PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ตำรวจออกหมายจับ ผู้ดูแลระบบเว็บไซต์ ASTV สารภาพเป็นผู้นำลงเว็บข่าวจริง

วันนี้ (6 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้ช่วยผบ.ตร. และ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ทวิตข้อความ ผ่านทางทวิตเตอร์  @Dr_Prawut ว่า 
http://www.matichon.co.th/online/2015/02/14232188381423218848l.jpg
พนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้ยื่นคำร้องขอออกหมายจับ ผู้ดูแลระบบและเป็นผู้แชร์ภาพแถลงการณ์เท็จลงในเว็บไซต์ ASTV 

โดยเจ้าหน้าที่ได้เสนอศาลทหาร ออกหมายจับ นายนิรันดร์ เยาวภาว์ ผู้ดูแลระบบเว็บไซต์ ผู้จัดการออนไลน์ 2 ข้อหา คือ ผิด ตามประมวลกฎหมายอาญาม.112 และพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ซึ่งนายนิรันดร์ ถูกเจ้าหน้าที่ เชิญไปสอบปากคำและได้รับสารภาพว่าเป็นผู้เอาแถลงการณ์ปลอมขึ้นเวปจริง

ซึ่งก่อนหน้านี้ นายนิรันดร์ เยาวภาว์ ผู้ดูแลเว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการ ได้เข้าพบ ร.ต.ท.อภิชาติ กอนจันดา พงส.สน.ชนะสงคราม เพื่อลงบันทึกประจำวัน กรณีที่เมื่อวันที่ 2 ก.พ. เว็บไซต์ www.manager.co.th ได้เผยแพร่แถลงการณ์สำนักงานพระราชวัง ฉบับที่ 13 ซึ่งเป็นเอกสารแถลงการณ์ที่มีผู้ไม่หวังดีนำมาเผยแพร่ในโลกโซเซียลมีเดีย จนภายหลังทราบว่า เป็นเอกสารที่มีข้อมูลไม่เป็นจริง ทางผู้ดูแลเว็บไซต์จึงได้ทำการลบข้อมูลดังกล่าว และขึ้นประกาศขออภัยในความผิดพลาดในเวลาต่อมา

และต่อมาทางผู้บริหารของ ASTV ผู้จัดการ ได้มีคำสั่งปลด นายนิรันดร์ ออกจากตำแหน่งผู้ดูแลเว็บไซต์ พร้อมหักเงินเดือนร้อยละ 50 ในฐานะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความผิดดังกล่าว

รมว.กลาโหมจีนพบ"ประยุทธ์"

6 ก.พ.58 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ฉาง ว่านฉวน มนตรีแห่งรัฐ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมคณะ เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในระหว่างวันที่ 5 - 7 ก.พ.นี้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางทหาร และความมั่นคงทางภูมิภาค
โดย ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการเข้าพบว่า การเข้าพบของ รมว.กลาโหมจีน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ไทย - จีน
ยกระดับความสัมพันธ์ในการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน โดยไทยยืนยันนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมความสัมพันธ์ และพัฒนาความร่วมมืออย่างใกล้ชิด
สำหรับความร่วมมือทางด้านความมั่นคง ทาง รมว.กลาโหมจีน แสดงความประสงค์ให้มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และเห็นพ้องให้การฝึกร่วมของเหล่าทัพมีความเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม ไทย - จีน ได้เคยฝึกร่วมคอบร้าโกลด์ในปีที่ผ่านมาเป็นครั้งแรก และปีนี้ก็จะฝึกร่วมในลักษณะเดียวกัน โดยเน้นโครงการให้ความช่วยเหลือประชาชน
ในส่วนอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศไทยอยากให้จีนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา รวมถึงด้านการศึกษาและการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างเหล่าทัพที่เป็นรูปธรรม โดย พล.อ.ประยุทธ์ ได้ชื่นชมและสนับสนุนวิสัยทัศน์ของผู้นำจีน ในแนวคิดเส้นทางสายไหมทางทะเล และเส้นทางการค้าการลงทุนต่างๆ ซึ่งไทยมีความประสงค์จะร่วมด้วย
นอกจากนี้ ไทยและจีนได้มีความร่วมมือทางด้านรถไฟ และสินค้าทางการเกษตร ที่จะเดินหน้าผลักดันต่อไป อย่างไรก็ตาม ในปีนี้เป็นปีแห่งการท่องเที่ยววิถีไทย โดยในเทศกาลตรุษจีนของไทย จะเชิญชวนฝ่ายจีนมาร่วมด้วย
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่จีนจะซื้อข้าวและยางพาราจากไทย มีความคืบหน้าอย่างไร ร.อ.นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า เป็นเรื่องความร่วมมือที่จีนจะซื้อสินค้าเกษตรจากไทย ทั้งข้าวและยางพารา แต่ยังไม่มีการลงในรายละเอียดว่าจะเป็นเมื่อไหร่อย่างไร
เมื่อถามว่า นายกฯ ได้ชี้แจงสถานการณ์การเมืองไทยหรือไม่ โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ไม่ได้อธิบายอะไรมาก เพราะฝ่ายจีนมีความเข้าใจในสถานการณ์เป็นอย่างดี และพร้อมจะร่วมมือกับไทยสนับสนุนเรื่องการปฏิรูป ซึ่งที่ผ่านมาฝ่ายจีนได้สนับสนุนไทยในการไปศึกษาดูงานเรื่องการปฏิรูป ระบบกฎหมาย และเรื่องความมั่นคง
อย่างไรก็ตาม การหารือครั้งนี้ไม่มีการพูดถึงเรื่องการยกเลิกกฎอัยการศึกแต่อย่างใด เมื่อถามว่า การที่ไทยมีความใกล้ชิดกับจีนมากขึ้น จะเป็นการถ่วงดุลอำนาจกับสหรัฐอเมริกาหรือไม่ โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ความสัมพันธ์ไทย - จีน มีมายาวนาน ไม่ว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะเปลี่ยนไปอย่างไร จีนก็มีความคงเส้นคงว่ามาโดยตลอด มีการสนับสนุนกันในเวทีต่างๆ ทั้งสองฝ่ายก็มีความชื่นชม และคิดว่าเป็นการดำเนินความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่อง ไม่มีอะไรที่ผิดปกติ
นสพ.แนวหน้า


"วอยซ์ทีวี" โหมกระพือข่าว "สหรัฐฯ" ระงับพันธมิตรกับไทย รับ รมว.กลาโหมจีนพบ "บิ๊กตู่"

"วอยซ์ทีวี" โหมกระพือข่าว "สหรัฐฯ" ระงับพันธมิตรกับไทย รับ รมว.กลาโหมจีนพบ "บิ๊กตู่"
Cr:ผู้จัดการ
ASTVผู้จัดการ - เว็บไซต์วอยซ์ทีวี ของลูกชายทักษิณโหมกระพือข่าว ระบุ "สหรัฐระงับพันธมิตรเต็มรูปแบบกับไทย" รับข่าว รมว.กลาโหมจีนพบ "ประยุทธ์" ตรวจสอบพบเป็นเพียงแค่ขู่เรื่องพันธมิตรทางทหาร ภายหลังลบข่าวทิ้งไปแล้ว
วันนี้ (6 ก.พ.) เว็บไซต์วอยซ์ทีวี ได้นำเสนอข่าวโดยพาดหัว "สหรัฐระงับพันธมิตรเต็มรูปแบบกับไทย" ระบุว่า รัฐบาลวอชิงตันระงับพันธมิตรทางทหารเต็มรูปแบบกับประเทศไทย ตั้งเงื่อนไขต้องฟื้นฟูประชาธิปไตยก่อน โดยอ้างถึงรายงานข่าวจากสำนักข่าวเอเอฟพี ซึ่งเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์แชนแนลนิวส์เอเชีย สถานีโทรทัศน์ข่าวภาคภาษาอังกฤษ ของมีเดียคอร์ป บริษัทสื่อครบวงจรที่มีกองทุนเทมาเส็กโฮลดิ้งส์ กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์เป็นเจ้าของ
"เมื่อวันพฤหัสบดี นักการทูตอาวุโสผู้หนึ่งของสหรัฐ กล่าวกับผู้สื่อข่าวในกรุงวอชิงตันว่า สหรัฐจะไม่ดำเนินความสัมพันธ์เยี่ยงพันธมิตรทางทหารอย่างเต็มรูปแบบกับไทย ตราบเท่าที่ประเทศซึ่งปกครองโดยคณะรัฐประหารแห่งนี้ยังปฏิเสธที่จะกลับสู่ ระบอบประชาธิปไตย จำเป็นต้องมีการฟื้นฟูหลักการปกครองที่ดี และความยุติธรรม รวมทั้งฟื้นฟูรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย" เนื้อข่าวที่วอยซ์ทีวีนำมาแปล
อย่างไรก็ตาม ภายหลังเว็บไซต์วอยซ์ทีวีได้ลบข่าวชิ้นดังกล่าว แต่ลิ้งค์ข่าวที่ระบุภาพพาดหัวและโปรยยังคงถูกแชร์ในเฟซบุ๊ก พร้อมวิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆ นานา ถึงการบริหารประเทศในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในช่วงที่ความเคลื่อนไหวในวันนี้ พล.อ.ฉาง ว่าน ฉวน รมว.กลาโหม สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ทำเนียบรัฐบาล
อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่า ข่าวต้นฉบับใช้คำว่า "The United States will not fully reactivate its military alliance with Thailand as long as the junta-controlled country refuses to restore democracy, a US diplomat warned on Thursday (Feb 5)." ซึ่งแปลได้ว่า "อเมริกาจะไม่คืนความเป็นพันธมิตรทางทหารกับไทยอย่างสมบูรณ์ ตราบใดที่ประเทศซึ่งถูกควบคุมโดยคณะรัฐประหารแห่งนี้ยังปฏิเสธฟื้นฟูประชาธิปไตย เจ้าหน้าที่ทูตระดับสูงของสหรัฐฯเตือนเมื่อวันพฤหัสบดี (5 ก.พ.)" ซึ่งคนละความหมายกับเว็บไซต์วอยซ์ทีวี ที่ระบุว่า สหรัฐระงับพันธมิตรเต็มรูปแบบกับไทย


สถานการณ์ข่าว6/2/58

ระเบิด
แม่ทัพภาคที่ 1 ระบุ แถลงการณ์ปลอมกับระเบิดที่บีทีเอสสยามเชื่อมโยงกันหรือไม่ ทุกอย่างอยู่ในกระบวนการสอบสวน

พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย กกล.รส.) กล่าวถึงการควบคุมตัวกรณี นายกฤษณ์ หรือ เน็ท บุตรดีจีน อายุ 26 ปี ผู้ที่แชร์หรือแพร่
แถลงการณ์สำนักพระราชวังปลอม ว่า การสอบสวนขึ้นอยู่กับการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญส่วนทหารจะเข้าไปร่วมดำเนินการด้วยภายใต้กฎอัยการศึก สำหรับสถานการณ์
ช่วงนี้ที่แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ออกมาเคลื่อนไหวบ่อยขึ้นนั้น ไม่อยากพูดถึงสาเหตุมาก เพราะเรื่องนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เน้นย้ำไว้ชัดเจนไม่อยากให้ขยายปมความขัดแย้ง เพราะทุกอย่างต้องดำเนินการไปตามกฎหมาย ไม่เช่นนั้นบ้านเรากฎหมายก็จะไม่สามารถบังคับใช้ได้จริง ใครทำผิดก็ต้องรับโทษตามกฎหมาย

ส่วนกรณีการปลอมแปลงแถลงการณ์สำนักพระราชวังกับเหตุการณ์ระเบิดที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม จะมีความเชื่อมโยงกันหรือไม่นั้น พล.ท.กัมปนาท กล่าวว่า ยังไม่ตอบ ไม่มีความชัดเจน ซึ่งทุกอย่างต้องว่าตามกระบวนการสอบสวน
---------------
คสช. ยัน เป็นธรรมหนุ่มปลอมแถลงการณ์ ยึดสิทธิมนุษยชน - เร่งล่าคนผิด

พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก ในฐานะโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวถึงกรณีทนายความกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) มาขอติดตามคดี

และขอพบนายกฤษณ์ ที่ถูกควบคุมตัวไว้นั้น ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการสอบสวน ยังไม่อยู่ในขั้นตอนการถูกตั้งข้อกล่าวหาจึงยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ทนายมาช่วยแก้ต่างให้ พร้อมยืนยัน
ว่าเป็นไปตามแนวทางที่หน่วยงานด้านความมั่นคงเคยปฏิบัติมา ซึ่งทุกคนจะได้รับความเป็นธรรมได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม แม้อยู่ในกรอบของกฎอัยการศึก และยึดถือเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน

ทั้งนี้ เป็นคดีที่ละเอียดอ่อน มีผลกระทบต่อจิตใจคนไทยจำนวนมาก เจ้าหน้าที่จึงจำเป็นต้องระมัดระวังและสืบค้นเพื่อให้ได้ตัวผู้ที่จงใจทำความผิดมาเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายให้ได้โดยเร็ว

อย่างไรก็ตาม ขอให้ตระหนักถึงเนื้อหาแถลงการณ์ดังกล่าวว่ามีความผิดปกติและไม่เผยแพร่ต่อ เพราะเป็นสิ่งที่กระทบต่อความรู้สึกและจิตใจคนไทย ในขณะเดียวกันต้องการให้สังคมให้เวลากับ

เจ้าหน้าที่รวบพยานหลักฐานให้ครบทุกด้าน เพื่อนำไปสู่การหาตัวผู้กระทำผิด ทั้งในเรื่องการผลิตเอกสารปลอม การเผยแพร่ และนำเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปตามกระบวนการทางกฎหมาย
--------------------------------
โฆษก ตร. ชี้ ข้อมูลการไล่ล่ามือบึ้ม ที่พารากอน ยังเผยไม่ได้ คาด ผู้ต้องหา น่าจะหลบหนีไปต่างจังหวัดแล้ว

พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผช.ผบ.ตร. และโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า สำหรับความคืบหน้าในกรณีการติดตามจับกุมตัว 2 ผู้กระทำผิดคดีลอบวางระเบิด
ไปป์บอมบ์ ที่ทางเชื่อมบริเวณสถานี BTS สยาม และ ห้างสยามพารากอน ล่าสุด ยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลในการติดตามไล่ล่า 2 คนร้ายได้ เนื่องจากคดีดังกล่าวนั้นเป็นคดีที่ต้องใช้การทำงานใน
ทางลับ โดยขอให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายสืบสวนดำเนินการก่อน ทั้งนี้ คาดว่า ผู้กระทำน่าจะหลบหนีออกนอกพื้นที่กรุงเทพมหานครแล้ว
--------------
ผบ.ตร. สั่งเข้มให้ทุกหน่วยวางมาตรการเตรียมรับมือป้องกันเหตุป่วนเมือง ส่งกำลังทุกหน่วยลงเต็มพื้นที่เสี่ยง

พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มีหนังสือคำสั่งราชการกำชับการปฏิบัติหลังเกิดเหตุระเบิดหน้าห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน เมื่อวันที่ 1 ก.พ. โดยให้ทุกหน่วยเพิ่มความเข้มความถี่และมาตรการเชิงรุกด้านสายตรวจทุกประเภทโดยเพราะการจัดสายตรวจเดินเท้า การแสดงกลุ่มก้อน การตรวจรถยนต์ ว.10 ประจำจุดและให้เปิดสัญญาณไฟวาบเพื่อป้องปรามลดแรงจูงใจและตัดโอกาสในการกระทำความผิดในพื้นที่สำคัญที่มีประชาชน นักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก อาจตกเป็นเป้าหมายในการก่อเหตุหรือสร้างสถานการณ์ความวุ่นวาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้างสรรพสินค้า สถานีขนส่งสถานีรถไฟฟ้า สวนสาธารณะสำหรับออกกำลังกายพักผ่อนหย่อนใจ และชุมทางรถโดยสารขนาดใหญ่ เช่น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ห้าแยกลาดพร้าว ศูนย์ค้าสยาม สนามกีฬา วงเวียนใหญ่ รังสิต ฯลฯ ตลอดจนท่าเรือและสถานที่สำคัญทุกแห่งในพื้นที่รับผิดชอบ ให้ ผบช.น. ร่วมกับ ผบก.น.1-9 รับผิดชอบศึกษาวิเคราะห์และกำหนดสถานที่เสี่ยงและวางแผนจัดกำลังสายตรวจ สนับสนุนการปฏิบัติร่วมกับฝ่ายรักษาความปลอดภัยของสถานที่นั้น ๆ โดยให้ รอง ผบ.ตร.ฝ่ายมั่นคง รับผิดชอบดูแลอำนวยการปฏิบัติในภาพรวมและให้ ศปก.ตร. ร่วมกับ สำนักงานยุทธศาสตร์ ตร.ติดตามแผนและผลการปฏิบัติของทุกหน่วยโดยกำหนดแบบรายงานของหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ ผ่าน ศปก./ บช.ภ.ให้เป็นระบบในการรายงานที่ชัดเจนให้หน่วยปฏิบัติโดยเคร่งครัด
----------------------
โฆษก ตร. ปัด จับมือบึ้มได้ พร้อมสอบชายสงสัยไม่โยง - พบ 1 มือระเบิดขากะเผลก ลั่น คดีคืบหน้าไปมาก

พลตำรวจโท ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปฏิเสธข่าวการควบคุมตัวคนร้ายวางระเบิดที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยกล่าวว่าเป็นลักษณะของชุดสืบสวนได้เชิญตัวผู้ต้องสงสัยมาสอบปากคำ และบางคนก็ไปสอบที่บ้าน แต่ไม่มีการจับกุมตัวแต่อย่างใด ซึ่งยอมรับว่ามีกระแสข่าวการจับกุมมาตลอด แต่ตอนนี้มีความคืบหน้าเพียงว่าคนร้ายในภาพวงจรปิดมีบุคลิกในการเดินผิดปกติ คือเดินขากะเผลกหนึ่งคนคือคนที่ใส่เสื้อแขนยาวสีขาว ซึ่งภาพวงจรปิดจับบุคลิกลักษณะนี้ได้ทุกตัวที่ตำรวจได้ภาพมา ซึ่งได้เปรียบเทียบกับผู้ต้องหาตามหมายจับหรือกลุ่มผู้ต้องสงสัยกลุ่มต่าง ๆ ก็ยังไม่พบว่า ไม่ตรง

ส่วนแท็กซี่ที่รับคนร้ายมานั้นก็ได้มีการสอบปากคำแล้ว โดยให้การเป็นประโยชน์ในทางคดี แต่ขณะนี้ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่ารับคนร้ายมาจากจุดใด แต่เป็นการเดินทางมาทอดเดียว ส่วนผู้ร่วมก่อเหตุนั้นยังเชื่อว่ามีมากกว่า 2 คน แต่อาจไม่ได้มาร่วมก่อเหตุในพื้นที่เท่านั้น

นอกจากนี้ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติยังปฏิเสธถึงกรณีกองทัพกดดันการทำงานของตำรวจเพราะผ่านไปหลายวันแล้ว ซึ่งตำรวจได้รายงานความคืบหน้าการทำงานอยู่ตลอด ซึ่งก็มีความคืบหน้าไปมาก
----------------
โฆษก ตร. ปัดข่าวจับมือบึ้มพารากอนที่ภูเก็ต รับสอบปากคำหลายรายแต่ยังไม่ตรง ชี้ 1 ในคนร้ายขาขวาบาดเจ็บ 

พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยความคืบหน้ามือวางระเบิดห้างสยามพารากอน ว่า จากที่มีกระแสข่าวว่าผู้ต้องหาหลบหนีไปอยู่ที่ภูเก็ตนั้นไม่เป็นความจริง และยอมรับว่าได้มีการเรียกตัวพยานมาสอบปากคำจำนวนมากและทุกคนก็ให้การเป็นประโยชน์ รวมถึงได้มีการเรียกตัวคนขับแท็กซี่มาสอบปากคำ ทราบว่าได้รับทั้ง 2 คนมาลงที่สยามพารากอน แต่ยังไม่เปิดเผยว่ารับมาจากที่ใด

และจากการตรวจสอบจากกล้องวงจรปิดย้อนหลังก็พบว่า 1 ในผู้ต้องหาที่ใส่เสื้อแขนยาวอายุมากนั้นมีอาการบาดเจ็บที่ขาขวาและเดินขากะเผลกจึงทำให้การติดตามตัวนั้นอาจเป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น

จากการตรวจสอบประวัติของผู้ต้องหารายเก่า ๆ นั้นไม่พบว่ามีใครที่มีอาการแบบนี้ และขณะนี้ก็ยังไม่ได้ออกหมายจับใครซึ่งหากใครพบเบาะแสคนร้ายให้โทรแจ้งที่ 191 ได้ทันที
-----------------
ผบช.น.เผยภาพกล้องวงจรปิดเห็นภาพมือบึ้มพารากอนชัดเจน มีประชาชนแจ้งเบาะแสแล้ว 1 ราย 

ความคืบหน้าคดีรอบวางระเบิดบริเวณทางเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม วันนี้มีรายงานว่าหลังจากที่ พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ได้เผยแผร่ภาพจากกล้องวงจรปิดล่าสุดซึ่งเห็นภาพคนร้ายค่อนข้างชัดเจน  ได้มีประชาชนแจ้งเบาะแสมายังกองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล แล้ว 1 ราย ซึ่งผู้แจ้งอยู่ต่างจังหวัดและแจ้งว่าเคยเห็นบุคคล 1 ใน2 รายที่ปรากฏในภาพจากกล้องวงจรปิดที่มีการเผยแพร่ ดังนั้นชุดสืบสวนจึงจัดกำลังลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงในวันนี้

นอกจากนี้ คณะทำงานทั้ง 7 ชุดได้กระจายกำลังหาหลักฐานเบาะแสเพิ่มเติมในพื้นที่ต่างจังหวัดรวมทั้งชายแดนทั่วประเทศ ทั้งนี้ ในส่วนของการประชุมติดตามความคืบหน้าของคดี เพื่อรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจะมีการประชุมอีกครั้งในช่วงบ่ายของวันพรุ่งนี้ (วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์)
-------------
ผบ.ตร. เผย คืบคดีระเบิด มอบหมายให้ โฆษก สตช. ดูแล ย้ำไม่เร่งรัด จนท.ในการจับกุมคนร้าย เข้ม รปภ.จุดเสี่ยง

พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร. เปิดเผยถึงความคืบหน้า กรณีระเบิดบริเวณห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ว่า ในส่วนของรายละเอียดได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้ดูแล ส่วนการดำเนินคดีนั้นอยู่ระหว่างการสืบสวน โดยทางผู้บังคับบัญชา ไม่ได้มีการกดดันฝ่ายสืบสวนในการเร่งรัดการจับกุมตัวคนร้าย เนื่องจากอยากให้การทำงานเป็นไปด้วยความละเอียดรอบคอบเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย

ส่วนมาตรการรักษาความปลอดภัยก็ยังคงเข้มงวด และไม่ได้หละหลวม แต่เพียงปรับรูปแบบในการรักษาความปลอดภัยที่จะไม่เน้นใช้กำลังเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบประจำจุดต่าง ๆ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการท่องเที่ยวเท่านั้น

ส่วนกรณีการเชิญตัวบุคคลที่ต้องสงสัย หรือเข้าข่ายการกระทำผิดเข้าให้ข้อมูลนั้น ก็เป็นการดำเนินการตามปกติตามขั้นตอนเนื่องจากบุคคลดังกล่าว อาจจะมีความเกี่ยวข้อง หรือมีข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดเหตุดังกล่าว

ส่วนกรณีการปลอมแปลงแถลงการณ์นั้น จะต้องดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเผยแพร่โดยไม่ละเว้น

อย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.สมยศ ยังกล่าวถึงกรณีการหายตัวไปของ พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี ว่า ตนก็เพิ่งทราบจากข่าวเมื่อเช้านี้ และยังไม่ได้รับรายงานว่า มีการแจ้งความร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่จากที่ติดตามข่าวคาดว่า เป็นปัญหาภายในครอบครัว
--------------
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เผย ยังจับมือบึ้มพารากอนไม่ได้ เพียงแต่เชิญมาสอบเพื่อฝห้เบาะแสเพิ่มเติม - ยันตำรวจไม่หละหลวม 

พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวยืนยันว่าตำรวจยังไม่มีการจับกุมผู้ต้องหาหรือผู้ต้องสงสัย ลอบวางระเบิด2จุดหน้าห้างสรรพสินค้าพรากอน แต่เป็นเพียงการเชิญมาสอบ เพื่อให้ข้อมูลหรือเบาะแสเพิ่มเติมโดยไม่ขอเปิดเผยว่าเชิญกลุ่มไหนมาบ้าง โดยในการเชิญมาสอบทหารและตำรวจทำงานร่วมกันตลอด เพราะบางครั้งต้องใช้อำนาจตามกฎหมายพิเศษของทหารในการเชิญตัวมาสอบ โดยอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง เป็นธรรมไม่กลั่นแกล้งใคร และไม่เคยกดดันผู้ใต้บังคับบัญชาว่าจะต้องจับได้ภายใน 3 วัน 5 วัน
 
อย่างไรก็ตาม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้มีมาตรการในการเฝ้าระวังดูแลความปลอดภัยอย่างเข้มข้น  และทำมาอย่างต่อเนื่อง ยืนยันว่าเหตุที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความหละหลวม เพียงแต่ที่ผ่านมามีการผ่อนกำลังเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบเพื่อไม่ให้กระทบบรรยกาศการท่องเที่ยวเท่านั้น โดยหลังจากนี้ได้กำชับให้ตำรวจสันติบาลเกาะติดการข่าวร่วมกับฝ่ายมั่นคงต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบสัญญานที่น่ากังวลแต่อย่างใด
//////////////
แถลงการณ์ปลอม

รรท.ผบก.ป. ชี้อยู่ระหว่างการสืบสวน กรณีแถลงการณ์ปลอม ลั่นคดีคืบหน้าไปมาก ยันขณะนี้ผู้ต้องหามีเพียงรายเดียว

พันตำรวจเอก อัคราเดช พิมลศรี รรท.ผบก.ป. เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีมีการเผยแพร่ปลอมแปลงแถลงการณ์ของสำนักพระราชวัง ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการสืบสวนของ ปอท. ซึ่งเบื้องต้นได้มีการจับกุม นายกฤษณ์ บุดดีจีน ไปแล้ว จำนวน 1 คน และอยู่ระหว่างสืบสวนหาตัวผู้ร่วมกระทำผิด และตรวจสอบว่า นายกฤษณ์ เป็นเพียงผู้ส่งต่อหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตหรือไม่ทั้งนี้ ตนยังได้รับรายงานจาก พลตำรวจตรี ศิริพงษ์ ติมุลา ผบก.ปอท. ว่า การดำเนินการมีความคืบหน้าไปมาก และเบื้องต้นพบว่าอาจจะมีผู้ต้องสงสัยอีกหนึ่งคนที่เกี่ยวข้องกับแถลงการณ์ปลอมดังกล่าว แต่จะต้องทำการตรวจสอบหาพยานหลักฐานให้แน่ชัดอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม ยังยืนยันว่า ขณะนี้ยังมีผู้ต้องหาเพียงรายเดียวเท่านั้น

ด้าน พลตำรวจตรี ศิริพงษ์ ติมุลา ผบก.ปอท. กล่าวว่า จากการติดตามข้อมูลในระบบพบว่า ขณะนี้แหล่งต้นตอการผลิตน่าจะอยู่ในประเทศไทย แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างแกะรอยสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน แต่ยืนยันว่าการสืบสวนมีความคืบหน้าไปมากและ ปอท. ไม่ได้นิ่งนอนใจอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการ ซึ่งจะต้องขอเวลาในการทำงานอีกสักระยะหนึ่งด้วย
--------------------------
โฆษก นปช. บุกยื่นหนังสือ ผบ.ตร. จี้เอาผิดคนเผยแพร่แถลงการณ์อย่างเท่าเทียม 

นายธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ์ โฆษกกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. พร้อมด้วย นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนาย นปช. เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อร้องขอความเป็นธรรมและให้ดำเนินคดีและเอาผิดกับผู้ที่เผยแพร่แถลงการณ์สำนักพระราชวังปลอมอย่างเท่าเทียม เนื่องจากเห็นว่าการเอาผิดและดำเนินกับ นายกฤษณ์ บุดดีจีน อายุ 26 ปี ชาวเพชรบูรณ์ ซึ่งต่อมามีการแถลงข่าวว่าเกี่ยวข้องกับขบวนการของ นปช. นั้น ทาง นปช. เห็นว่าเป็นการกล่าวหาที่ไม่มีความเป็นธรรมหลายประการ เพราะเป็นการกระทำของแต่ละบุคคลไม่อาจหมายรวมทั้งกลุ่ม นปช. ได้ ประกอบกับ นายกฤษณ์ ไม่ทราบว่าแถลงการณ์ดังกล่าวเป็นของปลอม การกระทำของ นายกฤษณ์ จึงไม่น่าจะมีความผิดตามกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และความผิดตามมาตรา 112 เพราะไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่มีเจตนา พร้อมกันนี้ยังเรียกร้องให้ตำรวจดำเนินคดีกับผู้ที่เผยแพร่อย่างเท่าเทียม เนื่องจากผู้ที่เผยแพร่แถลงการณ์ดังกล่าวเช่นเดียวกับ นายกฤษณ์ มีหลายคน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้สังคมมองว่าตำรวจดำเนินคดีเฉพาะเจาะจงกับ นปช. จึงขอให้ดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม นายวิญญัติ กล่าวด้วยว่า เมื่อวานที่ผ่านมา ไม่สามารถเข้าเยี่ยม นายกฤษณ์ ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ได้ เนื่องจากเป็นการควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก ไม่สามารถใช้สิทธิพิเศษใด ๆ ได้ โดยหลังจากครบ 7 วันแล้ว จะต้องมีการยื่นฟ้องจ่อศาลซึ่งตนจะเป็นทนายความต่อสู้คดีให้
--------------------------

////////////////
เคลื่อนไหวนายกฯ

โฆษกกระทรวงกลาโหม เผยจีนขอยกระดับฝึกร่วมทหารอากาศ-เรือ ย้ำสัมพันธ์แน่นแฟ้น 

พันเอก คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการหารือระหว่าง พลเอก ฉาง ว่าน ฉวน มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สาธารณรัฐประชาชนจีน และ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมว่า เป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 2 ประเทศให้ดีขึ้น โดยแลกเปลี่ยนด้านยุทธศาสตร์ การเข้าออกประเทศของกำลังพลทุกระดับ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ โดยจีนขอความร่วมมือจากไทย อยากให้มีการฝึกร่วมผสมระหว่างทหารอากาศ และการฝึกร่วมทางทะเล หรือยกพลขึ้นบกในอีก 3-5 ปี เพื่อยกระดับการฝึกร่วมผสม และความมั่นคงในภูมิภาค การเสริมสร้างการป้องกันประเทศ ซึ่งจีนพร้อมสนับสนุนเรื่องเทคโนโลยีทางทหาร ยุทโธปกรณต่าง ๆ อาทิ รถถัง เรือดำน้ำ ในราคามิตรภาพ ซึ่งจีนหวังไทยดำรงบทบาทอย่างสร้างสรรค์ โดยเฉพาะในการฝึกร่วมไทย-จีน ซึ่งถือเป็นการดำเนินการที่สร้างสรรค์ของไทยขณะที่ไทยขอให้จีนสนับสนุนเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการลงทุนต่าง ๆ
-------------------
'พล.อ.ประยุทธ์' ต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สาธารณรัฐประชาชนจีน ขณะ ผอ.สำนักงานเลขาธิการองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ เข้าพบ 'หม่อมอุ๋ย'

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ขณะนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พร้อมด้วย พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผู้บัญชาการทหารบก และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ พล.อ.ฉาง ว่าน ฉวน (H.E. General Chang Wanquan) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยจากเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างเข้มงวด

ขณะที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ให้การต้อนรับผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานเลขาธิการองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Industrial
Development Organization - UNIDO) ในการเข้าเยี่ยมคารวะ ณ ห้องรับรอง 1 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล
--------------------------
โฆษกกระทรวงกลาโหม เผย จีนยืนยันไม่แทรกแซงไทย พร้อมสนับสนุนด้านข่าวกรอง ข้าว และยางพารา

พันเอก คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทยและจีน เนื่องในโอกาสครบรอบการสถาปนาไทย-จีน 40 ปี ว่า ทางจีน
เข้าใจสถานการณ์ของประเทศไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงซับซ้อน ทั้งยังชื่นชมกองทัพที่เข้ามาควบคุมสถานการณ์ในประเทศให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนได้ และยืนยันจะไม่แทรกแซงไทย

ทั้งนี้ ไทยได้ขอความร่วมมือจากจีนในเรื่องของการแลกเปลี่ยนข่าวกรอง ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหายาเสพติด การค้ามนุษย์ และการก่ออาชญากรรมข้ามชาติ รวมถึงขอให้จีนรับซื้อพืชผลเกษตรของไทย โดยเฉพาะข้าวและยางพารา ซึ่งจีนพร้อมให้การสนับสนุน

อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งนี้จีนยินดีที่จะสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์ทหารของภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย
--------------------
โฆษก ทบ. ปัดอาหารสโมสรกองทัพบกแพง ย้ำสินค้ามีมาตรฐานเทียบเท่าภัตตาคารและโรงแรม 

พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก กล่าวถึงกรณีที่มีสื่อกล่าวถึงเมนูข้าวกะเพราของสโมสรกองทัพบก ราคาไม่เหมาะสม ว่า พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผบ.ทบ. มีนโยบายและมีความตั้งใจที่จะช่วยลดภาระค่าครองชีพให้กำลังพลและครอบครัวตามแนวทางรัฐบาล และได้ให้หน่วยต่าง ๆ ดำเนินตามนโยบายดังกล่าวมาระยะหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะเรื่องอาหารที่มีราคาถูกกว่าร้านค้าภายนอกเป็นส่วนใหญ่

และสำหรับสโมสรทหารบก (วิภาวดี) นั้น มีมาตรฐานเทียบเท่าภัตตาคารและโรงแรมมาตรฐาน ซึ่งอัตราค่าบริการคงเป็นไปตาม ต้นทุนสินค้าและการบริการที่ใกล้เคียงกับสถานประกอบการในลักษณะเดียวกัน ดังนั้นจากข้อท้วงติงดังกล่าว ทางหน่วยงานที่ดูแลสโมสรจะนำไปพิจารณาและได้ปรับราคาให้พิเศษกว่าที่อื่น โดยยังคงมาตรฐานที่มีคุณภาพไว้

อย่างไรก็ตาม สโมสรทหารบก (วิภาวดี) เป็นสถานที่ให้บริการกับกำลังพลและประชาชนทั่วไป ทั้งการจัดงาน  การจัดกิจกรรม สถานที่ออกกำลังกาย และการจัดพิธีสำคัญของหน่วยงานต่าง ๆ ในวัตถุประสงค์ ไม่ได้มุ่งหวังให้มีผลกำไรสูง แต่ยึดอัตราค่าบริการอย่างสมเหตุสมผล และยังมีส่วนลดสำหรับข้าราชการทหาร และหน่วยงานราชการอื่น ๆ ด้วย
--------------------------
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผย ไทย-จีน ยกระดับความสัมพันธ์ สนันสนุนฝึกร่วม ผลผลิตทางการเกษตร พัฒนาเส้นทางรถไฟ

ร้อยเอก นายแพทย์ยงยุทธ ไมยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการหารือระหว่าง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กับ พลเอกฉาง ว่านฉวน มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่า เป็นการพูดคุยกันเรื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปี ความสัมพันธ์ไทยจีน เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งด้านความมั่นคงที่ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องให้ยกระดับการฝึกร่วมกันของเหล่าทัพทั้ง 2 ประเทศ โดยจีนจะสนับสนุนด้านยุทโธปกรณ์ ส่วนด้านเศรษฐกิจจะเป็นการพัฒนาเส้นทางรถไฟ ผลผลิตทางการเกษตร และการท่องเที่ยว

นอกจากนี้ไทยยังขอให้จีนสนับสนุนเรื่องของงานวิจัยและการศึกษาของเหล่าทัพอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ร้อยเอก นายแพทย์ยงยุทธ ยืนยันว่า การยกระดับความสัมพันธ์กับประเทศจีนไม่เกี่ยวกับข้องกับการถ่วงดุลอำนาจกับสหรัฐอเมริกา เป็นเพียงการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีมายาวนานเท่านั้น
-----------------------
นายกรัฐมนตรีเตรียมเยือนบรูไนมีนาคมนี้ พร้อมลงนามความร่วมมือ 6 ฉบับ

ร้อยเอก นายแพทย์ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลัง ดาโต๊ะปาดูกา ฮัจญี กามิส บิน ฮัจญี ตามิน (H.E. Dato Paduka Haji Kamis bin Haji Tamin) เอกอัครราชทูตบรูไนดารุสซาลามประจำประเทศไทย เข้าพบนายกรัฐมนตรีเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ว่า เอกอัครราชทูตบรูไนฯ เข้าพบกับนายกรัฐมนตรีเพื่ออำลาตำแหน่ง พร้อมพูดคุยถึงการสนับสนุนภาษาอังกฤษระหว่างมหาวิทยาลัยบรูไนฯ ร่วมกับสหรัฐอเมริกา เพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษในอาเซียน และนายกรัฐมนตรีของไทยยังได้ร่วมถวายพระพรกษัตริย์ของบรูไน รวมถึงชื่นชมวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศอีกด้วย

นอกจากนี้ ในช่วงปลายเดือนมีนาคม นายกรัฐมนตรีจะมีกำหนดการเยือนประเทศบรูไนดารุสซาลามอย่างเป็นทางการเพื่อลงนามความร่วมมือ หรือ เอ็มโอยู 6 ฉบับ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการร่าง
ความตกลง
-----------------------------
รัฐบาลปัดห้ามบอลจุฬา-ธรรมศาสตร์ งดขบวนการเมือง โยน คสช.ดู ห่วงขยายผลขัดแย้ง 

พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกระแสข่าวการงดจัดขบวนล้อการเมืองในงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ ว่า เบื้องต้นยังไม่ทราบรายละเอียด แต่รัฐบาลไม่มีนโยบายแบบนี้ โดยอาจจะเกี่ยวข้องกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.

ทั้งนี้ ต้องเห็นใจว่าการจัดงานดังกล่าวมองได้หลายมุม เช่น สิทธิเสรีภาพ เป็นประเพณี ไม่มีอะไรร้ายแรง แต่จะต้องคำนึงถึงบริบทหลายประการ ว่าคนจัดงานอาจไม่คิดว่าการจัดกิจกรรมจะส่งผลร้ายต่อประเทศ แต่อาจมีอีกกลุ่มนำไปเป็นประเด็นทางการเมือง แต่ยืนยันว่าไม่ใช่นโยบายของรัฐบาล ซึ่งจะต้องสอบถามทาง คสช.
----------------------
พ.อ.วินธัย ยัน ไม่ได้ห้ามบอลจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ แปรอักษรล้อการเมือง เพียงประสานผู้จัดดูเเล กังวลถูกโยงการเมือง 

พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก ในฐานะโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวถึงกรณีฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ว่า ทางผู้จัดทั้งสองสถาบันได้มีการประสานกันกับทางเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในระดับพื้นที่ถึงรายละเอียดกิจกรรมว่าก่อนแข่งขันอาจจะมีการละเล่นเชิงหยอกล้อการเมือง จึงประสานกันว่าปีนี้จะมีการระมัดระวังในเนื้อหาให้อยู่ในกรอบของความบันเทิงทางการกีฬาตามธรรมเนียมที่พอเหมาะสม เพราะทั้งผู้จัดและเจ้าหน้าที่เห็นตรงกันว่ามีโอกาสที่อาจถูกบางบุคคลหยิบไปบิดขยายผลส่งผลให้เกิดความไม่เรียบร้อย หรือถูกนำไปอ้างเชื่อมโยงเป็นประเด็นขัดแย้งได้

ทั้งนี้ ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ห้าม แค่เห็นตรงกันว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ทางผู้จัดเข้าใจและมีแผนที่จะระมัดระวังให้อยู่แล้ว
////////////
เศรษฐกิจ

หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เผยเศรษฐกิจในประเทศมีการขยับตัวขึ้นถึง 450,000 ล้านบาท ขณะยังไม่ได้รับรายงานรถไฟความเร็วปานกลางจีนแพงกว่าญี่ปุ่น

หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวภายหลังการเข้าพบผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานเลขาธิการองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ ว่า เป็นเพียงการพูดคุยและแลกเปลี่ยนข้อมูลในการพัฒนาอุตสาหกรรม ตลอดจนผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อม หลังการก่อสร้างอุตสาหกรรม พร้อมทั้งยังเป็นการพูดคุยถึงการสนับสนุนในการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เศรษฐกิจในบริเวณประเทศเพื่อนบ้านมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ยังได้มีการชื่นชมการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศตลอด 50 ปีที่ผ่านมา รวมถึงการนำแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยไปเผยแพร่ให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาด้วย

นอกจากนี้ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร ยังกล่าวว่า หลังจากเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้อนุมัติใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน หรือ แบบ ร.ง.4 ให้กับผู้ประกอบการ 4,200 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้มีการจ้างงานกว่า 99,000 คน และยังทำให้เศรษฐกิจในประเทศมีการขยับตัวขึ้นถึง 450,000 ล้านบาท นอกจากนั้น ยังพบว่ายังมีการจับจ่ายใช้สอยในประเทศเพิ่มขึ้น โดยในเดือนมกราคมนี้มีตัวเลขภาษีมูลค่าเพิ่มถึง 40,000 ล้านบาท และคาดว่าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคมนี้จะมีตัวเลขภาษีมูลค่าเพิ่มถึง 38,000-39,000 ล้านบาท

ส่วนการลงทุนสร้างรถไฟความเร็วปานกลางร่วมกับจีน ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าการกู้เงินมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าการลงทุนร่วมกับญี่ปุ่นนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานในเรื่องดังกล่าว เชื่อว่าไทยมีความพร้อมในการกู้เงินในประเทศ แต่อาจจะมีปัญหาในการตรวจสอบ เนื่องจากไม่มีการประมูล ส่วนการสร้างรถไฟร่วมกับญี่ปุ่นมองว่า เป็นสิ่งที่ดี เพราะไทยไม่ต้องดำเนินการศึกษาเส้นทางในการก่อสร้างด้วยตนเอง โดยเส้นทางดังกล่าวเริ่มต้นตั้งแต่ชายแดนฝั่งตะวันออกของไทยไปสิ้นสุดยังชายแดนฝั่งตะวันตก
//////////////
ปฏิรูป

เวทีสานพลังประชาชนเพื่อปฏิรูปฯ แบ่งกลุ่มย่อยระดมความคิด ขณะ 'ถวิลวดี' ระบุ คนใต้ช่างคิด เชื่อ วันนี้มีความชัดเจนในข้อเสนอแนะ

บรรยากาศวันที่สองของเวทีประชาเสวนาหาทางออก "สานพลังประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศไทย" ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ที่โรงแรมร้อยเกาะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ล่าสุดในขณะนี้เป็นช่วงของการแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 8 กลุ่ม เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในประเด็นตามที่กำหนด คือ พลเมืองที่ดีและการทีส่วนร่วมทางการเมืองที่พึงปรารถนา ผู้นำที่พึงปรารถนา การต่อต้านทุจริตที่พึงปรารถนา และการปฏิรูปเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ ซึ่งบรรยากาศในการเสวนาเป็นไปด้วยความคึกคัก โดยประชาชนที่เข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้ได้ให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นเป็นอย่างดี

ด้าน นางถวิลวดี บุรีกุล กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และประธานอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน กล่าวถึงภาพรวมของการเสวนาในวันแรกว่าเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งประชาชนที่เข้าร่วมได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการแสดงความคิดเห็น เนื่องจากคนใต้นั้นเป็นคนที่ช่างคิด ช่างวิเคราะห์ ช่างสังเกต รวมถึงกล้าที่จะพูดถึงความต้องการออกมาอย่างชัดเจน และเชื่อว่าในวันนี้จะมีความชัดเจนมากขึ้นสำหรับความต้องการในการปฏิรูปประเทศของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้
----------------
กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มประชุมแล้ว โดยพิจารณาเรื่องกระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่น

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง หมวด 7 กระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีทั้งหมด 6 มาตรา ซึ่งขณะนี้ได้พิจารณาผ่านแล้ว 2 มาตรา

ทั้งนี้ ได้แขวนมาตรา 2  ซึ่งในวรรคเรื่ององค์กรบริหารท้องถิ่นต้องมีคณะผู้บริหารท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสภาท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง หรือความเห็นชอบจากประชาชนด้วยวิธีอื่น ซึ่งตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยอย่างน้อยสมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมีสัดส่วนของสตรีไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามซึ่งในวรรคนี้ คณะกรรมาธิการได้แขวนไว้ก่อน

สำหรับอำนาจหน้าที่ขององค์กรบริหารท้องถิ่นอย่างน้อยต้องมีอำนาจในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การจัดทรัพยากรธรรมชาติ การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเศรษฐกิจพื้นฐาน การศึกษาอบรม และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยบริหารงานไปตามหลักธรรมาภิบาลและมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การบริหาร การจัดบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคลและการคลัง
--------------
กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญประชุมอย่างต่อเนื่อง คาดพิจารณาการกระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 6 มาตราเสร็จวันนี้ 

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด ที่มี นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ รองประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง หมวด 7 การกระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องการจัดสรรทรัพยากรส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ สมาชิกได้อภิปรายในแต่ละวรรคกันอย่างกว้างขวาง โดยต้องการให้มีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถดูแลตนเองได้โดยไม่ต้องรอการช่วยเหลือจากส่วนกลาง

อย่างไรก็ตาม ในหมวดนี้มีทั้ง 6 มาตรา โดยคณะกรรมาธิการฯ จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันนี้อย่างแน่นอน
---------------------
กกต. ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงผู้นำแม่น้ำ 5 สาย กรณี กมธ.เห็นชอบลดอำนาจ-ให้ กจต.จัดเลือกตั้งแทน

นางสาวสุรณี ผลทวี ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการการเลือกตั้ง เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกของ กกต. ถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอข้อสังเกตของการยกร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. โดยเห็นว่า การให้มีคณะกรรมการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง หรือ กจต. ทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งแทน เห็นว่าการแยกผู้ควบคุมการเลือกตั้งและผู้จัดการเลือกตั้งออกจากกัน ไม่เป็นไปหลักสากล และอาจส่งผลให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซง ขาดความเป็นอิสระ

ส่วนการให้ กกต. มีอำนาจเพียงสั่งเลือกตั้งใหม่ หรือให้ใบเหลือง เฉพาะในช่วงก่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง โดยให้การเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งผู้สมัครหรือใบแดงเป็นอำนาจของศาล มองว่า จะเป็นการเปิดช่องว่างให้ผู้กระทำผิด เข้ามามีอำนาจทางการเมืองและใช้อิทธิพลข่มขู่พยานเพื่อประโยชน์ทางคดีในการชนะการเลือกตั้ง

นอกจากนี้ การตัดอำนาจหน้าที่ของ กกต. ในการส่งเสริม สนับสนุน ประสานงานกับหน่วยราชการในการให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เห็นว่าไม่เหมาะสม เพราะเป็นการตัดสิทธิ์การมีส่วนร่วมและรับรู้ของประชาชน

อย่างไรก็ตาม นางสาวสุรณี ระบุว่า เมื่อกฎหมายออกมา กกต. ก็พร้อมรับและปรับปรุงองค์กรให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ

ทั้งนี้ จดหมายเปิดผนึกที่ส่งถึงนายกรัฐมนตรีได้ลงนามโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งครบทั้ง 5 คน โดยหลังจากนี้ นางสาวสุรณี จะเดินทางไปยื่นจดหมายเปิดผนึกต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่กองบัญชาการกองทัพบก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่รัฐสภาต่อไป
----------------------
ความเคลื่อนไหวที่รัฐสภา วันนี้ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นัดประชุมเพื่อพิจารณารายมาตราต่อเนื่อง ในหมวด7 การกระจายอำนาจและการบริหารท้องถิ่น ขณะเดียวกัน ตัวแทน 

กกต. ยื่นหนังสือเพื่อขอให้ทบทวนการลดอำนาจการเลือกตั้งของ กกต.

การประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม ซึ่งวันนี้เป็นการพิจารณาในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง หมวด7 การกระจายอำนาจและการบริหารท้องถิ่น มาตรา2 องค์กรบริหารท้องถิ่นต้องมีคณะผู้บริหารท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสภา

ท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง หรือความเห็นชอบจากประชาชนด้วยวิธีอื่น ซึ่งตามที่กฏหมายบัญญัติ โดยอย่างน้อยสมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมีสัดส่วนของสตรีไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม ซึ่งในวรรคนี้ สมาชิกได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง โดยบางส่วนเห็นว่าควรมีการบัญญัติให้มีสัดส่วนของสตรี เนื่องจากเป็นความก้าวหน้าของรัฐธรรมนูญในระดับสากล ขณะที่บางส่วนมองว่าจะเป็นการบังคับให้ประชาชนต้องเลือกผู้สมัครที่เป็นสตรี เพื่อให้สอดคล้องกับสัดส่วน จึงแขวนวรรคนี้ไว้

ทั้งนี้ สำหรับอำนาจหน้าที่ขององค์กรบริหารท้องถิ่นอย่างน้อยต้องมีอำนาจในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การจัดทรัพยากรธรรมชาติ การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเศรษฐกิจพื้นฐาน การศึกษาอบรม และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยบริหารงานไปตามหลักธรรมาภิบาลและมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การบริหาร การจัดบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคลและการคลัง

ขณะเดียวกันวันนี้ ตัวแทนคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ได้เดินทางมายื่นหนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอให้ทบทวนการลดอำนาจจัดการเลือกตั้งของ กกต. ซึ่งเห็นว่า การจัดการเลือกตั้ง จนถึงการประกาศผลการเลือกต
---------------------------
กมธ.ยกร่างฯ ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ขณะสมาชิกเสนอบัญญัติให้ภาครัฐกำกับดูแลท้องถิ่นเท่าที่จำเป็น

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา หมวด 7 กระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งขณะนี้ได้พิจารณาในมาตรา 2 เรื่องของการกำกับดูแลท้องถิ่น สมาชิกเสนอให้บัญญัติภาครัฐกำกับดูแลท้องถิ่นเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และเสนอให้บัญญัติไว้ว่า ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดนโบายการดำเนินการของท้องถิ่น และเพื่อให้เกิดประโยชน์ตามนี้อาจจัดให้มีสมัชชาพลเมือง เพื่อให้ร่วมกันดำเนินการในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้นำความเห็นของพรรคการเมือง สปช. สนช. และประชาชนมาพิจารณาร่วมด้วย ซึ่งสมาชิกบางส่วนเสนอให้มีการบัญญัติเพิ่มเติมในเรื่องของการแบ่งเขต และการควบรวมเขตเพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ประชาชนและยังเสนอให้ประชาชนมีสิทธิ์ถอดถอนนักการเมืองท้องถิ่นได้

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังคงหารือและเตรียมการตั้งอนุกรรมาธิการยกร่างประมวลกฎหมายท้องถิ่น เพื่อมาทำหน้าที่รวมกฎหมายท้องถิ่น อาทิ กฎหมายเทศบาล กฎหมาย อบจ. กฎหมาย อบต. กฎหมายปกครองกรุงเทพมหานคร เพื่อควบรวมให้เป็นกฎหมายฉบับเดียวกันตามแผนการกระจายอำนาจ
---------------------------------
เวทีสานเสวนาปฏิรูปประเทศภาคใต้ตอนบนเสร็จสิ้น สรุปผลเสนอลงโทษผู้ทุจริตเด็ดขาด ไม่มีหมดอายุความ

บรรยากาศการสัมมนา เวทีประชาเสวนาหาทางออก "สานพลังประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศไทย" ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนล่าสุดได้เสร็จสิ้นลงแล้ว โดยก่อนจบกิจกรรมประชาชนที่เข้าร่วมได้มีการเสนอผลการระดมความคิดเห็นโดยมีข้อเสนอที่สำคัญ อาทิ การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น มีการเสนอให้มีการบัญญัติบทลงโทษกับผู้ที่ทุจริตอย่างเด็ดขาด และคดีความจะต้องไม่มีการหมดอายุ รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่ใช้กฎหมายจะต้องใช้กฎหมายอย่างจริงจังและเป็นธรรม ตลอดจนมีการเสนอให้มีการใช้มาตรการทางสังคมในการลงโทษผู้ที่ทุจริตอย่าให้มีที่ว่างที่จะยืนอยู่ในสังคม

นอกจากนี้ ยังมีการเสนอว่า หากนักการเมืองคนใดที่ทุจริตแล้วศาลได้พิพากษาว่าผิดและถึงที่สุดแล้ว จะไม่สามารถลงเล่นการเมืองอีกได้ตลอดชีวิต ส่วนผู้นำที่ดีนั้นจะต้องมีประวัติที่ดี สามารถตรวจสอบได้ มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ เสียสละ เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน พร้อมทั้งเสนอให้นักการเมืองมีวาระในการดำรงตำแหน่งได้แค่วาระเดียว และจะต้องมีการตรวจสอบทรัพย์สินก่อนและหลังเข้ารับตำแหน่งในช่วงเวลา 3-4 ปี รวมถึงต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถดำเนินการตรวจสอบได้ตลอดเวลา
-----------------------------------------
"คำนูณ" หวัง สมัชชาพลเมืองร่วมแก้ปัญหาท้องถิ่นกำหนดนโยบาย

นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า การจัดตั้งสภาพลเมือง จะเป็นองค์กรที่มีส่วนร่วมในการบริหารท้องถิ่นในการกำหนดนโยบาย, ตัดสินใจแก้ปัญหา และมีส่วนร่วมในการดำเนินการต่างๆ ในท้องถิ่น ซึ่งการจัดตั้งสมัชชาพลเมือง ขึ้นอยู่กับความพร้อมและรูปแบบท้องถิ่นในแต่ละท้องที่ ทั้งนี้ ถือว่าสมัชชาพลเมืองเป็นตัวแทนของประชาชน ส่วนกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ทักท้วงอำนาจหน้าที่ของ กกต. ในการจัดเลือกตั้งนั้น คณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะรับเรื่องไว้พิจารณา

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ นี้ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะเริ่มพิจารณา ภาค 4 การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง หมวด 1 การปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความ

เป็นธรรม

รมว.กห.จีนเข้าเยี่ยมคารวะ'บิ๊กตู่'กระชับความสัมพันธ์ 2 ประเทศ

รมว.กห.จีนเข้าเยี่ยมคารวะ'บิ๊กตู่'กระชับความสัมพันธ์ 2 ประเทศ
Cr:แนวหน้า
6 ก.พ.58 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ฉาง ว่านฉวน มนตรีแห่งรัฐ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมคณะ เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในระหว่างวันที่ 5 - 7 ก.พ.นี้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางทหาร และความมั่นคงทางภูมิภาค
โดย ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการเข้าพบว่า การเข้าพบของ รมว.กลาโหมจีน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ไทย - จีน ยกระดับความสัมพันธ์ในการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน โดยไทยยืนยันนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมความสัมพันธ์ และพัฒนาความร่วมมืออย่างใกล้ชิด
สำหรับความร่วมมือทางด้านความมั่นคง ทาง รมว.กลาโหมจีน แสดงความประสงค์ให้มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และเห็นพ้องให้การฝึกร่วมของเหล่าทัพมีความเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม ไทย - จีน ได้เคยฝึกร่วมคอบร้าโกลด์ในปีที่ผ่านมาเป็นครั้งแรก และปีนี้ก็จะฝึกร่วมในลักษณะเดียวกัน โดยเน้นโครงการให้ความช่วยเหลือประชาชน
ในส่วนอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศไทยอยากให้จีนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา รวมถึงด้านการศึกษาและการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างเหล่าทัพที่เป็นรูปธรรม โดย พล.อ.ประยุทธ์ ได้ชื่นชมและสนับสนุนวิสัยทัศน์ของผู้นำจีน ในแนวคิดเส้นทางสายไหมทางทะเล และเส้นทางการค้าการลงทุนต่างๆ ซึ่งไทยมีความประสงค์จะร่วมด้วย
นอกจากนี้ ไทยและจีนได้มีความร่วมมือทางด้านรถไฟ และสินค้าทางการเกษตร ที่จะเดินหน้าผลักดันต่อไป อย่างไรก็ตาม ในปีนี้เป็นปีแห่งการท่องเที่ยววิถีไทย โดยในเทศกาลตรุษจีนของไทย จะเชิญชวนฝ่ายจีนมาร่วมด้วย
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่จีนจะซื้อข้าวและยางพาราจากไทย มีความคืบหน้าอย่างไร ร.อ.นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า เป็นเรื่องความร่วมมือที่จีนจะซื้อสินค้าเกษตรจากไทย ทั้งข้าวและยางพารา แต่ยังไม่มีการลงในรายละเอียดว่าจะเป็นเมื่อไหร่อย่างไร
เมื่อถามว่า นายกฯ ได้ชี้แจงสถานการณ์การเมืองไทยหรือไม่ โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ไม่ได้อธิบายอะไรมาก เพราะฝ่ายจีนมีความเข้าใจในสถานการณ์เป็นอย่างดี และพร้อมจะร่วมมือกับไทยสนับสนุนเรื่องการปฏิรูป ซึ่งที่ผ่านมาฝ่ายจีนได้สนับสนุนไทยในการไปศึกษาดูงานเรื่องการปฏิรูป ระบบกฎหมาย และเรื่องความมั่นคง
อย่างไรก็ตาม การหารือครั้งนี้ไม่มีการพูดถึงเรื่องการยกเลิกกฎอัยการศึกแต่อย่างใด เมื่อถามว่า การที่ไทยมีความใกล้ชิดกับจีนมากขึ้น จะเป็นการถ่วงดุลอำนาจกับสหรัฐอเมริกาหรือไม่ โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ความสัมพันธ์ไทย - จีน มีมายาวนาน ไม่ว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะเปลี่ยนไปอย่างไร จีนก็มีความคงเส้นคงว่ามาโดยตลอด มีการสนับสนุนกันในเวทีต่างๆ ทั้งสองฝ่ายก็มีความชื่นชม และคิดว่าเป็นการดำเนินความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่อง ไม่มีอะไรที่ผิดปกติ


"เพ็ญโสม ดามาพงศ์" ลาออกทุกตำแหน่ง "เอสซีแอสเสท" มีผล 3 ก.พ.

http://www.matichon.co.th/online/2015/02/14231127851423112803l.jpg

นายสมบูรณ์ คุปติมนัส เลขานุการ บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทำหนังสือแจ้งกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องนางเพ็ญโสม ดามาพงศ์ กรรมการ กรรมการบริหาร กรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท บริษัท เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นหนังสือแสดงความประสงค์ลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัททุกตำแหน่ง เพื่อไปปฏิบัติภารกิจอื่น โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558

10 คำถาม 10 คำตอบ เกี่ยวกับกลุ่ม ISIS ในอิรัก

10 คำถาม 10 คำตอบ เกี่ยวกับกลุ่ม ISIS ในอิรัก


รุสตั้ม หวันสู[1]
            นับตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กลุ่มติดอาวุธกลุ่มหนึ่งนามว่า ISIS ได้สร้างความตื่นตะลึงให้คน ทั้งโลก โดยเข้ายึดครองเมืองต่างๆในภาคเหนือของอิรักอย่างสายฟ้าแลบ เริ่มจากเมืองซามาร์รา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน เมืองโมซุลในคืนวันที่ 9 มิถุนายน และเมืองไทกริตบ้านเกิดของอดีตประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซ็นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน เหตุการณ์ยิ่งเลวร้ายขึ้นทุกวันและรัฐบาลอิรักกำลังเสียเมืองต่างๆให้แก่กลุ่มกบฏ ISIS อย่างไม่อาจต้านทาน ได้ จนเกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับกลุ่มติดอาวุธ ISIS ว่าพวกเขาคือใครและต้องการทำอะไร และอีกหลายๆคำถามที่ เราจะมาหาคำตอบไปด้วยกัน
[source: Yaser Al-Khodor.Courtesy Reuters]
1. กลุ่ม ISIS คือใคร และมีเป้าหมายอะไร เกี่ยวข้องกับองค์กรอัลกออิดะฮ์ใช่หรือไม่?
            ISIS หรือ ISIL หรือ "The Islamic State in Iraq and al-Sham" แปลว่า "รัฐอิสลามในอิรักและอัล-ชาม (ซีเรีย)" แต่หากเรียก ISIL จะย่อมาจาก "The Islamic State in Iraq and Levant" แปลว่า "รัฐอิสลามในอิรักและเลแวนท์" ซึ่งเลแวนท์ ก็หมายถึงซีเรียเช่นเดียวกัน ดังนั้นในภาษาอังกฤษสามารถเรียกได้ทั้งสองแบบ แต่ในภาษาอาหรับนิยมเรียกชื่อย่อว่า "ดาอิซ" (daesh)        
            ดังนั้นไม่ว่าจะเรียกแบบใด ISIS ก็คือกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งประกาศจัดตั้งรัฐที่ยังไม่มีใครรับรอง โดยรวมดินแดนบางส่วนในอิรักและซีเรีย มีเป้าหมายสูงสุดคือ การจัดตั้งรัฐอิสลาม โดยรวมดินแดนในเลแวนท์ ซึ่งนอกจากซีเรียแล้ว ยังรวมถึงเลบานอน อิสราเอล ปาเลสไตน์ จอร์แดน ไซปรัส และภาคใต้ของตุรกีไว้ด้วยกัน
            การก่อตั้ง
            อาจกล่าวได้ว่าการที่สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรทำสงครามในอิรักเมื่อปีค.ศ.2003 คือการจุดประทุเชื้อของ ความรุนแรงและการก่อการร้ายในอิรักซึ่งต่อมาได้ลุกลามไปทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง ในต้นปีค.ศ. 2004 กลุ่มติดอาวุธ กลุ่มหนึ่งได้ก่อตั้งขึ้น ใช้ชื่อว่า "ญามาอัต อัต-เตาฮีด อัล-ญิฮาด" หรือ "องค์กรแห่งเอกภาพในการศรัทธา และการญิฮาด"  (The Organization of Monotheism and Jihad- JTJ) มีผู้นำคือนายอบู มูซ๊าบ อัล-ซอรฺกอวี ชาวจอร์แดน
            ต่อมาในเดือนตุลาคมปีค.ศ. 2004 นายซอรฺกอวีได้ประกาศความจงรักภักดี (บัยอะ) ต่อนายอุซมา บินลาดิน ผู้นำองค์กรอัล-กออีดะ นายซอรฺกอวีจึงเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น "ตันซิม กออีดะ อัล-ญิฮาด ฟี บีลาด อัล-รอฟีดาน หรือ "องค์กรแห่งการญิฮาด ซึ่งมีฐานในประเทศแห่งสองแม่น้ำ" (The Organization of Jihad's Base in the Country of the Two Rivers- TQJBR) แม้การยอมรับต่อองค์กรอัล-กออีดะ จะทำให้กลุ่มนี้ได้รับการขนานนามว่า กลุ่มอัล-กออีดะฮ์แห่งอิรัก (Al-Qaeda in Iraq- AQI) แต่กลุ่มนี้ก็ไม่เคยใช้ชื่อดังกล่าวแทนชื่อกลุ่มนอกจากชื่อที่ประกาศใช้เป็นทางการ[2]
            ในเดือนมกราคมปีค.ศ. 2006 กลุ่มดังกล่าวได้เข้ารวมกับกลุ่มติดอาวุธอีกหลายกลุ่มในอิรักภายใต้องค์กรที่มีชื่อว่า "สภาที่ปรึกษามูญาฮีดีน (The Mujahijdeen Shura Council) และในเดือนมิถุนายนปีเดียวกันนี้เอง กองกำลังของสหรัฐฯได้ ลอบสังหารนายซอรฺกอวี
            ต่อมาวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2006 ทางกลุ่มได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เดาลัต อัล-อิรัก อัล-อิสลามียะ" หรือ "กลุ่มรัฐอิสลามแห่งอิรัก" (Islamic State of Iraq- ISI) ภายใต้การนำขอนายอบู อับดุลเลาะห์ อัล-รอชิด อัล-บักดาดี (Abu Abdullah al-Rashid al-Baghdadi) โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนคือ การปลดปล่อยดินแดนของชาวมุสลิมนิกายซุนนีจากการกดขี่ และยึดครองของกลุ่มชีอะฮ์และต่างชาติ กลุ่ม ISI ในอิรักมีแกนนำระดับสูงอีกคนที่เป็นชาวอียิปต์คือนาย อบู อัยยุบ อัล-มาสรี (Abu Ayyub al-Masri) ซึ่งต่อมาแกนนำทั้งสองก็ถูกสังหารในปฏิบัติการทางการทหารของสหรัฐฯและอิรัก เมื่อเดือนเมษายน ปีค.ศ. 2010 นายอบูบักรฺ อัล-บักดาดี จึงขึ้นเป็นผู้นำจนถึงปัจจุบัน
            วันที่ 9 เมษายน ปีค.ศ. 2013 ภายหลังจากกลุ่ม ISI ขยายปฏิบัติการไปยังประเทศซีเรียเพื่อล้มรัฐบาลนายบาชัร อัล-อัซซาด กลุ่ม ISI จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "รัฐอิสลามแห่งอิรักและอัล-ชาม (ซีเรีย) ดังชื่อในปัจจุบัน โดยใช้ชื่อย่อว่า ISIS หรือ ISIL นิยมเรียกชื่อย่อในภาษาอาหรับว่า "ดาอิซ" (Daesh)
            อย่างไรก็ตามสายสัมพันธ์กับองค์กรอัล-กออีดะฮ์ที่มีมายาวนานก็ขาดสะบั้นลงในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 ภายหลังจากกลุ่ม ISIS แสดงความท้าทายต่อองค์กรอัล-กออีดะอ์ โดยประกาศต้องการควบรวมกลุ่มอัล-นุสรอ ซึ่งเป็นกลุ่ม ติดอาวุธของอัล-กออีดะฮ์อีกกลุ่มในซีเรียเข้ากับ ISIS นับเป็นครั้งแรกที่องค์กรสาขาของอัล-กออีดะฮ์แสดงความกระด้าง กระเดื่องต่อองค์กรแม่
            นายบารัค เมนเดลซอน (Barack Mendelsohn) นักวิชาการรัฐศาสตร์ วิทยาลัยฮาเวอร์ฟอร์ด (Haverford College) กล่าวว่า "ตลอดระยะเวลาหลายปี มีหลายสัญญาณที่บ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่ระหว่างอัล-กออีดะฮ์กับ ISIS ซึ่งถูกมอง ว่าปกครองยาก" โดยเมนเดลซอนก็ได้อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสององค์กรว่า "ดำเนินความสัมพันธ์บนพื้นฐานของ ผลประโยชน์มากกว่าอุดมการณ์"[3]
            ปัจจุบันองค์กรอัล-กออีดะฮ์และ ISIS ได้เปลี่ยนสภาพจากองค์กรแม่-ลูกมากำลังกลายเป็นคู่ขัดแย้งที่แข่งขันกัน เผยแพร่อิทธิพลต่อกลุ่มอิสลามสุดโต่งทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านมองว่ากลุ่ม ISIS จะเข้ามาเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลในระดับ โลกแทนองค์กรอัล-กอดีอะฮ์ในไม่ช้า
            เป้าหมาย
            ชื่อของกลุ่มบ่งชี้เป้าหมายของกลุ่มคือ เพื่อจัดตั้งรัฐอิสลามในอิรักและซีเรีย ดังเช่นพลเอก เรย์ ออเดียโน (Ray Odierno) ผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯประจำอิรักกล่าวว่า "พวกเขาต้องการทำให้รัฐบาลอิรักเป็นง่อย และพวกเขาต้องการ จัดตั้งรัฐอิสลามในอิรัก"[4]
            อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์หลายคนมองว่ากลุ่ม ISIS จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในระยะเวลาอันใกล้นี้ได้ เพราะกลุ่ม ISIS ไม่แข็งแกร่งพอที่จะโค่นล้มรัฐบาลอิรักและซีเรียได้ในปัจจุบัน แต่สิ่งที่น่าจับตามองก็คือ พลังแห่งการ เปลี่ยนแปลงและการเผยแพร่แนวคิดอิสลามนิยมที่ไม่อาจหยุดยั้งได้
            จำนวน
            นิตยสารดิ อีโคโนมิสต์ รายงานว่ากลุ่ม ISIS มีกองกำลังมากกว่า 6,000 คนในอิรัก และ 3,000-5,000 คนในซีเรีย ซึ่งรวมถึงกองกำลังต่างชาติหรือนักรบมูญาฮีดดีนนานาชาติอีกกว่า 3,000 คน ในจำนวนนี้กว่า 1,000 คนมาจากเชชเนีย และราว 500 คน มาจากชาติตะวันตกเช่นฝรั่งเศสและอังกฤษ[5] มีรายงานว่ากลุ่ม ISIS ยังมีทหารกองหนุนซึ่งเป็นชาวบ้าน อีกกว่า 15,000 คน
            นอกจากการสู้รบแล้ว กลุ่ม ISIS ยังทำกิจกรรมเพื่อสังคมอีกด้วย เช่นงานอาสาสมัคร ครูสอนศาสนา ให้ความรู้ ทางศาสนาแก่ชาวบ้าน แจกอาหารและเงิน ซ่อมถนนและไฟฟ้า[6] มีรายงานว่ากลุ่ม ISIS ได้ประกาศตัดความสัมพันธ์กับ กลุ่มติดอาวุธในอิรักบางกลุ่มที่แสวงหาผลประโยชน์จากการค้าอาวุธและยาเสพติดตามแนวชายแดนประเทศซีเรียและตุรกี กลุ่ม ISIS ประสบความสำเร็จในการใช้สื่อและสังคมออนไลน์เพื่อเข้าถีงมวลชน ผ่านทางสื่อของมูลนิธิอิตติซัม (หัวหน้า นักรบมูญาฮีดีนเชชเนียคือ อุมัร อัล-ชิชานี ติดต่อเข้าร่วมรบผ่านทางอินเตอร์เน็ต)[7]
            นักวิเคราะห์บางคนมองว่ากลุ่ม ISIS มีลักษณะเป็นกองทหารมากกว่ากลุ่มก่อการร้าย เจสสิก้า ลูอิส (Jessica Lewis) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกลุ่ม ISIS จากวอชิงตัน ธิงค์ แทงค์ (Washington Think Tank) กล่าวว่า "นี่คือกองทัพที่เคลื่อนที่ ไปมาระหว่างอิรักและซีเรีย พวกเขายึดครองพื้นที่จำนวนมาก พวกเขามีรัฐบาลเงาทั้งในและรอบๆกรุงแบกแดด มีจุดมุ่ง หมายชัดเจนในการปกครองประเทศ ฉันไม่รู้ว่าพวกเขาต้องการยึดกรุงแบกแดดหรือไม่ หรือต้องการทำลายโครงสร้าง รัฐบาลอิรักแต่ไม่ว่าอย่างไรผลลัพธ์ก็เหมือนกันคือความหายนะของประเทศอิรัก"[8] ลูอิสซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯประจำอิรักและอัฟกานิสถาน อธิบายการทำงานของกลุ่ม ISIS ว่า "มีระบบการบังคับบัญชาและสั่งการจากภาคสนามไปยังศูนย์บัญชาการที่เยี่ยมยอด มีงบประมาณและนักรบจำนวนมาก ซึ่งไม่ได้มีเพียงนักรบต่างชาติ แต่ยังรวมถึงนักโทษแหกคุกอีกด้วย" ขณะที่นายอัยมาน จาเวด อัล-ตามีนี (Aymenn Jawad al-Tamini) ผู้ศึกษาเรื่องการญิฮาดในภูมิภาคตะวันออกกลางมองว่า "พวกเขามีทักษะสูงในการทำสงครามกองโจรในเขตเมือง (Urban Guerrilla warfare) ในขณะที่กองทัพอิรักขาดทักษะการรบในรูปแบบดังกล่าว"[9]
[source: AP]
2. ปัจจัยใดที่ทำให้กลุ่ม ISIS สามารถรักษาอิทธิพลในอิรักได้อย่างมั่นคง?
            ปัจจัยประการแรกที่ทำให้กลุ่ม ISIS ซึ่งเป็นกลุ่มติดอาวุธชาวมุสลิมนิกายซุนนี สามารถรักษาและขยายอำนาจได้ คือ ความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมอิรักนิกายซุนนีและนิกายชีอะฮ์
            แม้ประชากรชาวอิรักส่วนมากจะนับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะอ์ แต่ชาวซุนนีคือผู้ที่ปกครองประเทศอย่าง ยาวนาน จนกระทั่งอดีตประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซ็นซึ่งนับถือนิกายซุนนีสิ้นอำนาจในปีค.ศ. 2003 นายซัดดัมได้ทำให้ชาว มุสลิมซุนนีเข้าใจมาตลอดว่า ชาวซุนนีคือประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ทำให้กระทั่งปัจจุบันชาวซุนนีรู้สึกว่าพวกเขา ถูกชาวชีอะฮ์แย่งอำนาจไปและให้อำนาจแก่พวกเขาน้อยเกินไป[10]
            สงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่สหรัฐฯบุกอิรักในปีค.ศ. 2003 ได้ทำให้ความความขัดแย้งระหว่างนิกาย ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น รัฐบาลที่มีขึ้นภายหลังการโค่นอำนาจระบอบซัดดัม ก็ถูกมองว่าให้อำนาจอย่างมากล้นแก่ชาวชีอะฮ์ ภายใต้ความร่วมมือของสหรัฐฯ รัฐบาลไม่อาจเป็นรัฐบาลของปวงชนทุกหมู่เหล่าได้ ทำให้กระแสความไม่พอใจของ ชาวซุนนีต่อรัฐบาลอิรักยิ่งทวีคูณ ปัจจุบันชาวชีอะฮ์และซุนนีในอิรักไม่มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ความขัดแย้งระหว่าง สองกลุ่มนี้ได้กลายเป็นความขัดแย้งที่มีผู้ชนะเพียงคนเดียว (a zero-sum game) เพื่อแย่งชิงอำนาจทางการเมือง[11] หลายครั้งการลุแก่อำนาจและใช้อำนาจโดยพลการของรัฐบาล ได้ต่อเติมไฟแห่งความบาดหมางเช่น เหตุการณ์ตำรวจ ใช้ความรุนแรงเข้าควบคุมตัวผู้ชุมนุมนิกายซุนนีที่ออกมาประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิของตน
            ดังนั้นตราบใดที่กลุ่มชีอะอ์ยังคงมีอิทธิพลเหนือรัฐบาลอิรักและชาวซุนนีไม่ได้รู้สึกถึงความเป็นธรรมและมีพื้นที่ทางการเมืองที่มากพอ ตราบนั้นกลุ่ม ISIS จะยังคงได้รับคะแนนนิยมในพื้นที่ของชาวซุนนีในภาคตะวันตกเฉียงเหนือต่อไป
            ปัจจัยประการที่สองที่ทำให้กลุ่ม ISIS มีแต้มต่อทางการเมืองในหมู่ชาวซุนนีคือ การดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด ของนายกรัฐมนตรีอิรัก
            นายนูรี อัล-อาลีกี นายกรัฐมนตรีของอิรักซึ่งเป็นชาวมุสลิมนิกายชีอะฮ์ เขาได้ทำให้อิรักกลายเป็นรัฐชีอะฮ์[12] เนด พาร์กเกอร์ อดีตสมาชิกสภาความสัมพันธ์ระหว่งประเทศ (CFR) กล่าวว่า การกระชับอำนาจของกลุ่มชีอะฮ์ผ่าน นายกรัฐมนตรีมาลีกี ในช่วงที่สหรัฐฯถอนกำลังทหารออกจากอิรักปลายปีค.ศ. 2011 สร้างความไม่พอใจให้กับชาวซุนนี ซึ่งเป็นชนส่วนน้อย และกลุ่ม ISI คือกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์จากความรู้สึกไม่เป็นธรรม"[13] รัฐบาลอิรักได้ปฏิเสธ ข้อเรียกร้องของชาวซุนนีที่ต้องการเพิ่มพื้นที่และสิทธิทางการเมือง ในเหตุการณ์การประท้วงรัฐบาล โดยชาวซุนนีในเดือน เมษายนและธันวาคม ค.ศ. 2013 ตำรวจได้สังหารผู้ประท้วงชาวซุนนีที่ประท้วงด้วยความสงบ และใช้กฎหมายต่อต้านการ ก่อการร้ายจับกุมพลเมืองชาวซุนนีจำนวนมาก[14] นายกรัฐมนตรีมาลีกียังได้สร้างพันธมิตร ทางการเมืองกับกลุ่มติดอาวุธชาว ชีอะฮ์อีกหลากลุ่มที่มีเป้าหมายปองร้ายชาวซุนนี
            ด้วยเหตุนี้ทำให้กลุ่ม ISIS ที่ประกาศต่อสู้เพื่อชาวซุนนีได้คะแนนนิยมในหมู่ประชาชนชาวซุนนี นายไมเคิล ไนค์ (Michael Knights) ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกใกล้ศึกษา สถาบันวอชิงตัน (The Washington Institution for Near East Studies) กล่าวว่า "นายกรัฐมนตรีมาลีกีได้ทำให้โฆษณาชวนเชื่อของกลุ่ม ISIS เป็นจริงและถูกต้อง และรัฐบาลอิรักและ สหรัฐฯเองยังมีส่วนทำให้กลุ่ม ISIS เติบโตอย่างรวดเร็ว จากการปล่อยนักโทษอัล-กออีดะฮ์จากเรือนจำ นอกจากนั้น การถอนทหารสหรัฐฯออกจากอิรักปลายปีค.ศ. 2011 คือการให้พื้นที่หายใจแก่กลุ่ม ISIS เพิ่มขึ้นนั่นเอง"[15]
[source: BBC]
3. กลุ่ม ISIS เป็นกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเพียงกลุ่มเดียวในอิรักหรือ?
            กลุ่มติดอาวุธต่อต้านรัฐบาลในอิรักมีอยู่ด้วยกันหลายกลุ่ม กลุ่มต่อต้านที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดนอกเหนือจากกลุ่ม ISIS คือกลุ่ม "ริญาล อัล-ตอริก อัล-นัคชฺบานดี" (JRTN) กลุ่มนี้เป็นกลุ่มติดอาวุธนิกายซุนนีที่มีอุดมการณ์ชาตินิยม ต้องการ ยึดอำนาจคืนจากกลุ่มชีอะฮ์ เพื่อรื้อฟื้นระบอบเผด็จการซุนนีดังสมัยซัดดัม ฮุสเซ็น ต่างจากกลุ่ม ISIS ซึ่งมีอุดมการณ์ เน้นหนักไปทางศาสนา และต้องการตั้งรัฐอิสลามเพื่อรวมชาวซุนนีในอิรักและประเทศรอบๆ สมาชิกของกลุ่ม JRTN คืออดีตสมาชิกพรรคบาธ (Baath) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลสมัยอดีตประธานาซัดดัม ฮุสเซ็น
            แม้กลุ่ม ISIS และ JRTN จะมีอุดมการณ์ต่างกัน แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือต่อสู้กับรัฐบาลชีอะฮ์ของนายมาลีกี
            เคิร์ค โซเวล (Kirk Sowell) นักวิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเมือง และผู้เชี่ยวชาญการเมืองอิรัก ได้เปรียบเทียบ กลุ่มสองกลุ่มนี้ว่า "แม้กลุ่ม ISIS ไม่ได้ครองใจคนรากหญ้า แต่พวกเขาคือ กลุ่มที่มีระบบการจัดการองค์กรที่ดีที่สุด มีนักรบที่เก่งกาจที่สุด ที่ผ่านประสบการณ์รบในอิรักและซีเรีย อย่างไรก็ตามกลุ่ม JRTN ก็มีการจัดการองค์กรที่ดี เช่นกันแต่ด้อยกว่ากลุ่ม ISIS ในเรื่องจำนวนนักรบและงบประมาณ"[16]
4. กลุ่ม ISIS เอาเงินทุนมาจากไหน?
            กลุ่มรัฐอิสลามในอิรักและซีเรียหรือ ISIS มีการจัดการงบประมาณที่น่าทึ่ง ต่างจากจากกลุ่มติดอาวุธกลุ่มอื่น ในซีเรียและอิรัก ที่อาศัยเงิดอุดหนุนจากต่างชาติ แต่กลุ่ม ISIS สามารถหางบประมาณของตนเอง จากการส่งออกน้ำมัน (จากบ่อน้ำมันที่ยึดครอง) ขายไฟฟ้า (ให้กับรัฐบาลซีเรียซึ่งเป็นศัตรู) และเรียกเก็บภาษีในพื้นที่ยึดครอง    
            ในปีค.ศ. 2012 กลุ่ม ISIS หรือ ISI ณ ขณะนั้น ได้เริ่มทำการยึดบ่อน้ำมันในซีเรีย โดยขายน้ำมันพร้อมส่วนลด ให้กับใครก็ตามที่พร้อมจะจ่าย ดังนั้นการยึดครองบ่อน้ำมันที่เพิ่มขึ้นในอิรัก คือการเพิ่มเงินทุนของกลุ่ม ISIS นั่นเอง ด้วยการจัดการเรื่องงบประมาณที่ดีเยี่ยมและไม่มีใครเหมือน ทำให้นักรบISISได้รับค่าตอบแทนสูงกว่านักรบกลุ่มอื่นๆ กระทั่งดีกว่าทหารอาชีพในกองทัพอิรักและซีเรีย นี่คือหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้การจัดการองค์กรของกลุ่ม ISIS มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว[17]
            นอกจากการขายน้ำมันจากบ่อน้ำมันที่ยึดครองแล้ว ล่าสุดกลุ่ม ISIS ยังมีรายได้จากการยึดแหล่งเงินในคลังของ ทางรัฐบาลอีกด้วย มีรายงานว่าในการยึดเมืองโมซุล เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 2014  กลุ่ม ISIS สามารถยึดเงินและ ทองคำ จากตู้นิรภัยของทางรัฐบาล ที่มีมูลค่าสูงถึง 14,000 ล้านบาท หรือ 429 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หน่วยข่าวกรองของอิรัก ประมาณการณ์ว่า นับตั้งแต่กลุ่ม ISIS ทำสงครามต่อต้านรัฐบาลในซีเรียและอิรัก พวกเขามีงบประมาณในคลังสะสมรวม 65,000 ล้านบาท หรือ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ[18] ซึ่งทำให้นิตยสารวอชิงตันโพสต์ระบุว่า กลุ่ม ISIS เป็นกลุ่มก่อการร้าย ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก[19] นอกจากนั้นมีรายงานว่ากลุ่ม ISIS ยังสร้างรายได้จากการจัดเก็บภาษีในพื้นที่ยึดครองได้มากกว่า เดือนละ 260 ล้านบาท หรือ 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ[20]
            กลุ่ม ISIS ยังได้รับการสนับสนุนทางด้านงบประมาณและอาวุธจากประเทศซาอุดิอาระเบียและกาตาร์อีกด้วย ดังที่นายกรัฐมนตรีอิรักออกมากล่าวหาชาติทั้งสองในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2014 ว่า ให้การสนับสนุนกลุ่ม ISIS[21] และกลุ่มก่อการร้ายต่างๆเพื่อโค่นล้มรัฐบาลในซีเรีย อียิปต์ และลิเบีย[22] ซึ่งต่อมา ทั้งทางรัฐบาลซาอุดิอาระเบียและกาตาร์ ก็ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยกาตาร์กล่าวตอบโต้รัฐบาลอิรักว่าต้องการเบี่ยงเบนประเด็นจากการบริหาร ประเทศที่ผิดพลาด[23]
            สำหรับอาวุธของกลุ่ม ISIS นั้น ส่วนใหญ่ยึดมาได้จากทหารของอิรักที่พ่ายแพ้ หรือบางครั้งถึงกับทิ้งอาวุธและ วิ่งหนี ดังนั้นอาวุธของ ISIS ส่วนใหญ่ก็คืออาวุธของสหรัฐอเมริกานั่นเอง ตั้งแต่ปืน M16 ปืน M4 คาร์บิน เครื่องยิง    ลูกระเบิด M203 ปืนกล M59-1 M60 และ M240 เครื่องยิงจรวด (อาร์พีจี) พาหนะทางการทหารอย่างรถฮัมวี MRAPs รถถัง T-55 เครื่องยิงขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน ZU-23-2 เป็นต้น[24],[25] ล่าสุดในการยึดเมืองโมซุลเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 2014 กลุ่ม ISIS ได้ยึดเฮลิคอปเตอร์ UH-60 แบล๊คฮอก  และเครื่องบินลำเลียง อย่างไรก็ตามนายปีเตอร์ เบอมอนท์ (Peter Beaumont) จากหนังสือพิมพ์เดอะ การ์เดียน (The Guerdian) ให้ความเห็นว่า กลุ่ม ISIS ไม่มีนักบินที่ได้รับการฝึกมา ให้ใช้ อากาศยานเหล่านี้ได้[26]
[source: Haidar Hamdani.AFP.Getty Images]
5. ชาวซุนนี ชีอะฮ์และเคิร์ด ใครได้ผลประโยชน์จากความขัดแย้งครั้งนี้
            อิรักมีประชากรประมาณ 31 ล้านคน มีประชากรที่มีชาติพันธุ์อาหรับคิดเป็นร้อยละ 80 ขณะที่ร้อยละ 15 คือชาวเคิร์ด ที่เหลือร้อยละ 5 คือชาวเติร์กเมน อัสซีเรียนและอื่นๆ
            ชาวอิรักร้อยละ 97 นับถือศาสนาอิสลาม โดยชาวมุสลิมส่วนใหญ่นับถือนิกายชีอะฮ์ คิดเป็นร้อยละ 65 ส่วนชาวมุสลิมที่นับถือนิกายซุนนีคิดเป็นร้อยละ 35 ความแตกต่างทางชาติพันธุ์และความเชื่อทางศาสนาได้ทำให้ ชาวอิรักแบ่งออกเป็นสามกลุ่มคือชาวอิรัก (อาหรับ) นิกายชีอะฮ์ ชาวอิรัก (อาหรับ) นิกายซุนนี และชาวอิรัก (เคิร์ด) ที่แทบทั้งหมดนับถือนิกายซุนนี
            ท่ามกลางความขัดแย้ง ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ISIS และรัฐบาลอิรัก ก็คือ ชาวเคิร์ดนั่นเอง นายเคิร์ค โซเวว (Kirk Sowell) ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองอิรักระบุว่า "วิกฤตครั้งนี้ คือเครื่องช่วยชีวิตชาว เคิร์ด"[27]
            ชาวเคิร์ดในอิรักส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีสถานะเป็นเขตปกครองตนเองชาวเคิร์ด ทหารเคิร์ดยังแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มที่ฝักใฝ่รัฐบาลอิรักและกลุ่มที่เป็นเอกเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดซึ่งมีจำนวนระหว่าง 80,000 ถึง 240,000 คน
            อย่างไรก็ตามชาวซุนนีและเคิร์ดจนยังไม่เคยขัดแย้งกันรุนแรงถึงขั้นต้องใช้กำลังทางการทหารต่อกัน ล่าสุดการที่กลุ่ม ISIS ยึดเมืองโมซุลซึ่งอยู่ในเขตอิทธิพลของชาวเคิร์ดได้นั้น นายไมเคิล ไนค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออก กลาง ให้ข้อมูลว่า กลุ่ม ISIS ยึดครองเมืองโมซุลซีกตะวันตกเท่านั้น ส่วนซีกตะวันออก ยังคงอยู่ภายใต้การป้องกันของ ทหารชาวเคิร์ด นอกจากนั้นเขตยึดครองของกลุ่ม ISIS กับเขตปกครองของชาวเคิร์ดก็มีพื้นที่ติดต่อกันในหลายจุด[28]
            นอกจากนั้นชาวเคิร์ดได้ใช้โอกาสในสถานการณ์ที่ยุ่งเหยิงนี้ เข้ายึดเมืองเคอร์คุก (Kirkuk) ซึ่งอยู่ใกล้ บ่อน้ำมัน ขนาดใหญ่ที่กลุ่มเคิร์ดต้องการจะยึดครองมายาวนาน[29] ดังนั้นแม้จะมีความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ISIS และรัฐบาลอิรัก แต่ชาวเคิร์ดเล่นบทเป็นผู้อยู่เหนือความขัดแย้ง แต่ได้รับผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจมากที่สุด
[source: Sunni militiamen in 2010. Mahmud Saleh.AFP.Getty Images]
6.กลุ่ม ISIS ยึดครองพื้นที่ในอิรักได้มากแค่ไหน?
            แม้กลุ่ม ISIS จะถือกำเนิดในอิรักแต่ฐานอำนาจที่เป็นเหมือนเมืองหลวงของรัฐที่ไม่ได้รับการรับรอง (unrecognized state) นี้คือเมือง รอกกอ (Raqqa) ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศซีเรีย ล่าสุดกลุ่ม ISIS ได้ยกกำลังเข้ายึด เมืองต่างๆในอิรักโดยยกพลจากเหนือลงใต้ กลุ่ม ISIS ได้ประกาศยึดเมืองต่างๆในอิรักและซีเรียได้แล้วในพื้นที่กว่า 16 จังหวัด ด้วยความยาวจากเหนือจดใต้รวมระยะทางกว่า 500 กิโลเมตร โดยมีขนาดพื้นที่ยึดครองเท่ากับประเทศเบลเยี่ยม[30]

 7.ทำไมกองทัพอิรักที่มีความเหนือกว่าทั้งปริมาณและศักยภาพจึงไม่อาจต้านทานกลุ่ม ISIS ซึ่งมีจำนวนน้อยได้
            เหตุการณ์ลือลั่นที่สร้างชื่อให้กับกลุ่ม ISIS คือการที่กลุ่ม ISIS กรีฑาทัพเข้ายึดเมืองโมซุล ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ ลำดับสองของอิรัก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 2014 การต่อสู้ในวันนั้นทหารอิรักที่มีจำนวนมากกว่า 30,000 นาย ต้องทิ้ง อาวุธ วิ่งหนี และพ่ายแพ้ต่อกองกำลัง ISIS ที่มีจำนวนเพียง 800 คน (อัตราส่วน 40:1) นอกจากนั้นยังมีตัวเลข ทหารอิรักที่หนีทัพในแต่ละเดือนนับร้อยคนอีกด้วย[31]
            สาเหตุหลักของความพ่ายแพ้อย่างราบคาบของทหารอิรักนอกเหนือจากความแข็งแกร่งของกลุ่ม ISIS ก็คือ ทหาร อิรักไม่ต้องการสู้และตายเพื่อรัฐบาลอิรัก[32] อีกทั้งความแตกต่างทางนิกายศาสนาได้นำไปสู่ความแตกแยกในหมู่ทหาร ซึ่งมีทั้งชาวมุสลิมนิกายชีอะฮ์และซุนนี นายเจสัน ลูออล (Jason Lyall) ผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อการร้าย มหาวิทยาลัยเยล กล่าวว่า จากการที่กองทัพอิรักแตกออกตามนิกายศาสนา ทำให้ทหารอิรัก ที่เป็นซุนนี ไม่ต้องการจะต่อสู้กับกลุ่ม ISIS ที่เป็น ชาวซุนนีเช่นเดียวกัน พวกเขาไม่ต้องการต่อสู้เพื่อรัฐบาลอิรักซึ่งกดขี่ชาวซุนนี มีรายงานว่าในเมืองโมซุลที่มีประชากร ส่วนใหญ่เป็นชาวซุนนีนั้น แต่การสู้รบนั้นดำเนินในเขตชาวชีอะฮ์
            อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์มองว่าท้ายที่สุดแล้วกลุ่ม ISIS คงไม่อาจยึดครองอิรักทั้งประเทศได้ ด้วยข้อจำกัดด้าน ศักยภาพ ทั้งนี้กลุ่ม ISIS มีกำลังในอิรักเพียง 7,000 คน (ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นเมื่อร่วมสู้กับกลุ่มติดอาวุธกลุ่มอื่น) ในขณะที่ทหาร อิรักมีมากกว่า 250,000 คน(รวมทั้งตำรวจ) ซึ่งมีความเหนือกว่ามากทางด้านอาวุธ ปฏิบัติการของกลุ่ม ISIS จะกินพื้นที่ ได้เพียงนอกเมืองแบกแดด ส่วนทางภาคใต้ซึ่งเป็นพื้นที่ของชาวชีอะฮ์จะไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากเหตุความขัดแย้งนี้[33]
            ดังนั้นสาเหตุหลักที่ทำให้กองทัพอิรักอ่อนแอกว่ากลุ่ม ISIS คือความยุ่งเหยิง ไม่เป็นเอกภาพภายในกองทัพ ขาดการจัดการที่ดี และอ่อนด้อยประสบการณ์ และแรงต้านจากประชาชนที่นับถือนิกายซุนนีนั่นเอง
8. มีประเทศใดบ้างที่ให้ความช่วยเหลือกลุ่ม ISIS และรัฐบาลอิรัก
            รัฐบาลอิรักกล่าวหาประเทศซาอุดิอาระเบียและกาตาร์ว่า คือผู้สนับสนุนหลักด้านงบประมาณ แก่กลุ่ม ISIS ซึ่งทั้งสองชาติก็ออกมาปฏิเสธ นอกจากนั้นยังมีการจับตามองไปยังตุรกี ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ในฐานะประเทศ หน้าด่านที่เป็นทางผ่านให้บรรดานักรบมูญาฮีดีนทั้งของกลุ่ม ISIS และกลุ่มอื่นๆเดินทางเข้าไปสู้รบในประเทศซีเรีย
            สำนักข่าวฟอกซ์นิวส์ได้รายงานถึงความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับกลุ่ม ISIS ว่า ตุรกีให้ความช่วยเหลือด้าน งบประมาณ การขนส่ง อาวุธและการฝึก เมื่อนักรบของISISบาดเจ็บจากการสู้รบในซีเรีย พวกเขาจะถูกส่งมารักษาตัวใน โรงพยาบาลที่ตุรกี ดังปรากฏภาพนายอบู มูฮัมหมัด หนึ่งในผู้บัญชาการกลุ่ม ISIS ในซีเรียเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาล ในเมืองฮาเตย์ (Hatay) เมื่อเดือนเมษายนปีนี้ นอกจากนั้นฝ่ายค้านได้กล่าวหารัฐบาลตุรกีว่ารับซื้อน้ำมันจากกลุ่ม ISIS ด้วยเงิน 25,000 ล้านบาท (800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และกองทัพตุรกีได้ช่วยฝึกอาวุธแก่นักรบกลุ่ม ISIS และกล่าวหาว่า นายกรัฐมนตรีตุรกี ได้หารือเป็นการลับกับนายยาซีน อัล-กอดี (Yasin al-Qadi) ผู้ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่น และเป็นแหล่งเงินทุนให้กับกลุ่ม ISIS[34]
            สำหรับฝ่ายรัฐบาลอิรัก ผู้สนับสนุนหลักนอกเหนือจากสหรัฐฯก็คืออิหร่าน นับตั้งแต่สหรัฐฯถอนกำลังทหาร ออกจากอิรักในปลายปีค.ศ. 2011 เป็นต้นมา ประเทศที่มีส่วนช่วยเหลือรัฐบาลอิรักมากที่สุดก็คืออิหร่าน รัฐบาลอิหร่าน ซึ่งเป็นชีอะฮ์ ไม่ต้องการให้รัฐบาลเพื่อนบ้านชีอะฮ์อีกสองประเทศคืออิรักและซีเรียต้องถูกกลุ่มซุนนีโค่นอำนาจ[35] รัฐบาล อิหร่านต้องการสร้างและรักษาสามเหลี่ยมทองคำแห่งชีอะฮ์ (Shi'a Triangle) คือรัฐบาลชีอะห์ในสามประเทศนอก อิหร่านคือ อิรัก ซีเรียและเลบานอน
            มีรายงานว่าอิหร่านได้ส่งหน่วยรบพิเศษที่มีชื่อหน่วยว่า "กู๊ดส์" (Quds) จำนวน 500 นาย เข้ามาช่วยรัฐบาลอิรัก ต่อสู้กับกลุ่ม ISIS[36] แม้อิหร่านจะออกมาปฏิเสธก็ตาม[37]  ซีไอเอได้ยกให้หน่วยกู๊ดส์เป็นหน่วยปฏิบัติการทางการทหาร ที่เก่งที่สุดหน่วยหนึ่งในภูมิภาคตะวันออกกลาง[38] ปัจจุบันผู้นำของหน่วยประจำอิรักคือนายกอเซ็ม สุไลมานี วอลสตรีท เจอร์นัลรายงานว่า ปัจจุบันนายสุไลมานีกำลังช่วยรัฐบาลอิรัก "จัดการ" กับความขัดแย้งอยู่ในแบกแดด วอลสตรีท ยังกล่าวยกย่องให้หน่อยกู๊ดส์มีความสามารถเหนือว่ากลุ่ม ISIS และรายงานว่ากองกำลังร่วมอิรัก-อิหร่านได้ยึดพื้นที่ เมืองไทกริสซึ่งเป็นบ้านเกิดของซัดดัม ฮุสเซ็น ได้คืนแล้วกว่าร้อยละ 85[39]
            อย่างไรก็ตามความช่วยเหลือของอิหร่านก็เป็นดาบสองคมต่อรัฐบาลอิรัก แม้ด้านหนึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ รัฐบาลอิรักต่อสู้กับกลุ่ม ISIS ต่อไป แต่อีกด้านหนึ่งการเข้ามาของอิหร่านได้สร้างความไม่พอใจให้กับชาวซุนนี[40] ซึ่งแน่นอนว่ากลุ่ม ISIS คือผู้ได้ผลประโยชน์ในสถานการณ์เช่นนี้  นอกจากนั้นความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลอิหร่าน  ยังทำให้กลุ่มชาตินิยมเสื่อมศรัทธาในรัฐบาล ชาวอิรักยังไม่อาจลืมภาพสงครามอิรัก-อิหร่านระหว่างปีค.ศ. 1980-1988
            สุดท้ายแล้ว การช่วยเหลือของอิหร่านเท่ากับเป็นการตอกย้ำคำอธิบายของกลุ่ม ISIS ต่อความขัดแย้งในอิรักว่า สงครามครั้งนี้ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลอิรักกับกลุ่ม ISIS แต่คือสงครามระหว่างชีอะอ์กับซุนนี
[source: Tony Avelar.Christian Science Monitor.Getty Images]
9.มีโอกาสมากน้อยแค่ไหน ที่สหรัฐฯจะใช้ กำลังทหารกับกลุ่ม ISIS?
            สำหรับโอกาสในการใช้กำลังทางการทหารของสหรัฐอเมริกาในอิรักนั้น ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้ออกมา ปฏิเสธที่จะส่งกำลังทหารกลับไปประจำการในอิรักอีก แต่ส่งทหารสหรัฐฯจำนวน 300 นายเข้าไปในอิรัก เพื่อเป็นที่ปรึกษา และช่วยฝึกกำลังพลให้แก่กองทัพอิรัก  นอกจากนั้นประธานาธิบดีโอบามายังเปิดทางและแสดงความพร้อมที่จะส่ง อากาศยานไร้คนขับหรือ "โดรน" หรือขีปนาวุธระยะไกล ช่วยเหลือรัฐบาลอิรักในการโจมตีกลุ่ม ISISได้[41]

10. แนวโน้มสถานการณ์ในอิรักจะเป็นอย่างไรต่อไป?
            การเลือกตั้งทั่วไปของอิรักเกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา พรรครัฐบาลเดิมชนะการเลือกตั้งด้วยเสียงท่วมท้น ทำให้นายนูรี อัล-มาลีกี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อเนื่องเป็นสมัยที่สามนับตั้งแต่ปีค.ศ. 2006 อย่างไรก็ตามไม่ทันที่นาย มาลีกีจะจัดตั้งรัฐบาลแล้วเสร็จ กลุ่ม ISIS ก็เริ่มปฏิบัติการสายฟ้าแลบยึดเมืองสำคัญทางตอนเหนือของอิรักได้หลายเมือง ท้าทายอำนาจของรัฐบาลอิรักอย่างมาก พร้อมกับเก้าอี้ตัวเก่าของนายมาลีกีที่กำลังสั่นคลอน
            ท่ามกลางความหลากหลายและขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์และศาสนา ตราบใดที่รัฐบาลอิรักไม่อาจเป็นรัฐบาล ของคนทุกหมู่เหล่าได้ ตราบใดที่อำนาจไม่ถูกกระจายอย่างเท่าเทียม ตราบใดที่ชาวซุนนียังรู้สึกถึงความไม่ชอบธรรม ตราบนั้นอิรักก็ได้แต่นับรอวันเพื่อแตกออกเป็นเสี่ยงๆ กลุ่มติดอาวุธอย่าง ISIS จะยังจะคงมีอิทธิในการเมืองอิรักต่อไป โดยเฉพาะในหมู่ชาวซุนนี ถึงวันนี้ผู้มีอำนาจในการเมืองอิรักควรตะหนักได้แล้วว่าจะยอมถอยเพื่อเดินหน้า หรือจะยืดหยัดสู้ไม่ถอยและรอดูการพังทลายของชาติบ้านเมืองต่อไป
             หลังจากผ่านประสบการณ์ในสนามรบซีเรียมานานหลายปี วันนี้กลุ่ม ISIS คือกองกำลังที่แข็งแกร่งที่ผลิตนักรบ ชั้นยอด และดึงดูดนักรบอาสามูญาฮีดีนได้จากทั่วโลก ไม่ว่าสถานะของกลุ่ม ISIS จะเป็นอะไร ...รัฐอิสลามอิรักและซีเรีย กลุ่มติดอาวุธ กลุ่มกบฏแยกดินแดน หรือกระทั่งกลุ่มก่อการร้าย แต่วันนี้กลุ่ม ISIS ได้ประกาศให้โลกได้รับรู้แล้วว่าพวกเขา คือยอดนักรบที่ข้าศึกต้องหวาดกลัว เชคมูฮัมหมัด อัดนานี โฆษกกลุ่ม ISIS กล่าวถึงความสำเร็จของ ISIS ว่าเป็นตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า เขากล่าวว่า "รัฐอิสลามในอิรักและซีเรีย (ISIS) ไม่ได้เหนือกว่าศัตรูในเรื่อง อาวุธยุทโธปกรณ์ หรือทรัพย์สิน สิ่งเดียวที่เรามีคือความศรัทธาในพระเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า"   



[1] นักศึกษาปริญญาเอก สาขาตะวันออกกลางศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมุสลิมอาลีฆัร ประเทศอินเดีย
[2] " Islamic State in Iraq and the Levant "(http://en.wikipedia.org/wiki/Islamic_State_in_Iraq_and_the_Levant). Retrieved 25 June 2014.
[3] Barak Mendelsohn (June 6, 2014). "After Disowning ISIS, al Qaeda is Back On Top". (http://www.foreignaffairs.com/articles/140786/barak-mendelsohn/after-disowning-isis-al-qaeda-is-back-on-top) Foreign Affairs. Retrieved 6 June 2014.
[4] Zack Beauchamp (June 6, 2014). "16 things about ISIS and Iraq you need to know". (http://www.vox.com/cards/things-about-isis-you-need-to-know/what-is-isis). Vox.com. Retrieved 25 June 2014
[6] Zelin, Aaron (17 June 2014). "The Islamic State of Iraq and Syria Has a Consumer Protection Office" (http://www.theatlantic.com/international/archive/2014/06/the-isis-guide-to-building-an-islamic-state/372769/). theatlantic.com. Retrieved 25 June 2014.
[7]Anjarini, Suhaib (1 May 2014). "Chechen jihadists in Syria: The case of Omar al-Shishani"( http://english.al-akhbar.com/content/chechen-jihadists-syria-case-omar-al-shishani#comment-29365). Al-Akhbar. Retrived 23 June 2014.
[8] Carl Vick and Aryn Baker (11 June 2014). " Extremists in Iraq Continue March Toward Baghdad " (http://time.com/2859454/iraq-tikrit-isis-baghdad-mosul/). Time.com. Retrived 23 June 2014.
[9] Carl Vick and Aryn Baker (11 June 2014). " Extremists in Iraq Continue March Toward Baghdad " (http://time.com/2859454/iraq-tikrit-isis-baghdad-mosul/). Time.com. Retrived 23 June 2014.
[10] Zack Beauchamp (June 6, 2014). "16 things about ISIS and Iraq you need to know". (http://www.vox.com/cards/things-about-isis-you-need-to-know/what-is-isis). Vox.com. Retrieved 25 June 2014
[11] Karen Deyoung and Ernesto Londono (12 January 2014). " Obama administration official: Iraq’s Nouri al-Maliki ready to reach out to Sunnis" (http://www.washingtonpost.com/world/national-security/obama-administration-official-iraqs-nouri-al-maliki-ready-to-reach-out-to-sunnis/2014/01/12/d8d87592-7893-11e3-b1c5-739e63e9c9a7_story.html). The Washington Post. Retrieved 25 June 2014.
[12] Marc Lynch (12 June 2014). " How can the U.S. help Maliki when Maliki’s the problem?" (http://www.washingtonpost.com/blogs/monkey-cage/wp/2014/06/12/iraq-trapped-between-isis-and-maliki/). The Washington Post. Retrieved 25 June 2014.
[13] "Foreign Affairs Media Call on Iraq With Max Boot and Ned Parker" (8 January 2014).(http://www.cfr.org/iraq/foreign-affairs-media-call-iraq-max-boot-ned-parker/p32177). Retrieved 26 June 2014.
[14] Human Right Watch, World Report 2014 (http://www.hrw.org/world-report/2014/country-chapters/iraq). Retrieved 25 June 2014.
[15] Zack Beauchamp (18 June 2014). "16 things about ISIS and Iraq you need to know" (http://www.vox.com/cards/things-about-isis-you-need-to-know/what-is-isis). Retrieved 25 June 2014.
[16] Zack Beauchamp (15 June 2014). " A guide to the bitter political fights driving the Iraq crisis"(http://www.vox.com/2014/6/15/5810262/who-are-major-iraqi-political-groups-kirk-sowell/in/5568955). Retrieved 25 June 2014.
[17] Max Fisher (12 June 2014). " How ISIS is exploiting the economics of Syria's civil war" (http://www.vox.com/2014/6/12/5802824/how-isis-is-exploiting-the-economics-of-syrias-civil-war/in/5568955). Retrieved 25 June 2014.
[18] "All you need to know about ISIS and what is happening in Iraq" (http://rt.com/news/166836-isis-isil-al-qaeda-iraq/). RT. 20 JUNE 2014.
[19] " ISIS just stole $425 million, Iraqi governor says, and became the ‘world’s richest terrorist group’"(http://www.washingtonpost.com/news/morning-mix/wp/2014/06/12/isis-just-stole-425-million-and-became-the-worlds-richest-terrorist-group/).The Washington Post. 12 June 2014.
[20] Harith Hasan (24 October 2013)"Al-Qaeda Sinks Roots in Mosul"(http://www.al-monitor.com/pulse/originals/2013/10/al-qaeda-mosul-iraq-sunnis-minorities.html). Almonitor.com. Retrieved 26 June 2014.
[21] " Baghdad slams Saudi Arabia for ‘encouraging genocide’ in Iraq"( http://rt.com/news/166592-saudi-arabia-genocide-iraq/). RT. 17 JUNE 2014.
[22] "Iraqi PM Maliki says Saudi, Qatar openly funding violence in Anbar" (http://www.reuters.com/article/2014/03/09/us-iraq-saudi-qatar-idUSBREA2806S20140309). Reuters. 9 March 2014.
[23] "Saudi Arabia, Qatar reject Iraq's accusation of supporting ISIL"(http://www.liveleak.com/view?i=770_1402960758&comments=1#zjlooGJqyzvkCebP.99). Live Leak. 17 June 2014.
[24] " How did 800 ISIS fighters rout 2 Iraqi divisions?"( http://www.militarytimes.com/article/20140612/NEWS08/306120062/How-did-800-ISIS-fighters-rout-2-Iraqi-divisions-). Military Times . 12 June 2014.
[25] " State of emergency: ISIS militants overrun Iraq city of 1.8mn, free 2,500 prisoners"( http://rt.com/news/165044-militants-seize-mosul-iraq/). RT. 10 June 2014.
[26] Peter Beaumont. " How effective is Isis compared with the Iraqi army and Kurdish peshmerga?"(http://www.theguardian.com/world/2014/jun/12/how-battle-ready-isis-iraqi-army-peshmerga). theguardian.com. Retrieved 25 June 2014.
[27] Zack Beauchamp.(15 June 2014) "A guide to the bitter political fights driving the Iraq crisis"(http://www.vox.com/2014/6/15/5810262/who-are-major-iraqi-political-groups-kirk-sowell). vox.com. Retrieved 25 June 2014.
[28] Zack Beauchamp (18 June 2014). "16 things about ISIS and Iraq you need to know" (http://www.vox.com/cards/things-about-isis-you-need-to-know/what-is-isis). Retrieved 25 June 2014.
[29] Keith Johnson (12 June 2014)" Revenge of the Kurds"( http://www.foreignpolicy.com/articles/2014/06/12/revenge_of_the_kurds).Foreignpolicy.com. Retrieved 25 June 2014.
[30] "All you need to know about ISIS and what is happening in Iraq" (http://rt.com/news/166836-isis-isil-al-qaeda-iraq/). RT.com. 20 JUNE 2014.
[31] " How did 800 ISIS fighters rout 2 Iraqi divisions?"( http://www.militarytimes.com/article/20140612/NEWS08/306120062/How-did-800-ISIS-fighters-rout-2-Iraqi-divisions-). Military Times . 12 June 2014.
[32] "Iraq army capitulates to Isis militants in four cities"(http://www.theguardian.com/world/2014/jun/11/mosul-isis-gunmen-middle-east-states?CMP=twt_gu). theguardian.com. 12 June 2014.
[33] Peter Beaumont (12 June 2014)"How effective is Isis compared with the Iraqi army and Kurdish peshmerga?" (http://www.theguardian.com/world/2014/jun/12/how-battle-ready-isis-iraqi-army-peshmerga). theguardian.com. Retrieved 25 June 2014.
[34] "Iraq crisis: Is Turkey's government supporting ISIS?"(http://www.foxnews.com/opinion/2014/06/19/iraq-crisis-is-turkey-government-supporting-isis/). Foxnews.com. 19 June 2014.
[35] Zack Beauchamp (18 June 2014). "16 things about ISIS and Iraq you need to know" (http://www.vox.com/cards/things-about-isis-you-need-to-know/what-is-isis). Retrieved 25 June 2014.
[36] "ISIS militants still pressing forward in Iraq"( http://edition.cnn.com/2014/06/13/world/meast/iraq-violence/index.html). Cnn.com. 14 June 2014.
[38] Dextr Filkins (30 September 2013) "THE SHADOW COMMANDER" (http://www.newyorker.com/reporting/2013/09/30/130930fa_fact_filkins ). Newyorker.com. Retrieved 25 June 2014.
[39] Zack Beauchamp (11 June 2014) " Al-Qaeda kicked this group out for being too vicious. On Tuesday, they conquered Iraq's second-largest city."( http://www.vox.com/2014/6/11/5800188/who-is-isis-how-they-conquered-mosul). Vox.com. Retrieved 25 June 2014.
[40] Stephen Wicken (May 2013) "Iraq’s Sunnis in Crisis" Middle East Security Report 11 (https://understandingwar.org/sites/default/files/Wicken-Sunni-In-Iraq.pdf). Retrieved 25 June 2014.
[41] "US to send 300 military advisers to Iraq"(http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2014/06/obama-rules-out-us-combat-troops-iraq-2014619182147392411.html). Aljazeera.com. 20 June 2014.