช้า จะสังเกตเห็นเหล่านักสัมมนาเดินอย่างเร่งรีบเรียงแถวเข้ามาตักอาหารเป็นกลุ่มแรก โดยจะแข่งกันจ้วงตักอาหารที่แพงๆ ดีๆ มาตุนกันมากๆ จนผู้เข้าสัมมนาตัวจริงที่เข้าแถวมาทีหลังไม่ได้กิน เหลือแต่อาหารที่ไม่ค่อยมีคนกิน หรือไม่อร่อย ปรากฎการณ์นี้นักสัมมนาบางคนที่ตักไม่ทันจะโกรธมาก และบ่นว่าเป็นปรากฎการณ์ แร้งลง”
นอกจากนี้ นักสัมมนาบางคน ถ้างานไหนเป็นงานครึ่งวันเช้าและกำหนดการไม่ได้ลงอาหารกลางวันไว้ ก็จะทำตัวเป็นกองหน้า เข้าไปลงทะเบียนเพื่อเอาของที่ระลึกก่อน แล้วรีบดูกำหนดในเอกสารที่แจก หากมีอาหารกลางวัน หรือมีการแจกคูปองอาหารกลางวัน ก็จะรีบโทรตามเพื่อนนักสัมมนามาสมทบอีกจำนวนมาก เพื่อกินอาหารกลางวันฟรี บางคนเวลาเบรค ชาซอง ครีมเทียมซอง น้ำตาลซอง ก็ไม่เว้น กวาดมือไปแต่ละครั้งจะรวบมาหลายๆ ซอง ถ้าเป็นชาซองจะชอบมาก เพราะราคาสูง แล้วเก็บใส่กระเป๋าเสื้อแจ็คเก็ต หรือกระเป๋ากางเกงดุจนักมายากล รวมทั้งกระดาษทิชชู (อย่างดี) ก็เก็บไปด้วย
นักสัมมนาบางคนเห็นของที่ละลึกที่แจกมีค่า เช่น กระเป๋าเอกสาร เสื้อยืด สมุดโน้ต แฟลชไดรฟ์ แก้วน้ำ กระติกน้ำ กระเป๋าผ้า ถุงผ้า เป็นต้น ก็จะเข้ามาวนลงทะเบียนใหม่ เพื่อเอาของที่ระลึกอีก โดยคิดว่าเจ้าหน้าที่ลงทะเบียนคงจำหน้าไม่ได้ หรือไปลงทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ท่านอื่น ถ้ามีหลายคน พร้อมกับโทรตามเรียกคนอื่นมาลงทะเบียนเอาของที่ระลึกด้วย
งานสัมมนาจัดโดยสำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า
งานสัมมนาจัดโดยสำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า
นักสัมมนาบางคนจะสำรองที่นั่งไว้หลายๆ ชื่อ โดยอาจมีชื่อจริง 1 ชื่อ นอกนั้นเป็นชื่อปลอมที่สมมติขึ้น ทำให้ที่นั่งเต็ม เพื่อวนเซ็นเอาของที่ระลึกมากๆ หรือถ้าได้รับเป็นคูปองอาหารหลายใบ ก็จะเอาไว้แจกพรรคพวกที่สำรองที่นั่งไว้ไม่ทัน หรือบางคนจะใช้ชื่อ-นามสกุลจริงในการสมัครลงทะเบียนอย่างน้อย 1 ชื่อ นอกนั้นจะใช้ชื่อ-นามสกุลปลอม เพื่อเผื่อไว้ว่า ในบางงานจะเบิกค่าเดินทางได้ ซึ่งจะเตรียมสำเนาบัตรประชาชนติดตัวไว้พร้อมตลอดเวลา เพื่อประกอบในการเบิก จึงจำเป็นต้องใช้ชื่อ-นามสกุลจริง หรือบางงานจะให้แสดงบัตรประชาชนในการลงทะเบียนด้วย เพื่อป้องกันการใช้ชื่อ-นามสกุลปลอมสมัครลงทะเบียนหลายชื่อ จะเห็นได้ว่า นักสัมมนาเหล่านี้จะมีการเตรียมพร้อมอยู่เสมอ
“บางคนวันไหนเจอหลายๆ งาน ก็จะสำรองที่นั่งไว้ทุกงาน แล้วออกจากบ้านแต่เช้าตรู่ ตระเวนไปทุกๆ ที่เพื่อเอาของที่ระลึก แล้วเลือกกินอาหารกลางวันในที่ที่ดีที่สุด บางกลุ่มวันไหนเจอหลายๆ งานก็จะสำรองที่นั่งไว้ทุกงาน แล้วกระจายกันไปในแต่ละงาน แล้วโทรบอกกันว่างานไหนให้ของที่ระลึกอะไรบ้าง ถ้างานไหนให้ดีก็จะแห่กันไปที่นั่น ถ้าให้ดีหลายๆ ที่ก็จะไปกันหลายๆ ที่ บางงาน หากมีการแจกของที่ระลึกที่มีค่า นักสัมมนาบางคนก็จะแข่งขันทำยอดเอาของที่ระลึก โดยใช้เล่ห์เหลี่ยมต่างๆ สารพัดแล้วเอามาอวดกัน ใครได้ของที่ระลึกมากๆ ก็จะถูกยกย่องว่าเป็นคนเก่ง แต่จะสร้างความเสียหายให้กับผู้จัดงานมาก”
บางคนไม่ได้สำรองที่นั่งไว้ก่อน แต่ทำฟอร์มเป็นมาแจ้งชื่อ เมื่อหาชื่อไม่พบ ก็จะมีข้ออ้าง เช่น ได้ส่งใบสมัครมาแล้ว, ลงทะเบียนออนไลน์แล้ว, คอนเฟิร์มกับเจ้าหน้าที่แล้ว เป็นต้น ผู้จัดงานก็มักจะให้ลงชื่อเพิ่ม เพราะคิดว่าเป็นความผิดพลาดของเครื่องแฟ็กซ์ หรือเช็คเมลที่ส่งมาได้ไม่ทั่วถึง และไหนๆ ก็มาถึงที่แล้ว ซึ่งใจดีแล้วคนพวกนี้ก็จะตอบแทนด้วยความเสียหายตามมาโดยไม่คาดคิด วิธีที่ดีที่สุดคือการปฏิเสธอย่างนิ่มนวลโดยให้เหตุผลว่าเต็มแล้ว ที่นั่งและคูปองอาหารมีจำนวนจำกัด เมื่อถูกปฎิเสธ ก็จะไปหาที่อื่นต่อทันที แต่บางคนก็จะเถียงชนิดหัวชนฝาเพื่อจะเข้างานให้ได้ ด่าจนเจ้าหน้าที่ร้องไห้เลยก็มี ในกรณีนี้ เจ้าหน้าที่ รปภ. จะเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุด
บางคน หากไม่ได้ลงทะเบียนล่วงหน้ามาก่อน จะใช้วิธีเข้างาน หรือเอาของที่ระลึกดีๆ เพิ่ม โดยแกล้งทำเป็นเข้าไปดูรายชื่อ แล้วเซ็นชื่อคนอื่นแทน (ที่ยังไม่มา) จนเมื่อเจ้าของชื่อตัวจริงมาถึง จะเซ็นชื่อเพื่อลงทะเบียน ปรากฏว่ามีนักสัมมนาแอบอ้างเซ็นชื่อแทนให้แล้ว ต้องมีการขีดชื่อที่แอบอ้างเซ็นแทนนั้นทิ้ง แล้วเซ็นชื่อใหม่
บางคนหากวันที่ยังหางานไม่พบ ก็จะทำตัวเป็นหน่วยลาดตระเวน หรือกองหน้า ตระเวนไปตามโรงแรมต่างๆ ที่คิดว่าจะมีจัด โดยจะไปดูที่บอร์ดแจ้งรายชื่องานที่จัดเป็นอันดับแรก แล้ววิเคราะห์ว่างานไหนสามารถมั่วเข้างานได้บ้าง หากพบแล้วและลงทะเบียนหน้างานได้ หรือหาทางมั่วเข้างานได้ ก็จะโทรตามพรรคพวก
กลุ่มที่ติดตามพฤติกรรมกลุ่มมิจฉาชีพนี้ได้ระบุอีกว่า บางคนต้องการเป็นกูรูนักสัมมนา เพื่อให้เหล่านักสัมมนาด้วยกันยกย่องและนับถือ มีการติดตามหางานเองจากทุกๆ สื่อ และคอยถามข้อมูลจากนักสัมมนาด้วยกันว่าไปงานที่ไหนมาบ้าง มีแจกของที่ระลึกอะไรบ้าง หน่วยงานไหนเป็นคนจัด เลี้ยงข้าวดีไหม เจอนักสัมมนาใครบ้าง งานในวันต่อๆ ไปมีที่ไหนบ้าง เพื่อเป็นข้อมูลในเลือกไปงานในวันต่อๆ ไป
บางคนจะแอบมุดเข้าไปในห้องสัมมนาหรือห้องอาหารเลย แล้วแต่สถานการณ์และจังหวะที่เหมาะสม จะทำหน้านิ่งเหมือนคนทั่วไป ไม่สนใจอะไร ทำเนียนมาก โดยมีการประสานงานกับคนที่อยู่ในห้องแล้ว
กลุ่มที่ติดตามพฤติกรรมกลุ่มมิจฉาชีพนี้ได้ระบุต่อว่า “ในงานหนึ่ง ช่วงพักรับประทานอาหารกลางวัน ขณะที่กลุ่มนักสัมมนากำลังตะลุยถล่มกินอาหารกลางวันกันอย่างเต็มที่อยู่นั้น ก็มีนักสัมมนาอีกคนหนึ่งตักอาหารพูนจานเข้ามาร่วมโต๊ะด้วย มีนักสัมมนาคนหนึ่งทำหน้าสงสัยแล้วถามไปว่า เข้ามาได้อย่างไร งานนี้เขามีแจกคูปองสำหรับเข้าห้องอาหารด้วยนะ นักสัมมนาคนที่แอบมุดเข้ามาในห้องอาหารหัวเราะแล้วตอบไปอย่างภาคภูมิใจว่า เป็นแขกวีไอพี ไม่ต้องใช้คูปองหรอก”
หรือตัวอย่างอีกงานหนึ่ง ผู้จัดงานเปิดโอกาสให้ลงทะเบียนหน้างานได้ด้วย ปรากฏว่า เมื่อเวลาผ่านไป มีนักสัมมนาทยอยเข้ามาลงทะเบียนหน้างานอยู่เรื่อยๆ จนเอะใจว่า ทำไมอยู่ดีๆ มีคนสนใจเข้าร่วมงานมากผิดปกติ ทั้งที่แต่งตัวโทรมๆ คนแก่มากๆ ที่ไม่น่าจะเข้าร่วมงานแบบนี้แล้ว กว่าจะรู้ตัวว่าบุคคลเหล่านี้ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของงาน แอบอ้างเข้างานเพื่อหวังประโยชน์อย่างอื่น เช่น กินข้าวกลางวันฟรี กินของว่างฟรี เอาของที่ระลึก เข้ามาสังสรรค์กินข้าวฟรีกันอย่างสนุกสนาน เป็นต้น ซึ่งผู้จัดงานไม่คาดคิดว่า จะมีกลุ่มคนเข้ามาหากินในงานแบบนี้ ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
กลุ่มที่ติดตามพฤติกรรมกลุ่มมิจฉาชีพนี้ได้แนะนำการป้องกันนักสัมมนาตัวปลอมด้วยการใช้เงื่อนไข 3 ประการ คือ 1. การจัดงานครึ่งวันบ่ายโดยไม่มีอาหารกลางวัน 2. แจกเฉพาะเอกสารประกอบงานสัมมนาเท่านั้น ไม่มีของที่ระลึก 3. มีการจัดของว่างเป็นชุดๆ โดยไม่ให้คีบเองเด็ดขาด รวมทั้งให้เจ้าหน้าที่โรงแรม ซึ่งจะเห็นคนพวกนี้บ่อยๆ และได้เห็นพฤติกรรมที่ไม่ดีเป็นประจำ เป็นผู้ช่วยตรวจสอบ
หลายๆ คนในหลายๆ งาน เจ้าหน้าที่จัดงาน หรือเจ้าหน้าที่สถานที่ จำหน้าได้ว่าเป็นนักสัมมนา ไม่ใช่ผู้เข้าสัมมนาตัวจริง ไม่เกี่ยวข้องกับงาน แอบอ้างมาเพื่อถล่มกินฟรี เอาของที่ระลึกฟรี เพราะเห็นบ่อยมาก และมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ก็จะเชิญออกจากห้องประชุม หรือห้องอาหารเลย ซึ่งเป็นสิทธิของผู้จัดหรือเจ้าของสถานที่ ที่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งพวกนี้มักจะไม่เข็ด เว้นไปสักระยะ ให้เรื่องเงียบๆ ไป แล้วค่อยไปใหม่
“พนักงานห้องอาหารซึ่งยืนเก็บคูปองรับประทานอาหารกลางวันอยู่หน้าประตูจำหน้าได้ว่ามากันอีกแล้ว ซึ่งเห็นเกือบทุกวัน จึงพูดขึ้นว่า “มากันได้เกือบทุกวันเลยนะ ไม่มีอะไรทำกันหรือ” แต่พวกนี้ก็ไม่สนใจ”
บางคนทำเป็นหน้าดุ หน้าบึ้ง หน้าเคร่งขรึม เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่หรือเจ้าของสถานที่ที่สงสัยว่าเป็นนักสัมมนาเพราะเห็นหน้าบ่อย หรือเห็นพฤติกรรมที่ไม่ดี ไม่กล้าเข้ามายุ่ง สอบถาม หรือเชิญออกจากงาน ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการเอาตัวรอดอย่างหนึ่ง
บางคนทำเป็นแกล้งจดเลคเชอร์ในขณะฟัง เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือเจ้าของสถานที่ที่สงสัยว่าเป็นนักสัมมนา เปลี่ยนความคิดว่าไม่ใช่นักสัมมนา และไม่กล้าเข้ามายุ่ง ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการเอาตัวรอดอีกอย่างหนึ่ง
บางคนแต่งตัวมอซอออกจากบ้าน เมื่อไปถึงสถานที่จัดงานจะรีบตรงเข้าห้องน้ำทันที เพื่อเปลี่ยนชุดสำหรับเข้างาน เมื่อลงทะเบียนเอาของที่ระลึกและกินอาหารกลางวันเสร็จแล้ว ก่อนกลับ ก็จะตรงเข้าห้องน้ำอีกครั้ง เพื่อเปลี่ยนชุดมอซอเหมือนเดิม แล้วออกจากสถานที่จัดงาน
นักสัมมนาบางคนจะใช้งานสัมมนาเป็นที่สังสรรค์ระหว่างเพื่อนนักสัมมนาด้วยกัน เพื่อพบปะกัน กินข้าวกลางวันกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน และมีนักสัมมนาหลายคนที่เป็นคู่สามีภรรยา ช่วยกันทำมาหากินจากงานสัมมนา ช่วยกันขโมยอาหาร หลอกล่อเอาค่าเดินทาง แยกกันไปลงทะเบียนในแต่ละงาน แล้วโทรบอกให้ไปสมทบในที่ที่ให้ของที่ระลึกดีๆ หรือที่เลี้ยงอาหารกลางวันดีๆ
นักสัมมนาเหล่านี้หางานได้เก่งมาก จากทุกๆ แหล่ง ทั้งจากเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์งานต่างๆ เว็บไซต์ของหน่วยงานผู้จัดงาน เมล์เชิญร่วมงานจากผู้จัดงานที่เคยไปเข้างานในครั้งก่อนๆ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน จนแทบจะรู้เกือบทุกงานที่จะมีการจัดในแต่ละวันแต่ละโรงแรม กลุ่มคนพวกนี้มีระดับการแต่งตัวหลายระดับ ทั้งระดับ ดี พอใช้ แย่ แย่มาก ปะปนกันไป แต่มีระดับพฤติกรรมเพียง 2 ระดับคือ แย่ และแย่มาก
งานเสวนาจัดโดยสำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า
งานเสวนาจัดโดยสำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า
พวกที่ใช้เมลฟรี เช่น hotmail, gmail, yahoo ฯลฯ ในการสมัครเข้าร่วมงาน มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นนักสัมมนา หากถามถึงเมลองค์กรที่ใช้ พวกนี้จะไม่มีให้
กลุ่มที่ติดตามพฤติกรรมกลุ่มมิจฉาชีพกล่าวย้ำว่า นี่คือภัยเงียบที่สร้างปัญหาให้กับผู้จัดงานและฝ่ายเจ้าของสถานที่อย่างไม่คาดคิด จึงขอแจ้งมาเพื่อโปรดมีมาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรัดกุมที่สุด ทั้งกับฝ่ายสถานที่ และผู้จัดงานฯ และทุกงานฯ ที่จะมีจัดในวันต่อๆ ไปในอนาคต อย่างสม่ำเสมอ หากเผลอหรือไม่ทันระวังตัวเมื่อไหร่ พวกนี้ก็จะตามมาสร้างความเสียหายเมื่อนั้นโดยไม่มีที่สิ้นสุด

รายชื่อ “นักล่า” งานสัมมนา

สำหรับรายชื่อนักสัมมนา เช่น
สมเกียรติ์ – คนมีอายุ ร่างสูงใหญ่ ผมขาว ชอบใส่เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว (มอมแมมเล็กน้อย) บางครั้งมีสวมเสื้อแจ๊คเก็ตสีดำทับ กางเกงทำงาน เล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว ชอบขโมยอาหาร ชอบเดินสายเอาของที่ระลึก
นพสิทธิ์ – ชายอ้วน ผมน้อย ชอบใส่เสื้อแบบคาเมลสีเทา กางเกงมีหลายกระเป๋า เล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว ชอบลงทะเบียนหลายชื่อเพื่อเอาของที่ระลึกดีๆ หลายชิ้น ชอบเดินสายเอาของที่ระลึก กินเก่ง หางานเก่งมาก
กรวีร์สรวง – คนมีอายุ หัวล้าน ตาโปนเล็กน้อย ชอบใส่เสื้อเชิ๊ตแขนยาวสีพื้น กางเกงทำงาน ท่าทางเหมือนนักบริหาร ดูดี มักได้เข้างานโดยไม่มีใครสงสัย เล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว กินเก่ง ทำฟอร์มดี หางานเก่งมาก
บุญชัย – คนมีปานที่คอถึงคาง บางครั้งใส่แว่น หน้าดุ ร่างสูงใหญ่ ผมเรียบแปล้ ชอบใส่เสื้อยืด กางเกงยีนส์ รองเท้าแตะ ตักอาหารไม่เกรงใจใคร กินจุมาก คู่หูนายกรวีร์สรวง
กุลวดี – หญิงมีอายุ ไว้ผมสั้นขาวยาวถึงบ่า มักรวบผม ผมค่อนข้างขาว ใส่แว่น รูปร่างท้วม หน้าดุ เป็นภรรยานายสมเกียรติ์ ชอบขโมยอาหาร หางานเก่งมาก
บุรินทร์ – หนุ่มวัยกลางคน ใส่แว่น ไว้จอนค่อนข้างหนา ผมดำ ชอบใส่เสื่อเชิ้ตแขนยาว กางเกงทำงาน ชอบแอบมุดเข้างาน กินจุมาก หางานเก่งมาก
สุวรรณา วัฒนฯ – หญิงวัยกลางคน ตัวเล็ก ตาโปนเล็กน้อย ไว้ผมบ๊อบสั้น ย้อมผมดำ ชอบแอบมุดเข้างาน คอยถามงานกับทุกคน
วิชัย จิรนันท์ฯ – หนุ่มวัยกลางคน สูงผอม ผมสีเลา (ผมขาวปนดำ) ตาโหลเล็กน้อย หางานเก่งมาก
มาลี – หญิงมีอายุ ผมสีเลา (ผมขาวปนดำ) ไว้ผมยาวถักเปียยาวถึงกลางหลัง ชอบใส่ชุดทำงาน ดูดี มักได้เข้างานโดยไม่มีใครสงสัย หน้าดุ กินเก่ง ทำฟอร์มดี
ศรีนวล – หญิงมีอายุ ใส่แว่น ไว้ผมบ๊อบสั้น ย้อมผมดำ ตาโปนเล็กน้อย ชอบใส่ชุดทำงาน กินเก่ง ถามงานกับทุกคน หางานเก่งมาก
พีระพล – มีอายุ ผมน้อย ผมขาวปนเทา รูปร่างสูงใหญ่ ผิวคล้ำ ลักษณะหน้าตา รูปร่าง สีผิว คล้ายนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ชอบใส่เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีพื้น กางเกงทำงาน ท่าทางเหมือนนักบริหาร ดูดี มักได้เข้างานโดยไม่มีใครสงสัย เสียงดัง ชอบแอบอ้างว่าเป็นที่ปรึกษา ใช้นามบัตรปลอม เล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว ทำฟอร์มดี ทำเป็นคุยกับผู้สัมมนาตัวจริงเพื่อกลบเกลื่อนความผิด ชอบหลอกเอาค่าเดินทาง
จันทรา – เป็นภรรยานายพีระพล มีอายุ ผมยาว ย้อมผมดำ รูปร่างผอม ผิวขาว หน้าตาคล้ายตุ๊กตาบาร์บี้ (ตอนแก่) ชอบใส่ชุดทำงาน (สีดำ) ท่าทางเหมือนนักบริหาร เล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว ทำฟอร์มดี ทำเป็นคุยกับผู้เข้าสัมมนาตัวจริงเพื่อกลบความผิด ชอบหลอกเอาค่าเดินทาง หางานเก่งมาก
คู่สามีภรรยา วี กับ ต้อย – วี สามีผิวค่อนข้างคล้ำ ไม่อ้วนไม่ผอม ไม่สูงไม่เตี้ย ยังหนุ่ม ผมดำ หน้าตาดี แต่งตัวดี ชอบใส่เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีทึบ กางเกงทำงาน ลักษณะเหมือนคนทำงาน ทำฟอร์มดี, ต้อย มีอายุมากกว่า ใส่แว่น ไว้ผมบ๊อบสั้น ผมย้อมดำ ผมมัน รูปร่างท้วม ค่อนข้างมีอายุ ใส่ชุดทำงาน ชอบใส่ผ้าปิดปากในห้องสัมมนา
เป็นต้น (และอีกมากมาย)
ทั้งนี้ลักษณะการแต่งตัวเหล่านี้อาจเปลี่ยนไป และมีการใช้ชื่อ-นามสกุลปลอม หากเจ้าตัวได้สืบทราบข้อมูลเหล่านี้แล้ว เพื่อไม่ให้โดนจับได้ว่าเป็นนักสัมมนา

วีระ ไม่เชื่อรธน.ปราบโกงได้ ยก เมืองไทยจับได้หลักฐานชัด ยังสรุปว่าไม่ผิด

เมื่อวันที่ 24 ก.ค. นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน ได้โพสต์ความเห็นลงเฟซบุ๊ก “Veera Somkwamkid” เป็นภาพข่าวการทุจริต ของนาย รอด บลาโกเจวิก ผู้ว่าการรัฐอิลลินอยส์ ที่มีข่าวการทุจริต โดยระบุว่า
จำนักการเมืองอเมริกาคนนี้ได้ไหมครับ ตัวอย่างนักการเมืองอเมริกา ที่ใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งทุจริตคอร์รัปชัน ถูกจับได้ก็ยังปากแข็ง และพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองพ้นผิด ผมได้ตัดข่าวเกี่ยวกับการโกงเช่นนี้ เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลและหลักฐาน ใช้ในการยืนยันว่าการโกง สามารถเกิดขึ้นได้ทุกแห่งในโลก ทุกประเทศมีเหมือนกันหมด จะแตกต่างกันก็คือ บางประเทศมีน้อย บางประเทศมีมาก และวิธีในการจัดการของแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกัน การจริงจังและความจริงใจในการแก้ปัญหาก็แตกต่างกัน
การโกงในอเมริกาหากถูกจับได้รอดยาก เพราะการบังคับใช้กฏหมายทำอย่างจริงจัง ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ที่สำคัญพลเมืองอเมริกัน ไม่ยอมให้ใครมาอยู่เหนือกฏหมาย ประธานาธิบดีหรือพรรคพวกของประธานาธิดี ถ้าถูกจับได้ว่าไปทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง จะถูกตรวจสอบทั้งทางกฏหมาย และทางสังคมอย่างไม่เห็นแก่หน้าใคร ตัวอย่างประธานาธิบดีนิกสัน ที่คนใกล้ชิดไปแอบดักฟังการประชุมของพรรคตรงข้าม ตัวประธานาธิบดียังต้องกระเด็นออกจากตำแหน่ง
แต่ของไทยถูกจับได้ไล่ทัน หลักฐานชัดเจนเห็นกันอยู่อย่างโทนโท่ แต่กลับสรุปว่าไม่ผิด แล้วจะให้เชื่อง่ายๆได้อย่างไรว่า ถ้ารับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกงแล้ว การทุจริตคอร์รัปชันจะเบาบางไปจากสังคมไทย
ตัวอย่างที่ไม่เชื่อว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกงนี้ จะปราบโกงได้จริงคือ ในขณะนี้รัฐบาลเผด็จการ คสช.ถูกกล่าวหาเรื่องทุจริตโกงกินอยู่หลายเรื่องหลายโครงการ แต่ไม่มีใครทำอะไรได้ ในอนาคตก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะมีการนิรโทษกรรมให้กับตัวเองไว้ล่วงหน้า ตามร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 279 หรือใครจะเถียง
counter

ไพศาล ชี้ คนไม่รับร่างฯมีสองพวก คืออยากก่อความรุนแรง กับ ให้รบ.อยู่ต่อยาวๆ

วันที่ 25 กรกฎาคม นายไพศาล พืชมงคล อดีตสมาชิกวุฒิสภาและกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Paisal Puechmongkol ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 1 แสนคน แสดงความเห็นทางการเมืองวิเคราะห์ว่าคนที่ไม่ต้องการให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านมี สองจำพวกคือ 1.พวกที่ต้องการหาเรื่องก่อความรุนแรง เผาบ้านเผาเมือง ชวนต่างชาติมาแทรกแซง และ 2.พวกสนับสนุน คสช ต้องการให้นายกตู่ปฏิรูปให้เสร็จก่อนจะ5ปี-20ปีก็ได้
“ผ่านก็เตรียมเลือกตั้ง ไม่ผ่านก็ร่างใหม่ พวกที่ต้องการไม่ผ่านมีสองพวก 1.พวกที่ต้องการหาเรื่องก่อความรุนแรง เผาบ้านเผาเมือง ชวนต่างชาติมาแทรกแซง 2.พวกสนับสนุน คสช ต้องการให้นายกตู่ปฏิรูปให้เสร็จก่อนจะ 5ปี-20ปี ก็ได้ พวกหาเรื่องจะหาเรื่องทั้ง2ทางคือ ก. ถ้าผ่านก็จะหาว่าโกงแล้วลุกฮือเผาเมือง ข.ถ้าไม่ผ่านก็จะหาเรื่องว่าประชาชนไม่เอา คสช. แล้วจะฮือเผาเมืองขับไล่ดังที่ขู่ฟอดๆว่าจะเป็นแบบตุลาทมิฬ ดังนั้น คสช. รัฐบาล ประชาชน จึงต้องเตรียมรักษาความสงบปลอดภัยอย่างเฉียบขาด” นายไพศาลกล่าว