PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ลูกเหลิม"วัน"นำพวงมาลับขอขมา"ลุงตู่"



นายวัน อยู่บำรุง อดีตผู้สมัคร ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย บุตรชาย ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง อดีตรองนายกรัฐมนตรี เดินทางมายังศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล เพื่อนำพวงมาลัยเข้าขอขมาพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะ คสช.ผ่านนายสมพาศ นิลพันธ์ รองปลัดประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หลังรู้สึกไม่สบายใจ ที่โพสต์ข้อความหยาบคายผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัวตำหนิกล่าวหาคสช.ท่านนายกรัฐมนตรีและคณะทหารหลายประเด็นซึ่งเป็นเรื่องไม่เหมาะสมทำให้นายกรัฐมนตรี คสช.เสียหาย จึงอยากขอโทษต่อการกระทำดังกล่าว เพราะเป็นคนพูดจริงทำจริง และรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเอง ‬‬
‪‪ขณะที่นายวัน ปฏิเสธที่จะเปิดเผยรายละเอียด ในการเข้าพบกับฝ่ายความมั่นคง ที่กองทัพภาคที่ 1 ‬‬
‪‪อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี รับทราบเจตนาที่จะขอขมาแล้ว และเป็นคนบอกให้นายวัน มาขอขมาที่ศูนย์บริการประชาชนและภายหลังนายวันเดินทางกลับ นายสมพาส ได้นำรายละเอียดและพวงมาลัย มารายงานให้พลวิลาศ อรุณศรีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้รับทราบ‬

ช็อก! คาร์บอมบ์ยักษ์ถล่มคาบูลดับเกลื่อน พบแล้ว 80 ศพเขตสถานทูต

ช็อก! คาร์บอมบ์ยักษ์ถล่มคาบูลดับเกลื่อน พบแล้ว 80 ศพเขตสถานทูต

REUTERS /AFP
เอเอฟพีรายงานว่า เมื่อวันที่ 31 พ.ค. เกิดเหตุวางระเบิดอานุภาพสูงในเขตชั้นในของกรุงคาบูล เมืองหลวงของอัฟกานิสถาน เต็มไปด้วยอาคารที่พักและสถานทูตนานาประเทศ แรงระเบิดคร่าชีวิตเหยื่อในบริเวณแล้วกว่า 80 ราย บาดเจ็บอีกราว 350 ราย เศษกระจกจากอาคารต่างๆ กระจายไปทั่วบริเวณ และกระเด็นไปไกลหลายร้อยเมตร เช่นเดียวกับชิ้นส่วนร่างกายมนุษย์
เหตุเกิดขึ้นในช่วงเช้าวันพุธ แรงระเบิดทำให้รถยนต์บนถนนถึงกับสั่นไหวหลายสิบคัน ท่ามกลางความโกลาหล บรรดาผู้คนพยายามจะเข้าไปตามหาญาติและเพื่อนของตนเองอย่างร้อนรน แต่เจ้าหน้าที่ล้อมบริเวณไว้ สถานทูตที่เสียหายจากแรงระเบิดมีทั้งอินเดีย ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมนี
ผู้บาดเจ็บคลานอยู่ที่พื้น / REUTERS
หลังจากช่วงระเบิดผ่านไปแล้ว 1 ช.ม. เจ้าหน้าที่กู้ภัยและพยาบาลยังคงต้องเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บจากบริเวณดังกล่าว เนื่องจากมีจำนวนสูงมาก เจ้าหน้าที่เผยด้วยว่า ยอดผู้เสียชีวิตอาจสูงขึ้นกว่านี้เนื่องจากหลายคนอาการสาหัส กระทรวงกิจการภายในต้องขอระดมบริจาคเลือดอย่างเร่งด่วน
เจ้าหน้าที่เข้าไปยังจุดเกิดเหตุ / AFP PHOTO / SHAH MARAI
ส่วนผลการสอบสวนเบื้องต้น พบว่าเป็นระเบิดคาร์บอมบ์บรรจุอยู่ในรถบรรทุก และมีผู้บันทึกภาพระเบิดลูกยักษ์ดังกล่าวได้จากระยะไกล
A dog is seen running at the site of a car bomb attack in Kabul on May 31, 2017.l. / AFP PHOTO / SHAH MARAI
เหตุการณ์นี้สะท้อนถึงปัญหาความปลอดภัยที่เปราะบางมากในอัฟกานิสถาน ขณะที่กองกำลังติดอาวุธตาลิบัน และไอเอสเป็นภัยคุกคามอย่างหนัก โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลนี้ เมื่อวันที่ 3 พ.ค. ขบวนของกองกำลังนาโต้เพิ่งถูกโจมตี มีผู้เสียชีวิต 8 ราย บาดเจ็บ 28 คน
เหยื่อเลือดอาบ / AFP PHOTO / SHAH MARAI

นายกฯหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติกับการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคม

นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ “หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติกับการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคม”

          วันนี้ (พุธ 31 พฤษภาคม 2560) เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติกับการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคม” ในการเปิดสัมมนาวิชาการเพื่อเผยแพร่และขับเคลื่อนหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน  สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
          นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การประกอบธุรกิจโดยเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยชนนั้น เป็นเรื่องที่ถูกต้องทางศีลธรรม และเป็นโอกาสนำประเทศสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพราะธุรกิจคือพลังขับเคลื่อนความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และสิทธิมนุษยชนคือ การดูแลคนทุกคนให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีความปลอดภัยในชีวิต มีมาตรฐานการครองชีพที่เหมาะสม มีโอกาสเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการของรัฐ และได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม ดังนั้น ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนก็คือการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการสร้างความเป็นธรรมทางสังคม
          รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศด้วยความมุ่งมั่นเพื่อยุติความขัดแย้งและวางรากฐานการพัฒนาประเทศในระยะยาวเพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคงและมีความเจริญก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ให้ประชาชนกินดีอยู่ดี ภาคธุรกิจจึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาประเทศ ทำให้เกิดการจ้างงาน ส่งผลให้ประชาชนสามารถยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตของตนและครอบครัว และดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาสังคม นำพาประเทศชาติสู่ความมั่นคงและเจริญก้าวหน้าได้อย่างยั่งยืน
          การที่สหประชาชาติให้การรับรองหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญเพราะเป็นครั้งแรกที่ประชาคมโลกมีความพยายามในการสนับสนุนให้การกำหนดความรับผิดชอบของธุรกิจในการเคารพสิทธิมนุษยชนได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ แม้จะยังไม่ได้กำหนดความรับผิดชอบของภาคธุรกิจไว้ในลักษณะเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดก็ตาม แต่ระบุว่าเป็นความรับผิดชอบของภาคธุรกิจที่ต้องดำเนินการถือเป็นการวางบรรทัดฐานสำหรับภาคเอกชนในการเคารพสิทธิมนุษยชนในการดำเนิน
          หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนที่สหประชาชาติให้การรับรองนี้ไม่เพียงแต่กล่าวถึงบทบาทของภาคธุรกิจในการเคารพสิทธิมนุษยชนเท่านั้น ยังเชื่อมโยงบทบาทของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเกิดจากการประกอบธุรกิจด้วย ทั้งบทบาทภาครัฐและบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย โดยได้วางกรอบของการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในบริบทของการประกอบธุรกิจไว้ 3 ประการหรือที่เราเรียกว่า “เสาหลัก” ได้แก่ เสาหลักด้านการคุ้มครอง เสาหลักด้านการเคารพ และเสาหลักด้านการเยียวยา
          นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการทำให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจได้จริงนั้น  ทุกภาคส่วนที่มีหน้าที่ต้องตระหนักและเข้าใจบทบาทของตนตาม 3 เสาหลักของหลักการชี้แนะ เพื่อให้เป็นที่รับรู้และมีการนำไปปฏิบัติในประเทศต่างๆ ทั่วโลก คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติจึงได้มีมติจัดตั้งคณะทำงานว่าด้วยสิทธิมนุษยชนกับบรรษัทข้ามชาติและธุรกิจอื่นๆ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า คณะทำงานว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการชี้แนะดังกล่าว สนับสนุนการดำเนินการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการนำหลักการชี้แนะฯ ไปปฏิบัติ ตลอดจนให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับรัฐบาล บริษัทธุรกิจทุกประเภท สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในประเทศต่าง ๆ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชนซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิ และซึ่งในวันนี้ สมาชิกของคณะทำงานฯ 2 ท่านคือ มิสเตอร์ไมเคิล อัดโด (Mr. Michael Addo) ประธานคณะทำงานฯ และมิสเตอร์ดานเต้ เปชเช (Mr. Dante Pesce) สมาชิกคณะทำงานฯ เข้าร่วมการสัมมนาและเป็นผู้บรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง “สหประชาชาติกับการขับเคลื่อนหลักการชี้แนะเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน และบทบาทของภาคส่วนต่างๆ ตามเสาหลักของหลักการชี้แนะฯ” ด้วย
          รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่ผลักดันให้ประเทศไทยมีการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการเคารพในสิทธิมนุษยชน โดยยึดหลักการชี้แนะฯ ทั้งเสาหลัก 3 ประการ คือ เสาหลักด้านการคุ้มครอง  ด้านการเคารพ และด้านการเยียวยา
          เสาหลักด้านการคุ้มครอง เป็นบทบาทหน้าที่ของภาครัฐโดยตรงในการดูแลมิให้บุคคลได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของภาคธุรกิจตามหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่หลายฉบับนั้น รัฐบาลได้ออกกฎระเบียบ นโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุม กำกับดูแล การบังคับใช้กฎหมาย และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเคารพสิทธิมนุษยชน จัดทำแนวทางหรือข้อเสนอแนะแก่ภาคธุรกิจว่าควรมีการปฏิบัติอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการดำเนินกิจการของตน นอกจากนี้ รัฐยังต้องดูแลให้นโยบายและการปฏิบัติหน้าที่ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนกำกับดูแลให้หน่วยงานของรัฐที่ดำเนินธุรกิจ เช่น ปตท. การบินไทย บขส. กสท. และ TOT ตลอดจนรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ ต้องเคารพสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกับบริษัทเอกชนด้วย เพื่อเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ภาคเอกชนในการดำเนินการเรื่องนี้
          สำหรับหน้าที่ของรัฐด้านการคุ้มครองนี้ ประเทศไทยได้มีการดำเนินการแล้วในหลายส่วน เช่น กฎหมายคุ้มครองแรงงานเพื่อให้คนทำงานได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ไม่มีการบังคับใช้แรงงาน ได้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม กฎหมายที่ให้หลักประกันทางสังคมแก่คนที่ทำงานทั้งที่เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนและผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว กฎหมายคุ้มครองแรงงานเด็ก กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และกฎหมายอื่นๆ อีกหลายฉบับ ซึ่งรัฐบาลยังต้องพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายเป็นระยะ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และมาตรฐานระหว่างประเทศต่างๆ ซึ่งมีพลวัตอยู่ตลอดเวลา
          อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้พยายามปรับปรุงในจุดที่เป็นปัญหา อาทิ การแก้ไขเรื่องการค้ามนุษย์ เป็นตัวอย่างที่ดีในการแสดงถึงความตั้งใจของรัฐบาลที่จะคุ้มครองบุคคลจากการตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์และถูกเอารัดเอาเปรียบโดยถูกบังคับให้ทำงานในสภาพที่เลวร้ายเช่นในเรือประมง จึงได้ประกาศนโยบาย “ขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้น” ให้เป็นวาระแห่งชาติตั้งแต่ปี 2557 และสั่งการให้หน่วยงานมีมาตรการเข้มงวดในการตรวจเรือประมงและแรงงานบนเรือ รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดโดยได้มีการแก้ไขกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์และมีการจัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลขึ้นเป็นพิเศษเพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
          ระดับนโยบาย ประเทศไทยได้ให้คำมั่นต่อที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในการพิจารณาสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย  เมื่อเดือนพฤษภาคม 2559 ว่าจะดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม จะเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการและประสานงานกับกระทรวงอื่นๆ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจของเอกชนในทุกๆ ด้าน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงความสำคัญของการเคารพสิทธิมนุษยชนในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการเพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีความสอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าว
          นายกรัฐมนตรียังให้แนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านสิทธิมนุษยชนแก่กระทรวงยุติธรรม ซึ่งจะเป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลักว่า แผนที่จะจัดทำขึ้นควรมุ่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหรือที่อาจจะเกิดขึ้น โดยควรเป็นมาตรการที่ตอบสนองปัญหาได้ตรงจุด สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกได้ในวงกว้าง เป็นไปอย่างโปร่งใสและเปิดให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม อันเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำแผนไปปฏิบัติให้เกิดผลอย่างแท้จริง
          เสาหลักที่สองด้านการเคารพ เกี่ยวกับภาคธุรกิจโดยตรง เนื่องจากหลักการชี้แนะฯ ระบุถึงความรับผิดชอบของภาคธุรกิจในการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยเสนอว่าภาคธุรกิจควรหลีกเลี่ยงการดำเนินการใดที่จะละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม อันเกิดจากหุ้นส่วนทางธุรกิจ และ/หรือ ห่วงโซ่การผลิต โดยควรพยายามแสวงหาหนทางที่จะป้องกันหรือบรรเทาผลกระทบทางลบที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ การผลิตผลิตภัณฑ์ หรือการให้บริการ
          สิทธิมนุษยชนที่ภาคธุรกิจพึงให้ความสำคัญในลำดับแรก คือ สิทธิของแรงงาน เนื่องจากเป็นกลุ่มคนกลุ่มแรกที่ภาคธุรกิจพึ่งพิงในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืน หากภาคธุรกิจปฏิบัติต่อแรงงานอย่างดี ดูแลสวัสดิการและให้ความเป็นธรรม ก็เชื่อได้ว่า แรงงานเหล่านี้ก็จะตั้งใจทำงาน สร้างผลผลิตที่ดีมีคุณภาพแก่ภาคธุรกิจ ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจของประเทศมีความเจริญก้าวหน้า ปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายคุ้มครองสิทธิแรงงาน เช่น การคุ้มครองแรงงานในเรื่องของค่าจ้าง วันหยุด และการดูแลความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น ซึ่งครอบคลุมทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านและเป็นไปตามหลักสากลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
          นอกจากการดูแลสวัสดิการของแรงงานแล้ว คนอีกกลุ่มที่ภาคธุรกิจพึงให้ความสำคัญ คือ ชุมชนในพื้นที่ ซึ่งภาคธุรกิจพึงระมัดระวังมิให้การดำเนินธุรกิจส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมในชุมชน เช่น การประกอบอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยสารพิษหรือของเสียที่เป็นพิษ ควรใช้ความระมัดระวังและมีกระบวนการกำจัดสารพิษอย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ หากประชาชนในพื้นที่เดือดร้อนและมีการประท้วงการประกอบธุรกิจของท่าน ธุรกิจของท่านก็อาจต้องสะดุดหยุดลงและเกิดความเสียหายได้ในที่สุด
          ภาคเอกชนควรผนวกเอาหลักการชี้แนะฯ เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ รวมถึงการจัดให้มีกระบวนการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อให้สามารถทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วหรือปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และหาวิธีในการป้องกันหรือบรรเทาปัญหา รวมถึงเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น
          เสาหลักที่สาม คือการเข้าถึงการเยียวยาของผู้ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ กลไกหลักที่สำคัญในการเยียวยา คือ กลไกของรัฐ ซึ่งได้แก่ระบบศาลในกระบวนการยุติธรรม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยรองรับสิทธิของบุคคลในการเรียกร้องให้มีการชดเชยความเสียหายที่เกิดจากการกระทำผิดในกรณีต่างๆ อยู่แล้ว ทั้งนี้ หลักการชี้แนะฯ ยังได้เสนอให้มีการพิจารณาประเด็นที่อาจเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชนและหาแนวทางแก้ไข เช่น ค่าใช้จ่ายในการฟ้องคดีและกระบวนการขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน
          นายกรัฐมนตรียังได้ขอให้หน่วยงานด้านกระบวนการยุติธรรมที่เข้าร่วมการสัมมนาช่วยพิจารณาทบทวนดูว่ากระบวนการดำเนินคดีเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าเสียหายที่เป็นอยู่สามารถให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนได้อย่างเหมาะสมเป็นธรรมแล้วหรือไม่อย่างไร เพื่อปรับปรุงพัฒนากระบวนการเพื่อสามารถให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนที่เดือดร้อนได้อย่างเหมาะสม
          อย่างไรก็ตาม   การแก้ไขปัญหาโดยกระบวนการยุติธรรมมักต้องใช้เวลา บางครั้งอาจไม่สามารถบรรเทาความเดือดร้อนผู้ได้รับผลกระทบได้อย่างทันท่วงที ดังนั้น จึงต้องมีกลไกอื่นๆ เข้ามาเสริม โดยเฉพาะช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนและไกล่เกลี่ยของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐซึ่งมีอยู่หลายแห่ง ทั้งในส่วนกลางและระดับพื้นที่ อีกทั้ง รัฐบาลมีศูนย์ดำรงธรรมในทุกหมู่บ้าน ตำบลและจังหวัด ที่จะช่วยรับเรื่องราวร้องทุกข์และแก้ไขปัญหาสำหรับประชาชนในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องปัญหาการถูกละเมิดด้านสิทธิแรงงาน สิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นอีกองค์กรหนึ่งที่จะรับเรื่องร้องเรียนและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบได้

          นายกรัฐมนตรียังเสนอให้บริษัทหรือผู้ประกอบการจัดให้มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนในสถานประกอบการของตนเพื่อแก้ไขปัญหาหรือบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นโดยตรง เพื่อให้ข้อร้องเรียนต่าง ๆ ได้รับการแก้ไขและเกิดความยุติธรรมในระดับสถานประกอบการซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้ประกอบการและแรงงานเอง
          นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนนั้นมีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเมื่อเดือนกันยายน 2558 ที่นครนิวยอร์ก นายกรัฐมนตรีร่วมกับผู้นำของประเทศสมาชิกสหประชาชาติจำนวน 193 ประเทศรวมทั้งได้ร่วมกันรับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเปรียบเสมือนแผนแม่บทระดับโลกที่จะกำหนดทิศทางการพัฒนาในระยะ 15 ปีข้างหน้า โดยการกำหนดเป้าหมายเหล่านี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเคารพสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง ภายใต้หลักการไม่เลือกปฏิบัติ การสร้างโอกาสที่เท่าเทียมและการไม่ทิ้งบุคคลใดไว้เบื้องหลัง
          เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนยังได้ระบุถึงบทบาทของภาคเอกชนในการประกอบกิจกรรมธุรกิจ การลงทุน และการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ถือเป็นตัวผลักดันที่สำคัญต่อการสร้างผลผลิต การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีส่วนร่วม และการสร้างงาน ภาคธุรกิจที่มีการบริหารจัดการที่ดีจะต้องให้ความเคารพสิทธิแรงงาน สิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรฐานทางด้านสุขอนามัยที่สอดคล้องกับมาตรฐานและความตกลงในระดับสากล ดังเช่นหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนและมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
          นายกรัฐมนตรีแสดงความเชื่อมั่นว่า การทำธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนจะเป็นผลดีต่อธุรกิจในระยะยาว สอดคล้องกับทิศทางความต้องการของตลาด และช่วยให้การพัฒนาประเทศมีความยั่งยืนสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในมุมธุรกิจ การมีกระบวนการภายในเพื่อประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน จะทำให้ผู้ประกอบการต้องคิดหาวิธีป้องกันก่อนที่จะเกิดปัญหา หรือหาแนวทางแก้ไขก่อนที่ปัญหาจะลุกลามบานปลายและมีผลกระทบต่อธุรกิจเอง เป็นการลดความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ ในปัจจุบันการซื้อสินค้าหรือบริการของผู้บริโภคโดยเฉพาะผู้บริโภคในประเทศตะวันตก ไม่ได้คำนึงถึงเพียงคุณภาพของสินค้าหรือบริการเท่านั้น แต่ยังดูว่ากระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการมีการเอารัดเอาเปรียบแรงงานหรือทำให้ชุมชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนหรือไม่ หากบริษัทใดมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการผลิต ผู้บริโภคก็อาจไม่สนับสนุนสินค้านั้นแม้ว่าจะมีคุณภาพดีก็ตาม ดังนั้น การเคารพสิทธิมนุษยชนจึงเป็นผลดีแก่ธุรกิจในระยะยาว
          รัฐบาลเห็นว่า การประกอบธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนจะช่วยลดปัญหาสังคมในด้านต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของปัญหาแรงงาน ช่วยลดข้อพิพาท ความขัดแย้งระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง รวมทั้ง ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่กระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนในพื้นที่ คนในสังคมก็จะอยู่ร่วมกันได้โดยไม่เกิดความขัดแย้ง ช่วยลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม หลักการชี้แนะฯ จึงเป็นการให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ประเทศต่างๆ สามารถสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน
          นายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า สิทธิมนุษยชนจะยังคงเป็นประเด็นสำคัญในการค้าระหว่างประเทศต่อไปในอนาคตและอาจมีความเข้มข้นมากขึ้น  ขณะนี้ หลักการชี้แนะฯ ยังไม่ได้มีผลผูกพันทางกฎหมายเช่นความตกลงหรือสนธิสัญญาระหว่างประเทศ จึงเป็นโอกาสที่ภาคธุรกิจเอกชนของไทยไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใด จะได้มีเวลาในการปรับแนวทางการประกอบธุรกิจให้สอดคล้องกับแนวทางของหลักการชี้แนะฯ อย่างค่อยเป็นค่อยไปได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย ทั้งนี้ที่ผ่านมา หน่วยงานของรัฐก็ได้มีมาตรการเพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีการประกอบกิจการที่เคารพสิทธิมนุษยชนอยู่บ้างแล้ว เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมให้แก่บริษัทจดทะเบียนและองค์กรธุรกิจทั่วไปในการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน โดยมีแนวทางปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชนของบริษัทครอบคลุมตั้งแต่การจัดทำนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนให้เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากล การบริหารจัดการและประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการมีกลไกคุ้มครองและเยียวยา นอกจากนี้ บริษัทจะต้องมีการจัดทำรายงานความยั่งยืน เพื่อเปิดเผยผลกระทบและผลลัพธ์ทั้งเชิงบวกและลบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการด้วย
          ทั้งนี้ การทำให้หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติมีผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทยนั้นจำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม การจัดสัมมนาวิชาการในวันนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ทุกภาคส่วนจะได้มารับรู้ร่วมกันว่าการทำธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร แต่ละคนมีบทบาทหน้าที่อะไรในการส่งเสริมให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนในการประกอบธุรกิจ และหากมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากการประกอบธุรกิจ ผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือผู้เสียหายจะไปร้องเรียนได้ที่ใดและจะได้รับการเยียวยาอย่างไร
          นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การสัมมนาครั้งนี้จะช่วยให้เรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนเป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางมากขึ้นในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจซึ่งมีบทบาทที่สำคัญทั้งในการป้องกัน บรรเทา และแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ การที่องค์กรภาคธุรกิจหลักของประเทศ ทั้งสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย รวมทั้งเครือข่าย โกลบอลคอมแพ็กประเทศไทย ซึ่งเป็นเครือข่ายในระดับประเทศของโกลบอลคอมแพ็กของสหประชาชาติที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของบริษัทชั้นนำของไทย 15 บริษัท ซึ่งได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนานับเป็นหลักประกันว่าจะมีการเผยแพร่หลักการชี้แนะฯ ให้แก่ผู้ประกอบการของไทยในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการรายใหญ่อาจแนะนำช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อยที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของตนในการปฏิบัติตามหลักการชี้แนะฯ ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐและ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพร้อมจะสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการนำหลักการชี้แนะฯ ไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
          ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรียังกล่าวยินดีที่จะมีการลงนามปฏิญญาความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนระหว่างหน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคธุรกิจ และ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)  เป็นนิมิตหมายที่ดีที่ทุกฝ่ายจะมาร่วมกันสร้างสังคมที่เคารพสิทธิมนุษยชน สำหรับการประชุมสัมมนาวิชาการในวันนี้ รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐจะรักษาพันธสัญญาในการทำหน้าที่เพื่อให้ความเคารพ และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งคุ้มครองปัจเจกบุคคลและชุมชนจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากบุคคลที่สาม ภาคธุรกิจเอกชนจะเข้ามามีบทบาทและรับผิดชอบในการเคารพสิทธิมนุษยชนและป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากการประกอบกิจการของตนเองมากยิ่งขึ้น การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนจะช่วยส่งเสริมปัจจัยในการกระตุ้นการผลิต ขวัญและกำลังใจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตลอดจนการแสวงหาตลาดใหม่ๆ ลูกค้า ผู้บริโภค เสริมสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีและความมั่นคงในการประกอบกิจการ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน และที่สำคัญสร้างชื่อเสียงและผลประโยชน์ให้กับประเทศและประชาชนโดยรวมเพื่อ “ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

          ที่มา: http://www.thaigov.go.th


‘8 กปปส.’คัมแบ็กปชป. พาเหรดเข้าพรรค30พ.ค.-สานฝันปฏิรูป



‘8 กปปส.’คัมแบ็กปชป. พาเหรดเข้าพรรค30พ.ค.-สานฝันปฏิรูป

30 May 2017




เหตุระเบิดที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2560 หลายฝ่ายรวมทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)มีความเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า เป็นการสร้างสถานการณ์ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ความไม่พอใจต่อการทำรัฐประหารของคสช. ซึ่งครบรอบ 3 ปี

++ย้อนรอยม็อบนกหวีด
หากย้อนเหตุการณ์ก่อนที่จะมีการรัฐประหารครั้งนั้น จะเห็นภาพการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) นำโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) พร้อมด้วยส.ส.ปชป.อีก 8 คน ปักหลักในการต่อสู้คัดค้านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดการชุมนุมทางการเมือง หรือที่เรียกว่า“นิรโทษกรรมสุดซอย” เพราะได้รับการต่อต้านจากภาคประชาสังคมอย่างกว้างขวางเนื่องจากความไม่ชัดเจน

โดยแกนนำพรรคปชป.และอดีตส.ส. อีก 8 คน ประกอบด้วย นายถาวร เสนเนียม อดีตส.ส.สงขลา นายอิสสระ สมชัย อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย อดีต ส.ส.ตรัง นายวิทยา แก้วภราดัย อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช นายชุมพล จุลใสอดีต ส.ส.ชุมพร นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ และ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ อดีตส.ส.กทม.

การชุมนุมของ “ม็อบนกหวีด” แรกทีเดียวใช้เวทีเล็กๆข้างสถานีรถไฟฟ้าสามเสน เมื่อมีพลังมวลชนทวีขึ้นเป็นลำดับจนพื้นที่คับแคบไม่เพียงพอต่อการรองรับของแนวร่วมหลากหลายกลุ่ม ต่อมาวันที่ 4 พฤศจิกายน2556 ได้เคลื่อนขบวนมาตั้งศูนย์บัญชาการที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กระทั่งวันที่ 11 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งส.ส. นำมาสู่การยกระดับการต่อสู้ในหลายรูปแบบทั้งนัดหยุดงาน ชะลอจ่ายภาษี ประดับธงชาติ และขับไล่“รัฐบาลยิ่งลักษณ์” หนักหน่วงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับเปิดฉากการรณรงค์ “ชัตดาวน์กรุงเทพฯ” อย่างต่อเนื่อง

ก่อนที่เหตุการณ์จะบานปลายเนื่องจากมีการเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คสช.ตัดสินใจทำรัฐประหาร ส่งผลให้ กปปส.ลดบทบาทลง ขณะที่รัฐบาล คสช.หลังเข้ามาจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวมีการประกาศแนวทางปฏิรูปประเทศ จวบจนทำ คลอดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วเสร็จเตรียมออกกฎหมายลูกเพื่อไปสู่การเลือกตั้งทั่วไป ในปี 2561 นำประเทศกลับคืนสู่ประชาธิปไตยส่งผลให้พรรคการเมืองต่างๆเตรียมความพร้อมรับมือเลือกตั้งขณะที่ แกนนำ กปปส.ทั้ง 8 คนก็เตรียมคัมแบ็กค่ายพระแม่ธรณีบีบมวยผมอีกครั้ง ในวันที่ 30 พฤษภาคมนี้ เพื่อเตรียมตัวลงสนามเลือกตั้ง

++8 แกนนำ กปปส.คืนถิ่นเก่า
นายถาวร เสนเนียม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยกับ“ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การกลับคืนชายคาบ้านสีฟ้าในวันที่ 30 พฤษภาคมนี้ ไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษ ทางกลุ่มกปปส.เตรียมเข้าร่วมกิจกรรมพรรค ที่มีกันทุกวันอังคาร ซึ่งคงไม่มีพิธีรีตองอะไร

พร้อมกับยํ้าว่า แกนนำกปปส.ทั้ง 8 คน ยังเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ไม่มีการลาออกจากสมาชิกพรรคแต่อย่างใด ซึ่งเหตุผลที่ลาออกจากส.ส.ในตอนนั้น เพื่อไม่ให้พรรคได้รับผลกระทบจากการต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับประชาชน เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจการออกไปทำงานนอกบ้านในระดับหนึ่งแล้ว ก็จะกลับมาบ้านพร้อมๆ กันเพื่อมากินข้าวกินปลาในบ้านที่เคยอยู่ด้วยกันและร่วมมือกันเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทยที่เริ่มปรากฏบ้างแล้วในส่วนที่คสช.ยังปฏิรูปได้ไม่มากก็ต้องไปผลักดัน ไปเตือนสติไม่ใช่เอาแต่ด่าอย่างเดียว

การลาออกจากกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ของแกนนำ กปปส.รุ่นแรก เมื่อวันที่31 ตุลาคม 2556 ซึ่งมี 2 คน คือนายถาวร กับ นายอิสสระ สมชัยเนื่องจากถ้ากรรมการบริหารพรรคกระทำผิดรัฐธรรมนูญ สมมติว่าชุมนุมกลางถนน จะถูกกล่าวหาว่าเราเป็นผู้ก่อการร้าย หรือเป็นกบฏในราชอาณาจักร หรือแสวงหาอำนาจรัฐซึ่งไม่ได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ อาจจะยุบพรรคปชป.ได้ เป็นการลาออกไม่ให้พรรคได้รับผลกระทบ

ส่วนที่มีการลาออกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556หลังจากชุมนุมมาได้ 12 วันเป็นการลาออกจากส.ส.เท่านั้นโดยนายถาวร ให้เหตุผลว่าต้องการพิสูจน์ให้ประชาชนเห็นว่า แกนนำ กปปส.ทั้ง 9 คน ออกมาสู้รบกับประชาชนเพื่อต้องการต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับประชาชน

++ไ‹ม่หวั่นถูกต่อต้าน
“การที่พวกเราลาออกจากส.ส.เพื่อต่อสู้ร่วมกับประชาชนแต่มีคนไปตีขลุมเอาว่าเราทำนอกลู่นอกทาง เราห้ามความคิดใครไม่ได้ บางคนคิดเพียงแต่ว่าถ้าเป็นส.ส.ต้องสู้ในสภาเท่านั้นเรายกมือในห้องประชุมพรรคเราก็ไม่ชนะสักเรื่อง การสู้กับส.ส.ที่เป็นภาพของนายทุนที่เขาสามารถให้ตัดสินใจยกมือ หรือมีพฤติกรรมผิดหลักวัฒนธรรมประชาธิปไตย หรือผิดหลักนิติธรรม ถ้าเรายังตกเป็นกับดักคำว่าเสียงข้างมากอยู่ อาจจะทำให้เกิดปัญหาอีกมากมาย อาทิ1.โครงการรับจำนำข้าว อาจจะเจ๊งเป็นล้านล้านบาทแล้ว 2.คนที่ทำผิดเผาบ้านเผาเมือง ทุจริตคอร์รัปชัน นอกจากไม่ติดคุกแล้วยังได้เงินที่ทุจริตกลับไปอีก นี่คือวิธีการต่อสู้ของสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ทั้ง 9 คน ที่ลาออกจากส.ส.”

ส่วนที่มีคนภายในพรรคประชาธิปัตย์บางคนวิพากษ์วิจารณ์การกลับพรรคของอดีตส.ส.ที่ลาออกไปนั้น นายถาวร ยอมรับว่า ห้ามไม่ให้ใครคิดไม่ได้ คำพูดบางคำพูดไม่ได้บั่นทอนความมุ่งมั่น และไม่โกรธใคร เพราะเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ ถ้าคิดจะพัฒนาประเทศ หรือคิดที่จะทำงานใหญ่ ต้องอดทน ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินเองว่าใครมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผล ช่วงที่เกิดวิกฤติแกนนำ กปปส.และประชาชนอยู่กลางถนน อยู่ท่ามกลางลูกระเบิดและควันปืน ต้องเสียชีวิตถึง 25 คน บาดเจ็บ 700 คน ทั้งยังมีคดีคนละกว่า 20 คดี

“ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นพิสูจน์แล้วว่าเรามีความมุ่งมั่นที่จะเห็นประเทศไทยมีพัฒนาการไปในทิศทางที่ดี ที่สำคัญประชาชนเห็นดว้ ยกับเรา ออกมาอยูกั่บเราเป็นล้านๆ บริจาคเงินให้เราทำกิจกรรมประมาณ 1,400 ล้านบาท โดยที่เขาเต็มใจเอามาให้บางคนไม่อยากลงจากรถ ให้คนขับรถเอาเงินมาให้ 20 ล้านบาทถ้าประชาชนไม่เห็นด้วยกับกิจกรรมเหล่านี้ จะไม่เกิดปรากฏการณ์อย่างนี้ เราไปไหนมีคนมาคอยต้อนรับ เอาเงินมาบริจาค เพื่อร่วมต่อสู้กับเรา” นายถาวร ระบุ
เมื่อปี่กลองการเลือกตั้งเริ่มมีสัญญาณ พรรคการเมืองต่างๆ เริ่มขยับเตรียมความพร้อมรับมือ วันที่ 30 พฤษภาคมนี้ จึงเป็นฤกษ์ดีที่แกนนำ กปปส.จะได้หวนกลับสู่บ้านหลังเดิมที่เคยอยู่อีกครั้ง

**ถาวรต้องการเห็นการปฏิรูปประเทศ
นายถาวร กล่าวว่า เราต้องการเห็นการปฏิรูปประเทศ เพราะประเทศไทยด้อยกว่าประเทศในอาเซียนหลายช่วงตัวในบางเรื่องทั้งๆ ที่เรามีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดประเทศหนึ่ง ในเรื่องการศึกษาเราด้อยอยู่ในอันดับที่ 8 ภาษาอังกฤษอยู่อันดับที่ 9 เรื่องความเหลื่อมลํ้าตํ่าสูงเราถอยห่างออกเรื่อยๆ ขณะที่ปัญหาคอร์รัปชันอยู่อันดับต้นๆ ของอาเซียน

นอกจากนั้นยังมีกฎหมายที่ออกผิดหลักนิติธรรมตกไป อาทิ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)นิรโทษกรรมสุดซอย ตลอดจนทำให้กฎหมายที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อยากได้คืน อีก 16,000 ล้านบาทตกไปด้วย นอกจากนั้นมีคดีที่ทำให้นายทักษิณต้องติดคุก หรือหลายคนที่กำลังจะติดคุกก็จะถูกดำเนินคดีไปตามกระบวนการของกฎหมาย ให้เป็นบรรทัดฐานเพราะทั้งหมดทั้งปวงเป็นการออกกฎหมายผิดหลักนิติธรรมโดยอ้างเสียงข้างมาก

“จุดด้อยของประเทศไทยอีกอย่างคือการทุจริต ทุกพรรคการเมืองแม้บางคนไม่เป็นคนทุจริตแต่ทีมงานทุจริตก็ทำเฉย และทุกพรรคการเมืองจะรับเงินจากนายทุนมาดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ประชาชนเพียงแต่ถูกอ้างชื่อว่าเป็นเจ้าของพรรค ตรงนี้ต้องปฏิรูปแน่ไม่ปฏิรูปไม่ได้ เพราะถ้ายังไม่ปฏิรูปพรรคการเมืองพรรคนั้นก็ยังต้องฟังคำสั่งคนคนเดียว หรือ 3-4 คนเท่านั้น นี่คือสิ่งที่ประชาชนถูกอ้างว่าพรรคของประชาชน แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ เราจึงต้องร่วมกันปฏิรูป

ส่วนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ลาออกจากสมาชิกพรรค และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์นั้น ปัจจุบันมีบทบาทภารกิจสำคัญของมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศ(มปท.)ซึ่งก็เป็นภารกิจที่ กปปส.จะเสนอให้ทางพรรคด้วย เพราะเคยประกาศปฏิรูปไปแล้ว 6 ด้านเช่น การปฏิรูปตำรวจโดยการกระจายอำนาจให้การบริหารงานตำรวจอยู่ในจังหวัด ให้ประชาชนผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาเป็นคณะกรรมการตำรวจ เป็นต้น

การปฏิรูปการศึกษา จัดทำต้นแบบการปฏิรูปการศึกษาด้านอาชีวศึกษา โดยยึดหลักประกอบอาชีพได้และมีคุณธรรมควบคู่

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,265 วันที่ 28 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ระเบิด “ไปป์บอมบ์” ของจริง ตร.เครียด!? เชื่อคิดชั่ว เป้าหมายสำนักงานตลาดหลักทรัพย์

ระเบิด “ไปป์บอมบ์” ของจริง ตร.เครียด!? เชื่อคิดชั่ว เป้าหมายสำนักงานตลาดหลักทรัพย์

โดย ทีมข่าวอาชญากรรม   
30 พฤษภาคม 2560 19:03 น. (แก้ไขล่าสุด 30 พฤษภาคม 2560 19:36 น.)
ระเบิด “ไปป์บอมบ์” ของจริง ตร.เครียด!? เชื่อคิดชั่ว เป้าหมายสำนักงานตลาดหลักทรัพย์
        MGR Online - ระบุ ระเบิดไปป์บอมบ์ ใกล้สถานีรถไฟใต้ดิน ศูนย์วัฒนธรรม เป็นของจริง แถมอานุภาพรุนแรง ทำด้วยโลหะใช้หวังผลทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ตำรวจเครียด ตรึงกำลังสถานที่สำคัญ โดยเฉพาะตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
       
       วันนี้ (30 พ.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีพบไปป์บอมบ์ ใกล้สถานีรถไฟใต้ดิน ศูนย์วัฒนธรรม ถ.รัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง ว่า ได้สั่งการให้ พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ พร้อมสั่งการให้ปิดกั้นพื้นที่ เพื่อหาหลักฐานแล้ว ขอเวลาให้หน่วยตรวจสอบและเก็บกู้วัตถุระเบิด หรือ อีโอดี ไปตรวจสอบก่อน ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่า เป็นระเบิดชนิดใด อานุภาพ ลักษณะประกอบระเบิดอย่างไร และถูกนำมาวางตั้งแต่เมื่อใด เป็นของเก่าทิ้งไว้ หรือตั้งใจวาง จุดประสงค์ใด เรื่องนี้ขอเวลาหน้าที่ตรวจสอบก่อน 
ระเบิด “ไปป์บอมบ์” ของจริง ตร.เครียด!? เชื่อคิดชั่ว เป้าหมายสำนักงานตลาดหลักทรัพย์
         
       พล.ต.อ.จักรทิพย์ กล่าวว่า ได้รับรายงานการตรวจสอบในเบื้องต้น ว่า เป็นระเบิดไปป์บอมบ์ มีเกลียวหัวท้าย ท่อโลหะ ยาว 8 นิ้ว ซึ่งลักษณะแบบนี้ก็เคยเจอ ระเบิดที่ราชประสงค์ก็เป็นแบบนี้ แต่ขอเวลาตรวจดูข้างในว่ามีสะเก็ดแบบใด บอลแบริ่งหรือ ตะปู หรือไม่ ดินเทา ดินระเบิดแบบใด พวกนี้ตรวจได้อยู่แล้ว หากมีความเชื่อมโยงกับเหตุระเบิด 3 จุดก่อนหน้านี้ ก็จะรวมเป็นคดีเดียวกัน แต่ตอนนี้ยังไม่สรุป ขอเวลาให้เจ้าหน้าที่พิสูจน์ทราบเสียก่อน
       
       ส่วนกรณีที่พยานระบุว่า มีกลุ่มผู้ต้องสงสัย 2 ราย ที่ขี่รถจักรยานยนต์แสดงพิรุธในจุดเกิดเหตุ นั้น พล.ต.อ.จักรทิพย์ กล่าวว่า สั่งการตรวจสอบตามขั้นตอนการสืบสวนสอบสวนอยู่แล้ว ว่ามาทำอะไร จากไหน เกี่ยวข้องหรือไม่ 
ระเบิด “ไปป์บอมบ์” ของจริง ตร.เครียด!? เชื่อคิดชั่ว เป้าหมายสำนักงานตลาดหลักทรัพย์
         
       คนที่มาวางไปป์บอมบ์ ขออย่าเป็นพวกอีแอบแล้วกัน คือ พวกที่สร้างสถานการณ์ ไม่เปิดเผยตัว ดูแล้วเหมือนต้องการก่อความวุ่นวาย อาจจะหวังดิสเครดิตตำรวจด้วย โดยเฉพาะผม กับ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. ที่ทุกวันนี้ออกมาพูดมาก เขาอาจจะอยากดิสเครดิตก็ได้” ผบ.ตร. กล่าวและว่า จากการข่าวของตำรวจไม่พบสัญญาณว่าจะมีเหตุอีก การข่าวไม่ได้แย่ ทำอยู่ตลอด พื้นที่ กทม. กว้างใหญ่ไพศาล คนที่พยายามก่อเหตุก็ทำได้ พยายามป้องกันอย่างถึงที่สุด อยากให้มั่นใจ แต่จะพูดว่าไม่มี เกิดลูกที่ 5 ที่ 6 หากมีขึ้นมาตนก็เสียคน อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจระวังรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างเต็มที่
       
       มีรายงานล่าสุดว่า วัตถุต้องสงสัยดังกล่าว คือ ระเบิดไปป์บอมบ์ ทำด้วยท่อแป๊บเหล็ก หากนำไปใช้ย่อมหมายถึงการหวังผลต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างแน่นอน ส่วนจุดที่พบจะสรุปว่ามีผู้นำมาทิ้ง หรือเตรียมไว้ก่อเหตุ มีความเป็นไปได้ทั้ง 2 ทางแต่จากลักษณะห่อพลาสติกเป็นอย่างดีนั้น น่าจะสื่อได้ว่าคนร้ายไม่ต้องการให้ตัวจุดชนวนเปียกชื้น แหล่งข่าวระบุว่า เป้าหมายที่ฝ่ายความมั่นคงให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ถนนรัชดาภิเษก 

“สุเทพ”ยันหนุนบิ๊กตู่นั่งนายกฯต่อ ติงปู่พิชัย มองความจริง ทำไมทหารต้องยึดอำนาจ

“สุเทพ”ยันหนุนบิ๊กตู่นั่งนายกฯต่อ ติงปู่พิชัย มองความจริง ทำไมทหารต้องยึดอำนาจ

“สุเทพ”ยันหนุน “บิ๊กตู่”นั่งนายกฯต่อ ไม่สนคนมองเชียร์ทหาร แนะคนเสนอโมเดล 4 พรรคจับมือต้องมองความจริง
เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 30 พฤษภาคม นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการกปปส.ได้ไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กเกี่ยวกับกลุ่มกปปส.เข้ามาในพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ว่า ถึงเวลาที่นักการเมืองต้องกลับมาทำหน้าที่ เพราะฉะนั้นแกนนำกปปส.ในส่วนที่เคยเป็นนักการเมือง ก็กลับไปพรรคปชป.เพื่อทำหน้าที่ต่อไป ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด แต่ในหัวใจและอุดมการณ์เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เกิดมาเป็นข้าแผ่นดินมีหน้าที่รับผิดชอบแผ่นดิน ดังนั้นขออย่ากังวลใจ ประชาชนถามตนว่า ถูกทิ้งให้โดดเดี่ยวแล้วใช้หรือไม่ ตนเคยบอกว่าไม่ใช่ เพราะเคยบอกแล้วว่าไม่กลับพรรคปชป.ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งใครจะว่าอย่างไรก็แล้วแต่ตนยืนยันว่ายังสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกฯและหัวหน้า คสช. ให้เป็นนายกฯต่อไป แม้ว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปก็ตาม เพราะตนเชื่อว่าพล.อ.ประยุทธ์ มีความสามารถ มีความกล้าที่จะเป็นคนกลางที่จะทำการปฏิรูปประเทศไทย ช่วงเวลาไม่กี่ปีในการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยได้คนอย่างพล.อ.ประยุทธ์มาบริหารประเทศ ตนพูดในฐานะกระบอกเสียงมวลมหาประชาชน
“ตอนนี้ทุกคนกลับไปทำหน้าที่ของตนเอง แต่เมื่อถึงเวลา กปปส.ทุกคนพร้อมกลับมาสละเวลาสละชีวิตทำเพื่อชาติ แต่ตอนนี้ผมขอไม่เข้าไปแทรกแซงในพรรคประชาธิปัตย์ แกนนำทั้ง 8 คนก็กลับไปทำหน้าที่ของเขา และการที่กปปส.เข้าประชาธิปัตย์ ก็เห็นว่ามีการต้อนรับดีใช้ได้ ทั้งที่ก่อนหน้าที่ฟังข่าวจากคนภายนอกดูเหมือนตั้งป้อม แต่พวกเราผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะแล้วเรื่องเล็กน้อยจะไม่ใส่ใจ” นายสุเทพ กล่าว
นายสุเทพ ยังกล่าวถึงโมเดล 4 พรรคสู้ทหารว่า ไม่ทราบว่าพรรคการเมืองขอจับมือกันได้หรือไม่ แต่จากประสบการณ์ของตนที่อยู่ในวงการเมืองมา เห็นว่าถ้าผลประโยชน์ทางการเมืองลงตัวเขาก็จับมือกันได้ แต่อยากติงด้วยความเคารพต่อนายพิชัย รัตนกุล อดีตหัวหน้าพรรคปชป.ว่าอย่าไปตั้งข้อรังเกียจทหาร ต้องดูข้อเท็จจริงด้วยว่าทำไมทหารถึงมายึดอำนาจรัฐ เพราะประเทศไม่มีทางเลือกอื่นจริงๆ ตนเป็นนักประชาธิปไตย เป็นการการเมืองมากว่า 40 ปี แต่ก็ลืมตามองดูความเป็นจริงว่าจะทำอย่างไรให้ประเทศชาติอยู่รอดปลอดภัยได้ เพราะฉะนั้นวันนี้ใครประณามตนว่าไปเชียร์ทหารตนไม่ปฏิเสธเลย
ส่วน 4 คำถามของพล.อ.ประยุทธ์ นั้น นายสุเทพ กล่าวว่าต้องขอบคุณพล.อ.ประยุทธ์ที่ตั้งคำถาม จะได้ทำให้ประชาชนที่รู้สึกสับสนกับสถานการณ์ ได้ตระหนักว่าประเทศเรากำลังเผชิญหน้ากับอะไรอยู่ ตนเชื่อว่าประชาชนจำนวนมากได้ตอบคำถามนายกฯไปแล้ว ยืนยันว่าคำถามของพล.อ.ประยทธ์ ชอบด้วยเหตุผล ผู้นำประเทศมีสิทธิ์จะถามว่าประชาชนคิดอะไร